คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า การสำคัญผิดของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเกิดจากข้อมูลราคาประเมินตาราวาละ ๔,๐๐๐ บาท ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งไม่เป็นปัจจุบัน การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ในวันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินรายพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กำหนดจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยชอบตรงตามเจตนาและเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้จดทะเบียนสิทธินิติกรรมโดยคำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ ตามราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท และราคาซื้อขายที่สูงกว่าราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท เพียงเล็กน้อย โดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขาย (ระหว่างเช่า) ที่ดินพิพาทจากผู้ฟ้องคดีทั้งสอง นั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการจดทะเบียนที่ดำเนินการไปถูกต้องแล้วและต่อมาตรวจพบว่ามีความบกพร่องเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วนนั้นมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจที่จะเรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ดังนั้น คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินพิพาทจะต้องถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินโดยต้องถือว่าราคาประเมินที่ดินตารางวาละ ๔๕,๐๐๐ บาท ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ (ผู้ร้อง) เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมิน ๓๕,๔๙๑,๕๐๐ บาท การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงเพียง ๓,๑๕๔,๘๐๐ บาท เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย (กรมสรรพากร) มีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องครบถ้วนได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเหตุลดหรืองดเงินเพิ่มนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ครบถ้วน เนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท ตามที่ยังคงปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานที่ดินซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินที่แท้จริง เป็นเหตุที่ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ (ผู้ร้อง) สมควรให้งดเงินเพิ่มแก่โจทก์ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดไม่สั่งให้เรียกค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเพิ่ม กับไม่เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทและคำพิพากษาศาลฎีกามิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดและคำพิพากษาของศาลฎีกาได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า การสำคัญผิดของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเกิดจากข้อมูลราคาประเมินตาราวาละ ๔,๐๐๐ บาท ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งไม่เป็นปัจจุบัน การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ในวันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินรายพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กำหนดจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยชอบตรงตามเจตนาและเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้จดทะเบียนสิทธินิติกรรมโดยคำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ ตามราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท และราคาซื้อขายที่สูงกว่าราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท เพียงเล็กน้อย โดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขาย (ระหว่างเช่า) ที่ดินพิพาทจากผู้ฟ้องคดีทั้งสอง นั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการจดทะเบียนที่ดำเนินการไปถูกต้องแล้วและต่อมาตรวจพบว่ามีความบกพร่องเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วนนั้นมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจที่จะเรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ดังนั้น คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินพิพาทจะต้องถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินโดยต้องถือว่าราคาประเมินที่ดินตารางวาละ ๔๕,๐๐๐ บาท ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ (ผู้ร้อง) เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมิน ๓๕,๔๙๑,๕๐๐ บาท การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงเพียง ๓,๑๕๔,๘๐๐ บาท เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย (กรมสรรพากร) มีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องครบถ้วนได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเหตุลดหรืองดเงินเพิ่มนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ครบถ้วน เนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท ตามที่ยังคงปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานที่ดินซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินที่แท้จริง เป็นเหตุที่ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ (ผู้ร้อง) สมควรให้งดเงินเพิ่มแก่โจทก์ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดไม่สั่งให้เรียกค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเพิ่ม กับไม่เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทและคำพิพากษาศาลฎีกามิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดและคำพิพากษาของศาลฎีกาได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ กับศาลปกครองสูงสุด โดยผู้ร้องเห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคในที่ดินจัดสรรโครงการ ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว และศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องกับพวกจึงไม่ต้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตลอดจนบำรุงรักษา แต่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคยังจัดทำไม่แล้วเสร็จตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต จึงพิพากษาให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนครนายก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการให้ผู้ร้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันในการจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันหรือไม่ โดยคดีของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เป็นคดีที่ผู้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการฟ้องผู้ร้องและผู้จัดสรรที่ดินเดิมเป็นคดีผู้บริโภค อ้างว่าผู้ร้องกับพวกมิได้ก่อสร้างหรือดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะภายในโครงการ คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้ได้วินิจฉัยตอนหนึ่งว่า สาธารณูปโภคหลัก ๆ ภายในโครงการพิพาทจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ได้วินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ร้องกับพวกยังไม่ได้จัดทำบริการสาธารณะให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ และการจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ นอกจากจะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ยังจะต้องบำรุงรักษาให้มีสภาพคงอยู่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามที่ควรจะเป็นด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่าผู้ร้องจัดทำสาธารณูปโภคเสร็จเรียบร้อยแล้ว อันจะเป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยชัดเจนว่า ข้อเท็จจริงฟังว่าสาธารณูปโภคในโครงการพิพาทบางส่วนยังจัดทำไม่แล้วเสร็จและบางส่วนไม่มีการบำรุงรักษา และบริการสาธารณะบางอย่างยังไม่ได้จัดทำ ซึ่งสอดคล้องกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดทำสาธารณูปโภคแล้วเสร็จหรือไม่ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และศาลปกครองสูงสุดจึงมิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ กับศาลปกครองสูงสุด โดยผู้ร้องเห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคในที่ดินจัดสรรโครงการ ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว และศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องกับพวกจึงไม่ต้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตลอดจนบำรุงรักษา แต่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคยังจัดทำไม่แล้วเสร็จตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต จึงพิพากษาให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนครนายก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการให้ผู้ร้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันในการจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันหรือไม่ โดยคดีของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เป็นคดีที่ผู้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการฟ้องผู้ร้องและผู้จัดสรรที่ดินเดิมเป็นคดีผู้บริโภค อ้างว่าผู้ร้องกับพวกมิได้ก่อสร้างหรือดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะภายในโครงการ คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้ได้วินิจฉัยตอนหนึ่งว่า สาธารณูปโภคหลัก ๆ ภายในโครงการพิพาทจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ได้วินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ร้องกับพวกยังไม่ได้จัดทำบริการสาธารณะให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ และการจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ นอกจากจะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ยังจะต้องบำรุงรักษาให้มีสภาพคงอยู่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามที่ควรจะเป็นด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่าผู้ร้องจัดทำสาธารณูปโภคเสร็จเรียบร้อยแล้ว อันจะเป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยชัดเจนว่า ข้อเท็จจริงฟังว่าสาธารณูปโภคในโครงการพิพาทบางส่วนยังจัดทำไม่แล้วเสร็จและบางส่วนไม่มีการบำรุงรักษา และบริการสาธารณะบางอย่างยังไม่ได้จัดทำ ซึ่งสอดคล้องกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดทำสาธารณูปโภคแล้วเสร็จหรือไม่ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และศาลปกครองสูงสุดจึงมิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้น อยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ..." เมื่อคดีนี้จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การ โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการที่จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตน อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้น อยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ..." เมื่อคดีนี้จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การ โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการที่จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตน อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ เพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องว่า คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ขัดแย้งกับคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครองกลางหรือไม่ เห็นว่า ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างเจ้าของร่วมในอาคารชุด ส. ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดกับบริษัท ธ. จำกัด จำเลย ซึ่งเป็นผู้ขายตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ได้โฆษณาโครงการโดยระบุอย่างชัดแจ้งว่าอาคารชุด ส. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ และในการขออนุญาตก่อสร้างโครงการอาคารชุดดังกล่าวก็ระบุว่า เป็นการก่อสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนคำพิพากษาของศาลปกครองกลางเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ จดทะเบียนอาคารชุดโดยระบุทรัพย์ส่วนกลาง คือ ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๓ เพียงแปลงเดียวเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลปกครองกลางจะพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลางชอบด้วยกฎหมายแล้วก็เป็นการวินิจฉัยการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้ขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวผูกพันต้องปฏิบัติตามประกาศโฆษณาโครงการของตนที่ระบุให้โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลาง อันเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่ได้ชี้แจงว่ามีเหตุขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด หรือหากมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖๕ ก็ได้บัญญัติให้อำนาจศาลในคดีดังกล่าวแก้ไขข้อขัดข้องได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ เพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องว่า คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ขัดแย้งกับคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครองกลางหรือไม่ เห็นว่า ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างเจ้าของร่วมในอาคารชุด ส. ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดกับบริษัท ธ. จำกัด จำเลย ซึ่งเป็นผู้ขายตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ได้โฆษณาโครงการโดยระบุอย่างชัดแจ้งว่าอาคารชุด ส. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ และในการขออนุญาตก่อสร้างโครงการอาคารชุดดังกล่าวก็ระบุว่า เป็นการก่อสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนคำพิพากษาของศาลปกครองกลางเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ จดทะเบียนอาคารชุดโดยระบุทรัพย์ส่วนกลาง คือ ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๓ เพียงแปลงเดียวเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลปกครองกลางจะพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลางชอบด้วยกฎหมายแล้วก็เป็นการวินิจฉัยการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้ขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวผูกพันต้องปฏิบัติตามประกาศโฆษณาโครงการของตนที่ระบุให้โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลาง อันเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่ได้ชี้แจงว่ามีเหตุขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด หรือหากมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖๕ ก็ได้บัญญัติให้อำนาจศาลในคดีดังกล่าวแก้ไขข้อขัดข้องได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันและจะส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบและศาลทั้งสองศาลนั้น มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแตกต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ล. โจทก์ บริษัท ค. จำเลย (ผู้ร้อง) ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน โดยไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่พิพาทกันในคดีปกครองตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ประเด็นข้อพิพาทของทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน แม้ในคดีปกครองจะมีปัญหาข้อเท็จจริงในบางประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่า บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ได้จัดทำถนนถูกต้องตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ไม่กำกับดูแล และตรวจสอบให้ ผู้ร้องสอดทำการก่อสร้างในโครงการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามแบบและแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยพิจารณาจากสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดี มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดา ซึ่งการจะบังคับการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมของศาลนั้นก็เป็นความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างคู่สัญญา ส่วนการที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจตามมาตรา ๕๒ ประกอบมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ สั่งให้บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ดำเนินการก่อสร้างถนนสายหลักและบ่อบำบัดน้ำเสียในโครงการให้ตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่คดีถึงที่สุด คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก เป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองเพื่อบังคับให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ขัดแย้งกันกับคดีแพ่ง ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกันและไม่ขัดแย้งกัน ทั้งปัญหากรณีที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี คำร้องของผู้ร้องไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันและจะส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบและศาลทั้งสองศาลนั้น มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแตกต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ล. โจทก์ บริษัท ค. จำเลย (ผู้ร้อง) ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน โดยไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่พิพาทกันในคดีปกครองตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ประเด็นข้อพิพาทของทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน แม้ในคดีปกครองจะมีปัญหาข้อเท็จจริงในบางประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่า บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ได้จัดทำถนนถูกต้องตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ไม่กำกับดูแล และตรวจสอบให้ ผู้ร้องสอดทำการก่อสร้างในโครงการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามแบบและแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยพิจารณาจากสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดี มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดา ซึ่งการจะบังคับการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมของศาลนั้นก็เป็นความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างคู่สัญญา ส่วนการที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจตามมาตรา ๕๒ ประกอบมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ สั่งให้บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ดำเนินการก่อสร้างถนนสายหลักและบ่อบำบัดน้ำเสียในโครงการให้ตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่คดีถึงที่สุด คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก เป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองเพื่อบังคับให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ขัดแย้งกันกับคดีแพ่ง ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกันและไม่ขัดแย้งกัน ทั้งปัญหากรณีที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี คำร้องของผู้ร้องไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบสามยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบสามยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบสามยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบสามยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลสองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการ กับคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดแพร่ยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวก เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดแพร่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗, ๙๐, ๘๓ และ ๘๖ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ประเด็นแห่งคดีของศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้แก่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกา ได้แก่การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗ ประกอบมาตรา ๘๓ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ จึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลสองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการ กับคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดแพร่ยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวก เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดแพร่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗, ๙๐, ๘๓ และ ๘๖ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ประเด็นแห่งคดีของศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้แก่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกา ได้แก่การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗ ประกอบมาตรา ๘๓ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ จึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเองอันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเองอันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คดีที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๔ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีโดยอาศัยมูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างกัน และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแตกต่างกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏว่า คำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าขัดแย้งกัน เป็นคำพิพากษาของศาลยุติธรรมด้วยกัน และคำสั่งในคดีของศาลปกครองระยอง เป็นเพียงคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ซึ่งศาลปกครองระยองยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแต่อย่างใด ทั้งไม่ใช่คู่ความเดียวกัน จึงมิใช่กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามความหมายของมาตรา ๑๔ ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องทั้งสอง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
คดีที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๔ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีโดยอาศัยมูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างกัน และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแตกต่างกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏว่า คำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าขัดแย้งกัน เป็นคำพิพากษาของศาลยุติธรรมด้วยกัน และคำสั่งในคดีของศาลปกครองระยอง เป็นเพียงคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ซึ่งศาลปกครองระยองยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแต่อย่างใด ทั้งไม่ใช่คู่ความเดียวกัน จึงมิใช่กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามความหมายของมาตรา ๑๔ ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องทั้งสอง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลยุติธรรม จำเลยโต้แย้งคัดค้านเขตอำนาจศาลไว้คำให้การว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมจัดทำความเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลตน เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง กำหนดว่าหากคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งก็จะต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานของศาลยุติธรรม แต่การโต้แย้งเขตอำนาจศาลในกรณีนี้เป็นการโต้แย้งไว้ในคำให้การโดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะจึงเป็นการโต้แย้งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเอง อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลยุติธรรม จำเลยโต้แย้งคัดค้านเขตอำนาจศาลไว้คำให้การว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมจัดทำความเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลตน เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง กำหนดว่าหากคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งก็จะต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานของศาลยุติธรรม แต่การโต้แย้งเขตอำนาจศาลในกรณีนี้เป็นการโต้แย้งไว้ในคำให้การโดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะจึงเป็นการโต้แย้งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเอง อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลฎีกาและศาลปกครองนครศรีธรรมราชขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง โดยคดีแรกศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า การออกโฉนดที่ดินพิพาททั้งฉบับของผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์
ไม่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของนายอ. ซึ่งเป็นจำเลยที่ ๑ ให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่ไม่ชอบ ส่วนคดีหลังศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิพากษาว่า นาง ร. ผู้ฟ้องคดี มิใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี แต่ผู้ร้องต่างหากซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ กระบวนการออกโฉนดของผู้ร้องดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง
คณะกรรมการ เห็นว่า แม้ว่าคำพิพากษาของทั้งสองศาลจะเป็นการวินิจฉัยถึงผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดของผู้ร้องซึ่งเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม แต่มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องนายอ. ต่อศาลยุติธรรมแล้วนาย อ. กลับมาเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องต่อศาลปกครอง เพราะคดีที่ศาลปกครองนาง ร. เป็นผู้ฟ้องผู้ร้องต่างหาก ทั้งข้อเท็จจริงที่ทั้งสองศาลอาศัยเป็นหลักในการวินิจฉัยก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า หากบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาจะทำให้ผู้ร้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปบางส่วนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องนั้น เห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมผูกพันผู้ร้องและนายอ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ส่วนคำพิพากษาศาลปกครองก็ย่อมผูกพันผู้ร้องและนาง ร. เช่นกัน ตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา ๗๐ และมาตรา ๗๑ (๔) ดังนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องก็ใช้ยันกับนาง ร. ได้ตามคำพิพากษาศาลปกครองและคงมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่อย่างนั้นหาได้สูญเสียหรือลดน้อยถอยลงไปแต่อย่างใดไม่ อีกทั้งยังผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า ส่วนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาก็เป็นเรื่องที่นาย อ. สามารถใช้ยันกับผู้ร้องได้เช่นกันซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน คำพิพากษาทั้งสองศาลจึงไม่ขัดกันเพราะมิใช่เป็นเรื่องของคู่ความเดียวกันและไม่ใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน คำร้องจึงไม่ชอบด้วย มาตรา ๑๔ แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ อาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัยฯ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลฎีกาและศาลปกครองนครศรีธรรมราชขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง โดยคดีแรกศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า การออกโฉนดที่ดินพิพาททั้งฉบับของผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์
ไม่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของนายอ. ซึ่งเป็นจำเลยที่ ๑ ให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่ไม่ชอบ ส่วนคดีหลังศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิพากษาว่า นาง ร. ผู้ฟ้องคดี มิใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี แต่ผู้ร้องต่างหากซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ กระบวนการออกโฉนดของผู้ร้องดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง
คณะกรรมการ เห็นว่า แม้ว่าคำพิพากษาของทั้งสองศาลจะเป็นการวินิจฉัยถึงผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดของผู้ร้องซึ่งเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม แต่มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องนายอ. ต่อศาลยุติธรรมแล้วนาย อ. กลับมาเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องต่อศาลปกครอง เพราะคดีที่ศาลปกครองนาง ร. เป็นผู้ฟ้องผู้ร้องต่างหาก ทั้งข้อเท็จจริงที่ทั้งสองศาลอาศัยเป็นหลักในการวินิจฉัยก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า หากบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาจะทำให้ผู้ร้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปบางส่วนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องนั้น เห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมผูกพันผู้ร้องและนายอ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ส่วนคำพิพากษาศาลปกครองก็ย่อมผูกพันผู้ร้องและนาง ร. เช่นกัน ตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา ๗๐ และมาตรา ๗๑ (๔) ดังนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องก็ใช้ยันกับนาง ร. ได้ตามคำพิพากษาศาลปกครองและคงมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่อย่างนั้นหาได้สูญเสียหรือลดน้อยถอยลงไปแต่อย่างใดไม่ อีกทั้งยังผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า ส่วนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาก็เป็นเรื่องที่นาย อ. สามารถใช้ยันกับผู้ร้องได้เช่นกันซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน คำพิพากษาทั้งสองศาลจึงไม่ขัดกันเพราะมิใช่เป็นเรื่องของคู่ความเดียวกันและไม่ใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน คำร้องจึงไม่ชอบด้วย มาตรา ๑๔ แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ อาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัยฯ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทในคดีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่าขัดแย้งกันแล้วเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ โจทก์หรือผู้ร้องมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพ
มหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งโครงการของบริษัทของผู้ร้องทั้งสองติด "ถนนสาธารณะ" ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ หรือไม่ แม้คดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลทั้งสองต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า ถนนซอยพร้อมจิตรหรือที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ มีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่าโจทก์และผู้ร้องในคดีแพ่งมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ และการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีของศาลปกครองว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องและบริษัท พ. โดยมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินติดถนนซอยพร้อมจิตรซึ่งมีสภาพเป็นถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร หรือไม่ แต่ทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยตรงกันว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยสภาพแห่งการใช้จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพียงแต่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยต่อไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยตีความข้อกฎหมายคำว่า"ถนนสาธารณะ" ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งศาลในคดีแพ่งมิได้
วินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพความเป็นถนนสาธารณะ เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทในคดีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่าขัดแย้งกันแล้วเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ โจทก์หรือผู้ร้องมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพ
มหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งโครงการของบริษัทของผู้ร้องทั้งสองติด "ถนนสาธารณะ" ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ หรือไม่ แม้คดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลทั้งสองต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า ถนนซอยพร้อมจิตรหรือที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ มีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่าโจทก์และผู้ร้องในคดีแพ่งมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ และการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีของศาลปกครองว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องและบริษัท พ. โดยมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินติดถนนซอยพร้อมจิตรซึ่งมีสภาพเป็นถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร หรือไม่ แต่ทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยตรงกันว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยสภาพแห่งการใช้จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพียงแต่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยต่อไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยตีความข้อกฎหมายคำว่า"ถนนสาธารณะ" ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งศาลในคดีแพ่งมิได้
วินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพความเป็นถนนสาธารณะ เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทในคดีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่าขัดแย้งกันแล้วเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ โจทก์หรือผู้ร้องมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งโครงการของบริษัทของผู้ร้องทั้งสองติด "ถนนสาธารณะ" ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ หรือไม่ แม้คดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลทั้งสองต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า ถนนซอยพร้อมจิตรหรือที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ มีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่าโจทก์และผู้ร้องในคดีแพ่งมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ และการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีของศาลปกครองว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องและบริษัท พ. โดยมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินติดถนนซอยพร้อมจิตรซึ่งมีสภาพเป็นถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร หรือไม่ แต่ทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยตรงกันว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยสภาพแห่งการใช้จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพียงแต่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยต่อไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยตีความข้อกฎหมายคำว่า"ถนนสาธารณะ" ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งศาลในคดีแพ่งมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพความเป็นถนนสาธารณะ เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทในคดีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่าขัดแย้งกันแล้วเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ โจทก์หรือผู้ร้องมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งโครงการของบริษัทของผู้ร้องทั้งสองติด "ถนนสาธารณะ" ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ หรือไม่ แม้คดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลทั้งสองต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า ถนนซอยพร้อมจิตรหรือที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ มีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่าโจทก์และผู้ร้องในคดีแพ่งมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ และการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีของศาลปกครองว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องและบริษัท พ. โดยมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินติดถนนซอยพร้อมจิตรซึ่งมีสภาพเป็นถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร หรือไม่ แต่ทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยตรงกันว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยสภาพแห่งการใช้จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพียงแต่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยต่อไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยตีความข้อกฎหมายคำว่า"ถนนสาธารณะ" ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งศาลในคดีแพ่งมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพความเป็นถนนสาธารณะ เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาล ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลมีคำวินิจฉัยว่า คดีของผู้ฟ้องคดีเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ศาลปกครองจึงมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรม ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นคำร้องโดยตรงต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการฟ้องคดีที่ศาลยุติธรรม ขอให้วินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เห็นว่า การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการโดยตรงเพื่อพิจารณานั้นจะต้องเป็นกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพรบ.ว่าด้วยการวินิจฉัยฯ เท่านั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลปกครอง ซึ่งได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตาม พรบ.ว่าด้วยการวินิจฉัยฯ มาตรา ๑๑ โดยชอบแล้ว คำร้องดังกล่าวของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยพรบ.ว่าด้วยการวินิจฉัยฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการฯ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาล ต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลมีคำวินิจฉัยว่า คดีของผู้ฟ้องคดีเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ศาลปกครองจึงมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรม ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นคำร้องโดยตรงต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการฟ้องคดีที่ศาลยุติธรรม ขอให้วินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เห็นว่า การยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการโดยตรงเพื่อพิจารณานั้นจะต้องเป็นกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพรบ.ว่าด้วยการวินิจฉัยฯ เท่านั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลปกครอง ซึ่งได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตาม พรบ.ว่าด้วยการวินิจฉัยฯ มาตรา ๑๑ โดยชอบแล้ว คำร้องดังกล่าวของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยพรบ.ว่าด้วยการวินิจฉัยฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการฯ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่า ในระหว่างพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลที่รับฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลที่รับฟ้อง แต่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้จัดทำความเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของตนแล้วส่งไปให้ศาลปกครองระยองซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นและศาลปกครองระยองมีความเห็นพ้องกันกับศาลจังหวัดกบินทร์บุรีว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีจึงมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป กรณีจึงเป็นการที่ศาลที่รับฟ้องปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่มีกรณีขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลทำการพิจารณาวินิจฉัยอีก ทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นมิได้ให้อำนาจผู้ร้องที่จะยื่นเรื่องโดยตรงต่อคณะกรรมการได้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดว่าศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในคดีดังกล่าวอีกครั้ง จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่า ในระหว่างพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลที่รับฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลที่รับฟ้อง แต่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้จัดทำความเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของตนแล้วส่งไปให้ศาลปกครองระยองซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นและศาลปกครองระยองมีความเห็นพ้องกันกับศาลจังหวัดกบินทร์บุรีว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีจึงมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป กรณีจึงเป็นการที่ศาลที่รับฟ้องปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่มีกรณีขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลทำการพิจารณาวินิจฉัยอีก ทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นมิได้ให้อำนาจผู้ร้องที่จะยื่นเรื่องโดยตรงต่อคณะกรรมการได้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดว่าศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในคดีดังกล่าวอีกครั้ง จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยตรงต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี มีความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาล กับผู้ฟ้องคดีในคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลปกครอง เมื่อการยื่นคำร้องของผู้ร้องคดีนี้ มิใช่กรณีการเริ่มกระบวนการโดยยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องคดีเพื่อให้ส่งความเห็นไปยังศาลที่ผู้ร้องว่าเห็นว่าอยู่ในเขตอำนาจ และศาลที่ส่งความเห็นกับศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) กรณีดังกล่าวจึงยังไม่เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ชอบที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งให้ยกคำร้องตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
(คำสั่ง) ที่ ๑/๒๕๕๗
วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๗
เรื่อง การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
-
ระหว่าง
-
การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างผู้ร้องและนายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ฟ้องคดี ในคดีของศาลปกครองกลาง หมายเลขดำที่ ๒๕/๒๕๕๗
ข้อเท็จจริงในคดี
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษยื่นคำร้อง ลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๗ ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๕/๒๕๕๗ กรณีคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ ให้รับคดีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาสืบเนื่องจากการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบางจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นมา รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนในการกระทำความผิดด้วยและความผิดที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกัน เป็นคดีพิเศษ ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและเพิกถอนมติคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ตลอดจนการใช้อำนาจตามกฎหมายใดๆ ที่เกิดจากมติคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ดังกล่าว ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม อันเป็นกรณีที่มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลระหว่างผู้ร้องและผู้ฟ้องคดีในคดีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอให้พิจารณาวินิจฉัยให้เป็นที่ยุติ
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คำร้องของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงคดีนี้สืบเนื่องมาจากนายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง กรณีคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติให้รับคดีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาสืบเนื่องจากการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบางจังหวัด ตั้งแต่วันที่๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นมา รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนในการกระทำความผิดด้วยและความผิดที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกัน เป็นคดีพิเศษ ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและเพิกถอนมติคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ตลอดจนการใช้อำนาจตามกฎหมายใดๆ ที่เกิดจากมติคณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) ดังกล่าว อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ยื่นคำร้องโดยตรงต่อคณะกรรมการ โดยเห็นว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างผู้ร้องและนายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ฟ้องคดี
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นกรรมการ และวรรคสอง บัญญัติว่า หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลกรณีมีปัญหาว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดไว้ในมาตรา ๑๐ ว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ในกรณีเช่นว่านี้ให้ศาลที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าศาลที่ส่งความเห็นมีความเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลตน และศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลดังกล่าว ให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลเดิมนั้นต่อไป
(๒) ถ้าศาลที่ส่งความเห็นมีความเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งที่คู่ความอ้าง และศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลดังกล่าว ให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลนั้น หรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ ทั้งนี้ ตามที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรม
(๓) ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องที่คณะกรรมการจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดได้จึงต้องเป็นไปตามที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้อำนาจไว้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลโดยตรงต่อคณะกรรมการ มิใช่กรณีเริ่มกระบวนการโดยการยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องคดีเพื่อให้ส่งความเห็นไปยังศาลที่ผู้ร้องว่าเห็นว่าอยู่ในเขตอำนาจ และศาลที่ส่งความเห็นกับศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) กรณีดังกล่าวจึงยังไม่เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงมีคำสั่งว่า คำร้องของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
(ลงชื่อ) ดิเรก อิงคนินันท์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายดิเรก อิงคนินันท์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลตรี พัฒนพงษ์ เกิดอุดม
(กฤษฎา เจริญพานิช) (พัฒนพงษ์ เกิดอุดม)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยตรงต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี มีความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาล กับผู้ฟ้องคดีในคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลปกครอง เมื่อการยื่นคำร้องของผู้ร้องคดีนี้ มิใช่กรณีการเริ่มกระบวนการโดยยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องคดีเพื่อให้ส่งความเห็นไปยังศาลที่ผู้ร้องว่าเห็นว่าอยู่ในเขตอำนาจ และศาลที่ส่งความเห็นกับศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) กรณีดังกล่าวจึงยังไม่เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ชอบที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งให้ยกคำร้องตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
(คำสั่ง) ที่ ๑/๒๕๕๗
วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๗
เรื่อง การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
-
ระหว่าง
-
การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างผู้ร้องและนายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ฟ้องคดี ในคดีของศาลปกครองกลาง หมายเลขดำที่ ๒๕/๒๕๕๗
ข้อเท็จจริงในคดี
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษยื่นคำร้อง ลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๗ ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๕/๒๕๕๗ กรณีคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ ให้รับคดีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาสืบเนื่องจากการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบางจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นมา รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนในการกระทำความผิดด้วยและความผิดที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกัน เป็นคดีพิเศษ ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและเพิกถอนมติคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ตลอดจนการใช้อำนาจตามกฎหมายใดๆ ที่เกิดจากมติคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ดังกล่าว ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม อันเป็นกรณีที่มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลระหว่างผู้ร้องและผู้ฟ้องคดีในคดีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอให้พิจารณาวินิจฉัยให้เป็นที่ยุติ
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คำร้องของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงคดีนี้สืบเนื่องมาจากนายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง กรณีคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติให้รับคดีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาสืบเนื่องจากการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและบางจังหวัด ตั้งแต่วันที่๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นมา รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนในการกระทำความผิดด้วยและความผิดที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกัน เป็นคดีพิเศษ ขอให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและเพิกถอนมติคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ตลอดจนการใช้อำนาจตามกฎหมายใดๆ ที่เกิดจากมติคณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) ดังกล่าว อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ยื่นคำร้องโดยตรงต่อคณะกรรมการ โดยเห็นว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างผู้ร้องและนายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ฟ้องคดี
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นกรรมการ และวรรคสอง บัญญัติว่า หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลกรณีมีปัญหาว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดไว้ในมาตรา ๑๐ ว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ในกรณีเช่นว่านี้ให้ศาลที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าศาลที่ส่งความเห็นมีความเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลตน และศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลดังกล่าว ให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลเดิมนั้นต่อไป
(๒) ถ้าศาลที่ส่งความเห็นมีความเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งที่คู่ความอ้าง และศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลดังกล่าว ให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลนั้น หรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ ทั้งนี้ ตามที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรม
(๓) ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องที่คณะกรรมการจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดได้จึงต้องเป็นไปตามที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้อำนาจไว้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลโดยตรงต่อคณะกรรมการ มิใช่กรณีเริ่มกระบวนการโดยการยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องคดีเพื่อให้ส่งความเห็นไปยังศาลที่ผู้ร้องว่าเห็นว่าอยู่ในเขตอำนาจ และศาลที่ส่งความเห็นกับศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) กรณีดังกล่าวจึงยังไม่เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงมีคำสั่งว่า คำร้องของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
(ลงชื่อ) ดิเรก อิงคนินันท์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายดิเรก อิงคนินันท์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลตรี พัฒนพงษ์ เกิดอุดม
(กฤษฎา เจริญพานิช) (พัฒนพงษ์ เกิดอุดม)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องที่ขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการมีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นการไม่ชอบ เห็นว่า คำร้องดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมิใช่กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
(คำสั่ง) ที่ ๑๒๓/๒๕๕๖
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
เรื่อง การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
-
ระหว่าง
-
การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ
พันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และมีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงเป็นการไม่ชอบ อันเป็นกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙
ข้อเท็จจริงในคดี
พันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ยื่นคำร้องลงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของประธานรัฐสภาที่ส่งความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิภา (สรรหา) กับพวกรวม ๕๐ คน และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กับพวกรวม ๖๒ คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ มาตรา ๒๗ ส่วนของสำนักงานศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลปกครอง และมาตรา ๒๘ ส่วนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขัดแย้งหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้ปรับลดงบประมาณจากที่หน่วยงานได้เสนอขอจัดสรร รวมทั้งในชั้นแปรญัตติของคณะกรรมาธิการ ไม่มีการเชิญหน่วยงานดังกล่าวร่วมหารือด้วย โดยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงต่อศาลในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ผู้ร้องเห็นว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร มาตรา ๑๙๘ บัญญัติให้บรรดาศาลจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ มาตรา ๒๑๖ และมาตรา ๓๐๐ บัญญัติให้วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและไม่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดไว้ การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องดังกล่าวและมีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ ขอให้รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คำร้องของพันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นกรรมการ และวรรคสอง บัญญัติว่า หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลไว้ ๓ ลักษณะ ได้แก่ กรณีมีปัญหาว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่งและวรรคสอง กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ และกรณีอื่นที่อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๕ ดังนั้น คำร้องที่คณะกรรมการจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดได้จึงต้องเป็นกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ กล่าวคือ จะต้องเป็นการขัดแย้งอำนาจหน้าที่กันระหว่างศาลแต่ละระบบ ศาลยุติธรรมกับศาลปกครอง ศาลปกครองกับศาลทหาร หรือศาลทหารกับศาลยุติธรรม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องที่ขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการมีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นการไม่ชอบ ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมิใช่กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงมีคำสั่งว่า คำร้องของพันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
(ลงชื่อ) ดิเรก อิงคนินันท์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายดิเรก อิงคนินันท์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลตรี พัฒนพงษ์ เกิดอุดม
(กฤษฎา เจริญพานิช) (พัฒนพงษ์ เกิดอุดม)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องที่ขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการมีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นการไม่ชอบ เห็นว่า คำร้องดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมิใช่กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
(คำสั่ง) ที่ ๑๒๓/๒๕๕๖
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
เรื่อง การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
-
ระหว่าง
-
การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ
พันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และมีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงเป็นการไม่ชอบ อันเป็นกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙
ข้อเท็จจริงในคดี
พันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ยื่นคำร้องลงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของประธานรัฐสภาที่ส่งความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิภา (สรรหา) กับพวกรวม ๕๐ คน และนายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ กับพวกรวม ๖๒ คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ มาตรา ๒๗ ส่วนของสำนักงานศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลปกครอง และมาตรา ๒๘ ส่วนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขัดแย้งหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้ปรับลดงบประมาณจากที่หน่วยงานได้เสนอขอจัดสรร รวมทั้งในชั้นแปรญัตติของคณะกรรมาธิการ ไม่มีการเชิญหน่วยงานดังกล่าวร่วมหารือด้วย โดยศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงต่อศาลในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ผู้ร้องเห็นว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร มาตรา ๑๙๘ บัญญัติให้บรรดาศาลจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ มาตรา ๒๑๖ และมาตรา ๓๐๐ บัญญัติให้วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าว ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและไม่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดไว้ การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องดังกล่าวและมีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ ขอให้รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คำร้องของพันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นกรรมการ และวรรคสอง บัญญัติว่า หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลไว้ ๓ ลักษณะ ได้แก่ กรณีมีปัญหาว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่งและวรรคสอง กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ และกรณีอื่นที่อำนาจหน้าที่ระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๕ ดังนั้น คำร้องที่คณะกรรมการจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดได้จึงต้องเป็นกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ กล่าวคือ จะต้องเป็นการขัดแย้งอำนาจหน้าที่กันระหว่างศาลแต่ละระบบ ศาลยุติธรรมกับศาลปกครอง ศาลปกครองกับศาลทหาร หรือศาลทหารกับศาลยุติธรรม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องที่ขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการมีคำสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นการไม่ชอบ ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมิใช่กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ที่คณะกรรมการจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๙๙ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงมีคำสั่งว่า คำร้องของพันตำรวจตรี เสงี่ยม สำราญรัตน์ ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
(ลงชื่อ) ดิเรก อิงคนินันท์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายดิเรก อิงคนินันท์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลตรี พัฒนพงษ์ เกิดอุดม
(กฤษฎา เจริญพานิช) (พัฒนพงษ์ เกิดอุดม)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
คดีที่อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองต้นสังกัด ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง และผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร แต่ศาลปกครองกลางเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของตนแล้วส่งเรื่องไปให้ศาลทหารกรุงเทพทำความเห็น ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด เห็นว่า โดยเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ต้องการให้ศาลที่เกี่ยวข้องได้จัดทำความเห็นเรื่องเขตอำนาจศาล เพราะในท้ายที่สุดอาจมีการโอนหรือจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องยังศาลที่มีเขตอำนาจในคดีนั้น กรณีนี้แม้ศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพจะมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องเขตอำนาจศาล แต่เมื่อศาลทหารกรุงเทพมีความเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งไม่ใช่ศาลที่ผู้ถูกฟ้องคดี ยื่นคำร้องว่าเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี และศาลยุติธรรมก็ไม่ใช่ศาลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการจัดทำความเห็นในคดีนี้ หรืออีกนัยหนึ่งอาจถือได้ว่าทั้งศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพมิได้มีความเห็นแตกต่างกันว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร กรณีถือไม่ได้ว่ามีการขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจศาล จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสาม ชอบที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒)
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
(คำสั่ง) ที่ ๑๐๒/๒๕๕๖
วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖
เรื่อง การส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลทหารกรุงเทพ
การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๕ พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ ๑ กระทรวงกลาโหม ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๔๗/๒๕๕๕ ความว่า ขณะเกิดเหตุผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากกรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ มาตรา ๙ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ผู้ฟ้องคดีช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ ๒๗ สิงหาคม ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันที่ผู้ฟ้องคดีจะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เนื่องจากเกษียณอายุราชการ อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม เนื่องจากเป็นการออกคำสั่งที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจและเป็นไปเพื่อไม่ให้ผู้ฟ้องคดีมีส่วนร่วมในการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ราชการ อันเป็นการไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา ๕ มาตรา ๙ และมาตรา ๒๔ และเป็นการออกคำสั่งโดยไม่สุจริต เป็นการกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่พอสมควรแก่เหตุหรือไม่ได้สัดส่วน และเป็นการออกคำสั่งที่ไม่มีเหตุผลประกอบ ทั้งไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอหรือมีโอกาสโต้แย้งแสดงหลักฐาน ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๐ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันออกคำสั่ง กับให้บังคับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๒๔,๒๔๕ บาท พร้อมดอกเบี้ย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยทหารที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร การออกคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ให้ผู้ฟ้องคดีช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเป็นไปเนื่องจากผู้ฟ้องคดีกระทำผิดระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔ อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดทางอาญารวมถึงความผิดอาญาทหารด้วย คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งในทางยุทธการ ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง ประกอบกับด้วยมูลความผิดเดียวกัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๔/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ให้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายทหารสัญญาบัตรกระทำการเข้าข่ายผิดวินัย อันเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางวินัยทหารควบคู่กันกับคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ให้ผู้ฟ้องคดีช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมด้วย จึงเป็นกรณีกระทำผิดวินัยทหารในกรณีเดียวกันและเกี่ยวเนื่องกัน ข้อพิพาทคดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ มาตรา ๙ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง และข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าในขณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยังมิได้ใช้อำนาจตามกฎหมายในการเริ่มต้นกระบวนการในการดำเนินการทางวินัยโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิด อีกทั้งคำสั่งดังกล่าวระบุเหตุผลไว้เพียงว่าเพื่อให้การบริหารราชการในกระทรวงกลาโหมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มิได้อ้างมูลเหตุในการออกคำสั่งว่าสืบเนื่องมาจากการดำเนินการทางวินัยกับผู้ฟ้องคดี คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งอันเนื่องมาจากการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร แต่เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ตรวจสอบการใช้อำนาจออกคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นการเฉพาะ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิใช่คดีอาญาทหารที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๘ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ และมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลทหารกรุงเทพพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๘ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ (๔) เนื่องจากผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ยังมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จึงไม่ใช่คดีที่กล่าวหาว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กระทำความผิดที่มีโทษทางอาญาที่ศาลทหารจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เกี่ยวกับความเป็นมาของการออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเพื่อให้การบริหารราชการในกระทรวงกลาโหมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีกระทำความผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง ประกอบกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดีควบคู่ไปด้วย การออกคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นไปเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคในการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นความผิดทางวินัย เมื่อผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปช่วยปฏิบัติราชการอันเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องวินัยทหาร คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคสอง (๑) กรณีต้องด้วยมาตรา ๒๑๘ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา การส่งเรื่องให้คณะกรรมการของศาลปกครองกลางชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) หรือไม่
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องและให้ศาลรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวแล้วจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่ผู้ร้องเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว และวรรคสาม บัญญัติว่า บทบัญญัติดังกล่าวให้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น คดีที่ศาลจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้จึงต้องเป็นคดีที่เริ่มกระบวนการโดยคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องนั้นเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่นตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม และมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) (๒) และ (๓) ยังกำหนดวิธีดำเนินการของศาลโดยให้ศาลที่รับฟ้องจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่ผู้ร้องหรือศาลที่รับฟ้องเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจจัดทำความเห็น หากศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกันก็อาจมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเดิมนั้นต่อไป หรืออาจมีการโอนหรือจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องที่ศาลที่เห็นพ้องกันว่ามีเขตอำนาจ แต่ถ้าศาลมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลต้องการให้ศาลที่เกี่ยวข้องทั้งในคดีที่มีการโต้แย้งหรือในคดีที่ศาลเห็นเองเรื่องเขตอำนาจได้จัดทำความเห็นเรื่องเขตอำนาจศาล เพราะในท้ายที่สุดอาจมีการโอนหรือจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องยังศาลที่มีเขตอำนาจในคดีนั้น ตามข้อเท็จจริงคดีนี้ การส่งเรื่องให้คณะกรรมการของศาลปกครองกลางเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำร้องว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร ศาลปกครองกลางจัดทำความเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ต่อมาศาลทหารกรุงเทพจัดทำความเห็นว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารและศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เห็นว่า ในกรณีนี้แม้ศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพจะมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องเขตอำนาจศาลโดยศาลปกครองกลางเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลตน ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง แต่เมื่อศาลทหารกรุงเทพมีความเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งไม่ใช่ศาลที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเริ่มกระบวนการเกี่ยวกับการโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ยื่นคำร้องว่าเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี และศาลยุติธรรมก็ไม่ใช่ศาลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการจัดทำความเห็นในคดีนี้ หรืออีกนัยหนึ่งอาจถือได้ว่าทั้งศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพมิได้มีความเห็นแตกต่างกันว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร กรณีถือไม่ได้ว่ามีการขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจศาล จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสาม ชอบที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒)
จึงมีคำสั่งว่า การส่งเรื่องของศาลปกครองกลางกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันระหว่างศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) อาศัยอำนาจตาม มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลตรี พัฒนพงษ์ เกิดอุดม
(สุขสันต์ สิงหเดช) (พัฒนพงษ์ เกิดอุดม)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองต้นสังกัด ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง และผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร แต่ศาลปกครองกลางเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของตนแล้วส่งเรื่องไปให้ศาลทหารกรุงเทพทำความเห็น ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด เห็นว่า โดยเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ต้องการให้ศาลที่เกี่ยวข้องได้จัดทำความเห็นเรื่องเขตอำนาจศาล เพราะในท้ายที่สุดอาจมีการโอนหรือจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องยังศาลที่มีเขตอำนาจในคดีนั้น กรณีนี้แม้ศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพจะมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องเขตอำนาจศาล แต่เมื่อศาลทหารกรุงเทพมีความเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งไม่ใช่ศาลที่ผู้ถูกฟ้องคดี ยื่นคำร้องว่าเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี และศาลยุติธรรมก็ไม่ใช่ศาลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการจัดทำความเห็นในคดีนี้ หรืออีกนัยหนึ่งอาจถือได้ว่าทั้งศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพมิได้มีความเห็นแตกต่างกันว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร กรณีถือไม่ได้ว่ามีการขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจศาล จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสาม ชอบที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒)
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
(คำสั่ง) ที่ ๑๐๒/๒๕๕๖
วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖
เรื่อง การส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลทหารกรุงเทพ
การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๕ พลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ ๑ กระทรวงกลาโหม ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๔๗/๒๕๕๕ ความว่า ขณะเกิดเหตุผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากกรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ มาตรา ๙ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ผู้ฟ้องคดีช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ ๒๗ สิงหาคม ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันที่ผู้ฟ้องคดีจะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เนื่องจากเกษียณอายุราชการ อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม เนื่องจากเป็นการออกคำสั่งที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจและเป็นไปเพื่อไม่ให้ผู้ฟ้องคดีมีส่วนร่วมในการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ราชการ อันเป็นการไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา ๕ มาตรา ๙ และมาตรา ๒๔ และเป็นการออกคำสั่งโดยไม่สุจริต เป็นการกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่พอสมควรแก่เหตุหรือไม่ได้สัดส่วน และเป็นการออกคำสั่งที่ไม่มีเหตุผลประกอบ ทั้งไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอหรือมีโอกาสโต้แย้งแสดงหลักฐาน ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๐ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันออกคำสั่ง กับให้บังคับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๒๔,๒๔๕ บาท พร้อมดอกเบี้ย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยทหารที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร การออกคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ให้ผู้ฟ้องคดีช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเป็นไปเนื่องจากผู้ฟ้องคดีกระทำผิดระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔ อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดทางอาญารวมถึงความผิดอาญาทหารด้วย คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งในทางยุทธการ ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง ประกอบกับด้วยมูลความผิดเดียวกัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๔/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ให้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายทหารสัญญาบัตรกระทำการเข้าข่ายผิดวินัย อันเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางวินัยทหารควบคู่กันกับคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ให้ผู้ฟ้องคดีช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมด้วย จึงเป็นกรณีกระทำผิดวินัยทหารในกรณีเดียวกันและเกี่ยวเนื่องกัน ข้อพิพาทคดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ มาตรา ๙ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ และมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง และข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าในขณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยังมิได้ใช้อำนาจตามกฎหมายในการเริ่มต้นกระบวนการในการดำเนินการทางวินัยโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิด อีกทั้งคำสั่งดังกล่าวระบุเหตุผลไว้เพียงว่าเพื่อให้การบริหารราชการในกระทรวงกลาโหมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มิได้อ้างมูลเหตุในการออกคำสั่งว่าสืบเนื่องมาจากการดำเนินการทางวินัยกับผู้ฟ้องคดี คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งอันเนื่องมาจากการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร แต่เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ตรวจสอบการใช้อำนาจออกคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๘๓/๒๕๕๕ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นการเฉพาะ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิใช่คดีอาญาทหารที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๘ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ และมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหารตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลทหารกรุงเทพพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๘ ประกอบพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ (๔) เนื่องจากผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ยังมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จึงไม่ใช่คดีที่กล่าวหาว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กระทำความผิดที่มีโทษทางอาญาที่ศาลทหารจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เกี่ยวกับความเป็นมาของการออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมเพื่อให้การบริหารราชการในกระทรวงกลาโหมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีกระทำความผิดวินัยทหารอย่างร้ายแรง ประกอบกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดีควบคู่ไปด้วย การออกคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นไปเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคในการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นความผิดทางวินัย เมื่อผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปช่วยปฏิบัติราชการอันเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องวินัยทหาร คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคสอง (๑) กรณีต้องด้วยมาตรา ๒๑๘ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา การส่งเรื่องให้คณะกรรมการของศาลปกครองกลางชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) หรือไม่
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องและให้ศาลรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวแล้วจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่ผู้ร้องเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว และวรรคสาม บัญญัติว่า บทบัญญัติดังกล่าวให้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น คดีที่ศาลจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้จึงต้องเป็นคดีที่เริ่มกระบวนการโดยคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องนั้นเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่นตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม และมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) (๒) และ (๓) ยังกำหนดวิธีดำเนินการของศาลโดยให้ศาลที่รับฟ้องจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่ผู้ร้องหรือศาลที่รับฟ้องเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจจัดทำความเห็น หากศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกันก็อาจมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเดิมนั้นต่อไป หรืออาจมีการโอนหรือจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องที่ศาลที่เห็นพ้องกันว่ามีเขตอำนาจ แต่ถ้าศาลมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลต้องการให้ศาลที่เกี่ยวข้องทั้งในคดีที่มีการโต้แย้งหรือในคดีที่ศาลเห็นเองเรื่องเขตอำนาจได้จัดทำความเห็นเรื่องเขตอำนาจศาล เพราะในท้ายที่สุดอาจมีการโอนหรือจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องยังศาลที่มีเขตอำนาจในคดีนั้น ตามข้อเท็จจริงคดีนี้ การส่งเรื่องให้คณะกรรมการของศาลปกครองกลางเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำร้องว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร ศาลปกครองกลางจัดทำความเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ต่อมาศาลทหารกรุงเทพจัดทำความเห็นว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารและศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เห็นว่า ในกรณีนี้แม้ศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพจะมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องเขตอำนาจศาลโดยศาลปกครองกลางเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลตน ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง แต่เมื่อศาลทหารกรุงเทพมีความเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งไม่ใช่ศาลที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเริ่มกระบวนการเกี่ยวกับการโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ยื่นคำร้องว่าเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี และศาลยุติธรรมก็ไม่ใช่ศาลที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการจัดทำความเห็นในคดีนี้ หรืออีกนัยหนึ่งอาจถือได้ว่าทั้งศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพมิได้มีความเห็นแตกต่างกันว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร กรณีถือไม่ได้ว่ามีการขัดแย้งกันเกี่ยวกับอำนาจศาล จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสาม ชอบที่คณะกรรมการจะมีคำสั่งให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒)
จึงมีคำสั่งว่า การส่งเรื่องของศาลปกครองกลางกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันระหว่างศาลปกครองกลางและศาลทหารกรุงเทพไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) อาศัยอำนาจตาม มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลตรี พัฒนพงษ์ เกิดอุดม
(สุขสันต์ สิงหเดช) (พัฒนพงษ์ เกิดอุดม)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
การส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง (3)
คดีที่จะยื่นคำร้องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ข้อเท็จจริงตามคำร้อง แม้คำพิพากษาของศาลปกครองจะถึงที่สุดตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรม ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๔ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ คู่ความจึงยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด ๑ เดือน นับแต่วันดังกล่าว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองขัดแย้งกัน จึงยังไม่พ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาและเป็นกรณีที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมยังไม่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๔๗ คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
(คำสั่ง) ที่ ๘๖/๒๕๕๖
วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖
เรื่อง การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่น
ระหว่าง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๔
การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ
เทศบาลตำบลหนองสอยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อเท็จจริงในคดี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส อาร์ แกลเลอรี่ ๒๐๐๔ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องเทศบาลตำบลหนองสอ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๙/๒๕๕๓ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงินค่าจ้างสร้างและติดตั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติเป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลปกครองขอนแก่นพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงิน ๗๕๘,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๙๗/๒๕๕๕ ผู้ถูกฟ้องคดีอุทธรณ์ ศาลปกครองขอนแก่นไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา คดีถึงที่สุด และในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองขอนแก่น ผู้ฟ้องคดีเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีเป็นจำเลย ต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๗๑๐/๒๕๕๔ ขอให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างสร้างและติดตั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติดังกล่าวอีก ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์พิพากษายกฟ้อง เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๑๗๕๕/๒๕๕๔ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายืน เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๓๒/๒๕๕๕ หมายเลขแดงที่ ๒๘๑๗/๒๕๕๕ เทศบาลตำบลหนองสอเห็นว่าเป็นกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลปกครองขอนแก่นและศาลอุทธรณ์ภาค ๔ ขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาของทั้งสองศาลว่าควรปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลใด
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คำร้องของเทศบาลตำบลหนองสอชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" ดังนั้น คดีที่จะยื่นคำร้องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ จึงต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ข้อเท็จจริงตามคำร้อง แม้คำพิพากษาของศาลปกครองจะถึงที่สุดแล้วตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมนั้น ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๔ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ คู่ความจึงยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด ๑ เดือน นับแต่วันดังกล่าว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองขัดแย้งกัน จึงยังไม่พ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาและเป็นกรณีที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมยังไม่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๔๗ คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔
จึงมีคำสั่งว่า คำร้องของเทศบาลตำบลหนองสอ ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลตรี พัฒนพงษ์ เกิดอุดม
(สุขสันต์ สิงหเดช) (พัฒนพงษ์ เกิดอุดม)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่จะยื่นคำร้องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ข้อเท็จจริงตามคำร้อง แม้คำพิพากษาของศาลปกครองจะถึงที่สุดตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรม ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๔ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ คู่ความจึงยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด ๑ เดือน นับแต่วันดังกล่าว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองขัดแย้งกัน จึงยังไม่พ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาและเป็นกรณีที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมยังไม่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๔๗ คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
(คำสั่ง) ที่ ๘๖/๒๕๕๖
วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖
เรื่อง การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่น
ระหว่าง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๔
การยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ
เทศบาลตำบลหนองสอยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อเท็จจริงในคดี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส อาร์ แกลเลอรี่ ๒๐๐๔ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องเทศบาลตำบลหนองสอ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๙/๒๕๕๓ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงินค่าจ้างสร้างและติดตั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติเป็นเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลปกครองขอนแก่นพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงิน ๗๕๘,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๙๗/๒๕๕๕ ผู้ถูกฟ้องคดีอุทธรณ์ ศาลปกครองขอนแก่นไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา คดีถึงที่สุด และในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองขอนแก่น ผู้ฟ้องคดีเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีเป็นจำเลย ต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๗๑๐/๒๕๕๔ ขอให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างสร้างและติดตั้งซุ้มเฉลิมพระเกียรติดังกล่าวอีก ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์พิพากษายกฟ้อง เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๑๗๕๕/๒๕๕๔ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายืน เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๓๒/๒๕๕๕ หมายเลขแดงที่ ๒๘๑๗/๒๕๕๕ เทศบาลตำบลหนองสอเห็นว่าเป็นกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลปกครองขอนแก่นและศาลอุทธรณ์ภาค ๔ ขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาของทั้งสองศาลว่าควรปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลใด
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คำร้องของเทศบาลตำบลหนองสอชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" ดังนั้น คดีที่จะยื่นคำร้องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ จึงต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ข้อเท็จจริงตามคำร้อง แม้คำพิพากษาของศาลปกครองจะถึงที่สุดแล้วตามมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมนั้น ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๔ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ คู่ความจึงยื่นฎีกาได้ภายในกำหนด ๑ เดือน นับแต่วันดังกล่าว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองขัดแย้งกัน จึงยังไม่พ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาและเป็นกรณีที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมยังไม่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๔๗ คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔
จึงมีคำสั่งว่า คำร้องของเทศบาลตำบลหนองสอ ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลตรี พัฒนพงษ์ เกิดอุดม
(สุขสันต์ สิงหเดช) (พัฒนพงษ์ เกิดอุดม)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|