คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และฝ่ายผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ต่างยื่นคำร้องขอให้ถอนอีกฝ่ายออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 หรือผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเพราะเหตุละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรหรือไม่ การที่ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตาย เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยอันมีผลให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิใช่เหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงมิใช่เป็นการตกลงกันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีนี้โดยตรง เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีอื่นต่างหาก การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการไต่สวนคำร้องขอแต่กลับพิจารณาตามคำท้าหรือข้อตกลงของคู่ความทั้งสองฝ่าย ถือเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของนายมงคล ผู้ตาย ร่วมกัน
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก เนื่องจากผู้ร้องคัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอขอให้ถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก และให้ผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกับผู้ร้องคัดค้านที่ 1 โอนที่ดินมรดกดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษา หากผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลแสดงเจตนาต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้จัดการโอนที่ดินดังกล่าวแก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสาม และหรือบังคับให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ตามกฎหมาย
ระหว่างพิจารณา ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ตกลงกันว่า ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 2948 และ 10793 ให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามภายในวันที่ 11 สิงหาคม 2558 หากฝ่ายใดไม่ไปตามกำหนด ถือว่าฝ่ายนั้นขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก และขอถอนคำร้องขอที่ขอถอนอีกฝ่ายหนึ่งจากการเป็นผู้จัดการมรดกด้วย ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 89667 ให้ศาลชี้ขาดว่าเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวของผู้ตาย หากชี้ขาดว่าเป็นสินสมรส ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก และผู้ร้องคัดค้านทั้งสามขอถอนคำร้องขอที่ขอให้ถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก แต่หากชี้ขาดว่าเป็นสินส่วนตัว ผู้คัดค้านที่ 2 ขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก และขอถอนคำร้องที่ขอให้ถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายจะยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ศาลพิจารณา ไม่ติดใจนำพยานหลักฐานอื่นเข้าไต่สวนอีก หลังจากนั้นผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ไปโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามตามที่ตกลงกัน ส่วนข้อตกลงที่ให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 89667 เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตายนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นสินสมรส แล้วพิพากษาให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 โดยมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ลาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย อนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามถอนคำร้องขอ จำหน่ายคดีผู้ร้องคัดค้านทั้งสามออกจากสารบบความ และยกคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องคัดค้านทั้งสามและคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 แล้วมีคำสั่งใหม่ต่อไปตามรูปคดี คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากนี้ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายกับนางแก้วเรือน ผู้ตายจดทะเบียนหย่ากับนางแก้วเรือนแล้ว ต่อมาจดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องคัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ตายมีทรัพย์มรดกหลายรายการรวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2948, 10793 และ 89667 ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2948 และ 10793 ให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสาม ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 มีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลถอนอีกฝ่ายหนึ่งออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ระหว่างพิจารณาคดีทั้งสองฝ่ายตกลงกันขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 89667 เป็นสินสมรสของผู้ตาย อนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ลาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกกับอนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามถอนคำร้องขอที่ขอให้ถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ผลจากคำวินิจฉัยดังกล่าวทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงผู้เดียว
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องคัดค้านทั้งสามและคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากผู้ร้องคัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์ละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องว่าผู้คัดค้านที่ 2 ละเลยไม่ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก ขอให้ถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก และให้ผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกับผู้ร้องคัดค้านที่ 1 โอนทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสาม กรณีจึงมีประเด็นให้ต้องพิจารณาว่า มีเหตุที่จะถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 หรือผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ซึ่งเหตุที่ถอนผู้จัดการมรดกนั้นกฎหมายได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ว่า "ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง" ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 หรือผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดกเพราะเหตุละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรหรือไม่ กรณีที่ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าที่ดินมรดกของผู้ตายโฉนดเลขที่ 89667 เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตาย เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยอันมีผลให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิใช่เหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงมิใช่เป็นการตกลงกันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีนี้โดยตรง โดยปัญหาว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายส่วนใดจะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีอื่นต่างหาก ศาลชั้นต้นไม่อาจนำคำฟ้องหรือข้อตกลงดังกล่าวมาชี้ขาดว่า ทรัพย์มรดกส่วนใดเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสแล้วนำไปสู่การมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ลาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย รวมถึงการอนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามถอนคำร้องขอได้ โดยในกรณีนี้ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องคัดค้านทั้งสาม และคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ให้ได้ความว่า มีเหตุสมควรถอนอีกฝ่ายหนึ่งจากการเป็นผู้จัดการมรดกเพราะมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการไต่สวนดังกล่าวแต่กลับดำเนินการพิจารณาตามคำท้าหรือข้อตกลงของผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และมีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (2) และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องคัดค้านทั้งสามและคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี จึงชอบแล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาในชั้นนี้ให้เป็นพับ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และฝ่ายผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ต่างยื่นคำร้องขอให้ถอนอีกฝ่ายออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 หรือผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเพราะเหตุละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรหรือไม่ การที่ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตาย เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยอันมีผลให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิใช่เหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงมิใช่เป็นการตกลงกันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีนี้โดยตรง เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีอื่นต่างหาก การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการไต่สวนคำร้องขอแต่กลับพิจารณาตามคำท้าหรือข้อตกลงของคู่ความทั้งสองฝ่าย ถือเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของนายมงคล ผู้ตาย ร่วมกัน
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก เนื่องจากผู้ร้องคัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องขอขอให้ถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก และให้ผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกับผู้ร้องคัดค้านที่ 1 โอนที่ดินมรดกดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษา หากผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลแสดงเจตนาต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้จัดการโอนที่ดินดังกล่าวแก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสาม และหรือบังคับให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ตามกฎหมาย
ระหว่างพิจารณา ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ตกลงกันว่า ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 2948 และ 10793 ให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามภายในวันที่ 11 สิงหาคม 2558 หากฝ่ายใดไม่ไปตามกำหนด ถือว่าฝ่ายนั้นขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก และขอถอนคำร้องขอที่ขอถอนอีกฝ่ายหนึ่งจากการเป็นผู้จัดการมรดกด้วย ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 89667 ให้ศาลชี้ขาดว่าเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวของผู้ตาย หากชี้ขาดว่าเป็นสินสมรส ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก และผู้ร้องคัดค้านทั้งสามขอถอนคำร้องขอที่ขอให้ถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก แต่หากชี้ขาดว่าเป็นสินส่วนตัว ผู้คัดค้านที่ 2 ขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก และขอถอนคำร้องที่ขอให้ถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายจะยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ศาลพิจารณา ไม่ติดใจนำพยานหลักฐานอื่นเข้าไต่สวนอีก หลังจากนั้นผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ไปโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามตามที่ตกลงกัน ส่วนข้อตกลงที่ให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 89667 เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตายนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นสินสมรส แล้วพิพากษาให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 โดยมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ลาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย อนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามถอนคำร้องขอ จำหน่ายคดีผู้ร้องคัดค้านทั้งสามออกจากสารบบความ และยกคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องคัดค้านทั้งสามและคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 แล้วมีคำสั่งใหม่ต่อไปตามรูปคดี คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากนี้ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายกับนางแก้วเรือน ผู้ตายจดทะเบียนหย่ากับนางแก้วเรือนแล้ว ต่อมาจดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องคัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้ตายมีทรัพย์มรดกหลายรายการรวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2948, 10793 และ 89667 ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2948 และ 10793 ให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสาม ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 มีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลถอนอีกฝ่ายหนึ่งออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ระหว่างพิจารณาคดีทั้งสองฝ่ายตกลงกันขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 89667 เป็นสินสมรสของผู้ตาย อนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ลาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกกับอนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามถอนคำร้องขอที่ขอให้ถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ผลจากคำวินิจฉัยดังกล่าวทำให้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงผู้เดียว
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องคัดค้านทั้งสามและคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากผู้ร้องคัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์ละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดก ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องว่าผู้คัดค้านที่ 2 ละเลยไม่ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก ขอให้ถอนผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดก และให้ผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกับผู้ร้องคัดค้านที่ 1 โอนทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสาม กรณีจึงมีประเด็นให้ต้องพิจารณาว่า มีเหตุที่จะถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 หรือผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ซึ่งเหตุที่ถอนผู้จัดการมรดกนั้นกฎหมายได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ว่า "ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง" ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 หรือผู้คัดค้านที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดกเพราะเหตุละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรหรือไม่ กรณีที่ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าที่ดินมรดกของผู้ตายโฉนดเลขที่ 89667 เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตาย เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยอันมีผลให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิใช่เหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงมิใช่เป็นการตกลงกันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีนี้โดยตรง โดยปัญหาว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายส่วนใดจะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีอื่นต่างหาก ศาลชั้นต้นไม่อาจนำคำฟ้องหรือข้อตกลงดังกล่าวมาชี้ขาดว่า ทรัพย์มรดกส่วนใดเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสแล้วนำไปสู่การมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ลาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย รวมถึงการอนุญาตให้ผู้ร้องคัดค้านทั้งสามถอนคำร้องขอได้ โดยในกรณีนี้ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องคัดค้านทั้งสาม และคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ให้ได้ความว่า มีเหตุสมควรถอนอีกฝ่ายหนึ่งจากการเป็นผู้จัดการมรดกเพราะมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการไต่สวนดังกล่าวแต่กลับดำเนินการพิจารณาตามคำท้าหรือข้อตกลงของผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และมีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (2) และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องคัดค้านทั้งสามและคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี จึงชอบแล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาในชั้นนี้ให้เป็นพับ
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ดังนั้น การที่ผู้ค้ำประกันจำต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้นั้น ผู้ค้ำประกันย่อมต้องชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันเอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งผู้ร้องมีอำนาจขอให้เพิกถอน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เด็ดขาด เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2555 ลูกหนี้ที่ 3 ยื่นคำแถลงขอให้ผู้ร้องเพิกถอนการทำนิติกรรมโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5281 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 และห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี แต่จากการสอบสวนของผู้ร้องตามคำแถลงของลูกหนี้ที่ 3 ดังกล่าวพบว่า เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ลูกหนี้ที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี ต่อผู้คัดค้าน รวม 2 ฉบับ ในวงเงินฉบับละ 83,000,000 บาท และ 409,000 บาท การทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวระหว่างลูกหนี้ที่ 2 และผู้คัดค้านเป็นการกระทำที่ทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้ที่ 2 เสียเปรียบ ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 และ 114
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า สัญญาค้ำประกันระหว่างลูกหนี้ที่ 2 และผู้คัดค้านทำไปโดยสุจริต ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเจตนาที่จะทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้ที่ 2 เสียเปรียบ และสัญญาค้ำประกันมิได้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติที่อาจขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ ขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันของลูกหนี้ที่ 2 กับผู้คัดค้านฉบับลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ในวงเงิน 83,000,000 บาท และ 409,000 บาท ให้ผู้คัดค้านใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้อง ส่วนค่าทนายความ ผู้ร้องว่าความเองจึงไม่กำหนดให้
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า ลูกหนี้ที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ถือหุ้นของห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี เดิมลูกหนี้ที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5281 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวเป็นประกันหนี้ต่อบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยและธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี ทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้คัดค้าน เป็นเงิน 83,000,000 บาท เพื่อนำเงินไปซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 5281 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ของลูกหนี้ที่ 2 และที่ดินโฉนดเลขที่ 6364 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ของนางนงคราญ ในการทำสัญญากู้ดังกล่าว ลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี ต่อผู้คัดค้านรวม 2 ฉบับ ในวงเงิน 83,000,000 บาท และ 409,000 บาท ต่อมาวันที่ 18 มิถุนายน 2553 ลูกหนี้ที่ 2 ชำระหนี้เพื่อจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 5281 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เป็นจำนวนเงิน 48,000,000 บาท และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนเงิน 13,000,000 บาท และลูกหนี้ที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานีในราคา 70,000,000 บาท และห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวเป็นประกันหนี้เงินกู้ต่อผู้คัดค้าน
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่า สัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สินหรือไม่ ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าสัญญาค้ำประกันระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับผู้คัดค้านมิใช่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ได้นั้น เห็นว่า สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ดังนั้น การที่ผู้ค้ำประกันจำต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้นั้น ผู้ค้ำประกันย่อมต้องชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันเอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งผู้ร้องมีอำนาจขอให้เพิกถอน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ได้ อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ดังนั้น การที่ผู้ค้ำประกันจำต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้นั้น ผู้ค้ำประกันย่อมต้องชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันเอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งผู้ร้องมีอำนาจขอให้เพิกถอน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เด็ดขาด เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2555 ลูกหนี้ที่ 3 ยื่นคำแถลงขอให้ผู้ร้องเพิกถอนการทำนิติกรรมโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5281 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 และห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี แต่จากการสอบสวนของผู้ร้องตามคำแถลงของลูกหนี้ที่ 3 ดังกล่าวพบว่า เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ลูกหนี้ที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี ต่อผู้คัดค้าน รวม 2 ฉบับ ในวงเงินฉบับละ 83,000,000 บาท และ 409,000 บาท การทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวระหว่างลูกหนี้ที่ 2 และผู้คัดค้านเป็นการกระทำที่ทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้ที่ 2 เสียเปรียบ ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 และ 114
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า สัญญาค้ำประกันระหว่างลูกหนี้ที่ 2 และผู้คัดค้านทำไปโดยสุจริต ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเจตนาที่จะทำให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้ที่ 2 เสียเปรียบ และสัญญาค้ำประกันมิได้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติที่อาจขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ ขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันของลูกหนี้ที่ 2 กับผู้คัดค้านฉบับลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ในวงเงิน 83,000,000 บาท และ 409,000 บาท ให้ผู้คัดค้านใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้อง ส่วนค่าทนายความ ผู้ร้องว่าความเองจึงไม่กำหนดให้
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า ลูกหนี้ที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ถือหุ้นของห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี เดิมลูกหนี้ที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5281 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวเป็นประกันหนี้ต่อบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยและธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) วันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี ทำสัญญากู้ยืมเงินจากผู้คัดค้าน เป็นเงิน 83,000,000 บาท เพื่อนำเงินไปซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 5281 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ของลูกหนี้ที่ 2 และที่ดินโฉนดเลขที่ 6364 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ของนางนงคราญ ในการทำสัญญากู้ดังกล่าว ลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี ต่อผู้คัดค้านรวม 2 ฉบับ ในวงเงิน 83,000,000 บาท และ 409,000 บาท ต่อมาวันที่ 18 มิถุนายน 2553 ลูกหนี้ที่ 2 ชำระหนี้เพื่อจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 5281 ตำบลในเมือง (ประทุม) อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เป็นจำนวนเงิน 48,000,000 บาท และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนเงิน 13,000,000 บาท และลูกหนี้ที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานีในราคา 70,000,000 บาท และห้างหุ้นส่วนจำกัด เนวาด้าอินน์อุบลราชธานี ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวเป็นประกันหนี้เงินกู้ต่อผู้คัดค้าน
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่า สัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สินหรือไม่ ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าสัญญาค้ำประกันระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับผู้คัดค้านมิใช่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ได้นั้น เห็นว่า สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ดังนั้น การที่ผู้ค้ำประกันจำต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้นั้น ผู้ค้ำประกันย่อมต้องชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันเอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งผู้ร้องมีอำนาจขอให้เพิกถอน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ได้ อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
การกล่าวหาและจับกุมจำเลยดำเนินคดีนี้ แม้มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจากคำซัดทอดของ ศ. ที่ถูกจับกุมในคดีอื่น แต่ ศ. ให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนในคดีที่ ศ. เป็นผู้ต้องหาในวันเดียวกับวันที่ถูกจับกุม จึงเป็นการยากที่จะคิดปรุงแต่งเรื่องราวให้ผิดไปจากความจริงและในคดีดังกล่าว ศ. ให้การรับสารภาพ จึงมิใช่เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดโดยปัดความผิดไปให้จำเลยเพียงผู้เดียว หากเป็นการบอกเล่าเรื่องราวในการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าการปรักปรำจำเลยเสียอีก ทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ก็ไม่ได้กำหนดไว้ว่า การสอบคำให้การในชั้นจับกุมของผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กดังเช่น ศ. จะต้องกระทำต่อหน้านักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์หรือที่ปรึกษากฎหมายหรือบุคคลที่เด็กไว้วางใจ และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ห้ามมิให้นำคำให้การชั้นจับกุมของผู้ต้องหาในลักษณะดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของบุคคลอื่นหรือจำเลยในคดีอื่นแต่ประการใดทั้งสิ้น
จำเลยจ้างให้ ศ. ไปรับเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้วนำมาส่งให้จำเลย โดยใช้รถจักรยานยนต์ของจำเลย และจำเลยโทรศัพท์สั่งการ ศ. เมื่อ ศ. รับเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้ว ถือว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับ ศ. ครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกับ ศ. กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
การกล่าวหาและจับกุมจำเลยดำเนินคดีนี้ แม้มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจากคำซัดทอดของ ศ. ที่ถูกจับกุมในคดีอื่น แต่ ศ. ให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนในคดีที่ ศ. เป็นผู้ต้องหาในวันเดียวกับวันที่ถูกจับกุม จึงเป็นการยากที่จะคิดปรุงแต่งเรื่องราวให้ผิดไปจากความจริงและในคดีดังกล่าว ศ. ให้การรับสารภาพ จึงมิใช่เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดโดยปัดความผิดไปให้จำเลยเพียงผู้เดียว หากเป็นการบอกเล่าเรื่องราวในการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าการปรักปรำจำเลยเสียอีก ทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ก็ไม่ได้กำหนดไว้ว่า การสอบคำให้การในชั้นจับกุมของผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กดังเช่น ศ. จะต้องกระทำต่อหน้านักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์หรือที่ปรึกษากฎหมายหรือบุคคลที่เด็กไว้วางใจ และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ห้ามมิให้นำคำให้การชั้นจับกุมของผู้ต้องหาในลักษณะดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของบุคคลอื่นหรือจำเลยในคดีอื่นแต่ประการใดทั้งสิ้น
จำเลยจ้างให้ ศ. ไปรับเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้วนำมาส่งให้จำเลย โดยใช้รถจักรยานยนต์ของจำเลย และจำเลยโทรศัพท์สั่งการ ศ. เมื่อ ศ. รับเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้ว ถือว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับ ศ. ครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกับ ศ. กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุกตลอดชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 16 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แม้ฎีกาของจำเลยจะขอให้ลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 โดยได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกา ก็หาก่อให้เกิดสิทธิในการยื่นฎีกาไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 100/1, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 58, 83 ริบเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และรถจักรยานยนต์ของกลาง บวกโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1436/2556 ของศาลชั้นต้น เข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสาม ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ให้ประหารชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุกตลอดชีวิต เมื่อลงโทษจำเลยให้จำคุกตลอดชีวิตแล้ว ไม่อาจนำโทษจำคุก 2 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1436/2556 ของศาลชั้นต้น มาบวกกับโทษของจำเลยได้ ริบเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่และรถจักรยานยนต์ของกลาง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์และจำเลยไม่อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 16
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุกตลอดชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 16 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุด ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แม้ฎีกาของจำเลยจะขอให้ลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 โดยได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกา ก็หาก่อให้เกิดสิทธิในการยื่นฎีกาไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
พิพากษายกฎีกาของจำเลย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุกตลอดชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 16 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แม้ฎีกาของจำเลยจะขอให้ลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 โดยได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกา ก็หาก่อให้เกิดสิทธิในการยื่นฎีกาไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 100/1, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 58, 83 ริบเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และรถจักรยานยนต์ของกลาง บวกโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1436/2556 ของศาลชั้นต้น เข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสาม ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ให้ประหารชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุกตลอดชีวิต เมื่อลงโทษจำเลยให้จำคุกตลอดชีวิตแล้ว ไม่อาจนำโทษจำคุก 2 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1436/2556 ของศาลชั้นต้น มาบวกกับโทษของจำเลยได้ ริบเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่และรถจักรยานยนต์ของกลาง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์และจำเลยไม่อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 16
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุกตลอดชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 16 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุด ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แม้ฎีกาของจำเลยจะขอให้ลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 โดยได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกา ก็หาก่อให้เกิดสิทธิในการยื่นฎีกาไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
พิพากษายกฎีกาของจำเลย
การที่ผู้คัดค้านทราบดีมาตั้งแต่แรกว่า ร. มีคดีพิพาทกับบริษัท อ. นายจ้างซึ่งเป็นบริษัทในเครือของผู้ร้องที่ศาลแรงงานภาค 2 แต่ผู้คัดค้านกลับใช้อำนาจในฐานะประธานกรรมการสหภาพแรงงานเรียกประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเฉพาะกลุ่มพวกพ้องของตนในวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 แล้วใช้เสียงข้างมากรวบรัดลงมติแต่งตั้ง ร. เป็นกรรมการลูกจ้างบริษัท อ. เพื่อให้ ร. ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้ ร. ได้รับประโยชน์จากกฎหมายไปในทางที่ไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องจะไม่ได้ระบุเกี่ยวกับการกระทำของผู้คัดค้านไว้โดยตรงและไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดก็ตาม แต่การที่ผู้คัดค้านเป็นประธานกรรมการสหภาพแรงงานได้ก็เพราะเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ผู้คัดค้านเป็นทั้งประธานกรรมการสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการลูกจ้างย่อมต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และดำเนินการภายใต้บังคับของวัตถุที่ประสงค์ของสหภาพแรงงาน มิใช่นำฐานะความเป็นประธานกรรมการสหภาพแรงงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยมิชอบ การกระทำของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่า ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง เป็นประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยและกรรมการลูกจ้าง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 วันที่ 4 วันที่ 11 วันที่ 12 วันที่ 15 และวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 วันที่ 7 และวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่โดยออกไปนอกสถานที่ทำงานในเวลาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 59.6 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ผู้คัดค้านในฐานะประธานสหภาพแรงงานได้มีหนังสือแจ้งบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของผู้ร้องว่าเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 สหภาพแรงงานมีการประชุมและมีมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรือง เป็นกรรมการลูกจ้าง อันเป็นความเท็จและให้ทนายความของนายรุ่งศิริเรืองแจ้งต่อศาลแรงงานภาค 2 เพื่อทำให้บริษัทดังกล่าวเข้าใจผิดว่านายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างซึ่งหากจะเลิกจ้างจะต้องขออนุญาตศาลแรงงานก่อนเพื่อประโยชน์ในคดีหมายเลขดำที่ 339/2556 และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา และเพื่อให้นายรุ่งศิริเรืองได้รับประโยชน์จากค่าจ้างและสวัสดิการ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อเจ้าพนักงานแรงงาน จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง และเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 มาตรา 119 (1) (2) และ (4) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 59.9 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ผู้คัดค้านเข้าร่วมประชุมล่าช้าเกินกว่าเวลาอันสมควร ขณะมีการประชุมวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรื่องวันทำงานของปี 2556 ระหว่างผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดและสหภาพแรงงาน ผู้คัดค้านแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในลักษณะดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติผู้บังคับบัญชาระดับสูงโดยกล่าวด้วยน้ำเสียงฉุนเฉียวในที่ประชุมว่า "เบื่อไม่อยากฟัง พูดแต่เรื่องเดิม ๆ" แล้วเดินออกจากห้องประชุมไป ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือและส่งผลเสียต่อการบริหารงาน การบังคับบัญชาและการปกครองพนักงาน เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 59.2 นอกจากนี้ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านต่อศาลแรงงานภาค 2 เนื่องจากผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร แต่ในชั้นไกล่เกลี่ยผู้คัดค้านรับสารภาพ ผู้ร้องให้โอกาสปรับปรุงตัวและศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้ผู้ร้องตักเตือนเป็นหนังสือแทนตามที่ผู้ร้องลดโทษให้ พฤติกรรมของผู้คัดค้านดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ โดยไม่มีความมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีและความเคารพเชื่อถือต่อผู้บังคับบัญชาและไม่มุ่งหวังที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของผู้ร้องอันชอบด้วยกฎหมายตามปกติวิสัยที่พนักงานควรปฏิบัติต่อองค์กร ทั้งผู้คัดค้านควรประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกจ้างอื่น ขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง เป็นประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยและกรรมการลูกจ้าง สหภาพแรงงานกับผู้ร้องทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 ในข้อ 3 ให้ประธานสหภาพแรงงานทำงานภารกิจของสหภาพแรงงานได้เต็มเวลาและได้รับค่าจ้างและสวัสดิการและผลประโยชน์อื่น ๆ เสมือนเป็นการทำงานปกติ ดังนั้นในวันที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่นั้นผู้คัดค้านได้ไปทำภารกิจของสหภาพแรงงานตามข้อตกลงจึงมิใช่การฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการสหภาพแรงงานได้ประชุมจริงและเสียงข้างมากมีมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างแทนกรรมการลูกจ้างคนเดิมที่เสียชีวิต แต่การประชุมมีข้อบกพร่องที่ไม่ได้เรียกกรรมการเสียงข้างน้อยเข้าประชุม แต่เมื่อผู้ร้อง (ที่ถูกเป็น บริษัทในเครือผู้ร้อง) เลิกจ้างนายรุ่งศิริเรือง สหภาพแรงงานจึงหารือกับพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานแจ้งว่าแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้ สหภาพแรงงานจึงแนะนำให้นายรุ่งศิริเรืองถอนฟ้องและให้ไปใช้สิทธิร้องผู้ร้อง (ที่ถูกเป็น บริษัทในเครือผู้ร้อง) ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และมีการไกล่เกลี่ยแล้วตกลงกันได้โดยรับนายรุ่งศิริเรืองกลับเข้าทำงาน ดังนั้นการที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างจึงไม่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายและไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) (2) และ (4) และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 การประชุมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 ผู้คัดค้านพูดในทำนองว่าไม่อยากร่วมประชุมแล้วเพราะมีการพูดแต่เรื่องเดิม ๆ การประชุมไม่คืบหน้า แต่ผู้คัดค้านได้แสดงออกไปตามวิถีทางประชาธิปไตย ไม่ได้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในลักษณะดูหมิ่นผู้แทนผู้ร้องหรือต่อบุคคลใดจึงไม่ได้ฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อีกทั้งบทบาทของผู้คัดค้านที่ผ่านมาได้กระทำตามภารกิจของสหภาพแรงงานมิใช่เรื่องส่วนตัวจึงมิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ร้อง ขอให้ยกคำร้อง
ศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงและปรากฏข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันว่า ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมผลิต ประกอบและจำหน่ายรถยนต์ บริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด เป็นบริษัทในเครือของผู้ร้องโดยมีผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีวัตถุประสงค์ประกอบและหรือผลิตเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ ส่วนควบของรถยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ และรับจ้างประกอบและผลิตสินค้าดังกล่าว ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ตำแหน่งพนักงานผลิต และเป็นประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยและกรรมการลูกจ้าง นายรุ่งศิริเรือง เป็นลูกจ้างของบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด สหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยเป็นสหภาพแรงงานในกิจการประเภทเดียวกันที่จัดตั้งขึ้นโดยลูกจ้างของผู้ร้องและบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 ขณะที่มีการประชุมวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรื่องวันทำงานและวันหยุดประจำปี 2556 ของผู้ร้อง ผู้คัดค้านได้เข้าร่วมประชุมล่าช้ากว่ากำหนดเวลาและกล่าวในที่ประชุมทำนองว่าพูดแต่เรื่องเดิม ๆ ก่อนจะลุกออกจากห้องประชุมไป เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 วันที่ 4 วันที่ 11 วันที่ 12 วันที่ 15 และวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 วันที่ 7 และวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ซึ่งเป็นวันทำงานปกติ ผู้คัดค้านได้มาลงบันทึกเวลาทำงานในตอนเช้า แต่ในช่วงเวลาทำงานผู้คัดค้านได้ออกไปจากบริเวณโรงงานโดยไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ร้องทราบแล้วกลับมาลงบันทึกเวลาเลิกงานในตอนเย็นตามตารางการเข้าปฏิบัติงานและเข้าออก ณ ประตูทางออก วันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ผู้คัดค้านในฐานะประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งบริษัทในเครือของผู้ร้องว่า คณะกรรมการสหภาพแรงงานได้ประชุมและมีมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้าง แล้ววินิจฉัยว่า เหตุที่ผู้คัดค้านมาเข้าร่วมประชุมสายนั้นได้ความว่าเพราะผู้คัดค้านเดินทางไปรับปฏิทินที่สหพันธ์แรงงานรถยนต์แห่งประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการ โดยได้รับอนุญาตจากนายชูเกียรติ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล แล้ว ดังนี้การที่ผู้คัดค้านต้องเดินทางไปรับปฏิทินเพื่อนำมาแจกให้แก่ผู้ใช้แรงงานในเขตแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นเหตุให้มาเข้าร่วมประชุมล่าช้ากว่ากำหนด นับได้ว่ามีเหตุผลอันสมควรตามพฤติการณ์ หาใช่เป็นการจงใจไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการประชุมตามที่นัดหมายไว้หรือต้องการกลั่นแกล้งบุคคลใดในที่ประชุมให้รอผู้คัดค้านด้วยเหตุอันไม่สมควร ส่วนกรณีที่ผู้คัดค้านกล่าวในที่ประชุมด้วยถ้อยคำในทำนองว่าในที่ประชุมมีการพูดแต่เรื่องเดิม ๆ แม้จะเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสมไม่สมควรที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาจะกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลภายนอกที่ร่วมประชุมอยู่ในห้องประชุมด้วยก็ตาม แต่ถ้อยคำของผู้คัดค้านดังกล่าวยังไม่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใดให้ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเกียรติยศหรือเป็นการข่มขู่คุกคามแสดงความอาฆาตมาดร้ายบุคคลใดให้เกิดความเกรงกลัวแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการระบายความรู้สึกส่วนตัวเกี่ยวกับเนื้อหาในการประชุมที่มีการพูดคุยกันในเรื่องเดิม ๆ ทำให้ผู้คัดค้านเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากรับฟังด้วยเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านมีพฤติการณ์ดูหมิ่นผู้บริหารซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ร้องหรือผู้บังคับบัญชา ส่วนที่อ้างว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ออกไปจากบริเวณโรงงานโดยไม่ได้แจ้งผู้บังคับบัญชาหรือผู้ร้องทราบเพื่อขอลาหยุดหรือออกนอกโรงงานนั้น ได้ความว่า ผู้ร้องกับสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 ไว้ต่อกัน ในข้อ 3 ว่า ประธานสหภาพแรงงานและเลขาธิการสหภาพแรงงานสามารถทำงานในภารกิจของสหภาพแรงงานได้เต็มเวลาและได้รับค่าจ้างและสวัสดิการและผลประโยชน์อื่นเสมือนเป็นการทำงานตามปกติ เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวยังคงใช้บังคับอยู่โดยไม่มีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติภารกิจของสหภาพแรงงานของผู้คัดค้านในฐานะประธานสหภาพแรงงานย่อมได้รับการคุ้มครอง และเมื่อผู้คัดค้านมีหลักฐานมาแสดงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวได้ไปปฏิบัติภารกิจในกิจการของสหภาพแรงงาน โดยไม่ปรากฏว่าได้ไปกระทำการอื่นนอกเหนือภารกิจของสหภาพแรงงาน กรณีจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ออกไปจากบริเวณโรงงานในระหว่างวันเวลาทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง และกรณีนี้เป็นคนละเหตุกับกรณีที่ผู้คัดค้านเคยถูกลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือตามที่ศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตในคดีหมายเลขดำที่ 132/2554 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านละทิ้งงานไปกระทำการนอกเหนืออำนาจหน้าที่ในกิจการของสหภาพแรงงาน ส่วนเรื่องที่ผู้คัดค้านในฐานะประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยกับพวกได้ประชุมและมีมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างและแจ้งบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของนายรุ่งศิริเรืองนั้น ได้ความว่าก่อนหน้าที่นายรุ่งศิริเรืองจะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างตามมติของสหภาพแรงงาน นายรุ่งศิริเรืองได้ยื่นฟ้องบริษัทนายจ้างซึ่งเป็นบริษัทในเครือของผู้ร้อง ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกจ้าง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและไกล่เกลี่ยของศาลแรงงานภาค 2 และเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 ผู้คัดค้านเดินทางมาศาลกับนายรุ่งศิริเรือง ในการไกล่เกลี่ยนายรุ่งศิริเรืองได้ปรึกษากับทนายความว่าจะขอเวลาไปปรึกษากันแล้วจะแจ้งให้ทราบในวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 ดังนี้จึงแสดงว่าผู้คัดค้านทราบดีอยู่แล้วว่านายรุ่งศิริเรืองมีคดีพิพาทกับนายจ้างที่ศาลแรงงานภาค 2 การที่ผู้คัดค้านใช้อำนาจในฐานะประธานสหภาพแรงงานเรียกประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเฉพาะในกลุ่มพวกพ้องของตนในวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 แล้วใช้เสียงข้างมากรวบรัดลงมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้าง เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงเจตนาไม่บริสุทธิ์ของผู้คัดค้านที่ต้องการช่วยเหลือนายรุ่งศิริเรืองมิให้ถูกนายจ้างบอกเลิกจ้างเพราะหากนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้าง การบอกเลิกจ้างของนายจ้างย่อมมิอาจกระทำได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน การกระทำของผู้คัดค้านนอกจากจะแสดงถึงความไม่ซื่อสัตย์ต่อตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กรสหภาพแรงงานซึ่งต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกจ้างทั่วไปแล้ว ยังเป็นการมุ่งหวังให้นายรุ่งศิริเรืองได้รับประโยชน์ต่าง ๆ จากการอ้างอิงใช้ตำแหน่งกรรมการลูกจ้างในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลแรงงานภาค 2 ซึ่งเรื่องดังกล่าวล้วนอยู่ในความรู้เห็นของผู้คัดค้านมาโดยตลอด การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการจงใจทำให้บริษัทนายจ้างของนายรุ่งศิริเรืองและผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง อีกทั้งยังเป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมด้านกฎหมายแรงงานเป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย นอกจากนี้ยังได้ความอีกว่าในการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556 ได้นำเรื่องการประชุมลงมติของคณะกรรมการสหภาพแรงงานที่แต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 เสนอให้ที่ประชุมมีมติรับรอง ทั้งที่ไม่มีการแจ้งวาระการประชุมในเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมทราบมาก่อน ย้ำชัดให้เห็นว่าผู้คัดค้านมีความพยายามพลิกแพลงใช้ผู้ที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องมากลบเกลื่อนการกระทำของตนให้กลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องขึ้นอย่างไม่ตระหนักถึงวิถีทางอันชอบธรรม ทั้งนี้เพียงเพื่อต้องการเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องบางคนโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อคนจำนวนมาก นับเป็นการทำลายรากฐานระบบกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันและมีความปรองดองสมานฉันท์ในการทำงานร่วมกัน หากผู้คัดค้านยังคงปฏิบัติงานอยู่ต่อไปในระยะยาวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรฝ่ายลูกจ้างและกิจการของผู้ร้อง กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านโดยการเลิกจ้างได้
คดีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ไม่ได้ระบุว่าการที่ผู้คัดค้านเรียกประชุมสหภาพแรงงานเพื่อแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างของบริษัทในเครือเป็นความผิด ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวใช้กับสถานประกอบกิจการของผู้ร้องเท่านั้น จะนำมาใช้บังคับกับสหภาพแรงงานไม่ได้ ทั้งกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิด ที่ศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ขัดต่อกฎหมายและเป็นการพิพากษาเกินกว่ากฎหมายกำหนด นั้น เห็นว่า การที่ผู้คัดค้านทราบดีมาตั้งแต่แรกว่านายรุ่งศิริเรืองมีคดีพิพาทกับบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด นายจ้างซึ่งเป็นบริษัทในเครือของผู้ร้องที่ศาลแรงงานภาค 2 แต่ผู้คัดค้านกลับใช้อำนาจในฐานะประธานสหภาพแรงงานเรียกประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเฉพาะกลุ่มพวกพ้องของตนในวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 แล้วใช้เสียงข้างมากรวบรัดลงมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด เพื่อให้นายรุ่งศิริเรืองได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้นายรุ่งศิริเรืองได้รับประโยชน์จากกฎหมายไปในทางที่ไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องจะไม่ได้ระบุเกี่ยวกับการกระทำของผู้คัดค้านไว้โดยตรง และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดดังที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่ผู้คัดค้านเป็นประธานสหภาพแรงงานได้ก็เพราะเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ผู้คัดค้านเป็นทั้งประธานสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการลูกจ้างย่อมต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และดำเนินการภายใต้บังคับของวัตถุที่ประสงค์ของสหภาพแรงงาน มิใช่นำฐานะความเป็นประธานสหภาพแรงงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยมิชอบ การกระทำของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านนั้น จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
การที่ผู้คัดค้านทราบดีมาตั้งแต่แรกว่า ร. มีคดีพิพาทกับบริษัท อ. นายจ้างซึ่งเป็นบริษัทในเครือของผู้ร้องที่ศาลแรงงานภาค 2 แต่ผู้คัดค้านกลับใช้อำนาจในฐานะประธานกรรมการสหภาพแรงงานเรียกประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเฉพาะกลุ่มพวกพ้องของตนในวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 แล้วใช้เสียงข้างมากรวบรัดลงมติแต่งตั้ง ร. เป็นกรรมการลูกจ้างบริษัท อ. เพื่อให้ ร. ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้ ร. ได้รับประโยชน์จากกฎหมายไปในทางที่ไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องจะไม่ได้ระบุเกี่ยวกับการกระทำของผู้คัดค้านไว้โดยตรงและไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดก็ตาม แต่การที่ผู้คัดค้านเป็นประธานกรรมการสหภาพแรงงานได้ก็เพราะเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ผู้คัดค้านเป็นทั้งประธานกรรมการสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการลูกจ้างย่อมต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และดำเนินการภายใต้บังคับของวัตถุที่ประสงค์ของสหภาพแรงงาน มิใช่นำฐานะความเป็นประธานกรรมการสหภาพแรงงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยมิชอบ การกระทำของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่า ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง เป็นประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยและกรรมการลูกจ้าง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 วันที่ 4 วันที่ 11 วันที่ 12 วันที่ 15 และวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 วันที่ 7 และวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่โดยออกไปนอกสถานที่ทำงานในเวลาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 59.6 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ผู้คัดค้านในฐานะประธานสหภาพแรงงานได้มีหนังสือแจ้งบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของผู้ร้องว่าเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 สหภาพแรงงานมีการประชุมและมีมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรือง เป็นกรรมการลูกจ้าง อันเป็นความเท็จและให้ทนายความของนายรุ่งศิริเรืองแจ้งต่อศาลแรงงานภาค 2 เพื่อทำให้บริษัทดังกล่าวเข้าใจผิดว่านายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างซึ่งหากจะเลิกจ้างจะต้องขออนุญาตศาลแรงงานก่อนเพื่อประโยชน์ในคดีหมายเลขดำที่ 339/2556 และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา และเพื่อให้นายรุ่งศิริเรืองได้รับประโยชน์จากค่าจ้างและสวัสดิการ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อเจ้าพนักงานแรงงาน จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง และเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 มาตรา 119 (1) (2) และ (4) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 59.9 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ผู้คัดค้านเข้าร่วมประชุมล่าช้าเกินกว่าเวลาอันสมควร ขณะมีการประชุมวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรื่องวันทำงานของปี 2556 ระหว่างผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดและสหภาพแรงงาน ผู้คัดค้านแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในลักษณะดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติผู้บังคับบัญชาระดับสูงโดยกล่าวด้วยน้ำเสียงฉุนเฉียวในที่ประชุมว่า "เบื่อไม่อยากฟัง พูดแต่เรื่องเดิม ๆ" แล้วเดินออกจากห้องประชุมไป ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือและส่งผลเสียต่อการบริหารงาน การบังคับบัญชาและการปกครองพนักงาน เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 59.2 นอกจากนี้ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านต่อศาลแรงงานภาค 2 เนื่องจากผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร แต่ในชั้นไกล่เกลี่ยผู้คัดค้านรับสารภาพ ผู้ร้องให้โอกาสปรับปรุงตัวและศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้ผู้ร้องตักเตือนเป็นหนังสือแทนตามที่ผู้ร้องลดโทษให้ พฤติกรรมของผู้คัดค้านดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ โดยไม่มีความมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีและความเคารพเชื่อถือต่อผู้บังคับบัญชาและไม่มุ่งหวังที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของผู้ร้องอันชอบด้วยกฎหมายตามปกติวิสัยที่พนักงานควรปฏิบัติต่อองค์กร ทั้งผู้คัดค้านควรประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกจ้างอื่น ขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง เป็นประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยและกรรมการลูกจ้าง สหภาพแรงงานกับผู้ร้องทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 ในข้อ 3 ให้ประธานสหภาพแรงงานทำงานภารกิจของสหภาพแรงงานได้เต็มเวลาและได้รับค่าจ้างและสวัสดิการและผลประโยชน์อื่น ๆ เสมือนเป็นการทำงานปกติ ดังนั้นในวันที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่นั้นผู้คัดค้านได้ไปทำภารกิจของสหภาพแรงงานตามข้อตกลงจึงมิใช่การฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการสหภาพแรงงานได้ประชุมจริงและเสียงข้างมากมีมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างแทนกรรมการลูกจ้างคนเดิมที่เสียชีวิต แต่การประชุมมีข้อบกพร่องที่ไม่ได้เรียกกรรมการเสียงข้างน้อยเข้าประชุม แต่เมื่อผู้ร้อง (ที่ถูกเป็น บริษัทในเครือผู้ร้อง) เลิกจ้างนายรุ่งศิริเรือง สหภาพแรงงานจึงหารือกับพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานแจ้งว่าแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้ สหภาพแรงงานจึงแนะนำให้นายรุ่งศิริเรืองถอนฟ้องและให้ไปใช้สิทธิร้องผู้ร้อง (ที่ถูกเป็น บริษัทในเครือผู้ร้อง) ต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และมีการไกล่เกลี่ยแล้วตกลงกันได้โดยรับนายรุ่งศิริเรืองกลับเข้าทำงาน ดังนั้นการที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างจึงไม่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายและไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) (2) และ (4) และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 การประชุมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 ผู้คัดค้านพูดในทำนองว่าไม่อยากร่วมประชุมแล้วเพราะมีการพูดแต่เรื่องเดิม ๆ การประชุมไม่คืบหน้า แต่ผู้คัดค้านได้แสดงออกไปตามวิถีทางประชาธิปไตย ไม่ได้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในลักษณะดูหมิ่นผู้แทนผู้ร้องหรือต่อบุคคลใดจึงไม่ได้ฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อีกทั้งบทบาทของผู้คัดค้านที่ผ่านมาได้กระทำตามภารกิจของสหภาพแรงงานมิใช่เรื่องส่วนตัวจึงมิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ร้อง ขอให้ยกคำร้อง
ศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงและปรากฏข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันว่า ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมผลิต ประกอบและจำหน่ายรถยนต์ บริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด เป็นบริษัทในเครือของผู้ร้องโดยมีผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีวัตถุประสงค์ประกอบและหรือผลิตเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ ส่วนควบของรถยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ และรับจ้างประกอบและผลิตสินค้าดังกล่าว ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ตำแหน่งพนักงานผลิต และเป็นประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยและกรรมการลูกจ้าง นายรุ่งศิริเรือง เป็นลูกจ้างของบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด สหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยเป็นสหภาพแรงงานในกิจการประเภทเดียวกันที่จัดตั้งขึ้นโดยลูกจ้างของผู้ร้องและบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 ขณะที่มีการประชุมวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรื่องวันทำงานและวันหยุดประจำปี 2556 ของผู้ร้อง ผู้คัดค้านได้เข้าร่วมประชุมล่าช้ากว่ากำหนดเวลาและกล่าวในที่ประชุมทำนองว่าพูดแต่เรื่องเดิม ๆ ก่อนจะลุกออกจากห้องประชุมไป เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2556 วันที่ 4 วันที่ 11 วันที่ 12 วันที่ 15 และวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 วันที่ 7 และวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ซึ่งเป็นวันทำงานปกติ ผู้คัดค้านได้มาลงบันทึกเวลาทำงานในตอนเช้า แต่ในช่วงเวลาทำงานผู้คัดค้านได้ออกไปจากบริเวณโรงงานโดยไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ร้องทราบแล้วกลับมาลงบันทึกเวลาเลิกงานในตอนเย็นตามตารางการเข้าปฏิบัติงานและเข้าออก ณ ประตูทางออก วันที่ 15 กรกฎาคม 2556 ผู้คัดค้านในฐานะประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งบริษัทในเครือของผู้ร้องว่า คณะกรรมการสหภาพแรงงานได้ประชุมและมีมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้าง แล้ววินิจฉัยว่า เหตุที่ผู้คัดค้านมาเข้าร่วมประชุมสายนั้นได้ความว่าเพราะผู้คัดค้านเดินทางไปรับปฏิทินที่สหพันธ์แรงงานรถยนต์แห่งประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการ โดยได้รับอนุญาตจากนายชูเกียรติ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล แล้ว ดังนี้การที่ผู้คัดค้านต้องเดินทางไปรับปฏิทินเพื่อนำมาแจกให้แก่ผู้ใช้แรงงานในเขตแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นเหตุให้มาเข้าร่วมประชุมล่าช้ากว่ากำหนด นับได้ว่ามีเหตุผลอันสมควรตามพฤติการณ์ หาใช่เป็นการจงใจไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการประชุมตามที่นัดหมายไว้หรือต้องการกลั่นแกล้งบุคคลใดในที่ประชุมให้รอผู้คัดค้านด้วยเหตุอันไม่สมควร ส่วนกรณีที่ผู้คัดค้านกล่าวในที่ประชุมด้วยถ้อยคำในทำนองว่าในที่ประชุมมีการพูดแต่เรื่องเดิม ๆ แม้จะเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสมไม่สมควรที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาจะกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลภายนอกที่ร่วมประชุมอยู่ในห้องประชุมด้วยก็ตาม แต่ถ้อยคำของผู้คัดค้านดังกล่าวยังไม่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลใดให้ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเกียรติยศหรือเป็นการข่มขู่คุกคามแสดงความอาฆาตมาดร้ายบุคคลใดให้เกิดความเกรงกลัวแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการระบายความรู้สึกส่วนตัวเกี่ยวกับเนื้อหาในการประชุมที่มีการพูดคุยกันในเรื่องเดิม ๆ ทำให้ผู้คัดค้านเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากรับฟังด้วยเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านมีพฤติการณ์ดูหมิ่นผู้บริหารซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ร้องหรือผู้บังคับบัญชา ส่วนที่อ้างว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ออกไปจากบริเวณโรงงานโดยไม่ได้แจ้งผู้บังคับบัญชาหรือผู้ร้องทราบเพื่อขอลาหยุดหรือออกนอกโรงงานนั้น ได้ความว่า ผู้ร้องกับสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 ไว้ต่อกัน ในข้อ 3 ว่า ประธานสหภาพแรงงานและเลขาธิการสหภาพแรงงานสามารถทำงานในภารกิจของสหภาพแรงงานได้เต็มเวลาและได้รับค่าจ้างและสวัสดิการและผลประโยชน์อื่นเสมือนเป็นการทำงานตามปกติ เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวยังคงใช้บังคับอยู่โดยไม่มีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติภารกิจของสหภาพแรงงานของผู้คัดค้านในฐานะประธานสหภาพแรงงานย่อมได้รับการคุ้มครอง และเมื่อผู้คัดค้านมีหลักฐานมาแสดงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวได้ไปปฏิบัติภารกิจในกิจการของสหภาพแรงงาน โดยไม่ปรากฏว่าได้ไปกระทำการอื่นนอกเหนือภารกิจของสหภาพแรงงาน กรณีจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านละทิ้งหน้าที่ออกไปจากบริเวณโรงงานในระหว่างวันเวลาทำงานอันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง และกรณีนี้เป็นคนละเหตุกับกรณีที่ผู้คัดค้านเคยถูกลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือตามที่ศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตในคดีหมายเลขดำที่ 132/2554 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านละทิ้งงานไปกระทำการนอกเหนืออำนาจหน้าที่ในกิจการของสหภาพแรงงาน ส่วนเรื่องที่ผู้คัดค้านในฐานะประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยกับพวกได้ประชุมและมีมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างและแจ้งบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของนายรุ่งศิริเรืองนั้น ได้ความว่าก่อนหน้าที่นายรุ่งศิริเรืองจะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างตามมติของสหภาพแรงงาน นายรุ่งศิริเรืองได้ยื่นฟ้องบริษัทนายจ้างซึ่งเป็นบริษัทในเครือของผู้ร้อง ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกจ้าง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและไกล่เกลี่ยของศาลแรงงานภาค 2 และเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 ผู้คัดค้านเดินทางมาศาลกับนายรุ่งศิริเรือง ในการไกล่เกลี่ยนายรุ่งศิริเรืองได้ปรึกษากับทนายความว่าจะขอเวลาไปปรึกษากันแล้วจะแจ้งให้ทราบในวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 ดังนี้จึงแสดงว่าผู้คัดค้านทราบดีอยู่แล้วว่านายรุ่งศิริเรืองมีคดีพิพาทกับนายจ้างที่ศาลแรงงานภาค 2 การที่ผู้คัดค้านใช้อำนาจในฐานะประธานสหภาพแรงงานเรียกประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเฉพาะในกลุ่มพวกพ้องของตนในวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 แล้วใช้เสียงข้างมากรวบรัดลงมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้าง เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงเจตนาไม่บริสุทธิ์ของผู้คัดค้านที่ต้องการช่วยเหลือนายรุ่งศิริเรืองมิให้ถูกนายจ้างบอกเลิกจ้างเพราะหากนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้าง การบอกเลิกจ้างของนายจ้างย่อมมิอาจกระทำได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อน การกระทำของผู้คัดค้านนอกจากจะแสดงถึงความไม่ซื่อสัตย์ต่อตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กรสหภาพแรงงานซึ่งต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกจ้างทั่วไปแล้ว ยังเป็นการมุ่งหวังให้นายรุ่งศิริเรืองได้รับประโยชน์ต่าง ๆ จากการอ้างอิงใช้ตำแหน่งกรรมการลูกจ้างในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลแรงงานภาค 2 ซึ่งเรื่องดังกล่าวล้วนอยู่ในความรู้เห็นของผู้คัดค้านมาโดยตลอด การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการจงใจทำให้บริษัทนายจ้างของนายรุ่งศิริเรืองและผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง อีกทั้งยังเป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมด้านกฎหมายแรงงานเป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย นอกจากนี้ยังได้ความอีกว่าในการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556 ได้นำเรื่องการประชุมลงมติของคณะกรรมการสหภาพแรงงานที่แต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 เสนอให้ที่ประชุมมีมติรับรอง ทั้งที่ไม่มีการแจ้งวาระการประชุมในเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมทราบมาก่อน ย้ำชัดให้เห็นว่าผู้คัดค้านมีความพยายามพลิกแพลงใช้ผู้ที่ไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องมากลบเกลื่อนการกระทำของตนให้กลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องขึ้นอย่างไม่ตระหนักถึงวิถีทางอันชอบธรรม ทั้งนี้เพียงเพื่อต้องการเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องบางคนโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายต่อคนจำนวนมาก นับเป็นการทำลายรากฐานระบบกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันและมีความปรองดองสมานฉันท์ในการทำงานร่วมกัน หากผู้คัดค้านยังคงปฏิบัติงานอยู่ต่อไปในระยะยาวย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรฝ่ายลูกจ้างและกิจการของผู้ร้อง กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านโดยการเลิกจ้างได้
คดีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ไม่ได้ระบุว่าการที่ผู้คัดค้านเรียกประชุมสหภาพแรงงานเพื่อแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างของบริษัทในเครือเป็นความผิด ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวใช้กับสถานประกอบกิจการของผู้ร้องเท่านั้น จะนำมาใช้บังคับกับสหภาพแรงงานไม่ได้ ทั้งกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิด ที่ศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ขัดต่อกฎหมายและเป็นการพิพากษาเกินกว่ากฎหมายกำหนด นั้น เห็นว่า การที่ผู้คัดค้านทราบดีมาตั้งแต่แรกว่านายรุ่งศิริเรืองมีคดีพิพาทกับบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด นายจ้างซึ่งเป็นบริษัทในเครือของผู้ร้องที่ศาลแรงงานภาค 2 แต่ผู้คัดค้านกลับใช้อำนาจในฐานะประธานสหภาพแรงงานเรียกประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเฉพาะกลุ่มพวกพ้องของตนในวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 แล้วใช้เสียงข้างมากรวบรัดลงมติแต่งตั้งนายรุ่งศิริเรืองเป็นกรรมการลูกจ้างบริษัทเอ็มเอ็มทีเอชเอ็นจิ้น จำกัด เพื่อให้นายรุ่งศิริเรืองได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อให้นายรุ่งศิริเรืองได้รับประโยชน์จากกฎหมายไปในทางที่ไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องจะไม่ได้ระบุเกี่ยวกับการกระทำของผู้คัดค้านไว้โดยตรง และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดดังที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่ผู้คัดค้านเป็นประธานสหภาพแรงงานได้ก็เพราะเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ผู้คัดค้านเป็นทั้งประธานสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการลูกจ้างย่อมต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และดำเนินการภายใต้บังคับของวัตถุที่ประสงค์ของสหภาพแรงงาน มิใช่นำฐานะความเป็นประธานสหภาพแรงงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยมิชอบ การกระทำของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านนั้น จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ที่ประชุมใหญ่วิสามัญของเจ้าของร่วมมีมติแต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลย ต่อมาจำเลยกับพวกยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญ โจทก์เป็นผู้คัดค้าน แล้วจำเลยในฐานะผู้ร้องและโจทก์ในฐานะผู้คัดค้านทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยผู้ร้องจะถอนฟ้องคดีอาญา ผู้คัดค้านจะถอนฟ้องคดีที่ศาลแรงงานและถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านปฏิบัติเรียบร้อยแล้วผู้ร้องจะจ่ายเงินเดือน (ค่าจ้าง) ที่ค้างจ่ายให้ผู้คัดค้าน ศาลแพ่งมีคำพิพากษาตามยอม (คดีถึงที่สุด) คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่ความและสัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เมื่อจำเลยในฐานะผู้ร้องที่ 1 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายให้โจทก์ในฐานะผู้คัดค้านตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยให้จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีนั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างที่เป็นเงินจำนวนเดียวกับที่จำเลยต้องจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันตามที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีนี้อีก
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 127,651.54 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการของจำเลยเคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์เรื่องการทำงานและเวลาการทำงาน 7 ฉบับ ต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการมอบหมายให้นางสาวดวงกมล พนักงานบัญชีของจำเลยจดบันทึกเวลาการทำงานของโจทก์จนถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2556 ในระหว่างมีการจดบันทึกการทำงานนั้นจำเลยยังมีหนังสือตักเตือนโจทก์เรื่องเวลาทำงานอีก 2 ฉบับ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือชี้แจงเรื่องการทำงานและเวลาทำงานตามที่ถูกตักเตือน จำเลยกับพวกเคยเป็นผู้ร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุม โดยโจทก์เป็นผู้คัดค้านในคดีหมายเลขดำที่ 1044/2556 หมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่ง แล้วโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ศาลแพ่งมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ข้อ 1 โจทก์จะดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ข้อ 5 หากโจทก์จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเรียบร้อยแล้ว จำเลยจะจ่ายเงินเดือนที่ค้างให้โจทก์ ข้อ 7 โจทก์ต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้จัดการนิติบุคคลของจำเลยอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง ตามที่โจทก์แจ้งในใบสมัคร ถ้าไม่ทำงานวันละ 2 ชั่วโมง หรือทำงานไม่ครบตามกำหนดโจทก์ขอให้หักเงินได้ตามส่วน แล้ววินิจฉัยว่า ก่อนวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ทำงานไม่ครบ 2 ชั่วโมง และบางวันก็ไม่ได้มาทำงาน พอถือได้ว่าจำเลยยังไม่เคร่งครัดเรื่องเวลาทำงานและจำเลยมีเจตนาจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายให้โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 ถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2556 (วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ) เป็นเวลา 3 เดือน 28 วัน เป็นเงิน 98,333.24 บาท ข้อ 7 จำเลยมีความประสงค์จะเคร่งครัดเรื่องเวลาทำงานกับโจทก์นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไป โจทก์จำเลยเข้าใจตรงกันว่าโจทก์ในฐานะลูกจ้างมีหน้าที่ต้องเข้าปฏิบัติงานในสำนักงานของจำเลยอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าจ้างค้างให้แก่โจทก์หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยไม่โต้แย้งกันได้ความว่าที่ประชุมใหญ่วิสามัญของเจ้าของร่วมครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 มีมติแต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลย โดยได้รับค่าจ้างเดือนละ 25,000 บาท ต่อมาจำเลยกับพวกรวม 4 คน เป็นผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2556 โจทก์เป็นผู้คัดค้านตามคดีหมายเลขดำที่ 1044/2556 หมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่งวันที่ 28 สิงหาคม 2556 จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้ร้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้คัดค้านตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีข้อความระบุว่า
ข้อ 2 ผู้ร้องจะถอนฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อ.2497/2556 ของศาลอาญาภายใน 7 วัน และนำสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องมาให้ผู้คัดค้าน
ข้อ 3 ผู้คัดค้านจะถอนฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2654/2556 ของศาลแรงงานกลางภายใน 7 วัน และนำสำเนาคำขอถอนฟ้องให้ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3
ข้อ 4 ผู้คัดค้านจะถอนคำร้องทุกข์คดีที่ผู้คัดค้านร้องทุกข์นายณัฐวุฒิ ในคดีอาญาภายใน 7 วัน และนำสำเนาบันทึกประจำวันที่ถอนคำร้องทุกข์มอบให้ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3
ข้อ 5 เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านปฏิบัติตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 เรียบร้อยแล้ว ผู้ร้องจะจ่ายเงินเดือนที่ค้างให้แก่ผู้คัดค้านภายใน 7 วัน ซึ่งศาลแพ่งมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ทั้งได้ความจากคำเบิกความโจทก์ว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้คัดค้านในคดีหมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่งถอนฟ้องคดีแรงงานและถอนคำร้องทุกข์พร้อมทั้งนำส่งสำเนาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 3 และข้อ 4 แล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องที่ 1 ก็ไม่จ่ายค่าจ้าง (เงินเดือน) ที่ค้างจ่ายให้โจทก์ ยังคงค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 รวมเป็นเงิน 200,000 บาท เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 ถึงเดือนธันวาคม 2556 รวมเป็นเงิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่จำเลยต้องจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่งและศาลแพ่งมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และสัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องที่ 1 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 5 โดยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายเป็นคดีนี้ ส่วนประเด็นเรื่องจำเลยเคร่งครัดเวลามาทำงานของโจทก์ตั้งแต่เมื่อใดและฟ้องซ้ำหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกต่อไป
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
ที่ประชุมใหญ่วิสามัญของเจ้าของร่วมมีมติแต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลย ต่อมาจำเลยกับพวกยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญ โจทก์เป็นผู้คัดค้าน แล้วจำเลยในฐานะผู้ร้องและโจทก์ในฐานะผู้คัดค้านทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยผู้ร้องจะถอนฟ้องคดีอาญา ผู้คัดค้านจะถอนฟ้องคดีที่ศาลแรงงานและถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านปฏิบัติเรียบร้อยแล้วผู้ร้องจะจ่ายเงินเดือน (ค่าจ้าง) ที่ค้างจ่ายให้ผู้คัดค้าน ศาลแพ่งมีคำพิพากษาตามยอม (คดีถึงที่สุด) คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่ความและสัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เมื่อจำเลยในฐานะผู้ร้องที่ 1 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายให้โจทก์ในฐานะผู้คัดค้านตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยให้จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีนั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าจ้างที่เป็นเงินจำนวนเดียวกับที่จำเลยต้องจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันตามที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นคดีนี้อีก
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 127,651.54 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการของจำเลยเคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์เรื่องการทำงานและเวลาการทำงาน 7 ฉบับ ต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการมอบหมายให้นางสาวดวงกมล พนักงานบัญชีของจำเลยจดบันทึกเวลาการทำงานของโจทก์จนถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2556 ในระหว่างมีการจดบันทึกการทำงานนั้นจำเลยยังมีหนังสือตักเตือนโจทก์เรื่องเวลาทำงานอีก 2 ฉบับ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือชี้แจงเรื่องการทำงานและเวลาทำงานตามที่ถูกตักเตือน จำเลยกับพวกเคยเป็นผู้ร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุม โดยโจทก์เป็นผู้คัดค้านในคดีหมายเลขดำที่ 1044/2556 หมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่ง แล้วโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2556 ศาลแพ่งมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ข้อ 1 โจทก์จะดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ข้อ 5 หากโจทก์จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเรียบร้อยแล้ว จำเลยจะจ่ายเงินเดือนที่ค้างให้โจทก์ ข้อ 7 โจทก์ต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้จัดการนิติบุคคลของจำเลยอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง ตามที่โจทก์แจ้งในใบสมัคร ถ้าไม่ทำงานวันละ 2 ชั่วโมง หรือทำงานไม่ครบตามกำหนดโจทก์ขอให้หักเงินได้ตามส่วน แล้ววินิจฉัยว่า ก่อนวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ทำงานไม่ครบ 2 ชั่วโมง และบางวันก็ไม่ได้มาทำงาน พอถือได้ว่าจำเลยยังไม่เคร่งครัดเรื่องเวลาทำงานและจำเลยมีเจตนาจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายให้โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 ถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2556 (วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ) เป็นเวลา 3 เดือน 28 วัน เป็นเงิน 98,333.24 บาท ข้อ 7 จำเลยมีความประสงค์จะเคร่งครัดเรื่องเวลาทำงานกับโจทก์นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไป โจทก์จำเลยเข้าใจตรงกันว่าโจทก์ในฐานะลูกจ้างมีหน้าที่ต้องเข้าปฏิบัติงานในสำนักงานของจำเลยอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าจ้างค้างให้แก่โจทก์หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยไม่โต้แย้งกันได้ความว่าที่ประชุมใหญ่วิสามัญของเจ้าของร่วมครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 มีมติแต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลย โดยได้รับค่าจ้างเดือนละ 25,000 บาท ต่อมาจำเลยกับพวกรวม 4 คน เป็นผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2556 โจทก์เป็นผู้คัดค้านตามคดีหมายเลขดำที่ 1044/2556 หมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่งวันที่ 28 สิงหาคม 2556 จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้ร้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้คัดค้านตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีข้อความระบุว่า
ข้อ 2 ผู้ร้องจะถอนฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อ.2497/2556 ของศาลอาญาภายใน 7 วัน และนำสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องมาให้ผู้คัดค้าน
ข้อ 3 ผู้คัดค้านจะถอนฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2654/2556 ของศาลแรงงานกลางภายใน 7 วัน และนำสำเนาคำขอถอนฟ้องให้ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3
ข้อ 4 ผู้คัดค้านจะถอนคำร้องทุกข์คดีที่ผู้คัดค้านร้องทุกข์นายณัฐวุฒิ ในคดีอาญาภายใน 7 วัน และนำสำเนาบันทึกประจำวันที่ถอนคำร้องทุกข์มอบให้ผู้ร้องที่ 2 และที่ 3
ข้อ 5 เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านปฏิบัติตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 เรียบร้อยแล้ว ผู้ร้องจะจ่ายเงินเดือนที่ค้างให้แก่ผู้คัดค้านภายใน 7 วัน ซึ่งศาลแพ่งมีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ทั้งได้ความจากคำเบิกความโจทก์ว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้คัดค้านในคดีหมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่งถอนฟ้องคดีแรงงานและถอนคำร้องทุกข์พร้อมทั้งนำส่งสำเนาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 3 และข้อ 4 แล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องที่ 1 ก็ไม่จ่ายค่าจ้าง (เงินเดือน) ที่ค้างจ่ายให้โจทก์ ยังคงค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 รวมเป็นเงิน 200,000 บาท เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 ถึงเดือนธันวาคม 2556 รวมเป็นเงิน 200,000 บาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่จำเลยต้องจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันตามที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่งและศาลแพ่งมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และสัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องที่ 1 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 5 โดยไม่ยอมจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ 3713/2556 ของศาลแพ่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายเป็นคดีนี้ ส่วนประเด็นเรื่องจำเลยเคร่งครัดเวลามาทำงานของโจทก์ตั้งแต่เมื่อใดและฟ้องซ้ำหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกต่อไป
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือต้องเป็นกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา แล้วการชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้นภายหลังส่งมอบงานให้แก่ผู้ว่าจ้างในสภาพเรียบร้อยถูกต้องตามสัญญาแล้ว มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นเพราะผู้รับจ้างปฏิบัติหรือทำงานไม่ถูกต้องตามสัญญา สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัท ร. ข้อ 6 มีความว่า เมื่องานแล้วเสร็จบริบูรณ์และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างรายใหม่ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 5 หากมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นภายในกำหนด 1 ปี นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของผู้รับจ้างอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือทำไว้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้าโดยผู้ว่าจ้างไม่ต้องออกเงินใด ๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างบิดพลิ้วไม่กระทำการดังกล่าวภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างหรือไม่ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิกระทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นโดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความชำรุดบกพร่องเสียหายเกิดจากการที่บริษัท ร. ใช้วัสดุไม่ถูกต้องหรือทำงานไม่เรียบร้อยไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชาเป็นจำนวนมาก อันเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลแห่งความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากการดำเนินการตามสัญญาจ้างของบริษัท ร. โดยตรง มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัท ร. ส่งมอบงานที่รับจ้างที่ถูกต้องสมบูรณ์ไร้ข้อบกพร่องให้แก่โจทก์แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษ ซึ่งโจทก์และบริษัท ร. ผูกพันต้องปฏิบัติต่อกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ที่จะนำอายุความตามมาตรา 601 มาใช้บังคับ และไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้บทบัญญัติเรื่องอายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนี้ แม้จะนับแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2538 ซึ่งโจทก์พบความชำรุดบกพร่อง อันเป็นวันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้เป็นครั้งแรกจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 2 คือวันที่ 16 มิถุนายน 2548 ยังเป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้นั้น แม้จะเข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสามว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงนั้นได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ยังมีภาระต้องชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวแก่โจทก์ และหนี้ดังกล่าวมิได้ระงับไปด้วยเหตุประการอื่นใด จำเลยที่ 1 ยังคงต้องชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ เพียงเหตุที่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันกลับคืนมาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็หาส่งผลให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน 50,748,226.03 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 47,700,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมชำระเงิน 1,132,392.94 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,064,375 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด 1,064,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 3 ใช้ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 2105/2547 ของศาลชั้นต้น พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ทั้งสองศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีก่อนจำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เรียกค่าจ้างควบคุมงานโดยมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอาศัยเหตุคนละอย่างกับคดีนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนให้ศาลอุทธรณ์รวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้องคือวันที่ 16 มิถุนายน 2548 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดไม่เกิน 3,048,226.03 บาท ตามที่โจทก์ขอ กับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เป็นพับ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้เป็นยุติในชั้นฎีกาว่า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2536 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาบริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ก่อสร้าง ต่อเติม ปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นเงิน 1,215,000,000 บาท จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินไม่เกิน 60,750,000 บาท วันเดียวกัน โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างเป็นเงิน 21,287,500 บาท ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของบริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โดยมีข้อตกลงตามข้อ 11 ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ได้ใช้ความรู้ที่เหมาะสมหรือไม่ได้ควบคุมงานจนเกิดความเสียหายและไม่หาทางแก้ไขให้เรียบร้อย โจทก์มีสิทธิว่าจ้างบุคคลอื่นแก้ไขโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหาย โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,064,375 บาท โจทก์ขยายระยะเวลาตามสัญญาให้แก่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด รวม 4 ครั้ง ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ทยอยส่งมอบงานให้โจทก์โดยจำเลยที่ 1 ตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องทุกงวด ตั้งแต่งวดแรกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 เรื่อยมาเป็นระยะจนครบตามสัญญา โจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องของงานที่ตรวจรับครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2538 และต่อมาอีกหลายครั้ง โจทก์รับมอบงานจากบริษัทรัตนเคหะ จำกัด งวดสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 และได้ชำระเงินค่าจ้างแก่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ก่อนและหลังวันรับมอบงานงวดสุดท้ายดังกล่าว โจทก์มีหนังสือแจ้งให้บริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ทำการแก้ไขตลอดมารวมทั้งแจ้งให้จำเลยที่ 1 ควบคุมเร่งรัด แต่บริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ดำเนินการแก้ไขเพียงเล็กน้อย โจทก์จึงนัดประชุมกับบริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 1 เพื่อหารือแนวทางแก้ไขเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 บริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 1 ยอมรับว่างานที่ทำชำรุดบกพร่องจากการใช้วัสดุไม่ถูกต้องรวมทั้งไม่เรียบร้อยตามมาตรฐานหลักวิชาการ และโจทก์ได้แจ้งให้ทราบภายในกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว บริษัทรัตนะเคหะ จำกัด รับว่าจะดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้เรียบร้อยภายในวันที่ 28 กันยายน 2542 แต่ดำเนินการเพียงเล็กน้อย โจทก์จึงว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด สกลเจริญก่อสร้าง ทำการปรับปรุงแก้ไขเป็นเงิน 47,700,000 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สกลเจริญก่อสร้าง ดำเนินการเสร็จตามสัญญาดังกล่าวและส่งมอบงานให้แก่โจทก์ทั้งได้รับเงินค่าจ้างจากโจทก์ครบถ้วน และโจทก์ได้คืนหนังสือค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว
มีปัญหาวินิจฉัยประการแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 กล่าวคือต้องเป็นกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา แล้วการชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้นภายหลังส่งมอบงานให้แก่ผู้ว่าจ้างในสภาพเรียบร้อยถูกต้องตามสัญญาแล้ว มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นเพราะผู้รับจ้างปฏิบัติหรือทำงานไม่ถูกต้องตามสัญญา สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ข้อ 6 มีความว่า เมื่องานแล้วเสร็จบริบูรณ์และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างรายใหม่ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 5 หากมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นภายในกำหนด 1 ปี นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของผู้รับจ้างอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือทำไว้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้าโดยผู้ว่าจ้างไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างบิดพลิ้วไม่กระทำการดังกล่าวภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างหรือไม่ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิกระทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นโดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความชำรุดบกพร่องเสียหายเกิดจากการที่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ใช้วัสดุไม่ถูกต้องหรือทำงานไม่เรียบร้อยไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชาเป็นจำนวนมาก อันเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลแห่งความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากการดำเนินการตามสัญญาจ้างของบริษัทรัตนเคหะ จำกัด โดยตรง มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ส่งมอบงานที่รับจ้างที่ถูกต้องสมบูรณ์ไร้ข้อบกพร่องให้แก่โจทก์แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษ ซึ่งโจทก์และบริษัทรัตนเคหะ จำกัด ผูกพันต้องปฏิบัติต่อกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 ที่จะนำอายุความตามมาตรา 601 มาใช้บังคับ และไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้บทบัญญัติเรื่องอายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนี้ แม้จะนับแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2538 ซึ่งโจทก์พบความชำรุดบกพร่อง อันเป็นวันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้เป็นครั้งแรกจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 2 คือวันที่ 16 มิถุนายน 2548 ยังเป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 หรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันของบริษัทรัตนเคหะ จำกัด รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด สกลเจริญก่อสร้าง ผู้รับเหมารายใหม่ทำการซ่อมแซมต่อเติมอาคารซึ่งบริษัทรัตนเคหะ จำกัด ทำไว้ชำรุดบกพร่องแล้วไม่ดำเนินการแก้ไขให้เสร็จสิ้นตามสัญญา หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้เงินอันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ในสัญญาจ้าง ข้อ 6 กำหนดหน้าที่และความรับผิดของบริษัทรัตนเคหะ จำกัด เกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องไว้ว่า ผู้รับจ้างจะต้องรีบทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า หากผู้รับจ้างบิดพลิ้วไม่กระทำการดังกล่าวภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างหรือไม่ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิกระทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นโดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ดังนี้ บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ย่อมมีหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์เป็นลำดับคือ หนี้อันเป็นการกระทำการซ่อมแซมความชำรุดบกพร่อง หากไม่ยอมกระทำก็ต้องรับผิดชำระเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ดำเนินการหรือว่าจ้างบุคคลอื่นดำเนินการแก่โจทก์ บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ตกลงจะแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กันยายน 2542 อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน แต่ก็หาได้ดำเนินการตามที่ตกลงไว้ดังกล่าวไม่ บริษัทรัตนเคหะ จำกัด จึงตกเป็นผู้ผิดนัด และต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ดำเนินการหรือต้องว่าจ้างบุคคลอื่น แก่โจทก์ทันที ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด รวมทั้งจำเลยที่ 2 ให้ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว ซึ่งบริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 2 ได้รับเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2543 ครบกำหนด 15 วัน ตามหนังสือทวงถามวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 แต่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป แต่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทำสัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด สกลเจริญก่อสร้าง เข้าทำการซ่อมแซมงานส่วนที่ชำรุดบกพร่อง จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 ตามคำขอ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ถูกศาลล้มละลายกลางพิพากษาให้ล้มละลายแล้วเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2545 เป็นคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ 735/2545 โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัทรัตนเคหะ จำกัด ได้ หนี้ที่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด มีอยู่แก่โจทก์จึงระงับไป จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องนั้น ปัญหาตามฎีกาดังกล่าวจึงมีว่าโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา มิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ การที่จำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้นั้น แม้จะเข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสามว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงนั้นได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ยังมีภาระต้องชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวแก่โจทก์ และหนี้ดังกล่าวมิได้ระงับไปด้วยเหตุประการอื่นใด จำเลยที่ 1 ยังคงต้องชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ เพียงเหตุที่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันกลับคืนมาไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็หาส่งผลให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ได้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันในวงเงิน 1,064,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1,064,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้องไม่เกิน 68,017.94 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือต้องเป็นกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา แล้วการชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้นภายหลังส่งมอบงานให้แก่ผู้ว่าจ้างในสภาพเรียบร้อยถูกต้องตามสัญญาแล้ว มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นเพราะผู้รับจ้างปฏิบัติหรือทำงานไม่ถูกต้องตามสัญญา สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัท ร. ข้อ 6 มีความว่า เมื่องานแล้วเสร็จบริบูรณ์และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างรายใหม่ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 5 หากมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นภายในกำหนด 1 ปี นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของผู้รับจ้างอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือทำไว้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้าโดยผู้ว่าจ้างไม่ต้องออกเงินใด ๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างบิดพลิ้วไม่กระทำการดังกล่าวภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างหรือไม่ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิกระทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นโดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความชำรุดบกพร่องเสียหายเกิดจากการที่บริษัท ร. ใช้วัสดุไม่ถูกต้องหรือทำงานไม่เรียบร้อยไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชาเป็นจำนวนมาก อันเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลแห่งความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากการดำเนินการตามสัญญาจ้างของบริษัท ร. โดยตรง มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัท ร. ส่งมอบงานที่รับจ้างที่ถูกต้องสมบูรณ์ไร้ข้อบกพร่องให้แก่โจทก์แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษ ซึ่งโจทก์และบริษัท ร. ผูกพันต้องปฏิบัติต่อกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 ที่จะนำอายุความตามมาตรา 601 มาใช้บังคับ และไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้บทบัญญัติเรื่องอายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนี้ แม้จะนับแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2538 ซึ่งโจทก์พบความชำรุดบกพร่อง อันเป็นวันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้เป็นครั้งแรกจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 2 คือวันที่ 16 มิถุนายน 2548 ยังเป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้นั้น แม้จะเข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสามว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงนั้นได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ยังมีภาระต้องชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวแก่โจทก์ และหนี้ดังกล่าวมิได้ระงับไปด้วยเหตุประการอื่นใด จำเลยที่ 1 ยังคงต้องชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ เพียงเหตุที่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันกลับคืนมาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็หาส่งผลให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงิน 50,748,226.03 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 47,700,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมชำระเงิน 1,132,392.94 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,064,375 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด 1,064,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 3 ใช้ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
โจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 2105/2547 ของศาลชั้นต้น พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ทั้งสองศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า คดีก่อนจำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เรียกค่าจ้างควบคุมงานโดยมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอาศัยเหตุคนละอย่างกับคดีนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนให้ศาลอุทธรณ์รวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้องคือวันที่ 16 มิถุนายน 2548 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดไม่เกิน 3,048,226.03 บาท ตามที่โจทก์ขอ กับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เป็นพับ ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้เป็นยุติในชั้นฎีกาว่า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2536 โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาบริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ก่อสร้าง ต่อเติม ปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นเงิน 1,215,000,000 บาท จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงินไม่เกิน 60,750,000 บาท วันเดียวกัน โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างเป็นเงิน 21,287,500 บาท ให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของบริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โดยมีข้อตกลงตามข้อ 11 ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ได้ใช้ความรู้ที่เหมาะสมหรือไม่ได้ควบคุมงานจนเกิดความเสียหายและไม่หาทางแก้ไขให้เรียบร้อย โจทก์มีสิทธิว่าจ้างบุคคลอื่นแก้ไขโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหาย โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,064,375 บาท โจทก์ขยายระยะเวลาตามสัญญาให้แก่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด รวม 4 ครั้ง ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ทยอยส่งมอบงานให้โจทก์โดยจำเลยที่ 1 ตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องทุกงวด ตั้งแต่งวดแรกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 เรื่อยมาเป็นระยะจนครบตามสัญญา โจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องของงานที่ตรวจรับครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2538 และต่อมาอีกหลายครั้ง โจทก์รับมอบงานจากบริษัทรัตนเคหะ จำกัด งวดสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 และได้ชำระเงินค่าจ้างแก่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ก่อนและหลังวันรับมอบงานงวดสุดท้ายดังกล่าว โจทก์มีหนังสือแจ้งให้บริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ทำการแก้ไขตลอดมารวมทั้งแจ้งให้จำเลยที่ 1 ควบคุมเร่งรัด แต่บริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ดำเนินการแก้ไขเพียงเล็กน้อย โจทก์จึงนัดประชุมกับบริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 1 เพื่อหารือแนวทางแก้ไขเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 บริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 1 ยอมรับว่างานที่ทำชำรุดบกพร่องจากการใช้วัสดุไม่ถูกต้องรวมทั้งไม่เรียบร้อยตามมาตรฐานหลักวิชาการ และโจทก์ได้แจ้งให้ทราบภายในกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว บริษัทรัตนะเคหะ จำกัด รับว่าจะดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้เรียบร้อยภายในวันที่ 28 กันยายน 2542 แต่ดำเนินการเพียงเล็กน้อย โจทก์จึงว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด สกลเจริญก่อสร้าง ทำการปรับปรุงแก้ไขเป็นเงิน 47,700,000 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สกลเจริญก่อสร้าง ดำเนินการเสร็จตามสัญญาดังกล่าวและส่งมอบงานให้แก่โจทก์ทั้งได้รับเงินค่าจ้างจากโจทก์ครบถ้วน และโจทก์ได้คืนหนังสือค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว
มีปัญหาวินิจฉัยประการแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่กรณีที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 กล่าวคือต้องเป็นกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา แล้วการชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้นภายหลังส่งมอบงานให้แก่ผู้ว่าจ้างในสภาพเรียบร้อยถูกต้องตามสัญญาแล้ว มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นเพราะผู้รับจ้างปฏิบัติหรือทำงานไม่ถูกต้องตามสัญญา สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัทรัตนะเคหะ จำกัด ข้อ 6 มีความว่า เมื่องานแล้วเสร็จบริบูรณ์และผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างรายใหม่ในกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 5 หากมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นภายในกำหนด 1 ปี นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงานดังกล่าว ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของผู้รับจ้างอันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือทำไว้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา ผู้รับจ้างจะต้องรีบทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้าโดยผู้ว่าจ้างไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากผู้รับจ้างบิดพลิ้วไม่กระทำการดังกล่าวภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างหรือไม่ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิกระทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นโดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความชำรุดบกพร่องเสียหายเกิดจากการที่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ใช้วัสดุไม่ถูกต้องหรือทำงานไม่เรียบร้อยไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชาเป็นจำนวนมาก อันเป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลแห่งความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากการดำเนินการตามสัญญาจ้างของบริษัทรัตนเคหะ จำกัด โดยตรง มิใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ส่งมอบงานที่รับจ้างที่ถูกต้องสมบูรณ์ไร้ข้อบกพร่องให้แก่โจทก์แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าจ้างตามที่มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นพิเศษ ซึ่งโจทก์และบริษัทรัตนเคหะ จำกัด ผูกพันต้องปฏิบัติต่อกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 ที่จะนำอายุความตามมาตรา 601 มาใช้บังคับ และไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้บทบัญญัติเรื่องอายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนี้ แม้จะนับแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2538 ซึ่งโจทก์พบความชำรุดบกพร่อง อันเป็นวันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้เป็นครั้งแรกจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 2 คือวันที่ 16 มิถุนายน 2548 ยังเป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี คำฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 หรือไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันของบริษัทรัตนเคหะ จำกัด รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด สกลเจริญก่อสร้าง ผู้รับเหมารายใหม่ทำการซ่อมแซมต่อเติมอาคารซึ่งบริษัทรัตนเคหะ จำกัด ทำไว้ชำรุดบกพร่องแล้วไม่ดำเนินการแก้ไขให้เสร็จสิ้นตามสัญญา หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้เงินอันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ในสัญญาจ้าง ข้อ 6 กำหนดหน้าที่และความรับผิดของบริษัทรัตนเคหะ จำกัด เกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องไว้ว่า ผู้รับจ้างจะต้องรีบทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า หากผู้รับจ้างบิดพลิ้วไม่กระทำการดังกล่าวภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างหรือไม่ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิกระทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นโดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ดังนี้ บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ย่อมมีหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์เป็นลำดับคือ หนี้อันเป็นการกระทำการซ่อมแซมความชำรุดบกพร่อง หากไม่ยอมกระทำก็ต้องรับผิดชำระเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ดำเนินการหรือว่าจ้างบุคคลอื่นดำเนินการแก่โจทก์ บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ตกลงจะแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กันยายน 2542 อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน แต่ก็หาได้ดำเนินการตามที่ตกลงไว้ดังกล่าวไม่ บริษัทรัตนเคหะ จำกัด จึงตกเป็นผู้ผิดนัด และต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ดำเนินการหรือต้องว่าจ้างบุคคลอื่น แก่โจทก์ทันที ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด รวมทั้งจำเลยที่ 2 ให้ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว ซึ่งบริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 2 ได้รับเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2543 ครบกำหนด 15 วัน ตามหนังสือทวงถามวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 แต่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด และจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป แต่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทำสัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด สกลเจริญก่อสร้าง เข้าทำการซ่อมแซมงานส่วนที่ชำรุดบกพร่อง จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 ตามคำขอ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า บริษัทรัตนเคหะ จำกัด ถูกศาลล้มละลายกลางพิพากษาให้ล้มละลายแล้วเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2545 เป็นคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ 735/2545 โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัทรัตนเคหะ จำกัด ได้ หนี้ที่บริษัทรัตนเคหะ จำกัด มีอยู่แก่โจทก์จึงระงับไป จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องนั้น ปัญหาตามฎีกาดังกล่าวจึงมีว่าโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา มิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 อันผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ การที่จำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้นั้น แม้จะเข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสามว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นอันระงับสิ้นไปแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงนั้นได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ยังมีภาระต้องชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวแก่โจทก์ และหนี้ดังกล่าวมิได้ระงับไปด้วยเหตุประการอื่นใด จำเลยที่ 1 ยังคงต้องชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ เพียงเหตุที่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันกลับคืนมาไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็หาส่งผลให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ได้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันในวงเงิน 1,064,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1,064,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้องไม่เกิน 68,017.94 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 69 ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้" และมาตรา 70 ที่บัญญัติว่า "บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้" จะใช้บังคับได้จริงต่อเมื่อการยึดอำนาจการปกครองยังไม่เป็นผลสำเร็จ คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองก็ยังไม่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ กล่าวคือ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังไม่ถูกยกเลิกไปโดยอำนาจของคณะผู้ยึดอำนาจ สิทธิดังกล่าวของจำเลยและประชาชนอื่นก็ยังคงมีอยู่ แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ฟังได้ว่า การยึดอำนาจการปกครองเป็นผลสำเร็จแล้ว เนื่องจาก คสช.ประกาศใช้กฎอัยการฝึกที่ราชอาณาจักร ประกาศให้รัฐธรรมูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นบทบัญญัติหมวด 2 รวมทั้ง คสช. ได้มีประกาศและคำสั่งอันเป็นการใช้อำนาจบริหารประเทศอีกหลายอย่าง คสช.จึงเป็นรัฏฐาธิปัตย์จึงย่อมมีอำนาจออกประกาศและคำสั่งให้จำเลยรายงานตัวต่อ คสช.ได้ และสิทธิของจำเลยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วนับแต่วันที่ คสช.ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้อีก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ 25/2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 29/2557 และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2557 และนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อกับโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1589/2554 ของศาลแขวงพระนครเหนือ
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 วรรคหนึ่ง (เดิม) ให้ปรับ 500 บาท หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 และศาลไม่ได้พิพากษาลงโทษถึงจำคุก จึงไม่อาจนับโทษต่อได้ ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้จึงให้ยก
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โดยอธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลสูง ซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายได้รับรองให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ 25/2557 และฉบับที่ 29/2557 อีกบทหนึ่ง เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานไม่มารายงานตัวตามคำสั่งและประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุก 2 เดือน และปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 คำขอให้นับโทษต่อให้ยก เนื่องจากคดีนี้ศาลพิพากษาให้รอการลงโทษ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า ก่อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ มีกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองหลายกลุ่มได้ชุมนุมประท้วง และมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีสร้างสถานการณ์ความรุนแรงด้วยการใช้อาวุธสงครามต่อประชาชนและสถานที่สำคัญอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้ประชาชนเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เหตุการณ์มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดเหตุการณ์จลาจลและความไม่สงบเรียบร้อยในหลายพื้นที่ ผู้บัญชาการทหารบกจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 3 นาฬิกา เป็นต้นไป ตามสำเนาประกาศกองทัพบกฉบับที่ 1/2557 ครั้นต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 นาฬิกา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตามประกาศคสช. ฉบับที่ 1/2557 ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตามประกาศคสช. ฉบับที่ 2/2557 ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นบทบัญญัติหมวด 2 ตามประกาศคสช. ฉบับที่ 11/2557 วันเดียวกันนั้น คสช. มีคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัวต่อคสช. ตามคำสั่งคสช. ที่ 1/2557 และ 2/2557 ต่อมาวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 คสช. ได้มีคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัวต่อคสช. เพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันเดียวกันนั้น เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งจำเลยอยู่ในรายชื่อที่ต้องรายงานตัวต่อคสช. ด้วยในลำดับที่ 60 ตามสำเนาคำสั่งคสช. ที่ 3/2557 วันเดียวกันนั้น คสช. ได้ประกาศให้บุคคลที่ยังไม่มารายงานตัวตามคำสั่งคสช. ที่ 1/2557 ถึง 3/2557 ให้มารายงานตัวต่อคสช. ภายในเวลา 16 นาฬิกา ของวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่มีเหตุขัดข้องจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถมารายงานตัวได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้แจ้งข้อขัดข้องมายังคสช. ภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว ตามสำเนาประกาศ คสช. (เฉพาะ) ที่ 25/2557 จำเลยได้ทราบประกาศและคำสั่งคสช. ที่กำหนดให้จำเลยต้องรายงานตัวต่อคสช. ภายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เวลา 16 นาฬิกา แล้วแต่จำเลยไม่รายงานตัวต่อคสช.และไม่มาแจ้งเหตุขัดข้องแต่อย่างใด
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องดังที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาทำนองว่า ขณะที่คสช. ออกประกาศและคำสั่งให้จำเลยไปรายงานตัวนั้น การยึดอำนาจการปกครองประเทศของคสช. ยังไม่เป็นผลสำเร็จ คสช. ยังไม่มีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ไม่มีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งใด ๆ การที่จำเลยไม่ไปรายงานตัวต่อคสช. เป็นการใช้สิทธิต่อต้านการกระทำของคสช. ที่ได้กระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 69 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง ปัญหาจึงมีว่า ขณะที่คสช. ออกประกาศและคำสั่งให้จำเลยไปรายงานตัวนั้น การยึดอำนาจการปกครองประเทศเป็นผลสำเร็จแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ในปัญหานี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากคสช. ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศแล้ว นอกจากประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ประกาศและมีคำสั่งให้จำเลยและบุคคลอื่นรายงานตัวต่อคสช. ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่า คสช. ได้มีประกาศและคำสั่งอันเป็นการใช้อำนาจบริหารประเทศอีกหลายอย่าง เช่น ตามคำสั่งคสช. ที่ 7/2557 และ 9/2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่และให้รักษาราชการแทน คำสั่งที่ 8/2557 และ 11/2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งประกาศและคำสั่งดังกล่าวได้กระทำในวันยึดอำนาจการปกครองประเทศวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม2557 อันแสดงให้เห็นว่าคสช. สามารถยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จแล้วหากการยึดอำนาจยังไม่เป็นผลสำเร็จ คสช. ก็ไม่สามารถใช้อำนาจบริหารประเทศเช่นว่านั้นได้ อันเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง ที่จำเลยฎีกาว่า หากถือว่าการยึดอำนาจการปกครองของคสช. สำเร็จทันทีที่กลุ่มทหารกลุ่มหนึ่งใช้กำลังเข้ายึดอำนาจในการปกครองประเทศและประกาศว่ายึดอำนาจสำเร็จแล้วนั้น บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 69 ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้" และมาตรา 70 ที่บัญญัติว่า "บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้" ไม่อาจมีผลใช้ได้จริงในทางปฏิบัติเพราะไม่มีช่วงเวลาใดเลยที่ประชาชนหรือหน่วยงานองค์กรใดจะสามารถต่อต้านการยึดอำนาจการปกครองประเทศได้นั้น เห็นว่า ตราบใดที่การยึดอำนาจการปกครองยังไม่เป็นผลสำเร็จ คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองก็ยังไม่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ กล่าวคือ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังไม่ถูกยกเลิกไปโดยอำนาจของคณะผู้ยึดอำนาจ สิทธิดังกล่าวของจำเลยและประชาชนอื่นก็ยังคงมีอยู่ แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ดังวินิจฉัยข้างต้นแล้วว่า การยึดอำนาจการปกครองเป็นผลสำเร็จแล้ว คสช. จึงเป็นรัฏฐาธิปัตย์จึงย่อมมีอำนาจออกประกาศและคำสั่งให้จำเลยรายงานตัวต่อคสช. ได้ และสิทธิของจำเลยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วนับแต่เวลาที่คสช. ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้อีก
อนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามประกาศคสช. ฉบับที่ 29/2557 ด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า หลังจาก คสช. ประกาศให้บุคคลตามคำสั่งคสช. ที่ 1/2557 ถึง 3/2557 ให้มารายงานตัวภายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เวลา 16 นาฬิกา โดยกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ด้วยแล้วตามประกาศคสช. (เฉพาะ) ที่ 25/2557 นั้น ต่อมาคสช. ได้มีคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติมอีกตามคำสั่งคสช. ที่ 5/2557 ให้มารายงานตัวภายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เวลา 13 นาฬิกา และคำสั่งคสช. ที่ 6/2557 กำหนดให้มารายงานตัวภายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 เวลา 10 นาฬิกา จึงเห็นได้ว่า คสช. มีเจตนารมณ์กำหนดโทษสำหรับผู้ไม่มารายงานตัวตามคำสั่งคสช. ที่ 5/2557 และ 6/2557 โดยหากบุคคลผู้มีรายชื่อตามคำสั่งทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่มารายงานตัวตามกำหนดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประกาศคสช. ฉบับที่ 29/2557 เอกสารหมาย จ.9 หาได้มีเจตนารมณ์กำหนดโทษใหม่สำหรับบุคคลผู้มีรายชื่อตามคำสั่งคสช. ที่ 1/2557 ถึง 3/2557 ด้วยไม่ เนื่องจากได้กำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ในประกาศคสช. (เฉพาะ) ที่ 25/2557 แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามประกาศคสช. ฉบับที่ 29/2557 ด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 29/2557 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 69 ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้" และมาตรา 70 ที่บัญญัติว่า "บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้" จะใช้บังคับได้จริงต่อเมื่อการยึดอำนาจการปกครองยังไม่เป็นผลสำเร็จ คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองก็ยังไม่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ กล่าวคือ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังไม่ถูกยกเลิกไปโดยอำนาจของคณะผู้ยึดอำนาจ สิทธิดังกล่าวของจำเลยและประชาชนอื่นก็ยังคงมีอยู่ แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ฟังได้ว่า การยึดอำนาจการปกครองเป็นผลสำเร็จแล้ว เนื่องจาก คสช.ประกาศใช้กฎอัยการฝึกที่ราชอาณาจักร ประกาศให้รัฐธรรมูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นบทบัญญัติหมวด 2 รวมทั้ง คสช. ได้มีประกาศและคำสั่งอันเป็นการใช้อำนาจบริหารประเทศอีกหลายอย่าง คสช.จึงเป็นรัฏฐาธิปัตย์จึงย่อมมีอำนาจออกประกาศและคำสั่งให้จำเลยรายงานตัวต่อ คสช.ได้ และสิทธิของจำเลยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วนับแต่วันที่ คสช.ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้อีก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ 25/2557 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 29/2557 และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2557 และนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อกับโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1589/2554 ของศาลแขวงพระนครเหนือ
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 วรรคหนึ่ง (เดิม) ให้ปรับ 500 บาท หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 และศาลไม่ได้พิพากษาลงโทษถึงจำคุก จึงไม่อาจนับโทษต่อได้ ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้จึงให้ยก
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โดยอธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลสูง ซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายได้รับรองให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ) ที่ 25/2557 และฉบับที่ 29/2557 อีกบทหนึ่ง เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานไม่มารายงานตัวตามคำสั่งและประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุก 2 เดือน และปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 คำขอให้นับโทษต่อให้ยก เนื่องจากคดีนี้ศาลพิพากษาให้รอการลงโทษ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า ก่อนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ มีกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองหลายกลุ่มได้ชุมนุมประท้วง และมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีสร้างสถานการณ์ความรุนแรงด้วยการใช้อาวุธสงครามต่อประชาชนและสถานที่สำคัญอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้ประชาชนเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เหตุการณ์มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดเหตุการณ์จลาจลและความไม่สงบเรียบร้อยในหลายพื้นที่ ผู้บัญชาการทหารบกจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 3 นาฬิกา เป็นต้นไป ตามสำเนาประกาศกองทัพบกฉบับที่ 1/2557 ครั้นต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 นาฬิกา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตามประกาศคสช. ฉบับที่ 1/2557 ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตามประกาศคสช. ฉบับที่ 2/2557 ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นบทบัญญัติหมวด 2 ตามประกาศคสช. ฉบับที่ 11/2557 วันเดียวกันนั้น คสช. มีคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัวต่อคสช. ตามคำสั่งคสช. ที่ 1/2557 และ 2/2557 ต่อมาวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 คสช. ได้มีคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัวต่อคสช. เพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันเดียวกันนั้น เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งจำเลยอยู่ในรายชื่อที่ต้องรายงานตัวต่อคสช. ด้วยในลำดับที่ 60 ตามสำเนาคำสั่งคสช. ที่ 3/2557 วันเดียวกันนั้น คสช. ได้ประกาศให้บุคคลที่ยังไม่มารายงานตัวตามคำสั่งคสช. ที่ 1/2557 ถึง 3/2557 ให้มารายงานตัวต่อคสช. ภายในเวลา 16 นาฬิกา ของวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่มีเหตุขัดข้องจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถมารายงานตัวได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้แจ้งข้อขัดข้องมายังคสช. ภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว ตามสำเนาประกาศ คสช. (เฉพาะ) ที่ 25/2557 จำเลยได้ทราบประกาศและคำสั่งคสช. ที่กำหนดให้จำเลยต้องรายงานตัวต่อคสช. ภายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เวลา 16 นาฬิกา แล้วแต่จำเลยไม่รายงานตัวต่อคสช.และไม่มาแจ้งเหตุขัดข้องแต่อย่างใด
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องดังที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาทำนองว่า ขณะที่คสช. ออกประกาศและคำสั่งให้จำเลยไปรายงานตัวนั้น การยึดอำนาจการปกครองประเทศของคสช. ยังไม่เป็นผลสำเร็จ คสช. ยังไม่มีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ไม่มีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งใด ๆ การที่จำเลยไม่ไปรายงานตัวต่อคสช. เป็นการใช้สิทธิต่อต้านการกระทำของคสช. ที่ได้กระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 69 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง ปัญหาจึงมีว่า ขณะที่คสช. ออกประกาศและคำสั่งให้จำเลยไปรายงานตัวนั้น การยึดอำนาจการปกครองประเทศเป็นผลสำเร็จแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ในปัญหานี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากคสช. ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศแล้ว นอกจากประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ประกาศและมีคำสั่งให้จำเลยและบุคคลอื่นรายงานตัวต่อคสช. ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่า คสช. ได้มีประกาศและคำสั่งอันเป็นการใช้อำนาจบริหารประเทศอีกหลายอย่าง เช่น ตามคำสั่งคสช. ที่ 7/2557 และ 9/2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่และให้รักษาราชการแทน คำสั่งที่ 8/2557 และ 11/2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งประกาศและคำสั่งดังกล่าวได้กระทำในวันยึดอำนาจการปกครองประเทศวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม2557 อันแสดงให้เห็นว่าคสช. สามารถยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จแล้วหากการยึดอำนาจยังไม่เป็นผลสำเร็จ คสช. ก็ไม่สามารถใช้อำนาจบริหารประเทศเช่นว่านั้นได้ อันเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง ที่จำเลยฎีกาว่า หากถือว่าการยึดอำนาจการปกครองของคสช. สำเร็จทันทีที่กลุ่มทหารกลุ่มหนึ่งใช้กำลังเข้ายึดอำนาจในการปกครองประเทศและประกาศว่ายึดอำนาจสำเร็จแล้วนั้น บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 69 ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้" และมาตรา 70 ที่บัญญัติว่า "บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้" ไม่อาจมีผลใช้ได้จริงในทางปฏิบัติเพราะไม่มีช่วงเวลาใดเลยที่ประชาชนหรือหน่วยงานองค์กรใดจะสามารถต่อต้านการยึดอำนาจการปกครองประเทศได้นั้น เห็นว่า ตราบใดที่การยึดอำนาจการปกครองยังไม่เป็นผลสำเร็จ คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองก็ยังไม่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ กล่าวคือ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังไม่ถูกยกเลิกไปโดยอำนาจของคณะผู้ยึดอำนาจ สิทธิดังกล่าวของจำเลยและประชาชนอื่นก็ยังคงมีอยู่ แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ดังวินิจฉัยข้างต้นแล้วว่า การยึดอำนาจการปกครองเป็นผลสำเร็จแล้ว คสช. จึงเป็นรัฏฐาธิปัตย์จึงย่อมมีอำนาจออกประกาศและคำสั่งให้จำเลยรายงานตัวต่อคสช. ได้ และสิทธิของจำเลยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วนับแต่เวลาที่คสช. ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้อีก
อนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามประกาศคสช. ฉบับที่ 29/2557 ด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า หลังจาก คสช. ประกาศให้บุคคลตามคำสั่งคสช. ที่ 1/2557 ถึง 3/2557 ให้มารายงานตัวภายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เวลา 16 นาฬิกา โดยกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ด้วยแล้วตามประกาศคสช. (เฉพาะ) ที่ 25/2557 นั้น ต่อมาคสช. ได้มีคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติมอีกตามคำสั่งคสช. ที่ 5/2557 ให้มารายงานตัวภายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เวลา 13 นาฬิกา และคำสั่งคสช. ที่ 6/2557 กำหนดให้มารายงานตัวภายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 เวลา 10 นาฬิกา จึงเห็นได้ว่า คสช. มีเจตนารมณ์กำหนดโทษสำหรับผู้ไม่มารายงานตัวตามคำสั่งคสช. ที่ 5/2557 และ 6/2557 โดยหากบุคคลผู้มีรายชื่อตามคำสั่งทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่มารายงานตัวตามกำหนดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประกาศคสช. ฉบับที่ 29/2557 เอกสารหมาย จ.9 หาได้มีเจตนารมณ์กำหนดโทษใหม่สำหรับบุคคลผู้มีรายชื่อตามคำสั่งคสช. ที่ 1/2557 ถึง 3/2557 ด้วยไม่ เนื่องจากได้กำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ในประกาศคสช. (เฉพาะ) ที่ 25/2557 แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามประกาศคสช. ฉบับที่ 29/2557 ด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 29/2557 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยอยู่ก่อนแล้วให้แก่โจทก์ มิใช่เรื่องที่โจทก์รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมา จึงไม่อาจนำมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาใช้บังคับได้ ส่วนที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องรวมทั้งหลักประกันอื่นที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฟ้อง ช. และจำเลยกับพวกเป็นคดีล้มละลายไว้แล้ว ก็มีผลเพียงให้โจทก์เข้าสวมสิทธิหรือเข้าเป็นคู่ความในคดีล้มละลายแทนที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้ตาม พ.ร.ก.ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคสอง มิใช่เหตุที่จะนำมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาบังคับได้เช่นกัน
การที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฟ้องขับไล่ ช. โดยผลของ มาตรา 142 (1) แห่ง ป.วิ.พ. คำพิพากษาที่ให้ขับไล่ย่อมมีผลใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของ ช. ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้เท่านั้น แต่หาได้ทำให้วงศ์ญาติและบริวารที่อาจถูกบังคับตามคำพิพากษานั้นมีฐานะเป็นคู่ความไปด้วยไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษ จำเลยจึงยังไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดี ทั้งการที่จำเลยรับมอบอำนาจจาก ช. ให้เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยกลับมีฐานะกลายเป็นคู่ความในคดีไปได้ เมื่อจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน และในคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้โดยไม่เป็นละเมิดต่อสิทธิของเจ้าของหรือไม่อย่างไร การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์และห้ามเข้าเกี่ยวข้องอีกต่อไป ให้จำเลยชำระค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์นับแต่วันที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 3,102,237.64 บาท และนับถัดจากวันฟ้องอีกวันละ 4,076.53 บาท จนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินและส่งมอบการครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 5856 และ 5857 ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังยุติได้ว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 5856 และ 5857 ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นอาคารหลายหลัง เดิมเป็นของนายชูวิทย์ ซึ่งจำนองไว้แก่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ต่อมา ปี 2548 มีการจำหน่ายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโดยปลอดจำนองตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 ตามสำเนาโฉนดที่ดิน ปี 2550 บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายชูวิทย์เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น ขอให้บังคับนายชูวิทย์ขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทและให้ชดใช้ค่าเสียหาย คดีดังกล่าวบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยกับนายชูวิทย์ตกลงประนีประนอมยอมความกัน โดยนายชูวิทย์ยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหากผิดนัดยอมให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยบังคับคดีได้พร้อมค่าเสียหายเต็มจำนวนตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1642/2551 ตามคำฟ้อง คำให้การ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 ออกใช้บังคับ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโอนสิทธิเรียกร้องในคดีที่ฟ้องนายชูวิทย์และจำเลยกับพวกรวม 5 คน ไว้แล้วตามคดีหมายเลขดำที่ ล.6634/2552 ของศาลล้มละลายกลางให้แก่โจทก์ และต่อมาได้โอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในคดีนี้ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 และหนังสือสัญญาขายที่ดินรวมสองโฉนดตามลำดับ จำเลยเป็นบุตรของนายชูวิทย์และเป็นผู้รับมอบอำนาจจากนายชูวิทย์ให้เป็นผู้ดำเนินคดีแทนในคดีหมายเลขแดงที่ 1642/2551 ของศาลชั้นต้น จำเลยอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตลอดมา โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 1642/2551 ของศาลชั้นต้น ดังที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาหรือไม่ เห็นว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อและได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยผู้ขาย โดยขณะขาย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นการขายกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นดังที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 3 แต่อย่างใด จึงไม่อาจนำมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาใช้บังคับแก่คดีในกรณีนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยในคดีหมายเลขแดงที่ 1642/2551 ของศาลชั้นต้น โดยผลของมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวได้อยู่แล้วจึงไม่ถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องรวมทั้งหลักประกันอื่นที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฟ้องนายชูวิทย์และจำเลยกับพวกเป็นคดีล้มละลายไว้แล้ว ก็มีผลเพียงให้โจทก์เข้าสวมสิทธิหรือเข้าเป็นคู่ความในคดีล้มละลายแทนที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่เหตุที่จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาบังคับแก่คดีนี้ดังที่จำเลยยกขึ้นอ้างมาในคำแก้ฎีกาได้เช่นกัน การที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฟ้องขับไล่นายชูวิทย์ โดยผลของมาตรา 142 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คำพิพากษาที่ให้ขับไล่ย่อมมีผลใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของนายชูวิทย์ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้เท่านั้น แต่หาได้ทำให้วงศ์ญาติและบริวารที่อาจถูกบังคับตามคำพิพากษานั้นมีฐานะ เป็นคู่ความไปด้วยไม่เพราะมิใช่เป็นบุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาล เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา จำเลยจึงยังไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดี ทั้งการที่จำเลยรับมอบอำนาจจากนายชูวิทย์ให้เป็นผู้ดำเนินคดีแทนก็ไม่ทำให้จำเลยกลับมีฐานะกลายเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวไปได้ ดังนั้น แม้โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยและถือว่าเป็นผู้สืบสิทธิที่อยู่ในฐานะเดียวกันกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน และในคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้โดยไม่เป็นละเมิดต่อสิทธิของเจ้าของหรือไม่อย่างไร การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับเป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้เป็นพับ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยอยู่ก่อนแล้วให้แก่โจทก์ มิใช่เรื่องที่โจทก์รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมา จึงไม่อาจนำมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาใช้บังคับได้ ส่วนที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องรวมทั้งหลักประกันอื่นที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฟ้อง ช. และจำเลยกับพวกเป็นคดีล้มละลายไว้แล้ว ก็มีผลเพียงให้โจทก์เข้าสวมสิทธิหรือเข้าเป็นคู่ความในคดีล้มละลายแทนที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้ตาม พ.ร.ก.ว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคสอง มิใช่เหตุที่จะนำมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาบังคับได้เช่นกัน
การที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฟ้องขับไล่ ช. โดยผลของ มาตรา 142 (1) แห่ง ป.วิ.พ. คำพิพากษาที่ให้ขับไล่ย่อมมีผลใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของ ช. ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้เท่านั้น แต่หาได้ทำให้วงศ์ญาติและบริวารที่อาจถูกบังคับตามคำพิพากษานั้นมีฐานะเป็นคู่ความไปด้วยไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษ จำเลยจึงยังไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดี ทั้งการที่จำเลยรับมอบอำนาจจาก ช. ให้เป็นผู้ดำเนินคดีแทน ก็ไม่ทำให้จำเลยกลับมีฐานะกลายเป็นคู่ความในคดีไปได้ เมื่อจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน และในคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้โดยไม่เป็นละเมิดต่อสิทธิของเจ้าของหรือไม่อย่างไร การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ ส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์และห้ามเข้าเกี่ยวข้องอีกต่อไป ให้จำเลยชำระค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์นับแต่วันที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 3,102,237.64 บาท และนับถัดจากวันฟ้องอีกวันละ 4,076.53 บาท จนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินและส่งมอบการครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 5856 และ 5857 ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังยุติได้ว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 5856 และ 5857 ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทซึ่งเป็นอาคารหลายหลัง เดิมเป็นของนายชูวิทย์ ซึ่งจำนองไว้แก่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ต่อมา ปี 2548 มีการจำหน่ายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโดยปลอดจำนองตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 ตามสำเนาโฉนดที่ดิน ปี 2550 บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายชูวิทย์เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น ขอให้บังคับนายชูวิทย์ขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทและให้ชดใช้ค่าเสียหาย คดีดังกล่าวบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยกับนายชูวิทย์ตกลงประนีประนอมยอมความกัน โดยนายชูวิทย์ยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหากผิดนัดยอมให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยบังคับคดีได้พร้อมค่าเสียหายเต็มจำนวนตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 1642/2551 ตามคำฟ้อง คำให้การ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 ออกใช้บังคับ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยโอนสิทธิเรียกร้องในคดีที่ฟ้องนายชูวิทย์และจำเลยกับพวกรวม 5 คน ไว้แล้วตามคดีหมายเลขดำที่ ล.6634/2552 ของศาลล้มละลายกลางให้แก่โจทก์ และต่อมาได้โอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในคดีนี้ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 และหนังสือสัญญาขายที่ดินรวมสองโฉนดตามลำดับ จำเลยเป็นบุตรของนายชูวิทย์และเป็นผู้รับมอบอำนาจจากนายชูวิทย์ให้เป็นผู้ดำเนินคดีแทนในคดีหมายเลขแดงที่ 1642/2551 ของศาลชั้นต้น จำเลยอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตลอดมา โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 1642/2551 ของศาลชั้นต้น ดังที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาหรือไม่ เห็นว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อและได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยผู้ขาย โดยขณะขาย ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นการขายกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ให้แก่โจทก์ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นดังที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 3 แต่อย่างใด จึงไม่อาจนำมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาใช้บังคับแก่คดีในกรณีนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยในคดีหมายเลขแดงที่ 1642/2551 ของศาลชั้นต้น โดยผลของมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวได้อยู่แล้วจึงไม่ถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องรวมทั้งหลักประกันอื่นที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฟ้องนายชูวิทย์และจำเลยกับพวกเป็นคดีล้มละลายไว้แล้ว ก็มีผลเพียงให้โจทก์เข้าสวมสิทธิหรือเข้าเป็นคู่ความในคดีล้มละลายแทนที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2554 มาตรา 16 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่เหตุที่จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาบังคับแก่คดีนี้ดังที่จำเลยยกขึ้นอ้างมาในคำแก้ฎีกาได้เช่นกัน การที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฟ้องขับไล่นายชูวิทย์ โดยผลของมาตรา 142 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คำพิพากษาที่ให้ขับไล่ย่อมมีผลใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของนายชูวิทย์ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้เท่านั้น แต่หาได้ทำให้วงศ์ญาติและบริวารที่อาจถูกบังคับตามคำพิพากษานั้นมีฐานะ เป็นคู่ความไปด้วยไม่เพราะมิใช่เป็นบุคคลผู้ถูกฟ้องต่อศาล เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษในคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา จำเลยจึงยังไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดี ทั้งการที่จำเลยรับมอบอำนาจจากนายชูวิทย์ให้เป็นผู้ดำเนินคดีแทนก็ไม่ทำให้จำเลยกลับมีฐานะกลายเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวไปได้ ดังนั้น แม้โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยและถือว่าเป็นผู้สืบสิทธิที่อยู่ในฐานะเดียวกันกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน และในคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทได้โดยไม่เป็นละเมิดต่อสิทธิของเจ้าของหรือไม่อย่างไร การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับเป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้เป็นพับ
การที่จำเลยปลอมคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) เพื่อขอออกหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปใช้แสดงเป็นพยานหลักฐานในการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อดำเนินการออกหนังสือเดินทางหมายเลขดังกล่าวให้แก่จำเลย โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมหมายเลข J 336XXX แสดงประกอบคำร้องขอด้วย ต่อจากนั้นจำเลยปลอมหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX อันเป็นเอกสารราชการโดยแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยหลงเชื่อนำข้อมูลตามคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ซึ่งเป็นเอกสารปลอมเข้าฐานข้อมูลการจัดทำหนังสือเดินทางของกรมการกงสุล แล้วประมวลผลเป็นรูปเล่มหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX ต่อมาจำเลยมีหนังสือเดินทางปลอมหมายเลข H 759XXX ดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้มีหรือผู้ถือหนังสือเดินทางฉบับดังกล่าวฉบับที่ถูกต้องแท้จริง เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยมีเจตนาให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ออกหนังสือเดินทางให้แก่จำเลยเป็นหลัก แม้เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้จะเป็นเอกสารคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (15), 91, 264, 265, 268, 269/9
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 265, 269/8, 269/9 วรรคหนึ่ง วรรคสี่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก แต่กระทงเดียวประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ตามมาตรา 268 วรรคสอง จำคุก 6 เดือน ฐานใช้หนังสือเดินทางปลอม และฐานใช้เอกสารราชการปลอม เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้หนังสือเดินทางปลอม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี ฐานปลอมหนังสือเดินทาง และฐานปลอมเอกสารราชการ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท โทษฐานปลอมหนังสือเดินทางเป็นบทหนัก เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมหนังสือเดินทางและมีไว้เพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ซึ่งตามมาตรา 269/9 วรรคสี่ บัญญัติให้ลงโทษฐานมีไว้เพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตามมาตรา 269/9 วรรคหนึ่ง แต่กระทงเดียวจำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานใช้เอกสารปลอม คงจำคุก 3 เดือน ฐานใช้หนังสือเดินทางปลอม คงจำคุก 6 เดือน ฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอม คงจำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 15 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/9 วรรคหนึ่ง เพียงกระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/9 วรรคสี่ จำคุก 1 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ฎีกา และผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยปลอมคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) เพื่อขอออกหนังสือเดินทางหมายเลข H 759xxx หลังจากนั้นนำคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ดังกล่าวไปใช้แสดงเป็นพยานหลักฐานในการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ของจำเลยต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อให้ดำเนินการออกหนังสือเดินทางหมายเลข H 359xxx ให้แก่จำเลย โดยใช้หนังสือเดินทางหมายเลข J 336xxx ปลอมไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อประกอบคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ด้วย ต่อจากนั้นจำเลยปลอมหนังสือเดินทางหมายเลข H 759xxx อันเป็นเอกสารราชการโดยแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย หลงเชื่อนำข้อมูลดังกล่าวตามคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ซึ่งเป็นเอกสารปลอมเข้าฐานข้อมูลการจัดทำหนังสือเดินทางของกรมการกงสุล แล้วประมวลผลออกมาเป็นรูปเล่มหนังสือเดินทางหมายเลข H 759xxx ต่อมาจำเลยมีหนังสือเดินทางหมายเลข H 759xxx ปลอมไว้ในครอบครองเพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้มีหรือผู้ถือหนังสือเดินทางฉบับดังกล่าวที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ฉบับที่ถูกต้องแท้จริง เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยมีเจตนาเพื่อให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ออกหนังสือเดินทางให้แก่จำเลยเป็นหลัก แม้เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้จะเป็นเอกสารคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกันดังที่โจทก์ฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง และ 265 โดยให้ใช้อัตราโทษใหม่แต่กฎหมายที่บัญญัติใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
พิพากษายืน
การที่จำเลยปลอมคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) เพื่อขอออกหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปใช้แสดงเป็นพยานหลักฐานในการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อดำเนินการออกหนังสือเดินทางหมายเลขดังกล่าวให้แก่จำเลย โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมหมายเลข J 336XXX แสดงประกอบคำร้องขอด้วย ต่อจากนั้นจำเลยปลอมหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX อันเป็นเอกสารราชการโดยแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยหลงเชื่อนำข้อมูลตามคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ซึ่งเป็นเอกสารปลอมเข้าฐานข้อมูลการจัดทำหนังสือเดินทางของกรมการกงสุล แล้วประมวลผลเป็นรูปเล่มหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX ต่อมาจำเลยมีหนังสือเดินทางปลอมหมายเลข H 759XXX ดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้มีหรือผู้ถือหนังสือเดินทางฉบับดังกล่าวฉบับที่ถูกต้องแท้จริง เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยมีเจตนาให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ออกหนังสือเดินทางให้แก่จำเลยเป็นหลัก แม้เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้จะเป็นเอกสารคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (15), 91, 264, 265, 268, 269/9
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 265, 269/8, 269/9 วรรคหนึ่ง วรรคสี่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก แต่กระทงเดียวประกอบมาตรา 264 วรรคแรก ตามมาตรา 268 วรรคสอง จำคุก 6 เดือน ฐานใช้หนังสือเดินทางปลอม และฐานใช้เอกสารราชการปลอม เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้หนังสือเดินทางปลอม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี ฐานปลอมหนังสือเดินทาง และฐานปลอมเอกสารราชการ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท โทษฐานปลอมหนังสือเดินทางเป็นบทหนัก เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมหนังสือเดินทางและมีไว้เพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ซึ่งตามมาตรา 269/9 วรรคสี่ บัญญัติให้ลงโทษฐานมีไว้เพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตามมาตรา 269/9 วรรคหนึ่ง แต่กระทงเดียวจำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานใช้เอกสารปลอม คงจำคุก 3 เดือน ฐานใช้หนังสือเดินทางปลอม คงจำคุก 6 เดือน ฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอม คงจำคุก 6 เดือน รวมจำคุก 15 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/9 วรรคหนึ่ง เพียงกระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/9 วรรคสี่ จำคุก 1 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ฎีกา และผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยปลอมคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) เพื่อขอออกหนังสือเดินทางหมายเลข H 759xxx หลังจากนั้นนำคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ดังกล่าวไปใช้แสดงเป็นพยานหลักฐานในการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ของจำเลยต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อให้ดำเนินการออกหนังสือเดินทางหมายเลข H 359xxx ให้แก่จำเลย โดยใช้หนังสือเดินทางหมายเลข J 336xxx ปลอมไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อประกอบคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ด้วย ต่อจากนั้นจำเลยปลอมหนังสือเดินทางหมายเลข H 759xxx อันเป็นเอกสารราชการโดยแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย หลงเชื่อนำข้อมูลดังกล่าวตามคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ซึ่งเป็นเอกสารปลอมเข้าฐานข้อมูลการจัดทำหนังสือเดินทางของกรมการกงสุล แล้วประมวลผลออกมาเป็นรูปเล่มหนังสือเดินทางหมายเลข H 759xxx ต่อมาจำเลยมีหนังสือเดินทางหมายเลข H 759xxx ปลอมไว้ในครอบครองเพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้มีหรือผู้ถือหนังสือเดินทางฉบับดังกล่าวที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ฉบับที่ถูกต้องแท้จริง เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยมีเจตนาเพื่อให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ออกหนังสือเดินทางให้แก่จำเลยเป็นหลัก แม้เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้จะเป็นเอกสารคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกันดังที่โจทก์ฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง และ 265 โดยให้ใช้อัตราโทษใหม่แต่กฎหมายที่บัญญัติใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
พิพากษายืน
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ผู้คัดค้านฟังเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 ครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 23 กันยายน 2559 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานของราชการ ไม่ใช่ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 24 กันยายน 2559 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ ดังที่ทนายผู้คัดค้านระบุไว้ในคำร้องฉบับลงวันที่ 26 กันยายน 2559 ที่ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาครั้งที่ 1 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดยื่นฎีกาแล้ว ที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้คัดค้านยื่นฎีกาได้ถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ซึ่งต่อมาผู้คัดค้านได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตนั้น โดยข้ออ้างในคำร้องเป็นเพียงเหตุที่อ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปเท่านั้น ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้สามารถขอขยายระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้วได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 นับได้ว่าเป็นความผิดหลงของทนายผู้คัดด้าน จึงไม่อาจพิจารณาขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ตามคำร้องของทนายผู้คัดค้านที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายเวลายื่นฎีกาได้ถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ตามคำร้องของทนายผู้คัดค้านดังกล่าวและต่อมาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้คัดค้าน จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วเช่นกัน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำสั่งรับฎีกาในเวลาต่อมา ก็เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ผู้ตาย
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่า ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่งของผู้ตายและให้ทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่งเป็นของผู้คัดค้าน
ผู้ร้องยื่นคัดค้านขอให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีต้องวินิจฉัยก่อนว่า ผู้คัดค้านยื่นฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ผู้คัดค้านฟังเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 ครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 23 กันยายน 2559 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานของราชการ ไม่ใช่ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 24 กันยายน 2559 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ ดังที่ทนายผู้คัดค้านระบุไว้ในคำร้องฉบับลงวันที่ 26 กันยายน 2559 ที่ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาครั้งที่ 1 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดยื่นฎีกาแล้ว ที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้คัดค้านยื่นฎีกาได้ถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ซึ่งต่อมาผู้คัดค้านได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต นั้น โดยข้ออ้างในคำร้องเป็นเพียงเหตุที่อ้างเพื่อขอขยายเวลายื่นฎีกาออกไปเท่านั้น ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้สามารถขอขยายระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 นับได้ว่าเป็นความผิดหลงของทนายผู้คัดค้านจึงไม่อาจพิจารณาขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ตามคำร้องของทนายผู้คัดค้านที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายเวลายื่นฎีกาได้ถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ตามคำร้องของทนายผู้คัดค้านดังกล่าว และต่อมาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้คัดค้าน จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วเช่นกัน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำสั่งรับฎีกาในเวลาต่อมา ก็เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบ มาตรา 246 และ มาตรา 142 (5)
พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่ผู้คัดค้าน นับแต่วันที่ 26 กันยายน 2559 เป็นต้นมา และยกฎีกาของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ผู้คัดค้านฟังเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 ครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 23 กันยายน 2559 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานของราชการ ไม่ใช่ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 24 กันยายน 2559 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ ดังที่ทนายผู้คัดค้านระบุไว้ในคำร้องฉบับลงวันที่ 26 กันยายน 2559 ที่ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาครั้งที่ 1 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดยื่นฎีกาแล้ว ที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้คัดค้านยื่นฎีกาได้ถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ซึ่งต่อมาผู้คัดค้านได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตนั้น โดยข้ออ้างในคำร้องเป็นเพียงเหตุที่อ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปเท่านั้น ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้สามารถขอขยายระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้วได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 นับได้ว่าเป็นความผิดหลงของทนายผู้คัดด้าน จึงไม่อาจพิจารณาขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ตามคำร้องของทนายผู้คัดค้านที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายเวลายื่นฎีกาได้ถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ตามคำร้องของทนายผู้คัดค้านดังกล่าวและต่อมาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้คัดค้าน จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วเช่นกัน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำสั่งรับฎีกาในเวลาต่อมา ก็เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ผู้ตาย
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่า ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่งของผู้ตายและให้ทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่งเป็นของผู้คัดค้าน
ผู้ร้องยื่นคัดค้านขอให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีต้องวินิจฉัยก่อนว่า ผู้คัดค้านยื่นฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้ผู้คัดค้านฟังเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 ครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในวันที่ 23 กันยายน 2559 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานของราชการ ไม่ใช่ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 24 กันยายน 2559 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ ดังที่ทนายผู้คัดค้านระบุไว้ในคำร้องฉบับลงวันที่ 26 กันยายน 2559 ที่ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาครั้งที่ 1 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดยื่นฎีกาแล้ว ที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้คัดค้านยื่นฎีกาได้ถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ซึ่งต่อมาผู้คัดค้านได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต นั้น โดยข้ออ้างในคำร้องเป็นเพียงเหตุที่อ้างเพื่อขอขยายเวลายื่นฎีกาออกไปเท่านั้น ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้สามารถขอขยายระยะเวลาเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 นับได้ว่าเป็นความผิดหลงของทนายผู้คัดค้านจึงไม่อาจพิจารณาขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ตามคำร้องของทนายผู้คัดค้านที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายเวลายื่นฎีกาได้ถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ตามคำร้องของทนายผู้คัดค้านดังกล่าว และต่อมาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้คัดค้าน จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วเช่นกัน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาและคำสั่งรับฎีกาในเวลาต่อมา ก็เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบ มาตรา 246 และ มาตรา 142 (5)
พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่ผู้คัดค้าน นับแต่วันที่ 26 กันยายน 2559 เป็นต้นมา และยกฎีกาของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้ร้องนำสืบพยานและอ้างส่งสำเนาพินัยกรรมต่อศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามที่ผู้ร้องระบุในบัญชีระบุพยาน และเป็นเอกสารที่ผู้ร้องต้องส่งสำเนาแก่ผู้คัดค้านแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ ก็ถือเป็นการไม่ชอบ
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเพื่อให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและขอให้ตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นว่า สมควรตั้งผู้ร้องหรือ ส. เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนข้ออ้างของผู้คัดค้านว่าที่ดินตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้านนั้น เป็นการอ้างว่ามิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นคดีต่างหากจากคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยว่าที่ดินตามพินัยกรรม 4 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของผู้คัดค้าน จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว
ผู้ตายมาพบเจ้าพนักงานปกครอง และแจ้งความประสงค์ในการทำพินัยกรรม แล้วเจ้าพนักงานปกครองพิมพ์ข้อความในพินัยกรรมตามความประสงค์ของผู้ตาย เมื่อไปพบผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตแล้ว เจ้าพนักงานปกครองอ่านข้อความในพินัยกรรมให้ผู้ตาย ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขต และพยานสองคนฟัง ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตสอบถามผู้ตายว่าต้องการเปลี่ยนแปลงข้อความในพินัยกรรมหรือไม่ ผู้ตายตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงและยืนยันตามข้อความในพินัยกรรม แล้วผู้ตายและพยานสองคนลงชื่อในพินัยกรรม ดังนี้ การสอบถามของผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขต และการยืนยันของผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานสองคนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) แล้ว เมื่อผู้ตายเห็นว่าถูกต้องและลงชื่อในพินัยกรรมโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อ และผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตลงชื่อรับรองว่าพินัยกรรมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ พินัยกรรมดังกล่าวจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658 ส่วนที่คู่ฉบับพินัยกรรมไม่มีการประทับตราตำแหน่งไว้ ก็ไม่ทำให้พินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์เสียไป ผู้ร้องเป็นบุคคลที่ผู้ตายกำหนดในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า นายกิตติพงษ์ ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์สินส่วนหนึ่งให้แก่ผู้ร้องกับบุคคลอื่น และตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2558 มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและแก้ไขคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง และตั้งนางโสภา เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและนางโสภา เป็นผู้จัดการมรดกของนายกิตติพงษ์ ผู้ตายร่วมกันให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า นายกิตติพงษ์ ผู้ตายเป็นบุตรของผู้คัดค้านกับนายสรวุฒิ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2558 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่สำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ตามสำเนาพินัยกรรม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและนางโสภา เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่ตั้งนางโสภาเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุด ต่อมาผู้ร้องขอให้ถอนนางโสภาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนนางโสภาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ผู้คัดค้านมิได้ฎีกา คดีในส่วนที่ถอนนางโสภาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุดและเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฉบับลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2559
ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า บัญชีพยานของผู้ร้องลงวันที่ 27 มกราคม 2558 อันดับที่ 7 ที่ระบุว่า พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองของผู้ตาย เขียนที่สำนักงานเขตราชเทวี วันที่ 19 เมษายน 2556 มิใช่พินัยกรรม ซึ่งมีตราประทับของเจ้าพนักงาน ผู้ร้องมิได้ส่งสำเนาแก่ผู้คัดค้าน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 การรับฟังสำเนาพินัยกรรมไม่ชอบ นั้น เห็นว่า เมื่อผู้ร้องนำสืบพยานและอ้างส่งสำเนาพินัยกรรมต่อศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามที่ผู้ร้องระบุในบัญชีระบุพยาน และเป็นเอกสารที่ผู้ร้องต้องส่งสำเนาแก่ผู้คัดค้านแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ ก็ถือเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านข้อแรกที่ว่า ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านในฐานะผู้มีส่วนได้เสียด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยว่าที่ดินตามพินัยกรรม 4 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของผู้คัดค้านไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 นั้น เห็นว่า ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเพื่อให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและขอให้ตั้งนางโสภาเป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า สมควรตั้งผู้ร้องหรือนางโสภา เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนข้ออ้างของผู้คัดค้านว่าที่ดินตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้าน นั้น เป็นการอ้างว่ามิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นคดีต่างหากจากคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยว่าที่ดินตามพินัยกรรม 4 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของผู้คัดค้าน จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านข้อต่อไปที่ว่า ขณะทำพินัยกรรมผู้ตายไม่ได้แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมต่อหน้านางมัลลิกา และนายนพดล พยานในพินัยกรรมพร้อมกัน นั้น เห็นว่า ตามคำเบิกความตอบทนายผู้คัดค้านถามค้านของพยานดังกล่าวนั้น เป็นเหตุการณ์ในช่วงที่ผู้ตายมาพบนายประชากร และแจ้งความประสงค์ในการทำพินัยกรรม แล้วนายประชากรพิมพ์ข้อความในพินัยกรรมตามความประสงค์ของผู้ตาย ก่อนที่นายประชากร ผู้ตาย นายนพดล และนางมัลลิกาจะเข้าไปพบนายปรีชา ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตราชเทวี ซึ่งเมื่อได้ความตามที่ผู้ร้องนำสืบโดยผู้คัดค้านไม่ฎีกาคัดค้านว่า เมื่อไปพบนายปรีชาแล้ว นายประชากรอ่านข้อความในพินัยกรรม ให้ผู้ตาย นายปรีชา และนายนพดลและนางมัลลิกา พยานในพินัยกรรมฟัง นายปรีชาสอบถามผู้ตายว่าต้องการเปลี่ยนแปลงข้อความในพินัยกรรมหรือไม่ ผู้ตายตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงยืนยันตามข้อความในพินัยกรรม แล้วผู้ตาย นายนพดลและนางมัลลิกาลงชื่อในพินัยกรรม ดังนี้ การสอบถามของนายปรีชาและการยืนยันของผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานสองคนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 (1) แล้ว เมื่อผู้ตายเห็นว่าถูกต้องและลงชื่อในพินัยกรรมโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อ และนายปรีชาลงชื่อรับรองว่าพินัยกรรมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ พินัยกรรมดังกล่าวจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 ส่วนที่คู่ฉบับพินัยกรรมไม่มีการประทับตราตำแหน่งไว้ ก็ไม่ทำให้พินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์เสียไปแต่อย่างใด ผู้ร้องเป็นบุคคลที่ผู้ตายกำหนดในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย ฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้ร้องนำสืบพยานและอ้างส่งสำเนาพินัยกรรมต่อศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามที่ผู้ร้องระบุในบัญชีระบุพยาน และเป็นเอกสารที่ผู้ร้องต้องส่งสำเนาแก่ผู้คัดค้านแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ ก็ถือเป็นการไม่ชอบ
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเพื่อให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและขอให้ตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นว่า สมควรตั้งผู้ร้องหรือ ส. เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนข้ออ้างของผู้คัดค้านว่าที่ดินตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้านนั้น เป็นการอ้างว่ามิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นคดีต่างหากจากคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยว่าที่ดินตามพินัยกรรม 4 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของผู้คัดค้าน จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว
ผู้ตายมาพบเจ้าพนักงานปกครอง และแจ้งความประสงค์ในการทำพินัยกรรม แล้วเจ้าพนักงานปกครองพิมพ์ข้อความในพินัยกรรมตามความประสงค์ของผู้ตาย เมื่อไปพบผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตแล้ว เจ้าพนักงานปกครองอ่านข้อความในพินัยกรรมให้ผู้ตาย ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขต และพยานสองคนฟัง ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตสอบถามผู้ตายว่าต้องการเปลี่ยนแปลงข้อความในพินัยกรรมหรือไม่ ผู้ตายตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงและยืนยันตามข้อความในพินัยกรรม แล้วผู้ตายและพยานสองคนลงชื่อในพินัยกรรม ดังนี้ การสอบถามของผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขต และการยืนยันของผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานสองคนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) แล้ว เมื่อผู้ตายเห็นว่าถูกต้องและลงชื่อในพินัยกรรมโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อ และผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตลงชื่อรับรองว่าพินัยกรรมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ พินัยกรรมดังกล่าวจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658 ส่วนที่คู่ฉบับพินัยกรรมไม่มีการประทับตราตำแหน่งไว้ ก็ไม่ทำให้พินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์เสียไป ผู้ร้องเป็นบุคคลที่ผู้ตายกำหนดในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า นายกิตติพงษ์ ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์สินส่วนหนึ่งให้แก่ผู้ร้องกับบุคคลอื่น และตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2558 มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและแก้ไขคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง และตั้งนางโสภา เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและนางโสภา เป็นผู้จัดการมรดกของนายกิตติพงษ์ ผู้ตายร่วมกันให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า นายกิตติพงษ์ ผู้ตายเป็นบุตรของผู้คัดค้านกับนายสรวุฒิ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2558 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่สำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ตามสำเนาพินัยกรรม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและนางโสภา เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่ตั้งนางโสภาเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุด ต่อมาผู้ร้องขอให้ถอนนางโสภาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนนางโสภาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ผู้คัดค้านมิได้ฎีกา คดีในส่วนที่ถอนนางโสภาออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุดและเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฉบับลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2559
ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า บัญชีพยานของผู้ร้องลงวันที่ 27 มกราคม 2558 อันดับที่ 7 ที่ระบุว่า พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองของผู้ตาย เขียนที่สำนักงานเขตราชเทวี วันที่ 19 เมษายน 2556 มิใช่พินัยกรรม ซึ่งมีตราประทับของเจ้าพนักงาน ผู้ร้องมิได้ส่งสำเนาแก่ผู้คัดค้าน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 การรับฟังสำเนาพินัยกรรมไม่ชอบ นั้น เห็นว่า เมื่อผู้ร้องนำสืบพยานและอ้างส่งสำเนาพินัยกรรมต่อศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามที่ผู้ร้องระบุในบัญชีระบุพยาน และเป็นเอกสารที่ผู้ร้องต้องส่งสำเนาแก่ผู้คัดค้านแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ ก็ถือเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านข้อแรกที่ว่า ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านในฐานะผู้มีส่วนได้เสียด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยว่าที่ดินตามพินัยกรรม 4 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของผู้คัดค้านไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 นั้น เห็นว่า ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเพื่อให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและขอให้ตั้งนางโสภาเป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า สมควรตั้งผู้ร้องหรือนางโสภา เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนข้ออ้างของผู้คัดค้านว่าที่ดินตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้าน นั้น เป็นการอ้างว่ามิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นคดีต่างหากจากคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยว่าที่ดินตามพินัยกรรม 4 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของผู้คัดค้าน จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านข้อต่อไปที่ว่า ขณะทำพินัยกรรมผู้ตายไม่ได้แจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมต่อหน้านางมัลลิกา และนายนพดล พยานในพินัยกรรมพร้อมกัน นั้น เห็นว่า ตามคำเบิกความตอบทนายผู้คัดค้านถามค้านของพยานดังกล่าวนั้น เป็นเหตุการณ์ในช่วงที่ผู้ตายมาพบนายประชากร และแจ้งความประสงค์ในการทำพินัยกรรม แล้วนายประชากรพิมพ์ข้อความในพินัยกรรมตามความประสงค์ของผู้ตาย ก่อนที่นายประชากร ผู้ตาย นายนพดล และนางมัลลิกาจะเข้าไปพบนายปรีชา ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตราชเทวี ซึ่งเมื่อได้ความตามที่ผู้ร้องนำสืบโดยผู้คัดค้านไม่ฎีกาคัดค้านว่า เมื่อไปพบนายปรีชาแล้ว นายประชากรอ่านข้อความในพินัยกรรม ให้ผู้ตาย นายปรีชา และนายนพดลและนางมัลลิกา พยานในพินัยกรรมฟัง นายปรีชาสอบถามผู้ตายว่าต้องการเปลี่ยนแปลงข้อความในพินัยกรรมหรือไม่ ผู้ตายตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงยืนยันตามข้อความในพินัยกรรม แล้วผู้ตาย นายนพดลและนางมัลลิกาลงชื่อในพินัยกรรม ดังนี้ การสอบถามของนายปรีชาและการยืนยันของผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานสองคนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 (1) แล้ว เมื่อผู้ตายเห็นว่าถูกต้องและลงชื่อในพินัยกรรมโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อ และนายปรีชาลงชื่อรับรองว่าพินัยกรรมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ พินัยกรรมดังกล่าวจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 ส่วนที่คู่ฉบับพินัยกรรมไม่มีการประทับตราตำแหน่งไว้ ก็ไม่ทำให้พินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์เสียไปแต่อย่างใด ผู้ร้องเป็นบุคคลที่ผู้ตายกำหนดในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัย ฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมและศาลยกคำร้องขอด้วยเหตุว่า ผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมหรือผู้มีส่วนได้เสีย คดีถึงที่สุด ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้โดยอ้างว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้อง กรณีมีเหตุอันสมควรสงสัยว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมหรือไม่ ศาลมีอำนาจเรียกคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ตายที่ธนาคาร ก. มาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลไม่ให้โอกาสผู้ร้องสืบพยานเพิ่มเติม ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องให้โอกาสผู้ร้องสืบพยานเพิ่มเติม และผู้ร้องมีโอกาสและระยะเวลาที่จะขอสืบพยานเพิ่มเติม แต่ผู้ร้องมิได้ขอก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นประกาศนัดไต่สวนแล้ว ไม่มีผู้ใดคัดค้าน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เห็นว่า พินัยกรรม เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2557 ลายมือชื่อในพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้ตายหรือไม่ ต้องเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ตายที่เคยลงลายมือชื่อไว้ในวันเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่ทำพินัยกรรมที่สุด ซึ่งก็คือตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ตายที่ให้ไว้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาลำปาง ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 เมื่อมานำเปรียบเทียบกับลายมือชื่อที่ลงไว้ในพินัยกรรมแล้ว มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน เป็นเอกสารที่ศาลมีคำสั่งให้เรียกมาจากบุคคลภายนอก รับฟังได้ว่าผู้ตายได้ลงลายมือชื่อเป็นตัวอย่างไว้จริง ส่วนลายมือชื่อผู้ตายในใบยืมของชั่วคราวที่ทนายผู้ร้องอ้างส่งมาเพื่อเปรียบเทียบกับลายมือชื่อในพินัยกรรม โดยอ้างว่าลายมือชื่อทั้งสองเป็นของผู้ตาย แต่ลายมือชื่อในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนท้ายเอกสารใบยืมของชั่วคราวมีพิรุธโดยมีการขีดเขียนซ้ำบางแห่ง และไม่เหมือนกับที่เคยลงลายมือชื่อในสำนาบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนตัวอย่างลายมือชื่อในใบรังวัดรวม 3 ฉบับ ที่ทนายผู้ร้องอ้างส่งมาด้วยเป็นเอกสารราชการ ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อผู้ขอรังวัดในเอกสารทั้ง 3 ฉบับ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และคล้ายคลึงกับลายมือชื่อของผู้ตายที่ลงไว้ในเอกสารทุกแห่ง แต่ไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับลายมือชื่อที่ลงไว้ในพินัยกรรม ซึ่งเอกสารของทางราชการทั้งสามฉบับกับเอกสารที่ศาลมีคำสั่งเรียกมาจากบุคคลภายนอกมีน้ำหนักน่าเชื่อถือจึงไม่น่าเชื่อว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนตาย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของนายอินสม ซึ่งเป็นบิดาของนายโกศล ผู้ตายนายอินสมถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอเพราะเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หลังจากนั้นสิบเดือนผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยพินัยกรรม ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องนำพยานของผู้ร้องมาสืบเสร็จแล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาและทำคำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกเอกสารจากธนาคารที่มีลายมือผู้ตายที่เขียนและลงลายมือชื่อไว้มาเพื่อตรวจสอบเปรียบเทียบกับพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้าง
คงมีปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องประการแรกว่า ศาลชั้นต้นไม่ให้โอกาสแก่ผู้ร้องในการสืบพยานเพิ่มเติมถึงเหตุที่ลายมือชื่อของผู้ตายในเอกสาร แตกต่างจากลายมือชื่อของผู้ตายในพินัยกรรม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกเอกสารซึ่งเป็นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ตายที่มีอยู่ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาลำปาง มาประกอบการพิจารณานั้น สืบเนื่องมาจากผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายแล้วโดยอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำร้องขอด้วยเหตุว่าผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมหรือผู้มีส่วนได้เสีย คดีถึงที่สุด ต่อมาผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ อ้างว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้อง กรณีจึงมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าผู้ตายทำพินัยกรรมดังกล่าวจริงหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีอำนาจเรียกเอกสารดังกล่าวมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ" และที่ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โอกาสผู้ร้องในการสืบพยานเพิ่มเติมนั้น เห็นว่า ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ากรณีนี้ต้องให้โอกาสผู้ร้องสืบพยานเพิ่มเติม อีกทั้งเมื่อศาลชั้นต้นเรียกเอกสารจากธนาคารแล้วในวันนัดฟังคำสั่งครั้งแรกวันที่ 21 มกราคม 2559 ศาลชั้นต้นได้ให้ทนายผู้ร้องตรวจดูเอกสารที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาลำปาง ส่งมา ทนายผู้ร้องแถลงว่า เป็นสำเนาคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้ตายและตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ตายจริง และเลื่อนไปนัดฟังคำสั่งในวันที่ 26 มกราคม 2559 ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 21 มกราคม 2559 ผู้ร้องมีโอกาสและระยะเวลาที่จะขอสืบพยานเพิ่มเติมแต่ผู้ร้องมิได้แถลงหรือร้องขอก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมและศาลยกคำร้องขอด้วยเหตุว่า ผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมหรือผู้มีส่วนได้เสีย คดีถึงที่สุด ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้โดยอ้างว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้อง กรณีมีเหตุอันสมควรสงสัยว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมหรือไม่ ศาลมีอำนาจเรียกคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ตายที่ธนาคาร ก. มาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลไม่ให้โอกาสผู้ร้องสืบพยานเพิ่มเติม ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องให้โอกาสผู้ร้องสืบพยานเพิ่มเติม และผู้ร้องมีโอกาสและระยะเวลาที่จะขอสืบพยานเพิ่มเติม แต่ผู้ร้องมิได้ขอก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นประกาศนัดไต่สวนแล้ว ไม่มีผู้ใดคัดค้าน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เห็นว่า พินัยกรรม เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2557 ลายมือชื่อในพินัยกรรมดังกล่าวเป็นของผู้ตายหรือไม่ ต้องเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ตายที่เคยลงลายมือชื่อไว้ในวันเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่ทำพินัยกรรมที่สุด ซึ่งก็คือตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ตายที่ให้ไว้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาลำปาง ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 เมื่อมานำเปรียบเทียบกับลายมือชื่อที่ลงไว้ในพินัยกรรมแล้ว มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจนไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน เป็นเอกสารที่ศาลมีคำสั่งให้เรียกมาจากบุคคลภายนอก รับฟังได้ว่าผู้ตายได้ลงลายมือชื่อเป็นตัวอย่างไว้จริง ส่วนลายมือชื่อผู้ตายในใบยืมของชั่วคราวที่ทนายผู้ร้องอ้างส่งมาเพื่อเปรียบเทียบกับลายมือชื่อในพินัยกรรม โดยอ้างว่าลายมือชื่อทั้งสองเป็นของผู้ตาย แต่ลายมือชื่อในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนท้ายเอกสารใบยืมของชั่วคราวมีพิรุธโดยมีการขีดเขียนซ้ำบางแห่ง และไม่เหมือนกับที่เคยลงลายมือชื่อในสำนาบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนตัวอย่างลายมือชื่อในใบรังวัดรวม 3 ฉบับ ที่ทนายผู้ร้องอ้างส่งมาด้วยเป็นเอกสารราชการ ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อผู้ขอรังวัดในเอกสารทั้ง 3 ฉบับ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และคล้ายคลึงกับลายมือชื่อของผู้ตายที่ลงไว้ในเอกสารทุกแห่ง แต่ไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับลายมือชื่อที่ลงไว้ในพินัยกรรม ซึ่งเอกสารของทางราชการทั้งสามฉบับกับเอกสารที่ศาลมีคำสั่งเรียกมาจากบุคคลภายนอกมีน้ำหนักน่าเชื่อถือจึงไม่น่าเชื่อว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนตาย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของนายอินสม ซึ่งเป็นบิดาของนายโกศล ผู้ตายนายอินสมถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอเพราะเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หลังจากนั้นสิบเดือนผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยพินัยกรรม ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องนำพยานของผู้ร้องมาสืบเสร็จแล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาและทำคำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกเอกสารจากธนาคารที่มีลายมือผู้ตายที่เขียนและลงลายมือชื่อไว้มาเพื่อตรวจสอบเปรียบเทียบกับพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้าง
คงมีปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องประการแรกว่า ศาลชั้นต้นไม่ให้โอกาสแก่ผู้ร้องในการสืบพยานเพิ่มเติมถึงเหตุที่ลายมือชื่อของผู้ตายในเอกสาร แตกต่างจากลายมือชื่อของผู้ตายในพินัยกรรม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกเอกสารซึ่งเป็นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ตายที่มีอยู่ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาลำปาง มาประกอบการพิจารณานั้น สืบเนื่องมาจากผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ตายแล้วโดยอ้างว่าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำร้องขอด้วยเหตุว่าผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมหรือผู้มีส่วนได้เสีย คดีถึงที่สุด ต่อมาผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ อ้างว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้อง กรณีจึงมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าผู้ตายทำพินัยกรรมดังกล่าวจริงหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีอำนาจเรียกเอกสารดังกล่าวมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ" และที่ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โอกาสผู้ร้องในการสืบพยานเพิ่มเติมนั้น เห็นว่า ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ากรณีนี้ต้องให้โอกาสผู้ร้องสืบพยานเพิ่มเติม อีกทั้งเมื่อศาลชั้นต้นเรียกเอกสารจากธนาคารแล้วในวันนัดฟังคำสั่งครั้งแรกวันที่ 21 มกราคม 2559 ศาลชั้นต้นได้ให้ทนายผู้ร้องตรวจดูเอกสารที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาลำปาง ส่งมา ทนายผู้ร้องแถลงว่า เป็นสำเนาคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้ตายและตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ตายจริง และเลื่อนไปนัดฟังคำสั่งในวันที่ 26 มกราคม 2559 ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 21 มกราคม 2559 ผู้ร้องมีโอกาสและระยะเวลาที่จะขอสืบพยานเพิ่มเติมแต่ผู้ร้องมิได้แถลงหรือร้องขอก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
แม้ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แต่ผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อความส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่า "ข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สมบัติ อาคารบ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อข้าพเจ้าเป็นเจ้าของให้แก่ พ. และ น. ต่อเมื่อข้าพเจ้าได้สิ้นชีวิตไปแล้ว" ซึ่งคำว่า "ทรัพย์สมบัติ" นั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้หมายความไว้ว่า หมายถึง ทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครองอันอาจใช้สอยแจกจ่ายได้ คำว่า "ทรัพย์สิน" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ตายเป็นเจ้าของโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนระดับชั้นประถม เป็นครูสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่ตนเองเป็นเจ้าของ ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ คำว่า "ทรัพย์สมบัติ" เป็นคำธรรมดาที่ปุถุชนทั่วไปพอจะเข้าใจความหมายได้ว่าหมายถึงทรัพย์สิน การทำพินัยกรรม เห็นได้ว่าเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตาย ซึ่งรวมตลอดถึงอาคาร บ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อของผู้ตายเป็นเจ้าของให้แก่ผู้ร้องและ น. หากผู้ตายประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านหรือทายาทโดยธรรมอื่น ก็คงเขียนการยกทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ในพินัยกรรมให้ชัดแจ้งแล้ว เพราะแม้แต่ ส. และ ว. ผู้ตายยังเขียนไว้ในพินัยกรรม ให้ผู้ร้องและ น. อุปการะ ส. และ ว. ตลอดชีวิตด้วย แต่เนื่องจาก ว. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายจึงขีดฆ่าชื่อของ ว. ออก ทั้งการทำพินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน พินัยกรรมจะมีผลต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่ว่าจึงหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย ไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีอยู่ในวันทำพินัยกรรม เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแม้อาจจะมีทรัพย์มรดกอื่นของผู้ตายที่ยังไม่พบ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในพินัยกรรมคือ หากมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของทางเอกสารให้ตกแก่ผู้ร้องและ น. แต่จากคำเบิกความของผู้ร้องและผู้คัดค้านและข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสำนวนยังไม่มีปรากฏทรัพย์สินอื่นของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่ามีทรัพย์สินเช่นว่านั้นอีก ทรัพย์มรดกที่ปรากฏจึงตกเป็นของผู้ร้องและ น. เท่านั้น การตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ย่อมเกิดข้อขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก จึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเรือเอกประพันธ์กับนางสอางค์ บิดาของผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางสาวประไพ ผู้ตาย ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2557 ก่อนถึงแก่ความตายผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติ อาคาร บ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของให้แก่ผู้ร้องและนางสาวนฤมล บิดาของผู้ร้องถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและแก้ไขคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไสว บิดาของผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางสาวประไพ ผู้ตาย บิดามารดาของผู้ตาย บิดาของผู้คัดค้านและพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ผู้ตายไม่ได้สมรสและไม่มีบุตร ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม ลายมือชื่อในพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตาย การแก้ไขตกเติมในพินัยกรรมไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับจึงไม่สมบูรณ์ใช้บังคับมิได้ การที่ผู้ร้องนำพินัยกรรมปลอมมายื่นคำร้องขอเป็นการปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้รับ จึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตาย
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว ยกคำคัดค้านของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเรือเอกประพันธ์ ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไสว บิดาของผู้ร้องและบิดาของผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางสาวประไพ ผู้ตาย ผู้ตายไม่มีสามีและบุตร บิดามารดาของผู้ตาย บิดาของผู้ร้อง บิดาของผู้คัดค้าน และพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายล้วนถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตายแล้ว เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2557 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ก่อนถึงแก่ความตายผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ตายมีทรัพย์สินเท่าที่ตรวจพบคือที่ดิน 8 แปลง ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายมิให้เป็นผู้จัดการมรดก
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตายหรือไม่ เห็นว่า แม้ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แต่ผู้ตายทำพินัยกรรม มีข้อความส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่า "ข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สมบัติ อาคารบ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อข้าพเจ้าเป็นเจ้าของให้แก่นางพรรณประภาและนางสาวนฤมล ต่อเมื่อข้าพเจ้าได้สิ้นชีวิตไปแล้ว" ซึ่งคำว่า "ทรัพย์สมบัติ" นั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครองอันอาจใช้สอยแจกจ่ายได้ ส่วนคำว่า "ทรัพย์สิน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นเจ้าของโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนระดับชั้นประถม เป็นครูสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่ตนเองเป็นเจ้าของ ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ พินัยกรรมลงวันที่ 21 ตุลาคม 2540 ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่ออายุ 93 ปี และคำว่า "ทรัพย์สมบัติ" เป็นคำธรรมดาที่ปุถุชนทั่วไปพอจะเข้าใจความหมายได้ว่าหมายถึงทรัพย์สินการทำพินัยกรรม จึงเห็นได้ว่าเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตาย ซึ่งรวมตลอดถึงอาคารบ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อของผู้ตายเป็นเจ้าของให้แก่ผู้ร้องและนางสาวนฤมล หากผู้ตายประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านหรือทายาทโดยธรรมอื่น ก็คงเขียนการยกทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ในพินัยกรรมให้ชัดแจ้งแล้ว เพราะแม้แต่นายสว่างและนายวิโรจน์ ผู้ตายยังเขียนไว้ในพินัยกรรม ให้ผู้ร้องและนางสาวนฤมลอุปการะนายสว่างและนายวิโรจน์ตลอดชีวิตด้วย แต่เนื่องจากนายวิโรจน์ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายจึงขีดฆ่าชื่อของนายวิโรจน์ออก ทั้งการทำพินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน พินัยกรรมจะมีผลต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินที่ว่าจึงหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย ไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีอยู่ในวันทำพินัยกรรม เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้อาจจะมีทรัพย์มรดกอื่นของผู้ตายที่ยังไม่พบ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในพินัยกรรมคือหากมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของทางเอกสารให้ตกแก่ผู้ร้องและนางสาวนฤมล แต่จากคำเบิกความของผู้ร้องและผู้คัดค้านและข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสำนวนยังไม่มีปรากฏทรัพย์สินอื่นของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่ามีทรัพย์สินเช่นว่านั้นอีก ทรัพย์มรดกที่ปรากฏจึงตกเป็นของผู้ร้องและนางสาวนฤมลเท่านั้น การตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ย่อมเกิดข้อขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก จึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
แม้ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แต่ผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อความส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่า "ข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สมบัติ อาคารบ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อข้าพเจ้าเป็นเจ้าของให้แก่ พ. และ น. ต่อเมื่อข้าพเจ้าได้สิ้นชีวิตไปแล้ว" ซึ่งคำว่า "ทรัพย์สมบัติ" นั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้หมายความไว้ว่า หมายถึง ทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครองอันอาจใช้สอยแจกจ่ายได้ คำว่า "ทรัพย์สิน" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ตายเป็นเจ้าของโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนระดับชั้นประถม เป็นครูสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่ตนเองเป็นเจ้าของ ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ คำว่า "ทรัพย์สมบัติ" เป็นคำธรรมดาที่ปุถุชนทั่วไปพอจะเข้าใจความหมายได้ว่าหมายถึงทรัพย์สิน การทำพินัยกรรม เห็นได้ว่าเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตาย ซึ่งรวมตลอดถึงอาคาร บ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อของผู้ตายเป็นเจ้าของให้แก่ผู้ร้องและ น. หากผู้ตายประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านหรือทายาทโดยธรรมอื่น ก็คงเขียนการยกทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ในพินัยกรรมให้ชัดแจ้งแล้ว เพราะแม้แต่ ส. และ ว. ผู้ตายยังเขียนไว้ในพินัยกรรม ให้ผู้ร้องและ น. อุปการะ ส. และ ว. ตลอดชีวิตด้วย แต่เนื่องจาก ว. ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายจึงขีดฆ่าชื่อของ ว. ออก ทั้งการทำพินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน พินัยกรรมจะมีผลต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่ว่าจึงหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย ไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีอยู่ในวันทำพินัยกรรม เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแม้อาจจะมีทรัพย์มรดกอื่นของผู้ตายที่ยังไม่พบ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในพินัยกรรมคือ หากมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของทางเอกสารให้ตกแก่ผู้ร้องและ น. แต่จากคำเบิกความของผู้ร้องและผู้คัดค้านและข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสำนวนยังไม่มีปรากฏทรัพย์สินอื่นของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่ามีทรัพย์สินเช่นว่านั้นอีก ทรัพย์มรดกที่ปรากฏจึงตกเป็นของผู้ร้องและ น. เท่านั้น การตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ย่อมเกิดข้อขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก จึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเรือเอกประพันธ์กับนางสอางค์ บิดาของผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางสาวประไพ ผู้ตาย ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2557 ก่อนถึงแก่ความตายผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติ อาคาร บ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของให้แก่ผู้ร้องและนางสาวนฤมล บิดาของผู้ร้องถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและแก้ไขคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไสว บิดาของผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางสาวประไพ ผู้ตาย บิดามารดาของผู้ตาย บิดาของผู้คัดค้านและพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ผู้ตายไม่ได้สมรสและไม่มีบุตร ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม ลายมือชื่อในพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตาย การแก้ไขตกเติมในพินัยกรรมไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับจึงไม่สมบูรณ์ใช้บังคับมิได้ การที่ผู้ร้องนำพินัยกรรมปลอมมายื่นคำร้องขอเป็นการปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้รับ จึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตาย
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว ยกคำคัดค้านของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเรือเอกประพันธ์ ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายไสว บิดาของผู้ร้องและบิดาของผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางสาวประไพ ผู้ตาย ผู้ตายไม่มีสามีและบุตร บิดามารดาของผู้ตาย บิดาของผู้ร้อง บิดาของผู้คัดค้าน และพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายล้วนถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตายแล้ว เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2557 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ก่อนถึงแก่ความตายผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ตายมีทรัพย์สินเท่าที่ตรวจพบคือที่ดิน 8 แปลง ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายมิให้เป็นผู้จัดการมรดก
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตายหรือไม่ เห็นว่า แม้ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย มิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แต่ผู้ตายทำพินัยกรรม มีข้อความส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่า "ข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สมบัติ อาคารบ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อข้าพเจ้าเป็นเจ้าของให้แก่นางพรรณประภาและนางสาวนฤมล ต่อเมื่อข้าพเจ้าได้สิ้นชีวิตไปแล้ว" ซึ่งคำว่า "ทรัพย์สมบัติ" นั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครองอันอาจใช้สอยแจกจ่ายได้ ส่วนคำว่า "ทรัพย์สิน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นเจ้าของโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนระดับชั้นประถม เป็นครูสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษในโรงเรียนที่ตนเองเป็นเจ้าของ ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ พินัยกรรมลงวันที่ 21 ตุลาคม 2540 ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่ออายุ 93 ปี และคำว่า "ทรัพย์สมบัติ" เป็นคำธรรมดาที่ปุถุชนทั่วไปพอจะเข้าใจความหมายได้ว่าหมายถึงทรัพย์สินการทำพินัยกรรม จึงเห็นได้ว่าเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตาย ซึ่งรวมตลอดถึงอาคารบ้านเรือน ที่ดิน ที่มีชื่อของผู้ตายเป็นเจ้าของให้แก่ผู้ร้องและนางสาวนฤมล หากผู้ตายประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านหรือทายาทโดยธรรมอื่น ก็คงเขียนการยกทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ในพินัยกรรมให้ชัดแจ้งแล้ว เพราะแม้แต่นายสว่างและนายวิโรจน์ ผู้ตายยังเขียนไว้ในพินัยกรรม ให้ผู้ร้องและนางสาวนฤมลอุปการะนายสว่างและนายวิโรจน์ตลอดชีวิตด้วย แต่เนื่องจากนายวิโรจน์ถึงแก่ความตายไปแล้ว ผู้ตายจึงขีดฆ่าชื่อของนายวิโรจน์ออก ทั้งการทำพินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน พินัยกรรมจะมีผลต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินที่ว่าจึงหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย ไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีอยู่ในวันทำพินัยกรรม เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้อาจจะมีทรัพย์มรดกอื่นของผู้ตายที่ยังไม่พบ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในพินัยกรรมคือหากมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของทางเอกสารให้ตกแก่ผู้ร้องและนางสาวนฤมล แต่จากคำเบิกความของผู้ร้องและผู้คัดค้านและข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสำนวนยังไม่มีปรากฏทรัพย์สินอื่นของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่ามีทรัพย์สินเช่นว่านั้นอีก ทรัพย์มรดกที่ปรากฏจึงตกเป็นของผู้ร้องและนางสาวนฤมลเท่านั้น การตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ย่อมเกิดข้อขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก จึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ข้อความในฎีกาฉบับแรกตั้งแต่หน้าที่ 3 ย่อหน้าที่ 2 จนถึงหน้าสุดท้าย กับข้อความในฎีกาฉบับที่สองตั้งแต่หน้าที่ 3 ย่อหน้าที่ 2 จนถึงหน้าสุดท้าย ล้วนแต่เป็นข้อความเดียวกันทั้งสิ้น โดยฎีกาของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ด้วยเหตุที่ไม่รับอุทธรณ์ทั้งสองฉบับของผู้ร้องคัดค้านไว้วินิจฉัยนั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ถูกควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนายวรสกล ผู้ร้อง เป็นผู้จัดการมรดกของนายวิชชา ผู้ตาย ต่อมาผู้ร้องคัดค้านยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องคัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง
(1) ผู้ร้องคัดค้านยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องคัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า พิเคราะห์คำร้องของผู้ร้องคัดค้านฉบับลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 จำนวน 2 ฉบับ และฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งเกี่ยวข้องกับคำร้องทั้งสามฉบับดังกล่าวไว้โดยชอบด้วยเหตุผลตามกฎหมายแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงให้ยกคำร้องของผู้ร้องคัดค้านทั้งสามฉบับดังกล่าว
ผู้ร้องคัดค้านอุทธรณ์คำสั่ง
(2) ผู้ร้องคัดค้านยื่นคำขอตั้งผู้จัดการมรดกร่วมและถอนผู้จัดการมรดกฉบับลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลตรวจคำร้องฉบับนี้โดยละเอียดแล้ว เห็นว่า เนื้อหาโดยรวมของคำร้องฉบับนี้มีประเด็นเดียวกับคำร้องฉบับลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 จำนวน 2 ฉบับ และฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 ของผู้ร้องคัดค้านและคำร้องทั้งสามฉบับดังกล่าว ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องไปแล้ว ตามคำสั่งลงวันที่ 22 เมษายน 2558 ต่อมาผู้ร้องคัดค้านได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและศาลมีคำสั่งรับอุทธรณ์แล้ว ในชั้นนี้จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องฉบับนี้
ผู้ร้องคัดค้านอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่า อุทธรณ์ข้อ (1) ของผู้ร้องคัดค้านไม่ได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้งว่าไม่ชอบอย่างไร กลับมีลักษณะและเหตุผลเหมือนกับคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกดังเช่นที่ผู้ร้องคัดค้านเคยยื่นมาแล้ว อีกทั้งยังกล่าวอ้างเอาเหตุผลหรือข้อคัดค้านในเอกสารอื่นโดยไม่นำมากล่าวไว้ให้เห็นในคำฟ้องอุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องคัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ส่วนอุทธรณ์ข้อ (2) ที่อ้างว่าผู้ร้องคัดค้านใช้สิทธิคัดค้านในฐานะผู้สืบสิทธิทายาทโดยธรรมของนางซู่หู หากศาลมีคำสั่งรับไต่สวนคำร้องก็จะพิจารณาได้อย่างรวดเร็วดีกว่าอุทธรณ์และฎีกาคำร้องเดิมนั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องคัดค้านในส่วนนี้ก็ไม่ได้มีการคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้งว่าไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายด้วยเหตุผลอะไร อุทธรณ์ของผู้ร้องคัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งเช่นกัน พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่ผู้ร้องคัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
ผู้ร้องคัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อพิจารณาฎีกาของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับแล้วปรากฏว่า ข้อความในฎีกาฉบับแรกตั้งแต่หน้าที่ 3 ย่อหน้าที่ 2 จนถึงหน้าสุดท้าย กับข้อความในฎีกาฉบับที่สองตั้งแต่หน้าที่ 3 ย่อหน้าที่ 2 จนถึงหน้าสุดท้าย ล้วนแต่เป็นข้อความเดียวกันทั้งสิ้น โดยฎีกาของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ด้วยเหตุที่ไม่รับอุทธรณ์ทั้งสองฉบับของผู้ร้องคัดค้านไว้วินิจฉัยนั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ถูกควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
พิพากษายกฎีกาของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับ คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องคัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกานอกจากนี้ให้เป็นพับ
ข้อความในฎีกาฉบับแรกตั้งแต่หน้าที่ 3 ย่อหน้าที่ 2 จนถึงหน้าสุดท้าย กับข้อความในฎีกาฉบับที่สองตั้งแต่หน้าที่ 3 ย่อหน้าที่ 2 จนถึงหน้าสุดท้าย ล้วนแต่เป็นข้อความเดียวกันทั้งสิ้น โดยฎีกาของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ด้วยเหตุที่ไม่รับอุทธรณ์ทั้งสองฉบับของผู้ร้องคัดค้านไว้วินิจฉัยนั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ถูกควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนายวรสกล ผู้ร้อง เป็นผู้จัดการมรดกของนายวิชชา ผู้ตาย ต่อมาผู้ร้องคัดค้านยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องคัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง
(1) ผู้ร้องคัดค้านยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 ขอให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องคัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า พิเคราะห์คำร้องของผู้ร้องคัดค้านฉบับลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 จำนวน 2 ฉบับ และฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งเกี่ยวข้องกับคำร้องทั้งสามฉบับดังกล่าวไว้โดยชอบด้วยเหตุผลตามกฎหมายแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงให้ยกคำร้องของผู้ร้องคัดค้านทั้งสามฉบับดังกล่าว
ผู้ร้องคัดค้านอุทธรณ์คำสั่ง
(2) ผู้ร้องคัดค้านยื่นคำขอตั้งผู้จัดการมรดกร่วมและถอนผู้จัดการมรดกฉบับลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลตรวจคำร้องฉบับนี้โดยละเอียดแล้ว เห็นว่า เนื้อหาโดยรวมของคำร้องฉบับนี้มีประเด็นเดียวกับคำร้องฉบับลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 จำนวน 2 ฉบับ และฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 ของผู้ร้องคัดค้านและคำร้องทั้งสามฉบับดังกล่าว ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องไปแล้ว ตามคำสั่งลงวันที่ 22 เมษายน 2558 ต่อมาผู้ร้องคัดค้านได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและศาลมีคำสั่งรับอุทธรณ์แล้ว ในชั้นนี้จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องฉบับนี้
ผู้ร้องคัดค้านอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่า อุทธรณ์ข้อ (1) ของผู้ร้องคัดค้านไม่ได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้งว่าไม่ชอบอย่างไร กลับมีลักษณะและเหตุผลเหมือนกับคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกดังเช่นที่ผู้ร้องคัดค้านเคยยื่นมาแล้ว อีกทั้งยังกล่าวอ้างเอาเหตุผลหรือข้อคัดค้านในเอกสารอื่นโดยไม่นำมากล่าวไว้ให้เห็นในคำฟ้องอุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องคัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ส่วนอุทธรณ์ข้อ (2) ที่อ้างว่าผู้ร้องคัดค้านใช้สิทธิคัดค้านในฐานะผู้สืบสิทธิทายาทโดยธรรมของนางซู่หู หากศาลมีคำสั่งรับไต่สวนคำร้องก็จะพิจารณาได้อย่างรวดเร็วดีกว่าอุทธรณ์และฎีกาคำร้องเดิมนั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องคัดค้านในส่วนนี้ก็ไม่ได้มีการคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้งว่าไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายด้วยเหตุผลอะไร อุทธรณ์ของผู้ร้องคัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งเช่นกัน พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่ผู้ร้องคัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
ผู้ร้องคัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อพิจารณาฎีกาของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับแล้วปรากฏว่า ข้อความในฎีกาฉบับแรกตั้งแต่หน้าที่ 3 ย่อหน้าที่ 2 จนถึงหน้าสุดท้าย กับข้อความในฎีกาฉบับที่สองตั้งแต่หน้าที่ 3 ย่อหน้าที่ 2 จนถึงหน้าสุดท้าย ล้วนแต่เป็นข้อความเดียวกันทั้งสิ้น โดยฎีกาของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ด้วยเหตุที่ไม่รับอุทธรณ์ทั้งสองฉบับของผู้ร้องคัดค้านไว้วินิจฉัยนั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ถูกควรเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
พิพากษายกฎีกาของผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฉบับ คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องคัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกานอกจากนี้ให้เป็นพับ
ผู้ร้องในฐานะพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นทั้งสองครั้งเพื่อบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลย มิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 หรือยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ทั้งเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นก็มิใช่มรดกของผู้ตาย กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 หรือมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุผู้ตายได้รับอันตรายแก่ชีวิตอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 หรือผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้น
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ระหว่างพิจารณา จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นเงิน 50,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อบรรเทาความเสียหายของผู้ตาย ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง โดยรอการลงโทษจำคุกจำเลยและคุมความประพฤติของจำเลยไว้ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่รอการลงโทษและคุมความประพฤติของจำเลย จำเลยฎีกา ระหว่างฎีกา จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นเงิน 150,000 บาท ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ญาติผู้ตายเพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ญาติของผู้ตาย ศาลฎีกาพิพากษายืน ต่อมาหลังจากจำเลยได้รับการพักโทษ จำเลยยื่นคำร้องขอรับเงินที่วางต่อศาลชั้นต้น 200,000 บาท คืนจากศาล ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ขอรับเงินคืน 150,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นเรียกโจทก์และจำเลยมาไต่สวนหาทายาทของผู้ตาย และสอบถามให้ได้ความก่อนว่ามีความประสงค์จะรับเงินชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 150,000 บาท หรือไม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ตายเป็นคนโสด นายพรชัยบิดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว ส่วนนางอิ่มมารดาของผู้ตายหายสาบสูญไปกว่า 40 ปี แล้ว ผู้ตายมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ ผู้ร้อง ผู้ตาย และนายนรินทร์ ผู้ร้องขอรับเงิน 200,000 บาท ที่จำเลยวางต่อศาล
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่า ยังไม่ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่านางอิ่มมารดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว ต้องถือว่านางอิ่มมารดาของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ส่วนผู้ร้องพี่สาวและนายนรินทร์น้องชายของผู้ตายเป็นทายาทลำดับถัดลงมา ซึ่งยังไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย จึงยังไม่มีสิทธิที่จะรับเงินชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยวางไว้ต่อศาล ให้คืนเงินที่จำเลยวางไว้แก่จำเลยเมื่อคำสั่งนี้ถึงที่สุด
ผู้ร้องและนายนรินทร์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเฉพาะอุทธรณ์ของผู้ร้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า ให้ศาลชั้นต้นมอบเงิน 200,000 บาท แก่ผู้ร้อง
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องในฐานะพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นทั้งสองครั้งเพื่อบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลย มิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 หรือยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ทั้งเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นก็มิใช่มรดกของผู้ตาย กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 หรือมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุผู้ตายได้รับอันตรายแก่ชีวิตอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 หรือผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นมอบเงิน 200,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางศาลชั้นต้นแก่ผู้ร้องชอบหรือไม่ เห็นว่า ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2553 ว่า จำเลยขอให้การรับสารภาพ โดยจำเลยได้วางเงินต่อศาลเป็นเงิน 50,000 บาท ให้แก่ผู้ตาย เพื่อบรรเทาความเสียหายของผู้ตาย ทั้งจำเลยและญาติของจำเลยได้ไปงานศพของผู้ตาย ช่วยเหลือเงินในงานศพของผู้ตาย ซื้อพวงหรีดให้ในงานศพของผู้ตาย ขอศาลได้โปรดลงโทษจำเลยสถานเบา และระหว่างฎีกา จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 17 ตุลาคม 2554 ว่า จำเลยมีความประสงค์ขอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ญาติผู้ตาย เพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ญาติผู้ตายเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท โดยจำเลยได้วางเงินจำนวนดังกล่าวต่อศาลในวันนี้ แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยวางเงินจำนวนดังกล่าว โดยมีเจตนาที่จะให้แก่ผู้ตายหรือญาติของผู้ตายเพื่อให้ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาใช้ประกอบดุลพินิจในการลงโทษจำเลย ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลฎีกาก็นำเหตุที่จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้น ในระหว่างพิจารณาและระหว่างฎีกาดังกล่าวมาใช้ประกอบดุลพินิจรอหรือไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยแล้ว เมื่อคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยมีการดำเนินการตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวแล้วและผู้ร้องประสงค์ที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะรับเงินจำนวนนั้นไปจากศาลชั้นต้นได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ผู้ร้องในฐานะพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นทั้งสองครั้งเพื่อบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลย มิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 หรือยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ทั้งเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นก็มิใช่มรดกของผู้ตาย กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 หรือมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุผู้ตายได้รับอันตรายแก่ชีวิตอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 หรือผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้น
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ระหว่างพิจารณา จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นเงิน 50,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อบรรเทาความเสียหายของผู้ตาย ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง โดยรอการลงโทษจำคุกจำเลยและคุมความประพฤติของจำเลยไว้ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่รอการลงโทษและคุมความประพฤติของจำเลย จำเลยฎีกา ระหว่างฎีกา จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นเงิน 150,000 บาท ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ญาติผู้ตายเพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ญาติของผู้ตาย ศาลฎีกาพิพากษายืน ต่อมาหลังจากจำเลยได้รับการพักโทษ จำเลยยื่นคำร้องขอรับเงินที่วางต่อศาลชั้นต้น 200,000 บาท คืนจากศาล ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ขอรับเงินคืน 150,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นเรียกโจทก์และจำเลยมาไต่สวนหาทายาทของผู้ตาย และสอบถามให้ได้ความก่อนว่ามีความประสงค์จะรับเงินชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 150,000 บาท หรือไม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ตายเป็นคนโสด นายพรชัยบิดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว ส่วนนางอิ่มมารดาของผู้ตายหายสาบสูญไปกว่า 40 ปี แล้ว ผู้ตายมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ ผู้ร้อง ผู้ตาย และนายนรินทร์ ผู้ร้องขอรับเงิน 200,000 บาท ที่จำเลยวางต่อศาล
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่า ยังไม่ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่านางอิ่มมารดาของผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว ต้องถือว่านางอิ่มมารดาของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ส่วนผู้ร้องพี่สาวและนายนรินทร์น้องชายของผู้ตายเป็นทายาทลำดับถัดลงมา ซึ่งยังไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย จึงยังไม่มีสิทธิที่จะรับเงินชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยวางไว้ต่อศาล ให้คืนเงินที่จำเลยวางไว้แก่จำเลยเมื่อคำสั่งนี้ถึงที่สุด
ผู้ร้องและนายนรินทร์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเฉพาะอุทธรณ์ของผู้ร้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า ให้ศาลชั้นต้นมอบเงิน 200,000 บาท แก่ผู้ร้อง
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องในฐานะพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นทั้งสองครั้งเพื่อบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลย มิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 หรือยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 ทั้งเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้นก็มิใช่มรดกของผู้ตาย กรณีจึงไม่ต้องพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายซึ่งเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 หรือมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุผู้ตายได้รับอันตรายแก่ชีวิตอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 หรือผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นมอบเงิน 200,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางศาลชั้นต้นแก่ผู้ร้องชอบหรือไม่ เห็นว่า ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2553 ว่า จำเลยขอให้การรับสารภาพ โดยจำเลยได้วางเงินต่อศาลเป็นเงิน 50,000 บาท ให้แก่ผู้ตาย เพื่อบรรเทาความเสียหายของผู้ตาย ทั้งจำเลยและญาติของจำเลยได้ไปงานศพของผู้ตาย ช่วยเหลือเงินในงานศพของผู้ตาย ซื้อพวงหรีดให้ในงานศพของผู้ตาย ขอศาลได้โปรดลงโทษจำเลยสถานเบา และระหว่างฎีกา จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 17 ตุลาคม 2554 ว่า จำเลยมีความประสงค์ขอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ญาติผู้ตาย เพื่อบรรเทาความเสียหายให้แก่ญาติผู้ตายเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท โดยจำเลยได้วางเงินจำนวนดังกล่าวต่อศาลในวันนี้ แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยวางเงินจำนวนดังกล่าว โดยมีเจตนาที่จะให้แก่ผู้ตายหรือญาติของผู้ตายเพื่อให้ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาใช้ประกอบดุลพินิจในการลงโทษจำเลย ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลฎีกาก็นำเหตุที่จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้น ในระหว่างพิจารณาและระหว่างฎีกาดังกล่าวมาใช้ประกอบดุลพินิจรอหรือไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยแล้ว เมื่อคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยมีการดำเนินการตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวแล้วและผู้ร้องประสงค์ที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าว ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะรับเงินจำนวนนั้นไปจากศาลชั้นต้นได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
การที่จำเลยจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและบุคลากรของมหาวิทยาลัย อ. รวมทั้งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยบางส่วน ในฐานะเป็นอธิการบดีซึ่งทำการแทนมหาวิทยาลัย อ. มิได้กระทำเป็นส่วนตัว เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย อ. ที่ทำให้มหาวิทยาลัย อ. จำต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดทางวินัย รวมถึงสาเหตุของการเผยแพร่ใบปลิวและความวุ่นวายที่เกิดจากการชุมนุมปราศรัยของโจทก์กับพวก เพื่อให้ทราบความจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย อ. อันเป็นการรักษาชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย อ. และปกป้องประโยชน์ของทางราชการย่อมถือเป็นการให้ข่าวสารข้อมูลของทางราชการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย อ. อันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2529 ให้อำนาจจำเลยไว้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งในมูลละเมิดแก่โจทก์ได้ เพราะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 332 ให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ผู้จัดการ วารสารของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 3 ฉบับ เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 15 วัน โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ และให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 17 กันยายน 2555 อันเป็นวันยื่นฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ และให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อในหนังสือพิมพ์รายวันมติชนและวารสารของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นเวลา 3 วัน ติดต่อกัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา ยกฟ้องคดีส่วนอาญา
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องคดีในส่วนแพ่งด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกาเฉพาะคดีในส่วนแพ่ง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งหรือไม่ โดยจำเลยแก้ฎีกาว่า จำเลยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีฐานะเป็นหัวหน้าส่วนบริการมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมีอำนาจหน้าที่ในการให้ข่าวสารข้อมูลของทางราชการเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อปกป้องประโยชน์ของทางราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2529 ข้อ 5 และข้อ 6.3 ดังนั้น เมื่อมีสาเหตุให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นักศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและประชาชนทั่วไปเกิดความสับสนและเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยและจำเลยในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำเลยจึงจำเป็นต้องจัดแถลงข่าว เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นให้แก่บุคลากรกับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และประชาชนทั่วไปทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเผยแพร่ใบปลิวจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และเหตุที่มีการชุมนุมปราศรัยดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการและมีมูลความจริงและเป็นการกระทำในฐานะเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองจากการกระทำละเมิดในมูลคดีแพ่ง ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งนั้น เห็นว่า จำเลยเป็นอธิบการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมีอำนาจหน้าที่ในการให้ข่าวสารข้อมูลของทางราชการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อปกป้องประโยชน์ของทางราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2529 ข้อ 5 และข้อ 6.3 เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏได้ความว่า ผู้บริหารชุดที่ผ่านมาซึ่งมีนายประกอบ เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการจ่ายเงินทดรองราชการของอธิการบดี (Petty cash) และจ่ายเงินบัญชีเงินสนับสนุนการบริการวิชาการ และพัฒนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และมีเจ้าหน้าที่ทุจริตยักยอกเงินกองคลัง สำนักอธิการบดี และทำสัญญาก่อสร้างหอพักนักศึกษาเสียเปรียบเอกชนโดยไม่มีการประเมินราคากลางและให้เอกชนกำหนดราคาแต่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเสียหาย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีโดยจำเลยซึ่งเป็นอธิการบดีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ต่อมาคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชี้มูลว่ามีการกระทำผิดทางวินัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ต่อมาคณะกรรมการสอบสวนได้มีความเห็นลงโทษทางวินัยแก่นายประกอบ อธิการบดีคนเก่า ในเรื่องการใช้จ่ายเงินทดรองของอธิการบดี (Petty cash) โดยมิชอบและโดยมิได้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนทางราชการกับเรื่องทำสัญญาก่อสร้างหอพักนักศึกษาเสียเปรียบเอกชนและให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้บังคับบัญชาในสายงานบริหารงานกองคลังจำนวน 3 คน มีรองอธิการบดีบริหารงานกองคลังในขณะนั้น ผู้อำนวยการกองคลังในขณะนั้นและรักษาการหัวหน้างานงบประมาณขณะนั้น ตามสำเนาคำสั่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต่อมามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการนายประกอบอธิการบดีคนเก่าและปลดบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารชุดที่ผ่านมาหลายคนออกจากราชการในสายงานการบริหารงานกองคลัง ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้บริหารชุดที่ผ่านมาจึงได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา แต่คณะกรรมการดังกล่าวยังคงยืนยันว่า บุคคลดังกล่าวกระทำผิดทางวินัย ส่วนเรื่องการจ่ายเงินบัญชีเงินสนับสนุนการบริหารวิชาการและพัฒนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ขณะจำเลยจัดแถลงข่าวยังอยู่ในระหว่างคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงยังไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด หลังจากคณะกรรมการสอบสวนมีความเห็นให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้บริหารชุดที่ผ่านมาว่ากระทำผิดทางวินัยได้มีใบปลิวและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โจมตีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและจำเลยเกี่ยวกับการบริหารงานในมหาวิทยาลัยและการที่มีคำสั่งลงโทษให้ปลดออกจากราชการและเกิดการชุมนุมปราศรัยในห้องอาหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งตามข่าวหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ มีโจทก์กับพวกเป็นผู้นำในการชุมนุมทำให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยและนักศึกษารวมทั้งสื่อมวลชนที่มาทำข่าวสับสนในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดังนี้ การที่จำเลยจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและบุคลากรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมทั้งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยบางส่วน ในฐานะเป็นอธิการบดีซึ่งทำการแทนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มิได้กระทำเป็นส่วนตัว เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ทำให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดทางวินัยตามข้อ 2 (1) ถึง (3) รวมถึงสาเหตุของการเผยแพร่ใบปลิวและความวุ่นวายที่เกิดจากการชุมนุมปราศรัยของโจทก์กับพวก เพื่อให้ทราบความจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อันเป็นการรักษาชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และปกป้องประโยชน์ของทางราชการย่อมถือเป็นการให้ข่าวสารข้อมูลของทางราชการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายได้ให้อำนาจจำเลยไว้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งในมูลละเมิดแก่โจทก์ได้ เพราะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีในส่วนแพ่งมานั้นจึงไม่ชอบ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในข้ออื่นอีกต่อไป
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฎีกาโจทก์ ยกอุทธรณ์โจทก์และจำเลย ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีส่วนแพ่ง คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้น ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกาให้แก่โจทก์ คืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากที่สั่งคืนให้แก่โจทก์และจำเลยทั้งสามศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
การที่จำเลยจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและบุคลากรของมหาวิทยาลัย อ. รวมทั้งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยบางส่วน ในฐานะเป็นอธิการบดีซึ่งทำการแทนมหาวิทยาลัย อ. มิได้กระทำเป็นส่วนตัว เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย อ. ที่ทำให้มหาวิทยาลัย อ. จำต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดทางวินัย รวมถึงสาเหตุของการเผยแพร่ใบปลิวและความวุ่นวายที่เกิดจากการชุมนุมปราศรัยของโจทก์กับพวก เพื่อให้ทราบความจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย อ. อันเป็นการรักษาชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย อ. และปกป้องประโยชน์ของทางราชการย่อมถือเป็นการให้ข่าวสารข้อมูลของทางราชการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย อ. อันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2529 ให้อำนาจจำเลยไว้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งในมูลละเมิดแก่โจทก์ได้ เพราะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 332 ให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ผู้จัดการ วารสารของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 3 ฉบับ เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 15 วัน โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ และให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 17 กันยายน 2555 อันเป็นวันยื่นฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ และให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อในหนังสือพิมพ์รายวันมติชนและวารสารของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นเวลา 3 วัน ติดต่อกัน โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา ยกฟ้องคดีส่วนอาญา
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องคดีในส่วนแพ่งด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกาเฉพาะคดีในส่วนแพ่ง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งหรือไม่ โดยจำเลยแก้ฎีกาว่า จำเลยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีฐานะเป็นหัวหน้าส่วนบริการมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมีอำนาจหน้าที่ในการให้ข่าวสารข้อมูลของทางราชการเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อปกป้องประโยชน์ของทางราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2529 ข้อ 5 และข้อ 6.3 ดังนั้น เมื่อมีสาเหตุให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นักศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและประชาชนทั่วไปเกิดความสับสนและเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยและจำเลยในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำเลยจึงจำเป็นต้องจัดแถลงข่าว เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นให้แก่บุคลากรกับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และประชาชนทั่วไปทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเผยแพร่ใบปลิวจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และเหตุที่มีการชุมนุมปราศรัยดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการและมีมูลความจริงและเป็นการกระทำในฐานะเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองจากการกระทำละเมิดในมูลคดีแพ่ง ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งนั้น เห็นว่า จำเลยเป็นอธิบการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมีอำนาจหน้าที่ในการให้ข่าวสารข้อมูลของทางราชการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อปกป้องประโยชน์ของทางราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2529 ข้อ 5 และข้อ 6.3 เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏได้ความว่า ผู้บริหารชุดที่ผ่านมาซึ่งมีนายประกอบ เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการจ่ายเงินทดรองราชการของอธิการบดี (Petty cash) และจ่ายเงินบัญชีเงินสนับสนุนการบริการวิชาการ และพัฒนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และมีเจ้าหน้าที่ทุจริตยักยอกเงินกองคลัง สำนักอธิการบดี และทำสัญญาก่อสร้างหอพักนักศึกษาเสียเปรียบเอกชนโดยไม่มีการประเมินราคากลางและให้เอกชนกำหนดราคาแต่เพียงฝ่ายเดียว ทำให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเสียหาย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีโดยจำเลยซึ่งเป็นอธิการบดีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ต่อมาคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชี้มูลว่ามีการกระทำผิดทางวินัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ต่อมาคณะกรรมการสอบสวนได้มีความเห็นลงโทษทางวินัยแก่นายประกอบ อธิการบดีคนเก่า ในเรื่องการใช้จ่ายเงินทดรองของอธิการบดี (Petty cash) โดยมิชอบและโดยมิได้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนทางราชการกับเรื่องทำสัญญาก่อสร้างหอพักนักศึกษาเสียเปรียบเอกชนและให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้บังคับบัญชาในสายงานบริหารงานกองคลังจำนวน 3 คน มีรองอธิการบดีบริหารงานกองคลังในขณะนั้น ผู้อำนวยการกองคลังในขณะนั้นและรักษาการหัวหน้างานงบประมาณขณะนั้น ตามสำเนาคำสั่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต่อมามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการนายประกอบอธิการบดีคนเก่าและปลดบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารชุดที่ผ่านมาหลายคนออกจากราชการในสายงานการบริหารงานกองคลัง ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้บริหารชุดที่ผ่านมาจึงได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา แต่คณะกรรมการดังกล่าวยังคงยืนยันว่า บุคคลดังกล่าวกระทำผิดทางวินัย ส่วนเรื่องการจ่ายเงินบัญชีเงินสนับสนุนการบริหารวิชาการและพัฒนามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ขณะจำเลยจัดแถลงข่าวยังอยู่ในระหว่างคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงยังไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด หลังจากคณะกรรมการสอบสวนมีความเห็นให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้บริหารชุดที่ผ่านมาว่ากระทำผิดทางวินัยได้มีใบปลิวและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โจมตีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและจำเลยเกี่ยวกับการบริหารงานในมหาวิทยาลัยและการที่มีคำสั่งลงโทษให้ปลดออกจากราชการและเกิดการชุมนุมปราศรัยในห้องอาหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งตามข่าวหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ มีโจทก์กับพวกเป็นผู้นำในการชุมนุมทำให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยและนักศึกษารวมทั้งสื่อมวลชนที่มาทำข่าวสับสนในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดังนี้ การที่จำเลยจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและบุคลากรของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมทั้งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยบางส่วน ในฐานะเป็นอธิการบดีซึ่งทำการแทนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มิได้กระทำเป็นส่วนตัว เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ทำให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดทางวินัยตามข้อ 2 (1) ถึง (3) รวมถึงสาเหตุของการเผยแพร่ใบปลิวและความวุ่นวายที่เกิดจากการชุมนุมปราศรัยของโจทก์กับพวก เพื่อให้ทราบความจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อันเป็นการรักษาชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และปกป้องประโยชน์ของทางราชการย่อมถือเป็นการให้ข่าวสารข้อมูลของทางราชการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายได้ให้อำนาจจำเลยไว้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งในมูลละเมิดแก่โจทก์ได้ เพราะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีในส่วนแพ่งมานั้นจึงไม่ชอบ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ในข้ออื่นอีกต่อไป
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฎีกาโจทก์ ยกอุทธรณ์โจทก์และจำเลย ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีส่วนแพ่ง คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้น ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกาให้แก่โจทก์ คืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากที่สั่งคืนให้แก่โจทก์และจำเลยทั้งสามศาลให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
การที่ศาลแรงงานภาค 2 กำหนดประเด็นพิพาทข้อแรกว่า คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 2 ไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยถึงประเด็นนี้พร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ทั้งที่มีประเด็นตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานใช้เวลาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งเกินกำหนด 42 วัน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 จะมีผลทำให้การทำสอบข้อเท็จจริงและทำคำสั่งชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อมาว่า ส. ลูกจ้างของโจทก์ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไป กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่จึงพิพากษายกฟ้องนั้น ก็ยังไม่ได้ตอบประเด็นข้อพิพาทข้อที่ 2 ที่ว่า ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ พร้อมทั้งยังไม่ได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยถึงประเด็นข้อนี้ไว้ด้วย ดังนี้ คำพิพากษาศาลแรงงานภาค 2 จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาใหม่
กำหนดระยะเวลาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำคำสั่งภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันรับคำร้อง และวรรคสอง ที่กำหนดว่าในกรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งได้ภายในกำหนด ก็ให้พนักงานตรวจแรงงานขอขยายเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล หากมิได้สอบสวนข้อเท็จจริงหรือทำคำสั่งเสร็จภายในกำหนด 60 วัน หรือภายในเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ขยาย ย่อมเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานใช้เวลาทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งรวม 57 วันนับแต่วันที่รับคำร้องจาก ส. ลูกจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยที่ 4 สอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง แต่เกินกำหนด 42 วัน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า ระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จของงานให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ปรากฏแนบท้ายประกาศนี้ โดยเอกสารแนบท้ายกำหนดว่า การรับและพิจารณาวินิจฉัยคำร้องรวมทั้งแจ้งคำสั่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีแสวงหาพยานหลักฐานได้ ไม่ซับซ้อนหรือคู่กรณีมาชี้แจงตามกำหนดและให้การครบถ้วน ให้ใช้เวลา 42 วันนั้น ไม่มีผลทำให้คำสั่งของจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 37 และ 38 เพื่อให้การบริหารราชการอำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งจะใช้เป็นข้อพิจารณาส่วนหนึ่งในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของราชการและจัดสรรเงินเพิ่มเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการเท่านั้น
การที่ ส. ลูกจ้างของโจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดเก็บขยะของพนักงานเก็บขยะจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางแล้วปล่อยให้พนักงานเก็บขยะดังกล่าวเก็บเอาสิ่งของที่มีสภาพไร้ประโยชน์ไม่มีมูลค่าหรือราคาของโจทก์ที่วางอยู่บริเวณจุดทิ้งขยะออกไปจากโรงงานของโจทก์ และนำไปทิ้งบริเวณหลุมขยะหลังวัดห้วยยางตามปกติ โดยโจทก์ไม่มีส่วนเบียดบังเอาสิ่งของดังกล่าว แสดงว่า ส. ลูกจ้างของโจทก์ไม่ได้ประสงค์หรือตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย และไม่เป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ ส. ลูกจ้างของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง ที่ 68/2552
จำเลยทั้งสี่ให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานภาค 2 โจทก์แถลงขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ศาลแรงงานภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกจากสารบบความ
ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์ข้อแรกมีว่า คำพิพากษาศาลแรงงานภาค 2 ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 หรือไม่ โจทก์บรรยายสภาพข้อหาของคำฟ้องว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้สอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งภายในกำหนดเวลาตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 ทั้งที่เป็นคดีที่ไม่ซับซ้อนในการแสวงหาพยานและคู่กรณีมาชี้แจงตามกำหนดสามารถวินิจฉัยได้เลย คำสั่งของจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงาน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลแรงงานภาค 2 กำหนดประเด็นพิพาท ข้อ 1 ว่า คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ไว้แล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 2 กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยถึงปัญหาของประเด็นดังกล่าวพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย โดยวินิจฉัยถึงข้อเท็จจริงอันเป็นพฤติกรรมของนายสุนทร ลูกจ้าง ที่กระทำต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเพียงว่านายสุนทรไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์สินของโจทก์ไป ซึ่งแม้จะเกี่ยวพันกับประเด็นพิพาทข้อ 2 ว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้วินิจฉัยตอบคำถามของประเด็นดังกล่าวพร้อมแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าลูกจ้างจงใจทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่อีกเช่นกันที่ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยเพียงว่าลูกจ้างไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์สินของโจทก์จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ แล้วพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์โจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น แต่ปัญหาว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และปัญหาว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางนำสืบโจทก์จำเลยไม่โต้เถียงกันและที่ได้ความจากคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 2 เพียงพอที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาใหม่
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อที่สองว่าการที่จำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานใช้เวลาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง แต่เกินกำหนดระยะเวลา 42 วัน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 จะมีผลให้คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า ระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จของงานให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ปรากฏแนบท้ายประกาศนี้ โดยเอกสารแนบท้ายกำหนดว่า การรับและพิจารณาวินิจฉัยคำร้องรวมทั้งแจ้งคำสั่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีแสวงหาพยานหลักฐานได้ ไม่ซับซ้อนหรือคู่กรณีมาชี้แจงตามกำหนดและให้การครบถ้วน ให้ใช้เวลา 42 วัน นั้น เป็นการออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 37 และมาตรา 38 ที่กำหนดให้ส่วนราชการกำหนดงานแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป เพื่อให้การบริหารราชการได้อำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งจะใช้เป็นข้อพิจารณาส่วนหนึ่งในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการและการจัดสรรเงินเพิ่มเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลแก่ข้าราชการ ส่วนการสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง และวรรคสองที่กำหนดว่าในกรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งได้ภายในกำหนดเวลาก็ให้พนักงานตรวจแรงงานขอขยายระยะเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล หากการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้รับคำร้องของนายสุนทร ลูกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2552 และสอบสวนข้อเท็จจริงจนกระทั่งมีคำสั่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552 รวมระยะเวลา 57 วัน การสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งของจำเลยที่ 4 จึงอยู่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อสุดท้ายว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นการจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่คู่ความไม่โต้แย้งกันว่า วันที่ 9 เมษายน 2552 นายเรวัฒน์ ผู้จัดการโรงงานโจทก์สั่งกำชับให้นายสุนทร ลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งพนักงานรักษาความสะอาดซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลรถที่เข้ามาเก็บขยะภายในโรงงาน ว่าให้ดูแลความเรียบร้อยในการเก็บรวมรวบขยะของโรงงานที่ลูกจ้างในบริษัทโจทก์นำมาทิ้งไว้ในถังที่โจทก์จัดไว้ ณ จุดทิ้งขยะ เพื่อให้พนักงานเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางเก็บไปทิ้ง ต่อมาวันเดียวกันเวลาประมาณ 10 ถึง 11 นาฬิกา รถเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ซึ่งมีนายดอกไม้ พนักงานขับรถเก็บขยะ กับนายบรรเจิด และนายไพโรจน์ พนักงานประจำรถเก็บขยะ เข้าไปเก็บขยะในโรงงานของโจทก์ที่บริเวณจุดทิ้งขยะแล้วเก็บเอาลังพลาสติกสีน้ำเงิน 2 ใบ สีเหลือง 1 ใบ ถังแกลลอนน้ำมันเปล่า 1 ใบ และถุงพลาสติกบรรจุสายไฟสีดำ 1 ถุง ที่ทิ้งไว้บริเวณจุดทิ้งขยะ ซึ่งเป็นของโจทก์ที่มีสภาพไร้ประโยชน์ไม่มีมูลค่าหรือราคาออกไปด้วย และนำไปทิ้งบริเวณหลุมขยะหลังวัดห้วยยางตามปกติ โดยนายสุนทรไม่มีส่วนเบียดบังเอาสิ่งของดังกล่าวไป ดังนี้ แม้นายสุนทรลูกจ้างจะมีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดเก็บขยะของพนักงานเก็บขยะจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางแล้วปล่อยให้มีการเก็บเอาสิ่งของดังกล่าวข้างต้นออกไปจากโรงงานก็ตาม แต่เมื่อสิ่งของอยู่ในสภาพไร้ประโยชน์ไม่มีมูลค่าหรือราคา ยังไม่อาจถือได้ว่านายสุนทรลูกจ้างประสงค์หรือตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นกรณีจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเข้าข้อยกเว้นที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่นายสุนทรลูกจ้าง และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตอันจะเป็นข้อยกเว้นที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่นายสุนทรลูกจ้าง กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่นายสุนทรลูกจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
การที่ศาลแรงงานภาค 2 กำหนดประเด็นพิพาทข้อแรกว่า คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 2 ไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยถึงประเด็นนี้พร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ทั้งที่มีประเด็นตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานใช้เวลาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งเกินกำหนด 42 วัน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 จะมีผลทำให้การทำสอบข้อเท็จจริงและทำคำสั่งชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อมาว่า ส. ลูกจ้างของโจทก์ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไป กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่จึงพิพากษายกฟ้องนั้น ก็ยังไม่ได้ตอบประเด็นข้อพิพาทข้อที่ 2 ที่ว่า ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ พร้อมทั้งยังไม่ได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยถึงประเด็นข้อนี้ไว้ด้วย ดังนี้ คำพิพากษาศาลแรงงานภาค 2 จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาใหม่
กำหนดระยะเวลาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำคำสั่งภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันรับคำร้อง และวรรคสอง ที่กำหนดว่าในกรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งได้ภายในกำหนด ก็ให้พนักงานตรวจแรงงานขอขยายเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล หากมิได้สอบสวนข้อเท็จจริงหรือทำคำสั่งเสร็จภายในกำหนด 60 วัน หรือภายในเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ขยาย ย่อมเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานใช้เวลาทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งรวม 57 วันนับแต่วันที่รับคำร้องจาก ส. ลูกจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยที่ 4 สอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง แต่เกินกำหนด 42 วัน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า ระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จของงานให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ปรากฏแนบท้ายประกาศนี้ โดยเอกสารแนบท้ายกำหนดว่า การรับและพิจารณาวินิจฉัยคำร้องรวมทั้งแจ้งคำสั่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีแสวงหาพยานหลักฐานได้ ไม่ซับซ้อนหรือคู่กรณีมาชี้แจงตามกำหนดและให้การครบถ้วน ให้ใช้เวลา 42 วันนั้น ไม่มีผลทำให้คำสั่งของจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 37 และ 38 เพื่อให้การบริหารราชการอำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งจะใช้เป็นข้อพิจารณาส่วนหนึ่งในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของราชการและจัดสรรเงินเพิ่มเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการเท่านั้น
การที่ ส. ลูกจ้างของโจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดเก็บขยะของพนักงานเก็บขยะจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางแล้วปล่อยให้พนักงานเก็บขยะดังกล่าวเก็บเอาสิ่งของที่มีสภาพไร้ประโยชน์ไม่มีมูลค่าหรือราคาของโจทก์ที่วางอยู่บริเวณจุดทิ้งขยะออกไปจากโรงงานของโจทก์ และนำไปทิ้งบริเวณหลุมขยะหลังวัดห้วยยางตามปกติ โดยโจทก์ไม่มีส่วนเบียดบังเอาสิ่งของดังกล่าว แสดงว่า ส. ลูกจ้างของโจทก์ไม่ได้ประสงค์หรือตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย และไม่เป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ ส. ลูกจ้างของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง ที่ 68/2552
จำเลยทั้งสี่ให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานภาค 2 โจทก์แถลงขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ศาลแรงงานภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกจากสารบบความ
ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์ข้อแรกมีว่า คำพิพากษาศาลแรงงานภาค 2 ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 หรือไม่ โจทก์บรรยายสภาพข้อหาของคำฟ้องว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้สอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งภายในกำหนดเวลาตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 ทั้งที่เป็นคดีที่ไม่ซับซ้อนในการแสวงหาพยานและคู่กรณีมาชี้แจงตามกำหนดสามารถวินิจฉัยได้เลย คำสั่งของจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงาน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลแรงงานภาค 2 กำหนดประเด็นพิพาท ข้อ 1 ว่า คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ไว้แล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 2 กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยถึงปัญหาของประเด็นดังกล่าวพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย โดยวินิจฉัยถึงข้อเท็จจริงอันเป็นพฤติกรรมของนายสุนทร ลูกจ้าง ที่กระทำต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเพียงว่านายสุนทรไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์สินของโจทก์ไป ซึ่งแม้จะเกี่ยวพันกับประเด็นพิพาทข้อ 2 ว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้วินิจฉัยตอบคำถามของประเด็นดังกล่าวพร้อมแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าลูกจ้างจงใจทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่อีกเช่นกันที่ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยเพียงว่าลูกจ้างไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์สินของโจทก์จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ แล้วพิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์โจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น แต่ปัญหาว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และปัญหาว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางนำสืบโจทก์จำเลยไม่โต้เถียงกันและที่ได้ความจากคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 2 เพียงพอที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาใหม่
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อที่สองว่าการที่จำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานใช้เวลาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง แต่เกินกำหนดระยะเวลา 42 วัน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 จะมีผลให้คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า ระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จของงานให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ปรากฏแนบท้ายประกาศนี้ โดยเอกสารแนบท้ายกำหนดว่า การรับและพิจารณาวินิจฉัยคำร้องรวมทั้งแจ้งคำสั่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีแสวงหาพยานหลักฐานได้ ไม่ซับซ้อนหรือคู่กรณีมาชี้แจงตามกำหนดและให้การครบถ้วน ให้ใช้เวลา 42 วัน นั้น เป็นการออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 37 และมาตรา 38 ที่กำหนดให้ส่วนราชการกำหนดงานแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป เพื่อให้การบริหารราชการได้อำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งจะใช้เป็นข้อพิจารณาส่วนหนึ่งในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการและการจัดสรรเงินเพิ่มเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลแก่ข้าราชการ ส่วนการสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง และวรรคสองที่กำหนดว่าในกรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งได้ภายในกำหนดเวลาก็ให้พนักงานตรวจแรงงานขอขยายระยะเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล หากการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้รับคำร้องของนายสุนทร ลูกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2552 และสอบสวนข้อเท็จจริงจนกระทั่งมีคำสั่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552 รวมระยะเวลา 57 วัน การสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งของจำเลยที่ 4 จึงอยู่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อสุดท้ายว่าการกระทำของลูกจ้างเป็นการจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายและเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่คู่ความไม่โต้แย้งกันว่า วันที่ 9 เมษายน 2552 นายเรวัฒน์ ผู้จัดการโรงงานโจทก์สั่งกำชับให้นายสุนทร ลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งพนักงานรักษาความสะอาดซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลรถที่เข้ามาเก็บขยะภายในโรงงาน ว่าให้ดูแลความเรียบร้อยในการเก็บรวมรวบขยะของโรงงานที่ลูกจ้างในบริษัทโจทก์นำมาทิ้งไว้ในถังที่โจทก์จัดไว้ ณ จุดทิ้งขยะ เพื่อให้พนักงานเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางเก็บไปทิ้ง ต่อมาวันเดียวกันเวลาประมาณ 10 ถึง 11 นาฬิกา รถเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ซึ่งมีนายดอกไม้ พนักงานขับรถเก็บขยะ กับนายบรรเจิด และนายไพโรจน์ พนักงานประจำรถเก็บขยะ เข้าไปเก็บขยะในโรงงานของโจทก์ที่บริเวณจุดทิ้งขยะแล้วเก็บเอาลังพลาสติกสีน้ำเงิน 2 ใบ สีเหลือง 1 ใบ ถังแกลลอนน้ำมันเปล่า 1 ใบ และถุงพลาสติกบรรจุสายไฟสีดำ 1 ถุง ที่ทิ้งไว้บริเวณจุดทิ้งขยะ ซึ่งเป็นของโจทก์ที่มีสภาพไร้ประโยชน์ไม่มีมูลค่าหรือราคาออกไปด้วย และนำไปทิ้งบริเวณหลุมขยะหลังวัดห้วยยางตามปกติ โดยนายสุนทรไม่มีส่วนเบียดบังเอาสิ่งของดังกล่าวไป ดังนี้ แม้นายสุนทรลูกจ้างจะมีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดเก็บขยะของพนักงานเก็บขยะจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางแล้วปล่อยให้มีการเก็บเอาสิ่งของดังกล่าวข้างต้นออกไปจากโรงงานก็ตาม แต่เมื่อสิ่งของอยู่ในสภาพไร้ประโยชน์ไม่มีมูลค่าหรือราคา ยังไม่อาจถือได้ว่านายสุนทรลูกจ้างประสงค์หรือตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นกรณีจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเข้าข้อยกเว้นที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่นายสุนทรลูกจ้าง และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตอันจะเป็นข้อยกเว้นที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่นายสุนทรลูกจ้าง กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่นายสุนทรลูกจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ข้อความในหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดให้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 วรรคสอง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวกฎหมายมุ่งประสงค์ให้คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็นการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นของบริษัททราบล่วงหน้า นอกจากจะแจ้งว่าบริษัทจะจัดให้มีการประชุมใหญ่ในวัน เวลา และสถานที่ใดแล้ว ยังกำหนดให้แจ้งถึงสภาพกิจการที่จะได้ประชุมกัน และหากเป็นการเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษก็ต้องระบุข้อความที่จะให้ลงมติอีกด้วย เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จะประชุมกันได้อย่างเต็มที่ สำหรับสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันซึ่งจะต้องระบุไว้ในคำบอกกล่าวนั้น คือเรื่องหรือกิจการที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญหรือกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้น และไม่จำต้องเป็นเรื่องเฉพาะสภาพการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือต้องเป็นเรื่องที่ต้องลงมติพิเศษเท่านั้น เมื่อพิจารณาสำเนาหนังสือขอเชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 แล้ว เห็นได้ว่า ได้ระบุถึงสภาพแห่งกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติเพียง 3 เรื่อง โดยระบุไว้เป็นวาระที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่มีวาระเรื่องการพิจารณาถอดถอนกรรมการของจำเลยที่ 1 ส่วนวาระที่ 4 ระบุว่าพิจารณาเรื่องอื่น (ถ้ามี) นั้น ไม่เป็นการระบุถึงสภาพกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาลงมติ ทั้งผู้ถือหุ้นไม่มีโอกาสเตรียมตัวที่จะมาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้เนื่องจากไม่ทราบว่าจะมีการพิจารณาเพื่อลงมติในเรื่องใดบ้าง หรือกล่าวได้ว่าวาระการประชุมเรื่องอื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ซึ่งในเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1151 ได้กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะถอดถอนได้ แสดงว่าเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทเป็นเรื่องสำคัญ และเห็นได้ว่าเป็นการกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นเนื่องจากเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีอำนาจบริหารกิจการและดูแลผลประโยชน์แทนตน ผู้ถือหุ้นจึงชอบที่จะได้รับทราบโดยการแจ้งถึงเรื่องดังกล่าวล่วงหน้าเพื่อได้เตรียมตัวก่อนเข้าร่วมพิจารณาในที่ประชุม การที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นได้พิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ โดยไม่มีวาระเรื่องการถอดถอนโจทก์ดังกล่าวในคำบอกกล่าวเรียกประชุม เป็นการพิจารณาและลงมตินอกวาระหรือเรื่องที่กำหนดไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งว่าการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ที่ได้ประชุมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2556 เป็นการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นโมฆะ และให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2556 ที่จดทะเบียนให้โจทก์ออกจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนให้โจทก์กลับเข้าเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ต่อไป
จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ที่ให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยทั้งสามไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้โจทก์กลับมาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามเดิมให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 10,000 บาท
จำเลยทั้งสามฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติในชั้นนี้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการโรงแรม ตามสำเนาหนังสือรับรอง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร มีผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 รวม 12 คน โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 กับบุคคลอื่นอีก 9 คน ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ขณะเกิดเหตุคดีนี้นายชวลิต ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายเมื่อปี 2544 และอยู่ระหว่างร้องขอจัดการมรดก ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ตั้งผู้จัดการมรดกของนายชวลิต 6 คน คือ นายไชย จำเลยที่ 3 นางสุนีย์ โจทก์ นางสาวชวเนตร และนางสาวชวนุช ตามสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 นางชมพูนุช กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 เชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ในวันที่ 25 เมษายน 2556 เวลา 10 นาฬิกา ณ ห้องประชุมของสำนักงานจำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณาตามวาระการประชุม ดังนี้ วาระที่ 1 พิจารณารับรองรายงานการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2555 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 วาระที่ 2 พิจารณาอนุมัติและรับรองงบดุล บัญชีกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด ประจำปี 2555 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี 2555 วาระที่ 3 พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าสอบบัญชีบริษัท ประจำปี 2556 วาระที่ 4 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ตามสำเนาหนังสือเชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ต่อมาวันที่ 5 เมษายน 2556 นายเฉลิมพงศ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนางสุนีย์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ จำเลยที่ 1 และเป็นผู้จัดการมรดกของนายชวลิต ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ มีหนังสือถึงผู้จัดการมรดกของนายชวลิตทุกคนให้เข้าร่วมประชุมผู้จัดการมรดกเพื่อพิจารณาเรื่องการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 24 เมษายน 2556 ตามสำเนาหนังสือเชิญประชุม ต่อมาวันที่ 24 เมษายน 2556 ในการประชุมผู้จัดการมรดกของนายชวลิตดังกล่าวที่ประชุมโดยผู้จัดการมรดกของนายชวลิต 4 คน จากจำนวน 6 คน มีมติให้นางสุนีย์เป็นผู้เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้จัดการมรดกของนายชวลิตและออกเสียงลงมติในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ตามสำเนารายงานการประชุมผู้จัดการมรดกของนายชวลิตเอกสารหมาย ในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2556 โจทก์มอบอำนาจให้นางสาวอารายา เป็นผู้รับมอบอำนาจเข้าร่วมประชุมแทน แต่จำเลยที่ 2 ผู้ดำเนินการประชุมเห็นว่าเอกสารการมอบอำนาจของโจทก์ไม่สมบูรณ์จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้เข้าร่วมประชุมและการประชุมได้ดำเนินการพิจารณาไปตามลำดับวาระการประชุมที่แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุม ซึ่งการประชุมในวาระที่ 4 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 และมีมติให้ถอดถอนโจทก์ และในการประชุมใหญ่ดังกล่าวนางสุนีย์ได้ออกเสียงลงคะแนนในทุกวาระโดยใช้สิทธิในหุ้นที่ตนเองถืออยู่และใช้สิทธิในหุ้นของนายชวลิตในฐานะผู้จัดการมรดกของนายชวลิต ตามสำเนารายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 วันที่ 29 เมษายน 2556 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันไปยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ให้โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนสำหรับการประชุมในวาระที่ 1 ถึงที่ 3 โจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า การประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ชอบหรือไม่ จำเลยทั้งสามฎีกาว่า คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 วรรคสอง กำหนดให้ระบุสถานที่ วัน เวลาและสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน ไม่ได้บังคับให้ต้องระบุรายการทุกกิจการไว้เป็นหัวข้อวาระการประชุม เว้นแต่สภาพแห่งกิจการใดที่จะประชุมปรึกษา เพื่อลงมติพิเศษจึงจะมีความจำเป็นต้องระบุไว้ และคำว่าสภาพกิจการหมายความว่า สภาพความเป็นอยู่ของงานที่ประกอบอยู่ในขณะนั้น จึงหมายถึงสภาพการดำเนินธุรกิจของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้น มติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีการกำหนดขึ้นก่อนมีการประชุมใหญ่ แต่เกิดจากการพิจารณาของที่ประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารกิจการของจำเลยที่ 1 มติให้ถอดถอนโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่สภาพกิจการที่มีอยู่ในขณะที่บอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะระบุวาระการประชุมใหญ่ดังกล่าว ในวาระที่ 4 ว่าเป็นวาระการพิจารณาเรื่องอื่น ๆ และที่ประชุมใหญ่สามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 ได้โดยชอบ สำหรับรายงานการประชุมใหญ่ เป็นการบันทึกการประชุมเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญและสรุปโดยรวมไม่ได้บันทึกโดยละเอียดคำต่อคำ จึงไม่อาจนำมารับฟังว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้หยิบยกเรื่องการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณานั้น เห็นว่า ในการเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดสำหรับข้อความในหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 วรรคสอง บัญญัติว่า "คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลาและสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งประสงค์ให้คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็นการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นของบริษัททราบล่วงหน้า นอกจากจะแจ้งว่าบริษัทจะจัดให้มีการประชุมใหญ่ในวัน เวลาและสถานที่ใดแล้ว ยังกำหนดให้แจ้งถึงสภาพกิจการที่จะได้ประชุมกัน และหากเป็นการเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษก็ต้องระบุข้อความที่จะให้ลงมติอีกด้วย เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จะประชุมกันได้อย่างเต็มที่ สำหรับสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันซึ่งจะต้องระบุไว้ในคำบอกกล่าวนั้น คือเรื่องหรือกิจการที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญหรือกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้น และไม่จำต้องเป็นเรื่องเฉพาะสภาพการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้นหรือต้องเป็นเรื่องที่ต้องลงมติพิเศษเท่านั้น เมื่อพิจารณาสำเนาหนังสือขอเชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 แล้ว เห็นได้ว่าได้ระบุถึงสภาพแห่งกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติเพียง 3 เรื่อง โดยระบุไว้เป็นวาระที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่มีวาระเรื่องการพิจารณาถอดถอนกรรมการของจำเลยที่ 1 ส่วนวาระที่ 4 ระบุว่าพิจารณาเรื่องอื่น (ถ้ามี) นั้นไม่เป็นการระบุถึงสภาพกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาลงมติ ทั้งผู้ถือหุ้นไม่มีโอกาสเตรียมตัวที่จะมาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้เนื่องจากไม่ทราบว่าจะมีการพิจารณาเพื่อลงมติในเรื่องใดบ้าง หรือกล่าวได้ว่าวาระการประชุมเรื่องอื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ซึ่งในเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1151 ได้กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะถอดถอนได้ แสดงว่าเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทเป็นเรื่องสำคัญ และเห็นได้ว่าเป็นการกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นเนื่องจากเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีอำนาจบริหารกิจการและดูแลผลประโยชน์แทนตน ผู้ถือหุ้นจึงชอบที่จะได้รับทราบโดยการแจ้งถึงเรื่องดังกล่าวล่วงหน้าเพื่อได้เตรียมตัวก่อนเข้าร่วมพิจารณาในที่ประชุม การที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นได้พิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ โดยไม่มีวาระเรื่องการถอดถอนโจทก์ดังกล่าวในคำบอกกล่าวเรียกประชุม เป็นการพิจารณาและลงมตินอกวาระหรือเรื่องที่กำหนดไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนฎีกาของจำเลยทั้งสามในข้ออื่นไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ข้อความในหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดให้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1175 วรรคสอง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวกฎหมายมุ่งประสงค์ให้คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็นการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นของบริษัททราบล่วงหน้า นอกจากจะแจ้งว่าบริษัทจะจัดให้มีการประชุมใหญ่ในวัน เวลา และสถานที่ใดแล้ว ยังกำหนดให้แจ้งถึงสภาพกิจการที่จะได้ประชุมกัน และหากเป็นการเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษก็ต้องระบุข้อความที่จะให้ลงมติอีกด้วย เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จะประชุมกันได้อย่างเต็มที่ สำหรับสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันซึ่งจะต้องระบุไว้ในคำบอกกล่าวนั้น คือเรื่องหรือกิจการที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญหรือกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้น และไม่จำต้องเป็นเรื่องเฉพาะสภาพการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือต้องเป็นเรื่องที่ต้องลงมติพิเศษเท่านั้น เมื่อพิจารณาสำเนาหนังสือขอเชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 แล้ว เห็นได้ว่า ได้ระบุถึงสภาพแห่งกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติเพียง 3 เรื่อง โดยระบุไว้เป็นวาระที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่มีวาระเรื่องการพิจารณาถอดถอนกรรมการของจำเลยที่ 1 ส่วนวาระที่ 4 ระบุว่าพิจารณาเรื่องอื่น (ถ้ามี) นั้น ไม่เป็นการระบุถึงสภาพกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาลงมติ ทั้งผู้ถือหุ้นไม่มีโอกาสเตรียมตัวที่จะมาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้เนื่องจากไม่ทราบว่าจะมีการพิจารณาเพื่อลงมติในเรื่องใดบ้าง หรือกล่าวได้ว่าวาระการประชุมเรื่องอื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ซึ่งในเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1151 ได้กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะถอดถอนได้ แสดงว่าเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทเป็นเรื่องสำคัญ และเห็นได้ว่าเป็นการกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นเนื่องจากเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีอำนาจบริหารกิจการและดูแลผลประโยชน์แทนตน ผู้ถือหุ้นจึงชอบที่จะได้รับทราบโดยการแจ้งถึงเรื่องดังกล่าวล่วงหน้าเพื่อได้เตรียมตัวก่อนเข้าร่วมพิจารณาในที่ประชุม การที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นได้พิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ โดยไม่มีวาระเรื่องการถอดถอนโจทก์ดังกล่าวในคำบอกกล่าวเรียกประชุม เป็นการพิจารณาและลงมตินอกวาระหรือเรื่องที่กำหนดไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งว่าการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ที่ได้ประชุมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2556 เป็นการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นโมฆะ และให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 ฉบับลงวันที่ 29 เมษายน 2556 ที่จดทะเบียนให้โจทก์ออกจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนให้โจทก์กลับเข้าเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ต่อไป
จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ที่ให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยทั้งสามไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้โจทก์กลับมาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามเดิมให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 10,000 บาท
จำเลยทั้งสามฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติในชั้นนี้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการโรงแรม ตามสำเนาหนังสือรับรอง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร มีผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 รวม 12 คน โดยมีโจทก์ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 กับบุคคลอื่นอีก 9 คน ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ขณะเกิดเหตุคดีนี้นายชวลิต ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายเมื่อปี 2544 และอยู่ระหว่างร้องขอจัดการมรดก ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ตั้งผู้จัดการมรดกของนายชวลิต 6 คน คือ นายไชย จำเลยที่ 3 นางสุนีย์ โจทก์ นางสาวชวเนตร และนางสาวชวนุช ตามสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 นางชมพูนุช กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 เชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ในวันที่ 25 เมษายน 2556 เวลา 10 นาฬิกา ณ ห้องประชุมของสำนักงานจำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณาตามวาระการประชุม ดังนี้ วาระที่ 1 พิจารณารับรองรายงานการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2555 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 วาระที่ 2 พิจารณาอนุมัติและรับรองงบดุล บัญชีกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด ประจำปี 2555 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี 2555 วาระที่ 3 พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าสอบบัญชีบริษัท ประจำปี 2556 วาระที่ 4 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ตามสำเนาหนังสือเชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ต่อมาวันที่ 5 เมษายน 2556 นายเฉลิมพงศ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนางสุนีย์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ จำเลยที่ 1 และเป็นผู้จัดการมรดกของนายชวลิต ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ มีหนังสือถึงผู้จัดการมรดกของนายชวลิตทุกคนให้เข้าร่วมประชุมผู้จัดการมรดกเพื่อพิจารณาเรื่องการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 24 เมษายน 2556 ตามสำเนาหนังสือเชิญประชุม ต่อมาวันที่ 24 เมษายน 2556 ในการประชุมผู้จัดการมรดกของนายชวลิตดังกล่าวที่ประชุมโดยผู้จัดการมรดกของนายชวลิต 4 คน จากจำนวน 6 คน มีมติให้นางสุนีย์เป็นผู้เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้จัดการมรดกของนายชวลิตและออกเสียงลงมติในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ตามสำเนารายงานการประชุมผู้จัดการมรดกของนายชวลิตเอกสารหมาย ในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2556 โจทก์มอบอำนาจให้นางสาวอารายา เป็นผู้รับมอบอำนาจเข้าร่วมประชุมแทน แต่จำเลยที่ 2 ผู้ดำเนินการประชุมเห็นว่าเอกสารการมอบอำนาจของโจทก์ไม่สมบูรณ์จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้เข้าร่วมประชุมและการประชุมได้ดำเนินการพิจารณาไปตามลำดับวาระการประชุมที่แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุม ซึ่งการประชุมในวาระที่ 4 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 และมีมติให้ถอดถอนโจทก์ และในการประชุมใหญ่ดังกล่าวนางสุนีย์ได้ออกเสียงลงคะแนนในทุกวาระโดยใช้สิทธิในหุ้นที่ตนเองถืออยู่และใช้สิทธิในหุ้นของนายชวลิตในฐานะผู้จัดการมรดกของนายชวลิต ตามสำเนารายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 วันที่ 29 เมษายน 2556 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันไปยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ให้โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนสำหรับการประชุมในวาระที่ 1 ถึงที่ 3 โจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า การประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2556 ของจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ชอบหรือไม่ จำเลยทั้งสามฎีกาว่า คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 วรรคสอง กำหนดให้ระบุสถานที่ วัน เวลาและสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน ไม่ได้บังคับให้ต้องระบุรายการทุกกิจการไว้เป็นหัวข้อวาระการประชุม เว้นแต่สภาพแห่งกิจการใดที่จะประชุมปรึกษา เพื่อลงมติพิเศษจึงจะมีความจำเป็นต้องระบุไว้ และคำว่าสภาพกิจการหมายความว่า สภาพความเป็นอยู่ของงานที่ประกอบอยู่ในขณะนั้น จึงหมายถึงสภาพการดำเนินธุรกิจของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้น มติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีการกำหนดขึ้นก่อนมีการประชุมใหญ่ แต่เกิดจากการพิจารณาของที่ประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารกิจการของจำเลยที่ 1 มติให้ถอดถอนโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่สภาพกิจการที่มีอยู่ในขณะที่บอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะระบุวาระการประชุมใหญ่ดังกล่าว ในวาระที่ 4 ว่าเป็นวาระการพิจารณาเรื่องอื่น ๆ และที่ประชุมใหญ่สามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 ได้โดยชอบ สำหรับรายงานการประชุมใหญ่ เป็นการบันทึกการประชุมเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญและสรุปโดยรวมไม่ได้บันทึกโดยละเอียดคำต่อคำ จึงไม่อาจนำมารับฟังว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้หยิบยกเรื่องการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณานั้น เห็นว่า ในการเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดสำหรับข้อความในหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 วรรคสอง บัญญัติว่า "คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลาและสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งประสงค์ให้คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เป็นการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นของบริษัททราบล่วงหน้า นอกจากจะแจ้งว่าบริษัทจะจัดให้มีการประชุมใหญ่ในวัน เวลาและสถานที่ใดแล้ว ยังกำหนดให้แจ้งถึงสภาพกิจการที่จะได้ประชุมกัน และหากเป็นการเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษก็ต้องระบุข้อความที่จะให้ลงมติอีกด้วย เพื่อผู้ถือหุ้นจะได้มีโอกาสเตรียมตัวเพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จะประชุมกันได้อย่างเต็มที่ สำหรับสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันซึ่งจะต้องระบุไว้ในคำบอกกล่าวนั้น คือเรื่องหรือกิจการที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญหรือกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้น และไม่จำต้องเป็นเรื่องเฉพาะสภาพการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้นหรือต้องเป็นเรื่องที่ต้องลงมติพิเศษเท่านั้น เมื่อพิจารณาสำเนาหนังสือขอเชิญประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 แล้ว เห็นได้ว่าได้ระบุถึงสภาพแห่งกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาและลงมติเพียง 3 เรื่อง โดยระบุไว้เป็นวาระที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่มีวาระเรื่องการพิจารณาถอดถอนกรรมการของจำเลยที่ 1 ส่วนวาระที่ 4 ระบุว่าพิจารณาเรื่องอื่น (ถ้ามี) นั้นไม่เป็นการระบุถึงสภาพกิจการหรือเรื่องสำคัญที่จะให้ที่ประชุมพิจารณาลงมติ ทั้งผู้ถือหุ้นไม่มีโอกาสเตรียมตัวที่จะมาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้เนื่องจากไม่ทราบว่าจะมีการพิจารณาเพื่อลงมติในเรื่องใดบ้าง หรือกล่าวได้ว่าวาระการประชุมเรื่องอื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ซึ่งในเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1151 ได้กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะถอดถอนได้ แสดงว่าเรื่องการถอดถอนกรรมการบริษัทเป็นเรื่องสำคัญ และเห็นได้ว่าเป็นการกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นเนื่องจากเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีอำนาจบริหารกิจการและดูแลผลประโยชน์แทนตน ผู้ถือหุ้นจึงชอบที่จะได้รับทราบโดยการแจ้งถึงเรื่องดังกล่าวล่วงหน้าเพื่อได้เตรียมตัวก่อนเข้าร่วมพิจารณาในที่ประชุม การที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นได้พิจารณาและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ในวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ โดยไม่มีวาระเรื่องการถอดถอนโจทก์ดังกล่าวในคำบอกกล่าวเรียกประชุม เป็นการพิจารณาและลงมตินอกวาระหรือเรื่องที่กำหนดไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนฎีกาของจำเลยทั้งสามในข้ออื่นไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่า ล. กับพวกร่วมกันยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท และตราประทับของบริษัทโดยอาศัยมติที่ประชุมอันเป็นเท็จ เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปฟ้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวก่อน และหากโจทก์ชนะคดีจึงจะมีสิทธินำคำพิพากษาไปยื่นต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพื่อรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไข
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียนให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวเป็นคดีนี้จึงไม่ถูกต้อง จำเลยเป็นนายทะเบียนมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จ การที่จำเลยรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท และตราประทับของบริษัทก็เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมาย และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับจดทะเบียนไว้โดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการเพิกถอนรายการจดทะเบียนของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 2983/2553 ลงวันที่ 28 เมษายน 2553 และให้ดำเนินการนำรายการจดทะเบียนต่าง ๆ ของเดิมที่มีอยู่ก่อนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวนำมาจดลงไว้ในทะเบียนของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด ดังเดิม
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า บริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ จำเลยเป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปรากการ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 มีการนัดประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด ครั้งที่ 1/2553 โดยมีโจทก์เป็นประธานในการประชุม นางสาวลัดดากับกรรมการและผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า การประชุมในวันดังกล่าวมีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมไม่ครบ จึงมีการเลื่อนการประชุมออกไปเป็นวันที่ 6 มีนาคม 2553 แต่มีข้อเท็จจริงว่า ในวันดังกล่าวมีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นและมีการลงมติแก้ไขตราประทับของบริษัทให้เป็นตราประทับแบบใหม่ และแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้ หลังจากนั้นนางสาวลัดดาและนายอรรถพงษ์ร่วมกันมอบอำนาจให้นายนพกรไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด โดยแจ้งต่อจำเลยในฐานะนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการเพื่อเปลี่ยนแปลงตามมติดังกล่าว จำเลยได้รับจดข้อความตามคำขอจดทะเบียนแก้ไข จำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัทตามคำขอจดทะเบียนใหม่ โจทก์คัดค้านว่าคำขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่ถูกต้องและขอให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนตราประทับของบริษัทและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนกรรมการและอำนาจของกรรมการที่จำเลยรับจดทะเบียน แต่จำเลยปฏิเสธไม่แก้ไข
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยเพิกถอนรายการจดทะเบียนของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 2983/2553 ลงวันที่ 28 เมษายน 2553 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่านางสาวลัดดาร่วมกับพวกดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัท โดยอาศัยมติที่ประชุมอันเป็นเท็จเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าว หากโจทก์ชนะคดีและศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงจะมีสิทธินำคำพิพากษาไปยื่นต่อจำเลยเพื่อให้จำเลยรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนของกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัท แต่โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียนขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 2983/2553 นั้น ไม่ถูกต้อง จำเลยเป็นนายทะเบียนมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2553 ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จ การที่จำเลยรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัทเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับจดทะเบียนโดยไม่ชอบ กรณีจึงยังหาเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องนั้น ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่า ล. กับพวกร่วมกันยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท และตราประทับของบริษัทโดยอาศัยมติที่ประชุมอันเป็นเท็จ เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปฟ้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวก่อน และหากโจทก์ชนะคดีจึงจะมีสิทธินำคำพิพากษาไปยื่นต่อจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพื่อรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไข
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียนให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวเป็นคดีนี้จึงไม่ถูกต้อง จำเลยเป็นนายทะเบียนมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จ การที่จำเลยรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท และตราประทับของบริษัทก็เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมาย และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับจดทะเบียนไว้โดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการเพิกถอนรายการจดทะเบียนของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 2983/2553 ลงวันที่ 28 เมษายน 2553 และให้ดำเนินการนำรายการจดทะเบียนต่าง ๆ ของเดิมที่มีอยู่ก่อนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวนำมาจดลงไว้ในทะเบียนของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด ดังเดิม
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า บริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ จำเลยเป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปรากการ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 มีการนัดประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด ครั้งที่ 1/2553 โดยมีโจทก์เป็นประธานในการประชุม นางสาวลัดดากับกรรมการและผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม โดยโจทก์กล่าวอ้างว่า การประชุมในวันดังกล่าวมีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมไม่ครบ จึงมีการเลื่อนการประชุมออกไปเป็นวันที่ 6 มีนาคม 2553 แต่มีข้อเท็จจริงว่า ในวันดังกล่าวมีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นและมีการลงมติแก้ไขตราประทับของบริษัทให้เป็นตราประทับแบบใหม่ และแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้ หลังจากนั้นนางสาวลัดดาและนายอรรถพงษ์ร่วมกันมอบอำนาจให้นายนพกรไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด โดยแจ้งต่อจำเลยในฐานะนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการเพื่อเปลี่ยนแปลงตามมติดังกล่าว จำเลยได้รับจดข้อความตามคำขอจดทะเบียนแก้ไข จำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัทตามคำขอจดทะเบียนใหม่ โจทก์คัดค้านว่าคำขอจดทะเบียนดังกล่าวไม่ถูกต้องและขอให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนตราประทับของบริษัทและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนกรรมการและอำนาจของกรรมการที่จำเลยรับจดทะเบียน แต่จำเลยปฏิเสธไม่แก้ไข
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยเพิกถอนรายการจดทะเบียนของบริษัทไทยสตีลบาร์ส จำกัด ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 2983/2553 ลงวันที่ 28 เมษายน 2553 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่านางสาวลัดดาร่วมกับพวกดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัท โดยอาศัยมติที่ประชุมอันเป็นเท็จเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าว หากโจทก์ชนะคดีและศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงจะมีสิทธินำคำพิพากษาไปยื่นต่อจำเลยเพื่อให้จำเลยรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนของกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัท แต่โจทก์กลับนำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียนขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 2983/2553 นั้น ไม่ถูกต้อง จำเลยเป็นนายทะเบียนมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2553 ที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จ การที่จำเลยรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทและตราประทับของบริษัทเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับจดทะเบียนโดยไม่ชอบ กรณีจึงยังหาเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องนั้น ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|