คำว่า “กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด” ตาม ป.อ. มาตรา 3 นั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิดหรือบัญญัติถึงโทษ หรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนกับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบทกฎหมายให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิด หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด และมีผลให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 (1) ในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุก 8 เดือน กับจำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท ตามลำดับ เมื่อโทษที่กำหนดในภายหลังสำหรับความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบ ป.ยาเสพติด มาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 26,666.66 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาจึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ความผิดทั้งสองฐานจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้สำหรับประเด็นเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ส่วน ป. ยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้ แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปตาม ป.อ. เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายเดิมไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ และถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษให้แก่จำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ไม่
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 57, 66 วรรคสอง, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 8 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท เพิ่มโทษกระทงละกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 12 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นจำคุก 15 ปี และปรับ 1,050,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน คงจำคุก 6 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 525,000 บาท รวมจำคุก 7 ปี 12 เดือน และปรับ 525,000 บาท หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ให้พักใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวของจำเลย มีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ริบเมทแอมเฟตามีน และกระเป๋าดินสอสีฟ้า ของกลาง คดีถึงที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดโทษใหม่เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน เพิ่มโทษกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน และปรับ 933,333.33 บาท ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 10 เดือน 20 วัน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน และปรับ 466,666.66 บาท ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน คงจำคุก 5 เดือน 10 วัน รวมจำคุก 6 ปี 13 เดือน 10 วัน และปรับ 466,666.66 บาท
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของจำเลย
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า กรณีมีเหตุกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง... ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง...” ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า คำว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวนั้น หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิด หรือบัญญัติถึงกำหนดโทษ หรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งคดีนี้ได้แก่บทบัญญัติความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนกับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 อันเป็นบทกฎหมายให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดอีก หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและมีผลที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 (1) นั้น คดีนี้โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 แต่ได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับโดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวแทน เมื่อตามกฎหมายเดิม มาตรา 97 ที่บัญญัติให้ศาลเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งแก่ผู้กระทำความผิดอีกถูกยกเลิกไปแล้ว ส่วนประมวลกฎหมายยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้เช่นเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงไม่อาจเพิ่มโทษทั้งตามกฎหมายเดิมที่ถูกยกเลิกไปแล้ว และตามกฎหมายใหม่ได้ เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) บัญญัติให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งกรณีนี้ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้เช่นเดิมอีก แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาให้นำไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอันเป็นกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติเรื่องเพิ่มโทษเพราะกระทำความผิดอีกไว้ ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์ได้ขอเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมายเดิม มาตรา 97 ไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 159 วรรคหนึ่ง แล้วด้วย ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ สำหรับการกำหนดโทษความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อคดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อคำพิพากษากำหนดโทษในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน ซึ่งมีโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 26,666.66 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และคำพิพากษากำหนดโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ด 6 ซอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 7.790 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้กำหนดโทษใหม่นั้น ยังคงวางโทษสำหรับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวตามคำพิพากษาเดิมโดยกำหนดโทษใหม่เฉพาะการเพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เท่านั้น ซึ่งถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษที่กำหนดตามคำพิพากษา คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดโทษจำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องของจำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำสั่งกำหนดโทษใหม่ของศาลชั้นต้น
คำว่า “กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด” ตาม ป.อ. มาตรา 3 นั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิดหรือบัญญัติถึงโทษ หรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนกับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบทกฎหมายให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิด หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด และมีผลให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 (1) ในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุก 8 เดือน กับจำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท ตามลำดับ เมื่อโทษที่กำหนดในภายหลังสำหรับความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบ ป.ยาเสพติด มาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 26,666.66 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาจึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ความผิดทั้งสองฐานจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้สำหรับประเด็นเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ส่วน ป. ยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ก็ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้ แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะมิได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปตาม ป.อ. เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายเดิมไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในฟ้องแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ และถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษตามคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นกำหนดโทษให้แก่จำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ไม่
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 57, 66 วรรคสอง, 91 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 8 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท เพิ่มโทษกระทงละกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 12 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นจำคุก 15 ปี และปรับ 1,050,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน คงจำคุก 6 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 525,000 บาท รวมจำคุก 7 ปี 12 เดือน และปรับ 525,000 บาท หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ให้พักใช้ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวของจำเลย มีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษา ริบเมทแอมเฟตามีน และกระเป๋าดินสอสีฟ้า ของกลาง คดีถึงที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดโทษใหม่เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน เพิ่มโทษกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน และปรับ 933,333.33 บาท ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 10 เดือน 20 วัน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน และปรับ 466,666.66 บาท ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน คงจำคุก 5 เดือน 10 วัน รวมจำคุก 6 ปี 13 เดือน 10 วัน และปรับ 466,666.66 บาท
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของจำเลย
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า กรณีมีเหตุกำหนดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง... ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง...” ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า คำว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวนั้น หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิด หรือบัญญัติถึงกำหนดโทษ หรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งคดีนี้ได้แก่บทบัญญัติความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนกับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 อันเป็นบทกฎหมายให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดอีก หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและมีผลที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 (1) นั้น คดีนี้โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 แต่ได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับโดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวแทน เมื่อตามกฎหมายเดิม มาตรา 97 ที่บัญญัติให้ศาลเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งแก่ผู้กระทำความผิดอีกถูกยกเลิกไปแล้ว ส่วนประมวลกฎหมายยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้เช่นเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงไม่อาจเพิ่มโทษทั้งตามกฎหมายเดิมที่ถูกยกเลิกไปแล้ว และตามกฎหมายใหม่ได้ เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) บัญญัติให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งกรณีนี้ไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้เช่นเดิมอีก แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาให้นำไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอันเป็นกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติเรื่องเพิ่มโทษเพราะกระทำความผิดอีกไว้ ก็มิได้หมายความว่าศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์ได้ขอเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมายเดิม มาตรา 97 ไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 159 วรรคหนึ่ง แล้วด้วย ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ สำหรับการกำหนดโทษความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อคดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เมื่อคำพิพากษากำหนดโทษในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน ซึ่งมีโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 26,666.66 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และคำพิพากษากำหนดโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 10 ปี และปรับ 700,000 บาท เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ด 6 ซอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 7.790 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงเป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยใหม่ได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้กำหนดโทษใหม่นั้น ยังคงวางโทษสำหรับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวตามคำพิพากษาเดิมโดยกำหนดโทษใหม่เฉพาะการเพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เท่านั้น ซึ่งถือว่าการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษที่กำหนดตามคำพิพากษา คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดโทษจำเลยใหม่จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องของจำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำสั่งกำหนดโทษใหม่ของศาลชั้นต้น
การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย และฐานพยายามจําหน่ายเป็นหลายกรรม และการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 นั้น เนื่องจากมี พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ออกบังคับใช้ในภายหลังได้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และรวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ ซึ่ง ป.ยาเสพติด มาตรา 1 บทนิยามคําว่า “จําหน่าย” มีความหมายรวมถึงการมีไว้เพื่อจําหน่ายด้วย ดังนั้น ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเพื่อจําหน่ายและฐานพยายามจําหน่ายจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน การที่ศาลปรับบทความผิดทั้งสองฐานเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังซึ่งลงโทษจําเลยฐานจําหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) เพียงกรรมเดียว กรณีจึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) สำหรับบทบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ได้ยกเลิกไปแล้ว ส่วน ป.ยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้เช่นเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงไม่อาจเพิ่มโทษทั้งตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดได้ กรณีจึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จําเลยใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี เมื่อตาม ป.อ. มาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาให้นําไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น แม้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอันเป็นกฎหมายอื่นที่มิใช่กฎหมายในประมวลกฎหมายอาญา ไม่ได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษเพราะการกระทำผิดซ้ำไว้ เมื่อจําเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีกเพราะไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคําขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจําเลยได้หนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 57, 66 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 91 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 8 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี และปรับ 450,000 บาท ฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จ จำคุก 5 ปี เพิ่มโทษกระทงละกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 12 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 675,000 บาท ฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 7 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 14 ปี 24 เดือน และปรับ 675,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 7 ปี 12 เดือน และปรับ 337,500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ริบของกลาง คดีถึงที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดโทษจำเลยใหม่เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า จำคุก 5 ปี และปรับ 450,000 บาท รวมจำคุก 5 ปี 8 เดือน และปรับ 250,000 บาท (ที่ถูก ปรับ 450,000 บาท) เพิ่มโทษกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 รวมจำคุก 7 ปี 6 เดือน 20 วัน และปรับ 600,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี 9 เดือน 10 วัน และปรับ 300,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้เกินหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปี
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติด พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของจำเลย
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า กรณีมีเหตุกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้ว ดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง... ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง...” ดังนั้น คำว่า กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดดังกล่าวนั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิด หรือบัญญัติถึงกำหนดโทษหรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทบัญญัติความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม และบทบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและมีผลที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 นั้น สำหรับความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การกำหนดโทษใหม่จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังคดีนี้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดโทษในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน ซึ่งมีโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 26,666.66 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี และปรับ 450,000 บาท และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปี เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 67 เม็ด และพยายามจำหน่ายไป 20 เม็ด บ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่จะได้รับจากการจำหน่ายเป็นการทั่วไป จึงเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดโทษฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1)
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า สำหรับการปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรมและการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 นั้น เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับ โดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวแทนซึ่งตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและการพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันคือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด ดังนั้น การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) เพียงกรรมเดียว จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) สำหรับบทบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ส่วนประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้เช่นเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงไม่อาจเพิ่มโทษทั้งตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดที่ถูกยกเลิกไปแล้ว และตามกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดได้ การเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งจึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) เช่นกัน แต่อย่างใดก็ตามเมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาให้นำไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอันเป็นกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติเรื่องเพิ่มโทษเพราะกระทำความผิดอีกไว้ ก็มิได้หมายความว่า ศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์ได้ขอเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด มาตรา 97 ไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 159 วรรคหนึ่ง แล้วด้วย ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ จึงถือว่า ความผิดอย่างเดียวกันฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษที่กำหนดตามคำพิพากษา คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดโทษจำเลยใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องของจำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำสั่งกำหนดโทษใหม่ของศาลชั้นต้น
การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย และฐานพยายามจําหน่ายเป็นหลายกรรม และการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 นั้น เนื่องจากมี พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ออกบังคับใช้ในภายหลังได้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และรวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ ซึ่ง ป.ยาเสพติด มาตรา 1 บทนิยามคําว่า “จําหน่าย” มีความหมายรวมถึงการมีไว้เพื่อจําหน่ายด้วย ดังนั้น ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเพื่อจําหน่ายและฐานพยายามจําหน่ายจึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน การที่ศาลปรับบทความผิดทั้งสองฐานเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังซึ่งลงโทษจําเลยฐานจําหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) เพียงกรรมเดียว กรณีจึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) สำหรับบทบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ได้ยกเลิกไปแล้ว ส่วน ป.ยาเสพติดซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้เช่นเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงไม่อาจเพิ่มโทษทั้งตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดได้ กรณีจึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จําเลยใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี เมื่อตาม ป.อ. มาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาให้นําไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น แม้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอันเป็นกฎหมายอื่นที่มิใช่กฎหมายในประมวลกฎหมายอาญา ไม่ได้บัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษเพราะการกระทำผิดซ้ำไว้ เมื่อจําเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีกเพราะไม่เข็ดหลาบ และโจทก์มีคําขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจําเลยได้หนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 57, 66 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 91 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 8 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี และปรับ 450,000 บาท ฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จ จำคุก 5 ปี เพิ่มโทษกระทงละกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 12 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 675,000 บาท ฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 7 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 14 ปี 24 เดือน และปรับ 675,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 7 ปี 12 เดือน และปรับ 337,500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ริบของกลาง คดีถึงที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดโทษจำเลยใหม่เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า จำคุก 5 ปี และปรับ 450,000 บาท รวมจำคุก 5 ปี 8 เดือน และปรับ 250,000 บาท (ที่ถูก ปรับ 450,000 บาท) เพิ่มโทษกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 รวมจำคุก 7 ปี 6 เดือน 20 วัน และปรับ 600,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี 9 เดือน 10 วัน และปรับ 300,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้เกินหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปี
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติด พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของจำเลย
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า กรณีมีเหตุกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้ว ดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง... ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง...” ดังนั้น คำว่า กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดดังกล่าวนั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิด หรือบัญญัติถึงกำหนดโทษหรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทบัญญัติความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม และบทบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและมีผลที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 นั้น สำหรับความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การกำหนดโทษใหม่จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังคดีนี้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดโทษในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน ซึ่งมีโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 162 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน หรือปรับไม่เกิน 26,666.66 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี และปรับ 450,000 บาท และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปี เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 67 เม็ด และพยายามจำหน่ายไป 20 เม็ด บ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่จะได้รับจากการจำหน่ายเป็นการทั่วไป จึงเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดโทษฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว จึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1)
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า สำหรับการปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรมและการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 นั้น เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับ โดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวแทนซึ่งตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและการพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันคือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด ดังนั้น การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) เพียงกรรมเดียว จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) สำหรับบทบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ส่วนประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังไม่มีบทบัญญัติให้เพิ่มโทษได้เช่นเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงไม่อาจเพิ่มโทษทั้งตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดที่ถูกยกเลิกไปแล้ว และตามกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดได้ การเพิ่มโทษกึ่งหนึ่งจึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) เช่นกัน แต่อย่างใดก็ตามเมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาให้นำไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น แม้กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษอันเป็นกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติเรื่องเพิ่มโทษเพราะกระทำความผิดอีกไว้ ก็มิได้หมายความว่า ศาลไม่อาจเพิ่มโทษตามบทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา เมื่อจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีกโดยไม่เข็ดหลาบ และโจทก์ได้ขอเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด มาตรา 97 ไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์จะขอเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบและได้กล่าวในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 159 วรรคหนึ่ง แล้วด้วย ศาลย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ที่เป็นบททั่วไปได้ จึงถือว่า ความผิดอย่างเดียวกันฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และการเพิ่มโทษเป็นส่วนหนึ่งของโทษที่กำหนดตามคำพิพากษา คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดโทษจำเลยใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องของจำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำสั่งกำหนดโทษใหม่ของศาลชั้นต้น
กรณีเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 มีเจตนาวางแผนร่วมกันนำเข้าสินค้าโดยแยกกันนำเข้าเพื่อประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและได้รับประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน โดยในวันที่ 29 เมษายน 2547 วันที่ 13 พฤษภาคม 2547 วันที่ 27 พฤษภาคม 2547 วันที่ 3 มิถุนายน 2547 และวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 สำแดงเป็นแชสซีที่มีเครื่องยนต์ (Chassis Fitted with Engine for Truck/Tractor) ประเภทพิกัด 8706.00 เสียอัตราอากรร้อยละ 10 ส่วนที่จำเลยที่ 2 สำแดงเป็นชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) พร้อมอุปกรณ์ (Parts and Accessories of Cab) ประเภทพิกัด 8707.900 ประเภทพิกัด 8708.400 ประเภทพิกัด 8708.940 และประเภทพิกัด 9401.200 เสียอัตราอากรร้อยละ 40 ร้อยละ 30 ร้อยละ 10 และร้อยละ 10 ตามลำดับ การสำแดงและแยกการนำเข้าดังกล่าวเป็นการกระทำที่แบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้ยากแก่การตรวจสอบและชักพาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรผิดหลงในรายการสินค้าและประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าเพื่อจะได้ชำระอากรขาเข้าเป็นเงินจำนวนน้อยกว่าอากรขาเข้าตามประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าที่ถูกต้อง คือ ชิ้นส่วนของ Truck Tractor Chassis with Cab and Accessories of Cab เพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ครบชุดสมบูรณ์ทั้งคัน (CKD) เข้าประเภทพิกัด 8701.20 อัตราอากรร้อยละ 30 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ส่วนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เหตุผลว่า หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิสูจน์การกระทำความผิดในทางอาญาเป็นคนละส่วนกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาปัญหาประเภทพิกัด เมื่อในขณะนำเข้าสินค้าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แยกการนำเข้าต่างหากจากกัน การพิจารณาปัญหาพิกัดจึงต้องแยกการพิจารณาเป็นรายบริษัท คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อยืนยันว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “ให้ยกเลิก (1) พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และ (11) พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490” แต่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ยังบัญญัติให้การกระทำความผิดตามฟ้องยังเป็นความผิดอยู่ โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ จึงให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าในส่วนที่ให้ปรับรวมและกฎหมายใหม่ในส่วนโทษแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91 พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 15 วรรคสาม, 10 ทวิ, 87, 88 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 4, 5, 6, 7, 8, 9 และให้จำเลยทั้งสี่จ่ายสินบนรางวัลนำจับแก่เจ้าพนักงานผู้จับที่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษปรับคนละ 5,017,356 บาท รวม 5 กระทง รวมเป็นปรับจำเลยทั้งสี่คนละ 25,086,780 บาท หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระค่าปรับ สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ส่วนจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กรณีกักขังจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 แทนค่าปรับให้กักขังเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ได้ แต่ไม่เกิน 2 ปี คำขออื่นของโจทก์ให้ยก
จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า เหตุที่มีการจับกุมจำเลยทั้งสี่ดำเนินคดีนี้ สืบเนื่องจากกรมศุลกากรมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สืบสวนเกี่ยวกับกรณีที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเคยมีประวัติการนำเข้ารถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคันแต่ภายหลังจำเลยที่ 1 กลับสำแดงว่านำเข้าเฉพาะแชสซีกับเครื่องยนต์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งหรือแค้ป เมื่อตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ที่มีการบรรทุกสินค้าพบว่าตู้สินค้าของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถูกลากมาพร้อมกันหรือตามกันมาและมีการนำสินค้าที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำเข้าไปประกอบที่โรงงานของจำเลยที่ 2 เป็นรถทรัคแทรกเตอร์ ต่อมาเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจึงขอให้ศาลมีคำสั่งออกหมายค้นบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 พบเอกสารเกี่ยวกับการสั่งซื้อและการวางแผนภาษีให้น้อยลงจากการนำเข้าสินค้าแยกกัน โจทก์มีนายปรีชา และนายสมชาย นักวิชาการศุลกากร เป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า จากการสืบสวนหลังจากตรวจสอบประวัติการนำเข้าสินค้าของจำเลยที่ 1 บัญชีสินค้าของบริษัทตัวแทนเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง กลุ่มผู้ค้ารถ ตู้คอนเทนเนอร์ และซุ่มดูที่ที่ตั้งของจำเลยที่ 2 หลายครั้ง เห็นความผิดปกติในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรจึงยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอออกหมายค้น เมื่อได้ตรวจค้นบริษัทจำเลยที่ 1 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 23/21 กรุงเทพมหานคร และตรวจค้นบริษัทจำเลยที่ 2 สำนักงานและโรงงานตั้งอยู่เลขที่ 7/14 จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้ว พบเอกสารที่แสดงถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากรโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อชิ้นส่วนสินค้าจากบริษัท ก. ประเทศสวีเดน เพื่อมาประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคัน โดยรู้อยู่แล้วว่าต้องเสียอากรในอัตราร้อยละ 30 แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงให้เสียอากรต่ำกว่าความเป็นจริงโดยแยกการนำเข้าให้จำเลยที่ 1 นำเข้าเฉพาะแชสซีกับเครื่องยนต์ ซึ่งมีอัตราอากรร้อยละ 10 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งหรือแค้ปเสียภาษีอากรตามพิกัดและอัตราว่าด้วยของและอุปกรณ์นั้น ๆ และโจทก์มีนายนล เจ้าหน้าที่ประเมินอากร มีหน้าที่ตรวจสอบภายหลังการตรวจปล่อยสินค้าเป็นพยานเบิกความว่า พยานได้รับมอบหมายให้ตอบสำนักกฎหมายที่หารือมาเกี่ยวกับเรื่องการอุทธรณ์คดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จากการศึกษาแฟ้มคดีเก่าและเอกสารที่นำมาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 พบว่าจำเลยที่ 1 ติดต่อสื่อสารทางอีเมลกับบริษัท ก. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ประเทศสวีเดนของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับอัตราภาษีของรถทรัคแทรกเตอร์ที่นำเข้าหลายครั้ง โดยก่อนหน้านี้จำเลยที่ 1 ไปหารือกับพนักงานเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเกี่ยวกับเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรในการนำเข้ารถทรัคแทรกเตอร์ แชสซีกับเครื่องยนต์ และหัวเก๋งหรือแค้ป จำเลยที่ 1 จึงทำสรุปรายงานการหารือกับเจ้าหน้าที่เสนอที่ประชุมของจำเลยที่ 1 โดยมีอีเมลที่มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 จะดำเนินการให้มีการนำเข้าของโดยแยกกันระหว่างส่วนแชสซีกับเครื่องยนต์และส่วนหัวเก๋ง โดยจำเลยที่ 1 นำเข้าส่วนแชสซี ส่วนบริษัท ส. นำเข้าส่วนหัวเก๋ง แต่หากทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันระหว่าง 2 บริษัท และทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบว่านำเข้าด้วยกันเพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคันจึงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเข้าแทนบริษัท ส. พยานเห็นว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรในการนำเข้าทำให้มีการแยกการนำเข้าเพื่อให้ชำระอัตราอากรที่ถูกลงอันเป็นการหลีกเลี่ยงอากรจึงเสนอความเห็นตอบกลับไปยังสำนักกฎหมาย เห็นว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยที่ 1 เคยหารือกับกรมศุลกากรถึงการนำเข้ารถทรัคแทรกเตอร์ ได้รับคำอธิบายจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรว่า หากนำเข้าชิ้นส่วน CKD ของแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง จะเข้าประเภทพิกัด 87.06 ได้รับลดอัตราอากรเหลือร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก. 19/2542 เรื่อง ยกเลิกการลดอัตราอากรศุลกากรและการลดอัตราอากรศุลกากร แต่ต้องไม่มีส่วนของหัวเก๋งเข้ามาด้วย หากนำเข้าแชสซีพร้อมส่วนของหัวเก๋งหรือแค้ปเข้ามาในราชอาณาจักร จะเข้าประเภทพิกัด 87.01 ในฐานะชิ้นส่วนของ Truck Tractor Chassis with Cab หรือรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคัน (สินค้าครบสมบูรณ์) อัตราอากรร้อยละ 30 และหากนำเข้าหัวเก๋งหรือแค้ปที่มีการตัดแต่งแล้ว (Body Shell) จะเข้าประเภทพิกัด 87.07 อัตราอากรร้อยละ 80 ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็นำสืบรับในส่วนนี้ว่า จำเลยที่ 1 ได้สอบถามและหารือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร คือ นายพิทักษ์ และนายพงศักดิ์ หัวหน้างานชิ้นส่วนสมบูรณ์ ฝ่ายยกเว้นอากร อัตราศุลกากรจริง บริษัท ก. เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศสวีเดน ตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 และบริษัท ส. ขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้เป็นผู้แทนจำหน่ายรถทรัคแทรกเตอร์ในประเทศไทย จำเลยที่ 1 เช่าพื้นที่โรงงานของบริษัท พ. และเป็นคู่สัญญารับจ้างประกอบแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง เมื่อพิจารณาเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรยึดมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเอกสารภายใน มีอีเมลหลายฉบับระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ก. ประเทศสวีเดน ที่มีข้อความเป็นลำดับว่า บริษัท ส. อาจไม่สามารถนำส่วนของหัวเก๋งหรือแค้ปเข้ามาในประเทศไทยได้ ตามอีเมลฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 และต่อมามีเอกสารการประชุมของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2544 ระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท พ. (PTM) เป็นผู้มีชื่อนำเข้าในส่วนของหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์โดยให้อยู่ในความควบคุมของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อากรลดลง และเอกสารบันทึกความเข้าใจฉบับลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 ระบุถึงการให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเข้าหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์เอกสารที่ต้องใช้ระเบียบในการทำบัตรผ่านพิธีการ รวมถึงมีแผนภูมิการนำเข้าแนบท้ายที่แสดงอย่างชัดเจนว่าให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเข้าแชสซีและเครื่องยนต์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งและอุปกรณ์ เพื่อจะนำมาประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคันโดยบริษัท พ. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยทั้งสี่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า จำเลยที่ 1 เคยนำเข้าสินค้าโดยสำแดงเป็นประเภทพิกัดรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคัน จึงต้องรู้อยู่แล้วว่าสินค้ารถทรัคแทรกเตอร์ต้องเสียอากรในประเภทพิกัด 8701.20 อัตราอากรร้อยละ 30 แต่ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 หารือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรและประชุมภายในกับบริษัทในเครือ จำเลยที่ 1 กลับนำเข้าสินค้าโดยสำแดงสินค้าเป็นแชสซีที่มีเครื่องยนต์ (Chassis Fitted with Engine for Truck/Tractor) ในประเภทพิกัด 8706.00 อัตราอากรร้อยละ 10 ส่วนจำเลยที่ 2 นำเข้าสินค้าโดยสำแดงเป็นชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) พร้อมอุปกรณ์ (Parts and Accessories of Cab) ประเภทพิกัดและอัตราว่าด้วยของและอุปกรณ์นั้น ๆ ทำให้เมื่อรวมกันแล้วเสียค่าอากรน้อยลงกว่าจำนวนค่าอากรที่ต้องเสียตามความเป็นจริงของสินค้านำเข้า คือ ชิ้นส่วนเพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ครบชุดสมบูรณ์ อัตราอากรร้อยละ 30 ประกอบกับเมื่อพิจารณาในส่วนความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการผลิตและประกอบยานยนต์ เครื่องบินท่าอากาศยานทุกชนิด ส่วนจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการโรงงานผลิตและรับจ้างผลิตชิ้นส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของยานยนต์ เห็นว่า แม้ตามหนังสือรับรองจำเลยที่ 1 จะมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 23/21 กรุงเทพมหานคร แต่กลับปรากฏตามหนังสือขอให้มาชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมและหนังสือขอรับเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ของจำเลยที่ 1 ว่า โรงงานของจำเลยที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 7/14 จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นที่อยู่ที่เดียวกันกับที่ตั้งโรงงานและสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 2 ที่ระบุอยู่ในหนังสือรับรอง และยังได้ความตามหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 และบริษัท พ. เป็นบริษัทในเครือธุรกิจกับบริษัท ศ. ซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทจำเลยที่ 2 และบริษัท ศ. รับประกอบตัวถังรถโดยสารให้กับแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งยี่ห้อสแกนเนีย มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รองรับงานดังกล่าว ต่อมาจึงให้บริษัท พ. รับงานต่อตัวถังรถโดยสารให้กับแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งยี่ห้อสแกนเนีย นอกจากนี้ จำเลยที่ 3 ยังรับในคำให้การชั้นสอบสวนเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เคยมีความสัมพันธ์ทางการค้ามาก่อน ส่วนจำเลยที่ 3 รู้จักคุ้นเคยเป็นการส่วนตัวกับจำเลยที่ 4 อันแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยิ่งไปกว่านั้น จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ก็มีความรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีถึงขนาดที่จำเลยที่ 4 มอบบัตรผู้จัดการที่ต้องใช้สำหรับการนำเข้าส่งออกสินค้าของกรมศุลกากรให้จำเลยที่ 3 แม้จำเลยทั้งสี่จะนำสืบต่อสู้ในทำนองว่า จำเลยที่ 2 ซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์หัวเก๋งเข้ามาประกอบเพื่อเป็นการขยายธุรกิจ และเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในความรู้ด้านเทคโนโลยีในการผลิตจากเจ้าของสินค้าต่างประเทศ และจำเลยทั้งสี่มีนางสาวศุภพิชญ์ อดีตพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นพยานเบิกความว่า พยานมีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้พยานเป็นผู้ดำเนินการนำเข้าสินค้าประเภทหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์ในคดีนี้ เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 2 ยังไม่มีความชำนาญในการนำเข้าสินค้า ก็เป็นข้อกล่าวอ้างลอย ๆ และยังขัดแย้งกับสัญญาจ้างประกอบเอกสารที่มีข้อความระบุว่า บริษัท ส. เป็นบริษัทในเครือของบริษัท ก. โดยมีบริษัท ส. เป็นผู้นำเข้าส่วนประกอบหัวเก๋งของยานยนต์มายังประเทศไทย บริษัท พ. เป็นผู้รับจ้างประกอบแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งของยานยนต์ให้กับจำเลยที่ 1 โดยบริษัท ส. ประสงค์จะว่าจ้างให้บริษัท พ. เป็นผู้ประกอบหัวเก๋ง (Cab) และนำหัวเก๋งนี้ไปใส่หรือประกอบกับแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง (Cab Fixed on the Chassis Fitted with Engine) ของยานยนต์ ซึ่งบริษัท พ. รับจ้างประกอบให้กับจำเลยที่ 1 ที่สำคัญในสัญญาจ้างประกอบฉบับดังกล่าวมีข้อความระบุว่า บริษัท ส. จะเป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์ประกอบ โดยสงวนสิทธิให้เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ส่วนบริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 2 จะไม่เข้าถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันใด ๆ ต่อหัวเก๋งและส่วนประกอบต่าง ๆ ของหัวเก๋ง บริษัท พ. จะได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าบริการประกอบ จากเอกสารดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงว่าผู้ที่มีกรรมสิทธิ์และนำเข้าส่วนหัวเก๋งที่แท้จริง คือบริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ดังนั้น แม้ไม่พบใบสั่งซื้อบางส่วนก็ไม่ได้เป็นข้อหักล้างความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสี่ว่าไม่ได้ร่วมกันนำเข้าสินค้าพิพาท อีกทั้งยังได้ความจากนางสาวศุภพิชญ์เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 ถามติงว่า จำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าผ่านจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อสินค้าจาก บริษัท ก. ประเทศสวีเดน แต่เพียงรายเดียว และเบิกความตอบโจทก์ถามค้านว่า บริษัทผู้ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเพียงผู้เดียวในประเทศไทยเท่านั้นที่จะสั่งสินค้าจากบริษัท ก. ประเทศสวีเดน ได้ แต่ขณะที่มีการนำเข้าสินค้าของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้นั้น จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจสั่งซื้อด้วยตนเอง เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 มีเจตนาวางแผนร่วมกันนำเข้าสินค้าโดยแยกกันนำเข้าเพื่อประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและได้รับประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน โดยในวันที่ 29 เมษายน 2547 วันที่ 13 พฤษภาคม 2547 วันที่ 27 พฤษภาคม 2547 วันที่ 3 มิถุนายน 2547 และวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 สำแดงเป็นแชสซีที่มีเครื่องยนต์ (Chassis Fitted with Engine for Truck/Tractor) ประเภทพิกัด 8706.00 เสียอัตราอากรร้อยละ 10 ส่วนที่จำเลยที่ 2 สำแดงเป็นชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) พร้อมอุปกรณ์ (Parts and Accessories of Cab) ประเภทพิกัด 8707.900 ประเภทพิกัด 8708.400 ประเภทพิกัด 8708.940 และประเภทพิกัด 9401.200 เสียอัตราอากรร้อยละ 40 ร้อยละ 30 ร้อยละ 10 และร้อยละ 10 ตามลำดับ การสำแดงและแยกการนำเข้าดังกล่าวเป็นการกระทำที่แบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้ยากแก่การตรวจสอบและชักพาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรผิดหลงในรายการสินค้าและประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้า เพื่อจะได้ชำระอากรขาเข้าเป็นเงินจำนวนน้อยกว่าอากรขาเข้าตามประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าที่ถูกต้อง คือ ชิ้นส่วนของ Truck Tractor Chassis with Cab and Accessories of Cab เพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ครบชุดสมบูรณ์ทั้งคัน (CKD) เข้าประเภทพิกัด 8701.20 อัตราอากรร้อยละ 30 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ส่วนที่จำเลยทั้งสี่นำสืบว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของกรมศุลกากรเคยมีคำวินิจฉัยในเรื่องสินค้าแชสซีและเครื่องยนต์สำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ที่จำเลยที่ 1 นำเข้าเช่นในคดีนี้ว่า ให้เพิกถอนการประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้จัดสินค้าเป็นแชสซีสำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ เข้าประเภทพิกัด 8708.99 ในฐานะเป็นส่วนประกอบของยานยนต์ ตามประเภท 87.01 และเป็นเครื่องยนต์ สำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ประเภทพิกัด 8408.20 ในฐานะเป็นเครื่องยนต์ชนิดที่ใช้ขับเคลื่อนยานบกในตอนที่ 87 สินค้าที่จำเลยที่ 1 นำเข้าจึงไม่ใช่ชิ้นส่วนของ Truck Tractor Chassis with Cab and Accessories of Cab เพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ครบชุดสมบูรณ์ทั้งคัน (CKD) เข้าประเภทพิกัด 8701.20 อัตราอากรร้อยละ 30 ตามที่โจทก์ฟ้อง นั้น เห็นว่า ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เหตุผลว่า หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิสูจน์การกระทำความผิดในทางอาญาเป็นคนละส่วนกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาปัญหาประเภทพิกัด เมื่อในขณะนำเข้าสินค้าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แยกการนำเข้าต่างหากจากกัน การพิจารณาปัญหาพิกัดจึงต้องแยกการพิจารณาเป็นรายบริษัท คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อยืนยันว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 1 นำเข้าสินค้า คือ แชสซีสำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ (Chassis for Truck/Tractor “Scania Brand”) และเครื่องยนต์สำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ (Engine for Truck/Tractor “Scania Brand”) เพื่อมาประกอบกับส่วนหัวเก๋งที่จำเลยที่ 2 นำเข้ามา จึงยิ่งรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันนำชิ้นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของรถทรัคแทรกเตอร์ประเภทพิกัด 87.01 ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร บัญชีท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 1 ข้อ 2 (ก) วรรคหนึ่ง ที่ว่า “ประเภทที่ระบุถึงของใด ให้หมายรวมถึงของนั้นที่ยังไม่ครบสมบูรณ์หรือยังไม่สำเร็จ หากว่าในขณะนำเข้ามีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้วและให้หมายรวมถึงของที่สมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว (หรือที่จำแนกเข้าประเภทของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้วตามนัยแห่งหลักเกณฑ์นี้) ที่นำเข้ามาโดยถอดแยกออกจากกันหรือยังไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกัน” ส่วนการใช้ส่วนประกอบภายในประเทศสำหรับงานผลิตเป็นชิ้นงานสำเร็จก็มีเพียง 2 รายการ คือ แบตเตอรี่รถยนต์และยางรถยนต์ ซึ่งไม่ถือเป็นชิ้นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของรถทรัคแทรกเตอร์ ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร บัญชีท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 1 ข้อ 2 (ก) ส่วนที่จำเลยทั้งสี่นำสืบโต้แย้งว่า จำเลยที่ 2 นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์เช่นเดียวกับสินค้าในคดีนี้ หลังนำเข้าจำเลยที่ 2 นำสินค้ารวมถึงอุปกรณ์อื่นที่ซื้อในประเทศมาประกอบเพื่อให้เป็นสินค้าหัวเก๋งและขายให้แก่ผู้ซื้อ เพื่อนำไปเป็นอุปกรณ์ประกอบหัวเก๋งและรถทรัคแทรกเตอร์ ในการประกอบนั้นมีขั้นตอนการประกอบถึงร้อยกว่าขั้นตอน ยุ่งยากซับซ้อนและยังต้องมีการทำงานเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จโดยทำการเจาะที่ด้านหลังและด้านข้างของหัวเก๋งเพื่อมาติดตั้งบังลมข้าง (Air Deflector) ที่ติดตั้งเพื่อให้รถยนต์มีคุณสมบัติดีขึ้น รวมถึงแผ่นป้ายทะเบียนการผลิตของจำเลยที่ 2 เข้าไปอีกด้วย สินค้าที่จำเลยที่ 2 นำเข้าจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีการกำหนดประเภทพิกัดศุลกากรเป็นสินค้ารายชิ้นว่าด้วยของนั้น ๆ เห็นว่า การพิจารณาว่าของหรือสินค้าที่นำเข้ามาเป็นชิ้นส่วนที่ยังไม่ครบสมบูรณ์หรือยังไม่สำเร็จ หรือเป็นชิ้นส่วนที่ถอดแยกออกจากกันหรือยังไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกันมีจำนวนและลักษณะเพียงพอที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว อันส่งผลให้ประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของของที่นำเข้าเปลี่ยนจาก “ชิ้นส่วนของของหรือสินค้า” กลายเป็น “ของหรือสินค้าที่ครบสมบูรณ์” แล้ว ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร บัญชีท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 1 ข้อ 2 (ก) มิได้หมายถึงเฉพาะการนำเข้าแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จรูปหรือนำเข้าชิ้นส่วนแค้ปทั้งหมดทุกรายการเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงการนำเข้าชิ้นส่วนแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ที่มีจำนวนเพียงพอที่เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องนำไปทำอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์จนถึงขั้นสำเร็จแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการนำเข้าแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ที่เป็นชิ้นส่วนอันเป็นสาระสำคัญของของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว สินค้านำเข้าเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547 วันที่ 13 พฤษภาคม 2547 วันที่ 27 พฤษภาคม 2547 วันที่ 3 มิถุนายน 2547 และวันที่ 14 มิถุนายน 2547 ที่จำเลยที่ 2 สำแดงเป็นชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) พร้อมอุปกรณ์ (Parts and Accessories of Cab) ในประเภทพิกัด 8707.900 ประเภทพิกัด 8708.400 ประเภทพิกัด 8708.940 และประเภทพิกัด 9401.200 อัตราร้อยละ 40 ร้อยละ 30 ร้อยละ 10 และร้อยละ 10 ตามลำดับ ตามใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 004478 0824 จำนวน 6 ชุด ใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 005478 0368 จำนวน 6 ชุด ใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 005478 0838 จำนวน 6 ชุด ใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 006478 0019 จำนวน 6 ชุด และใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 006478 0454 จำนวน 12 ชุด นั้น เมื่อพิจารณาหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 2 ประกอบเหตุผลตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว สินค้าที่จำเลยที่ 2 นำเข้าสามารถนำเข้าสู่กระบวนการประกอบหัวเก๋ง (Cab) ได้ทันทีด้วยการนำไปประกอบยึดติดชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ส่วนการเจาะที่ด้านหลังและด้านข้างของหัวเก๋งเพื่อมาติดตั้งบังลมข้าง (Air Deflector) ก็ไม่ถือเป็นกระบวนการจัดทำเพิ่มเติม (Further Working Operation) ที่จำเป็นเพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นครบสมบูรณ์จนถึงขั้นสำเร็จก่อนนำไปประกอบเป็นหัวเก๋ง ตัวลู่บังลม (Air Deflector) ตามที่จำเลยที่ 2 อ้าง เป็นเพียงอุปกรณ์เสริมที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตัวรถ ส่วนไฟสัญญาณและแผ่นป้ายทะเบียนการผลิต ถือเป็นอุปกรณ์เสริมในการขับขี่และอุปกรณ์แสดงถึงผู้ผลิตที่ไม่ได้มีสาระสำคัญต่อการทำงานของหัวเก๋ง (Cab) การเจาะติดตัวลู่บังลม (Air Deflector) ไฟสัญญาณและแผ่นป้ายทะเบียนการผลิต จึงไม่ถือเป็นจัดทำเพิ่มเติม (Further Working Operation) เพื่อให้เป็นชิ้นส่วนที่สมบูรณ์จนถึงขั้นสำเร็จในความหมายของหลักเกณฑ์ข้อ 2 (ก) ชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) และอุปกรณ์ของหัวเก๋ง (Parts and Accessories of Cab) ที่จำเลยที่ 2 นำเข้ามาดังกล่าวข้างต้นจึงถือเป็นลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของแค้ปและนำไปประกอบเป็นแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ซึ่งอยู่ในประเภทพิกัด 8707.90 ตามที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ คดีในส่วนแพ่งจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาปัญหาประเภทพิกัดในส่วนแพ่ง ซึ่งเมื่อเจตนานำมาประกอบกับแชสซีและเครื่องยนต์ที่จำเลยที่ 1 นำเข้าจึงครบเป็นชิ้นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของรถทรัคแทรกเตอร์ที่ครบสมบูรณ์ กรณีรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดฐานนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรหรืออากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ รวม 5 กระทง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “ให้ยกเลิก (1) พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 และ (11) พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490” แต่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ยังบัญญัติให้การกระทำความผิดตามฟ้องยังเป็นความผิดอยู่ โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ จึงให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าในส่วนที่ให้ปรับรวมและกฎหมายใหม่ในส่วนโทษแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
พิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 5 กระทง ปรับจำเลยทั้งสี่รวมเป็นเงิน 18,000,000 บาท หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระค่าปรับ สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ส่วนจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กรณีกักขังจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 แทนค่าปรับ ให้กักขังเป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปี แต่ไม่เกินสองปี คำขออื่นของโจทก์ให้ยก
กรณีเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 มีเจตนาวางแผนร่วมกันนำเข้าสินค้าโดยแยกกันนำเข้าเพื่อประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและได้รับประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน โดยในวันที่ 29 เมษายน 2547 วันที่ 13 พฤษภาคม 2547 วันที่ 27 พฤษภาคม 2547 วันที่ 3 มิถุนายน 2547 และวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 สำแดงเป็นแชสซีที่มีเครื่องยนต์ (Chassis Fitted with Engine for Truck/Tractor) ประเภทพิกัด 8706.00 เสียอัตราอากรร้อยละ 10 ส่วนที่จำเลยที่ 2 สำแดงเป็นชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) พร้อมอุปกรณ์ (Parts and Accessories of Cab) ประเภทพิกัด 8707.900 ประเภทพิกัด 8708.400 ประเภทพิกัด 8708.940 และประเภทพิกัด 9401.200 เสียอัตราอากรร้อยละ 40 ร้อยละ 30 ร้อยละ 10 และร้อยละ 10 ตามลำดับ การสำแดงและแยกการนำเข้าดังกล่าวเป็นการกระทำที่แบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้ยากแก่การตรวจสอบและชักพาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรผิดหลงในรายการสินค้าและประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าเพื่อจะได้ชำระอากรขาเข้าเป็นเงินจำนวนน้อยกว่าอากรขาเข้าตามประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าที่ถูกต้อง คือ ชิ้นส่วนของ Truck Tractor Chassis with Cab and Accessories of Cab เพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ครบชุดสมบูรณ์ทั้งคัน (CKD) เข้าประเภทพิกัด 8701.20 อัตราอากรร้อยละ 30 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ส่วนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เหตุผลว่า หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิสูจน์การกระทำความผิดในทางอาญาเป็นคนละส่วนกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาปัญหาประเภทพิกัด เมื่อในขณะนำเข้าสินค้าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แยกการนำเข้าต่างหากจากกัน การพิจารณาปัญหาพิกัดจึงต้องแยกการพิจารณาเป็นรายบริษัท คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อยืนยันว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “ให้ยกเลิก (1) พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และ (11) พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490” แต่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ยังบัญญัติให้การกระทำความผิดตามฟ้องยังเป็นความผิดอยู่ โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ จึงให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าในส่วนที่ให้ปรับรวมและกฎหมายใหม่ในส่วนโทษแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91 พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 15 วรรคสาม, 10 ทวิ, 87, 88 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 4, 5, 6, 7, 8, 9 และให้จำเลยทั้งสี่จ่ายสินบนรางวัลนำจับแก่เจ้าพนักงานผู้จับที่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษปรับคนละ 5,017,356 บาท รวม 5 กระทง รวมเป็นปรับจำเลยทั้งสี่คนละ 25,086,780 บาท หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระค่าปรับ สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ส่วนจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กรณีกักขังจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 แทนค่าปรับให้กักขังเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ได้ แต่ไม่เกิน 2 ปี คำขออื่นของโจทก์ให้ยก
จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า เหตุที่มีการจับกุมจำเลยทั้งสี่ดำเนินคดีนี้ สืบเนื่องจากกรมศุลกากรมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สืบสวนเกี่ยวกับกรณีที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเคยมีประวัติการนำเข้ารถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคันแต่ภายหลังจำเลยที่ 1 กลับสำแดงว่านำเข้าเฉพาะแชสซีกับเครื่องยนต์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งหรือแค้ป เมื่อตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ที่มีการบรรทุกสินค้าพบว่าตู้สินค้าของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถูกลากมาพร้อมกันหรือตามกันมาและมีการนำสินค้าที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำเข้าไปประกอบที่โรงงานของจำเลยที่ 2 เป็นรถทรัคแทรกเตอร์ ต่อมาเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจึงขอให้ศาลมีคำสั่งออกหมายค้นบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 พบเอกสารเกี่ยวกับการสั่งซื้อและการวางแผนภาษีให้น้อยลงจากการนำเข้าสินค้าแยกกัน โจทก์มีนายปรีชา และนายสมชาย นักวิชาการศุลกากร เป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า จากการสืบสวนหลังจากตรวจสอบประวัติการนำเข้าสินค้าของจำเลยที่ 1 บัญชีสินค้าของบริษัทตัวแทนเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง กลุ่มผู้ค้ารถ ตู้คอนเทนเนอร์ และซุ่มดูที่ที่ตั้งของจำเลยที่ 2 หลายครั้ง เห็นความผิดปกติในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรจึงยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอออกหมายค้น เมื่อได้ตรวจค้นบริษัทจำเลยที่ 1 สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 23/21 กรุงเทพมหานคร และตรวจค้นบริษัทจำเลยที่ 2 สำนักงานและโรงงานตั้งอยู่เลขที่ 7/14 จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้ว พบเอกสารที่แสดงถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากรโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อชิ้นส่วนสินค้าจากบริษัท ก. ประเทศสวีเดน เพื่อมาประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคัน โดยรู้อยู่แล้วว่าต้องเสียอากรในอัตราร้อยละ 30 แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงให้เสียอากรต่ำกว่าความเป็นจริงโดยแยกการนำเข้าให้จำเลยที่ 1 นำเข้าเฉพาะแชสซีกับเครื่องยนต์ ซึ่งมีอัตราอากรร้อยละ 10 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งหรือแค้ปเสียภาษีอากรตามพิกัดและอัตราว่าด้วยของและอุปกรณ์นั้น ๆ และโจทก์มีนายนล เจ้าหน้าที่ประเมินอากร มีหน้าที่ตรวจสอบภายหลังการตรวจปล่อยสินค้าเป็นพยานเบิกความว่า พยานได้รับมอบหมายให้ตอบสำนักกฎหมายที่หารือมาเกี่ยวกับเรื่องการอุทธรณ์คดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จากการศึกษาแฟ้มคดีเก่าและเอกสารที่นำมาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 พบว่าจำเลยที่ 1 ติดต่อสื่อสารทางอีเมลกับบริษัท ก. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ประเทศสวีเดนของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับอัตราภาษีของรถทรัคแทรกเตอร์ที่นำเข้าหลายครั้ง โดยก่อนหน้านี้จำเลยที่ 1 ไปหารือกับพนักงานเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเกี่ยวกับเรื่องพิกัดอัตราศุลกากรในการนำเข้ารถทรัคแทรกเตอร์ แชสซีกับเครื่องยนต์ และหัวเก๋งหรือแค้ป จำเลยที่ 1 จึงทำสรุปรายงานการหารือกับเจ้าหน้าที่เสนอที่ประชุมของจำเลยที่ 1 โดยมีอีเมลที่มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 จะดำเนินการให้มีการนำเข้าของโดยแยกกันระหว่างส่วนแชสซีกับเครื่องยนต์และส่วนหัวเก๋ง โดยจำเลยที่ 1 นำเข้าส่วนแชสซี ส่วนบริษัท ส. นำเข้าส่วนหัวเก๋ง แต่หากทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันระหว่าง 2 บริษัท และทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบว่านำเข้าด้วยกันเพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคันจึงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเข้าแทนบริษัท ส. พยานเห็นว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรในการนำเข้าทำให้มีการแยกการนำเข้าเพื่อให้ชำระอัตราอากรที่ถูกลงอันเป็นการหลีกเลี่ยงอากรจึงเสนอความเห็นตอบกลับไปยังสำนักกฎหมาย เห็นว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยที่ 1 เคยหารือกับกรมศุลกากรถึงการนำเข้ารถทรัคแทรกเตอร์ ได้รับคำอธิบายจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรว่า หากนำเข้าชิ้นส่วน CKD ของแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง จะเข้าประเภทพิกัด 87.06 ได้รับลดอัตราอากรเหลือร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก. 19/2542 เรื่อง ยกเลิกการลดอัตราอากรศุลกากรและการลดอัตราอากรศุลกากร แต่ต้องไม่มีส่วนของหัวเก๋งเข้ามาด้วย หากนำเข้าแชสซีพร้อมส่วนของหัวเก๋งหรือแค้ปเข้ามาในราชอาณาจักร จะเข้าประเภทพิกัด 87.01 ในฐานะชิ้นส่วนของ Truck Tractor Chassis with Cab หรือรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคัน (สินค้าครบสมบูรณ์) อัตราอากรร้อยละ 30 และหากนำเข้าหัวเก๋งหรือแค้ปที่มีการตัดแต่งแล้ว (Body Shell) จะเข้าประเภทพิกัด 87.07 อัตราอากรร้อยละ 80 ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็นำสืบรับในส่วนนี้ว่า จำเลยที่ 1 ได้สอบถามและหารือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร คือ นายพิทักษ์ และนายพงศักดิ์ หัวหน้างานชิ้นส่วนสมบูรณ์ ฝ่ายยกเว้นอากร อัตราศุลกากรจริง บริษัท ก. เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศสวีเดน ตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 และบริษัท ส. ขึ้นในประเทศไทย เพื่อให้เป็นผู้แทนจำหน่ายรถทรัคแทรกเตอร์ในประเทศไทย จำเลยที่ 1 เช่าพื้นที่โรงงานของบริษัท พ. และเป็นคู่สัญญารับจ้างประกอบแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง เมื่อพิจารณาเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรยึดมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเอกสารภายใน มีอีเมลหลายฉบับระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัท ก. ประเทศสวีเดน ที่มีข้อความเป็นลำดับว่า บริษัท ส. อาจไม่สามารถนำส่วนของหัวเก๋งหรือแค้ปเข้ามาในประเทศไทยได้ ตามอีเมลฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 และต่อมามีเอกสารการประชุมของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2544 ระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท พ. (PTM) เป็นผู้มีชื่อนำเข้าในส่วนของหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์โดยให้อยู่ในความควบคุมของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อากรลดลง และเอกสารบันทึกความเข้าใจฉบับลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 ระบุถึงการให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเข้าหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์เอกสารที่ต้องใช้ระเบียบในการทำบัตรผ่านพิธีการ รวมถึงมีแผนภูมิการนำเข้าแนบท้ายที่แสดงอย่างชัดเจนว่าให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเข้าแชสซีและเครื่องยนต์ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งและอุปกรณ์ เพื่อจะนำมาประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคันโดยบริษัท พ. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบและจำเลยทั้งสี่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า จำเลยที่ 1 เคยนำเข้าสินค้าโดยสำแดงเป็นประเภทพิกัดรถทรัคแทรกเตอร์ทั้งคัน จึงต้องรู้อยู่แล้วว่าสินค้ารถทรัคแทรกเตอร์ต้องเสียอากรในประเภทพิกัด 8701.20 อัตราอากรร้อยละ 30 แต่ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 หารือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรและประชุมภายในกับบริษัทในเครือ จำเลยที่ 1 กลับนำเข้าสินค้าโดยสำแดงสินค้าเป็นแชสซีที่มีเครื่องยนต์ (Chassis Fitted with Engine for Truck/Tractor) ในประเภทพิกัด 8706.00 อัตราอากรร้อยละ 10 ส่วนจำเลยที่ 2 นำเข้าสินค้าโดยสำแดงเป็นชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) พร้อมอุปกรณ์ (Parts and Accessories of Cab) ประเภทพิกัดและอัตราว่าด้วยของและอุปกรณ์นั้น ๆ ทำให้เมื่อรวมกันแล้วเสียค่าอากรน้อยลงกว่าจำนวนค่าอากรที่ต้องเสียตามความเป็นจริงของสินค้านำเข้า คือ ชิ้นส่วนเพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ครบชุดสมบูรณ์ อัตราอากรร้อยละ 30 ประกอบกับเมื่อพิจารณาในส่วนความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการผลิตและประกอบยานยนต์ เครื่องบินท่าอากาศยานทุกชนิด ส่วนจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการโรงงานผลิตและรับจ้างผลิตชิ้นส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของยานยนต์ เห็นว่า แม้ตามหนังสือรับรองจำเลยที่ 1 จะมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 23/21 กรุงเทพมหานคร แต่กลับปรากฏตามหนังสือขอให้มาชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมและหนังสือขอรับเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ของจำเลยที่ 1 ว่า โรงงานของจำเลยที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 7/14 จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นที่อยู่ที่เดียวกันกับที่ตั้งโรงงานและสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 2 ที่ระบุอยู่ในหนังสือรับรอง และยังได้ความตามหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 และบริษัท พ. เป็นบริษัทในเครือธุรกิจกับบริษัท ศ. ซึ่งมีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทจำเลยที่ 2 และบริษัท ศ. รับประกอบตัวถังรถโดยสารให้กับแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งยี่ห้อสแกนเนีย มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รองรับงานดังกล่าว ต่อมาจึงให้บริษัท พ. รับงานต่อตัวถังรถโดยสารให้กับแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งยี่ห้อสแกนเนีย นอกจากนี้ จำเลยที่ 3 ยังรับในคำให้การชั้นสอบสวนเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เคยมีความสัมพันธ์ทางการค้ามาก่อน ส่วนจำเลยที่ 3 รู้จักคุ้นเคยเป็นการส่วนตัวกับจำเลยที่ 4 อันแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยิ่งไปกว่านั้น จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ก็มีความรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีถึงขนาดที่จำเลยที่ 4 มอบบัตรผู้จัดการที่ต้องใช้สำหรับการนำเข้าส่งออกสินค้าของกรมศุลกากรให้จำเลยที่ 3 แม้จำเลยทั้งสี่จะนำสืบต่อสู้ในทำนองว่า จำเลยที่ 2 ซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์หัวเก๋งเข้ามาประกอบเพื่อเป็นการขยายธุรกิจ และเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในความรู้ด้านเทคโนโลยีในการผลิตจากเจ้าของสินค้าต่างประเทศ และจำเลยทั้งสี่มีนางสาวศุภพิชญ์ อดีตพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นพยานเบิกความว่า พยานมีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้พยานเป็นผู้ดำเนินการนำเข้าสินค้าประเภทหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์ในคดีนี้ เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 2 ยังไม่มีความชำนาญในการนำเข้าสินค้า ก็เป็นข้อกล่าวอ้างลอย ๆ และยังขัดแย้งกับสัญญาจ้างประกอบเอกสารที่มีข้อความระบุว่า บริษัท ส. เป็นบริษัทในเครือของบริษัท ก. โดยมีบริษัท ส. เป็นผู้นำเข้าส่วนประกอบหัวเก๋งของยานยนต์มายังประเทศไทย บริษัท พ. เป็นผู้รับจ้างประกอบแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งของยานยนต์ให้กับจำเลยที่ 1 โดยบริษัท ส. ประสงค์จะว่าจ้างให้บริษัท พ. เป็นผู้ประกอบหัวเก๋ง (Cab) และนำหัวเก๋งนี้ไปใส่หรือประกอบกับแชสซีที่มีเครื่องยนต์ติดตั้ง (Cab Fixed on the Chassis Fitted with Engine) ของยานยนต์ ซึ่งบริษัท พ. รับจ้างประกอบให้กับจำเลยที่ 1 ที่สำคัญในสัญญาจ้างประกอบฉบับดังกล่าวมีข้อความระบุว่า บริษัท ส. จะเป็นผู้นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์ประกอบ โดยสงวนสิทธิให้เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ส่วนบริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 2 จะไม่เข้าถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ หรือก่อให้เกิดภาระผูกพันใด ๆ ต่อหัวเก๋งและส่วนประกอบต่าง ๆ ของหัวเก๋ง บริษัท พ. จะได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าบริการประกอบ จากเอกสารดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริงว่าผู้ที่มีกรรมสิทธิ์และนำเข้าส่วนหัวเก๋งที่แท้จริง คือบริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 ดังนั้น แม้ไม่พบใบสั่งซื้อบางส่วนก็ไม่ได้เป็นข้อหักล้างความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสี่ว่าไม่ได้ร่วมกันนำเข้าสินค้าพิพาท อีกทั้งยังได้ความจากนางสาวศุภพิชญ์เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 ถามติงว่า จำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าผ่านจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อสินค้าจาก บริษัท ก. ประเทศสวีเดน แต่เพียงรายเดียว และเบิกความตอบโจทก์ถามค้านว่า บริษัทผู้ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเพียงผู้เดียวในประเทศไทยเท่านั้นที่จะสั่งสินค้าจากบริษัท ก. ประเทศสวีเดน ได้ แต่ขณะที่มีการนำเข้าสินค้าของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้นั้น จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจสั่งซื้อด้วยตนเอง เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 มีเจตนาวางแผนร่วมกันนำเข้าสินค้าโดยแยกกันนำเข้าเพื่อประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและได้รับประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน โดยในวันที่ 29 เมษายน 2547 วันที่ 13 พฤษภาคม 2547 วันที่ 27 พฤษภาคม 2547 วันที่ 3 มิถุนายน 2547 และวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 สำแดงเป็นแชสซีที่มีเครื่องยนต์ (Chassis Fitted with Engine for Truck/Tractor) ประเภทพิกัด 8706.00 เสียอัตราอากรร้อยละ 10 ส่วนที่จำเลยที่ 2 สำแดงเป็นชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) พร้อมอุปกรณ์ (Parts and Accessories of Cab) ประเภทพิกัด 8707.900 ประเภทพิกัด 8708.400 ประเภทพิกัด 8708.940 และประเภทพิกัด 9401.200 เสียอัตราอากรร้อยละ 40 ร้อยละ 30 ร้อยละ 10 และร้อยละ 10 ตามลำดับ การสำแดงและแยกการนำเข้าดังกล่าวเป็นการกระทำที่แบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้ยากแก่การตรวจสอบและชักพาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรผิดหลงในรายการสินค้าและประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้า เพื่อจะได้ชำระอากรขาเข้าเป็นเงินจำนวนน้อยกว่าอากรขาเข้าตามประเภทพิกัดอัตราอากรขาเข้าที่ถูกต้อง คือ ชิ้นส่วนของ Truck Tractor Chassis with Cab and Accessories of Cab เพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ครบชุดสมบูรณ์ทั้งคัน (CKD) เข้าประเภทพิกัด 8701.20 อัตราอากรร้อยละ 30 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ส่วนที่จำเลยทั้งสี่นำสืบว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของกรมศุลกากรเคยมีคำวินิจฉัยในเรื่องสินค้าแชสซีและเครื่องยนต์สำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ที่จำเลยที่ 1 นำเข้าเช่นในคดีนี้ว่า ให้เพิกถอนการประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่และให้จัดสินค้าเป็นแชสซีสำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ เข้าประเภทพิกัด 8708.99 ในฐานะเป็นส่วนประกอบของยานยนต์ ตามประเภท 87.01 และเป็นเครื่องยนต์ สำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ประเภทพิกัด 8408.20 ในฐานะเป็นเครื่องยนต์ชนิดที่ใช้ขับเคลื่อนยานบกในตอนที่ 87 สินค้าที่จำเลยที่ 1 นำเข้าจึงไม่ใช่ชิ้นส่วนของ Truck Tractor Chassis with Cab and Accessories of Cab เพื่อประกอบเป็นรถทรัคแทรกเตอร์ครบชุดสมบูรณ์ทั้งคัน (CKD) เข้าประเภทพิกัด 8701.20 อัตราอากรร้อยละ 30 ตามที่โจทก์ฟ้อง นั้น เห็นว่า ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เหตุผลว่า หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิสูจน์การกระทำความผิดในทางอาญาเป็นคนละส่วนกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาปัญหาประเภทพิกัด เมื่อในขณะนำเข้าสินค้าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แยกการนำเข้าต่างหากจากกัน การพิจารณาปัญหาพิกัดจึงต้องแยกการพิจารณาเป็นรายบริษัท คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อยืนยันว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 1 นำเข้าสินค้า คือ แชสซีสำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ (Chassis for Truck/Tractor “Scania Brand”) และเครื่องยนต์สำหรับรถทรัคแทรกเตอร์ (Engine for Truck/Tractor “Scania Brand”) เพื่อมาประกอบกับส่วนหัวเก๋งที่จำเลยที่ 2 นำเข้ามา จึงยิ่งรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันนำชิ้นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของรถทรัคแทรกเตอร์ประเภทพิกัด 87.01 ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร บัญชีท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 1 ข้อ 2 (ก) วรรคหนึ่ง ที่ว่า “ประเภทที่ระบุถึงของใด ให้หมายรวมถึงของนั้นที่ยังไม่ครบสมบูรณ์หรือยังไม่สำเร็จ หากว่าในขณะนำเข้ามีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้วและให้หมายรวมถึงของที่สมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว (หรือที่จำแนกเข้าประเภทของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้วตามนัยแห่งหลักเกณฑ์นี้) ที่นำเข้ามาโดยถอดแยกออกจากกันหรือยังไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกัน” ส่วนการใช้ส่วนประกอบภายในประเทศสำหรับงานผลิตเป็นชิ้นงานสำเร็จก็มีเพียง 2 รายการ คือ แบตเตอรี่รถยนต์และยางรถยนต์ ซึ่งไม่ถือเป็นชิ้นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของรถทรัคแทรกเตอร์ ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร บัญชีท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 1 ข้อ 2 (ก) ส่วนที่จำเลยทั้งสี่นำสืบโต้แย้งว่า จำเลยที่ 2 นำเข้าชิ้นส่วนหัวเก๋งพร้อมอุปกรณ์เช่นเดียวกับสินค้าในคดีนี้ หลังนำเข้าจำเลยที่ 2 นำสินค้ารวมถึงอุปกรณ์อื่นที่ซื้อในประเทศมาประกอบเพื่อให้เป็นสินค้าหัวเก๋งและขายให้แก่ผู้ซื้อ เพื่อนำไปเป็นอุปกรณ์ประกอบหัวเก๋งและรถทรัคแทรกเตอร์ ในการประกอบนั้นมีขั้นตอนการประกอบถึงร้อยกว่าขั้นตอน ยุ่งยากซับซ้อนและยังต้องมีการทำงานเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จโดยทำการเจาะที่ด้านหลังและด้านข้างของหัวเก๋งเพื่อมาติดตั้งบังลมข้าง (Air Deflector) ที่ติดตั้งเพื่อให้รถยนต์มีคุณสมบัติดีขึ้น รวมถึงแผ่นป้ายทะเบียนการผลิตของจำเลยที่ 2 เข้าไปอีกด้วย สินค้าที่จำเลยที่ 2 นำเข้าจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีการกำหนดประเภทพิกัดศุลกากรเป็นสินค้ารายชิ้นว่าด้วยของนั้น ๆ เห็นว่า การพิจารณาว่าของหรือสินค้าที่นำเข้ามาเป็นชิ้นส่วนที่ยังไม่ครบสมบูรณ์หรือยังไม่สำเร็จ หรือเป็นชิ้นส่วนที่ถอดแยกออกจากกันหรือยังไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกันมีจำนวนและลักษณะเพียงพอที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว อันส่งผลให้ประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของของที่นำเข้าเปลี่ยนจาก “ชิ้นส่วนของของหรือสินค้า” กลายเป็น “ของหรือสินค้าที่ครบสมบูรณ์” แล้ว ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร บัญชีท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 1 ข้อ 2 (ก) มิได้หมายถึงเฉพาะการนำเข้าแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จรูปหรือนำเข้าชิ้นส่วนแค้ปทั้งหมดทุกรายการเท่านั้น แต่ยังหมายความรวมถึงการนำเข้าชิ้นส่วนแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ที่มีจำนวนเพียงพอที่เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วมีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องนำไปทำอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์จนถึงขั้นสำเร็จแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการนำเข้าแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ที่เป็นชิ้นส่วนอันเป็นสาระสำคัญของของที่ครบสมบูรณ์หรือสำเร็จแล้ว สินค้านำเข้าเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547 วันที่ 13 พฤษภาคม 2547 วันที่ 27 พฤษภาคม 2547 วันที่ 3 มิถุนายน 2547 และวันที่ 14 มิถุนายน 2547 ที่จำเลยที่ 2 สำแดงเป็นชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) พร้อมอุปกรณ์ (Parts and Accessories of Cab) ในประเภทพิกัด 8707.900 ประเภทพิกัด 8708.400 ประเภทพิกัด 8708.940 และประเภทพิกัด 9401.200 อัตราร้อยละ 40 ร้อยละ 30 ร้อยละ 10 และร้อยละ 10 ตามลำดับ ตามใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 004478 0824 จำนวน 6 ชุด ใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 005478 0368 จำนวน 6 ชุด ใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 005478 0838 จำนวน 6 ชุด ใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 006478 0019 จำนวน 6 ชุด และใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ 2801 006478 0454 จำนวน 12 ชุด นั้น เมื่อพิจารณาหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 2 ประกอบเหตุผลตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว สินค้าที่จำเลยที่ 2 นำเข้าสามารถนำเข้าสู่กระบวนการประกอบหัวเก๋ง (Cab) ได้ทันทีด้วยการนำไปประกอบยึดติดชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ส่วนการเจาะที่ด้านหลังและด้านข้างของหัวเก๋งเพื่อมาติดตั้งบังลมข้าง (Air Deflector) ก็ไม่ถือเป็นกระบวนการจัดทำเพิ่มเติม (Further Working Operation) ที่จำเป็นเพื่อให้ชิ้นส่วนนั้นครบสมบูรณ์จนถึงขั้นสำเร็จก่อนนำไปประกอบเป็นหัวเก๋ง ตัวลู่บังลม (Air Deflector) ตามที่จำเลยที่ 2 อ้าง เป็นเพียงอุปกรณ์เสริมที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตัวรถ ส่วนไฟสัญญาณและแผ่นป้ายทะเบียนการผลิต ถือเป็นอุปกรณ์เสริมในการขับขี่และอุปกรณ์แสดงถึงผู้ผลิตที่ไม่ได้มีสาระสำคัญต่อการทำงานของหัวเก๋ง (Cab) การเจาะติดตัวลู่บังลม (Air Deflector) ไฟสัญญาณและแผ่นป้ายทะเบียนการผลิต จึงไม่ถือเป็นจัดทำเพิ่มเติม (Further Working Operation) เพื่อให้เป็นชิ้นส่วนที่สมบูรณ์จนถึงขั้นสำเร็จในความหมายของหลักเกณฑ์ข้อ 2 (ก) ชิ้นส่วนหัวเก๋ง (Cab Shell) และอุปกรณ์ของหัวเก๋ง (Parts and Accessories of Cab) ที่จำเลยที่ 2 นำเข้ามาดังกล่าวข้างต้นจึงถือเป็นลักษณะอันเป็นสาระสำคัญของแค้ปและนำไปประกอบเป็นแค้ปสำหรับยานยนต์ประเภท 87.01 ซึ่งอยู่ในประเภทพิกัด 8707.90 ตามที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ คดีในส่วนแพ่งจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาปัญหาประเภทพิกัดในส่วนแพ่ง ซึ่งเมื่อเจตนานำมาประกอบกับแชสซีและเครื่องยนต์ที่จำเลยที่ 1 นำเข้าจึงครบเป็นชิ้นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของรถทรัคแทรกเตอร์ที่ครบสมบูรณ์ กรณีรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำความผิดฐานนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรหรืออากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ รวม 5 กระทง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 บัญญัติว่า “ให้ยกเลิก (1) พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 และ (11) พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2490” แต่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ยังบัญญัติให้การกระทำความผิดตามฟ้องยังเป็นความผิดอยู่ โดยมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับเป็นเงินตั้งแต่ครึ่งเท่าแต่ไม่เกินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ จึงให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าในส่วนที่ให้ปรับรวมและกฎหมายใหม่ในส่วนโทษแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
พิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 5 กระทง ปรับจำเลยทั้งสี่รวมเป็นเงิน 18,000,000 บาท หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระค่าปรับ สำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ส่วนจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กรณีกักขังจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 แทนค่าปรับ ให้กักขังเป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปี แต่ไม่เกินสองปี คำขออื่นของโจทก์ให้ยก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 โจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยมีเนื้อความว่า “ตัวเองไม่ต้องคืนเงินพี่แล้วนะ แล้วพี่ก็จะไม่ทวงไม่ทำให้ตัวเองลำบากใจอีก พี่ขอโทษกับเรื่องราวที่ผ่านมา และอยากให้รู้ว่าพี่ยังรักตัวเองอยู่” ข้อความการสนทนาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะทวงเงินที่จำเลยยืมไปอีก เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลย ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นการปลดหนี้จำนวนอื่น ไม่ใช่หนี้จำนวน 105,000 บาท จำเลยยืมไปแล้วยังไม่ชำระคืนให้โจทก์ตามฟ้อง เห็นว่า โจทก์ส่งข้อความทางแอปพลิเคชันไลน์ทวงเงินคืนจากจำเลย และส่งข้อความถึงจำเลยให้เวลาจำเลยคืนเงินภายในเวลา 1 เดือน เมื่อจำเลยมีพยานหลักฐานคือข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ทวงเงินคืนจากจำเลยว่าโจทก์ปลดหนี้ตามฟ้องให้จำเลยแล้ว แม้ข้อความจะไม่ได้ระบุชัดว่ามูลหนี้ใดและโจทก์อ้างว่าหมายถึงหนี้ จำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ อื่น แต่มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยืมจากโจทก์ก็คงมีเพียงมูลหนี้ 105,000 บาท เพียงอย่างเดียว เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับที่โจทก์เบิกความตอบทนายโจทก์ถามเพิ่มว่า โจทก์คบหากับจำเลย ระหว่างที่คบหาก็มีการให้ยืมเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างประมาณ 1,000 บาท ถึง 2,000 บาท บ้าง และให้ทั้งที่เป็นเงินสดและโอนเข้าบัญชีการให้ดังกล่าวเป็นการให้โดยเสน่หา ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่าเงินจำนวนเล็กน้อยที่โจทก์อ้างนั้นเป็นการให้โดยเสน่หาเฉกเช่นคนรักที่คบหากัน ไม่ใช่มูลหนี้อื่นตามที่โจทก์อ้าง และไม่ปรากฏว่าโจทก์นำพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีมูลหนี้ที่จำเลยยืมจากโจทก์จำนวนอื่นอีก แม้การแสดงเจตนาปลดหนี้จะใช้วิธีการส่งข้อความผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งมิใช่การส่งผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ตามที่โจทก์เคยใช้ติดต่อกับจำเลย ก็ได้ความจากคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์เองว่า จำเลยตัดช่องทางการติดต่อกับโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อจำเลยทางโทรศัพท์แต่จำเลยไม่รับ จึงติดต่อไปทางแอปพลิเคชันวีแชต จึงเชื่อว่าหนี้ที่โจทก์แสดงเจตนาปลดหนี้เป็นหนี้จำนวนเดียวกันกับที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมตามฟ้อง การส่งข้อความผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชตเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับด้วย เมื่อโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ส่งข้อความดังกล่าวให้จำเลยผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนโจทก์ได้ ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8 พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้รับการปลดหนี้จากการกู้ยืมเงินตามฟ้องโจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 โจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยมีเนื้อความว่า “ตัวเองไม่ต้องคืนเงินพี่แล้วนะ แล้วพี่ก็จะไม่ทวงไม่ทำให้ตัวเองลำบากใจอีก พี่ขอโทษกับเรื่องราวที่ผ่านมา และอยากให้รู้ว่าพี่ยังรักตัวเองอยู่” ข้อความการสนทนาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะทวงเงินที่จำเลยยืมไปอีก เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลย ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นการปลดหนี้จำนวนอื่น ไม่ใช่หนี้จำนวน 105,000 บาท จำเลยยืมไปแล้วยังไม่ชำระคืนให้โจทก์ตามฟ้อง เห็นว่า โจทก์ส่งข้อความทางแอปพลิเคชันไลน์ทวงเงินคืนจากจำเลย และส่งข้อความถึงจำเลยให้เวลาจำเลยคืนเงินภายในเวลา 1 เดือน เมื่อจำเลยมีพยานหลักฐานคือข้อความที่โจทก์ส่งถึงจำเลยทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ทวงเงินคืนจากจำเลยว่าโจทก์ปลดหนี้ตามฟ้องให้จำเลยแล้ว แม้ข้อความจะไม่ได้ระบุชัดว่ามูลหนี้ใดและโจทก์อ้างว่าหมายถึงหนี้ จำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ อื่น แต่มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยืมจากโจทก์ก็คงมีเพียงมูลหนี้ 105,000 บาท เพียงอย่างเดียว เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับที่โจทก์เบิกความตอบทนายโจทก์ถามเพิ่มว่า โจทก์คบหากับจำเลย ระหว่างที่คบหาก็มีการให้ยืมเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างประมาณ 1,000 บาท ถึง 2,000 บาท บ้าง และให้ทั้งที่เป็นเงินสดและโอนเข้าบัญชีการให้ดังกล่าวเป็นการให้โดยเสน่หา ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่าเงินจำนวนเล็กน้อยที่โจทก์อ้างนั้นเป็นการให้โดยเสน่หาเฉกเช่นคนรักที่คบหากัน ไม่ใช่มูลหนี้อื่นตามที่โจทก์อ้าง และไม่ปรากฏว่าโจทก์นำพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีมูลหนี้ที่จำเลยยืมจากโจทก์จำนวนอื่นอีก แม้การแสดงเจตนาปลดหนี้จะใช้วิธีการส่งข้อความผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งมิใช่การส่งผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ตามที่โจทก์เคยใช้ติดต่อกับจำเลย ก็ได้ความจากคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์เองว่า จำเลยตัดช่องทางการติดต่อกับโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อจำเลยทางโทรศัพท์แต่จำเลยไม่รับ จึงติดต่อไปทางแอปพลิเคชันวีแชต จึงเชื่อว่าหนี้ที่โจทก์แสดงเจตนาปลดหนี้เป็นหนี้จำนวนเดียวกันกับที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมตามฟ้อง การส่งข้อความผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชตเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับด้วย เมื่อโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ส่งข้อความดังกล่าวให้จำเลยผ่านทางแอปพลิเคชันวีแชต ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนโจทก์ได้ ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8 พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้รับการปลดหนี้จากการกู้ยืมเงินตามฟ้องโจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารรับฝากเงิน ทำการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วยข้อความว่าเป็นการรับฝากเงินสงเคราะห์ แบบคุ้มครองสินเชื่อแก่ลูกค้าผู้กู้ของธนาคาร โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ฝากเงินสงเคราะห์และเงื่อนไขสำคัญว่า ผู้ฝากเงินสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรลูกค้าผู้กู้และคู่สมรส อายุระหว่าง 20 ปี ถึง 70 ปี ชำระเงินต่อปี โดยมีผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรับเพิ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ ของเงินทุนสงเคราะห์ ข้อความโฆษณาดังกล่าวจำเลยนำมาจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ย่อมทำให้ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคเข้าใจว่า หากผู้ตายเป็นลูกค้าของธนาคารจำเลย นำเงินไปฝากกับจำเลยตามจำนวนและต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาแล้ว ผู้ตายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ที่จำเลยโฆษณาไว้ด้วย จำเลยจึงต้องผูกพันให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตายตามที่ตนโฆษณาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 การที่ผู้ตายขอฝากเงินสงเคราะห์ต่อจำเลยโดยมุ่งหวังรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์มอบรัก 1/1 จึงเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายอยู่ด้วย เพราะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารรับฝากเงิน ทำการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วยข้อความว่าเป็นการรับฝากเงินสงเคราะห์ แบบคุ้มครองสินเชื่อแก่ลูกค้าผู้กู้ของธนาคาร โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ฝากเงินสงเคราะห์และเงื่อนไขสำคัญว่า ผู้ฝากเงินสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรลูกค้าผู้กู้และคู่สมรส อายุระหว่าง 20 ปี ถึง 70 ปี ชำระเงินต่อปี โดยมีผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรับเพิ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ ของเงินทุนสงเคราะห์ ข้อความโฆษณาดังกล่าวจำเลยนำมาจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ย่อมทำให้ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคเข้าใจว่า หากผู้ตายเป็นลูกค้าของธนาคารจำเลย นำเงินไปฝากกับจำเลยตามจำนวนและต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาแล้ว ผู้ตายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ที่จำเลยโฆษณาไว้ด้วย จำเลยจึงต้องผูกพันให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตายตามที่ตนโฆษณาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 การที่ผู้ตายขอฝากเงินสงเคราะห์ต่อจำเลยโดยมุ่งหวังรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์มอบรัก 1/1 จึงเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายอยู่ด้วย เพราะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์
แม้จำเลยยังมิได้ออกกรมธรรม์เป็นหนังสือให้แก่ผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ก็สามารถฟ้องบังคับคดีได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 10 ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมาย (ป.พ.พ. มาตรา 867) ที่บังคับให้นิติกรรมใดต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้นั้น มิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้ พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรฯ มาตรา 10 (12) ให้ธนาคารจำเลยมีอำนาจรับฝากเงินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตของเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกรได้ก้อง ศิวะเกื้อ
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือ และต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ ประการแรก ต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สอง จะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง และประการที่สาม คำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือ และต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ ประการแรก ต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สอง จะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง และประการที่สาม คำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
สัญญาเช่าข้อ 10.3 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่า สอดคล้องกับข้อ 3.2 ซึ่งกำหนดว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า โดยเหตุจากการกระทำผิดสัญญาของผู้เช่าหรือผู้เช่าขอเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าตกลงให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันได้ทั้งจำนวน นอกจากนี้สัญญาเช่าข้อ 11 ยังระบุว่า เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุครบกำหนดสัญญาแล้ว ไม่มีการต่อสัญญาออกไปตามข้อ 9 หรือโดยการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10 หรือด้วยเหตุอื่นใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้ ข้อ 11.1 ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันที โดยมิจำเป็นต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามีสิทธิครอบครองยึดหน่วง และขนย้ายทรัพย์สินทั้งปวงที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่าออกไป รวมทั้งมีสิทธิดำเนินการให้ผู้อื่นเช่าทรัพย์สินที่เช่าต่อไปด้วย และสัญญาจ้างบริการข้อ 8 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการใช้บริการได้ในกรณีสัญญาจ้างบริการสิ้นสุดโดยเหตุแห่งการผิดสัญญาของจำเลย แสดงให้เห็นว่าหากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยให้จำเลยชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญา แม้ว่าจำเลยจะมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าอีกต่อไป รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ดังนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันตามสัญญาเช่าข้อ 10.3 เมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใดไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างชำระเสมือนหนึ่งเป็นการเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่เลิกกันไปแล้วหาได้ไม่ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่บอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญาโดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 802,547.39 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 769,758.83 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยชำระเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของต้นเงิน 32,788.56 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 426,798.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 411,798.83 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 สิงหาคม 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 71,941.47 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ก. ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในอาคาร ค. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 จำเลยทำสัญญาเช่าพื้นที่ชั้น 10 โซน C2 เนื้อที่ 157 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในอาคาร ค. กับโจทก์ กำหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 อัตราค่าเช่ารายเดือน 228 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร คิดเป็นค่าเช่า 35,796 บาท ต่อเดือน โดยจำเลยวางเงินประกันการเช่า 107,388 บาท นอกจากนี้ จำเลยทำสัญญาจ้างบริการในสำนักงานและอาคารดังกล่าวกับโจทก์ ซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าอาคาร อัตราค่าบริการรายเดือน 152 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร คิดเป็นค่าบริการ 23,864 บาท ต่อเดือน ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจำเลยวางเงินประกันการใช้บริการ 71,592 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 จำเลยมีหนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่และสัญญาจ้างบริการดังกล่าวไปยังโจทก์ โดยที่ยังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าและไม่ใช่ความผิดของโจทก์ และวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่า ค่าบริการ และค่าเสียหายไปยังจำเลย สำหรับค่าเสียหายในส่วนค่าเช่าเดือนมกราคม 2562 จำนวน 35,796 บาท ค่าบริการเดือนมกราคม 2562 จำนวน 23,864 บาท ค่าไฟฟ้าและค่าบริการจอดรถ จำนวน 1,209.67 บาท และ 5,071.80 บาท ตามลำดับ และค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าและค่าบริการตามสัญญาจ้างบริการล่าช้า 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 71,941.47 บาท ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดนั้น คู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ฎีกาโต้แย้ง ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การบอกเลิกสัญญาของจำเลยทำให้สัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการเลิกกันหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดในค่าเช่าและค่าบริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 หรือไม่ เห็นว่า ตามสัญญาเช่า ข้อ 10 เรื่องการเลิกสัญญา ได้กำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาไว้ โดยข้อ 10.1 และ 10.2 กำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาของผู้ให้เช่ากรณีผู้เช่าผิดสัญญาส่วนข้อ 10.3 กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกยกเลิกสัญญานี้ก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่า สอดคล้องกับข้อ 3.2 เรื่องค่าเช่าและเงินประกันการเช่า ซึ่งกำหนดว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า โดยเหตุจากการกระทำผิดสัญญาของผู้เช่าหรือผู้เช่าขอเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าตกลงให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันดังกล่าวได้ทั้งจำนวน นอกจากนี้ตามสัญญาเช่า ข้อ 11 ยังระบุว่า “เมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุครบกำหนดสัญญาแล้ว ไม่มีการต่อสัญญาออกไปตามข้อ 9 หรือโดยการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10 หรือด้วยเหตุอื่นใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง 11.1 ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันทีโดยมิจำเป็นต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามีสิทธิครอบครองยึดหน่วง และขนย้ายทรัพย์สินทั้งปวงที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่าออกไป... รวมทั้งมีสิทธิดำเนินการให้ผู้อื่นเช่าทรัพย์สินที่เช่าต่อไปด้วย...” และสัญญาจ้างบริการ ข้อ 8 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการใช้บริการได้ในกรณีสัญญาจ้างบริการสิ้นสุดโดยเหตุแห่งการผิดสัญญาของจำเลย แสดงให้เห็นว่า หากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นความผิดของโจทก์ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงได้กำหนดค่าเสียหายไว้ โดยให้จำเลยชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญา แม้ว่าจำเลยจะมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าอีกต่อไป รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ประกอบกับนางสาวกุลสรา ผู้จัดการโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิกลับเข้าครอบครองพื้นที่ตามสัญญาเช่า ข้อ 11.1 และนายนิวัฒน์ ซึ่งเป็นบุคลากรในการดูแลบริหารอาคารของโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า ในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2561 พนักงานทุกคนของจำเลยนำคีย์การ์ดที่ใช้ในการเข้าออกอาคารมาคืนแก่พยาน พยานทราบว่ามีการเลิกสัญญาเช่าพื้นที่พิพาทแล้ว จึงรับคีย์การ์ดคืนจากพนักงานของจำเลย หลังจากนั้นพยานก็ไม่เห็นพนักงานของจำเลยเข้ามาในพื้นที่พิพาทและจำเลยก็ไม่ได้ใช้บริการต่าง ๆ ของอาคาร เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ตลอดจนสถานที่จอดรถ ดังนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันตามสัญญาเช่า ข้อ 10.3 เมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างชำระเสมือนหนึ่งเป็นการเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่เลิกกันไปแล้วหาได้ไม่ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่บอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญาโดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ให้จำเลยรับผิดในค่าเช่าและค่าบริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการโดยเห็นว่าเป็นค่าเสียหายที่พอสมควรแล้วนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
สัญญาเช่าข้อ 10.3 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่า สอดคล้องกับข้อ 3.2 ซึ่งกำหนดว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า โดยเหตุจากการกระทำผิดสัญญาของผู้เช่าหรือผู้เช่าขอเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าตกลงให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันได้ทั้งจำนวน นอกจากนี้สัญญาเช่าข้อ 11 ยังระบุว่า เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุครบกำหนดสัญญาแล้ว ไม่มีการต่อสัญญาออกไปตามข้อ 9 หรือโดยการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10 หรือด้วยเหตุอื่นใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้ ข้อ 11.1 ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันที โดยมิจำเป็นต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามีสิทธิครอบครองยึดหน่วง และขนย้ายทรัพย์สินทั้งปวงที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่าออกไป รวมทั้งมีสิทธิดำเนินการให้ผู้อื่นเช่าทรัพย์สินที่เช่าต่อไปด้วย และสัญญาจ้างบริการข้อ 8 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการใช้บริการได้ในกรณีสัญญาจ้างบริการสิ้นสุดโดยเหตุแห่งการผิดสัญญาของจำเลย แสดงให้เห็นว่าหากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยให้จำเลยชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญา แม้ว่าจำเลยจะมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าอีกต่อไป รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ดังนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันตามสัญญาเช่าข้อ 10.3 เมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใดไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างชำระเสมือนหนึ่งเป็นการเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่เลิกกันไปแล้วหาได้ไม่ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่บอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญาโดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 802,547.39 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 769,758.83 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยชำระเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของต้นเงิน 32,788.56 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 426,798.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 411,798.83 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 สิงหาคม 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 71,941.47 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ก. ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในอาคาร ค. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 จำเลยทำสัญญาเช่าพื้นที่ชั้น 10 โซน C2 เนื้อที่ 157 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในอาคาร ค. กับโจทก์ กำหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 อัตราค่าเช่ารายเดือน 228 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร คิดเป็นค่าเช่า 35,796 บาท ต่อเดือน โดยจำเลยวางเงินประกันการเช่า 107,388 บาท นอกจากนี้ จำเลยทำสัญญาจ้างบริการในสำนักงานและอาคารดังกล่าวกับโจทก์ ซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าอาคาร อัตราค่าบริการรายเดือน 152 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร คิดเป็นค่าบริการ 23,864 บาท ต่อเดือน ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจำเลยวางเงินประกันการใช้บริการ 71,592 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 จำเลยมีหนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่และสัญญาจ้างบริการดังกล่าวไปยังโจทก์ โดยที่ยังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าและไม่ใช่ความผิดของโจทก์ และวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่า ค่าบริการ และค่าเสียหายไปยังจำเลย สำหรับค่าเสียหายในส่วนค่าเช่าเดือนมกราคม 2562 จำนวน 35,796 บาท ค่าบริการเดือนมกราคม 2562 จำนวน 23,864 บาท ค่าไฟฟ้าและค่าบริการจอดรถ จำนวน 1,209.67 บาท และ 5,071.80 บาท ตามลำดับ และค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าและค่าบริการตามสัญญาจ้างบริการล่าช้า 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 71,941.47 บาท ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดนั้น คู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ฎีกาโต้แย้ง ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การบอกเลิกสัญญาของจำเลยทำให้สัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการเลิกกันหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดในค่าเช่าและค่าบริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 หรือไม่ เห็นว่า ตามสัญญาเช่า ข้อ 10 เรื่องการเลิกสัญญา ได้กำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาไว้ โดยข้อ 10.1 และ 10.2 กำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาของผู้ให้เช่ากรณีผู้เช่าผิดสัญญาส่วนข้อ 10.3 กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกยกเลิกสัญญานี้ก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่า สอดคล้องกับข้อ 3.2 เรื่องค่าเช่าและเงินประกันการเช่า ซึ่งกำหนดว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า โดยเหตุจากการกระทำผิดสัญญาของผู้เช่าหรือผู้เช่าขอเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าตกลงให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันดังกล่าวได้ทั้งจำนวน นอกจากนี้ตามสัญญาเช่า ข้อ 11 ยังระบุว่า “เมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุครบกำหนดสัญญาแล้ว ไม่มีการต่อสัญญาออกไปตามข้อ 9 หรือโดยการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10 หรือด้วยเหตุอื่นใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง 11.1 ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันทีโดยมิจำเป็นต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามีสิทธิครอบครองยึดหน่วง และขนย้ายทรัพย์สินทั้งปวงที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่าออกไป... รวมทั้งมีสิทธิดำเนินการให้ผู้อื่นเช่าทรัพย์สินที่เช่าต่อไปด้วย...” และสัญญาจ้างบริการ ข้อ 8 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการใช้บริการได้ในกรณีสัญญาจ้างบริการสิ้นสุดโดยเหตุแห่งการผิดสัญญาของจำเลย แสดงให้เห็นว่า หากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นความผิดของโจทก์ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงได้กำหนดค่าเสียหายไว้ โดยให้จำเลยชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญา แม้ว่าจำเลยจะมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าอีกต่อไป รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ประกอบกับนางสาวกุลสรา ผู้จัดการโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิกลับเข้าครอบครองพื้นที่ตามสัญญาเช่า ข้อ 11.1 และนายนิวัฒน์ ซึ่งเป็นบุคลากรในการดูแลบริหารอาคารของโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า ในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2561 พนักงานทุกคนของจำเลยนำคีย์การ์ดที่ใช้ในการเข้าออกอาคารมาคืนแก่พยาน พยานทราบว่ามีการเลิกสัญญาเช่าพื้นที่พิพาทแล้ว จึงรับคีย์การ์ดคืนจากพนักงานของจำเลย หลังจากนั้นพยานก็ไม่เห็นพนักงานของจำเลยเข้ามาในพื้นที่พิพาทและจำเลยก็ไม่ได้ใช้บริการต่าง ๆ ของอาคาร เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ตลอดจนสถานที่จอดรถ ดังนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันตามสัญญาเช่า ข้อ 10.3 เมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างชำระเสมือนหนึ่งเป็นการเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่เลิกกันไปแล้วหาได้ไม่ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่บอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญาโดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ให้จำเลยรับผิดในค่าเช่าและค่าบริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการโดยเห็นว่าเป็นค่าเสียหายที่พอสมควรแล้วนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
เมื่อคดีฟังได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ให้บริการในการที่ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์จึงมิได้เป็นตัวกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบำเหน็จ ค่าตอบแทนที่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจ่ายให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ที่คำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดที่โจทก์เรียกว่า Fee and Commission Income Local สำหรับการประกันภัยต่อในประเทศ และเรียกว่า Fee and Commission Income Non Local สำหรับการประกันภัยต่อในต่างประเทศตามอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีอัตราหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเสียหายและความเสี่ยงในแต่ละสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงได้รับเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเป็นค่าตอบแทนเพื่อความเสี่ยงตามสัญญาประกันภัยต่อ และเมื่อโจทก์มิใช่นายหน้าหรือผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร จึงไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นเพียงตัวแปรในวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิตามปกติธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัย และการที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่ง แยกต่างหากจากการทำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต่อจึงอยู่ในฐานะผู้รับบริการ ส่วนผู้รับประกันภัยต่ออยู่ในฐานะผู้ให้บริการ และเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้บริการใด ๆ ต่อผู้รับประกันภัยต่อ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) ดังนั้น ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในประเทศและต่างประเทศจึงมิใช่มูลค่าที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่งกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ถือว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร เมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่อให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโจทก์จึงมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2) ส่วนฐานภาษีที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรวมส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อหรือไม่นั้น ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีเมื่อมีการชำระค่าบริการให้ผู้ประกอบการ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นตัวคำนวณหาค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ มิใช่ส่วนลดที่ผู้รับประกันภัยต่อลดให้โจทก์จากค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่กำหนดไว้แล้ว อันจะนำมาเป็นค่าบริการของผู้รับประกันภัยต่อ เมื่อส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) จึงมิใช่มูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่ต้องนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อดังกล่าวมารวมเป็นฐานภาษีเพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2556 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2557 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2556 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2557 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ยกเลิกการที่จำเลยนำภาษีซื้อยกยอดของโจทก์เป็นจำนวนทั้งหมด 2,482,330.65 บาท มาหักออกจากภาษีขายอันเป็นผลจากการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 (ภพ 73.1)
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2557 และให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว กับให้ยกเลิกการนำภาษีซื้อยกยอดของโจทก์จำนวน 2,482,330.65 บาท มาหักออกจากภาษีขาย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าอุทธรณ์ของจำเลยมีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวด้วย ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจการประกันวินาศภัยทุกประเภท รวมทั้งการรับประกันภัยต่อและการเอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ โจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินทั้ง 48 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 137,182,213.06 บาท วันที่ 17 มีนาคม 2560 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ยกเลิกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม รวม 48 ฉบับ ดังกล่าว เนื่องจากเป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากจะประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 ขอให้งดเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 เนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม และโจทก์ได้ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการด้วยดีตลอดมา วันที่ 19 ตุลาคม 2561 โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ซึ่งมีมติให้ยกอุทธรณ์
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 จนถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 พิพาทรวม 24 ฉบับ ที่ให้โจทก์รับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ปัญหานี้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (10) บัญญัติว่า “บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า...” มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 79/1 ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ...” วรรคสาม บัญญัติว่า “มูลค่าของฐานภาษีไม่ให้รวมถึง (1) ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว... (4) ค่าตอบแทนที่มีลักษณะและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 ได้กำหนดนิยามของคำว่า “ผู้รับประกันภัย” หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ คำว่า “ผู้เอาประกันภัย” หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย กรณีนายหน้า มาตรา 845 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทำสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จ...” และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้กำหนดนิยามของคำว่า “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการนั้น ทางพิจารณาโจทก์มีนายสุเทพ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และนางสาวดวงใจ ผู้จัดการส่วนอาวุโสบัญชีทั่วไป เป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของโจทก์แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 โจทก์ให้บริการประกันวินาศภัยโดยออกกรมธรรม์ประกันวินาศภัยให้แก่ลูกค้าผู้เอาประกันภัย เพื่อคุ้มครองภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย ในส่วนนี้โจทก์จะเป็นผู้ให้บริการประกันวินาศภัย และส่วนที่ 2 กรณีที่จำนวนเงินเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ที่โจทก์ออกให้ลูกค้าสูงเกินที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยลำพังในกรณีที่เกิดภัย โจทก์จะบริหารความเสี่ยงของตนโดยเข้าทำสัญญาประกันภัยต่อ (Reinsurance) กับบริษัทผู้ประกอบกิจการประกันวินาศภัยรายอื่นทั้งที่เป็นบริษัทผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ โดยในกรณีนี้โจทก์จะมีสถานภาพเป็นลูกค้าผู้เอาประกันภัยต่อ (Reinsured หรือ Reassured หรือ Cedant หรือ Ceding Company) ส่วนบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต่อจะเป็นผู้ให้บริการแก่โจทก์ หรือที่เรียกว่า ผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) กรณีที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อ หากเกิดภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้น ผู้รับประกันภัยต่อจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ สำหรับการจ่ายเงินให้กับผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์จะจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ซึ่งมีวิธีการคำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดตามอัตราที่ตกลงกันไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ อันเป็นสูตรในการคำนวณค่าตอบแทนเป็นปกติตามธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัยนี้ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อจึงไม่ใช่ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ และโจทก์ไม่เคยจ่ายเบี้ยประกันภัยต่อในส่วนที่เป็นส่วนลด ส่วนจำเลยมีนางสาวดวงใจ และนางธนัชพร เจ้าพนักงานของจำเลยเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อที่เกิดจากการที่ผู้เอาประกันภัยโดยตรงซื้อประกันภัยจากโจทก์ แล้วโจทก์ในฐานะบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อจะหักส่วนลดจากการประกันภัยต่อไว้แล้วจึงโอนเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ดังนั้นผู้ใช้บริการที่แท้จริงคือผู้เอาประกันภัยโดยตรง เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้น โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจะจ่ายค่าชดเชยให้ผู้เอาประกันภัยโดยตรงไปก่อน และเมื่อได้รับเอกสารแล้วจึงเรียกค่าชดเชยคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงเป็นผู้ให้บริการที่แท้จริง โดยมีโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อเป็นผู้ประกอบการและให้บริการในฐานะตัวกลางในการจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น เมื่อรายการส่วนลดรับเบี้ยประกันภัยต่อในประเทศ โจทก์ระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า Fee and Commission Income Local และส่วนลดรับเบี้ยประกันภัยต่อในต่างประเทศ โจทก์ระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า Fee and Commission Income Non Local ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อจึงมีความหมายว่าเป็นค่านายหน้า ซึ่งเป็นมูลค่าที่โจทก์ในฐานะบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อพึงได้รับจากเบี้ยประกันภัยต่อ ฐานภาษีสำหรับการให้บริการประกันภัยต่อของโจทก์จึงต้องรวมส่วนลดที่ได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรพิเคราะห์แล้ว คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่โจทก์ลงบันทึกในบัญชีแยกประเภท (General Ledger) มาประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเห็นว่าส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นค่าบริการของโจทก์ที่โจทก์ต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี จึงต้องพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้ให้บริการและส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นค่าบริการของโจทก์หรือไม่ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดฐานภาษีสำหรับการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้นิยามความหมายของคำว่า นายหน้า ใจความว่าคือ ผู้ชี้ช่องให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัย โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการชี้ช่องนั้น ที่จำเลยอ้างว่า ระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อเป็นเพียงตัวกลางในการจ่ายค่าชดเชยให้ผู้เอาประกันภัยแทนผู้รับประกันภัยต่อเท่านั้น เห็นว่า เมื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการรับประกันวินาศภัยของโจทก์กับผู้เอาประกันภัย แล้วเห็นได้ว่า โจทก์ให้บริการโดยทำสัญญารับประกันวินาศภัยกับผู้เอาประกันภัย โดยหากเกิดภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย และเมื่อพิจารณาบันทึกถ้อยคำพยานโจทก์ของนายวัชรินทร์ รองกรรมการผู้จัดการด้านการเงินและการบัญชีของบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัยที่ซื้อกรมธรรม์ประกันวินาศภัยจากโจทก์ได้ความว่า บริษัทได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์กรณีเกิดภัยหลายครั้ง เมื่อบริษัทได้รับค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยจากโจทก์แล้ว บริษัทจะออกหนังสือปิดเรื่องให้แก่โจทก์เพื่อแสดงความตกลงยอมรับค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ระบุและยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ขอรับความคุ้มครองความเสียหายเดียวกันจากบริษัทประกันวินาศภัยรายอื่น บริษัทไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ออกให้กับบริษัท เพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์ไม่เคยแสดงออกว่าเป็นนายหน้าตัวแทนหรือคนกลางระหว่างบริษัทกับผู้รับประกันภัยต่อแต่อย่างใด ซึ่งจำเลยเองก็แถลงยอมรับบันทึกถ้อยคำพยานของพยานปากดังกล่าว และไม่ได้โต้แย้งรายละเอียดในบันทึกถ้อยคำพยานและเอกสารเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงฟังได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัยโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเป็นคู่สัญญากับผู้เอาประกันภัยโดยตรง หากเกิดความเสียหายขึ้น โจทก์ต้องผูกพันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัย ส่วนลักษณะการประกอบการระหว่างโจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น โจทก์นำสืบว่า โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการ แต่โจทก์มีสถานภาพเป็นลูกค้าผู้เอาประกันภัยต่อ ในขณะที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นผู้ให้บริการคุ้มครองความเสี่ยงภัยต่อโจทก์ โดยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์กรณีเกิดภัยตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ โดยโจทก์มีบันทึกถ้อยคำพยานที่บันทึกไว้ล่วงหน้าของนายอานนท์ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยประจำปี 2556 ถึงปี 2560 และประจำปี 2562 ถึงปี 2564 ที่อธิบายถึงลักษณะของสัญญาประกันภัยต่อ ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า สถานภาพของบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อเป็นการให้บริการคุ้มครองความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย เมื่อบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยได้เข้าทำสัญญารับประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกค้า แต่พิจารณาแล้วเห็นว่าเงินที่เอาประกันภัยไว้ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยที่ตนออกให้แก่ลูกค้ามีจำนวนที่สูงก็จะกระจายความเสี่ยงบางส่วนไปยังบริษัทประกันวินาศภัยรายอื่นด้วยการเข้าทำสัญญาประกันภัยต่อ โดยบริษัทประกันวินาศภัยที่เป็นบริษัทผู้รับประกันภัยตรงให้แก่ลูกค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นจะกลายเป็นลูกค้า เรียกว่า บริษัทผู้เอาประกันภัยต่อ และบริษัทประกันวินาศภัยรายที่รับกระจายความเสี่ยงภัยจะเรียกว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ การทำสัญญาประกันภัยต่อจะไม่มีผลเป็นการปลดภาระความรับผิดชอบของบริษัทผู้รับประกันภัยตรงตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นซึ่งยังต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นลูกค้าของตน ปรากฏตามแนวทางปฏิบัติในการจัดทำกลยุทธ์การบริหารการประกันภัยต่อสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และคู่มือบัญชีประกันวินาศภัย ที่ตีพิมพ์โดยสมาคมประกันวินาศภัย ซึ่งสอดคล้องกับสำเนาสัญญารับประกันภัยต่อระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ที่มีบริษัท อ. เป็นผู้รับประกันวินาศภัยต่อ ที่มีเพียงรายละเอียดความรับผิดระหว่างบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต่อที่มีต่อโจทก์โดยตรง หาได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ให้บริการใดแก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ หรือโจทก์เป็นผู้รับเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย แล้วจะส่งต่อเบี้ยประกันภัยนั้นให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อโดยมีส่วนลดเบี้ยประกันภัยเป็นค่าบริการของโจทก์ตามข้ออ้างของจำเลยแต่อย่างใด ประกอบกับได้ความจากพยานจำเลยปากนางสาวดวงใจ เจ้าพนักงานของจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า พยานไม่มีหลักฐานในการรับเงินจากผู้เอาประกันภัยทอดแรกและในการนำส่งเงินดังกล่าวให้ผู้รับประกันภัยต่อ และพยานไม่มีหลักฐานในการที่ผู้รับประกันภัยต่อได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยส่งต่อมายังโจทก์ และให้โจทก์นำส่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ให้บริการในการที่ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อโจทก์จึงมิได้เป็นตัวกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบำเหน็จดังที่จำเลยอ้าง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต่อไม่ได้รับค่าเบี้ยประกันภัยต่อจากโจทก์เท่ากับความเสี่ยงที่ได้รับเบี้ยประกันภัยต่อ โดยโจทก์หักเป็นส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อไว้ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ จึงถือเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (5) (10) ไม่ว่าจะเรียกชื่อใด ๆ และต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 นั้น เห็นว่า พยานโจทก์ปากนายอานนท์ได้ให้ถ้อยคำตามบันทึกถ้อยคำพยานที่บันทึกไว้ล่วงหน้าว่า ตามสัญญาประกันภัยต่อ ผู้รับประกันภัยต่อจะได้รับค่าตอบแทนที่เรียกว่า “เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ” ซึ่งคำนวณโดยใช้จำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้ง หักด้วยส่วนลด (Reinsurance Commission) ตามอัตราที่ตกลงกันเพื่อให้ได้จำนวนเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเสมอ ดังนั้นค่าตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยต่อมีสิทธิได้รับ คือ เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณตามปกติธรรมเนียมประเพณีในการทำสัญญาประกันภัยต่อในวงการประกันวินาศภัยทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ผู้รับประกันภัยต่อจะไม่มีการจ่ายส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นเงินสด หรือนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อไปหักกลบกับรายการใด ๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต่อต้องชำระให้กับผู้รับประกันภัยต่อ เนื่องจากส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นเพียงตัวเลขที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันในสูตรการคำนวณจำนวนค่าตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยต่อมีสิทธิได้รับตามสัญญาประกันภัยต่อที่เรียกว่า “เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ” เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า ค่าตอบแทนที่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจ่ายให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ เป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ที่คำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดที่โจทก์เรียกว่า Fee and Commission Income Local สำหรับการประกันภัยต่อในประเทศ และเรียกว่า Fee and Commission Income Non Local สำหรับการประกันภัยต่อในต่างประเทศตามอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีอัตราหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเสียหายและความเสี่ยงในแต่ละสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงได้รับเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเป็นค่าตอบแทนเพื่อความเสี่ยงตามสัญญาประกันภัยต่อ และเมื่อได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่าโจทก์มิใช่นายหน้าหรือผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร จึงไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นเพียงตัวแปรในวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิตามปกติธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัย และการที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่ง แยกต่างหากจากการทำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต่อจึงอยู่ในฐานะผู้รับบริการ ส่วนผู้รับประกันภัยต่ออยู่ในฐานะผู้ให้บริการ และเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้บริการใด ๆ ต่อผู้รับประกันภัยต่อพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (1) ดังนั้น ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในประเทศและต่างประเทศจึงมิใช่มูลค่าที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่ง หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาททั้ง 24 ฉบับ ดังกล่าวจึงไม่ชอบ และการที่จำเลยนำภาษีซื้อที่โจทก์มีสิทธิได้รับมาหักออกจากภาษีขายที่จำเลยประเมินไว้นั้นจึงไม่ชอบ
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 จนถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 พิพาทรวม 24 ฉบับ ที่ให้โจทก์รับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่า ในการประกอบกิจการประกันวินาศภัยของโจทก์ เมื่อโจทก์รับประกันวินาศภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้ว เพื่อเป็นการคุ้มครองความเสี่ยงภัยของธุรกิจ โจทก์จะเอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อเพื่อที่โจทก์จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อ กรณีที่โจทก์มีการเอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ถือว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร เมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่อให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ โจทก์จึงมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) ส่วนฐานภาษีที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรวมส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อตามที่จำเลยฎีกาด้วยหรือไม่ นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีเมื่อมีการชำระค่าบริการให้ผู้ประกอบการ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นตัวคำนวณหาค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ มิใช่ส่วนลดที่ผู้รับประกันภัยต่อลดให้โจทก์จากค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่กำหนดไว้แล้ว อันจะนำมาเป็นค่าบริการของผู้รับประกันภัยต่อดังที่จำเลยอ้าง เมื่อส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (10) จึงมิใช่มูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่ต้องนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อดังกล่าวมารวมเป็นฐานภาษีเพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาททั้ง 24 ฉบับ ดังกล่าวจึงไม่ชอบ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนที่จำเลยอ้างว่า ก่อนประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 207) ที่กำหนดให้มูลค่าของการให้บริการรับประกันวินาศภัยต่อตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ทั้งนี้ เฉพาะส่วนลดประกันภัยต่อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการประกันภัยต่อได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีมีผลใช้บังคับ มูลค่าฐานภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 คือส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะได้วินิจฉัยแล้วว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในคดีนี้ไม่ใช่ค่าบริการจึงไม่อาจถือเป็นส่วนลดของค่าบริการที่ต้องพิจารณาว่าเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
เมื่อคดีฟังได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ให้บริการในการที่ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์จึงมิได้เป็นตัวกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบำเหน็จ ค่าตอบแทนที่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจ่ายให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ที่คำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดที่โจทก์เรียกว่า Fee and Commission Income Local สำหรับการประกันภัยต่อในประเทศ และเรียกว่า Fee and Commission Income Non Local สำหรับการประกันภัยต่อในต่างประเทศตามอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีอัตราหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเสียหายและความเสี่ยงในแต่ละสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงได้รับเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเป็นค่าตอบแทนเพื่อความเสี่ยงตามสัญญาประกันภัยต่อ และเมื่อโจทก์มิใช่นายหน้าหรือผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร จึงไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นเพียงตัวแปรในวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิตามปกติธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัย และการที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่ง แยกต่างหากจากการทำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต่อจึงอยู่ในฐานะผู้รับบริการ ส่วนผู้รับประกันภัยต่ออยู่ในฐานะผู้ให้บริการ และเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้บริการใด ๆ ต่อผู้รับประกันภัยต่อ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) ดังนั้น ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในประเทศและต่างประเทศจึงมิใช่มูลค่าที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่งกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ถือว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร เมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่อให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโจทก์จึงมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2) ส่วนฐานภาษีที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรวมส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อหรือไม่นั้น ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีเมื่อมีการชำระค่าบริการให้ผู้ประกอบการ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นตัวคำนวณหาค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ มิใช่ส่วนลดที่ผู้รับประกันภัยต่อลดให้โจทก์จากค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่กำหนดไว้แล้ว อันจะนำมาเป็นค่าบริการของผู้รับประกันภัยต่อ เมื่อส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) จึงมิใช่มูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่ต้องนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อดังกล่าวมารวมเป็นฐานภาษีเพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2556 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2557 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2556 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2557 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ยกเลิกการที่จำเลยนำภาษีซื้อยกยอดของโจทก์เป็นจำนวนทั้งหมด 2,482,330.65 บาท มาหักออกจากภาษีขายอันเป็นผลจากการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 (ภพ 73.1)
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2557 และให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว กับให้ยกเลิกการนำภาษีซื้อยกยอดของโจทก์จำนวน 2,482,330.65 บาท มาหักออกจากภาษีขาย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าอุทธรณ์ของจำเลยมีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวด้วย ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจการประกันวินาศภัยทุกประเภท รวมทั้งการรับประกันภัยต่อและการเอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ โจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินทั้ง 48 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 137,182,213.06 บาท วันที่ 17 มีนาคม 2560 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ยกเลิกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม รวม 48 ฉบับ ดังกล่าว เนื่องจากเป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากจะประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 ขอให้งดเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 เนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม และโจทก์ได้ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการด้วยดีตลอดมา วันที่ 19 ตุลาคม 2561 โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ซึ่งมีมติให้ยกอุทธรณ์
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 จนถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 พิพาทรวม 24 ฉบับ ที่ให้โจทก์รับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ปัญหานี้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (10) บัญญัติว่า “บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า...” มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 79/1 ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ...” วรรคสาม บัญญัติว่า “มูลค่าของฐานภาษีไม่ให้รวมถึง (1) ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว... (4) ค่าตอบแทนที่มีลักษณะและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 ได้กำหนดนิยามของคำว่า “ผู้รับประกันภัย” หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ คำว่า “ผู้เอาประกันภัย” หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย กรณีนายหน้า มาตรา 845 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทำสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จ...” และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้กำหนดนิยามของคำว่า “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการนั้น ทางพิจารณาโจทก์มีนายสุเทพ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และนางสาวดวงใจ ผู้จัดการส่วนอาวุโสบัญชีทั่วไป เป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของโจทก์แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 โจทก์ให้บริการประกันวินาศภัยโดยออกกรมธรรม์ประกันวินาศภัยให้แก่ลูกค้าผู้เอาประกันภัย เพื่อคุ้มครองภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย ในส่วนนี้โจทก์จะเป็นผู้ให้บริการประกันวินาศภัย และส่วนที่ 2 กรณีที่จำนวนเงินเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ที่โจทก์ออกให้ลูกค้าสูงเกินที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยลำพังในกรณีที่เกิดภัย โจทก์จะบริหารความเสี่ยงของตนโดยเข้าทำสัญญาประกันภัยต่อ (Reinsurance) กับบริษัทผู้ประกอบกิจการประกันวินาศภัยรายอื่นทั้งที่เป็นบริษัทผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ โดยในกรณีนี้โจทก์จะมีสถานภาพเป็นลูกค้าผู้เอาประกันภัยต่อ (Reinsured หรือ Reassured หรือ Cedant หรือ Ceding Company) ส่วนบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต่อจะเป็นผู้ให้บริการแก่โจทก์ หรือที่เรียกว่า ผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) กรณีที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อ หากเกิดภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้น ผู้รับประกันภัยต่อจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ สำหรับการจ่ายเงินให้กับผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์จะจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ซึ่งมีวิธีการคำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดตามอัตราที่ตกลงกันไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ อันเป็นสูตรในการคำนวณค่าตอบแทนเป็นปกติตามธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัยนี้ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อจึงไม่ใช่ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ และโจทก์ไม่เคยจ่ายเบี้ยประกันภัยต่อในส่วนที่เป็นส่วนลด ส่วนจำเลยมีนางสาวดวงใจ และนางธนัชพร เจ้าพนักงานของจำเลยเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อที่เกิดจากการที่ผู้เอาประกันภัยโดยตรงซื้อประกันภัยจากโจทก์ แล้วโจทก์ในฐานะบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อจะหักส่วนลดจากการประกันภัยต่อไว้แล้วจึงโอนเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ดังนั้นผู้ใช้บริการที่แท้จริงคือผู้เอาประกันภัยโดยตรง เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้น โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจะจ่ายค่าชดเชยให้ผู้เอาประกันภัยโดยตรงไปก่อน และเมื่อได้รับเอกสารแล้วจึงเรียกค่าชดเชยคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงเป็นผู้ให้บริการที่แท้จริง โดยมีโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อเป็นผู้ประกอบการและให้บริการในฐานะตัวกลางในการจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น เมื่อรายการส่วนลดรับเบี้ยประกันภัยต่อในประเทศ โจทก์ระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า Fee and Commission Income Local และส่วนลดรับเบี้ยประกันภัยต่อในต่างประเทศ โจทก์ระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า Fee and Commission Income Non Local ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อจึงมีความหมายว่าเป็นค่านายหน้า ซึ่งเป็นมูลค่าที่โจทก์ในฐานะบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อพึงได้รับจากเบี้ยประกันภัยต่อ ฐานภาษีสำหรับการให้บริการประกันภัยต่อของโจทก์จึงต้องรวมส่วนลดที่ได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรพิเคราะห์แล้ว คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่โจทก์ลงบันทึกในบัญชีแยกประเภท (General Ledger) มาประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเห็นว่าส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นค่าบริการของโจทก์ที่โจทก์ต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี จึงต้องพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้ให้บริการและส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นค่าบริการของโจทก์หรือไม่ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดฐานภาษีสำหรับการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้นิยามความหมายของคำว่า นายหน้า ใจความว่าคือ ผู้ชี้ช่องให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัย โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการชี้ช่องนั้น ที่จำเลยอ้างว่า ระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อเป็นเพียงตัวกลางในการจ่ายค่าชดเชยให้ผู้เอาประกันภัยแทนผู้รับประกันภัยต่อเท่านั้น เห็นว่า เมื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการรับประกันวินาศภัยของโจทก์กับผู้เอาประกันภัย แล้วเห็นได้ว่า โจทก์ให้บริการโดยทำสัญญารับประกันวินาศภัยกับผู้เอาประกันภัย โดยหากเกิดภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย และเมื่อพิจารณาบันทึกถ้อยคำพยานโจทก์ของนายวัชรินทร์ รองกรรมการผู้จัดการด้านการเงินและการบัญชีของบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัยที่ซื้อกรมธรรม์ประกันวินาศภัยจากโจทก์ได้ความว่า บริษัทได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์กรณีเกิดภัยหลายครั้ง เมื่อบริษัทได้รับค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยจากโจทก์แล้ว บริษัทจะออกหนังสือปิดเรื่องให้แก่โจทก์เพื่อแสดงความตกลงยอมรับค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ระบุและยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ขอรับความคุ้มครองความเสียหายเดียวกันจากบริษัทประกันวินาศภัยรายอื่น บริษัทไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ออกให้กับบริษัท เพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์ไม่เคยแสดงออกว่าเป็นนายหน้าตัวแทนหรือคนกลางระหว่างบริษัทกับผู้รับประกันภัยต่อแต่อย่างใด ซึ่งจำเลยเองก็แถลงยอมรับบันทึกถ้อยคำพยานของพยานปากดังกล่าว และไม่ได้โต้แย้งรายละเอียดในบันทึกถ้อยคำพยานและเอกสารเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงฟังได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัยโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเป็นคู่สัญญากับผู้เอาประกันภัยโดยตรง หากเกิดความเสียหายขึ้น โจทก์ต้องผูกพันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัย ส่วนลักษณะการประกอบการระหว่างโจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น โจทก์นำสืบว่า โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการ แต่โจทก์มีสถานภาพเป็นลูกค้าผู้เอาประกันภัยต่อ ในขณะที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นผู้ให้บริการคุ้มครองความเสี่ยงภัยต่อโจทก์ โดยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์กรณีเกิดภัยตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ โดยโจทก์มีบันทึกถ้อยคำพยานที่บันทึกไว้ล่วงหน้าของนายอานนท์ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยประจำปี 2556 ถึงปี 2560 และประจำปี 2562 ถึงปี 2564 ที่อธิบายถึงลักษณะของสัญญาประกันภัยต่อ ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า สถานภาพของบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อเป็นการให้บริการคุ้มครองความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย เมื่อบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยได้เข้าทำสัญญารับประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกค้า แต่พิจารณาแล้วเห็นว่าเงินที่เอาประกันภัยไว้ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยที่ตนออกให้แก่ลูกค้ามีจำนวนที่สูงก็จะกระจายความเสี่ยงบางส่วนไปยังบริษัทประกันวินาศภัยรายอื่นด้วยการเข้าทำสัญญาประกันภัยต่อ โดยบริษัทประกันวินาศภัยที่เป็นบริษัทผู้รับประกันภัยตรงให้แก่ลูกค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นจะกลายเป็นลูกค้า เรียกว่า บริษัทผู้เอาประกันภัยต่อ และบริษัทประกันวินาศภัยรายที่รับกระจายความเสี่ยงภัยจะเรียกว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ การทำสัญญาประกันภัยต่อจะไม่มีผลเป็นการปลดภาระความรับผิดชอบของบริษัทผู้รับประกันภัยตรงตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นซึ่งยังต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นลูกค้าของตน ปรากฏตามแนวทางปฏิบัติในการจัดทำกลยุทธ์การบริหารการประกันภัยต่อสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และคู่มือบัญชีประกันวินาศภัย ที่ตีพิมพ์โดยสมาคมประกันวินาศภัย ซึ่งสอดคล้องกับสำเนาสัญญารับประกันภัยต่อระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ที่มีบริษัท อ. เป็นผู้รับประกันวินาศภัยต่อ ที่มีเพียงรายละเอียดความรับผิดระหว่างบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต่อที่มีต่อโจทก์โดยตรง หาได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ให้บริการใดแก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ หรือโจทก์เป็นผู้รับเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย แล้วจะส่งต่อเบี้ยประกันภัยนั้นให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อโดยมีส่วนลดเบี้ยประกันภัยเป็นค่าบริการของโจทก์ตามข้ออ้างของจำเลยแต่อย่างใด ประกอบกับได้ความจากพยานจำเลยปากนางสาวดวงใจ เจ้าพนักงานของจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า พยานไม่มีหลักฐานในการรับเงินจากผู้เอาประกันภัยทอดแรกและในการนำส่งเงินดังกล่าวให้ผู้รับประกันภัยต่อ และพยานไม่มีหลักฐานในการที่ผู้รับประกันภัยต่อได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยส่งต่อมายังโจทก์ และให้โจทก์นำส่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ให้บริการในการที่ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อโจทก์จึงมิได้เป็นตัวกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบำเหน็จดังที่จำเลยอ้าง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต่อไม่ได้รับค่าเบี้ยประกันภัยต่อจากโจทก์เท่ากับความเสี่ยงที่ได้รับเบี้ยประกันภัยต่อ โดยโจทก์หักเป็นส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อไว้ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ จึงถือเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (5) (10) ไม่ว่าจะเรียกชื่อใด ๆ และต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 นั้น เห็นว่า พยานโจทก์ปากนายอานนท์ได้ให้ถ้อยคำตามบันทึกถ้อยคำพยานที่บันทึกไว้ล่วงหน้าว่า ตามสัญญาประกันภัยต่อ ผู้รับประกันภัยต่อจะได้รับค่าตอบแทนที่เรียกว่า “เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ” ซึ่งคำนวณโดยใช้จำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้ง หักด้วยส่วนลด (Reinsurance Commission) ตามอัตราที่ตกลงกันเพื่อให้ได้จำนวนเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเสมอ ดังนั้นค่าตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยต่อมีสิทธิได้รับ คือ เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณตามปกติธรรมเนียมประเพณีในการทำสัญญาประกันภัยต่อในวงการประกันวินาศภัยทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ผู้รับประกันภัยต่อจะไม่มีการจ่ายส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นเงินสด หรือนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อไปหักกลบกับรายการใด ๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต่อต้องชำระให้กับผู้รับประกันภัยต่อ เนื่องจากส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นเพียงตัวเลขที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันในสูตรการคำนวณจำนวนค่าตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยต่อมีสิทธิได้รับตามสัญญาประกันภัยต่อที่เรียกว่า “เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ” เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า ค่าตอบแทนที่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจ่ายให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ เป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ที่คำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดที่โจทก์เรียกว่า Fee and Commission Income Local สำหรับการประกันภัยต่อในประเทศ และเรียกว่า Fee and Commission Income Non Local สำหรับการประกันภัยต่อในต่างประเทศตามอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีอัตราหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเสียหายและความเสี่ยงในแต่ละสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงได้รับเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเป็นค่าตอบแทนเพื่อความเสี่ยงตามสัญญาประกันภัยต่อ และเมื่อได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่าโจทก์มิใช่นายหน้าหรือผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร จึงไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นเพียงตัวแปรในวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิตามปกติธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัย และการที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่ง แยกต่างหากจากการทำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต่อจึงอยู่ในฐานะผู้รับบริการ ส่วนผู้รับประกันภัยต่ออยู่ในฐานะผู้ให้บริการ และเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้บริการใด ๆ ต่อผู้รับประกันภัยต่อพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (1) ดังนั้น ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในประเทศและต่างประเทศจึงมิใช่มูลค่าที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่ง หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาททั้ง 24 ฉบับ ดังกล่าวจึงไม่ชอบ และการที่จำเลยนำภาษีซื้อที่โจทก์มีสิทธิได้รับมาหักออกจากภาษีขายที่จำเลยประเมินไว้นั้นจึงไม่ชอบ
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 จนถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 พิพาทรวม 24 ฉบับ ที่ให้โจทก์รับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่า ในการประกอบกิจการประกันวินาศภัยของโจทก์ เมื่อโจทก์รับประกันวินาศภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้ว เพื่อเป็นการคุ้มครองความเสี่ยงภัยของธุรกิจ โจทก์จะเอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อเพื่อที่โจทก์จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อ กรณีที่โจทก์มีการเอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ถือว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร เมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่อให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ โจทก์จึงมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) ส่วนฐานภาษีที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรวมส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อตามที่จำเลยฎีกาด้วยหรือไม่ นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีเมื่อมีการชำระค่าบริการให้ผู้ประกอบการ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นตัวคำนวณหาค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ มิใช่ส่วนลดที่ผู้รับประกันภัยต่อลดให้โจทก์จากค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่กำหนดไว้แล้ว อันจะนำมาเป็นค่าบริการของผู้รับประกันภัยต่อดังที่จำเลยอ้าง เมื่อส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (10) จึงมิใช่มูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่ต้องนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อดังกล่าวมารวมเป็นฐานภาษีเพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาททั้ง 24 ฉบับ ดังกล่าวจึงไม่ชอบ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนที่จำเลยอ้างว่า ก่อนประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 207) ที่กำหนดให้มูลค่าของการให้บริการรับประกันวินาศภัยต่อตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ทั้งนี้ เฉพาะส่วนลดประกันภัยต่อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการประกันภัยต่อได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีมีผลใช้บังคับ มูลค่าฐานภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 คือส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะได้วินิจฉัยแล้วว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในคดีนี้ไม่ใช่ค่าบริการจึงไม่อาจถือเป็นส่วนลดของค่าบริการที่ต้องพิจารณาว่าเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานจัดให้มีการเล่นการพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศ เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสามทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ. มาตรา 91 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสามฐานร่วมกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้การพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจําเลยทั้งสามในความผิดดังกล่าวอีกกระทงหนึ่งได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจําเลยทั้งสาม ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3
ความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานจัดให้มีการเล่นการพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศ เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสามทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ. มาตรา 91 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสามฐานร่วมกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้การพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจําเลยทั้งสามในความผิดดังกล่าวอีกกระทงหนึ่งได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจําเลยทั้งสาม ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3
ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรง เพื่ออธิบายว่ากรณีจะต้องบังคับตามรูปแผนที่ตามเอกสารหมาย จ.3 และ จ.20 หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน คำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144การบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรง เพื่ออธิบายว่ากรณีจะต้องบังคับตามรูปแผนที่ตามเอกสารหมาย จ.3 และ จ.20 หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน คำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144การบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จําเลย ครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติ โดยมิได้ถูกกําหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จําเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจําเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคําคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม ก็ต้องยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน เมื่อจําเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกําหนดเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (18), 91, 277, 283 ทวิ, 317
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ก่อนสืบพยาน จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 283 ทวิ วรรคสอง, 317 วรรคสาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารกับฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 7 ปี รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 21 ปี ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำคุก 5 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจาร จำคุกกระทงละ 5 ปีรวม 4 กระทง เป็นจำคุก 20 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 18 เดือน ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร คงจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 8 ปี 24 เดือน รวมจำคุก 19 ปี 48 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเสียก่อนว่า ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังและขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จำเลยหลายครั้งครั้งสุดท้ายครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติของศาลชั้นต้น โดยมิได้ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจำเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม โดยยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน แม้การยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์นอกเวลาทำการปกติหรือนอกวันทำการปกติของศาลจะถือว่าเป็นการยื่นในเวลาแรกหรือวันทำการแรกที่ศาลเปิดทำการปกติถัดไป แต่เมื่อจำเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา พ้นกำหนดเวลาได้รับอนุญาตให้ยื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาของจำเลย
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จําเลย ครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติ โดยมิได้ถูกกําหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จําเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจําเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคําคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม ก็ต้องยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน เมื่อจําเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกําหนดเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (18), 91, 277, 283 ทวิ, 317
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ก่อนสืบพยาน จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 283 ทวิ วรรคสอง, 317 วรรคสาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารกับฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 7 ปี รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 21 ปี ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำคุก 5 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจาร จำคุกกระทงละ 5 ปีรวม 4 กระทง เป็นจำคุก 20 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 18 เดือน ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร คงจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 8 ปี 24 เดือน รวมจำคุก 19 ปี 48 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเสียก่อนว่า ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังและขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จำเลยหลายครั้งครั้งสุดท้ายครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติของศาลชั้นต้น โดยมิได้ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจำเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม โดยยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน แม้การยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์นอกเวลาทำการปกติหรือนอกวันทำการปกติของศาลจะถือว่าเป็นการยื่นในเวลาแรกหรือวันทำการแรกที่ศาลเปิดทำการปกติถัดไป แต่เมื่อจำเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา พ้นกำหนดเวลาได้รับอนุญาตให้ยื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาของจำเลย
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อชำระหนี้ตามเช็คพิพาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และจำเลยวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 17 มีนาคม 2557 สั่งจ่ายเงิน 88,643 บาท มอบให้บริษัท ก. ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่างวดรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และขอให้นับโทษต่อจากโทษในคดีอื่น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยและผู้เสียหายตกลงกันได้ จำเลยนำเงิน 20,000 บาท วางต่อศาลชั้นต้น เพื่อชดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานขออนุญาตศาลถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ตรวจจ่ายตามระเบียบ
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 จำเลยวางเงิน 68,643 บาท และวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยนำเงินค่าดอกเบี้ยตามเช็คมาวางอีก 4,417 บาท รวมเป็นเงิน 73,060 บาท อันเป็นการที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นเห็นว่าเมื่อจำเลยนำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยมาวางศาลชำระหนี้แก่ผู้เสียหาย คดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 7 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ส่วนผู้เสียหายขอรับเงินจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายประกอบคำแถลงขอรับเงิน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงิน 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายแล้ว และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง
วันที่ 12 มกราคม 2565 ผู้เสียหายยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งให้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยนำไปวางชำระหนี้ศาลว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางเพื่อชำระหนี้ต่อศาล 93,060 บาท และศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้ตรวจจ่ายเงินให้เพียง 73,060 บาท ยังขาดอีก 20,000 บาท โดยเงิน 20,000 บาท นี้ จำเลยได้นำมาวางเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้แก่เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ขอให้ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินกลางดังกล่าวให้ผู้เสียหาย
วันที่ 13 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ได้ตรวจสอบพบว่า วันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยได้วางเงิน 20,000 บาท และผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจริง แต่ผู้เสียหายไม่ได้มารับเงินจนเวลาล่วงเลยระยะเวลา 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน และได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทำรายงานเสนอจ่ายเงินให้แก่เทศบาลตำบล ห. ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อของผู้เสียหายถูกต้องผู้เสียหายไม่ติดต่อขอรับเงินจนเวลาล่วงเลยเกินระยะเวลาห้าปี เงิน 20,000 บาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 และได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จึงไม่อาจสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้ ให้ยกคำร้อง
ผู้เสียหายอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
ผู้เสียหายฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีสิทธิรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค 20,000 บาท คืนหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินวางชำระหนี้คืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาล ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยเมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่า มีเงินที่ลูกหนี้นำมาวางศาลเพื่อให้เจ้าหนี้รับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล จึงตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางเงินใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายและศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้นก็ไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหายฎีกาของผู้เสียหายฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้คืนเงิน 20,000 บาท แก่บริษัทกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด ผู้เสียหาย
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อชำระหนี้ตามเช็คพิพาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และจำเลยวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 17 มีนาคม 2557 สั่งจ่ายเงิน 88,643 บาท มอบให้บริษัท ก. ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่างวดรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และขอให้นับโทษต่อจากโทษในคดีอื่น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยและผู้เสียหายตกลงกันได้ จำเลยนำเงิน 20,000 บาท วางต่อศาลชั้นต้น เพื่อชดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานขออนุญาตศาลถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ตรวจจ่ายตามระเบียบ
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 จำเลยวางเงิน 68,643 บาท และวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยนำเงินค่าดอกเบี้ยตามเช็คมาวางอีก 4,417 บาท รวมเป็นเงิน 73,060 บาท อันเป็นการที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นเห็นว่าเมื่อจำเลยนำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยมาวางศาลชำระหนี้แก่ผู้เสียหาย คดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 7 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ส่วนผู้เสียหายขอรับเงินจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายประกอบคำแถลงขอรับเงิน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงิน 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายแล้ว และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง
วันที่ 12 มกราคม 2565 ผู้เสียหายยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งให้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยนำไปวางชำระหนี้ศาลว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางเพื่อชำระหนี้ต่อศาล 93,060 บาท และศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้ตรวจจ่ายเงินให้เพียง 73,060 บาท ยังขาดอีก 20,000 บาท โดยเงิน 20,000 บาท นี้ จำเลยได้นำมาวางเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้แก่เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ขอให้ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินกลางดังกล่าวให้ผู้เสียหาย
วันที่ 13 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ได้ตรวจสอบพบว่า วันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยได้วางเงิน 20,000 บาท และผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจริง แต่ผู้เสียหายไม่ได้มารับเงินจนเวลาล่วงเลยระยะเวลา 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน และได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทำรายงานเสนอจ่ายเงินให้แก่เทศบาลตำบล ห. ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อของผู้เสียหายถูกต้องผู้เสียหายไม่ติดต่อขอรับเงินจนเวลาล่วงเลยเกินระยะเวลาห้าปี เงิน 20,000 บาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 และได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จึงไม่อาจสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้ ให้ยกคำร้อง
ผู้เสียหายอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
ผู้เสียหายฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีสิทธิรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค 20,000 บาท คืนหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินวางชำระหนี้คืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาล ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยเมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่า มีเงินที่ลูกหนี้นำมาวางศาลเพื่อให้เจ้าหนี้รับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล จึงตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางเงินใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายและศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้นก็ไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหายฎีกาของผู้เสียหายฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้คืนเงิน 20,000 บาท แก่บริษัทกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด ผู้เสียหาย
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบลหนองเรือ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงิน 72,597 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 92,597 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าว และขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง นำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคาร ลงวันที่ 17 เมษายน 2557 สั่งจ่ายเงิน 88,643 บาท มอบให้บริษัท ก. ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่างวดรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และขอให้นับโทษต่อจากโทษในคดีอื่น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยและผู้เสียหายตกลงกันได้ จำเลยนำเงิน 20,000 บาท วางต่อศาลชั้นต้น เพื่อชดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานขออนุญาตศาลถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 จำเลยวางเงิน 68,643 บาท และเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยนำเงินค่าดอกเบี้ยตามเช็คมาวางอีก 3,954 บาท รวมเป็นเงิน 72,597 บาท อันเป็นการที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหาย คดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนผู้เสียหายขอรับเงินจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายประกอบคำแถลงขอรับเงิน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาทวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงิน 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายและศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงิน นับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง
วันที่ 12 มกราคม 2565 ผู้เสียหายยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งให้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยนำไปวางชำระหนี้ศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินกลางดังกล่าวให้ผู้เสียหาย วันที่ 13 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ได้ตรวจสอบพบว่าวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยได้วางเงิน 20,000 บาท และผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจริง แต่ผู้เสียหายไม่ได้มารับเงินจนเวลาล่วงเลยระยะเวลา 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน และได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทำรายงานเสนอจ่ายเงินให้แก่เทศบาลตำบลหนองเรือซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อผู้เสียหายถูกต้องผู้เสียหายไม่ติดต่อขอรับเงินจนเวลาล่วงเลยเกินระยะเวลาห้าปี เงิน 20,000 บาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 และได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จึงไม่อาจสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้ ให้ยกคำร้อง
ผู้เสียหายอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
ผู้เสียหายฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีสิทธิรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค 20,000 บาท คืนหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินวางชำระหนี้คืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาล ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยเมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้นำมาวางศาลเพื่อให้เจ้าหนี้รับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล จึงตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบลหนองเรือ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงิน 72,597 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 92,597 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้นก็ไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ฎีกาของผู้เสียหายฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้คืนเงิน 20,000 บาท แก่บริษัท ก. ผู้เสียหาย
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบลหนองเรือ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงิน 72,597 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 92,597 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าว และขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง นำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคาร ลงวันที่ 17 เมษายน 2557 สั่งจ่ายเงิน 88,643 บาท มอบให้บริษัท ก. ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่างวดรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และขอให้นับโทษต่อจากโทษในคดีอื่น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยและผู้เสียหายตกลงกันได้ จำเลยนำเงิน 20,000 บาท วางต่อศาลชั้นต้น เพื่อชดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานขออนุญาตศาลถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 จำเลยวางเงิน 68,643 บาท และเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยนำเงินค่าดอกเบี้ยตามเช็คมาวางอีก 3,954 บาท รวมเป็นเงิน 72,597 บาท อันเป็นการที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหาย คดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนผู้เสียหายขอรับเงินจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายประกอบคำแถลงขอรับเงิน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาทวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงิน 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายและศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงิน นับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง
วันที่ 12 มกราคม 2565 ผู้เสียหายยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งให้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยนำไปวางชำระหนี้ศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินกลางดังกล่าวให้ผู้เสียหาย วันที่ 13 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ได้ตรวจสอบพบว่าวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยได้วางเงิน 20,000 บาท และผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจริง แต่ผู้เสียหายไม่ได้มารับเงินจนเวลาล่วงเลยระยะเวลา 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน และได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทำรายงานเสนอจ่ายเงินให้แก่เทศบาลตำบลหนองเรือซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อผู้เสียหายถูกต้องผู้เสียหายไม่ติดต่อขอรับเงินจนเวลาล่วงเลยเกินระยะเวลาห้าปี เงิน 20,000 บาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 และได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จึงไม่อาจสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้ ให้ยกคำร้อง
ผู้เสียหายอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
ผู้เสียหายฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีสิทธิรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค 20,000 บาท คืนหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินวางชำระหนี้คืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาล ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยเมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้นำมาวางศาลเพื่อให้เจ้าหนี้รับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล จึงตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบลหนองเรือ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงิน 72,597 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 92,597 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้นก็ไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ฎีกาของผู้เสียหายฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้คืนเงิน 20,000 บาท แก่บริษัท ก. ผู้เสียหาย
การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น เป็นข้อตกลงที่มีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงโดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียวนั้นชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยทบต้นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 509,740 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 144,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 14 มีนาคม 2554 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 126,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 13 มีนาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้นำเงิน 15,000 บาท ไปหักชำระดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้โดยคู่ความไม่ได้โต้แย้งกันว่า เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ 126,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี กำหนดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยภายในวันที่ 13 มีนาคม 2553 หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี ยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงิน และยอมเสียดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัด โดยชำระเงินให้โจทก์เพียง 15,000 บาท โจทก์นำไปหักชำระดอกเบี้ยปีแรก จำเลยที่ 1 ค้างชำระต้นเงิน 126,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้หรือไม่ เห็นว่า สัญญากู้ ข้อ 3 วรรคสาม ระบุว่า “ในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งปี ผู้กู้ยินยอมให้ทบจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเข้าเป็นต้นเงินในวันที่ครบกำหนดหนึ่งปีนั้น และผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินต้นจำนวนใหม่ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหนึ่งปีตลอดไปในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น” จึงเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมได้ตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง และข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่า ต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาเป็นโมฆะไม่ ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดแล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไปตามฟ้อง แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลง เป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงโดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียว ชอบแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 144,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น เป็นข้อตกลงที่มีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงโดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียวนั้นชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยทบต้นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 509,740 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 144,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 14 มีนาคม 2554 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 126,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 13 มีนาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้นำเงิน 15,000 บาท ไปหักชำระดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้โดยคู่ความไม่ได้โต้แย้งกันว่า เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ 126,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี กำหนดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยภายในวันที่ 13 มีนาคม 2553 หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี ยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงิน และยอมเสียดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัด โดยชำระเงินให้โจทก์เพียง 15,000 บาท โจทก์นำไปหักชำระดอกเบี้ยปีแรก จำเลยที่ 1 ค้างชำระต้นเงิน 126,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้หรือไม่ เห็นว่า สัญญากู้ ข้อ 3 วรรคสาม ระบุว่า “ในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งปี ผู้กู้ยินยอมให้ทบจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเข้าเป็นต้นเงินในวันที่ครบกำหนดหนึ่งปีนั้น และผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินต้นจำนวนใหม่ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหนึ่งปีตลอดไปในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น” จึงเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมได้ตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง และข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่า ต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาเป็นโมฆะไม่ ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดแล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไปตามฟ้อง แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลง เป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงโดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียว ชอบแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 144,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221” วรรคสอง บัญญัติว่า “ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่” มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้ว จะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะ หรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่ ส. ยังมีชีวิตอยู่ ส. ก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่ และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 137แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 137, 264, 265, 266, 268 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 2 ปี และปรับจำเลยทั้งสาม (ที่ถูก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4) คนละ 81,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา และหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีหนังสือแจ้งนายทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้โจทก์มีหุ้น 10,000 หุ้น ในบริษัทจำเลยที่ 2 ตามเดิมแล้ว อันเป็นการพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิด จึงลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 1 ปี 4 เดือน และปรับจำเลยทั้งสาม (ที่ถูก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4) คนละ 54,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้ยก
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ลงโทษปรับ 9,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับ 6,000 บาท หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 และที่ 4 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
จำเลยที่ 3 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยที่ 2 โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 หุ้น เป็นหุ้นหมายเลข 85001 ถึงหมายเลข 95000 ต่อมาในปี 2561 โจทก์ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 โดยปรากฏหมายเลขหุ้นที่เคยเป็นของโจทก์ไปปรากฏอยู่ในชื่อของจำเลยที่ 1 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวจึงเป็นเท็จ จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ต่อมาวันที่ 12 กันยายน 2562 ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 หุ้น ตามเดิม แล้วนำไปยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท โดยในส่วนคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่แท้จริงเพราะโจทก์ไม่ได้ชำระราคาค่าหุ้น โดยการชำระราคาค่าหุ้นต้องชำระด้วยเงินเท่านั้นไม่สามารถใช้ค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่นได้ แต่โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่าหุ้น โจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เคยเข้ามีส่วนร่วมในกิจการของจำเลยที่ 2 เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้กำไรและขาดทุน ในปัญหานี้โจทก์นำสืบโดยมีตัวโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ในปี 2539 โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรได้ลงทุนทำธุรกิจการขุดทรายในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดทรัพย์แม่ยม ต่อมานายสุชน บิดาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ชักชวนโจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรเข้าร่วมลงทุนทำธุรกิจบ่อทรายโดยตกลงตั้ง จำเลยที่ 2 ขึ้นมาและให้โจทก์พร้อมด้วยพันโทวิเชียรเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทของจำเลยที่ 2 โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรตกลงร่วมธุรกิจกับนายสุชนโดยนำที่ดินตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาลงทุนโดยถือหุ้นกันคนละ 10,000 หุ้น ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินโดยนำที่ดินที่โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรนำไปลงหุ้นไปจำนองเป็นหลักประกันเงินกู้ เห็นว่า แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติไว้ว่า “หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221” วรรคสองบัญญัติว่า “ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่” แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้วจะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะหรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้นบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่นายสุชนยังมีชีวิตอยู่ นายสุชนก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญโจทก์ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ประการต่อมาว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงข้อความเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นหรือยินยอมให้ลงข้อความเท็จในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยจำเลยที่ 3 มีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ในปัญหานี้เห็นว่า แม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องด้วยก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องโดยชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้องข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในปัญหานี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นอันเป็นเท็จหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ทราบและไม่มีส่วนรู้เห็นในการแก้ไขรายชื่อผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 4 ฎีกาว่า ขณะที่นายสุชนมีชีวิตอยู่นายสุชนเป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 3 และที่ 4 และนางนิตยาไม่เคยรู้จักโจทก์มาก่อน เนื่องจากโจทก์ไม่เคยเข้าประชุมเพื่อติดตามสอบถามถึงผลประกอบการของจำเลยที่ 2 นางนิตยามีหน้าที่ดูแลจัดการเอกสารต่าง ๆ ของจำเลยที่ 2 แทนนายสุชน หลังจากนายสุชนถึงแก่ความตายแล้วนางนิตยาเป็นผู้จัดทำงบการเงินย้อนหลังตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2559 จึงได้นำหุ้นของโจทก์รวมเข้ากับหุ้นของจำเลยที่ 1 โดยนางนิตยามิได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบ และจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้สั่งการหรือรู้เห็นให้นางนิตยาดำเนินการ โดยต่อมาเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็ได้สั่งการให้นางนิตยาดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามเดิมทันทีก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบโดยมีนางนิตยาเป็นพยานเบิกความว่า เป็นผู้สั่งการให้พนักงานฝ่ายบัญชีของจำเลยที่ 2 เป็นผู้พิมพ์บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยย้ายหุ้นของโจทก์ไปเป็นของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ปรึกษาผู้ใดเพราะในปี 2539 นายสุชนเรียกให้นางนิตยาไปพบและจดบันทึกตามคำบอกของนายสุชนว่า นายสุชนมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวนเท่าใด แต่ไม่ปรากฏชื่อโจทก์ในรายการที่นายสุชนให้บันทึก นางนิตยาจึงเข้าใจว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จึงแก้ไขเปลี่ยนแปลงหุ้นด้วยตนเองไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบ เห็นว่า หลังจากนายสุชนถึงแก่ความตายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่นางนิตยาซึ่งเป็นลูกจ้างทำบัญชีให้แก่นายสุชนแม้จะเป็นผู้มีความใกล้ชิดนายสุชนและนายสุชนไว้วางใจก็ตาม แต่เมื่อนายสุชนถึงแก่ความตายแล้วการที่นางนิตยาจะทำการใดเกี่ยวกับบริษัทย่อมจะต้องสอบถามและขอความเห็นชอบจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการก่อน นางนิตยาซึ่งเป็นแต่เพียงลูกจ้างย่อมที่จะไม่กล้ากระทำการใดโดยลำพัง แม้การเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยการนำหุ้นที่โจทก์เคยถืออยู่ไปอยู่ในชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตาม แต่ก็น่าเชื่อว่านางนิตยาจะต้องได้รับคำสั่งหรือความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เสียก่อน เพราะจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนี้ไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบมาดังกล่าวไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 สั่งการหรือยินยอมให้นางนิตยาทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเท็จ มีความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประการสุดท้ายว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีเจตนาในการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานหรือไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้มีเจตนาที่จะแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ส่วนจำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ ในการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 3 ไม่มีส่วนรู้เห็นในการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ได้ลงนามแจ้งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยขาดความละเอียดรอบคอบในการตรวจเอกสารก่อนลงลายมือชื่อเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาที่จะแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจึงไม่มีความผิด ในปัญหานี้ จำเลยที่ 3 เบิกความว่า ได้รับมอบหมายจากนายสุชนให้เป็นกรรมการบริษัทต่าง ๆ แต่ที่ดูแลบริหารงานในทางปฏิบัติจริง ๆ คือ โรงแรมจำนวน 3 แห่ง ส่วนจำเลยที่ 4 เบิกความว่า ผู้ที่ดูแลกิจการแทนนายสุชน คือ นางสาวณัฐทรัชต์ ซึ่งเป็นน้องสาวของจำเลยที่ 4 ส่วนจำเลยที่ 4 รับหน้าที่บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยี บ. ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน เห็นว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่างเป็นนักธุรกิจบริหารกิจการโรงแรมและวิทยาลัยเทคโนโลยีซึ่งเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมาก ต่างกับกิจการบ่อทรายของจำเลยที่ 2 น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้ขั้นตอนในการส่งงบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นอย่างดี จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมทราบดีว่าเมื่อแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นแล้วจะต้องนำส่งไปยังทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับงบดุลของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สั่งการหรือรู้เห็นยินยอมให้มีการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นและเป็นผู้ลงนามส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาในการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะกรรมการผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
พิพากษายืน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221” วรรคสอง บัญญัติว่า “ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่” มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้ว จะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะ หรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่ ส. ยังมีชีวิตอยู่ ส. ก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่ และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 137แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 137, 264, 265, 266, 268 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 2 ปี และปรับจำเลยทั้งสาม (ที่ถูก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4) คนละ 81,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา และหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีหนังสือแจ้งนายทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้โจทก์มีหุ้น 10,000 หุ้น ในบริษัทจำเลยที่ 2 ตามเดิมแล้ว อันเป็นการพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิด จึงลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 1 ปี 4 เดือน และปรับจำเลยทั้งสาม (ที่ถูก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4) คนละ 54,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้ยก
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ลงโทษปรับ 9,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับ 6,000 บาท หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 และที่ 4 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
จำเลยที่ 3 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยที่ 2 โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 หุ้น เป็นหุ้นหมายเลข 85001 ถึงหมายเลข 95000 ต่อมาในปี 2561 โจทก์ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 โดยปรากฏหมายเลขหุ้นที่เคยเป็นของโจทก์ไปปรากฏอยู่ในชื่อของจำเลยที่ 1 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวจึงเป็นเท็จ จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ต่อมาวันที่ 12 กันยายน 2562 ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 หุ้น ตามเดิม แล้วนำไปยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท โดยในส่วนคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่แท้จริงเพราะโจทก์ไม่ได้ชำระราคาค่าหุ้น โดยการชำระราคาค่าหุ้นต้องชำระด้วยเงินเท่านั้นไม่สามารถใช้ค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่นได้ แต่โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่าหุ้น โจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เคยเข้ามีส่วนร่วมในกิจการของจำเลยที่ 2 เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้กำไรและขาดทุน ในปัญหานี้โจทก์นำสืบโดยมีตัวโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ในปี 2539 โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรได้ลงทุนทำธุรกิจการขุดทรายในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดทรัพย์แม่ยม ต่อมานายสุชน บิดาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ชักชวนโจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรเข้าร่วมลงทุนทำธุรกิจบ่อทรายโดยตกลงตั้ง จำเลยที่ 2 ขึ้นมาและให้โจทก์พร้อมด้วยพันโทวิเชียรเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทของจำเลยที่ 2 โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรตกลงร่วมธุรกิจกับนายสุชนโดยนำที่ดินตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาลงทุนโดยถือหุ้นกันคนละ 10,000 หุ้น ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินโดยนำที่ดินที่โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรนำไปลงหุ้นไปจำนองเป็นหลักประกันเงินกู้ เห็นว่า แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติไว้ว่า “หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221” วรรคสองบัญญัติว่า “ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่” แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้วจะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะหรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้นบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่นายสุชนยังมีชีวิตอยู่ นายสุชนก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญโจทก์ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ประการต่อมาว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงข้อความเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นหรือยินยอมให้ลงข้อความเท็จในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยจำเลยที่ 3 มีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ในปัญหานี้เห็นว่า แม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องด้วยก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องโดยชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้องข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในปัญหานี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นอันเป็นเท็จหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ทราบและไม่มีส่วนรู้เห็นในการแก้ไขรายชื่อผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 4 ฎีกาว่า ขณะที่นายสุชนมีชีวิตอยู่นายสุชนเป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 3 และที่ 4 และนางนิตยาไม่เคยรู้จักโจทก์มาก่อน เนื่องจากโจทก์ไม่เคยเข้าประชุมเพื่อติดตามสอบถามถึงผลประกอบการของจำเลยที่ 2 นางนิตยามีหน้าที่ดูแลจัดการเอกสารต่าง ๆ ของจำเลยที่ 2 แทนนายสุชน หลังจากนายสุชนถึงแก่ความตายแล้วนางนิตยาเป็นผู้จัดทำงบการเงินย้อนหลังตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2559 จึงได้นำหุ้นของโจทก์รวมเข้ากับหุ้นของจำเลยที่ 1 โดยนางนิตยามิได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบ และจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้สั่งการหรือรู้เห็นให้นางนิตยาดำเนินการ โดยต่อมาเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็ได้สั่งการให้นางนิตยาดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามเดิมทันทีก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบโดยมีนางนิตยาเป็นพยานเบิกความว่า เป็นผู้สั่งการให้พนักงานฝ่ายบัญชีของจำเลยที่ 2 เป็นผู้พิมพ์บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยย้ายหุ้นของโจทก์ไปเป็นของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ปรึกษาผู้ใดเพราะในปี 2539 นายสุชนเรียกให้นางนิตยาไปพบและจดบันทึกตามคำบอกของนายสุชนว่า นายสุชนมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวนเท่าใด แต่ไม่ปรากฏชื่อโจทก์ในรายการที่นายสุชนให้บันทึก นางนิตยาจึงเข้าใจว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จึงแก้ไขเปลี่ยนแปลงหุ้นด้วยตนเองไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบ เห็นว่า หลังจากนายสุชนถึงแก่ความตายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่นางนิตยาซึ่งเป็นลูกจ้างทำบัญชีให้แก่นายสุชนแม้จะเป็นผู้มีความใกล้ชิดนายสุชนและนายสุชนไว้วางใจก็ตาม แต่เมื่อนายสุชนถึงแก่ความตายแล้วการที่นางนิตยาจะทำการใดเกี่ยวกับบริษัทย่อมจะต้องสอบถามและขอความเห็นชอบจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการก่อน นางนิตยาซึ่งเป็นแต่เพียงลูกจ้างย่อมที่จะไม่กล้ากระทำการใดโดยลำพัง แม้การเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยการนำหุ้นที่โจทก์เคยถืออยู่ไปอยู่ในชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตาม แต่ก็น่าเชื่อว่านางนิตยาจะต้องได้รับคำสั่งหรือความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เสียก่อน เพราะจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนี้ไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบมาดังกล่าวไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 สั่งการหรือยินยอมให้นางนิตยาทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเท็จ มีความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประการสุดท้ายว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีเจตนาในการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานหรือไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้มีเจตนาที่จะแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ส่วนจำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ ในการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 3 ไม่มีส่วนรู้เห็นในการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ได้ลงนามแจ้งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยขาดความละเอียดรอบคอบในการตรวจเอกสารก่อนลงลายมือชื่อเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาที่จะแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจึงไม่มีความผิด ในปัญหานี้ จำเลยที่ 3 เบิกความว่า ได้รับมอบหมายจากนายสุชนให้เป็นกรรมการบริษัทต่าง ๆ แต่ที่ดูแลบริหารงานในทางปฏิบัติจริง ๆ คือ โรงแรมจำนวน 3 แห่ง ส่วนจำเลยที่ 4 เบิกความว่า ผู้ที่ดูแลกิจการแทนนายสุชน คือ นางสาวณัฐทรัชต์ ซึ่งเป็นน้องสาวของจำเลยที่ 4 ส่วนจำเลยที่ 4 รับหน้าที่บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยี บ. ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน เห็นว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่างเป็นนักธุรกิจบริหารกิจการโรงแรมและวิทยาลัยเทคโนโลยีซึ่งเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมาก ต่างกับกิจการบ่อทรายของจำเลยที่ 2 น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้ขั้นตอนในการส่งงบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นอย่างดี จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมทราบดีว่าเมื่อแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นแล้วจะต้องนำส่งไปยังทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับงบดุลของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สั่งการหรือรู้เห็นยินยอมให้มีการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นและเป็นผู้ลงนามส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาในการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะกรรมการผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
พิพากษายืน
ก่อนเริ่มพิจารณาคดีศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดี ที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นการกำหนดรายละเอียดของสิทธิไว้ชัดแจ้งเช่นเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลยจำเลยฎีกาว่า ในวันนัดสอบคำให้การจำเลย โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกันให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์ให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 297 และเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) จำคุก 1 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 1 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับฎีกาของจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น เห็นว่า ฎีกาของจำเลยมิได้บรรยายว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนไหนอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมิได้มีการคุ้มครองสิทธิของจำเลยในคดีอาญา โดยจำเลยไม่มีทนายความให้คำปรึกษา และสำคัญผิดในฟ้องโจทก์โดยเข้าใจว่าหากให้การรับสารภาพ และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้วศาลจะพิพากษารอการลงโทษให้แก่จำเลย นั้น เห็นว่า ตามรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ก่อนเริ่มพิจารณาคดี ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นการกำหนดรายละเอียดของสิทธิไว้ชัดแจ้งเช่นเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ในขณะที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกัน ให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 292/2558 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ก่อนเริ่มพิจารณาคดีศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดี ที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นการกำหนดรายละเอียดของสิทธิไว้ชัดแจ้งเช่นเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลยจำเลยฎีกาว่า ในวันนัดสอบคำให้การจำเลย โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกันให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์ให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 297 และเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) จำคุก 1 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 1 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับฎีกาของจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น เห็นว่า ฎีกาของจำเลยมิได้บรรยายว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนไหนอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมิได้มีการคุ้มครองสิทธิของจำเลยในคดีอาญา โดยจำเลยไม่มีทนายความให้คำปรึกษา และสำคัญผิดในฟ้องโจทก์โดยเข้าใจว่าหากให้การรับสารภาพ และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้วศาลจะพิพากษารอการลงโทษให้แก่จำเลย นั้น เห็นว่า ตามรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ก่อนเริ่มพิจารณาคดี ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นการกำหนดรายละเอียดของสิทธิไว้ชัดแจ้งเช่นเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ในขณะที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกัน ให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 292/2558 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
จำเลยร่วมที่ 1 ได้โฆษณาหรือให้คำรับรองแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในโครงการว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะบนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในแผ่นพับโฆษณาและแผนผังโครงการ แม้จะมิได้มีการจดแจ้งให้ปรากฏในโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงก็ไม่ทำให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไม่เป็นที่ดินสำหรับสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยเปลี่ยนเป็นที่ดินสำหรับจัดสรรเพื่อขายไปได้ โดยถือว่าข้อความในแผ่นพับโฆษณาและแผนผังโครงการเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 และถือว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงรวมทั้งสระว่ายน้ำและสวนหย่อมที่ได้จัดทำขึ้นแล้วบนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 เป็นสาธารณูปโภคและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่งการที่ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยพลการก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยมีเงื่อนไข ข้อจำกัดทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ สำหรับการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไปยังบุคคลอื่นก็อาจทำให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้นแล้ว ผู้จัดสรรที่ดินก็ต้องดำเนินการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) หรือหากไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดสรรที่ดินต้องเป็นผู้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน หรือผู้จัดสรรที่ดินต้องจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (2) หรือ (3) (เดิม) ประการหนึ่งประการใด ดังนี้ การที่ผู้จัดสรรที่ดินโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณะไปยังบุคคลอื่นจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่อาจกระทำได้ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33การซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 การขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าวระหว่างจำเลยร่วมที่ 2 กับโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65657 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดเพชรบุรี จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แล้วจำเลยร่วมที่ 1 ในฐานะผู้จัดสรรที่ดินจึงต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่จำเลยไปจัดการและดูแลบำรุงรักษาตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) โดยโจทก์ไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
จำเลยร่วมที่ 1 ได้โฆษณาหรือให้คำรับรองแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในโครงการว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะบนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในแผ่นพับโฆษณาและแผนผังโครงการ แม้จะมิได้มีการจดแจ้งให้ปรากฏในโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงก็ไม่ทำให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไม่เป็นที่ดินสำหรับสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยเปลี่ยนเป็นที่ดินสำหรับจัดสรรเพื่อขายไปได้ โดยถือว่าข้อความในแผ่นพับโฆษณาและแผนผังโครงการเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 และถือว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงรวมทั้งสระว่ายน้ำและสวนหย่อมที่ได้จัดทำขึ้นแล้วบนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 เป็นสาธารณูปโภคและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่งการที่ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยพลการก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยมีเงื่อนไข ข้อจำกัดทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ สำหรับการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไปยังบุคคลอื่นก็อาจทำให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้นแล้ว ผู้จัดสรรที่ดินก็ต้องดำเนินการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) หรือหากไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดสรรที่ดินต้องเป็นผู้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน หรือผู้จัดสรรที่ดินต้องจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (2) หรือ (3) (เดิม) ประการหนึ่งประการใด ดังนี้ การที่ผู้จัดสรรที่ดินโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณะไปยังบุคคลอื่นจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่อาจกระทำได้ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33การซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 การขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าวระหว่างจำเลยร่วมที่ 2 กับโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65657 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดเพชรบุรี จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แล้วจำเลยร่วมที่ 1 ในฐานะผู้จัดสรรที่ดินจึงต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่จำเลยไปจัดการและดูแลบำรุงรักษาตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) โดยโจทก์ไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
ในขณะที่มีการโอนขาย พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ไม่มีบทบัญญัติห้ามมิให้จำหน่ายจ่ายโอนที่ดินซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินจัดสรร และ ป.พ.พ. เรื่องภาระจำยอมก็ไม่มีบทบัญญัติที่ห้ามเจ้าของภารยทรัพย์จำหน่ายหรือโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์ ชึ่ง พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เพิ่งจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 43/1 ใน พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2558 ซึ่งมาตรา 43/1 บัญญัติว่า "ห้ามโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค เว้นแต่เป็นการโอนตาม พ.ร.บ. นี้... ดังนั้นการห้ามโอนตามฎีกาประชุมใหญ่นี้ คงหมายถึงเฉพาะการโอนที่เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินอันเป็นสาธารณูโภคหรือใช้เพื่อบริการสาธารณะ โดยดูจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์หลังจากรับโอนที่ดินแล้วขอให้ขับไล่จำเลย พร้อมรื้อถอนสระว่ายน้ำ ที่จอดรถ ทางเดินเท้า สวนสาธารณะ ต้นไม้ อาคารสำนักงาน พร้อมปรับพื้นผิวที่ดินของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิม... หากเป็นกรณีผู้รับโอนยังไม่เปลี่ยนวัตถุประสงค์เช่นอาจจะซื้อสระว่ายน้ำและยังคงเปิดให้ใช้บริการตามเดิม น่าจะทำได้ ก้อง ศิวะเกื้อ
โจทก์เรียกให้จำเลยทั้งหกชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชําระหนี้แก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์อาศัยข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ตามคําขอสินเชื่อ คําขอสินเชื่อธุรกิจ ประเภทวงเงินออกหนังสือค้ำประกัน คำขอและข้อตกลงยินยอมให้ธนาคารออกหรือต่ออายุหนังสือค้ำประกัน ที่ระบุว่า “หากโจทก์ได้รับความเสียหายใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกัน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกัน ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายใด ๆ ตลอดจนค่าปรับต่าง ๆ จำเลยที่ 1 จะรับผิดชําระหนี้คืนให้แก่โจทก์ทันทีพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันไปนั้น” ข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นว่า โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีลูกหนี้ไม่ชําระหนี้อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่งแม้จำเลยทั้งหกขาดนัดยื่นคำให้การ แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นําสืบข้อเท็จจริง ให้ได้ความตามฟ้อง ปัญหาว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 เดิม หรือตามมาตรา 686 ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ที่แก้ไขใหม่ หรือไม่เพียงใด ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ใช้บังคับ แต่มาตรา 19 แห่งบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันให้เป็นไปตามมาตรา 686 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ บทบัญญัติของมาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่จึงต้องบังคับใช้กับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ 5,783,410.23 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 5,209,109.69 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ 897,360.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 809,109.69 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ 5,034,662.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 4,538,759 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น หากจำเลยทั้งหกไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ให้บังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ หากไม่พอชำระหนี้ ให้ยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยทั้งหกออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์จนครบถ้วน
จำเลยทั้งหกขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ 5,783,410.23 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของต้นเงิน 5,209,109.69 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 มิถุนายน 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ 897,360.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของต้นเงิน 809,109.69 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 มิถุนายน 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ 5,034,662.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของต้นเงิน 4,538,759 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 มิถุนายน 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น หากจำเลยทั้งหกไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ให้บังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13328 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยทั้งหกออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้โจทก์จนครบถ้วน กับให้จำเลยทั้งหกใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ 220,350.69 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 กันยายน 2561 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2561 และ 450,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2562 และ 138,759 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 25 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2562 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ชำระแทน 4,400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2562 และ 138,759 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 25 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2562 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำคำขอสินเชื่อ ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันวงเงิน 6,000,000 บาท เพื่อให้หมุนเวียนในกิจการรับเหมาก่อสร้าง มีข้อตกลงว่า หากโจทก์ได้รับความเสียหายใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกัน จำเลยที่ 2 จะชดใช้ค่าเสียหายให้ทันทีและยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่โจทก์จ่ายแทนไปในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้า โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 และวันที่ 7 สิงหาคม 2555 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาโจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้หน่วยงานต่าง ๆ 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัท พ. ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายเหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณและวัสดุก่อสร้าง มีการต่ออายุหนังสือค้ำประกัน ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2559 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัท พ. เพื่อค้ำประกันใบเสนอราคา 700,000 บาท มีการต่ออายุหนังสือค้ำประกันถึงวันที่ 17 กันยายน 2561 ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัท พ. เพื่อค้ำประกันการซื้อขายวัสดุก่อสร้างในโครงการก่อสร้างอาคารจอดรถ 10 ชั้น ของโรงพยาบาล ป. อาคารหอพักนักศึกษาและอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาล พ. และโครงการก่อสร้างอาคารจอดรถโรงพยาบาล ต. 500,000 บาท และฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัท จ. เพื่อค้ำประกันการซื้อขายวัสดุก่อสร้างในโครงการก่อสร้างอาคารเรียนรวมในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ว. มีการต่ออายุหนังสือค้ำประกันจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2561 นอกจากนี้เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำคำขอสินเชื่อขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันวงเงิน 4,400,000 บาท เพื่อใช้ในงานก่อสร้างอาคารจอดรถของโรงพยาบาล ป. โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม 2560 จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาสินเชื่อดังกล่าว โดยจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ค้ำประกันในวงเงิน 17,600,000 บาท มีกำหนดระยะเวลาประกัน 30 ปี ซึ่งเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันสัญญาก่อสร้างอาคารจอดรถของโรงพยาบาล ป. วงเงิน 4,400,000 บาท เพื่อเป็นประกันการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13328 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ 4,600,000 บาท ตกลงเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มีข้อตกลงว่าหากบังคับจำนองได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ จำเลยที่ 2 ยอมชดใช้จนครบถ้วน ต่อมาวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 จดทะเบียนปลอดจำนองที่ดิน น.ส. 3 ก. 13728 ในวันที่ 22 มกราคม 2559 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองลำดับสอง สำหรับที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13327 เป็นประกันหนี้ 2,360,000 บาท และทำสัญญาจำนองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 13328 เป็นประกันหนี้ 1,080,000 บาท ต่อมาในวันที่ 7 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองลำดับสามสำหรับที่ดินตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13327 เป็นประกันหนี้ 3,600,000 บาท และวันที่ 25 กันยายน 2561 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองลำดับสี่สำหรับที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13327 เป็นประกันหนี้ 2,804,800 บาท ภายหลังบริษัท พ. มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 ตามหนังสือค้ำประกัน รวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 300,000 บาท 700,000 บาท และ 500,000 บาท ตามลำดับ ซึ่งเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 โจทก์ชำระหนี้แทนรวม 1,500,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระหนี้คืนโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 จำนวน 1,280,389.04 บาท โจทก์นำมาหักชำระต้นเงินและดอกเบี้ยได้บางส่วนคงเหลือต้นเงิน 220,350.69 บาท ส่วนบริษัท จ. มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 โจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 450,000 บาท ส่วนโรงพยาบาล ป. มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกัน ซึ่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 โจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,400,000 บาท นอกจากนี้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ทำหนังสือค้ำประกันสินเชื่อส่วนที่ขาดหลักประกันของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในวงเงิน 9,240,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันดังกล่าวเป็นรายปีล่วงหน้าทุกปี หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระก็ตกลงให้โจทก์ทดรองจ่ายแทนโดยจำเลยที่ 1 ต้องชำระคืน ซึ่งเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562 โจทก์ทดรองจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 138,759 บาท โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งหกชำระหนี้แล้ว แต่จำเลยทั้งหกเพิกเฉย
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 10 ต่อปี เป็นการชอบหรือไม่ เห็นว่า ที่โจทก์เรียกให้จำเลยทั้งหกชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์นั้น เนื่องจากโจทก์อาศัยข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ตามคำขอสินเชื่อ คำขอสินเชื่อธุรกิจ ประเภทวงเงินออกหนังสือค้ำประกัน คำขอและข้อตกลงยินยอมให้ธนาคารออก/หรือต่ออายุหนังสือค้ำประกัน ที่ระบุว่า “หากโจทก์ได้รับความเสียหายใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกัน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกัน ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ตลอดจนค่าปรับต่าง ๆ จำเลยที่ 1 จะรับผิดชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ทันทีพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันนั้นไป” ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากจำเลยที่ 1 ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าดอกเบี้ยผิดนัดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับนั้น ชอบแล้ว และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ใช้ดุลพินิจปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 18 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นั้น เหมาะสมแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 รับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดเพียง 60 วัน เป็นการชอบหรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยทั้งหกขาดนัดยื่นคำให้การ แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความตามฟ้อง ซึ่งปัญหาว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 686 เดิม หรือตามมาตรา 686 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ที่แก้ไขใหม่หรือไม่เพียงใด ถือเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 เห็นว่า โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 เรียกให้ชำระหนี้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยที่ 1 ไป เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562 และเรียกให้ชำระค่าธรรมเนียม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเกิน 60 วัน นับแต่วันที่โจทก์ชำระหนี้ไปแทนอันถือเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในเบี้ยปรับซึ่งเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 แม้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แต่มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกัน ให้เป็นไปตามมาตรา 686 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ บทบัญญัติของมาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่จึงต้องบังคับใช้กับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ด้วย ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์เรียกให้จำเลยทั้งหกชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชําระหนี้แก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์อาศัยข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ตามคําขอสินเชื่อ คําขอสินเชื่อธุรกิจ ประเภทวงเงินออกหนังสือค้ำประกัน คำขอและข้อตกลงยินยอมให้ธนาคารออกหรือต่ออายุหนังสือค้ำประกัน ที่ระบุว่า “หากโจทก์ได้รับความเสียหายใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกัน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกัน ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายใด ๆ ตลอดจนค่าปรับต่าง ๆ จำเลยที่ 1 จะรับผิดชําระหนี้คืนให้แก่โจทก์ทันทีพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันไปนั้น” ข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นว่า โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีลูกหนี้ไม่ชําระหนี้อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่งแม้จำเลยทั้งหกขาดนัดยื่นคำให้การ แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นําสืบข้อเท็จจริง ให้ได้ความตามฟ้อง ปัญหาว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 เดิม หรือตามมาตรา 686 ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ที่แก้ไขใหม่ หรือไม่เพียงใด ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ใช้บังคับ แต่มาตรา 19 แห่งบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันให้เป็นไปตามมาตรา 686 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ บทบัญญัติของมาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่จึงต้องบังคับใช้กับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ 5,783,410.23 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 5,209,109.69 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ 897,360.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 809,109.69 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ 5,034,662.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงิน 4,538,759 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น หากจำเลยทั้งหกไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ให้บังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ หากไม่พอชำระหนี้ ให้ยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยทั้งหกออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์จนครบถ้วน
จำเลยทั้งหกขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งหกร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ 5,783,410.23 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของต้นเงิน 5,209,109.69 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 มิถุนายน 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ 897,360.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของต้นเงิน 809,109.69 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 มิถุนายน 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ 5,034,662.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ของต้นเงิน 4,538,759 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 มิถุนายน 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น หากจำเลยทั้งหกไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ให้บังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13328 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยทั้งหกออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้โจทก์จนครบถ้วน กับให้จำเลยทั้งหกใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ 220,350.69 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 กันยายน 2561 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2561 และ 450,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2562 และ 138,759 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 25 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2562 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ชำระแทน 4,400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2562 และ 138,759 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นับแต่วันที่ 25 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2562 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำคำขอสินเชื่อ ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันวงเงิน 6,000,000 บาท เพื่อให้หมุนเวียนในกิจการรับเหมาก่อสร้าง มีข้อตกลงว่า หากโจทก์ได้รับความเสียหายใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกัน จำเลยที่ 2 จะชดใช้ค่าเสียหายให้ทันทีและยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่โจทก์จ่ายแทนไปในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้า โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 และวันที่ 7 สิงหาคม 2555 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาโจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้หน่วยงานต่าง ๆ 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัท พ. ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายเหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณและวัสดุก่อสร้าง มีการต่ออายุหนังสือค้ำประกัน ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2559 ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2559 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัท พ. เพื่อค้ำประกันใบเสนอราคา 700,000 บาท มีการต่ออายุหนังสือค้ำประกันถึงวันที่ 17 กันยายน 2561 ฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัท พ. เพื่อค้ำประกันการซื้อขายวัสดุก่อสร้างในโครงการก่อสร้างอาคารจอดรถ 10 ชั้น ของโรงพยาบาล ป. อาคารหอพักนักศึกษาและอาจารย์ในวิทยาลัยพยาบาล พ. และโครงการก่อสร้างอาคารจอดรถโรงพยาบาล ต. 500,000 บาท และฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัท จ. เพื่อค้ำประกันการซื้อขายวัสดุก่อสร้างในโครงการก่อสร้างอาคารเรียนรวมในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ว. มีการต่ออายุหนังสือค้ำประกันจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2561 นอกจากนี้เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำคำขอสินเชื่อขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันวงเงิน 4,400,000 บาท เพื่อใช้ในงานก่อสร้างอาคารจอดรถของโรงพยาบาล ป. โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกัน ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม 2560 จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาสินเชื่อดังกล่าว โดยจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ค้ำประกันในวงเงิน 17,600,000 บาท มีกำหนดระยะเวลาประกัน 30 ปี ซึ่งเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันสัญญาก่อสร้างอาคารจอดรถของโรงพยาบาล ป. วงเงิน 4,400,000 บาท เพื่อเป็นประกันการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13328 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ 4,600,000 บาท ตกลงเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มีข้อตกลงว่าหากบังคับจำนองได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ จำเลยที่ 2 ยอมชดใช้จนครบถ้วน ต่อมาวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 จดทะเบียนปลอดจำนองที่ดิน น.ส. 3 ก. 13728 ในวันที่ 22 มกราคม 2559 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองลำดับสอง สำหรับที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13327 เป็นประกันหนี้ 2,360,000 บาท และทำสัญญาจำนองที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 13328 เป็นประกันหนี้ 1,080,000 บาท ต่อมาในวันที่ 7 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองลำดับสามสำหรับที่ดินตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13327 เป็นประกันหนี้ 3,600,000 บาท และวันที่ 25 กันยายน 2561 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองลำดับสี่สำหรับที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 13325 ถึง 13327 เป็นประกันหนี้ 2,804,800 บาท ภายหลังบริษัท พ. มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 ตามหนังสือค้ำประกัน รวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 300,000 บาท 700,000 บาท และ 500,000 บาท ตามลำดับ ซึ่งเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 โจทก์ชำระหนี้แทนรวม 1,500,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระหนี้คืนโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 จำนวน 1,280,389.04 บาท โจทก์นำมาหักชำระต้นเงินและดอกเบี้ยได้บางส่วนคงเหลือต้นเงิน 220,350.69 บาท ส่วนบริษัท จ. มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 โจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 450,000 บาท ส่วนโรงพยาบาล ป. มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกัน ซึ่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 โจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,400,000 บาท นอกจากนี้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้ทำหนังสือค้ำประกันสินเชื่อส่วนที่ขาดหลักประกันของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในวงเงิน 9,240,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันดังกล่าวเป็นรายปีล่วงหน้าทุกปี หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระก็ตกลงให้โจทก์ทดรองจ่ายแทนโดยจำเลยที่ 1 ต้องชำระคืน ซึ่งเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562 โจทก์ทดรองจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 138,759 บาท โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งหกชำระหนี้แล้ว แต่จำเลยทั้งหกเพิกเฉย
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 10 ต่อปี เป็นการชอบหรือไม่ เห็นว่า ที่โจทก์เรียกให้จำเลยทั้งหกชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ภายหลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์นั้น เนื่องจากโจทก์อาศัยข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ตามคำขอสินเชื่อ คำขอสินเชื่อธุรกิจ ประเภทวงเงินออกหนังสือค้ำประกัน คำขอและข้อตกลงยินยอมให้ธนาคารออก/หรือต่ออายุหนังสือค้ำประกัน ที่ระบุว่า “หากโจทก์ได้รับความเสียหายใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกัน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกัน ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ตลอดจนค่าปรับต่าง ๆ จำเลยที่ 1 จะรับผิดชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ทันทีพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันนั้นไป” ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากจำเลยที่ 1 ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใด ๆ ในการออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าดอกเบี้ยผิดนัดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับนั้น ชอบแล้ว และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ใช้ดุลพินิจปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 18 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 10 ต่อปี นั้น เหมาะสมแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 รับผิดในดอกเบี้ยผิดนัดเพียง 60 วัน เป็นการชอบหรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยทั้งหกขาดนัดยื่นคำให้การ แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความตามฟ้อง ซึ่งปัญหาว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 686 เดิม หรือตามมาตรา 686 ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ที่แก้ไขใหม่หรือไม่เพียงใด ถือเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 เห็นว่า โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 เรียกให้ชำระหนี้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยที่ 1 ไป เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562 และเรียกให้ชำระค่าธรรมเนียม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ซึ่งเกิน 60 วัน นับแต่วันที่โจทก์ชำระหนี้ไปแทนอันถือเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในเบี้ยปรับซึ่งเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 แม้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แต่มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และผู้ค้ำประกัน ให้เป็นไปตามมาตรา 686 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ บทบัญญัติของมาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่จึงต้องบังคับใช้กับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ด้วย ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ป.วิ.อ มาตรา 158 บัญญัติว่า “ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี...(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง” และมาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง” ซึ่งคำว่า “ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย...”นั้น หมายถึง กรณีที่ศาลตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ปรากฏว่าคำฟ้องที่ยื่นนั้น โจทก์กระทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยเขตอำนาจศาลที่ยื่นฟ้องตามมาตรา 157 หรือกระทำไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 158 (1) ถึง (7) มาตรา 159 และมาตรา 160 หากผลการตรวจคำฟ้องปรากฏว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อตามฟ้องโจทก์ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์แล้ว แต่ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ มาตรา 158 (7) ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ที่ศาลสามารถสั่งให้แก้ไขได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องโดยไม่มีลายมือชื่อโจทก์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ มาตรา 158 (7) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 และมิได้มีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในฟ้องให้ถูกต้องเสียก่อน จึงเป็นข้อผิดพลาดที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยจำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงประกอบอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนพบข้อผิดพลาดของโจทก์และศาลชั้นต้นดังกล่าว โดยศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะให้ศาลชั้นต้นสั่งโจทก์แก้ไขฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ การที่ศาลอุทธรณ์ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเสร็จแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และมาตรา 215 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 แล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 100/1, 102 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3, 4, 8, 14 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 83 และริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสาม พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 8 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ให้ประหารชีวิต ทางนำสืบของจำเลยที่ 1 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม คงจำคุกตลอดชีวิต ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ส่วนเมทแอมเฟตามีนของกลาง ศาลมีคำพิพากษาให้ริบในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 168/2561 ของศาลชั้นต้นแล้ว จึงให้ยกคำขอส่วนนี้
โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสาม พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 8 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ให้ประหารชีวิต นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นที่ยุติว่า เมื่อวันที่ 23 และ 24 มีนาคม 2560 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมนายพัชระ นายอนุชาติหรือถี นายโชคชัย และนายประเสริฐ พร้อมตรวจยึดเมทแอมเฟตามีน 660,000 เม็ด รถยนต์สีขาว รถจักรยานยนต์ 2 คัน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 เครื่อง เป็นของกลาง เมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 13,654.599 กรัม นายพัชระกับพวก รวม 4 คนดังกล่าวถูกดำเนินคดีข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเป็นการสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน
คดีมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในฟ้องนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 บัญญัติว่า “ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง” และมาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง” ซึ่งคำว่า “ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย...” ตามที่บัญญัติในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง นั้น หมายถึง กรณีที่ศาลตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ปรากฏ