เรื่อง พระราชบัญญัติอาคารชุด สัญญา ละเมิดคดีแดงที่ 6789-6790/2544
เรื่อง พระราชบัญญัติอาคารชุด สัญญา ละเมิดคดีแดงที่ 6789-6790/2544
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่า "บริษัทจะจัดหาชุดทำงานให้ปีละ 2 ชุดโดยจะเริ่มแจกในเดือนมกราคม 2534" เห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่า จะต้องทำงานครบ 1 ปี จึงจะมีสิทธิได้รับชุดทำงาน เมื่อลูกจ้างทำงานติดต่อตลอดมาจนถึงเดือนมกราคม 2534ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่นายจ้างจะต้องแจกชุดทำงานตามข้อตกลง แม้ว่าลูกจ้างจะทำงานมายังไม่ถึง1 ปี ก็มีสิทธิได้รับชุดทำงานตามข้อตกลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่า "บริษัทจะจัดหาชุดทำงานให้ปีละ 2 ชุดโดยจะเริ่มแจกในเดือนมกราคม 2534" เห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้กำหนดว่า จะต้องทำงานครบ 1 ปี จึงจะมีสิทธิได้รับชุดทำงาน เมื่อลูกจ้างทำงานติดต่อตลอดมาจนถึงเดือนมกราคม 2534ซึ่งเป็นกำหนดเวลาที่นายจ้างจะต้องแจกชุดทำงานตามข้อตกลง แม้ว่าลูกจ้างจะทำงานมายังไม่ถึง1 ปี ก็มีสิทธิได้รับชุดทำงานตามข้อตกลง
ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน จึงขอแก้ไขคำฟ้องตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อที่นาพิพาทอีกทอดหนึ่งให้โอนขายแก่โจทก์ด้วยเห็นได้ชัดว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นหลังวันชี้สองสถาน โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน
ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน โจทก์จึงฟ้องขอบังคับซื้อที่ดินนาพิพาทจากจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้แก้ไขคำฟ้องเพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วย เป็นการแก้ไขคำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (2) มีความเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182
ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมส่งโฉนดที่พิพาทตามคำสั่งศาลเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน เพราะจำเลยทั้งสามตั้งใจโอนที่นาพิพาทเพื่อไม่ให้โจทก์บังคับคดี ต่อมาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1กำลังบอกขายที่นาพิพาทเพื่อให้พ้นจากการบังคับคดีของโจทก์ จึงขอให้ศาลอายัดที่นาก่อนศาลมีคำพิพากษา คำร้องของโจทก์เป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอนขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) แม้โจทก์จะใช้คำว่าขอให้อายัด ก็แปลได้ว่าเป็นการขอให้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนนั่นเอง เมื่อตามคำร้องปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ในระหว่างการพิจารณา และจำเลยที่ 1กำลังบอกขายให้บุคคลอื่นต่อไป พอชี้ให้เห็นความตั้งใจของจำเลยทั้งสามว่าจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อขัดขวางแก่การบังคับตามคำบังคับคดีซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับซื้อที่นาพิพาท หากจำเลยที่ 1 จะขายที่นาพิพาทต้องแจ้งให้โจทก์ทราบตามสิทธิที่จะซื้อก่อน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 และหากขายที่นาพิพาทไปแล้วผู้ซื้อก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา 28 ซึ่งโจทก์ได้รับความคุ้มครองอยู่แล้วก็ตาม แต่ถ้าปล่อยให้จำเลยโอนที่นาพิพาทไปยังบุคคลภายนอก แม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งที่นาพิพาท โจทก์ต้องไปดำเนินการเพื่อบังคับซื้อจากบุคคลภายนอกผู้รับโอนตามมาตรา 54 ใหม่ ทำให้เกิดภาระแก่โจทก์ไม่มีที่สิ้นสุด โจทก์จึงมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องของโจทก์ไว้ไต่สวน
ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน จึงขอแก้ไขคำฟ้องตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อที่นาพิพาทอีกทอดหนึ่งให้โอนขายแก่โจทก์ด้วยเห็นได้ชัดว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นหลังวันชี้สองสถาน โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน
ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน โจทก์จึงฟ้องขอบังคับซื้อที่ดินนาพิพาทจากจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้แก้ไขคำฟ้องเพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วย เป็นการแก้ไขคำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (2) มีความเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182
ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมส่งโฉนดที่พิพาทตามคำสั่งศาลเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน เพราะจำเลยทั้งสามตั้งใจโอนที่นาพิพาทเพื่อไม่ให้โจทก์บังคับคดี ต่อมาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1กำลังบอกขายที่นาพิพาทเพื่อให้พ้นจากการบังคับคดีของโจทก์ จึงขอให้ศาลอายัดที่นาก่อนศาลมีคำพิพากษา คำร้องของโจทก์เป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอนขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) แม้โจทก์จะใช้คำว่าขอให้อายัด ก็แปลได้ว่าเป็นการขอให้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนนั่นเอง เมื่อตามคำร้องปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ในระหว่างการพิจารณา และจำเลยที่ 1กำลังบอกขายให้บุคคลอื่นต่อไป พอชี้ให้เห็นความตั้งใจของจำเลยทั้งสามว่าจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อขัดขวางแก่การบังคับตามคำบังคับคดีซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับซื้อที่นาพิพาท หากจำเลยที่ 1 จะขายที่นาพิพาทต้องแจ้งให้โจทก์ทราบตามสิทธิที่จะซื้อก่อน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 และหากขายที่นาพิพาทไปแล้วผู้ซื้อก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา 28 ซึ่งโจทก์ได้รับความคุ้มครองอยู่แล้วก็ตาม แต่ถ้าปล่อยให้จำเลยโอนที่นาพิพาทไปยังบุคคลภายนอก แม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งที่นาพิพาท โจทก์ต้องไปดำเนินการเพื่อบังคับซื้อจากบุคคลภายนอกผู้รับโอนตามมาตรา 54 ใหม่ ทำให้เกิดภาระแก่โจทก์ไม่มีที่สิ้นสุด โจทก์จึงมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องของโจทก์ไว้ไต่สวน
กรณีโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทอันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละห้าพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทที่ฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิมกับจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทนและโจทก์ซื้อตึกแถวพิพาทโดยไม่สุจริต ให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่รู้มาก่อนซื้อตึกแถวพิพาทว่าเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิมกับจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทน และโจทก์ซื้อตึกแถวพิพาทโดยสุจริต เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง วรรคสาม
คดีสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาโดยเรียกจำเลยในสำนวนที่ ๑ที่ ๒ และที่ ๓ เป็นจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามลำดับ
โจทก์ทั้งสามสำนวนฟ้องเป็นใจความว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวเลขที่ ๑๑/๒๐,๑๑/๒๒ และ ๑๑/๒๓ จากนางสุขทิพย์กับพวก ตึกแถวดังกล่าวมีจำเลยทั้งสามและบริวารอาศัยอยู่โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเช่าแก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้เช่าอีกต่อไป ขอให้จำเลยทั้งสามขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวของโจทก์ ให้จำเลยแต่ละคนชำระค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยทั้งสามสำนวนให้การว่า โจทก์มิได้ซื้อที่ดินและตึกแถวตามฟ้อง จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามไม่เคยได้รับแจังจากโจทก์ให้ชำระค่าเช่า โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายตึกแถวพิพาทแต่ละห้องให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ ๒๐๐ บาท เดิมจำเลยที่ ๑ เช่าตึกแถวเลขที่ ๑๑/๒๓นายกิตติชัยบิดาของจำเลยที่ ๒ เช่าตึกแถวเลขที่ ๑๑/๒๐ และนายอัมพรสามีจำเลยที่ ๓ เช่าตึกแถวเลขที่ ๑๑/๒๒ จากนางสุขทิพย์และนายชุมพล ต่อมาตึกแถวพิพาทได้ถูกไฟไหม้บางส่วน นางสุขทิพย์และนายชุมพลได้ทำสัญญาต่างตอบแทนโดยให้บุคคลทั้งสามซ่อมแซมตึกแถวพิพาทให้คงอยู่ในสภาพเดิม และจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่นางสุขทิพย์และนายชุมพลห้องละ ๔๐,๐๐๐ บาท นางสุขทิพย์และนายชุมพลยินยอมให้เช่าตึกแถวพิพาทต่อไปอีกมีกำหนด ๑๒ ปี ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะไปทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่ากันณ ที่ว่าการอำเภอบางกอกใหญ่ จำเลยที่ ๑ นายกิตติชัยบิดาของจำเลยที่ ๒ และนายอัมพรสามีของจำเลยที่ ๓ ได้ซ่อมแซมตึกแถวพิพาทให้คงสภาพเดิม และชำระค่าตอบแทนเป็นเงินห้องละ ๔๐,๐๐๐ บาท ให้แก่นางสุขทิพย์และนายชุมพลแล้ว ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้นางสุขทิพย์และนายชุมพลไม่ยอมรับค่าเช่า จำเลยที่ ๑นายกิตติชัยบิดาของจำเลยที่ ๒ และนายอัมพรสามีของจำเลยที่ ๓ ได้นำเงินค่าเช่าไปวางไว้ ณสำนักงานวางทรัพย์กลาง เพื่อเป็นการชำระค่าเช่าตามสัญญา นายชุมพลเป็นผู้ซื้อตึกแถวพิพาทและที่ดินร่วมกับโจทก์ด้วย โจทก์จึงต้องร่วมรับผิดต่อจำเลยทั้งสาม และไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทมาเป็นมูลฟ้องจำเลยทั้งสาม ขอให้ยกฟ้องโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสามสำนวน
โจทก์ทั้งสามสำนวนอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ทั้งสามสำนวนฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีทั้งสามสำนวนนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์ซื้อตึกแถวพิพาทจากเจ้าของเดิมซึ่งจำเลยทั้งสามเป็นผู้เช่า บัดนี้ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยทั้งสามเช่าต่อไป ขอให้ขับไล่ จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสามมีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทเพราะมีสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดากับเจ้าของเดิม ศาลชั้นต้นฟังว่าเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิมกับจำเลยทั้งสามมีสัญญาต่างตอบแทน และโจทก์ทราบถึงสัญญาดังกล่าวแล้วโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ นั้น ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ผู้รับมอบอำนาจจำเลยที่และผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ ๓ เป็นคู่สัญญาในสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิม หาใช่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ เกี่ยวกับการเช่าตึกแถวพิพาทเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องศาลอุทธรณ์เห็นด้วยในผลที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กรณีดังกล่าวนี้ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยทั้งสามมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง ดังนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๘ วรรคแรก และวรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาในทำนองว่าโจทก์ไม่รู้มาก่อนซื้อตึกแถวพิพาทว่าเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิมกับจำเลยทั้งสามมีสัญญาต่างตอบแทนกัน และโจทก์มีความสุจริตในการซื้อตึกแถวพิพาทจากเจ้าของเดิมนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาโจทก์.
กรณีโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทอันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละห้าพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทที่ฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิมกับจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทนและโจทก์ซื้อตึกแถวพิพาทโดยไม่สุจริต ให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่รู้มาก่อนซื้อตึกแถวพิพาทว่าเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิมกับจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทน และโจทก์ซื้อตึกแถวพิพาทโดยสุจริต เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง วรรคสาม
คดีสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาโดยเรียกจำเลยในสำนวนที่ ๑ที่ ๒ และที่ ๓ เป็นจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามลำดับ
โจทก์ทั้งสามสำนวนฟ้องเป็นใจความว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวเลขที่ ๑๑/๒๐,๑๑/๒๒ และ ๑๑/๒๓ จากนางสุขทิพย์กับพวก ตึกแถวดังกล่าวมีจำเลยทั้งสามและบริวารอาศัยอยู่โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเช่าแก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้เช่าอีกต่อไป ขอให้จำเลยทั้งสามขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวของโจทก์ ให้จำเลยแต่ละคนชำระค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยทั้งสามสำนวนให้การว่า โจทก์มิได้ซื้อที่ดินและตึกแถวตามฟ้อง จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามไม่เคยได้รับแจังจากโจทก์ให้ชำระค่าเช่า โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายตึกแถวพิพาทแต่ละห้องให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ ๒๐๐ บาท เดิมจำเลยที่ ๑ เช่าตึกแถวเลขที่ ๑๑/๒๓นายกิตติชัยบิดาของจำเลยที่ ๒ เช่าตึกแถวเลขที่ ๑๑/๒๐ และนายอัมพรสามีจำเลยที่ ๓ เช่าตึกแถวเลขที่ ๑๑/๒๒ จากนางสุขทิพย์และนายชุมพล ต่อมาตึกแถวพิพาทได้ถูกไฟไหม้บางส่วน นางสุขทิพย์และนายชุมพลได้ทำสัญญาต่างตอบแทนโดยให้บุคคลทั้งสามซ่อมแซมตึกแถวพิพาทให้คงอยู่ในสภาพเดิม และจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่นางสุขทิพย์และนายชุมพลห้องละ ๔๐,๐๐๐ บาท นางสุขทิพย์และนายชุมพลยินยอมให้เช่าตึกแถวพิพาทต่อไปอีกมีกำหนด ๑๒ ปี ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะไปทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่ากันณ ที่ว่าการอำเภอบางกอกใหญ่ จำเลยที่ ๑ นายกิตติชัยบิดาของจำเลยที่ ๒ และนายอัมพรสามีของจำเลยที่ ๓ ได้ซ่อมแซมตึกแถวพิพาทให้คงสภาพเดิม และชำระค่าตอบแทนเป็นเงินห้องละ ๔๐,๐๐๐ บาท ให้แก่นางสุขทิพย์และนายชุมพลแล้ว ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้นางสุขทิพย์และนายชุมพลไม่ยอมรับค่าเช่า จำเลยที่ ๑นายกิตติชัยบิดาของจำเลยที่ ๒ และนายอัมพรสามีของจำเลยที่ ๓ ได้นำเงินค่าเช่าไปวางไว้ ณสำนักงานวางทรัพย์กลาง เพื่อเป็นการชำระค่าเช่าตามสัญญา นายชุมพลเป็นผู้ซื้อตึกแถวพิพาทและที่ดินร่วมกับโจทก์ด้วย โจทก์จึงต้องร่วมรับผิดต่อจำเลยทั้งสาม และไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทมาเป็นมูลฟ้องจำเลยทั้งสาม ขอให้ยกฟ้องโจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสามสำนวน
โจทก์ทั้งสามสำนวนอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ทั้งสามสำนวนฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีทั้งสามสำนวนนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์ซื้อตึกแถวพิพาทจากเจ้าของเดิมซึ่งจำเลยทั้งสามเป็นผู้เช่า บัดนี้ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยทั้งสามเช่าต่อไป ขอให้ขับไล่ จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสามมีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทเพราะมีสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดากับเจ้าของเดิม ศาลชั้นต้นฟังว่าเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิมกับจำเลยทั้งสามมีสัญญาต่างตอบแทน และโจทก์ทราบถึงสัญญาดังกล่าวแล้วโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ นั้น ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ผู้รับมอบอำนาจจำเลยที่และผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ ๓ เป็นคู่สัญญาในสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิม หาใช่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ เกี่ยวกับการเช่าตึกแถวพิพาทเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องศาลอุทธรณ์เห็นด้วยในผลที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กรณีดังกล่าวนี้ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยทั้งสามมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง ดังนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๘ วรรคแรก และวรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาในทำนองว่าโจทก์ไม่รู้มาก่อนซื้อตึกแถวพิพาทว่าเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิมกับจำเลยทั้งสามมีสัญญาต่างตอบแทนกัน และโจทก์มีความสุจริตในการซื้อตึกแถวพิพาทจากเจ้าของเดิมนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาโจทก์.
จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ของจำเลย แต่ฎีกาของจำเลยกลับอ้างแต่เหตุอันควรเพิกถอนการขายทอดตลาดว่าราคาต่ำไป และมีคำขอท้ายฎีกาขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเท่านั้น จำเลยหาได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ไม่ ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ของจำเลย แต่ฎีกาของจำเลยกลับอ้างแต่เหตุอันควรเพิกถอนการขายทอดตลาดว่าราคาต่ำไป และมีคำขอท้ายฎีกาขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเท่านั้น จำเลยหาได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ไม่ ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยต่างแย่งกันครอบครองที่ดินมือเปล่ามา แต่ไมไ่ด้ความชัดว่าใครครอบครองส่วนไหนเท่าไร ควรฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิครอบครองด้วยกัน และให้แบ่งคนละครึ่ง (อ้างฎีกา 587/2480)
โจทก์ฟ้องว่า เดิมข้าหลวงพิเศษจัดแบ่งที่พิพาทรวม ๖ แปลงให้ผู้มีชื่อ ๖คน แต่ยังไม่ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้ ผู้มีชื่อดังกล่าวไม่เคยครอบครองทำประโยชน์เลย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ โจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาท ๒ แปลง ต่อมาโจทก์ขอซื้อที่ที่พิพาทนอกนั้นจากผู้มีชื่อ เมือ พ.ศ. ๒๔๘๕ และครอบครองเป็นเจ้าของมา จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ อ. บิดาภรรยาจำเลย จำเลยได้ครอบครองร่วมกับ อ. จน อ. ตายจำเลยได้ครอบครองแต่ผู้เดียวจนบัดนี้ ๑๐ ปีเศษแล้ว
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ฟังว่าโจทก์จเลยต่างมีส่วนครอบครองที่พิพาท แต่ไม่แน่ชัดว่าฝ่ายใดครอบครองเพียงใด หรือทั้งหมด เพราะคู่ความไม่ขอให้ทำแผนที่พิพาทพิพากษาให้ยกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จำเลย จะฟ้องร้องกันใหม่
ศาลอุทธรณ์ ฟังว่าโจทก์ครอบครองโดยตั้งใจ จะซื้อจากเจ้าของเดิม ซึ่งไม่มีสิทธิ จึงไม่มีสิทธิดีกว่าเจ้าของเดิม และเชื่อพยานจำเลย เห็นว่าจำเลยมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ พิพากษายืนให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังว่า โจทก์เข้าครอบครองเพื่อเจตนาเป็นเจ้าของ ที่รายนี้เป็นที่ดินมือเปล่า เมื่อโจทก์จำเลยต่างมีพยานนำสืบว่าต่างแย่งกันครอบครองมา แต่ไม่ได้ความชัดว่า ใครครอบครองที่ส่วนไหนเท่าไร ควรฟังว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทมาด้วยกันดังศาลชั้นต้นโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่พิพาทเท่า ๆ กัน
พิพากษากลับ ให้แบ่งที่พิพาทให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง ถ้าไม่ตกลงให้ประมูลราคาหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินคนละครึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยต่างแย่งกันครอบครองที่ดินมือเปล่ามา แต่ไมไ่ด้ความชัดว่าใครครอบครองส่วนไหนเท่าไร ควรฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิครอบครองด้วยกัน และให้แบ่งคนละครึ่ง (อ้างฎีกา 587/2480)
โจทก์ฟ้องว่า เดิมข้าหลวงพิเศษจัดแบ่งที่พิพาทรวม ๖ แปลงให้ผู้มีชื่อ ๖คน แต่ยังไม่ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้ ผู้มีชื่อดังกล่าวไม่เคยครอบครองทำประโยชน์เลย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ โจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาท ๒ แปลง ต่อมาโจทก์ขอซื้อที่ที่พิพาทนอกนั้นจากผู้มีชื่อ เมือ พ.ศ. ๒๔๘๕ และครอบครองเป็นเจ้าของมา จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ อ. บิดาภรรยาจำเลย จำเลยได้ครอบครองร่วมกับ อ. จน อ. ตายจำเลยได้ครอบครองแต่ผู้เดียวจนบัดนี้ ๑๐ ปีเศษแล้ว
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ฟังว่าโจทก์จเลยต่างมีส่วนครอบครองที่พิพาท แต่ไม่แน่ชัดว่าฝ่ายใดครอบครองเพียงใด หรือทั้งหมด เพราะคู่ความไม่ขอให้ทำแผนที่พิพาทพิพากษาให้ยกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จำเลย จะฟ้องร้องกันใหม่
ศาลอุทธรณ์ ฟังว่าโจทก์ครอบครองโดยตั้งใจ จะซื้อจากเจ้าของเดิม ซึ่งไม่มีสิทธิ จึงไม่มีสิทธิดีกว่าเจ้าของเดิม และเชื่อพยานจำเลย เห็นว่าจำเลยมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ พิพากษายืนให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังว่า โจทก์เข้าครอบครองเพื่อเจตนาเป็นเจ้าของ ที่รายนี้เป็นที่ดินมือเปล่า เมื่อโจทก์จำเลยต่างมีพยานนำสืบว่าต่างแย่งกันครอบครองมา แต่ไม่ได้ความชัดว่า ใครครอบครองที่ส่วนไหนเท่าไร ควรฟังว่า โจทก์จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทมาด้วยกันดังศาลชั้นต้นโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่พิพาทเท่า ๆ กัน
พิพากษากลับ ให้แบ่งที่พิพาทให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง ถ้าไม่ตกลงให้ประมูลราคาหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินคนละครึ่ง
แม้อุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าบางประการมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่ก่อนครบกำหนดสิ้นสุดสัญญาฉบับแรก โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวครั้งที่ 1มีการลดเวลาการก่อสร้างลงอีก 5 วัน และขณะนั้นเหลือเวลาอีกเพียง 14 วัน ก็จะถึงกำหนดเวลาที่แก้ไขใหม่ แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวโดยดี และต่อมาเมื่อมีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาดังกล่าวเสร็จแล้วสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับหลังเพิ่มเวลาก่อสร้างเพียง 3 วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับแรกครั้งที่ 2 โดยดีอีกเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างตามสัญญาฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นการก่อสร้างต่อเนื่องจากสัญญาฉบับแรก กำหนดไว้ว่าต้องลงมือก่อสร้างหลังจากทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับแรกไปแล้ว 170 วัน และปรากฏว่าการก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้ล่าช้ากว่ากำหนดเช่นเดียวกับสัญญาฉบับแรก แม้น่าเชื่อว่าอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับแรกล่าช้ามีผลทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับหลังล่าช้าไปด้วยแต่เมื่อมีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับหลังครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับหลังเสร็จแล้ว สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเพิ่มเวลาการก่อสร้างให้โจทก์อีกเพียง 127 วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปเป็นจำนวนมาก แต่โจทก์ยังคงยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวอีกเช่นกัน พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับกำหนดเวลาสิ้นสุดในสัญญาทุกฉบับที่ทำกับจำเลยที่ 1 และไม่ติดใจเงินค่าปรับที่ต้องถูกหักจากค่าจ้างตามสัญญา โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับและไม่มีสิทธิเรียกคืนค่าปรับที่จำเลยที่ 1 หักไว้
คดีทั้งสองสำนวน ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาและพิพากษาด้วยกัน
โจทก์ฟ้องทั้งสองสำนวนว่า จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ทำการปรับปรุงถนนสุขุมวิท ๕๕ (ซอยทองหล่อ) ตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ และสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ โดยตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ให้โจทก์ก่อสร้างพื้นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างท่อระบายน้ำ สร้างคันหิน สร้างทางเท้าปูกระเบื้อง สร้างท่อลอดถนน สร้างเขื่อนกันดิน ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างเป็นรายเดือนตามผลงาน ค่างานทั้งหมดตามสัญญาไม่เกิน ๒๐,๕๓๘,๐๐๐ บาท กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ หากเสร็จล่วงเลยเวลาถูกปรับเป็นรายวันวันละ ๔,๕๐๐ บาท ส่วนตามสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ให้โจทก์ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสร้างคันหิน สร้างทางเท้าปูกระเบื้อง ในวงเงินไม่เกิน ๙,๓๐๙,๑๘๘ บาท จำเลยที่ ๑ จะจ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนตามผลงานโดยจะต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๒๒และโจทก์ต้องลงมือทำงานภายในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๑ หากเสร็จล่วงเลยเวลาถูกปรับวันละ ๔,๕๐๐ บาท การก่อสร้างตามสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ เป็นการกระทำต่อเนื่องจากสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ทั้งสองสัญญาจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้จำเลยที่ ๓, ๔ และ ๕ เป็นกรรมการตรวจการจ้างและมอบให้จำเลยที่ ๖, ๗, ๘ และ ๙เป็นผู้ควบคุมงานรับผิดชอบโดยตรง โจทก์ได้เข้าทำการก่อสร้างตามสัญญาทันที แต่ก็ได้พบอุปสรรคขัดขวางการทำงานของโจทก์ โดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ แต่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยทั้งเก้า ต่อมาวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๑ โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ลดระดับถนนลง ลดเวลาการทำงานตามสัญญาจาก ๓๐๐ วัน เหลือ ๒๙๕ วันแก้ไขเนื้องานและเงินตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ เป็นเงินตามสัญญา ๒๐,๒๑๐,๑๖๐.๗๕ บาทวันสิ้นสุดสัญญาเป็นวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ และได้มีการทำสัญญาแก้ไขสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑เพิ่มเติมอีก เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๒๒ เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑โจทก์ได้ทำการก่อสร้าง ส่งมอบงานและขอเบิกเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ และ๑๔๕/๒๕๒๑ โดยส่งมอบงานและขอเบิกเงินจากจำเลยที่ ๑ ตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ และสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมรวม ๘ ครั้ง รวมขอเบิก ๒๐,๔๖๑,๗๒๕.๕๕ บาท จำเลยที่ ๑ จ่ายให้โจทก์จำนวน ๑๘,๕๒๖,๗๒๕.๕๕ บาท จำเลยที่ ๑ หักไว้อ้างว่าเป็นค่าปรับจำนวนทั้งสิ้น๑,๙๓๕,๐๐๐ บาท ซึ่งจำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิจะหักไว้ และโจทก์ขอเบิกตามสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑และสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน ๖ ครั้ง รวมขอเบิก ๘,๙๔๓,๖๐๔ บาท จำเลยที่ ๑ จ่ายให้โจทก์ ๘,๑๒๖,๕๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ หักไว้ อ้างว่าเป็นค่าปรับสร้างเกินกำหนดสัญญาจำนวนเงิน๒,๖๒๖,๑๐๔ บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิจะหักไว้ ต่อมาวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๓โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ แก้ไขวงเงินเป็น๒๐,๔๖๑,๗๒๕.๕๕ บาท และแก้ไขวันก่อสร้างแล้วเสร็จเป็น ๒๙๘ วัน ครบกำหนดวันที่ ๑๗พฤศจิกายน ๒๕๒๑ และวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ แก้ไขวงเงินเป็น ๙,๑๗๔,๘๐๔ บาท และแก้วันก่อสร้างให้เสร็จเป็น๓๓๔ วัน ครบกำหนดวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๒๒ เป็นการเอาเปรียบโจทก์แต่ฝ่ายเดียว ทั้งที่จำเลยที่ ๑ ทราบว่าอุปสรรคที่เกิดขึ้นจำเลยที่ ๑ จะต้องรับผิดชอบ การกำหนดเวลาดังกล่าวในสัญญาจึงไม่มีผลใช้บังคับและโจทก์ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเป็นการชำระค่าปรับ โจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ ๑ ไม่ชำระ ขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๙ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ให้จำเลยที่ ๑ ใช้เงินที่ค้างตามสำนวนแรกจำนวน ๑,๙๓๕,๐๐๐ บาท ตามสำนวนหลังจำนวน ๒,๖๒๖,๑๐๔ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๗ ในสำนวนแรกขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยนอกนั้นทั้งสองสำนวนให้การเป็นใจความว่า จำเลยทั้งเก้าได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยสุจริตถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการทุกประการ อุปสรรคตามที่โจทก์กล่าวอ้างมิได้เป็นอุปสรรคการทำงานของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ก็ได้ต่ออายุสัญญาในเหตุดังกล่าวให้ตามสมควรแล้ว เหตุทำงานล่าช้าของโจทก์ เพราะโจทก์ลงมือทำงานล่าช้ามาก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน
โจทก์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ ๑ ใช้เงินค่าก่อสร้างทั้งสองสำนวน(สองสัญญา) เป็นเงินรวม ๓,๗๖๒,๐๐๐ บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์และจำเลยที่ ๑ ฎีกาทั้งสองสำนวน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิปรับโจทก์เนื่องจากมีอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์เกิดขึ้นหลายประการ ในเรื่องเกี่ยวกับอุปสรรคที่โจทก์กล่าวอ้างนั้น แม้รับฟังได้ว่ามีอุปสรรคบางประการมิใช่ความผิดของโจทก์เกิดขึ้นจริง แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าก่อนครบกำหนดสิ้นสุดสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑โจทก์มีหนังสือลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๑ ไปยังจำเลยที่ ๑ เพื่อขอต่ออายุสัญญาตามเอกสารหมาย จ.๖๔ จำเลยที่ ๑ ได้เรียกโจทก์ไปทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๑เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๑ แม้จะมีการลดเวลาก่อสร้างลงอีกถึง ๕ วัน และขณะนั้นเหลือเวลาอีกเพียง ๑๔ วัน ก็จะถึงวันสิ้นสุดสัญญาที่แก้ไขใหม่ แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวโดยดี และแม้ต่อมาหลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑แล้ว โจทก์มีหนังสือลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ถึงจำเลยที่ ๑ ขอให้พิจารณาต่ออายุสัญญาที่๓๒/๒๕๒๑ อีกครั้งหนึ่ง ตามเอกสารหมาย จ.๖๓ แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ เรียกโจทก์ไปทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๓ ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ เสร็จแล้ว สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับหลังนี้เพิ่มเวลาก่อสร้างเพียง ๓ วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมากและก่อนหน้านั้นจำเลยที่ ๑ หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงินจำนวนมาก แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ โดยดีอีกเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างตามสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ซึ่งเป็นการก่อสร้างต่อเนื่องจากสัญญาที่๓๒/๒๕๒๑ นั้นสัญญาฉบับนี้กำหนดไว้ว่า ต้องลงมือก่อสร้างหลังจากสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ทำการก่อสร้างไปแล้ว ๑๗๐ วัน และปรากฏว่าการก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้ล่าช้ากว่ากำหนดเช่นเดียวกับสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ แม้น่าเชื่อว่าอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ล่าช้า มีผลทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้ล่าช้าไปด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ เรียกไปทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้เสร็จแล้ว สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้เพิ่มเวลาการก่อสร้างให้โจทก์อีกเพียง ๑๒๗ วันโจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ ๑ หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงินจำนวนมาก แต่โจทก์ยังคงยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ครั้งหลังนี้โดยดีอีกเช่นกัน พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญาในสัญญาทุกฉบับที่ทำกับจำเลยที่ ๑ และไม่ติดใจในเงินค่าปรับที่ต้องถูกหักจากค่าจ้างตามสัญญา มิฉะนั้นโจทก์คงไม่ยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับและยอมให้จำเลยที่ ๑ หักเงินไว้เป็นค่าปรับตอนจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละงวดโดยดี โดยเฉพาะขณะที่ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับครั้งสุดท้ายโจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายตามสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายไปแล้ว หากโจทก์ยังติดใจเรื่องกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญาและค่าปรับ โจทก์น่าจะทำความตกลงในเรื่องดังกล่าวกับจำเลยที่ ๑ ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เพราะไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องรีบลงนามในสัญญาเนื่องจากขณะนั้นไม่มีผลประโยชน์ที่โจทก์อาจต้องสูญเสียอีกแล้ว โจทก์เพิ่งโต้แย้งเรื่องเงินค่าปรับเมื่อจำเลยที่ ๑ มีหนังสือลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๔ แจ้งว่าจะต่ออายุสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ให้โจทก์อีก ๘๕ วัน ซึ่งมีผลทำให้โจทก์ได้ค่าปรับคืน ๘๕ วัน ตามเอกสารหมาย จ.๗๖ และนำคดีมาฟ้องขอคืนค่าปรับตามสัญญาทั้งสองฉบับทั้งหมดโดยอ้างว่าจำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิปรับ แต่เมื่อโจทก์ยอมทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับกับจำเลยที่ ๑ และมีพฤติการณ์ที่แสดงว่า โจทก์มิได้ติดใจเงินค่าปรับมาก่อน ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนั้นน่าเชื่อว่าเป็นเพราะหากปฏิบัติตามสัญญาต่อไป โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างตามสัญญาเป็นจำนวนมาก โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับที่ทำกับจำเลยที่ ๑ และไม่มีสิทธิเรียกคืนค่าปรับที่จำเลยที่ ๑ หักไว้ อย่างไรก็ตามคดีนี้โจทก์ฟ้องขอคืนค่าปรับทั้งหมด จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ยอมคืนค่าปรับให้โจทก์ ๘๕ วัน ซึ่งคิดเป็นเงิน ๓๘๒,๕๐๐ บาท แม้ในฎีกาของจำเลยที่ ๑ ก็มีข้อความยืนยันว่ายอมคืนค่าปรับจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยที่ ๑ จึงต้องคืนค่าปรับที่หักไว้จำนวน ๓๘๒,๕๐๐ บาทแก่โจทก์
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ ๑ ชำระเงินจำนวน ๓๘๒,๕๐๐ บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์.
แม้อุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าบางประการมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่ก่อนครบกำหนดสิ้นสุดสัญญาฉบับแรก โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวครั้งที่ 1มีการลดเวลาการก่อสร้างลงอีก 5 วัน และขณะนั้นเหลือเวลาอีกเพียง 14 วัน ก็จะถึงกำหนดเวลาที่แก้ไขใหม่ แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวโดยดี และต่อมาเมื่อมีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาดังกล่าวครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาดังกล่าวเสร็จแล้วสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับหลังเพิ่มเวลาก่อสร้างเพียง 3 วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับแรกครั้งที่ 2 โดยดีอีกเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างตามสัญญาฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นการก่อสร้างต่อเนื่องจากสัญญาฉบับแรก กำหนดไว้ว่าต้องลงมือก่อสร้างหลังจากทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับแรกไปแล้ว 170 วัน และปรากฏว่าการก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้ล่าช้ากว่ากำหนดเช่นเดียวกับสัญญาฉบับแรก แม้น่าเชื่อว่าอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับแรกล่าช้ามีผลทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับหลังล่าช้าไปด้วยแต่เมื่อมีการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาฉบับหลังครั้งที่ 2 ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับหลังเสร็จแล้ว สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเพิ่มเวลาการก่อสร้างให้โจทก์อีกเพียง 127 วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปเป็นจำนวนมาก แต่โจทก์ยังคงยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวอีกเช่นกัน พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับกำหนดเวลาสิ้นสุดในสัญญาทุกฉบับที่ทำกับจำเลยที่ 1 และไม่ติดใจเงินค่าปรับที่ต้องถูกหักจากค่าจ้างตามสัญญา โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับและไม่มีสิทธิเรียกคืนค่าปรับที่จำเลยที่ 1 หักไว้
คดีทั้งสองสำนวน ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาและพิพากษาด้วยกัน
โจทก์ฟ้องทั้งสองสำนวนว่า จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาจ้างเหมาโจทก์ทำการปรับปรุงถนนสุขุมวิท ๕๕ (ซอยทองหล่อ) ตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ และสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ โดยตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ให้โจทก์ก่อสร้างพื้นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างท่อระบายน้ำ สร้างคันหิน สร้างทางเท้าปูกระเบื้อง สร้างท่อลอดถนน สร้างเขื่อนกันดิน ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างเป็นรายเดือนตามผลงาน ค่างานทั้งหมดตามสัญญาไม่เกิน ๒๐,๕๓๘,๐๐๐ บาท กำหนดแล้วเสร็จตามสัญญาในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ หากเสร็จล่วงเลยเวลาถูกปรับเป็นรายวันวันละ ๔,๕๐๐ บาท ส่วนตามสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ให้โจทก์ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสร้างคันหิน สร้างทางเท้าปูกระเบื้อง ในวงเงินไม่เกิน ๙,๓๐๙,๑๘๘ บาท จำเลยที่ ๑ จะจ่ายเงินให้โจทก์เป็นรายเดือนตามผลงานโดยจะต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๒๒และโจทก์ต้องลงมือทำงานภายในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๑ หากเสร็จล่วงเลยเวลาถูกปรับวันละ ๔,๕๐๐ บาท การก่อสร้างตามสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ เป็นการกระทำต่อเนื่องจากสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ทั้งสองสัญญาจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้จำเลยที่ ๓, ๔ และ ๕ เป็นกรรมการตรวจการจ้างและมอบให้จำเลยที่ ๖, ๗, ๘ และ ๙เป็นผู้ควบคุมงานรับผิดชอบโดยตรง โจทก์ได้เข้าทำการก่อสร้างตามสัญญาทันที แต่ก็ได้พบอุปสรรคขัดขวางการทำงานของโจทก์ โดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ แต่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยทั้งเก้า ต่อมาวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๑ โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ลดระดับถนนลง ลดเวลาการทำงานตามสัญญาจาก ๓๐๐ วัน เหลือ ๒๙๕ วันแก้ไขเนื้องานและเงินตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ เป็นเงินตามสัญญา ๒๐,๒๑๐,๑๖๐.๗๕ บาทวันสิ้นสุดสัญญาเป็นวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ และได้มีการทำสัญญาแก้ไขสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑เพิ่มเติมอีก เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๒๒ เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑โจทก์ได้ทำการก่อสร้าง ส่งมอบงานและขอเบิกเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ และ๑๔๕/๒๕๒๑ โดยส่งมอบงานและขอเบิกเงินจากจำเลยที่ ๑ ตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ และสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมรวม ๘ ครั้ง รวมขอเบิก ๒๐,๔๖๑,๗๒๕.๕๕ บาท จำเลยที่ ๑ จ่ายให้โจทก์จำนวน ๑๘,๕๒๖,๗๒๕.๕๕ บาท จำเลยที่ ๑ หักไว้อ้างว่าเป็นค่าปรับจำนวนทั้งสิ้น๑,๙๓๕,๐๐๐ บาท ซึ่งจำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิจะหักไว้ และโจทก์ขอเบิกตามสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑และสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน ๖ ครั้ง รวมขอเบิก ๘,๙๔๓,๖๐๔ บาท จำเลยที่ ๑ จ่ายให้โจทก์ ๘,๑๒๖,๕๐๐ บาท จำเลยที่ ๑ หักไว้ อ้างว่าเป็นค่าปรับสร้างเกินกำหนดสัญญาจำนวนเงิน๒,๖๒๖,๑๐๔ บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิจะหักไว้ ต่อมาวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๓โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ แก้ไขวงเงินเป็น๒๐,๔๖๑,๗๒๕.๕๕ บาท และแก้ไขวันก่อสร้างแล้วเสร็จเป็น ๒๙๘ วัน ครบกำหนดวันที่ ๑๗พฤศจิกายน ๒๕๒๑ และวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ แก้ไขวงเงินเป็น ๙,๑๗๔,๘๐๔ บาท และแก้วันก่อสร้างให้เสร็จเป็น๓๓๔ วัน ครบกำหนดวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๒๒ เป็นการเอาเปรียบโจทก์แต่ฝ่ายเดียว ทั้งที่จำเลยที่ ๑ ทราบว่าอุปสรรคที่เกิดขึ้นจำเลยที่ ๑ จะต้องรับผิดชอบ การกำหนดเวลาดังกล่าวในสัญญาจึงไม่มีผลใช้บังคับและโจทก์ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา จำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเป็นการชำระค่าปรับ โจทก์ได้ทวงถามแล้ว จำเลยที่ ๑ ไม่ชำระ ขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๙ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริต ให้จำเลยที่ ๑ ใช้เงินที่ค้างตามสำนวนแรกจำนวน ๑,๙๓๕,๐๐๐ บาท ตามสำนวนหลังจำนวน ๒,๖๒๖,๑๐๔ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๗ ในสำนวนแรกขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยนอกนั้นทั้งสองสำนวนให้การเป็นใจความว่า จำเลยทั้งเก้าได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยสุจริตถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการทุกประการ อุปสรรคตามที่โจทก์กล่าวอ้างมิได้เป็นอุปสรรคการทำงานของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ก็ได้ต่ออายุสัญญาในเหตุดังกล่าวให้ตามสมควรแล้ว เหตุทำงานล่าช้าของโจทก์ เพราะโจทก์ลงมือทำงานล่าช้ามาก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน
โจทก์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ ๑ ใช้เงินค่าก่อสร้างทั้งสองสำนวน(สองสัญญา) เป็นเงินรวม ๓,๗๖๒,๐๐๐ บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์และจำเลยที่ ๑ ฎีกาทั้งสองสำนวน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิปรับโจทก์เนื่องจากมีอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์เกิดขึ้นหลายประการ ในเรื่องเกี่ยวกับอุปสรรคที่โจทก์กล่าวอ้างนั้น แม้รับฟังได้ว่ามีอุปสรรคบางประการมิใช่ความผิดของโจทก์เกิดขึ้นจริง แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าก่อนครบกำหนดสิ้นสุดสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑โจทก์มีหนังสือลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๑ ไปยังจำเลยที่ ๑ เพื่อขอต่ออายุสัญญาตามเอกสารหมาย จ.๖๔ จำเลยที่ ๑ ได้เรียกโจทก์ไปทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๑เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๑ แม้จะมีการลดเวลาก่อสร้างลงอีกถึง ๕ วัน และขณะนั้นเหลือเวลาอีกเพียง ๑๔ วัน ก็จะถึงวันสิ้นสุดสัญญาที่แก้ไขใหม่ แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวโดยดี และแม้ต่อมาหลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๑แล้ว โจทก์มีหนังสือลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ถึงจำเลยที่ ๑ ขอให้พิจารณาต่ออายุสัญญาที่๓๒/๒๕๒๑ อีกครั้งหนึ่ง ตามเอกสารหมาย จ.๖๓ แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ เรียกโจทก์ไปทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๓ ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ เสร็จแล้ว สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับหลังนี้เพิ่มเวลาก่อสร้างเพียง ๓ วัน โจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมากและก่อนหน้านั้นจำเลยที่ ๑ หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงินจำนวนมาก แต่โจทก์กลับยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ โดยดีอีกเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างตามสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ซึ่งเป็นการก่อสร้างต่อเนื่องจากสัญญาที่๓๒/๒๕๒๑ นั้นสัญญาฉบับนี้กำหนดไว้ว่า ต้องลงมือก่อสร้างหลังจากสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ทำการก่อสร้างไปแล้ว ๑๗๐ วัน และปรากฏว่าการก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้ล่าช้ากว่ากำหนดเช่นเดียวกับสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ แม้น่าเชื่อว่าอุปสรรคที่ทำให้การก่อสร้างตามสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ล่าช้า มีผลทำให้การก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้ล่าช้าไปด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ ๑ เรียกไปทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ซึ่งขณะนั้นโจทก์ทำการก่อสร้างตามสัญญาฉบับนี้เสร็จแล้ว สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้เพิ่มเวลาการก่อสร้างให้โจทก์อีกเพียง ๑๒๗ วันโจทก์ย่อมต้องทราบแล้วว่าระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนั้นน้อยกว่าเวลาที่โจทก์ใช้จริงมาก และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ ๑ หักค่าปรับจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดที่จ่ายให้โจทก์ไปแล้วเป็นเงินจำนวนมาก แต่โจทก์ยังคงยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาที่ ๑๔๕/๒๕๒๑ ครั้งหลังนี้โดยดีอีกเช่นกัน พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญาในสัญญาทุกฉบับที่ทำกับจำเลยที่ ๑ และไม่ติดใจในเงินค่าปรับที่ต้องถูกหักจากค่าจ้างตามสัญญา มิฉะนั้นโจทก์คงไม่ยอมลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับและยอมให้จำเลยที่ ๑ หักเงินไว้เป็นค่าปรับตอนจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละงวดโดยดี โดยเฉพาะขณะที่ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับครั้งสุดท้ายโจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายตามสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายไปแล้ว หากโจทก์ยังติดใจเรื่องกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญาและค่าปรับ โจทก์น่าจะทำความตกลงในเรื่องดังกล่าวกับจำเลยที่ ๑ ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เพราะไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องรีบลงนามในสัญญาเนื่องจากขณะนั้นไม่มีผลประโยชน์ที่โจทก์อาจต้องสูญเสียอีกแล้ว โจทก์เพิ่งโต้แย้งเรื่องเงินค่าปรับเมื่อจำเลยที่ ๑ มีหนังสือลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๔ แจ้งว่าจะต่ออายุสัญญาที่ ๓๒/๒๕๒๑ ให้โจทก์อีก ๘๕ วัน ซึ่งมีผลทำให้โจทก์ได้ค่าปรับคืน ๘๕ วัน ตามเอกสารหมาย จ.๗๖ และนำคดีมาฟ้องขอคืนค่าปรับตามสัญญาทั้งสองฉบับทั้งหมดโดยอ้างว่าจำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิปรับ แต่เมื่อโจทก์ยอมทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับกับจำเลยที่ ๑ และมีพฤติการณ์ที่แสดงว่า โจทก์มิได้ติดใจเงินค่าปรับมาก่อน ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนั้นน่าเชื่อว่าเป็นเพราะหากปฏิบัติตามสัญญาต่อไป โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างตามสัญญาเป็นจำนวนมาก โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทั้งสองฉบับที่ทำกับจำเลยที่ ๑ และไม่มีสิทธิเรียกคืนค่าปรับที่จำเลยที่ ๑ หักไว้ อย่างไรก็ตามคดีนี้โจทก์ฟ้องขอคืนค่าปรับทั้งหมด จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ยอมคืนค่าปรับให้โจทก์ ๘๕ วัน ซึ่งคิดเป็นเงิน ๓๘๒,๕๐๐ บาท แม้ในฎีกาของจำเลยที่ ๑ ก็มีข้อความยืนยันว่ายอมคืนค่าปรับจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยที่ ๑ จึงต้องคืนค่าปรับที่หักไว้จำนวน ๓๘๒,๕๐๐ บาทแก่โจทก์
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ ๑ ชำระเงินจำนวน ๓๘๒,๕๐๐ บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์.
แม้คำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ของโจทก์จะระบุว่า มิได้ประสงค์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่ประสงค์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดให้ก็ตาม แต่ผลของการขอก็คือขออนุญาตอุทธรณ์เมื่อพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั่นเอง ถือว่าคำร้องของโจทก์ทั้งสองเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 26 บัญญัติเรื่องการขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำป.วิ.พ.มาตรา 23 มาอนุโลมใช้ได้
ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามมาตรา 26 ซึ่งมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีเหตุสุดวิสัยอันไม่อาจก้าวล่วงได้หรือต้องมีพฤติการณ์พิเศษเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่อาจคัดคำพิพากษาศาลแรงงานเพื่อใช้ประกอบในการเขียนอุทธรณ์เนื่องจากยังพิมพ์ไม่เสร็จ ย่อมเป็นความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ก็สมควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ แต่คำพิพากษาศาลแรงงานยังพิมพ์ไม่เสร็จตามที่โจทก์อ้างจริงหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานจะต้องไต่สวนแล้วมีคำสั่งต่อไป ที่ศาลแรงงานยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ไต่สวนว่ามีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือไม่ จึงไม่ชอบ
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางพิจารณาและพิพากษารวมกันโดยให้เรียกโจทก์ตามลำดับสำนวนว่า โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๒
โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมเงินเพิ่มและดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสองและออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่โจทก์ที่ ๑
จำเลยทั้งสองสำนวนให้การและฟ้องแย้งเรียกเงินคืน ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ทั้งสองชดใช้เงินคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมายนับตั้งแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าชำระเสร็จ
โจทก์ทั้งสองสำนวนให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้องแย้งจำเลย
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง ๓๗,๓๓๓ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จ และออกใบสำคัญแสดงการทำงานของโจทก์ที่ ๑ ให้โจทก์ที่ ๒ ชำระเงิน ๒๓,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์ทั้งสองสำนวนยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์อ้างว่า คำพิพากษาศาลแรงงานกลางยังพิมพ์ไม่เสร็จ โจทก์ทั้งสองไม่สามารถคัดคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพื่อทำอุทธรณ์ ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์พิเศษและเหตุนี้ดำเนินมาจนพ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์กรณีเป็นเหตุขัดขวางให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงขอยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดให้
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า กรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันไม่อาจก้าวล่วงได้ จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้อง
โจทก์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า แม้คำร้องของโจทก์ทั้งสองจะระบุว่า มิได้ประสงค์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่ประสงค์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดให้ก็ตาม แต่ผลของการขอก็คือขออนุญาตอุทธรณ์เมื่อพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั่นเอง ถือว่าคำร้องของโจทก์ทั้งสองเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองว่า คดีมีเหตุขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๖ บัญญัติเรื่องการขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๒๓ มาอนุโลมใช้ตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ มาตรา ๒๖ แห่งบทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติว่า ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีเหตุสุดวิสัยอันไม่อาจก้าวล่วงได้หรือต้องมีพฤติการณ์พิเศษเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓ ไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์ทั้งสองไม่อาจคัดคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพื่อใช้ประกอบในการเขียนอุทธรณ์เนื่องจากยังพิมพ์ไม่เสร็จ ย่อมเป็นความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็สมควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งสองได้ แต่คำพิพากษาศาลแรงงานกลางยังพิมพ์ไม่เสร็จตามที่โจทก์ทั้งสองอ้างเป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานกลางจะต้องไต่สวนแล้วมีคำสั่งต่อไป ที่ศาลแรงงานกลางยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ไต่สวนว่ามีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมหรือไม่นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
พิพากษายกคำสั่งศาลแรงงานกลางที่สั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดให้ของโจทก์ทั้งสองสำนวน ให้ศาลแรงงานกลางไต่สวนคำร้องดังกล่าวแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี.
แม้คำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ของโจทก์จะระบุว่า มิได้ประสงค์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่ประสงค์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดให้ก็ตาม แต่ผลของการขอก็คือขออนุญาตอุทธรณ์เมื่อพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั่นเอง ถือว่าคำร้องของโจทก์ทั้งสองเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 26 บัญญัติเรื่องการขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำป.วิ.พ.มาตรา 23 มาอนุโลมใช้ได้
ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามมาตรา 26 ซึ่งมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีเหตุสุดวิสัยอันไม่อาจก้าวล่วงได้หรือต้องมีพฤติการณ์พิเศษเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่อาจคัดคำพิพากษาศาลแรงงานเพื่อใช้ประกอบในการเขียนอุทธรณ์เนื่องจากยังพิมพ์ไม่เสร็จ ย่อมเป็นความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ก็สมควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ แต่คำพิพากษาศาลแรงงานยังพิมพ์ไม่เสร็จตามที่โจทก์อ้างจริงหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานจะต้องไต่สวนแล้วมีคำสั่งต่อไป ที่ศาลแรงงานยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ไต่สวนว่ามีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือไม่ จึงไม่ชอบ
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางพิจารณาและพิพากษารวมกันโดยให้เรียกโจทก์ตามลำดับสำนวนว่า โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๒
โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมเงินเพิ่มและดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสองและออกหนังสือรับรองการทำงานให้แก่โจทก์ที่ ๑
จำเลยทั้งสองสำนวนให้การและฟ้องแย้งเรียกเงินคืน ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ทั้งสองชดใช้เงินคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมายนับตั้งแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าชำระเสร็จ
โจทก์ทั้งสองสำนวนให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้องแย้งจำเลย
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง ๓๗,๓๓๓ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จ และออกใบสำคัญแสดงการทำงานของโจทก์ที่ ๑ ให้โจทก์ที่ ๒ ชำระเงิน ๒๓,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์ทั้งสองสำนวนยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์อ้างว่า คำพิพากษาศาลแรงงานกลางยังพิมพ์ไม่เสร็จ โจทก์ทั้งสองไม่สามารถคัดคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพื่อทำอุทธรณ์ ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์พิเศษและเหตุนี้ดำเนินมาจนพ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์กรณีเป็นเหตุขัดขวางให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงขอยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดให้
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า กรณีไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันไม่อาจก้าวล่วงได้ จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้อง
โจทก์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า แม้คำร้องของโจทก์ทั้งสองจะระบุว่า มิได้ประสงค์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่ประสงค์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนดให้ก็ตาม แต่ผลของการขอก็คือขออนุญาตอุทธรณ์เมื่อพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั่นเอง ถือว่าคำร้องของโจทก์ทั้งสองเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองว่า คดีมีเหตุขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๖ บัญญัติเรื่องการขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา๒๓ มาอนุโลมใช้ตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ มาตรา ๒๖ แห่งบทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติว่า ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีเหตุสุดวิสัยอันไม่อาจก้าวล่วงได้หรือต้องมีพฤติการณ์พิเศษเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓ ไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์ทั้งสองไม่อาจคัดคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพื่อใช้ประกอบในการเขียนอุทธรณ์เนื่องจากยังพิมพ์ไม่เสร็จ ย่อมเป็นความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็สมควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งสองได้ แต่คำพิพากษาศาลแรงงานกลางยังพิมพ์ไม่เสร็จตามที่โจทก์ทั้งสองอ้างเป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานกลางจะต้องไต่สวนแล้วมีคำสั่งต่อไป ที่ศาลแรงงานกลางยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ไต่สวนว่ามีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมหรือไม่นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
พิพากษายกคำสั่งศาลแรงงานกลางที่สั่งยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดให้ของโจทก์ทั้งสองสำนวน ให้ศาลแรงงานกลางไต่สวนคำร้องดังกล่าวแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี.
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 มาตรา 53 ที่บัญญัติว่า"นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้ข้าราชการและลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล ซึ่งต้องออกจากราชการเพราะการยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวง กรมโยธาเทศบาลและลูกจ้างของการไฟฟ้ากรุงเทพ กระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นพนักงาน โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มเท่าที่ได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน และให้คณะกรรมการกำหนดอัตราเงินเดือนพนักงานดังกล่าว ซึ่งจำเป็นจะต้องบรรจุโดยให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่รับอยู่เดิม ทั้งนี้ให้เสร็จภายในหกสิบวัน"นั้น เป็นการกำหนดให้ลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล โอนมาเป็นพนักงานของการไฟฟ้านครหลวงตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้และมิได้ระบุถึงลูกจ้างประเภทใด จึงต้องหมายถึงลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงทุกประเภทแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของกองไฟฟ้าหลวง ก็มีฐานะเป็นลูกจ้างตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 โจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย ส่วนการที่จำเลยจะดำเนินการเกี่ยวกับวิธีบรรจุโจทก์อย่างไรและเมื่อใดนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีการของจำเลยเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทกฎหมายดังกล่าวเสียไป
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 มาตรา 53 ที่บัญญัติว่า"นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้ข้าราชการและลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล ซึ่งต้องออกจากราชการเพราะการยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวง กรมโยธาเทศบาลและลูกจ้างของการไฟฟ้ากรุงเทพ กระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นพนักงาน โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มเท่าที่ได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน และให้คณะกรรมการกำหนดอัตราเงินเดือนพนักงานดังกล่าว ซึ่งจำเป็นจะต้องบรรจุโดยให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่รับอยู่เดิม ทั้งนี้ให้เสร็จภายในหกสิบวัน"นั้น เป็นการกำหนดให้ลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล โอนมาเป็นพนักงานของการไฟฟ้านครหลวงตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้และมิได้ระบุถึงลูกจ้างประเภทใด จึงต้องหมายถึงลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงทุกประเภทแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของกองไฟฟ้าหลวง ก็มีฐานะเป็นลูกจ้างตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 โจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย ส่วนการที่จำเลยจะดำเนินการเกี่ยวกับวิธีบรรจุโจทก์อย่างไรและเมื่อใดนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีการของจำเลยเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทกฎหมายดังกล่าวเสียไป
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2534มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2534มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ค่าจ้างเดือนละ 38,000 บาท และจำเลยตกลงให้โจทก์กับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยพร้อมกับโจทก์ ร่วมกันระดมเงินฝากให้แก่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้ไม่ต่ำกว่าปีละ4,000 ล้านบาท จำเลยที่ 1 จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์กับพวกรวม 4 คน ในอัตราร้อยละ 0.06 ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน โดยจ่ายปีละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่โจทก์กับพวกไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง 2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปีจำเลยสามารถใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่ได้ ซึ่งตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ จำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และจำนวนมากน้อยเพียงใด จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์กับพวกร่วมกันระดมเงินฝากได้มากเกิน4,000 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี ตามสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ เพื่อเป็นการจูงใจให้โจทก์ขยันระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น ทั้งโจทก์จะได้รับเงินตอบแทนพิเศษนี้ปีละครั้งต่างหากจากเงินเดือน และเงินจำนวนนี้พนักงานอื่นไม่มีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน เพราะเป็นจำนวนไม่แน่นอน โจทก์และจำเลยได้ตกลงกำหนดจำนวนไว้เป็นจำนวนที่แน่นอนแล้ว แต่ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลย ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 (9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างที่พิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติแล้วแม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยที่ ๒ เป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีหน้าที่ดูแลและพิจารณาในการจ่ายเงินเดือนพนักงานของจำเลยที่ ๑ ให้เป็นไปตามข้อตกลงในการจ้างพนักงานเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๓๙ จำเลยทั้งสองตกลงจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ๒ มีหน้าที่ระดมเงินฝากจากประชาชนทั่วไปให้แก่จำเลยที่ ๑ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน ๒๖๖,๔๓๔.๗๗ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จให้แก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๑ ในตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ๒ มีหน้าที่ระดมเงินฝากจากประชาชนทั่วไป ได้รับอัตราค่าจ้างเดือนละ ๓๘,๐๐๐ บาท ค่าครองชีพเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท รวมทั้งค่าตอบแทนพิเศษคำนวณจากยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวันในอัตราร้อยละ ๐.๐๖ แต่หลังจากทำสัญญาจ้างจำเลยที่ ๑ ได้สอบถามธนาคารแห่งประเทศไทยและได้รับแจ้งว่า สัญญาจ้างขัดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๐ (๙) ซึ่งห้ามมิให้บริษัทเงินทุนจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นแก่กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทเงินทุนเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือประกอบธุรกิจใด ๆ ของบริษัทเงินทุน ทั้งนี้นอกจากบำเหน็จ เงินเดือน รางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ จำเลยที่ ๑จึงแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ ๑ ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนพิเศษได้ แต่โจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปีเหมือนพนักงานทั่วไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษ จำเลยที่ ๒ เป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารทั่วไปมิได้มีตำแหน่งเป็นนายจ้างโจทก์ จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ข้อตกลงให้จำเลยที่ ๑ จ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ ไม่เป็นโมฆะ นั้นเห็นว่า สัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ ข้อ ๑ และ ข้อ ๒.๓ จำเลยที่ ๑ ตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ๒ ค่าจ้างเดือนละ ๓๘,๐๐๐บาท และข้อ ๑ กับข้อ ๓ คู่สัญญาตกลงให้โจทก์กับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๑ พร้อมกับโจทก์ร่วมกันระดมเงินฝากให้แก่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นนายจ้างได้ไม่ต่ำกว่าปีละ ๔,๐๐๐ล้านบาท จำเลยที่ ๑ จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์กับพวกรวม ๔ คน ในอัตราร้อยละ๐.๐๖ ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน โดยจ่ายปีละหนึ่งครั้ง และตามสัญญาจ้างข้อ ๓.๔ วรรคสอง กำหนดไว้อีกว่าในกรณีที่โจทก์กับพวกไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง๒,๕๐๐ ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยที่ ๑ สามารถใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่ได้ ซึ่งตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ จำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และจำนวนมากน้อยเพียงใด ถ้าโจทก์ไม่สามารถระดมเงินฝากได้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษ หรือถ้าระดมเงินฝากได้น้อยโจทก์ก็จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงตามส่วน จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์กับพวกร่วมกันระดมเงินฝากได้มากเกิน ๔,๐๐๐ ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี ตามสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ เพื่อเป็นการจูงใจให้โจทก์ขยันระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น ทั้งโจทก์เบิกความรับว่า โจทก์จะได้รับเงินตอบแทนพิเศษนี้ปีละครั้งต่างหากจากเงินเดือน และเงินจำนวนนี้พนักงานอื่นไม่มีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน เพราะเป็นจำนวนไม่แน่นอน และเงินเดือนที่โจทก์จะได้รับนั้น โจทก์และจำเลยที่ ๑ ได้ตกลงกำหนดจำนวนไว้เดือนละ ๓๘,๐๐๐ บาท เป็นจำนวนที่แน่นอนแล้วแต่ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ ๑ ตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๐ (๙) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๐ และไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ ๑ ต้องปฏิบัติตาม จำเลยที่ ๑จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ ๑ ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างและจำเลยที่ ๒ จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ นั้น เห็นว่า เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติดังวินิจฉัยมาแล้ว แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ จ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง เพราะต้องห้ามมิให้จำเลยที่ ๑ จ่ายโดยกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
พิพากษายืน.
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ค่าจ้างเดือนละ 38,000 บาท และจำเลยตกลงให้โจทก์กับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยพร้อมกับโจทก์ ร่วมกันระดมเงินฝากให้แก่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้ไม่ต่ำกว่าปีละ4,000 ล้านบาท จำเลยที่ 1 จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์กับพวกรวม 4 คน ในอัตราร้อยละ 0.06 ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน โดยจ่ายปีละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่โจทก์กับพวกไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง 2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปีจำเลยสามารถใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่ได้ ซึ่งตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ จำนวนเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และจำนวนมากน้อยเพียงใด จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์กับพวกร่วมกันระดมเงินฝากได้มากเกิน4,000 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี ตามสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ เพื่อเป็นการจูงใจให้โจทก์ขยันระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น ทั้งโจทก์จะได้รับเงินตอบแทนพิเศษนี้ปีละครั้งต่างหากจากเงินเดือน และเงินจำนวนนี้พนักงานอื่นไม่มีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน เพราะเป็นจำนวนไม่แน่นอน โจทก์และจำเลยได้ตกลงกำหนดจำนวนไว้เป็นจำนวนที่แน่นอนแล้ว แต่ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลย ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20 (9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างที่พิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติแล้วแม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยที่ ๒ เป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีหน้าที่ดูแลและพิจารณาในการจ่ายเงินเดือนพนักงานของจำเลยที่ ๑ ให้เป็นไปตามข้อตกลงในการจ้างพนักงานเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๓๙ จำเลยทั้งสองตกลงจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ๒ มีหน้าที่ระดมเงินฝากจากประชาชนทั่วไปให้แก่จำเลยที่ ๑ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน ๒๖๖,๔๓๔.๗๗ บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จให้แก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๑ ในตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ๒ มีหน้าที่ระดมเงินฝากจากประชาชนทั่วไป ได้รับอัตราค่าจ้างเดือนละ ๓๘,๐๐๐ บาท ค่าครองชีพเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท รวมทั้งค่าตอบแทนพิเศษคำนวณจากยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวันในอัตราร้อยละ ๐.๐๖ แต่หลังจากทำสัญญาจ้างจำเลยที่ ๑ ได้สอบถามธนาคารแห่งประเทศไทยและได้รับแจ้งว่า สัญญาจ้างขัดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๐ (๙) ซึ่งห้ามมิให้บริษัทเงินทุนจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นแก่กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทเงินทุนเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือประกอบธุรกิจใด ๆ ของบริษัทเงินทุน ทั้งนี้นอกจากบำเหน็จ เงินเดือน รางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ จำเลยที่ ๑จึงแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ ๑ ไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนพิเศษได้ แต่โจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปีเหมือนพนักงานทั่วไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษ จำเลยที่ ๒ เป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารทั่วไปมิได้มีตำแหน่งเป็นนายจ้างโจทก์ จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ข้อตกลงให้จำเลยที่ ๑ จ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ ไม่เป็นโมฆะ นั้นเห็นว่า สัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ ข้อ ๑ และ ข้อ ๒.๓ จำเลยที่ ๑ ตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุน ๒ ค่าจ้างเดือนละ ๓๘,๐๐๐บาท และข้อ ๑ กับข้อ ๓ คู่สัญญาตกลงให้โจทก์กับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๑ พร้อมกับโจทก์ร่วมกันระดมเงินฝากให้แก่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นนายจ้างได้ไม่ต่ำกว่าปีละ ๔,๐๐๐ล้านบาท จำเลยที่ ๑ จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์กับพวกรวม ๔ คน ในอัตราร้อยละ๐.๐๖ ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน โดยจ่ายปีละหนึ่งครั้ง และตามสัญญาจ้างข้อ ๓.๔ วรรคสอง กำหนดไว้อีกว่าในกรณีที่โจทก์กับพวกไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง๒,๕๐๐ ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยที่ ๑ สามารถใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงสัญญากันใหม่ได้ ซึ่งตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ จำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้หรือไม่ และจำนวนมากน้อยเพียงใด ถ้าโจทก์ไม่สามารถระดมเงินฝากได้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษ หรือถ้าระดมเงินฝากได้น้อยโจทก์ก็จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงตามส่วน จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่ และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์กับพวกร่วมกันระดมเงินฝากได้มากเกิน ๔,๐๐๐ ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี ตามสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ เพื่อเป็นการจูงใจให้โจทก์ขยันระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น ทั้งโจทก์เบิกความรับว่า โจทก์จะได้รับเงินตอบแทนพิเศษนี้ปีละครั้งต่างหากจากเงินเดือน และเงินจำนวนนี้พนักงานอื่นไม่มีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทนพิเศษดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน เพราะเป็นจำนวนไม่แน่นอน และเงินเดือนที่โจทก์จะได้รับนั้น โจทก์และจำเลยที่ ๑ ได้ตกลงกำหนดจำนวนไว้เดือนละ ๓๘,๐๐๐ บาท เป็นจำนวนที่แน่นอนแล้วแต่ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ ๑ ตกลงจ่ายให้โจทก์สำหรับหรือเนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงิน โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๐ (๙) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ เกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงิน จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.๓ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๐ และไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ ๑ ต้องปฏิบัติตาม จำเลยที่ ๑จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามที่ตกลงในสัญญาจ้างให้โจทก์ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าตอบแทนพิเศษที่จำเลยที่ ๑ ตกลงจะจ่ายให้โจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างและจำเลยที่ ๒ จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ นั้น เห็นว่า เมื่อค่าตอบแทนพิเศษไม่เป็นเงินส่วนที่เป็นเงินเดือน เงินบำเหน็จ เงินรางวัล และเงินเพิ่มอย่างอื่นบรรดาที่พึงจ่ายตามปกติดังวินิจฉัยมาแล้ว แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินค่าจ้างดังโจทก์อุทธรณ์ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ จ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง เพราะต้องห้ามมิให้จำเลยที่ ๑ จ่ายโดยกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
พิพากษายืน.
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ แต่โจทก์มีคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามประกอบกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแสดงรายละเอียดการกระทำความผิดตั้งแต่ตอนจำเลยที่ 1 ทาบทามว่าจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่ 1 ประชุมวางแผน ลงมือฆ่า ปลดเอาสร้อยข้อมือของผู้ตายกับแสร้งเอาสร้อยคอของจำเลยที่ 1 ไปซ่อน แล้วจำเลยที่ 1 ใช้เศษไม้ขูดคอตนเองให้เป็นรอยเพื่อแสร้งทำว่าถูกคนร้ายตี และจำเลยทั้งสามได้แสดงแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ขอขมาศพผู้ตายกับบิดาผู้ตาย แสดงถึงความสำนึกผิด และจำเลยที่ 1 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาสร้อยข้อมือผู้ตายกับสร้อยคอของตนตรงที่ซ่อนไว้ ส่วนจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาเหล็กขูดชาพท์ซึ่งใช้แทงผู้ตายที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนี กับได้พบมีดปลายแหลมที่จำเลยที่ 3 ใช้แทงผู้ตายแล้วทิ้งไว้ ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในคำให้การ และจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปพบ อ.ที่ต่างจังหวัดให้นำไปยึดเอาสร้อยคอที่ร้านขายทองคืนมาด้วย นอกจากนี้โจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของ น. ร. กับ อ.ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ขอให้ น.นำสร้อยคอของกลางไปขายตรงตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1วานให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันพาอาวุธไปฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามฟ้อง
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะเกิดเหตุ แต่โจทก์มีคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสามประกอบกับคำเบิกความของพนักงานสอบสวนแสดงรายละเอียดการกระทำความผิดตั้งแต่ตอนจำเลยที่ 1 ทาบทามว่าจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่ 1 ประชุมวางแผน ลงมือฆ่า ปลดเอาสร้อยข้อมือของผู้ตายกับแสร้งเอาสร้อยคอของจำเลยที่ 1 ไปซ่อน แล้วจำเลยที่ 1 ใช้เศษไม้ขูดคอตนเองให้เป็นรอยเพื่อแสร้งทำว่าถูกคนร้ายตี และจำเลยทั้งสามได้แสดงแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ขอขมาศพผู้ตายกับบิดาผู้ตาย แสดงถึงความสำนึกผิด และจำเลยที่ 1 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาสร้อยข้อมือผู้ตายกับสร้อยคอของตนตรงที่ซ่อนไว้ ส่วนจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปเอาเหล็กขูดชาพท์ซึ่งใช้แทงผู้ตายที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนี กับได้พบมีดปลายแหลมที่จำเลยที่ 3 ใช้แทงผู้ตายแล้วทิ้งไว้ ตรงตามสถานที่ที่ระบุไว้ในคำให้การ และจำเลยที่ 2 ได้พาพนักงานสอบสวนไปพบ อ.ที่ต่างจังหวัดให้นำไปยึดเอาสร้อยคอที่ร้านขายทองคืนมาด้วย นอกจากนี้โจทก์ยังมีคำให้การชั้นสอบสวนของ น. ร. กับ อ.ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ขอให้ น.นำสร้อยคอของกลางไปขายตรงตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 พยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1วานให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันพาอาวุธไปฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามฟ้อง
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานปลอมเอกสาร เมื่อคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ปลอมเอกสาร ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยได้ปลอมเอกสารหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏผลของคดีในส่วนอาญาว่าเป็นประการใด ศาลจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์โดยร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิมีข้อความเป็นเท็จแล้วนำสืบอ้างเป็นพยานต่อศาล และร่วมกันอ้างและนำสืบจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔และที่ ๕ อันเป็นการอ้างและนำสืบพยานบุคคลอันเป็นเท็จในคดีหมายเลขแดงที่ ๔๑๙๘/๒๕๒๓ ของศาลชั้นต้น นอกจากนี้จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ได้เบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวอันเป็นเท็จในประเด็นสำคัญด้วย จากการกระทำของจำเลยทั้งห้าทำให้ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหลงเชื่อพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ เป็นเงิน๑๘๘,๒๑๔,๕๗๖.๓๓ บาท จากการกระทำของจำเลยที่ ๔ และที่ ๕ เป็นเงิน ๑๙๑,๘๔๒,๗๖๕.๑๔ บาทขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยทั้งห้าให้การว่า เอกสารตามฟ้องเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้อง จำเลยที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ เบิกความไปตามความเป็นจริง มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเป็นฟ้องซ้ำ และดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๓๖๑/๒๕๒๕ และฟ้องจำเลยที่ ๔ และที่ ๕ ตามคดีหมายเลขดำที่ ๑๒๐๗๗/๒๕๒๖ ต่อศาลอาญาในข้อหานำสืบแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เบิกความเท็จ ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารปลอมดังนั้นในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันปลอมเอกสารหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๔๖ แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนคงปรากฏผลเฉพาะคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๓๖๑/๒๕๒๕ เท่านั้นว่าคดีถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าเอกสารดังกล่าวมิใช่เอกสารปลอม คดีสำหรับจำเลยที่ ๑ ที่ ๒และที่ ๓ โจทก์จึงผูกพันตามคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ มิได้ปลอมเอกสาร ส่วนคดีหมายเลขดำที่ ๑๒๐๗๗/๒๕๒๖ ไม่ปรากฏผลของคดีเป็นประการใด จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน แล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำละเมิดต่อโจทก์
พิพากษายืน.
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานปลอมเอกสาร เมื่อคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ปลอมเอกสาร ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยได้ปลอมเอกสารหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏผลของคดีในส่วนอาญาว่าเป็นประการใด ศาลจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์โดยร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิมีข้อความเป็นเท็จแล้วนำสืบอ้างเป็นพยานต่อศาล และร่วมกันอ้างและนำสืบจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔และที่ ๕ อันเป็นการอ้างและนำสืบพยานบุคคลอันเป็นเท็จในคดีหมายเลขแดงที่ ๔๑๙๘/๒๕๒๓ ของศาลชั้นต้น นอกจากนี้จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ได้เบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวอันเป็นเท็จในประเด็นสำคัญด้วย จากการกระทำของจำเลยทั้งห้าทำให้ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหลงเชื่อพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ เป็นเงิน๑๘๘,๒๑๔,๕๗๖.๓๓ บาท จากการกระทำของจำเลยที่ ๔ และที่ ๕ เป็นเงิน ๑๙๑,๘๔๒,๗๖๕.๑๔ บาทขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยทั้งห้าให้การว่า เอกสารตามฟ้องเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้อง จำเลยที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ เบิกความไปตามความเป็นจริง มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเป็นฟ้องซ้ำ และดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๓๖๑/๒๕๒๕ และฟ้องจำเลยที่ ๔ และที่ ๕ ตามคดีหมายเลขดำที่ ๑๒๐๗๗/๒๕๒๖ ต่อศาลอาญาในข้อหานำสืบแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เบิกความเท็จ ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารปลอมดังนั้นในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันปลอมเอกสารหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๔๖ แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนคงปรากฏผลเฉพาะคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๓๖๑/๒๕๒๕ เท่านั้นว่าคดีถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าเอกสารดังกล่าวมิใช่เอกสารปลอม คดีสำหรับจำเลยที่ ๑ ที่ ๒และที่ ๓ โจทก์จึงผูกพันตามคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาว่า จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ มิได้ปลอมเอกสาร ส่วนคดีหมายเลขดำที่ ๑๒๐๗๗/๒๕๒๖ ไม่ปรากฏผลของคดีเป็นประการใด จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน แล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำละเมิดต่อโจทก์
พิพากษายืน.
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง จำต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ กล่าวคือนายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้างด้วย
จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้างแต่เพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือในภายหลัง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 46 วรรคสี่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การเลิกจ้างที่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา582 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าใด จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้างจำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คดีทั้งยี่สิบสามสำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน โดยเรียกโจทก์เรียงตามลำดับสำนวนว่า โจทก์ที่ ๑ ถึงโจทก์ที่ ๒๓
โจทก์ทั้งยี่สิบสามสำนวนฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐จำเลยในฐานะประธานกรรมการผู้ชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลกับคณะได้มีมติให้จ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าทำงานเป็นลูกจ้างทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินและการชำระบัญชี ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามโดยโจทก์ทั้งยี่สิบสามไม่มีความผิดและไม่บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ทั้งยี่สิบสามมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอายุงานและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นอกจากนี้การเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งยี่สิบสามพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามตารางท้ายคำฟ้อง
จำเลยทั้งยี่สิบสามสำนวนให้การว่า โจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นลูกจ้างขององค์การเหมืองแร่ในทะเล จำเลยไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสาม เมื่อวันที่๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบองค์การเหมืองแร่ในทะเล มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การเหมืองแร่ในทะเลชำระบัญชีให้เสร็จภายในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๐ ต่อมาขยายระยะเวลาออกไปจนถึงวันที่๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีโดยมีจำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเป็นประธานกรรมการ จำเลยได้ลงนามในหนังสือว่าจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นลูกจ้างชั่วคราวระหว่างชำระบัญชีโดยกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ต่อมาได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเมื่อครบกำหนดตามที่ระบุในสัญญา การชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลเป็นงานในโครงการเฉพาะไม่ใช่งานปกติของธุรกิจที่มีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอนและเป็นงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวมีกำหนดการสิ้นสุดไม่เกินสองปี เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์ทั้งยี่สิบสามทราบดีก่อนเข้าทำสัญญาเป็นลูกจ้างชั่วคราว การเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงเป็นธรรมแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยอยู่ในฐานะนายจ้าง โจทก์ทั้งยี่สิบสามมีอำนาจฟ้องจำเลย ส่วนการชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลเกิดขึ้นโดยสภาพบังคับตามบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกายุบเลิกองค์การเหมืองแร่ในทะเล และคณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การเหมืองแร่ในทะเลชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๓๐ธันวาคม ๒๕๔๐ ดังนั้น สภาพของงานชำระบัญชีจึงเป็นงานโครงการเฉพาะกิจที่มิใช่งานปกติในธุรกิจหรือการค้าขององค์การเหมืองแร่ในทะเล และอาจกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอนได้ การชำระบัญชีอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้เสร็จในเวลาไม่เกิน ๒ ปีจำเลยกระทำการแทนองค์การเหมืองแร่ในทะเลจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเพื่อช่วยชำระบัญชีในงานโครงการเฉพาะกิจที่มิใช่งานอันเป็นปกติธุรกิจหรือการค้าขององค์การเหมืองแร่ในทะเล มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาจ้างแน่นอนและระยะเวลาจ้างไม่เกิน ๒ ปี ทั้งเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ทั้งยี่สิบสามสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งยี่สิบสามอุทธรณ์ข้อแรกว่า องค์การเหมืองแร่ในทะเลมีทรัพย์สินและหนี้สินจำนวนมากมีมูลค่าหลายร้อยล้านบาทต้องขยายระยะเวลาการชำระบัญชีออกไปเป็นช่วง ๆ ระยะเวลาผ่านมาเกือบ ๒ ปีแล้วแต่ไม่มีทีท่าว่าจะชำระบัญชีเสร็จ ประกอบกับมีการต่ออายุสัญญาออกไปคราวละ ๓ เดือนหลายครั้ง สัญญาจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงไม่เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาสิ้นสุดของงานไว้แน่นอน ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้น ประเด็นนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า เดิมจำเลยจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐ โดยมิได้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือต่อมาภายหลังจึงได้เริ่มทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นหนังสือฉบับแรกตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาจ้างตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ เมื่อสัญญาจ้างดังกล่าวถึงกำหนดจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๓ ถึงโจทก์ที่ ๑๙ส่วนโจทก์ที่ ๒ และโจทก์ที่ ๒๐ ถึงโจทก์ที่ ๒๓ จำเลยทำสัญญาจ้างต่อไปอีกรวมคนละ๓ ครั้งแล้ว จึงเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นวันครบกำหนดสัญญาจ้างฉบับสุดท้าย คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลไว้ชัดเจน และนโยบายของรัฐได้แสดงแจ้งชัดถึงกรอบเวลาการชำระบัญชีไม่เกิน ๒ ปี ทั้งปริมาณงานตลอดจนหนี้สินที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามกล่าวอ้างมิใช่อุปสรรคที่ทำให้ไม่อาจกำหนดเวลาชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นได้แน่นอน เชื่อว่าการชำระบัญชีอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้เสร็จในเวลาไม่เกิน ๒ ปี ศาลฎีกาเห็นว่า สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างนั้นจำต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖ วรรคสี่ด้วย กล่าวคือ นายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง เมื่อจำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้างในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐ แต่เพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือฉบับแรกในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยทุกประการก็ยังไม่เข้าข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวเมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบสามพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ส่วนที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามอุทธรณ์ข้อสุดท้ายว่า เคยปรากฏตัวอย่างการชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลที่ยุบเลิกไปแล้วใช้เวลาชำระบัญชีถึง ๙ปีเศษ ซึ่งลักษณะงานและสภาพขององค์การคล้ายกับกิจการขององค์การเหมืองแร่ในทะเล โจทก์ทั้งยี่สิบสามเชื่อว่ามีโอกาสทำงานกับจำเลยไปอีกนานจึงมิได้เตรียมตัวหางานสำรองไว้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามภายหลังจากระยะเวลาการจ้างเดิมสิ้นสุดไปแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เห็นว่า การเลิกจ้างที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๒ วรรคหนึ่ง นั้นจะต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า จำเลยจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามโดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้างเช่นนี้จึงเป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ ๑ ถึงโจทก์ที่ ๒๓ จำนวน ๑๖,๙๕๐ บาท ๕๗,๓๓๐ บาท ๒๙,๗๕๐ บาท ๑๖,๙๕๐ บาท๑๐,๗๓๐ บาท ๒๓,๐๒๐ บาท ๑๖,๙๕๐ บาท ๒๓,๐๒๐ บาท ๒๓,๐๒๐ บาท ๑๑,๙๙๐บาท ๑๐,๑๕๐ บาท ๗,๒๑๐ บาท ๑๑,๓๔๐ บาท ๒๓,๐๒๐ บาท ๑๕,๙๙๐ บาท๑๗,๙๙๐ บาท ๑๖,๙๕๐ บาท ๒๑,๖๒๐ บาท ๑๗,๙๙๐ บาท ๑๒๓,๓๖๐ บาท๑๑๙,๑๙๐ บาท ๗๓,๕๖๐ บาท และ ๕๓,๙๗๐ บาท ตามลำดับ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าวนับแต่วันเลิกจ้าง (โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๓ ถึงโจทก์ที่ ๑๙ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ โจทก์ที่ ๒ และโจทก์ที่ ๒๐ ถึงโจทก์ที่ ๒๓ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑) ซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง จำต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสี่ กล่าวคือนายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้างด้วย
จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้างแต่เพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือในภายหลัง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ 46 วรรคสี่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การเลิกจ้างที่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา582 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าใด จำเลยจ้างโจทก์โดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้างจำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คดีทั้งยี่สิบสามสำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน โดยเรียกโจทก์เรียงตามลำดับสำนวนว่า โจทก์ที่ ๑ ถึงโจทก์ที่ ๒๓
โจทก์ทั้งยี่สิบสามสำนวนฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐จำเลยในฐานะประธานกรรมการผู้ชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลกับคณะได้มีมติให้จ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเข้าทำงานเป็นลูกจ้างทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินและการชำระบัญชี ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามโดยโจทก์ทั้งยี่สิบสามไม่มีความผิดและไม่บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ทั้งยี่สิบสามมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอายุงานและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นอกจากนี้การเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบสามได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งยี่สิบสามพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามตารางท้ายคำฟ้อง
จำเลยทั้งยี่สิบสามสำนวนให้การว่า โจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นลูกจ้างขององค์การเหมืองแร่ในทะเล จำเลยไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสาม เมื่อวันที่๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบองค์การเหมืองแร่ในทะเล มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การเหมืองแร่ในทะเลชำระบัญชีให้เสร็จภายในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๐ ต่อมาขยายระยะเวลาออกไปจนถึงวันที่๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีโดยมีจำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเป็นประธานกรรมการ จำเลยได้ลงนามในหนังสือว่าจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นลูกจ้างชั่วคราวระหว่างชำระบัญชีโดยกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ต่อมาได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเมื่อครบกำหนดตามที่ระบุในสัญญา การชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลเป็นงานในโครงการเฉพาะไม่ใช่งานปกติของธุรกิจที่มีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอนและเป็นงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวมีกำหนดการสิ้นสุดไม่เกินสองปี เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย โจทก์ทั้งยี่สิบสามทราบดีก่อนเข้าทำสัญญาเป็นลูกจ้างชั่วคราว การเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงเป็นธรรมแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยอยู่ในฐานะนายจ้าง โจทก์ทั้งยี่สิบสามมีอำนาจฟ้องจำเลย ส่วนการชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลเกิดขึ้นโดยสภาพบังคับตามบทบัญญัติของพระราชกฤษฎีกายุบเลิกองค์การเหมืองแร่ในทะเล และคณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การเหมืองแร่ในทะเลชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๓๐ธันวาคม ๒๕๔๐ ดังนั้น สภาพของงานชำระบัญชีจึงเป็นงานโครงการเฉพาะกิจที่มิใช่งานปกติในธุรกิจหรือการค้าขององค์การเหมืองแร่ในทะเล และอาจกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่แน่นอนได้ การชำระบัญชีอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้เสร็จในเวลาไม่เกิน ๒ ปีจำเลยกระทำการแทนองค์การเหมืองแร่ในทะเลจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเพื่อช่วยชำระบัญชีในงานโครงการเฉพาะกิจที่มิใช่งานอันเป็นปกติธุรกิจหรือการค้าขององค์การเหมืองแร่ในทะเล มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาจ้างแน่นอนและระยะเวลาจ้างไม่เกิน ๒ ปี ทั้งเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ทั้งยี่สิบสามสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งยี่สิบสามอุทธรณ์ข้อแรกว่า องค์การเหมืองแร่ในทะเลมีทรัพย์สินและหนี้สินจำนวนมากมีมูลค่าหลายร้อยล้านบาทต้องขยายระยะเวลาการชำระบัญชีออกไปเป็นช่วง ๆ ระยะเวลาผ่านมาเกือบ ๒ ปีแล้วแต่ไม่มีทีท่าว่าจะชำระบัญชีเสร็จ ประกอบกับมีการต่ออายุสัญญาออกไปคราวละ ๓ เดือนหลายครั้ง สัญญาจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามจึงไม่เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและระยะเวลาสิ้นสุดของงานไว้แน่นอน ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้น ประเด็นนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า เดิมจำเลยจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามทำงานตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐ โดยมิได้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือต่อมาภายหลังจึงได้เริ่มทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นหนังสือฉบับแรกตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาจ้างตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ เมื่อสัญญาจ้างดังกล่าวถึงกำหนดจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๓ ถึงโจทก์ที่ ๑๙ส่วนโจทก์ที่ ๒ และโจทก์ที่ ๒๐ ถึงโจทก์ที่ ๒๓ จำเลยทำสัญญาจ้างต่อไปอีกรวมคนละ๓ ครั้งแล้ว จึงเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑ ซึ่งเป็นวันครบกำหนดสัญญาจ้างฉบับสุดท้าย คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลไว้ชัดเจน และนโยบายของรัฐได้แสดงแจ้งชัดถึงกรอบเวลาการชำระบัญชีไม่เกิน ๒ ปี ทั้งปริมาณงานตลอดจนหนี้สินที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามกล่าวอ้างมิใช่อุปสรรคที่ทำให้ไม่อาจกำหนดเวลาชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นได้แน่นอน เชื่อว่าการชำระบัญชีอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้เสร็จในเวลาไม่เกิน ๒ ปี ศาลฎีกาเห็นว่า สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างนั้นจำต้องมีลักษณะเข้าข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖ วรรคสี่ด้วย กล่าวคือ นายจ้างและลูกจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง เมื่อจำเลยไม่ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามเป็นหนังสือตั้งแต่แรกที่เริ่มจ้างในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๐ แต่เพิ่งจะมาทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือฉบับแรกในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยทุกประการก็ยังไม่เข้าข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวเมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบสามพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ส่วนที่โจทก์ทั้งยี่สิบสามอุทธรณ์ข้อสุดท้ายว่า เคยปรากฏตัวอย่างการชำระบัญชีขององค์การเหมืองแร่ในทะเลที่ยุบเลิกไปแล้วใช้เวลาชำระบัญชีถึง ๙ปีเศษ ซึ่งลักษณะงานและสภาพขององค์การคล้ายกับกิจการขององค์การเหมืองแร่ในทะเล โจทก์ทั้งยี่สิบสามเชื่อว่ามีโอกาสทำงานกับจำเลยไปอีกนานจึงมิได้เตรียมตัวหางานสำรองไว้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามภายหลังจากระยะเวลาการจ้างเดิมสิ้นสุดไปแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เห็นว่า การเลิกจ้างที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๒ วรรคหนึ่ง นั้นจะต้องเป็นการจ้างที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดลงไว้ในสัญญาว่าจะจ้างกันนานเท่าไร เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า จำเลยจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามโดยทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือมีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามในวันที่ครบกำหนดในสัญญาจ้างเช่นนี้จึงเป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบสามตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ ๑ ถึงโจทก์ที่ ๒๓ จำนวน ๑๖,๙๕๐ บาท ๕๗,๓๓๐ บาท ๒๙,๗๕๐ บาท ๑๖,๙๕๐ บาท๑๐,๗๓๐ บาท ๒๓,๐๒๐ บาท ๑๖,๙๕๐ บาท ๒๓,๐๒๐ บาท ๒๓,๐๒๐ บาท ๑๑,๙๙๐บาท ๑๐,๑๕๐ บาท ๗,๒๑๐ บาท ๑๑,๓๔๐ บาท ๒๓,๐๒๐ บาท ๑๕,๙๙๐ บาท๑๗,๙๙๐ บาท ๑๖,๙๕๐ บาท ๒๑,๖๒๐ บาท ๑๗,๙๙๐ บาท ๑๒๓,๓๖๐ บาท๑๑๙,๑๙๐ บาท ๗๓,๕๖๐ บาท และ ๕๓,๙๗๐ บาท ตามลำดับ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าวนับแต่วันเลิกจ้าง (โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๓ ถึงโจทก์ที่ ๑๙ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ โจทก์ที่ ๒ และโจทก์ที่ ๒๐ ถึงโจทก์ที่ ๒๓ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑) ซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่า โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จึงไม่ชอบ
ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ 160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ 160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง
โจทก์ทั้งสิบห้าสำนวนฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทั้งหมดทำงานเป็นลูกจ้าง ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดโดยโจทก์ทั้งหมดไม่มีความผิดและไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์แต่ละคนตามคำขอท้ายฟ้อง
จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนให้การว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งหมด เพียงแต่จำเลยปิดกิจการตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๑
ในวันนัดพิจารณาจำเลยแถลงรับว่าจำเลยปิดกิจการตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๑ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งหมด
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งหมดเป็นลูกจ้างของจำเลย การที่จำเลยปิดกิจการตั้งแต่วันที่ ๑๖กรกฎาคม ๒๕๔๑ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ทั้งหมดไม่มีความผิด และจำเลยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งหมด แล้วพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ๔๐,๕๐๐ บาท ๒๐,๗๐๐ บาท ๔๐,๕๐๐ บาท ๑๘,๙๐๐บาท ๑๕,๓๐๐ บาท ๑๕,๓๐๐ บาท ๓๕,๑๐๐ บาท ๑๕,๓๐๐ บาท ๑๕,๓๐๐ บาท๑๕,๓๐๐ บาท ๓๙,๖๐๐ บาท ๔๗,๗๐๐ บาท ๑๔,๕๘๐ บาท ๖๐,๐๐๐ บาท และ๕๕,๘๐๐ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๑๕ ตามลำดับ และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๒,๔๗๕ บาท ๒,๕๓๐ บาท ๒,๔๗๕ บาท ๒,๓๑๐ บาท ๑,๘๗๐ บาท ๑,๘๗๐บาท ๒,๑๔๕ บาท ๑,๘๗๐ บาท ๑,๘๗๐ บาท ๑,๘๗๐ บาท ๒,๔๒๐ บาท ๒,๙๑๕บาท ๑,๗๖๐ บาท ๕,๖๖๖ บาท และ ๓,๔๑๐ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๑๕ ตามลำดับ
จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางงดสืบพยานโจทก์จำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับฟังพยานหลักฐาน และจำเลยปิดกิจการยังไม่เป็นการเลิกจ้างนั้น เห็นว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖ วรรคสอง บัญญัติว่าการเลิกจ้างหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามที่ทนายจำเลยทั้งสิบห้าสำนวนแถลงเพียงว่า จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนปิดกิจการตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม๒๕๔๑ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งหมด แล้วสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๑ ข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่เพียงพอฟังว่าโจทก์ทั้งหมดไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖ วรรคสอง หรือไม่
อนึ่ง ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๑ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ๑๖๐ บาท เป็นวันละ ๑๖๒ บาท แต่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ที่ ๑๓ ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๑ วันเป็นเงิน ๑,๗๖๐ บาท เป็นการคำนวณจากค่าจ้างวันละ ๑๖๐ บาท ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง
พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย ให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานในเรื่องโจทก์ทั้งหมดไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่จนสิ้นกระแสความแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่า โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จึงไม่ชอบ
ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ 160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ 160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง
โจทก์ทั้งสิบห้าสำนวนฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทั้งหมดทำงานเป็นลูกจ้าง ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดโดยโจทก์ทั้งหมดไม่มีความผิดและไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์แต่ละคนตามคำขอท้ายฟ้อง
จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนให้การว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งหมด เพียงแต่จำเลยปิดกิจการตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๑
ในวันนัดพิจารณาจำเลยแถลงรับว่าจำเลยปิดกิจการตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๑ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งหมด
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งหมดเป็นลูกจ้างของจำเลย การที่จำเลยปิดกิจการตั้งแต่วันที่ ๑๖กรกฎาคม ๒๕๔๑ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ทั้งหมดไม่มีความผิด และจำเลยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งหมด แล้วพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ๔๐,๕๐๐ บาท ๒๐,๗๐๐ บาท ๔๐,๕๐๐ บาท ๑๘,๙๐๐บาท ๑๕,๓๐๐ บาท ๑๕,๓๐๐ บาท ๓๕,๑๐๐ บาท ๑๕,๓๐๐ บาท ๑๕,๓๐๐ บาท๑๕,๓๐๐ บาท ๓๙,๖๐๐ บาท ๔๗,๗๐๐ บาท ๑๔,๕๘๐ บาท ๖๐,๐๐๐ บาท และ๕๕,๘๐๐ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๑๕ ตามลำดับ และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๒,๔๗๕ บาท ๒,๕๓๐ บาท ๒,๔๗๕ บาท ๒,๓๑๐ บาท ๑,๘๗๐ บาท ๑,๘๗๐บาท ๒,๑๔๕ บาท ๑,๘๗๐ บาท ๑,๘๗๐ บาท ๑,๘๗๐ บาท ๒,๔๒๐ บาท ๒,๙๑๕บาท ๑,๗๖๐ บาท ๕,๖๖๖ บาท และ ๓,๔๑๐ บาท แก่โจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๑๕ ตามลำดับ
จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางงดสืบพยานโจทก์จำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายในการรับฟังพยานหลักฐาน และจำเลยปิดกิจการยังไม่เป็นการเลิกจ้างนั้น เห็นว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖ วรรคสอง บัญญัติว่าการเลิกจ้างหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามที่ทนายจำเลยทั้งสิบห้าสำนวนแถลงเพียงว่า จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนปิดกิจการตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม๒๕๔๑ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยทั้งสิบห้าสำนวนมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งหมด แล้วสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๑ ข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่เพียงพอฟังว่าโจทก์ทั้งหมดไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๖ วรรคสอง หรือไม่
อนึ่ง ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๑ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ๑๖๐ บาท เป็นวันละ ๑๖๒ บาท แต่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ที่ ๑๓ ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๑ วันเป็นเงิน ๑,๗๖๐ บาท เป็นการคำนวณจากค่าจ้างวันละ ๑๖๐ บาท ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง
พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย ให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานในเรื่องโจทก์ทั้งหมดไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่จนสิ้นกระแสความแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 23 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด
การประเมินโดยวิธีการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงาน-ประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคารที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินทีได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณา สำนวนแรกโจทก์ฟ้องว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ทั้งสองประจำปี ๒๕๐๖ ถึง ๒๕๑๕เป็นเงินภาษีและเงินเพิ่มรวม ๕๐,๓๐๘,๐๓๑.๘๒ บาท โจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่โจทก์ทั้งสองไม่สามารถปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเนื่องจากมีเหตุการณ์บังคับให้โจทก์ทั้งสองต้องเดินทางออกจากประเทศไทยและไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับหมายเรียกและมิได้จงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก การประเมินตามมาตรา ๔๙ ก็ไม่ปรากฏว่าได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร และทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานประเมินถือเป็นรายได้ของโจทก์ทั้งสองนั้น เจ้าพนักงานประเมินก็ถือเอาเป็นเงินได้สุทธิโดยมิได้ถือเอาเป็นหลักในการพิจารณากำหนดเงินได้สุทธิตามกฎหมาย อีกทั้งทรัพย์สินที่โจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์เป็นทรัพย์สินที่มีผู้ให้โจทก์ทั้งสองบ้าง ถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่นบ้าง เงินในธนาคารบางส่วนก็เป็นของผู้อื่น ที่โจทก์ทั้งสองถอนไปก็เพื่อใช้จ่ายในกิจการส่วนตัว ธุรกิจ และราชการ มิใช่เงินได้พึงประเมินอันจะต้องนำมารวมคำนวณภาษี และการกำหนดรายจ่ายของครอบครัวเพื่อเอาไปเป็นหลักในการพิจารณาค่าใช้จ่ายเพื่อกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์ก็เอาค่าใช้จ่ายในครอบครัวของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งมีฐานะความเป็นอยู่สูงกว่าโจทก์ทั้งสองมาเปรียบเทียบแล้วถือเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินรวม ๑๐ ฉบับ ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๒และคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๓
จำเลยให้การว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
สำนวนหลังโจทก์ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองเสียภาษีเงินได้ประจำปี ๒๕๑๖ โดยให้โจทก์ทั้งสองเสียภาษีเพิ่มเติมจากเงินภาษีที่ได้หักไว้ณ ที่จ่ายเป็นเงิน ๘,๑๕๑,๗๖๑.๙๘ บาท เงินเพิ่มสองเท่าเป็นเงิน ๑๖,๓๐๓,๕๒๓.๙๖ บาทรวมเป็นเงิน ๒๔,๔๕๕,๒๘๕.๙๔ บาท โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์แล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะเงินได้สุทธิที่จะกำหนดขึ้นและนำไปใช้ในการประเมินตามมาตรา ๔๙ จะต้องเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐คงเหลือหลังจากหักค่าลดหย่อนแล้ว แต่ในรายการคำนวณเพื่อกำหนดเงินได้เพิ่มสุทธิของเจ้าพนักงานประเมิน ไม่มีเงินจำนวนใดที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ กฎหมายมิได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินถือเอาทรัพย์สิน รายจ่าย การถอนเงินจากธนาคารมากำหนดเป็นเงินได้สุทธิเลยทีเดียว เพียงแต่ให้นำมาเป็นหลักในการพิจารณาเท่านั้น และเจ้าพนักงานประเมินได้นำทรัพย์สินบางรายการที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่นมาเป็นเงินได้ของโจทก์และประเมินซ้ำซ้อน โดยไม่หักค่าทรัพย์สินออกจากรายการถอนเงินจากธนาคารและรายการถอนเงินจากธนาคารซึ่งเป็นของทางราชการ เจ้าพนักงานประเมินก็กำหนดเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์ และรายการถอนเงินจากธนาคารก็พัวพันกับยอดเงินฝากธนาคารในปี ๒๕๑๕ จึงเป็นการประเมินซ้ำซ้อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งการกำหนดเงินได้สุทธิดังกล่าวก็ไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงาน-ประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยให้การว่า เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินและเงินที่มีเพิ่มขึ้นในปีนั้น ๆ มาบวกด้วยรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ บวกด้วยรายจ่ายที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าจ่ายไปเพื่อการใด เมื่อรวมกันแล้วเอาเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๔๒ มาหักให้เงินที่เหลือถือว่าเป็นเงินได้ที่ได้รับเพิ่ม แล้วนำค่าลดหย่อนตามกฎหมายมาหักให้ เหลือเท่าใดก็เป็นเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้น และเจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ประเมินภาษีโจทก์ทั้งสองตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๔๙ แล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินในสำนวนแรกเฉพาะที่ให้โจทก์รับผิดเงินเพิ่ม ๒ เท่าจำนวนภาษีอากร เป็นว่า ให้รับผิดเงินเพิ่มร้อยละ ๒๐ แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องโจทก์สำนวนหลัง
โจทก์ทั้งสองและจำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำนวนแรก (คดีหมายเลขแดงที่ ๙๔๑๙/๒๕๒๒ ของศาลชั้นต้น) เสียด้วย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ทั้งสองสำนวนฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาในประการแรกคือ โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องในสำนวนแรกหรือไม่ ปัญหาข้อนี้เห็นว่า บทบัญญัติของมาตรา ๒๑ และ ๒๕ แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินทั้งในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษียื่นรายการและไม่ได้ยื่นรายการนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองได้เดินทางออกไปจากประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ๒๕๑๖เนื่องจากเหตุการณ์บังคับเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และขณะที่เจ้าพนักงานประเมินส่งหมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา ๑๙ และ ๒๓ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองจึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์คดีสำนวนแรกได้
คดีมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในคดีทั้งสองสำนวนนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ ๒ นั้น ศาลฎีกาได้พิจารณาข้อความตามหมายเรียกเอกสารหมาย ล.๘, ล.๑๐ และ ล.๒๔ แล้ว เอกสารทั้งสามฉบับระบุข้อความเป็นอย่างเดียวกันว่า "หมายมายังพันเอกณรงค์ กิตติขจร" ซึ่งเป็นโจทก์ที่ ๑ เท่านั้น มิได้ระบุถึงชื่อหรือกล่าวความอย่างใดให้เห็นเลยว่าเป็นหมายถึงนางสุภาพร กิตติขจร โจทก์ที่ ๒ ด้วยดังนี้เห็นว่า การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ ๑ ซึ่งเป็นสามีเท่านั้น จะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ ๒ ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๑๙ และ ๒๓ กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา๕๗ ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา ๑๙ และ ๒๓ เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ ๒ มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๙และ ๒๓ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในคดีทั้งสองสำนวนเกี่ยวกับโจทก์ที่ ๒จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ ๒ ก็ดี หรือวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ที่ ๒ ก็ดี พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
สำหรับคดีของโจทก์ที่ ๑ นั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ ๑ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้เฉพาะเงินได้จากเงินเดือนของทางราชการ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ที่ ๑ ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้แล้ว แต่รายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องหรือไม่บริบูรณ์ตามมาตรา ๑๙ ดังนั้นหากโจทก์ที่ ๑ จะต้องเสียภาษี โจทก์ที่ ๑ ก็ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ ๒๐ ตามมาตรา ๒๒ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้นเท่านั้นส่วนปัญหาที่ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในสำนวนแรกชอบหรือไม่นั้น เนื่องจากข้อพิพาทในสำนวนแรกนั้นเป็นภาษีเงินได้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๕ ศาลฎีกาจะพิจารณาการประเมินว่าชอบหรือไม่เป็นสองส่วน ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ที่ ๑ ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีแต่ละปีในวันใดนั้น ไม่ปรากฏชัดแจ้งจากการนำสืบ จึงต้องถือเอาวันสุดท้ายที่อาจจะยื่นได้ตามที่มาตรา ๕๖ กำหนด ตามลำดับของแต่ละปี คือวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๗ เรียงลำดับมาจนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๑๖ เป็นวันที่โจทก์ที่ ๑ ยื่นแบบแสดงรายการ จากบทบัญญัติของมาตรา ๑๙ ที่กล่าวข้างต้นนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนได้ จะต้องออกหมายเรียกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว ถ้าเจ้าพนักงาน-ประเมินมิได้ออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการแล้ว ก็ไม่มีอำนาจที่จะออกหมายเรียกมาไต่สวนได้อีก กำหนดเวลาห้าปีในมาตรา ๑๙ นั้น มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการไม่ถูกต้องมาไต่สวน พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลให้เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๐๖/๒๕๒๐ระหว่าง นายสิริ ประวาทะนาวิน โจทก์ กรมสรรพากร กับพวก จำเลย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในการกำหนดเวลา อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๑๙จึงหมดไป อำนาจที่ประเมินตามมาตรา ๒๐ ก็ดี หรืออำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา ๔๙ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ ข้อนี้แม้โจทก์ที่ ๑ จะมิได้ยกขึ้นเป็นเหตุอ้างในฎีกา แต่เมื่อการประเมินภาษีใหม่ของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบกขึ้นมาวินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๐๙/๒๔๙๕ ระหว่าง นางทองย้อย จิตตะวนิช โจทก์ ขุนบริบาลบรรพตเขตโดยตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดนครสวรรค์ กับพวก จำเลย ในเมื่อภาษีเงินได้ของโจทก์ที่ ๑ปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐ นั้น โจทก์ที่ ๑ ต้องยื่นแบบแสดงรายการอย่างช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ของปีถัดไปและปีสุดท้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการอย่างช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๑๑ เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์ที่ ๑ เพื่อไต่สวนตามเอกสารหมาย ล.๘ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๖อันเป็นการล่วงพ้น ๕ ปี สำหรับปีภาษี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐ จึงเป็นการออกหมายเรียกไต่สวนเกี่ยวกับภาษีอากรในปีดังกล่าว โดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย อำนาจในการประเมินภาษีอากรในปีดังกล่าวของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มี การประเมินภาษีอากรในปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐ จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ยืนในผลของการประเมินดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วย
สำหรับคดีของโจทก์ที่ ๑ ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีอากรปี ๒๕๑๑ - ๒๕๑๕สำนวนคดีแรก และภาษีอากรปี ๒๕๑๖ สำนวนคดีหลังนั้น โจทก์ที่ ๑ ฎีกามาประการหนึ่งว่าเจ้าพนักงานประเมินกำหนดเงินได้สุทธิไม่ชอบเพราะยังไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อนตามที่กำหนดในมาตรา ๔๙ ข้อเท็จจริงเชื่อได้ตามคำเบิกความของนายวิชาญพยานจำเลยที่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา ๔๙ ก่อน เมื่อกำหนดเงินได้สุทธิแล้วจึงแจ้งการประเมินและปรากฏตามเอกสารหมาย ล.๑๑ ว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติให้กำหนดเงินได้สุทธิสำหรับปีภาษีอากรปี ๒๕๑๑ - ๒๕๑๕ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๑๗ เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดเงินได้สุทธิแล้วแจ้งประเมินตามแบบ ภ.ง.ด.๑๑ เอกสารหมาย ล.๒๓ ลงวันที่ ๓ตุลาคม ๒๕๑๗ สำหรับภาษีอากรปี ๒๕๑๖ ได้มีการขออนุมัติกำหนดเงินได้สุทธิสองครั้ง ครั้งแรกตามเอกสารหมาย ล.๑๑ และครั้งที่สองตามเอกสารหมาย ล.๒๘ ซี่งอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติทั้งสองครั้ง ครั้งหลังตามเอกสารหมาย ล.๒๘ อนุมัติเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๑๘เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดเงินได้สุทธิตามเอกสารหมาย ล.๒๙ และได้แจ้งการประเมินตามแบบ ภ.ง.ด.๑๑ เอกสารหมาย ล.๓๑ ประทับตราวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๑๘ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้กำหนดเงินได้สุทธิถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๙ แล้ว ก่อนที่จะมีการกำหนดเงินได้สุทธิและแจ้งการประเมินที่โจทก์ฎีกาอ้างเหตุผลว่า เจ้าพนักงานประเมินมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อนออกหมายเรียกไต่สวน การประเมินจึงไม่ชอบ นั้น เห็นว่า บทบัญญัติในมาตรา ๔๙ ที่กำหนดให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา ๔๙เท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๓ ซึ่งทั้งสองมาตรานี้ไม่มีกำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อน ฎีกาของโจทก์ที่ ๑ ตามเหตุที่อ้างจึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์ที่ ๑ ฏีกาอีกประการหนึ่งว่า การกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบ เพราะเจ้าพนักงานประเมินถือเอาเงินหรือทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธ์หรือที่เข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ทั้งหมดเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์ทั้งสองสำหรับภาษีเงินได้ปี ๒๕๐๖ -๒๕๑๕ และปี ๒๕๑๖ ตามเอกสารหมาย ล.๑๑, ล.๑๙ และเอกสารหมาย ล.๒๘ - ล.๓๐ นั้นปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าเจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคาร ที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินรายได้นั้นมาหักเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมายและหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ ซึ่งวิธีการคำนวณเพื่อกำหนดเงินได้สุทธิของจำเลยดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ ๒ ทั้งหมดทั้งสองสำนวน ส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ ๑ ให้เพิกถอนสำหรับภาษีอากรปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐ ทั้งหมด ส่วนภาษีอากรของโจทก์ที่ ๑ ในปี ๒๕๑๑ - ๒๕๑๕ ในสำนวนแรกให้เพิกถอนส่วนที่โจทก์ที่ ๑ เสียเงินเพิ่มสองเท่าของเงินภาษี แต่เมื่อจำเลยคำนวณภาษีเงินได้ใหม่ดังกล่าวแล้ว ให้โจทก์ที่ ๑เสียเงินเพิ่มร้อยละ ๒๐ ของเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 23 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด
การประเมินโดยวิธีการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงาน-ประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคารที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินทีได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณา สำนวนแรกโจทก์ฟ้องว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ทั้งสองประจำปี ๒๕๐๖ ถึง ๒๕๑๕เป็นเงินภาษีและเงินเพิ่มรวม ๕๐,๓๐๘,๐๓๑.๘๒ บาท โจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่โจทก์ทั้งสองไม่สามารถปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเนื่องจากมีเหตุการณ์บังคับให้โจทก์ทั้งสองต้องเดินทางออกจากประเทศไทยและไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับหมายเรียกและมิได้จงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก การประเมินตามมาตรา ๔๙ ก็ไม่ปรากฏว่าได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร และทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานประเมินถือเป็นรายได้ของโจทก์ทั้งสองนั้น เจ้าพนักงานประเมินก็ถือเอาเป็นเงินได้สุทธิโดยมิได้ถือเอาเป็นหลักในการพิจารณากำหนดเงินได้สุทธิตามกฎหมาย อีกทั้งทรัพย์สินที่โจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์เป็นทรัพย์สินที่มีผู้ให้โจทก์ทั้งสองบ้าง ถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่นบ้าง เงินในธนาคารบางส่วนก็เป็นของผู้อื่น ที่โจทก์ทั้งสองถอนไปก็เพื่อใช้จ่ายในกิจการส่วนตัว ธุรกิจ และราชการ มิใช่เงินได้พึงประเมินอันจะต้องนำมารวมคำนวณภาษี และการกำหนดรายจ่ายของครอบครัวเพื่อเอาไปเป็นหลักในการพิจารณาค่าใช้จ่ายเพื่อกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์ก็เอาค่าใช้จ่ายในครอบครัวของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งมีฐานะความเป็นอยู่สูงกว่าโจทก์ทั้งสองมาเปรียบเทียบแล้วถือเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินรวม ๑๐ ฉบับ ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๒และคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๓
จำเลยให้การว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
สำนวนหลังโจทก์ฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองเสียภาษีเงินได้ประจำปี ๒๕๑๖ โดยให้โจทก์ทั้งสองเสียภาษีเพิ่มเติมจากเงินภาษีที่ได้หักไว้ณ ที่จ่ายเป็นเงิน ๘,๑๕๑,๗๖๑.๙๘ บาท เงินเพิ่มสองเท่าเป็นเงิน ๑๖,๓๐๓,๕๒๓.๙๖ บาทรวมเป็นเงิน ๒๔,๔๕๕,๒๘๕.๙๔ บาท โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์แล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะเงินได้สุทธิที่จะกำหนดขึ้นและนำไปใช้ในการประเมินตามมาตรา ๔๙ จะต้องเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐คงเหลือหลังจากหักค่าลดหย่อนแล้ว แต่ในรายการคำนวณเพื่อกำหนดเงินได้เพิ่มสุทธิของเจ้าพนักงานประเมิน ไม่มีเงินจำนวนใดที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ กฎหมายมิได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินถือเอาทรัพย์สิน รายจ่าย การถอนเงินจากธนาคารมากำหนดเป็นเงินได้สุทธิเลยทีเดียว เพียงแต่ให้นำมาเป็นหลักในการพิจารณาเท่านั้น และเจ้าพนักงานประเมินได้นำทรัพย์สินบางรายการที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์แทนผู้อื่นมาเป็นเงินได้ของโจทก์และประเมินซ้ำซ้อน โดยไม่หักค่าทรัพย์สินออกจากรายการถอนเงินจากธนาคารและรายการถอนเงินจากธนาคารซึ่งเป็นของทางราชการ เจ้าพนักงานประเมินก็กำหนดเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์ และรายการถอนเงินจากธนาคารก็พัวพันกับยอดเงินฝากธนาคารในปี ๒๕๑๕ จึงเป็นการประเมินซ้ำซ้อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งการกำหนดเงินได้สุทธิดังกล่าวก็ไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงาน-ประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยให้การว่า เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินและเงินที่มีเพิ่มขึ้นในปีนั้น ๆ มาบวกด้วยรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ บวกด้วยรายจ่ายที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าจ่ายไปเพื่อการใด เมื่อรวมกันแล้วเอาเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา ๔๒ มาหักให้เงินที่เหลือถือว่าเป็นเงินได้ที่ได้รับเพิ่ม แล้วนำค่าลดหย่อนตามกฎหมายมาหักให้ เหลือเท่าใดก็เป็นเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้น และเจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ประเมินภาษีโจทก์ทั้งสองตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๔๙ แล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินในสำนวนแรกเฉพาะที่ให้โจทก์รับผิดเงินเพิ่ม ๒ เท่าจำนวนภาษีอากร เป็นว่า ให้รับผิดเงินเพิ่มร้อยละ ๒๐ แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องโจทก์สำนวนหลัง
โจทก์ทั้งสองและจำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำนวนแรก (คดีหมายเลขแดงที่ ๙๔๑๙/๒๕๒๒ ของศาลชั้นต้น) เสียด้วย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ทั้งสองสำนวนฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาในประการแรกคือ โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องในสำนวนแรกหรือไม่ ปัญหาข้อนี้เห็นว่า บทบัญญัติของมาตรา ๒๑ และ ๒๕ แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินทั้งในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษียื่นรายการและไม่ได้ยื่นรายการนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองได้เดินทางออกไปจากประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ๒๕๑๖เนื่องจากเหตุการณ์บังคับเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และขณะที่เจ้าพนักงานประเมินส่งหมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา ๑๙ และ ๒๓ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองจึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์คดีสำนวนแรกได้
คดีมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในคดีทั้งสองสำนวนนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ ๒ นั้น ศาลฎีกาได้พิจารณาข้อความตามหมายเรียกเอกสารหมาย ล.๘, ล.๑๐ และ ล.๒๔ แล้ว เอกสารทั้งสามฉบับระบุข้อความเป็นอย่างเดียวกันว่า "หมายมายังพันเอกณรงค์ กิตติขจร" ซึ่งเป็นโจทก์ที่ ๑ เท่านั้น มิได้ระบุถึงชื่อหรือกล่าวความอย่างใดให้เห็นเลยว่าเป็นหมายถึงนางสุภาพร กิตติขจร โจทก์ที่ ๒ ด้วยดังนี้เห็นว่า การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ ๑ ซึ่งเป็นสามีเท่านั้น จะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ ๒ ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๑๙ และ ๒๓ กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา๕๗ ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา ๑๙ และ ๒๓ เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ ๒ มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา ๑๙และ ๒๓ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในคดีทั้งสองสำนวนเกี่ยวกับโจทก์ที่ ๒จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ ๒ ก็ดี หรือวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ที่ ๒ ก็ดี พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
สำหรับคดีของโจทก์ที่ ๑ นั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ ๑ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้เฉพาะเงินได้จากเงินเดือนของทางราชการ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์ที่ ๑ ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้แล้ว แต่รายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องหรือไม่บริบูรณ์ตามมาตรา ๑๙ ดังนั้นหากโจทก์ที่ ๑ จะต้องเสียภาษี โจทก์ที่ ๑ ก็ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ ๒๐ ตามมาตรา ๒๒ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้นเท่านั้นส่วนปัญหาที่ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในสำนวนแรกชอบหรือไม่นั้น เนื่องจากข้อพิพาทในสำนวนแรกนั้นเป็นภาษีเงินได้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๕ ศาลฎีกาจะพิจารณาการประเมินว่าชอบหรือไม่เป็นสองส่วน ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ที่ ๑ ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีแต่ละปีในวันใดนั้น ไม่ปรากฏชัดแจ้งจากการนำสืบ จึงต้องถือเอาวันสุดท้ายที่อาจจะยื่นได้ตามที่มาตรา ๕๖ กำหนด ตามลำดับของแต่ละปี คือวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๗ เรียงลำดับมาจนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๑๖ เป็นวันที่โจทก์ที่ ๑ ยื่นแบบแสดงรายการ จากบทบัญญัติของมาตรา ๑๙ ที่กล่าวข้างต้นนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนได้ จะต้องออกหมายเรียกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้ว ถ้าเจ้าพนักงาน-ประเมินมิได้ออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันยื่นรายการแล้ว ก็ไม่มีอำนาจที่จะออกหมายเรียกมาไต่สวนได้อีก กำหนดเวลาห้าปีในมาตรา ๑๙ นั้น มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการไม่ถูกต้องมาไต่สวน พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลให้เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๐๖/๒๕๒๐ระหว่าง นายสิริ ประวาทะนาวิน โจทก์ กรมสรรพากร กับพวก จำเลย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในการกำหนดเวลา อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๑๙จึงหมดไป อำนาจที่ประเมินตามมาตรา ๒๐ ก็ดี หรืออำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา ๔๙ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ ข้อนี้แม้โจทก์ที่ ๑ จะมิได้ยกขึ้นเป็นเหตุอ้างในฎีกา แต่เมื่อการประเมินภาษีใหม่ของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบกขึ้นมาวินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๐๙/๒๔๙๕ ระหว่าง นางทองย้อย จิตตะวนิช โจทก์ ขุนบริบาลบรรพตเขตโดยตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดนครสวรรค์ กับพวก จำเลย ในเมื่อภาษีเงินได้ของโจทก์ที่ ๑ปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐ นั้น โจทก์ที่ ๑ ต้องยื่นแบบแสดงรายการอย่างช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ของปีถัดไปและปีสุดท้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการอย่างช้าวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๑๑ เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์ที่ ๑ เพื่อไต่สวนตามเอกสารหมาย ล.๘ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๖อันเป็นการล่วงพ้น ๕ ปี สำหรับปีภาษี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐ จึงเป็นการออกหมายเรียกไต่สวนเกี่ยวกับภาษีอากรในปีดังกล่าว โดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย อำนาจในการประเมินภาษีอากรในปีดังกล่าวของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มี การประเมินภาษีอากรในปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐ จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ยืนในผลของการประเมินดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วย
สำหรับคดีของโจทก์ที่ ๑ ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีอากรปี ๒๕๑๑ - ๒๕๑๕สำนวนคดีแรก และภาษีอากรปี ๒๕๑๖ สำนวนคดีหลังนั้น โจทก์ที่ ๑ ฎีกามาประการหนึ่งว่าเจ้าพนักงานประเมินกำหนดเงินได้สุทธิไม่ชอบเพราะยังไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อนตามที่กำหนดในมาตรา ๔๙ ข้อเท็จจริงเชื่อได้ตามคำเบิกความของนายวิชาญพยานจำเลยที่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา ๔๙ ก่อน เมื่อกำหนดเงินได้สุทธิแล้วจึงแจ้งการประเมินและปรากฏตามเอกสารหมาย ล.๑๑ ว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติให้กำหนดเงินได้สุทธิสำหรับปีภาษีอากรปี ๒๕๑๑ - ๒๕๑๕ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๑๗ เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดเงินได้สุทธิแล้วแจ้งประเมินตามแบบ ภ.ง.ด.๑๑ เอกสารหมาย ล.๒๓ ลงวันที่ ๓ตุลาคม ๒๕๑๗ สำหรับภาษีอากรปี ๒๕๑๖ ได้มีการขออนุมัติกำหนดเงินได้สุทธิสองครั้ง ครั้งแรกตามเอกสารหมาย ล.๑๑ และครั้งที่สองตามเอกสารหมาย ล.๒๘ ซี่งอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติทั้งสองครั้ง ครั้งหลังตามเอกสารหมาย ล.๒๘ อนุมัติเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๑๘เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดเงินได้สุทธิตามเอกสารหมาย ล.๒๙ และได้แจ้งการประเมินตามแบบ ภ.ง.ด.๑๑ เอกสารหมาย ล.๓๑ ประทับตราวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๑๘ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้กำหนดเงินได้สุทธิถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๙ แล้ว ก่อนที่จะมีการกำหนดเงินได้สุทธิและแจ้งการประเมินที่โจทก์ฎีกาอ้างเหตุผลว่า เจ้าพนักงานประเมินมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อนออกหมายเรียกไต่สวน การประเมินจึงไม่ชอบ นั้น เห็นว่า บทบัญญัติในมาตรา ๔๙ ที่กำหนดให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา ๔๙เท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๓ ซึ่งทั้งสองมาตรานี้ไม่มีกำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อน ฎีกาของโจทก์ที่ ๑ ตามเหตุที่อ้างจึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์ที่ ๑ ฏีกาอีกประการหนึ่งว่า การกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบ เพราะเจ้าพนักงานประเมินถือเอาเงินหรือทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธ์หรือที่เข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ทั้งหมดเป็นเงินได้สุทธิของโจทก์พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์ทั้งสองสำหรับภาษีเงินได้ปี ๒๕๐๖ -๒๕๑๕ และปี ๒๕๑๖ ตามเอกสารหมาย ล.๑๑, ล.๑๙ และเอกสารหมาย ล.๒๘ - ล.๓๐ นั้นปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าเจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคาร ที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินรายได้นั้นมาหักเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมายและหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ ซึ่งวิธีการคำนวณเพื่อกำหนดเงินได้สุทธิของจำเลยดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ ๒ ทั้งหมดทั้งสองสำนวน ส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ ๑ ให้เพิกถอนสำหรับภาษีอากรปี ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐ ทั้งหมด ส่วนภาษีอากรของโจทก์ที่ ๑ ในปี ๒๕๑๑ - ๒๕๑๕ ในสำนวนแรกให้เพิกถอนส่วนที่โจทก์ที่ ๑ เสียเงินเพิ่มสองเท่าของเงินภาษี แต่เมื่อจำเลยคำนวณภาษีเงินได้ใหม่ดังกล่าวแล้ว ให้โจทก์ที่ ๑เสียเงินเพิ่มร้อยละ ๒๐ ของเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์.
สต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าระหว่างผลิตส่วนสต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นสินค้าที่เก็บในโกดัง เป็นสต๊อกสินค้าต่างรายการกัน จึงมิใช่การเอาประกันภัยซ้ำซ้อน โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดที่ว่าโจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงการประกันภัยสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัยอื่น โจทก์แจ้งความเสียหายและมูลค่าของทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริงมากมาย ถือว่าเป็นการฉ้อฉล และโจทก์ละเลยไม่สงวนรักษาซากทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ซากทรัพย์สินสูญหาย เป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น นอกจากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้เช่นนั้น หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสามไม่เคยยกข้ออ้างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดกลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
ธนาคารผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้จากจำเลยที่ 3
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ตอนวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ยที่ให้จำเลยที่ 3 ใช้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่ให้เหตุผลในคำวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4)ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยใหัชัดเจน
คดีทั้งสามสำนวนศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน โดยโจทก์เป็นบุคคลรายเดียวกัน และกำหนดให้เรียกจำเลยในสำนวนที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ตามลำดับ
โจทก์ฟ้องทั้งสามสำนวนว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันรับประกันภัยทรัพย์สินโจทก์คือสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ วัตถุดิบระหว่างการผลิต สินค่ากึ่งสำเร็จรูปเครื่องทำความเย็น รวมทั้งอุปกรณ์ปั๊มน้ำมัน สายไฟ หลอดไฟ ตู้ไฟ มูลค่ารวม ๕๕,๐๐๐,๐๐๐ บาทโดยจำเลยที่ ๑ รับประกันเป็นมูลค่า ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๒ รับประกันเป็นมูลค่า๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๓ ซึ่งรับโอนกิจการมาจากบริษัทแฮนโอเวอร์ อินชัวรันส์ จำกัดรับประกันเป็นมูลค่า ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนั้นจำเลยที่ ๒ ยังได้ร่วมกับบริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด รับประกันสิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรอุปกรณ์ สต๊อกอะไหล่ สต๊อกสินค้าต่าง ๆไว้จากโจทก์ เป็นเงิน บริษัทละ ๔๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และจำเลยที่ ๒ ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ ๓รับประกันภัยสต๊อกสินค้าฝ้ายอัดเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งเก็บอยู่ในโรงงานปั่นด้าย กรอด้ายและโกดังอีกบริษัทละ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยโจทก์รับผิดชอบเองเป็นเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๓ ยังรับประกันภัยเครื่องจักรต่าง ๆ และอุปกรณ์เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ บาทด้วย และโจทก์ยังได้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ ๓ เพิ่มอีก ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยโจทก์ตกลงให้ธนาคารกรุงเทพจำกัด เป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยสองฉบับหลังในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๓ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงงานของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้และอยู่ในระหว่างกรมธรรม์ประกันภัยยังมีผลใช้บังคับ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์และโจทก์แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ๓ ทราบแล้วเช่นกัน ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามส่วนในกรมธรรม์ประกันภัยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุเพลิงไหม้จนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า เหตุเพลิงไหม้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ จำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิด โจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหลายประการ ความรับผิดของจำเลยทั้งสามเป็นอันลบล้างไปค่าเสียหายของโจทก์ตามฟ้องสูงกว่าความเป็นจริงมาก หากจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำนวนเงินที่จำเลยทั้งสามต้องเฉลี่ยชดใช้ให้แก่โจทก์ก็ไม่ถึงที่โจทก์ฟ้อง การโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด มาเป็นของโจทก์ไม่มีผลตามกฎหมายและไม่ผูกพันจำเลยที่ ๓ เพราะคู่กรณีมิได้ทำบันทึกการโอนต่อหน้าและด้วยนความยินยอมของจำเลยที่ ๓ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แล้ววินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ ๑ ฎีกาว่าโจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทราบถึงการประกันภัยสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัยอื่น คือ บริษัทจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นเงินทุนประกันภัยอีกบริษัทละ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวม ๑๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท และไม่ได้มีการบันทึกรายการประกันภัยไว้ในกรมธรรม์-ประกันภัยเอกสารหมาย ล.๒ ถือได้ว่าโจทก์ละเลยมิได้ปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมายล.๒ ข้อ ๒ จำเลยที่ ๑ จึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น เห็นว่าสต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันไว้กับจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ รวม ๑๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท นั้น เป็นสินค้าต่างรายการกันกับที่เอาประกันไว้กับจำเลยที่ ๑ ซึ่งจะเห็นได้จากคำเบิกความของนายพิพัฒน์ ศิริเกียรติสูง กรรมการโจทก์ที่ว่าสต๊อกสินค้าที่เอาประกันภัยจำเลยที่ ๑ ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.๒ เป็นสินค้าระหว่างผลิตส่วนสต๊อกสินค้าที่เอาประกันภัยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตามกรมธรรม์เอกสารหมาย จ.๕ และ จ.๗เป็นสินค้าที่เก็บในโกดัง ซึ่งสอดคล้องกับที่ปรากฏในเอกสาร จึงมิใช่การเอาประกันภัยซ้ำซ้อนไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทราบ ทั้งความข้อนี้จำเลยที่ ๑ ก็ไม่เคยปฏิเสธหรือยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปัดความรับผิดมาก่อนเลย และเมื่อพิจารณาเรื่องค่าเสียหาย จำเลยที่ ๑ ก็ยอมรับจะชดใช้ค่าเสียหายให้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ ๑ ก็ไม่ได้ถือเอาเงื่อนไขดังกล่าวเป็นสาเหตุที่จะไม่ต้องรับผิด
ที่จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ฎีกาว่า เมื่อเกิดเพลิงไหม้ โจทก์ได้แจ้งความเสียหายและมูลค่าของทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริงมากมาย ถือว่าเป็นการฉ้อฉลผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ ๑๔.๒ ซึ่งเป็นข้อสาระสำคัญทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดนั้น เห็นว่าจำเลยว่าจ้างสำนักงานสำรวจทรัพย์สินและประเมินราคาไปประเมินความเสียหาย ซึ่งสำนักงานดังกล่าวก็ได้ทำรายงานผลการสำรวจที่เป็นประโยชน์แก่จำเลย แต่ตัวเลขค่าเสียหายและมูลค่าทรัพย์สินส่วนใหญ่ได้มาโดยการคาดคะเนและไม่ปรากฏวิธีคิดคำนวณ จึงมีน้ำหนักน้อย ทั้งจำเลยเองไม่เคยยกข้ออ้างเรื่องโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อนี้ขึ้นปฏิเสธความรับผิดแต่อย่างใด ตรงกันข้ามจำเลยกลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.๒๘๙ จำเลยจะกล่าวอ้างเหตุนี้มาลบล้างความรับผิดของตนหาได้ไม่
ที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ฎีกาว่า โจทก์ละเลยไม่สงวนรักษาซากทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ซากทรัพย์สินสูญหายนั้น เกี่ยวกับปัญหานี้จำเลยไม่มีพยานหลักฐานนำสืบให้ได้ความดังกล่าว แต่กลับได้ความว่าหลังจากเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้เก็บรักษาซากฝ้ายไว้โดยตลอด โจทก์เห็นว่าเนื่องจากฝ้ายเปียกน้ำเก็บไว้นาน ๆ จะเสื่อมคุณภาพใช้การไม่ได้ จำเป็นต้องขายเป็นซากฝ้ายไปแต่จำเลยก็หน่วงเหนี่ยวไม่ยอมให้ขาย ทั้งหลังจากเกิดเพลิงไหม้แล้วจำเลยก็ไม่เคยยกข้ออ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ปฏิเสธความรับผิดเลย แต่กลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ จำเลยจะมาปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
ที่จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ฎีกาเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยหมาย จ.๕ และ จ.๗ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ คงต้องรับผิดเป็นจำนวนเงินบริษัทละ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาทธนาคารกรุงเทพผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารหมาย จ.๗ ได้โอนสิทธิเรียกร้องส่วนนี้ให้โจทก์แล้วตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเอกสารหมาย จ.๒๙๖ และโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ ๓ทราบแล้ว ตามหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง เอกสารหมาย จ.๒๙๗ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้จากจำเลยที่ ๓
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ ๓ รับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จากต้นเงิน ๑๒,๐๑๗,๑๒๑.๒๔ บาท นับจากวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๒๓เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ดังเช่นจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงยังคลาดเคลื่อนและผิดพลาดอยู่ ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ ๓ รับผิดชดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าวด้วยนั้นศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ ๓รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ย แต่ตอนวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ยที่ให้จำเลยที่ ๓ ใช้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่ให้เหตุผลในคำวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๑ (๔) ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียให้ชัดเจนโดยเห็นว่า จำเลยที่ ๓ ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.๕ และจ.๗ ซึ่งผู้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจะต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยด้วย โดยนับแต่วันที่๑๓ เมษายน ๒๕๒๓ อันเป็นวันที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ ๓ จึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย
พิพากษายืน.
สต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าระหว่างผลิตส่วนสต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นสินค้าที่เก็บในโกดัง เป็นสต๊อกสินค้าต่างรายการกัน จึงมิใช่การเอาประกันภัยซ้ำซ้อน โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดที่ว่าโจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงการประกันภัยสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัยอื่น โจทก์แจ้งความเสียหายและมูลค่าของทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริงมากมาย ถือว่าเป็นการฉ้อฉล และโจทก์ละเลยไม่สงวนรักษาซากทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ซากทรัพย์สินสูญหาย เป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น นอกจากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้เช่นนั้น หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสามไม่เคยยกข้ออ้างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดกลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
ธนาคารผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้จากจำเลยที่ 3
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ตอนวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ยที่ให้จำเลยที่ 3 ใช้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่ให้เหตุผลในคำวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4)ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยใหัชัดเจน
คดีทั้งสามสำนวนศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน โดยโจทก์เป็นบุคคลรายเดียวกัน และกำหนดให้เรียกจำเลยในสำนวนที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ตามลำดับ
โจทก์ฟ้องทั้งสามสำนวนว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันรับประกันภัยทรัพย์สินโจทก์คือสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ วัตถุดิบระหว่างการผลิต สินค่ากึ่งสำเร็จรูปเครื่องทำความเย็น รวมทั้งอุปกรณ์ปั๊มน้ำมัน สายไฟ หลอดไฟ ตู้ไฟ มูลค่ารวม ๕๕,๐๐๐,๐๐๐ บาทโดยจำเลยที่ ๑ รับประกันเป็นมูลค่า ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๒ รับประกันเป็นมูลค่า๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๓ ซึ่งรับโอนกิจการมาจากบริษัทแฮนโอเวอร์ อินชัวรันส์ จำกัดรับประกันเป็นมูลค่า ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนั้นจำเลยที่ ๒ ยังได้ร่วมกับบริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด รับประกันสิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรอุปกรณ์ สต๊อกอะไหล่ สต๊อกสินค้าต่าง ๆไว้จากโจทก์ เป็นเงิน บริษัทละ ๔๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และจำเลยที่ ๒ ยังได้ร่วมกับจำเลยที่ ๓รับประกันภัยสต๊อกสินค้าฝ้ายอัดเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งเก็บอยู่ในโรงงานปั่นด้าย กรอด้ายและโกดังอีกบริษัทละ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยโจทก์รับผิดชอบเองเป็นเงิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำเลยที่ ๓ ยังรับประกันภัยเครื่องจักรต่าง ๆ และอุปกรณ์เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ บาทด้วย และโจทก์ยังได้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ ๓ เพิ่มอีก ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยโจทก์ตกลงให้ธนาคารกรุงเทพจำกัด เป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยสองฉบับหลังในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๓ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงงานของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้และอยู่ในระหว่างกรมธรรม์ประกันภัยยังมีผลใช้บังคับ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์และโจทก์แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ๓ ทราบแล้วเช่นกัน ขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามส่วนในกรมธรรม์ประกันภัยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุเพลิงไหม้จนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า เหตุเพลิงไหม้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ จำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิด โจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหลายประการ ความรับผิดของจำเลยทั้งสามเป็นอันลบล้างไปค่าเสียหายของโจทก์ตามฟ้องสูงกว่าความเป็นจริงมาก หากจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำนวนเงินที่จำเลยทั้งสามต้องเฉลี่ยชดใช้ให้แก่โจทก์ก็ไม่ถึงที่โจทก์ฟ้อง การโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด มาเป็นของโจทก์ไม่มีผลตามกฎหมายและไม่ผูกพันจำเลยที่ ๓ เพราะคู่กรณีมิได้ทำบันทึกการโอนต่อหน้าและด้วยนความยินยอมของจำเลยที่ ๓ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แล้ววินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ ๑ ฎีกาว่าโจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทราบถึงการประกันภัยสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัยอื่น คือ บริษัทจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นเงินทุนประกันภัยอีกบริษัทละ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวม ๑๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท และไม่ได้มีการบันทึกรายการประกันภัยไว้ในกรมธรรม์-ประกันภัยเอกสารหมาย ล.๒ ถือได้ว่าโจทก์ละเลยมิได้ปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมายล.๒ ข้อ ๒ จำเลยที่ ๑ จึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น เห็นว่าสต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันไว้กับจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ รวม ๑๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท นั้น เป็นสินค้าต่างรายการกันกับที่เอาประกันไว้กับจำเลยที่ ๑ ซึ่งจะเห็นได้จากคำเบิกความของนายพิพัฒน์ ศิริเกียรติสูง กรรมการโจทก์ที่ว่าสต๊อกสินค้าที่เอาประกันภัยจำเลยที่ ๑ ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.๒ เป็นสินค้าระหว่างผลิตส่วนสต๊อกสินค้าที่เอาประกันภัยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ตามกรมธรรม์เอกสารหมาย จ.๕ และ จ.๗เป็นสินค้าที่เก็บในโกดัง ซึ่งสอดคล้องกับที่ปรากฏในเอกสาร จึงมิใช่การเอาประกันภัยซ้ำซ้อนไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทราบ ทั้งความข้อนี้จำเลยที่ ๑ ก็ไม่เคยปฏิเสธหรือยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปัดความรับผิดมาก่อนเลย และเมื่อพิจารณาเรื่องค่าเสียหาย จำเลยที่ ๑ ก็ยอมรับจะชดใช้ค่าเสียหายให้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ ๑ ก็ไม่ได้ถือเอาเงื่อนไขดังกล่าวเป็นสาเหตุที่จะไม่ต้องรับผิด
ที่จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ฎีกาว่า เมื่อเกิดเพลิงไหม้ โจทก์ได้แจ้งความเสียหายและมูลค่าของทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริงมากมาย ถือว่าเป็นการฉ้อฉลผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ ๑๔.๒ ซึ่งเป็นข้อสาระสำคัญทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดนั้น เห็นว่าจำเลยว่าจ้างสำนักงานสำรวจทรัพย์สินและประเมินราคาไปประเมินความเสียหาย ซึ่งสำนักงานดังกล่าวก็ได้ทำรายงานผลการสำรวจที่เป็นประโยชน์แก่จำเลย แต่ตัวเลขค่าเสียหายและมูลค่าทรัพย์สินส่วนใหญ่ได้มาโดยการคาดคะเนและไม่ปรากฏวิธีคิดคำนวณ จึงมีน้ำหนักน้อย ทั้งจำเลยเองไม่เคยยกข้ออ้างเรื่องโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อนี้ขึ้นปฏิเสธความรับผิดแต่อย่างใด ตรงกันข้ามจำเลยกลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.๒๘๙ จำเลยจะกล่าวอ้างเหตุนี้มาลบล้างความรับผิดของตนหาได้ไม่
ที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ฎีกาว่า โจทก์ละเลยไม่สงวนรักษาซากทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ซากทรัพย์สินสูญหายนั้น เกี่ยวกับปัญหานี้จำเลยไม่มีพยานหลักฐานนำสืบให้ได้ความดังกล่าว แต่กลับได้ความว่าหลังจากเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้เก็บรักษาซากฝ้ายไว้โดยตลอด โจทก์เห็นว่าเนื่องจากฝ้ายเปียกน้ำเก็บไว้นาน ๆ จะเสื่อมคุณภาพใช้การไม่ได้ จำเป็นต้องขายเป็นซากฝ้ายไปแต่จำเลยก็หน่วงเหนี่ยวไม่ยอมให้ขาย ทั้งหลังจากเกิดเพลิงไหม้แล้วจำเลยก็ไม่เคยยกข้ออ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ปฏิเสธความรับผิดเลย แต่กลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ จำเลยจะมาปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
ที่จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ฎีกาเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยหมาย จ.๕ และ จ.๗ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ คงต้องรับผิดเป็นจำนวนเงินบริษัทละ ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาทธนาคารกรุงเทพผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เอกสารหมาย จ.๗ ได้โอนสิทธิเรียกร้องส่วนนี้ให้โจทก์แล้วตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเอกสารหมาย จ.๒๙๖ และโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ ๓ทราบแล้ว ตามหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง เอกสารหมาย จ.๒๙๗ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้จากจำเลยที่ ๓
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ ๓ รับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จากต้นเงิน ๑๒,๐๑๗,๑๒๑.๒๔ บาท นับจากวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๒๓เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ดังเช่นจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงยังคลาดเคลื่อนและผิดพลาดอยู่ ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ ๓ รับผิดชดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าวด้วยนั้นศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ ๓รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ย แต่ตอนวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ยที่ให้จำเลยที่ ๓ ใช้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่ให้เหตุผลในคำวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๑ (๔) ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียให้ชัดเจนโดยเห็นว่า จำเลยที่ ๓ ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.๕ และจ.๗ ซึ่งผู้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจะต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยด้วย โดยนับแต่วันที่๑๓ เมษายน ๒๕๒๓ อันเป็นวันที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ ๓ จึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย
พิพากษายืน.
ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และแจ้งให้ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มในวันนัดโดยวิธีปิดหมาย ณ สำนักงานของทนายผู้ร้องตามที่ปรากฏในสำนวนเมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องได้ย้ายสำนักงานออกไปก่อนมีการปิดหมายนัด ถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายโดยชอบ การที่ผู้ร้องไม่ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลไปชำระเพิ่มในวันนัดตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีโดยไม่มีเหตุตามกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก่อน
ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และแจ้งให้ผู้ร้องนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มในวันนัดโดยวิธีปิดหมาย ณ สำนักงานของทนายผู้ร้องตามที่ปรากฏในสำนวนเมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องได้ย้ายสำนักงานออกไปก่อนมีการปิดหมายนัด ถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมายโดยชอบ การที่ผู้ร้องไม่ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลไปชำระเพิ่มในวันนัดตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีโดยไม่มีเหตุตามกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก่อน
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ว่า ฟ้องของโจทก์สำนวนหลังเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมเป็นปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยใหม่
โจทก์สำนวนหลังบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยทั้งหมดว่าได้ร่วมกันใช้รถไถนาบุกรุกเข้าไปไถที่ดินของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จำนวน 95 ไร่ เหตุเกิดที่ตำบลบ้านใหม่-ชัยมงคล อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย นับว่าได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำและสถานที่ไว้พอสมควรที่จะเข้าใจได้ แม้จะไม่ได้ระบุว่าเข้าไปในที่ดินส่วนใด หรือโจทก์แต่ละคนมีส่วนร่วมคนละเท่าใดก็ไม่ทำให้เข้าใจฟ้องผิดไปได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการได้ที่ดินพิพาทมาจะจดทะเบียนโดยชอบหรือไม่ไม่เป็นข้อสำคัญ เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ย่อมเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีกับจำเลยได้
โจทก์ทั้งสองสำนวนมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยมีอาวุธปืนจึงเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง และโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ จะเอาข้อเท็จจริงนี้มาเป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยไม่ได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ว่า ฟ้องของโจทก์สำนวนหลังเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมเป็นปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยโดยไม่ปรากฏเหตุผลเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยใหม่
โจทก์สำนวนหลังบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยทั้งหมดว่าได้ร่วมกันใช้รถไถนาบุกรุกเข้าไปไถที่ดินของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จำนวน 95 ไร่ เหตุเกิดที่ตำบลบ้านใหม่-ชัยมงคล อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย นับว่าได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำและสถานที่ไว้พอสมควรที่จะเข้าใจได้ แม้จะไม่ได้ระบุว่าเข้าไปในที่ดินส่วนใด หรือโจทก์แต่ละคนมีส่วนร่วมคนละเท่าใดก็ไม่ทำให้เข้าใจฟ้องผิดไปได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการได้ที่ดินพิพาทมาจะจดทะเบียนโดยชอบหรือไม่ไม่เป็นข้อสำคัญ เมื่อจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ย่อมเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีกับจำเลยได้
โจทก์ทั้งสองสำนวนมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยมีอาวุธปืนจึงเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง และโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ จะเอาข้อเท็จจริงนี้มาเป็นดุลพินิจในการลงโทษจำเลยไม่ได้
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา เมื่อปรากฏว่าคดีสำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และผลแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในสำนวนหลังด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน สำนวนแรกโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ เมื่อ ๓๐ปีเศษมาแล้ว นางเชื้อ ไวยคูณา เจ้าของกรรมสิทธิ์คนเดิมได้ยกที่ดินแปลงนี้ให้แก่ครอบครัวโจทก์ปลูกบ้านอาศัยเป็นเนื้อที่ ๒ งาน ๗๖ ตารางวา ส่วนที่เหลืออีก ๓ งานเป็นเนื้อที่บ้านของจำเลยทั้งสอง นับแต่ได้รับการยกให้ดังกล่าวโจทก์กับครอบครัวได้เข้าครอบครองที่ดินแปลงนี้ โดยถางปรับพื้นที่ปลูกบ้านอาศัย ปลูกไม้ยืนต้นและปลูกไผ่เป็นแนวรั้ว เป็นการครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา ๓๐ ปีเศษ ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ทราบดี เมื่อประมาณต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๖ โจทก์ไปติดต่อขอให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวและให้จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเฉพาะส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นชื่อของโจทก์ โจทก์จึงทราบว่าจำเลยที่ ๑ จดทะเบียนให้จำเลยที่ ๒เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าว ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ เฉพาะส่วนที่ปลูกบ้านอยู่อาศัยของโจทก์เนื้อที่๒ งาน ๗๖ ตารางวา ตามแผนที่ท้ายคำฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินแปลงนี้ และให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกเฉพาะส่วนดังกล่าวให้แก่โจทก์ หากไม่ไปให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า นางเชื้อไม่เคยยกที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ ให้แก่โจทก์ นางเชื้อได้ให้นายอู๊ด ไวยคูณา สามีโจทก์และโจทก์ปลูกบ้านอาศัยอยู่เป็นเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ตารางวา โจทก์จึงไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของ สำหรับจำเลยที่ ๑ ได้รับจดทะเบียนยกให้จากนางเชื้อซึ่งเป็นมารดาเมื่อประมาณ ๓๔ ปีมาแล้ว ต่อมาได้จดทะเบียนให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นบุตรเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเมื่อปี ๒๕๓๑ โจทก์ก็ทราบและไม่เคยโต้แย้ง จำเลยทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้โจทก์อยู่ในที่ดินแปลงนี้อีกต่อไป ขอให้ยกฟ้อง และบังคับให้โจทก์รื้อถอนบ้านเลขที่๓/๑ ของโจทก์ออกไปจากที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ กับห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินของจำเลยอีกต่อไป
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ปลูกบ้านในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิขับไล่ให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไป ขอให้ยกฟ้องแย้ง
สำนวนหลังโจทก์ฟ้องว่า นับแต่โจทก์ได้เข้าครอบครองปลูกบ้านในที่ดินในสำนวนแรกเป็นเวลา ๓๐ ปีเศษ โจทก์และบุคคลในครอบครัวของโจทก์ได้ใช้ทางผ่านเข้าออกจากบ้านของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะด้านทิศใต้ของที่ดินโจทก์ซึ่งอยู่ติดกับคลองชลประทาน โดยผ่านที่ดินซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเป็นความยาว๖๒ เมตร กว้าง ๓.๕ เมตร ตามแผนที่สังเขปท้ายคำฟ้องโดยไม่มีผู้ใดคัดค้านหรือขัดขวาง โจทก์ยังได้ปรับปรุงถมดินให้สูงขึ้นและวางท่อระบายน้ำลงสู่คลองชลประทานเพื่อความสะดวกในการใช้ทาง เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ จำเลยทั้งสองได้ต่อเติมบ้านโดยทำห้องน้ำบนทางพิพาทดังกล่าว เป็นการปิดกั้นทางเข้าออกของโจทก์สู่ทางสาธารณะโดยไม่สุจริต และจำเลยทั้งสองยังได้ปิดประตูใส่กุญแจ ไม่ให้โจทก์และบริวารเข้าออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวได้ ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาทตามเส้นสีแดงในแผนที่สังเขปท้ายคำฟ้อง กว้าง ๓.๕ เมตร ยาว ๖๒ เมตรห้ามจำเลยทั้งสองปิดประตูที่ออกสู่ทางสาธารณะ ให้จำเลยทั้งสองรื้อห้องน้ำที่ปลูกขวางกั้นทางพิพาทออก ห้ามจำเลยและบริวารปิดกั้นทางพิพาท และให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนให้ทางพิพาทดังกล่าวเป็นทางภาระจำยอม หากจำเลยทั้งสองไม่ไปจดทะเบียน ก็ขอให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน ให้โจทก์และบริวารรื้อถอนเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ ห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงนี้อีก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๘วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย แต่ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในสำนวนหลังว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ เห็นว่า ในสำนวนแรกฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะผู้อาศัย ผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัยมิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง เพราะภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
พิพากษายืนในสำนวนหลัง และยกฎีกาของโจทก์ในสำนวนแรกให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดในสำนวนแรกแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ.
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา เมื่อปรากฏว่าคดีสำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และผลแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในสำนวนหลังด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน สำนวนแรกโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ เมื่อ ๓๐ปีเศษมาแล้ว นางเชื้อ ไวยคูณา เจ้าของกรรมสิทธิ์คนเดิมได้ยกที่ดินแปลงนี้ให้แก่ครอบครัวโจทก์ปลูกบ้านอาศัยเป็นเนื้อที่ ๒ งาน ๗๖ ตารางวา ส่วนที่เหลืออีก ๓ งานเป็นเนื้อที่บ้านของจำเลยทั้งสอง นับแต่ได้รับการยกให้ดังกล่าวโจทก์กับครอบครัวได้เข้าครอบครองที่ดินแปลงนี้ โดยถางปรับพื้นที่ปลูกบ้านอาศัย ปลูกไม้ยืนต้นและปลูกไผ่เป็นแนวรั้ว เป็นการครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา ๓๐ ปีเศษ ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ทราบดี เมื่อประมาณต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๖ โจทก์ไปติดต่อขอให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวและให้จำเลยที่ ๑ จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเฉพาะส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นชื่อของโจทก์ โจทก์จึงทราบว่าจำเลยที่ ๑ จดทะเบียนให้จำเลยที่ ๒เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าว ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ เฉพาะส่วนที่ปลูกบ้านอยู่อาศัยของโจทก์เนื้อที่๒ งาน ๗๖ ตารางวา ตามแผนที่ท้ายคำฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินแปลงนี้ และให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกเฉพาะส่วนดังกล่าวให้แก่โจทก์ หากไม่ไปให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า นางเชื้อไม่เคยยกที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ ให้แก่โจทก์ นางเชื้อได้ให้นายอู๊ด ไวยคูณา สามีโจทก์และโจทก์ปลูกบ้านอาศัยอยู่เป็นเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ตารางวา โจทก์จึงไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของ สำหรับจำเลยที่ ๑ ได้รับจดทะเบียนยกให้จากนางเชื้อซึ่งเป็นมารดาเมื่อประมาณ ๓๔ ปีมาแล้ว ต่อมาได้จดทะเบียนให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นบุตรเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเมื่อปี ๒๕๓๑ โจทก์ก็ทราบและไม่เคยโต้แย้ง จำเลยทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้โจทก์อยู่ในที่ดินแปลงนี้อีกต่อไป ขอให้ยกฟ้อง และบังคับให้โจทก์รื้อถอนบ้านเลขที่๓/๑ ของโจทก์ออกไปจากที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ กับห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินของจำเลยอีกต่อไป
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ปลูกบ้านในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิขับไล่ให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไป ขอให้ยกฟ้องแย้ง
สำนวนหลังโจทก์ฟ้องว่า นับแต่โจทก์ได้เข้าครอบครองปลูกบ้านในที่ดินในสำนวนแรกเป็นเวลา ๓๐ ปีเศษ โจทก์และบุคคลในครอบครัวของโจทก์ได้ใช้ทางผ่านเข้าออกจากบ้านของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะด้านทิศใต้ของที่ดินโจทก์ซึ่งอยู่ติดกับคลองชลประทาน โดยผ่านที่ดินซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเป็นความยาว๖๒ เมตร กว้าง ๓.๕ เมตร ตามแผนที่สังเขปท้ายคำฟ้องโดยไม่มีผู้ใดคัดค้านหรือขัดขวาง โจทก์ยังได้ปรับปรุงถมดินให้สูงขึ้นและวางท่อระบายน้ำลงสู่คลองชลประทานเพื่อความสะดวกในการใช้ทาง เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ จำเลยทั้งสองได้ต่อเติมบ้านโดยทำห้องน้ำบนทางพิพาทดังกล่าว เป็นการปิดกั้นทางเข้าออกของโจทก์สู่ทางสาธารณะโดยไม่สุจริต และจำเลยทั้งสองยังได้ปิดประตูใส่กุญแจ ไม่ให้โจทก์และบริวารเข้าออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวได้ ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาทตามเส้นสีแดงในแผนที่สังเขปท้ายคำฟ้อง กว้าง ๓.๕ เมตร ยาว ๖๒ เมตรห้ามจำเลยทั้งสองปิดประตูที่ออกสู่ทางสาธารณะ ให้จำเลยทั้งสองรื้อห้องน้ำที่ปลูกขวางกั้นทางพิพาทออก ห้ามจำเลยและบริวารปิดกั้นทางพิพาท และให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนให้ทางพิพาทดังกล่าวเป็นทางภาระจำยอม หากจำเลยทั้งสองไม่ไปจดทะเบียน ก็ขอให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน ให้โจทก์และบริวารรื้อถอนเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินโฉนดที่ ๔๓๑๒ ห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงนี้อีก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๘วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย แต่ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในสำนวนหลังว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ เห็นว่า ในสำนวนแรกฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะผู้อาศัย ผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัยมิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง เพราะภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
พิพากษายืนในสำนวนหลัง และยกฎีกาของโจทก์ในสำนวนแรกให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดในสำนวนแรกแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ.
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|