จำเลยสร้างบ้านจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจึงทราบว่าบ้านได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1311
จำเลยสร้างบ้านจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจึงทราบว่าบ้านได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1311
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าย่อมกระทำได้โดยทำการตกลงและส่งมอบการครอบครองให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ เมื่อจำเลยและสามีตกลงขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้แก่โจทก์และสามี พร้อมทั้งแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และสามี โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า นายสมกับจำเลย ซึ่งเป็นสามีภริยากันและมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)เลขที่ 732 ได้ร่วมกันขายที่ดินบางส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ดินดังกล่าวให้แก่นายทองสูรย์กับโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยากันหลายครั้ง รวมเนื้อที่ดินประมาณ 3 ไร่ จำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์แล้ว โจทก์ขอให้จำเลยแบ่งแยกและจดทะเบียนที่ดินแต่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ขาย และบุกรุกเอาที่นาโจทก์เนื้อที่ 2 งานขอให้พิพากษาว่าที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 732 เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เป็นของโจทก์ ให้จำเลยจดทะเบียนโอนแบ่งแยกให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง
จำเลยให้การว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)เลขที่ 732 เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว จำเลยและนายสมไม่เคยแบ่งขายที่ดินให้โจทก์หรือนายทองสูรย์แต่อย่างใด สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาปลอม จำเลยกู้ยืมเงินนายทองสูรย์หลายครั้ง และมอบที่ดินให้นายทองสูรย์ทำกินต่างดอกเบี้ยรวมเนื้อที่ดิน 1 ไร่ 2 งานเศษมิใช่ 3 ไร่เศษ ตามฟ้องโจทก์ จำเลยนำเงินที่กู้ยืมไปชำระโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้อ้างว่าจำเลยได้ขายที่ดินให้แก่นายทองสูรย์แล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) เลขที่ 732 เนื้อที่โดยประมาณ 2 ไร่ 89 ตารางวาโจทก์มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.8 นั้นโจทก์และสามีเป็นผู้ตกลงซื้อจากจำเลยและสามีจำเลย ดังนั้นในสัญญาซื้อขายดังกล่าวฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลงชื่อแต่เพียงลำพังคนเดียวก็ได้ ไม่ใช่สิ่งผิดปกติ เพราะที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าการซื้อขายย่อมกระทำได้โดยทำการตกลงกันและส่งมอบการครอบครองให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ ซึ่งคดีนี้ก็ปรากฏว่า จำเลยและสามีได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และสามี พร้อมทั้งแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยการส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และสามีโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าย่อมกระทำได้โดยทำการตกลงและส่งมอบการครอบครองให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ เมื่อจำเลยและสามีตกลงขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้แก่โจทก์และสามี พร้อมทั้งแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และสามี โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า นายสมกับจำเลย ซึ่งเป็นสามีภริยากันและมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)เลขที่ 732 ได้ร่วมกันขายที่ดินบางส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ดินดังกล่าวให้แก่นายทองสูรย์กับโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยากันหลายครั้ง รวมเนื้อที่ดินประมาณ 3 ไร่ จำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์แล้ว โจทก์ขอให้จำเลยแบ่งแยกและจดทะเบียนที่ดินแต่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ขาย และบุกรุกเอาที่นาโจทก์เนื้อที่ 2 งานขอให้พิพากษาว่าที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 732 เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เป็นของโจทก์ ให้จำเลยจดทะเบียนโอนแบ่งแยกให้โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง
จำเลยให้การว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)เลขที่ 732 เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว จำเลยและนายสมไม่เคยแบ่งขายที่ดินให้โจทก์หรือนายทองสูรย์แต่อย่างใด สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาปลอม จำเลยกู้ยืมเงินนายทองสูรย์หลายครั้ง และมอบที่ดินให้นายทองสูรย์ทำกินต่างดอกเบี้ยรวมเนื้อที่ดิน 1 ไร่ 2 งานเศษมิใช่ 3 ไร่เศษ ตามฟ้องโจทก์ จำเลยนำเงินที่กู้ยืมไปชำระโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้อ้างว่าจำเลยได้ขายที่ดินให้แก่นายทองสูรย์แล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) เลขที่ 732 เนื้อที่โดยประมาณ 2 ไร่ 89 ตารางวาโจทก์มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.8 นั้นโจทก์และสามีเป็นผู้ตกลงซื้อจากจำเลยและสามีจำเลย ดังนั้นในสัญญาซื้อขายดังกล่าวฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลงชื่อแต่เพียงลำพังคนเดียวก็ได้ ไม่ใช่สิ่งผิดปกติ เพราะที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าการซื้อขายย่อมกระทำได้โดยทำการตกลงกันและส่งมอบการครอบครองให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ ซึ่งคดีนี้ก็ปรากฏว่า จำเลยและสามีได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และสามี พร้อมทั้งแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทโดยการส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และสามีโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าย่อมกระทำได้โดยทำการตกลงและส่งมอบการครอบครองให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ เมื่อจำเลยและสามีตกลงขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้แก่โจทก์และสามี พร้อมทั้งแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และสามี โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าย่อมกระทำได้โดยทำการตกลงและส่งมอบการครอบครองให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ เมื่อจำเลยและสามีตกลงขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้แก่โจทก์และสามี พร้อมทั้งแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และสามี โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี หญิงมีสามีฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีก็เฉพาะแต่การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสคงให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าหนี้ตามฟ้องเป็นสินสมรสจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำให้การของจำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ต้องฟังว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามีก่อน
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2519 ถึงวันที่9 กุมภาพันธ์ 2532 นางวิไลวรรณ ภานนท์ ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ต่อมานางวิไลวรรณตายในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางวิไลวรรณต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 112,200 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามีไม่มีอำนาจฟ้องนางวิไลวรรณไม่มีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทและไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ และยื่นหนังสือยินยอมของพันจ่าอากาศเอกบุญปลูกใหม่โพธิ์กลาง สามีให้ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดี ทั้งไม่ได้แก้ไขเรื่องความสามารถก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 ที่ได้ตรวจชำระหนี้ใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งบังคับใช้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2533 นั้นบัญญัติว่า"นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน" และมาตรา 1477 บัญญัติว่า "อำนาจจัดการสินสมรสนั้น รวมถึงอำนาจจำหน่าย จำนำ จำนองหรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งสินสมรสและอำนาจฟ้องและต่อสู้คดีเกี่ยวแก่สินสมรสนั้นด้วย" เห็นว่ากฎหมายหาได้บัญญัติจำกัดสิทธิหญิงซึ่งมีสามีให้เป็นผู้ไร้ความสามารถในการฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทุกกรณีไม่ หากแต่หญิงซึ่งมีสามีฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกัน ตามบทกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ในคดีนี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับสามีต้องจัดการร่วมกันแต่ประการใด คงให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น กรณีไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าหนี้ตามฟ้องเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และสามีต้องจัดการร่วมกันนั้น จึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำให้การของจำเลย และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ จึงต้องฟังว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากสามีก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นว่านางวิไลวรรณกู้เงินจากโจทก์หรือไม่แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีนั้นชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี หญิงมีสามีฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีก็เฉพาะแต่การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสคงให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าหนี้ตามฟ้องเป็นสินสมรสจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำให้การของจำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ต้องฟังว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามีก่อน
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2519 ถึงวันที่9 กุมภาพันธ์ 2532 นางวิไลวรรณ ภานนท์ ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ต่อมานางวิไลวรรณตายในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางวิไลวรรณต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 112,200 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามีไม่มีอำนาจฟ้องนางวิไลวรรณไม่มีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทและไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ และยื่นหนังสือยินยอมของพันจ่าอากาศเอกบุญปลูกใหม่โพธิ์กลาง สามีให้ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีให้ฟ้องคดี ทั้งไม่ได้แก้ไขเรื่องความสามารถก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 ที่ได้ตรวจชำระหนี้ใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งบังคับใช้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2533 นั้นบัญญัติว่า"นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน" และมาตรา 1477 บัญญัติว่า "อำนาจจัดการสินสมรสนั้น รวมถึงอำนาจจำหน่าย จำนำ จำนองหรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งสินสมรสและอำนาจฟ้องและต่อสู้คดีเกี่ยวแก่สินสมรสนั้นด้วย" เห็นว่ากฎหมายหาได้บัญญัติจำกัดสิทธิหญิงซึ่งมีสามีให้เป็นผู้ไร้ความสามารถในการฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินทุกกรณีไม่ หากแต่หญิงซึ่งมีสามีฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากสามีก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกัน ตามบทกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ในคดีนี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับสามีต้องจัดการร่วมกันแต่ประการใด คงให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น กรณีไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าหนี้ตามฟ้องเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และสามีต้องจัดการร่วมกันนั้น จึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำให้การของจำเลย และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ จึงต้องฟังว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากสามีก่อน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นว่านางวิไลวรรณกู้เงินจากโจทก์หรือไม่แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีนั้นชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
คดีนี้จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามีไม่มีอำนาจฟ้อง ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่จำเลยระบุเหตุแห่งการปฏิเสธเพียงว่าเพราะการฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากสามีเท่านั้นไม่ได้ระบุให้ชัดลงไปอีกว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับสินสมรสแต่ศาลชั้นต้นคงพิจารณาแล้วเห็นว่าการที่จำเลยยื่นคำให้การเพียงเท่านี้ จำเลยคงถือว่าการฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสแล้ว จึงได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าหนี้ตามฟ้องคดีนี้เป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และสามีต้องจัดการร่วมกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากสามี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง อย่างไรก็ตามคดีนี้ศาลฎีกาได้นำเหตุผลอันหนึ่งมาเป็นข้อข้อวินิจฉัย นั่นคือเมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476,1477 เดิม แล้ว กฎหมายหาได้บัญญัติจำกัดสิทธิหญิงมีสามีให้เป็นผู้ไร้ความสามารถในการฟ้องหรือต่อสู้คดีกับทรัพย์สินทุกกรณีไม่ นั่นคือ ศาลฎีกาเห็นว่า หญิงมีสามีนั้นจะฟ้องคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามีย่อมจะกระทำได้ ดังนั้น ที่จำเลยไม่ได้ให้การชัดแจ้งว่า การฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับสินสมรสซึ่งทั้งสามีและภริยาจะต้องเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน ประเด็นข้อโต้เถียงที่ว่าทรัพย์สินในคดีนี้เป็นสินสมรสหรือไม่ จึงไม่มี ดังนั้นโจทก์เป็นหญิงมีสามีฟ้องในคดีนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี จึงอาจเป็นการฟ้องคดีทรัพย์สินนอกเหนือจากคดีที่เกี่ยวกับสินสมรสที่ต้องจัดการร่วมกัน ย่อมเป็นไปได้และกรณีเช่นนั้น แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้รับความยินยอมจากสามีโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง พฤตินัยทัศนัยพิทักษ์กุล
คำขอเป็นลูกค้าประเภทขายลดเช็คของจำเลยที่ 1 ที่มีข้อความว่าลูกค้า (จำเลยที่ 1) ทราบดีว่าบริษัท (โจทก์) จะรับซื้อลดเช็คเฉพาะเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าเท่านั้นถ้าลูกค้าจะนำเช็คอื่น ๆ นอกจากเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้ามาขายลดแก่บริษัทลูกค้ามีหน้าที่ต้องแถลงความจริงเป็นหนังสือให้บริษัททราบก่อน นั้น เป็นคำขอที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์จะรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1ได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้า แต่มิได้หมายความว่า โจทก์จะรับซื้อลดเช็คหรือจำเลยที่ 1 จะขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเองมิได้เพียงแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบก่อนเพื่อโจทก์จะได้ใช้ดุลพินิจว่า สมควรรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้ออกเองหรือไม่ การที่โจทก์รับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเอง จึงไม่ขัดต่อเจตนาของจำเลยที่ 1 ตามคำขอดังกล่าวและเกิดเป็นสัญญาขายลดเช็คขึ้น เมื่อโจทก์นำเช็คที่รับซื้อลดจากจำเลยที่ 1 ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยที่ 4ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ทำค่าขอเป็นลูกค้าประเภทขายลดเช็คกับโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000บาท โดยตกลงว่าจะนำเช็คมาขายลดแก่โจทก์เป็นคราว ๆ ไป หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี มีจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คลงวันที่ 8, 19, 29พฤษภาคม 2532 และวันที่ 6, 12 มิถุนายน 2532 จำนวนเงินฉบับละ150,000 บาท 100,000 บาท 150,000 บาท 100,000 บาท และ100,000 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงิน 600,000 บาท มาขายลดแก่โจทก์จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้ว เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็ค ปรากฎว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีในต้นเงินจำนวน 600,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดตามเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ทั้ง 5 ฉบับ ตามฟ้องโจทก์เพราะตามสัญญาขายลดเช็คระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระบุว่า "ลูกค้าทราบดีว่าบริษัทจะรับซื้อลดเช็คเฉพาะเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าเท่านั้น ถ้าจะนำเช็คอื่น ๆ นอกจากเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้ามาขายลดแก่บริษัท ลูกค้ามีหน้าที่ต้องแถลงความจริงเป็นหนังสือให้บริษัททราบก่อน" ดังนั้นการที่โจทก์รับซื้อเช็คพิพาททั้ง 5 ฉบับ ซึ่งเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 1จึงเป็นการตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระต้นเงินตามเช็คพิพาททั้ง 5 ฉบับ รวม 600,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ในต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับนับแต่วันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับคือในต้นเงินจำนวน 150,000 บาท นับแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2532ในต้นเงินจำนวน 100,000 บาท นับแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2532ในต้นเงินจำนวน 150,000 บาท นับแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2532ในต้นเงินจำนวน 100,000 บาท นับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2532และในต้นเงินจำนวน 100,000 บาท นับแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2532เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ดอกเบี้ยรวมกันคิดถึงวันฟ้องต้องไม่เกิน 38,337 บาท
จำเลยที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเป็นลูกค้าประเภทขายลดเช็คต่อโจทก์ ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันและตกลงรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ครวม 5 ฉบับ สั่งจ่ายเงินล่วงหน้ารวมเป็นเงิน 600,000 บาท นำมาขายลดแก่โจทก์ เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 4 มีว่าจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เห็นว่าตามคำขอเป็นลูกค้าประเภทขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1 ทำต่อโจทก์ ข้อ 3 ระบุว่าลูกค้า (จำเลยที่ 1)ทราบดีว่าบริษัท (โจทก์) จะรับซื้อลดเช็คเฉพาะที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าเท่านั้น ถ้าลูกค้าจะนำเช็คอื่น ๆนอกจากเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าขายลดแก่บริษัทลูกค้ามีหน้าที่ต้องแถลงความจริงเป็นหนังสือให้บริษัททราบก่อน นั้นเป็นคำขอที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์จะรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1 ได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าแต่มิได้หมายความว่าโจทก์จะรับซื้อลดเช็คหรือจำเลยที่ 1 จะขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเองมิได้ เพียงแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบก่อนเพื่อโจทก์จะได้ใช้ดุลพินิจว่าสมควรรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเองหรือไม่ เมื่อโจทก์รับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเอง จึงไม่ขัดต่อเจตนาของจำเลยที่ 1 ตามคำขอดังกล่าวและเกิดเป็นสัญญาขายลดเช็คขึ้นเมื่อโจทก์นำเช็คที่รับซื้อลดจากจำเลยที่ 1 ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
พิพากษายืน
คำขอเป็นลูกค้าประเภทขายลดเช็คของจำเลยที่ 1 ที่มีข้อความว่าลูกค้า (จำเลยที่ 1) ทราบดีว่าบริษัท (โจทก์) จะรับซื้อลดเช็คเฉพาะเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าเท่านั้นถ้าลูกค้าจะนำเช็คอื่น ๆ นอกจากเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้ามาขายลดแก่บริษัทลูกค้ามีหน้าที่ต้องแถลงความจริงเป็นหนังสือให้บริษัททราบก่อน นั้น เป็นคำขอที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์จะรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1ได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้า แต่มิได้หมายความว่า โจทก์จะรับซื้อลดเช็คหรือจำเลยที่ 1 จะขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเองมิได้เพียงแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบก่อนเพื่อโจทก์จะได้ใช้ดุลพินิจว่า สมควรรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้ออกเองหรือไม่ การที่โจทก์รับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเอง จึงไม่ขัดต่อเจตนาของจำเลยที่ 1 ตามคำขอดังกล่าวและเกิดเป็นสัญญาขายลดเช็คขึ้น เมื่อโจทก์นำเช็คที่รับซื้อลดจากจำเลยที่ 1 ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยที่ 4ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ทำค่าขอเป็นลูกค้าประเภทขายลดเช็คกับโจทก์ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000บาท โดยตกลงว่าจะนำเช็คมาขายลดแก่โจทก์เป็นคราว ๆ ไป หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี มีจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คลงวันที่ 8, 19, 29พฤษภาคม 2532 และวันที่ 6, 12 มิถุนายน 2532 จำนวนเงินฉบับละ150,000 บาท 100,000 บาท 150,000 บาท 100,000 บาท และ100,000 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงิน 600,000 บาท มาขายลดแก่โจทก์จำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้ว เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็ค ปรากฎว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีในต้นเงินจำนวน 600,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดตามเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ทั้ง 5 ฉบับ ตามฟ้องโจทก์เพราะตามสัญญาขายลดเช็คระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระบุว่า "ลูกค้าทราบดีว่าบริษัทจะรับซื้อลดเช็คเฉพาะเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าเท่านั้น ถ้าจะนำเช็คอื่น ๆ นอกจากเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้ามาขายลดแก่บริษัท ลูกค้ามีหน้าที่ต้องแถลงความจริงเป็นหนังสือให้บริษัททราบก่อน" ดังนั้นการที่โจทก์รับซื้อเช็คพิพาททั้ง 5 ฉบับ ซึ่งเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 1จึงเป็นการตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระต้นเงินตามเช็คพิพาททั้ง 5 ฉบับ รวม 600,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ในต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับนับแต่วันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับคือในต้นเงินจำนวน 150,000 บาท นับแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2532ในต้นเงินจำนวน 100,000 บาท นับแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2532ในต้นเงินจำนวน 150,000 บาท นับแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2532ในต้นเงินจำนวน 100,000 บาท นับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2532และในต้นเงินจำนวน 100,000 บาท นับแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2532เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ดอกเบี้ยรวมกันคิดถึงวันฟ้องต้องไม่เกิน 38,337 บาท
จำเลยที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอเป็นลูกค้าประเภทขายลดเช็คต่อโจทก์ ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันและตกลงรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ครวม 5 ฉบับ สั่งจ่ายเงินล่วงหน้ารวมเป็นเงิน 600,000 บาท นำมาขายลดแก่โจทก์ เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 4 มีว่าจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เห็นว่าตามคำขอเป็นลูกค้าประเภทขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1 ทำต่อโจทก์ ข้อ 3 ระบุว่าลูกค้า (จำเลยที่ 1)ทราบดีว่าบริษัท (โจทก์) จะรับซื้อลดเช็คเฉพาะที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าเท่านั้น ถ้าลูกค้าจะนำเช็คอื่น ๆนอกจากเช็คที่ลูกค้าได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าขายลดแก่บริษัทลูกค้ามีหน้าที่ต้องแถลงความจริงเป็นหนังสือให้บริษัททราบก่อน นั้นเป็นคำขอที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนาต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์จะรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1 ได้มาจากการชำระหนี้ทางการค้าแต่มิได้หมายความว่าโจทก์จะรับซื้อลดเช็คหรือจำเลยที่ 1 จะขายลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเองมิได้ เพียงแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบก่อนเพื่อโจทก์จะได้ใช้ดุลพินิจว่าสมควรรับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเองหรือไม่ เมื่อโจทก์รับซื้อลดเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเอง จึงไม่ขัดต่อเจตนาของจำเลยที่ 1 ตามคำขอดังกล่าวและเกิดเป็นสัญญาขายลดเช็คขึ้นเมื่อโจทก์นำเช็คที่รับซื้อลดจากจำเลยที่ 1 ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
พิพากษายืน
จำเลยขับรถพุ่งชนและทับไปบนร่างของผู้ตาย ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทันที จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียง จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย อันจะทำให้ได้รับโทษหนักขึ้นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 และ 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรกเท่านั้น และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้รถของจำเลยพุ่งเข้าเฉี่ยวชนรถยนต์กระบะได้รับความเสียหายทั้งสองคัน แล้วรถของจำเลยยังพุ่งชนและทับไปบนร่างของนางเภาไรย์ ทำให้นางเภาไรย์ถึงแก่ความตายในทันทีหลังเกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่นได้ทิ้งรถหลบหนีไป ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงในทันทีขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 91 ที่แก้ไขแล้วพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160ที่แก้ไขแล้ว
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43, 157 เป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 6 ปีกระทงหนึ่ง และมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78, 160 วรรคสอง จำคุก 2 เดือน อีกกระทงหนึ่ง รวมจำคุก6 ปี 2 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี 1 เดือนไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ
จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษหรือลงโทษสถานเบา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยประการแรกว่า มีเหตุสมควรกำหนดโทษจำเลยให้น้อยลงหรือไม่ เห็นว่าสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำร้องขอฝากขังและคำฟ้องโจทก์ ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุการจราจรอยู่ในภาวะติดขัดอย่างมาก จำเลยขับรถเร็วเนื่องจากเจ้าพนักงานจราจรเปิดช่องเดินรถพิเศษเพื่อระบายรถที่ติดขัด ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ขึ้น เป็นพฤติการณ์พิเศษที่น่าเห็นใจจำเลย สมควรกำหนดโทษจำเลยในข้อหานี้ให้น้อยลง ส่วนความผิดฐานไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 วรรคสอง มานั้น ปรากฏตามคำฟ้องว่าการที่จำเลยขับรถพุ่งชนและทับไปบนร่างของผู้ตาย ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทันที จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย อันจะทำให้ได้รับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา160 วรรคแรก เท่านั้น และการที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 ปัญหาต่อไปมีว่าสมควรรอการลงโทษจำเลยหรือไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติว่าผู้เสียหายในคดีนี้ทุกคนได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจ และไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไปและจำเลยขับรถมานานประมาณ 10 ปี ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนทั้งในสำนวนนี้ปรากฏว่าจำเลยต้องขังมานานครึ่งปีเศษพอหลาบจำแล้วการให้โอกาสแก่จำเลยได้กลับตัวเป็นพลเมืองดีจักเป็นประโยชน์กว่าจึงสมควรรอการลงโทษจำเลย ฎีกาจำเลยฟังขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 วรรคแรก จำคุก 1 เดือน สำหรับโทษในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ให้จำคุก 3 ปี รวมจำคุก3 ปี 1 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาของศาล ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุกจำเลยมีกำหนด 1 ปี 6 เดือน 15 วัน ให้รอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มีกำหนด 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
จำเลยขับรถพุ่งชนและทับไปบนร่างของผู้ตาย ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทันที จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียง จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย อันจะทำให้ได้รับโทษหนักขึ้นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 และ 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรกเท่านั้น และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้รถของจำเลยพุ่งเข้าเฉี่ยวชนรถยนต์กระบะได้รับความเสียหายทั้งสองคัน แล้วรถของจำเลยยังพุ่งชนและทับไปบนร่างของนางเภาไรย์ ทำให้นางเภาไรย์ถึงแก่ความตายในทันทีหลังเกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่นได้ทิ้งรถหลบหนีไป ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงในทันทีขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 91 ที่แก้ไขแล้วพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 78, 157, 160ที่แก้ไขแล้ว
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43, 157 เป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 6 ปีกระทงหนึ่ง และมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78, 160 วรรคสอง จำคุก 2 เดือน อีกกระทงหนึ่ง รวมจำคุก6 ปี 2 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี 1 เดือนไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษ
จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษหรือลงโทษสถานเบา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยประการแรกว่า มีเหตุสมควรกำหนดโทษจำเลยให้น้อยลงหรือไม่ เห็นว่าสำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 นั้น ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำร้องขอฝากขังและคำฟ้องโจทก์ ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุการจราจรอยู่ในภาวะติดขัดอย่างมาก จำเลยขับรถเร็วเนื่องจากเจ้าพนักงานจราจรเปิดช่องเดินรถพิเศษเพื่อระบายรถที่ติดขัด ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ขึ้น เป็นพฤติการณ์พิเศษที่น่าเห็นใจจำเลย สมควรกำหนดโทษจำเลยในข้อหานี้ให้น้อยลง ส่วนความผิดฐานไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 วรรคสอง มานั้น ปรากฏตามคำฟ้องว่าการที่จำเลยขับรถพุ่งชนและทับไปบนร่างของผู้ตาย ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทันที จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย อันจะทำให้ได้รับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา160 วรรคแรก เท่านั้น และการที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 ปัญหาต่อไปมีว่าสมควรรอการลงโทษจำเลยหรือไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติว่าผู้เสียหายในคดีนี้ทุกคนได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจ และไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไปและจำเลยขับรถมานานประมาณ 10 ปี ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนทั้งในสำนวนนี้ปรากฏว่าจำเลยต้องขังมานานครึ่งปีเศษพอหลาบจำแล้วการให้โอกาสแก่จำเลยได้กลับตัวเป็นพลเมืองดีจักเป็นประโยชน์กว่าจึงสมควรรอการลงโทษจำเลย ฎีกาจำเลยฟังขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 78, 160 วรรคแรก จำคุก 1 เดือน สำหรับโทษในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ให้จำคุก 3 ปี รวมจำคุก3 ปี 1 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาของศาล ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้วคงจำคุกจำเลยมีกำหนด 1 ปี 6 เดือน 15 วัน ให้รอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มีกำหนด 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
บ้านพิพาทต่อเติมออกไปจากบ้านผู้ร้อง เพื่อใช้เป็นเรือนหอระหว่างจำเลยกับบุตรของผู้ร้อง โดยใช้เลขที่บ้านเดียวกัน และสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นของผู้ร้อง และพยานโจทก์เบิกความรับข้อเท็จจริงว่าตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงยอมให้บุตรสาวแต่งงานดังนั้นเรือนหอส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งตกได้แก่ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะยึดมาบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงขอให้ปล่อยได้
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านเลขที่ 13/1 หมู่ที่ 2 ตำบลไกรใน อำเภอกงไกรลาศจังหวัดสุโขทัย ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า บ้านเลขที่ 13/1 ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์สินของผู้ร้องที่สร้างมาประมาณ 5 ปี และผู้ร้องอยู่อาศัยบ้านหลังดังกล่าวตลอดมา เมื่อ พ.ศ. 2527 จำเลยแต่งงานกับบุตรสาวของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต่อเติมบ้านบางส่วนให้จำเลยและบุตรสาวอาศัยอยู่ด้วยกัน ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์ให้การว่า บ้านที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นของจำเลย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2527 จำเลยแต่งงานกับบุตรสาวผู้ร้องจำเลยปลูกบ้านหลังดังกล่าวเป็นเรือนหออยู่อาศัยกับภริยาในที่ดินของผู้ร้องโดยผู้ร้องยินยอมให้ปลูกสร้างลงในที่ดินได้ และปัจจุบันจำเลยก็อาศัยอยู่บ้านเรือนดังกล่าว ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การสร้างบ้านพิพาทเป็นการต่อเติมออกไปจากบ้านของผู้ร้อง โดยทำการต่อเติมเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2527และใช้เลขที่บ้านเดียวกันคือเลขที่ 13/1 หมู่ที่ 2 ซึ่งตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย ร.1 ระบุว่าเป็นบ้านของผู้ร้องในการสู่ขอบุตรสาวผู้ร้องผู้ร้องเรียกทอง 2 บาท และเรือนหอ 1 หลังผู้ร้องให้สร้างเรือนหอต่อจากบ้านผู้ร้องไป ค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยแต่งงานนั้นใช้ไปประมาณ 60,000 บาทเศษ เงินดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์ที่ช่วยออกให้จำเลย ซึ่งตามประเพณีเรือนหอนั้นสร้างให้เพื่อตอบแทนที่พ่อแม่ฝ่ายหญิงให้ลูกสาวแต่งงาน เรือนหอจะสร้างตรงไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับพ่อแม่ของฝ่ายผู้หญิง จะเห็นได้ว่าความหมายของเรือนหอก็คือเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายเจ้าบ่าวมอบแก่บิดามารดาของเจ้าสาว จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้อง เรือนส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอด ซึ่งต้องตกได้แก่ผู้ร้องมิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะบังคับคดียึดไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ผู้ร้องจึงร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์ยึดไว้ได้
พิพากษายืน
บ้านพิพาทต่อเติมออกไปจากบ้านผู้ร้อง เพื่อใช้เป็นเรือนหอระหว่างจำเลยกับบุตรของผู้ร้อง โดยใช้เลขที่บ้านเดียวกัน และสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นของผู้ร้อง และพยานโจทก์เบิกความรับข้อเท็จจริงว่าตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงยอมให้บุตรสาวแต่งงานดังนั้นเรือนหอส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งตกได้แก่ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะยึดมาบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงขอให้ปล่อยได้
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านเลขที่ 13/1 หมู่ที่ 2 ตำบลไกรใน อำเภอกงไกรลาศจังหวัดสุโขทัย ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า บ้านเลขที่ 13/1 ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์สินของผู้ร้องที่สร้างมาประมาณ 5 ปี และผู้ร้องอยู่อาศัยบ้านหลังดังกล่าวตลอดมา เมื่อ พ.ศ. 2527 จำเลยแต่งงานกับบุตรสาวของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต่อเติมบ้านบางส่วนให้จำเลยและบุตรสาวอาศัยอยู่ด้วยกัน ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์ให้การว่า บ้านที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นของจำเลย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2527 จำเลยแต่งงานกับบุตรสาวผู้ร้องจำเลยปลูกบ้านหลังดังกล่าวเป็นเรือนหออยู่อาศัยกับภริยาในที่ดินของผู้ร้องโดยผู้ร้องยินยอมให้ปลูกสร้างลงในที่ดินได้ และปัจจุบันจำเลยก็อาศัยอยู่บ้านเรือนดังกล่าว ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การสร้างบ้านพิพาทเป็นการต่อเติมออกไปจากบ้านของผู้ร้อง โดยทำการต่อเติมเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2527และใช้เลขที่บ้านเดียวกันคือเลขที่ 13/1 หมู่ที่ 2 ซึ่งตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย ร.1 ระบุว่าเป็นบ้านของผู้ร้องในการสู่ขอบุตรสาวผู้ร้องผู้ร้องเรียกทอง 2 บาท และเรือนหอ 1 หลังผู้ร้องให้สร้างเรือนหอต่อจากบ้านผู้ร้องไป ค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยแต่งงานนั้นใช้ไปประมาณ 60,000 บาทเศษ เงินดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์ที่ช่วยออกให้จำเลย ซึ่งตามประเพณีเรือนหอนั้นสร้างให้เพื่อตอบแทนที่พ่อแม่ฝ่ายหญิงให้ลูกสาวแต่งงาน เรือนหอจะสร้างตรงไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับพ่อแม่ของฝ่ายผู้หญิง จะเห็นได้ว่าความหมายของเรือนหอก็คือเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายเจ้าบ่าวมอบแก่บิดามารดาของเจ้าสาว จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้อง เรือนส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอด ซึ่งต้องตกได้แก่ผู้ร้องมิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะบังคับคดียึดไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ผู้ร้องจึงร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์ยึดไว้ได้
พิพากษายืน
มารดาโจทก์และ ห. เป็นผู้สู่ขอบุตรสาวของผู้ร้องให้แต่งงานกับจำเลย ผู้ร้องจึงเรียกทองคำและเรือนหอเป็นค่าสินสอด โจทก์รับเป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้อง โดยต่อเติมเรือนหอออกไปจากบ้านของผู้ร้องเพื่อให้จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีเรือนหอนั้นสร้างให้เพื่อตอบแทนบิดามารดาฝ่ายหญิงที่ให้บุตรสาวแต่งงาน เรือนหอจะสร้างตรงไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับบิดามารดาของฝ่ายหญิง เรือนหอจึงเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าบ่าวมอบแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดามารดาเจ้าสาว เรือนหอย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องขอให้ปล่อยเรือนหอที่โจทก์ยึดไว้ได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า บ้านที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์สินของผู้ร้อง เมื่อ พ.ศ. 2527 จำเลยแต่งงานกับบุตรสาวของผู้ร้องผู้ร้องจึงต่อเติมบ้านบางส่วนให้จำเลยและบุตรสาวอาศัยอยู่ด้วยกันขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์ให้การว่า บ้านที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นของจำเลย จำเลยปลูกบ้านหลังดังกล่าวเป็นเรือนหออยู่อาศัยกับภริยาในที่ดินของผู้ร้องโดยผู้ร้องยินยอมให้ปลูกสร้างลงในที่ดินได้ ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว โจทก์เบิกความว่าบ้านจำเลยติดกับบ้านของผู้ร้องเพราะผู้ร้องต้องการให้ทำอย่างนั้นและโจทก์เบิกความตอบทนายผู้ร้องถามค้านว่า หากรื้อบ้านเลขที่ 13/1ของผู้ร้องแล้วบ้านพิพาทจะอยู่ไม่ได้ นายเนตร นาคพรม พยานโจทก์เบิกความว่าบ้านพิพาทซื้อไม้จากบ้านแม่สามาสร้าง พยานเป็นผู้ไปรื้อมา มีพยาน จำเลย ผู้ร้อง และบุคคลอื่นอีกไปด้วยกันส่วนโจทก์ไม่ได้ไป โดยผู้ร้องเป็นผู้ถือหนังสือไปให้คนที่บ้านแม่สาและตอบทนายโจทก์ถามติงว่า สร้างเรือนหอติดบ้านของผู้ร้องจึงฟังได้ว่าการสร้างบ้านพิพาทเป็นการต่อเติมออกไปจากบ้านของผู้ร้องเป็นการเจือสมกับที่ผู้ร้องนำสืบว่าบ้านผู้ร้องส่วนที่ให้จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องอยู่อาศัยอยู่นั้นเป็นบ้านหลังเดียวกันโดยทำการต่อเติมให้แล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2527 และใช้เลขที่บ้านเดียวกันคือเลขที่ 13/1 หมู่ 2 ซึ่งตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย ร.1 ระบุว่าเป็นบ้านของผู้ร้อง นางกุหลาบ นาคพรมพยานโจทก์ซึ่งเป็นมารดาของทั้งโจทก์และจำเลยเบิกความว่า พยานไปสู่ขอบุตรสาวผู้ร้องกับนางหัน โดยผู้ร้องเรียกทอง 2 บาทและเรือนหอ 1 หลัง ผู้ร้องให้สร้างเรือนหอต่อจากบ้านผู้ร้องไปและตอบทนายผู้ร้องถามค้านว่า ค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยแต่งงานนั้นใช้ไปประมาณ 60,000 บาทเศษ เงินดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์ที่ช่วยออกให้จำเลย พยานไม่ทราบว่ากู้เงินไปเท่าไร รู้แต่ว่ากู้ก่อนแต่งงาน นางหัน บวบมี พยานโจทก์ที่อ้างว่าเป็นแม่สื่อไปสู่ขอบุตรของผู้ร้องเบิกความว่า ฝ่ายผู้ร้องและฝ่ายพยานตกลงกันว่าเอาทองหมั้น 2 บาท และเรือนหอ 1 หลัง ให้สร้างติดบ้านของผู้ร้องเมื่อปลูกเรือนเสร็จแล้วจึงให้แต่งงาน และพยานโจทก์ปากนี้ตอบทนายผู้ร้องถามค้านไว้ด้วยว่าตามประเพณีเรือนหอนั้นสร้างให้เพื่อตอบแทนที่พ่อแม่ฝ่ายหญิงให้ลูกสาวแต่งงาน เรือนหอจะสร้างตรงไหนอย่างไร ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ของฝ่ายผู้หญิง จะเห็นได้ว่าความหมายตามที่นางหันพยานโจทก์เบิกความเกี่ยวกับเรือนหอก็คือเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายเจ้าบ่าวมอบแก่บิดามารดาของเจ้าสาว จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องเรือนส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งต้องตกได้แก่ผู้ร้อง มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะบังคับคดียึดไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นผู้ร้องจึงร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์ยึดไว้ได้ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์ยึดนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
มารดาโจทก์และ ห. เป็นผู้สู่ขอบุตรสาวของผู้ร้องให้แต่งงานกับจำเลย ผู้ร้องจึงเรียกทองคำและเรือนหอเป็นค่าสินสอด โจทก์รับเป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้อง โดยต่อเติมเรือนหอออกไปจากบ้านของผู้ร้องเพื่อให้จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีเรือนหอนั้นสร้างให้เพื่อตอบแทนบิดามารดาฝ่ายหญิงที่ให้บุตรสาวแต่งงาน เรือนหอจะสร้างตรงไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับบิดามารดาของฝ่ายหญิง เรือนหอจึงเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าบ่าวมอบแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดามารดาเจ้าสาว เรือนหอย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องขอให้ปล่อยเรือนหอที่โจทก์ยึดไว้ได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า บ้านที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์สินของผู้ร้อง เมื่อ พ.ศ. 2527 จำเลยแต่งงานกับบุตรสาวของผู้ร้องผู้ร้องจึงต่อเติมบ้านบางส่วนให้จำเลยและบุตรสาวอาศัยอยู่ด้วยกันขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์ให้การว่า บ้านที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เป็นของจำเลย จำเลยปลูกบ้านหลังดังกล่าวเป็นเรือนหออยู่อาศัยกับภริยาในที่ดินของผู้ร้องโดยผู้ร้องยินยอมให้ปลูกสร้างลงในที่ดินได้ ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว โจทก์เบิกความว่าบ้านจำเลยติดกับบ้านของผู้ร้องเพราะผู้ร้องต้องการให้ทำอย่างนั้นและโจทก์เบิกความตอบทนายผู้ร้องถามค้านว่า หากรื้อบ้านเลขที่ 13/1ของผู้ร้องแล้วบ้านพิพาทจะอยู่ไม่ได้ นายเนตร นาคพรม พยานโจทก์เบิกความว่าบ้านพิพาทซื้อไม้จากบ้านแม่สามาสร้าง พยานเป็นผู้ไปรื้อมา มีพยาน จำเลย ผู้ร้อง และบุคคลอื่นอีกไปด้วยกันส่วนโจทก์ไม่ได้ไป โดยผู้ร้องเป็นผู้ถือหนังสือไปให้คนที่บ้านแม่สาและตอบทนายโจทก์ถามติงว่า สร้างเรือนหอติดบ้านของผู้ร้องจึงฟังได้ว่าการสร้างบ้านพิพาทเป็นการต่อเติมออกไปจากบ้านของผู้ร้องเป็นการเจือสมกับที่ผู้ร้องนำสืบว่าบ้านผู้ร้องส่วนที่ให้จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องอยู่อาศัยอยู่นั้นเป็นบ้านหลังเดียวกันโดยทำการต่อเติมให้แล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. 2527 และใช้เลขที่บ้านเดียวกันคือเลขที่ 13/1 หมู่ 2 ซึ่งตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย ร.1 ระบุว่าเป็นบ้านของผู้ร้อง นางกุหลาบ นาคพรมพยานโจทก์ซึ่งเป็นมารดาของทั้งโจทก์และจำเลยเบิกความว่า พยานไปสู่ขอบุตรสาวผู้ร้องกับนางหัน โดยผู้ร้องเรียกทอง 2 บาทและเรือนหอ 1 หลัง ผู้ร้องให้สร้างเรือนหอต่อจากบ้านผู้ร้องไปและตอบทนายผู้ร้องถามค้านว่า ค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยแต่งงานนั้นใช้ไปประมาณ 60,000 บาทเศษ เงินดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์ที่ช่วยออกให้จำเลย พยานไม่ทราบว่ากู้เงินไปเท่าไร รู้แต่ว่ากู้ก่อนแต่งงาน นางหัน บวบมี พยานโจทก์ที่อ้างว่าเป็นแม่สื่อไปสู่ขอบุตรของผู้ร้องเบิกความว่า ฝ่ายผู้ร้องและฝ่ายพยานตกลงกันว่าเอาทองหมั้น 2 บาท และเรือนหอ 1 หลัง ให้สร้างติดบ้านของผู้ร้องเมื่อปลูกเรือนเสร็จแล้วจึงให้แต่งงาน และพยานโจทก์ปากนี้ตอบทนายผู้ร้องถามค้านไว้ด้วยว่าตามประเพณีเรือนหอนั้นสร้างให้เพื่อตอบแทนที่พ่อแม่ฝ่ายหญิงให้ลูกสาวแต่งงาน เรือนหอจะสร้างตรงไหนอย่างไร ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ของฝ่ายผู้หญิง จะเห็นได้ว่าความหมายตามที่นางหันพยานโจทก์เบิกความเกี่ยวกับเรือนหอก็คือเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายเจ้าบ่าวมอบแก่บิดามารดาของเจ้าสาว จากพยานหลักฐานดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องเรือนส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งต้องตกได้แก่ผู้ร้อง มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะบังคับคดียึดไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นผู้ร้องจึงร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์ยึดไว้ได้ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์ยึดนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผลฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
บ้านพิพาทต่อเติมออกไปจากบ้านผู้ร้อง เพื่อใช้เป็นเรือนหอระหว่างจำเลยกับบุตรของผู้ร้อง โดยใช้เลขที่บ้านเดียวกัน และสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นของผู้ร้อง และพยานโจทก์เบิกความรับข้อเท็จจริงว่าตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงยอมให้บุตรสาวแต่งงานดังนั้นเรือนหอส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งตกได้แก่ผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะยึดมาบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงขอให้ปล่อยได้
บ้านพิพาทต่อเติมออกไปจากบ้านผู้ร้อง เพื่อใช้เป็นเรือนหอระหว่างจำเลยกับบุตรของผู้ร้อง โดยใช้เลขที่บ้านเดียวกัน และสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นของผู้ร้อง และพยานโจทก์เบิกความรับข้อเท็จจริงว่าตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงยอมให้บุตรสาวแต่งงานดังนั้นเรือนหอส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งตกได้แก่ผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะยึดมาบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงขอให้ปล่อยได้
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนหลอกผู้ตายออกมาจากร้านอาหารไปที่ถนนริมคลองชลประทานที่เกิดเหตุ แล้วพวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักไปกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ แต่มีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 83
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4), 83 ให้วางโทษประหารชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ประกอบมาตรา 52(1) คงให้จำคุกตลอดชีวิต
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบด้วยมาตรา 86 และมาตรา 52(1) ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 53 โดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นโทษจำคุก 50 ปี คงจำคุกจำเลย 33 ปี4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยาน แต่โจทก์มีพยานแวดล้อมกรณีมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการที่ผู้ตายถูกฆ่าตายโดยใกล้ชิด ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบคำรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนหลอกผู้ตายออกมาจากร้านอาหารลมโชยไปถนนริมคลองชลประทานที่เกิดเหตุ แล้วพวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักไปกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2ได้ แต่เห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยเสียให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4), 83 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนหลอกผู้ตายออกมาจากร้านอาหารไปที่ถนนริมคลองชลประทานที่เกิดเหตุ แล้วพวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักไปกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ แต่มีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 83
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4), 83 ให้วางโทษประหารชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ประกอบมาตรา 52(1) คงให้จำคุกตลอดชีวิต
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบด้วยมาตรา 86 และมาตรา 52(1) ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 53 โดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นโทษจำคุก 50 ปี คงจำคุกจำเลย 33 ปี4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยาน แต่โจทก์มีพยานแวดล้อมกรณีมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการที่ผู้ตายถูกฆ่าตายโดยใกล้ชิด ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบคำรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนหลอกผู้ตายออกมาจากร้านอาหารลมโชยไปถนนริมคลองชลประทานที่เกิดเหตุ แล้วพวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักไปกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2ได้ แต่เห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยเสียให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4), 83 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนหลอกผู้ตายออกมาจากร้านอาหารไปที่ถนนริมคลองชลประทานที่เกิดเหตุ แล้วพวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักไปกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ แต่มีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนหลอกผู้ตายออกมาจากร้านอาหารไปที่ถนนริมคลองชลประทานที่เกิดเหตุ แล้วพวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักไปกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ แต่มีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
สัญญาจ้างระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือนเงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความพยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆ ดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2532 จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างมีกำหนดเวลา 3 ปี โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการและที่ปรึกษาทางวิชาการรวมทั้งปฏิบัติหน้าที่จัดหางานหรือโครงการ รับจ้างเป็นที่ปรึกษางานหรือโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้แก่จำเลย โดยมีข้อตกลงระบุในข้อที่ 6 ตามสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่า จำเลยตกลงจะจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่โจทก์สำหรับผลการทำงานซึ่งโจทก์สามารถจัดหางานหรือโครงการให้แก่จำเลยได้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของมูลค่างานหรือโครงการนั้น ๆ ทั้งนี้รวมถึงงานหรือโครงการใด ๆ ที่โจทก์สามารถจัดหาให้ได้และจำเลยได้กำหนดหมายเลขโครงการแล้ว เมื่อเดือนพฤษภาคม 2534 และเดือนมกราคม 2535 โจทก์สามารถจัดหางานหรือโครงการให้แก่จำเลยได้รวม 2 โครงการ คือ (1) งานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจำเลยได้รับสินจ้างในโครงการด้วยเงินสกุลอีซียูของกลุ่มประเทศประชาคมยุโรป จำนวน 426,621 อีซียูจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนวน10,665,525 อีซียู แต่เมื่อถึงกำหนดชำระในวันที่ 1 ตุลาคม 2534จำเลยชำระให้แก่โจทก์เพียงจำนวน 5,332.7625 อีซียู และชำระให้อีกครั้งจำนวน 138 อีซียู เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2535 ยังค้างชำระอีกจำนวน 5,194.7625 อีซียู คิดเป็นเงินไทยจำนวน 163,635 บาท(2) งานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานแบบยั่งยืนซึ่งจำเลยได้รับสินจ้างในโครงการเป็นเงินจำนวน 5,646,050 บาท จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนวน 141,151.25 บาทแต่เมื่อถึงกำหนดชำระในวันที่ 13 มกราคม 2536 จำเลยไม่ชำระให้แก่โจทก์ รวมเป็นเงินค่าจ้างค้างชำระจำนวน 304,786.25 บาทการกระทำของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างที่ทำไว้กับโจทก์ และเป็นการจงใจผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 304,786.25 บาทพร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 จากต้นเงินจำนวน 163,635 บาททุกระยะเวลา 7 วันนับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2534 เงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 จากต้นเงินจำนวน 141,151.25 บาท ทุกระยะเวลา 7 วันนับแต่วันที่ 21 มกราคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระต้นเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ และให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 163,635 บาท นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2534 และจากต้นเงินจำนวน 141,151.25 บาทนับแต่วันที่ 13 มกราคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าเป็นลูกจ้างมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2532 เป็นต้นไปสัญญาข้อ 6 ไม่ใช่เรื่องการจ่ายเงินค่าจ้าง แต่เป็นข้อตกลงในการจ่ายเงินโบนัสซึ่งเป็นเงินรางวัลพิเศษ และข้อตกลงดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงแล้วเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2534 โดยให้มีผลต่องานโครงการที่โจทก์ได้จัดหามาจนถึงปัจจุบันและในอนาคตการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินทั้งสองโครงการโดยอ้างข้อตกลงเดิมจึงเป็นการไม่ถูกต้องโครงการแต่ละโครงการที่โจทก์ฟ้องจะต้องเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสในเงื่อนไขที่แก้ไขใหม่ดังนี้งานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นโครงการที่มีอยู่ในขณะแก้ไขสัญญา ซึ่งเงื่อนไขข้อตกลงที่แก้ไขใหม่ให้แบ่งการจ่ายเงินโบนัสร้อยละ 2.5 ของมูลค่าโครงการออกเป็น 2 งวดงวดที่ 1 ร้อยละ 1.25 ของมูลค่างานโครงการ โดยจะจ่ายให้ล่วงหน้างวดที่ 2 ร้อยละ 1.25 ของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับจากผู้ว่าจ้างในรอบปีที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างอยู่ โดยทั้งสองงวดโจทก์ได้ถือปฏิบัติตามและได้รับเงินจากจำเลยไปหมดแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบเงินโบนัสในส่วนนี้ให้โจทก์อีก ส่วนงานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานแบบยั่งยืนเป็นงานโครงการที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการแก้ไขสัญญาซึ่งตามเงื่อนไขข้อตกลงที่แก้ไขใหม่นี้นอกจากการจ่ายเงินโบนัสจะเป็นเช่นเดียวกับงานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ผู้จัดการโครงการดังกล่าวจะต้องมีส่วนรับผิดชอบอย่างมากในการดำเนินงาน มิใช่แต่เพียงแนะนำหรือเขียนโครงการเท่านั้น อย่างไรก็ตามกรณีนี้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เป็นผู้จัดการหาหรือมีส่วนรับผิดชอบในโครงการนี้ดังนั้นไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิรับเงินรางวัลพิเศษหรือเงินโบนัสจากโครงการนี้ด้วย และจำเลยยังไม่ได้รับสินจ้างแต่ละโครงการเต็มจำนวนของมูลค่างานทั้งหมดโดยได้รับเป็นระยะตามผลงาน ดังนั้นที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้รับสินจ้างทั้งหมดเต็มจำนวนทั้งสองโครงการแล้วจึงเป็นการไม่ถูกต้อง สำหรับเงินเพิ่มและดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องนั้นเมื่อเงินที่โจทก์ฟ้องมิใช่เงินค่าจ้างแต่เป็นเงินรางวัลพิเศษหรือเงินโบนัส ทั้งการปฏิเสธไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ก็มีเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบชำระดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินโบนัสให้โจทก์จากการจ่ายงวดเดียว เป็นการจ่ายล่วงหน้าให้กึ่งหนึ่งเมื่อได้รับโครงการ ส่วนอีกกึ่งหนึ่งจะจ่ายให้ตามส่วนที่จำเลยได้รับสินจ้างจากเจ้าของโครงการ ซึ่งโจทก์ทราบและถือปฏิบัติตามแล้ว ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยนั้นยังไม่มีการนำเสนอทางวิชาการและตกลงทำสัญญาตามโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานแบบยั่งยืน จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้นำเสนอโครงการดังกล่าวเงินโบนัสหรือค่าตอบแทนตามฟ้องมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เพราะมิได้จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดเมื่อใด จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 แต่คดีฟังได้ว่าจำเลยจ่ายค่าตอบแทนตามโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนในส่วนที่ยังค้างชำระจำนวน 163,635 บาท ให้แก่โจทก์ พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 163,635 บาท ให้แก่โจทก์คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ปัญหาวินิจฉัยมีว่า จำเลยจะต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่า ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 6 ระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาทต่อเดือน เงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความพยายามของโจทก์เองโดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆ ฯลฯดังนั้นนอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 แต่เงินค่าจ้างจำนวน 163,635 บาท ที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดเมื่อใด จึงให้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
สัญญาจ้างระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือนเงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความพยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆ ดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2532 จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างมีกำหนดเวลา 3 ปี โดยให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการและที่ปรึกษาทางวิชาการรวมทั้งปฏิบัติหน้าที่จัดหางานหรือโครงการ รับจ้างเป็นที่ปรึกษางานหรือโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้แก่จำเลย โดยมีข้อตกลงระบุในข้อที่ 6 ตามสัญญาจ้างมีสาระสำคัญว่า จำเลยตกลงจะจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่โจทก์สำหรับผลการทำงานซึ่งโจทก์สามารถจัดหางานหรือโครงการให้แก่จำเลยได้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของมูลค่างานหรือโครงการนั้น ๆ ทั้งนี้รวมถึงงานหรือโครงการใด ๆ ที่โจทก์สามารถจัดหาให้ได้และจำเลยได้กำหนดหมายเลขโครงการแล้ว เมื่อเดือนพฤษภาคม 2534 และเดือนมกราคม 2535 โจทก์สามารถจัดหางานหรือโครงการให้แก่จำเลยได้รวม 2 โครงการ คือ (1) งานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจำเลยได้รับสินจ้างในโครงการด้วยเงินสกุลอีซียูของกลุ่มประเทศประชาคมยุโรป จำนวน 426,621 อีซียูจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนวน10,665,525 อีซียู แต่เมื่อถึงกำหนดชำระในวันที่ 1 ตุลาคม 2534จำเลยชำระให้แก่โจทก์เพียงจำนวน 5,332.7625 อีซียู และชำระให้อีกครั้งจำนวน 138 อีซียู เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2535 ยังค้างชำระอีกจำนวน 5,194.7625 อีซียู คิดเป็นเงินไทยจำนวน 163,635 บาท(2) งานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานแบบยั่งยืนซึ่งจำเลยได้รับสินจ้างในโครงการเป็นเงินจำนวน 5,646,050 บาท จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำนวน 141,151.25 บาทแต่เมื่อถึงกำหนดชำระในวันที่ 13 มกราคม 2536 จำเลยไม่ชำระให้แก่โจทก์ รวมเป็นเงินค่าจ้างค้างชำระจำนวน 304,786.25 บาทการกระทำของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างที่ทำไว้กับโจทก์ และเป็นการจงใจผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 304,786.25 บาทพร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 จากต้นเงินจำนวน 163,635 บาททุกระยะเวลา 7 วันนับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2534 เงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 จากต้นเงินจำนวน 141,151.25 บาท ทุกระยะเวลา 7 วันนับแต่วันที่ 21 มกราคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระต้นเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ และให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 163,635 บาท นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2534 และจากต้นเงินจำนวน 141,151.25 บาทนับแต่วันที่ 13 มกราคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าเป็นลูกจ้างมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2532 เป็นต้นไปสัญญาข้อ 6 ไม่ใช่เรื่องการจ่ายเงินค่าจ้าง แต่เป็นข้อตกลงในการจ่ายเงินโบนัสซึ่งเป็นเงินรางวัลพิเศษ และข้อตกลงดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงแล้วเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2534 โดยให้มีผลต่องานโครงการที่โจทก์ได้จัดหามาจนถึงปัจจุบันและในอนาคตการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินทั้งสองโครงการโดยอ้างข้อตกลงเดิมจึงเป็นการไม่ถูกต้องโครงการแต่ละโครงการที่โจทก์ฟ้องจะต้องเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสในเงื่อนไขที่แก้ไขใหม่ดังนี้งานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นโครงการที่มีอยู่ในขณะแก้ไขสัญญา ซึ่งเงื่อนไขข้อตกลงที่แก้ไขใหม่ให้แบ่งการจ่ายเงินโบนัสร้อยละ 2.5 ของมูลค่าโครงการออกเป็น 2 งวดงวดที่ 1 ร้อยละ 1.25 ของมูลค่างานโครงการ โดยจะจ่ายให้ล่วงหน้างวดที่ 2 ร้อยละ 1.25 ของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับจากผู้ว่าจ้างในรอบปีที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างอยู่ โดยทั้งสองงวดโจทก์ได้ถือปฏิบัติตามและได้รับเงินจากจำเลยไปหมดแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบเงินโบนัสในส่วนนี้ให้โจทก์อีก ส่วนงานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานแบบยั่งยืนเป็นงานโครงการที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการแก้ไขสัญญาซึ่งตามเงื่อนไขข้อตกลงที่แก้ไขใหม่นี้นอกจากการจ่ายเงินโบนัสจะเป็นเช่นเดียวกับงานโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ผู้จัดการโครงการดังกล่าวจะต้องมีส่วนรับผิดชอบอย่างมากในการดำเนินงาน มิใช่แต่เพียงแนะนำหรือเขียนโครงการเท่านั้น อย่างไรก็ตามกรณีนี้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เป็นผู้จัดการหาหรือมีส่วนรับผิดชอบในโครงการนี้ดังนั้นไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิรับเงินรางวัลพิเศษหรือเงินโบนัสจากโครงการนี้ด้วย และจำเลยยังไม่ได้รับสินจ้างแต่ละโครงการเต็มจำนวนของมูลค่างานทั้งหมดโดยได้รับเป็นระยะตามผลงาน ดังนั้นที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้รับสินจ้างทั้งหมดเต็มจำนวนทั้งสองโครงการแล้วจึงเป็นการไม่ถูกต้อง สำหรับเงินเพิ่มและดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องนั้นเมื่อเงินที่โจทก์ฟ้องมิใช่เงินค่าจ้างแต่เป็นเงินรางวัลพิเศษหรือเงินโบนัส ทั้งการปฏิเสธไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ก็มีเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบชำระดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินโบนัสให้โจทก์จากการจ่ายงวดเดียว เป็นการจ่ายล่วงหน้าให้กึ่งหนึ่งเมื่อได้รับโครงการ ส่วนอีกกึ่งหนึ่งจะจ่ายให้ตามส่วนที่จำเลยได้รับสินจ้างจากเจ้าของโครงการ ซึ่งโจทก์ทราบและถือปฏิบัติตามแล้ว ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยนั้นยังไม่มีการนำเสนอทางวิชาการและตกลงทำสัญญาตามโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานแบบยั่งยืน จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้นำเสนอโครงการดังกล่าวเงินโบนัสหรือค่าตอบแทนตามฟ้องมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เพราะมิได้จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดเมื่อใด จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 แต่คดีฟังได้ว่าจำเลยจ่ายค่าตอบแทนตามโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนในส่วนที่ยังค้างชำระจำนวน 163,635 บาท ให้แก่โจทก์ พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 163,635 บาท ให้แก่โจทก์คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ปัญหาวินิจฉัยมีว่า จำเลยจะต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่า ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 6 ระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาทต่อเดือน เงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความพยายามของโจทก์เองโดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆ ฯลฯดังนั้นนอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 แต่เงินค่าจ้างจำนวน 163,635 บาท ที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดเมื่อใด จึงให้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
ตามสัญญาจ้างมีข้อตกลงว่า นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้วเมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำมาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรงแม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัสก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างมีกำหนดเวลา 3 ปี จำเลยจะต้องชำระเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างในโครงการ คิดเป็นเงินจำนวน 141,151.25 บาท แต่เมื่อถึงกำหนดชำระ จำเลยกลับผิดนัดไม่ชำระให้แก่โจทก์ตามสัญญา รวมเป็นเงินค่าจ้างค้างชำระจำนวน 304,786.25 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 304,786.25 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15จากต้นเงินจำนวน 163,635 บาท ทุกระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่9 ตุลาคม 2534 เงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 จากต้นเงินจำนวน141,151.25 บาท ทุกระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ 21 มกราคม 2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระต้นเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ และให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 163,635 บาท นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2534 และจากต้นเงินจำนวน 141,151.25 บาท นับแต่วันที่ 13 มกราคม 2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า ในสัญญาข้อ 6 ไม่ใช่เรื่องการจ่ายเงินค่าจ้างแต่เป็นข้อตกลงในการจ่ายเงินโบนัสซึ่งเป็นเงินรางวัลพิเศษ และข้อตกลงดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่ตรงตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้าง โดยเงื่อนไขข้อตกลงที่แก้ไขใหม่ให้แบ่งการจ่ายเงินโบนัสร้อยละ 2.5 ของมูลค่าโครงการออกเป็น 2 งวด งวดที่ 1ร้อยละ 1.25 ของมูลค่างานโครงการ โดยจะจ่ายให้ล่วงหน้า งวดที่ 2ร้อยละ 1.25 ของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับจากผู้ว่าจ้างในรอบปีที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างอยู่ โดยทั้งสองงวดโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบชำระดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินโบนัสให้โจทก์จากการจ่ายงวดเดียว เป็นการจ่ายล่วงหน้าให้กึ่งหนึ่งเมื่อได้รับโครงการ ส่วนอีกกึ่งหนึ่งจะจ่ายให้ตามส่วนที่จำเลยได้รับสินจ้างจากเจ้าของโครงการ ซึ่งโจทก์ทราบและถือปฏิบัติตามแล้ว ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยนั้น ยังไม่มีการนำเสนอทางวิชาการและตกลงทำสัญญาตามโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานแบบยั่งยืน จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้นำเสนอโครงการดังกล่าว เงินโบนัสหรือค่าตอบแทนตามฟ้องมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เพราะมิได้จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดเมื่อใด จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 แต่คดีฟังได้ว่าจำเลยจ่ายค่าตอบแทนตามโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนในส่วนที่ยังค้างชำระจำนวน 163,635 บาทให้แก่โจทก์ พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 163,635 บาท ให้แก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ตามสัญญาจ้างเอกสารหมายจ.2 ข้อ 6 ระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือน เงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความพยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆ ฯลฯ ดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5ของสินจ้างที่จำเลยได้รับ อันเป็นผลงานที่โจทก์เป็นลูกจ้างหามาได้ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรงแม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 แต่เงินค่าจ้างจำนวน 163,635 บาท ที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดเมื่อใด จึงให้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ ที่ศาลแรงงานกลางไม่กำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้นบางส่วน"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
ตามสัญญาจ้างมีข้อตกลงว่า นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้วเมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำมาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรงแม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัสก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างมีกำหนดเวลา 3 ปี จำเลยจะต้องชำระเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างในโครงการ คิดเป็นเงินจำนวน 141,151.25 บาท แต่เมื่อถึงกำหนดชำระ จำเลยกลับผิดนัดไม่ชำระให้แก่โจทก์ตามสัญญา รวมเป็นเงินค่าจ้างค้างชำระจำนวน 304,786.25 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 304,786.25 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15จากต้นเงินจำนวน 163,635 บาท ทุกระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่9 ตุลาคม 2534 เงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 จากต้นเงินจำนวน141,151.25 บาท ทุกระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ 21 มกราคม 2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระต้นเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ และให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 163,635 บาท นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2534 และจากต้นเงินจำนวน 141,151.25 บาท นับแต่วันที่ 13 มกราคม 2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า ในสัญญาข้อ 6 ไม่ใช่เรื่องการจ่ายเงินค่าจ้างแต่เป็นข้อตกลงในการจ่ายเงินโบนัสซึ่งเป็นเงินรางวัลพิเศษ และข้อตกลงดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่ตรงตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้าง โดยเงื่อนไขข้อตกลงที่แก้ไขใหม่ให้แบ่งการจ่ายเงินโบนัสร้อยละ 2.5 ของมูลค่าโครงการออกเป็น 2 งวด งวดที่ 1ร้อยละ 1.25 ของมูลค่างานโครงการ โดยจะจ่ายให้ล่วงหน้า งวดที่ 2ร้อยละ 1.25 ของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับจากผู้ว่าจ้างในรอบปีที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างอยู่ โดยทั้งสองงวดโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบชำระดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินโบนัสให้โจทก์จากการจ่ายงวดเดียว เป็นการจ่ายล่วงหน้าให้กึ่งหนึ่งเมื่อได้รับโครงการ ส่วนอีกกึ่งหนึ่งจะจ่ายให้ตามส่วนที่จำเลยได้รับสินจ้างจากเจ้าของโครงการ ซึ่งโจทก์ทราบและถือปฏิบัติตามแล้ว ขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยนั้น ยังไม่มีการนำเสนอทางวิชาการและตกลงทำสัญญาตามโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานแบบยั่งยืน จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้นำเสนอโครงการดังกล่าว เงินโบนัสหรือค่าตอบแทนตามฟ้องมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เพราะมิได้จ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดเมื่อใด จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 แต่คดีฟังได้ว่าจำเลยจ่ายค่าตอบแทนตามโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนในส่วนที่ยังค้างชำระจำนวน 163,635 บาทให้แก่โจทก์ พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 163,635 บาท ให้แก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ตามสัญญาจ้างเอกสารหมายจ.2 ข้อ 6 ระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือน เงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความพยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆ ฯลฯ ดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5ของสินจ้างที่จำเลยได้รับ อันเป็นผลงานที่โจทก์เป็นลูกจ้างหามาได้ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรงแม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 แต่เงินค่าจ้างจำนวน 163,635 บาท ที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดเมื่อใด จึงให้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ ที่ศาลแรงงานกลางไม่กำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้นบางส่วน"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2537 วินิจฉัยเรื่อง ค่าจ้างซึ่งมีข้อพิจารณาดังนี้1. หลักกฎหมาย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2บัญญัติว่า "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติซึ่งเป็นวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความร่วมถึงเงินหรือเงินและสิ่งของที่จ่ายให้ในวันหยุดซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานและในวันลาด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนในวิธีอย่างไร และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร"2. สาระสำคัญของคำว่า ค่าจ้าง ค่าจ้าง ตามข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน นั้น มีองค์ประกอบดังนี้ 2.1 นายจ้างจ่าย 2.2 เป็นรายได้แก่ลูกจ้าง 2.3 เพื่อตอบแทนการทำงาน 2.4 สำหรับการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ต้องครบ 4 องค์ประกอบจึงเป็นค่าจ้าง ขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่ง ไม่เป็นค่าจ้าง (1) นายจ้างจ่าย คือ นายจ้างเป็นผู้จ่ายให้แก่ลูกจ้าง (1.1) ผู้จ่าย คือ นายจ้าง หากผู้อื่น เช่น ผู้ใช้บริการจ่ายค่าทิปไม่ใช่ค่าจ้าง (1.2) สิ่งที่จ่าย คือ เงินหรือเงินและสิ่งของ จ่ายเงินอย่างเดียวก็ได้ จ่ายเงินและสิ่งของก็ได้ จ่ายเป็นสิ่งของอย่างเดียวไม่ได้ (2) เป็นรายได้แก่ลูกจ้าง คือ ลูกจ้างได้รับสิ่งที่นายจ้างจ่ายนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกจ้าง หากรับมาแล้วต้องจ่ายต่อไป เช่น รับค่าน้ำมันรถมาแล้ว ต้องนำไปเติมน้ำมัน ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกจ้าง ไม่ใช่ค่าจ้าง สิ่งที่รับนั้นต้องเป็นเงินหรือเงินและสิ่งของ หากเป็นบริการความสะดวกสบาย ความบันเทิง เช่น ติดเครื่องปรับอากาศห้องทำงานให้ชมโทรทัศน์ ให้ขึ้นรถฟรี ไม่ใช่ค่าจ้าง (3) เพื่อตอบแทนการทำงาน คือ ต้องทำงานจึงจะได้ (3.1) ต้องทำงานจึงจ่าย เช่นเงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยงค่าครองชีพ เป็นต้น (3.2) ไม่ทำงานแต่จ่าย คือ กรณีที่มีกฎหมายแรงงานบังคับให้จ่ายก็ถือว่าเป็นการตอบแทนการทำงาน เช่น วันหยุด วันลา ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานบังคับให้นายจ้างจ่ายด้วย เงินที่จ่ายในกรณีนี้ถือว่าเป็นการตอบแทนการทำงานด้วย (3.3) การจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการหรือเพื่อจูงใจ ไม่ถือว่าเป็นการตอบแทนการทำงาน สวัสดิการ คือ การช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารค่าที่พัก ค่าทำศพ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร จำหน่ายสินค้าราคาถูก เป็นต้น จูงใจ คือ การจ่ายเงินเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้มากให้ดีมีประสิทธิภาพ ให้ทำงานกับนายจ้างนาน หรือให้ลูกจ้างมีความจงรักภักดีกับนายจ้างเช่นเงินโบนัสเบี้ยขยัน เงินบำเหน็จเงินสะสม เป็นต้น (4) สำหรับในการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน คือ สิ่งที่ลูกจ้างได้จากนายจ้างนั้น ต้องตอบแทนการทำงาน (4.1) ในวันทำงานปกติ คือ วันที่นายจ้างกำหนดให้ทำงานปกติเช่น วันจันทร์-ศุกร์ หากตอบแทนในวันหยุด เช่น ค่าทำงานในวันหยุด ไม่ใช่ค่าจ้าง (4.2) ในเวลาทำงานปกติ คือเวลาที่นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานเป็นปกติเช่น 8-17 นาฬิกา หากทำงานในช่วงนี้เป็นค่าจ้าง หากตอบแทนในการทำงานนอกเวลา หรือ เกินเวลา เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานเกินเวลา ไม่ใช่ค่าจ้าง กรณีที่ลูกจ้างไม่มีวันเวลาทำงานปกติ เช่น พนักงานขายเงินที่ได้จากการขาย ไม่ถือว่าเป็นการตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ จึงมิใช่ค่าจ้าง 3. เมื่อครบองค์ประกอบ 4 ประการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ถือว่าเป็น ค่าจ้าง ทั้งนี้ไม่ต้องคำนึงว่า 3.1 เรียกชื่อว่าอะไร 3.2 กำหนดอย่างไร 3.3 คำนวณอย่างไร 3.4 จ่ายโดยวิธีใด 3. เงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2537 นายจ้างจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้าง 2 ประเภท 3.1 เงินโบนัสประจำปี เท่ากับเงินเดือน 1 เดือน เงินดังกล่าวนี้ เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน แต่มิได้จ่ายเพื่อตอบแทนสำหรับการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน โดยจ่ายให้เพียงปีละครั้ง เงินโบนัสดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง 3.2 เงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ จ่ายให้สำหรับงานใด ๆซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความพยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์เป็นผู้หามาได้ เงินดังกล่าวนี้เป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน คือโครงการที่โจทก์จัดการหามาได้ และเป็นผลงานที่โจทก์ได้ปฏิบัติงานในวันเวลาทำงานปกติ ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ครบถ้วน 4 ประการ ตามข้อ 2.1-2.4 ทั้งนี้ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอะไร คำนวณอย่างไร จ่ายโดยวิธีใด ก็ถือเป็นค่าจ้าง รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์
สัญญาจ้างระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือนเงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความ-พยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2
เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
สัญญาจ้างระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือนเงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความ-พยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2
เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
เดิมจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมาหลายงวด ย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินแต่อย่างใด เมื่อรถพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายไปทั้งคันสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ประกอบด้วย มาตรา 572 และแม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สินรวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงเฉพาะการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปแล้วไฟลุกไหม้โดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดของฝ่ายจำเลย จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อซีตรอง ซีเอ็กซ์ 20 หมายเลขทะเบียน 8 จ-4276 กรุงเทพมหานครพร้อมอุปกรณ์จากโจทก์ในราคาเช่าซื้อ 399,000 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อ งวดละเดือน เดือนละ 11,084 บาท รวม 36 งวด กำหนดชำระทุกวันที่ 20 ของเดือน จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดิน และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดรวมทั้งอัคคีภัยด้วยในวันเดียวกันนั้นเองจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์รวม13 งวด ถึงเดือนมิถุนายน 2531 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างภายใน 30 วัน ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ก็เพิกเฉย โจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งการบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 2 แล้วขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน399,000 บาท แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 88,672 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 11,084 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป
จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้ออำพรางการกู้ยืมเงิน จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการกู้ยืมเงินจำเลยที่ 1 มิใช่ค้ำประกันการเช่าซื้อของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ไม่เคยผิดสัญญาชำระหนี้ตลอดเวลาที่ครอบครองรถ จำเลยที่ 1ดูแลรักษารถมาด้วยดี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2531 เวลาประมาณ18 นาฬิกา จำเลยที่ 1 บุตร 3 คน มารดาและจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันนั่งรถพิพาทไปตามถนนศรีนครินทร์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับระหว่างรถพิพาทกำลังแล่นปรากฏว่ามีไฟลุกไหม้ขึ้นที่หน้ารถเป็นเหตุให้รถพิพาทถูกไฟลุกไหม้ทั้งคันซึ่งเกิดจากสภาพของตัวรถพิพาทที่โจทก์ต้องรับผิดชอบ เพราะความเสียหายมิได้เกิดจากเหตุภายนอกหรือเกิดจากจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกค่าเสียหาย ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงิน254,908 บาท แก่โจทก์ คำขอของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อแรกมีว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินหรือไม่เห็นว่า แม้เดิมจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ 300,000 บาท แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.4ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมา 13 งวด ย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา
ปัญหาข้อต่อไปมีว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์หรือไม่ ปัญหานี้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปนั้นได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคันเห็นว่า เมื่อรถพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายไปทั้งคันสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้น แต่โจทก์มีนายวีรศักดิ์ เอื้ออรุณพานิช มาเบิกความเพียงปากเดียวเฉพาะเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้น นายวีรศักดิ์หาได้เบิกความถึงไม่ว่าเป็นเพราะความผิดของจำเลยที่ 1 อย่างไรหรือไม่ ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้เสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีมานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น"
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
เดิมจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แล้ว ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมาหลายงวด ย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินแต่อย่างใด เมื่อรถพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายไปทั้งคันสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ประกอบด้วย มาตรา 572 และแม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สินรวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงเฉพาะการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้น ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปแล้วไฟลุกไหม้โดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดของฝ่ายจำเลย จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อซีตรอง ซีเอ็กซ์ 20 หมายเลขทะเบียน 8 จ-4276 กรุงเทพมหานครพร้อมอุปกรณ์จากโจทก์ในราคาเช่าซื้อ 399,000 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อ งวดละเดือน เดือนละ 11,084 บาท รวม 36 งวด กำหนดชำระทุกวันที่ 20 ของเดือน จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดิน และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดรวมทั้งอัคคีภัยด้วยในวันเดียวกันนั้นเองจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์รวม13 งวด ถึงเดือนมิถุนายน 2531 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างภายใน 30 วัน ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ก็เพิกเฉย โจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งการบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 2 แล้วขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน399,000 บาท แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 88,672 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 11,084 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป
จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้ออำพรางการกู้ยืมเงิน จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการกู้ยืมเงินจำเลยที่ 1 มิใช่ค้ำประกันการเช่าซื้อของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ไม่เคยผิดสัญญาชำระหนี้ตลอดเวลาที่ครอบครองรถ จำเลยที่ 1ดูแลรักษารถมาด้วยดี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2531 เวลาประมาณ18 นาฬิกา จำเลยที่ 1 บุตร 3 คน มารดาและจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันนั่งรถพิพาทไปตามถนนศรีนครินทร์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับระหว่างรถพิพาทกำลังแล่นปรากฏว่ามีไฟลุกไหม้ขึ้นที่หน้ารถเป็นเหตุให้รถพิพาทถูกไฟลุกไหม้ทั้งคันซึ่งเกิดจากสภาพของตัวรถพิพาทที่โจทก์ต้องรับผิดชอบ เพราะความเสียหายมิได้เกิดจากเหตุภายนอกหรือเกิดจากจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกค่าเสียหาย ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงิน254,908 บาท แก่โจทก์ คำขอของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อแรกมีว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินหรือไม่เห็นว่า แม้เดิมจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ 300,000 บาท แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.4ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมา 13 งวด ย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา
ปัญหาข้อต่อไปมีว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์หรือไม่ ปัญหานี้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปนั้นได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคันเห็นว่า เมื่อรถพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายไปทั้งคันสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้น แต่โจทก์มีนายวีรศักดิ์ เอื้ออรุณพานิช มาเบิกความเพียงปากเดียวเฉพาะเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้น นายวีรศักดิ์หาได้เบิกความถึงไม่ว่าเป็นเพราะความผิดของจำเลยที่ 1 อย่างไรหรือไม่ ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้เสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีมานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น"
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์
(1) มีปัญหาเกี่ยวกับการตีความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นเอกสารด้วย ข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่ว่า "ผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดีและรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สินรวมทั้งอัคคีภัยด้วย" ศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ข้อตกลงก็ไม่มีบอกว่าต้องเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อ โดยหลักในการตีความนั้น ศาลมีหน้าที่ที่จะหยั่งทราบเจตนาของคู่สัญญาจากเอกสารนั้นเอง ไม่ใช่ไปเพิ่มเติมข้อความโดยคิดว่าคู่สัญญาคงจะคิดอย่างนั้นอย่างนี้ในขณะที่ทำสัญญานั้น ๆ ถ้อยคำในสัญญามีว่าอย่างไรเมื่อชัดแจ้งไม่เคลือบคลุมแล้ว ก็ต้องถือตามนั้น(Anson,LawofContract,1961,pp.138-139) นอกจากนี้หลักในการตีความในสัญญานั้น ต้องให้เป็นผลยิ่งกว่าไร้ผล (Simpson,Contracts,1954,p247) ในคดีนี้ถ้าหากผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดอยู่แล้วเหตุใดจึงจะมีข้อตกลงกันให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดด้วยเล่า (2) ความรับผิดของผู้เช่าซื้อนั้นเป็นความรับผิดเช่นเดียวกับความรับผิดของผู้เช่าทรัพย์สินโดยทั่วไป อาจเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อนั้นเสียหายอันเป็นมูลหนี้ละเมิด (มาตรา 420) หรือมีตัวบทกฎหมายให้ต้องรับผิดการกระทำละเมิดนั้นอาจเป็นผลมาจากการที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่น ตามมาตรา 552-553,557-558,562 ฯลฯ เป็นต้น ที่ว่ามีตัวบทกฎหมายให้ต้องรับผิดเรียกว่าความรับผิดเด็ดขาดอันเป็นความรับผิดโดยมูลสัญญา (StrictLiabilityinContract) ซึ่งหมายความว่า แม้ผู้เช่าซื้อจะไม่ได้กระทำความผิดโดยไม่มีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ต้องรับผิดเพราะมีตัวบทกฎหมายให้ต้องรับผิด ความรับผิดประเภทนี้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยทั่วไป เช่น ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ซึ่งเป็นความรับผิดเด็ดขาดในหนี้มูลละเมิด ในลักษณะสัญญาก็มีโดยทั่วไป เช่น ความรับผิดตามมาตรา 472,562,616-618 ฯลฯ เป็นต้น ถึงแม้ขนาดเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งโดยหลักย่อมยกเว้นความรับผิดทั้งปวง (Lalou,TraitePratiquedelaResponsabilite,1955.p.224,Salmond,Torts1957,p.572)กฎหมายก็ยังให้ต้องรับผิดอันเป็นหลักกฎหมายที่บัญญัติไว้มีอยู่โดยทั่วไป เช่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 217,413,439,660,760 ฯลฯ เป็นต้น (3) นอกจากสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจง ก็ยังมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอันเป็นข้อตกลงระหว่างคู่กรณี แต่เป็นความผูกพันตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าวย่อมเป็นกฎหมายอย่างหนึ่งระหว่างคู่สัญญา(ConventionalLaw)(Salmond,Jurisprudence,1966,pp.114,124)ในการทำสัญญา คู่สัญญาย่อมตกลงกันอย่างไรก็ได้ ในเมื่อข้อตกลงนั้นไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151) เป็นไปตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา (primauteautonomiedelavolonte) ไม่ใช่เรื่องที่ศาลจะไปเพิ่มเติมถ้อยคำลงในการแสดงเจตนาของคู่กรณีนั้น แม้คู่สัญญาจะไม่ได้กระทำความผิด ไม่มีความผิดก็ต้องรับผิด ถือว่าสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา สัญญามีไว้ว่าให้ต้องรับผิดก็ต้องเป็นไปตามนั้นเป็นความรับผิดเด็ดขาดเกิดจากข้อตกลงโดยมูลสัญญา ถึงขนาดมีเหตุสุดวิสัย ก็ย่อมตกลงให้รับผิดกันได้ ตามกฎหมายบางกรณีก็ยังบัญญัติให้บุคคลต้องรับผิดภายใต้ข้อจำกัดบางประการ เหตุใดจะตกลงในสัญญาให้รับผิดในเมื่อไม่มีความผิด (ไม่ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ) หรือถึงขนาดมีเหตุสุดวิสัยจะไม่ได้เล่าตามคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับที่บันทึกนี้ ศาลฎีกามิได้ให้เหตุผลว่าข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งจำเลยผู้เช่าซื้อต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเพราะเหตุใด เกี่ยวกับการตีความสัญญาเช่าซื้อฉบับนี้ ผู้บันทึกเห็นว่าจำเลยผู้เช่าซื้อต้องรับผิดต่อโจทก์ ผู้ให้เช่าซื้อในการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน แม้เหตุนั้นจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยด้วยก็ตาม ผู้บันทึกยังเห็นต่อไปด้วยว่า แม้จะมีคำว่า "ทุกชนิด"หรือไม่ก็ตาม ข้อสัญญาก็ยังรวมถึงกรณีความรับผิดเด็ดขาดหรือที่มีเหตุสุดวิสัยด้วย หากจะมีคำว่า "ทุกชนิด" ก็ชัดแจ้งยิ่งขึ้นอย่างไม่มีข้อสงสัย (4) อย่างไรก็ดี ตามคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ ศาลฎีกาตั้งข้อสังเกตว่า "การที่จำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจเกิดจากสภาพของรถก็ได้" ผู้บันทึกเห็นว่าเมื่อเกิดจากสภาพของรถก็ย่อมเป็นความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่เช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องรับผิดต่อผู้เช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 549,472 คดีนี้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งโจทก์ยกเหตุที่ทรัพย์สินที่เช่าซื้อคือรถพิพาทชำรุดบกพร่องซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ให้เช่าซื้อต้องรับผิดต่อจำเลยผู้เช่าซื้อ ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยหรือไม่ แต่เหตุที่เกิดขึ้นนี้เป็นเหตุที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยผู้เช่าซื้อตามบทกฎหมายดังกล่าว ควรที่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยเห็นว่าเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)โดยยกฟ้องโจทก์ในข้อนี้ จะเป็นความเหมาะสมเป็นธรรมยิ่งกว่า ไพจิตรปุญญพันธุ์
เดิมจำเลยมีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยก็ได้ยินยอมตกลงตามประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาท ระหว่างโจทก์กับจำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมาหลายงวดย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน ขณะที่จำเลยขับรถพิพาทไป ได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคัน สัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วยแต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้นแต่โจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นความผิดของจำเลยอย่างไรหรือไม่ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ดี ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ เสี่ยง ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 จ - 4276 กรุงเทพมหานคร จากโจทก์ในราคาเช่าซื้อ399,000 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวด งวดละเดือน เดือนละ11,084 บาท จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดรวมทั้งอัคคีภัยด้วยในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์รวม 13 งวด แล้วผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว หากรถยนต์อยู่ในความครอบครองของโจทก์ก็อาจนำไปให้บุคคลอื่นเช่าได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 11,084 บาท ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 8 เดือน เป็นเงิน 88,672 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน399,000 บาท แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 88,672 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 11,084 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือชำระราคาแทนแก่โจทก์เสร็จสิ้น
จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 จ - 4276 กรุงเทพมหานคร จากตลาดซื้อขายรถยนต์ใช้แล้วในราคา 400,000 บาท จำเลยที่ 1 ไม่อาจชำระราคาได้ในครั้งเดียว ผู้ขายเสนอให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนบางส่วน ที่เหลือจะหาสถาบันการเงินให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน จำเลยที่ 1 จึงชำระเงินให้ผู้ขายเป็นจำนวน 100,000 บาท แล้วผู้ขายพาจำเลยที่ 1 ไปกู้ยืมเงินจากโจทก์ชำระค่าซื้อขายส่วนที่เหลืออีก 300,000 บาท โดยทำสัญญาเช่าซื้ออำพรางการกู้ยืมเงิน จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 มิได้ค้ำประกันการเช่าซื้อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ไม่เคยผิดสัญญา ชำระหนี้ตลอดเวลาที่ครอบครองรถดูแลรักษารถมาด้วยดีและโจทก์ไม่เคยทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ละเลยการดูแลรักษารถเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2531 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 ได้นั่งรถพิพาทไปตามถนนศรีนครินทร์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับระหว่างรถพิพาทกำลังแล่นปรากฏว่าได้มีไฟลุกไหม้ขึ้นที่หน้ารถ เป็นเหตุให้รถพิพาทถูกไฟลุกไหม้ทั้งคันซึ่งเกิดจากสภาพของตัวรถพิพาทที่โจทก์ต้องรับผิดชอบ เพราะความเสียหายมิได้เกิดจากเหตุภายนอก หรือเกิดจากจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเพราะเกิดจากเหตุสุดวิสัย ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงิน254,908 บาท แก่โจทก์
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อแรกมีว่า สัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินหรือไม่ เห็นว่า แม้เดิมจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ 300,000 บาท แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.4ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมา 13 งวด ย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา
ปัญหาข้อต่อไปมีว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์หรือไม่ ปัญหานี้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปนั้นได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคันเห็นว่า เมื่อรถพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายไปทั้งคันสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียว สำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้น แต่โจทก์มีนายวีรศักดิ์ เอื้ออรุณพานิช มาเบิกความเพียงปากเดียวเฉพาะเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้น นายวีรศักดิ์หาได้เบิกความถึงไม่ว่าเป็นเพราะความผิดของจำเลยที่ 1 อย่างไรหรือไม่ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยที่ 2 ข้อรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ได้ทั้งไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้เสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
เดิมจำเลยมีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยก็ได้ยินยอมตกลงตามประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาท ระหว่างโจทก์กับจำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมาหลายงวดย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน ขณะที่จำเลยขับรถพิพาทไป ได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคัน สัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วยแต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้นแต่โจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นความผิดของจำเลยอย่างไรหรือไม่ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ดี ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ เสี่ยง ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 จ - 4276 กรุงเทพมหานคร จากโจทก์ในราคาเช่าซื้อ399,000 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวด งวดละเดือน เดือนละ11,084 บาท จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดรวมทั้งอัคคีภัยด้วยในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์รวม 13 งวด แล้วผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว หากรถยนต์อยู่ในความครอบครองของโจทก์ก็อาจนำไปให้บุคคลอื่นเช่าได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 11,084 บาท ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 8 เดือน เป็นเงิน 88,672 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน399,000 บาท แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 88,672 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 11,084 บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือชำระราคาแทนแก่โจทก์เสร็จสิ้น
จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์หมายเลขทะเบียน 8 จ - 4276 กรุงเทพมหานคร จากตลาดซื้อขายรถยนต์ใช้แล้วในราคา 400,000 บาท จำเลยที่ 1 ไม่อาจชำระราคาได้ในครั้งเดียว ผู้ขายเสนอให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนบางส่วน ที่เหลือจะหาสถาบันการเงินให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน จำเลยที่ 1 จึงชำระเงินให้ผู้ขายเป็นจำนวน 100,000 บาท แล้วผู้ขายพาจำเลยที่ 1 ไปกู้ยืมเงินจากโจทก์ชำระค่าซื้อขายส่วนที่เหลืออีก 300,000 บาท โดยทำสัญญาเช่าซื้ออำพรางการกู้ยืมเงิน จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 มิได้ค้ำประกันการเช่าซื้อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ไม่เคยผิดสัญญา ชำระหนี้ตลอดเวลาที่ครอบครองรถดูแลรักษารถมาด้วยดีและโจทก์ไม่เคยทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ละเลยการดูแลรักษารถเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2531 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 ได้นั่งรถพิพาทไปตามถนนศรีนครินทร์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับระหว่างรถพิพาทกำลังแล่นปรากฏว่าได้มีไฟลุกไหม้ขึ้นที่หน้ารถ เป็นเหตุให้รถพิพาทถูกไฟลุกไหม้ทั้งคันซึ่งเกิดจากสภาพของตัวรถพิพาทที่โจทก์ต้องรับผิดชอบ เพราะความเสียหายมิได้เกิดจากเหตุภายนอก หรือเกิดจากจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเพราะเกิดจากเหตุสุดวิสัย ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงิน254,908 บาท แก่โจทก์
จำเลยทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยข้อแรกมีว่า สัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินหรือไม่ เห็นว่า แม้เดิมจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ 300,000 บาท แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.4ทั้งจำเลยที่ 1 ก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมา 13 งวด ย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินดังที่จำเลยทั้งสองฎีกา
ปัญหาข้อต่อไปมีว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์หรือไม่ ปัญหานี้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับรถพิพาทไปนั้นได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคันเห็นว่า เมื่อรถพิพาทอันเป็นทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายไปทั้งคันสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่าผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียว สำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้น แต่โจทก์มีนายวีรศักดิ์ เอื้ออรุณพานิช มาเบิกความเพียงปากเดียวเฉพาะเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเท่านั้น นายวีรศักดิ์หาได้เบิกความถึงไม่ว่าเป็นเพราะความผิดของจำเลยที่ 1 อย่างไรหรือไม่ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยที่ 2 ข้อรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ได้ทั้งไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้เสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
เดิมจำเลยมีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมาหลายงวดย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ขณะที่จำเลยขับรถพิพาทไป ได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคัน สัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้นแต่โจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นความผิดของจำเลยอย่างไรหรือไม่ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
เดิมจำเลยมีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินจากโจทก์เพื่อนำมาชำระค่าซื้อรถพิพาทที่ยังขาดอยู่ แต่เมื่อโจทก์ต้องการให้โอนกรรมสิทธิ์ในรถพิพาทให้เป็นของโจทก์ก่อนแล้วให้จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทกับโจทก์ จำเลยก็ได้ยินยอมตกลงตามความประสงค์ของโจทก์ โดยได้มีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ทั้งจำเลยก็ได้ผ่อนชำระเงินค่าเช่าซื้อมาหลายงวดย่อมถือว่าคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาเช่าซื้อกัน สัญญาเช่าซื้อจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ขณะที่จำเลยขับรถพิพาทไป ได้เกิดไฟลุกไหม้รถพิพาทเสียหายทั้งคัน สัญญาเช่าซื้อรถพิพาทย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 ประกอบด้วยมาตรา 572 แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อตกลงว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและมีการซ่อมแซมที่ดี และรับผิดชอบแต่ผู้เดียวสำหรับการเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายทุกชนิดของทรัพย์สิน รวมทั้งอัคคีภัยด้วย แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมหมายถึงการสูญหายหรือเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อต้องรับผิดเท่านั้นแต่โจทก์มิได้นำสืบว่าเป็นความผิดของจำเลยอย่างไรหรือไม่ในกรณีที่รถพิพาทถูกไฟไหม้ การที่จำเลยขับรถพิพาทไปแล้วเกิดไฟลุกไหม้อาจจะเกิดจากสภาพของรถก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระราคารถพิพาทให้โจทก์
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างบุคคลล้มละลายกับบุคคลภายนอก หากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน และให้บุคคลภายนอกโอนที่ดินสู่กองทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายถ้าไม่สามารถโอนได้ให้ใช้ราคาแทนพร้อมดอกเบี้ยนั้น ให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน มิใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการโอน เพราะตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่และยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องขอให้เพิกถอน และปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่เมื่อใดเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองถูกฟ้องขอให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2531ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่6 ตุลาคม 2531 ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2530 อันเป็นระยะเวลาภายใน 3 ปี ก่อนจำเลยทั้งสองถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยที่ 2ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3725 ให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ต้องห้ามตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินรายนี้หากไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ให้ผู้คัดค้านใช้ราคาที่ดินเป็นเงิน 1,307,320 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันยื่นคำร้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ได้รับโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 3725ระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้าน ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ให้ผู้คัดค้านกลับสู่ฐานะเดิมโดยให้โอนที่ดินแปลงดังกล่าวสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 หากผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำสั่งของศาลเป็นการแสดงเจตนาของผู้คัดค้านหากไม่สามารถโอนได้ให้ผู้คัดค้านใช้ราคาที่ดินเป็นเงิน 1,307,320บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการโอน (วันที่ 27 กันยายน 2533)ไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงจึงเชื่อได้ว่า ผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวถือได้ว่าผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริตได้ความดังนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 ทั้งนี้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทนหรือไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2กับผู้คัดค้านศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้นแต่ที่ศาลล่างทั้งสองให้ผู้คัดค้านใช้ราคาที่ดินพิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการโอน (วันที่ 27 กันยายน 2533) ไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จนั้น เห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะการเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป แม้ผู้คัดค้านไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง"
พิพากษาแก้เป็นว่า ในส่วนของดอกเบี้ยให้ผู้คัดค้านชำระตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน (วันที่ 15พฤศจิกายน 2534) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างบุคคลล้มละลายกับบุคคลภายนอก หากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน และให้บุคคลภายนอกโอนที่ดินสู่กองทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายถ้าไม่สามารถโอนได้ให้ใช้ราคาแทนพร้อมดอกเบี้ยนั้น ให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน มิใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการโอน เพราะตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่และยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องขอให้เพิกถอน และปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่เมื่อใดเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองถูกฟ้องขอให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2531ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่6 ตุลาคม 2531 ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2530 อันเป็นระยะเวลาภายใน 3 ปี ก่อนจำเลยทั้งสองถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยที่ 2ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3725 ให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ต้องห้ามตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินรายนี้หากไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ให้ผู้คัดค้านใช้ราคาที่ดินเป็นเงิน 1,307,320 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันยื่นคำร้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ได้รับโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 3725ระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้าน ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ให้ผู้คัดค้านกลับสู่ฐานะเดิมโดยให้โอนที่ดินแปลงดังกล่าวสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 หากผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำสั่งของศาลเป็นการแสดงเจตนาของผู้คัดค้านหากไม่สามารถโอนได้ให้ผู้คัดค้านใช้ราคาที่ดินเป็นเงิน 1,307,320บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการโอน (วันที่ 27 กันยายน 2533)ไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงจึงเชื่อได้ว่า ผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวถือได้ว่าผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริตได้ความดังนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 ทั้งนี้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทนหรือไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2กับผู้คัดค้านศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้นแต่ที่ศาลล่างทั้งสองให้ผู้คัดค้านใช้ราคาที่ดินพิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการโอน (วันที่ 27 กันยายน 2533) ไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จนั้น เห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะการเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป แม้ผู้คัดค้านไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง"
พิพากษาแก้เป็นว่า ในส่วนของดอกเบี้ยให้ผู้คัดค้านชำระตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน (วันที่ 15พฤศจิกายน 2534) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2จากจังหวัดภูเก็ต มาจังหวัดสงขลาด้วยรถยนต์กระบะแล้วเข้าพักในโรงแรมเดียวกันจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกระเป๋าสีดำเข้าไปในโรงแรม ต่อมาจำเลยที่ 1 หิ้วกระเป๋าออกจากโรงแรมขับรถออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 2 และถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในที่เกิดเหตุพร้อมเฮโรอีนที่บรรจุในกระเป๋าสีดำ ดังนี้แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2แต่ตามพฤติการณ์ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีนจำนวน 1 ถุงหนัก 1.780 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 7(1), 8, 15, 66, 102ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และริบของกลาง
จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7(1), 8,15 วรรคสอง, 16 วรรคสอง, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83ให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสาม คำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และคำเบิกความของจำเลยที่ 3เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้คนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78ประกอบกับมาตรา 52(1) คงจำคุกจำเลยทั้งสามตลอดชีวิตริบของกลางทั้งหมด
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลยทั้งสามฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่จำเลยที่ 3 ก็รับว่าเดินทางมาจังหวัดสงขลา พร้อมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 และพักอยู่ที่โรงแรมพิมานด้วยกัน จำเลยที่ 1 ก็เบิกความเจือสมกับข้อนำสืบของโจทก์ว่าก่อนเดินทางจากจังหวัดภูเก็ตมาจังหวัดสงขลาจำเลยที่ 3 หิ้วกระเป๋าสีดำเอามาไว้ในรถด้วยร้อยตำรวจเอกอุทัยผู้จับกุมจำเลยที่ 3 เบิกความว่าในวันเกิดเหตุเมื่อรถยนต์กระบะสีแดงตามที่สายลับแจ้งแล่นเข้าไปจอดที่โรงแรมพิมาน จำเลยที่ 3 หิ้วกระเป๋าสีดำเดินเข้าไปในโรงแรมต่อมาเวลา 12 นาฬิกา จำเลยที่ 1 หิ้วกระเป๋าออกมาจากโรงแรมขับรถออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 2และถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมที่แหลมสมิหลาพร้อมเฮโรอีนที่บรรจุอยู่ในกระเป๋าสีดำ การมียาเสพติดให้โทษจำนวนมากไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษสูง การขนย้ายหรือจำหน่ายผู้กระทำผิดย่อมปกปิดเป็นความลับ ให้รู้กันเฉพาะผู้ร่วมกระทำผิด การที่จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1และที่ 2 ของจังหวัดภูเก็ตมาจังหวัดสงขลาเข้าพักในโรงแรมเดียวกันและเป็นผู้ถือกระเป๋าสีดำเข้าไปในโรงแรมพฤติการณ์เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 3 ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยดังโจทก์ฟ้อง แต่ตามพฤติการณ์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการค้ายาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยทั้งสามถึงประหารชีวิตมานั้นหนักเกินไป ศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้เบาลงอีก
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามตลอดชีวิตคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และคำเบิกความของจำเลยที่ 3 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้านลงโทษให้คนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78ประกอบด้วยมาตรา 53 คงจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 33 ปี 4 เดือนนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2จากจังหวัดภูเก็ต มาจังหวัดสงขลาด้วยรถยนต์กระบะแล้วเข้าพักในโรงแรมเดียวกันจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกระเป๋าสีดำเข้าไปในโรงแรม ต่อมาจำเลยที่ 1 หิ้วกระเป๋าออกจากโรงแรมขับรถออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 2 และถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในที่เกิดเหตุพร้อมเฮโรอีนที่บรรจุในกระเป๋าสีดำ ดังนี้แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2แต่ตามพฤติการณ์ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีนจำนวน 1 ถุงหนัก 1.780 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 7(1), 8, 15, 66, 102ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และริบของกลาง
จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7(1), 8,15 วรรคสอง, 16 วรรคสอง, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83ให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสาม คำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และคำเบิกความของจำเลยที่ 3เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้คนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78ประกอบกับมาตรา 52(1) คงจำคุกจำเลยทั้งสามตลอดชีวิตริบของกลางทั้งหมด
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลยทั้งสามฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 แม้จะไม่ถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่จำเลยที่ 3 ก็รับว่าเดินทางมาจังหวัดสงขลา พร้อมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 และพักอยู่ที่โรงแรมพิมานด้วยกัน จำเลยที่ 1 ก็เบิกความเจือสมกับข้อนำสืบของโจทก์ว่าก่อนเดินทางจากจังหวัดภูเก็ตมาจังหวัดสงขลาจำเลยที่ 3 หิ้วกระเป๋าสีดำเอามาไว้ในรถด้วยร้อยตำรวจเอกอุทัยผู้จับกุมจำเลยที่ 3 เบิกความว่าในวันเกิดเหตุเมื่อรถยนต์กระบะสีแดงตามที่สายลับแจ้งแล่นเข้าไปจอดที่โรงแรมพิมาน จำเลยที่ 3 หิ้วกระเป๋าสีดำเดินเข้าไปในโรงแรมต่อมาเวลา 12 นาฬิกา จำเลยที่ 1 หิ้วกระเป๋าออกมาจากโรงแรมขับรถออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 2และถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมที่แหลมสมิหลาพร้อมเฮโรอีนที่บรรจุอยู่ในกระเป๋าสีดำ การมียาเสพติดให้โทษจำนวนมากไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษสูง การขนย้ายหรือจำหน่ายผู้กระทำผิดย่อมปกปิดเป็นความลับ ให้รู้กันเฉพาะผู้ร่วมกระทำผิด การที่จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1และที่ 2 ของจังหวัดภูเก็ตมาจังหวัดสงขลาเข้าพักในโรงแรมเดียวกันและเป็นผู้ถือกระเป๋าสีดำเข้าไปในโรงแรมพฤติการณ์เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 3 ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยดังโจทก์ฟ้อง แต่ตามพฤติการณ์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการค้ายาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยทั้งสามถึงประหารชีวิตมานั้นหนักเกินไป ศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้เบาลงอีก
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามตลอดชีวิตคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และคำเบิกความของจำเลยที่ 3 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้านลงโทษให้คนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78ประกอบด้วยมาตรา 53 คงจำคุกจำเลยทั้งสามคนละ 33 ปี 4 เดือนนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จากจังหวัดภูเก็ต มาจังหวัดสงขลาด้วยรถยนต์กระบะแล้วเข้าพักในโรงแรมเดียวกันจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกระเป๋าสีดำเข้าไปในโรงแรม ต่อมาจำเลยที่ 1 หิ้วกระเป๋าออกจากโรงแรมขับรถออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 2 และถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในที่เกิดเหตุพร้อมเฮโรอีนที่บรรจุในกระเป๋าสีดำ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ตามพฤติการณ์ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง
จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จากจังหวัดภูเก็ต มาจังหวัดสงขลาด้วยรถยนต์กระบะแล้วเข้าพักในโรงแรมเดียวกันจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกระเป๋าสีดำเข้าไปในโรงแรม ต่อมาจำเลยที่ 1 หิ้วกระเป๋าออกจากโรงแรมขับรถออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 2 และถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในที่เกิดเหตุพร้อมเฮโรอีนที่บรรจุในกระเป๋าสีดำ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ตามพฤติการณ์ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|