แม้ในคดีก่อนศาลพิพากษาให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมออก มิได้ระบุให้รื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนด้วย แต่ก่อนทำการรื้อถอนเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นว่าขณะเข้าทำการรื้อถอนพบว่ากำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่จะต้องรื้อถอนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโจทก์ และขอหารือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการรื้อถอนต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ให้โจทก์รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมทั้งหมดออก ย่อมมีความหมายว่าโจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ไม่สามารถกระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงสามารถรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เชื่อมต่อกับกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่โจทก์ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ในระหว่างการพิจารณาได้ และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำทางภาระจำยอมต่อไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด การรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่เป็นการบังคับคดีที่เกินไปกว่าคำพิพากษาอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด
ป.วิ.พ. มาตรา 296 เบญจ วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณที่จะทำการรื้อถอนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก็เพื่อให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันใดเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องทำการปิดประกาศให้ทราบล่วงหน้าทุกครั้งที่จะเข้าทำการรื้อถอนไม่ เมื่อได้ความว่าในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 และหรือในวันต่อ ๆ ไปจนกว่าจะทำการแล้วเสร็จ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมสามารถทำการรื้อถอนในวันดังกล่าวและวันต่อมาได้โดยไม่จำต้องปิดประกาศแจ้งกำหนดนัดรื้อถอนให้โจทก์ทราบใหม่ทุกครั้ง การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย มิได้กระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นละเมิด จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้ยกเลิกหรือเพิกถอนภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 31001 หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวให้เหลือขนาดความกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร หากจำเลยทั้งสิบเอ็ดไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 1,257,650 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และชำระเงินค่าเสียหายเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดจะหยุดการกระทำละเมิดต่อโจทก์และจดทะเบียนยกเลิกหรือเพิกถอนการใช้ทางภาระจำยอม
จำเลยทั้งสิบเอ็ดให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 31001 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 799 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 30640 จำเลยที่ 3 เป็นทายาทของนางสมศรี และเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 30641 จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 30642 จำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3572 จำเลยที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11692 จำเลยที่ 9 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 30824 และ 30825 จำเลยที่ 10 และที่ 11 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 12956 จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 นางสำราญ และนางสาวรัตนา กับพวกเคยยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 879/2547 คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 31001 จากแนวเขตที่ดินทางด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดแนวจากแนวเขตที่ดินทางด้านทิศเหนือไปจดแนวเขตที่ดินทางด้านทิศใต้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 799, 30639 ถึง 30642, 3572, 11692, 30579, 30824, 30825, 12962 และ 12956 ให้จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดกั้นทางภาระจำยอมทั้งหมดออก และให้จดทะเบียนที่ดินเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา โจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 4 มกราคม 2556 ขอให้ย้ายทางภาระจำยอมโดยอ้างว่าหากต้องดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ปิดกั้นทางภาระจำยอมกว้าง 4 เมตร ตามคำพิพากษาศาลฎีกาต้องรื้อถอนเสาหลักของอาคาร 3 ชั้น ซึ่งเป็นโครงสร้างของบ้านโจทก์ จะเป็นผลให้บ้านทั้งหลังพังทลายลงมา ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ให้ยกคำร้อง โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดี โดยในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 เจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศกำหนดวันทำการรื้อถอนในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 27 ตุลาคม 2557 ขอให้ระงับการรื้อถอน อ้างว่ากำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโจทก์ หากทำการรื้อถอนจะทำให้โครงสร้างบ้านเป็นอันตรายและเสียหาย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหนังสือหารือการบังคับคดีว่าศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมออก แต่ปัจจุบันกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการรื้อถอนได้หรือไม่ ศาลชั้นต้นนัดพร้อมคู่ความเพื่อสอบข้อเท็จจริงในวันที่ 28 มกราคม 2558 แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางภาระจำยอมต่อไป โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางภาระจำยอมในวันที่ 30 มกราคม 2560 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 และวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ได้บางส่วน
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อ 2.1 และ 2.2 ซึ่งเห็นควรวินิจฉัยไปในคราวเดียวกันว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ การรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นการบังคับคดีเกินกว่าคำพิพากษาและเป็นเหตุให้โครงสร้างบ้านโจทก์เป็นอันตรายหรือไม่ โจทก์ทราบประกาศวันนัดรื้อถอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือไม่ และมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ทางภาระจำยอมมีความกว้างเกินกว่า 4 เมตร ซึ่งเกินกว่าคำพิพากษาศาลฎีกาหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดจากกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยกล่าวอ้างว่าในระหว่างการบังคับคดีในคดีก่อน จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนซึ่งเกินเลยไปจากคำพิพากษา จนเป็นเหตุให้บ้านโจทก์เกิดอันตราย โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบวันเข้าทำการรื้อถอนล่วงหน้า รวมทั้งทำการเปิดทางภาระจำยอมมีความกว้างเกินกว่าคำพิพากษา อันเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายอันเป็นละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเนื่องมาจากการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 วรรคสอง ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง ก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ความรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมตกแก่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ร้องขอให้ทำการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นคดีนี้ได้ แต่การกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายในกรณีนี้จะต้องเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกบังคับคดี เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 เบญจ วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติให้การบังคับคดีในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลกำหนดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างจะต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีรื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดกั้นทางภาระจำยอมทั้งหมดออกตามคำพิพากษาในคดีก่อนจึงเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แม้ในคดีก่อนศาลพิพากษาให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมออก มิได้ระบุให้รื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนด้วย แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าก่อนทำการรื้อถอนเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นว่าขณะเข้าทำการรื้อถอนพบว่ากำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่จะต้องรื้อถอนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโจทก์ และขอหารือการบังคับคดีว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการรื้อถอนต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ให้โจทก์รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมทั้งหมดออก ย่อมมีความหมายว่าโจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ไม่สามารถกระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงสามารถรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เชื่อมต่อกับกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่โจทก์ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ในระหว่างการพิจารณาได้ และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำทางภาระจำยอมต่อไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยให้เหตุผลว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กที่เชื่อมต่อกับกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกออกไปได้ ไม่เป็นการกลับหรือแก้ไขคำพิพากษา หรือเป็นการบังคับคดีเกินไปกว่าคำพิพากษา คดีถึงที่สุด การรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่เป็นการบังคับคดีที่เกินไปกว่าคำพิพากษาอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด และเมื่อโจทก์คดีนี้เป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อน และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ในคดีนี้ เป็นคนเดียวกับโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 โจทก์ที่ 9 โจทก์ที่ 11 และโจทก์ที่ 12 ในคดีก่อน ทั้งหมดจึงเป็นคู่ความเดียวกัน คำพิพากษาศาลฎีกา คำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วดังกล่าว จึงย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ต้องถือว่าการที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กที่เชื่อมต่อกับกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกไม่เป็นการบังคับคดีที่เกินเลยไปกว่าคำพิพากษาอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนจนเป็นเหตุให้บ้านของโจทก์เป็นอันตรายได้รับความเสียหายนั้น กลับได้ความจากรายงานผลการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า ในวันที่ 30 มกราคม 2560 และ 3 กุมภาพันธ์ 2560 จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้สั่งหยุดการรื้อถอนเนื่องจากเห็นว่าอุปกรณ์ที่ใช้ทำการรื้อถอนไม่เหมาะสมกับสภาพของทรัพย์ และยังไม่มีวิศวกรควบคุมการรื้อถอน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวบ้านเกินสมควร แต่การรื้อถอนในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าอุปกรณ์ที่ใช้ทำการรื้อถอนมีความเหมาะสมกับสภาพทรัพย์และมีวิศวกรมาคอยควบคุมการรื้อถอนด้วย จึงอนุญาตให้ทำการรื้อถอน โดยในการรื้อถอนมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินอื่นใด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนแล้ว และหากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนจนเป็นเหตุให้บ้านของโจทก์เป็นอันตรายได้รับความเสียหายตามที่โจทก์กล่าวอ้าง โจทก์คงทำการโต้แย้งคัดค้านในขณะที่ทำการรื้อถอนแล้ว เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านในขณะที่ทำการรื้อถอน เพิ่งจะมากล่าวอ้างในคดีนี้หลังจากการรื้อถอนผ่านไปเป็นเวลากว่าสามปี จึงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายที่เกิดกับตัวบ้านที่โจทก์นำสืบมาเกิดจากการรื้อถอนของเจ้าพนักงานบังคับคดี ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอน เป็นเหตุให้โครงสร้างบ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง และที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 นำเจ้าพนักงานบังคับเข้าทำการรื้อถอนโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้านั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 เบญจ วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณที่จะทำการรื้อถอนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก็เพื่อให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันใดเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องทำการปิดประกาศให้ทราบล่วงหน้าทุกครั้งที่จะเข้าทำการรื้อถอนไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 และหรือในวันต่อ ๆ ไปจนกว่าจะทำการแล้วเสร็จ แล้วโจทก์ไปยื่นคำร้องลงวันที่ 27 ตุลาคม 2557 ต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งระงับการรื้อถอนโดยฉุกเฉิน แต่ศาลยกคำร้อง ถือได้ว่าโจทก์ทราบกำหนดวันนัดเริ่มรื้อถอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมสามารถทำการรื้อถอนในวันดังกล่าวและวันต่อมาได้โดยไม่จำต้องปิดประกาศแจ้งกำหนดนัดรื้อถอนให้โจทก์ทราบใหม่ทุกครั้ง ส่วนที่โจทก์อ้างว่ามีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ทางภาระจำยอมมีความกว้างเกินกว่า 4 เมตร ซึ่งเกินกว่าคำพิพากษาศาลฎีกานั้น โจทก์เพียงกล่าวอ้างไว้ลอย ๆ โดยมิได้นำสืบพยานหลักฐานใดให้เห็นจริงตามที่กล่าวอ้าง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย มิได้กระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นละเมิด จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาโจทก์ข้อ 2.1 และ 2.2 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
แม้ในคดีก่อนศาลพิพากษาให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมออก มิได้ระบุให้รื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนด้วย แต่ก่อนทำการรื้อถอนเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นว่าขณะเข้าทำการรื้อถอนพบว่ากำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่จะต้องรื้อถอนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโจทก์ และขอหารือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการรื้อถอนต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ให้โจทก์รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมทั้งหมดออก ย่อมมีความหมายว่าโจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ไม่สามารถกระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงสามารถรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เชื่อมต่อกับกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่โจทก์ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ในระหว่างการพิจารณาได้ และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำทางภาระจำยอมต่อไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด การรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่เป็นการบังคับคดีที่เกินไปกว่าคำพิพากษาอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด
ป.วิ.พ. มาตรา 296 เบญจ วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณที่จะทำการรื้อถอนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก็เพื่อให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันใดเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องทำการปิดประกาศให้ทราบล่วงหน้าทุกครั้งที่จะเข้าทำการรื้อถอนไม่ เมื่อได้ความว่าในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 และหรือในวันต่อ ๆ ไปจนกว่าจะทำการแล้วเสร็จ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมสามารถทำการรื้อถอนในวันดังกล่าวและวันต่อมาได้โดยไม่จำต้องปิดประกาศแจ้งกำหนดนัดรื้อถอนให้โจทก์ทราบใหม่ทุกครั้ง การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย มิได้กระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นละเมิด จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้ยกเลิกหรือเพิกถอนภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 31001 หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าวให้เหลือขนาดความกว้างไม่เกิน 1.50 เมตร หากจำเลยทั้งสิบเอ็ดไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 1,257,650 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และชำระเงินค่าเสียหายเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดจะหยุดการกระทำละเมิดต่อโจทก์และจดทะเบียนยกเลิกหรือเพิกถอนการใช้ทางภาระจำยอม
จำเลยทั้งสิบเอ็ดให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 31001 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 799 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 30640 จำเลยที่ 3 เป็นทายาทของนางสมศรี และเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 30641 จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 30642 จำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3572 จำเลยที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11692 จำเลยที่ 9 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 30824 และ 30825 จำเลยที่ 10 และที่ 11 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 12956 จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 นางสำราญ และนางสาวรัตนา กับพวกเคยยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 879/2547 คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 31001 จากแนวเขตที่ดินทางด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดแนวจากแนวเขตที่ดินทางด้านทิศเหนือไปจดแนวเขตที่ดินทางด้านทิศใต้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 799, 30639 ถึง 30642, 3572, 11692, 30579, 30824, 30825, 12962 และ 12956 ให้จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดกั้นทางภาระจำยอมทั้งหมดออก และให้จดทะเบียนที่ดินเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา โจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 4 มกราคม 2556 ขอให้ย้ายทางภาระจำยอมโดยอ้างว่าหากต้องดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ปิดกั้นทางภาระจำยอมกว้าง 4 เมตร ตามคำพิพากษาศาลฎีกาต้องรื้อถอนเสาหลักของอาคาร 3 ชั้น ซึ่งเป็นโครงสร้างของบ้านโจทก์ จะเป็นผลให้บ้านทั้งหลังพังทลายลงมา ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ให้ยกคำร้อง โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดี โดยในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 เจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศกำหนดวันทำการรื้อถอนในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 27 ตุลาคม 2557 ขอให้ระงับการรื้อถอน อ้างว่ากำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโจทก์ หากทำการรื้อถอนจะทำให้โครงสร้างบ้านเป็นอันตรายและเสียหาย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหนังสือหารือการบังคับคดีว่าศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมออก แต่ปัจจุบันกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการรื้อถอนได้หรือไม่ ศาลชั้นต้นนัดพร้อมคู่ความเพื่อสอบข้อเท็จจริงในวันที่ 28 มกราคม 2558 แล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางภาระจำยอมต่อไป โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางภาระจำยอมในวันที่ 30 มกราคม 2560 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 และวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ได้บางส่วน
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อ 2.1 และ 2.2 ซึ่งเห็นควรวินิจฉัยไปในคราวเดียวกันว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ การรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นการบังคับคดีเกินกว่าคำพิพากษาและเป็นเหตุให้โครงสร้างบ้านโจทก์เป็นอันตรายหรือไม่ โจทก์ทราบประกาศวันนัดรื้อถอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือไม่ และมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ทางภาระจำยอมมีความกว้างเกินกว่า 4 เมตร ซึ่งเกินกว่าคำพิพากษาศาลฎีกาหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดจากกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยกล่าวอ้างว่าในระหว่างการบังคับคดีในคดีก่อน จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนซึ่งเกินเลยไปจากคำพิพากษา จนเป็นเหตุให้บ้านโจทก์เกิดอันตราย โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบวันเข้าทำการรื้อถอนล่วงหน้า รวมทั้งทำการเปิดทางภาระจำยอมมีความกว้างเกินกว่าคำพิพากษา อันเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายอันเป็นละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเนื่องมาจากการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 วรรคสอง ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง ก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ความรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมตกแก่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ร้องขอให้ทำการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นคดีนี้ได้ แต่การกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายในกรณีนี้จะต้องเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกบังคับคดี เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 เบญจ วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติให้การบังคับคดีในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลกำหนดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างจะต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีรื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดกั้นทางภาระจำยอมทั้งหมดออกตามคำพิพากษาในคดีก่อนจึงเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แม้ในคดีก่อนศาลพิพากษาให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมออก มิได้ระบุให้รื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนด้วย แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าก่อนทำการรื้อถอนเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นว่าขณะเข้าทำการรื้อถอนพบว่ากำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่จะต้องรื้อถอนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านโจทก์ และขอหารือการบังคับคดีว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการรื้อถอนต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอม ให้โจทก์รื้อถอนกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่ปิดทางภาระจำยอมทั้งหมดออก ย่อมมีความหมายว่าโจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ไม่สามารถกระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงสามารถรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เชื่อมต่อกับกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกที่โจทก์ทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ในระหว่างการพิจารณาได้ และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่รุกล้ำทางภาระจำยอมต่อไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยให้เหตุผลว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กที่เชื่อมต่อกับกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกออกไปได้ ไม่เป็นการกลับหรือแก้ไขคำพิพากษา หรือเป็นการบังคับคดีเกินไปกว่าคำพิพากษา คดีถึงที่สุด การรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาปูนของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่เป็นการบังคับคดีที่เกินไปกว่าคำพิพากษาอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด และเมื่อโจทก์คดีนี้เป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อน และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ในคดีนี้ เป็นคนเดียวกับโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 โจทก์ที่ 9 โจทก์ที่ 11 และโจทก์ที่ 12 ในคดีก่อน ทั้งหมดจึงเป็นคู่ความเดียวกัน คำพิพากษาศาลฎีกา คำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วดังกล่าว จึงย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ต้องถือว่าการที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กที่เชื่อมต่อกับกำแพงคอนกรีตอิฐบล็อกไม่เป็นการบังคับคดีที่เกินเลยไปกว่าคำพิพากษาอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนจนเป็นเหตุให้บ้านของโจทก์เป็นอันตรายได้รับความเสียหายนั้น กลับได้ความจากรายงานผลการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า ในวันที่ 30 มกราคม 2560 และ 3 กุมภาพันธ์ 2560 จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้สั่งหยุดการรื้อถอนเนื่องจากเห็นว่าอุปกรณ์ที่ใช้ทำการรื้อถอนไม่เหมาะสมกับสภาพของทรัพย์ และยังไม่มีวิศวกรควบคุมการรื้อถอน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวบ้านเกินสมควร แต่การรื้อถอนในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าอุปกรณ์ที่ใช้ทำการรื้อถอนมีความเหมาะสมกับสภาพทรัพย์และมีวิศวกรมาคอยควบคุมการรื้อถอนด้วย จึงอนุญาตให้ทำการรื้อถอน โดยในการรื้อถอนมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินอื่นใด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนแล้ว และหากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนจนเป็นเหตุให้บ้านของโจทก์เป็นอันตรายได้รับความเสียหายตามที่โจทก์กล่าวอ้าง โจทก์คงทำการโต้แย้งคัดค้านในขณะที่ทำการรื้อถอนแล้ว เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านในขณะที่ทำการรื้อถอน เพิ่งจะมากล่าวอ้างในคดีนี้หลังจากการรื้อถอนผ่านไปเป็นเวลากว่าสามปี จึงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายที่เกิดกับตัวบ้านที่โจทก์นำสืบมาเกิดจากการรื้อถอนของเจ้าพนักงานบังคับคดี ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอน เป็นเหตุให้โครงสร้างบ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง และที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 นำเจ้าพนักงานบังคับเข้าทำการรื้อถอนโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้านั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 เบญจ วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณที่จะทำการรื้อถอนไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก็เพื่อให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันใดเท่านั้น หาใช่ว่าจะต้องทำการปิดประกาศให้ทราบล่วงหน้าทุกครั้งที่จะเข้าทำการรื้อถอนไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะเริ่มทำการรื้อถอนในวันที่ 29 ตุลาคม 2557 และหรือในวันต่อ ๆ ไปจนกว่าจะทำการแล้วเสร็จ แล้วโจทก์ไปยื่นคำร้องลงวันที่ 27 ตุลาคม 2557 ต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งระงับการรื้อถอนโดยฉุกเฉิน แต่ศาลยกคำร้อง ถือได้ว่าโจทก์ทราบกำหนดวันนัดเริ่มรื้อถอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมสามารถทำการรื้อถอนในวันดังกล่าวและวันต่อมาได้โดยไม่จำต้องปิดประกาศแจ้งกำหนดนัดรื้อถอนให้โจทก์ทราบใหม่ทุกครั้ง ส่วนที่โจทก์อ้างว่ามีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ทางภาระจำยอมมีความกว้างเกินกว่า 4 เมตร ซึ่งเกินกว่าคำพิพากษาศาลฎีกานั้น โจทก์เพียงกล่าวอ้างไว้ลอย ๆ โดยมิได้นำสืบพยานหลักฐานใดให้เห็นจริงตามที่กล่าวอ้าง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย การที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 ร้องขอและนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย มิได้กระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นละเมิด จำเลยที่ 5 ถึงที่ 11 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาโจทก์ข้อ 2.1 และ 2.2 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตามบทบัญญัติมาตรา 170 แห่ง ป.วิ.อ. ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกา หมายถึงเฉพาะคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลเท่านั้น แต่หากเป็นการคัดค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่ได้รับความเสียหายอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้ และศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 จึงไม่ต้องห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแต่อย่างใด และไม่ทำให้คดีในส่วนอาญาถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 341 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงิน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2563 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1
โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า จำเลยที่ 1 ทราบนัดโดยชอบแล้ว คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด จำเลยที่ 1 ไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ใหม่ และนัดไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ครั้นถึงวันนัดโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนแพ่งในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า คดีในส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 ซึ่งบัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ ดังนั้นศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เฉพาะคดีในส่วนแพ่งเท่านั้น แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาคดีในส่วนอาญาให้ยกฟ้องโจทก์ด้วยจึงไม่ชอบ เห็นว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตามบทบัญญัติมาตรา 170 ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกา หมายถึงเฉพาะคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลเท่านั้น แต่หากเป็นการคัดค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่ได้รับความเสียหายอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้ และศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 จึงไม่ต้องห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแต่อย่างใด และไม่ทำให้คดีในส่วนอาญาถึงที่สุดตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ทราบว่าถูกฟ้องเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 แต่กลับยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เกินกำหนดแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์แห่งข้ออ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง และเกินกำหนดสิบห้าวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบนั้น ในข้อนี้ได้ความตามคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ว่าจำเลยที่ 1 ทราบเรื่องการถูกฟ้องเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 เนื่องจากโจทก์ส่งข้อความและสำเนาคำฟ้องมาทางแอปพลิเคชันไลน์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบและแจ้งให้เดินทางไปศาลวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่ามีการส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องของศาลชั้นต้นมาถึงตน กระทั่งวันที่ 25 เมษายน 2565 จำเลยที่ 1 มอบหมายให้ทนายความไปตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้น จึงทราบว่าโจทก์นำพยานเข้าไต่สวนเสร็จแล้วและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับรับฟ้องจำเลยทั้งสองไว้พิจารณา จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ทนายจำเลยที่ 1 ไปตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 จึงไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ส่วนที่อ้างว่า จำเลยยื่นเกินกำหนดสิบห้าวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่งนั้น บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติการขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีแพ่ง ข้อกล่าวอ้างของโจทก์จึงเป็นคนละกรณีกับคดีนี้ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 โดยไม่รับฟังคำพยานของโจทก์สองปากที่ไต่สวนมูลฟ้องมาแล้วเป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นวันนัดไต่สวนมูลฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายโจทก์แถลงว่า ประสงค์จะนำนายเทียรชัยกับนางสาววรรณธิดามาเป็นพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แต่พยานทั้งสองปากเห็นว่าได้เบิกความแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 และศาลมีคำสั่งให้คดีมีมูลไปแล้ว จึงไม่เดินทางมาศาล และจะไม่มาเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องอีก ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า การนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งนี้เนื่องจากส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ชอบ จึงกำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาเบิกความเท่ากับโจทก์ไม่มีพยานมาไต่สวนให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ไม่มีมูล และพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ทำให้กระบวนพิจารณาเดิมตั้งแต่การส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ตลอดจนคำสั่งที่ให้คดีมีมูลสำหรับจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นอันยกเลิกไป ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องใหม่เฉพาะจำเลยที่ 1 โจทก์ยังต้องนำพยานมาไต่สวน แม้ว่านายเทียรชัย ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และนางสาววรรณธิดา จะมาเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วครั้งหนึ่ง แต่ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ทนายโจทก์ยังมีหน้าที่นำพยานเข้าไต่สวนเพื่อให้ได้ความว่าคดีสำหรับจำเลยที่ 1 มีมูล หากพยานทั้งสองไม่มาศาลในวันนัดดังกล่าว ทนายโจทก์อาจแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการไต่สวนออกไปก่อนเพื่อติดตามพยานทั้งสองมาไต่สวนในนัดหน้า หรือแถลงขอให้ศาลชั้นต้นนำคำเบิกความของพยานทั้งสองที่เคยเบิกความมาแล้วในชั้นไต่สวนมูลฟ้องครั้งแรกมาเป็นคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องในครั้งนี้ โดยคู่ความตกลงกันก็ย่อมทำได้ แต่ทนายโจทก์หาทำเช่นนั้นไม่ กลับแถลงยืนยันว่าพยานทั้งสองจะไม่มาเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องอีก จึงถือได้ว่าเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์เองที่ไม่มีพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยฟังว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ฟังได้ว่าคดีสำหรับจำเลยที่ 1 มีมูล จึงเป็นการพิพากษาโดยชอบแล้ว ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในส่วนแพ่ง 60,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 โดยไม่คืนเงินค่าขึ้นศาลดังกล่าวให้แก่โจทก์ย่อมขัดต่อกฎหมายนั้น คดีนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดคืนเงินให้แก่โจทก์ด้วย ค่าขึ้นศาลดังกล่าวจึงเป็นค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ต้องชำระในคดีส่วนแพ่ง ไม่เกี่ยวข้องกับในคดีส่วนอาญาแต่อย่างใด อีกทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไปด้วย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นไม่มีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาล 60,000 บาท แก่โจทก์จึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ทุกข้อฟังไม่ขึ้น ส่วนฎีกาปลีกย่อยของโจทก์ในประเด็นอื่นไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่วินิจฉัยให้
พิพากษายืน
คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตามบทบัญญัติมาตรา 170 แห่ง ป.วิ.อ. ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกา หมายถึงเฉพาะคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลเท่านั้น แต่หากเป็นการคัดค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่ได้รับความเสียหายอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้ และศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 จึงไม่ต้องห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแต่อย่างใด และไม่ทำให้คดีในส่วนอาญาถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 341 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงิน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2563 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1
โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า จำเลยที่ 1 ทราบนัดโดยชอบแล้ว คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด จำเลยที่ 1 ไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ใหม่ และนัดไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ครั้นถึงวันนัดโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ศาลชั้นต้นจึงพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนแพ่งในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า คดีในส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 ซึ่งบัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้ ดังนั้นศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เฉพาะคดีในส่วนแพ่งเท่านั้น แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาคดีในส่วนอาญาให้ยกฟ้องโจทก์ด้วยจึงไม่ชอบ เห็นว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตามบทบัญญัติมาตรา 170 ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกา หมายถึงเฉพาะคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลเท่านั้น แต่หากเป็นการคัดค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่ได้รับความเสียหายอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้ และศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 จึงไม่ต้องห้ามจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแต่อย่างใด และไม่ทำให้คดีในส่วนอาญาถึงที่สุดตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ทราบว่าถูกฟ้องเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 แต่กลับยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เกินกำหนดแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์แห่งข้ออ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง และเกินกำหนดสิบห้าวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบนั้น ในข้อนี้ได้ความตามคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ว่าจำเลยที่ 1 ทราบเรื่องการถูกฟ้องเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 เนื่องจากโจทก์ส่งข้อความและสำเนาคำฟ้องมาทางแอปพลิเคชันไลน์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบและแจ้งให้เดินทางไปศาลวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่ามีการส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องของศาลชั้นต้นมาถึงตน กระทั่งวันที่ 25 เมษายน 2565 จำเลยที่ 1 มอบหมายให้ทนายความไปตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้น จึงทราบว่าโจทก์นำพยานเข้าไต่สวนเสร็จแล้วและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับรับฟ้องจำเลยทั้งสองไว้พิจารณา จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ทนายจำเลยที่ 1 ไปตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 จึงไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ส่วนที่อ้างว่า จำเลยยื่นเกินกำหนดสิบห้าวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ประกอบมาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่งนั้น บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติการขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีแพ่ง ข้อกล่าวอ้างของโจทก์จึงเป็นคนละกรณีกับคดีนี้ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 โดยไม่รับฟังคำพยานของโจทก์สองปากที่ไต่สวนมูลฟ้องมาแล้วเป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นวันนัดไต่สวนมูลฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายโจทก์แถลงว่า ประสงค์จะนำนายเทียรชัยกับนางสาววรรณธิดามาเป็นพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง แต่พยานทั้งสองปากเห็นว่าได้เบิกความแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 และศาลมีคำสั่งให้คดีมีมูลไปแล้ว จึงไม่เดินทางมาศาล และจะไม่มาเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องอีก ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า การนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งนี้เนื่องจากส่งหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ชอบ จึงกำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ขึ้นมาใหม่ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาเบิกความเท่ากับโจทก์ไม่มีพยานมาไต่สวนให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ไม่มีมูล และพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ทำให้กระบวนพิจารณาเดิมตั้งแต่การส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ตลอดจนคำสั่งที่ให้คดีมีมูลสำหรับจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นอันยกเลิกไป ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องใหม่เฉพาะจำเลยที่ 1 โจทก์ยังต้องนำพยานมาไต่สวน แม้ว่านายเทียรชัย ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และนางสาววรรณธิดา จะมาเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วครั้งหนึ่ง แต่ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ทนายโจทก์ยังมีหน้าที่นำพยานเข้าไต่สวนเพื่อให้ได้ความว่าคดีสำหรับจำเลยที่ 1 มีมูล หากพยานทั้งสองไม่มาศาลในวันนัดดังกล่าว ทนายโจทก์อาจแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการไต่สวนออกไปก่อนเพื่อติดตามพยานทั้งสองมาไต่สวนในนัดหน้า หรือแถลงขอให้ศาลชั้นต้นนำคำเบิกความของพยานทั้งสองที่เคยเบิกความมาแล้วในชั้นไต่สวนมูลฟ้องครั้งแรกมาเป็นคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องในครั้งนี้ โดยคู่ความตกลงกันก็ย่อมทำได้ แต่ทนายโจทก์หาทำเช่นนั้นไม่ กลับแถลงยืนยันว่าพยานทั้งสองจะไม่มาเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องอีก จึงถือได้ว่าเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์เองที่ไม่มีพยานมาสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยฟังว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ฟังได้ว่าคดีสำหรับจำเลยที่ 1 มีมูล จึงเป็นการพิพากษาโดยชอบแล้ว ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในส่วนแพ่ง 60,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 โดยไม่คืนเงินค่าขึ้นศาลดังกล่าวให้แก่โจทก์ย่อมขัดต่อกฎหมายนั้น คดีนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดคืนเงินให้แก่โจทก์ด้วย ค่าขึ้นศาลดังกล่าวจึงเป็นค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ต้องชำระในคดีส่วนแพ่ง ไม่เกี่ยวข้องกับในคดีส่วนอาญาแต่อย่างใด อีกทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อไปด้วย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นไม่มีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาล 60,000 บาท แก่โจทก์จึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ทุกข้อฟังไม่ขึ้น ส่วนฎีกาปลีกย่อยของโจทก์ในประเด็นอื่นไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่วินิจฉัยให้
พิพากษายืน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ โดยเห็นว่า การพิจารณาที่จำเลยเบิกความนั้นศาลได้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวไปแล้ว แต่ขณะที่จำเลยเบิกความตามที่เป็นคดีในคำฟ้องนี้ การพิจารณาคดียังมิได้ถูกเพิกถอน หากฟังได้ว่าจำเลยเบิกความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีก็ย่อมมีความผิด และถือได้ว่าได้กระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว แม้การพิจารณาในส่วนดังกล่าวต่อมาจะถูกเพิกถอนก็หาได้กระทบการกระทำความผิดที่สำเร็จไปแล้วไม่ ดังนั้น การที่จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยได้เบิกความต่อศาลแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งก็ไม่มีผลกระทบการกระทำของจำเลย แต่การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดหรือไม่ อยู่ที่ว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ เมื่อในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น จำเลยเบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท โดยจำเลยเบิกความประกอบสำเนาหลักฐานการกู้ยืมเงินและสำเนารายงานประจำวันรับแจ้ง ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น ส่วนโจทก์ให้การและนำสืบในคดีแพ่งว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยเพียง 240,000 บาท ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์กู้ยืมและรับเงินไปจากจำเลย 1,000,000 บาท ดังนี้ จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่า คำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่งดังกล่าวที่เบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท เป็นความเท็จ การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งหมายเลขแดง ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งขอให้ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมตามคดีหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณา ตั้งแต่รับหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 และสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และจำเลย ต่อมาวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 จำเลยเบิกความต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท วันที่ 2 สิงหาคม 2561 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงิน 967,744 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้โจทก์ชำระเงิน จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษากลับเป็นว่า ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณารับหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 และสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่เดียวกันไปจนถึงมีคำพิพากษาฉบับลงวันที่ 2 สิงหาคม 2561 ที่ให้โจทก์ชำระเงิน โจทก์ขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้อง และไม่รับฎีกาของโจทก์ คดีถึงที่สุด
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งหมายเลขแดง ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ โดยเห็นว่า การพิจารณาที่จำเลยเบิกความนั้นศาลได้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะที่จำเลยเบิกความตามที่เป็นคดีในคำฟ้องนี้ การพิจารณาคดียังมิได้ถูกเพิกถอน หากฟังได้ว่าจำเลยเบิกความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีก็ย่อมมีความผิด และถือได้ว่าได้กระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว แม้การพิจารณาในส่วนดังกล่าวต่อมาจะถูกเพิกถอนก็หาได้กระทบการกระทำความผิดที่สำเร็จไปแล้วไม่ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น ดังนั้น การที่จำเลยเบิกความต่อศาลจังหวัดตากในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยได้ทำการเบิกความต่อศาลแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งดังกล่าวก็ไม่มีผลกระทบการกระทำของจำเลย แต่การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดหรือไม่ อยู่ที่ว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ เห็นว่า ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น จำเลยเบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท โดยจำเลยเบิกความประกอบสำเนาหลักฐานการกู้ยืมเงินและสำเนารายงานประจำวันรับแจ้ง ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น ส่วนโจทก์ให้การและนำสืบในคดีแพ่งดังกล่าวว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยเพียง 240,000 บาท ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์กู้ยืมและรับเงินไปจากจำเลย 1,000,000 บาท ดังนี้ คดีนี้จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่า คำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่งดังกล่าวที่เบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท เป็นความเท็จ การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งหมายเลขแดง ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 จึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ โดยเห็นว่า การพิจารณาที่จำเลยเบิกความนั้นศาลได้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวไปแล้ว แต่ขณะที่จำเลยเบิกความตามที่เป็นคดีในคำฟ้องนี้ การพิจารณาคดียังมิได้ถูกเพิกถอน หากฟังได้ว่าจำเลยเบิกความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีก็ย่อมมีความผิด และถือได้ว่าได้กระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว แม้การพิจารณาในส่วนดังกล่าวต่อมาจะถูกเพิกถอนก็หาได้กระทบการกระทำความผิดที่สำเร็จไปแล้วไม่ ดังนั้น การที่จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยได้เบิกความต่อศาลแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งก็ไม่มีผลกระทบการกระทำของจำเลย แต่การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดหรือไม่ อยู่ที่ว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ เมื่อในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น จำเลยเบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท โดยจำเลยเบิกความประกอบสำเนาหลักฐานการกู้ยืมเงินและสำเนารายงานประจำวันรับแจ้ง ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น ส่วนโจทก์ให้การและนำสืบในคดีแพ่งว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยเพียง 240,000 บาท ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์กู้ยืมและรับเงินไปจากจำเลย 1,000,000 บาท ดังนี้ จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่า คำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่งดังกล่าวที่เบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท เป็นความเท็จ การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งหมายเลขแดง ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งขอให้ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมตามคดีหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณา ตั้งแต่รับหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 และสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และจำเลย ต่อมาวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 จำเลยเบิกความต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท วันที่ 2 สิงหาคม 2561 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงิน 967,744 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้โจทก์ชำระเงิน จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษากลับเป็นว่า ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณารับหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 และสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่เดียวกันไปจนถึงมีคำพิพากษาฉบับลงวันที่ 2 สิงหาคม 2561 ที่ให้โจทก์ชำระเงิน โจทก์ขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้อง และไม่รับฎีกาของโจทก์ คดีถึงที่สุด
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งหมายเลขแดง ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ โดยเห็นว่า การพิจารณาที่จำเลยเบิกความนั้นศาลได้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะที่จำเลยเบิกความตามที่เป็นคดีในคำฟ้องนี้ การพิจารณาคดียังมิได้ถูกเพิกถอน หากฟังได้ว่าจำเลยเบิกความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีก็ย่อมมีความผิด และถือได้ว่าได้กระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว แม้การพิจารณาในส่วนดังกล่าวต่อมาจะถูกเพิกถอนก็หาได้กระทบการกระทำความผิดที่สำเร็จไปแล้วไม่ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น ดังนั้น การที่จำเลยเบิกความต่อศาลจังหวัดตากในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยได้ทำการเบิกความต่อศาลแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งดังกล่าวก็ไม่มีผลกระทบการกระทำของจำเลย แต่การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดหรือไม่ อยู่ที่ว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ เห็นว่า ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น จำเลยเบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท โดยจำเลยเบิกความประกอบสำเนาหลักฐานการกู้ยืมเงินและสำเนารายงานประจำวันรับแจ้ง ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น ส่วนโจทก์ให้การและนำสืบในคดีแพ่งดังกล่าวว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยเพียง 240,000 บาท ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์กู้ยืมและรับเงินไปจากจำเลย 1,000,000 บาท ดังนี้ คดีนี้จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่า คำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่งดังกล่าวที่เบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท เป็นความเท็จ การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งหมายเลขแดง ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 จึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
แม้โจทก์มีโจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเพียงปากเดียวที่เบิกความว่า จำเลยด่าทอโจทก์และไล่โจทก์ออกจากบ้าน ไม่มีพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความสนับสนุนก็ตาม ซึ่งจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้ด่าทอโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากบ้าน ทำให้ต้องวินิจฉัยว่าคำเบิกความฝ่ายใดจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่ากัน เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์เริ่มแรก ก่อนที่จำเลยจะเข้ามาเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ โจทก์เบิกความว่าก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์และ พ. เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ม. เป็นเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ มี ส. และ ท. พ่อตาแม่ยายของจำเลยมาเฝ้าดูแล และพาไปโรงพยาบาล จนเกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกันจนกระทั่งโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ทำให้เห็นว่าจำเลยและครอบครัวทางภริยาพยายามเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์และ พ. น้องสาวโจทก์เป็นพิเศษ ทั้งที่ไม่ได้เป็นเครือญาติกัน จึงเป็นเรื่องผิดวิสัยที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาดูแลเอาใจใส่พาโจทก์และ พ. ไปโรงพยาบาล ให้ที่พักอาศัยพาไปทำบุญและท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ แต่ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ทั้งโจทก์และ พ. น้องสาวโจทก์ต่างเป็นหญิงชรา โจทก์มีโรคประจำตัวหลายโรคทั้งเบาหวาน และความดัน ส่วน พ. ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ติดเชื้อในกระแสเลือด และเป็นผู้ป่วยติดเตียงต้องการผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อโจทก์และ พ. มีทรัพย์สินและเงินฝากในบัญชีธนาคารมูลค่าไม่ใช่น้อยจึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยในการกระทำของจำเลยและครอบครัวว่ากระทำด้วยความสุจริตหรือไม่ ซึ่งต่อมาโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม และทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและเงินสดให้แก่จำเลย แต่โจทก์ก็ยังเป็นห่วงจำเลยว่าเครือญาติของโจทก์จะมีเรื่องทรัพย์สินพิพาทกับจำเลย จึงจดทะเบียนยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ย่อมรักไว้ใจและผูกพันจำเลยเสมือนบุตรและหวังฝากผีฝากไข้ไว้กับจำเลย ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 โจทก์ได้รับเงินประกันชีวิต 4,770,000 บาท และนำไปฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ปรากฏว่าในวันเดียวกันมีการถอนเงินออกไป 2,700,000 บาท และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 มีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีก 2,010,000 บาท โจทก์เบิกความว่าไม่ได้เป็นผู้เบิกถอน ซึ่งจำเลยนำสืบรับว่า เงินที่ถอน 2,700,000 บาท โจทก์ยกให้จำเลยนำไปชำระหนี้ส่วนตัวของจำเลยและภริยา ส่วนเงินที่ถอน 2,010,000 บาท โจทก์ให้นำไปใช้ในครอบครัวและดูแลความเป็นอยู่ของโจทก์ แม้ให้การไม่สอดคล้องกัน แต่ก็ทำให้เห็นว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากการที่ดูแลโจทก์เพียงไม่กี่เดือน นับแต่ที่โจทก์รับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมและจำเลยพาโจทก์มาพักอาศัยอยู่ด้วยกัน หลังจากที่โจทก์ย้ายออกมาจากบ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ตรวจสอบบัญชีเงินฝากจึงทราบว่าเหลือยอดเงินฝากเพียง 68.03 บาท โจทก์จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาลักทรัพย์ และพนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคามยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ที่ลักเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ไปโดยใช้บัตรกดเงินสด (บัตรเอทีเอ็ม) รวม 37 ครั้ง และลักเงินสด รวมยอดเงินที่จำเลยลักไปในคดีดังกล่าว 560,504 บาท ในระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ช่วงที่โจทก์พักอาศัยอยู่กับจำเลย ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาสุจริตที่รับเลี้ยงดูแลโจทก์ดังที่จำเลยนำสืบ แต่การกระทำของจำเลยแฝงไว้ด้วยเล่ห์เพทุบายในการหลอกล่อเอาทรัพย์สินของโจทก์ไปโดยทุจริต จนเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์เหลือเพียง 68.03 บาท และโจทก์ยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้เป็นของจำเลยแล้วจนโจทก์แทบไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยด่าทอโจทก์ด้วยถ้อยคำตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง และไล่โจทก์ออกจากบ้าน เมื่อพิเคราะห์ถ้อยคำที่จำเลยด่าทอโจทก์ที่ว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่รักลูก เงินแค่นี้ก็ทวง จะไปตายที่ไหนก็ไป หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" กับการที่โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมโจทก์ก็เปรียบเสมือนเป็นมารดาของจำเลยคนหนึ่ง จำเลยย่อมต้องให้ความเคารพและยกย่องเชิดชูโจทก์ คำว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม" เป็นการกล่าวหาโจทก์ว่า ไม่รู้จักชอบชั่วดี ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ทำให้ถูกคนอื่นเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ส่วนคำว่า "หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีความละอายแก่ใจที่มาอาศัยอยู่กับจำเลยและครอบครัว อันเป็นถ้อยคำที่ไร้ความเคารพนับถือ เป็นการลบหลู่เหยียดหยาม อกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ถอนคืนการให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 91569 39430 และ 24033 คืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้โจทก์ดำเนินการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับ ให้ถอนคืนการให้ โดยให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 91569 39430 และ 24033 คืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 50,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีรวม 20,000 บาท กับให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่โจทก์ได้รับยกเว้นทั้งสองศาลต่อศาลในนามโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมา 29,933 บาท แก่โจทก์
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่า วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม และต่อมาได้ย้ายไปอยู่กับจำเลยที่บ้านของนายสมบูรณ์และนางทองปักษ์ ซึ่งเป็นพ่อตาแม่ยายของจำเลย วันที่ 22 กรกฎาคม 2560 โจทก์ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินมีทั้งที่ดินและเงินฝากในบัญชีธนาคารให้แก่จำเลย ต่อมาวันที่ 16 ตุลาคม 2560 โจทก์จดทะบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 91569 39430 และ 24033 แก่จำเลยโดยเสน่หา โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 โจทก์ย้ายกลับไปอยู่บ้านโจทก์ และเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 โจทก์จดทะเบียนเลิกรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม
คงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาของจำเลยว่า โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2) ได้หรือไม่ ข้อนี้ได้ความจากโจทก์นำสืบว่า หลังจากโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงแก่จำเลยโดยเสน่หาแล้ว จำเลยไม่เลี้ยงดูโจทก์เหมือนเช่นก่อน จำเลยให้โจทก์นอนและรับประทานอาหารใต้บันไดบ้านคนเดียว ขังโจทก์ไว้ในบ้านและไม่ให้ญาติมาเยี่ยมโจทก์ จำเลยหลอกยืมเงินแล้วไม่คืนให้และลักเอาเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์เหลือเงินในบัญชีเพียง 68.03 บาท โจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาลักทรัพย์ โจทก์สิ้นเนื้อประดาตัว เมื่อเดือนมกราคม 2563 โจทก์ทวงเงินและขอเงินจากจำเลยเป็นค่ารักษาพยาบาลกับค่าอาหารเพื่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จำเลยด่าว่าโจทก์ ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่รักลูก เงินแค่นี้ก็ทวง จะไปตายที่ไหนก็ไป หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม และไล่โจทก์ออกจากบ้าน ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 โจทก์จึงออกจากบ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยกลับไปอยู่บ้านโจทก์ ส่วนจำเลยนำสืบว่า โจทก์และนางพุธ น้องสาวของโจทก์มาอาศัยอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย จำเลยและครอบครัวดูแลโจทก์และนางพุธเป็นอย่างดี เมื่อโจทก์และนางพุธป่วย จำเลยและครอบครัวก็ไปดูแลที่โรงพยาบาล ทั้งจ้างนางสาวรัตนวลี มาดูแล ต่อมาเมื่อนางพุธถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ยังขออยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย จำเลยและครอบครัวดูแลโจทก์เป็นอย่างดี พาโจทก์ไปเที่ยวและทำบุญหลายจังหวัด จำเลยให้เงินโจทก์เป็นประจำทุกสัปดาห์ เมื่อเดือนมกราคม 2563 จำเลยได้งานรับราชการที่จังหวัดขอนแก่น โจทก์ก็ยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 จำเลยไปกรุงเทพมหานคร โจทก์บอกว่าจะไปหาหมอและจะไปบ้านญาติ แม่ยายของจำเลยให้นางรัตนวลีไปส่ง หลังจากนั้นโจทก์ไม่กลับมาที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยอีกเลย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 จำเลยไปที่บ้านโจทก์ โจทก์บอกว่าที่มาอยู่ที่บ้านโจทก์เพราะญาติจะไม่คืนเงินกู้หากโจทก์ยังอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย จำเลยไปหาโจทก์อีก แต่นางบุญศรีกีดกันไม่ยอมให้จำเลยพบโจทก์ จำเลยดูแลโจทก์เป็นอย่างดี และไม่เคยด่าว่าโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง และไม่เคยไล่ออกจากบ้าน แม้โจทก์มีโจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเพียงปากเดียวที่เบิกความว่า จำเลยด่าทอโจทก์และไล่โจทก์ออกจากบ้าน ไม่มีพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความสนับสนุนก็ตาม ซึ่งจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้ด่าทอโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากบ้าน ทำให้ต้องวินิจฉัยว่าคำเบิกความฝ่ายใดจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่ากัน เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์เริ่มแรกก่อนที่จำเลยจะเข้ามาเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ โจทก์เบิกความว่า ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์และนางพุธเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ม. เป็นเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ มีนายสมบูรณ์และนางทองปักษ์ พ่อตาแม่ยายของจำเลยมาเฝ้าดูแล และพาไปโรงพยาบาล จนเกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกันจนกระทั่งโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ทำให้เห็นว่าจำเลยและครอบครัวทางภริยาพยายามเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์และนางพุธน้องสาวโจทก์เป็นพิเศษ ทั้งที่ไม่ได้เป็นเครือญาติกัน จึงเป็นเรื่องผิดวิสัยที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาดูแลเอาใจใส่พาโจทก์และนางพุธไปโรงพยาบาล ให้ที่พักอาศัยพาไปทำบุญและท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ แต่ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ทั้งโจทก์และนางพุธน้องสาวโจทก์ต่างเป็นหญิงชรา โจทก์มีโรคประจำตัวหลายโรคทั้งเบาหวาน และความดัน ส่วนนางพุธป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ติดเชื้อในกระแสเลือด และเป็นผู้ป่วยติดเตียงต้องการผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อโจทก์และนางพุธมีทรัพย์สินและเงินฝากในบัญชีธนาคารมูลค่าไม่ใช่น้อย จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยในการกระทำของจำเลยและครอบครัวว่ากระทำด้วยความสุจริตหรือไม่ ซึ่งต่อมาโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม และทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและเงินสดให้แก่จำเลย แต่โจทก์ก็ยังเป็นห่วงจำเลยว่าเครือญาติของโจทก์จะมีเรื่องทรัพย์สินพิพาทกับจำเลย จึงจดทะเบียนยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ย่อมรักไว้ใจและผูกพันจำเลยเสมือนบุตรและหวังฝากผีฝากไข้ไว้กับจำเลยดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 โจทก์ได้รับเงินประกันชีวิต 4,770,000 บาท และนำไปฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ปรากฏว่าในวันเดียวกันมีการถอนเงินออกไป 2,700,000 บาท และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 มีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีก 2,010,000 บาท โจทก์เบิกความว่าไม่ได้เป็นผู้เบิกถอน ซึ่งจำเลยนำสืบรับว่า เงินที่ถอน 2,700,000 บาท โจทก์ยกให้จำเลยนำไปชำระหนี้ส่วนตัวของจำเลยและภริยา ส่วนเงินที่ถอน 2,010,000 บาท โจทก์ให้นำไปใช้ในครอบครัวและดูแลความเป็นอยู่ของโจทก์ แม้ให้การไม่สอดคล้องกัน แต่ก็ทำให้เห็นว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากการที่ดูแลโจทก์เพียงไม่กี่ดือน นับแต่ที่โจทก์รับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมและจำเลยพาโจทก์มาพักอาศัยอยู่ด้วยกัน หลังจากที่โจทก์ย้ายออกมาจากบ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ตรวจสอบบัญชีเงินฝาก จึงทราบว่าเหลือยอดเงินฝากเพียง 68.03 บาท โจทก์จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาลักทรัพย์ และพนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคามยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ตามสำเนาคำพิพากษาศาลจังหวัดมหาสารคาม ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2565 แนบท้ายคำแก้ฎีกาของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ที่ลักเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ไป โดยใช้บัตรกดเงินสด (บัตรเอทีเอ็ม) รวม 37 ครั้ง และลักเงินสด รวมยอดเงินที่จำเลยลักไปในคดีดังกล่าว 560,504 บาท ในระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ช่วงที่โจทก์พักอาศัยอยู่กับจำเลย ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาสุจริตที่รับเลี้ยงดูแลโจทก์ดังที่จำเลยนำสืบ แต่การกระทำของจำเลยแฝงไว้ด้วยเล่ห์เพทุบายในการหลอกล่อเอาทรัพย์สินของโจทก์ไปโดยทุจริต จนเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์เหลือเพียง 68.03 บาท และโจทก์ยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้เป็นของจำเลยแล้วจนโจทก์แทบไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยด่าทอโจทก์ด้วยถ้อยคำตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง และไล่โจทก์ออกจากบ้าน เมื่อพิเคราะห์ถ้อยคำที่จำเลยด่าทอโจทก์ที่ว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่รักลูก เงินแค่นี้ก็ทวง จะไปตายที่ไหนก็ไป หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" กับการที่โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ก็เปรียบเสมือนเป็นมารดาของจำเลยคนหนึ่ง จำเลยย่อมต้องให้ความเคารพและยกย่องเชิดชูโจทก์ คำว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม" เป็นการกล่าวหาโจทก์ว่า ไม่รู้จักชอบชั่วดี ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ทำให้ถูกคนอื่นเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ส่วนคำว่า "หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีความละอายแก่ใจที่มาอาศัยอยู่กับจำเลยและครอบครัว อันเป็นถ้อยคำที่ไร้ความเคารพนับถือ เป็นการลบหลู่เหยียดหยาม อกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
แม้โจทก์มีโจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเพียงปากเดียวที่เบิกความว่า จำเลยด่าทอโจทก์และไล่โจทก์ออกจากบ้าน ไม่มีพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความสนับสนุนก็ตาม ซึ่งจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้ด่าทอโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากบ้าน ทำให้ต้องวินิจฉัยว่าคำเบิกความฝ่ายใดจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่ากัน เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์เริ่มแรก ก่อนที่จำเลยจะเข้ามาเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ โจทก์เบิกความว่าก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์และ พ. เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ม. เป็นเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ มี ส. และ ท. พ่อตาแม่ยายของจำเลยมาเฝ้าดูแล และพาไปโรงพยาบาล จนเกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกันจนกระทั่งโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ทำให้เห็นว่าจำเลยและครอบครัวทางภริยาพยายามเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์และ พ. น้องสาวโจทก์เป็นพิเศษ ทั้งที่ไม่ได้เป็นเครือญาติกัน จึงเป็นเรื่องผิดวิสัยที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาดูแลเอาใจใส่พาโจทก์และ พ. ไปโรงพยาบาล ให้ที่พักอาศัยพาไปทำบุญและท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ แต่ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ทั้งโจทก์และ พ. น้องสาวโจทก์ต่างเป็นหญิงชรา โจทก์มีโรคประจำตัวหลายโรคทั้งเบาหวาน และความดัน ส่วน พ. ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ติดเชื้อในกระแสเลือด และเป็นผู้ป่วยติดเตียงต้องการผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อโจทก์และ พ. มีทรัพย์สินและเงินฝากในบัญชีธนาคารมูลค่าไม่ใช่น้อยจึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยในการกระทำของจำเลยและครอบครัวว่ากระทำด้วยความสุจริตหรือไม่ ซึ่งต่อมาโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม และทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและเงินสดให้แก่จำเลย แต่โจทก์ก็ยังเป็นห่วงจำเลยว่าเครือญาติของโจทก์จะมีเรื่องทรัพย์สินพิพาทกับจำเลย จึงจดทะเบียนยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ย่อมรักไว้ใจและผูกพันจำเลยเสมือนบุตรและหวังฝากผีฝากไข้ไว้กับจำเลย ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 โจทก์ได้รับเงินประกันชีวิต 4,770,000 บาท และนำไปฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ปรากฏว่าในวันเดียวกันมีการถอนเงินออกไป 2,700,000 บาท และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 มีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีก 2,010,000 บาท โจทก์เบิกความว่าไม่ได้เป็นผู้เบิกถอน ซึ่งจำเลยนำสืบรับว่า เงินที่ถอน 2,700,000 บาท โจทก์ยกให้จำเลยนำไปชำระหนี้ส่วนตัวของจำเลยและภริยา ส่วนเงินที่ถอน 2,010,000 บาท โจทก์ให้นำไปใช้ในครอบครัวและดูแลความเป็นอยู่ของโจทก์ แม้ให้การไม่สอดคล้องกัน แต่ก็ทำให้เห็นว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากการที่ดูแลโจทก์เพียงไม่กี่เดือน นับแต่ที่โจทก์รับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมและจำเลยพาโจทก์มาพักอาศัยอยู่ด้วยกัน หลังจากที่โจทก์ย้ายออกมาจากบ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ตรวจสอบบัญชีเงินฝากจึงทราบว่าเหลือยอดเงินฝากเพียง 68.03 บาท โจทก์จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาลักทรัพย์ และพนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคามยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ที่ลักเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ไปโดยใช้บัตรกดเงินสด (บัตรเอทีเอ็ม) รวม 37 ครั้ง และลักเงินสด รวมยอดเงินที่จำเลยลักไปในคดีดังกล่าว 560,504 บาท ในระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ช่วงที่โจทก์พักอาศัยอยู่กับจำเลย ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาสุจริตที่รับเลี้ยงดูแลโจทก์ดังที่จำเลยนำสืบ แต่การกระทำของจำเลยแฝงไว้ด้วยเล่ห์เพทุบายในการหลอกล่อเอาทรัพย์สินของโจทก์ไปโดยทุจริต จนเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์เหลือเพียง 68.03 บาท และโจทก์ยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้เป็นของจำเลยแล้วจนโจทก์แทบไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยด่าทอโจทก์ด้วยถ้อยคำตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง และไล่โจทก์ออกจากบ้าน เมื่อพิเคราะห์ถ้อยคำที่จำเลยด่าทอโจทก์ที่ว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่รักลูก เงินแค่นี้ก็ทวง จะไปตายที่ไหนก็ไป หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" กับการที่โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมโจทก์ก็เปรียบเสมือนเป็นมารดาของจำเลยคนหนึ่ง จำเลยย่อมต้องให้ความเคารพและยกย่องเชิดชูโจทก์ คำว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม" เป็นการกล่าวหาโจทก์ว่า ไม่รู้จักชอบชั่วดี ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ทำให้ถูกคนอื่นเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ส่วนคำว่า "หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีความละอายแก่ใจที่มาอาศัยอยู่กับจำเลยและครอบครัว อันเป็นถ้อยคำที่ไร้ความเคารพนับถือ เป็นการลบหลู่เหยียดหยาม อกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ถอนคืนการให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 91569 39430 และ 24033 คืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้โจทก์ดำเนินการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับ ให้ถอนคืนการให้ โดยให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 91569 39430 และ 24033 คืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 50,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีรวม 20,000 บาท กับให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่โจทก์ได้รับยกเว้นทั้งสองศาลต่อศาลในนามโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมา 29,933 บาท แก่โจทก์
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่า วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม และต่อมาได้ย้ายไปอยู่กับจำเลยที่บ้านของนายสมบูรณ์และนางทองปักษ์ ซึ่งเป็นพ่อตาแม่ยายของจำเลย วันที่ 22 กรกฎาคม 2560 โจทก์ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินมีทั้งที่ดินและเงินฝากในบัญชีธนาคารให้แก่จำเลย ต่อมาวันที่ 16 ตุลาคม 2560 โจทก์จดทะบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 91569 39430 และ 24033 แก่จำเลยโดยเสน่หา โจทก์พักอาศัยอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 โจทก์ย้ายกลับไปอยู่บ้านโจทก์ และเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 โจทก์จดทะเบียนเลิกรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม
คงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นฎีกาของจำเลยว่า โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2) ได้หรือไม่ ข้อนี้ได้ความจากโจทก์นำสืบว่า หลังจากโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงแก่จำเลยโดยเสน่หาแล้ว จำเลยไม่เลี้ยงดูโจทก์เหมือนเช่นก่อน จำเลยให้โจทก์นอนและรับประทานอาหารใต้บันไดบ้านคนเดียว ขังโจทก์ไว้ในบ้านและไม่ให้ญาติมาเยี่ยมโจทก์ จำเลยหลอกยืมเงินแล้วไม่คืนให้และลักเอาเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์เหลือเงินในบัญชีเพียง 68.03 บาท โจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาลักทรัพย์ โจทก์สิ้นเนื้อประดาตัว เมื่อเดือนมกราคม 2563 โจทก์ทวงเงินและขอเงินจากจำเลยเป็นค่ารักษาพยาบาลกับค่าอาหารเพื่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จำเลยด่าว่าโจทก์ ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่รักลูก เงินแค่นี้ก็ทวง จะไปตายที่ไหนก็ไป หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม และไล่โจทก์ออกจากบ้าน ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 โจทก์จึงออกจากบ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยกลับไปอยู่บ้านโจทก์ ส่วนจำเลยนำสืบว่า โจทก์และนางพุธ น้องสาวของโจทก์มาอาศัยอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย จำเลยและครอบครัวดูแลโจทก์และนางพุธเป็นอย่างดี เมื่อโจทก์และนางพุธป่วย จำเลยและครอบครัวก็ไปดูแลที่โรงพยาบาล ทั้งจ้างนางสาวรัตนวลี มาดูแล ต่อมาเมื่อนางพุธถึงแก่ความตาย โจทก์ก็ยังขออยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย จำเลยและครอบครัวดูแลโจทก์เป็นอย่างดี พาโจทก์ไปเที่ยวและทำบุญหลายจังหวัด จำเลยให้เงินโจทก์เป็นประจำทุกสัปดาห์ เมื่อเดือนมกราคม 2563 จำเลยได้งานรับราชการที่จังหวัดขอนแก่น โจทก์ก็ยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 จำเลยไปกรุงเทพมหานคร โจทก์บอกว่าจะไปหาหมอและจะไปบ้านญาติ แม่ยายของจำเลยให้นางรัตนวลีไปส่ง หลังจากนั้นโจทก์ไม่กลับมาที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยอีกเลย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 จำเลยไปที่บ้านโจทก์ โจทก์บอกว่าที่มาอยู่ที่บ้านโจทก์เพราะญาติจะไม่คืนเงินกู้หากโจทก์ยังอยู่ที่บ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลย จำเลยไปหาโจทก์อีก แต่นางบุญศรีกีดกันไม่ยอมให้จำเลยพบโจทก์ จำเลยดูแลโจทก์เป็นอย่างดี และไม่เคยด่าว่าโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง และไม่เคยไล่ออกจากบ้าน แม้โจทก์มีโจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเพียงปากเดียวที่เบิกความว่า จำเลยด่าทอโจทก์และไล่โจทก์ออกจากบ้าน ไม่มีพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความสนับสนุนก็ตาม ซึ่งจำเลยก็นำสืบปฏิเสธว่าไม่ได้ด่าทอโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากบ้าน ทำให้ต้องวินิจฉัยว่าคำเบิกความฝ่ายใดจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่ากัน เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์เริ่มแรกก่อนที่จำเลยจะเข้ามาเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ โจทก์เบิกความว่า ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์และนางพุธเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ม. เป็นเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ มีนายสมบูรณ์และนางทองปักษ์ พ่อตาแม่ยายของจำเลยมาเฝ้าดูแล และพาไปโรงพยาบาล จนเกิดความสนิทสนมคุ้นเคยกันจนกระทั่งโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ทำให้เห็นว่าจำเลยและครอบครัวทางภริยาพยายามเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์และนางพุธน้องสาวโจทก์เป็นพิเศษ ทั้งที่ไม่ได้เป็นเครือญาติกัน จึงเป็นเรื่องผิดวิสัยที่บุคคลภายนอกจะเข้ามาดูแลเอาใจใส่พาโจทก์และนางพุธไปโรงพยาบาล ให้ที่พักอาศัยพาไปทำบุญและท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ แต่ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ทั้งโจทก์และนางพุธน้องสาวโจทก์ต่างเป็นหญิงชรา โจทก์มีโรคประจำตัวหลายโรคทั้งเบาหวาน และความดัน ส่วนนางพุธป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ติดเชื้อในกระแสเลือด และเป็นผู้ป่วยติดเตียงต้องการผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อโจทก์และนางพุธมีทรัพย์สินและเงินฝากในบัญชีธนาคารมูลค่าไม่ใช่น้อย จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยในการกระทำของจำเลยและครอบครัวว่ากระทำด้วยความสุจริตหรือไม่ ซึ่งต่อมาโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม และทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นที่ดินและเงินสดให้แก่จำเลย แต่โจทก์ก็ยังเป็นห่วงจำเลยว่าเครือญาติของโจทก์จะมีเรื่องทรัพย์สินพิพาทกับจำเลย จึงจดทะเบียนยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ย่อมรักไว้ใจและผูกพันจำเลยเสมือนบุตรและหวังฝากผีฝากไข้ไว้กับจำเลยดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 โจทก์ได้รับเงินประกันชีวิต 4,770,000 บาท และนำไปฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ปรากฏว่าในวันเดียวกันมีการถอนเงินออกไป 2,700,000 บาท และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 มีการถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีก 2,010,000 บาท โจทก์เบิกความว่าไม่ได้เป็นผู้เบิกถอน ซึ่งจำเลยนำสืบรับว่า เงินที่ถอน 2,700,000 บาท โจทก์ยกให้จำเลยนำไปชำระหนี้ส่วนตัวของจำเลยและภริยา ส่วนเงินที่ถอน 2,010,000 บาท โจทก์ให้นำไปใช้ในครอบครัวและดูแลความเป็นอยู่ของโจทก์ แม้ให้การไม่สอดคล้องกัน แต่ก็ทำให้เห็นว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากการที่ดูแลโจทก์เพียงไม่กี่ดือน นับแต่ที่โจทก์รับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมและจำเลยพาโจทก์มาพักอาศัยอยู่ด้วยกัน หลังจากที่โจทก์ย้ายออกมาจากบ้านพ่อตาแม่ยายของจำเลยแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ตรวจสอบบัญชีเงินฝาก จึงทราบว่าเหลือยอดเงินฝากเพียง 68.03 บาท โจทก์จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาลักทรัพย์ และพนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคามยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ และความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ตามสำเนาคำพิพากษาศาลจังหวัดมหาสารคาม ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2565 แนบท้ายคำแก้ฎีกาของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ที่ลักเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ไป โดยใช้บัตรกดเงินสด (บัตรเอทีเอ็ม) รวม 37 ครั้ง และลักเงินสด รวมยอดเงินที่จำเลยลักไปในคดีดังกล่าว 560,504 บาท ในระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2561 ช่วงที่โจทก์พักอาศัยอยู่กับจำเลย ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาสุจริตที่รับเลี้ยงดูแลโจทก์ดังที่จำเลยนำสืบ แต่การกระทำของจำเลยแฝงไว้ด้วยเล่ห์เพทุบายในการหลอกล่อเอาทรัพย์สินของโจทก์ไปโดยทุจริต จนเงินฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์เหลือเพียง 68.03 บาท และโจทก์ยกที่ดินทั้งสามแปลงพิพาทให้เป็นของจำเลยแล้วจนโจทก์แทบไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยด่าทอโจทก์ด้วยถ้อยคำตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง และไล่โจทก์ออกจากบ้าน เมื่อพิเคราะห์ถ้อยคำที่จำเลยด่าทอโจทก์ที่ว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ไม่รักลูก เงินแค่นี้ก็ทวง จะไปตายที่ไหนก็ไป หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" กับการที่โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ก็เปรียบเสมือนเป็นมารดาของจำเลยคนหนึ่ง จำเลยย่อมต้องให้ความเคารพและยกย่องเชิดชูโจทก์ คำว่า "ไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม" เป็นการกล่าวหาโจทก์ว่า ไม่รู้จักชอบชั่วดี ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ทำให้ถูกคนอื่นเกลียดชัง เสียชื่อเสียง ส่วนคำว่า "หน้าด้านหน้ามึนอยู่ทำไม" แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีความละอายแก่ใจที่มาอาศัยอยู่กับจำเลยและครอบครัว อันเป็นถ้อยคำที่ไร้ความเคารพนับถือ เป็นการลบหลู่เหยียดหยาม อกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1722 ที่ว่าผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะอนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล เป็นกรณีที่ใช้บังคับเฉพาะผู้จัดการมรดกที่มิได้เป็นทายาท แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาลแล้วยังเป็นหนึ่งในทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ส. การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ส. ให้แก่ตนเองเป็นส่วนตัวในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่มีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทหรือได้รับอนุญาตจากศาล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นการปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 อันจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกเฉพาะส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ตำบลบ้านร่อม อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสวน ผู้ตาย โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว กับให้เพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และเพิกถอนนิติกรรมของจำเลยที่ 2 ที่แบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 24055 เป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 25608
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 4 ถึงแก่ความตาย นางถนอมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกเฉพาะส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสวน กับจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ซึ่งทำเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 และเพิกถอนนิติกรรมของจำเลยที่ 2 ที่แบ่งแยกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 25608 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งเจ็ด โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกเฉพาะส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 และนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 ให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 7 คิดเป็น 6 ส่วน จาก 11 ส่วน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ด จำเลยที่ 1 นางสาวสุดใจหรือสมใจ (ถึงแก่ความตายไปก่อน) นายประเสริฐ และนายสมจิตหรือสมจิตต์ รวม 11 คน เป็นบุตรของนางสวน นางสวนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2519 มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 24047 เนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน ซึ่งเป็นที่นา และในปี 2520 มีการโอนทางมรดกให้ทายาททั้ง 10 คน ถือกรรมสิทธิ์รวมแล้ว กับที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 หรือเดิมโฉนดเลขที่ 1519 เนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา ที่พิพาท ซึ่งใช้เป็นที่ปลูกบ้านอยู่อาศัยและนางสวนถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางสวน วันที่ 4 มกราคม 2555 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และวันที่ 12 มิถุนายน 2558 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินเฉพาะส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 โจทก์ที่ 7 และจำเลยที่ 2 ยื่นคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ซึ่งในการรังวัดที่ดินได้เนื้อที่ 3 ไร่ 31.7 ตารางวา มากกว่าตามหลักฐานเดิม กับหักที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ (คลองชลประทาน สาย 1 ขวา 24 ขวา) 49.5 ตารางวา และในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม โจทก์ที่ 7 ได้เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 50.1 ตารางวา จำเลยที่ 2 ได้เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 32.1 ตารางวา
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยทั้งสองว่า มีเหตุเพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 เฉพาะส่วนของนางสวนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 และนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ทั้งเจ็ด คิดเป็น 6 ส่วน จาก 11 ส่วน ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือไม่ เห็นว่า บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ที่ว่า ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล เป็นกรณีที่ใช้บังคับเฉพาะผู้จัดการมรดกที่มิได้เป็นทายาท แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากเป็นผู้จัดการมรดกของนางสวนตามคำสั่งศาลแล้วยังเป็นหนึ่งในทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของนางสวน การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของนางสวนให้แก่ตนเองเป็นส่วนตัวในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทหรือได้รับอนุญาตจากศาล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นการปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 อันจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่อย่างใด โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกเฉพาะส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ซึ่งจำเลยที่ 1 ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 นั้น เห็นว่า เมื่อทายาททุกคนต่างรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของนางสวน แล้วจำเลยที่ 1 นำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 หลังจากนั้นอีกกว่า 3 ปี จำเลยที่ 1 จึงจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำใดที่ไม่สุจริต แล้วหลังจากจำเลยทั้งสองครอบครองปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย ไม่มีทายาทคนใดโต้แย้งคัดค้านเลยว่าจำเลยที่ 1 จัดการทรัพย์มรดกไปโดยไม่ชอบ จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ได้ขายสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนของแต่ละคนให้แก่จำเลยทั้งสองและได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองได้แบ่งทรัพย์มรดกในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 7 รับไปตามสิทธิครบถ้วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งเจ็ด โจทก์ทั้งเจ็ดไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 ได้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นอื่นไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลเปลี่ยนแปลงแล้ว และฎีกาของโจทก์ทั้งเจ็ดส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 6 ฟังไม่ขึ้น กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาเกินคำขออีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดเสียทั้งหมด ให้โจทก์ทั้งเจ็ดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความให้รวม 10,000 บาท
บทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1722 ที่ว่าผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะอนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล เป็นกรณีที่ใช้บังคับเฉพาะผู้จัดการมรดกที่มิได้เป็นทายาท แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาลแล้วยังเป็นหนึ่งในทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ส. การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ส. ให้แก่ตนเองเป็นส่วนตัวในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่มีอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทหรือได้รับอนุญาตจากศาล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นการปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 อันจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกเฉพาะส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ตำบลบ้านร่อม อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสวน ผู้ตาย โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว กับให้เพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และเพิกถอนนิติกรรมของจำเลยที่ 2 ที่แบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 24055 เป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 25608
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 4 ถึงแก่ความตาย นางถนอมยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกเฉพาะส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสวน กับจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ซึ่งทำเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 และเพิกถอนนิติกรรมของจำเลยที่ 2 ที่แบ่งแยกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 25608 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งเจ็ด โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกเฉพาะส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 และนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 ให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 7 คิดเป็น 6 ส่วน จาก 11 ส่วน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ด จำเลยที่ 1 นางสาวสุดใจหรือสมใจ (ถึงแก่ความตายไปก่อน) นายประเสริฐ และนายสมจิตหรือสมจิตต์ รวม 11 คน เป็นบุตรของนางสวน นางสวนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2519 มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 24047 เนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน ซึ่งเป็นที่นา และในปี 2520 มีการโอนทางมรดกให้ทายาททั้ง 10 คน ถือกรรมสิทธิ์รวมแล้ว กับที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 หรือเดิมโฉนดเลขที่ 1519 เนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา ที่พิพาท ซึ่งใช้เป็นที่ปลูกบ้านอยู่อาศัยและนางสวนถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางสวน วันที่ 4 มกราคม 2555 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และวันที่ 12 มิถุนายน 2558 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินเฉพาะส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 โจทก์ที่ 7 และจำเลยที่ 2 ยื่นคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ซึ่งในการรังวัดที่ดินได้เนื้อที่ 3 ไร่ 31.7 ตารางวา มากกว่าตามหลักฐานเดิม กับหักที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ (คลองชลประทาน สาย 1 ขวา 24 ขวา) 49.5 ตารางวา และในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม โจทก์ที่ 7 ได้เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 50.1 ตารางวา จำเลยที่ 2 ได้เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 32.1 ตารางวา
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยทั้งสองว่า มีเหตุเพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 เฉพาะส่วนของนางสวนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 และนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ทั้งเจ็ด คิดเป็น 6 ส่วน จาก 11 ส่วน ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือไม่ เห็นว่า บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ที่ว่า ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล เป็นกรณีที่ใช้บังคับเฉพาะผู้จัดการมรดกที่มิได้เป็นทายาท แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากเป็นผู้จัดการมรดกของนางสวนตามคำสั่งศาลแล้วยังเป็นหนึ่งในทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของนางสวน การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของนางสวนให้แก่ตนเองเป็นส่วนตัวในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทหรือได้รับอนุญาตจากศาล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นการปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 อันจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่อย่างใด โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกเฉพาะส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ซึ่งจำเลยที่ 1 ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 นั้น เห็นว่า เมื่อทายาททุกคนต่างรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของนางสวน แล้วจำเลยที่ 1 นำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 หลังจากนั้นอีกกว่า 3 ปี จำเลยที่ 1 จึงจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำใดที่ไม่สุจริต แล้วหลังจากจำเลยทั้งสองครอบครองปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย ไม่มีทายาทคนใดโต้แย้งคัดค้านเลยว่าจำเลยที่ 1 จัดการทรัพย์มรดกไปโดยไม่ชอบ จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ได้ขายสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนของแต่ละคนให้แก่จำเลยทั้งสองและได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองได้แบ่งทรัพย์มรดกในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 7 รับไปตามสิทธิครบถ้วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งเจ็ด โจทก์ทั้งเจ็ดไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 ได้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นอื่นไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลเปลี่ยนแปลงแล้ว และฎีกาของโจทก์ทั้งเจ็ดส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 6 ฟังไม่ขึ้น กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาเกินคำขออีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดเสียทั้งหมด ให้โจทก์ทั้งเจ็ดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความให้รวม 10,000 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 200,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงิน จำเลยให้การว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์เพียง 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน หักดอกเบี้ยล่วงหน้า ได้รับเงินกู้เพียง 45,000 บาท สัญญากู้เงินโจทก์เขียนจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท เป็นเอกสารปลอม ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์จริง แต่ได้รับเงินไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เขียนระบุไว้ในสัญญา และกล่าวอ้างว่าสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่าจำเลยเป็นผู้กรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม ก็เป็นเรื่องในชั้นพิจารณาว่าข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ฟังได้เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่ไม่ต้องใช้หนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จึงต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานหลักฐาน หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นต้นฉบับระบุชื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาและลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายจึงมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร แต่หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 291,791 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันทำสัญญา (วันที่ 1 เมษายน 2558) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 จำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์ไว้ มีข้อความว่าจำเลยกู้เงินของโจทก์ 200,000 บาท ได้รับเงินไปครบถ้วนเสร็จแล้วตั้งแต่วันทำสัญญานี้ จำเลยจะนำเงินมาชำระให้เสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ตามหนังสือสัญญากู้เงิน เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยไม่ชำระ
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงประการเดียวว่า หนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างส่งศาลเป็นเอกสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์และใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 200,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงิน จำเลยให้การว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์เพียง 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน หักดอกเบี้ยล่วงหน้า ได้รับเงินกู้เพียง 45,000 บาท สัญญากู้เงินโจทก์เขียนจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท เป็นเอกสารปลอม ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์จริง แต่ได้รับเงินไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เขียนระบุไว้ในสัญญา และกล่าวอ้างว่าสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่าจำเลยเป็นผู้กรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม ก็เป็นเรื่องในชั้นพิจารณาว่าข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ฟังได้เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่ไม่ต้องใช้หนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จึงต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานหลักฐาน หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นต้นฉบับระบุชื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาและลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายจึงมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แต่หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 200,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงิน จำเลยให้การว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์เพียง 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน หักดอกเบี้ยล่วงหน้า ได้รับเงินกู้เพียง 45,000 บาท สัญญากู้เงินโจทก์เขียนจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท เป็นเอกสารปลอม ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์จริง แต่ได้รับเงินไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เขียนระบุไว้ในสัญญา และกล่าวอ้างว่าสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่าจำเลยเป็นผู้กรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม ก็เป็นเรื่องในชั้นพิจารณาว่าข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ฟังได้เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่ไม่ต้องใช้หนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จึงต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานหลักฐาน หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นต้นฉบับระบุชื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาและลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายจึงมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร แต่หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 291,791 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันทำสัญญา (วันที่ 1 เมษายน 2558) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 จำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์ไว้ มีข้อความว่าจำเลยกู้เงินของโจทก์ 200,000 บาท ได้รับเงินไปครบถ้วนเสร็จแล้วตั้งแต่วันทำสัญญานี้ จำเลยจะนำเงินมาชำระให้เสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2560 ตามหนังสือสัญญากู้เงิน เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยไม่ชำระ
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงประการเดียวว่า หนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างส่งศาลเป็นเอกสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์และใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 200,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงิน จำเลยให้การว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์เพียง 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน หักดอกเบี้ยล่วงหน้า ได้รับเงินกู้เพียง 45,000 บาท สัญญากู้เงินโจทก์เขียนจำนวนเงินกู้ 200,000 บาท เป็นเอกสารปลอม ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์จริง แต่ได้รับเงินไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เขียนระบุไว้ในสัญญา และกล่าวอ้างว่าสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินดังกล่าวจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่าจำเลยเป็นผู้กรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว สัญญากู้จึงไม่ใช่เอกสารปลอม ก็เป็นเรื่องในชั้นพิจารณาว่าข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ฟังได้เพียงใด ไม่ใช่กรณีที่ไม่ต้องใช้หนังสือสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จึงต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาเป็นพยานหลักฐาน หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นต้นฉบับระบุชื่อโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาและลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่ายจึงมีลักษณะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แต่หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ป.พ.พ. มาตรา 1566 และมาตรา 1574 ให้อำนาจผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้ การสละมรดกของผู้เยาว์เป็นการกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และเป็นการจำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น การที่โจทก์ทั้งสามสละมรดกที่ดินพิพาทโดย ส. มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสามทำบันทึกตกลงสละมรดกของผู้ตายไว้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 ขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ ส. จึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนทำบันทึกข้อตกลง ตามมาตรา 1574 (2) (4) ไม่ปรากฏว่า ส. ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำบันทึกข้อตกลงแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงที่ ส. ทำไว้ไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามไม่เป็นการสละมรดกที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ตาย เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้สละมรดก ดังนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้จำเลยที่ 3 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันการกู้เงินจากธนาคาร ก. แล้วนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ยังได้ความว่า จำเลยที่ 2 มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งการให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 ยังคงมีอำนาจสั่งการให้จำเลยที่ 3 จัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ตามความต้องการ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการถือที่ดินพิพาทไว้แทน ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายจึงยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย
การที่จำเลยที่ 2 สั่งให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 กับ ป. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยมีข้อความตอนหนึ่งให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. หรือแก่บุคคลที่ ป. กำหนด โดยทายาทคนอื่นไม่รู้เห็นยินยอมด้วย และทำไปเพื่อต้องการให้ ป. ไปถอนฟ้องคดีอาญาจำเลยที่ 2 ข้อหายักยอก เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การจัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำให้มีผลผูกพันทรัพย์มรดกได้ คงมีผลผูกพันที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โดยปลอดจากภาระจำนองที่ดินทั้งแปลง เพราะการจำนองที่ดินพิพาทต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 โดยยึดโยงจากการที่จำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นเช่าบ้านเลขที่ 262/1 อยู่บนที่ดินพิพาท ขณะฟ้องไม่ปรากฏว่าสัญญาเช่าเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาขายที่ดินพิพาท ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ก่อนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่า การที่จำเลยที่ 1 นำบ้านดังกล่าวออกให้บุคคลอื่นเช่า เป็นการจัดการทรัพย์สินตามธรรมดาเพื่อรักษาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง ซึ่งเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อน แต่การที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทเป็นก่อให้เกิดภาระติดพันบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาท ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสามแสดงออกชัดว่า ไม่ยินยอม การให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทจึงขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทของผู้ตาย จึงเป็นผู้เสียหายชอบที่จะใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดในส่วนของผู้ตายเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนระยะเวลาการชดใช้ค่าเสียหายนั้นให้นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปตลอดระยะเวลาที่มีการเช่าบ้านเลขที่ 262/1 หรือจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท หรือจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดระยะเวลาให้ถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 252
โจทก์ทั้งสามฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมบ้านเลขที่ 262/1 หากไม่ดำเนินการขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากธนาคาร ซ. เป็นเงิน 6,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 6,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป และหากจำเลยทั้งสามไม่สามารถดำเนินการเพิกถอนการขายและโอนที่ดินได้ก็ให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 20,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ 40,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสาม กับให้กำจัดจำเลยทั้งสามมิให้มีสิทธิรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสาม กับให้โจทก์ทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท
โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีโดยวินิจฉัยปัญหาอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 1 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา และได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน โดยให้เสียค่าขึ้นศาลจำนวน 30,000 บาท
ศาลฎีกาพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามในที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมบ้านเลขที่ 262/1 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายชาลี หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม กับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากธนาคาร ซ. ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 1 หากไม่ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 6,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 กรกฎาคม 2559) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสาม ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามเดือนละ 40,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น และให้กำจัดจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิให้มีสิทธิรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ทั้งสามได้รับยกเว้นแทนโจทก์ทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน โดยให้เสียค่าขึ้นศาลคนละจำนวน 20,000 บาท
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามในที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมบ้านเลขที่ 262/1 คนละ 1 ใน 12 ส่วน ของครึ่งหนึ่งแห่งทรัพย์สินดังกล่าว หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม เดือนละ 5,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 กรกฎาคม 2559) จนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น หากจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากธนาคาร ซ. ให้โจทก์ทั้งสามไถ่ถอนได้เอง โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ยกคำขอที่ขอให้กำจัดจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิให้มีสิทธิรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่เสียเกินมาคนละ 15,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 1 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา โดยโจทก์ทั้งสามได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน โดยให้เสียค่าขึ้นศาลจำนวน 20,000 บาท
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนฎีกา ศาลฎีกาอนุญาต จำหน่ายคดีโจทก์ทั้งสามออกจากสารบบความศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติว่า โจทก์ทั้งสามบุตรเป็นของนายชาลี กับนางแสงอรุณ โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทโดยธรรมของนายชาลี จำเลยที่ 1 และนายชาลีเป็นบุตรของนายประยูร กับนางสุดใจ จำเลยที่ 2 เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของนายชาลี มีบุตรด้วยกัน 6 คน จำเลยที่ 3 เป็นบุตรคนหนึ่งของบุคคลทั้งสอง จำเลยที่ 1 เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายชาลี นายชาลีถึงแก่ความตายวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 ขณะถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมบ้านเลขที่ 262/1 ปลูกอยู่บนที่ดินแปลงนี้ เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 2 กับนายชาลี จึงตกเป็นทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของนายชาลี ต่อมาที่ดินแปลงนี้มีการขอออกโฉนดเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามคำสั่งคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1109/2544 หมายเลขแดงที่ 1484/2544 ของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องนางแสงอรุณเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทในคดีนี้ เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 153/2545 หมายเลขแดงที่ 1448/2546 ของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยที่ 2 กับผู้ตาย เป็นทรัพย์มรดกให้ขับไล่นางแสงอรุณออกจากบ้านเลขที่ 262/1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลฎีกาพิพากษายืนในประเด็นดังกล่าว ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในคดีดังกล่าว และคดีอยู่ในชั้นบังคับคดี วันที่ 17 สิงหาคม 2547 นางแสงอรุณในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสามทำบันทึกข้อตกลงในชั้นบังคับคดี ตามบันทึกข้อตกลง ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวอ้างว่า นางแสงอรุณผิดข้อตกลง ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกอุทธรณ์ของนางแสงอรุณ และเพิกถอนคำสั่งทุเลาการบังคับคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิใช่คำพิพากษาตามยอม ไม่มีผลผูกพันคู่ความ ตามคำสั่งวันที่ 27 พฤษภาคม 2548 นายประยูรยื่นคำร้องขอถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1109/2544 หมายเลขแดงที่ 1484/2544 ของศาลชั้นต้น วันที่ 9 มิถุนายน 2548 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายขายที่ดินพิพาทโฉนดตราจองเลขที่ 8026 ให้แก่จำเลยที่ 3 ในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองต่อธนาคาร ก. วันที่ 10 สิงหาคม 2548 จำเลยที่ 2 กับนายประยูรทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีที่นายประยูร ยื่นคำร้องขอถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามสัญญาประนีประนอมยอม วันที่ 15 สิงหาคม 2548 จำเลยที่ 3 ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จำเลยที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 นำโฉนดตราจองที่ดินพิพาทขอออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 190849 วันที่ 29 พฤษภาคม 2549 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1109/2544 หมายเลขแดงที่ 1484/2544 ของศาลชั้นต้น ตามคำสั่ง วันที่ 26 ธันวาคม 2549 พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในข้อหาเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล (ผู้จัดการมรดกของผู้ตาย) ยักยอกทรัพย์มรดกของผู้ตาย วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 354 ตามคำฟ้องและคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1544/2549 หมายเลขแดงที่ 1492/2550 ของศาลชั้นต้น วันที่ 16 ตุลาคม 2550 นายประยูรถึงแก่ความตาย วันที่ 13 มีนาคม 2551 ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนายประยูร วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินพิพาทโฉนดที่ดินเลขที่ 190849 ไว้ต่อธนาคาร ซ. ยกคำขอกำจัดจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิให้รับมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามมิได้ฎีกา จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ฎีกามีว่า โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ขายกับจำเลยที่ 3 ผู้ซื้อ ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 3 ผู้ขายกับจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 หรือไม่ และจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสามหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในทำนองว่า โจทก์ทั้งสามสละมรดกที่ดินพิพาทโดยนางแสงอรุณมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสามทำบันทึกตกลงสละมรดกของผู้ตายไว้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 ขณะนางแสงอรุณทำบันทึกฉบับนี้โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์อยู่ในอำนาจปกครองของนางแสงอรุณมารดาโจทก์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 และมาตรา 1574 ให้อำนาจผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้ การสละมรดกของผู้เยาว์เป็นการกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และเป็นการจำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพยสินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น นางแสงอรุณจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนทำบันทึกข้อตกลง ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1574 (2) (4) ไม่ปรากฏว่า นางแสงอรุณได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำบันทึก ข้อตกลงแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลง ที่นางแสงอรุณทำไว้ไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามไม่เป็นการสละมรดกที่ดินพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้สละมรดก ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นตัวแทนของทายาทในการจัดการทรัพย์มรดก มีหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกโดยทั่วไปเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1723, 1724 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 ตามหนังสือสัญญาขาย เพื่อให้จำเลยที่ 3 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันการกู้เงินจากธนาคาร ก. ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน แล้วนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ยังได้ความว่า จำเลยที่ 2 มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท แล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งการให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาขาย พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 ตามหนังสือสัญญาขาย โดยมีความมุ่งหมายให้จำเลยที่ 3 นำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากธนาคาร ก. แทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยังคงมีอำนาจสั่งการให้จำเลยที่ 3 จัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ตามความต้องการ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการถือที่ดินพิพาทไว้แทน ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายจึงยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนการที่จำเลยที่ 2 สั่งให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการจัดการทรัพย์มรดกโดยชอบหรือไม่ เห็นว่า ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1109/2544 หมายเลขแดงที่ 1484/2544 ของศาลชั้นต้น นายประยูรร้องขอถอนจำเลยที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จำเลยที่ 2 กับนายประยูรทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยมีข้อความตอนหนึ่งให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพาทให้แก่นายประยูรหรือแก่บุคคลที่นายประยูรกำหนด โดยทายาทคนอื่นไม่รู้เห็นยินยอมด้วย และทำไปเพื่อต้องการให้นายประยูรไปถอนฟ้องคดีอาญาจำเลยที่ 2 ข้อหายักยอก เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การจัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำให้มีผลผูกพันทรัพย์มรดกได้ คงมีผลผูกพันที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น และไม่อาจอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งทำโดยผู้ไม่มีอำนาจกระทำนิติกรรมผูกพันทรัพย์มรดกได้มาบังคับใช้ให้ต้องโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีที่ผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลเพื่อรับรู้ว่ามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเท่านั้น ขณะจำเลยที่ 3 ตัวแทนของจำเลยที่ 2 โอนที่ดินพาทให้แก่จำเลยที่ 1 วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 และนายประยูรยังมีชีวิต (ถึงแก่ความตายวันที่ 16 ตุลาคม 2550) จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและไม่มีหน้าที่อย่างใดในกองมรดกของผู้ตาย ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า โอนที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่ 1 นำเข้ากองมรดกของผู้ตายเพื่อไปบริหารจัดการหนี้ของผู้ตาย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในทำนองเดียวกันว่า เพื่อไปบริหารจัดการชำระหนี้ของผู้ตาย จึงฟังไม่ขึ้น เมื่อจำเลยที่ 3 ตัวแทนของจำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเป็นการจัดการทรัพย์มรดกโดยมิชอบ ไม่สุจริต และไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จำเลยที่ 1 ซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทไว้ก็ไม่มีสิทธิ ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โดยปลอดจากภาระจำนองที่ดินทั้งแปลง เพราะการจำนองที่ดินพิพาทต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินพาท ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาท ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทั้งแปลงรวมถึงที่ดินพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 2 ด้วยซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เนื่องด้วยอำนาจกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 2 เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336, 1361 วรรคหนึ่ง ดังนั้น คงเพิกถอนได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาท ส่วนปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสามนับถัดจากวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 หรือไม่ เพียงใดนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 โดยยึดโยงจากการที่จำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นเช่าบ้านเลขที่ 262/1 อยู่บนที่ดินพิพาท ขณะฟ้องไม่ปรากฏว่าสัญญาเช่าเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาขายที่ดินพิพาท ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าวันที่ 25 มิถุนายน 2557 จำเลยที่ 1 นำบ้านดังกล่าวออกให้บุคคลอื่นเช่า เป็นการจัดการทรัพย์สินตามธรรมดาเพื่อรักษาทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสอง ซึ่งเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อน แต่การที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทเป็นก่อให้เกิดภาระติดพัน บ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาท ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสามแสดงออกชัดว่า ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทออกให้เช่า การให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทจึงขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทของผู้ตาย จึงเป็นผู้เสียหายชอบที่จะใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดในส่วนของผู้ตายเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น และกรณีนี้ยังไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท ต้องนำค่าเสียหายที่ได้รับมาเข้าเป็นกองมรดกของผู้ตาย เนื่องจากกองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 ค่าเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดให้เดือนละ 5,000 บาท จำเลยที่ 1 ไม่ได้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดให้สูงเกินไป ค่าเสียหายจึงเป็นไปตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลาการชดใช้ค่าเสียหายนั้นให้นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปตลอดระยะเวลาที่มีการเช่าบ้านเลขที่ 262/1 หรือจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท หรือจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดระยะเวลาให้ถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5), 246 และ 252
อนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ทั้งสามดำเนินคดีโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล และพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ทั้งสามได้รับยกเว้นแทนโจทก์ทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระต่อศาลในนามของโจทก์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนหนังสือสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนหนังสือสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของนายชาลี กึ่งหนึ่ง ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายโดยนำเงินไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อนำเข้ากองมรดกของผู้ตายดำเนินการจัดการทรัพย์มรดกต่อไป นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 กรกฎาคม 2559) เป็นต้นไปตลอดระยะเวลาที่มีการเช่าบ้านเลขที่ 262/1 หรือจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท หรือจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แต่ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งสามจะต้องใช้แทนโจทก์ทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระต่อศาลในนามของโจทก์ทั้งสาม ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
ป.พ.พ. มาตรา 1566 และมาตรา 1574 ให้อำนาจผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้ การสละมรดกของผู้เยาว์เป็นการกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และเป็นการจำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น การที่โจทก์ทั้งสามสละมรดกที่ดินพิพาทโดย ส. มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสามทำบันทึกตกลงสละมรดกของผู้ตายไว้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 ขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ ส. จึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนทำบันทึกข้อตกลง ตามมาตรา 1574 (2) (4) ไม่ปรากฏว่า ส. ได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำบันทึกข้อตกลงแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงที่ ส. ทำไว้ไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามไม่เป็นการสละมรดกที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ตาย เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้สละมรดก ดังนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เพื่อให้จำเลยที่ 3 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันการกู้เงินจากธนาคาร ก. แล้วนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ยังได้ความว่า จำเลยที่ 2 มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งการให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 ยังคงมีอำนาจสั่งการให้จำเลยที่ 3 จัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ตามความต้องการ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการถือที่ดินพิพาทไว้แทน ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายจึงยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย
การที่จำเลยที่ 2 สั่งให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 กับ ป. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยมีข้อความตอนหนึ่งให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. หรือแก่บุคคลที่ ป. กำหนด โดยทายาทคนอื่นไม่รู้เห็นยินยอมด้วย และทำไปเพื่อต้องการให้ ป. ไปถอนฟ้องคดีอาญาจำเลยที่ 2 ข้อหายักยอก เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การจัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำให้มีผลผูกพันทรัพย์มรดกได้ คงมีผลผูกพันที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โดยปลอดจากภาระจำนองที่ดินทั้งแปลง เพราะการจำนองที่ดินพิพาทต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 โดยยึดโยงจากการที่จำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นเช่าบ้านเลขที่ 262/1 อยู่บนที่ดินพิพาท ขณะฟ้องไม่ปรากฏว่าสัญญาเช่าเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาขายที่ดินพิพาท ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ก่อนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่า การที่จำเลยที่ 1 นำบ้านดังกล่าวออกให้บุคคลอื่นเช่า เป็นการจัดการทรัพย์สินตามธรรมดาเพื่อรักษาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง ซึ่งเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อน แต่การที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทเป็นก่อให้เกิดภาระติดพันบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาท ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสามแสดงออกชัดว่า ไม่ยินยอม การให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทจึงขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทของผู้ตาย จึงเป็นผู้เสียหายชอบที่จะใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดในส่วนของผู้ตายเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนระยะเวลาการชดใช้ค่าเสียหายนั้นให้นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปตลอดระยะเวลาที่มีการเช่าบ้านเลขที่ 262/1 หรือจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท หรือจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดระยะเวลาให้ถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 252
โจทก์ทั้งสามฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมบ้านเลขที่ 262/1 หากไม่ดำเนินการขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากธนาคาร ซ. เป็นเงิน 6,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 6,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป และหากจำเลยทั้งสามไม่สามารถดำเนินการเพิกถอนการขายและโอนที่ดินได้ก็ให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 20,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ 40,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสาม กับให้กำจัดจำเลยทั้งสามมิให้มีสิทธิรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสาม กับให้โจทก์ทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท
โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีโดยวินิจฉัยปัญหาอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 1 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา และได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน โดยให้เสียค่าขึ้นศาลจำนวน 30,000 บาท
ศาลฎีกาพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามในที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมบ้านเลขที่ 262/1 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายชาลี หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม กับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากธนาคาร ซ. ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 1 หากไม่ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 6,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 กรกฎาคม 2559) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสาม ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามเดือนละ 40,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น และให้กำจัดจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิให้มีสิทธิรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ทั้งสามได้รับยกเว้นแทนโจทก์ทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน โดยให้เสียค่าขึ้นศาลคนละจำนวน 20,000 บาท
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามในที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมบ้านเลขที่ 262/1 คนละ 1 ใน 12 ส่วน ของครึ่งหนึ่งแห่งทรัพย์สินดังกล่าว หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม เดือนละ 5,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 กรกฎาคม 2559) จนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น หากจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง จากธนาคาร ซ. ให้โจทก์ทั้งสามไถ่ถอนได้เอง โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ยกคำขอที่ขอให้กำจัดจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิให้มีสิทธิรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่เสียเกินมาคนละ 15,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 1 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา โดยโจทก์ทั้งสามได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน โดยให้เสียค่าขึ้นศาลจำนวน 20,000 บาท
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนฎีกา ศาลฎีกาอนุญาต จำหน่ายคดีโจทก์ทั้งสามออกจากสารบบความศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติว่า โจทก์ทั้งสามบุตรเป็นของนายชาลี กับนางแสงอรุณ โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทโดยธรรมของนายชาลี จำเลยที่ 1 และนายชาลีเป็นบุตรของนายประยูร กับนางสุดใจ จำเลยที่ 2 เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของนายชาลี มีบุตรด้วยกัน 6 คน จำเลยที่ 3 เป็นบุตรคนหนึ่งของบุคคลทั้งสอง จำเลยที่ 1 เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายชาลี นายชาลีถึงแก่ความตายวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 ขณะถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมบ้านเลขที่ 262/1 ปลูกอยู่บนที่ดินแปลงนี้ เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 2 กับนายชาลี จึงตกเป็นทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของนายชาลี ต่อมาที่ดินแปลงนี้มีการขอออกโฉนดเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 190849 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามคำสั่งคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1109/2544 หมายเลขแดงที่ 1484/2544 ของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องนางแสงอรุณเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทในคดีนี้ เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 153/2545 หมายเลขแดงที่ 1448/2546 ของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยที่ 2 กับผู้ตาย เป็นทรัพย์มรดกให้ขับไล่นางแสงอรุณออกจากบ้านเลขที่ 262/1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลฎีกาพิพากษายืนในประเด็นดังกล่าว ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในคดีดังกล่าว และคดีอยู่ในชั้นบังคับคดี วันที่ 17 สิงหาคม 2547 นางแสงอรุณในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสามทำบันทึกข้อตกลงในชั้นบังคับคดี ตามบันทึกข้อตกลง ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องในคดีดังกล่าวอ้างว่า นางแสงอรุณผิดข้อตกลง ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกอุทธรณ์ของนางแสงอรุณ และเพิกถอนคำสั่งทุเลาการบังคับคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิใช่คำพิพากษาตามยอม ไม่มีผลผูกพันคู่ความ ตามคำสั่งวันที่ 27 พฤษภาคม 2548 นายประยูรยื่นคำร้องขอถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1109/2544 หมายเลขแดงที่ 1484/2544 ของศาลชั้นต้น วันที่ 9 มิถุนายน 2548 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายขายที่ดินพิพาทโฉนดตราจองเลขที่ 8026 ให้แก่จำเลยที่ 3 ในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองต่อธนาคาร ก. วันที่ 10 สิงหาคม 2548 จำเลยที่ 2 กับนายประยูรทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีที่นายประยูร ยื่นคำร้องขอถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามสัญญาประนีประนอมยอม วันที่ 15 สิงหาคม 2548 จำเลยที่ 3 ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จำเลยที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 นำโฉนดตราจองที่ดินพิพาทขอออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 190849 วันที่ 29 พฤษภาคม 2549 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1109/2544 หมายเลขแดงที่ 1484/2544 ของศาลชั้นต้น ตามคำสั่ง วันที่ 26 ธันวาคม 2549 พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในข้อหาเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล (ผู้จัดการมรดกของผู้ตาย) ยักยอกทรัพย์มรดกของผู้ตาย วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 354 ตามคำฟ้องและคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1544/2549 หมายเลขแดงที่ 1492/2550 ของศาลชั้นต้น วันที่ 16 ตุลาคม 2550 นายประยูรถึงแก่ความตาย วันที่ 13 มีนาคม 2551 ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนายประยูร วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินพิพาทโฉนดที่ดินเลขที่ 190849 ไว้ต่อธนาคาร ซ. ยกคำขอกำจัดจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิให้รับมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามมิได้ฎีกา จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ฎีกามีว่า โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ขายกับจำเลยที่ 3 ผู้ซื้อ ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 3 ผู้ขายกับจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 หรือไม่ และจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสามหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในทำนองว่า โจทก์ทั้งสามสละมรดกที่ดินพิพาทโดยนางแสงอรุณมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสามทำบันทึกตกลงสละมรดกของผู้ตายไว้เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 ขณะนางแสงอรุณทำบันทึกฉบับนี้โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์อยู่ในอำนาจปกครองของนางแสงอรุณมารดาโจทก์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 และมาตรา 1574 ให้อำนาจผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมใด ๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้ การสละมรดกของผู้เยาว์เป็นการกระทำให้สิ้นสุดลงทั้งหมดซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และเป็นการจำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพยสินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น นางแสงอรุณจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนทำบันทึกข้อตกลง ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1574 (2) (4) ไม่ปรากฏว่า นางแสงอรุณได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำบันทึก ข้อตกลงแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลง ที่นางแสงอรุณทำไว้ไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามไม่เป็นการสละมรดกที่ดินพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้สละมรดก ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นตัวแทนของทายาทในการจัดการทรัพย์มรดก มีหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกโดยทั่วไปเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1723, 1724 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 ตามหนังสือสัญญาขาย เพื่อให้จำเลยที่ 3 นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันการกู้เงินจากธนาคาร ก. ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน แล้วนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ยังได้ความว่า จำเลยที่ 2 มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท แล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งการให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาขาย พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 ตามหนังสือสัญญาขาย โดยมีความมุ่งหมายให้จำเลยที่ 3 นำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันในการกู้เงินจากธนาคาร ก. แทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยังคงมีอำนาจสั่งการให้จำเลยที่ 3 จัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ตามความต้องการ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการถือที่ดินพิพาทไว้แทน ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายจึงยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนการที่จำเลยที่ 2 สั่งให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการจัดการทรัพย์มรดกโดยชอบหรือไม่ เห็นว่า ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1109/2544 หมายเลขแดงที่ 1484/2544 ของศาลชั้นต้น นายประยูรร้องขอถอนจำเลยที่ 2 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จำเลยที่ 2 กับนายประยูรทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยมีข้อความตอนหนึ่งให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพาทให้แก่นายประยูรหรือแก่บุคคลที่นายประยูรกำหนด โดยทายาทคนอื่นไม่รู้เห็นยินยอมด้วย และทำไปเพื่อต้องการให้นายประยูรไปถอนฟ้องคดีอาญาจำเลยที่ 2 ข้อหายักยอก เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การจัดการทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำให้มีผลผูกพันทรัพย์มรดกได้ คงมีผลผูกพันที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น และไม่อาจอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งทำโดยผู้ไม่มีอำนาจกระทำนิติกรรมผูกพันทรัพย์มรดกได้มาบังคับใช้ให้ต้องโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีที่ผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลเพื่อรับรู้ว่ามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเท่านั้น ขณะจำเลยที่ 3 ตัวแทนของจำเลยที่ 2 โอนที่ดินพาทให้แก่จำเลยที่ 1 วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 และนายประยูรยังมีชีวิต (ถึงแก่ความตายวันที่ 16 ตุลาคม 2550) จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและไม่มีหน้าที่อย่างใดในกองมรดกของผู้ตาย ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า โอนที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่ 1 นำเข้ากองมรดกของผู้ตายเพื่อไปบริหารจัดการหนี้ของผู้ตาย และที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในทำนองเดียวกันว่า เพื่อไปบริหารจัดการชำระหนี้ของผู้ตาย จึงฟังไม่ขึ้น เมื่อจำเลยที่ 3 ตัวแทนของจำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเป็นการจัดการทรัพย์มรดกโดยมิชอบ ไม่สุจริต และไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จำเลยที่ 1 ซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทไว้ก็ไม่มีสิทธิ ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของผู้ตายยังเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โดยปลอดจากภาระจำนองที่ดินทั้งแปลง เพราะการจำนองที่ดินพิพาทต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินพาท ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาขายที่ดินพิพาท ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทั้งแปลงรวมถึงที่ดินพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 2 ด้วยซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เนื่องด้วยอำนาจกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 2 เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336, 1361 วรรคหนึ่ง ดังนั้น คงเพิกถอนได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกกึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาท ส่วนปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสามนับถัดจากวันฟ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 หรือไม่ เพียงใดนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสามเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 โดยยึดโยงจากการที่จำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นเช่าบ้านเลขที่ 262/1 อยู่บนที่ดินพิพาท ขณะฟ้องไม่ปรากฏว่าสัญญาเช่าเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาขายที่ดินพิพาท ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าวันที่ 25 มิถุนายน 2557 จำเลยที่ 1 นำบ้านดังกล่าวออกให้บุคคลอื่นเช่า เป็นการจัดการทรัพย์สินตามธรรมดาเพื่อรักษาทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสอง ซึ่งเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นก่อน แต่การที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทเป็นก่อให้เกิดภาระติดพัน บ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาท ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสามแสดงออกชัดว่า ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทออกให้เช่า การให้เช่าบ้านเลขที่ 262/1 บนที่ดินพิพาทจึงขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทของผู้ตาย จึงเป็นผู้เสียหายชอบที่จะใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดในส่วนของผู้ตายเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น และกรณีนี้ยังไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท ต้องนำค่าเสียหายที่ได้รับมาเข้าเป็นกองมรดกของผู้ตาย เนื่องจากกองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 ค่าเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดให้เดือนละ 5,000 บาท จำเลยที่ 1 ไม่ได้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดให้สูงเกินไป ค่าเสียหายจึงเป็นไปตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลาการชดใช้ค่าเสียหายนั้นให้นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปตลอดระยะเวลาที่มีการเช่าบ้านเลขที่ 262/1 หรือจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท หรือจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดระยะเวลาให้ถึงวันที่จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5), 246 และ 252
อนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ทั้งสามดำเนินคดีโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล และพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ทั้งสามได้รับยกเว้นแทนโจทก์ทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระต่อศาลในนามของโจทก์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนหนังสือสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนหนังสือสัญญาขายที่ดินโฉนดตราจองเลขที่ 8026 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของนายชาลี กึ่งหนึ่ง ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายโดยนำเงินไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อนำเข้ากองมรดกของผู้ตายดำเนินการจัดการทรัพย์มรดกต่อไป นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 กรกฎาคม 2559) เป็นต้นไปตลอดระยะเวลาที่มีการเช่าบ้านเลขที่ 262/1 หรือจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท หรือจนกว่าจะไถ่ถอนจำนองเสร็จสิ้น แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แต่ค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งสามจะต้องใช้แทนโจทก์ทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระต่อศาลในนามของโจทก์ทั้งสาม ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่า เดิมที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 2 คัดค้านเป็นของ พ. ที่ขายให้จำเลยที่ 1 และ อ. โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยที่ 2 จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นเพียงการบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่มาของการที่จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินของ พ. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี ก็อาจได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ให้การยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มาแต่ต้น อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เองได้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านและรับรองแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ที่รังวัดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน หากไม่รื้อถอนให้โจทก์รื้อถอนโดยให้จำเลยที่ 1 ออกค่าใช้จ่าย ห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดิน กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 68,400 บาท และค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 5,700 บาท แก่โจทก์ นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะถอนคำคัดค้านและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาท
จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้อง และพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ห้ามมิให้โจทก์และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินในส่วนของจำเลยที่ 2 อีกต่อไป
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านการรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ที่รังวัดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหาย 66,600 บาท และค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 5,550 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 3 ตุลาคม 2560) เป็นต้นไปแก่โจทก์จนกว่าจำเลยที่ 2 จะถอนคำคัดค้านหรือมีการถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 45,000 บาท คำขออื่นให้ยก ยกฟ้องแย้ง ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แต่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่ม ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 2 ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามคำฟ้องเดิมและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาและพิพากษาต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนนี้ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ทั้งในส่วนฟ้องและฟ้องแย้งแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท
จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นภริยาของนายพินิจ เดิมนายพินิจและนายธวัชชัย ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานทำตะเกียบอยู่ในที่ดินซึ่งไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดิน เมื่อเลิกกิจการนายธวัชชัยได้ที่ดินส่วนที่เป็นที่ตั้งโรงงาน นายพินิจได้ที่ดินส่วนที่เหลือ วันที่ 24 สิงหาคม 2538 เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินเลขที่ 10646 เนื้อที่ 45 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา ให้แก่นายพินิจ โดยทิศตะวันตกติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 เนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2537 ส่วนทิศตะวันออกติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 10644 เนื้อที่ 34 ไร่ 3 งาน 8 ตารางวา ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2537 วันที่ 3 มกราคม 2543 นายพินิจถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายพินิจ เมื่อปี 2555 โจทก์ยื่นคำร้องขอสอบเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 พบว่าจำเลยที่ 1 กับบริวารบุกรุกที่ดินทั้งแปลงโดยปลูกต้นยางพาราเต็มพื้นที่ จึงฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 กับบริวารและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่ดินเป็นของนายพินิจและพิพากษาขับไล่จำเลยที่ 1 กับบริวารออกจากที่ดิน กับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษา คดีถึงที่สุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ตามคดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น วันที่ 9 ธันวาคม 2558 โจทก์ขอรังวัดสอบเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 อีกครั้ง จำเลยที่ 1 คัดค้านแนวเขต มีเนื้อที่ 3 งาน 79.4 ตารางวา จำเลยที่ 2 คัดค้านแนวเขต มีเนื้อที่ 27 ไร่ 3 งาน 8.5 ตารางวา โดยมีต้นยางพาราปลูกอยู่เต็มพื้นที่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งคู่ความไม่อุทธรณ์ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์ และจำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 เนื้อที่ 27 ไร่ 3 งาน 8.5 ตารางวา ที่พิพาท ตามแนวเขตเส้นสีน้ำเงิน โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เห็นว่า ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่า เดิมที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 2 คัดค้านเป็นของนายพินิจที่ขายให้จำเลยที่ 1 และนายอนุมัติ โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยที่ 2 จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นเพียงการบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่มาของการที่จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินของนายพินิจ โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี ก็อาจได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ให้การยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มาแต่ต้น อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เองได้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา แต่โฉนดที่ดินเลขที่ 10646 ที่มีชื่อนายพินิจเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าที่ดินพิพาทเป็นของนายพินิจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ประกอบมาตรา 1599 จำเลยที่ 2 จึงมีภาระในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 จำเลยที่ 2 ให้การว่า นายพินิจขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และนายอนุมัติ โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี นั้น จำเลยที่ 2 มิได้อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว ที่นายอิฐิรัตน์ ผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานจำเลยที่ 2 ว่า พยานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เลี้ยงวัว เมื่อปี 2548 พยานเข้าไปเลี้ยงวัวในที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงปลูกต้นยางพารา จำเลยที่ 2 เคยแจ้งอาณาเขตของที่ดินว่าตั้งอยู่บนที่ราบสูง จำเลยที่ 2 สมัครเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราต่อหน่วยงานราชการ พยานเริ่มปลูกต้นยางพาราในที่ดินของจำเลยที่ 2 เมื่อปี 2549 จนถึงปัจจุบันตามแนวเขตเส้นสีเทาและแนวเขตเส้นสีน้ำเงิน โดยไม่เคยมีใครคัดค้านพื้นที่ดังกล่าว อันเป็นการรู้เห็นในช่วงของการเลี้ยงวัวและปลูกต้นยางพาราในที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 ของจำเลยที่ 2 ในปี 2549 เป็นต้นมาเท่านั้น นายอิฐิรัตน์หาได้รู้เห็นถึงเรื่องราวของการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2 ให้การตั้งเป็นประเด็นไว้ ที่จำเลยที่ 2 สมัครเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราต่อหน่วยงานราชการ ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำไปเข้าร่วมโครงการก็โดยการอ้างถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 10645 และ 9854 เนื้อที่รวมประมาณ 32 ไร่ และประสงค์เข้าร่วมโครงการในที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 30 ไร่ มิใช่เป็นการนำที่ดินพิพาทไปเข้าร่วมโครงการแต่อย่างใด กับไม่อาจที่จะกระทำได้เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์และไม่มีสิทธิพิเศษใดเหนือที่ดินพิพาท ที่นายอิฐิรัตน์รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ขอความอนุเคราะห์จากการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพิษณุโลกให้ทำการตรวจสอบแปลงยางเพื่อหาอายุของต้นยางพาราที่ปลูกว่ามีอายุมากกว่า 10 ปี เป็นการตรวจสอบแปลงยางพาราในที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 มิใช่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ของโจทก์เช่นกัน นอกจากนี้ การที่โจทก์เคยรังวัดสอบเขตเมื่อปี 2555 แล้วพบว่าจำเลยที่ 1 กับบริวารบุกรุกที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ทั้งแปลง จึงยื่นฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 กับบริวารเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตามคดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น โดยไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วย และจำเลยที่ 2 เองมิได้ร้องสอดเข้าไปในคดีเพื่อให้ได้รับความรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนทั้งในเรื่องของที่ดินและต้นยางพาราที่ปลูกไว้ อันมิใช่วิสัยของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินจะพึงละเลยเช่นนี้ได้ ทั้งยังทำให้เห็นว่าเป็นเพราะในช่วงปี 2555 มีเพียงจำเลยที่ 1 กับบริวารที่เข้าไปบุกรุกที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ด้วยการปลูกต้นยางพาราเต็มทั้งแปลง จำเลยที่ 2 ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 และในขณะนั้นอายุของต้นยางพาราก็น่าจะยังไม่สูงนัก จึงน่าเชื่อว่าต้นยางพาราในที่ดินพิพาทตามที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนปลูกคือต้นยางพาราที่เคยเป็นข้อพิพาทกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยที่ 1 หรือบริวารปลูกไว้มาแต่เดิมมากกว่า มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทด้วยการปลูกต้นยางพารามาตั้งแต่ปี 2549 ข้อที่จำเลยที่ 2 นำสืบอ้างว่า จำเลยที่ 2 เข้าครอบครองและปลูกต้นยางพาราในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ตามที่เคยขอเข้าร่วมโครงการต่อหน่วยงานราชการและการตรวจสอบอายุต้นยางพารา จึงไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง ทั้งระหว่างโจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับบริวารที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ย่อมไม่อาจที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 และบริวารได้ครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยความสงบระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นความกันในคดีดังกล่าวได้ และแม้หากจำเลยที่ 2 จะเข้าครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาจากจำเลยที่ 1 อย่างเร็วที่สุดก็ต้องเริ่มระยะเวลานับแต่คดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น ถึงที่สุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 ยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่ว่าในทางใด พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ประกอบมาตรา 1599 ได้ คดีฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 20,000 บาท แทนโจทก์
ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่า เดิมที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 2 คัดค้านเป็นของ พ. ที่ขายให้จำเลยที่ 1 และ อ. โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยที่ 2 จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นเพียงการบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่มาของการที่จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินของ พ. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี ก็อาจได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ให้การยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มาแต่ต้น อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เองได้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านและรับรองแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ที่รังวัดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน หากไม่รื้อถอนให้โจทก์รื้อถอนโดยให้จำเลยที่ 1 ออกค่าใช้จ่าย ห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดิน กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 68,400 บาท และค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 5,700 บาท แก่โจทก์ นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะถอนคำคัดค้านและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาท
จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้อง และพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ห้ามมิให้โจทก์และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินในส่วนของจำเลยที่ 2 อีกต่อไป
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านการรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ที่รังวัดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหาย 66,600 บาท และค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 5,550 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 3 ตุลาคม 2560) เป็นต้นไปแก่โจทก์จนกว่าจำเลยที่ 2 จะถอนคำคัดค้านหรือมีการถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 45,000 บาท คำขออื่นให้ยก ยกฟ้องแย้ง ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แต่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่ม ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 2 ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามคำฟ้องเดิมและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาและพิพากษาต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนนี้ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ทั้งในส่วนฟ้องและฟ้องแย้งแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท
จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นภริยาของนายพินิจ เดิมนายพินิจและนายธวัชชัย ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานทำตะเกียบอยู่ในที่ดินซึ่งไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดิน เมื่อเลิกกิจการนายธวัชชัยได้ที่ดินส่วนที่เป็นที่ตั้งโรงงาน นายพินิจได้ที่ดินส่วนที่เหลือ วันที่ 24 สิงหาคม 2538 เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินเลขที่ 10646 เนื้อที่ 45 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา ให้แก่นายพินิจ โดยทิศตะวันตกติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 เนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2537 ส่วนทิศตะวันออกติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 10644 เนื้อที่ 34 ไร่ 3 งาน 8 ตารางวา ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2537 วันที่ 3 มกราคม 2543 นายพินิจถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายพินิจ เมื่อปี 2555 โจทก์ยื่นคำร้องขอสอบเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 พบว่าจำเลยที่ 1 กับบริวารบุกรุกที่ดินทั้งแปลงโดยปลูกต้นยางพาราเต็มพื้นที่ จึงฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 กับบริวารและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่ดินเป็นของนายพินิจและพิพากษาขับไล่จำเลยที่ 1 กับบริวารออกจากที่ดิน กับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษา คดีถึงที่สุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ตามคดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น วันที่ 9 ธันวาคม 2558 โจทก์ขอรังวัดสอบเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 อีกครั้ง จำเลยที่ 1 คัดค้านแนวเขต มีเนื้อที่ 3 งาน 79.4 ตารางวา จำเลยที่ 2 คัดค้านแนวเขต มีเนื้อที่ 27 ไร่ 3 งาน 8.5 ตารางวา โดยมีต้นยางพาราปลูกอยู่เต็มพื้นที่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งคู่ความไม่อุทธรณ์ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์ และจำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 เนื้อที่ 27 ไร่ 3 งาน 8.5 ตารางวา ที่พิพาท ตามแนวเขตเส้นสีน้ำเงิน โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เห็นว่า ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่า เดิมที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 2 คัดค้านเป็นของนายพินิจที่ขายให้จำเลยที่ 1 และนายอนุมัติ โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยที่ 2 จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นเพียงการบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่มาของการที่จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินของนายพินิจ โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี ก็อาจได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ให้การยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มาแต่ต้น อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เองได้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา แต่โฉนดที่ดินเลขที่ 10646 ที่มีชื่อนายพินิจเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าที่ดินพิพาทเป็นของนายพินิจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ประกอบมาตรา 1599 จำเลยที่ 2 จึงมีภาระในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 จำเลยที่ 2 ให้การว่า นายพินิจขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และนายอนุมัติ โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี นั้น จำเลยที่ 2 มิได้อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว ที่นายอิฐิรัตน์ ผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานจำเลยที่ 2 ว่า พยานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เลี้ยงวัว เมื่อปี 2548 พยานเข้าไปเลี้ยงวัวในที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงปลูกต้นยางพารา จำเลยที่ 2 เคยแจ้งอาณาเขตของที่ดินว่าตั้งอยู่บนที่ราบสูง จำเลยที่ 2 สมัครเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราต่อหน่วยงานราชการ พยานเริ่มปลูกต้นยางพาราในที่ดินของจำเลยที่ 2 เมื่อปี 2549 จนถึงปัจจุบันตามแนวเขตเส้นสีเทาและแนวเขตเส้นสีน้ำเงิน โดยไม่เคยมีใครคัดค้านพื้นที่ดังกล่าว อันเป็นการรู้เห็นในช่วงของการเลี้ยงวัวและปลูกต้นยางพาราในที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 ของจำเลยที่ 2 ในปี 2549 เป็นต้นมาเท่านั้น นายอิฐิรัตน์หาได้รู้เห็นถึงเรื่องราวของการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2 ให้การตั้งเป็นประเด็นไว้ ที่จำเลยที่ 2 สมัครเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราต่อหน่วยงานราชการ ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำไปเข้าร่วมโครงการก็โดยการอ้างถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 10645 และ 9854 เนื้อที่รวมประมาณ 32 ไร่ และประสงค์เข้าร่วมโครงการในที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 30 ไร่ มิใช่เป็นการนำที่ดินพิพาทไปเข้าร่วมโครงการแต่อย่างใด กับไม่อาจที่จะกระทำได้เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์และไม่มีสิทธิพิเศษใดเหนือที่ดินพิพาท ที่นายอิฐิรัตน์รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ขอความอนุเคราะห์จากการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพิษณุโลกให้ทำการตรวจสอบแปลงยางเพื่อหาอายุของต้นยางพาราที่ปลูกว่ามีอายุมากกว่า 10 ปี เป็นการตรวจสอบแปลงยางพาราในที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 มิใช่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ของโจทก์เช่นกัน นอกจากนี้ การที่โจทก์เคยรังวัดสอบเขตเมื่อปี 2555 แล้วพบว่าจำเลยที่ 1 กับบริวารบุกรุกที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ทั้งแปลง จึงยื่นฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 กับบริวารเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตามคดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น โดยไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วย และจำเลยที่ 2 เองมิได้ร้องสอดเข้าไปในคดีเพื่อให้ได้รับความรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนทั้งในเรื่องของที่ดินและต้นยางพาราที่ปลูกไว้ อันมิใช่วิสัยของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินจะพึงละเลยเช่นนี้ได้ ทั้งยังทำให้เห็นว่าเป็นเพราะในช่วงปี 2555 มีเพียงจำเลยที่ 1 กับบริวารที่เข้าไปบุกรุกที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ด้วยการปลูกต้นยางพาราเต็มทั้งแปลง จำเลยที่ 2 ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 และในขณะนั้นอายุของต้นยางพาราก็น่าจะยังไม่สูงนัก จึงน่าเชื่อว่าต้นยางพาราในที่ดินพิพาทตามที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนปลูกคือต้นยางพาราที่เคยเป็นข้อพิพาทกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยที่ 1 หรือบริวารปลูกไว้มาแต่เดิมมากกว่า มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทด้วยการปลูกต้นยางพารามาตั้งแต่ปี 2549 ข้อที่จำเลยที่ 2 นำสืบอ้างว่า จำเลยที่ 2 เข้าครอบครองและปลูกต้นยางพาราในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ตามที่เคยขอเข้าร่วมโครงการต่อหน่วยงานราชการและการตรวจสอบอายุต้นยางพารา จึงไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง ทั้งระหว่างโจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับบริวารที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ย่อมไม่อาจที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 และบริวารได้ครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยความสงบระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นความกันในคดีดังกล่าวได้ และแม้หากจำเลยที่ 2 จะเข้าครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาจากจำเลยที่ 1 อย่างเร็วที่สุดก็ต้องเริ่มระยะเวลานับแต่คดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น ถึงที่สุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 ยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่ว่าในทางใด พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ประกอบมาตรา 1599 ได้ คดีฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 20,000 บาท แทนโจทก์
แม้ตาม ป.อ. มาตรา 268 บัญญัติให้ผู้ใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น รับโทษตามมาตรานี้เพียงกระทงเดียว แต่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ป.อ. ไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ลงโทษเป็นหลายกรรมได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195, 212 ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 264, 265, 268, 341 ประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงิน 10,467.80 บาท แก่ผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ
ระหว่างพิจารณา บริษัท บ. ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 268, 341 ส่วนข้อหาตามประมวลรัษฎากร โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหาย จึงไม่อนุญาต และโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายทางด้านจิตใจ 10,000 บาท ค่าเสื่อมเสียชื่อเสียง 300,000 บาท และค่าขาดประโยชน์จากการทำงาน 40,000 บาท รวมเป็นเงิน 350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันกระทำความผิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม
จำเลยทั้งสองให้การในส่วนคดีแพ่งว่า ค่าเสียหายที่โจทก์ร่วมขอมาสูงเกินไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 268 วรรคแรก (ที่ถูก 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265), 341 ประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันฉ้อโกงรวม 2 กระทง ให้ปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 20,000 บาท และให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 1 ปี และปรับ 20,000 บาท ฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิ เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 รวม 2 กระทง ให้ปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 50,000 บาท และให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 1 ปี และปรับ 50,000 บาท ฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม รวม 2 กระทง ให้ปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 30,000 บาท และให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 1 ปี และปรับ 30,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานร่วมกันฉ้อโกง รวม 2 กระทง คงปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 10,000 บาท และคงจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 6 เดือน และปรับ 10,000 บาท ฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิ รวม 2 กระทง คงปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 25,000 บาท และคงจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 6 เดือน และปรับ 25,000 บาท ฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม รวม 2 กระทง คงปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 15,000 บาท และคงจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 6 เดือน และปรับ 15,000 บาท รวมปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 100,000 บาท และรวมจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 36 เดือน และปรับ 100,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยที่ 2 โดยให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในเวลา 1 ปี และให้จำเลยที่ 2 ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด 12 ชั่วโมง ให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์ร่วม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 การกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้ไม่เกินหนึ่งปี ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงิน 10,467.80 บาท แก่โจทก์ร่วม นั้น เนื่องจากจำเลยทั้งสองชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมแล้วจึงให้ยกคำขอในส่วนนี้ สำหรับในคดีส่วนแพ่ง ศาลพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายจึงพิพากษาตามยอม ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ โดยอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 2 ซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมาย รับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันฉ้อโกง ฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออก ฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 30,000 บาท ลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุกกระทงละ 6 เดือน ลดโทษให้จำเลยทั้งสองกระทงละกึ่งหนึ่ง คงปรับจำเลยที่ 1 รวม 2 กระทง 30,000 บาท จำเลยที่ 2 คงจำคุก 2 กระทง รวม 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษจำคุกและไม่คุมความประพฤติจำเลยที่ 2 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า มีเหตุลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ เห็นว่า การออกใบกำกับภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 86 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ..." และมาตรา 86/13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้" แสดงว่าผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้นั้นจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการขายสินค้าหรือให้บริการจริง การที่จำเลยทั้งสองซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีร่วมกันหลอกลวงบริษัท บ. โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้รับบริการ ด้วยการแจ้งและวางใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าโดยมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งที่ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและส่งมอบเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยทั้งสองต่างกรรมต่างวาระ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 จำนวน 5,233.90 บาท และวันที่ 15 ธันวาคม 2561 จำนวน 5,233.90 บาท และจำเลยทั้งสองยังร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้แก่โจทก์ร่วม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 มีข้อความระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0215555XXXXXX มูลค่าค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นเงิน 74,770 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,233.90 บาท และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2561 มีข้อความระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 0215555XXXXXX มูลค่าค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นเงิน 74,770 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,233.90 บาท เป็นการทำลายระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมที่ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยจำเลยทั้งสองผู้ซึ่งไม่มีสิทธิออกมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/5 (5) ถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรง แม้จำเลยที่ 2 ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน มีภาระต้องดูแลบุคคลในครอบครัว และทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็ไม่ใช่เหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เห็นว่า จำเลยที่ 2 ได้บรรเทาผลร้ายจากการกระทำความผิดโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระค่าเสียหายและชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วม โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดมานั้นหนักเกินไป เห็นสมควรกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพความผิดและการกระทำของจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่ง แม้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 บัญญัติให้ผู้ใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น รับโทษตามมาตรานี้เพียงกระทงเดียว แต่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา ไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ลงโทษเป็นหลายกรรมได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195, 212 ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 สำหรับความผิดฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิจะออก เป็นความผิดกรรมหนึ่งซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ ฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม และฐานร่วมกันฉ้อโกง ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 อันเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแต่ให้ลงโทษในแต่ละใบกำกับภาษีเพียงกรรมเดียว จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 3 เดือน รวม 2 กระทง จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 3 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2
แม้ตาม ป.อ. มาตรา 268 บัญญัติให้ผู้ใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น รับโทษตามมาตรานี้เพียงกระทงเดียว แต่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ป.อ. ไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ลงโทษเป็นหลายกรรมได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195, 212 ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 264, 265, 268, 341 ประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงิน 10,467.80 บาท แก่ผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ
ระหว่างพิจารณา บริษัท บ. ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 268, 341 ส่วนข้อหาตามประมวลรัษฎากร โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหาย จึงไม่อนุญาต และโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายทางด้านจิตใจ 10,000 บาท ค่าเสื่อมเสียชื่อเสียง 300,000 บาท และค่าขาดประโยชน์จากการทำงาน 40,000 บาท รวมเป็นเงิน 350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันกระทำความผิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม
จำเลยทั้งสองให้การในส่วนคดีแพ่งว่า ค่าเสียหายที่โจทก์ร่วมขอมาสูงเกินไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 268 วรรคแรก (ที่ถูก 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265), 341 ประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันฉ้อโกงรวม 2 กระทง ให้ปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 20,000 บาท และให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 1 ปี และปรับ 20,000 บาท ฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิ เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 รวม 2 กระทง ให้ปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 50,000 บาท และให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 1 ปี และปรับ 50,000 บาท ฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม รวม 2 กระทง ให้ปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 30,000 บาท และให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 1 ปี และปรับ 30,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานร่วมกันฉ้อโกง รวม 2 กระทง คงปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 10,000 บาท และคงจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 6 เดือน และปรับ 10,000 บาท ฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิ รวม 2 กระทง คงปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 25,000 บาท และคงจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 6 เดือน และปรับ 25,000 บาท ฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม รวม 2 กระทง คงปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 15,000 บาท และคงจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 6 เดือน และปรับ 15,000 บาท รวมปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 100,000 บาท และรวมจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 36 เดือน และปรับ 100,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยที่ 2 โดยให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ภายในเวลา 1 ปี และให้จำเลยที่ 2 ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด 12 ชั่วโมง ให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์ร่วม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 การกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้ไม่เกินหนึ่งปี ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงิน 10,467.80 บาท แก่โจทก์ร่วม นั้น เนื่องจากจำเลยทั้งสองชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมแล้วจึงให้ยกคำขอในส่วนนี้ สำหรับในคดีส่วนแพ่ง ศาลพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายจึงพิพากษาตามยอม ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ โดยอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค 2 ซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมาย รับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันฉ้อโกง ฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออก ฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ และฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 30,000 บาท ลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุกกระทงละ 6 เดือน ลดโทษให้จำเลยทั้งสองกระทงละกึ่งหนึ่ง คงปรับจำเลยที่ 1 รวม 2 กระทง 30,000 บาท จำเลยที่ 2 คงจำคุก 2 กระทง รวม 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษจำคุกและไม่คุมความประพฤติจำเลยที่ 2 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า มีเหตุลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ เห็นว่า การออกใบกำกับภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 86 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ..." และมาตรา 86/13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้" แสดงว่าผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้นั้นจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการขายสินค้าหรือให้บริการจริง การที่จำเลยทั้งสองซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีร่วมกันหลอกลวงบริษัท บ. โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้รับบริการ ด้วยการแจ้งและวางใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าโดยมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งที่ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและส่งมอบเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยทั้งสองต่างกรรมต่างวาระ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 จำนวน 5,233.90 บาท และวันที่ 15 ธันวาคม 2561 จำนวน 5,233.90 บาท และจำเลยทั้งสองยังร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้แก่โจทก์ร่วม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 มีข้อความระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0215555XXXXXX มูลค่าค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นเงิน 74,770 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,233.90 บาท และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2561 มีข้อความระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 0215555XXXXXX มูลค่าค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นเงิน 74,770 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,233.90 บาท เป็นการทำลายระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมที่ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยจำเลยทั้งสองผู้ซึ่งไม่มีสิทธิออกมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/5 (5) ถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรง แม้จำเลยที่ 2 ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน มีภาระต้องดูแลบุคคลในครอบครัว และทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็ไม่ใช่เหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เห็นว่า จำเลยที่ 2 ได้บรรเทาผลร้ายจากการกระทำความผิดโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระค่าเสียหายและชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วม โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดมานั้นหนักเกินไป เห็นสมควรกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพความผิดและการกระทำของจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่ง แม้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 บัญญัติให้ผู้ใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น รับโทษตามมาตรานี้เพียงกระทงเดียว แต่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา ไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ลงโทษเป็นหลายกรรมได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195, 212 ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 สำหรับความผิดฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิจะออก เป็นความผิดกรรมหนึ่งซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ ฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม และฐานร่วมกันฉ้อโกง ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 อันเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแต่ให้ลงโทษในแต่ละใบกำกับภาษีเพียงกรรมเดียว จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 3 เดือน รวม 2 กระทง จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 3 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนถึงเวลาที่พ้นจากล้มละลาย ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (1) รับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย" โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3.1 ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลย จำเลยทราบวันนัดฟังคำสั่งโดยชอบ แต่ไม่ไปฟังคำสั่งศาล จำเลยกลับยื่นขอกู้เงินโจทก์จำนวน 3,165,000 บาท โดยจำเลยตั้งใจจะทุจริตฉ้อโกงโจทก์โดยปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้ทราบว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลนัดฟังคำสั่งและศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดจำเลยแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 ซึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบสถานะของจำเลยแล้วไม่พบว่าเป็นบุคคลล้มละลายและเข้าเงื่อนไขการกู้ โจทก์จึงอนุมัติเงินกู้และโอนเงินกู้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ... จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ครบองค์ประกอบของฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คดีที่ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลาย จำเลยแต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดี รายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2561 ระบุว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 9.00 นาฬิกา โดยจำเลยและทนายความซึ่งไปศาลในวันดังกล่าวลงลายมือชื่อทราบนัดไว้ ครั้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งมีเพียงทนายความจำเลยไปฟังคำสั่งศาล ส่วนจำเลยไม่ไป จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมมิอาจรับฟังได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 การที่ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอต่อโจทก์ และโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 โดยไม่ปรากฎว่าหลังจากจำเลยทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอโจทก์จนกระทั่งได้รับโอนเงินกู้เข้าบัญชีธนาคารของจำเลยดังกล่าว จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหลังจากได้รับโอนเงินแล้วก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ปฏิเสธไม่รับเงินตามสัญญากู้หรือบอกเลิกสัญญากู้กับโจทก์ การกระทำของจำเลยดังที่กล่าวมาจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ตามที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1)
ศาลล้มละลายกลางไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลล้มละลายกลางพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) จำคุก 1 ปี และปรับ 200,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากกักขังแทนค่าปรับให้กักขังแทนค่าปรับเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ลงโทษปรับจำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลล้มละลายกลาง
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีหมายเลขดำที่ ล.3956/2560 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ตามคดีหมายเลขแดงที่ ล.1609/2561 แต่ในวันนัดฟังคำสั่งฝ่ายจำเลยมีเพียงทนายจำเลยไปฟังคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่ไป ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้เงินจากโจทก์เป็นเงิน 3,165,000 บาท โจทก์โอนเงินจำนวน 397,406.40 บาท เข้าบัญชีของจำเลยในวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า ฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 หรือไม่ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนถึงเวลาที่พ้นจากล้มละลาย ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (1) รับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย" ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3.1 ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย เป็นคดีหมายเลขดำที่ ล.3956/2560 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยแล้วเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ล.1609/2561 จำเลยทราบวันนัดฟังคำสั่งโดยชอบ แต่จำเลยไม่ไปฟังคำสั่งศาล จำเลยกลับยื่นขอกู้เงินโจทก์จำนวน 3,165,000 บาท โดยจำเลยตั้งใจจะทุจริตฉ้อโกงโจทก์โดยได้ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้ทราบว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลนัดฟังคำสั่งและศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 จำเลยปกปิดข้อความจริงดังกล่าวไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ซึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบสถานะของจำเลยแล้วไม่พบว่าเป็นบุคคลล้มละลายและเข้าเงื่อนไขการกู้ โจทก์จึงอนุมัติเงินกู้และต่อมาได้โอนเงินกู้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ... ฟ้องโจทก์มีข้อความที่ยืนยันว่าจำเลยไปขอกู้เงินกับโจทก์ โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ครบองค์ประกอบของฐานความผิดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อปรากฏว่าในคดีที่ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลาย คดีหมายเลขแดงที่ ล.1609/2561 จำเลยแต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดีให้ ซึ่งตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2561 ระบุว่าเมื่อคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 9.00 นาฬิกา จำเลยและทนายความซึ่งไปศาลในวันดังกล่าวลงลายมือชื่อทราบนัดไว้ ครั้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งปรากฏว่ามีเพียงทนายความจำเลยไปฟังคำสั่งศาลส่วนจำเลยไม่ไป จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่อ้างมาในฎีกา เพื่อให้เห็นว่ามิได้มีเจตนากระทำความผิดย่อมมิอาจรับฟังได้ กรณีจึงต้องรับฟังว่าจำเลยทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 การที่ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษ (แบบมีประกัน) เสนอต่อโจทก์ และต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 โดยหักชำระหนี้เดิมพร้อมดอกเบี้ยและค่าเบี้ยประกันเหลือเงินจ่ายสุทธิจำนวน 397,406.40 บาท โดยไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษ (แบบมีประกัน) เสนอโจทก์จนกระทั่งได้รับโอนเงินกู้เข้าบัญชีธนาคารของจำเลยดังกล่าวจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหลังจากได้รับโอนเงินเข้าบัญชีแล้วก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิเสธไม่รับเงินตามสัญญากู้หรือบอกเลิกสัญญากู้กับโจทก์ การกระทำของจำเลยดังที่กล่าวมาจึงเป็นการรับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือล้มละลาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ตามที่โจทก์ฟ้อง ส่วนข้ออ้างประการอื่นของจำเลยเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยจึงไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่มีผลให้เปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่า มีเหตุควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดเป็นครั้งแรก ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน จำเลยมีภาระครอบครัวต้องดูแล ในการทำสัญญากู้จำเลยได้หาผู้ค้ำประกันกับมีเงินทุนเรือนหุ้นสหกรณ์โจทก์ที่จำเลยถือหุ้นอยู่และบริษัทประกันภัยผู้เกี่ยวข้องเป็นหลักประกัน จำเลยได้รู้สำนึกในการกระทำความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายจากการกระทำของตนโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ทั้งยอมให้นายจ้างหักเงินเดือนและโบนัสนำส่งโจทก์เพื่อชำระหนี้ การให้โอกาสจำเลยได้ประกอบสัมมาชีพต่อไปน่าจะเป็นผลดีและเป็นประโยชน์แก่จำเลยและสังคมมากกว่า กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่เพื่อให้หลาบจำและป้องปรามมิให้จำเลยกระทำความผิดทำนองนี้อีก เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษใช้ดุลยพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับ 20,000 บาท อีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนถึงเวลาที่พ้นจากล้มละลาย ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (1) รับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย" โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3.1 ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลย จำเลยทราบวันนัดฟังคำสั่งโดยชอบ แต่ไม่ไปฟังคำสั่งศาล จำเลยกลับยื่นขอกู้เงินโจทก์จำนวน 3,165,000 บาท โดยจำเลยตั้งใจจะทุจริตฉ้อโกงโจทก์โดยปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้ทราบว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลนัดฟังคำสั่งและศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดจำเลยแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 ซึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบสถานะของจำเลยแล้วไม่พบว่าเป็นบุคคลล้มละลายและเข้าเงื่อนไขการกู้ โจทก์จึงอนุมัติเงินกู้และโอนเงินกู้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ... จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ครบองค์ประกอบของฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คดีที่ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลาย จำเลยแต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดี รายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2561 ระบุว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 9.00 นาฬิกา โดยจำเลยและทนายความซึ่งไปศาลในวันดังกล่าวลงลายมือชื่อทราบนัดไว้ ครั้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งมีเพียงทนายความจำเลยไปฟังคำสั่งศาล ส่วนจำเลยไม่ไป จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมมิอาจรับฟังได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 การที่ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอต่อโจทก์ และโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 โดยไม่ปรากฎว่าหลังจากจำเลยทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอโจทก์จนกระทั่งได้รับโอนเงินกู้เข้าบัญชีธนาคารของจำเลยดังกล่าว จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหลังจากได้รับโอนเงินแล้วก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ปฏิเสธไม่รับเงินตามสัญญากู้หรือบอกเลิกสัญญากู้กับโจทก์ การกระทำของจำเลยดังที่กล่าวมาจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ตามที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1)
ศาลล้มละลายกลางไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลล้มละลายกลางพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) จำคุก 1 ปี และปรับ 200,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากกักขังแทนค่าปรับให้กักขังแทนค่าปรับเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ลงโทษปรับจำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลล้มละลายกลาง
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีหมายเลขดำที่ ล.3956/2560 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ตามคดีหมายเลขแดงที่ ล.1609/2561 แต่ในวันนัดฟังคำสั่งฝ่ายจำเลยมีเพียงทนายจำเลยไปฟังคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่ไป ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้เงินจากโจทก์เป็นเงิน 3,165,000 บาท โจทก์โอนเงินจำนวน 397,406.40 บาท เข้าบัญชีของจำเลยในวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า ฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 หรือไม่ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนถึงเวลาที่พ้นจากล้มละลาย ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (1) รับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย" ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3.1 ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย เป็นคดีหมายเลขดำที่ ล.3956/2560 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยแล้วเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ล.1609/2561 จำเลยทราบวันนัดฟังคำสั่งโดยชอบ แต่จำเลยไม่ไปฟังคำสั่งศาล จำเลยกลับยื่นขอกู้เงินโจทก์จำนวน 3,165,000 บาท โดยจำเลยตั้งใจจะทุจริตฉ้อโกงโจทก์โดยได้ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้ทราบว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลนัดฟังคำสั่งและศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 จำเลยปกปิดข้อความจริงดังกล่าวไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ซึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบสถานะของจำเลยแล้วไม่พบว่าเป็นบุคคลล้มละลายและเข้าเงื่อนไขการกู้ โจทก์จึงอนุมัติเงินกู้และต่อมาได้โอนเงินกู้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ... ฟ้องโจทก์มีข้อความที่ยืนยันว่าจำเลยไปขอกู้เงินกับโจทก์ โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ครบองค์ประกอบของฐานความผิดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อปรากฏว่าในคดีที่ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลาย คดีหมายเลขแดงที่ ล.1609/2561 จำเลยแต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดีให้ ซึ่งตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2561 ระบุว่าเมื่อคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 9.00 นาฬิกา จำเลยและทนายความซึ่งไปศาลในวันดังกล่าวลงลายมือชื่อทราบนัดไว้ ครั้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งปรากฏว่ามีเพียงทนายความจำเลยไปฟังคำสั่งศาลส่วนจำเลยไม่ไป จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่อ้างมาในฎีกา เพื่อให้เห็นว่ามิได้มีเจตนากระทำความผิดย่อมมิอาจรับฟังได้ กรณีจึงต้องรับฟังว่าจำเลยทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 การที่ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษ (แบบมีประกัน) เสนอต่อโจทก์ และต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 โดยหักชำระหนี้เดิมพร้อมดอกเบี้ยและค่าเบี้ยประกันเหลือเงินจ่ายสุทธิจำนวน 397,406.40 บาท โดยไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษ (แบบมีประกัน) เสนอโจทก์จนกระทั่งได้รับโอนเงินกู้เข้าบัญชีธนาคารของจำเลยดังกล่าวจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหลังจากได้รับโอนเงินเข้าบัญชีแล้วก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิเสธไม่รับเงินตามสัญญากู้หรือบอกเลิกสัญญากู้กับโจทก์ การกระทำของจำเลยดังที่กล่าวมาจึงเป็นการรับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือล้มละลาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ตามที่โจทก์ฟ้อง ส่วนข้ออ้างประการอื่นของจำเลยเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยจึงไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่มีผลให้เปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่า มีเหตุควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า จำเลยกระทำความผิดเป็นครั้งแรก ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน จำเลยมีภาระครอบครัวต้องดูแล ในการทำสัญญากู้จำเลยได้หาผู้ค้ำประกันกับมีเงินทุนเรือนหุ้นสหกรณ์โจทก์ที่จำเลยถือหุ้นอยู่และบริษัทประกันภัยผู้เกี่ยวข้องเป็นหลักประกัน จำเลยได้รู้สำนึกในการกระทำความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายจากการกระทำของตนโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ทั้งยอมให้นายจ้างหักเงินเดือนและโบนัสนำส่งโจทก์เพื่อชำระหนี้ การให้โอกาสจำเลยได้ประกอบสัมมาชีพต่อไปน่าจะเป็นผลดีและเป็นประโยชน์แก่จำเลยและสังคมมากกว่า กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่เพื่อให้หลาบจำและป้องปรามมิให้จำเลยกระทำความผิดทำนองนี้อีก เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษใช้ดุลยพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับ 20,000 บาท อีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
ผู้ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลและต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเท่านั้น ซึ่งในการประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องว่าจ้างผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมากระทำการแทน ทั้งผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจึงเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามมาตรา 269 แห่ง ป.อ. หากผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จหรือจงใจกระทำการใด ๆ ให้การตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลต้องรับผิดในการกระทำของผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าดังกล่าวเสมือนหนึ่งได้กระทำด้วยตนเอง เพราะบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นบัญญัติให้ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งมีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นพนักงานของตน และต้องรับผิดเมื่อมีการรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงโดยเฉพาะ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท ด. ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ให้ตรวจสอบข้าวสารที่จะนำเข้าเก็บในคลังสินค้าให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 หากข้าวสารที่จำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้วเป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวก็อนุญาตให้นำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัท ด. จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้นาย ช. ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตรวจสอบข้าวสารที่โรงสีข้าวนำมาส่งให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ เพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้า แต่ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวของสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปรากฏว่า ข้าวสารไม่ถูกต้องตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ดังนั้น การที่นาย ช. ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานสินค้ากระทำการแทนในนามจำเลยที่ 1 ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวโดยทำคำรับรองอันเป็นเท็จและตรวจสอบข้าวให้ผิดไปจากความเป็นจริง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและเป็นผู้มอบหมายให้นาย ช. ทำการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวดังกล่าวแทนเป็นผู้ทำคำรับรองการตรวจสอบข้าวเป็นเอกสารอันเป็นเท็จและทำให้ผิดจากความเป็นจริงแล้ว โดยการที่นาย ช. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าในผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเพิ่งเห็นผลการวิเคราะห์คุณภาพข้าวของนาย ช. หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้มีวิชาชีพในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า หรือจำเลยที่ 1 มอบหมายให้นาย ช. เป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าโดยจำเลยที่ 1 มิได้เกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองเป็นเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 โดยนาย ช. ใช้หรืออ้างคำรับรองไปตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับมอบข้าวสารที่นาย ช. ตรวจสอบจึงเป็นการใช้หรืออ้างคำรับรองอันเป็นเท็จโดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 เพราะการตรวจสอบมาตรฐานของข้าวสารในคดีนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อนำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้า ไม่ใช่กรณีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเพื่อขอออกใบรับรองมาตรฐานสินค้านำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรก่อนส่งสินค้าออกนอกประเทศตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 17
แม้จำเลยที่ 1 มีความผิดเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และขอให้ลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงกรรมเดียว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์ฎีกาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการกระทำความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานตัวการในความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 คงลงโทษในฐานผู้สนับสนุนการกระทำความผิด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 269 วรรคสอง จึงต้องลงโทษตามมาตรา 269 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามที่โจทก์ฎีกา
ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบพยานให้ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงที่โจทก์นำมาฟ้องอย่างไร และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามกฎหมายที่ต้องรับผิดในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าของพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 269, พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 3, 4, 5, 20, 29, 57
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคแรก ประกอบมาตรา 86, 269 วรรคสอง พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 20,000 บาท และจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29
โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติโดยไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 องค์การคลังสินค้า ผู้เสียหาย ทำสัญญาฝากเก็บรักษาข้าวสาร (โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2556/57) กับบริษัท ด. โดยกำหนดให้บริษัท ด. มีหน้าที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวสารที่ได้มาตรฐานและขึ้นบัญชีกับสำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบข้าวสารที่รับฝากให้ตรงตามมาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ บริษัท ด. ต้องตรวจสอบและรับมอบข้าวสารที่ผู้เสียหายส่งมอบให้ตรงตามปริมาณ ชนิดและคุณภาพข้าวสารให้ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับสินค้าข้าวที่ใช้บังคับอยู่หรือที่จะใช้บังคับต่อไป และต้องเป็นข้าวสารที่สีจากข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2556/57 ซึ่งมีคุณภาพดี ไม่เสื่อมสภาพ ไม่เป็นโรคพืช ไม่เป็นรัง ไม่มีมอดหรือหนอน และปราศจากสารเคมีภัณฑ์ที่มีพิษเจือปน กรณีที่โรงสีข้าวร่วมโครงการฯ ส่งมอบข้าวสารไม่ตรงตามคุณภาพและชนิด บริษัท ด. ต้องจัดส่งข้าวสารคืนเป็นรายกระสอบ ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเรื่องคุณภาพข้าวสารในขณะที่ส่งมอบข้าวสารระหว่างบริษัท ด. กับผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตกลงให้คณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นผู้ชี้ขาด บริษัท ด. ต้องจัดหาผู้ตรวจสอบซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ทางด้านการตรวจสอบคุณภาพ และชนิดข้าวสารได้อย่างดี และจัดหาสิ่งของชนิดดีตลอดจนใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิไทย ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 นายชุมพล เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (ประเภท ข.) ข้าวหอมมะลิไทย ตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 วันที่ 14 มกราคม 2557 บริษัท ด. ทำสัญญาจ้างตรวจสอบและดูแลคุณภาพและน้ำหนักข้าวสารโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2556/57 กับจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อผูกพัน โดยต้องตรวจสอบคุณภาพข้าวสารที่โรงสีข้าวจะส่งมอบแก่บริษัท ด. ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงพาณิชย์ เรื่องมาตรฐานสินค้าข้าว พ.ศ. 2540 และหรือข้อกำหนดตามที่บริษัท ด. กำหนด เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 นายชุมพล พนักงานของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบคุณภาพข้าวของโรงสี ม. โรงสี จ. และโรงสี พ. โดยการต้มในน้ำเดือดและวิเคราะห์ทางกายภาพแล้วรับรองว่าได้ตรวจสอบคุณภาพ/วิเคราะห์ตามตัวอย่างที่สุ่มได้จริง วันที่ 2 สิงหาคม 2557 สำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทดสอบเบื้องต้นตัวอย่างข้าว 6 ตัวอย่าง ที่คณะทำงานชุดที่ 54 เก็บตัวอย่างข้าวมาจากคลังสินค้าของบริษัท ด. โดยการต้มข้าวแล้วผลปรากฏว่าผ่านการทดสอบเบื้องต้นแต่เมื่อวิเคราะห์ทางกายภาพแล้วมีข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ตามรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าว และวันที่ 23 และ 25 กันยายน 2557 ห้องปฏิบัติการ ดีเอ็นเอ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ก. รายงานผลการวิเคราะห์ข้าวตัวอย่างทั้ง 6 ตัวอย่างแล้ว ผลการตรวจสอบทางพันธุกรรมมีข้าวหอมมะลิต่ำกว่าร้อยละ 92 ผู้เสียหายเห็นว่านายชุมพลเป็นผู้ประกอบการงานในวิชาชีพทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ และจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นผู้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการงานในวิชาชีพทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ จึงได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีนี้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า ข้าวสารที่นายชุมพล ตรวจสอบและรับรองรายนี้เป็นข้าวที่ไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดของข้าวหอมมะลิไทย ประเภทข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 อันเป็นการทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้ฎีกาของจำเลยทั้งสองก่อนว่า คณะทำงานชุดที่ 54 เก็บตัวอย่างข้าวถูกต้องตามคู่มือปฏิบัติหรือไม่ เห็นว่า ตามบันทึกคณะทำงานตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าว ชุดที่ 54 บันทึกว่า กองหมายเลข 1 การเก็บตัวอย่างข้าวชักตัวอย่างรอบกองทั้ง 4 ด้าน และบนกองจำนวน 1 ตัวอย่าง ชักตัวอย่างจากการขุดกองด้านบนกว้าง 3 กระสอบ ยาว 5 กระสอบ ลึก 15 กระสอบ จำนวน 1 ตัวอย่าง กองหมายเลข 2 การเก็บตัวอย่างข้าวชักตัวอย่างรอบกองทั้ง 4 ด้าน และบนกองจำนวน 1 ตัวอย่าง ชักตัวอย่างจากการขุดกองด้านบนกว้าง 3 กระสอบ ยาว 5 กระสอบ ลึก 15 กระสอบ จำนวน 1 ตัวอย่าง กองหมายเลข 3 การเก็บตัวอย่างข้าวชักตัวอย่างรอบกองทั้ง 4 ด้าน และบนกองจำนวน 1 ตัวอย่าง ชักตัวอย่างจากการขุดกองด้านบนกว้าง 3 กระสอบ ยาว 5 กระสอบ ลึก 15 กระสอบ จำนวน 1 ตัวอย่าง โดยมีนางสาวภัทรา หัวหน้าคลังสินค้า และนายสำเริง เจ้าของคลังสินค้า/ตัวแทน ลงลายมือชื่อรับรองในบันทึกดังกล่าว อีกทั้งเป็นการลงลายมือชื่อในทันทีหลังจากการเก็บตัวอย่างข้าวเสร็จสิ้น ที่นางสาวภัทรา หัวหน้าคลังสินค้า เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามติงว่า วันที่เจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปเก็บตัวอย่างข้าวสาร พยานเห็นเจ้าหน้าที่ทหารเก็บตัวอย่างข้าวด้วยวิธีเก็บจากรอบกองจริง แต่ไม่เห็นเจ้าหน้าที่ทหารเก็บตัวอย่างข้าวด้วยวิธีเจาะกองตามที่ระบุไว้ในบันทึกรายงานการตรวจสอบปริมาณข้าว รวมถึงไม่เห็นการเก็บตัวอย่างด้วยวิธีขุดกอง และไม่เห็นเจ้าหน้าที่ทหารปีนขึ้นไปบนกองกระสอบข้าวด้วย และนางสาวแสงดาว พนักงานบริษัท ด. เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองถึงวันเก็บตัวอย่างข้าวของคณะทำงานชุดที่ 54 สรุปได้ว่าเห็นเจ้าหน้าที่ทหารฉ่ำข้าวจากกองข้าวที่อยู่ใกล้ประตูที่สุด ใช้เวลาเก็บตัวอย่างข้าวไม่นาน ไม่น่าจะเกิน 1 ชั่วโมง นั้นขัดกับบันทึกดังกล่าวซึ่งทำขึ้นในวันเก็บตัวอย่างข้าว คำเบิกความของนางสาวภัทราและนางสาวแสงดาวในส่วนนี้จึงไม่น่าเชื่อถือ แต่เชื่อว่าคณะทำงานตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าว ชุดที่ 54 สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวในคลังสินค้าของบริษัท ด. เป็นไปตามคู่มือปฏิบัติตามที่ปรากฏในบันทึกรายงานการตรวจสอบปริมาณข้าว ปัญหาตามคำแก้ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น ต่อมามีการส่งตัวอย่างข้าวไปให้เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ตรวจวิเคราะห์ ซึ่งตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้ประเภทข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 ต้องมีข้าวหอมมะลิไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 โดยปริมาณ และต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว และระดับการสี ดังนี้ ส่วนผสม ประกอบด้วยข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.0 ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8.0 ส่วน ไม่เกินร้อยละ 4.5 ในจำนวนนี้อาจมีข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 5.0 ส่วน และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ไม่เกินร้อยละ 0.5 และปลายข้าวขาวซีวัน ไม่เกินร้อยละ 0.1 นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 8.0 ส่วนขึ้นไป มีข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้ ข้าวเมล็ดแดง และหรือข้าวเมล็ดสีต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่เกินร้อยละ 0.5 ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 0.2 ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 3.0 ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 0.25 ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.0 ข้าวเปลือก ไม่เกิน 5 เมล็ดต่อข้าว 1 กิโลกรัม ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 0.2 และระดับการสี สีดีพิเศษ ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวทั้ง 6 ตัวอย่าง ของสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปรากฏผลว่า ตัวอย่างที่หนึ่ง รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111101 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 7.8 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 1.2 และข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.6 ตัวอย่างที่สอง รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111102 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 6 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.8 ข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.7 และระดับการสี ผลการวิเคราะห์ได้สีดี ตัวอย่างที่สาม รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111103 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.7 ข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.4 ข้าวเหนียว ผลการวิเคราะห์ได้ 1.6 และระดับการสี ผลการวิเคราะห์ได้สีดี ตัวอย่างที่สี่ รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111104 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 6.4 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.8 ข้าวเมล็ดเหลือง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.4 และข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 1 ตัวอย่างที่ห้า รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111105 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 5.80 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 2.0 ข้าวเมล็ดเหลือง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.30 และข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.30 ตัวอย่างที่หก รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111106 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 8.4 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 1 ข้าวเมล็ดเหลือง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.3 ข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.4 ข้าวเหนียว ผลการวิเคราะห์ได้ 1.4 และระดับการสี ผลการวิเคราะห์ได้สีดี ซึ่งจากการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบทั้งหมดแสดงว่าข้าวสารตัวอย่างทั้ง 6 ตัวอย่าง เป็นข้าวสารที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยประเภทข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ เห็นว่า เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจวิเคราะห์ข้าวไม่ทราบว่าข้าวตัวอย่างเป็นของผู้ใดเพราะตัวอย่างข้าวใส่ชื่อเป็นรหัสตัวเลข และสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเรื่องคุณภาพข้าวสารในขณะที่ส่งมอบข้าวสารระหว่างบริษัท ด. กับผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีการตกลงให้คณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นผู้ชี้ขาด จึงไม่น่าเชื่อว่าผลการตรวจวิเคราะห์จะผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง ส่วนผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวซึ่งนายชุมพลตรวจวิเคราะห์และทำคำรับรองว่าได้ตรวจสอบคุณภาพ/วิเคราะห์ตามตัวอย่างที่สุ่มได้จริงนั้น เห็นว่า การตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวว่าผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น ต้องมีการพิจารณาทุกค่ามาตรฐานให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนดทั้งหมด เช่น ปริมาณข้าวหัก ปริมาณข้าวเมล็ดแดง ปริมาณข้าวเหนียว และปริมาณข้าวเมล็ดเหลือง เป็นต้น เมื่อรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ข้าวของสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปรากฏว่าข้าวมีค่ามาตรฐานผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนดหลายค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะผลการตรวจวิเคราะห์ทุกตัวอย่างพบว่ามีข้าวเมล็ดแดงและข้าวเมล็ดเสียที่เป็นค่าที่ผิดมาตรฐานที่กำหนดทุกตัวอย่าง นอกจากนี้ ในการสุ่มตรวจของนายชุมพลตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 29 มกราคม 2557 รวมจำนวน 25,529 กระสอบ นายชุมพลตรวจสอบไม่พบข้าวเมล็ดแดงแม้แต่เมล็ดเดียว พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเชื่อว่าผลการตรวจวิเคราะห์ของนายชุมพลเป็นเท็จไม่ถูกต้องตามค่ามาตรฐานที่กำหนด อันเป็นการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ต่อไปว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับนายชุมพล ในการประกอบการงานในวิชาชีพทำคำรับรองผลการตรวจวิเคราะห์อันเป็นเท็จหรือจงใจกระทำการใด ๆ ให้การตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริงหรือไม่ เห็นว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลและต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเท่านั้น ซึ่งในการประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องว่าจ้างผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมากระทำการแทน ทั้งผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจึงเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามมาตรา 269 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หากผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จหรือจงใจกระทำการใด ๆ ให้การตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลต้องรับผิดในการกระทำของผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าดังกล่าว เสมือนหนึ่งได้กระทำด้วยตนเอง เพราะบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นบัญญัติให้ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งมีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นพนักงานของตน และต้องรับผิดเมื่อมีการรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงโดยเฉพาะ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท ด. ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ให้ตรวจสอบข้าวสารที่จะนำเข้าเก็บในคลังสินค้าให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 หากข้าวสารที่จำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้วเป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวก็อนุญาตให้นำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัท ด. จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้นายชุมพล ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตรวจสอบข้าวสารที่โรงสีข้าวนำมาส่งให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ เพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้า แต่ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวของสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปรากฏว่า ข้าวสารไม่ถูกต้องตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ดังนั้น การที่นายชุมพลผู้มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานสินค้ากระทำการแทนในนามจำเลยที่ 1 ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวโดยทำคำรับรองอันเป็นเท็จและตรวจสอบข้าวให้ผิดไปจากความเป็นจริง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและเป็นผู้มอบหมายให้นายชุมพลทำการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวดังกล่าวแทนเป็นผู้ทำคำรับรองการตรวจสอบข้าวเป็นเอกสารอันเป็นเท็จและทำให้ผิดจากความเป็นจริงแล้ว โดยการที่นายชุมพลลงลายมือชื่อในฐานะผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าในผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน เพิ่งเห็นผลการวิเคราะห์คุณภาพข้าวของนายชุมพล หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้มีวิชาชีพในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า หรือจำเลยที่ 1 มอบหมายให้นายชุมพลเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าโดยจำเลยที่ 1 มิได้เกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองเป็นเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์มีรองผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า รักษาการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า เป็นพยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อตรวจสอบพบว่าข้าวที่อยู่ในคลังสินค้าของบริษัท ด. เป็นข้าวมาตรฐานระดับ ซี (ข้าวที่ไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด) ผู้เสียหายจึงได้มอบหมายให้พยานไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่บริษัท ด. และผู้เกี่ยวข้อง พนักงานสอบสวน เป็นพยานโจทก์เบิกความว่า รองผู้อำนวยการรักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่บุคคล นิติบุคคล กรรมการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการทั้งในฐานะส่วนตัว กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในโครงการรับจำนำข้าว ในข้อหาลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกงและข้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ต่อมาผู้เสียหายตรวจสอบพบว่ามีบริษัทตรวจสอบมาตรฐานสินค้ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จึงมีการกล่าวหาจำเลยทั้งสองและนายชุมพล และตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านว่า เหตุที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 เพราะนำผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวของนายชุมพลไปเปรียบเทียบกับผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวที่ห้องทดลองของมหาวิทยาลัย ก. แล้วได้ผลไม่เหมือนกัน แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนว่านายชุมพลปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบโดยชอบหรือไม่ นั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบพยานให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงที่โจทก์นำมาฟ้องอย่างไร และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามกฎหมายที่ต้องรับผิดในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าของพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ เมื่อผู้เสียหายไม่ได้รับข้าวสารที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ตามที่ตกลงไว้กับบริษัท ด. ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเป็นผู้ทำคำรับรองอันเป็นเท็จดังกล่าว เป็นเหตุให้มีการรับข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัท ด. ย่อมทำให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของข้าวสารได้รับความเสียหายเพราะได้รับข้าวสารไม่ถูกต้องตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 โดยนายชุมพลใช้หรืออ้างคำรับรองไปตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับมอบข้าวสารที่นายชุมพลตรวจสอบจึงเป็นการใช้หรืออ้างคำรับรองอันเป็นเท็จโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 เพราะการตรวจสอบมาตรฐานของข้าวสารในคดีนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อนำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้า ไม่ใช่กรณีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเพื่อขอออกใบรับรองมาตรฐานสินค้านำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรก่อนส่งสินค้าออกนอกประเทศตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 17 และแม้จำเลยที่ 1 มีความผิดเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และขอให้ลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงกรรมเดียว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์ฎีกาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการกระทำความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานตัวการในความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 คงลงโทษในฐานผู้สนับสนุนการกระทำความผิด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 269 วรรคสอง จึงต้องลงโทษตามมาตรา 269 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามที่โจทก์ฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโจทก์มา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน ส่วนฎีกาข้ออื่นของโจทก์ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 269 วรรคสอง (เดิม) ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานใช้หรืออ้างคำรับรองอันเป็นเท็จเพียงกรรมเดียวตามที่โจทก์ฎีกา ปรับ 4,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5
ผู้ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลและต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเท่านั้น ซึ่งในการประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องว่าจ้างผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมากระทำการแทน ทั้งผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจึงเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามมาตรา 269 แห่ง ป.อ. หากผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จหรือจงใจกระทำการใด ๆ ให้การตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลต้องรับผิดในการกระทำของผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าดังกล่าวเสมือนหนึ่งได้กระทำด้วยตนเอง เพราะบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นบัญญัติให้ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งมีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นพนักงานของตน และต้องรับผิดเมื่อมีการรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงโดยเฉพาะ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท ด. ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ให้ตรวจสอบข้าวสารที่จะนำเข้าเก็บในคลังสินค้าให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 หากข้าวสารที่จำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้วเป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวก็อนุญาตให้นำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัท ด. จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้นาย ช. ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตรวจสอบข้าวสารที่โรงสีข้าวนำมาส่งให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ เพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้า แต่ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวของสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปรากฏว่า ข้าวสารไม่ถูกต้องตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ดังนั้น การที่นาย ช. ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานสินค้ากระทำการแทนในนามจำเลยที่ 1 ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวโดยทำคำรับรองอันเป็นเท็จและตรวจสอบข้าวให้ผิดไปจากความเป็นจริง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและเป็นผู้มอบหมายให้นาย ช. ทำการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวดังกล่าวแทนเป็นผู้ทำคำรับรองการตรวจสอบข้าวเป็นเอกสารอันเป็นเท็จและทำให้ผิดจากความเป็นจริงแล้ว โดยการที่นาย ช. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าในผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเพิ่งเห็นผลการวิเคราะห์คุณภาพข้าวของนาย ช. หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้มีวิชาชีพในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า หรือจำเลยที่ 1 มอบหมายให้นาย ช. เป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าโดยจำเลยที่ 1 มิได้เกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองเป็นเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 โดยนาย ช. ใช้หรืออ้างคำรับรองไปตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับมอบข้าวสารที่นาย ช. ตรวจสอบจึงเป็นการใช้หรืออ้างคำรับรองอันเป็นเท็จโดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 เพราะการตรวจสอบมาตรฐานของข้าวสารในคดีนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อนำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้า ไม่ใช่กรณีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเพื่อขอออกใบรับรองมาตรฐานสินค้านำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรก่อนส่งสินค้าออกนอกประเทศตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 17
แม้จำเลยที่ 1 มีความผิดเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และขอให้ลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงกรรมเดียว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์ฎีกาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการกระทำความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานตัวการในความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 คงลงโทษในฐานผู้สนับสนุนการกระทำความผิด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 269 วรรคสอง จึงต้องลงโทษตามมาตรา 269 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามที่โจทก์ฎีกา
ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบพยานให้ปรากฏว่าเกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงที่โจทก์นำมาฟ้องอย่างไร และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามกฎหมายที่ต้องรับผิดในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าของพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 269, พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 3, 4, 5, 20, 29, 57
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคแรก ประกอบมาตรา 86, 269 วรรคสอง พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 20,000 บาท และจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 4 ปี หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29
โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติโดยไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 องค์การคลังสินค้า ผู้เสียหาย ทำสัญญาฝากเก็บรักษาข้าวสาร (โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2556/57) กับบริษัท ด. โดยกำหนดให้บริษัท ด. มีหน้าที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวสารที่ได้มาตรฐานและขึ้นบัญชีกับสำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบข้าวสารที่รับฝากให้ตรงตามมาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ บริษัท ด. ต้องตรวจสอบและรับมอบข้าวสารที่ผู้เสียหายส่งมอบให้ตรงตามปริมาณ ชนิดและคุณภาพข้าวสารให้ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับสินค้าข้าวที่ใช้บังคับอยู่หรือที่จะใช้บังคับต่อไป และต้องเป็นข้าวสารที่สีจากข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2556/57 ซึ่งมีคุณภาพดี ไม่เสื่อมสภาพ ไม่เป็นโรคพืช ไม่เป็นรัง ไม่มีมอดหรือหนอน และปราศจากสารเคมีภัณฑ์ที่มีพิษเจือปน กรณีที่โรงสีข้าวร่วมโครงการฯ ส่งมอบข้าวสารไม่ตรงตามคุณภาพและชนิด บริษัท ด. ต้องจัดส่งข้าวสารคืนเป็นรายกระสอบ ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเรื่องคุณภาพข้าวสารในขณะที่ส่งมอบข้าวสารระหว่างบริษัท ด. กับผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตกลงให้คณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นผู้ชี้ขาด บริษัท ด. ต้องจัดหาผู้ตรวจสอบซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ทางด้านการตรวจสอบคุณภาพ และชนิดข้าวสารได้อย่างดี และจัดหาสิ่งของชนิดดีตลอดจนใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิไทย ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 นายชุมพล เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้า (ประเภท ข.) ข้าวหอมมะลิไทย ตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 วันที่ 14 มกราคม 2557 บริษัท ด. ทำสัญญาจ้างตรวจสอบและดูแลคุณภาพและน้ำหนักข้าวสารโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2556/57 กับจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อผูกพัน โดยต้องตรวจสอบคุณภาพข้าวสารที่โรงสีข้าวจะส่งมอบแก่บริษัท ด. ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงพาณิชย์ เรื่องมาตรฐานสินค้าข้าว พ.ศ. 2540 และหรือข้อกำหนดตามที่บริษัท ด. กำหนด เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 นายชุมพล พนักงานของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบคุณภาพข้าวของโรงสี ม. โรงสี จ. และโรงสี พ. โดยการต้มในน้ำเดือดและวิเคราะห์ทางกายภาพแล้วรับรองว่าได้ตรวจสอบคุณภาพ/วิเคราะห์ตามตัวอย่างที่สุ่มได้จริง วันที่ 2 สิงหาคม 2557 สำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทดสอบเบื้องต้นตัวอย่างข้าว 6 ตัวอย่าง ที่คณะทำงานชุดที่ 54 เก็บตัวอย่างข้าวมาจากคลังสินค้าของบริษัท ด. โดยการต้มข้าวแล้วผลปรากฏว่าผ่านการทดสอบเบื้องต้นแต่เมื่อวิเคราะห์ทางกายภาพแล้วมีข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ตามรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าว และวันที่ 23 และ 25 กันยายน 2557 ห้องปฏิบัติการ ดีเอ็นเอ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ก. รายงานผลการวิเคราะห์ข้าวตัวอย่างทั้ง 6 ตัวอย่างแล้ว ผลการตรวจสอบทางพันธุกรรมมีข้าวหอมมะลิต่ำกว่าร้อยละ 92 ผู้เสียหายเห็นว่านายชุมพลเป็นผู้ประกอบการงานในวิชาชีพทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ และจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นผู้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการงานในวิชาชีพทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ จึงได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีนี้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า ข้าวสารที่นายชุมพล ตรวจสอบและรับรองรายนี้เป็นข้าวที่ไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดของข้าวหอมมะลิไทย ประเภทข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 อันเป็นการทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้ฎีกาของจำเลยทั้งสองก่อนว่า คณะทำงานชุดที่ 54 เก็บตัวอย่างข้าวถูกต้องตามคู่มือปฏิบัติหรือไม่ เห็นว่า ตามบันทึกคณะทำงานตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าว ชุดที่ 54 บันทึกว่า กองหมายเลข 1 การเก็บตัวอย่างข้าวชักตัวอย่างรอบกองทั้ง 4 ด้าน และบนกองจำนวน 1 ตัวอย่าง ชักตัวอย่างจากการขุดกองด้านบนกว้าง 3 กระสอบ ยาว 5 กระสอบ ลึก 15 กระสอบ จำนวน 1 ตัวอย่าง กองหมายเลข 2 การเก็บตัวอย่างข้าวชักตัวอย่างรอบกองทั้ง 4 ด้าน และบนกองจำนวน 1 ตัวอย่าง ชักตัวอย่างจากการขุดกองด้านบนกว้าง 3 กระสอบ ยาว 5 กระสอบ ลึก 15 กระสอบ จำนวน 1 ตัวอย่าง กองหมายเลข 3 การเก็บตัวอย่างข้าวชักตัวอย่างรอบกองทั้ง 4 ด้าน และบนกองจำนวน 1 ตัวอย่าง ชักตัวอย่างจากการขุดกองด้านบนกว้าง 3 กระสอบ ยาว 5 กระสอบ ลึก 15 กระสอบ จำนวน 1 ตัวอย่าง โดยมีนางสาวภัทรา หัวหน้าคลังสินค้า และนายสำเริง เจ้าของคลังสินค้า/ตัวแทน ลงลายมือชื่อรับรองในบันทึกดังกล่าว อีกทั้งเป็นการลงลายมือชื่อในทันทีหลังจากการเก็บตัวอย่างข้าวเสร็จสิ้น ที่นางสาวภัทรา หัวหน้าคลังสินค้า เบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามติงว่า วันที่เจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปเก็บตัวอย่างข้าวสาร พยานเห็นเจ้าหน้าที่ทหารเก็บตัวอย่างข้าวด้วยวิธีเก็บจากรอบกองจริง แต่ไม่เห็นเจ้าหน้าที่ทหารเก็บตัวอย่างข้าวด้วยวิธีเจาะกองตามที่ระบุไว้ในบันทึกรายงานการตรวจสอบปริมาณข้าว รวมถึงไม่เห็นการเก็บตัวอย่างด้วยวิธีขุดกอง และไม่เห็นเจ้าหน้าที่ทหารปีนขึ้นไปบนกองกระสอบข้าวด้วย และนางสาวแสงดาว พนักงานบริษัท ด. เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองถึงวันเก็บตัวอย่างข้าวของคณะทำงานชุดที่ 54 สรุปได้ว่าเห็นเจ้าหน้าที่ทหารฉ่ำข้าวจากกองข้าวที่อยู่ใกล้ประตูที่สุด ใช้เวลาเก็บตัวอย่างข้าวไม่นาน ไม่น่าจะเกิน 1 ชั่วโมง นั้นขัดกับบันทึกดังกล่าวซึ่งทำขึ้นในวันเก็บตัวอย่างข้าว คำเบิกความของนางสาวภัทราและนางสาวแสงดาวในส่วนนี้จึงไม่น่าเชื่อถือ แต่เชื่อว่าคณะทำงานตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าว ชุดที่ 54 สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวในคลังสินค้าของบริษัท ด. เป็นไปตามคู่มือปฏิบัติตามที่ปรากฏในบันทึกรายงานการตรวจสอบปริมาณข้าว ปัญหาตามคำแก้ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น ต่อมามีการส่งตัวอย่างข้าวไปให้เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ตรวจวิเคราะห์ ซึ่งตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้ประเภทข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 ต้องมีข้าวหอมมะลิไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 โดยปริมาณ และต้องมีส่วนผสมของเมล็ดข้าว และระดับการสี ดังนี้ ส่วนผสม ประกอบด้วยข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.0 ข้าวหักที่มีความยาวตั้งแต่ 5.0 ส่วนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8.0 ส่วน ไม่เกินร้อยละ 4.5 ในจำนวนนี้อาจมีข้าวหักที่มีความยาวไม่ถึง 5.0 ส่วน และไม่ผ่านตะแกรงเบอร์ 7 ไม่เกินร้อยละ 0.5 และปลายข้าวขาวซีวัน ไม่เกินร้อยละ 0.1 นอกนั้นเป็นต้นข้าวที่มีความยาวตั้งแต่ 8.0 ส่วนขึ้นไป มีข้าวและสิ่งที่อาจมีปนได้ ข้าวเมล็ดแดง และหรือข้าวเมล็ดสีต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่เกินร้อยละ 0.5 ข้าวเมล็ดเหลือง ไม่เกินร้อยละ 0.2 ข้าวเมล็ดท้องไข่ ไม่เกินร้อยละ 3.0 ข้าวเมล็ดเสีย ไม่เกินร้อยละ 0.25 ข้าวเหนียวขาว ไม่เกินร้อยละ 1.0 ข้าวเปลือก ไม่เกิน 5 เมล็ดต่อข้าว 1 กิโลกรัม ข้าวเมล็ดลีบ ข้าวเมล็ดอ่อน เมล็ดพืชอื่น และวัตถุอื่น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันไม่เกินร้อยละ 0.2 และระดับการสี สีดีพิเศษ ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวทั้ง 6 ตัวอย่าง ของสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปรากฏผลว่า ตัวอย่างที่หนึ่ง รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111101 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 7.8 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 1.2 และข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.6 ตัวอย่างที่สอง รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111102 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 6 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.8 ข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.7 และระดับการสี ผลการวิเคราะห์ได้สีดี ตัวอย่างที่สาม รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111103 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.7 ข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.4 ข้าวเหนียว ผลการวิเคราะห์ได้ 1.6 และระดับการสี ผลการวิเคราะห์ได้สีดี ตัวอย่างที่สี่ รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111104 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 6.4 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.8 ข้าวเมล็ดเหลือง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.4 และข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 1 ตัวอย่างที่ห้า รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111105 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 5.80 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 2.0 ข้าวเมล็ดเหลือง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.30 และข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.30 ตัวอย่างที่หก รหัสตัวอย่างข้าวที่ 57107150111106 มีรายการที่ผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ข้าวหัก ผลการวิเคราะห์ได้ 8.4 ข้าวเมล็ดแดง ผลการวิเคราะห์ได้ 1 ข้าวเมล็ดเหลือง ผลการวิเคราะห์ได้ 0.3 ข้าวเมล็ดเสีย ผลการวิเคราะห์ได้ 0.4 ข้าวเหนียว ผลการวิเคราะห์ได้ 1.4 และระดับการสี ผลการวิเคราะห์ได้สีดี ซึ่งจากการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบทั้งหมดแสดงว่าข้าวสารตัวอย่างทั้ง 6 ตัวอย่าง เป็นข้าวสารที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยประเภทข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ เห็นว่า เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจวิเคราะห์ข้าวไม่ทราบว่าข้าวตัวอย่างเป็นของผู้ใดเพราะตัวอย่างข้าวใส่ชื่อเป็นรหัสตัวเลข และสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเรื่องคุณภาพข้าวสารในขณะที่ส่งมอบข้าวสารระหว่างบริษัท ด. กับผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีการตกลงให้คณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นผู้ชี้ขาด จึงไม่น่าเชื่อว่าผลการตรวจวิเคราะห์จะผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง ส่วนผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวซึ่งนายชุมพลตรวจวิเคราะห์และทำคำรับรองว่าได้ตรวจสอบคุณภาพ/วิเคราะห์ตามตัวอย่างที่สุ่มได้จริงนั้น เห็นว่า การตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวว่าผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น ต้องมีการพิจารณาทุกค่ามาตรฐานให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนดทั้งหมด เช่น ปริมาณข้าวหัก ปริมาณข้าวเมล็ดแดง ปริมาณข้าวเหนียว และปริมาณข้าวเมล็ดเหลือง เป็นต้น เมื่อรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ข้าวของสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปรากฏว่าข้าวมีค่ามาตรฐานผิดจากค่ามาตรฐานที่กำหนดหลายค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะผลการตรวจวิเคราะห์ทุกตัวอย่างพบว่ามีข้าวเมล็ดแดงและข้าวเมล็ดเสียที่เป็นค่าที่ผิดมาตรฐานที่กำหนดทุกตัวอย่าง นอกจากนี้ ในการสุ่มตรวจของนายชุมพลตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 29 มกราคม 2557 รวมจำนวน 25,529 กระสอบ นายชุมพลตรวจสอบไม่พบข้าวเมล็ดแดงแม้แต่เมล็ดเดียว พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเชื่อว่าผลการตรวจวิเคราะห์ของนายชุมพลเป็นเท็จไม่ถูกต้องตามค่ามาตรฐานที่กำหนด อันเป็นการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ต่อไปว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับนายชุมพล ในการประกอบการงานในวิชาชีพทำคำรับรองผลการตรวจวิเคราะห์อันเป็นเท็จหรือจงใจกระทำการใด ๆ ให้การตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริงหรือไม่ เห็นว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลและต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเท่านั้น ซึ่งในการประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องว่าจ้างผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมากระทำการแทน ทั้งผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจึงเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามมาตรา 269 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หากผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จหรือจงใจกระทำการใด ๆ ให้การตรวจสอบมาตรฐานสินค้าผิดไปจากความเป็นจริง ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลต้องรับผิดในการกระทำของผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าดังกล่าว เสมือนหนึ่งได้กระทำด้วยตนเอง เพราะบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นบัญญัติให้ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งมีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซึ่งเป็นพนักงานของตน และต้องรับผิดเมื่อมีการรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงโดยเฉพาะ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท ด. ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้า ให้ตรวจสอบข้าวสารที่จะนำเข้าเก็บในคลังสินค้าให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 หากข้าวสารที่จำเลยที่ 1 ตรวจสอบแล้วเป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าวก็อนุญาตให้นำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัท ด. จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้นายชุมพล ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตรวจสอบข้าวสารที่โรงสีข้าวนำมาส่งให้ได้ข้าวสารที่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ เพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้า แต่ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวของสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ปรากฏว่า ข้าวสารไม่ถูกต้องตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ดังนั้น การที่นายชุมพลผู้มีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานสินค้ากระทำการแทนในนามจำเลยที่ 1 ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวโดยทำคำรับรองอันเป็นเท็จและตรวจสอบข้าวให้ผิดไปจากความเป็นจริง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและเป็นผู้มอบหมายให้นายชุมพลทำการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวดังกล่าวแทนเป็นผู้ทำคำรับรองการตรวจสอบข้าวเป็นเอกสารอันเป็นเท็จและทำให้ผิดจากความเป็นจริงแล้ว โดยการที่นายชุมพลลงลายมือชื่อในฐานะผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าในผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน เพิ่งเห็นผลการวิเคราะห์คุณภาพข้าวของนายชุมพล หรือจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้มีวิชาชีพในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า หรือจำเลยที่ 1 มอบหมายให้นายชุมพลเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าโดยจำเลยที่ 1 มิได้เกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองเป็นเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์มีรองผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า รักษาการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า เป็นพยานโจทก์เบิกความว่า เมื่อตรวจสอบพบว่าข้าวที่อยู่ในคลังสินค้าของบริษัท ด. เป็นข้าวมาตรฐานระดับ ซี (ข้าวที่ไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด) ผู้เสียหายจึงได้มอบหมายให้พยานไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่บริษัท ด. และผู้เกี่ยวข้อง พนักงานสอบสวน เป็นพยานโจทก์เบิกความว่า รองผู้อำนวยการรักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่บุคคล นิติบุคคล กรรมการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการทั้งในฐานะส่วนตัว กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในโครงการรับจำนำข้าว ในข้อหาลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกงและข้อหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ต่อมาผู้เสียหายตรวจสอบพบว่ามีบริษัทตรวจสอบมาตรฐานสินค้ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย จึงมีการกล่าวหาจำเลยทั้งสองและนายชุมพล และตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านว่า เหตุที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 เพราะนำผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพข้าวของนายชุมพลไปเปรียบเทียบกับผลการตรวจสอบคุณภาพข้าวที่ห้องทดลองของมหาวิทยาลัย ก. แล้วได้ผลไม่เหมือนกัน แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนว่านายชุมพลปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบโดยชอบหรือไม่ นั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบพยานให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับการทำคำรับรองมาตรฐานสินค้าอันเป็นเท็จหรือผิดไปจากความเป็นจริงที่โจทก์นำมาฟ้องอย่างไร และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่ในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าตามกฎหมายที่ต้องรับผิดในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าของพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ เมื่อผู้เสียหายไม่ได้รับข้าวสารที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ตามที่ตกลงไว้กับบริษัท ด. ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเป็นผู้ทำคำรับรองอันเป็นเท็จดังกล่าว เป็นเหตุให้มีการรับข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัท ด. ย่อมทำให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของข้าวสารได้รับความเสียหายเพราะได้รับข้าวสารไม่ถูกต้องตามมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 โดยนายชุมพลใช้หรืออ้างคำรับรองไปตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับมอบข้าวสารที่นายชุมพลตรวจสอบจึงเป็นการใช้หรืออ้างคำรับรองอันเป็นเท็จโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคสอง แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 57 เพราะการตรวจสอบมาตรฐานของข้าวสารในคดีนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อนำข้าวสารเข้าเก็บในคลังสินค้า ไม่ใช่กรณีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเพื่อขอออกใบรับรองมาตรฐานสินค้านำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรก่อนส่งสินค้าออกนอกประเทศตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 มาตรา 17 และแม้จำเลยที่ 1 มีความผิดเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และขอให้ลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงกรรมเดียว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์ฎีกาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการกระทำความผิดฐานทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานตัวการในความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 คงลงโทษในฐานผู้สนับสนุนการกระทำความผิด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 269 วรรคสอง จึงต้องลงโทษตามมาตรา 269 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามที่โจทก์ฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโจทก์มา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน ส่วนฎีกาข้ออื่นของโจทก์ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 269 วรรคสอง (เดิม) ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานใช้หรืออ้างคำรับรองอันเป็นเท็จเพียงกรรมเดียวตามที่โจทก์ฎีกา ปรับ 4,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5
ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรื่องขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระบุเลขที่ดิน ที่ตั้งของที่ดิน สภาพของที่ดินและด้านหลังของประกาศดังกล่าวได้ทำแผนที่สังเขปแสดงการไปที่ดินพิพาทไว้ โดยประกาศอย่างเปิดเผยต่อประชาชนทั่ว ๆ ไป ผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทย่อมมีโอกาสตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินพิพาทก่อนที่จะเข้าประมูลสู้ราคาได้ นอกจากนี้แผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศดังกล่าวก็ระบุสภาพของที่ดินพิพาทไว้ชัดเจนว่า ถนนด้านหน้าที่ดินพิพาทคือถนนกำแพงเพชร 7 ซึ่งผู้ร้องสามารถตรวจสอบได้โดยไม่ยากว่า ถนนดังกล่าวเป็นถนนเลียบทางรถไฟสายตะวันออกและเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพราะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไปและสามารถสืบค้นได้ทางอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบก่อนเข้าประมูลซื้อ ทั้งข้อสัญญาท้ายประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ระบุไว้ด้วยว่า ผู้ซื้อทรัพย์มีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะซื้อตามสถานที่ และแผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพทรัพย์โดยละเอียดครบถ้วนแล้ว จึงเป็นความบกพร่องและประมาทเลินเล่อของผู้ร้องเอง เมื่อประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ระบุถึงสภาพที่ดินไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงสภาพทรัพย์ที่ทำการขายทอดตลาดและทราบถึงการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ในวันขายทอดตลาดวันที่ 22 เมษายน 2562 แล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ในวันที่ 21 เมษายน 2564 จึงเกินกำหนดระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งห้าเด็ดขาดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2559 และพิพากษาให้ล้มละลายวันที่ 11 ตุลาคม 2560
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและคืนเงินมัดจำแก่ผู้ร้อง
ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านทำนองเดียวกันว่า ประกาศขายทอดตลาดระบุที่ตั้งและถนนทางเข้าที่ดินพิพาทชัดแจ้ง ผู้ร้องมีหน้าที่ตรวจสอบสภาพทรัพย์ก่อนซื้อการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทชอบแล้ว ขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 3998 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 คืนเงินมัดจำ 21,450,000 บาท แก่ผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์ โดยได้รับอนุญาตจากศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้ร้องฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 3998 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านที่ 1 ในราคา 429,000,000 บาท และวางเงินมัดจำ 21,450,000 บาท เงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือผู้คัดค้านที่ 1 อนุญาตให้ผู้ร้องขยายระยะเวลาวางเงินตามที่ผู้ร้องขอและเนื่องจากนายอารักษ์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับฎีกาของนายอารักษ์ ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเรียกให้ผู้ร้องวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลืออีก ผู้คัดค้านที่ 1 มีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ก่อนครบกำหนดระยะเวลาวางเงินดังกล่าว วันที่ 19 เมษายน 2564 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทอ้างว่าสำคัญผิดในข้อสาระสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 มีคำสั่งยกคำร้อง
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทต่อศาลภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 3998 โดยอ้างว่าผู้ร้องสำคัญผิดในข้อสาระสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์ เนื่องจากผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้ระบุไว้ในประกาศขายทอดตลาดถึงสภาพที่ดินพิพาทว่ามิได้ติดถนนสาธารณะ ทำให้ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทในราคาที่สูงเกินสมควร จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 โดยประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรื่องขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระบุเลขที่ดิน ที่ตั้งของที่ดิน สภาพของที่ดิน และด้านหลังของประกาศดังกล่าวได้ทำแผนที่สังเขปแสดงการไปที่ดินพิพาทไว้ โดยประกาศอย่างเปิดเผยต่อประชาชนทั่ว ๆ ไป ผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทย่อมมีโอกาสตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินพิพาทก่อนที่จะเข้าประมูลสู้ราคาได้ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาแผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศดังกล่าวก็ระบุสภาพของที่ดินพิพาทไว้ชัดเจนว่า ถนนด้านหน้าที่ดินพิพาท คือ ถนนกำแพงเพชร 7 ซึ่งผู้ร้องสามารถตรวจสอบได้โดยไม่ยากว่า ถนนดังกล่าวเป็นถนนเลียบทางรถไฟสายตะวันออกและเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพราะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไปและสามารถสืบค้นได้ทางอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบก่อนเข้าประมูลซื้อ ทั้งข้อสัญญาท้ายประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ระบุไว้ด้วยว่า ผู้ซื้อทรัพย์มีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะซื้อตามสถานที่ และแผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพทรัพย์โดยละเอียดครบถ้วนแล้ว จึงเป็นความบกพร่องและประมาทเลินเล่อของผู้ร้องเอง เมื่อประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ระบุถึงสภาพที่ดินไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงสภาพทรัพย์ที่ทำการขายทอดตลาดและทราบถึงการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ในวันขายทอดตลาดวันที่ 22 เมษายน 2562 แล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ในวันที่ 21 เมษายน 2564 จึงเกินกำหนดระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรื่องขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระบุเลขที่ดิน ที่ตั้งของที่ดิน สภาพของที่ดินและด้านหลังของประกาศดังกล่าวได้ทำแผนที่สังเขปแสดงการไปที่ดินพิพาทไว้ โดยประกาศอย่างเปิดเผยต่อประชาชนทั่ว ๆ ไป ผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทย่อมมีโอกาสตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินพิพาทก่อนที่จะเข้าประมูลสู้ราคาได้ นอกจากนี้แผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศดังกล่าวก็ระบุสภาพของที่ดินพิพาทไว้ชัดเจนว่า ถนนด้านหน้าที่ดินพิพาทคือถนนกำแพงเพชร 7 ซึ่งผู้ร้องสามารถตรวจสอบได้โดยไม่ยากว่า ถนนดังกล่าวเป็นถนนเลียบทางรถไฟสายตะวันออกและเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพราะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไปและสามารถสืบค้นได้ทางอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบก่อนเข้าประมูลซื้อ ทั้งข้อสัญญาท้ายประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ระบุไว้ด้วยว่า ผู้ซื้อทรัพย์มีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะซื้อตามสถานที่ และแผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพทรัพย์โดยละเอียดครบถ้วนแล้ว จึงเป็นความบกพร่องและประมาทเลินเล่อของผู้ร้องเอง เมื่อประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ระบุถึงสภาพที่ดินไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงสภาพทรัพย์ที่ทำการขายทอดตลาดและทราบถึงการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ในวันขายทอดตลาดวันที่ 22 เมษายน 2562 แล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ในวันที่ 21 เมษายน 2564 จึงเกินกำหนดระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งห้าเด็ดขาดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2559 และพิพากษาให้ล้มละลายวันที่ 11 ตุลาคม 2560
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและคืนเงินมัดจำแก่ผู้ร้อง
ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านทำนองเดียวกันว่า ประกาศขายทอดตลาดระบุที่ตั้งและถนนทางเข้าที่ดินพิพาทชัดแจ้ง ผู้ร้องมีหน้าที่ตรวจสอบสภาพทรัพย์ก่อนซื้อการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทชอบแล้ว ขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 3998 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 คืนเงินมัดจำ 21,450,000 บาท แก่ผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์ โดยได้รับอนุญาตจากศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้ร้องฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 3998 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านที่ 1 ในราคา 429,000,000 บาท และวางเงินมัดจำ 21,450,000 บาท เงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือผู้คัดค้านที่ 1 อนุญาตให้ผู้ร้องขยายระยะเวลาวางเงินตามที่ผู้ร้องขอและเนื่องจากนายอารักษ์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับฎีกาของนายอารักษ์ ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเรียกให้ผู้ร้องวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลืออีก ผู้คัดค้านที่ 1 มีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ก่อนครบกำหนดระยะเวลาวางเงินดังกล่าว วันที่ 19 เมษายน 2564 ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านที่ 1 ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทอ้างว่าสำคัญผิดในข้อสาระสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 มีคำสั่งยกคำร้อง
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทต่อศาลภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 3998 โดยอ้างว่าผู้ร้องสำคัญผิดในข้อสาระสำคัญเกี่ยวกับทรัพย์ เนื่องจากผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้ระบุไว้ในประกาศขายทอดตลาดถึงสภาพที่ดินพิพาทว่ามิได้ติดถนนสาธารณะ ทำให้ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทในราคาที่สูงเกินสมควร จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 โดยประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรื่องขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระบุเลขที่ดิน ที่ตั้งของที่ดิน สภาพของที่ดิน และด้านหลังของประกาศดังกล่าวได้ทำแผนที่สังเขปแสดงการไปที่ดินพิพาทไว้ โดยประกาศอย่างเปิดเผยต่อประชาชนทั่ว ๆ ไป ผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทย่อมมีโอกาสตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินพิพาทก่อนที่จะเข้าประมูลสู้ราคาได้ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาแผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศดังกล่าวก็ระบุสภาพของที่ดินพิพาทไว้ชัดเจนว่า ถนนด้านหน้าที่ดินพิพาท คือ ถนนกำแพงเพชร 7 ซึ่งผู้ร้องสามารถตรวจสอบได้โดยไม่ยากว่า ถนนดังกล่าวเป็นถนนเลียบทางรถไฟสายตะวันออกและเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพราะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไปและสามารถสืบค้นได้ทางอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบก่อนเข้าประมูลซื้อ ทั้งข้อสัญญาท้ายประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ระบุไว้ด้วยว่า ผู้ซื้อทรัพย์มีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะซื้อตามสถานที่ และแผนที่สังเขปแนบท้ายประกาศ และถือว่าผู้ซื้อได้ทราบถึงสภาพทรัพย์โดยละเอียดครบถ้วนแล้ว จึงเป็นความบกพร่องและประมาทเลินเล่อของผู้ร้องเอง เมื่อประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ระบุถึงสภาพที่ดินไว้โดยชัดแจ้งแล้ว ถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงสภาพทรัพย์ที่ทำการขายทอดตลาดและทราบถึงการขายทอดตลาดซึ่งเป็นการกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ในวันขายทอดตลาดวันที่ 22 เมษายน 2562 แล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ในวันที่ 21 เมษายน 2564 จึงเกินกำหนดระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยขอเพิ่มเติมหลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ของจำเลยด้วย แต่ผู้ร้องไม่ได้แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินดังกล่าวโดยการละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ กรณีต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการละเว้นนั้นไม่น่าเชื่อว่าเกิดจากการพลั้งเผลอและคดีถึงที่สุดแล้ว คำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 และมีผลให้ผู้ร้องจะต้องคืนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านและสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ที่จะขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านยึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องไม่เกินหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองตามสิทธิมาเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ยื่นขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันลดลงเพียงนั้น
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์พร้อมอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า คำสั่งของศาลล้มละลายกลางชอบแล้ว และไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์ จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์ให้ยกคำร้องและไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้อง คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่ผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นนอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
ผู้ร้องฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติได้ในเบื้องต้นว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553 โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 ต่อมาโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องรวมถึงสิทธิรับจำนองที่มีต่อจำเลยให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (3) และขอเพิ่มเติมทรัพย์หลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ตามมาตรา 95 ผู้คัดค้านมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ตามมาตรา 95 ได้ ให้ยกคำร้องผู้ร้อง จึงยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่อนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์ชอบหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ภายหลังรับโอนสิทธิเรียกร้องแล้วผู้ร้องตรวจพบว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ยังมิได้มีการใช้สิทธิบังคับหลักประกันจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยขอเพิ่มเติมหลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ดังกล่าว อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ของจำเลยด้วย แต่ผู้ร้องไม่ได้แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินดังกล่าวโดยการละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ กรณีต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 แต่เมื่อศาลล้มละลายกลางไต่สวนแล้ว มีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการละเว้นนั้นไม่น่าเชื่อว่าเกิดจากการพลั้งเผลอและคดีถึงที่สุดแล้ว คำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ผู้ร้องจึงไม่อาจฎีกาโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้อีก และมีผลให้ผู้ร้องจะต้องคืนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านและสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ที่จะขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ได้ และมิใช่กรณีที่ผู้ร้องเลือกใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้มีประกันยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 (3) แต่ขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ดังที่ผู้ร้องฎีกาแต่อย่างใด ทั้งคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 มิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 25 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจะอุทธรณ์ได้เมื่อยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมาพร้อมกับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ของผู้ร้องแล้วเห็นว่า คำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวชอบแล้ว ไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์และมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษดังกล่าวจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 แล้ว ฎีกาของผู้ร้องล้วนฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยขอเพิ่มเติมหลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ของจำเลยด้วย แต่ผู้ร้องไม่ได้แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินดังกล่าวโดยการละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ กรณีต้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการละเว้นนั้นไม่น่าเชื่อว่าเกิดจากการพลั้งเผลอและคดีถึงที่สุดแล้ว คำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 และมีผลให้ผู้ร้องจะต้องคืนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านและสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ที่จะขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านยึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องไม่เกินหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองตามสิทธิมาเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ยื่นขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันลดลงเพียงนั้น
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์พร้อมอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า คำสั่งของศาลล้มละลายกลางชอบแล้ว และไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์ จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์ให้ยกคำร้องและไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้อง คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่ผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นนอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
ผู้ร้องฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติได้ในเบื้องต้นว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553 โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 ต่อมาโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องรวมถึงสิทธิรับจำนองที่มีต่อจำเลยให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (3) และขอเพิ่มเติมทรัพย์หลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ตามมาตรา 95 ผู้คัดค้านมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ตามมาตรา 95 ได้ ให้ยกคำร้องผู้ร้อง จึงยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่อนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์ชอบหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ภายหลังรับโอนสิทธิเรียกร้องแล้วผู้ร้องตรวจพบว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ยังมิได้มีการใช้สิทธิบังคับหลักประกันจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันโดยขอเพิ่มเติมหลักประกันที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ดังกล่าว อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ของจำเลยด้วย แต่ผู้ร้องไม่ได้แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินดังกล่าวโดยการละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ กรณีต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 แต่เมื่อศาลล้มละลายกลางไต่สวนแล้ว มีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการละเว้นนั้นไม่น่าเชื่อว่าเกิดจากการพลั้งเผลอและคดีถึงที่สุดแล้ว คำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ผู้ร้องจึงไม่อาจฎีกาโต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้อีก และมีผลให้ผู้ร้องจะต้องคืนทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านและสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันนั้นเป็นอันระงับสิ้นไป ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 12446 ที่จะขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ได้ และมิใช่กรณีที่ผู้ร้องเลือกใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้มีประกันยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 (3) แต่ขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 ดังที่ผู้ร้องฎีกาแต่อย่างใด ทั้งคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอใช้สิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 มิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 25 อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจะอุทธรณ์ได้เมื่อยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมาพร้อมกับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ของผู้ร้องแล้วเห็นว่า คำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวชอบแล้ว ไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์และมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษดังกล่าวจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 แล้ว ฎีกาของผู้ร้องล้วนฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 16 แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประเด็นว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่จึงยุติแล้ว การที่จำเลยที่ 2 กลับมาฎีกาอีกว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ขอให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นฎีกาในประเด็นที่ยุติไปแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 กับพวกจะเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคใด นั้น ป.ยาเสพติด มาตรา 145 ได้บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง หากผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมไม่อาจปรับบทกำหนดโทษตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ได้ คงปรับบทกำหนดโทษได้เพียงมาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อ ป.ยาเสพติดกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง ดังนั้น การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) จึงจะต้องเป็นการกระทำที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้าง อันเป็นการเพิ่มกระจายความรุนแรงของยาเสพติดและทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษไว้สูงถึงประหารชีวิตทำนองเดียวกับทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความเพียงว่า เจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 จำนวน 400 เม็ด ในราคา 14,000 บาท เมื่อจับกุม ข. ที่นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งแล้ว ข. พาไปยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีก 3,600 เม็ด รวม 4,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.045 กรัม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้างได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ปรากฏพฤติการณ์ว่าก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 เคยร่วมกับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้มาหลายครั้งแล้ว ซึ่งเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนเพื่อแสวงหากำไรเป็นปกติถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสองสำนวนว่า โจทก์ เรียกจำเลยในสำนวนแรกว่า จำเลยที่ 1 และเรียกจำเลยในสำนวนหลังว่า จำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนเป็นใจความขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 100/1 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3, 4, 8 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 83, 91
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (2), 66 วรรคสองและวรรคสาม พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7, 8 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 และ 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิต และปรับคนละ 1,000,000 บาท ฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนกับฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 7 ปี และปรับคนละ 400,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว คงจำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิต และปรับคนละ 1,400,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์
จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 16
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสาม (2), 127 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป เพียงบทเดียว จำคุก 30 ปี และปรับ 600,000 บาท ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยที่ 2 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดียาเสพติดวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้เป็นยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง เจ้าพนักงานตำรวจกองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา จับกุมนายขวัญชัย พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ด และของกลางอื่นอีกหลายรายการตามบัญชีของกลางคดีอาญา ต่อมาจับกุมนายอดิศรหรือวาย ได้ นายขวัญชัยและนายอดิศรถูกฟ้องคดีต่อศาลและให้การรับสารภาพ ศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ย 39/2563 และ ย 534/2563 ของศาลชั้นต้น ตามลำดับ จำเลยทั้งสองทำงานอยู่ที่สาธารณรัฐเกาหลี และเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 และวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ตามลำดับ ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสองว่า สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ เมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.045 กรัม ของกลางทั้งหมดศาลมีคำพิพากษาให้ริบแล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ย 39/2563 ของศาลชั้นต้น
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำความผิดกับนายขวัญชัยและนายอดิศรหรือไม่ เห็นว่า แม้นายขวัญชัยจะให้การรับสารภาพต่อร้อยตำรวจเอกเบ็ญจางค์ว่า เมื่อลูกค้าโอนเงินค่าเมทแอมเฟตามีนเข้าบัญชีของนายขวัญชัยแล้ว จำเลยที่ 1 จะใช้เว็บเพจ ภ. โทรศัพท์ให้นายขวัญชัยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ธ. หมายเลขบัญชี 233605xxxx ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบัญชี แต่ก็เป็นพยานบอกเล่าโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยัน จึงไม่มีน้ำหนักรับฟัง ทั้งการติดต่อซื้อขายและรับสั่งเมทแอมเฟตามีนโดยใช้เว็บเพจ ภ. โทรศัพท์ผ่านโปรแกรมเมสเซนเจอร์เป็นเสียงผู้ชาย ซึ่งพยานโจทก์ยืนยันว่าเป็นจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่เป็นผู้หญิง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การปฏิเสธตลอดมา โดยนำสืบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 แยกทางกัน เว็บเพจ ภ. ดังกล่าวจำเลยที่ 2 เป็นคนใช้คนเดียว แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้เปิดเว็บเพจ ภ. และเป็นเจ้าของบัญชีธนาคาร ธ. หมายเลขบัญชีดังกล่าวก็ตาม แต่พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาเพียงเท่านี้ยังไม่มีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
สำหรับฎีกาของจำเลยที่ 2 นั้น เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 16 แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประเด็นว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ จึงยุติแล้ว การที่จำเลยที่ 2 กลับมาฎีกาอีกว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดขอให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นฎีกาในประเด็นที่ยุติไปแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แต่ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทความผิดจำเลยที่ 2 ว่าเป็นความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสาม (2) มานั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 ได้บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง หากผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมไม่อาจปรับบทกำหนดโทษตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ได้ คงปรับบทกำหนดโทษได้เพียงมาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติดกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง ดังนั้น การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) จึงจะต้องเป็นการกระทำที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้าง อันเป็นการเพิ่มกระจายความรุนแรงของยาเสพติดและทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษไว้สูงถึงประหารชีวิตทำนองเดียวกับทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความเพียงว่า เจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 จำนวน 400 เม็ด ในราคา 14,000 บาท เมื่อจับกุมนายขวัญชัยที่นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งแล้วนายขวัญชัยพาไปยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีก 3,600 เม็ด รวม 4,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.045 กรัม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้างได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสาม (2) แต่ปรากฏพฤติการณ์ว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 เคยร่วมกับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้มาหลายครั้งแล้ว ซึ่งเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนเพื่อแสวงหากำไรเป็นปกติถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 และสมควรแก้ไขโทษเพื่อให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีและกฎหมายที่แก้ไข
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1), 127 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน กับฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า จำคุก 16 ปี และปรับ 600,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 16 แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประเด็นว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่จึงยุติแล้ว การที่จำเลยที่ 2 กลับมาฎีกาอีกว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ขอให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นฎีกาในประเด็นที่ยุติไปแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 กับพวกจะเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคใด นั้น ป.ยาเสพติด มาตรา 145 ได้บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง หากผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมไม่อาจปรับบทกำหนดโทษตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ได้ คงปรับบทกำหนดโทษได้เพียงมาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อ ป.ยาเสพติดกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง ดังนั้น การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) จึงจะต้องเป็นการกระทำที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้าง อันเป็นการเพิ่มกระจายความรุนแรงของยาเสพติดและทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษไว้สูงถึงประหารชีวิตทำนองเดียวกับทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความเพียงว่า เจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 จำนวน 400 เม็ด ในราคา 14,000 บาท เมื่อจับกุม ข. ที่นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งแล้ว ข. พาไปยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีก 3,600 เม็ด รวม 4,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.045 กรัม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้างได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ปรากฏพฤติการณ์ว่าก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 เคยร่วมกับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้มาหลายครั้งแล้ว ซึ่งเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนเพื่อแสวงหากำไรเป็นปกติถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสองสำนวนว่า โจทก์ เรียกจำเลยในสำนวนแรกว่า จำเลยที่ 1 และเรียกจำเลยในสำนวนหลังว่า จำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนเป็นใจความขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 100/1 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3, 4, 8 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 83, 91
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (2), 66 วรรคสองและวรรคสาม พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 7, 8 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 และ 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิต และปรับคนละ 1,000,000 บาท ฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนกับฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 7 ปี และปรับคนละ 400,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว คงจำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิต และปรับคนละ 1,400,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์
จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 16
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสาม (2), 127 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป เพียงบทเดียว จำคุก 30 ปี และปรับ 600,000 บาท ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยที่ 2 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดียาเสพติดวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้เป็นยุติว่า ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง เจ้าพนักงานตำรวจกองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา จับกุมนายขวัญชัย พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ด และของกลางอื่นอีกหลายรายการตามบัญชีของกลางคดีอาญา ต่อมาจับกุมนายอดิศรหรือวาย ได้ นายขวัญชัยและนายอดิศรถูกฟ้องคดีต่อศาลและให้การรับสารภาพ ศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ย 39/2563 และ ย 534/2563 ของศาลชั้นต้น ตามลำดับ จำเลยทั้งสองทำงานอยู่ที่สาธารณรัฐเกาหลี และเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 และวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ตามลำดับ ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสองว่า สมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และร่วมกันพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ เมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.045 กรัม ของกลางทั้งหมดศาลมีคำพิพากษาให้ริบแล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ย 39/2563 ของศาลชั้นต้น
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำความผิดกับนายขวัญชัยและนายอดิศรหรือไม่ เห็นว่า แม้นายขวัญชัยจะให้การรับสารภาพต่อร้อยตำรวจเอกเบ็ญจางค์ว่า เมื่อลูกค้าโอนเงินค่าเมทแอมเฟตามีนเข้าบัญชีของนายขวัญชัยแล้ว จำเลยที่ 1 จะใช้เว็บเพจ ภ. โทรศัพท์ให้นายขวัญชัยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ธ. หมายเลขบัญชี 233605xxxx ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบัญชี แต่ก็เป็นพยานบอกเล่าโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยัน จึงไม่มีน้ำหนักรับฟัง ทั้งการติดต่อซื้อขายและรับสั่งเมทแอมเฟตามีนโดยใช้เว็บเพจ ภ. โทรศัพท์ผ่านโปรแกรมเมสเซนเจอร์เป็นเสียงผู้ชาย ซึ่งพยานโจทก์ยืนยันว่าเป็นจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่เป็นผู้หญิง ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การปฏิเสธตลอดมา โดยนำสืบว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 แยกทางกัน เว็บเพจ ภ. ดังกล่าวจำเลยที่ 2 เป็นคนใช้คนเดียว แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้เปิดเว็บเพจ ภ. และเป็นเจ้าของบัญชีธนาคาร ธ. หมายเลขบัญชีดังกล่าวก็ตาม แต่พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาเพียงเท่านี้ยังไม่มีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
สำหรับฎีกาของจำเลยที่ 2 นั้น เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 16 แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประเด็นว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ จึงยุติแล้ว การที่จำเลยที่ 2 กลับมาฎีกาอีกว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดขอให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นฎีกาในประเด็นที่ยุติไปแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แต่ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทความผิดจำเลยที่ 2 ว่าเป็นความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสาม (2) มานั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 ได้บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง หากผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมไม่อาจปรับบทกำหนดโทษตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ได้ คงปรับบทกำหนดโทษได้เพียงมาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติดกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญตามลำดับความร้ายแรง ดังนั้น การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) จึงจะต้องเป็นการกระทำที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้าง อันเป็นการเพิ่มกระจายความรุนแรงของยาเสพติดและทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษไว้สูงถึงประหารชีวิตทำนองเดียวกับทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความเพียงว่า เจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 2 จำนวน 400 เม็ด ในราคา 14,000 บาท เมื่อจับกุมนายขวัญชัยที่นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งแล้วนายขวัญชัยพาไปยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีก 3,600 เม็ด รวม 4,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 40.045 กรัม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่ก่ออันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้างได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสาม (2) แต่ปรากฏพฤติการณ์ว่า ก่อนเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 เคยร่วมกับพวกจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในลักษณะเช่นเดียวกันนี้มาหลายครั้งแล้ว ซึ่งเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนเพื่อแสวงหากำไรเป็นปกติถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 และสมควรแก้ไขโทษเพื่อให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีและกฎหมายที่แก้ไข
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1), 127 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ความผิดฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดและได้มีการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน กับฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า จำคุก 16 ปี และปรับ 600,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า พฤติการณ์เป็นการถูกกลฉ้อฉลถึงขนาดจึงเป็นโมฆียะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีสิทธิบอกล้างบันทึกข้อตกลงได้ เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและระบุเหตุผลแห่งการวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.อนุโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 37 วรรคสอง การอุทธรณ์ทำนองว่า การทำบันทึกข้อตกลงเป็นไปด้วยความสมัครใจ จึงมีผลสมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมายและมิได้ตกเป็นโมฆียะ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและเนื้อหาในประเด็นที่คณะอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัย โดยไม่ปรากฏว่าคณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยขัดต่อวิธีพิจารณาหรือฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เข้าเหตุที่จะอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาพิพาทที่ระบุให้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากสัญญานี้ คู่สัญญาตกลงระงับข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการ ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการ (กรุงเทพมหานคร) จึงเป็นการกำหนดขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการไว้อย่างกว้าง เมื่อผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทให้ผู้คัดค้านชำระเงินประกันผลงานและเงินค่างานงวดสุดท้ายอันเนื่องมาจากการว่าจ้างก่อสร้างตามสัญญาดังกล่าว ซึ่งผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าไม่ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ถือเป็นกรณีมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาพิพาทดังกล่าว จึงอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการที่คณะอนุญาโตตุลาการจะวินิจฉัยได้และไม่ใช่คำชี้ขาดที่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ส่วนประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงว่ามีผลใช้บังคับตามกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อบันทึกข้อตกลงทำขึ้นเนื่องจากผู้ร้องเรียกร้องเงินประกันผลงานและเงินค่างานงวดสุดท้าย ย่อมถือเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องและเกิดขึ้นจากสัญญาจ้างก่อสร้างซึ่งต้องวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างก่อสร้างเช่นเดียวกัน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการและคณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในส่วนบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย ซึ่งเป็นอำนาจในการวินิจฉัยขอบเขตอำนาจของตนรวมถึงความมีอยู่และความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 24
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกผู้ร้องในสำนวนแรกซึ่งเป็นผู้คัดค้านในสำนวนหลังว่า ผู้ร้อง และเรียกผู้คัดค้านในสำนวนแรกซึ่งเป็นผู้ร้องในสำนวนหลังว่า ผู้คัดค้าน
สำนวนแรก ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยให้ผู้คัดค้านชำระเงิน 9,615,070.72 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ปี นับแต่วันที่ 10 มีนาคม 2565 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง และขอให้บังคับผู้คัดค้านรับผิดค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ค่าบริการผู้แทนหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของผู้ร้องที่ชำระไปในชั้นอนุญาโตตุลาการรวมเป็นเงิน 113,663.50 บาท แก่ผู้ร้อง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้ร้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าบริการผู้แทนหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการแทนผู้คัดค้าน
สำนวนหลัง ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 21/2564 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2565 ให้ผู้ร้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าบริการผู้แทนหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการแทนผู้คัดค้าน
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านชำระเงิน 9,615,070.72 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 มีนาคม 2565 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านชำระค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ชั้นอนุญาโตตุลาการ ค่าบริการผู้แทนหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของผู้ร้องที่ชำระไปในชั้นอนุญาโตตุลาการรวมเป็นเงิน 113,663.50 บาท ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน กับให้ผู้คัดค้านใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้องทั้งสองสำนวน โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ให้คืนค่าขึ้นศาลที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเสียเกินมาฝ่ายละ 25,000 บาท แก่ผู้ร้องและผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 ผู้คัดค้านทำสัญญาจ้างกับการไฟฟ้านครหลวงรับจ้างก่อสร้างบ่อพักและงานร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ร่วมกับโครงการก่อสร้างถนนศรีนครินทร์ - ร่มเกล้า (ช่วงที่ 1) กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 ผู้ร้องตกลงรับจ้างก่อสร้างงานดังกล่าวกับผู้คัดค้านตกลงค่าจ้าง 194,796,700 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 13,635,769 บาท รวมเป็นเงิน 208,432,469 บาท โดยมีข้อตกลงว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามสัญญานี้ คู่สัญญาตกลงระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการ (กรุงเทพมหานคร) เป็นผู้ชี้ขาด ผู้ร้องส่งมอบงานงวดสุดท้ายและแจ้งให้ผู้คัดค้านชำระค่าจ้างงวดสุดท้าย 12,716,063.01 บาท แต่ผู้คัดค้านไม่ชำระเงินค่าจ้างและเงินอื่น ๆ ตามที่ผู้ร้องเรียกร้อง ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ผู้ร้องกับผู้คัดค้านทำบันทึกข้อตกลง ภายหลังผู้ร้องมีหนังสือขอบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าว และเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อขอให้มีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินแก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและยื่นคำร้องขอให้คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยขอบอำนาจตามมาตรา 24 คณะอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเห็นควรรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานและจะวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวในประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้ และกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ข้อ 1 ผู้คัดค้านจะต้องชำระเงินประกันผลงานและค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่ผู้ร้องหรือไม่ เพียงใด ข้อ 2 บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านฉบับลงวันที่ 14 มกราคม 2563 มีผลใช้บังคับตามกฎหมายได้หรือไม่ เพียงใด ข้อ 3 ผู้ร้องมีสิทธิเสนอข้อพิพาทนี้ต่อคณะอนุญาโตตุลาการหรือไม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงิน 9,615,070.72 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันที่ได้มีคำชี้ขาด (วันที่ 10 มีนาคม 2565) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านรับผิดชำระค่าใช้จ่ายในชั้นอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าบริการผู้แทนหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการฝ่ายละ 10,000 บาท ตามสำเนาคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 21/2565
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านประการแรกว่า การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี และมิได้ระบุเหตุผลแห่งการวินิจฉัยโดยชัดแจ้ง เนื่องจากคู่พิพาทโต้แย้งกันตามคำเสนอข้อพิพาทและตามคำคัดค้านเฉพาะเพียงประเด็นเดียวว่าบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 14 มกราคม 2563 ตกเป็นโมฆียะเนื่องจากผู้คัดค้านทำกลฉ้อฉลต่อผู้ร้องเพื่อให้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่เท่านั้น คณะอนุญาโตตุลาการจึงมิอาจนำข้อเท็จจริงอื่นที่คู่พิพาทมิได้โต้แย้งในคำเสนอข้อพิพาทและคำคัดค้านมาใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ปรากฏว่าไม่มีส่วนใดเลยในคำชี้ขาดที่วินิจฉัยว่าผู้คัดค้านได้ทำกลฉ้อฉลต่อผู้ร้องอย่างไร และกลฉ้อฉลนั้นถึงขนาดหรือไม่ จึงเป็นคำชี้ขาดที่มิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและส่งผลให้เป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น เห็นว่า ในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทว่า ผู้ร้องทำสัญญาจ้างก่อสร้างกับผู้คัดค้าน ผู้ร้องส่งมอบงานงวดสุดท้ายตามกำหนดและแจ้งให้ผู้คัดค้านชำระค่างานงวดสุดท้าย แต่ผู้คัดค้านแจ้งว่าปิดงบการเงินประจำปีไปแล้วจะขอชำระบางส่วน ส่วนเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายจะชำระในลักษณะเป็นการจ้างงานใหม่ ผู้ร้องหลงเชื่อจึงยินยอมลงชื่อในบันทึกข้อตกลง แต่ผู้คัดค้านนำงานใหม่ไปว่าจ้างบุคคลอื่น การกระทำของผู้คัดค้านเป็นการฉ้อฉลให้ผู้ร้องลงชื่อในบันทึกข้อตกลงซึ่งผู้ร้องได้บอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ขอให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินประกันผลงานและเงินค่างานงวดสุดท้ายแก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านตรวจสอบเอกสารแล้วปรากฏว่ามีแต่เงินประกันผลงานและเงินค่าจ้างค้างชำระเป็นจำนวนตามบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จึงทำบันทึกข้อตกลงโดยผู้ร้องสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินอื่นใดอีก บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการจัดทำขึ้นตามความประสงค์ของคู่สัญญามิได้เกิดจากกลฉ้อฉล และถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดในเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายรวมถึงเงินประกันผลงานที่ผู้ร้องเรียกร้อง และผู้ร้องไม่มีสิทธิเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการเนื่องจากข้อพิพาทไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับสัญญาจ้าง คณะอนุญาโตตุลาการกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยความเห็นชอบของคู่พิพาททั้งสองฝ่าย ดังนี้ ข้อ 1 ผู้คัดค้านจะต้องชำระเงินประกันผลงานและค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่ผู้ร้องหรือไม่ เพียงใด ข้อ 2 บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านฉบับลงวันที่ 14 มกราคม 2563 มีผลใช้บังคับตามกฎหมายได้หรือไม่ เพียงใด และ ข้อ 3 ผู้ร้องมีสิทธิเสนอข้อพิพาทนี้ต่อคณะอนุญาโตตุลาการหรือไม่ ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาพยานหลักฐานและมีคำชี้ขาดวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านยังไม่ได้จ่ายเงินประกันผลงานและเงินค่าจ้างงวดสุดท้าย และวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทข้อ 2 ว่า หลังจากที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงแล้ว กรรมการผู้ร้องได้โทรศัพท์พูดคุยกับทนายความของผู้คัดค้าน วิศวกรของผู้คัดค้าน และผู้จัดการโครงการ สอบถามเกี่ยวกับเรื่องเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายตลอดมา และต่อมาเมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านนำงานใหม่ไปว่าจ้างผู้อื่น ผู้ร้องจึงมีหนังสือขอบอกล้างข้อตกลง พยานหลักฐานของผู้ร้องมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า ผู้ร้องมิได้มีเจตนาสละสิทธิที่จะไม่เรียกร้องค่าจ้าง ค่างานเพิ่มเติม ค่าเสียหาย หรือเงินอื่นใดตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ที่ผู้ร้องลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงเนื่องจากผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นแบบฟอร์มเพื่อใช้ในการปิดบัญชี และผู้ร้องต้องการรับเงินเป็นเงินประกันผลงานและค่าจ้างบางส่วนเพื่อนำไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ซึ่งผู้ร้องนัดหมายเอาไว้ล่วงหน้า อีกทั้งผู้ร้องยังเชื่อใจว่าผู้คัดค้านจะนำงานใหม่มาว่าจ้าง และหากผู้ร้องไม่ยินยอมลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลง ผู้คัดค้านจะไม่ยินยอมจ่ายเงินใด ๆ เมื่อผู้ร้องบอกล้างข้อตกลงดังกล่าว ข้อตกลงในส่วนที่อ้างว่าผู้ร้องสละสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างหรือเงินอื่นใดจึงไม่มีผลใช้บังคับ และมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินค่าจ้างและเงินประกันผลงานรวมเป็นเงิน 9,615,070.72 บาท แก่ผู้ร้อง จึงเป็นกรณีที่คณะอนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักจากพยานหลักฐานทั้งปวงแล้ววินิจฉัยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวที่ปรากฏในคำชี้ขาดถือเป็นการถูกกลฉ้อฉลถึงขนาด จึงเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 เป็นเหตุให้ผู้ร้องมีสิทธิบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ คำชี้ขาดในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและระบุเหตุผลแห่งการวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 37 วรรคสอง การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านทำนองว่า การทำบันทึกข้อตกลงเป็นไปด้วยความสมัครใจอันเกิดจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองและมีอำนาจเจรจาต่อรองที่ทัดเทียมเสมอกัน บันทึกดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมายและมิได้ตกเป็นโมฆียะนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและเนื้อหาในประเด็นที่คณะอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัย โดยไม่ปรากฏว่าคณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยขัดต่อวิธีพิจารณาหรือฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เข้าเหตุที่จะอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านประการต่อมาว่า คำชี้ขาดเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทที่ไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ หรือเป็นคำวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาท และเป็นคำชี้ขาดที่ไม่สามารถจะระงับโดยการอนุญาโตตุลาการหรือไม่นั้น เมื่อพิเคราะห์ตามสัญญาจ้างก่อสร้าง ข้อ 25 ระบุให้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามสัญญานี้ คู่สัญญาตกลงระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการ (กรุงเทพมหานคร) เป็นผู้ชี้ขาด ตามสัญญาดังกล่าวจึงกำหนดขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการไว้อย่างกว้าง เมื่อผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทให้ผู้คัดค้านชำระเงินประกันผลงานและเงินค่างานงวดสุดท้ายอันเนื่องมาจากการว่าจ้างก่อสร้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างดังกล่าว ซึ่งผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าไม่ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ถือเป็นกรณีมีข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามสัญญาจ้างก่อสร้างดังกล่าว จึงอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการที่คณะอนุญาโตตุลาการจะวินิจฉัยได้และไม่ใช่คำชี้ขาดที่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในข้อ 2 เกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงว่ามีผลใช้บังคับตามกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อบันทึกข้อตกลงทำขึ้นเนื่องจากผู้ร้องเรียกร้องเงินค่างานงวดสุดท้ายและเงินประกันผลงานตามสัญญาจ้างก่อสร้าง ย่อมถือเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องและเกิดขึ้นจากสัญญาจ้างก่อสร้างซึ่งต้องวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างก่อสร้างเช่นเดียวกัน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการและคณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในส่วนบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย ซึ่งเป็นอำนาจในการวินิจฉัยขอบเขตอำนาจของตนรวมถึงความมีอยู่และความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 24 การที่คณะอนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจพิจารณาจากพยานหลักฐานแล้วว่าผู้ร้องไม่มีเจตนาจะทำบันทึกข้อตกลงและได้บอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว การที่ผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านจ่ายเงินประกันผลงานและค่าจ้างงวดสุดท้ายจึงเป็นข้อพิพาทตามสัญญาจ้างซึ่งกำหนดให้ระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องจึงมีสิทธิเสนอข้อพิพาทนี้ต่อคณะอนุญาโตตุลาการได้ คำชี้ขาดดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทซึ่งอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการและไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ จึงชอบด้วยกฎหมาย การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการมานั้น จึงชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
พิพากษายืน ให้ผู้คัดค้านใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์แทนผู้ร้อง โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท
การที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า พฤติการณ์เป็นการถูกกลฉ้อฉลถึงขนาดจึงเป็นโมฆียะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีสิทธิบอกล้างบันทึกข้อตกลงได้ เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและระบุเหตุผลแห่งการวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.อนุโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 37 วรรคสอง การอุทธรณ์ทำนองว่า การทำบันทึกข้อตกลงเป็นไปด้วยความสมัครใจ จึงมีผลสมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมายและมิได้ตกเป็นโมฆียะ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและเนื้อหาในประเด็นที่คณะอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัย โดยไม่ปรากฏว่าคณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยขัดต่อวิธีพิจารณาหรือฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เข้าเหตุที่จะอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาพิพาทที่ระบุให้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากสัญญานี้ คู่สัญญาตกลงระงับข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการ ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการ (กรุงเทพมหานคร) จึงเป็นการกำหนดขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการไว้อย่างกว้าง เมื่อผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทให้ผู้คัดค้านชำระเงินประกันผลงานและเงินค่างานงวดสุดท้ายอันเนื่องมาจากการว่าจ้างก่อสร้างตามสัญญาดังกล่าว ซึ่งผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าไม่ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ถือเป็นกรณีมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาพิพาทดังกล่าว จึงอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการที่คณะอนุญาโตตุลาการจะวินิจฉัยได้และไม่ใช่คำชี้ขาดที่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ส่วนประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงว่ามีผลใช้บังคับตามกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อบันทึกข้อตกลงทำขึ้นเนื่องจากผู้ร้องเรียกร้องเงินประกันผลงานและเงินค่างานงวดสุดท้าย ย่อมถือเป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องและเกิดขึ้นจากสัญญาจ้างก่อสร้างซึ่งต้องวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างก่อสร้างเช่นเดียวกัน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการและคณะอนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในส่วนบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย ซึ่งเป็นอำนาจในการวินิจฉัยขอบเขตอำนาจของตนรวมถึงความมีอยู่และความสมบูรณ์ของสัญญาอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 24
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกผู้ร้องในสำนวนแรกซึ่งเป็นผู้คัดค้านในสำนวนหลังว่า ผู้ร้อง และเรียกผู้คัดค้านในสำนวนแรกซึ่งเป็นผู้ร้องในสำนวนหลังว่า ผู้คัดค้าน
สำนวนแรก ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยให้ผู้คัดค้านชำระเงิน 9,615,070.72 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ปี นับแต่วันที่ 10 มีนาคม 2565 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง และขอให้บังคับผู้คัดค้านรับผิดค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ค่าบริการผู้แทนหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของผู้ร้องที่ชำระไปในชั้นอนุญาโตตุลาการรวมเป็นเงิน 113,663.50 บาท แก่ผู้ร้อง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้ร้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าบริการผู้แทนหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการแทนผู้คัดค้าน
สำนวนหลัง ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 21/2564 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2565 ให้ผู้ร้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นอนุญาโตตุลาการ ค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการ และค่าบริการผู้แทนหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการแทนผู้คัดค้าน
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านชำระเงิน 9,615,070.72 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 มีนาคม 2565 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านชำระค่าป่วยการอนุญาโตตุลาการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ชั้นอนุญาโตตุลาการ ค่าบริการผู้แทนหรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของผู้ร้องที่ชำระไปในชั้นอนุญาโตตุลาการรวมเป็นเงิน 113,663.50 บาท ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน กับให้ผู้คัดค้านใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้องทั้งสองสำนวน โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท ให้คืนค่าขึ้นศาลที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเสียเกินมาฝ่ายละ 25,000 บาท แก่ผู้ร้องและผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 ผู้คัดค้านทำสัญญาจ้างกับการไฟฟ้านครหลวงรับจ้างก่อสร้างบ่อพักและงานร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ร่วมกับโครงการก่อสร้างถนนศรีนครินทร์ - ร่มเกล้า (ช่วงที่ 1) กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 ผู้ร้องตกลงรับจ้างก่อสร้างงานดังกล่าวกับผู้คัดค้านตกลงค่าจ้าง 194,796,700 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 13,635,769 บาท รวมเป็นเงิน 208,432,469 บาท โดยมีข้อตกลงว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามสัญญานี้ คู่สัญญาตกลงระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ณ สถาบันอนุญาโตตุลาการ (กรุงเทพมหานคร) เป็นผู้ชี้ขาด ผู้ร้องส่งมอบงานงวดสุดท้ายและแจ้งให้ผู้คัดค้านชำระค่าจ้างงวดสุดท้าย 12,716,063.01 บาท แต่ผู้คัดค้านไม่ชำระเงินค่าจ้างและเงินอื่น ๆ ตามที่ผู้ร้องเรียกร้อง ต่อมาเมื่อวันที่ 1