ข้อพิพาทระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างประเภทสถาบันอุดมศึกเอกชนมีการคุ้มครองแรงงานไว้โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 มาตรา 23 กิจการของจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เพียงแต่ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับผลประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2549 อันเป็นกฎกระทรวงที่คุ้มครองให้ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้รับผลประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ให้นำกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์มาใช้บังคับ ระเบียบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2549 จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5การที่จำเลยออกระเบียบเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ 2549 ใช้บังคับโดยให้ยกเลิกระเบียบวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2525 ไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 หรือจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 จำเลยมีอำนาจออกระเบียบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2549 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (2) แห่ง พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 โดยไม่จำต้องตกลงกับโจทก์หรือลูกจ้างของจำเลย หรือโจทก์หรือลูกจ้างของจำเลยต้องยินยอมโดยชัดแจ้งแม้โจทก์จะเข้าเป็นลูกจ้างของจำเลยในขณะที่ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 ใช้บังคับอยู่ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 มาตรา 129 บัญญัติให้ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตาม พ.ร.บ.นี้ โจทก์จึงเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาจำเลย และต้องอยู่ภายใต้บังคับระเบียบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2549 ที่ออกมาโดยชอบ ระเบียบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2549 จึงยังคงใช้บังคับแก่ผู้ปฏิบัติงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย การที่จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามระเบียบดังกล่าวชอบแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 วรรคสองและวรรคสาม เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย เมื่อย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้ว ศาลแรงงานกลางไม่ต้องพิพากษาคดีใหม่หากเห็นว่าไม่เป็นให้ผลคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าหากศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ฟังใหม่เป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ต้องพิพากษาคดีใหม่ การย้อนสำนวนในกรณีนี้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่จำต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง เพราะหากศาลแรงงานกลางไม่ได้พิพากษาคดีนั้นใหม่ ก็เท่ากับว่าไม่มีคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษตรวจสอบเพราะถูกยกไปเสียแล้ว ดังนั้น ในส่วนของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคดีนี้ศาลแรงงานกลางมิได้พิพากษาคดีใหม่ จึงไม่มีคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ข้อพิพาทระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างประเภทสถาบันอุดมศึกเอกชนมีการคุ้มครองแรงงานไว้โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 มาตรา 23 กิจการของจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เพียงแต่ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับผลประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานและผลประโยชน์ตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2549 อันเป็นกฎกระทรวงที่คุ้มครองให้ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้รับผลประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ให้นำกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์มาใช้บังคับ ระเบียบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2549 จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5การที่จำเลยออกระเบียบเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ 2549 ใช้บังคับโดยให้ยกเลิกระเบียบวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2525 ไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 หรือจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 จำเลยมีอำนาจออกระเบียบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2549 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (2) แห่ง พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 โดยไม่จำต้องตกลงกับโจทก์หรือลูกจ้างของจำเลย หรือโจทก์หรือลูกจ้างของจำเลยต้องยินยอมโดยชัดแจ้งแม้โจทก์จะเข้าเป็นลูกจ้างของจำเลยในขณะที่ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 ใช้บังคับอยู่ก็ตาม แต่ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 มาตรา 129 บัญญัติให้ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 เป็นผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตาม พ.ร.บ.นี้ โจทก์จึงเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาจำเลย และต้องอยู่ภายใต้บังคับระเบียบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2549 ที่ออกมาโดยชอบ ระเบียบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าด้วย บำเหน็จ พ.ศ. 2549 จึงยังคงใช้บังคับแก่ผู้ปฏิบัติงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย การที่จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามระเบียบดังกล่าวชอบแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 วรรคสองและวรรคสาม เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย เมื่อย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้ว ศาลแรงงานกลางไม่ต้องพิพากษาคดีใหม่หากเห็นว่าไม่เป็นให้ผลคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าหากศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ฟังใหม่เป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ต้องพิพากษาคดีใหม่ การย้อนสำนวนในกรณีนี้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่จำต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง เพราะหากศาลแรงงานกลางไม่ได้พิพากษาคดีนั้นใหม่ ก็เท่ากับว่าไม่มีคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษตรวจสอบเพราะถูกยกไปเสียแล้ว ดังนั้น ในส่วนของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคดีนี้ศาลแรงงานกลางมิได้พิพากษาคดีใหม่ จึงไม่มีคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
การลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างผลขาดทุนสะสมของบริษัทสามารถกระทำได้ แต่การลงมติในการประชุมใหญ่ต้องกระทำให้ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยการประชุมใหญ่ ในการลดทุนโดยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 25 บาท ผู้ถือหุ้นทุกรายจะต้องถูกลดมูลค่าหุ้นที่ได้ชำระแล้วในจำนวนที่เท่ากัน แต่ในส่วนของหุ้นที่ยังชำระไม่เต็มมูลค่าหุ้นโดยชำระเพียง 25 บาท การลดทุนจดทะเบียนโดยการลดมูลค่าหุ้นในหุ้นที่มีการชำระค่าหุ้นที่ไม่เท่ากันนี้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นไม่เท่ากัน โดยผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้วจะสูญเสียเงินลงทุนไปหุ้นละ 75 บาท ในขณะที่ผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นไปเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนลดทุน จะลดมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้วจาก 25 บาท เป็นชำระค่าหุ้นแล้วหุ้นละ 6.25 บาท และผู้คัดค้านเรียกให้ชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวนอีกเพียงหุ้นละ 18.75 บาท เท่ากับผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนลดทุน สูญเสียเงินลงทุนไปเพียงหุ้นละ 18.75 บาท อันเป็นจำนวนที่ต่างกันมาก ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าหุ้นก่อนลดทุน และการขาดทุนสะสมได้เกิดขึ้นแล้วก่อนการลงมติพิเศษให้ลดทุนผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นจะต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วนนั้นต่อการขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้ว วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ผู้คัดค้านจะต้องดำเนินการให้ผู้ถือหุ้นทุกรายชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวนค่าหุ้นเสียก่อนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายที่จะต้องสูญเสียเงินลงทุนในจำนวนที่เท่ากันในแต่ละหุ้น กรณีเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่ยังชำระค่าหุ้นไม่เต็มมูลค่าเพียงรายเดียวโดยชำระเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนการลดทุน เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากมติพิเศษในการประชุมนี้เพียงรายเดียว บริษัท ท. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในการลงมติพิเศษเพื่อลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ จึงต้องห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 เมื่อไม่นับคะแนนเสียงของบริษัท ท. เข้าด้วยแล้ว มติดังกล่าวก็ไม่ใช่คะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 1194 มติดังกล่าวจึงไม่เป็นมติพิเศษให้ลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิตามมาตรา 1145 และมาตรา 1124 ประกอบมาตรา 1194 แต่เป็นมติพิเศษอันผิดระเบียบ กรณีมีเหตุเพิกถอนมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านในวาระพิจารณาลดทุนจดทะเบียนและพิจารณาแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อให้สอดคล้องกับการลดทุน
การลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างผลขาดทุนสะสมของบริษัทสามารถกระทำได้ แต่การลงมติในการประชุมใหญ่ต้องกระทำให้ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยการประชุมใหญ่ ในการลดทุนโดยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 25 บาท ผู้ถือหุ้นทุกรายจะต้องถูกลดมูลค่าหุ้นที่ได้ชำระแล้วในจำนวนที่เท่ากัน แต่ในส่วนของหุ้นที่ยังชำระไม่เต็มมูลค่าหุ้นโดยชำระเพียง 25 บาท การลดทุนจดทะเบียนโดยการลดมูลค่าหุ้นในหุ้นที่มีการชำระค่าหุ้นที่ไม่เท่ากันนี้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นไม่เท่ากัน โดยผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้วจะสูญเสียเงินลงทุนไปหุ้นละ 75 บาท ในขณะที่ผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นไปเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนลดทุน จะลดมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้วจาก 25 บาท เป็นชำระค่าหุ้นแล้วหุ้นละ 6.25 บาท และผู้คัดค้านเรียกให้ชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวนอีกเพียงหุ้นละ 18.75 บาท เท่ากับผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนลดทุน สูญเสียเงินลงทุนไปเพียงหุ้นละ 18.75 บาท อันเป็นจำนวนที่ต่างกันมาก ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าหุ้นก่อนลดทุน และการขาดทุนสะสมได้เกิดขึ้นแล้วก่อนการลงมติพิเศษให้ลดทุนผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นจะต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วนนั้นต่อการขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้ว วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ผู้คัดค้านจะต้องดำเนินการให้ผู้ถือหุ้นทุกรายชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวนค่าหุ้นเสียก่อนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายที่จะต้องสูญเสียเงินลงทุนในจำนวนที่เท่ากันในแต่ละหุ้น กรณีเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่ยังชำระค่าหุ้นไม่เต็มมูลค่าเพียงรายเดียวโดยชำระเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนการลดทุน เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากมติพิเศษในการประชุมนี้เพียงรายเดียว บริษัท ท. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในการลงมติพิเศษเพื่อลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ จึงต้องห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 เมื่อไม่นับคะแนนเสียงของบริษัท ท. เข้าด้วยแล้ว มติดังกล่าวก็ไม่ใช่คะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 1194 มติดังกล่าวจึงไม่เป็นมติพิเศษให้ลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิตามมาตรา 1145 และมาตรา 1124 ประกอบมาตรา 1194 แต่เป็นมติพิเศษอันผิดระเบียบ กรณีมีเหตุเพิกถอนมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านในวาระพิจารณาลดทุนจดทะเบียนและพิจารณาแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อให้สอดคล้องกับการลดทุน
กฎหมายที่ใช้บังคับแก่สภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ คือ ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 โดยประกาศดังกล่าวข้อ 31 มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และเพื่อความมั่นคงของตัวลูกจ้างซึ่งจะส่งผลให้ลูกจ้างมีกำลังใจและความมุ่งมั่นในการทำงานให้แก่นายจ้างอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดเป็นหลักการว่า ห้ามไม่ให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดไว้ แต่หากลูกจ้างให้ความยินยอมล่วงหน้าไว้ นายจ้างก็มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เพื่อชำระหนี้สินของสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นจำนวนไม่เกินร้อยละสิบของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ และมีสิทธิหักรวมกับเงินอื่นตาม (2) (4) และ (5) แล้วไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับได้ หากลูกจ้างให้ความยินยอมเป็นหนังสือไว้ล่วงหน้าด้วย นายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างและเงินอื่นใดดังกล่าวเพื่อชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นจำนวนเกินร้อยละสิบของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ และมีสิทธิหักรวมกับเงินอื่นตาม (2) (4) และ (5) แล้วเกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับได้ ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำไว้ และไม่ได้กำหนดว่า หนี้สินของสหกรณ์ออมทรัพย์ต้องเป็นหนี้สินโดยตรงของลูกจ้างที่เกิดขึ้นแล้วในขณะลูกจ้างทำหนังสือให้ความยินยอมโจทก์ทำหนังสือถึงจำเลยยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือน ค่าจ้าง หรือเงินอื่นใด ที่ถึงกำหนดจ่ายแก่โจทก์ เพื่อชำระหนี้หรือภาระผูกพันที่มีต่อสหกรณ์ให้แก่สหกรณ์ตามจำนวนที่สหกรณ์แจ้งไป จนกว่าหนี้หรือภาระผูกพันนั้นจะระงับสิ้นไป โดยให้หักเงินและส่งเงินที่หักไว้นั้นให้แก่สหกรณ์โดยพลันโดยไม่ต้องฟ้องร้องแต่อย่างใด โดยโจทก์ยินยอมให้หักได้เกินกว่าร้อยละสิบและให้หักรวมกับรายการหักอื่น ๆ ได้เกินกว่าหนึ่งในห้าของเงินที่โจทก์มีสิทธิรับ ขณะโจทก์ทำหนังสือยินยอม หนี้เงินกู้ระหว่าง ฉ. ผู้กู้กับสหกรณ์ออมทรัพย์การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำกัด ได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว และโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันมีความผูกพันต่อสหกรณ์ออมทรัพย์การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้กู้ว่าจะเข้าชำระหนี้แทนหากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ทำหนังสือยินยอมดังกล่าวเป็นการสละสิทธิเกี่ยงให้ผู้กู้ชำระหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 อันเป็นการให้ความยินยอมเป็นหนังสือไว้ล่วงหน้า ตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ 31 วรรคสอง ดังนี้ เมื่อผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินกู้ จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนค่าจ้างของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้แทนผู้กู้ได้ นอกจากจำเลยหักเงินเดือนค่าจ้างหรือเงินอื่นใดของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมแทนผู้กู้ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันแล้ว ยังหักเพื่อชำระค่าหุ้นของโจทก์และหนี้เงินกู้ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้กู้ด้วย ในขณะทำหนังสือยินยอมโจทก์สามารถคาดหมายได้ว่า เมื่อหักแล้วเงินเดือนค่าจ้างหรือเงินอื่นใดจะเหลือเพียงพอแก่การดำรงชีพได้หรือไม่ การที่จำเลยหักเงินเดือนค่าจ้างหรือเงินอื่นใดของโจทก์เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวแล้วคงเหลือเงินไม่เพียงพอที่โจทก์สามารถดำรงชีพได้หรือบางเดือนเหลือศูนย์บาทจึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ 31 บัญญัติเกี่ยวกับการหักเงินเดือนค่าจ้างและเงินอื่นใด เพื่อชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ไว้แล้ว จึงหาอาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 302 วรรคหนึ่ง (3) มาปรับใช้ในฐานเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง โดยให้ถือว่าจำนวนเงินสองหมื่นบาทเป็นเงินเดือนค่าจ้างที่ต้องคงเหลือภายหลังการหักชำระหนี้หรือให้ศาลเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินคงเหลือได้ไม่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการหักเงินเดือนเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551 ข้อ 7 เป็นระเบียบที่ออกโดยเฉพาะเพื่อใช้ปฏิบัติภายในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ได้ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 42/1 ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินเดือนค่าจ้างหรือเงินอื่นใดคงเหลือภายหลังหักชำระหนี้ไว้ การออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวจึงแสดงให้ให้เห็นว่า ในกรณีของรัฐวิสาหกิจก็ต้องออกระเบียบเป็นพิเศษโดยเฉพาะเช่นกัน หรือต้องแก้ไขประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 31 เสียก่อน การที่จำเลยหักเงินเดือนค่าจ้างของโจทก์ชำระหนี้ในส่วนของความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแทนผู้กู้ที่ผิดนัดให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งบางเดือนเงินเดือนค่าจ้างคงเหลือศูนย์บาท จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
กฎหมายที่ใช้บังคับแก่สภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ คือ ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 โดยประกาศดังกล่าวข้อ 31 มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และเพื่อความมั่นคงของตัวลูกจ้างซึ่งจะส่งผลให้ลูกจ้างมีกำลังใจและความมุ่งมั่นในการทำงานให้แก่นายจ้างอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดเป็นหลักการว่า ห้ามไม่ให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดไว้ แต่หากลูกจ้างให้ความยินยอมล่วงหน้าไว้ นายจ้างก็มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เพื่อชำระหนี้สินของสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นจำนวนไม่เกินร้อยละสิบของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ และมีสิทธิหักรวมกับเงินอื่นตาม (2) (4) และ (5) แล้วไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับได้ หากลูกจ้างให้ความยินยอมเป็นหนังสือไว้ล่วงหน้าด้วย นายจ้างมีสิทธิหักค่าจ้างและเงินอื่นใดดังกล่าวเพื่อชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์เป็นจำนวนเกินร้อยละสิบของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ และมีสิทธิหักรวมกับเงินอื่นตาม (2) (4) และ (5) แล้วเกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับได้ ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำไว้ และไม่ได้กำหนดว่า หนี้สินของสหกรณ์ออมทรัพย์ต้องเป็นหนี้สินโดยตรงของลูกจ้างที่เกิดขึ้นแล้วในขณะลูกจ้างทำหนังสือให้ความยินยอมโจทก์ทำหนังสือถึงจำเลยยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือน ค่าจ้าง หรือเงินอื่นใด ที่ถึงกำหนดจ่ายแก่โจทก์ เพื่อชำระหนี้หรือภาระผูกพันที่มีต่อสหกรณ์ให้แก่สหกรณ์ตามจำนวนที่สหกรณ์แจ้งไป จนกว่าหนี้หรือภาระผูกพันนั้นจะระงับสิ้นไป โดยให้หักเงินและส่งเงินที่หักไว้นั้นให้แก่สหกรณ์โดยพลันโดยไม่ต้องฟ้องร้องแต่อย่างใด โดยโจทก์ยินยอมให้หักได้เกินกว่าร้อยละสิบและให้หักรวมกับรายการหักอื่น ๆ ได้เกินกว่าหนึ่งในห้าของเงินที่โจทก์มีสิทธิรับ ขณะโจทก์ทำหนังสือยินยอม หนี้เงินกู้ระหว่าง ฉ. ผู้กู้กับสหกรณ์ออมทรัพย์การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำกัด ได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว และโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันมีความผูกพันต่อสหกรณ์ออมทรัพย์การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้กู้ว่าจะเข้าชำระหนี้แทนหากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ทำหนังสือยินยอมดังกล่าวเป็นการสละสิทธิเกี่ยงให้ผู้กู้ชำระหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 อันเป็นการให้ความยินยอมเป็นหนังสือไว้ล่วงหน้า ตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ 31 วรรคสอง ดังนี้ เมื่อผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินกู้ จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนค่าจ้างของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้แทนผู้กู้ได้ นอกจากจำเลยหักเงินเดือนค่าจ้างหรือเงินอื่นใดของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมแทนผู้กู้ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันแล้ว ยังหักเพื่อชำระค่าหุ้นของโจทก์และหนี้เงินกู้ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้กู้ด้วย ในขณะทำหนังสือยินยอมโจทก์สามารถคาดหมายได้ว่า เมื่อหักแล้วเงินเดือนค่าจ้างหรือเงินอื่นใดจะเหลือเพียงพอแก่การดำรงชีพได้หรือไม่ การที่จำเลยหักเงินเดือนค่าจ้างหรือเงินอื่นใดของโจทก์เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวแล้วคงเหลือเงินไม่เพียงพอที่โจทก์สามารถดำรงชีพได้หรือบางเดือนเหลือศูนย์บาทจึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ 31 บัญญัติเกี่ยวกับการหักเงินเดือนค่าจ้างและเงินอื่นใด เพื่อชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ไว้แล้ว จึงหาอาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 302 วรรคหนึ่ง (3) มาปรับใช้ในฐานเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง โดยให้ถือว่าจำนวนเงินสองหมื่นบาทเป็นเงินเดือนค่าจ้างที่ต้องคงเหลือภายหลังการหักชำระหนี้หรือให้ศาลเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินคงเหลือได้ไม่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการหักเงินเดือนเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551 ข้อ 7 เป็นระเบียบที่ออกโดยเฉพาะเพื่อใช้ปฏิบัติภายในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ได้ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 42/1 ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินเดือนค่าจ้างหรือเงินอื่นใดคงเหลือภายหลังหักชำระหนี้ไว้ การออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวจึงแสดงให้ให้เห็นว่า ในกรณีของรัฐวิสาหกิจก็ต้องออกระเบียบเป็นพิเศษโดยเฉพาะเช่นกัน หรือต้องแก้ไขประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 31 เสียก่อน การที่จำเลยหักเงินเดือนค่าจ้างของโจทก์ชำระหนี้ในส่วนของความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแทนผู้กู้ที่ผิดนัดให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์การสื่อสารแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งบางเดือนเงินเดือนค่าจ้างคงเหลือศูนย์บาท จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานจัดให้มีการเล่นการพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศ เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสามทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ. มาตรา 91 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสามฐานร่วมกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้การพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจําเลยทั้งสามในความผิดดังกล่าวอีกกระทงหนึ่งได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจําเลยทั้งสาม ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3
ความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานจัดให้มีการเล่นการพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศ เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสามทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ. มาตรา 91 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสามฐานร่วมกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้การพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจําเลยทั้งสามในความผิดดังกล่าวอีกกระทงหนึ่งได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจําเลยทั้งสาม ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงรวมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาท 2 แปลง เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ ณ. เจ้ามรดก และเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดรวมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งห้า โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนรวมทั้งจำเลยที่ 1 ต่างได้รับมรดกดังกล่าวคนละส่วนเท่า ๆ กัน รวม 6 ส่วน คิดเป็นเงินรวม 398,200 บาท จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาททั้งหมดรวมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดก แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่ดินทั้งสี่ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ต้องคิดแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับ มิใช่กรณีนำเฉพาะราคาที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 27623 มาคิดแยกรายแปลงเป็นทุนทรัพย์ของโจทก์ทั้งห้า
มูลเหตุที่โจทก์ทั้งห้าอ้างนำคดีนี้มาฟ้องเกิดจากการที่ ท. ผู้จัดการมรดกละเลยและไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก โดยไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ บ. ทายาทอย่างถูกต้อง อันเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 เมื่อ ท. และ บ. ถึงแก่ความตายก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งห้าในฐานะผู้สืบสันดานของ บ. จึงสืบสิทธิของ บ. มาฟ้องคดีนี้ ซึ่งเป็นการฟ้องเกี่ยวกับการจัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ได้บัญญัติเรื่องอายุความในการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไว้โดยเฉพาะว่า ห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง จำเลยที่ 1 เป็นผู้สืบสิทธิของ บ. เช่นเดียวกับโจทก์ทั้งห้า ถือว่าเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิของ บ. ยกอายุความห้าปีตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงรวมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาท 2 แปลง เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ ณ. เจ้ามรดก และเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดรวมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งห้า โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนรวมทั้งจำเลยที่ 1 ต่างได้รับมรดกดังกล่าวคนละส่วนเท่า ๆ กัน รวม 6 ส่วน คิดเป็นเงินรวม 398,200 บาท จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาททั้งหมดรวมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดก แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่ดินทั้งสี่ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ต้องคิดแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับ มิใช่กรณีนำเฉพาะราคาที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 27623 มาคิดแยกรายแปลงเป็นทุนทรัพย์ของโจทก์ทั้งห้า
มูลเหตุที่โจทก์ทั้งห้าอ้างนำคดีนี้มาฟ้องเกิดจากการที่ ท. ผู้จัดการมรดกละเลยและไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก โดยไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ บ. ทายาทอย่างถูกต้อง อันเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 เมื่อ ท. และ บ. ถึงแก่ความตายก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งห้าในฐานะผู้สืบสันดานของ บ. จึงสืบสิทธิของ บ. มาฟ้องคดีนี้ ซึ่งเป็นการฟ้องเกี่ยวกับการจัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ได้บัญญัติเรื่องอายุความในการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไว้โดยเฉพาะว่า ห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง จำเลยที่ 1 เป็นผู้สืบสิทธิของ บ. เช่นเดียวกับโจทก์ทั้งห้า ถือว่าเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิของ บ. ยกอายุความห้าปีตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง
พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มาตรา 12 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 13 นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษจากกำหนดโทษลง 1 ใน 6”และมาตรา 3 บัญญัติว่า “ในพระราชกฤษฎีกานี้... “ผู้กระทำความผิดซ้ำ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว และกลับมาต้องโทษจำคุกในคราวนี้อีกภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษคราวก่อน กับความผิดทั้งสองคราวไม่ใช่ความผิดฐานลหุโทษหรือประมาท..." เมื่อคำว่าผู้กระทำความผิดซ้ำเป็นองค์ประกอบหนึ่งของมาตรา 12 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่านักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมเช่นเดียวกับผู้ร้องจะได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษหรือไม่ เพียงใด อันเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนั้น แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในข้อที่วินิจฉัยแปลความคำว่า นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ตามมาตรา 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ยกเรื่องการแปลความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ทั้งคู่ความไม่ได้ยกเรื่องการแปลความดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาด้วย ศาลฎีกาก็ยกเรื่องการแปลความคำว่านักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ตามมาตรา 3 ขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225ผู้ร้องได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ในความผิดฐานลักทรัพย์ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2829/2543 ของศาลจังหวัดกาญจนบุรีอันมีผลให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว แม้การล้างมลทินไม่ได้เป็นการลบล้างความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกลงโทษจำคุกในความผิดฐานลักทรัพย์ก็ตาม แต่ผลของการล้างมลทินที่ให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว ย่อมมีความหมายชัดเจนอยู่ว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีก่อน ผู้ร้องจึงไม่ใช่นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ย่อมไม่มีทางที่ผู้ร้องจะเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำไปได้ กรณีจึงไม่อาจพิจารณาให้ผู้ร้องได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มาตรา 12
พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มาตรา 12 บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 13 นักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษจากกำหนดโทษลง 1 ใน 6”และมาตรา 3 บัญญัติว่า “ในพระราชกฤษฎีกานี้... “ผู้กระทำความผิดซ้ำ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว และกลับมาต้องโทษจำคุกในคราวนี้อีกภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษคราวก่อน กับความผิดทั้งสองคราวไม่ใช่ความผิดฐานลหุโทษหรือประมาท..." เมื่อคำว่าผู้กระทำความผิดซ้ำเป็นองค์ประกอบหนึ่งของมาตรา 12 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่านักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยมเช่นเดียวกับผู้ร้องจะได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษหรือไม่ เพียงใด อันเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนั้น แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในข้อที่วินิจฉัยแปลความคำว่า นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ตามมาตรา 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ยกเรื่องการแปลความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ทั้งคู่ความไม่ได้ยกเรื่องการแปลความดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาด้วย ศาลฎีกาก็ยกเรื่องการแปลความคำว่านักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ตามมาตรา 3 ขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225ผู้ร้องได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ในความผิดฐานลักทรัพย์ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2829/2543 ของศาลจังหวัดกาญจนบุรีอันมีผลให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว แม้การล้างมลทินไม่ได้เป็นการลบล้างความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกลงโทษจำคุกในความผิดฐานลักทรัพย์ก็ตาม แต่ผลของการล้างมลทินที่ให้ถือว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดดังกล่าว ย่อมมีความหมายชัดเจนอยู่ว่าผู้ร้องมิได้เคยถูกลงโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีก่อน ผู้ร้องจึงไม่ใช่นักโทษเด็ดขาดที่เคยต้องโทษมาแล้ว ย่อมไม่มีทางที่ผู้ร้องจะเป็นผู้กระทำความผิดซ้ำไปได้ กรณีจึงไม่อาจพิจารณาให้ผู้ร้องได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2562 มาตรา 12
ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรง เพื่ออธิบายว่ากรณีจะต้องบังคับตามรูปแผนที่ตามเอกสารหมาย จ.3 และ จ.20 หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน คำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144การบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินตามที่ขีดเส้นสีส้มในแผนที่พิพาท รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดกว้างประมาณ 26.50 เมตร อีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ 24.40 เมตร และยาวประมาณ 34 เมตร อีกด้านหนึ่งยาวประมาณ 36.20 เมตร จำนวนเนื้อที่ประมาณ 300 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 45 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทางด้านทิศใต้ของโฉนดเลขที่ 5339, 5624 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ ให้ถนนเพื่อรถยนต์แล่นเข้าออกและเป็นทางผ่านของสาธารณูปโภคจากบ้านเลขที่ 45 สู่ถนนสุขุมวิท ซอย 8 ขนาดกว้าง 3.60 เมตร ยาว 23 เมตร และถนนบริเวณหน้าบ้านเลขที่ 45 ขนาดกว้าง 3.38 เมตร เป็นทางภาระจำยอมของโจทก์ทั้งสอง ให้เพิกถอนชื่อของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนของโจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนต่อทางราชการว่าทางดังกล่าวเป็นทางภาระจำยอม หากจำเลยทั้งสองไม่ไปจดทะเบียนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองให้ยกเสีย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 45 ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5339 แต่เพียงแปลงเดียว ทางพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5339 และโฉนดเลขที่ 5624 และเป็นภาระจำยอมของที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 45 ซึ่งโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาโดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20332/2555 พิพากษาแก้เป็นว่า ที่ดินพิพาท มีความยาวประมาณ 34.50 เมตร มีเนื้อที่ 326 ตารางวา ให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่พิพากษาว่า ให้ถนนบริเวณหน้าบ้านเลขที่ 45 ขนาดกว้าง 3.38 เมตร เป็นภาระจำยอมของที่ดินพิพาทและบังคับจำเลยทั้งสองให้จดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินส่วนนี้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
วันที่ 24 มีนาคม 2558 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาเพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ มีขนาดกว้างยาวตามคำพิพากษา ปรากฏว่ามีเนื้อที่ 222.9 ตารางวา แต่โจทก์ทั้งสองทักท้วงว่าที่ดินพิพาทต้องมีเนื้อที่ 326 ตารางวา ตามที่ศาลฎีการะบุ เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการออกโฉนดที่ดินและส่งมอบแก่โจทก์ทั้งสองและจดทะเบียนภาระจำยอมให้ได้ จึงขอให้ศาลฎีกาอธิบายว่าที่ดินพิพาทต้องบังคับ หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จำเลยทั้งสองจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ศาลฎีกามีคำสั่งว่า คำพิพากษาศาลฎีกาแจ้งชัดแล้วว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์มีเนื้อที่จำนวน 326 ตารางวา ทั้งกรณีมิใช่คำพิพากษามีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง จึงไม่จำต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามที่จำเลยทั้งสองร้องขอ ให้ยกคำร้อง
วันที่ 10 มกราคม 2561 โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามคำพิพากษา และศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้แล้ว
วันที่ 24 มิถุนายน 2562 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ดำเนินการบังคับคดีโดยขอรังวัดและออกโฉนดที่ดินใหม่ตามคำพิพากษา ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง การบังคับคดีของโจทก์ทั้งสองกระทำไปโดยไม่ถูกต้อง โดยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินใหม่เกินจากที่ปรากฏตามรูปแผนที่พิพาท ซึ่งจำเลยทั้งสองได้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว จึงขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการบังคับคดีและมีคำวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
โจทก์ทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่า ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 326 ตารางวา เนื่องจากที่ดินแปลงพิพาทมีกำแพงรั้วเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กถึง 3 ด้าน การรังวัดจึงรังวัดจากแนวรั้วออกไปยังด้านที่ไม่มีรั้วเพื่อให้ได้เนื้อที่ครบ 326 ตารางวา ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ขึ้นรูปที่ดินตามเนื้อที่ดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่ได้บังคับคดีเกินคำพิพากษาแต่อย่างใด ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นว่า ให้บังคับคดีโดยรังวัดแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5339 ตามที่ขีดเส้นสีส้มในแผนที่พิพาท รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดกว้างประมาณ 26.50 เมตร อีกด้านหนึ่งยาว (ที่ถูก กว้าง) ประมาณ 24.40 เมตร และยาวประมาณ 34.50 เมตร อีกด้านหนึ่งยาวประมาณ 36.20 เมตร พร้อมบ้านเลขที่ 45 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวทางด้านทิศใต้ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อแรกว่า การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับการยื่นคำร้องในครั้งก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจในการยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นนี้ แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ทั้งสองจึงยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 252 เห็นว่า ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า ที่ดินพิพาท (ด้านหนึ่ง) มีความยาวประมาณ 34.50 เมตร มีเนื้อที่ 326 ตารางวา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันมีความหมายประกอบคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่า ที่ดินพิพาทตามที่ขีดเส้นสีส้มในแผนที่พิพาท รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดกว้างประมาณ 26.50 เมตร อีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ 24.40 เมตร และยาวประมาณ 34.50 เมตร อีกด้านหนึ่งยาวประมาณ 36.20 เมตร มีเนื้อที่ 326 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 45 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทางด้านทิศใต้ของโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อจำเลยทั้งสองดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 ดังที่ระบุในคำพิพากษา ปรากฏว่ามีเนื้อที่ 222.9 ตารางวา ย่อมทำให้เข้าใจว่าคำพิพากษาที่ระบุขนาดความกว้างยาวทั้งสี่ด้านไว้ตามรูปแผนที่กับจำนวนเนื้อที่ระบุมา 326 ตารางวา นั้น อาจมีข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 จำเลยทั้งสองจึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรงเพื่ออธิบายว่ากรณีเช่นนี้จะต้องบังคับ หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อไป แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน ซึ่งคำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ดังข้อฎีกาของโจทก์ทั้งสอง
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อหลังว่า การกำหนดวิธีการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ เห็นว่า ในชั้นเดิมศาลฎีกาวินิจฉัยว่า รูปแผนที่พิพาทที่รองจ่าศาลในศาลชั้นต้นจัดทำขึ้นตามคำสั่งศาลกับรูปแผนที่พิพาทที่ช่างรังวัดจัดทำขึ้นมีสภาพใกล้เคียงกัน โดยรูปแผนที่รังวัดเนื้อที่ได้ 326 ตารางวา จึงสมควรกำหนดให้ถูกต้อง ในชั้นบังคับคดีนี้ เมื่อพิจารณารูปแผนที่พิพาทแล้ว รูปแผนที่นี้แสดงถึงที่ดินแปลงใหญ่ของจำเลยทั้งสองตามโฉนดที่ดินเลขที่ 5624 และโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 ซึ่งอยู่ติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 5624 อยู่ทางฝั่งซ้ายมือ ส่วนแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 อยู่ทางฝั่งขวามือ มีบ้านปลูกอยู่ในที่ดิน 4 หลัง คือบ้านเลขที่ 41 ปลูกอยู่ทางฝั่งซ้ายมือตอนบน บ้านเลขที่ 45/1 ปลูกอยู่ทางฝั่งซ้ายมือตอนล่าง บ้านเลขที่ 43 ปลูกอยู่ทางฝั่งขวามือตอนบน และบ้านเลขที่ 45 ปลูกอยู่ทางฝั่งขวามือตอนล่าง ซึ่งบ้านและที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยบ้านเลขที่ 43 และบ้านเลขที่ 45 ต่างอยู่ในเขตโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 รูปแผนที่นี้ยังได้แสดงจำนวนเนื้อที่ของตัวบ้านและบริเวณของบ้านแต่ละหลังในรูปแผนที่นั้นเอง และนำมากล่าวสรุปในตอนล่างของรูปแผนที่อีกครั้ง กล่าวคือ ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5624 มีเนื้อที่ 2 งาน 23 ตารางวา (ระบุในโฉนดที่ดินมีเนื้อที่ 2 งาน 23.2 ตารางวา) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5339 มีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา (ระบุในโฉนดที่ดินมีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 73.8 ตารางวา) รวมเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 89 ตารางวา อันเป็นที่ดินแปลงใหญ่ของจำเลยทั้งสอง ส่วนบ้านทั้งสี่หลังนั้น บ้านเลขที่ 41 ตัวบ้านมีเนื้อที่ 83 ตารางวา บริเวณของบ้านมีเนื้อที่ 1 งาน 69 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ 2 งาน 52 ตารางวา บ้านเลขที่ 45/1 ตัวบ้านมีเนื้อที่ 61 ตารางวา บริเวณของบ้านมีเนื้อที่ 1 งาน 72 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ 2 งาน 33 ตารางวา บ้านเลขที่ 43 ตัวบ้านมีเนื้อที่ 1 งาน 95 ตารางวา ไม่มีการระบุบริเวณของบ้านมีเนื้อที่เท่าใด แต่มีปรากฏในรูปแผนที่ว่าบริเวณของบ้านมีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 61 ตารางวา บ้านเลขที่ 45 ตัวบ้านมีเนื้อที่ 1 งาน 9 ตารางวา บริเวณของบ้านมีเนื้อที่ 2 งาน 17 ตารางวา (แต่ในรูปแผนที่ระบุเป็น 1 งาน 92 ตารางวา) รวมเป็นเนื้อที่ 3 งาน 26 ตารางวา ตามข้อฎีกาของโจทก์ทั้งสอง เมื่อนำเนื้อที่ของบ้านทั้งสี่หลังที่ปลูกอยู่บนที่ดินแปลงใหญ่ของจำเลยทั้งสองมารวมเข้าด้วยกันแล้วจะได้เนื้อที่ 4 ไร่ 72 ตารางวา ซึ่งยังไม่รวมทางภาระจำยอมในที่ดินอีก 33 ตารางวา จะเห็นได้ว่ามีจำนวนเนื้อที่เกินไปกว่าเนื้อที่ของที่ดินแปลงใหญ่อันมีจำนวน 2 ไร่ 89 ตารางวา เกือบถึงเท่าตัว นอกจากนี้ ยังปรากฏอีกว่ามีต้นปาปาปิยากับบันไดอยู่ในเขตที่ดินของบ้านเลขที่ 43 หรืออีกนัยหนึ่งอยู่นอกแนวเขตที่ดินของบ้านเลขที่ 45 ที่โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์โดยนายกอปรลาภ ทนายโจทก์ทั้งสอง ซึ่งร่วมไปนำชี้ในการทำแผนที่พิพาทของรองจ่าศาลในศาลชั้นต้นที่ระบุตำแหน่งของบันไดตรงกับที่ปรากฏตามแผนที่พิพาท ก็เบิกความในชั้นเดิมตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองว่า เป็นบันไดทางลงข้างบ้านของบ้านเลขที่ 43 สู่สนามหญ้าหน้าบ้าน ซึ่งสามารถเดินต่อไปยังบ้านเลขที่ 45 ได้ด้วย โดยบ้านทั้งสองหลังไม่มีรั้วกั้นกลางระหว่างกัน แต่หากยอมให้ถือเอาเนื้อที่ 326 ตารางวา ดังที่ระบุในแผนที่พิพาทมาเป็นเกณฑ์ในการรังวัดแบ่งแยกแล้ว ก็จะปรากฏรูปแผนที่ต่างไปจากเดิม กล่าวคือ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ช่างรังวัด สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง ได้ไปทำการรังวัดโดยมีโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายนำชี้ให้ได้เนื้อที่ 326 ตารางวา ตามคำพิพากษา แต่ได้รูปแผนที่และระยะไม่ตรงกับรูปแผนที่พิพาท ตามรูปแผนที่นี้แสดงให้เห็นว่า นอกจากจะผนวกเอาต้นปาปาปิยาและบันไดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของฝ่ายโจทก์แล้ว เขตของที่ดินยังได้ล้ำเข้าไปถึงส่วนหนึ่งของตัวบ้านเลขที่ 43 อีกด้วย ซึ่งย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยทั้งสองเพราะไม่ใช่พื้นที่ที่โจทก์ทั้งสองครอบครองปรปักษ์ตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ไว้ จึงเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำนวนเนื้อที่ต่าง ๆ ที่ระบุมาในรูปแผนที่พิพาทมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก จำนวนเนื้อที่ของที่ดินของบ้านเลขที่ 45 ขัดแย้งกับขนาดความกว้างและความยาวที่ระบุไว้ ไม่อาจถือเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทต้องมีจำนวนเนื้อที่ 326 ตารางวา ดังฎีกาของโจทก์ทั้งสอง กรณีเช่นนี้ ต้องบังคับคดีให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง คือพื้นที่ที่โจทก์ทั้งสองครอบครองจริงจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งก็คือระยะความกว้างยาวของพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้แนวเขตไว้ในการจัดทำรูปแผนที่พิพาทของรองจ่าศาลในศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2541 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดวิธีการบังคับคดีโดยให้รังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทไปตามขนาดความกว้างยาวที่ระบุในรูปแผนที่พิพาท ซึ่งไม่ระบุถึงจำนวนเนื้อที่นั้น จึงถูกต้องชอบแล้ว ทั้งการบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริงเช่นนี้ก็ไม่ใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป แม้คดีนี้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แต่ในชั้นบังคับคดี ศาลย่อมมีอำนาจที่จะตัดสินชี้ขาดบังคับคดีไปตามที่ถูกต้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังไม่ขึ้นพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรง เพื่ออธิบายว่ากรณีจะต้องบังคับตามรูปแผนที่ตามเอกสารหมาย จ.3 และ จ.20 หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน คำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144การบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินตามที่ขีดเส้นสีส้มในแผนที่พิพาท รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดกว้างประมาณ 26.50 เมตร อีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ 24.40 เมตร และยาวประมาณ 34 เมตร อีกด้านหนึ่งยาวประมาณ 36.20 เมตร จำนวนเนื้อที่ประมาณ 300 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 45 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทางด้านทิศใต้ของโฉนดเลขที่ 5339, 5624 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ ให้ถนนเพื่อรถยนต์แล่นเข้าออกและเป็นทางผ่านของสาธารณูปโภคจากบ้านเลขที่ 45 สู่ถนนสุขุมวิท ซอย 8 ขนาดกว้าง 3.60 เมตร ยาว 23 เมตร และถนนบริเวณหน้าบ้านเลขที่ 45 ขนาดกว้าง 3.38 เมตร เป็นทางภาระจำยอมของโจทก์ทั้งสอง ให้เพิกถอนชื่อของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนของโจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนต่อทางราชการว่าทางดังกล่าวเป็นทางภาระจำยอม หากจำเลยทั้งสองไม่ไปจดทะเบียนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองให้ยกเสีย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 45 ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5339 แต่เพียงแปลงเดียว ทางพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5339 และโฉนดเลขที่ 5624 และเป็นภาระจำยอมของที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 45 ซึ่งโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาโดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20332/2555 พิพากษาแก้เป็นว่า ที่ดินพิพาท มีความยาวประมาณ 34.50 เมตร มีเนื้อที่ 326 ตารางวา ให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่พิพากษาว่า ให้ถนนบริเวณหน้าบ้านเลขที่ 45 ขนาดกว้าง 3.38 เมตร เป็นภาระจำยอมของที่ดินพิพาทและบังคับจำเลยทั้งสองให้จดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินส่วนนี้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
วันที่ 24 มีนาคม 2558 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาเพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ มีขนาดกว้างยาวตามคำพิพากษา ปรากฏว่ามีเนื้อที่ 222.9 ตารางวา แต่โจทก์ทั้งสองทักท้วงว่าที่ดินพิพาทต้องมีเนื้อที่ 326 ตารางวา ตามที่ศาลฎีการะบุ เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการออกโฉนดที่ดินและส่งมอบแก่โจทก์ทั้งสองและจดทะเบียนภาระจำยอมให้ได้ จึงขอให้ศาลฎีกาอธิบายว่าที่ดินพิพาทต้องบังคับ หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จำเลยทั้งสองจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ศาลฎีกามีคำสั่งว่า คำพิพากษาศาลฎีกาแจ้งชัดแล้วว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์มีเนื้อที่จำนวน 326 ตารางวา ทั้งกรณีมิใช่คำพิพากษามีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง จึงไม่จำต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามที่จำเลยทั้งสองร้องขอ ให้ยกคำร้อง
วันที่ 10 มกราคม 2561 โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามคำพิพากษา และศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้แล้ว
วันที่ 24 มิถุนายน 2562 จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ดำเนินการบังคับคดีโดยขอรังวัดและออกโฉนดที่ดินใหม่ตามคำพิพากษา ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง การบังคับคดีของโจทก์ทั้งสองกระทำไปโดยไม่ถูกต้อง โดยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินใหม่เกินจากที่ปรากฏตามรูปแผนที่พิพาท ซึ่งจำเลยทั้งสองได้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว จึงขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการบังคับคดีและมีคำวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
โจทก์ทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่า ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 326 ตารางวา เนื่องจากที่ดินแปลงพิพาทมีกำแพงรั้วเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กถึง 3 ด้าน การรังวัดจึงรังวัดจากแนวรั้วออกไปยังด้านที่ไม่มีรั้วเพื่อให้ได้เนื้อที่ครบ 326 ตารางวา ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ขึ้นรูปที่ดินตามเนื้อที่ดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่ได้บังคับคดีเกินคำพิพากษาแต่อย่างใด ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นว่า ให้บังคับคดีโดยรังวัดแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5339 ตามที่ขีดเส้นสีส้มในแผนที่พิพาท รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดกว้างประมาณ 26.50 เมตร อีกด้านหนึ่งยาว (ที่ถูก กว้าง) ประมาณ 24.40 เมตร และยาวประมาณ 34.50 เมตร อีกด้านหนึ่งยาวประมาณ 36.20 เมตร พร้อมบ้านเลขที่ 45 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวทางด้านทิศใต้ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อแรกว่า การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับการยื่นคำร้องในครั้งก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจในการยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นนี้ แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ทั้งสองจึงยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 252 เห็นว่า ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า ที่ดินพิพาท (ด้านหนึ่ง) มีความยาวประมาณ 34.50 เมตร มีเนื้อที่ 326 ตารางวา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันมีความหมายประกอบคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่า ที่ดินพิพาทตามที่ขีดเส้นสีส้มในแผนที่พิพาท รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดกว้างประมาณ 26.50 เมตร อีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ 24.40 เมตร และยาวประมาณ 34.50 เมตร อีกด้านหนึ่งยาวประมาณ 36.20 เมตร มีเนื้อที่ 326 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 45 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินทางด้านทิศใต้ของโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อจำเลยทั้งสองดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 ดังที่ระบุในคำพิพากษา ปรากฏว่ามีเนื้อที่ 222.9 ตารางวา ย่อมทำให้เข้าใจว่าคำพิพากษาที่ระบุขนาดความกว้างยาวทั้งสี่ด้านไว้ตามรูปแผนที่กับจำนวนเนื้อที่ระบุมา 326 ตารางวา นั้น อาจมีข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 จำเลยทั้งสองจึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรงเพื่ออธิบายว่ากรณีเช่นนี้จะต้องบังคับ หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อไป แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน ซึ่งคำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ดังข้อฎีกาของโจทก์ทั้งสอง
คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อหลังว่า การกำหนดวิธีการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ เห็นว่า ในชั้นเดิมศาลฎีกาวินิจฉัยว่า รูปแผนที่พิพาทที่รองจ่าศาลในศาลชั้นต้นจัดทำขึ้นตามคำสั่งศาลกับรูปแผนที่พิพาทที่ช่างรังวัดจัดทำขึ้นมีสภาพใกล้เคียงกัน โดยรูปแผนที่รังวัดเนื้อที่ได้ 326 ตารางวา จึงสมควรกำหนดให้ถูกต้อง ในชั้นบังคับคดีนี้ เมื่อพิจารณารูปแผนที่พิพาทแล้ว รูปแผนที่นี้แสดงถึงที่ดินแปลงใหญ่ของจำเลยทั้งสองตามโฉนดที่ดินเลขที่ 5624 และโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 ซึ่งอยู่ติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 5624 อยู่ทางฝั่งซ้ายมือ ส่วนแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 อยู่ทางฝั่งขวามือ มีบ้านปลูกอยู่ในที่ดิน 4 หลัง คือบ้านเลขที่ 41 ปลูกอยู่ทางฝั่งซ้ายมือตอนบน บ้านเลขที่ 45/1 ปลูกอยู่ทางฝั่งซ้ายมือตอนล่าง บ้านเลขที่ 43 ปลูกอยู่ทางฝั่งขวามือตอนบน และบ้านเลขที่ 45 ปลูกอยู่ทางฝั่งขวามือตอนล่าง ซึ่งบ้านและที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยบ้านเลขที่ 43 และบ้านเลขที่ 45 ต่างอยู่ในเขตโฉนดที่ดินเลขที่ 5339 รูปแผนที่นี้ยังได้แสดงจำนวนเนื้อที่ของตัวบ้านและบริเวณของบ้านแต่ละหลังในรูปแผนที่นั้นเอง และนำมากล่าวสรุปในตอนล่างของรูปแผนที่อีกครั้ง กล่าวคือ ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5624 มีเนื้อที่ 2 งาน 23 ตารางวา (ระบุในโฉนดที่ดินมีเนื้อที่ 2 งาน 23.2 ตารางวา) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5339 มีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา (ระบุในโฉนดที่ดินมีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 73.8 ตารางวา) รวมเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 89 ตารางวา อันเป็นที่ดินแปลงใหญ่ของจำเลยทั้งสอง ส่วนบ้านทั้งสี่หลังนั้น บ้านเลขที่ 41 ตัวบ้านมีเนื้อที่ 83 ตารางวา บริเวณของบ้านมีเนื้อที่ 1 งาน 69 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ 2 งาน 52 ตารางวา บ้านเลขที่ 45/1 ตัวบ้านมีเนื้อที่ 61 ตารางวา บริเวณของบ้านมีเนื้อที่ 1 งาน 72 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ 2 งาน 33 ตารางวา บ้านเลขที่ 43 ตัวบ้านมีเนื้อที่ 1 งาน 95 ตารางวา ไม่มีการระบุบริเวณของบ้านมีเนื้อที่เท่าใด แต่มีปรากฏในรูปแผนที่ว่าบริเวณของบ้านมีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 61 ตารางวา บ้านเลขที่ 45 ตัวบ้านมีเนื้อที่ 1 งาน 9 ตารางวา บริเวณของบ้านมีเนื้อที่ 2 งาน 17 ตารางวา (แต่ในรูปแผนที่ระบุเป็น 1 งาน 92 ตารางวา) รวมเป็นเนื้อที่ 3 งาน 26 ตารางวา ตามข้อฎีกาของโจทก์ทั้งสอง เมื่อนำเนื้อที่ของบ้านทั้งสี่หลังที่ปลูกอยู่บนที่ดินแปลงใหญ่ของจำเลยทั้งสองมารวมเข้าด้วยกันแล้วจะได้เนื้อที่ 4 ไร่ 72 ตารางวา ซึ่งยังไม่รวมทางภาระจำยอมในที่ดินอีก 33 ตารางวา จะเห็นได้ว่ามีจำนวนเนื้อที่เกินไปกว่าเนื้อที่ของที่ดินแปลงใหญ่อันมีจำนวน 2 ไร่ 89 ตารางวา เกือบถึงเท่าตัว นอกจากนี้ ยังปรากฏอีกว่ามีต้นปาปาปิยากับบันไดอยู่ในเขตที่ดินของบ้านเลขที่ 43 หรืออีกนัยหนึ่งอยู่นอกแนวเขตที่ดินของบ้านเลขที่ 45 ที่โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์โดยนายกอปรลาภ ทนายโจทก์ทั้งสอง ซึ่งร่วมไปนำชี้ในการทำแผนที่พิพาทของรองจ่าศาลในศาลชั้นต้นที่ระบุตำแหน่งของบันไดตรงกับที่ปรากฏตามแผนที่พิพาท ก็เบิกความในชั้นเดิมตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองว่า เป็นบันไดทางลงข้างบ้านของบ้านเลขที่ 43 สู่สนามหญ้าหน้าบ้าน ซึ่งสามารถเดินต่อไปยังบ้านเลขที่ 45 ได้ด้วย โดยบ้านทั้งสองหลังไม่มีรั้วกั้นกลางระหว่างกัน แต่หากยอมให้ถือเอาเนื้อที่ 326 ตารางวา ดังที่ระบุในแผนที่พิพาทมาเป็นเกณฑ์ในการรังวัดแบ่งแยกแล้ว ก็จะปรากฏรูปแผนที่ต่างไปจากเดิม กล่าวคือ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ช่างรังวัด สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง ได้ไปทำการรังวัดโดยมีโจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายนำชี้ให้ได้เนื้อที่ 326 ตารางวา ตามคำพิพากษา แต่ได้รูปแผนที่และระยะไม่ตรงกับรูปแผนที่พิพาท ตามรูปแผนที่นี้แสดงให้เห็นว่า นอกจากจะผนวกเอาต้นปาปาปิยาและบันไดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของฝ่ายโจทก์แล้ว เขตของที่ดินยังได้ล้ำเข้าไปถึงส่วนหนึ่งของตัวบ้านเลขที่ 43 อีกด้วย ซึ่งย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยทั้งสองเพราะไม่ใช่พื้นที่ที่โจทก์ทั้งสองครอบครองปรปักษ์ตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ไว้ จึงเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำนวนเนื้อที่ต่าง ๆ ที่ระบุมาในรูปแผนที่พิพาทมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก จำนวนเนื้อที่ของที่ดินของบ้านเลขที่ 45 ขัดแย้งกับขนาดความกว้างและความยาวที่ระบุไว้ ไม่อาจถือเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทต้องมีจำนวนเนื้อที่ 326 ตารางวา ดังฎีกาของโจทก์ทั้งสอง กรณีเช่นนี้ ต้องบังคับคดีให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง คือพื้นที่ที่โจทก์ทั้งสองครอบครองจริงจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งก็คือระยะความกว้างยาวของพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้แนวเขตไว้ในการจัดทำรูปแผนที่พิพาทของรองจ่าศาลในศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2541 ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดวิธีการบังคับคดีโดยให้รังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทไปตามขนาดความกว้างยาวที่ระบุในรูปแผนที่พิพาท ซึ่งไม่ระบุถึงจำนวนเนื้อที่นั้น จึงถูกต้องชอบแล้ว ทั้งการบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริงเช่นนี้ก็ไม่ใช่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป แม้คดีนี้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แต่ในชั้นบังคับคดี ศาลย่อมมีอำนาจที่จะตัดสินชี้ขาดบังคับคดีไปตามที่ถูกต้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังไม่ขึ้นพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ขณะห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ก่อสร้างกำแพงรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสามนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เป็นบริษัทจำกัดคือจำเลยที่ 1 แล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ย่อมหมดสภาพการเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246/5 และเกิดบริษัทใหม่ คือจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ย่อมรับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของห้างเดิมทั้งหมด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จึงมีหนี้และความรับผิดในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำ และส่งมอบที่ดินคืนในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ดี รวมทั้งต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จึงต้องรับไปซึ่งหนี้และความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ที่มีอยู่เดิมมาทั้งหมดตามบทบัญญัติดังกล่าวสำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ป.พ.พ. มาตรา 1246/7 บัญญัติว่า “เมื่อจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดแล้ว หากบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน” คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามมิได้แสดงสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกระทำการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามเป็นการส่วนตัว แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม แต่อย่างไรก็ตาม ขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามนั้น มีจำเลยที่ 2 และ ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1087 และจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย ย่อมถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ผิดนัดชำระหนี้นับแต่เวลาที่มีการกระทำละเมิด ดังนั้น โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ในขณะนั้นจึงต้องร่วมรับผิดกับบรรดาหนี้และความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ด้วย นับแต่เวลาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดเป็นต้นมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อต่อมาภายหลังปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้มีการจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด คือจำเลยที่ 1 แล้ว หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้ โจทก์ทั้งสามในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิให้บังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนเดิมในห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ที่แปรสภาพได้โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จะต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น จะรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ซึ่งเป็นไปตามผลของกฎหมาย
ขณะห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ก่อสร้างกำแพงรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสามนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เป็นบริษัทจำกัดคือจำเลยที่ 1 แล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ย่อมหมดสภาพการเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246/5 และเกิดบริษัทใหม่ คือจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ย่อมรับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของห้างเดิมทั้งหมด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จึงมีหนี้และความรับผิดในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำ และส่งมอบที่ดินคืนในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ดี รวมทั้งต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จึงต้องรับไปซึ่งหนี้และความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ที่มีอยู่เดิมมาทั้งหมดตามบทบัญญัติดังกล่าวสำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ป.พ.พ. มาตรา 1246/7 บัญญัติว่า “เมื่อจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดแล้ว หากบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน” คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามมิได้แสดงสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกระทำการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามเป็นการส่วนตัว แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม แต่อย่างไรก็ตาม ขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามนั้น มีจำเลยที่ 2 และ ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1087 และจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย ย่อมถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ผิดนัดชำระหนี้นับแต่เวลาที่มีการกระทำละเมิด ดังนั้น โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ในขณะนั้นจึงต้องร่วมรับผิดกับบรรดาหนี้และความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ด้วย นับแต่เวลาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดเป็นต้นมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อต่อมาภายหลังปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้มีการจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด คือจำเลยที่ 1 แล้ว หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้ โจทก์ทั้งสามในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิให้บังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนเดิมในห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ที่แปรสภาพได้โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จะต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น จะรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ซึ่งเป็นไปตามผลของกฎหมาย
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จําเลย ครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติ โดยมิได้ถูกกําหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จําเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจําเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคําคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม ก็ต้องยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน เมื่อจําเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกําหนดเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (18), 91, 277, 283 ทวิ, 317
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ก่อนสืบพยาน จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 283 ทวิ วรรคสอง, 317 วรรคสาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารกับฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 7 ปี รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 21 ปี ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำคุก 5 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจาร จำคุกกระทงละ 5 ปีรวม 4 กระทง เป็นจำคุก 20 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 18 เดือน ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร คงจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 8 ปี 24 เดือน รวมจำคุก 19 ปี 48 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเสียก่อนว่า ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังและขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จำเลยหลายครั้งครั้งสุดท้ายครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติของศาลชั้นต้น โดยมิได้ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจำเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม โดยยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน แม้การยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์นอกเวลาทำการปกติหรือนอกวันทำการปกติของศาลจะถือว่าเป็นการยื่นในเวลาแรกหรือวันทำการแรกที่ศาลเปิดทำการปกติถัดไป แต่เมื่อจำเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา พ้นกำหนดเวลาได้รับอนุญาตให้ยื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาของจำเลย
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จําเลย ครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติ โดยมิได้ถูกกําหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นําเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จําเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจําเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคําคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม ก็ต้องยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน เมื่อจําเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกําหนดเวลาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (18), 91, 277, 283 ทวิ, 317
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ก่อนสืบพยาน จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 283 ทวิ วรรคสอง, 317 วรรคสาม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารกับฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 7 ปี รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 21 ปี ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำคุก 5 ปี ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแล เพื่อการอนาจาร จำคุกกระทงละ 5 ปีรวม 4 กระทง เป็นจำคุก 20 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คงจำคุกกระทงละ 3 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 18 เดือน ฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร คงจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 8 ปี 24 เดือน รวมจำคุก 19 ปี 48 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเสียก่อนว่า ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังและขยายระยะเวลาฎีกาให้แก่จำเลยหลายครั้งครั้งสุดท้ายครบกำหนดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งตรงกับวันศุกร์อันเป็นวันทำงานปกติของศาลชั้นต้น โดยมิได้ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษเช่นเดียวกับศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการตามประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 แต่จำเลยมิได้ยื่นฎีกาในวันครบกำหนดดังกล่าว ทั้งหากจำเลยประสงค์ยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560 ข้อ 7 วรรคสาม โดยยื่นภายในวันครบกำหนดได้รับอนุญาตให้ขยายฎีกาตามเวลาทำการปกติคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.30 นาฬิกา เช่นเดียวกัน แม้การยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์นอกเวลาทำการปกติหรือนอกวันทำการปกติของศาลจะถือว่าเป็นการยื่นในเวลาแรกหรือวันทำการแรกที่ศาลเปิดทำการปกติถัดไป แต่เมื่อจำเลยยื่นฎีกาทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19 : 39 : 09 นาฬิกา พ้นกำหนดเวลาได้รับอนุญาตให้ยื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาของจำเลย
ระหว่างมีชีวิต พ. ยังไม่ได้ยกหรือส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย แม้ พ. เคยสั่งเสียให้ทายาททุกคนทราบว่า พ. จะยกที่ดินพิพาทให้จำเลย แต่ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำพินัยกรรมด้วยวาจาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1663 เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ พ. ตกแก่ทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวแทนทายาท แม้ต่อมาจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยในฐานะส่วนตัว แต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่า จำเลยไม่มีเจตนายึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแทนทายาทต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของ การเสียภาษีบำรุงท้องที่มิได้เป็นข้อสันนิษฐานหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้เสียภาษีมีสิทธิครอบครองที่ดิน ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ พ. จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต้องแบ่งปันแก่บรรดาทายาท
ระหว่างมีชีวิต พ. ยังไม่ได้ยกหรือส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย แม้ พ. เคยสั่งเสียให้ทายาททุกคนทราบว่า พ. จะยกที่ดินพิพาทให้จำเลย แต่ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำพินัยกรรมด้วยวาจาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1663 เมื่อ พ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ พ. ตกแก่ทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวแทนทายาท แม้ต่อมาจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยในฐานะส่วนตัว แต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่า จำเลยไม่มีเจตนายึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแทนทายาทต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของ การเสียภาษีบำรุงท้องที่มิได้เป็นข้อสันนิษฐานหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้เสียภาษีมีสิทธิครอบครองที่ดิน ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ พ. จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต้องแบ่งปันแก่บรรดาทายาท
บันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์มีข้อความว่า โจทก์และจำเลยทั้งสี่ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โดยไม่ได้ระบุว่าส่วนของเจ้าของรวมแต่ละคนมีแนวเขตตั้งแต่บริเวณใดถึงบริเวณใด จำนวนเนื้อที่เท่าใด ไม่มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 โจทก์ไม่มีสิทธินำบันทึกดังกล่าวมาฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่แบ่งกรรมสิทธิ์รวม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ไปดำเนินการยื่นคำขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมโฉนดที่ดินเลขที่ 3654 นำช่างทำการรังวัดสอบเขตที่ดินรอบแปลงคำนวณเนื้อที่ แบ่งแยกเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามแปลงที่ 1 เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และ 5 ที่ดินคงเหลือเนื้อที่เท่าใดให้นำช่างรังวัดแบ่งแยกเป็นแปลงย่อยตามตำแหน่งในรูปแผนที่ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และเลข 5 และจำนวนเนื้อที่ให้เป็นไปตามที่ช่างรังวัดคำนวณเนื้อที่รูปแผนที่ในแต่ละแปลงตามอัตราส่วนที่แต่ละคนถือกรรมสิทธิ์รวม ทั้งนำช่างรังวัดปักหลักเขตแบ่งแยกทุกแปลงและจดทะเบียนแบ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์จดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม หากจำเลยคนหนึ่งคนใดหรือจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการตามคำขอดังกล่าว ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ และให้จำเลยทั้งสี่ออกค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมในการรังวัดและจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่สำนักงานที่ดินเรียกเก็บตามอัตราส่วนที่ถือกรรมสิทธิ์รวม หากจำเลยทั้งสี่หรือจำเลยคนหนึ่งคนใดไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ขอถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยที่ไม่ปฏิบัติตาม
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งสี่ไปยื่นคำขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 3654 โดยแบ่งที่ดินตามสัดส่วนของโจทก์และจำเลยทั้งสี่ตามรูปแผนที่ หากจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท
จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 3654 เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา มีโจทก์กับจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ในจำนวนสัดส่วนไม่เท่ากัน เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตกลงทำบันทึกถ้อยคำแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม โดยแบ่งที่ดินออกเป็น 6 แปลง ดังนี้ แปลงแยก 1 อยู่ตรงกลาง แบ่งหักเป็นถนนสาธารณประโยชน์ แปลงแยก 2 อยู่ทางทิศใต้ แบ่งหักเป็นถนนสาธารณประโยชน์ แปลงแยก 3 อยู่ทางทิศตะวันตกเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แปลงแยก 4 อยู่ถัดจากแยก 3 มาทางทิศตะวันออกเป็นของโจทก์ แปลงแยก 5 อยู่ทางทิศตะวันออกเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แปลงแยก 6 อยู่ถัดจากแยก 5 มาทางตะวันตกเป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แปลงคงเหลืออยู่ตรงกลางระหว่างแยก 1 และแยก 6 เป็นของโจทก์ (รังวัดตามนำชี้) หากรูปแผนที่หรือเนื้อที่ต่างจากเดิมยินยอมให้แก้ไขได้ โดยมีโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ลงลายมือชื่อไว้ท้ายบันทึกดังกล่าว และมีรูปแผนที่ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 แปลงตามที่ตกลงกันอยู่ด้านหลัง ตามสำเนาบันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธาณประโยชน์ (ตามนำชี้) ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัดเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกดังกล่าว ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่สามารถตกลงแนวเขตเพื่อแบ่งที่ดินกันได้ ครั้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตกลงทำบันทึกถ้อยคำแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงครามอีกครั้ง โดยตกลงแบ่งที่ดินออกเป็น 6 แปลง เช่นเดียวกับการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในครั้งแรก จากนั้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัดเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกดังกล่าวอีกครั้ง ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่สามารถตกลงแนวเขตเพื่อแบ่งที่ดินกันได้เช่นเดิม ในระหว่างการพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงครามรังวัดทำแผนที่พิพาท ได้ความว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 11 ไร่ 75 ตารางวา น้อยกว่าที่ระบุในโฉนดที่ดิน ทางราชการมีการตัดถนนสายบ้านตะวันจาก - บางสะใภ้ ผ่ากลางที่ดินพิพาท และตัดถนนบริเวณทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ดินพิพาท โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ขอรังวัดแบ่งหักทางสาธารณประโยชน์ถนนสายบ้านตะวันจาก - บางสะใภ้ เป็นเนื้อที่ 1 งาน 54 ตารางวาเศษ ถนนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเนื้อที่ 3 งาน 36 ตารางวาเศษ และขอรังวัดที่ดินทางด้านทิศตะวันตกหักเป็นแม่น้ำแม่กลอง เป็นเนื้อที่ 57 ตารางวาเศษ เมื่อหักทางสาธารณประโยชน์และแม่น้ำแม่กลองแล้ว ที่ดินพิพาทคงเหลือเนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวาเศษ ตามแผนที่พิพาท
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า บันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์ (ตามนำชี้) ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่สามารถใช้บังคับต่อกันได้หรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า บันทึกถ้อยคำแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์ (ตามนำชี้) เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกดังกล่าวได้ เห็นว่า กรณีที่จะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 กล่าวคือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน แต่บันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์ (ตามนำชี้) ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่มีข้อความทำนองเดียวกันว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสี่มีความประสงค์แบ่งที่ดินออกเป็น 6 ส่วน ส่วนใดแบ่งหักเป็นถนนสาธารณประโยชน์ ส่วนของเจ้าของรวมคนใดอยู่บริเวณส่วนใดของที่ดินพิพาทเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดในการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมว่า ส่วนของเจ้าของรวมแต่ละคนมีแนวเขตตั้งแต่บริเวณใดถึงบริเวณใด จำนวนเนื้อที่เท่าใด นอกจากนี้หลังจากทำบันทึกถ้อยคำทั้งสองฉบับแล้ว ได้มีการไปรังวัดเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกดังกล่าว 2 ครั้ง นางสาวปรียาภรณ์ ช่างรังวัด ทำบันทึกไว้ว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่สามารถตกลงแนวเขตแปลงแบ่งแยกกันได้ แสดงว่าการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่ได้มีปัญหาว่าใครจะได้ที่ดินบริเวณส่วนใด แต่มีปัญหาว่าแนวเขตของแต่ละคนที่แบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากบริเวณใดถึงบริเวณใด แต่ละคนจะได้ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใด ประกอบกับเมื่อมีการทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่นำชี้แนวเขตในการทำแผนที่พิพาทแบ่งที่ดินเป็น 10 แปลง ไม่ตรงกับที่โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตกลงกันแบ่งเป็น 6 แปลง ตามที่ระบุในบันทึกถ้อยคำ และนางสาวปรียาภรณ์ยังได้เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสี่ถามค้านว่า พยานออกไปรังวัดที่ดินพิพาทโดยมีผู้นำชี้ แต่เมื่อรังวัดแล้วเนื้อที่ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมทุกฝ่าย ในการรังวัดนั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีปัญหาในส่วนของที่ตั้งของที่ดิน แต่ไม่ตกลงในส่วนของเนื้อที่ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถตกลงกันได้เนื่องจากมีการปลูกบ้านและต้นมะพร้าวและมีทางออกสู่ถนน จากการที่พยานออกไปรังวัดเห็นได้ชัดว่ามีการแบ่งการแยกการครอบครองเป็นสัดส่วน ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่มีปัญหาเรื่องแนวเขตที่ดินและจำนวนเนื้อที่ดินที่ต่างคนต่างมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท ไม่มีปัญหาว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ครอบครองบริเวณใดของที่ดินพิพาท บันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์ (ตามนำชี้) ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกนั้นได้ ส่วนฎีกาอื่นของโจทก์เป็นข้อปลีกย่อยที่มิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่จำต้องวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
บันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์มีข้อความว่า โจทก์และจำเลยทั้งสี่ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โดยไม่ได้ระบุว่าส่วนของเจ้าของรวมแต่ละคนมีแนวเขตตั้งแต่บริเวณใดถึงบริเวณใด จำนวนเนื้อที่เท่าใด ไม่มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 โจทก์ไม่มีสิทธินำบันทึกดังกล่าวมาฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่แบ่งกรรมสิทธิ์รวม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ไปดำเนินการยื่นคำขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมโฉนดที่ดินเลขที่ 3654 นำช่างทำการรังวัดสอบเขตที่ดินรอบแปลงคำนวณเนื้อที่ แบ่งแยกเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามแปลงที่ 1 เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และ 5 ที่ดินคงเหลือเนื้อที่เท่าใดให้นำช่างรังวัดแบ่งแยกเป็นแปลงย่อยตามตำแหน่งในรูปแผนที่ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และเลข 5 และจำนวนเนื้อที่ให้เป็นไปตามที่ช่างรังวัดคำนวณเนื้อที่รูปแผนที่ในแต่ละแปลงตามอัตราส่วนที่แต่ละคนถือกรรมสิทธิ์รวม ทั้งนำช่างรังวัดปักหลักเขตแบ่งแยกทุกแปลงและจดทะเบียนแบ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์จดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม หากจำเลยคนหนึ่งคนใดหรือจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการตามคำขอดังกล่าว ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ และให้จำเลยทั้งสี่ออกค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมในการรังวัดและจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่สำนักงานที่ดินเรียกเก็บตามอัตราส่วนที่ถือกรรมสิทธิ์รวม หากจำเลยทั้งสี่หรือจำเลยคนหนึ่งคนใดไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ขอถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยที่ไม่ปฏิบัติตาม
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งสี่ไปยื่นคำขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 3654 โดยแบ่งที่ดินตามสัดส่วนของโจทก์และจำเลยทั้งสี่ตามรูปแผนที่ หากจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท
จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 3654 เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา มีโจทก์กับจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ในจำนวนสัดส่วนไม่เท่ากัน เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตกลงทำบันทึกถ้อยคำแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม โดยแบ่งที่ดินออกเป็น 6 แปลง ดังนี้ แปลงแยก 1 อยู่ตรงกลาง แบ่งหักเป็นถนนสาธารณประโยชน์ แปลงแยก 2 อยู่ทางทิศใต้ แบ่งหักเป็นถนนสาธารณประโยชน์ แปลงแยก 3 อยู่ทางทิศตะวันตกเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แปลงแยก 4 อยู่ถัดจากแยก 3 มาทางทิศตะวันออกเป็นของโจทก์ แปลงแยก 5 อยู่ทางทิศตะวันออกเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แปลงแยก 6 อยู่ถัดจากแยก 5 มาทางตะวันตกเป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แปลงคงเหลืออยู่ตรงกลางระหว่างแยก 1 และแยก 6 เป็นของโจทก์ (รังวัดตามนำชี้) หากรูปแผนที่หรือเนื้อที่ต่างจากเดิมยินยอมให้แก้ไขได้ โดยมีโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ลงลายมือชื่อไว้ท้ายบันทึกดังกล่าว และมีรูปแผนที่ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 แปลงตามที่ตกลงกันอยู่ด้านหลัง ตามสำเนาบันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธาณประโยชน์ (ตามนำชี้) ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัดเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกดังกล่าว ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่สามารถตกลงแนวเขตเพื่อแบ่งที่ดินกันได้ ครั้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตกลงทำบันทึกถ้อยคำแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงครามอีกครั้ง โดยตกลงแบ่งที่ดินออกเป็น 6 แปลง เช่นเดียวกับการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในครั้งแรก จากนั้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัดเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกดังกล่าวอีกครั้ง ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่สามารถตกลงแนวเขตเพื่อแบ่งที่ดินกันได้เช่นเดิม ในระหว่างการพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสงครามรังวัดทำแผนที่พิพาท ได้ความว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 11 ไร่ 75 ตารางวา น้อยกว่าที่ระบุในโฉนดที่ดิน ทางราชการมีการตัดถนนสายบ้านตะวันจาก - บางสะใภ้ ผ่ากลางที่ดินพิพาท และตัดถนนบริเวณทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ดินพิพาท โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ขอรังวัดแบ่งหักทางสาธารณประโยชน์ถนนสายบ้านตะวันจาก - บางสะใภ้ เป็นเนื้อที่ 1 งาน 54 ตารางวาเศษ ถนนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเนื้อที่ 3 งาน 36 ตารางวาเศษ และขอรังวัดที่ดินทางด้านทิศตะวันตกหักเป็นแม่น้ำแม่กลอง เป็นเนื้อที่ 57 ตารางวาเศษ เมื่อหักทางสาธารณประโยชน์และแม่น้ำแม่กลองแล้ว ที่ดินพิพาทคงเหลือเนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวาเศษ ตามแผนที่พิพาท
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า บันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์ (ตามนำชี้) ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่สามารถใช้บังคับต่อกันได้หรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า บันทึกถ้อยคำแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์ (ตามนำชี้) เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกดังกล่าวได้ เห็นว่า กรณีที่จะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 กล่าวคือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน แต่บันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์ (ตามนำชี้) ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่มีข้อความทำนองเดียวกันว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสี่มีความประสงค์แบ่งที่ดินออกเป็น 6 ส่วน ส่วนใดแบ่งหักเป็นถนนสาธารณประโยชน์ ส่วนของเจ้าของรวมคนใดอยู่บริเวณส่วนใดของที่ดินพิพาทเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดในการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมว่า ส่วนของเจ้าของรวมแต่ละคนมีแนวเขตตั้งแต่บริเวณใดถึงบริเวณใด จำนวนเนื้อที่เท่าใด นอกจากนี้หลังจากทำบันทึกถ้อยคำทั้งสองฉบับแล้ว ได้มีการไปรังวัดเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกดังกล่าว 2 ครั้ง นางสาวปรียาภรณ์ ช่างรังวัด ทำบันทึกไว้ว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่สามารถตกลงแนวเขตแปลงแบ่งแยกกันได้ แสดงว่าการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่ได้มีปัญหาว่าใครจะได้ที่ดินบริเวณส่วนใด แต่มีปัญหาว่าแนวเขตของแต่ละคนที่แบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากบริเวณใดถึงบริเวณใด แต่ละคนจะได้ที่ดินจำนวนเนื้อที่เท่าใด ประกอบกับเมื่อมีการทำแผนที่พิพาท ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่นำชี้แนวเขตในการทำแผนที่พิพาทแบ่งที่ดินเป็น 10 แปลง ไม่ตรงกับที่โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ตกลงกันแบ่งเป็น 6 แปลง ตามที่ระบุในบันทึกถ้อยคำ และนางสาวปรียาภรณ์ยังได้เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสี่ถามค้านว่า พยานออกไปรังวัดที่ดินพิพาทโดยมีผู้นำชี้ แต่เมื่อรังวัดแล้วเนื้อที่ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมทุกฝ่าย ในการรังวัดนั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีปัญหาในส่วนของที่ตั้งของที่ดิน แต่ไม่ตกลงในส่วนของเนื้อที่ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถตกลงกันได้เนื่องจากมีการปลูกบ้านและต้นมะพร้าวและมีทางออกสู่ถนน จากการที่พยานออกไปรังวัดเห็นได้ชัดว่ามีการแบ่งการแยกการครอบครองเป็นสัดส่วน ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่มีปัญหาเรื่องแนวเขตที่ดินและจำนวนเนื้อที่ดินที่ต่างคนต่างมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท ไม่มีปัญหาว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ครอบครองบริเวณใดของที่ดินพิพาท บันทึกถ้อยคำเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและแบ่งหักที่สาธารณประโยชน์ (ตามนำชี้) ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ไม่มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่แบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามบันทึกนั้นได้ ส่วนฎีกาอื่นของโจทก์เป็นข้อปลีกย่อยที่มิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่จำต้องวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 แต่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ให้คำนิยามความหมายของคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ว่า กระทรวง... และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา...” รัฐวิสาหกิจใดจะเป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายดังกล่าวได้นั้น คงมีแต่เฉพาะกรณีที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงจากหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2550 เรื่อง การเพิ่มทุนของโจทก์ โดยจำเลยไม่คัดค้านว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการซื้อหุ้นเพิ่มทุนโจทก์ของกระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะทำให้โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ก็ตาม แต่การเข้าถือหุ้นของหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวก็ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ในขณะจัดตั้งตามกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปได้ เมื่อตาม พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 มาตรา 7 กำหนดให้กระทรวงการคลังซื้อหุ้นของโจทก์ได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด การจัดตั้งโจทก์ตามกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่ได้มีความประสงค์ให้โจทก์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจมาตั้งแต่ต้น โจทก์จึงไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ อันจะตกอยู่ในความหมายของคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเพียงอย่างเดียว แต่โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดและผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่า ขณะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ 2 มีหน้าที่ในการจัดทำเอกสารและเสนอข้อมูลเพื่ออนุมัติสินเชื่อ จำเลยไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบปฏิบัติงานด้านสินเชื่อ ส่งผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากลูกค้า และ ป. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันได้ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ขณะจำเลยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขออนุมัติสินเชื่อ ร่วมวิเคราะห์สินเชื่อกับหน่วยงานวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อให้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นประโยชน์ต่อการอนุมัติสินเชื่อ กลับนำเสนอขออนุมัติสินเชื่อของลูกค้ารายบริษัท ซ. ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโจทก์ โดยขอเปลี่ยนแปลงผู้ค้ำประกันในที่ประชุมด้วยวาจาจาก ส. เป็น ป. ซึ่งไม่ได้นำเสนอเอกสารหลักฐานการตรวจสอบภาระหนี้สินของ ป. ที่ค้างชำระต่อธนาคาร ก. เกินกว่า 300 วัน เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อของคณะกรรมการบริหารของโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติงานด้านสินเชื่อของโจทก์ในบทที่ 4 ข้อ 4.1.3 (5) โดยเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่มีความสำคัญและต้องนำส่งทุกครั้งที่มีการขออนุมัติสินเชื่อ การกระทำของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส.33/2551 เรื่อง การให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ ข้อ 5.1 ข้อ 5.1.3 และข้อ 5.1.5 และคำสั่งโจทก์ที่ ธ.139/2551 เรื่อง สินเชื่อต้องห้ามและสินเชื่อพิเศษแต่ละประเภท ข้อ 1.2 ข้อ 1.2.3 และข้อ 1.2.5 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ย่อมเป็นการผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ หลังจากที่โจทก์อนุมัติสินเชื่อแล้ว บริษัท ซ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียง 13 งวด ค้างชำระเงินต้นถึง 60,000,000 บาท ทำให้โจทก์ต้องฟ้องบริษัท ซ. และ ป. กับพวก ต่อศาลแพ่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามระเบียบ ประกาศ และคำสั่งโจทก์ของจำเลย แต่ที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย เมื่อหนี้ดังกล่าวศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาให้บริษัท ซ. และ ป. ร่วมกันชำระเงิน 94,684,743.99 บาท พร้อมค่าชดเชยร้อยละ 18 ต่อปี จากต้นเงิน 60,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ ทั้งยังให้บังคับจำนำยึดหุ้นของบริษัท ซ. ออกขายทอดตลาดมาชำระหนี้ และให้บังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาด หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ให้ครบถ้วนถูกต้อง ดังนั้น การจะกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวทั้งหมดอีกย่อมเป็นการซ้ำซ้อนและเป็นการไม่สมควร การกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้คงต้องคำนึงถึงจำนวนเงินต้นทุนสินเชื่อตามจริงที่บริษัท ซ. กู้ยืมไป และจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระแล้วในคดีตามคำพิพากษาของศาลแพ่งหรืออาจจะได้รับชำระตามคำพิพากษาต่อไปโดยการบังคับจากหลักประกัน คือ หุ้นของบริษัท ซ. ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จดทะเบียนจำนอง และผู้ค้ำประกัน ประกอบเข้ากับการลดน้อยถอยลงของหลักประกันซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันดังกล่าวด้วย แต่การกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดให้ได้ จึงย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยควรรับผิดต่อโจทก์เพียงใดตามนัยข้างต้นต่อไป
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 แต่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ให้คำนิยามความหมายของคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ว่า กระทรวง... และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา...” รัฐวิสาหกิจใดจะเป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายดังกล่าวได้นั้น คงมีแต่เฉพาะกรณีที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงจากหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2550 เรื่อง การเพิ่มทุนของโจทก์ โดยจำเลยไม่คัดค้านว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการซื้อหุ้นเพิ่มทุนโจทก์ของกระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะทำให้โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ก็ตาม แต่การเข้าถือหุ้นของหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวก็ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ในขณะจัดตั้งตามกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปได้ เมื่อตาม พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 มาตรา 7 กำหนดให้กระทรวงการคลังซื้อหุ้นของโจทก์ได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด การจัดตั้งโจทก์ตามกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่ได้มีความประสงค์ให้โจทก์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจมาตั้งแต่ต้น โจทก์จึงไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ อันจะตกอยู่ในความหมายของคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเพียงอย่างเดียว แต่โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดและผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่า ขณะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ 2 มีหน้าที่ในการจัดทำเอกสารและเสนอข้อมูลเพื่ออนุมัติสินเชื่อ จำเลยไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบปฏิบัติงานด้านสินเชื่อ ส่งผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากลูกค้า และ ป. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันได้ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ขณะจำเลยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขออนุมัติสินเชื่อ ร่วมวิเคราะห์สินเชื่อกับหน่วยงานวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อให้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นประโยชน์ต่อการอนุมัติสินเชื่อ กลับนำเสนอขออนุมัติสินเชื่อของลูกค้ารายบริษัท ซ. ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโจทก์ โดยขอเปลี่ยนแปลงผู้ค้ำประกันในที่ประชุมด้วยวาจาจาก ส. เป็น ป. ซึ่งไม่ได้นำเสนอเอกสารหลักฐานการตรวจสอบภาระหนี้สินของ ป. ที่ค้างชำระต่อธนาคาร ก. เกินกว่า 300 วัน เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อของคณะกรรมการบริหารของโจทก์ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติงานด้านสินเชื่อของโจทก์ในบทที่ 4 ข้อ 4.1.3 (5) โดยเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่มีความสำคัญและต้องนำส่งทุกครั้งที่มีการขออนุมัติสินเชื่อ การกระทำของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส.33/2551 เรื่อง การให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ ข้อ 5.1 ข้อ 5.1.3 และข้อ 5.1.5 และคำสั่งโจทก์ที่ ธ.139/2551 เรื่อง สินเชื่อต้องห้ามและสินเชื่อพิเศษแต่ละประเภท ข้อ 1.2 ข้อ 1.2.3 และข้อ 1.2.5 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ย่อมเป็นการผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ หลังจากที่โจทก์อนุมัติสินเชื่อแล้ว บริษัท ซ. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียง 13 งวด ค้างชำระเงินต้นถึง 60,000,000 บาท ทำให้โจทก์ต้องฟ้องบริษัท ซ. และ ป. กับพวก ต่อศาลแพ่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามระเบียบ ประกาศ และคำสั่งโจทก์ของจำเลย แต่ที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย เมื่อหนี้ดังกล่าวศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาให้บริษัท ซ. และ ป. ร่วมกันชำระเงิน 94,684,743.99 บาท พร้อมค่าชดเชยร้อยละ 18 ต่อปี จากต้นเงิน 60,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ ทั้งยังให้บังคับจำนำยึดหุ้นของบริษัท ซ. ออกขายทอดตลาดมาชำระหนี้ และให้บังคับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาด หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้ให้ครบถ้วนถูกต้อง ดังนั้น การจะกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวทั้งหมดอีกย่อมเป็นการซ้ำซ้อนและเป็นการไม่สมควร การกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้คงต้องคำนึงถึงจำนวนเงินต้นทุนสินเชื่อตามจริงที่บริษัท ซ. กู้ยืมไป และจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระแล้วในคดีตามคำพิพากษาของศาลแพ่งหรืออาจจะได้รับชำระตามคำพิพากษาต่อไปโดยการบังคับจากหลักประกัน คือ หุ้นของบริษัท ซ. ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จดทะเบียนจำนอง และผู้ค้ำประกัน ประกอบเข้ากับการลดน้อยถอยลงของหลักประกันซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันดังกล่าวด้วย แต่การกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดให้ได้ จึงย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยควรรับผิดต่อโจทก์เพียงใดตามนัยข้างต้นต่อไป
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อชำระหนี้ตามเช็คพิพาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และจำเลยวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 17 มีนาคม 2557 สั่งจ่ายเงิน 88,643 บาท มอบให้บริษัท ก. ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่างวดรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และขอให้นับโทษต่อจากโทษในคดีอื่น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยและผู้เสียหายตกลงกันได้ จำเลยนำเงิน 20,000 บาท วางต่อศาลชั้นต้น เพื่อชดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานขออนุญาตศาลถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ตรวจจ่ายตามระเบียบ
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 จำเลยวางเงิน 68,643 บาท และวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยนำเงินค่าดอกเบี้ยตามเช็คมาวางอีก 4,417 บาท รวมเป็นเงิน 73,060 บาท อันเป็นการที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นเห็นว่าเมื่อจำเลยนำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยมาวางศาลชำระหนี้แก่ผู้เสียหาย คดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 7 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ส่วนผู้เสียหายขอรับเงินจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายประกอบคำแถลงขอรับเงิน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงิน 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายแล้ว และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง
วันที่ 12 มกราคม 2565 ผู้เสียหายยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งให้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยนำไปวางชำระหนี้ศาลว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางเพื่อชำระหนี้ต่อศาล 93,060 บาท และศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้ตรวจจ่ายเงินให้เพียง 73,060 บาท ยังขาดอีก 20,000 บาท โดยเงิน 20,000 บาท นี้ จำเลยได้นำมาวางเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้แก่เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ขอให้ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินกลางดังกล่าวให้ผู้เสียหาย
วันที่ 13 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ได้ตรวจสอบพบว่า วันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยได้วางเงิน 20,000 บาท และผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจริง แต่ผู้เสียหายไม่ได้มารับเงินจนเวลาล่วงเลยระยะเวลา 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน และได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทำรายงานเสนอจ่ายเงินให้แก่เทศบาลตำบล ห. ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อของผู้เสียหายถูกต้องผู้เสียหายไม่ติดต่อขอรับเงินจนเวลาล่วงเลยเกินระยะเวลาห้าปี เงิน 20,000 บาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 และได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จึงไม่อาจสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้ ให้ยกคำร้อง
ผู้เสียหายอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
ผู้เสียหายฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีสิทธิรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค 20,000 บาท คืนหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินวางชำระหนี้คืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาล ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยเมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่า มีเงินที่ลูกหนี้นำมาวางศาลเพื่อให้เจ้าหนี้รับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล จึงตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางเงินใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายและศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้นก็ไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหายฎีกาของผู้เสียหายฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้คืนเงิน 20,000 บาท แก่บริษัทกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด ผู้เสียหาย
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เพื่อชำระหนี้ตามเช็คพิพาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และจำเลยวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 17 มีนาคม 2557 สั่งจ่ายเงิน 88,643 บาท มอบให้บริษัท ก. ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่างวดรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และขอให้นับโทษต่อจากโทษในคดีอื่น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยและผู้เสียหายตกลงกันได้ จำเลยนำเงิน 20,000 บาท วางต่อศาลชั้นต้น เพื่อชดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานขออนุญาตศาลถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ตรวจจ่ายตามระเบียบ
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 จำเลยวางเงิน 68,643 บาท และวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยนำเงินค่าดอกเบี้ยตามเช็คมาวางอีก 4,417 บาท รวมเป็นเงิน 73,060 บาท อันเป็นการที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นเห็นว่าเมื่อจำเลยนำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยมาวางศาลชำระหนี้แก่ผู้เสียหาย คดีย่อมเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 7 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ส่วนผู้เสียหายขอรับเงินจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายประกอบคำแถลงขอรับเงิน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงิน 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายแล้ว และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง
วันที่ 12 มกราคม 2565 ผู้เสียหายยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งให้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยนำไปวางชำระหนี้ศาลว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินที่จำเลยวางเพื่อชำระหนี้ต่อศาล 93,060 บาท และศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้ตรวจจ่ายเงินให้เพียง 73,060 บาท ยังขาดอีก 20,000 บาท โดยเงิน 20,000 บาท นี้ จำเลยได้นำมาวางเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้แก่เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ขอให้ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินกลางดังกล่าวให้ผู้เสียหาย
วันที่ 13 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ได้ตรวจสอบพบว่า วันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยได้วางเงิน 20,000 บาท และผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจริง แต่ผู้เสียหายไม่ได้มารับเงินจนเวลาล่วงเลยระยะเวลา 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน และได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทำรายงานเสนอจ่ายเงินให้แก่เทศบาลตำบล ห. ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อของผู้เสียหายถูกต้องผู้เสียหายไม่ติดต่อขอรับเงินจนเวลาล่วงเลยเกินระยะเวลาห้าปี เงิน 20,000 บาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 และได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จึงไม่อาจสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้ ให้ยกคำร้อง
ผู้เสียหายอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
ผู้เสียหายฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีสิทธิรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค 20,000 บาท คืนหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินวางชำระหนี้คืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาล ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยเมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่า มีเงินที่ลูกหนี้นำมาวางศาลเพื่อให้เจ้าหนี้รับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล จึงตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบล ห. ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงินรวม 73,060 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 73,060 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 93,060 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 73,060 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 93,060 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางเงินใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายและศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้นก็ไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหายฎีกาของผู้เสียหายฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้คืนเงิน 20,000 บาท แก่บริษัทกรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด ผู้เสียหาย
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบลหนองเรือ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงิน 72,597 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 92,597 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าว และขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง นำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคาร ลงวันที่ 17 เมษายน 2557 สั่งจ่ายเงิน 88,643 บาท มอบให้บริษัท ก. ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่างวดรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และขอให้นับโทษต่อจากโทษในคดีอื่น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยและผู้เสียหายตกลงกันได้ จำเลยนำเงิน 20,000 บาท วางต่อศาลชั้นต้น เพื่อชดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานขออนุญาตศาลถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 จำเลยวางเงิน 68,643 บาท และเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยนำเงินค่าดอกเบี้ยตามเช็คมาวางอีก 3,954 บาท รวมเป็นเงิน 72,597 บาท อันเป็นการที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหาย คดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนผู้เสียหายขอรับเงินจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายประกอบคำแถลงขอรับเงิน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาทวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงิน 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายและศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงิน นับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง
วันที่ 12 มกราคม 2565 ผู้เสียหายยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งให้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยนำไปวางชำระหนี้ศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินกลางดังกล่าวให้ผู้เสียหาย วันที่ 13 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ได้ตรวจสอบพบว่าวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยได้วางเงิน 20,000 บาท และผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจริง แต่ผู้เสียหายไม่ได้มารับเงินจนเวลาล่วงเลยระยะเวลา 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน และได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทำรายงานเสนอจ่ายเงินให้แก่เทศบาลตำบลหนองเรือซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อผู้เสียหายถูกต้องผู้เสียหายไม่ติดต่อขอรับเงินจนเวลาล่วงเลยเกินระยะเวลาห้าปี เงิน 20,000 บาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 และได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จึงไม่อาจสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้ ให้ยกคำร้อง
ผู้เสียหายอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
ผู้เสียหายฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีสิทธิรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค 20,000 บาท คืนหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินวางชำระหนี้คืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาล ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยเมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้นำมาวางศาลเพื่อให้เจ้าหนี้รับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล จึงตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบลหนองเรือ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงิน 72,597 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 92,597 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้นก็ไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ฎีกาของผู้เสียหายฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้คืนเงิน 20,000 บาท แก่บริษัท ก. ผู้เสียหาย
จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบลหนองเรือ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงิน 72,597 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 92,597 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าว และขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง นำส่ง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้น ก็ไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คธนาคาร ลงวันที่ 17 เมษายน 2557 สั่งจ่ายเงิน 88,643 บาท มอบให้บริษัท ก. ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่างวดรถตามสัญญาเช่าซื้อ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และขอให้นับโทษต่อจากโทษในคดีอื่น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยและผู้เสียหายตกลงกันได้ จำเลยนำเงิน 20,000 บาท วางต่อศาลชั้นต้น เพื่อชดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้เสียหายบางส่วน และในวันเดียวกันผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานขออนุญาตศาลถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 จำเลยวางเงิน 68,643 บาท และเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 จำเลยนำเงินค่าดอกเบี้ยตามเช็คมาวางอีก 3,954 บาท รวมเป็นเงิน 72,597 บาท อันเป็นการที่จำเลยนำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นตามจำนวนเงินในเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหาย คดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนผู้เสียหายขอรับเงินจำนวนดังกล่าวในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายประกอบคำแถลงขอรับเงิน วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาทวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงิน 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้
วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่าเงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหายและศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงิน นับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่ง
วันที่ 12 มกราคม 2565 ผู้เสียหายยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งให้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยนำไปวางชำระหนี้ศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินกลางดังกล่าวให้ผู้เสียหาย วันที่ 13 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ได้ตรวจสอบพบว่าวันที่ 6 ตุลาคม 2557 จำเลยได้วางเงิน 20,000 บาท และผู้เสียหายยื่นคำแถลงขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจริง แต่ผู้เสียหายไม่ได้มารับเงินจนเวลาล่วงเลยระยะเวลา 5 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายใน 5 ปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน และได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทำรายงานเสนอจ่ายเงินให้แก่เทศบาลตำบลหนองเรือซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง แต่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อผู้เสียหายถูกต้องผู้เสียหายไม่ติดต่อขอรับเงินจนเวลาล่วงเลยเกินระยะเวลาห้าปี เงิน 20,000 บาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 และได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 จึงไม่อาจสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายได้ ให้ยกคำร้อง
ผู้เสียหายอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
ผู้เสียหายฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมีสิทธิรับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค 20,000 บาท คืนหรือไม่ เห็นว่า การที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอรับเงินวางชำระหนี้คืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาล ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 345 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยเมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้นำมาวางศาลเพื่อให้เจ้าหนี้รับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล จึงตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้จำเลยวางเงิน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายให้ตามระเบียบ แต่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตถอนเงินกลาง 20,000 บาท เพื่อจ่ายให้เทศบาลตำบลหนองเรือ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย และมีการวางเงิน 72,597 บาท เมื่อวันที่ 14 และ 20 พฤศจิกายน 2557 ผู้เสียหายขอรับเงินในวันดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต เนื่องจากผู้ร้องไม่นำหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายมาแสดง ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ขอให้ออกหมายแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวาง 72,597 บาท และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ผู้เสียหายขอรับเงินที่จำเลยวางต่อศาล 92,597 บาท ตามที่ลูกหนี้ได้วางไว้ตามความความเป็นจริง อันเป็นการขอรับเงินภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ทราบการแจ้งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจจ่ายตามระเบียบ เจ้าหน้าที่ศาลตรวจจ่ายเงินเพียง 72,597 บาท โดยโอนเข้าบัญชีให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้เสียหายแจ้งความประสงค์ไว้ จึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการวางเงินจริงทั้งหมด 92,597 บาท และการที่เจ้าหน้าที่ศาลทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า เงิน 20,000 บาท ที่จำเลยนำมาวางใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียหาย และศาลชั้นต้นได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่ผู้เสียหายไม่มารับเงินนับถึงวันที่ทำรายงานเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี จึงขอยกเลิกเช็คฉบับดังกล่าวและขอนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งนำส่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 นั้นก็ไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลชั้นต้นต้องคืนเงิน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ฎีกาของผู้เสียหายฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้คืนเงิน 20,000 บาท แก่บริษัท ก. ผู้เสียหาย
แม้สัญญาขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นก่อน พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อกำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก คือวันที่ 20 เมษายน 2562 เป็นกำหนดไถ่ที่มีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ กรณีย่อมต้องด้วยบทเฉพาะกาลมาตรา 20 ที่กำหนดให้สัญญาขายฝากซึ่งทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับและยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ให้มีผลผูกพันคู่สัญญาต่อไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันทำสัญญาขายฝาก เว้นแต่กรณี (3) ให้นําความในมาตรา 17 มาใช้บังคับกับสัญญาขายฝากที่มีผลบังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ และในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ในสัญญาขายฝากมีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ให้ขยายกำหนดเวลาการไถ่ออกไปเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงต้องขยายระยะเวลาออกไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับ ทำให้จะครบกำหนดไถ่ในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 และเมื่อมาตรา 17 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือน ให้ผู้ซื้อฝากแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝากเพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ หากผู้ซื้อฝากละเลยไม่ดำเนินการดังกล่าว มาตรา 17 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากโดยผู้ขายฝากมีหน้าที่ชําระสินไถ่ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ที่ขยายระยะเวลาออกไปโดยผลของกฎหมายตามที่กล่าวมาจำเลยผู้ซื้อฝากได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ผู้ขายฝากทราบถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือนตามบทบัญญัติมาตรา 17 วรรคหนึ่ง กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากจึงต้องขยายไปอีกหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ตามมาตรา 17 วรรคสอง กล่าวคือ ขยายออกไปอีกจนถึงวันที่ 17 เมษายน 2563 การที่โจทก์ขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต่อจำเลยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จึงยังอยู่ภายในกำหนดไถ่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนแก่โจทก์ โดยให้จำเลยรับเงินสินไถ่ 1,872,000 บาท หากจำเลยไม่จดทะเบียนไถ่ให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 9,188.40 บาท และค่าเสียหายอีกวันละ 141.36 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไถ่ถอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 36230 และ 53279 ซึ่งเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ไว้ต่อจำเลย กำหนดสินไถ่ 1,872,000 บาท และในระหว่างขายฝากมีการขยายกำหนดไถ่ออกไปอีก 3 ครั้ง ซึ่งครบกำหนดไถ่วันที่ 20 เมษายน 2562 ต่อมาวันที่ 31 ตุลาคม 2562 โจทก์ใช้สิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากต่อจำเลย แต่จำเลยเพิกเฉย
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิไถ่ที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 ตราขึ้นด้วยเหตุผลที่ว่า บทบัญญัติว่าด้วยขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ภายใต้หลักของความศักดิ์สิทธิ์และเสรีภาพในการแสดงเจตนาระหว่างคู่สัญญาซึ่งเป็นเอกชนที่มีสถานะเท่าเทียมกัน แต่ในการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนจำนวนมากปรากฏว่าผู้ขายฝากมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าผู้ซื้อฝากอันเนื่องมาจากสถานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน และผู้ขายฝากอาจได้รับความเดือดร้อนจากการสูญเสียที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัย จึงกำหนดให้มีการควบคุมสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างเสริมความเป็นธรรมในสังคม เจตนารมณ์ของการบัญญัติกฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองประชาชนผู้ขายฝากมิให้ต้องสูญเสียที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัย ดังนั้น แม้สัญญาขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นก่อนพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อกำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลย คือวันที่ 20 เมษายน 2562 เป็นกำหนดไถ่ที่มีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ย่อมต้องด้วยหลักเกณฑ์แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวในส่วนบทเฉพาะกาล มาตรา 20 ที่ว่า “สัญญาขายฝากซึ่งทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ ให้มีผลผูกพันคู่สัญญาต่อไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันทำสัญญาขายฝาก เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้... (3) ให้นำความในมาตรา 17 มาใช้บังคับกับสัญญาขายฝากที่มีผลบังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ในสัญญาขายฝากมีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ขยายกำหนดเวลาการไถ่ออกไปเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ...” กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงต้องขยายระยะเวลาออกไปตามบทกฎหมายที่มีสภาพบังคับเพื่อประโยชน์แก่ผู้ขายฝาก โดยขยายกำหนดไถ่ออกไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ทำให้จะครบกำหนดไถ่ในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 และเมื่อพระราชบัญญัตินี้มีความมุ่งหมายในการคุ้มครองมิให้ผู้ขายฝากต้องสูญเสียที่ดินทำมาหากินหรือที่ดินที่อยู่อาศัย การบอกกล่าวให้ผู้ขายฝากรู้ตัวล่วงหน้าถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่เพื่อประโยชน์ต่อการใช้สิทธิไถ่ของผู้ขายฝากจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังความในมาตรา 17 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือน ให้ผู้ซื้อฝากแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝากเพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ พร้อมทั้งแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย...” และหากผู้ซื้อฝากละเลยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ย่อมเป็นผลตามมาตรา 17 วรรคสอง ที่ว่า “ในกรณีที่ผู้ซื้อฝากไม่ได้ดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ขายฝากภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งหรือมิได้ส่งสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย ให้ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก โดยผู้ขายฝากมีหน้าที่ชำระสินไถ่ ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา” ซึ่งกำหนดเวลาที่ให้ผู้ซื้อฝากแจ้งกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่แก่ผู้ขายฝากนี้เป็นทำนองเดียวกับการขยายกำหนดเวลาไถ่ตามมาตรา 20 (3) ข้างต้น อันแสดงให้เห็นว่าเป็นบทบังคับให้ผู้ซื้อฝากต้องแจ้งกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่แก่ผู้ขายฝากภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดเวลาไถ่ที่ขยายระยะเวลาออกไปโดยผลของกฎหมายตามที่กล่าวมา จำเลยฝ่ายผู้ซื้อฝากได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 17 วรรคหนึ่ง โดยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ผู้ขายฝากทราบถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือน กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากจึงต้องขยายไปอีกหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ตามมาตรา 17 วรรคสอง กล่าวคือ ขยายออกไปอีกจนถึงวันที่ 17 เมษายน 2563 การที่โจทก์ขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต่อจำเลยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จึงยังคงอยู่ภายในกำหนดไถ่ และจำเลยต้องไถ่ถอนการขายฝากแก่โจทก์ตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภค วินิจฉัยว่า กำหนดไถ่เป็นไปตามที่ขยายโดยผลของมาตรา 20 (3) คือวันที่ 17 ตุลาคม 2562 เท่านั้น โจทก์ขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากเมื่อล่วงพ้นกำหนดไถ่จึงสิ้นสิทธิไถ่นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้ฟังขึ้น ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 9,188.40 บาท และค่าเสียหายอีกวันละ 141.36 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไถ่ถอนที่ดินที่ขายฝากให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่า การที่จำเลยไม่รับไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถนำทรัพย์สินที่ขายฝากออกจำหน่ายให้แก่บุคคลภายนอกได้ นั้น ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อน และเห็นว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างนั้นเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าในอันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง ทั้งพยานประกอบข้ออ้างเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวของโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวขึ้นเองได้โดยง่าย ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ตามนั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้ ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง การไถ่หรือไม่ไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากมีผลต่อกรรมสิทธิ์รวมทั้งการครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่ขายฝาก และเนื่องจากกำหนดไถ่ตามสัญญาและที่กำหนดโดยบทกฎหมายที่กล่าวมา เมื่อนับถึงปัจจุบันได้ล่วงเลยมาพอสมควรแล้ว เพื่อประโยชน์และเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่าย ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้ปฏิบัติในการไถ่ขายฝากไว้เสียด้วย
พิพากษากลับว่า ให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 36230 และ 53279 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยให้โจทก์ชำระสินไถ่เป็นเงิน 1,872,000 บาท แก่จำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา หากจำเลยไม่จดทะเบียนไถ่ขายฝากให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และหากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจไถ่ขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง คำขออื่นของโจทก์ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
แม้สัญญาขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นก่อน พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อกำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก คือวันที่ 20 เมษายน 2562 เป็นกำหนดไถ่ที่มีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ กรณีย่อมต้องด้วยบทเฉพาะกาลมาตรา 20 ที่กำหนดให้สัญญาขายฝากซึ่งทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับและยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ให้มีผลผูกพันคู่สัญญาต่อไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันทำสัญญาขายฝาก เว้นแต่กรณี (3) ให้นําความในมาตรา 17 มาใช้บังคับกับสัญญาขายฝากที่มีผลบังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ และในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ในสัญญาขายฝากมีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ให้ขยายกำหนดเวลาการไถ่ออกไปเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงต้องขยายระยะเวลาออกไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้มีผลใช้บังคับ ทำให้จะครบกำหนดไถ่ในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 และเมื่อมาตรา 17 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือน ให้ผู้ซื้อฝากแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝากเพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ หากผู้ซื้อฝากละเลยไม่ดำเนินการดังกล่าว มาตรา 17 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝากโดยผู้ขายฝากมีหน้าที่ชําระสินไถ่ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ที่ขยายระยะเวลาออกไปโดยผลของกฎหมายตามที่กล่าวมาจำเลยผู้ซื้อฝากได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ผู้ขายฝากทราบถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือนตามบทบัญญัติมาตรา 17 วรรคหนึ่ง กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากจึงต้องขยายไปอีกหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ตามมาตรา 17 วรรคสอง กล่าวคือ ขยายออกไปอีกจนถึงวันที่ 17 เมษายน 2563 การที่โจทก์ขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต่อจำเลยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จึงยังอยู่ภายในกำหนดไถ่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนแก่โจทก์ โดยให้จำเลยรับเงินสินไถ่ 1,872,000 บาท หากจำเลยไม่จดทะเบียนไถ่ให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 9,188.40 บาท และค่าเสียหายอีกวันละ 141.36 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไถ่ถอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 36230 และ 53279 ซึ่งเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ไว้ต่อจำเลย กำหนดสินไถ่ 1,872,000 บาท และในระหว่างขายฝากมีการขยายกำหนดไถ่ออกไปอีก 3 ครั้ง ซึ่งครบกำหนดไถ่วันที่ 20 เมษายน 2562 ต่อมาวันที่ 31 ตุลาคม 2562 โจทก์ใช้สิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากต่อจำเลย แต่จำเลยเพิกเฉย
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิไถ่ที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 ตราขึ้นด้วยเหตุผลที่ว่า บทบัญญัติว่าด้วยขายฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ภายใต้หลักของความศักดิ์สิทธิ์และเสรีภาพในการแสดงเจตนาระหว่างคู่สัญญาซึ่งเป็นเอกชนที่มีสถานะเท่าเทียมกัน แต่ในการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนจำนวนมากปรากฏว่าผู้ขายฝากมีอำนาจต่อรองน้อยกว่าผู้ซื้อฝากอันเนื่องมาจากสถานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน และผู้ขายฝากอาจได้รับความเดือดร้อนจากการสูญเสียที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัย จึงกำหนดให้มีการควบคุมสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างเสริมความเป็นธรรมในสังคม เจตนารมณ์ของการบัญญัติกฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองประชาชนผู้ขายฝากมิให้ต้องสูญเสียที่ดินทำกินหรือที่อยู่อาศัย ดังนั้น แม้สัญญาขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นก่อนพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อกำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลย คือวันที่ 20 เมษายน 2562 เป็นกำหนดไถ่ที่มีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ย่อมต้องด้วยหลักเกณฑ์แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวในส่วนบทเฉพาะกาล มาตรา 20 ที่ว่า “สัญญาขายฝากซึ่งทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ ให้มีผลผูกพันคู่สัญญาต่อไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันทำสัญญาขายฝาก เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้... (3) ให้นำความในมาตรา 17 มาใช้บังคับกับสัญญาขายฝากที่มีผลบังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ในสัญญาขายฝากมีหรือเหลือระยะเวลาน้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ขยายกำหนดเวลาการไถ่ออกไปเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ...” กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงต้องขยายระยะเวลาออกไปตามบทกฎหมายที่มีสภาพบังคับเพื่อประโยชน์แก่ผู้ขายฝาก โดยขยายกำหนดไถ่ออกไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ทำให้จะครบกำหนดไถ่ในวันที่ 17 ตุลาคม 2562 และเมื่อพระราชบัญญัตินี้มีความมุ่งหมายในการคุ้มครองมิให้ผู้ขายฝากต้องสูญเสียที่ดินทำมาหากินหรือที่ดินที่อยู่อาศัย การบอกกล่าวให้ผู้ขายฝากรู้ตัวล่วงหน้าถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่เพื่อประโยชน์ต่อการใช้สิทธิไถ่ของผู้ขายฝากจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังความในมาตรา 17 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือน ให้ผู้ซื้อฝากแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝากเพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ พร้อมทั้งแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย...” และหากผู้ซื้อฝากละเลยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ย่อมเป็นผลตามมาตรา 17 วรรคสอง ที่ว่า “ในกรณีที่ผู้ซื้อฝากไม่ได้ดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ขายฝากภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งหรือมิได้ส่งสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย ให้ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก โดยผู้ขายฝากมีหน้าที่ชำระสินไถ่ ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญา” ซึ่งกำหนดเวลาที่ให้ผู้ซื้อฝากแจ้งกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่แก่ผู้ขายฝากนี้เป็นทำนองเดียวกับการขยายกำหนดเวลาไถ่ตามมาตรา 20 (3) ข้างต้น อันแสดงให้เห็นว่าเป็นบทบังคับให้ผู้ซื้อฝากต้องแจ้งกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่แก่ผู้ขายฝากภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดเวลาไถ่ที่ขยายระยะเวลาออกไปโดยผลของกฎหมายตามที่กล่าวมา จำเลยฝ่ายผู้ซื้อฝากได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 17 วรรคหนึ่ง โดยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ผู้ขายฝากทราบถึงกำหนดเวลาไถ่และจำนวนสินไถ่ก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่าสามเดือนแต่ไม่มากกว่าหกเดือน กำหนดไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากจึงต้องขยายไปอีกหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ตามมาตรา 17 วรรคสอง กล่าวคือ ขยายออกไปอีกจนถึงวันที่ 17 เมษายน 2563 การที่โจทก์ขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต่อจำเลยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 จึงยังคงอยู่ภายในกำหนดไถ่ และจำเลยต้องไถ่ถอนการขายฝากแก่โจทก์ตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภค วินิจฉัยว่า กำหนดไถ่เป็นไปตามที่ขยายโดยผลของมาตรา 20 (3) คือวันที่ 17 ตุลาคม 2562 เท่านั้น โจทก์ขอไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากเมื่อล่วงพ้นกำหนดไถ่จึงสิ้นสิทธิไถ่นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้ฟังขึ้น ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 9,188.40 บาท และค่าเสียหายอีกวันละ 141.36 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไถ่ถอนที่ดินที่ขายฝากให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่า การที่จำเลยไม่รับไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถนำทรัพย์สินที่ขายฝากออกจำหน่ายให้แก่บุคคลภายนอกได้ นั้น ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อน และเห็นว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างนั้นเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าในอันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง ทั้งพยานประกอบข้ออ้างเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวของโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวขึ้นเองได้โดยง่าย ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ตามนั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้ ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง การไถ่หรือไม่ไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากมีผลต่อกรรมสิทธิ์รวมทั้งการครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่ขายฝาก และเนื่องจากกำหนดไถ่ตามสัญญาและที่กำหนดโดยบทกฎหมายที่กล่าวมา เมื่อนับถึงปัจจุบันได้ล่วงเลยมาพอสมควรแล้ว เพื่อประโยชน์และเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่าย ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้ปฏิบัติในการไถ่ขายฝากไว้เสียด้วย
พิพากษากลับว่า ให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 36230 และ 53279 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยให้โจทก์ชำระสินไถ่เป็นเงิน 1,872,000 บาท แก่จำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา หากจำเลยไม่จดทะเบียนไถ่ขายฝากให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และหากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจไถ่ขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง คำขออื่นของโจทก์ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น เป็นข้อตกลงที่มีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงโดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียวนั้นชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยทบต้นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 509,740 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 144,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 14 มีนาคม 2554 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 126,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 13 มีนาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้นำเงิน 15,000 บาท ไปหักชำระดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้โดยคู่ความไม่ได้โต้แย้งกันว่า เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ 126,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี กำหนดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยภายในวันที่ 13 มีนาคม 2553 หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี ยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงิน และยอมเสียดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัด โดยชำระเงินให้โจทก์เพียง 15,000 บาท โจทก์นำไปหักชำระดอกเบี้ยปีแรก จำเลยที่ 1 ค้างชำระต้นเงิน 126,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้หรือไม่ เห็นว่า สัญญากู้ ข้อ 3 วรรคสาม ระบุว่า “ในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งปี ผู้กู้ยินยอมให้ทบจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเข้าเป็นต้นเงินในวันที่ครบกำหนดหนึ่งปีนั้น และผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินต้นจำนวนใหม่ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหนึ่งปีตลอดไปในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น” จึงเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมได้ตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง และข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่า ต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาเป็นโมฆะไม่ ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดแล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไปตามฟ้อง แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลง เป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงโดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียว ชอบแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 144,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น เป็นข้อตกลงที่มีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงโดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียวนั้นชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยทบต้นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 509,740 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 144,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 14 มีนาคม 2554 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 126,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 13 มีนาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยให้นำเงิน 15,000 บาท ไปหักชำระดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้โดยคู่ความไม่ได้โต้แย้งกันว่า เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ 126,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี กำหนดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยภายในวันที่ 13 มีนาคม 2553 หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยเกิน 1 ปี ยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงิน และยอมเสียดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัด โดยชำระเงินให้โจทก์เพียง 15,000 บาท โจทก์นำไปหักชำระดอกเบี้ยปีแรก จำเลยที่ 1 ค้างชำระต้นเงิน 126,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้หรือไม่ เห็นว่า สัญญากู้ ข้อ 3 วรรคสาม ระบุว่า “ในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเวลาหนึ่งปี ผู้กู้ยินยอมให้ทบจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเข้าเป็นต้นเงินในวันที่ครบกำหนดหนึ่งปีนั้น และผู้กู้ต้องเสียดอกเบี้ยในเงินต้นจำนวนใหม่ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหนึ่งปีตลอดไปในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น” จึงเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญากู้ยืมได้ตกลงกันเป็นหนังสือให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับของข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง และข้อตกลงดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่า ต้องกระทำเมื่อดอกเบี้ยค้างชำระครบหนึ่งปีแล้วเท่านั้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาเป็นโมฆะไม่ ฉะนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินและคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้ทุกครั้งที่มีการค้างชำระดอกเบี้ยถึงหนึ่งปีเช่นนั้น แม้ว่าจะครบกำหนดชำระคืนและลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดแล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไปตามฟ้อง แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดในรูปดอกเบี้ยทบต้นไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับลง เป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงโดยกำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ครั้งเดียว ชอบแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 144,900 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 4 มกราคม 2554 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221” วรรคสอง บัญญัติว่า “ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่” มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้ว จะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะ หรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่ ส. ยังมีชีวิตอยู่ ส. ก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่ และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 137แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 137, 264, 265, 266, 268 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 2 ปี และปรับจำเลยทั้งสาม (ที่ถูก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4) คนละ 81,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา และหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีหนังสือแจ้งนายทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้โจทก์มีหุ้น 10,000 หุ้น ในบริษัทจำเลยที่ 2 ตามเดิมแล้ว อันเป็นการพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิด จึงลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 1 ปี 4 เดือน และปรับจำเลยทั้งสาม (ที่ถูก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4) คนละ 54,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้ยก
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ลงโทษปรับ 9,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับ 6,000 บาท หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 และที่ 4 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
จำเลยที่ 3 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยที่ 2 โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 หุ้น เป็นหุ้นหมายเลข 85001 ถึงหมายเลข 95000 ต่อมาในปี 2561 โจทก์ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 โดยปรากฏหมายเลขหุ้นที่เคยเป็นของโจทก์ไปปรากฏอยู่ในชื่อของจำเลยที่ 1 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวจึงเป็นเท็จ จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ต่อมาวันที่ 12 กันยายน 2562 ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 หุ้น ตามเดิม แล้วนำไปยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท โดยในส่วนคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่แท้จริงเพราะโจทก์ไม่ได้ชำระราคาค่าหุ้น โดยการชำระราคาค่าหุ้นต้องชำระด้วยเงินเท่านั้นไม่สามารถใช้ค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่นได้ แต่โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่าหุ้น โจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เคยเข้ามีส่วนร่วมในกิจการของจำเลยที่ 2 เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้กำไรและขาดทุน ในปัญหานี้โจทก์นำสืบโดยมีตัวโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ในปี 2539 โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรได้ลงทุนทำธุรกิจการขุดทรายในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดทรัพย์แม่ยม ต่อมานายสุชน บิดาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ชักชวนโจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรเข้าร่วมลงทุนทำธุรกิจบ่อทรายโดยตกลงตั้ง จำเลยที่ 2 ขึ้นมาและให้โจทก์พร้อมด้วยพันโทวิเชียรเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทของจำเลยที่ 2 โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรตกลงร่วมธุรกิจกับนายสุชนโดยนำที่ดินตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาลงทุนโดยถือหุ้นกันคนละ 10,000 หุ้น ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินโดยนำที่ดินที่โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรนำไปลงหุ้นไปจำนองเป็นหลักประกันเงินกู้ เห็นว่า แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติไว้ว่า “หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221” วรรคสองบัญญัติว่า “ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่” แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้วจะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะหรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้นบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่นายสุชนยังมีชีวิตอยู่ นายสุชนก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญโจทก์ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ประการต่อมาว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงข้อความเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นหรือยินยอมให้ลงข้อความเท็จในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยจำเลยที่ 3 มีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ในปัญหานี้เห็นว่า แม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องด้วยก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องโดยชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้องข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในปัญหานี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นอันเป็นเท็จหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ทราบและไม่มีส่วนรู้เห็นในการแก้ไขรายชื่อผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 4 ฎีกาว่า ขณะที่นายสุชนมีชีวิตอยู่นายสุชนเป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 3 และที่ 4 และนางนิตยาไม่เคยรู้จักโจทก์มาก่อน เนื่องจากโจทก์ไม่เคยเข้าประชุมเพื่อติดตามสอบถามถึงผลประกอบการของจำเลยที่ 2 นางนิตยามีหน้าที่ดูแลจัดการเอกสารต่าง ๆ ของจำเลยที่ 2 แทนนายสุชน หลังจากนายสุชนถึงแก่ความตายแล้วนางนิตยาเป็นผู้จัดทำงบการเงินย้อนหลังตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2559 จึงได้นำหุ้นของโจทก์รวมเข้ากับหุ้นของจำเลยที่ 1 โดยนางนิตยามิได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบ และจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้สั่งการหรือรู้เห็นให้นางนิตยาดำเนินการ โดยต่อมาเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็ได้สั่งการให้นางนิตยาดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามเดิมทันทีก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบโดยมีนางนิตยาเป็นพยานเบิกความว่า เป็นผู้สั่งการให้พนักงานฝ่ายบัญชีของจำเลยที่ 2 เป็นผู้พิมพ์บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยย้ายหุ้นของโจทก์ไปเป็นของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ปรึกษาผู้ใดเพราะในปี 2539 นายสุชนเรียกให้นางนิตยาไปพบและจดบันทึกตามคำบอกของนายสุชนว่า นายสุชนมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวนเท่าใด แต่ไม่ปรากฏชื่อโจทก์ในรายการที่นายสุชนให้บันทึก นางนิตยาจึงเข้าใจว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จึงแก้ไขเปลี่ยนแปลงหุ้นด้วยตนเองไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบ เห็นว่า หลังจากนายสุชนถึงแก่ความตายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่นางนิตยาซึ่งเป็นลูกจ้างทำบัญชีให้แก่นายสุชนแม้จะเป็นผู้มีความใกล้ชิดนายสุชนและนายสุชนไว้วางใจก็ตาม แต่เมื่อนายสุชนถึงแก่ความตายแล้วการที่นางนิตยาจะทำการใดเกี่ยวกับบริษัทย่อมจะต้องสอบถามและขอความเห็นชอบจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการก่อน นางนิตยาซึ่งเป็นแต่เพียงลูกจ้างย่อมที่จะไม่กล้ากระทำการใดโดยลำพัง แม้การเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยการนำหุ้นที่โจทก์เคยถืออยู่ไปอยู่ในชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตาม แต่ก็น่าเชื่อว่านางนิตยาจะต้องได้รับคำสั่งหรือความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เสียก่อน เพราะจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนี้ไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบมาดังกล่าวไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 สั่งการหรือยินยอมให้นางนิตยาทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเท็จ มีความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประการสุดท้ายว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีเจตนาในการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานหรือไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้มีเจตนาที่จะแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ส่วนจำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ ในการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 3 ไม่มีส่วนรู้เห็นในการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ได้ลงนามแจ้งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยขาดความละเอียดรอบคอบในการตรวจเอกสารก่อนลงลายมือชื่อเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาที่จะแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจึงไม่มีความผิด ในปัญหานี้ จำเลยที่ 3 เบิกความว่า ได้รับมอบหมายจากนายสุชนให้เป็นกรรมการบริษัทต่าง ๆ แต่ที่ดูแลบริหารงานในทางปฏิบัติจริง ๆ คือ โรงแรมจำนวน 3 แห่ง ส่วนจำเลยที่ 4 เบิกความว่า ผู้ที่ดูแลกิจการแทนนายสุชน คือ นางสาวณัฐทรัชต์ ซึ่งเป็นน้องสาวของจำเลยที่ 4 ส่วนจำเลยที่ 4 รับหน้าที่บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยี บ. ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน เห็นว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่างเป็นนักธุรกิจบริหารกิจการโรงแรมและวิทยาลัยเทคโนโลยีซึ่งเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมาก ต่างกับกิจการบ่อทรายของจำเลยที่ 2 น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้ขั้นตอนในการส่งงบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นอย่างดี จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมทราบดีว่าเมื่อแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นแล้วจะต้องนำส่งไปยังทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับงบดุลของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สั่งการหรือรู้เห็นยินยอมให้มีการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นและเป็นผู้ลงนามส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาในการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะกรรมการผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
พิพากษายืน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221” วรรคสอง บัญญัติว่า “ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่” มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้ว จะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะ หรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่ ส. ยังมีชีวิตอยู่ ส. ก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่ และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 137แม้คำฟ้องของโจทก์ ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่ ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้อง ข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 137, 264, 265, 266, 268 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 2 ปี และปรับจำเลยทั้งสาม (ที่ถูก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4) คนละ 81,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา และหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีหนังสือแจ้งนายทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้โจทก์มีหุ้น 10,000 หุ้น ในบริษัทจำเลยที่ 2 ตามเดิมแล้ว อันเป็นการพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิด จึงลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 1 ปี 4 เดือน และปรับจำเลยทั้งสาม (ที่ถูก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4) คนละ 54,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ข้อหาอื่นสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้ยก
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ลงโทษปรับ 9,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับ 6,000 บาท หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 และที่ 4 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา
จำเลยที่ 3 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยที่ 2 โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 หุ้น เป็นหุ้นหมายเลข 85001 ถึงหมายเลข 95000 ต่อมาในปี 2561 โจทก์ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 โดยปรากฏหมายเลขหุ้นที่เคยเป็นของโจทก์ไปปรากฏอยู่ในชื่อของจำเลยที่ 1 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวจึงเป็นเท็จ จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ต่อมาวันที่ 12 กันยายน 2562 ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 หุ้น ตามเดิม แล้วนำไปยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท โดยในส่วนคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่แท้จริงเพราะโจทก์ไม่ได้ชำระราคาค่าหุ้น โดยการชำระราคาค่าหุ้นต้องชำระด้วยเงินเท่านั้นไม่สามารถใช้ค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่นได้ แต่โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่าหุ้น โจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เคยเข้ามีส่วนร่วมในกิจการของจำเลยที่ 2 เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้กำไรและขาดทุน ในปัญหานี้โจทก์นำสืบโดยมีตัวโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ในปี 2539 โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรได้ลงทุนทำธุรกิจการขุดทรายในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดทรัพย์แม่ยม ต่อมานายสุชน บิดาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ชักชวนโจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรเข้าร่วมลงทุนทำธุรกิจบ่อทรายโดยตกลงตั้ง จำเลยที่ 2 ขึ้นมาและให้โจทก์พร้อมด้วยพันโทวิเชียรเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทของจำเลยที่ 2 โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรตกลงร่วมธุรกิจกับนายสุชนโดยนำที่ดินตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาลงทุนโดยถือหุ้นกันคนละ 10,000 หุ้น ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินโดยนำที่ดินที่โจทก์และพันตำรวจโทวิเชียรนำไปลงหุ้นไปจำนองเป็นหลักประกันเงินกู้ เห็นว่า แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1119 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติไว้ว่า “หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221” วรรคสองบัญญัติว่า “ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่” แต่ก็มิได้มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าหากมิได้ดำเนินการตามมาตรา 1119 แล้วจะทำให้การเป็นผู้ถือหุ้นเป็นโมฆะหรือกลับกลายเป็นไม่เป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ดังนั้นบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมีผลแต่เพียงว่าผู้ถือหุ้นดังกล่าวยังมิได้ใช้เงินเป็นค่าหุ้นแก่บริษัทเท่านั้น กรรมการจึงสามารถที่จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทเสียเมื่อใดก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1120 ถึง 1124 ทั้งตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในขณะที่นายสุชนยังมีชีวิตอยู่ นายสุชนก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ที่มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นส่งไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามข้อฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า โจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแล้วหรือไม่และโดยวิธีใด เพราะไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการเรียกเงินค่าหุ้น จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายแล้ว ส่วนที่โจทก์ไม่เคยได้รับมอบใบหุ้น ไม่เคยเข้ามีส่วนได้เสียในบริษัท เช่น การประชุมผู้ถือหุ้น การรับรู้ส่วนได้เสียของบริษัท เช่น กำไร ขาดทุน นั้น ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ได้ออกใบหุ้นให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ไม่ไปรับหรือไม่ จำเลยที่ 2 เคยมีหนังสือเชิญโจทก์ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจะว่าโจทก์ไม่ได้รับมอบใบหุ้นและไม่เข้ามามีส่วนได้เสียของบริษัทหาได้ไม่ จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ประการต่อมาว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2) เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงข้อความเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นหรือยินยอมให้ลงข้อความเท็จในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยจำเลยที่ 3 มีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ในปัญหานี้เห็นว่า แม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2.1 ที่บรรยายว่าการกระทำของจำเลยทั้งสี่ทำให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียหุ้นจำนวน 10,000 หุ้น โจทก์จะมิได้บรรยายเจตนาพิเศษมาในคำฟ้องด้วยก็ตาม แต่ต่อมาในข้อ 2.3 โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องโดยชัดเจนว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 และฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการหรือยินยอมให้มีการปลอมบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตามฟ้องข้อ 2.1 เพื่อลวงโจทก์ให้ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 แล้ว ดังนี้ จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงเจตนาพิเศษในการกระทำความผิดแล้ว ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในปัญหานี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 กระทำหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นอันเป็นเท็จหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ทราบและไม่มีส่วนรู้เห็นในการแก้ไขรายชื่อผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 4 ฎีกาว่า ขณะที่นายสุชนมีชีวิตอยู่นายสุชนเป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 3 และที่ 4 และนางนิตยาไม่เคยรู้จักโจทก์มาก่อน เนื่องจากโจทก์ไม่เคยเข้าประชุมเพื่อติดตามสอบถามถึงผลประกอบการของจำเลยที่ 2 นางนิตยามีหน้าที่ดูแลจัดการเอกสารต่าง ๆ ของจำเลยที่ 2 แทนนายสุชน หลังจากนายสุชนถึงแก่ความตายแล้วนางนิตยาเป็นผู้จัดทำงบการเงินย้อนหลังตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2559 จึงได้นำหุ้นของโจทก์รวมเข้ากับหุ้นของจำเลยที่ 1 โดยนางนิตยามิได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบ และจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้สั่งการหรือรู้เห็นให้นางนิตยาดำเนินการ โดยต่อมาเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็ได้สั่งการให้นางนิตยาดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามเดิมทันทีก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ ในปัญหานี้จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบโดยมีนางนิตยาเป็นพยานเบิกความว่า เป็นผู้สั่งการให้พนักงานฝ่ายบัญชีของจำเลยที่ 2 เป็นผู้พิมพ์บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยย้ายหุ้นของโจทก์ไปเป็นของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ปรึกษาผู้ใดเพราะในปี 2539 นายสุชนเรียกให้นางนิตยาไปพบและจดบันทึกตามคำบอกของนายสุชนว่า นายสุชนมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 2 จำนวนเท่าใด แต่ไม่ปรากฏชื่อโจทก์ในรายการที่นายสุชนให้บันทึก นางนิตยาจึงเข้าใจว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 2 จึงแก้ไขเปลี่ยนแปลงหุ้นด้วยตนเองไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบ เห็นว่า หลังจากนายสุชนถึงแก่ความตายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่นางนิตยาซึ่งเป็นลูกจ้างทำบัญชีให้แก่นายสุชนแม้จะเป็นผู้มีความใกล้ชิดนายสุชนและนายสุชนไว้วางใจก็ตาม แต่เมื่อนายสุชนถึงแก่ความตายแล้วการที่นางนิตยาจะทำการใดเกี่ยวกับบริษัทย่อมจะต้องสอบถามและขอความเห็นชอบจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการก่อน นางนิตยาซึ่งเป็นแต่เพียงลูกจ้างย่อมที่จะไม่กล้ากระทำการใดโดยลำพัง แม้การเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยการนำหุ้นที่โจทก์เคยถืออยู่ไปอยู่ในชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตาม แต่ก็น่าเชื่อว่านางนิตยาจะต้องได้รับคำสั่งหรือความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เสียก่อน เพราะจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนี้ไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบมาดังกล่าวไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 สั่งการหรือยินยอมให้นางนิตยาทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเท็จ มีความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประการสุดท้ายว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีเจตนาในการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานหรือไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 4 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 4 มิได้มีเจตนาที่จะแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 2 และที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ส่วนจำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ ในการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำเลยที่ 3 ไม่มีส่วนรู้เห็นในการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ได้ลงนามแจ้งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยขาดความละเอียดรอบคอบในการตรวจเอกสารก่อนลงลายมือชื่อเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาที่จะแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจึงไม่มีความผิด ในปัญหานี้ จำเลยที่ 3 เบิกความว่า ได้รับมอบหมายจากนายสุชนให้เป็นกรรมการบริษัทต่าง ๆ แต่ที่ดูแลบริหารงานในทางปฏิบัติจริง ๆ คือ โรงแรมจำนวน 3 แห่ง ส่วนจำเลยที่ 4 เบิกความว่า ผู้ที่ดูแลกิจการแทนนายสุชน คือ นางสาวณัฐทรัชต์ ซึ่งเป็นน้องสาวของจำเลยที่ 4 ส่วนจำเลยที่ 4 รับหน้าที่บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยี บ. ตั้งแต่ปี 2538 จนถึงปัจจุบัน เห็นว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่างเป็นนักธุรกิจบริหารกิจการโรงแรมและวิทยาลัยเทคโนโลยีซึ่งเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมาก ต่างกับกิจการบ่อทรายของจำเลยที่ 2 น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้ขั้นตอนในการส่งงบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นอย่างดี จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมทราบดีว่าเมื่อแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นแล้วจะต้องนำส่งไปยังทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมกับงบดุลของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้สั่งการหรือรู้เห็นยินยอมให้มีการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นและเป็นผู้ลงนามส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเจตนาในการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะกรรมการผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
พิพากษายืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 3 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 1 เดือน 15 วัน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนเช่นกัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะใช้รถยนต์เพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ นั้น ในการวินิจฉัยฎีกาดังกล่าวศาลต้องย้อนไปรับฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างให้ยุติเสียก่อน จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษมาด้วย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ เพราะบทบัญญัติของมาตรา 219 ตรี เป็นบทห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยเด็ดขาด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 336 ทวิ นับโทษคดีนี้ติดต่อกับโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.647/2563 ของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ประกอบมาตรา 336 ทวิ จำคุก 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 เดือน จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนให้เปลี่ยนโทษจำคุก 3 เดือน เป็นโทษกักขัง 3 เดือน แทนโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 ส่วนคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.647/2563 ของศาลชั้นต้น ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา ไม่อาจนับโทษต่อได้ ให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำคุก 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 1 เดือน 15 วัน ให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก นอกจากที่แก้ให้เป็นให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 3 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 1 เดือน 15 วัน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนเช่นกัน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะใช้รถยนต์เพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ นั้น ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยดังกล่าวศาลต้องย้อนไปรับฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างให้ยุติเสียก่อน ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษมาด้วย ฎีกาของจำเลยทุกข้อจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะได้ความว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นมา ก็ไม่ชอบเพราะบทบัญญัติของมาตรา 219 ตรี เป็นบทห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยเด็ดขาด ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
พิพากษาให้ยกฎีกาของจำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 3 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 1 เดือน 15 วัน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนเช่นกัน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะใช้รถยนต์เพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ นั้น ในการวินิจฉัยฎีกาดังกล่าวศาลต้องย้อนไปรับฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างให้ยุติเสียก่อน จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษมาด้วย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ เพราะบทบัญญัติของมาตรา 219 ตรี เป็นบทห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยเด็ดขาด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 336 ทวิ นับโทษคดีนี้ติดต่อกับโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.647/2563 ของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ประกอบมาตรา 336 ทวิ จำคุก 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 เดือน จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนให้เปลี่ยนโทษจำคุก 3 เดือน เป็นโทษกักขัง 3 เดือน แทนโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 ส่วนคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.647/2563 ของศาลชั้นต้น ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา ไม่อาจนับโทษต่อได้ ให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำคุก 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 1 เดือน 15 วัน ให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก นอกจากที่แก้ให้เป็นให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 3 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษหลังลดโทษแล้วจำคุก 1 เดือน 15 วัน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนเช่นกัน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะใช้รถยนต์เพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ นั้น ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยดังกล่าวศาลต้องย้อนไปรับฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างให้ยุติเสียก่อน ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษมาด้วย ฎีกาของจำเลยทุกข้อจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะได้ความว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นมา ก็ไม่ชอบเพราะบทบัญญัติของมาตรา 219 ตรี เป็นบทห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยเด็ดขาด ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
พิพากษาให้ยกฎีกาของจำเลย
ก่อนเริ่มพิจารณาคดีศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดี ที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นการกำหนดรายละเอียดของสิทธิไว้ชัดแจ้งเช่นเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลยจำเลยฎีกาว่า ในวันนัดสอบคำให้การจำเลย โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกันให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์ให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 297 และเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) จำคุก 1 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 1 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับฎีกาของจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น เห็นว่า ฎีกาของจำเลยมิได้บรรยายว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนไหนอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมิได้มีการคุ้มครองสิทธิของจำเลยในคดีอาญา โดยจำเลยไม่มีทนายความให้คำปรึกษา และสำคัญผิดในฟ้องโจทก์โดยเข้าใจว่าหากให้การรับสารภาพ และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้วศาลจะพิพากษารอการลงโทษให้แก่จำเลย นั้น เห็นว่า ตามรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ก่อนเริ่มพิจารณาคดี ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นการกำหนดรายละเอียดของสิทธิไว้ชัดแจ้งเช่นเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ในขณะที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกัน ให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 292/2558 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ก่อนเริ่มพิจารณาคดีศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดี ที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นการกำหนดรายละเอียดของสิทธิไว้ชัดแจ้งเช่นเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลยจำเลยฎีกาว่า ในวันนัดสอบคำให้การจำเลย โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกันให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์ให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92, 297 และเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (8) จำคุก 1 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 1 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับฎีกาของจำเลยที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมนั้น เห็นว่า ฎีกาของจำเลยมิได้บรรยายว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมในส่วนไหนอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมิได้มีการคุ้มครองสิทธิของจำเลยในคดีอาญา โดยจำเลยไม่มีทนายความให้คำปรึกษา และสำคัญผิดในฟ้องโจทก์โดยเข้าใจว่าหากให้การรับสารภาพ และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้วศาลจะพิพากษารอการลงโทษให้แก่จำเลย นั้น เห็นว่า ตามรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ก่อนเริ่มพิจารณาคดี ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นการกำหนดรายละเอียดของสิทธิไว้ชัดแจ้งเช่นเดียวกันกับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เมื่อจำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ในขณะที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 โจทก์และจำเลยต้องมาอยู่ต่อหน้าศาลพร้อมกัน ให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง เมื่อจำเลยให้การอย่างไรก็ให้ศาลจดไว้ ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องแถลงให้ศาลทราบว่ายังประสงค์จะให้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ วันนัดสอบคำให้การจำเลยจึงเป็นการนัดพิจารณาคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องมาในวันดังกล่าวนั้น เมื่อโจทก์ไม่มา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 ประกอบมาตรา 166 นั้น เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้อุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี 6 เดือน และปรับ 800 บาท ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 292/2558 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าวยังไม่เกินห้าปีและกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกจนถูกเพิ่มโทษ เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 (1) และ (2) ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ซึ่งการกระทำความผิดตามข้ออ้างในคำฟ้องข้อ 1.1 ของโจทก์เป็นการกระทำในขณะ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ใช้บังคับ โดยความหมายในมาตรา 2 คำว่า “อากร” ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ อย่างไรก็ตาม แม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1.1 ไม่มีจำนวนอากรขาเข้าที่จำเลยทั้งสามต้องเสียเพิ่ม แต่เมื่อคำฟ้องข้อ 1.1 บรรยายด้วยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้ารถยนต์ใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ และ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ยังบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ด้วยภายหลังจำเลยทั้งสามกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ ซึ่งอัตราโทษใหม่ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสามในส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ. มาตรา 3
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91
จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 2 กระทง กระทงแรก ปรับจำเลยทั้งสามคนละ 1,318,240 บาท กระทงหลัง ปรับคนละ 578,000 บาท รวมปรับคนละ 1,896,240 บาท จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงกระทงแรกปรับคนละ 659,120 บาท กระทงหลังปรับคนละ 289,000 บาท รวมปรับคนละ 948,120 บาท หากจำเลยทั้งสามไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้เกินหนึ่งปี แต่ไม่เกินสองปี
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับความผิดกระทงหลังตามฟ้องข้อ 1.2 ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามเป็นเงินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม เป็นเงิน 103,320 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับจำเลยทั้งสามรวมเป็นเงิน 51,660 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังจำเลยที่ 2 และที่ 3 แทนค่าปรับได้ไม่เกินหนึ่งปี ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดกระทงแรกตามฟ้องข้อ 1.1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 หรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 ว่า เมื่อระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสามร่วมกันนำของที่ผ่านพิธีการศุลกากรแล้วเข้ามาในราชอาณาจักรโดยการยื่นใบสินค้าขาเข้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร สำแดงประเภทชนิดและราคาของเป็นโครงรถยนต์เก่าใช้แล้ว อัตราอากรร้อยละ 80 สำแดงราคา 140,000 บาท ชำระอากร 112,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17,640 บาท ซึ่งโครงรถยนต์เก่าใช้แล้วดังกล่าวเคยเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์นั่งใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์ ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดนอกราชอาณาจักร อันเป็นการหลีกเลี่ยงอากรที่พึงเก็บแก่สิ่งที่สมบูรณ์แล้ว โดยวิธีนำสิ่งนั้นเข้ามาเป็นส่วน ๆ ต่างหาก เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามชำระค่าภาษีอากรขาดไป โดยมีภาษีสรรพสามิตที่จะต้องชำระเพิ่ม 280,000 บาท ภาษีมหาดไทยที่ต้องชำระเพิ่ม 28,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเพิ่ม 21,560 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 329,560 บาท จำเลยทั้งสามกระทำการดังกล่าวเพื่อนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าอากรให้ครบถ้วน อันเป็นการเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้ารถยนต์ใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์ โดยเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษี และขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ซึ่งการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามตามข้ออ้างในคำฟ้องข้อ 1.1 ของโจทก์เป็นการกระทำในขณะที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ใช้บังคับ โดยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 บัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวแก่ศุลกากร และในการแปลความแห่งพระราชบัญญัติหรือบทกฎหมายนั้น ๆ ถ้อยคำต่อไปนี้ ถ้าไม่แย้งกับความในบทหรือเนื้อเรื่องไซร้ ให้มีความหมายและกินความรวมไปถึงวัตถุและสิ่งทั้งหลายดังกำหนดไว้ต่อไปนี้ คือ.... คำว่า “อากร” หมายความว่า ค่าภาษี ค่าอากร ค่าธรรมเนียมหรือค่าภาระติดพันในทางศุลกากร หรืออากรชั้นใน” ดังนั้น คำว่า “ค่าอากร” ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 จึงหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ อย่างไรก็ตามแม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1.1 ไม่มีจำนวนอากรขาเข้าที่จำเลยทั้งสามต้องเสียเพิ่ม แต่เมื่อคำฟ้องข้อ 1.1 บรรยายด้วยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้ารถยนต์ใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ยังบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องข้อ 1.1 มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่งภายหลังจำเลยทั้งสามกระทำความผิด ได้มีพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ ซึ่งอัตราโทษใหม่ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสามในส่วนที่เป็นคุณตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับความผิดกระทงแรกตามฟ้องข้อ 1.1 จำเลยทั้งสามมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244, 253 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามรวมเป็นเงิน 100,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับจำเลยทั้งสามรวมเป็นเงิน 50,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังจำเลยที่ 2 และที่ 3 แทนค่าปรับได้ไม่เกินหนึ่งปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ซึ่งการกระทำความผิดตามข้ออ้างในคำฟ้องข้อ 1.1 ของโจทก์เป็นการกระทำในขณะ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ใช้บังคับ โดยความหมายในมาตรา 2 คำว่า “อากร” ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ อย่างไรก็ตาม แม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1.1 ไม่มีจำนวนอากรขาเข้าที่จำเลยทั้งสามต้องเสียเพิ่ม แต่เมื่อคำฟ้องข้อ 1.1 บรรยายด้วยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้ารถยนต์ใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ และ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ยังบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ด้วยภายหลังจำเลยทั้งสามกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ ซึ่งอัตราโทษใหม่ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสามในส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ. มาตรา 3
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91
จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 2 กระทง กระทงแรก ปรับจำเลยทั้งสามคนละ 1,318,240 บาท กระทงหลัง ปรับคนละ 578,000 บาท รวมปรับคนละ 1,896,240 บาท จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงกระทงแรกปรับคนละ 659,120 บาท กระทงหลังปรับคนละ 289,000 บาท รวมปรับคนละ 948,120 บาท หากจำเลยทั้งสามไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้เกินหนึ่งปี แต่ไม่เกินสองปี
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับความผิดกระทงหลังตามฟ้องข้อ 1.2 ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามเป็นเงินสี่เท่าของค่าอากรที่ต้องเสียเพิ่ม เป็นเงิน 103,320 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับจำเลยทั้งสามรวมเป็นเงิน 51,660 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังจำเลยที่ 2 และที่ 3 แทนค่าปรับได้ไม่เกินหนึ่งปี ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดกระทงแรกตามฟ้องข้อ 1.1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 หรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 ว่า เมื่อระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 เวลาใดไม่ปรากฏชัด ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสามร่วมกันนำของที่ผ่านพิธีการศุลกากรแล้วเข้ามาในราชอาณาจักรโดยการยื่นใบสินค้าขาเข้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร สำแดงประเภทชนิดและราคาของเป็นโครงรถยนต์เก่าใช้แล้ว อัตราอากรร้อยละ 80 สำแดงราคา 140,000 บาท ชำระอากร 112,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17,640 บาท ซึ่งโครงรถยนต์เก่าใช้แล้วดังกล่าวเคยเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์นั่งใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์ ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดนอกราชอาณาจักร อันเป็นการหลีกเลี่ยงอากรที่พึงเก็บแก่สิ่งที่สมบูรณ์แล้ว โดยวิธีนำสิ่งนั้นเข้ามาเป็นส่วน ๆ ต่างหาก เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามชำระค่าภาษีอากรขาดไป โดยมีภาษีสรรพสามิตที่จะต้องชำระเพิ่ม 280,000 บาท ภาษีมหาดไทยที่ต้องชำระเพิ่ม 28,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเพิ่ม 21,560 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 329,560 บาท จำเลยทั้งสามกระทำการดังกล่าวเพื่อนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าอากรให้ครบถ้วน อันเป็นการเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้ารถยนต์ใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์ โดยเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษี และขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243, 253 ซึ่งการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามตามข้ออ้างในคำฟ้องข้อ 1.1 ของโจทก์เป็นการกระทำในขณะที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ใช้บังคับ โดยพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 บัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวแก่ศุลกากร และในการแปลความแห่งพระราชบัญญัติหรือบทกฎหมายนั้น ๆ ถ้อยคำต่อไปนี้ ถ้าไม่แย้งกับความในบทหรือเนื้อเรื่องไซร้ ให้มีความหมายและกินความรวมไปถึงวัตถุและสิ่งทั้งหลายดังกำหนดไว้ต่อไปนี้ คือ.... คำว่า “อากร” หมายความว่า ค่าภาษี ค่าอากร ค่าธรรมเนียมหรือค่าภาระติดพันในทางศุลกากร หรืออากรชั้นใน” ดังนั้น คำว่า “ค่าอากร” ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 จึงหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หาหมายรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีมหาดไทยด้วยไม่ อย่างไรก็ตามแม้คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1.1 ไม่มีจำนวนอากรขาเข้าที่จำเลยทั้งสามต้องเสียเพิ่ม แต่เมื่อคำฟ้องข้อ 1.1 บรรยายด้วยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้ารถยนต์ใช้แล้วครบชุดสมบูรณ์โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี ซึ่งจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ยังบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอยู่ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องข้อ 1.1 มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่งภายหลังจำเลยทั้งสามกระทำความผิด ได้มีพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ ซึ่งอัตราโทษใหม่ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยทั้งสามในส่วนที่เป็นคุณตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับความผิดกระทงแรกตามฟ้องข้อ 1.1 จำเลยทั้งสามมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244, 253 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามรวมเป็นเงิน 100,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับจำเลยทั้งสามรวมเป็นเงิน 50,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังจำเลยที่ 2 และที่ 3 แทนค่าปรับได้ไม่เกินหนึ่งปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|