โจทก์บรรยายคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหกฐานเป็นซ่องโจรอีกกรรมหนึ่ง โดยการกระทำความผิดฐานนี้ย่อมเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันวางแผนเพื่อกระทำการอันเป็นความผิด แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรเป็นการกระทำกรรมเดียวกับฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนนั้น ไม่ถูกต้อง ทั้งปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหก ซึ่งกระทำผิดฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้น จึงมิอาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งหกได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งหก ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสองสำนวนว่า โจทก์ เรียกจำเลยในสำนวนแรกว่า จำเลยที่ 1 และเรียกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในสำนวนหลังว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามลำดับ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 , 33, 80, 83, 91, 92, 210, 289, 371, 376 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 7, 8 ทวิ, 55, 72, 72 ทวิ, 78 ริบของกลาง เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย
จำเลยทั้งหกให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ระหว่างพิจารณา นายวิทยา ผู้เสียหายที่ 1 และนายพิชิต ผู้เสียหายที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และโจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยโจทก์ร่วมที่ 1 ขอให้ชดใช้เป็นเงิน 190,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันกระทำความผิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และโจทก์ร่วมที่ 2 ขอให้ชดใช้เป็นเงิน 295,000 บาท
จำเลยทั้งหกให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งหกมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80, 210 วรรคสอง, 371, 376 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 55, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง, 78 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร และฐานร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละตลอดชีวิต ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ และฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 2 ปี ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 1 ปี เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ เป็นจำคุก 2 ปี 8 เดือน และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นจำคุก 1 ปี 4 เดือน ส่วนฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิตจึงไม่อาจเพิ่มโทษได้อีก ทางนำสืบของจำเลยทั้งหกเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คงจำคุกคนละ 33 ปี 4 เดือน ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 2 ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำคุกคนละ 1 ปี 4 เดือน และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 1 ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำคุกคนละ 8 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 36 ปี 4 เดือน จำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 คนละ 34 ปี 16 เดือน ริบของกลาง กับให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 เป็นเงิน 75,000 บาท และแก่โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเงิน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนแพ่งให้เป็นพับ
จำเลยทั้งหกอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า เมื่อลดโทษให้จำเลยที่ 1 กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ คงจำคุก 1 ปี 9 เดือน 10 วัน และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คงจำคุก 10 เดือน 20 วัน เมื่อรวมกับโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 34 ปี 23 เดือน 30 วัน และให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 เป็นเงิน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วมที่ 1 ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขอกับมิต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ร่วมที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ประการแรกว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 กระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันเป็นซ่องโจร และร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนหรือไม่ โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ฎีกาเป็นทำนองว่า คืนเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เพียงร่วมเดินทางไปยังที่เกิดเหตุเนื่องจากเข้าใจว่าพวกของจำเลยทั้งหกจะไปปรับความเข้าใจกับโจทก์ร่วมที่ 1 เห็นว่า ในการวินิจฉัยถึงการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงประกอบ ทั้งก่อน ขณะและภายหลังการใช้อาวุธปืนยิงเข้าไปในกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสอง ที่จะแสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนและมีเจตนาร่วมกันที่จะก่อเหตุร้ายกับกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองหรือไม่ สำหรับมูลเหตุจูงใจที่เป็นสาเหตุให้เกิดการกระทำความผิดในครั้งนี้ ได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ร่วมที่ 1 ว่า สาเหตุที่ถูกยิงเนื่องจากก่อนเกิดเหตุ 1 วัน โจทก์ร่วมที่ 1 ได้โพสต์ข้อความในเชิงตำหนินายเสี่ยโป้ ในเฟซบุ๊กว่า เหตุใดไม่ดูแลเพื่อนรุ่นน้องของโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ร่วมเดินทางไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วยกัน ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็เบิกความตอบโจทก์ถามค้านเจือสมกับทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองยอมรับว่ามีความสนิทสนมกับนายเสี่ยโป้ เมื่อทราบว่ามีคนโพสต์ว่านายเสี่ยโป้ก็รู้สึกไม่พอใจ โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองยังมีบันทึกคำให้การในฐานะพยานของจำเลยที่ 3 และที่ 6 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ได้ความว่า ในวันเกิดเหตุเวลากลางวัน จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 อยู่ที่บ้านเช่าในซอยบุญชู ทราบว่ามีการโพสต์ด่านายเสี่ยโป้ จึงมีการรวมตัวกันที่บ้านเช่าดังกล่าว เวลาประมาณ 18 นาฬิกา จำเลยที่ 3 ที่ 6 นายไตรภพ และนายเขมทัต น้องชายนายเสี่ยโป้ ได้ออกจากบ้านเช่าไปที่วัดจันทร์ประดิษฐาราม เมื่อไปถึงนายเขมทัตได้ตะโกนหาโจทก์ร่วมที่ 1 แต่ไม่พบ จึงได้กลับมาที่บ้านเช่า ต่อมาเฟซบุ๊กของโจทก์ร่วมที่ 1 ได้โพสต์ข้อความด่านายเขมทัตที่ไปถามหาโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งคำให้การเกี่ยวกับการโพสต์ด่าดังกล่าวสอดคล้องกับข้อความในเฟซบุ๊กของโจทก์ร่วมที่ 1 กระทั่งเวลา 19.30 นาฬิกา จำเลยที่ 5 และที่ 6 ได้ออกไปดูโจทก์ร่วมที่ 1 อีกครั้ง พบกลุ่มวัยรุ่นนั่งดื่มสุราบริเวณทางเท้าหน้าวัดจันทร์ประดิษฐาราม จึงได้กลับมาที่บ้านเช่าเพื่อแจ้งกับกลุ่มให้ทราบ บันทึกคำให้การในฐานะพยานของจำเลยที่ 3 และที่ 6 เป็นคำให้การภายหลังเกิดเหตุไม่กี่วันและสอดคล้องกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง จึงเชื่อว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 ให้การไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และจากการที่พวกจำเลยทั้งหกมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับนายเขมทัต และมีการรวมกลุ่มกันตลอดมาที่บ้านเช่าภายในซอยบุญชูดังกล่าว แสดงให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ย่อมมีความรู้สึกไม่พอใจโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ได้โพสต์ด่านายเสี่ยโป้และนายเขมทัต สำหรับพฤติการณ์ของจำเลยทั้งหกก่อนเกิดเหตุ ได้ความจากร้อยตำรวจเอกณกฤตชัย และร้อยตำรวจเอกทรงพล รองสารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ ซึ่งเป็นผู้ดูภาพกล้องวงจรปิดบริเวณสถานที่เกิดเหตุและกล้องวงจรปิดย้อนกลับไปตลอดเส้นทางที่ผู้ก่อเหตุเดินทางมา จนถึงกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งบริเวณหน้าหมู่บ้าน ด. พันตำรวจโทอาทิตย์ พนักงานสอบสวนร่วม และร้อยตำรวจเอกเดชาธร พนักงานสอบสวน ประกอบวีดิทัศน์และภาพจากกล้องวงจรปิดหน้าหมู่บ้าน ด. ว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้งหกกับพวกรวมตัวกันที่หน้าหมู่บ้าน ด. ในซอยเพชรเกษม 48 แยก 4 ถึง 7 และเมื่อเวลา 21.17 นาฬิกา มีรถยนต์โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์สีขาวขับมาจอดหน้าหมู่บ้าน ด. คนในรถเปิดกระจก ชายที่นั่งข้างคนขับมีท่าทางเก็บวัตถุลักษณะคล้ายมีดดาบอยู่ในรถ จากนั้นลงจากรถเดินไปยังหน้าบ้านเช่าที่กลุ่มวัยรุ่นรวมตัวกันอยู่ และมีชายสวมเสื้อยืดสีดำด้านหลังมีลายรูปตัววีสีขาว ซึ่งนายสุรชาติ ประจักษ์พยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง และจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าเป็นนายสุภกฤต ถือวัตถุยาวสีดำคล้ายอาวุธ มีผ้าสีขาวที่มือจับ เดินมาพูดคุยกับบุคคลในรถยนต์ เวลา 21.21 นาฬิกา ชายที่นั่งข้างคนขับเดินกลับมาขึ้นรถ ส่วนนายสุภกฤตถือวัตถุดังกล่าวเดินกลับไปที่หน้าบ้านเช่าซึ่งมีชายหลายคนยืนอยู่ จำเลยที่ 1 เดินไปพูดคุยกับบุคคลในรถยนต์แล้วหยิบวัตถุลักษณะคล้ายมีดดาบจากรถยนต์กลับไปที่หน้าบ้านเช่า ต่อมาเวลา 21.23 นาฬิกา จำเลยทั้งหกกับพวกที่รวมตัวกันที่หน้าบ้านเช่าขับและซ้อนรถจักรยานยนต์คันละ 2 คน มาทางหน้าหมู่บ้าน ด. โดยมีรถจักรยานยนต์บางคันจอดรถข้างรถยนต์แล้วลงไปพูดคุยกับบุคคลในรถยนต์อีกครั้ง รถจักรยานยนต์บางคันมีวัตถุคล้ายมีดดาบวางอยู่บนตักของคนซ้อน จากนั้นรถยนต์และกลุ่มรถจักรยานยนต์ออกเดินทางไปที่เกิดเหตุพร้อมกัน เวลา 21.35 นาฬิกา รถยนต์และกลุ่มรถจักรยานยนต์ขับชะลอจอดตามกันที่หน้า อ. แมนชั่น จะเห็นได้ว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้งหกกับพวกมีการรวมตัวกันที่หน้าบ้านเช่าในซอยบุญชู เมื่อรถยนต์โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์สีขาวมาจอดหน้าหมู่บ้าน ด. คนในรถก็ลงจากรถเข้าไปพบกับพวกที่รวมกลุ่มอยู่หน้าบ้านเช่า นายสุภกฤตผู้ก่อเหตุที่ใช้อาวุธปืนคนหนึ่งก็ถือวัตถุที่มีลักษณะคล้ายอาวุธไปพบกับบุคคลในรถยนต์ จำเลยที่ 1 เดินไปพูดคุยกับบุคคลในรถยนต์แล้วหยิบวัตถุลักษณะคล้ายมีดดาบจากรถยนต์กลับมาที่หน้าบ้าน ต่อมาจำเลยทั้งหกกับพวกก็ขับและซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ออกเดินทางจากบ้านเช่า แล้วมีการพูดคุยกับบุคคลที่อยู่ในรถยนต์ที่หน้าหมู่บ้าน ด. จากนั้นก็เดินทางมายังที่เกิดเหตุถึงบริเวณหน้า อ. แมนชั่น โดยทั้งหมดสวมใส่หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก ซึ่งฎีกาของจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่า หากไม่สามารถปรับความเข้าใจกับโจทก์ร่วมที่ 1 ได้จนถึงขั้นชกต่อยหรือมีเรื่องราววิวาทกัน ฝ่ายของโจทก์ร่วมที่ 1 จะได้ไม่สามารถจดจำใบหน้าและกลับมาล้างแค้นได้ในภายหลัง อันแสดงว่าก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้งหกกับพวกทุกคนย่อมต้องรู้ถึงแผนการอย่างชัดเจนว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างในการเดินทางไปพบกับกลุ่มโจทก์ร่วมที่ 1 ที่จำเลยบางคนฎีกาว่า การสวมหน้ากากอนามัยของจำเลยทั้งหกกับพวกไม่ใช่เพื่อปิดบังใบหน้า แต่เพราะขณะเกิดเหตุเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งมีข้อบังคับให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย ก็เห็นว่าขัดต่อเหตุผล เพราะหากจำเลยทั้งหกต้องการปฏิบัติตามกฎหมายก็สมควรสวมใส่หมวกนิรภัยในขณะขับและซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์แทนที่จะเพียงใส่หน้ากากอนามัย สำหรับพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุ ก็ปรากฏจากคำเบิกความของนายปรวัตร น้องชายโจทก์ร่วมที่ 1 และนายณัฐนนท์ ประจักษ์พยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง ที่อยู่บริเวณหน้า อ. แมนชั่น ประกอบวีดิทัศน์กล้องวงจรปิดหน้า อ. แมนชั่น แสดงเหตุการณ์ในช่วงเวลาเกิดเหตุว่า เวลา 21.35 นาฬิกา รถยนต์ฟอร์จูนเนอร์สีขาวและกลุ่มรถจักรยานยนต์ขับชะลอจอดตามกันที่หน้า อ. แมนชั่น เมื่อจอดรถเสร็จมีเสียงตะโกนให้ลงจากรถ จากนั้นนายสุภกฤตลงจากรถมายิงปืนไปทางหน้าวัดทันทีเป็นคนแรก ตามด้วยนายไตรภพ และนายกันต์ โดยยิงประมาณ 10 ถึง 20 นัด แล้วจำเลยทั้งหกกับพวกก็ขับรถจักรยานยนต์หนีไปกับคนร้ายทั้งสาม เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุ ปรากฏว่ากลุ่มรถจักรยานยนต์และรถยนต์ชะลอมาจอดบริเวณหน้า อ. แมนชั่น ห่างจากจุดที่กลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองนั่งอยู่ประมาณ 30 เมตร ก่อนจะมีการยิงปืนเข้าใส่กลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองทันที ซึ่งการจอดรถห่างจากจุดที่กลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองนั่งอยู่ห่างไกลกันพอสมควรผิดวิสัยของคนที่ต้องการไปพูดคุย แต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งหกกับพวกมิได้ตั้งใจจะไปปรับความเข้าใจกับโจทก์ร่วมที่ 1 ตั้งแต่แรกแล้ว โดยมีจุดประสงค์เพื่อก่อเหตุร้ายต่อโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ไปโพสต์ด่านายเสี่ยโป้และน้องชาย ทั้งการใช้อาวุธปืนยิงถึงประมาณ 10 ถึง 20 นัด โดยผู้กระทำความผิดที่ใช้อาวุธปืนยิงกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองมี 3 คน ถือว่ามีการใช้เวลากระทำความผิดนานพอสมควร และการที่มีผู้ใช้อาวุธปืนในกลุ่มจำเลยทั้งหกกับพวกถึง 3 คน พฤติการณ์ที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งหกย่อมต้องมีส่วนร่วมรู้เห็นในการที่พวกของจำเลยทั้งหกพาอาวุธปืนเดินทางไปที่เกิดเหตุพร้อมกัน และเป็นการร่วมกันคบคิดที่จะใช้อาวุธปืนยิงไปยังกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสอง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะหลบหนีจากที่เกิดเหตุไปในทันทีที่มีการยิงเข้าไปในกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองแต่อย่างใด กลับรอให้การกระทำผิดเสร็จสิ้น นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ขับรถให้นายกันต์ซ้อนท้ายหลังจากก่อเหตุยิงโจทก์ร่วมทั้งสองแล้ว เนื่องจากรถจักรยานยนต์ของนายกันต์สตาร์ตไม่ติด จึงได้ขับรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกันทั้งหมด อันแสดงว่ากลุ่มของจำเลยทั้งหกพร้อมจะช่วยเหลือคนร้ายให้หลบหนีจากสถานที่เกิดเหตุในทันทีหากมีเรื่องอะไรผิดพลาด นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า ภายหลังเกิดเหตุ จำเลยทั้งหกกับพวกยังขับรถจักรยานยนต์ไปรวมตัวกันที่โรงแรม ห. อีกครั้ง อันแสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนในการกระทำความผิดครั้งนี้อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จภารกิจ ดังนั้น จากพฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวมา เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ อันเป็นตัวการในการกระทำความผิด โดยมีการวางแผนร่วมกันและเดินทางมายังที่เกิดเหตุพร้อมกัน ทั้งยังหลบหนีไปด้วยกัน พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองที่นำสืบมาฟังได้มั่นคงปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งหกกับพวกกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าโจทก์ร่วมทั้งสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันเป็นซ่องโจร และร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ฎีกาขอให้กำหนดโทษตามความเหมาะสมแก่เจตนาและพฤติการณ์หรือลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 นั้น เห็นว่า เป็นฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 สถานเบาแล้วและยังลดโทษให้กึ่งหนึ่งเป็นการเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนแพ่งแก่โจทก์ร่วมทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกพยายามฆ่าโจทก์ร่วมทั้งสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่เมื่อปรากฏจากฎีกาของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ว่า นางสาวทิพย์วรรณ พี่สาวของจำเลยที่ 1 นำเงินค่าเสียหาย 161,250 บาท มาวางศาลเพื่อชำระให้แก่โจกท์ร่วมทั้งสองและโจทก์ร่วมทั้งสองได้รับเงินดังกล่าวจากศาลชั้นต้นไปคนละ 80,625 บาท แล้ว จึงต้องนำเงินดังกล่าวคิดหักออกจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยทั้งหกต้องร่วมชำระให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสอง โดยชำระเป็นค่าดอกเบี้ยก่อน หากมีเงินเหลือจึงนำไปชำระต้นเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าสินไหมทดแทนจำนวนเท่ากับคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรเป็นการกระทำกรรมเดียวกับฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ ในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนนั้น ไม่ถูกต้อง เนื่องจากโจทก์บรรยายคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหกฐานเป็นซ่องโจรอีกกรรมหนึ่ง ทั้งการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรย่อมเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันวางแผนเพื่อกระทำการอันเป็นความผิด แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบก็ตาม ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหกซึ่งกระทำผิดฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้น จึงมิอาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งหกได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งหก ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งหกกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรอีกกรรมหนึ่ง และให้นำเงินที่โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับคนละ 80,625 บาท หักออกจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยทั้งหกต้องร่วมชำระแก่โจทก์ร่วมทั้งสอง โดยหักชำระดอกเบี้ยก่อน หากมีเงินเหลือจึงนำไปชำระต้นเงิน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์บรรยายคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหกฐานเป็นซ่องโจรอีกกรรมหนึ่ง โดยการกระทำความผิดฐานนี้ย่อมเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันวางแผนเพื่อกระทำการอันเป็นความผิด แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรเป็นการกระทำกรรมเดียวกับฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนนั้น ไม่ถูกต้อง ทั้งปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหก ซึ่งกระทำผิดฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้น จึงมิอาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งหกได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งหก ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสองสำนวนว่า โจทก์ เรียกจำเลยในสำนวนแรกว่า จำเลยที่ 1 และเรียกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในสำนวนหลังว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามลำดับ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองสำนวนขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 , 33, 80, 83, 91, 92, 210, 289, 371, 376 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 7, 8 ทวิ, 55, 72, 72 ทวิ, 78 ริบของกลาง เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย
จำเลยทั้งหกให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ระหว่างพิจารณา นายวิทยา ผู้เสียหายที่ 1 และนายพิชิต ผู้เสียหายที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตเฉพาะข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และโจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยโจทก์ร่วมที่ 1 ขอให้ชดใช้เป็นเงิน 190,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันกระทำความผิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และโจทก์ร่วมที่ 2 ขอให้ชดใช้เป็นเงิน 295,000 บาท
จำเลยทั้งหกให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งหกมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80, 210 วรรคสอง, 371, 376 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 55, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง, 78 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานร่วมกันเป็นซ่องโจร และฐานร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละตลอดชีวิต ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ และฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 2 ปี ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 1 ปี เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ เป็นจำคุก 2 ปี 8 เดือน และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นจำคุก 1 ปี 4 เดือน ส่วนฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิตจึงไม่อาจเพิ่มโทษได้อีก ทางนำสืบของจำเลยทั้งหกเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คงจำคุกคนละ 33 ปี 4 เดือน ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 2 ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำคุกคนละ 1 ปี 4 เดือน และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 1 ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำคุกคนละ 8 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 36 ปี 4 เดือน จำคุกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 คนละ 34 ปี 16 เดือน ริบของกลาง กับให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 เป็นเงิน 75,000 บาท และแก่โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นเงิน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนแพ่งให้เป็นพับ
จำเลยทั้งหกอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า เมื่อลดโทษให้จำเลยที่ 1 กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ คงจำคุก 1 ปี 9 เดือน 10 วัน และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คงจำคุก 10 เดือน 20 วัน เมื่อรวมกับโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 34 ปี 23 เดือน 30 วัน และให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมที่ 1 เป็นเงิน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วมที่ 1 ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขอกับมิต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ร่วมที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ประการแรกว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 กระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันเป็นซ่องโจร และร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนหรือไม่ โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ฎีกาเป็นทำนองว่า คืนเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เพียงร่วมเดินทางไปยังที่เกิดเหตุเนื่องจากเข้าใจว่าพวกของจำเลยทั้งหกจะไปปรับความเข้าใจกับโจทก์ร่วมที่ 1 เห็นว่า ในการวินิจฉัยถึงการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงประกอบ ทั้งก่อน ขณะและภายหลังการใช้อาวุธปืนยิงเข้าไปในกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสอง ที่จะแสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนและมีเจตนาร่วมกันที่จะก่อเหตุร้ายกับกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองหรือไม่ สำหรับมูลเหตุจูงใจที่เป็นสาเหตุให้เกิดการกระทำความผิดในครั้งนี้ ได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ร่วมที่ 1 ว่า สาเหตุที่ถูกยิงเนื่องจากก่อนเกิดเหตุ 1 วัน โจทก์ร่วมที่ 1 ได้โพสต์ข้อความในเชิงตำหนินายเสี่ยโป้ ในเฟซบุ๊กว่า เหตุใดไม่ดูแลเพื่อนรุ่นน้องของโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ร่วมเดินทางไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วยกัน ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็เบิกความตอบโจทก์ถามค้านเจือสมกับทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองยอมรับว่ามีความสนิทสนมกับนายเสี่ยโป้ เมื่อทราบว่ามีคนโพสต์ว่านายเสี่ยโป้ก็รู้สึกไม่พอใจ โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองยังมีบันทึกคำให้การในฐานะพยานของจำเลยที่ 3 และที่ 6 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ได้ความว่า ในวันเกิดเหตุเวลากลางวัน จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 อยู่ที่บ้านเช่าในซอยบุญชู ทราบว่ามีการโพสต์ด่านายเสี่ยโป้ จึงมีการรวมตัวกันที่บ้านเช่าดังกล่าว เวลาประมาณ 18 นาฬิกา จำเลยที่ 3 ที่ 6 นายไตรภพ และนายเขมทัต น้องชายนายเสี่ยโป้ ได้ออกจากบ้านเช่าไปที่วัดจันทร์ประดิษฐาราม เมื่อไปถึงนายเขมทัตได้ตะโกนหาโจทก์ร่วมที่ 1 แต่ไม่พบ จึงได้กลับมาที่บ้านเช่า ต่อมาเฟซบุ๊กของโจทก์ร่วมที่ 1 ได้โพสต์ข้อความด่านายเขมทัตที่ไปถามหาโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งคำให้การเกี่ยวกับการโพสต์ด่าดังกล่าวสอดคล้องกับข้อความในเฟซบุ๊กของโจทก์ร่วมที่ 1 กระทั่งเวลา 19.30 นาฬิกา จำเลยที่ 5 และที่ 6 ได้ออกไปดูโจทก์ร่วมที่ 1 อีกครั้ง พบกลุ่มวัยรุ่นนั่งดื่มสุราบริเวณทางเท้าหน้าวัดจันทร์ประดิษฐาราม จึงได้กลับมาที่บ้านเช่าเพื่อแจ้งกับกลุ่มให้ทราบ บันทึกคำให้การในฐานะพยานของจำเลยที่ 3 และที่ 6 เป็นคำให้การภายหลังเกิดเหตุไม่กี่วันและสอดคล้องกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง จึงเชื่อว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 ให้การไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และจากการที่พวกจำเลยทั้งหกมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับนายเขมทัต และมีการรวมกลุ่มกันตลอดมาที่บ้านเช่าภายในซอยบุญชูดังกล่าว แสดงให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ย่อมมีความรู้สึกไม่พอใจโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ได้โพสต์ด่านายเสี่ยโป้และนายเขมทัต สำหรับพฤติการณ์ของจำเลยทั้งหกก่อนเกิดเหตุ ได้ความจากร้อยตำรวจเอกณกฤตชัย และร้อยตำรวจเอกทรงพล รองสารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ ซึ่งเป็นผู้ดูภาพกล้องวงจรปิดบริเวณสถานที่เกิดเหตุและกล้องวงจรปิดย้อนกลับไปตลอดเส้นทางที่ผู้ก่อเหตุเดินทางมา จนถึงกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งบริเวณหน้าหมู่บ้าน ด. พันตำรวจโทอาทิตย์ พนักงานสอบสวนร่วม และร้อยตำรวจเอกเดชาธร พนักงานสอบสวน ประกอบวีดิทัศน์และภาพจากกล้องวงจรปิดหน้าหมู่บ้าน ด. ว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้งหกกับพวกรวมตัวกันที่หน้าหมู่บ้าน ด. ในซอยเพชรเกษม 48 แยก 4 ถึง 7 และเมื่อเวลา 21.17 นาฬิกา มีรถยนต์โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์สีขาวขับมาจอดหน้าหมู่บ้าน ด. คนในรถเปิดกระจก ชายที่นั่งข้างคนขับมีท่าทางเก็บวัตถุลักษณะคล้ายมีดดาบอยู่ในรถ จากนั้นลงจากรถเดินไปยังหน้าบ้านเช่าที่กลุ่มวัยรุ่นรวมตัวกันอยู่ และมีชายสวมเสื้อยืดสีดำด้านหลังมีลายรูปตัววีสีขาว ซึ่งนายสุรชาติ ประจักษ์พยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง และจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าเป็นนายสุภกฤต ถือวัตถุยาวสีดำคล้ายอาวุธ มีผ้าสีขาวที่มือจับ เดินมาพูดคุยกับบุคคลในรถยนต์ เวลา 21.21 นาฬิกา ชายที่นั่งข้างคนขับเดินกลับมาขึ้นรถ ส่วนนายสุภกฤตถือวัตถุดังกล่าวเดินกลับไปที่หน้าบ้านเช่าซึ่งมีชายหลายคนยืนอยู่ จำเลยที่ 1 เดินไปพูดคุยกับบุคคลในรถยนต์แล้วหยิบวัตถุลักษณะคล้ายมีดดาบจากรถยนต์กลับไปที่หน้าบ้านเช่า ต่อมาเวลา 21.23 นาฬิกา จำเลยทั้งหกกับพวกที่รวมตัวกันที่หน้าบ้านเช่าขับและซ้อนรถจักรยานยนต์คันละ 2 คน มาทางหน้าหมู่บ้าน ด. โดยมีรถจักรยานยนต์บางคันจอดรถข้างรถยนต์แล้วลงไปพูดคุยกับบุคคลในรถยนต์อีกครั้ง รถจักรยานยนต์บางคันมีวัตถุคล้ายมีดดาบวางอยู่บนตักของคนซ้อน จากนั้นรถยนต์และกลุ่มรถจักรยานยนต์ออกเดินทางไปที่เกิดเหตุพร้อมกัน เวลา 21.35 นาฬิกา รถยนต์และกลุ่มรถจักรยานยนต์ขับชะลอจอดตามกันที่หน้า อ. แมนชั่น จะเห็นได้ว่า ก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้งหกกับพวกมีการรวมตัวกันที่หน้าบ้านเช่าในซอยบุญชู เมื่อรถยนต์โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์สีขาวมาจอดหน้าหมู่บ้าน ด. คนในรถก็ลงจากรถเข้าไปพบกับพวกที่รวมกลุ่มอยู่หน้าบ้านเช่า นายสุภกฤตผู้ก่อเหตุที่ใช้อาวุธปืนคนหนึ่งก็ถือวัตถุที่มีลักษณะคล้ายอาวุธไปพบกับบุคคลในรถยนต์ จำเลยที่ 1 เดินไปพูดคุยกับบุคคลในรถยนต์แล้วหยิบวัตถุลักษณะคล้ายมีดดาบจากรถยนต์กลับมาที่หน้าบ้าน ต่อมาจำเลยทั้งหกกับพวกก็ขับและซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ออกเดินทางจากบ้านเช่า แล้วมีการพูดคุยกับบุคคลที่อยู่ในรถยนต์ที่หน้าหมู่บ้าน ด. จากนั้นก็เดินทางมายังที่เกิดเหตุถึงบริเวณหน้า อ. แมนชั่น โดยทั้งหมดสวมใส่หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก ซึ่งฎีกาของจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่า หากไม่สามารถปรับความเข้าใจกับโจทก์ร่วมที่ 1 ได้จนถึงขั้นชกต่อยหรือมีเรื่องราววิวาทกัน ฝ่ายของโจทก์ร่วมที่ 1 จะได้ไม่สามารถจดจำใบหน้าและกลับมาล้างแค้นได้ในภายหลัง อันแสดงว่าก่อนเกิดเหตุ จำเลยทั้งหกกับพวกทุกคนย่อมต้องรู้ถึงแผนการอย่างชัดเจนว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างในการเดินทางไปพบกับกลุ่มโจทก์ร่วมที่ 1 ที่จำเลยบางคนฎีกาว่า การสวมหน้ากากอนามัยของจำเลยทั้งหกกับพวกไม่ใช่เพื่อปิดบังใบหน้า แต่เพราะขณะเกิดเหตุเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งมีข้อบังคับให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย ก็เห็นว่าขัดต่อเหตุผล เพราะหากจำเลยทั้งหกต้องการปฏิบัติตามกฎหมายก็สมควรสวมใส่หมวกนิรภัยในขณะขับและซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์แทนที่จะเพียงใส่หน้ากากอนามัย สำหรับพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุ ก็ปรากฏจากคำเบิกความของนายปรวัตร น้องชายโจทก์ร่วมที่ 1 และนายณัฐนนท์ ประจักษ์พยานโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง ที่อยู่บริเวณหน้า อ. แมนชั่น ประกอบวีดิทัศน์กล้องวงจรปิดหน้า อ. แมนชั่น แสดงเหตุการณ์ในช่วงเวลาเกิดเหตุว่า เวลา 21.35 นาฬิกา รถยนต์ฟอร์จูนเนอร์สีขาวและกลุ่มรถจักรยานยนต์ขับชะลอจอดตามกันที่หน้า อ. แมนชั่น เมื่อจอดรถเสร็จมีเสียงตะโกนให้ลงจากรถ จากนั้นนายสุภกฤตลงจากรถมายิงปืนไปทางหน้าวัดทันทีเป็นคนแรก ตามด้วยนายไตรภพ และนายกันต์ โดยยิงประมาณ 10 ถึง 20 นัด แล้วจำเลยทั้งหกกับพวกก็ขับรถจักรยานยนต์หนีไปกับคนร้ายทั้งสาม เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ขณะเกิดเหตุ ปรากฏว่ากลุ่มรถจักรยานยนต์และรถยนต์ชะลอมาจอดบริเวณหน้า อ. แมนชั่น ห่างจากจุดที่กลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองนั่งอยู่ประมาณ 30 เมตร ก่อนจะมีการยิงปืนเข้าใส่กลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองทันที ซึ่งการจอดรถห่างจากจุดที่กลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองนั่งอยู่ห่างไกลกันพอสมควรผิดวิสัยของคนที่ต้องการไปพูดคุย แต่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งหกกับพวกมิได้ตั้งใจจะไปปรับความเข้าใจกับโจทก์ร่วมที่ 1 ตั้งแต่แรกแล้ว โดยมีจุดประสงค์เพื่อก่อเหตุร้ายต่อโจทก์ร่วมที่ 1 ที่ไปโพสต์ด่านายเสี่ยโป้และน้องชาย ทั้งการใช้อาวุธปืนยิงถึงประมาณ 10 ถึง 20 นัด โดยผู้กระทำความผิดที่ใช้อาวุธปืนยิงกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองมี 3 คน ถือว่ามีการใช้เวลากระทำความผิดนานพอสมควร และการที่มีผู้ใช้อาวุธปืนในกลุ่มจำเลยทั้งหกกับพวกถึง 3 คน พฤติการณ์ที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งหกย่อมต้องมีส่วนร่วมรู้เห็นในการที่พวกของจำเลยทั้งหกพาอาวุธปืนเดินทางไปที่เกิดเหตุพร้อมกัน และเป็นการร่วมกันคบคิดที่จะใช้อาวุธปืนยิงไปยังกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสอง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะหลบหนีจากที่เกิดเหตุไปในทันทีที่มีการยิงเข้าไปในกลุ่มโจทก์ร่วมทั้งสองแต่อย่างใด กลับรอให้การกระทำผิดเสร็จสิ้น นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ขับรถให้นายกันต์ซ้อนท้ายหลังจากก่อเหตุยิงโจทก์ร่วมทั้งสองแล้ว เนื่องจากรถจักรยานยนต์ของนายกันต์สตาร์ตไม่ติด จึงได้ขับรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกันทั้งหมด อันแสดงว่ากลุ่มของจำเลยทั้งหกพร้อมจะช่วยเหลือคนร้ายให้หลบหนีจากสถานที่เกิดเหตุในทันทีหากมีเรื่องอะไรผิดพลาด นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า ภายหลังเกิดเหตุ จำเลยทั้งหกกับพวกยังขับรถจักรยานยนต์ไปรวมตัวกันที่โรงแรม ห. อีกครั้ง อันแสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนในการกระทำความผิดครั้งนี้อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จภารกิจ ดังนั้น จากพฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวมา เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ อันเป็นตัวการในการกระทำความผิด โดยมีการวางแผนร่วมกันและเดินทางมายังที่เกิดเหตุพร้อมกัน ทั้งยังหลบหนีไปด้วยกัน พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองที่นำสืบมาฟังได้มั่นคงปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งหกกับพวกกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าโจทก์ร่วมทั้งสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันเป็นซ่องโจร และร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ฎีกาขอให้กำหนดโทษตามความเหมาะสมแก่เจตนาและพฤติการณ์หรือลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 นั้น เห็นว่า เป็นฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 สถานเบาแล้วและยังลดโทษให้กึ่งหนึ่งเป็นการเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนแพ่งแก่โจทก์ร่วมทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกพยายามฆ่าโจทก์ร่วมทั้งสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมทั้งสองมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่เมื่อปรากฏจากฎีกาของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ว่า นางสาวทิพย์วรรณ พี่สาวของจำเลยที่ 1 นำเงินค่าเสียหาย 161,250 บาท มาวางศาลเพื่อชำระให้แก่โจกท์ร่วมทั้งสองและโจทก์ร่วมทั้งสองได้รับเงินดังกล่าวจากศาลชั้นต้นไปคนละ 80,625 บาท แล้ว จึงต้องนำเงินดังกล่าวคิดหักออกจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยทั้งหกต้องร่วมชำระให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสอง โดยชำระเป็นค่าดอกเบี้ยก่อน หากมีเงินเหลือจึงนำไปชำระต้นเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าสินไหมทดแทนจำนวนเท่ากับคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรเป็นการกระทำกรรมเดียวกับฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและร่วมกันยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ ในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนนั้น ไม่ถูกต้อง เนื่องจากโจทก์บรรยายคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหกฐานเป็นซ่องโจรอีกกรรมหนึ่ง ทั้งการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรย่อมเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันวางแผนเพื่อกระทำการอันเป็นความผิด แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบก็ตาม ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งหกซึ่งกระทำผิดฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้น จึงมิอาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งหกได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งหก ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งหกกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรอีกกรรมหนึ่ง และให้นำเงินที่โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับคนละ 80,625 บาท หักออกจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยทั้งหกต้องร่วมชำระแก่โจทก์ร่วมทั้งสอง โดยหักชำระดอกเบี้ยก่อน หากมีเงินเหลือจึงนำไปชำระต้นเงิน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งชั้นฎีกาให้เป็นพับ
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด 1,164 เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว 14 ถุง รวมทั้งสองชนิดคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 6,277.21 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ประกอบกับพฤติกรรมที่จำเลยอยู่ในเครือข่ายยาเสพติด ทำหน้าที่รับเมทแอมเฟตามีนจำนวนมากถึงครั้งละหลายแสนเม็ดและชนิดเกล็ดสีขาวครั้งละหลายกิโลกรัมมาเก็บรักษาไว้หลายครั้งแล้ว ทั้งยังเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการจำหน่ายส่งให้แก่ผู้ค้ารายย่อยในเครือข่ายยาเสพติดในพื้นที่อำเภอพุนพินและพื้นที่ใกล้เคียง พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่งที่ท่าทรายซึ่งเป็นลานที่มีกองทราย มีโรงซ่อมรถ มีที่พักอยู่ห้องเดียว ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมีที่พักอยู่ที่ท่าทรายดังกล่าว และนำตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางอีกจำนวนหนึ่งที่ห้องแถวซึ่งทราบภายหลังว่าตรงกับที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ของจำเลย และจำเลยให้การในชั้นสอบสวนระบุที่อยู่ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลย จึงอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานตำรวจจะสามารถตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางได้เอง ไม่อาจถือว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 เมื่อพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด ฐานะทางเศรษฐกิจของจำเลยและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว กรณียังไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะราย อันศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 152 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 100/1, 102 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 6, 7, 55, 72, 78 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 91 ริบเมทแอมเฟตามีน อาวุธปืน ซองกระสุนปืน เครื่องชั่งดิจิทัล ถุงแบ่งบรรจุยาเสพติด และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 55, 72 วรรคหนึ่ง, 78 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ให้ประหารชีวิต ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง จำคุก 6 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงจำคุกตลอดชีวิต ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง คงจำคุก 3 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คงจำคุก 6 เดือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วคงจำคุกตลอดชีวิต ริบเมทแอมเฟตามีน อาวุธปืน ซองกระสุนปืน เครื่องชั่งดิจิทัล ถุงแบ่งบรรจุยาเสพติด และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสาม (2) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า จำเลยมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางชนิดเม็ด มีจำนวน 1,164 เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว 14 ถุง รวมทั้งสองชนิดคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 6,277.321 กรัม และตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย ได้ความว่า จำเลยได้รับการชักชวนจากนายธวัชชัยหรือกบ ให้เข้าร่วมเครือข่ายยาเสพติดโดยให้จำเลยทำหน้าที่เก็บรักษายาเสพติดและนำยาเสพติดไปส่งแก่ลูกค้าต่อไป จำเลยเคยรับยาเสพติดจากนายธวัชชัยมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เป็นเมทแอมเฟตามีน 600,000 เม็ด ครั้งที่ 2 เป็นเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด 200,000 เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว 3 กิโลกรัม ครั้งที่ 3 เป็นเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด 100,000 เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว 5 กิโลกรัม กับทั้งได้ความตามบันทึกจับกุมว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้รับแจ้งจากสายลับว่าจำเลยลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งชนิดเม็ดและชนิดเกล็ดสีขาวให้แก่ผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่อำเภอพุนพินและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงจำนวนและปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลางในคดีนี้ที่มีจำนวนมาก ประกอบกับพฤติกรรมที่จำเลยอยู่ในเครือข่ายยาเสพติด ทำหน้าที่รับยาเสพติดเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนมากถึงครั้งละหลายแสนเม็ดและชนิดเกล็ดสีขาวครั้งละหลายกิโลกรัมมาเก็บรักษาไว้หลายครั้งแล้ว ทั้งยังเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการจำหน่ายส่งให้แก่ผู้ค้ารายย่อยในเครือข่ายยาเสพติดในพื้นที่อำเภอพุนพินและพื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งในคดีนี้ด้วย เช่นนี้ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่า จำเลยให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 และการกระทำความผิดของจำเลย กรณีมีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 152 วรรคสอง อันศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นหรือไม่ เห็นว่า ร้อยตำรวจเอกเอนก เจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมจำเลยเบิกความว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลว่า มีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่ที่ห้องพักบริเวณท่าทราย เมื่อตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้วจำเลยยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวนหนึ่งซุกซ่อนอยู่ที่บริเวณห้องแถว จึงตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางดังกล่าว และเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานทราบข้อมูลในเบื้องต้นจากสายลับว่าจำเลยมีที่พักอยู่ที่ท่าทราย กับยังได้เบิกความตอบศาลว่า บริเวณท่าทรายนั้น เป็นลานที่มีกองทราย มีโรงซ่อมรถ มีที่พักอยู่ห้องเดียว ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมีที่พักอยู่ที่ท่าทรายดังกล่าว และปรากฏว่ามีที่พักอยู่เพียงห้องเดียว จึงย่อมอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานตำรวจจะสามารถตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางได้ ส่วนห้องแถวที่ตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีกแห่งหนึ่งนั้น ร้อยตำรวจเอกเอนกเบิกความตอบศาลว่า ห้องแถวดังกล่าว ทราบภายหลังว่าคือเลขที่ 26/22 ซึ่งตรงกับที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ของจำเลย ในข้อนี้จำเลยได้ให้ถ้อยคำในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนว่า จำเลยนำตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางได้ที่ห้องแถวเลขที่ 26/22 ดังกล่าว อีกทั้งจำเลยได้ระบุในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนตามเอกสารดังกล่าวว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 26/22 เช่นเดียวกัน จึงย่อมอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าตรวจค้นได้เองตามที่อยู่ทางทะเบียนราษฎร์ของจำเลยอยู่แล้ว ประกอบกับพันตำรวจโทณัฐพงศ์ เจ้าพนักงานตำรวจผู้สืบสวนขยายผลและสอบปากคำจำเลยเบิกความว่า ข้อมูลที่จำเลยให้ไว้นั้น แม้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ซึ่งอยู่ระหว่างสืบสวนติดตามตัวอยู่ แต่ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการออกหมายจับหรือจับกุมบุคคลใด ๆ ดังนั้น กรณีจึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ส่วนปัญหาว่ากรณีมีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะรายอันศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 152 วรรคสอง หรือไม่นั้น เห็นว่า จำเลยอยู่ในเครือข่ายยาเสพติด ทำหน้าที่รับยาเสพติดจำนวนมากมาเก็บรักษาไว้ และจัดการจำหน่ายส่งให้แก่ผู้ค้ารายย่อยต่อไปในเครือข่ายยาเสพติดในพื้นที่อำเภอพุนพินและพื้นที่ใกล้เคียงอันมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง จึงเป็นเรื่องร้ายแรงดังได้วินิจฉัยข้างต้นแล้ว ดังนั้น เมื่อได้พิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด ฐานะทางเศรษฐกิจของจำเลยและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว กรณีจึงยังไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะราย อันศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 152 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด 1,164 เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว 14 ถุง รวมทั้งสองชนิดคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 6,277.21 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ประกอบกับพฤติกรรมที่จำเลยอยู่ในเครือข่ายยาเสพติด ทำหน้าที่รับเมทแอมเฟตามีนจำนวนมากถึงครั้งละหลายแสนเม็ดและชนิดเกล็ดสีขาวครั้งละหลายกิโลกรัมมาเก็บรักษาไว้หลายครั้งแล้ว ทั้งยังเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการจำหน่ายส่งให้แก่ผู้ค้ารายย่อยในเครือข่ายยาเสพติดในพื้นที่อำเภอพุนพินและพื้นที่ใกล้เคียง พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่งที่ท่าทรายซึ่งเป็นลานที่มีกองทราย มีโรงซ่อมรถ มีที่พักอยู่ห้องเดียว ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมีที่พักอยู่ที่ท่าทรายดังกล่าว และนำตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางอีกจำนวนหนึ่งที่ห้องแถวซึ่งทราบภายหลังว่าตรงกับที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ของจำเลย และจำเลยให้การในชั้นสอบสวนระบุที่อยู่ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลย จึงอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานตำรวจจะสามารถตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางได้เอง ไม่อาจถือว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 เมื่อพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด ฐานะทางเศรษฐกิจของจำเลยและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว กรณียังไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะราย อันศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 152 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 100/1, 102 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 6, 7, 55, 72, 78 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 91 ริบเมทแอมเฟตามีน อาวุธปืน ซองกระสุนปืน เครื่องชั่งดิจิทัล ถุงแบ่งบรรจุยาเสพติด และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 55, 72 วรรคหนึ่ง, 78 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ให้ประหารชีวิต ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง จำคุก 6 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงจำคุกตลอดชีวิต ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง คงจำคุก 3 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คงจำคุก 6 เดือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วคงจำคุกตลอดชีวิต ริบเมทแอมเฟตามีน อาวุธปืน ซองกระสุนปืน เครื่องชั่งดิจิทัล ถุงแบ่งบรรจุยาเสพติด และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสาม (2) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า จำเลยมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์หรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางชนิดเม็ด มีจำนวน 1,164 เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว 14 ถุง รวมทั้งสองชนิดคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 6,277.321 กรัม และตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย ได้ความว่า จำเลยได้รับการชักชวนจากนายธวัชชัยหรือกบ ให้เข้าร่วมเครือข่ายยาเสพติดโดยให้จำเลยทำหน้าที่เก็บรักษายาเสพติดและนำยาเสพติดไปส่งแก่ลูกค้าต่อไป จำเลยเคยรับยาเสพติดจากนายธวัชชัยมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เป็นเมทแอมเฟตามีน 600,000 เม็ด ครั้งที่ 2 เป็นเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด 200,000 เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว 3 กิโลกรัม ครั้งที่ 3 เป็นเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด 100,000 เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว 5 กิโลกรัม กับทั้งได้ความตามบันทึกจับกุมว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้รับแจ้งจากสายลับว่าจำเลยลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งชนิดเม็ดและชนิดเกล็ดสีขาวให้แก่ผู้ค้ารายย่อยในพื้นที่อำเภอพุนพินและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงจำนวนและปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลางในคดีนี้ที่มีจำนวนมาก ประกอบกับพฤติกรรมที่จำเลยอยู่ในเครือข่ายยาเสพติด ทำหน้าที่รับยาเสพติดเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนมากถึงครั้งละหลายแสนเม็ดและชนิดเกล็ดสีขาวครั้งละหลายกิโลกรัมมาเก็บรักษาไว้หลายครั้งแล้ว ทั้งยังเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการจำหน่ายส่งให้แก่ผู้ค้ารายย่อยในเครือข่ายยาเสพติดในพื้นที่อำเภอพุนพินและพื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งในคดีนี้ด้วย เช่นนี้ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่า จำเลยให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 และการกระทำความผิดของจำเลย กรณีมีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 152 วรรคสอง อันศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นหรือไม่ เห็นว่า ร้อยตำรวจเอกเอนก เจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับกุมจำเลยเบิกความว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลว่า มีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่ที่ห้องพักบริเวณท่าทราย เมื่อตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้วจำเลยยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวนหนึ่งซุกซ่อนอยู่ที่บริเวณห้องแถว จึงตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางดังกล่าว และเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า พยานทราบข้อมูลในเบื้องต้นจากสายลับว่าจำเลยมีที่พักอยู่ที่ท่าทราย กับยังได้เบิกความตอบศาลว่า บริเวณท่าทรายนั้น เป็นลานที่มีกองทราย มีโรงซ่อมรถ มีที่พักอยู่ห้องเดียว ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมีที่พักอยู่ที่ท่าทรายดังกล่าว และปรากฏว่ามีที่พักอยู่เพียงห้องเดียว จึงย่อมอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานตำรวจจะสามารถตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางได้ ส่วนห้องแถวที่ตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางอีกแห่งหนึ่งนั้น ร้อยตำรวจเอกเอนกเบิกความตอบศาลว่า ห้องแถวดังกล่าว ทราบภายหลังว่าคือเลขที่ 26/22 ซึ่งตรงกับที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ของจำเลย ในข้อนี้จำเลยได้ให้ถ้อยคำในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนว่า จำเลยนำตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางได้ที่ห้องแถวเลขที่ 26/22 ดังกล่าว อีกทั้งจำเลยได้ระบุในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนตามเอกสารดังกล่าวว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 26/22 เช่นเดียวกัน จึงย่อมอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าตรวจค้นได้เองตามที่อยู่ทางทะเบียนราษฎร์ของจำเลยอยู่แล้ว ประกอบกับพันตำรวจโทณัฐพงศ์ เจ้าพนักงานตำรวจผู้สืบสวนขยายผลและสอบปากคำจำเลยเบิกความว่า ข้อมูลที่จำเลยให้ไว้นั้น แม้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ซึ่งอยู่ระหว่างสืบสวนติดตามตัวอยู่ แต่ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการออกหมายจับหรือจับกุมบุคคลใด ๆ ดังนั้น กรณีจึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ส่วนปัญหาว่ากรณีมีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะรายอันศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 152 วรรคสอง หรือไม่นั้น เห็นว่า จำเลยอยู่ในเครือข่ายยาเสพติด ทำหน้าที่รับยาเสพติดจำนวนมากมาเก็บรักษาไว้ และจัดการจำหน่ายส่งให้แก่ผู้ค้ารายย่อยต่อไปในเครือข่ายยาเสพติดในพื้นที่อำเภอพุนพินและพื้นที่ใกล้เคียงอันมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง จึงเป็นเรื่องร้ายแรงดังได้วินิจฉัยข้างต้นแล้ว ดังนั้น เมื่อได้พิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด ฐานะทางเศรษฐกิจของจำเลยและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว กรณีจึงยังไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะราย อันศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 152 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 หมายความว่า หากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนั้นด้วย และเมื่อผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจ่ายค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแทนผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างไปแล้วก็ให้มีสิทธิไล่เบี้ยเงินดังกล่าวคืนจากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่ผู้รับเหมาชั้นต้นที่จ่ายเงินไปแล้วไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปซึ่งไม่ได้เป็นนายจ้างได้ เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ก. เป็นผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างค้างจ่ายต่อลูกจ้างของตน และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นนำเงินดังกล่าวไปวางที่ศาลจังหวัดภูเขียวเพื่อชำระให้แก่ลูกจ้างของ ก. และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดตามคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเงินข้างต้นคืนจาก ก. ผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างที่แท้จริงได้ แต่หาอาจไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปแต่มิได้เป็นนายจ้างด้วยไม่ ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ย 117,067 บาท คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอนำเงินดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง, 124 วรรคสาม และมาตรา 125 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง หมายความว่า เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ลูกจ้าง เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง ถ้านายจ้างมิได้นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ให้คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวนั้นเป็นที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า เจ้าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ทั้งโจทก์ จำเลยที่ 1 และ ก. ร่วมกันรับผิดใช้ค่าแรงงานแก่ลูกจ้างของ ก. โจทก์ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดย่อมหมายความเพียงว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดต่อลูกจ้างด้วยเท่านั้น แต่ในการพิจารณาการใช้สิทธิไล่เบี้ย ตามมาตรา 12 ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่า ผู้ใดอาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยโดยผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงซึ่งได้จ่ายเงินไปได้บ้าง ซึ่งผู้ที่อาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยได้คือผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างก็คือ ก. เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 189,945.15 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งบังคับโจทก์ให้ชำระเงิน 24,255.84 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 214,200.99 บาท นับถัดจากวันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยทั้งสอง
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 92,811.16 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท ยกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 92,811.16 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 4 มิถุนายน 2563) จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 จนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในส่วนฟ้องของโจทก์ในศาลชั้นต้นและค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ รับก่อสร้างเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเนื้องานวัสดุมุงหลังคาของอาคารปฏิบัติการไปรษณีย์วังสะพุงใหม่ในราคา 189,945.15 บาท โดยใช้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งโจทก์ตกลงชำระค่าภาษี ณ ที่จ่าย 2,662.78 บาท และค่าใช้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 28,092.36 บาท แก่จำเลยที่ 1 บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ตรวจรับมอบงานกับชำระค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เป็นผู้รับเหมาช่วงให้ก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านกุดโคลน ซึ่งจำเลยทั้งสองจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เกินไป 66,378.85 บาท และโจทก์จ้างนายกรเอก เป็นผู้รับเหมาช่วงงานก่อสร้างบางส่วนในราคา 280,000 บาท ต่อมานายสมมาตร กับพวกรวม 8 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างนายกรเอกร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิว่า นายกรเอกค้างจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุด พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิมีคำสั่งที่ 5/2563 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ให้โจทก์ นายกรเอก และจำเลยที่ 1 จ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดแก่นายสมมาตรกับพวก 115,500 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 นำเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 117,067 บาท ไปวางที่ศาลจังหวัดภูเขียวแล้ว และยื่นฟ้องสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิเป็นจำเลยต่อศาลแรงงานภาค 3 ว่า โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ไม่ต้องรับผิดชำระค่าจ้างค้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของนายกรเอก ขอให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิ ศาลแรงงานภาค 3 พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับนายกรเอกผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในเงินค่าจ้างค้างจ่ายด้วย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิที่ 5/2563 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เฉพาะในส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 วรรคหนึ่ง แต่ให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้น ร่วมรับผิดจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดค้างจ่ายให้แก่นายสมมาตรกับพวกเป็นจำนวนตามคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ส่วนเงินที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งในคดีนี้ขอให้นำค่าภาษี ณ ที่จ่าย 2,662.78 บาท ค่าใช้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 28,092.36 บาท ค่าจ้างที่จำเลยทั้งสองชำระเกิน 66,378.85 บาท และเงินที่จำเลยที่ 1 วางศาลตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน 117,067 บาท ไปหักกลบลบหนี้กับเงินค่าจ้างก่อสร้างเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเนื้องานวัสดุมุงหลังคาของอาคารปฏิบัติการไปรษณีย์วังสะพุง 189,945.15 บาท ที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1 นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้นำหนี้ดังกล่าวหักกลบลบหนี้กันได้เฉพาะค่าภาษี ณ ที่จ่าย 2,662.78 บาท ค่าใช้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 28,092.36 บาท และค่าจ้างที่จำเลยทั้งสองชำระเกิน 66,378.85 บาท พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 92,811.16 บาท คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้อุทธรณ์ในส่วนนี้ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาขอให้นำเงิน 117,067 บาท ที่จำเลยทั้งสองวางต่อศาลจังหวัดภูเขียวหักกลบลบหนี้ด้วย
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองมีว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธินำเงินค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 117,067 บาท ที่วางต่อศาลจังหวัดภูเขียวเพื่อชำระให้แก่ลูกจ้างของนายกรเอกมาหักออกจากเงิน 92,811.16 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ร่วมกันชำระแก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป หากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้าง...” วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิไล่เบี้ยเงินที่จ่ายไปแล้วตามวรรคหนึ่งคืนจากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้าง” ซึ่งหมายความว่า หากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนั้นด้วย และเมื่อผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจ่ายค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแทนผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างไปแล้วก็ให้มีสิทธิไล่เบี้ยเงินดังกล่าวคืนจากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่ผู้รับเหมาชั้นต้นที่จ่ายเงินไปแล้วไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปซึ่งไม่ได้เป็นนายจ้างได้ เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า นายกรเอกเป็นผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างค้างจ่ายต่อลูกจ้างของตน และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นนำเงินดังกล่าวไปวางที่ศาลจังหวัดภูเขียวเพื่อชำระให้แก่ลูกจ้างของนายกรเอก และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดตามคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดชัยภูมิ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเงินข้างต้นคืนจากนายกรเอกผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างที่แท้จริงได้ แต่หาอาจไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปแต่มิได้เป็นนายจ้างด้วยไม่ ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ย 117,067 บาท คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอนำเงินดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า พนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งซึ่งถึงที่สุดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างของนายสมมาตรกับพวกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยเรื่องสถานะของโจทก์ที่เป็นเพียงผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปซึ่งมิใช่นายจ้างที่จำเลยทั้งสองจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน...” มาตรา 124 วรรคสาม บัญญัติว่า “เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง...ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง” มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง...ไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง” วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้าง... ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด” ซึ่งหมายความว่า เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ลูกจ้าง เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง ถ้านายจ้างมิได้นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ให้คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวนั้นเป็นที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า เจ้าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ทั้งโจทก์ จำเลยที่ 1 และนายกรเอก ร่วมกันรับผิดใช้ค่าแรงงานแก่ลูกจ้างของนายกรเอก โจทก์ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดย่อมหมายความเพียงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดต่อลูกจ้างด้วยเท่านั้น แต่ในการพิจารณาการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามมาตรา 12 ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่าผู้ใดอาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยโดยผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงซึ่งได้จ่ายเงินไปได้บ้าง ซึ่งผู้ที่อาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยได้คือผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างก็คือนายกรเอกเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมตามฟ้องและฟ้องแย้งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 หมายความว่า หากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนั้นด้วย และเมื่อผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจ่ายค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแทนผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างไปแล้วก็ให้มีสิทธิไล่เบี้ยเงินดังกล่าวคืนจากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่ผู้รับเหมาชั้นต้นที่จ่ายเงินไปแล้วไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปซึ่งไม่ได้เป็นนายจ้างได้ เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ก. เป็นผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างค้างจ่ายต่อลูกจ้างของตน และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นนำเงินดังกล่าวไปวางที่ศาลจังหวัดภูเขียวเพื่อชำระให้แก่ลูกจ้างของ ก. และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดตามคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเงินข้างต้นคืนจาก ก. ผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างที่แท้จริงได้ แต่หาอาจไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปแต่มิได้เป็นนายจ้างด้วยไม่ ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ย 117,067 บาท คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอนำเงินดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง, 124 วรรคสาม และมาตรา 125 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง หมายความว่า เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ลูกจ้าง เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง ถ้านายจ้างมิได้นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ให้คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวนั้นเป็นที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า เจ้าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ทั้งโจทก์ จำเลยที่ 1 และ ก. ร่วมกันรับผิดใช้ค่าแรงงานแก่ลูกจ้างของ ก. โจทก์ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดย่อมหมายความเพียงว่า โจทก์ต้องร่วมรับผิดต่อลูกจ้างด้วยเท่านั้น แต่ในการพิจารณาการใช้สิทธิไล่เบี้ย ตามมาตรา 12 ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่า ผู้ใดอาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยโดยผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงซึ่งได้จ่ายเงินไปได้บ้าง ซึ่งผู้ที่อาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยได้คือผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างก็คือ ก. เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 189,945.15 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งบังคับโจทก์ให้ชำระเงิน 24,255.84 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 214,200.99 บาท นับถัดจากวันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยทั้งสอง
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 92,811.16 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท ยกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 92,811.16 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 4 มิถุนายน 2563) จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 จนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในส่วนฟ้องของโจทก์ในศาลชั้นต้นและค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ รับก่อสร้างเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเนื้องานวัสดุมุงหลังคาของอาคารปฏิบัติการไปรษณีย์วังสะพุงใหม่ในราคา 189,945.15 บาท โดยใช้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งโจทก์ตกลงชำระค่าภาษี ณ ที่จ่าย 2,662.78 บาท และค่าใช้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 28,092.36 บาท แก่จำเลยที่ 1 บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ตรวจรับมอบงานกับชำระค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เป็นผู้รับเหมาช่วงให้ก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านกุดโคลน ซึ่งจำเลยทั้งสองจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เกินไป 66,378.85 บาท และโจทก์จ้างนายกรเอก เป็นผู้รับเหมาช่วงงานก่อสร้างบางส่วนในราคา 280,000 บาท ต่อมานายสมมาตร กับพวกรวม 8 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างนายกรเอกร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิว่า นายกรเอกค้างจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุด พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิมีคำสั่งที่ 5/2563 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ให้โจทก์ นายกรเอก และจำเลยที่ 1 จ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดแก่นายสมมาตรกับพวก 115,500 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 นำเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 117,067 บาท ไปวางที่ศาลจังหวัดภูเขียวแล้ว และยื่นฟ้องสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิเป็นจำเลยต่อศาลแรงงานภาค 3 ว่า โจทก์ (จำเลยที่ 1 คดีนี้) ไม่ต้องรับผิดชำระค่าจ้างค้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของนายกรเอก ขอให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิ ศาลแรงงานภาค 3 พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับนายกรเอกผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในเงินค่าจ้างค้างจ่ายด้วย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิที่ 5/2563 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 เฉพาะในส่วนที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 วรรคหนึ่ง แต่ให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้น ร่วมรับผิดจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดค้างจ่ายให้แก่นายสมมาตรกับพวกเป็นจำนวนตามคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ส่วนเงินที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งในคดีนี้ขอให้นำค่าภาษี ณ ที่จ่าย 2,662.78 บาท ค่าใช้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 28,092.36 บาท ค่าจ้างที่จำเลยทั้งสองชำระเกิน 66,378.85 บาท และเงินที่จำเลยที่ 1 วางศาลตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน 117,067 บาท ไปหักกลบลบหนี้กับเงินค่าจ้างก่อสร้างเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเนื้องานวัสดุมุงหลังคาของอาคารปฏิบัติการไปรษณีย์วังสะพุง 189,945.15 บาท ที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1 นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้นำหนี้ดังกล่าวหักกลบลบหนี้กันได้เฉพาะค่าภาษี ณ ที่จ่าย 2,662.78 บาท ค่าใช้ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 28,092.36 บาท และค่าจ้างที่จำเลยทั้งสองชำระเกิน 66,378.85 บาท พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ 92,811.16 บาท คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้อุทธรณ์ในส่วนนี้ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาขอให้นำเงิน 117,067 บาท ที่จำเลยทั้งสองวางต่อศาลจังหวัดภูเขียวหักกลบลบหนี้ด้วย
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองมีว่า จำเลยทั้งสองมีสิทธินำเงินค่าจ้างพร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 117,067 บาท ที่วางต่อศาลจังหวัดภูเขียวเพื่อชำระให้แก่ลูกจ้างของนายกรเอกมาหักออกจากเงิน 92,811.16 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ร่วมกันชำระแก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป หากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้าง...” วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิไล่เบี้ยเงินที่จ่ายไปแล้วตามวรรคหนึ่งคืนจากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้าง” ซึ่งหมายความว่า หากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนั้นด้วย และเมื่อผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปจ่ายค่าจ้างหรือเงินอื่นที่ต้องจ่ายแทนผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างไปแล้วก็ให้มีสิทธิไล่เบี้ยเงินดังกล่าวคืนจากผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้สิทธิแก่ผู้รับเหมาชั้นต้นที่จ่ายเงินไปแล้วไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปซึ่งไม่ได้เป็นนายจ้างได้ เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า นายกรเอกเป็นผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างมีค่าจ้างค้างจ่ายต่อลูกจ้างของตน และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นนำเงินดังกล่าวไปวางที่ศาลจังหวัดภูเขียวเพื่อชำระให้แก่ลูกจ้างของนายกรเอก และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดตามคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดชัยภูมิ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเงินข้างต้นคืนจากนายกรเอกผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างที่แท้จริงได้ แต่หาอาจไล่เบี้ยเรียกเงินคืนจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปแต่มิได้เป็นนายจ้างด้วยไม่ ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระเงินค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ย 117,067 บาท คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 12 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอนำเงินดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า พนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งซึ่งถึงที่สุดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างของนายสมมาตรกับพวกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยเรื่องสถานะของโจทก์ที่เป็นเพียงผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปซึ่งมิใช่นายจ้างที่จำเลยทั้งสองจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน...” มาตรา 124 วรรคสาม บัญญัติว่า “เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง...ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง” มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง...ไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง” วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้าง... ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด” ซึ่งหมายความว่า เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ลูกจ้าง เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง ถ้านายจ้างมิได้นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ให้คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวนั้นเป็นที่สุด เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า เจ้าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ทั้งโจทก์ จำเลยที่ 1 และนายกรเอก ร่วมกันรับผิดใช้ค่าแรงงานแก่ลูกจ้างของนายกรเอก โจทก์ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดย่อมหมายความเพียงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดต่อลูกจ้างด้วยเท่านั้น แต่ในการพิจารณาการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามมาตรา 12 ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่าผู้ใดอาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยโดยผู้รับเหมาชั้นต้นหรือผู้รับเหมาช่วงซึ่งได้จ่ายเงินไปได้บ้าง ซึ่งผู้ที่อาจถูกใช้สิทธิไล่เบี้ยได้คือผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างก็คือนายกรเอกเท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมตามฟ้องและฟ้องแย้งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (2) ระบุว่าในคดีอาญาพนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ ประกอบกับการมีคำสั่งมอบหมายของอัยการสูงสุดให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นพนักงานแห่งท้องที่ตามเขตอำนาจศาลที่รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาฟ้องจำเลย หาต้องมอบอำนาจให้กระทำการแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องตัวแทน ดังนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขและเพิ่มเติมฟ้องในคดีที่จำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 โดยระบุว่า อัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 รับผิดชอบฟ้องคดีและดำเนินคดีแทนอัยการสูงสุด จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขและเพิ่มเติมฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 163 และ 164 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
คดีทั้งห้าสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกันกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อท (ผ) 8/2560 ของศาลชั้นต้น โดยให้เรียกโจทก์ทั้งห้าสำนวนและสำนวนดังกล่าวว่า โจทก์ เรียกจำเลยทั้งสามสิบในสำนวนแรกว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 30 เรียกจำเลยทั้งสองในสำนวนที่สองว่า จำเลยที่ 31 และที่ 32 เรียกจำเลยในสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อท (ผ) 8/2560 ว่า จำเลยที่ 33 เรียกจำเลยในสำนวนที่สามว่า จำเลยที่ 34 เรียกจำเลยในสำนวนที่สี่ว่า จำเลยที่ 35 และเรียกจำเลยในสำนวนที่ห้าว่า จำเลยที่ 36 แต่คดีสำหรับจำเลยที่ 33 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีห้าสำนวนนี้
สำนวนแรก โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 30 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
สำนวนที่สอง โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 31 และที่ 32 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และนับโทษของจำเลยที่ 31 ในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.367/2556 ของศาลจังหวัดมุกดาหาร
สำนวนที่สาม โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 34 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
สำนวนที่สี่ โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 35 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
สำนวนที่ห้า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 36 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
จำเลยทั้งสามสิบหกให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 31 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 1 ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 และที่ 33 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 20 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 และที่ 33 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 และที่ 33 ฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด สำหรับความผิดตามฟ้องข้อ 1.11 ถึงข้อ 1.17 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 ถึงที่ 10 และที่ 33 คนละกระทงละ 1 ปี จำเลยที่ 1 กระทำความผิดรวม 7 กระทง เป็นจำคุก 7 ปี จำเลยที่ 3 กระทำความผิดรวม 7 กระทง เป็นจำคุก 7 ปี จำเลยที่ 4 กระทำความผิดรวม 7 กระทง เป็นจำคุก 7 ปี จำเลยที่ 6 กระทำความผิดรวม 2 กระทง เป็นจำคุก 2 ปี จำเลยที่ 8 กระทำความผิดรวม 6 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี จำเลยที่ 9 กระทำความผิดรวม 6 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี จำเลยที่ 10 กระทำความผิดรวม 5 กระทง เป็นจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 33 กระทำความผิดรวม 6 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี จำเลยที่ 20 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด กระทำความผิดรวม 4 กระทง จำคุกกระทงละ 8 เดือน เป็นจำคุก 32 เดือน ฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐกระทำการโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคา สำหรับความผิดตามฟ้องข้อ 1.18 ถึงข้อ 1.69 เป็นความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 และที่ 33 คนละกระทงละ 5 ปี จำเลยที่ 1 กระทำผิดรวม 49 กระทง เป็นจำคุก 245 ปี จำเลยที่ 2 กระทำผิดรวม 7 กระทง เป็นจำคุก 35 ปี จำเลยที่ 3 กระทำผิดรวม 41 กระทง เป็นจำคุก 205 ปี จำเลยที่ 4 กระทำผิดรวม 36 กระทง เป็นจำคุก 180 ปี จำเลยที่ 5 กระทำผิดรวม 4 กระทง เป็นจำคุก 20 ปี จำเลยที่ 6 กระทำผิดรวม 30 กระทง เป็นจำคุก 150 ปี จำเลยที่ 7 กระทำผิดรวม 44 กระทง เป็นจำคุก 220 ปี จำเลยที่ 8 กระทำผิดรวม 19 กระทง เป็นจำคุก 95 ปี จำเลยที่ 9 กระทำผิดรวม 27 กระทง เป็นจำคุก 135 ปี จำเลยที่ 10 กระทำผิดรวม 19 กระทง เป็นจำคุก 95 ปี จำเลยที่ 11 กระทำความผิดรวม 1 กระทง จำคุก 5 ปี จำเลยที่ 12 กระทำความผิดรวม 1 กระทง จำคุก 5 ปี จำเลยที่ 33 กระทำผิดรวม 31 กระทง เป็นจำคุก 155 ปี และจำเลยที่ 20 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐกระทำการโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคา เป็นความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 20 กระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 32 กระทง เป็นจำคุก 96 ปี 128 เดือน รวมโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 252 ปี จำเลยที่ 2 มีกำหนด 35 ปี จำเลยที่ 3 มีกำหนด 212 ปี จำเลยที่ 4 มีกำหนด 187 ปี จำเลยที่ 5 มีกำหนด 20 ปี จำเลยที่ 6 มีกำหนด 152 ปี จำเลยที่ 7 มีกำหนด 220 ปี จำเลยที่ 8 มีกำหนด 101 ปี จำเลยที่ 9 มีกำหนด 141 ปี จำเลยที่ 10 มีกำหนด 100 ปี จำเลยที่ 11 มีกำหนด 5 ปี จำเลยที่ 12 มีกำหนด 5 ปี จำเลยที่ 33 มีกำหนด 161 ปี และจำเลยที่ 20 มีกำหนด 96 ปี 160 เดือน เมื่อรวมโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 20 และที่ 33 ทุกกระทงความผิดแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 20 และที่ 33 มีกำหนดคนละ 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก สำหรับจำเลยที่ 13 ถึงที่ 19 ที่ 21 ถึงที่ 32 และที่ 34 ถึงที่ 36 ให้ยกฟ้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 และที่ 33 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 157 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 13 และที่ 33 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 151 ประกอบมาตรา 86 และเฉพาะจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ถึงที่ 12 และที่ 33 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ด้วย จำเลยที่ 20 ถึงที่ 31 และที่ 36 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86, 151 ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 จำเลยที่ 34 และที่ 35 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86, 151 ประกอบมาตรา 86
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 35 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 35 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 52 กระทง เป็นจำคุก 260 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว เป็นจำคุก 330 ปี กรณีนี้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) กำหนดให้โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกว่า 50 ปี จึงให้ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 50 ปี
จำเลยที่ 2 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 40 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 19 กระทง เป็นจำคุก 95 ปี ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 35 ปี เมื่อรวมกับโทษทุกกระทงแล้วจำคุก 170 ปี กรณีนี้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) กำหนดให้โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกว่า 50 ปี จึงให้ลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 50 ปี
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 และที่ 33 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยที่ 12 และที่ 13 กระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 จำเลยที่ 3 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 10 กระทง เป็นจำคุก 30 ปี 40 เดือน จำเลยที่ 4 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 10 กระทง เป็นจำคุก 30 ปี 40 เดือน จำเลยที่ 6 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 21 ปี 28 เดือน จำเลยที่ 8 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 9 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 10 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 11 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 33 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 9 กระทง เป็นจำคุก 27 ปี 36 เดือน ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลยที่ 3 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 16 กระทง เป็นจำคุก 48 ปี 64 เดือน จำเลยที่ 4 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 25 กระทง เป็นจำคุก 75 ปี 100 เดือน จำเลยที่ 5 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 6 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 12 กระทง เป็นจำคุก 36 ปี 48 เดือน จำเลยที่ 7 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 8 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 12 กระทง เป็นจำคุก 36 ปี 48 เดือน จำเลยที่ 9 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 17 กระทง เป็นจำคุก 51 ปี 68 เดือน จำเลยที่ 10 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 15 กระทง เป็นจำคุก 45 ปี 60 เดือน จำเลยที่ 13 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 33 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 35 กระทง เป็นจำคุก 105 ปี 140 เดือน ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลยที่ 3 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 40 กระทง เป็นจำคุก 200 ปี จำเลยที่ 4 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 19 กระทง เป็นจำคุก 95 ปี จำเลยที่ 6 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 20 กระทง เป็นจำคุก 100 ปี จำเลยที่ 7 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 41 กระทง เป็นจำคุก 205 ปี จำเลยที่ 8 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 14 กระทง เป็นจำคุก 70 ปี จำเลยที่ 9 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 15 กระทง เป็นจำคุก 75 ปี จำเลยที่ 10 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 10 กระทง เป็นจำคุก 50 ปี จำเลยที่ 11 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 12 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 33 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 5 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จำเลยที่ 3 เป็นจำคุก 278 ปี 104 เดือน จำเลยที่ 4 เป็นจำคุก 200 ปี 140 เดือน จำเลยที่ 5 เป็นจำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 6 เป็นจำคุก 157 ปี 76 เดือน จำเลยที่ 7 เป็นจำคุก 214 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 8 เป็นจำคุก 130 ปี 80 เดือน จำเลยที่ 9 เป็นจำคุก 132 ปี 76 เดือน จำเลยที่ 10 เป็นจำคุก 101 ปี 68 เดือน จำเลยที่ 11 เป็นจำคุก 11 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 12 เป็นจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 13 เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 33 เป็นจำคุก 137 ปี 176 เดือน กรณีจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 33 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) กำหนดให้โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกว่า 50 ปี จึงลงโทษจำคุกคนละ 50 ปี
จำเลยที่ 20 ถึงที่ 23 ที่ 25 ถึงที่ 28 ที่ 31 และที่ 34 ถึงที่ 36 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยที่ 24 ที่ 29 และที่ 30 กระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 จำเลยที่ 20 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 21 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 31 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 34 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 21 ปี 28 เดือน จำเลยที่ 35 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลยที่ 20 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 31 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 34 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 35 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลยที่ 20 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 37 กระทง เป็นจำคุก 111 ปี 148 เดือน จำเลยที่ 21 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 22 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 23 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 24 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 25 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 26 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 27 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 28 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 29 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 30 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 31 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 36 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จำเลยที่ 20 จำคุก 150 ปี 200 เดือน แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) กำหนดให้โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกว่า 50 ปี จึงลงโทษจำเลยที่ 20 จำคุก 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 21 จำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 22 จำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 23 จำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 24 จำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 25 จำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 26 จำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 27 จำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 28 จำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 29 จำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 30 จำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 31 จำคุก 15 ปี 20 เดือน นับโทษของจำเลยที่ 31 ต่อจากโทษในคดีหมายเลขแดงที่ อ.367/2556 ของศาลจังหวัดมุกดาหาร จำเลยที่ 34 จำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 35 จำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 36 จำคุก 6 ปี 8 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ระหว่างฎีกา จำเลยที่ 13 ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจำเลยที่ 13 ออกจากสารบบความ
จำเลยที่ 5 ที่ 7 ถึงที่ 12 ที่ 20 ที่ 21 ที่ 23 ที่ 24 ที่ 26 ถึง 31 และที่ 34 ถึงที่ 36 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 5 ที่ 7 ถึงที่ 12 และที่ 20 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 7 ที่ 9 ที่ 20 ที่ 23 ที่ 24 ที่ 26 ที่ 28 และที่ 31 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 7 ที่ 9 ที่ 20 ที่ 23 ที่ 24 ที่ 26 ที่ 28 และที่ 31 เสียจากสารบบความศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 8 ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมบรรยายฟ้องขัดแย้งกันเอง และไม่ได้บรรยายองค์ประกอบความผิดโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 หรือไม่ เห็นว่า ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2556 ซึ่งใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีนี้ ข้อ 9 วรรคแรก กำหนดว่า ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและต้องมีข้อความเป็นการกล่าวหาเกี่ยวกับเรื่องการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม และต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำความผิด พร้อมทั้งชี้ช่องพยานหลักฐานให้ชัดเจนพอที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้ และวรรคสองกำหนดว่า กรณีที่ศาลเห็นว่า ฟ้องไม่ถูกต้อง ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการสั่งซื้อพัสดุโดยมิชอบอาศัยโอกาสที่ตนมีอำนาจในการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง ได้ใช้อำนาจโดยทุจริต โดยแบ่งหน้าที่กันทำกับจำเลยอื่นซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 1 แล้ว แม้จำเลยที่ 8 จะมิได้มีหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย การที่โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนจำเลยที่ 8 กระทำความผิดฐานตัวการและผู้สนับสนุน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 83 และ 86 กรณีจึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องเป็นหนังสือและมีข้อความที่เป็นการกล่าวหาเกี่ยวกับเรื่องการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง จึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง และบรรยายครบองค์ประกอบความผิดโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 แล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2556 ข้อ 9 วรรคแรกแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 8 ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 ข้อต่อไปมีว่า พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายปราบปรามการทุจริต 1 โจทก์ มีอำนาจฟ้องและใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เห็นว่า แม้ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2556 ซึ่งใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีนี้ ข้อ 3 ให้ความหมายของคำว่าโจทก์ หมายความว่า อัยการสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นการกำหนดให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมโดยใช้ระบบไต่สวนเท่านั้น ดังนี้ จึงไม่อาจนำความหมายของคำว่า โจทก์ ซึ่งหมายความว่า อัยการสูงสุด มาเป็นข้อพิจารณาถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ ซึ่งการพิจารณาว่าผู้ใดมีอำนาจฟ้องคดีอาญาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะฟ้องคดีนี้ โดยมาตรา 97 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่ข้อกล่าวหาใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ามีความผิดทางอาญา ให้ประธานกรรมการส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด หรือฟ้องคดีต่อศาลกรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี โดยให้ถือว่ารายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง คดีนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษากับจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 โดยแยกเป็นกรรมหรือกลุ่มของการกระทำความผิดเพื่อสะดวกในการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 97 ตามมติการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 433-91/2555 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 แก้ไขเพิ่มเติมในการประชุมครั้งที่ 438/2556 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556 เช่นนี้ ตามบทบัญญัติดังกล่าวอัยการสูงสุดจึงเป็นผู้มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 แต่อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (2) บัญญัติว่า พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ ประกอบกับการมีคำสั่งมอบหมายของอัยการสูงสุดให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ซึ่งเป็นพนักงานแห่งท้องที่ตามเขตอำนาจศาลรับผิดชอบดำเนินคดีอาญาฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 ต่อศาลอาญานั้น หาจำต้องมอบอำนาจให้กระทำการแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตัวแทนแต่อย่างใด ดังนั้น การที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ยื่นฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 เท่ากับอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ฟ้องจำเลยดังกล่าวแล้ว ซึ่งอำนาจฟ้องคดีนี้เป็นไปโดยผลของกฎหมาย พนักงานอัยการสำนักอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุดและพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 เมื่อวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องในคดีที่ฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 โดยระบุว่า คดีนี้อัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 5) รับผิดชอบฟ้องและดำเนินคดีแทนอัยการสูงสุด จึงมิใช่เป็นการขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 และ 164 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีและเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ฎีกาจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ โดยมาตรา 7 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 151 และมาตรา 157 และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 ที่ 22 ถึงที่ 26 ที่ 28 ที่ 31 ที่ 33 ถึงที่ 35 จึงให้ใช้กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 ที่ 22 ถึงที่ 26 ที่ 28 ที่ 31 ที่ 33 ถึงที่ 35 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 และศาลอุทธรณ์ไม่ได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 และที่ 33 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม), 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม), 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 และที่ 33 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม), 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 และเฉพาะจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ถึงที่ 12 และที่ 33 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ด้วย จำเลยที่ 20 ที่ 22 ถึงที่ 26 ที่ 28 และที่ 31 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 86, 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 จำเลยที่ 35 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 86, 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 ที่ 22 ถึงที่ 26 ที่ 28 ที่ 31 ที่ 33 และที่ 35 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 21 ที่ 27 ที่ 29 ที่ 30 ที่ 34 และที่ 36 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (2) ระบุว่าในคดีอาญาพนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ ประกอบกับการมีคำสั่งมอบหมายของอัยการสูงสุดให้พนักงานอัยการ ซึ่งเป็นพนักงานแห่งท้องที่ตามเขตอำนาจศาลที่รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาฟ้องจำเลย หาต้องมอบอำนาจให้กระทำการแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องตัวแทน ดังนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขและเพิ่มเติมฟ้องในคดีที่จำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 โดยระบุว่า อัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 รับผิดชอบฟ้องคดีและดำเนินคดีแทนอัยการสูงสุด จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขและเพิ่มเติมฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 163 และ 164 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
คดีทั้งห้าสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกันกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อท (ผ) 8/2560 ของศาลชั้นต้น โดยให้เรียกโจทก์ทั้งห้าสำนวนและสำนวนดังกล่าวว่า โจทก์ เรียกจำเลยทั้งสามสิบในสำนวนแรกว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 30 เรียกจำเลยทั้งสองในสำนวนที่สองว่า จำเลยที่ 31 และที่ 32 เรียกจำเลยในสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อท (ผ) 8/2560 ว่า จำเลยที่ 33 เรียกจำเลยในสำนวนที่สามว่า จำเลยที่ 34 เรียกจำเลยในสำนวนที่สี่ว่า จำเลยที่ 35 และเรียกจำเลยในสำนวนที่ห้าว่า จำเลยที่ 36 แต่คดีสำหรับจำเลยที่ 33 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีห้าสำนวนนี้
สำนวนแรก โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 30 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
สำนวนที่สอง โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 31 และที่ 32 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และนับโทษของจำเลยที่ 31 ในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.367/2556 ของศาลจังหวัดมุกดาหาร
สำนวนที่สาม โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 34 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
สำนวนที่สี่ โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 35 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
สำนวนที่ห้า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 36 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 90, 91, 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12
จำเลยทั้งสามสิบหกให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 31 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 1 ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 และที่ 33 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 20 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 และที่ 33 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 และที่ 33 ฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด สำหรับความผิดตามฟ้องข้อ 1.11 ถึงข้อ 1.17 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 8 ถึงที่ 10 และที่ 33 คนละกระทงละ 1 ปี จำเลยที่ 1 กระทำความผิดรวม 7 กระทง เป็นจำคุก 7 ปี จำเลยที่ 3 กระทำความผิดรวม 7 กระทง เป็นจำคุก 7 ปี จำเลยที่ 4 กระทำความผิดรวม 7 กระทง เป็นจำคุก 7 ปี จำเลยที่ 6 กระทำความผิดรวม 2 กระทง เป็นจำคุก 2 ปี จำเลยที่ 8 กระทำความผิดรวม 6 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี จำเลยที่ 9 กระทำความผิดรวม 6 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี จำเลยที่ 10 กระทำความผิดรวม 5 กระทง เป็นจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 33 กระทำความผิดรวม 6 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี จำเลยที่ 20 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด กระทำความผิดรวม 4 กระทง จำคุกกระทงละ 8 เดือน เป็นจำคุก 32 เดือน ฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐกระทำการโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคา สำหรับความผิดตามฟ้องข้อ 1.18 ถึงข้อ 1.69 เป็นความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 และที่ 33 คนละกระทงละ 5 ปี จำเลยที่ 1 กระทำผิดรวม 49 กระทง เป็นจำคุก 245 ปี จำเลยที่ 2 กระทำผิดรวม 7 กระทง เป็นจำคุก 35 ปี จำเลยที่ 3 กระทำผิดรวม 41 กระทง เป็นจำคุก 205 ปี จำเลยที่ 4 กระทำผิดรวม 36 กระทง เป็นจำคุก 180 ปี จำเลยที่ 5 กระทำผิดรวม 4 กระทง เป็นจำคุก 20 ปี จำเลยที่ 6 กระทำผิดรวม 30 กระทง เป็นจำคุก 150 ปี จำเลยที่ 7 กระทำผิดรวม 44 กระทง เป็นจำคุก 220 ปี จำเลยที่ 8 กระทำผิดรวม 19 กระทง เป็นจำคุก 95 ปี จำเลยที่ 9 กระทำผิดรวม 27 กระทง เป็นจำคุก 135 ปี จำเลยที่ 10 กระทำผิดรวม 19 กระทง เป็นจำคุก 95 ปี จำเลยที่ 11 กระทำความผิดรวม 1 กระทง จำคุก 5 ปี จำเลยที่ 12 กระทำความผิดรวม 1 กระทง จำคุก 5 ปี จำเลยที่ 33 กระทำผิดรวม 31 กระทง เป็นจำคุก 155 ปี และจำเลยที่ 20 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐกระทำการโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคา เป็นความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 20 กระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 32 กระทง เป็นจำคุก 96 ปี 128 เดือน รวมโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 252 ปี จำเลยที่ 2 มีกำหนด 35 ปี จำเลยที่ 3 มีกำหนด 212 ปี จำเลยที่ 4 มีกำหนด 187 ปี จำเลยที่ 5 มีกำหนด 20 ปี จำเลยที่ 6 มีกำหนด 152 ปี จำเลยที่ 7 มีกำหนด 220 ปี จำเลยที่ 8 มีกำหนด 101 ปี จำเลยที่ 9 มีกำหนด 141 ปี จำเลยที่ 10 มีกำหนด 100 ปี จำเลยที่ 11 มีกำหนด 5 ปี จำเลยที่ 12 มีกำหนด 5 ปี จำเลยที่ 33 มีกำหนด 161 ปี และจำเลยที่ 20 มีกำหนด 96 ปี 160 เดือน เมื่อรวมโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 20 และที่ 33 ทุกกระทงความผิดแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 20 และที่ 33 มีกำหนดคนละ 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก สำหรับจำเลยที่ 13 ถึงที่ 19 ที่ 21 ถึงที่ 32 และที่ 34 ถึงที่ 36 ให้ยกฟ้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 และที่ 33 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 157 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 13 และที่ 33 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 151 ประกอบมาตรา 86 และเฉพาะจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ถึงที่ 12 และที่ 33 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ด้วย จำเลยที่ 20 ถึงที่ 31 และที่ 36 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86, 151 ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 จำเลยที่ 34 และที่ 35 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86, 151 ประกอบมาตรา 86
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 35 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 35 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 52 กระทง เป็นจำคุก 260 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว เป็นจำคุก 330 ปี กรณีนี้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) กำหนดให้โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกว่า 50 ปี จึงให้ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 50 ปี
จำเลยที่ 2 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 40 ปี ฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 19 กระทง เป็นจำคุก 95 ปี ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 35 ปี เมื่อรวมกับโทษทุกกระทงแล้วจำคุก 170 ปี กรณีนี้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) กำหนดให้โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกว่า 50 ปี จึงให้ลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 50 ปี
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 และที่ 33 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยที่ 12 และที่ 13 กระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 จำเลยที่ 3 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 10 กระทง เป็นจำคุก 30 ปี 40 เดือน จำเลยที่ 4 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 10 กระทง เป็นจำคุก 30 ปี 40 เดือน จำเลยที่ 6 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 21 ปี 28 เดือน จำเลยที่ 8 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 9 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 10 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 11 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 33 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 9 กระทง เป็นจำคุก 27 ปี 36 เดือน ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลยที่ 3 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 16 กระทง เป็นจำคุก 48 ปี 64 เดือน จำเลยที่ 4 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 25 กระทง เป็นจำคุก 75 ปี 100 เดือน จำเลยที่ 5 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 6 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 12 กระทง เป็นจำคุก 36 ปี 48 เดือน จำเลยที่ 7 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 8 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 12 กระทง เป็นจำคุก 36 ปี 48 เดือน จำเลยที่ 9 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 17 กระทง เป็นจำคุก 51 ปี 68 เดือน จำเลยที่ 10 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 15 กระทง เป็นจำคุก 45 ปี 60 เดือน จำเลยที่ 13 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 33 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 35 กระทง เป็นจำคุก 105 ปี 140 เดือน ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลยที่ 3 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 40 กระทง เป็นจำคุก 200 ปี จำเลยที่ 4 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 19 กระทง เป็นจำคุก 95 ปี จำเลยที่ 6 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 20 กระทง เป็นจำคุก 100 ปี จำเลยที่ 7 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 41 กระทง เป็นจำคุก 205 ปี จำเลยที่ 8 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 14 กระทง เป็นจำคุก 70 ปี จำเลยที่ 9 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 15 กระทง เป็นจำคุก 75 ปี จำเลยที่ 10 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 10 กระทง เป็นจำคุก 50 ปี จำเลยที่ 11 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 12 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 33 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 5 ปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จำเลยที่ 3 เป็นจำคุก 278 ปี 104 เดือน จำเลยที่ 4 เป็นจำคุก 200 ปี 140 เดือน จำเลยที่ 5 เป็นจำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 6 เป็นจำคุก 157 ปี 76 เดือน จำเลยที่ 7 เป็นจำคุก 214 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 8 เป็นจำคุก 130 ปี 80 เดือน จำเลยที่ 9 เป็นจำคุก 132 ปี 76 เดือน จำเลยที่ 10 เป็นจำคุก 101 ปี 68 เดือน จำเลยที่ 11 เป็นจำคุก 11 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 12 เป็นจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 13 เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 33 เป็นจำคุก 137 ปี 176 เดือน กรณีจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 33 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) กำหนดให้โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกว่า 50 ปี จึงลงโทษจำคุกคนละ 50 ปี
จำเลยที่ 20 ถึงที่ 23 ที่ 25 ถึงที่ 28 ที่ 31 และที่ 34 ถึงที่ 36 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยที่ 24 ที่ 29 และที่ 30 กระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 จำเลยที่ 20 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 21 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 31 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 34 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 7 กระทง เป็นจำคุก 21 ปี 28 เดือน จำเลยที่ 35 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลยที่ 20 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 31 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 34 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 35 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาล หรือเจ้าของทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบมาตรา 86 ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86 และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทำการใด ๆ โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าทำการเสนอราคารายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำเลยที่ 20 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 37 กระทง เป็นจำคุก 111 ปี 148 เดือน จำเลยที่ 21 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 22 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 8 กระทง เป็นจำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 23 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 24 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 25 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 26 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 27 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 28 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 29 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 30 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 31 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 1 กระทง เป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 36 จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 8 เดือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จำเลยที่ 20 จำคุก 150 ปี 200 เดือน แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) กำหนดให้โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกว่า 50 ปี จึงลงโทษจำเลยที่ 20 จำคุก 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 21 จำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 22 จำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 23 จำคุก 15 ปี 20 เดือน จำเลยที่ 24 จำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 25 จำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 26 จำคุก 6 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 27 จำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 28 จำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 29 จำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 30 จำคุก 3 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 31 จำคุก 15 ปี 20 เดือน นับโทษของจำเลยที่ 31 ต่อจากโทษในคดีหมายเลขแดงที่ อ.367/2556 ของศาลจังหวัดมุกดาหาร จำเลยที่ 34 จำคุก 24 ปี 32 เดือน จำเลยที่ 35 จำคุก 9 ปี 12 เดือน จำเลยที่ 36 จำคุก 6 ปี 8 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ระหว่างฎีกา จำเลยที่ 13 ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจำเลยที่ 13 ออกจากสารบบความ
จำเลยที่ 5 ที่ 7 ถึงที่ 12 ที่ 20 ที่ 21 ที่ 23 ที่ 24 ที่ 26 ถึง 31 และที่ 34 ถึงที่ 36 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 5 ที่ 7 ถึงที่ 12 และที่ 20 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 7 ที่ 9 ที่ 20 ที่ 23 ที่ 24 ที่ 26 ที่ 28 และที่ 31 ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 7 ที่ 9 ที่ 20 ที่ 23 ที่ 24 ที่ 26 ที่ 28 และที่ 31 เสียจากสารบบความศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 8 ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมบรรยายฟ้องขัดแย้งกันเอง และไม่ได้บรรยายองค์ประกอบความผิดโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 หรือไม่ เห็นว่า ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2556 ซึ่งใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีนี้ ข้อ 9 วรรคแรก กำหนดว่า ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและต้องมีข้อความเป็นการกล่าวหาเกี่ยวกับเรื่องการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม และต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำความผิด พร้อมทั้งชี้ช่องพยานหลักฐานให้ชัดเจนพอที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้ และวรรคสองกำหนดว่า กรณีที่ศาลเห็นว่า ฟ้องไม่ถูกต้อง ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการสั่งซื้อพัสดุโดยมิชอบอาศัยโอกาสที่ตนมีอำนาจในการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง ได้ใช้อำนาจโดยทุจริต โดยแบ่งหน้าที่กันทำกับจำเลยอื่นซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 1 แล้ว แม้จำเลยที่ 8 จะมิได้มีหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย การที่โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนจำเลยที่ 8 กระทำความผิดฐานตัวการและผู้สนับสนุน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151, 83 และ 86 กรณีจึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องเป็นหนังสือและมีข้อความที่เป็นการกล่าวหาเกี่ยวกับเรื่องการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง จึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง และบรรยายครบองค์ประกอบความผิดโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 แล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2556 ข้อ 9 วรรคแรกแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 8 ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 ข้อต่อไปมีว่า พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายปราบปรามการทุจริต 1 โจทก์ มีอำนาจฟ้องและใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เห็นว่า แม้ระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้ระบบไต่สวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2556 ซึ่งใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีนี้ ข้อ 3 ให้ความหมายของคำว่าโจทก์ หมายความว่า อัยการสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นการกำหนดให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมโดยใช้ระบบไต่สวนเท่านั้น ดังนี้ จึงไม่อาจนำความหมายของคำว่า โจทก์ ซึ่งหมายความว่า อัยการสูงสุด มาเป็นข้อพิจารณาถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ ซึ่งการพิจารณาว่าผู้ใดมีอำนาจฟ้องคดีอาญาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะฟ้องคดีนี้ โดยมาตรา 97 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่ข้อกล่าวหาใดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ามีความผิดทางอาญา ให้ประธานกรรมการส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด หรือฟ้องคดีต่อศาลกรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี โดยให้ถือว่ารายงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสำนวนการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง คดีนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษากับจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 โดยแยกเป็นกรรมหรือกลุ่มของการกระทำความผิดเพื่อสะดวกในการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 97 ตามมติการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 433-91/2555 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 แก้ไขเพิ่มเติมในการประชุมครั้งที่ 438/2556 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556 เช่นนี้ ตามบทบัญญัติดังกล่าวอัยการสูงสุดจึงเป็นผู้มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 แต่อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (2) บัญญัติว่า พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ ประกอบกับการมีคำสั่งมอบหมายของอัยการสูงสุดให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ซึ่งเป็นพนักงานแห่งท้องที่ตามเขตอำนาจศาลรับผิดชอบดำเนินคดีอาญาฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 ต่อศาลอาญานั้น หาจำต้องมอบอำนาจให้กระทำการแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตัวแทนแต่อย่างใด ดังนั้น การที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ยื่นฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 เท่ากับอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ฟ้องจำเลยดังกล่าวแล้ว ซึ่งอำนาจฟ้องคดีนี้เป็นไปโดยผลของกฎหมาย พนักงานอัยการสำนักอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุดและพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 เมื่อวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องในคดีที่ฟ้องจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 โดยระบุว่า คดีนี้อัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 5) รับผิดชอบฟ้องและดำเนินคดีแทนอัยการสูงสุด จึงมิใช่เป็นการขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 และ 164 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด และพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีและเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ฎีกาจำเลยที่ 5 ที่ 10 ถึงที่ 12 ที่ 27 และที่ 34 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ โดยมาตรา 7 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 151 และมาตรา 157 และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 ที่ 22 ถึงที่ 26 ที่ 28 ที่ 31 ที่ 33 ถึงที่ 35 จึงให้ใช้กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 ที่ 22 ถึงที่ 26 ที่ 28 ที่ 31 ที่ 33 ถึงที่ 35 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 และศาลอุทธรณ์ไม่ได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 และที่ 33 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม), 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม), 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 และที่ 33 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม), 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 และเฉพาะจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ถึงที่ 12 และที่ 33 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ด้วย จำเลยที่ 20 ที่ 22 ถึงที่ 26 ที่ 28 และที่ 31 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 86, 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 จำเลยที่ 35 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 86, 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 20 ที่ 22 ถึงที่ 26 ที่ 28 ที่ 31 ที่ 33 และที่ 35 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 21 ที่ 27 ที่ 29 ที่ 30 ที่ 34 และที่ 36 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่ ผู้ร้องชำระราคาห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก คงมีแต่หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายคือโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น การที่ห้องชุดติดจำนองบริษัท ฮ. ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. หาใช่หน้าที่ที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติต่อผู้ร้องไม่ ประกอบกับศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง อันทำให้สิทธิของผู้ร้องมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้แต่เป็นสิทธิตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 มาปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2559 และพิพากษาให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2560
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยกคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ของลูกหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยปราศจากภาระติดพันด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ หากไม่ชำระให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ให้แก่ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้องโดยกำหนดค่าทนายความแก่ผู้ร้อง 4,000 บาท โดยให้หักจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ หากไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 กับลูกหนี้ โดยผู้ร้องชำระราคาค่าห้องชุดทั้งห้าห้องครบถ้วนแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ร้องและลูกหนี้นำห้องชุดดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่บริษัท ฮ. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ต่อศาลจังหวัดพัทยาให้ปฏิบัติตามสัญญา วันที่ 25 เมษายน 2559 ศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ.632/2559 ให้ลูกหนี้ชำระเงินจำนวน 21,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง หรือให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 แก่ผู้ร้อง แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และไม่ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดพัทยาออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง แต่เนื่องจากผู้ร้องไม่มีหนังสือรับรองการปลอดหนี้จากนิติบุคคลอาคารชุด เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องแก่ผู้ร้องได้ ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ แต่ผู้คัดค้านเห็นว่าห้องชุดทั้งห้าห้องติดจำนองบริษัท ฮ. ซึ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว สิทธิตามคำพิพากษาของผู้ร้องมีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ ผู้คัดค้านจึงไม่ยอมรับสิทธิตามคำพิพากษา แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านมีว่า ผู้คัดค้านมีอำนาจปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องแก่ผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 นั้น หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่ คดีนี้ผู้ร้องได้ชำระราคาห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก ลูกหนี้คงมีแต่เพียงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายคือการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น ส่วนการที่ห้องชุดดังกล่าวติดจำนองบริษัท ฮ. ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. หาใช่หน้าที่ที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติต่อผู้ร้องไม่ ประกอบกับศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ.632/2559 ให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องอันทำให้สิทธิของผู้ร้องมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้แต่เป็นสิทธิตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 มาปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องได้ และแม้ว่าห้องชุดทั้งห้าห้องติดจำนองบริษัท ฮ. ก็ตาม แต่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องสามารถแยกส่วนกับภาระหนี้จำนองและการไถ่ถอนจำนองที่ลูกหนี้มีต่อบริษัท ฮ. ผู้รับจำนอง ทั้งบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองเพียงแต่มีคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 (3) ให้ผู้คัดค้านดำเนินการยึดห้องชุดทรัพย์จำนองแต่ละห้องออกขายทอดตลาดแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ และผู้คัดค้านมีคำสั่งอนุญาตให้บริษัท ฮ. ได้รับชำระหนี้ตามคำขอ อำนาจในการจัดการห้องชุดทั้งห้าห้องดังกล่าวจึงตกเป็นของผู้คัดค้านและอยู่ในวิสัยที่ผู้คัดค้านจะดำเนินการในส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดภาระจำนองโดยนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไปไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองได้ และการดำเนินการดังกล่าวหาได้กระทบสิทธิของบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองดังที่ผู้คัดค้านฎีกาไม่ ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า กองทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำไปไถ่ถอนจำนองห้องชุดทั้งห้าห้องจากบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองนั้น ก็หาใช่ข้ออ้างในการปฏิเสธที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ส่วนการที่ศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระเงิน 21,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง แต่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวต่อผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 ก็หาได้เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องมิให้ร้องขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวในส่วนที่ให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่ผู้ร้องไม่ เพราะคำพิพากษาของศาลจังหวัดพัทยาให้สิทธิผู้ร้องในการเลือกว่าจะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินแก่ผู้ร้องหรือให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่ผู้ร้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดพัทยาในส่วนที่ให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่ผู้ร้องได้ ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 นั้น ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษาว่า หากไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น เนื่องจากผู้คัดค้านมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ อันเป็นหนี้กระทำการอยู่ด้วย มิใช่การทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว กรณีจึงไม่อาจให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษาในส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่ ผู้ร้องชำระราคาห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก คงมีแต่หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายคือโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น การที่ห้องชุดติดจำนองบริษัท ฮ. ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. หาใช่หน้าที่ที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติต่อผู้ร้องไม่ ประกอบกับศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง อันทำให้สิทธิของผู้ร้องมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้แต่เป็นสิทธิตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 มาปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2559 และพิพากษาให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2560
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยกคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ของลูกหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยปราศจากภาระติดพันด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ หากไม่ชำระให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ให้แก่ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้องโดยกำหนดค่าทนายความแก่ผู้ร้อง 4,000 บาท โดยให้หักจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ หากไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 กับลูกหนี้ โดยผู้ร้องชำระราคาค่าห้องชุดทั้งห้าห้องครบถ้วนแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ร้องและลูกหนี้นำห้องชุดดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่บริษัท ฮ. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ต่อศาลจังหวัดพัทยาให้ปฏิบัติตามสัญญา วันที่ 25 เมษายน 2559 ศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ.632/2559 ให้ลูกหนี้ชำระเงินจำนวน 21,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง หรือให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 แก่ผู้ร้อง แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และไม่ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดพัทยาออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง แต่เนื่องจากผู้ร้องไม่มีหนังสือรับรองการปลอดหนี้จากนิติบุคคลอาคารชุด เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องแก่ผู้ร้องได้ ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ แต่ผู้คัดค้านเห็นว่าห้องชุดทั้งห้าห้องติดจำนองบริษัท ฮ. ซึ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว สิทธิตามคำพิพากษาของผู้ร้องมีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ ผู้คัดค้านจึงไม่ยอมรับสิทธิตามคำพิพากษา แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านมีว่า ผู้คัดค้านมีอำนาจปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องแก่ผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 นั้น หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่ คดีนี้ผู้ร้องได้ชำระราคาห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก ลูกหนี้คงมีแต่เพียงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายคือการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น ส่วนการที่ห้องชุดดังกล่าวติดจำนองบริษัท ฮ. ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. หาใช่หน้าที่ที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติต่อผู้ร้องไม่ ประกอบกับศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ.632/2559 ให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องอันทำให้สิทธิของผู้ร้องมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้แต่เป็นสิทธิตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 มาปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องได้ และแม้ว่าห้องชุดทั้งห้าห้องติดจำนองบริษัท ฮ. ก็ตาม แต่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องสามารถแยกส่วนกับภาระหนี้จำนองและการไถ่ถอนจำนองที่ลูกหนี้มีต่อบริษัท ฮ. ผู้รับจำนอง ทั้งบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองเพียงแต่มีคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 (3) ให้ผู้คัดค้านดำเนินการยึดห้องชุดทรัพย์จำนองแต่ละห้องออกขายทอดตลาดแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ และผู้คัดค้านมีคำสั่งอนุญาตให้บริษัท ฮ. ได้รับชำระหนี้ตามคำขอ อำนาจในการจัดการห้องชุดทั้งห้าห้องดังกล่าวจึงตกเป็นของผู้คัดค้านและอยู่ในวิสัยที่ผู้คัดค้านจะดำเนินการในส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดภาระจำนองโดยนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไปไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองได้ และการดำเนินการดังกล่าวหาได้กระทบสิทธิของบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองดังที่ผู้คัดค้านฎีกาไม่ ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า กองทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำไปไถ่ถอนจำนองห้องชุดทั้งห้าห้องจากบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองนั้น ก็หาใช่ข้ออ้างในการปฏิเสธที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ส่วนการที่ศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระเงิน 21,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง แต่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวต่อผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 ก็หาได้เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องมิให้ร้องขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวในส่วนที่ให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่ผู้ร้องไม่ เพราะคำพิพากษาของศาลจังหวัดพัทยาให้สิทธิผู้ร้องในการเลือกว่าจะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินแก่ผู้ร้องหรือให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่ผู้ร้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดพัทยาในส่วนที่ให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่ผู้ร้องได้ ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 นั้น ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษาว่า หากไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น เนื่องจากผู้คัดค้านมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ อันเป็นหนี้กระทำการอยู่ด้วย มิใช่การทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว กรณีจึงไม่อาจให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษาในส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสามรับทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 โดยชอบแล้วไม่มาศาล ในวันนัดทนายโจทก์แถลงขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีไปพิจารณาวันที่ 26 สิงหาคม 2564 ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 26 สิงหาคม 2564 โดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่มาศาลในวันนัดและศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณาแล้วให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
ในการพิจารณาคดีของศาลนั้น หากศาลเห็นว่าเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอ ศาลอาจกำหนดให้ดำเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีพิจารณาคดีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ข้อ 4 และข้อ 13 ประกอบกับการสืบพยานโจทก์ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียสิทธิในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด หากจำเลยทั้งสามมาศาลในวันนัด จำเลยทั้งสามยังสามารถยื่นคำให้การ ถามค้านพยานโจทก์ตลอดจนนำพยานเข้าสืบในวันนัดได้ การที่ศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้โจทก์สืบพยานผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยทั้งสามไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 และให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยให้หักจากกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสามฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2557 โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันหนี้สินเชื่อเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อธนาคาร ท. วงเงินไม่เกิน 3,470,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารดังกล่าวในวงเงิน 5,000,000 บาท มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยทั้งสามผิดนัดชำระหนี้ ธนาคาร ท. ฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ ผบ.4525/2559 ต่อมาธนาคาร ท. มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารดังกล่าว เป็นเงิน 3,470,000 บาท แล้ว โจทก์จึงรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท. ไล่เบี้ยให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 มีนาคม 2560 จนถึงวันฟ้องจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์บางส่วนคงเหลือดอกเบี้ย 923,073.97 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 4,393,073.97 บาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเป็นสัดส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงินคนละ 1,464,357.99 บาท
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามประการแรกมีว่า กรณีมีเหตุต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลล้มละลายกลางหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงได้ความโดยแจ้งชัดว่าจำเลยทั้งสามรับทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 โดยชอบแล้วจำเลยทั้งสามต้องมาศาลตามกำหนดนัด แต่จำเลยทั้งสามไม่มาศาลโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี เมื่อทนายโจทก์แถลงว่ายังไม่ได้รับสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ขอหมายเรียกจากธนาคาร ท. และเป็นเอกสารสำคัญ จึงขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาตให้เลื่อนคดีไปพิจารณาวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เช่นนี้ หากจำเลยทั้งสามมาศาลในวันนัดจำเลยทั้งสามย่อมทราบวันเวลาที่ศาลเลื่อนพิจารณาออกไปซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว ดังนี้กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 26 สิงหาคม 2564 โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาวันที่ 26 สิงหาคม 2564 ที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณาแล้วให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามประการต่อมามีว่า การที่โจทก์มีคำร้องขอสืบพยานทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบจอภาพ และศาลมีคำสั่งอนุญาต โดยจำเลยทั้งสามไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ใช้วิธีพิจารณาคดีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์จะชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่นั้น เห็นว่า ในการพิจารณาคดีของศาลนั้น หากศาลเห็นว่าเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอ ศาลอาจกำหนดให้ดำเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีพิจารณาคดีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ข้อ 4 และข้อ 13 ประกอบกับการสืบพยานโจทก์ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียสิทธิในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด หากจำเลยทั้งสามมาศาลในวันนัด จำเลยทั้งสามยังสามารถยื่นคำให้การ ถามค้านพยานโจทก์ตลอดจนนำพยานเข้าสืบในวันนัดได้ แต่กลับเป็นจำเลยทั้งสามที่ไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาเสียเอง การที่ศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้โจทก์สืบพยานผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสามรับทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 โดยชอบแล้วไม่มาศาล ในวันนัดทนายโจทก์แถลงขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีไปพิจารณาวันที่ 26 สิงหาคม 2564 ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 26 สิงหาคม 2564 โดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่มาศาลในวันนัดและศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณาแล้วให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
ในการพิจารณาคดีของศาลนั้น หากศาลเห็นว่าเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอ ศาลอาจกำหนดให้ดำเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีพิจารณาคดีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ข้อ 4 และข้อ 13 ประกอบกับการสืบพยานโจทก์ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียสิทธิในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด หากจำเลยทั้งสามมาศาลในวันนัด จำเลยทั้งสามยังสามารถยื่นคำให้การ ถามค้านพยานโจทก์ตลอดจนนำพยานเข้าสืบในวันนัดได้ การที่ศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้โจทก์สืบพยานผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยทั้งสามไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสามเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 และให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยให้หักจากกองทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสามฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2557 โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันหนี้สินเชื่อเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อธนาคาร ท. วงเงินไม่เกิน 3,470,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารดังกล่าวในวงเงิน 5,000,000 บาท มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยทั้งสามผิดนัดชำระหนี้ ธนาคาร ท. ฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ ผบ.4525/2559 ต่อมาธนาคาร ท. มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารดังกล่าว เป็นเงิน 3,470,000 บาท แล้ว โจทก์จึงรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท. ไล่เบี้ยให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 มีนาคม 2560 จนถึงวันฟ้องจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์บางส่วนคงเหลือดอกเบี้ย 923,073.97 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 4,393,073.97 บาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเป็นสัดส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงินคนละ 1,464,357.99 บาท
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามประการแรกมีว่า กรณีมีเหตุต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลล้มละลายกลางหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงได้ความโดยแจ้งชัดว่าจำเลยทั้งสามรับทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 โดยชอบแล้วจำเลยทั้งสามต้องมาศาลตามกำหนดนัด แต่จำเลยทั้งสามไม่มาศาลโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี เมื่อทนายโจทก์แถลงว่ายังไม่ได้รับสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ขอหมายเรียกจากธนาคาร ท. และเป็นเอกสารสำคัญ จึงขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาตให้เลื่อนคดีไปพิจารณาวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เช่นนี้ หากจำเลยทั้งสามมาศาลในวันนัดจำเลยทั้งสามย่อมทราบวันเวลาที่ศาลเลื่อนพิจารณาออกไปซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว ดังนี้กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามทราบกำหนดนัดพิจารณาในวันที่ 26 สิงหาคม 2564 โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสามไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาวันที่ 26 สิงหาคม 2564 ที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณาแล้วให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามประการต่อมามีว่า การที่โจทก์มีคำร้องขอสืบพยานทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบจอภาพ และศาลมีคำสั่งอนุญาต โดยจำเลยทั้งสามไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ใช้วิธีพิจารณาคดีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์จะชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่นั้น เห็นว่า ในการพิจารณาคดีของศาลนั้น หากศาลเห็นว่าเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอ ศาลอาจกำหนดให้ดำเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีพิจารณาคดีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ข้อ 4 และข้อ 13 ประกอบกับการสืบพยานโจทก์ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ไม่ทำให้จำเลยทั้งสามเสียสิทธิในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด หากจำเลยทั้งสามมาศาลในวันนัด จำเลยทั้งสามยังสามารถยื่นคำให้การ ถามค้านพยานโจทก์ตลอดจนนำพยานเข้าสืบในวันนัดได้ แต่กลับเป็นจำเลยทั้งสามที่ไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาเสียเอง การที่ศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้โจทก์สืบพยานผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว จึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ก่อนถึงกำหนดวันที่ลงในเช็ค จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยย่อมไม่มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของตนเองนับแต่วันดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า “มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย” แสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการตามอำนาจในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อเข้ากองทรัพย์สินและนำมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ด้วยการมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 นับโทษต่อจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 5472/2558 ของศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2559 จำเลยออกเช็ค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวนเงิน 3,000,000 บาท เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 โดยให้เหตุผลว่า “มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย” ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2563 ไม่มีเงินในบัญชีธนาคารของจำเลย ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 และพิพากษาให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยออกเช็คล่วงหน้านับแต่วันที่ออกเช็คถึงวันที่ลงในเช็คเป็นระยะเวลาห่างกันถึงสามปีเศษเพื่อชำระหนี้ แต่เมื่อก่อนถึงกำหนดวันที่ลงในเช็ค จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยย่อมไม่มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของตนเองนับแต่วันดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ทั้งตามใบแจ้งรายการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2563 จำเลยไม่มีเงินคงเหลือในบัญชี เมื่อโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า “มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย” แสดงว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการตามอำนาจในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายเพื่อเข้ากองทรัพย์สินและนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ รวมทั้งมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น การที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยแต่อย่างใด จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ก่อนถึงกำหนดวันที่ลงในเช็ค จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยย่อมไม่มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของตนเองนับแต่วันดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า “มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย” แสดงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการตามอำนาจในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อเข้ากองทรัพย์สินและนำมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ด้วยการมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 นับโทษต่อจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 5472/2558 ของศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2559 จำเลยออกเช็ค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวนเงิน 3,000,000 บาท เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำไปเรียกเก็บเงินแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 โดยให้เหตุผลว่า “มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย” ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2563 ไม่มีเงินในบัญชีธนาคารของจำเลย ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 และพิพากษาให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า แม้จำเลยออกเช็คล่วงหน้านับแต่วันที่ออกเช็คถึงวันที่ลงในเช็คเป็นระยะเวลาห่างกันถึงสามปีเศษเพื่อชำระหนี้ แต่เมื่อก่อนถึงกำหนดวันที่ลงในเช็ค จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยย่อมไม่มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของตนเองนับแต่วันดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ทั้งตามใบแจ้งรายการบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2563 จำเลยไม่มีเงินคงเหลือในบัญชี เมื่อโจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า “มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย” แสดงว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการตามอำนาจในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายเพื่อเข้ากองทรัพย์สินและนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ รวมทั้งมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ดังนั้น การที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยแต่อย่างใด จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) เมื่อที่ดินพิพาทในคดีนี้ก็เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เช่นเดียวกัน จึงเป็นกรณีคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) จำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างว่า มีสิทธิในที่ดินพิพาท จึงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าอย่างไร การนำสืบของจำเลยทั้งสี่เป็นการนำสืบโดยใช้วิธีอธิบายพยานเอกสารให้มีความหมายต่างไปจากที่ปรากฎในพยานเอกสารหรือเป็นการให้ความเห็นเท่านั้น ถือว่าจำเลยทั้งสี่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า จึงต้องฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหาย เดือนละ 44,304 บาท แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินของโจทก์ จำนวนค่าเสียหายจึงเริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้ ถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3325, 3369, 3370 และ 3371 ให้จำเลยทั้งสี่และบริวารขนย้ายทรัพย์สิน รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์ดำเนินการเองโดยจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ห้ามจำเลยทั้งสี่และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดิน ให้จำเลยทั้งสี่ใช้ค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 44,304 บาท นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกไปจากที่ดิน
จำเลยทั้งสี่ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3325, 3369, 3370 และ 3371 เฉพาะส่วนที่ออกทับที่ราชพัสดุ ชบ.465 ของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสี่และบริวารขนย้ายทรัพย์สินกับรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินดังกล่าว ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก
โจทก์และจำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนสำหรับจำเลยทั้งสี่และให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยทั้งสี่ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่มีว่า ที่ดินพิพาทออกโฉนดทับที่สนามยิงเป้าอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ เห็นว่า โจทก์นำสืบโดยมีนาวาโทวัลลภ เคยดำรงตำแหน่ง นายทหารที่ดิน กรมสวัสดิการทหารเรือ เบิกความถึงประวัติความเป็นมาของที่ดินสนามยิงเป้า ประกอบหนังสือโต้ตอบของหน่วยราชการเกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินเพิ่ม 8 โฉนดระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2458 (เดิมถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นต้นปี ต่อมาถือวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นต้นไป ตามสำเนาประกาศคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เอกสารหมาย จ. 24) โดยแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 แนบท้ายหนังสือศาลากลางเมืองชลบุรี ที่ 36/4132 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2458 เอกสารหมาย จ. 18 เป็นหนังสือที่อำมาตย์เอกพระยาประชาไศรยสรเดช ผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี มีไปถึงนายพลเรือตรี ปลัดทูลฉลองกระทรวงทหารเรือ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2458 ในการจัดซื้อที่ดินมีโฉนด 8 แปลง ว่า ได้จัดทำแผนที่ เอกสารหมาย จ. 19 กำหนดขอบเขตของสนามยิงเป้าไว้รวมที่ดิน 8 โฉนด ที่จัดซื้อเพิ่มด้วย ซึ่งต้นฉบับเดิมชำรุดเสียหาย เจ้าพนักงานที่จังหวัดชลบุรีจึงออกใบแทนโฉนดให้ โดยที่ดินมีโฉนด 8 แปลง ดังกล่าวอยู่กระจัดกระจายติดต่อกันบ้างไม่ติดต่อกันบ้างเป็นบางส่วนของพื้นที่สนามยิงเป้า แผนที่เอกสารหมาย จ. 19 เป็นแผนที่ขอบเขตสนามยิงเป้าที่จัดทำขึ้นใน ปี 2458 หนังสือตอบโต้ของหน่วยราชการเอกสารหมาย จ. 11 ถึง จ. 19 ดังกล่าวไม่มีผู้รู้เห็นโดยตรงหลงเหลืออยู่ จะต้องรับฟังจากคำบอกเล่าและเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้เป็นสำคัญ พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า ในปี 2458 กองทัพเรือได้กำหนดขอบเขตพื้นที่สนามยิงเป้าไว้ตามแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 ส่วนแผนที่เอกสารหมาย จ. 21/1 (จ. 21 แผ่นที่ 3 (ที่ถูก แผ่นที่6)) เป็นแผนที่จัดทำในการรังวัดสอบเขตสนามยิงเป้าในปี 2470 กรณีที่ราษฎร 2 รายบุกรุก แนบท้ายหนังสือศาลารัฐบาลมณฑลปราจิณ ที่ 404/16512 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2470 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจิณ กราบทูลมหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงทราบ ต้นฉบับแผนที่มีสภาพเก่า กรมธนารักษ์จึงมอบหมายให้นายนพชัย ทำสำเนาขึ้นใหม่ ซึ่งรูปแผนที่เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 รูปเหมือนกับแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2501 กองทัพเรือขอใช้ที่ดินสนามยิงเป้าอีกครั้งเพื่อประโยชน์ด้านการสวัสดิการทหารเรือ ซึ่งในหนังสือก็ระบุว่า คือ “ด้วยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2465 กองทัพเรือได้ปกครอง…ที่ดินของทางราชการ เพื่อประโยชน์ในราชการทหารเรือในขณะนั้น ที่ดินดังกล่าว คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 3033, 3034, 3035, 3036, 3037, 3038, 3039 และ 2617 กับที่ไม่มีโฉนดบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งใช้เป็นสนามยิงเป้าและกิจการอื่นของกองทัพเรือในขณะนั้น” อันแสดงว่านอกจากที่ดินมีโฉนด 8 แปลง แล้วยังมีที่ดินที่ไม่มีโฉนดรวมเป็นสนามยิงเป้าด้วย เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2502 กระทรวงการคลังไม่ขัดข้องและขอให้สอบสวนกรณีผู้ออกโฉนดทับที่ดินดังกล่าว กองทัพเรือสอบสวนหลวงวินิจสาลี อดีตเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี โดยที่เมื่อประมาณปี 2458 ยังรับราชเป็นนายทะเบียนที่ดินจังหวัดชลบุรี เป็นผู้ไปดูเขตสงวนสนามยิงเป้า กับพระยาประชาไศรยสรเดช ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในสมัยนั้น และเป็นผู้ลงชื่อในแผนที่หมาย จ. 19 ด้วย โดยลงชื่อว่า “นายช้อย” (หลวงวินิจสาลี ชื่อเดิม นายช้อย) และสอบสวนขุนวงศาโรจน์เกษตรสาร อดีตเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีต่อจากหสวงวินิจสาลีเมื่อประมาณ พ.ศ. 2481 และทราบอาณาเขตบริเวณสนามยิงเป้า ทั้งหลวงวินิจสาลีและขุนวงศาโรจน์เกษตรสารรับรองแผนที่เอกสารหมาย จ. 30 และเอกสารหมาย จ. 29 (แผนที่ต่อเนื่องกันเป็นผังเดียว) ตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย จ. 27 และ จ. 28 ซึ่งแผนที่เอกสารหมาย จ. 30 และ จ. 29 (แผนที่ต่อเนื่องกันเป็นผังเดียว) ก็เหมือนกับแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 และแผนที่เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 เมื่อพิจารณาระวาง 36ต 11ฏ เอกสารหมาย ล. 22 ที่จำเลยทั้งสี่อ้างเข้ามาในสำนวน ที่ดินพิพาทระบายด้วยสีชมพู โดยนำไปเทียบกับระวาง 36ต 11ฏ ปี 2496 เอกสารหมาย จ. 29 ซึ่งรับรองแนวเขตสนามยิงเป้าโดยหลวงวินิจสาลีเมื่อปี 2502 และขุนวงศาโรจน์เกษตรสารเมื่อ ปี 2503 ตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย จ. 27 และ จ. 28 ตามลำดับ และนำไปเทียบกับแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 ปี 2458 ซึ่งจัดทำโดยขุนวินิจสาลีแล้ว ที่พิพาทอยู่ในเขตสนามยิงเป้า โดยแผนที่เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 ถูกใช้ในการทำแผนที่พิพาทเอกสารหมาย ล. 7 จำเลยทั้งสี่เองก็รับรองแผนที่พิพาทนี้ไว้แล้วในรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 โดยจำเลยทั้งสี่แถลงขอใช้แผนที่พิพาทเอกสารหมาย ล. 7 กรณีจึงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่เขตของที่ดินตามแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 จ. 21/1 (จ. 21 แผ่นที่ 6)
ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า แผนที่เอกสารหมาย จ. 19 แผนที่เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 3 (ที่ถูก แผ่นที่ 6) (คัดลอกมาจากเอกสารหมาย จ. 21/1) ที่โจทก์อ้างว่าเป็นแผนที่สนามยิงเป้าบางพระของกองทัพเรือที่รังวัดจัดทำขึ้นในปี 2470 เป็นความเท็จ แผนที่ดังกล่าวไม่มีอยู่จริงนั้น เห็นว่า ตามรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 26 ธันวาคม 2560 ระบุว่า “เจ้าหน้าที่กรมธนารักษ์ได้นำต้นฉบับเอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 มาอ้างต่อศาลเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจดู แต่ต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมีสภาพเก่ามาก ฉีกขาดออกเป็นส่วน ๆ เจ้าหน้าที่กรมธนารักษ์จึงได้นำต้นฉบับเอกสารที่ฉีกขาดดังกล่าวมาปะติดปะต่อกับสำเนาแผนที่ฉบับใหญ่เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจดูความถูกต้อง เสร็จแล้วได้ขอคืนต้นฉบับดังกล่าว คู่ความอีกฝ่ายตรวจดูต้นฉบับกับสำเนาแผนที่ฉบับใหญ่แล้ว โจทก์จึงขออ้างส่งเพิ่มเติม ศาลหมาย จ. 21/1” อันเป็นการที่ฝ่ายจำเลยทั้งสี่ได้ตรวจดูกับต้นฉบับแผนที่แนบท้ายหนังสือศาลารัฐบาลมณฑลปราจิณ ที่ 404/16512 วันที่ 29 ธันวาคม 2470 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจิณ กราบทูล มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงทราบ ในการรังวัดสอบเขตเนื่องจากมีผู้บุกรุกเขตสนามยิงเป้า อันแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่จริงของต้นฉบับแผนที่ เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 แล้ว
ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า นางสมบุญครอบครองและทำประโยชน์จนได้สิทธิในที่ดินพิพาท เดิมที่ดินพิพาทเป็นแปลงเลขที่ 137 และต่อมานายเพา นายทิว และนายหง ต่างคนต่างเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อเนื่องเรื่อยมานั้น ตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ หน้า 84 รับว่า “ระหว่างปี 2469 ถึงปี 2476 วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด นางสมบุญได้ละทิ้งที่ดินพิพาทไปซึ่งตามกฎหมายที่ดินถือว่าสละการครอบครอง หลังจากนั้นมีนายเพา นายทิว นายหง ต่างคนต่างเข้าครอบครองและทำประโยชน์โดยทำนาและปลูกสับปะรดในที่ดินบางส่วนของที่ดินเลขที่ 137 ตามกฎหมายที่ดินถือว่า เป็นการสืบสิทธิการครอบครองที่ดินแปลงเลขที่ 137 ต่อจากนางสมบุญ” รวมทั้งจำเลยที่ 3 ก็ตอบทนายโจทก์ถามค้านยอมรับว่า นายเพาได้ก่นสร้างเข้าครอบครอง ไม่ได้อ้างว่าได้ครอบครองต่อจากนางสมบุญ ถือว่าจำเลยทั้งสี่รับข้อเท็จจริงแล้วว่านางสมบุญได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ยิ่งกว่านั้น แม้จำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินเลขที่ 137 ของนางสมบุญ แต่ก็ไม่ปรากฎว่า นายเพา นายหง และนายทิวได้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจากนางสมบุญ แต่อย่างใด กลับปรากฏว่ามีการออกโฉนดเลขที่ 3325 ให้แก่นายเพา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2487 ออกโฉนดเลขที่ 3327 ให้แก่นายหง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2487 และออกโฉนดเลขที่ 3393 ให้แก่นายทิว เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2488 โดยนายเพาให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2486 ว่า ได้ที่ดินมาโดยการก่นสร้างทำประโยชน์มาประมาณ 9 ปี นายหงให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2487 ว่า ได้ที่ดินโดยเข้าก่นสร้างตั้งแต่ปี 2478 และบางส่วนซื้อมาจากนายตานเมื่อปี 2486 ไม่มีหนังสือสัญญาต่อกัน และนายทิวให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2487 ว่า เข้าก่นสร้างถากถางมาประมาณ 10 ปี ทั้งสามมิได้อ้างว่าครอบครองที่ดินพิพาทต่อจากนางสมบุญแต่อย่างใด จึงเป็นการที่นายเพา นายหงและนายทิวเริ่มต้นเข้าถือครองที่ดินพิพาทด้วยตนเอง ไม่ใช่การสืบสิทธิต่อจากบุคคลใด เห็นว่า การก่นสร้างคือการขุดโค่นต้นไม้ตอไม้และแผ้วถางเพื่อปลูกสร้าง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 7) ต่างจากการสืบสิทธิคือการถือสิทธิต่อเนื่องเป็นลำดับ ดังนั้น ไม่ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นแปลงเดียวกับที่นางสมบุญครอบครองหรือไม่ การที่นายเพา นายหง และนายทิวเข้าก่นสร้างในที่ดินพิพาทก็ไม่ใช่การสืบสิทธิดังที่จำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างแต่อย่างใด จึงไม่อาจเป็นการสืบสิทธิของบุคคลใดๆ ได้ การเข้าก่นสร้างของบุคคลทั้งสามล้วนเกิดขึ้นในช่วงปี 2477 ถึงปี 2478 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังจากกองทัพเรือได้เข้าใช้ที่ดินพิพาทเป็นสนามยิงเป้าตั้งแต่ปี 2458 ตามแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2465 การที่ที่ดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ ขึ้นอยู่ตามสภาพการใช้งาน แม้ไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆ แต่เมื่อมีการให้หน่วยงานราชการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินก็ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะได้ การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุเป็นเพียงการรวบรวมที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะมาขึ้นทะเบียนไว้ โดยที่กองทัพเรือได้มีเจตนาหวงห้ามหรือสงวนที่ดินสนามยิงเป้านี้ไว้เพื่อใช้ในกิจการของกองทัพเรือตั้งแต่ปี 2458 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการอันต่อมาถือว่าเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) ในเวลาต่อมาแล้ว และโดยเฉพาะประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 ตรี วรรคหนึ่ง “ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ อธิบดีอาจจัดให้มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเพื่อแสดงเขตไว้เป็นหลักฐาน” และวรรคสาม “ที่ดินตามวรรคหนึ่งแปลงใดยังไม่มีหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง เขตของที่ดินดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักฐานของทางราชการ” จึงต้องถือว่าแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 และแผนที่เอกสารหมาย จ. 21/1 (จ. 21 แผ่นที่ 6) อันเป็นหลักฐานของทางราชการเป็นแผนที่เพื่อแสดงขอบเขตของสนามยิงเป้า เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (2) นอกจากนี้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ของนายเพา นายหง และนายทิว นั้น ตามพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน รัตนโกสินทร์ ศก 127 มาตรา 36 ไม่ให้ถือเป็นเหตุที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์พ้นจากความรับผิดชอบและความจำเป็น จะต้องประพฤติตามพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งบังคับในการที่ดิน คือ ในการเก็บภาษีอากรและการที่รัฐบาลจะต้องการที่เพื่อราชการหรือเพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นต้น และมาตรา 61 หากที่ดินซึ่งกรมการอำเภอได้ออกใบเหยียบย่ำให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดไป แม้ความปรากฏภายหลังว่าเป็นที่ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีความประสงค์จะให้ผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นที่ ๆ รัฐบาลหวงห้าม จะเอาไว้เป็นที่สำหรับประโยชน์ราชการ.. จะไม่ยอมให้ผู้นั้นจองก็ดี... ผู้ถือใบเหยียบย่ำไม่มีอำนาจจะอ้างว่าตนควรจะได้ที่จองนั้นตามประสงค์ ดังนั้น ที่ดินบริเวณสนามยิงเป้าของกองทัพเรือเดิมอันเป็นที่หลวงหวงห้ามเพื่อใช้ในราชการของกองทัพเรือจึงเป็นที่ดินที่รัฐบาลต้องการหวงห้ามเพื่อประโยชน์ราชการ การที่นายเพา นางหง และนายทิว เข้าไปก่นสร้างและขอออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 35 ไม่อาจอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินมาใช้ยันต่อรัฐได้ตามมาตรา 36 และ 61 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะนั้น แม้จำเลยทั้งสี่ได้สืบสิทธิที่ดินพิพาทมาจากนายเพา นายหง และนายทิว โดยการซื้อขายหรือเข้าจับจองมานานเท่าใด ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 และ 1306 โดยที่ที่ดินพิพาทในคดีนี้ได้เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2521 และ 1274 - 1279/2535 โดยเฉพาะคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379 - 8381/2561 และที่ 401/2562 ได้พิพากษาเป็นที่สุดว่า ที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เหมือนกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) โดยขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2465 ซึ่งจำเลยที่ 3 เองก็เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านรับว่าที่ดินพิพาทในคดีดังกล่าวได้แบ่งแยกมาจากที่ดินของนายเพา นายหง และนายทิว เช่นเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ จึงเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง (2) การนำสืบของจำเลยทั้งสี่เป็นการนำสืบโดยใช้วิธีพยายามอธิบายพยานเอกสารให้มีความหมายต่างไปจากที่ปรากฏในพยานเอกสารหรือเป็นการให้ความเห็นเท่านั้น มิได้มีพยานหลักฐานอื่นที่มีน้ำหนักมากกว่ามาแสดงให้เห็นว่า ข้อความในเอกสารที่โจทก์นำสืบไม่ถูกต้องในสาระสำคัญหรือให้ศาลเห็นเป็นประการอื่น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า จึงต้องฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยทั้งสี่เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่อาจหักล้างเป็นอย่างอื่นหรือเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีไปได้ จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับขณะโจทก์ยื่นคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสี่ฟังไม่ขึ้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อเดียวว่า อุทธรณ์ของโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ เห็นว่า คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหาย เดือนละ 44,304 บาท แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินของโจทก์ จำนวนค่าเสียหายเริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้ ถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) เมื่อที่ดินพิพาทในคดีนี้ก็เป็นที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เช่นเดียวกัน จึงเป็นกรณีคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) จำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างว่า มีสิทธิในที่ดินพิพาท จึงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าอย่างไร การนำสืบของจำเลยทั้งสี่เป็นการนำสืบโดยใช้วิธีอธิบายพยานเอกสารให้มีความหมายต่างไปจากที่ปรากฎในพยานเอกสารหรือเป็นการให้ความเห็นเท่านั้น ถือว่าจำเลยทั้งสี่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า จึงต้องฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหาย เดือนละ 44,304 บาท แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินของโจทก์ จำนวนค่าเสียหายจึงเริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้ ถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3325, 3369, 3370 และ 3371 ให้จำเลยทั้งสี่และบริวารขนย้ายทรัพย์สิน รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์ดำเนินการเองโดยจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ห้ามจำเลยทั้งสี่และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดิน ให้จำเลยทั้งสี่ใช้ค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 44,304 บาท นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกไปจากที่ดิน
จำเลยทั้งสี่ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3325, 3369, 3370 และ 3371 เฉพาะส่วนที่ออกทับที่ราชพัสดุ ชบ.465 ของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสี่และบริวารขนย้ายทรัพย์สินกับรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินดังกล่าว ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก
โจทก์และจำเลยทั้งสี่อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนสำหรับจำเลยทั้งสี่และให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยทั้งสี่ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่มีว่า ที่ดินพิพาทออกโฉนดทับที่สนามยิงเป้าอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ เห็นว่า โจทก์นำสืบโดยมีนาวาโทวัลลภ เคยดำรงตำแหน่ง นายทหารที่ดิน กรมสวัสดิการทหารเรือ เบิกความถึงประวัติความเป็นมาของที่ดินสนามยิงเป้า ประกอบหนังสือโต้ตอบของหน่วยราชการเกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินเพิ่ม 8 โฉนดระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2458 (เดิมถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นต้นปี ต่อมาถือวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็นต้นไป ตามสำเนาประกาศคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เอกสารหมาย จ. 24) โดยแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 แนบท้ายหนังสือศาลากลางเมืองชลบุรี ที่ 36/4132 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2458 เอกสารหมาย จ. 18 เป็นหนังสือที่อำมาตย์เอกพระยาประชาไศรยสรเดช ผู้รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี มีไปถึงนายพลเรือตรี ปลัดทูลฉลองกระทรวงทหารเรือ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2458 ในการจัดซื้อที่ดินมีโฉนด 8 แปลง ว่า ได้จัดทำแผนที่ เอกสารหมาย จ. 19 กำหนดขอบเขตของสนามยิงเป้าไว้รวมที่ดิน 8 โฉนด ที่จัดซื้อเพิ่มด้วย ซึ่งต้นฉบับเดิมชำรุดเสียหาย เจ้าพนักงานที่จังหวัดชลบุรีจึงออกใบแทนโฉนดให้ โดยที่ดินมีโฉนด 8 แปลง ดังกล่าวอยู่กระจัดกระจายติดต่อกันบ้างไม่ติดต่อกันบ้างเป็นบางส่วนของพื้นที่สนามยิงเป้า แผนที่เอกสารหมาย จ. 19 เป็นแผนที่ขอบเขตสนามยิงเป้าที่จัดทำขึ้นใน ปี 2458 หนังสือตอบโต้ของหน่วยราชการเอกสารหมาย จ. 11 ถึง จ. 19 ดังกล่าวไม่มีผู้รู้เห็นโดยตรงหลงเหลืออยู่ จะต้องรับฟังจากคำบอกเล่าและเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้เป็นสำคัญ พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า ในปี 2458 กองทัพเรือได้กำหนดขอบเขตพื้นที่สนามยิงเป้าไว้ตามแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 ส่วนแผนที่เอกสารหมาย จ. 21/1 (จ. 21 แผ่นที่ 3 (ที่ถูก แผ่นที่6)) เป็นแผนที่จัดทำในการรังวัดสอบเขตสนามยิงเป้าในปี 2470 กรณีที่ราษฎร 2 รายบุกรุก แนบท้ายหนังสือศาลารัฐบาลมณฑลปราจิณ ที่ 404/16512 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2470 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจิณ กราบทูลมหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงทราบ ต้นฉบับแผนที่มีสภาพเก่า กรมธนารักษ์จึงมอบหมายให้นายนพชัย ทำสำเนาขึ้นใหม่ ซึ่งรูปแผนที่เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 รูปเหมือนกับแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2501 กองทัพเรือขอใช้ที่ดินสนามยิงเป้าอีกครั้งเพื่อประโยชน์ด้านการสวัสดิการทหารเรือ ซึ่งในหนังสือก็ระบุว่า คือ “ด้วยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2465 กองทัพเรือได้ปกครอง…ที่ดินของทางราชการ เพื่อประโยชน์ในราชการทหารเรือในขณะนั้น ที่ดินดังกล่าว คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 3033, 3034, 3035, 3036, 3037, 3038, 3039 และ 2617 กับที่ไม่มีโฉนดบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งใช้เป็นสนามยิงเป้าและกิจการอื่นของกองทัพเรือในขณะนั้น” อันแสดงว่านอกจากที่ดินมีโฉนด 8 แปลง แล้วยังมีที่ดินที่ไม่มีโฉนดรวมเป็นสนามยิงเป้าด้วย เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2502 กระทรวงการคลังไม่ขัดข้องและขอให้สอบสวนกรณีผู้ออกโฉนดทับที่ดินดังกล่าว กองทัพเรือสอบสวนหลวงวินิจสาลี อดีตเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี โดยที่เมื่อประมาณปี 2458 ยังรับราชเป็นนายทะเบียนที่ดินจังหวัดชลบุรี เป็นผู้ไปดูเขตสงวนสนามยิงเป้า กับพระยาประชาไศรยสรเดช ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในสมัยนั้น และเป็นผู้ลงชื่อในแผนที่หมาย จ. 19 ด้วย โดยลงชื่อว่า “นายช้อย” (หลวงวินิจสาลี ชื่อเดิม นายช้อย) และสอบสวนขุนวงศาโรจน์เกษตรสาร อดีตเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีต่อจากหสวงวินิจสาลีเมื่อประมาณ พ.ศ. 2481 และทราบอาณาเขตบริเวณสนามยิงเป้า ทั้งหลวงวินิจสาลีและขุนวงศาโรจน์เกษตรสารรับรองแผนที่เอกสารหมาย จ. 30 และเอกสารหมาย จ. 29 (แผนที่ต่อเนื่องกันเป็นผังเดียว) ตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย จ. 27 และ จ. 28 ซึ่งแผนที่เอกสารหมาย จ. 30 และ จ. 29 (แผนที่ต่อเนื่องกันเป็นผังเดียว) ก็เหมือนกับแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 และแผนที่เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 เมื่อพิจารณาระวาง 36ต 11ฏ เอกสารหมาย ล. 22 ที่จำเลยทั้งสี่อ้างเข้ามาในสำนวน ที่ดินพิพาทระบายด้วยสีชมพู โดยนำไปเทียบกับระวาง 36ต 11ฏ ปี 2496 เอกสารหมาย จ. 29 ซึ่งรับรองแนวเขตสนามยิงเป้าโดยหลวงวินิจสาลีเมื่อปี 2502 และขุนวงศาโรจน์เกษตรสารเมื่อ ปี 2503 ตามบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย จ. 27 และ จ. 28 ตามลำดับ และนำไปเทียบกับแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 ปี 2458 ซึ่งจัดทำโดยขุนวินิจสาลีแล้ว ที่พิพาทอยู่ในเขตสนามยิงเป้า โดยแผนที่เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 ถูกใช้ในการทำแผนที่พิพาทเอกสารหมาย ล. 7 จำเลยทั้งสี่เองก็รับรองแผนที่พิพาทนี้ไว้แล้วในรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 โดยจำเลยทั้งสี่แถลงขอใช้แผนที่พิพาทเอกสารหมาย ล. 7 กรณีจึงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่เขตของที่ดินตามแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 จ. 21/1 (จ. 21 แผ่นที่ 6)
ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า แผนที่เอกสารหมาย จ. 19 แผนที่เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 3 (ที่ถูก แผ่นที่ 6) (คัดลอกมาจากเอกสารหมาย จ. 21/1) ที่โจทก์อ้างว่าเป็นแผนที่สนามยิงเป้าบางพระของกองทัพเรือที่รังวัดจัดทำขึ้นในปี 2470 เป็นความเท็จ แผนที่ดังกล่าวไม่มีอยู่จริงนั้น เห็นว่า ตามรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 26 ธันวาคม 2560 ระบุว่า “เจ้าหน้าที่กรมธนารักษ์ได้นำต้นฉบับเอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 มาอ้างต่อศาลเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจดู แต่ต้นฉบับเอกสารดังกล่าวมีสภาพเก่ามาก ฉีกขาดออกเป็นส่วน ๆ เจ้าหน้าที่กรมธนารักษ์จึงได้นำต้นฉบับเอกสารที่ฉีกขาดดังกล่าวมาปะติดปะต่อกับสำเนาแผนที่ฉบับใหญ่เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจดูความถูกต้อง เสร็จแล้วได้ขอคืนต้นฉบับดังกล่าว คู่ความอีกฝ่ายตรวจดูต้นฉบับกับสำเนาแผนที่ฉบับใหญ่แล้ว โจทก์จึงขออ้างส่งเพิ่มเติม ศาลหมาย จ. 21/1” อันเป็นการที่ฝ่ายจำเลยทั้งสี่ได้ตรวจดูกับต้นฉบับแผนที่แนบท้ายหนังสือศาลารัฐบาลมณฑลปราจิณ ที่ 404/16512 วันที่ 29 ธันวาคม 2470 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจิณ กราบทูล มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงทราบ ในการรังวัดสอบเขตเนื่องจากมีผู้บุกรุกเขตสนามยิงเป้า อันแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่จริงของต้นฉบับแผนที่ เอกสารหมาย จ. 21 แผ่นที่ 6 แล้ว
ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า นางสมบุญครอบครองและทำประโยชน์จนได้สิทธิในที่ดินพิพาท เดิมที่ดินพิพาทเป็นแปลงเลขที่ 137 และต่อมานายเพา นายทิว และนายหง ต่างคนต่างเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อเนื่องเรื่อยมานั้น ตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ หน้า 84 รับว่า “ระหว่างปี 2469 ถึงปี 2476 วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด นางสมบุญได้ละทิ้งที่ดินพิพาทไปซึ่งตามกฎหมายที่ดินถือว่าสละการครอบครอง หลังจากนั้นมีนายเพา นายทิว นายหง ต่างคนต่างเข้าครอบครองและทำประโยชน์โดยทำนาและปลูกสับปะรดในที่ดินบางส่วนของที่ดินเลขที่ 137 ตามกฎหมายที่ดินถือว่า เป็นการสืบสิทธิการครอบครองที่ดินแปลงเลขที่ 137 ต่อจากนางสมบุญ” รวมทั้งจำเลยที่ 3 ก็ตอบทนายโจทก์ถามค้านยอมรับว่า นายเพาได้ก่นสร้างเข้าครอบครอง ไม่ได้อ้างว่าได้ครอบครองต่อจากนางสมบุญ ถือว่าจำเลยทั้งสี่รับข้อเท็จจริงแล้วว่านางสมบุญได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ยิ่งกว่านั้น แม้จำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินเลขที่ 137 ของนางสมบุญ แต่ก็ไม่ปรากฎว่า นายเพา นายหง และนายทิวได้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจากนางสมบุญ แต่อย่างใด กลับปรากฏว่ามีการออกโฉนดเลขที่ 3325 ให้แก่นายเพา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2487 ออกโฉนดเลขที่ 3327 ให้แก่นายหง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2487 และออกโฉนดเลขที่ 3393 ให้แก่นายทิว เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2488 โดยนายเพาให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2486 ว่า ได้ที่ดินมาโดยการก่นสร้างทำประโยชน์มาประมาณ 9 ปี นายหงให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2487 ว่า ได้ที่ดินโดยเข้าก่นสร้างตั้งแต่ปี 2478 และบางส่วนซื้อมาจากนายตานเมื่อปี 2486 ไม่มีหนังสือสัญญาต่อกัน และนายทิวให้ถ้อยคำเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2487 ว่า เข้าก่นสร้างถากถางมาประมาณ 10 ปี ทั้งสามมิได้อ้างว่าครอบครองที่ดินพิพาทต่อจากนางสมบุญแต่อย่างใด จึงเป็นการที่นายเพา นายหงและนายทิวเริ่มต้นเข้าถือครองที่ดินพิพาทด้วยตนเอง ไม่ใช่การสืบสิทธิต่อจากบุคคลใด เห็นว่า การก่นสร้างคือการขุดโค่นต้นไม้ตอไม้และแผ้วถางเพื่อปลูกสร้าง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 7) ต่างจากการสืบสิทธิคือการถือสิทธิต่อเนื่องเป็นลำดับ ดังนั้น ไม่ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นแปลงเดียวกับที่นางสมบุญครอบครองหรือไม่ การที่นายเพา นายหง และนายทิวเข้าก่นสร้างในที่ดินพิพาทก็ไม่ใช่การสืบสิทธิดังที่จำเลยทั้งสี่กล่าวอ้างแต่อย่างใด จึงไม่อาจเป็นการสืบสิทธิของบุคคลใดๆ ได้ การเข้าก่นสร้างของบุคคลทั้งสามล้วนเกิดขึ้นในช่วงปี 2477 ถึงปี 2478 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังจากกองทัพเรือได้เข้าใช้ที่ดินพิพาทเป็นสนามยิงเป้าตั้งแต่ปี 2458 ตามแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2465 การที่ที่ดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ ขึ้นอยู่ตามสภาพการใช้งาน แม้ไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆ แต่เมื่อมีการให้หน่วยงานราชการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินก็ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะได้ การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุเป็นเพียงการรวบรวมที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะมาขึ้นทะเบียนไว้ โดยที่กองทัพเรือได้มีเจตนาหวงห้ามหรือสงวนที่ดินสนามยิงเป้านี้ไว้เพื่อใช้ในกิจการของกองทัพเรือตั้งแต่ปี 2458 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการอันต่อมาถือว่าเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) ในเวลาต่อมาแล้ว และโดยเฉพาะประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 ตรี วรรคหนึ่ง “ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ อธิบดีอาจจัดให้มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเพื่อแสดงเขตไว้เป็นหลักฐาน” และวรรคสาม “ที่ดินตามวรรคหนึ่งแปลงใดยังไม่มีหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง เขตของที่ดินดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักฐานของทางราชการ” จึงต้องถือว่าแผนที่เอกสารหมาย จ. 19 และแผนที่เอกสารหมาย จ. 21/1 (จ. 21 แผ่นที่ 6) อันเป็นหลักฐานของทางราชการเป็นแผนที่เพื่อแสดงขอบเขตของสนามยิงเป้า เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 และตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (2) นอกจากนี้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ของนายเพา นายหง และนายทิว นั้น ตามพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน รัตนโกสินทร์ ศก 127 มาตรา 36 ไม่ให้ถือเป็นเหตุที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์พ้นจากความรับผิดชอบและความจำเป็น จะต้องประพฤติตามพระราชกำหนดกฎหมายซึ่งบังคับในการที่ดิน คือ ในการเก็บภาษีอากรและการที่รัฐบาลจะต้องการที่เพื่อราชการหรือเพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นต้น และมาตรา 61 หากที่ดินซึ่งกรมการอำเภอได้ออกใบเหยียบย่ำให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดไป แม้ความปรากฏภายหลังว่าเป็นที่ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีความประสงค์จะให้ผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นที่ ๆ รัฐบาลหวงห้าม จะเอาไว้เป็นที่สำหรับประโยชน์ราชการ.. จะไม่ยอมให้ผู้นั้นจองก็ดี... ผู้ถือใบเหยียบย่ำไม่มีอำนาจจะอ้างว่าตนควรจะได้ที่จองนั้นตามประสงค์ ดังนั้น ที่ดินบริเวณสนามยิงเป้าของกองทัพเรือเดิมอันเป็นที่หลวงหวงห้ามเพื่อใช้ในราชการของกองทัพเรือจึงเป็นที่ดินที่รัฐบาลต้องการหวงห้ามเพื่อประโยชน์ราชการ การที่นายเพา นางหง และนายทิว เข้าไปก่นสร้างและขอออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 35 ไม่อาจอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินมาใช้ยันต่อรัฐได้ตามมาตรา 36 และ 61 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะนั้น แม้จำเลยทั้งสี่ได้สืบสิทธิที่ดินพิพาทมาจากนายเพา นายหง และนายทิว โดยการซื้อขายหรือเข้าจับจองมานานเท่าใด ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 และ 1306 โดยที่ที่ดินพิพาทในคดีนี้ได้เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2521 และ 1274 - 1279/2535 โดยเฉพาะคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8379 - 8381/2561 และที่ 401/2562 ได้พิพากษาเป็นที่สุดว่า ที่ดินที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 3325 เหมือนกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) โดยขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2465 ซึ่งจำเลยที่ 3 เองก็เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านรับว่าที่ดินพิพาทในคดีดังกล่าวได้แบ่งแยกมาจากที่ดินของนายเพา นายหง และนายทิว เช่นเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ จึงเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง (2) การนำสืบของจำเลยทั้งสี่เป็นการนำสืบโดยใช้วิธีพยายามอธิบายพยานเอกสารให้มีความหมายต่างไปจากที่ปรากฏในพยานเอกสารหรือเป็นการให้ความเห็นเท่านั้น มิได้มีพยานหลักฐานอื่นที่มีน้ำหนักมากกว่ามาแสดงให้เห็นว่า ข้อความในเอกสารที่โจทก์นำสืบไม่ถูกต้องในสาระสำคัญหรือให้ศาลเห็นเป็นประการอื่น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า จึงต้องฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยทั้งสี่เป็นฎีกาที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่อาจหักล้างเป็นอย่างอื่นหรือเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีไปได้ จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับขณะโจทก์ยื่นคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสี่ฟังไม่ขึ้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อเดียวว่า อุทธรณ์ของโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ เห็นว่า คำขอท้ายฟ้องที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหาย เดือนละ 44,304 บาท แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินของโจทก์ จำนวนค่าเสียหายเริ่มต้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคตย่อมไม่อาจคำนวณค่าเสียหายเป็นจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ได้ ถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การที่ผู้เสียหายทั้งหกมาเบิกความภายหลังแม้จะขัดแย้งกับคำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้อง แต่ก็เป็นการเบิกความเพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่างชัดว่ามีเหตุผลอย่างไรทำไมถึงให้การชั้นสอบสวนและเบิกความต่อศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงไว้เช่นนั้น หาใช่เป็นการเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยดังที่โจทก์ฎีกาไม่ แม้คดีอยู่ระหว่างสืบพยานจำเลย ซึ่งโดยพลการหรือคู่ความฝ่ายใดร้องขอ ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมจะสืบเองหรือส่งประเด็นก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 228 และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 120 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ถ้าคู่ความฝ่ายใดอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างไม่ควรรับฟัง โดยเหตุผลซึ่งศาลเห็นว่ามีมูล ศาลอาจยอมให้คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนได้แล้วแต่จะเห็นควร คดีนี้จำเลยนำสืบปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ให้การชั้นสอบสวนและเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องไปโดยถูกควบคุมตัว ข่มขู่ ไม่ให้กลับบ้านและพบบิดามารดา คำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความดังกล่าวไม่ควรรับฟัง เมื่อทนายจำเลยแถลงขอสืบพยานผู้เสียหายทั้งหก หากศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่สามารถพิสูจน์ความจริงได้และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยนำผู้เสียหายทั้งหกเข้าเบิกความตามมาตราดังกล่าวข้างต้น และมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาได้ หาจำต้องให้จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่
โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 11, 12, 13, 18, 62, 81 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 278, 279 นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ย 407/2563 และหมายเลขดำที่ ย 520/2564 ของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11, 18 วรรคสอง, 62 วรรคหนึ่ง, 81 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 เดือน ฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 เดือน รวมจำคุก 8 เดือน นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ย 407/2563 หมายเลขแดงที่ ย 555/2564 และคดีอาญาหมายเลขดำที่ ย 520/2564 หมายเลขแดงที่ ย 268/2565 ของศาลชั้นต้น ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุนาย พ. ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 16 ปีเศษ เด็กชาย ซ. ผู้เสียหายที่ 2 อายุ 13 ปีเศษ เด็กชาย ว. ผู้เสียหายที่ 3 อายุ 13 ปีเศษ เด็กชาย ย. ผู้เสียหายที่ 4 อายุ 13 ปีเศษ นาย ข. ผู้เสียหายที่ 5 อายุ 15 ปีเศษ เด็กชาย ต. ผู้เสียหายที่ 6 อายุ 13 ปีเศษ แพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียหายทั้งหกไม่พบบาดแผลที่ทวารหนักและอวัยวะเพศ ไม่พบตัวอสุจิและส่วนประกอบของน้ำอสุจิที่ปากทวารหนัก ทั้งไม่พบหลักฐานการกระทำชำเราผู้เสียหายทั้งหก ชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ สำหรับความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี กระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้อวัยวะอื่นซึ่งไม่ใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำทวารหนักของเด็ก และกระทำอนาจารแก่เด็กอายุกว่าสิบห้าปีโดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ตามฟ้องข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.6 หรือไม่ เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงได้ความจากพยานโจทก์ว่า ผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ให้การต่อพนักงานสอบสวน และเบิกความเป็นพยานโจทก์ชั้นสืบพยานก่อนฟ้องในทำนองว่า ผู้เสียหายทั้งหกถูกจำเลย กอด จูบ ดูดปาก จับและอมอวัยวะเพศ และใช้นิ้วมือล่วงล้ำทวารหนักของผู้เสียหายที่ 6 อันเป็นการกระทำอนาจาร เด็กหญิง อ. เคยเห็นจำเลยกอดจูบเด็กคนอื่น และนางสาว พ. กับนางสาว น. เบิกความว่า พยานทั้งสองร่วมกันสอบข้อเท็จจริงผู้เสียหายทั้งหก และเด็กหญิง อ. โดยผู้เสียหายที่ 6 ให้การว่า ถูกจำเลยล่วงละเมิดทางเพศด้วยการกอด จูบ จับอวัยวะเพศและใช้นิ้วสอดใส่ทวารหนัก จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลย แต่ผู้เสียหายทั้งหกกลับเบิกความเป็นพยานจำเลยว่า จำเลยไม่เคยกระทำอนาจารหรือล่วงละเมิดทางเพศกับผู้เสียหายทั้งหก ผู้เสียหายทั้งหกถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจภูธร 14 วัน เหตุที่ผู้เสียหายทั้งหกให้การต่อพนักงานสอบสวนและเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องว่าถูกจำเลยกระทำอนาจาร เนื่องจากผู้เสียหายทั้งหกถูกข่มขู่ว่าหากไม่ให้การและเบิกความเช่นนั้นจะติดคุก ถูกทำร้าย กักขัง ไม่ให้กลับบ้านพบกับบิดามารดาผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. เกิดความกลัวจึงให้การและเบิกความไปเช่นนั้น ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของนางสาว น. และพันตำรวจโท ธ. พยานโจทก์ว่า มีการนำผู้เสียหายทั้งหกไปที่สถานีตำรวจภูธร และคำให้การชั้นสอบสวนของนาง อ. มารดาผู้เสียหายที่ 3 นาง ม. มารดาผู้เสียหายที่ 2 นาง จ. มารดาผู้เสียหายที่ 6 นางสาว ซ. พี่สาวผู้เสียหายที่ 5 ทำนองเดียวกันว่า ทราบเรื่องผู้เสียหายทั้งหกถูกจับหรือถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจภูธร และคำเบิกความของนาง จ.ว่า ผู้เสียหายที่ 6 ถูกควบคุมตัว 14 วัน ผู้เสียหายที่ 6 เล่าให้ฟังว่า เจ้าหน้าที่บอกผู้เสียหายที่ 6 พูดตามที่เจ้าหน้าที่ต้องการ มิฉะนั้นจะถูกจับกุมดำเนินคดี ผู้เสียหายที่ 6 หวาดกลัวนั้น เชื่อได้ว่าการสอบคำให้การชั้นสอบสวนและการเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. เกิดขึ้นระหว่างที่ถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจภูธร มีการจูงใจ ขู่เข็ญ หลอกลวง และทำร้ายร่างกาย การที่ผู้เสียหายทั้งหกมาเบิกความภายหลังแม้จะขัดแย้งกับคำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้อง แต่ก็เป็นการเบิกความเพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่างชัดว่ามีเหตุผลอย่างไรทำไมถึงให้การในชั้นสอบสวนและเบิกความต่อศาลชั้นต้นที่ฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงไว้เช่นนั้น หาใช่เป็นการเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่ แม้คดีอยู่ระหว่างสืบพยานจำเลยซึ่งโดยพลการหรือคู่ความฝ่ายใดร้องขอ ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมจะสืบเองหรือส่งประเด็นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 120 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ถ้าคู่ความฝ่ายใดอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างไม่ควรเชื่อฟัง โดยเหตุผลซึ่งศาลเห็นว่ามีมูล ศาลอาจยอมให้คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนได้แล้วแต่จะเห็นควร คดีนี้จำเลยนำสืบปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ให้การชั้นสอบสวนและเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องไปโดยถูกควบคุมตัว ข่มขู่ ไม่ให้กลับบ้านและพบบิดามารดา คำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความดังกล่าวไม่ควรเชื่อฟัง เมื่อทนายจำเลยแถลงขอสืบพยานผู้เสียหายทั้งหก หากศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่สามารถพิสูจน์ความจริงได้และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยนำผู้เสียหายทั้งหกเข้าเบิกความตามมาตราดังกล่าวข้างต้น และมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาได้ หาจำต้องให้จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่ เมื่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บัญญัติว่า “พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น...” แต่พฤติการณ์ในคดีนี้พยานบุคคลและพยานเอกสารซึ่งเป็นผู้เสียหายทั้งหก และเด็กหญิง อ. ยังเป็นผู้เยาว์มีอายุไม่มากและอ่อนประสบการณ์ถูกควบคุมตัวโดยมีคนดูแลและปิดประตูล็อกไว้ การสอบคำให้การชั้นสอบสวนและการเบิกความต่อศาลชั้นต้นสืบพยานก่อนฟ้องอาจเป็นไปตามที่ผู้ควบคุมหรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องการได้ แม้จะมีการสอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ต่อหน้านักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ แต่ตามคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 บุคคลที่เด็กร้องขอหรือผู้ที่ไว้วางใจได้ลงลายชื่อในฐานะล่ามแปลด้วย โดยผู้เสียหายที่ 6 เบิกความโต้แย้งว่า มีล่ามข่มขู่จะให้เจ้าพนักงานตำรวจพาไปติดคุกหากไม่เบิกความว่า จำเลยกระทำอนาจาร ทำให้มีข้อระแวงสงสัยว่าคำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ได้ให้การและเบิกความไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เนื่องจากเมื่อผู้เสียหายทั้งหก และเด็กหญิง อ. ให้การและเบิกความต่อศาลชั้นต้นแล้วยังถูกนำไปควบคุมตัวต่ออีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักในการสอบสวนคดีอาญาโดยทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติมาตราใดให้มีการควบคุมตัวผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ซึ่งเป็นพยานไว้ก่อนแล้วเอาตัวมาเบิกความต่อศาล แต่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการหากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าพยานบุคคลจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง...อันเป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบในภายหน้าจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสืบพยานนั้นไว้ทันทีก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ การควบคุมตัวดังกล่าวย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิตร่างกายของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ซึ่งเป็นพยาน ประกอบกับการจับกุมและการคุมขังบุคคลดังกล่าวจะทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ทั้งในคดีอาญาโจทก์มีภาระการพิสูจน์ และศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง โดยจะไม่พิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคหนึ่ง ซึ่งคดีนี้ความผิดตามฟ้องโจทก์มีอัตราโทษจำคุกสูงถึงยี่สิบปี พยานโจทก์จะต้องชัดแจ้ง หนักแน่น มั่นคงโดยไม่มีข้อตำหนิใด ๆ ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ได้ ลักษณะแห่งคดีอยู่ในวิสัยที่โจทก์สามารถหาพยานหลักฐานด้วยวิธีการอันสุจริตและชอบด้วยกฎหมายมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ การรับฟังพยานหลักฐานโจทก์ที่ได้มาจากการแสวงหามาโดยมิชอบเท่ากับอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาเพิ่มเติมในส่วนที่ตนนำสืบบกพร่องไว้ เพื่อจะลงโทษจำเลยแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลของจำเลยและกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานของการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป เมื่อการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานโจทก์ ศาลต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่นมีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง แต่พยานโจทก์ซึ่งเป็นคำเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องและคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ต้องห้ามมิให้รับฟังดังที่วินิจฉัยข้างต้นแล้ว พยานโจทก์ส่วนที่เหลือมีเพียงนางสาว พ. นางสาว น. และพันตำรวจโท ธ. ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำความผิด และผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ ไม่พบบาดแผลที่ทวารหนัก อวัยวะเพศ ไม่พบตัวอสุจิ ส่วนประกอบของน้ำอสุจิที่ปากทวารหนัก ภายในทวารหนักและไม่พบหลักฐานการกระทำชำเราของผู้เสียหายทั้งหก ส่วนสาเหตุที่นางสาว พ. เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตากไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากบุคคลไม่ทราบชื่อมิใช่ผู้เสียหายทั้งหกหรือบิดามารดาของผู้เสียหายทั้งหก โดยผู้เสียหายทั้งหกไม่เคยเล่าเรื่องราวที่ถูกจำเลยกระทำอนาจารให้บิดามารดาหรือบุคคลอื่นล่วงรู้จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติวิสัยอย่างยิ่งหากมีการถูกกระทำอนาจารจริง ทั้งยังได้ความจากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 เบิกความตอบทนายผู้ต้องหาถามค้านชั้นสืบพยานก่อนฟ้องทำนองเดียวกันว่า ไม่อยากให้จำเลยถูกดำเนินคดี และอยากไปอยู่กับจำเลยอีก น่าเชื่อว่าจำเลยอาจถูกกลั่นแกล้งแจ้งความให้ดำเนินคดีตามข้อต่อสู้ของจำเลยก็เป็นได้ ประกอบกับจำเลยก็ให้การปฏิเสธมาตลอด ดังนั้น พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ถึง 1.6 หรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
การที่ผู้เสียหายทั้งหกมาเบิกความภายหลังแม้จะขัดแย้งกับคำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้อง แต่ก็เป็นการเบิกความเพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่างชัดว่ามีเหตุผลอย่างไรทำไมถึงให้การชั้นสอบสวนและเบิกความต่อศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงไว้เช่นนั้น หาใช่เป็นการเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยดังที่โจทก์ฎีกาไม่ แม้คดีอยู่ระหว่างสืบพยานจำเลย ซึ่งโดยพลการหรือคู่ความฝ่ายใดร้องขอ ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมจะสืบเองหรือส่งประเด็นก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 228 และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 120 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ถ้าคู่ความฝ่ายใดอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างไม่ควรรับฟัง โดยเหตุผลซึ่งศาลเห็นว่ามีมูล ศาลอาจยอมให้คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนได้แล้วแต่จะเห็นควร คดีนี้จำเลยนำสืบปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ให้การชั้นสอบสวนและเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องไปโดยถูกควบคุมตัว ข่มขู่ ไม่ให้กลับบ้านและพบบิดามารดา คำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความดังกล่าวไม่ควรรับฟัง เมื่อทนายจำเลยแถลงขอสืบพยานผู้เสียหายทั้งหก หากศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่สามารถพิสูจน์ความจริงได้และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยนำผู้เสียหายทั้งหกเข้าเบิกความตามมาตราดังกล่าวข้างต้น และมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาได้ หาจำต้องให้จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่
โจทก์ฟ้องและแก้ไขฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 11, 12, 13, 18, 62, 81 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 278, 279 นับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ย 407/2563 และหมายเลขดำที่ ย 520/2564 ของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11, 18 วรรคสอง, 62 วรรคหนึ่ง, 81 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 เดือน ฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 4 เดือน รวมจำคุก 8 เดือน นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขดำที่ ย 407/2563 หมายเลขแดงที่ ย 555/2564 และคดีอาญาหมายเลขดำที่ ย 520/2564 หมายเลขแดงที่ ย 268/2565 ของศาลชั้นต้น ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุนาย พ. ผู้เสียหายที่ 1 อายุ 16 ปีเศษ เด็กชาย ซ. ผู้เสียหายที่ 2 อายุ 13 ปีเศษ เด็กชาย ว. ผู้เสียหายที่ 3 อายุ 13 ปีเศษ เด็กชาย ย. ผู้เสียหายที่ 4 อายุ 13 ปีเศษ นาย ข. ผู้เสียหายที่ 5 อายุ 15 ปีเศษ เด็กชาย ต. ผู้เสียหายที่ 6 อายุ 13 ปีเศษ แพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียหายทั้งหกไม่พบบาดแผลที่ทวารหนักและอวัยวะเพศ ไม่พบตัวอสุจิและส่วนประกอบของน้ำอสุจิที่ปากทวารหนัก ทั้งไม่พบหลักฐานการกระทำชำเราผู้เสียหายทั้งหก ชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ สำหรับความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี กระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้อวัยวะอื่นซึ่งไม่ใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำทวารหนักของเด็ก และกระทำอนาจารแก่เด็กอายุกว่าสิบห้าปีโดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ตามฟ้องข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.6 หรือไม่ เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงได้ความจากพยานโจทก์ว่า ผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ให้การต่อพนักงานสอบสวน และเบิกความเป็นพยานโจทก์ชั้นสืบพยานก่อนฟ้องในทำนองว่า ผู้เสียหายทั้งหกถูกจำเลย กอด จูบ ดูดปาก จับและอมอวัยวะเพศ และใช้นิ้วมือล่วงล้ำทวารหนักของผู้เสียหายที่ 6 อันเป็นการกระทำอนาจาร เด็กหญิง อ. เคยเห็นจำเลยกอดจูบเด็กคนอื่น และนางสาว พ. กับนางสาว น. เบิกความว่า พยานทั้งสองร่วมกันสอบข้อเท็จจริงผู้เสียหายทั้งหก และเด็กหญิง อ. โดยผู้เสียหายที่ 6 ให้การว่า ถูกจำเลยล่วงละเมิดทางเพศด้วยการกอด จูบ จับอวัยวะเพศและใช้นิ้วสอดใส่ทวารหนัก จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลย แต่ผู้เสียหายทั้งหกกลับเบิกความเป็นพยานจำเลยว่า จำเลยไม่เคยกระทำอนาจารหรือล่วงละเมิดทางเพศกับผู้เสียหายทั้งหก ผู้เสียหายทั้งหกถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจภูธร 14 วัน เหตุที่ผู้เสียหายทั้งหกให้การต่อพนักงานสอบสวนและเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องว่าถูกจำเลยกระทำอนาจาร เนื่องจากผู้เสียหายทั้งหกถูกข่มขู่ว่าหากไม่ให้การและเบิกความเช่นนั้นจะติดคุก ถูกทำร้าย กักขัง ไม่ให้กลับบ้านพบกับบิดามารดาผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. เกิดความกลัวจึงให้การและเบิกความไปเช่นนั้น ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของนางสาว น. และพันตำรวจโท ธ. พยานโจทก์ว่า มีการนำผู้เสียหายทั้งหกไปที่สถานีตำรวจภูธร และคำให้การชั้นสอบสวนของนาง อ. มารดาผู้เสียหายที่ 3 นาง ม. มารดาผู้เสียหายที่ 2 นาง จ. มารดาผู้เสียหายที่ 6 นางสาว ซ. พี่สาวผู้เสียหายที่ 5 ทำนองเดียวกันว่า ทราบเรื่องผู้เสียหายทั้งหกถูกจับหรือถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจภูธร และคำเบิกความของนาง จ.ว่า ผู้เสียหายที่ 6 ถูกควบคุมตัว 14 วัน ผู้เสียหายที่ 6 เล่าให้ฟังว่า เจ้าหน้าที่บอกผู้เสียหายที่ 6 พูดตามที่เจ้าหน้าที่ต้องการ มิฉะนั้นจะถูกจับกุมดำเนินคดี ผู้เสียหายที่ 6 หวาดกลัวนั้น เชื่อได้ว่าการสอบคำให้การชั้นสอบสวนและการเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. เกิดขึ้นระหว่างที่ถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจภูธร มีการจูงใจ ขู่เข็ญ หลอกลวง และทำร้ายร่างกาย การที่ผู้เสียหายทั้งหกมาเบิกความภายหลังแม้จะขัดแย้งกับคำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้อง แต่ก็เป็นการเบิกความเพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่างชัดว่ามีเหตุผลอย่างไรทำไมถึงให้การในชั้นสอบสวนและเบิกความต่อศาลชั้นต้นที่ฝ่าฝืนต่อความเป็นจริงไว้เช่นนั้น หาใช่เป็นการเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่ แม้คดีอยู่ระหว่างสืบพยานจำเลยซึ่งโดยพลการหรือคู่ความฝ่ายใดร้องขอ ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมจะสืบเองหรือส่งประเด็นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 120 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ถ้าคู่ความฝ่ายใดอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างไม่ควรเชื่อฟัง โดยเหตุผลซึ่งศาลเห็นว่ามีมูล ศาลอาจยอมให้คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนได้แล้วแต่จะเห็นควร คดีนี้จำเลยนำสืบปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า ผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ให้การชั้นสอบสวนและเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องไปโดยถูกควบคุมตัว ข่มขู่ ไม่ให้กลับบ้านและพบบิดามารดา คำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความดังกล่าวไม่ควรเชื่อฟัง เมื่อทนายจำเลยแถลงขอสืบพยานผู้เสียหายทั้งหก หากศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่สามารถพิสูจน์ความจริงได้และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยนำผู้เสียหายทั้งหกเข้าเบิกความตามมาตราดังกล่าวข้างต้น และมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาได้ หาจำต้องให้จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาแต่อย่างใดไม่ เมื่อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 บัญญัติว่า “พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น...” แต่พฤติการณ์ในคดีนี้พยานบุคคลและพยานเอกสารซึ่งเป็นผู้เสียหายทั้งหก และเด็กหญิง อ. ยังเป็นผู้เยาว์มีอายุไม่มากและอ่อนประสบการณ์ถูกควบคุมตัวโดยมีคนดูแลและปิดประตูล็อกไว้ การสอบคำให้การชั้นสอบสวนและการเบิกความต่อศาลชั้นต้นสืบพยานก่อนฟ้องอาจเป็นไปตามที่ผู้ควบคุมหรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องการได้ แม้จะมีการสอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ต่อหน้านักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ แต่ตามคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 บุคคลที่เด็กร้องขอหรือผู้ที่ไว้วางใจได้ลงลายชื่อในฐานะล่ามแปลด้วย โดยผู้เสียหายที่ 6 เบิกความโต้แย้งว่า มีล่ามข่มขู่จะให้เจ้าพนักงานตำรวจพาไปติดคุกหากไม่เบิกความว่า จำเลยกระทำอนาจาร ทำให้มีข้อระแวงสงสัยว่าคำให้การชั้นสอบสวนและคำเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ได้ให้การและเบิกความไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เนื่องจากเมื่อผู้เสียหายทั้งหก และเด็กหญิง อ. ให้การและเบิกความต่อศาลชั้นต้นแล้วยังถูกนำไปควบคุมตัวต่ออีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักในการสอบสวนคดีอาญาโดยทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติมาตราใดให้มีการควบคุมตัวผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ซึ่งเป็นพยานไว้ก่อนแล้วเอาตัวมาเบิกความต่อศาล แต่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการหากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าพยานบุคคลจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง...อันเป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบในภายหน้าจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสืบพยานนั้นไว้ทันทีก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ การควบคุมตัวดังกล่าวย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิตร่างกายของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ซึ่งเป็นพยาน ประกอบกับการจับกุมและการคุมขังบุคคลดังกล่าวจะทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ทั้งในคดีอาญาโจทก์มีภาระการพิสูจน์ และศาลต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง โดยจะไม่พิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคหนึ่ง ซึ่งคดีนี้ความผิดตามฟ้องโจทก์มีอัตราโทษจำคุกสูงถึงยี่สิบปี พยานโจทก์จะต้องชัดแจ้ง หนักแน่น มั่นคงโดยไม่มีข้อตำหนิใด ๆ ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ได้ ลักษณะแห่งคดีอยู่ในวิสัยที่โจทก์สามารถหาพยานหลักฐานด้วยวิธีการอันสุจริตและชอบด้วยกฎหมายมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ การรับฟังพยานหลักฐานโจทก์ที่ได้มาจากการแสวงหามาโดยมิชอบเท่ากับอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาเพิ่มเติมในส่วนที่ตนนำสืบบกพร่องไว้ เพื่อจะลงโทษจำเลยแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลของจำเลยและกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานของการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป เมื่อการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานโจทก์ ศาลต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่นมีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง แต่พยานโจทก์ซึ่งเป็นคำเบิกความชั้นสืบพยานก่อนฟ้องและคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายทั้งหกและเด็กหญิง อ. ต้องห้ามมิให้รับฟังดังที่วินิจฉัยข้างต้นแล้ว พยานโจทก์ส่วนที่เหลือมีเพียงนางสาว พ. นางสาว น. และพันตำรวจโท ธ. ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าไม่รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำความผิด และผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ ไม่พบบาดแผลที่ทวารหนัก อวัยวะเพศ ไม่พบตัวอสุจิ ส่วนประกอบของน้ำอสุจิที่ปากทวารหนัก ภายในทวารหนักและไม่พบหลักฐานการกระทำชำเราของผู้เสียหายทั้งหก ส่วนสาเหตุที่นางสาว พ. เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตากไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากบุคคลไม่ทราบชื่อมิใช่ผู้เสียหายทั้งหกหรือบิดามารดาของผู้เสียหายทั้งหก โดยผู้เสียหายทั้งหกไม่เคยเล่าเรื่องราวที่ถูกจำเลยกระทำอนาจารให้บิดามารดาหรือบุคคลอื่นล่วงรู้จึงเป็นเรื่องที่ผิดปกติวิสัยอย่างยิ่งหากมีการถูกกระทำอนาจารจริง ทั้งยังได้ความจากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 เบิกความตอบทนายผู้ต้องหาถามค้านชั้นสืบพยานก่อนฟ้องทำนองเดียวกันว่า ไม่อยากให้จำเลยถูกดำเนินคดี และอยากไปอยู่กับจำเลยอีก น่าเชื่อว่าจำเลยอาจถูกกลั่นแกล้งแจ้งความให้ดำเนินคดีตามข้อต่อสู้ของจำเลยก็เป็นได้ ประกอบกับจำเลยก็ให้การปฏิเสธมาตลอด ดังนั้น พยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1.1 ถึง 1.6 หรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ผ. และ ม. เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 1625 ได้ยกทางพิพาทให้ทายาทซึ่งเป็นบุตรทั้งแปดคนใช้เข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ก่อนปี 2534 กับทั้งแบ่งที่ดินให้ทายาทครอบครองและสร้างบ้านพักอาศัย เมื่อ ผ. และ ม. ถึงแก่ความตาย ทายาทก็ได้รับโอนมรดกที่ดินมาครอบครองเป็นของตน โดยยังคงใช้ทางพิพาทในการเข้าออกที่ดินตลอดมา ต่อมาทายาทแบ่งแยกที่ดินออกเป็นโฉนดรวม 9 แปลง โดยมีการรังวัดทางพิพาทซึ่งเป็นทางเข้าออกเดิมไว้ชัดเจน ทายาททั้งแปดซึ่งรวมถึงโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 ก็ลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำกรณีประสงค์ขอรังวัดแบ่งแยกในนามเดิม หลังจากนั้นทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดจากเดิมที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันออกเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน โดยทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินมาก็ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ขอรังวัดสอบเขต และขอแบ่งทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ซึ่งทายาทเจ้าของที่ดินข้างเคียงก็ไม่ได้ปฏิเสธไม่รับรู้ว่าไม่มีทางพิพาท มีเพียงจำเลยที่ 4 ที่โต้แย้งเฉพาะเรื่องแนวเขตทางพิพาทเท่านั้น ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องขอให้รอการรังวัดแบ่งหักที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ไว้ก่อน การที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้ทางพิพาทในที่ดินของตน จึงไม่ได้เป็นการใช้ในลักษณะทางภาระจำยอม การใช้ทางพิพาทของทายาทอื่นในลักษณะภาระจำยอมโดยอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2561 ที่มีการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 2 ปีเศษ นับถึงวันฟ้อง ทางพิพาทจึงไม่ได้ตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ
อย่างไรก็ตาม เมื่อทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับทายาทที่ครอบครองที่ดินที่ ผ. และ ม. ยกไว้ให้ก่อนที่ทายาทจะได้รับโอนมรดกมาเป็นของตน จนกระทั่งมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็น 9 แปลง ก็ได้มีการแบ่งแนวเขตทางพิพาทไว้ชัดเจน การที่ทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดินระหว่างกันโดยมีการระบุทางพิพาทมาตั้งแต่ต้นย่อมถือได้ว่าเป็นข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่นตามที่มีการแบ่งแยกไว้ ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและทางพิพาทต่อมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง จึงมีภาระที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนการยกให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นทางพิพาท เนื้อที่ 1 งาน 16.5 ตารางวา ตามรูปแผนที่แบ่งแยกที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ให้จำเลยทั้งสี่ยื่นคำขอรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 เพื่อหักแบ่งเป็นทางพิพาทตามรูปแผนที่แบ่งแยกที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 และจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 โดยจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หากจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการ ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ โดยให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายให้แก่กรมที่ดินจนกว่าชำระเสร็จ และให้จำเลยที่ 4 รื้อกำแพงคอนกรีตที่รุกล้ำทางพิพาท โดยให้จำเลยที่ 4 รับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หากจำเลยที่ 4 ไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลภายนอกมาดำเนินการแทน โดยให้จำเลยที่ 4 ชดใช้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 เพื่อหักแบ่งเป็นทางพิพาทตามรูปแผนที่แบ่งแยกที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 และจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 หากจำเลยที่ 3 ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 และให้จำเลยที่ 4 รื้อกำแพงคอนกรีตที่รุกล้ำทางพิพาทตามรูปแผนที่ดังกล่าว โดยให้จำเลยที่ 4 เสียค่าใช้จ่าย ส่วนคำขอของโจทก์ที่ขอว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินการรื้อแทนจำเลยที่ 4 นั้นให้ยก นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่รับฟังยุติในชั้นฎีการับฟังได้ว่า เดิมทางพิพาทอยู่ในที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา ซึ่งเป็นของนายไผ่ และนางม้วย ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 1625 ต่อมานายไผ่และนางม้วยถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวจึงตกทอดสู่ทายาทของนายไผ่และนางม้วย ซึ่งได้แก่ จำเลยที่ 1 นายกวย นางหวย จำเลยที่ 4 นางสาวกุหลาบ โจทก์ นางนางน้อย และจำเลยที่ 2 ต่อมาปี 2555 ได้มีการขอแบ่งที่ดินและออกโฉนดเป็น 9 แปลง โดยทายาททั้งแปดยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันทุกแปลง ตามที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 ในปี 2560 ทายาทได้มีการฟ้องร้องแบ่งแยกโฉนดที่ดินทั้ง 9 แปลง และตกลงกันได้ โดยให้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ให้แก่จำเลยที่ 4 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ให้แก่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38417 ให้แก่ทายาทนางนางน้อย โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38418 ให้แก่นางสาวกุหลาบ โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38419 และ 38420 ให้แก่จำเลยที่ 2 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38421 ให้แก่ทายาทนายกวย โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38422 ให้แก่โจทก์ และโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38423 ให้แก่นางหวย ส่วนทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 มีเนื้อที่ 1 งาน 16.5 ตารางวา วันที่ 29 สิงหาคม 2563 จำเลยที่ 4 ได้สร้างกำแพงคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่บริเวณปากทางพิพาทในระยะ 2 เมตร คงเหลือทางพิพาทกว้าง 2 เมตร
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ และจำเลยที่ 4 ต้องรื้อกำแพงคอนกรีตหรือไม่ เห็นว่า เดิมทางพิพาทจะอยู่ในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทายาททุกคนมาตั้งแต่ที่ได้รับโอนมรดกมาจากนายไผ่และนางม้วย ต่อมาได้มีการออกโฉนดที่ดินโดยแบ่งแยกออกเป็น 9 แปลง ซึ่งทายาททุกคนก็ต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันทั้ง 9 แปลง การที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้ทางพิพาทในที่ดินของตนดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นการใช้ในลักษณะของทางภาระจำยอม แม้ต่อมามีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ทายาทแต่ละคนในปี 2561 โดยทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 การใช้ทางพิพาทของทายาทอื่นในลักษณะภาระจำยอมโดยอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2561 ที่มีการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันดังกล่าว ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 2 ปี เศษ นับถึงวันฟ้อง ทางพิพาทจึงไม่ได้ตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความ ข้อโต้แย้งของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในประเด็นนี้จึงฟังขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทางพิพาทนั้นเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับทายาทที่ครอบครองที่ดินที่นายไผ่และนางม้วยได้ยกไว้ให้ก่อนที่ทายาทจะได้รับโอนมรดกมาเป็นของตน จนกระทั่งมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็น 9 แปลง ก็ได้มีการแบ่งแนวเขตทางพิพาทไว้ชัดเจนสนับสนุนทางนำสืบของโจทก์เรื่องทางพิพาทดังกล่าว การที่ทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดินระหว่างกันโดยมีการระบุทางพิพาทมาตั้งแต่ต้นย่อมถือได้ว่าเป็นข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่นตามที่มีการแบ่งแยกไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่มีการแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทางพิพาทรวมอยู่ด้วยให้แก่จำเลยที่ 1 และได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันเดียวกันที่จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์มาในวันที่ 23 สิงหาคม 2561 ต่อมาอีก 5 วัน ในวันที่ 27 สิงหาคม 2561 จำเลยที่ 2 ได้ขอรังวัดสอบเขตที่ดินที่ได้รับโอนมาดังกล่าวและวันที่ 11 ตุลาคม 2561 จำเลยที่ 2 ได้ขอให้แบ่งหักทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วยตามบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นหลักฐานที่สอดคล้องและสนับสนุนข้อตกลงของทายาททั้งหมดเรื่องการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของที่ดินอื่นที่มีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไปข้างต้น ทั้งนี้ แม้ขณะที่มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดแต่ละโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่ได้ระบุรายละเอียดของทางพิพาทไว้โดยตรงก็ตาม แต่พอที่จะเข้าใจได้ว่าการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเพื่อยุติข้อพิพาทเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมซึ่งก็เน้นถึงการแบ่งที่ดินเป็นสำคัญ โดยที่สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีข้อความใดที่ระบุให้มีการยกเลิกข้อตกลงการใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกทางสาธารณะแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โต้แย้งว่า ที่จำเลยที่ 2 ขอรังวัดหักแบ่งทางพิพาทนั้น เป็นการหักแบ่งเพื่อเป็นการใช้ทางสาธารณประโยชน์ ไม่ใช่จดทะเบียนให้ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมนั้น เห็นว่า การขอหักแบ่งทางพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินของจำเลยที่ 2 ย่อมแสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงเจตนาดั่งเดิมที่จะให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของผู้อื่น ไม่ว่าจะให้เป็นทางสาธารณประโยชน์หรือทางภาระจำยอมก็ตาม มิได้ทำให้ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมระหว่างทายาทเรื่องทางพิพาทเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เมื่อทางพิพาทดังกล่าวได้มีข้อตกลงของทายาทที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันให้มีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นทางภาระจำยอมแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและทางพิพาทต่อมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง จึงมีภาระที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ก็ต้องห้ามรุกล้ำทางพิพาทที่เป็นทางภาระจำยอมดังกล่าวตามฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรื้อกำแพงคอนกรีตที่อยู่บนทางพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 กำหนดว่า อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 จดทะเบียนทางพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 อันเป็นภารยทรัพย์ให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 ซึ่งรวมถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ด้วย จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 จดทะเบียนทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ตามรูปแผนที่ที่แบ่งแยกซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 เป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 และ 38417 ถึง 38423 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผ. และ ม. เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 1625 ได้ยกทางพิพาทให้ทายาทซึ่งเป็นบุตรทั้งแปดคนใช้เข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ก่อนปี 2534 กับทั้งแบ่งที่ดินให้ทายาทครอบครองและสร้างบ้านพักอาศัย เมื่อ ผ. และ ม. ถึงแก่ความตาย ทายาทก็ได้รับโอนมรดกที่ดินมาครอบครองเป็นของตน โดยยังคงใช้ทางพิพาทในการเข้าออกที่ดินตลอดมา ต่อมาทายาทแบ่งแยกที่ดินออกเป็นโฉนดรวม 9 แปลง โดยมีการรังวัดทางพิพาทซึ่งเป็นทางเข้าออกเดิมไว้ชัดเจน ทายาททั้งแปดซึ่งรวมถึงโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 ก็ลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำกรณีประสงค์ขอรังวัดแบ่งแยกในนามเดิม หลังจากนั้นทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดจากเดิมที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันออกเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน โดยทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินมาก็ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ขอรังวัดสอบเขต และขอแบ่งทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ซึ่งทายาทเจ้าของที่ดินข้างเคียงก็ไม่ได้ปฏิเสธไม่รับรู้ว่าไม่มีทางพิพาท มีเพียงจำเลยที่ 4 ที่โต้แย้งเฉพาะเรื่องแนวเขตทางพิพาทเท่านั้น ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องขอให้รอการรังวัดแบ่งหักที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ไว้ก่อน การที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้ทางพิพาทในที่ดินของตน จึงไม่ได้เป็นการใช้ในลักษณะทางภาระจำยอม การใช้ทางพิพาทของทายาทอื่นในลักษณะภาระจำยอมโดยอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2561 ที่มีการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 2 ปีเศษ นับถึงวันฟ้อง ทางพิพาทจึงไม่ได้ตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ
อย่างไรก็ตาม เมื่อทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับทายาทที่ครอบครองที่ดินที่ ผ. และ ม. ยกไว้ให้ก่อนที่ทายาทจะได้รับโอนมรดกมาเป็นของตน จนกระทั่งมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็น 9 แปลง ก็ได้มีการแบ่งแนวเขตทางพิพาทไว้ชัดเจน การที่ทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดินระหว่างกันโดยมีการระบุทางพิพาทมาตั้งแต่ต้นย่อมถือได้ว่าเป็นข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่นตามที่มีการแบ่งแยกไว้ ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและทางพิพาทต่อมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง จึงมีภาระที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนการยกให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นทางพิพาท เนื้อที่ 1 งาน 16.5 ตารางวา ตามรูปแผนที่แบ่งแยกที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ให้จำเลยทั้งสี่ยื่นคำขอรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 เพื่อหักแบ่งเป็นทางพิพาทตามรูปแผนที่แบ่งแยกที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 และจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 โดยจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หากจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการ ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ โดยให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายให้แก่กรมที่ดินจนกว่าชำระเสร็จ และให้จำเลยที่ 4 รื้อกำแพงคอนกรีตที่รุกล้ำทางพิพาท โดยให้จำเลยที่ 4 รับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หากจำเลยที่ 4 ไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลภายนอกมาดำเนินการแทน โดยให้จำเลยที่ 4 ชดใช้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 เพื่อหักแบ่งเป็นทางพิพาทตามรูปแผนที่แบ่งแยกที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 และจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 หากจำเลยที่ 3 ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 และให้จำเลยที่ 4 รื้อกำแพงคอนกรีตที่รุกล้ำทางพิพาทตามรูปแผนที่ดังกล่าว โดยให้จำเลยที่ 4 เสียค่าใช้จ่าย ส่วนคำขอของโจทก์ที่ขอว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินการรื้อแทนจำเลยที่ 4 นั้นให้ยก นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่รับฟังยุติในชั้นฎีการับฟังได้ว่า เดิมทางพิพาทอยู่ในที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา ซึ่งเป็นของนายไผ่ และนางม้วย ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 1625 ต่อมานายไผ่และนางม้วยถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวจึงตกทอดสู่ทายาทของนายไผ่และนางม้วย ซึ่งได้แก่ จำเลยที่ 1 นายกวย นางหวย จำเลยที่ 4 นางสาวกุหลาบ โจทก์ นางนางน้อย และจำเลยที่ 2 ต่อมาปี 2555 ได้มีการขอแบ่งที่ดินและออกโฉนดเป็น 9 แปลง โดยทายาททั้งแปดยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันทุกแปลง ตามที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 ในปี 2560 ทายาทได้มีการฟ้องร้องแบ่งแยกโฉนดที่ดินทั้ง 9 แปลง และตกลงกันได้ โดยให้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ให้แก่จำเลยที่ 4 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ให้แก่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38417 ให้แก่ทายาทนางนางน้อย โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38418 ให้แก่นางสาวกุหลาบ โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38419 และ 38420 ให้แก่จำเลยที่ 2 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38421 ให้แก่ทายาทนายกวย โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38422 ให้แก่โจทก์ และโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38423 ให้แก่นางหวย ส่วนทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 มีเนื้อที่ 1 งาน 16.5 ตารางวา วันที่ 29 สิงหาคม 2563 จำเลยที่ 4 ได้สร้างกำแพงคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่บริเวณปากทางพิพาทในระยะ 2 เมตร คงเหลือทางพิพาทกว้าง 2 เมตร
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ และจำเลยที่ 4 ต้องรื้อกำแพงคอนกรีตหรือไม่ เห็นว่า เดิมทางพิพาทจะอยู่ในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทายาททุกคนมาตั้งแต่ที่ได้รับโอนมรดกมาจากนายไผ่และนางม้วย ต่อมาได้มีการออกโฉนดที่ดินโดยแบ่งแยกออกเป็น 9 แปลง ซึ่งทายาททุกคนก็ต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันทั้ง 9 แปลง การที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้ทางพิพาทในที่ดินของตนดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นการใช้ในลักษณะของทางภาระจำยอม แม้ต่อมามีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ทายาทแต่ละคนในปี 2561 โดยทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 การใช้ทางพิพาทของทายาทอื่นในลักษณะภาระจำยอมโดยอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2561 ที่มีการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันดังกล่าว ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 2 ปี เศษ นับถึงวันฟ้อง ทางพิพาทจึงไม่ได้ตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความ ข้อโต้แย้งของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในประเด็นนี้จึงฟังขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทางพิพาทนั้นเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับทายาทที่ครอบครองที่ดินที่นายไผ่และนางม้วยได้ยกไว้ให้ก่อนที่ทายาทจะได้รับโอนมรดกมาเป็นของตน จนกระทั่งมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็น 9 แปลง ก็ได้มีการแบ่งแนวเขตทางพิพาทไว้ชัดเจนสนับสนุนทางนำสืบของโจทก์เรื่องทางพิพาทดังกล่าว การที่ทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดินระหว่างกันโดยมีการระบุทางพิพาทมาตั้งแต่ต้นย่อมถือได้ว่าเป็นข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่นตามที่มีการแบ่งแยกไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่มีการแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทางพิพาทรวมอยู่ด้วยให้แก่จำเลยที่ 1 และได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันเดียวกันที่จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์มาในวันที่ 23 สิงหาคม 2561 ต่อมาอีก 5 วัน ในวันที่ 27 สิงหาคม 2561 จำเลยที่ 2 ได้ขอรังวัดสอบเขตที่ดินที่ได้รับโอนมาดังกล่าวและวันที่ 11 ตุลาคม 2561 จำเลยที่ 2 ได้ขอให้แบ่งหักทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วยตามบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นหลักฐานที่สอดคล้องและสนับสนุนข้อตกลงของทายาททั้งหมดเรื่องการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของที่ดินอื่นที่มีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไปข้างต้น ทั้งนี้ แม้ขณะที่มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดแต่ละโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่ได้ระบุรายละเอียดของทางพิพาทไว้โดยตรงก็ตาม แต่พอที่จะเข้าใจได้ว่าการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเพื่อยุติข้อพิพาทเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมซึ่งก็เน้นถึงการแบ่งที่ดินเป็นสำคัญ โดยที่สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีข้อความใดที่ระบุให้มีการยกเลิกข้อตกลงการใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกทางสาธารณะแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โต้แย้งว่า ที่จำเลยที่ 2 ขอรังวัดหักแบ่งทางพิพาทนั้น เป็นการหักแบ่งเพื่อเป็นการใช้ทางสาธารณประโยชน์ ไม่ใช่จดทะเบียนให้ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมนั้น เห็นว่า การขอหักแบ่งทางพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินของจำเลยที่ 2 ย่อมแสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงเจตนาดั่งเดิมที่จะให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของผู้อื่น ไม่ว่าจะให้เป็นทางสาธารณประโยชน์หรือทางภาระจำยอมก็ตาม มิได้ทำให้ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมระหว่างทายาทเรื่องทางพิพาทเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เมื่อทางพิพาทดังกล่าวได้มีข้อตกลงของทายาทที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันให้มีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นทางภาระจำยอมแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและทางพิพาทต่อมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง จึงมีภาระที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ก็ต้องห้ามรุกล้ำทางพิพาทที่เป็นทางภาระจำยอมดังกล่าวตามฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรื้อกำแพงคอนกรีตที่อยู่บนทางพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 กำหนดว่า อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 จดทะเบียนทางพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 อันเป็นภารยทรัพย์ให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 ซึ่งรวมถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ด้วย จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 จดทะเบียนทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ตามรูปแผนที่ที่แบ่งแยกซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 เป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 และ 38417 ถึง 38423 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษายกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาใหม่เป็นยกฟ้องตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (1) แล้ว สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาใหม่ดังกล่าวต้องพิจารณาตามมาตรา 15 ซึ่งบัญญัติว่า “เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 13 แล้ว พนักงานอัยการผู้ร้องหรือโจทก์ในคดีเดิมซึ่งเป็นคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ดังนี้ (1) ถ้าคำพิพากษานั้นเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษานั้นต่อศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ให้เป็นที่สุด...” ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวแล้วคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยที่ 8 ไม่อาจฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 8 มาจึงเป็นการไม่ชอบ อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ ที่บริษัท พ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 คดีนี้ (คือจำเลยที่ 9 ในคดีดังกล่าว) กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ส่วนคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ 8 ร่วมกับพวก กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 8 กับพวก ร่วมกันกระทำความผิด 3 กรรม แม้การกล่าวข้อความหมิ่นประมาทจะกระทำขึ้นหลายคราวต่างวันต่างเวลาแต่การกระทำในแต่ละคราวมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้บริษัท พ. หลงเชื่อและตกลงเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างกับส่งมอบเงินจำนวน 50 ล้านบาท ให้จำเลยที่ 8 กับพวก อันถือเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว การกระทำของจำเลยที่ 8 กับพวก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวมิใช่หลายกรรม เมื่อได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือนั้น ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 จึงเป็นกรณีที่การกระทำของจำเลยที่ 8 ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 8 มิต้องรับโทษ และเป็นเหตุในลักษณะคดีซึ่งย่อมมีผลถึงผู้ร่วมกระทำความผิดทุกคน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 15 (1) ทำให้คดีต้องห้ามฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง, 215 และ 225 ทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและให้สอดคล้องกับผลในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2105/2561 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2618/2561 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเป็นฟ้องช้ำซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้ว
คดีสืบเนื่องจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้ากับพวกอีก 2 คน ที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันโดยแบ่งหน้าที่กันกระทำความผิดต่อกฎหายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ เมื่อระหว่างต้นเดือนตุลาคม 2556 ถึงต้นเดือนธันวาคม 2556 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันหลอกลวงนายธนสาร กรรมการผู้จัดการบริษัท พ. ซึ่งประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ว่า “มีงานโครงการพระราชดำริ ของในหลวงก่อสร้างบ้านพักชั้นเดียวหลายจังหวัด มูลค่าหมื่นกว่าล้านบาท โดยให้วางเงินมัดจำ 20 ล้านบาท” และได้พูดว่า “จะรับงานไหม หากสนใจให้ทำโปรไฟล์ของบริษัทมาให้เพื่อจะนำไปเสนอข้างใน” และพูดอีกว่า “การเซ็นสัญญา MOU ให้ไปเซ็นในวัง” ซึ่งคำว่า “ในหลวง” บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และคำว่า “วัง” คือสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ คำพูดดังกล่าวเป็นการแอบอ้างว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในขณะนั้นมีพระราชดำริให้มีโครงการดังกล่าว ความจริงแล้ว ไม่ได้มีพระราชดำริโครงการดังกล่าวขึ้นและไม่ใช่โครงการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากการหลอกลวงแอบอ้างดังกล่าวของจำเลยทั้งเก้ากับพวกเป็นเหตุให้นายธนสารหลงเชื่อ ไปจัดทำเอกสารเกี่ยวกับบริษัทเพื่อแสดงสถานะทางการเงิน เมื่อจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้รับเอกสารดังกล่าวจากนายธนสารแล้ว จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันพูดว่า “เดี๋ยวจะนำไปเสนอข้างในให้” อันเป็นการแสดงต่อนายธนสารว่า จำเลยทั้งเก้ากับพวกจะนำเอกสารของนายธนสารไปเสนอต่อสำนักพระราชวังหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และร่วมกันแจ้งนายธนสารว่า ขอเปลี่ยนเงินมัดจำจากเดิม 20 ล้าน เป็น 50 ล้านบาท ทั้งนี้การกระทำของจำเลยทั้งเก้ากับพวกทำให้บุคคลอื่นเข้าใจได้ว่าการดำเนินการโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น พระองค์ทรงเรียกรับสินบน อันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่น หมิ่นประมาทและแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง เกียรติคุณ ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 เวลากลางวัน จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันจัดให้มีการทำสัญญาตามโครงการที่กล่าวอ้างที่โรงแรม ด. โดยจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้แบ่งหน้าที่กันทำ แอบอ้างพูดกับนายธนสารว่า “เขาเปลี่ยนสถานที่ ในสำนักพระราชวังไม่สะดวก ให้มาเซ็นที่โรงแรมแทน แต่ไม่ต้องกลัว มีผู้ใหญ่ฝ่ายกฎหมายของสำนักพระราชวังมาดูแลเรื่องสัญญา” ในวันดังกล่าวนายธนสารเตรียมเงินค่ามัดจำมาไม่ครบ จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันพูดข่มขู่นายธนสารว่า “ไม่ได้ คุณต้องไปเตรียมมาให้ครบ เพราะว่าส่วน 30 ล้านเนี้ยะ ต้องนำไปถวายส่วนพระองค์ ไม่งั้นจะกลายเป็นหมิ่นเบื้องสูง เพราะคนของท่านออกมาแล้ว เดี๋ยวบริษัทจะอยู่ลำบาก” และจำเลยทั้งเก้ากับพวกยังร่วมกันพูดอีกว่า “เดี๋ยวเซ็นสัญญาให้โชว์เช็ค 20 ล้านบาท ส่วนอีก 30 ล้านบาทไม่ต้องโชว์ เพราะพระองค์ท่านไม่ต้องการให้ใครรู้” และพูดอีกว่า “เช็คที่เหลืออีก 30 ล้าน ที่จะนำไปถวายอยู่ไหน” ในการทำสัญญาจำเลยที่ 8 ได้แต่งกายในชุดเครื่องแบบข้าราชการสีกากี ติดเข็มตราสัญลักษณ์เครื่องหมายของสำนักพระราชวัง รวมทั้งลงชื่อเป็นพยานในสัญญา ทั้งนี้เป็นการทำให้นายธนสารเข้าใจได้ว่าโครงการที่จำเลยทั้งเก้ากับพวกแอบอ้างเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และบริษัท พ. โดยนายธนสารได้รับอนุมัติให้ทำสัญญาและได้มอบเงินมัดจำ 30,000,000 บาท ให้แก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช การกระทำของจำเลยทั้งเก้ากับพวกทำให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โครงการพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น ต้องมีการมอบเงินให้จำเลยทั้งเก้ากับพวก แล้วจำเลยทั้งเก้ากับพวกจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ เป็นการลดพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำมาซึ่งความเสื่อมเสีย ทำให้เสียหายต่อพระราชวงศ์จักรี ทำให้ผู้อื่น ประชาชน ดูหมิ่น เกลียดชังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเมื่อระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงปลายเดือนตุลาคม 2558 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันแอบอ้างกับนายธนสารซึ่งได้ขอรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ เพื่อประกอบการขอหนังสือค้ำประกันจากธนาคารพาณิชย์ว่า “มันเป็นความลับของสำนักพระราชวัง” และยังได้พูดอีกว่า “โครงการมีอยู่จริง เงินที่จะสร้างโครงการเป็นเงินส่วนพระองค์ และมีทองคำมหาศาลของในวังค้ำอยู่สร้างในที่ราชพัสดุทั่วประเทศ 77 จังหวัด” และยังพูดอีกว่า “เดี๋ยวเราสบายแล้ว ทำงานรับใช้พ่อหลวง” อีกทั้งเมื่อนายธนสารติดต่อขอทราบรายละเอียดอีกครั้ง จำเลยทั้งเก้ากับพวกโดยจำเลยที่ 1 แอบอ้างว่ามีโครงการสวนเกษตร 555 และยังพูดว่า “จะนำเงินไปถวายพ่อหลวง จะนำเด็กมูลนิธิพระดาบสมาฝึกงานในที่ดังกล่าวให้เราช่วยกันทำเพื่อประเทศชาติ หากทำสำเร็จแล้วทุกคนจะได้เครื่องราชสายสะพาย” และจำเลยที่ 1 ยังได้แอบอ้างอีกว่า “โครงการดังกล่าวเป็นของผม ผมทำเอง เราสร้างเสร็จก็เอาไปถวายในหลวง ไม่ใช่โครงการของในวัง เป็นโครงการของผมส่วนตัว” ซึ่งคำว่าพ่อหลวงหรือในหลวงนั้น บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าหมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นการแอบอ้างว่าพระองค์มีพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว โดยสามารถชำระเงินค่าจ้างเนื่องจากสำนักพระราชวังมีทองคำจำนวนมาก อีกทั้งการที่กล่าวอ้างว่าหากทำตามที่จำเลยทั้งเก้ากับพวกเสนอให้แล้วจะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (สายสะพาย) จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าพระองค์ทรงมีพระราชดำริในการทำโครงการ รวมทั้งจำเลยทั้งเก้ากับพวกสามารถประสานสำนักพระราชวังเพื่อเสนอให้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (สายสะพาย) นำมาซึ่งความเสื่อมเสีย ทำให้เสียหายต่อพระราชวงศ์จักรี อันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำให้ผู้อื่น ประชาชน ดูหมิ่น เกลียดชังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เหตุเกิดที่แขวงพระนครไชยศรี (แขวงถนนนครไชยศรี) เขตดุสิต แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน แขวงดินแดง เขตดินแดง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี และแขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน ก่อนคดีนี้ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2558 จำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4631/2557 ของศาลจังหวัดมีนบุรี และเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 จำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน และปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี ในความผิดฐานร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1290/2558 ของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ทั้งสองคดี จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดคดีนี้อีก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 9 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ ตามลำดับ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58, 83, 91, 112 บวกโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4631/2557 ของศาลจังหวัดมีนบุรี และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1290/2558 ของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี เข้ากับโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ นับโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 คดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 9 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ
จำเลยที่ 8 ให้การรับสารภาพ ส่วนจำเลยอื่นให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นเป็นคดีใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 8 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประกอบมาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 3 กระทง คงจำคุกกระทงละ 5 ปี จำเลยที่ 8 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 18 เดือน นับโทษจำคุกจำเลยที่ 8 ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยที่ 9 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระครเหนือ
โจทก์และจำเลยที่ 8 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2562 จำเลยที่ 8 ยื่นคำร้องว่า มูลเหตุและการกระทำความผิดในคดีนี้เป็นมูลเหตุและการกระทำเดียวกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ ซึ่งศาลแขวงพระนครเหนือมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โดยพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงให้จำคุก 3 ปี จำเลยที่ 8 จึงไม่อาจถูกดำเนินคดีนี้ซ้ำอีกในการกระทำเดียวกันได้ และในคดีที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นเป็นคดีใหม่คือ คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2105/2561 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2618/2561 ของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นก็มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปเนื่องจากได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว ขอให้ศาลยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ในคดีอาญา เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คู่ความยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ คงมีแต่บทบัญญัติเรื่องการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 เท่านั้น จึงให้ยกคำร้อง
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 จำเลยที่ 8 ยื่นคำร้องว่า ภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ได้ปรากฏพยานหลักฐานใหม่ว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ ที่ศาลพิพากษาให้นับโทษจำเลยที่ 8 ต่อนั้น เป็นคดีอาญาข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ซึ่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ในการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำอันเดียวกับคดีนี้ อันเป็นพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี ซึ่งหากได้นำมาสืบแล้วจะแสดงว่า ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 8 เป็นคดีนี้ นอกจากนี้ในคดีที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นเป็นคดีใหม่ คือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2105/2561 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2618/2561 ของศาลชั้นต้น ศาลก็มีคำพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปถือเป็นพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีเช่นกัน ขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่
โจทก์ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วทำความเห็นว่า คำร้องของจำเลยที่ 8 มีมูลพอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ และส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา
ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า คำร้องของจำเลยที่ 8 มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ จึงมีคำสั่งให้รับคำร้องและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาคดีนี้ใหม่ต่อไป
ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1760/2560 ของศาลชั้นต้น และพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีดังกล่าว (พิพากษายกคำพิพากษาเดิม และพิพากษาใหม่ให้ยกฟ้อง)
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้บังคับโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 30 มิถุนายน 2560 (คำพิพากษาศาลชั้นต้นเดิม)
จำเลยที่ 8 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นกรณีที่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีเดิมที่จำเลยที่ 8 ขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่เป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษายกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาใหม่เป็นยกฟ้องโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (1) แล้ว สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาใหม่ดังกล่าวจึงต้องพิจารณาตามมาตรา 15 ซึ่งบัญญัติว่า “เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 13 แล้ว พนักงานอัยการผู้ร้องหรือโจทก์ในคดีเดิมซึ่งเป็นคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ดังนี้ (1) ถ้าคำพิพากษานั้นเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษานั้นต่อศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ให้เป็นที่สุด...” ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวแล้ว คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยที่ 8 ไม่อาจฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 8 มาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือที่บริษัท พ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 คดีนี้ (คือจำเลยที่ 9 ในคดีดังกล่าว) กับพวกในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่ 8 คดีนี้กับพวกว่า เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 8 คดีนี้กับพวกร่วมกันหลอกลวงนายธนสาร กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท พ. ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ กล่าวคือ เริ่มจากประมาณต้นเดือนธันวาคม 2556 ได้มีบุคคลผู้มีชื่อซึ่งเป็นตัวแทนของนายโชคศุทธิพัฒน์ (จำเลยที่ 4 ในคดีดังกล่าว) มาติดต่อบริษัท พ. ให้ไปรับงานรับเหมาก่อสร้างห้องแถวพักอาศัย คสล.1 ชั้น 8 ห้อง กับบริษัท อ. (จำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าว) ซึ่งมีนายศรีวิชัย (จำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าว) เป็นกรรมการ นายศรีวิชัยอ้างว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการในพระราชดำริ ก่อสร้างเพื่อประโยชน์สาธารณะและก่อสร้างในที่ดินราชพัสดุทั่วประเทศ โดยนัดให้มีการประชุมผู้ดำเนินงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในวันที่ 12 ธันวาคม 2556 ที่โรงแรม ด. และกำหนดเงื่อนไขว่า ในวันประชุมให้บริษัท พ. วางเงินจำนวน 50 ล้านบาท โดยจ่ายเป็นเช็คของธนาคารเพื่อค้ำประกันงานที่รับทำ ครั้นถึงวันประชุม (12 ธันวาคม 2556) กรรมการบริษัท พ. และทีมงานกับจำเลยทั้งเก้าในคดีดังกล่าวและทีมงานมาร่วมประชุม โดยจำเลยที่ 8 คดีนี้ซึ่งเป็นข้าราชการในสำนักพระราชวังแต่งเครื่องแบบข้าราชการของสำนักพระราชวังมาร่วมประชุมด้วย เป็นเหตุให้กรรมการบริษัท พ. หลงเชื่อว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการในพระราชดำริจริง และตกลงทำสัญญากับบริษัท อ. กับยอมมอบเงิน 50 ล้านบาทให้แก่จำเลยที่ 8 กับพวกไป หลังจากทำสัญญาแล้ว บริษัท พ. ได้ติดต่อธนาคารต่าง ๆ เพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างโครงการดังกล่าว แต่ธนาคารไม่สามารถออกหนังสือให้ได้ เนื่องจากยังขาดเอกสารเกี่ยวกับโครงการ กรรมการบริษัท พ. จึงปรึกษากับนายศรีวิชัยกรรมการของบริษัท อ. นายศรีวิชัยอ้างว่าไม่สามารถให้ข้อมูลได้เนื่องจากเป็นความลับของสำนักพระราชวัง ต่อมาบริษัท พ. จึงทราบว่าโครงการดังกล่าวไม่เกี่ยวกับสำนักพระราชวัง การกระทำของจำเลยที่ 8 คดีนี้กับพวกเป็นการกระทำโดยทุจริต หลอกลวงโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และในการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยที่ 8 คดีนี้กับพวกได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากบริษัท พ. เป็นเงิน 50 ล้านบาท ส่วนคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ 8 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันกระทำความผิด 3 กรรม กล่าวคือ กรรมแรก เมื่อระหว่างต้นเดือนตุลาคม 2556 ถึงต้นเดือนธันวาคม 2556 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันหลอกลวงนายธนสาร กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท พ. ซึ่งประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างว่า “มีงานโครงการพระราชดำริของในหลวงก่อสร้างบ้านพักชั้นเดียวหลายจังหวัด มูลค่าหมื่นกว่าล้านบาท โดยให้วางเงินมัดจำ 20 ล้านบาท” และพูดว่า “จะรับงานไหม หากสนใจให้ทำโปรไฟล์ของบริษัทมาให้เพื่อจะนำไปเสนอข้างใน” การเซ็นสัญญาให้ไปเซ็นในวัง” และต่อมาได้ขอเพิ่มวงเงินมัดจำเป็น 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นการทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่า พระองค์ทรงเรียกรับสินบน กรรมที่สอง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 เวลากลางวัน จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันจัดให้มีการทำสัญญาตามโครงการที่กล่าวอ้างที่โรงแรม ด. โดยจำเลยที่ 8 กับพวกได้แบ่งหน้าที่กันทำ แอบอ้างพูดกับนายธนสารว่า “เขาเปลี่ยนสถานที่ ในสำนักพระราชวังไม่สะดวก ให้มาเซ็นที่โรงแรมแทน แต่ไม่ต้องกลัวมีผู้ใหญ่ฝ่ายกฎหมายของสำนักพระราชวังมาดูแลเรื่องสัญญา” เมื่อนายธนสารเตรียมเงินมาไม่ครบ จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันพูดข่มขู่นายธนสารว่า “ไม่ได้ คุณต้องไปเตรียมมาให้ครบ เพราะว่าส่วน 30 ล้านเนี้ยะ ต้องไปนำถวายส่วนพระองค์ ไม่งั้นจะกลายเป็นหมิ่นเบื้องสูง เพราะคนของท่านออกมาแล้ว เดี๋ยวบริษัทจะอยู่ลำบาก เดี๋ยวเซ็นสัญญาให้โชว์เช็ค 20 ล้านบาท ส่วนอีก 30 ล้านบาทไม่ต้องโชว์ เพราะพระองค์ท่านไม่ต้องการให้ใครรู้” อีกทั้งยังพูดว่า “เช็คที่เหลืออีก 30 ล้าน ที่จะนำไปถวายอยู่ไหน โดยจำเลยที่ 8 ได้แต่งกายเครื่องแบบข้าราชการสีกาสีติดเข็มตราสัญลักษณ์เครื่องหมายของสำนักพระราชวัง เป็นการทำให้นายธนสารเข้าใจได้ว่า โครงการที่จำเลยที่ 8 กับพวกแอบอ้าง เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 8 กับพวกไป กรรมที่สาม เมื่อระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงปลายเดือนตุลาคม 2558 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันแอบอ้างต่อนายธนสารซึ่งขอรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างดังกล่าวเพื่อประกอบการขอหนังสือค้ำประกันจากธนาคารพาณิชย์ว่า “มันเป็นความลับของสำนักพระราชวัง โครงการมีอยู่จริง เงินที่จะสร้างโครงการเป็นเงินส่วนพระองค์และมีทองคำมหาศาลของในวังค้ำอยู่ สร้างในที่ราชพัสดุทั่วประเทศ 77 จังหวัด เดี๋ยวเราสบายแล้ว ทำงานรับใช้พ่อหลวง” จำเลยที่ 8 กับพวกยังแอบอ้างว่ามีโครงการสวนเกษตร 555 และยังพูดว่า “จะนำเงินไปถวายพ่อหลวง จะนำเด็กมูลนิธิพระดาบสมาฝึกงานในที่ดังกล่าวให้เราช่วยกันทำเพื่อประเทศชาติ หากทำสำเร็จแล้วทุกคนจะได้เครื่องราชสายสะพาย” ซึ่งเป็นการแอบอ้างว่าพระองค์ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวสามารถชำระเงินค่าจ้างเนื่องจากสำนักพระราชวังมีทองคำจำนวนมาก และหากดำเนินการสำเร็จจำเลยที่ 8 กับพวกสามารถประสานสำนักพระราชวังเพื่อเสนอให้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง เกียรติคุณ ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง เป็นการนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อราชวงศ์จักรี ลดพระเกียรติ การกระทำดังกล่าวทำให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปเข้าใจว่าโครงการพระราชดำริต้องมีการมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 8 กับพวกแล้วจำเลยที่ 8 กับพวกจะต้องนำเงินไปทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงที่บรรยายฟ้องมาในทั้งสองคดีดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 8 กับพวกว่า การที่จำเลยที่ 8 กับพวกกล่าวข้อความหมิ่นประมาทตามคำฟ้องในคดีนี้เป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการหลอกลวงบริษัท พ. แม้การกล่าวข้อความหมิ่นประมาทจะกระทำขึ้นหลายคราวต่างวันต่างเวลาแต่การกระทำในแต่ละคราวมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้บริษัท พ. หลงเชื่อและตกลงเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างกับส่งมอบเงินจำนวน 50 ล้านบาท ให้แก่จำเลยที่ 8 กับพวก อันถือเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงโดยมีเจตนาเดียว การกระทำของจำเลยที่ 8 กับพวกจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว มิใช่หลายกรรมต่างกัน ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ นั้น ศาลแขวงพระนครเหนือมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 จึงเป็นกรณีที่การกระทำของจำเลยที่ 8 ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) ถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 8 มิต้องรับโทษ และเป็นเหตุในลักษณะคดีซึ่งย่อมมีผลถึงผู้ร่วมกระทำความผิดทุกคน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 15 (1) ทำให้คดีต้องห้ามฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง, 215 และ 225 ทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและให้สอดคล้องกับผลในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2105/2561 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2618/2561 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเป็นฟ้องซ้ำซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้ว
พิพากษากลับ ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเดิมที่ให้ลงโทษจำเลยที่ 8 และพิพากษาใหม่เป็นยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8
เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษายกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาใหม่เป็นยกฟ้องตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (1) แล้ว สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาใหม่ดังกล่าวต้องพิจารณาตามมาตรา 15 ซึ่งบัญญัติว่า “เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 13 แล้ว พนักงานอัยการผู้ร้องหรือโจทก์ในคดีเดิมซึ่งเป็นคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ดังนี้ (1) ถ้าคำพิพากษานั้นเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษานั้นต่อศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ให้เป็นที่สุด...” ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวแล้วคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยที่ 8 ไม่อาจฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 8 มาจึงเป็นการไม่ชอบ อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ ที่บริษัท พ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 คดีนี้ (คือจำเลยที่ 9 ในคดีดังกล่าว) กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ส่วนคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ 8 ร่วมกับพวก กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 8 กับพวก ร่วมกันกระทำความผิด 3 กรรม แม้การกล่าวข้อความหมิ่นประมาทจะกระทำขึ้นหลายคราวต่างวันต่างเวลาแต่การกระทำในแต่ละคราวมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้บริษัท พ. หลงเชื่อและตกลงเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างกับส่งมอบเงินจำนวน 50 ล้านบาท ให้จำเลยที่ 8 กับพวก อันถือเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว การกระทำของจำเลยที่ 8 กับพวก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวมิใช่หลายกรรม เมื่อได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือนั้น ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 จึงเป็นกรณีที่การกระทำของจำเลยที่ 8 ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 8 มิต้องรับโทษ และเป็นเหตุในลักษณะคดีซึ่งย่อมมีผลถึงผู้ร่วมกระทำความผิดทุกคน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 15 (1) ทำให้คดีต้องห้ามฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง, 215 และ 225 ทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและให้สอดคล้องกับผลในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2105/2561 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2618/2561 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเป็นฟ้องช้ำซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้ว
คดีสืบเนื่องจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้ากับพวกอีก 2 คน ที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันโดยแบ่งหน้าที่กันกระทำความผิดต่อกฎหายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ เมื่อระหว่างต้นเดือนตุลาคม 2556 ถึงต้นเดือนธันวาคม 2556 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันหลอกลวงนายธนสาร กรรมการผู้จัดการบริษัท พ. ซึ่งประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ว่า “มีงานโครงการพระราชดำริ ของในหลวงก่อสร้างบ้านพักชั้นเดียวหลายจังหวัด มูลค่าหมื่นกว่าล้านบาท โดยให้วางเงินมัดจำ 20 ล้านบาท” และได้พูดว่า “จะรับงานไหม หากสนใจให้ทำโปรไฟล์ของบริษัทมาให้เพื่อจะนำไปเสนอข้างใน” และพูดอีกว่า “การเซ็นสัญญา MOU ให้ไปเซ็นในวัง” ซึ่งคำว่า “ในหลวง” บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และคำว่า “วัง” คือสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ คำพูดดังกล่าวเป็นการแอบอ้างว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในขณะนั้นมีพระราชดำริให้มีโครงการดังกล่าว ความจริงแล้ว ไม่ได้มีพระราชดำริโครงการดังกล่าวขึ้นและไม่ใช่โครงการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากการหลอกลวงแอบอ้างดังกล่าวของจำเลยทั้งเก้ากับพวกเป็นเหตุให้นายธนสารหลงเชื่อ ไปจัดทำเอกสารเกี่ยวกับบริษัทเพื่อแสดงสถานะทางการเงิน เมื่อจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้รับเอกสารดังกล่าวจากนายธนสารแล้ว จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันพูดว่า “เดี๋ยวจะนำไปเสนอข้างในให้” อันเป็นการแสดงต่อนายธนสารว่า จำเลยทั้งเก้ากับพวกจะนำเอกสารของนายธนสารไปเสนอต่อสำนักพระราชวังหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และร่วมกันแจ้งนายธนสารว่า ขอเปลี่ยนเงินมัดจำจากเดิม 20 ล้าน เป็น 50 ล้านบาท ทั้งนี้การกระทำของจำเลยทั้งเก้ากับพวกทำให้บุคคลอื่นเข้าใจได้ว่าการดำเนินการโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น พระองค์ทรงเรียกรับสินบน อันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่น หมิ่นประมาทและแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง เกียรติคุณ ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 เวลากลางวัน จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันจัดให้มีการทำสัญญาตามโครงการที่กล่าวอ้างที่โรงแรม ด. โดยจำเลยทั้งเก้ากับพวกได้แบ่งหน้าที่กันทำ แอบอ้างพูดกับนายธนสารว่า “เขาเปลี่ยนสถานที่ ในสำนักพระราชวังไม่สะดวก ให้มาเซ็นที่โรงแรมแทน แต่ไม่ต้องกลัว มีผู้ใหญ่ฝ่ายกฎหมายของสำนักพระราชวังมาดูแลเรื่องสัญญา” ในวันดังกล่าวนายธนสารเตรียมเงินค่ามัดจำมาไม่ครบ จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันพูดข่มขู่นายธนสารว่า “ไม่ได้ คุณต้องไปเตรียมมาให้ครบ เพราะว่าส่วน 30 ล้านเนี้ยะ ต้องนำไปถวายส่วนพระองค์ ไม่งั้นจะกลายเป็นหมิ่นเบื้องสูง เพราะคนของท่านออกมาแล้ว เดี๋ยวบริษัทจะอยู่ลำบาก” และจำเลยทั้งเก้ากับพวกยังร่วมกันพูดอีกว่า “เดี๋ยวเซ็นสัญญาให้โชว์เช็ค 20 ล้านบาท ส่วนอีก 30 ล้านบาทไม่ต้องโชว์ เพราะพระองค์ท่านไม่ต้องการให้ใครรู้” และพูดอีกว่า “เช็คที่เหลืออีก 30 ล้าน ที่จะนำไปถวายอยู่ไหน” ในการทำสัญญาจำเลยที่ 8 ได้แต่งกายในชุดเครื่องแบบข้าราชการสีกากี ติดเข็มตราสัญลักษณ์เครื่องหมายของสำนักพระราชวัง รวมทั้งลงชื่อเป็นพยานในสัญญา ทั้งนี้เป็นการทำให้นายธนสารเข้าใจได้ว่าโครงการที่จำเลยทั้งเก้ากับพวกแอบอ้างเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และบริษัท พ. โดยนายธนสารได้รับอนุมัติให้ทำสัญญาและได้มอบเงินมัดจำ 30,000,000 บาท ให้แก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช การกระทำของจำเลยทั้งเก้ากับพวกทำให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โครงการพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น ต้องมีการมอบเงินให้จำเลยทั้งเก้ากับพวก แล้วจำเลยทั้งเก้ากับพวกจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ เป็นการลดพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำมาซึ่งความเสื่อมเสีย ทำให้เสียหายต่อพระราชวงศ์จักรี ทำให้ผู้อื่น ประชาชน ดูหมิ่น เกลียดชังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเมื่อระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงปลายเดือนตุลาคม 2558 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันแอบอ้างกับนายธนสารซึ่งได้ขอรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ เพื่อประกอบการขอหนังสือค้ำประกันจากธนาคารพาณิชย์ว่า “มันเป็นความลับของสำนักพระราชวัง” และยังได้พูดอีกว่า “โครงการมีอยู่จริง เงินที่จะสร้างโครงการเป็นเงินส่วนพระองค์ และมีทองคำมหาศาลของในวังค้ำอยู่สร้างในที่ราชพัสดุทั่วประเทศ 77 จังหวัด” และยังพูดอีกว่า “เดี๋ยวเราสบายแล้ว ทำงานรับใช้พ่อหลวง” อีกทั้งเมื่อนายธนสารติดต่อขอทราบรายละเอียดอีกครั้ง จำเลยทั้งเก้ากับพวกโดยจำเลยที่ 1 แอบอ้างว่ามีโครงการสวนเกษตร 555 และยังพูดว่า “จะนำเงินไปถวายพ่อหลวง จะนำเด็กมูลนิธิพระดาบสมาฝึกงานในที่ดังกล่าวให้เราช่วยกันทำเพื่อประเทศชาติ หากทำสำเร็จแล้วทุกคนจะได้เครื่องราชสายสะพาย” และจำเลยที่ 1 ยังได้แอบอ้างอีกว่า “โครงการดังกล่าวเป็นของผม ผมทำเอง เราสร้างเสร็จก็เอาไปถวายในหลวง ไม่ใช่โครงการของในวัง เป็นโครงการของผมส่วนตัว” ซึ่งคำว่าพ่อหลวงหรือในหลวงนั้น บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าหมายถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นการแอบอ้างว่าพระองค์มีพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว โดยสามารถชำระเงินค่าจ้างเนื่องจากสำนักพระราชวังมีทองคำจำนวนมาก อีกทั้งการที่กล่าวอ้างว่าหากทำตามที่จำเลยทั้งเก้ากับพวกเสนอให้แล้วจะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (สายสะพาย) จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าพระองค์ทรงมีพระราชดำริในการทำโครงการ รวมทั้งจำเลยทั้งเก้ากับพวกสามารถประสานสำนักพระราชวังเพื่อเสนอให้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (สายสะพาย) นำมาซึ่งความเสื่อมเสีย ทำให้เสียหายต่อพระราชวงศ์จักรี อันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำให้ผู้อื่น ประชาชน ดูหมิ่น เกลียดชังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เหตุเกิดที่แขวงพระนครไชยศรี (แขวงถนนนครไชยศรี) เขตดุสิต แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน แขวงดินแดง เขตดินแดง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี และแขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกัน ก่อนคดีนี้ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2558 จำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4631/2557 ของศาลจังหวัดมีนบุรี และเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 จำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 4 เดือน และปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 3 ปี ในความผิดฐานร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1290/2558 ของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ทั้งสองคดี จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดคดีนี้อีก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 9 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ ตามลำดับ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58, 83, 91, 112 บวกโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4631/2557 ของศาลจังหวัดมีนบุรี และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1290/2558 ของศาลจังหวัดกบินทร์บุรี เข้ากับโทษของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ นับโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 8 คดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 9 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ
จำเลยที่ 8 ให้การรับสารภาพ ส่วนจำเลยอื่นให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นเป็นคดีใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 8 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประกอบมาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 3 กระทง คงจำคุกกระทงละ 5 ปี จำเลยที่ 8 ให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี 18 เดือน นับโทษจำคุกจำเลยที่ 8 ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยที่ 9 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระครเหนือ
โจทก์และจำเลยที่ 8 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีจึงถึงที่สุดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2562 จำเลยที่ 8 ยื่นคำร้องว่า มูลเหตุและการกระทำความผิดในคดีนี้เป็นมูลเหตุและการกระทำเดียวกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ ซึ่งศาลแขวงพระนครเหนือมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โดยพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงให้จำคุก 3 ปี จำเลยที่ 8 จึงไม่อาจถูกดำเนินคดีนี้ซ้ำอีกในการกระทำเดียวกันได้ และในคดีที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นเป็นคดีใหม่คือ คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2105/2561 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2618/2561 ของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นก็มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปเนื่องจากได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว ขอให้ศาลยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ในคดีอาญา เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คู่ความยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ คงมีแต่บทบัญญัติเรื่องการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 เท่านั้น จึงให้ยกคำร้อง
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 จำเลยที่ 8 ยื่นคำร้องว่า ภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ได้ปรากฏพยานหลักฐานใหม่ว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ ที่ศาลพิพากษาให้นับโทษจำเลยที่ 8 ต่อนั้น เป็นคดีอาญาข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ซึ่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ในการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำอันเดียวกับคดีนี้ อันเป็นพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี ซึ่งหากได้นำมาสืบแล้วจะแสดงว่า ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 8 เป็นคดีนี้ นอกจากนี้ในคดีที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นเป็นคดีใหม่ คือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2105/2561 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2618/2561 ของศาลชั้นต้น ศาลก็มีคำพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปถือเป็นพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีเช่นกัน ขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่
โจทก์ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วทำความเห็นว่า คำร้องของจำเลยที่ 8 มีมูลพอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ และส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา
ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า คำร้องของจำเลยที่ 8 มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ จึงมีคำสั่งให้รับคำร้องและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาคดีนี้ใหม่ต่อไป
ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1760/2560 ของศาลชั้นต้น และพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีดังกล่าว (พิพากษายกคำพิพากษาเดิม และพิพากษาใหม่ให้ยกฟ้อง)
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้บังคับโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 30 มิถุนายน 2560 (คำพิพากษาศาลชั้นต้นเดิม)
จำเลยที่ 8 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นกรณีที่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีเดิมที่จำเลยที่ 8 ขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่เป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษายกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาใหม่เป็นยกฟ้องโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (1) แล้ว สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาใหม่ดังกล่าวจึงต้องพิจารณาตามมาตรา 15 ซึ่งบัญญัติว่า “เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 13 แล้ว พนักงานอัยการผู้ร้องหรือโจทก์ในคดีเดิมซึ่งเป็นคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ดังนี้ (1) ถ้าคำพิพากษานั้นเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษานั้นต่อศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ให้เป็นที่สุด...” ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวแล้ว คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยที่ 8 ไม่อาจฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 8 มาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือที่บริษัท พ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 คดีนี้ (คือจำเลยที่ 9 ในคดีดังกล่าว) กับพวกในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่ 8 คดีนี้กับพวกว่า เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 8 คดีนี้กับพวกร่วมกันหลอกลวงนายธนสาร กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท พ. ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ กล่าวคือ เริ่มจากประมาณต้นเดือนธันวาคม 2556 ได้มีบุคคลผู้มีชื่อซึ่งเป็นตัวแทนของนายโชคศุทธิพัฒน์ (จำเลยที่ 4 ในคดีดังกล่าว) มาติดต่อบริษัท พ. ให้ไปรับงานรับเหมาก่อสร้างห้องแถวพักอาศัย คสล.1 ชั้น 8 ห้อง กับบริษัท อ. (จำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าว) ซึ่งมีนายศรีวิชัย (จำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าว) เป็นกรรมการ นายศรีวิชัยอ้างว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการในพระราชดำริ ก่อสร้างเพื่อประโยชน์สาธารณะและก่อสร้างในที่ดินราชพัสดุทั่วประเทศ โดยนัดให้มีการประชุมผู้ดำเนินงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในวันที่ 12 ธันวาคม 2556 ที่โรงแรม ด. และกำหนดเงื่อนไขว่า ในวันประชุมให้บริษัท พ. วางเงินจำนวน 50 ล้านบาท โดยจ่ายเป็นเช็คของธนาคารเพื่อค้ำประกันงานที่รับทำ ครั้นถึงวันประชุม (12 ธันวาคม 2556) กรรมการบริษัท พ. และทีมงานกับจำเลยทั้งเก้าในคดีดังกล่าวและทีมงานมาร่วมประชุม โดยจำเลยที่ 8 คดีนี้ซึ่งเป็นข้าราชการในสำนักพระราชวังแต่งเครื่องแบบข้าราชการของสำนักพระราชวังมาร่วมประชุมด้วย เป็นเหตุให้กรรมการบริษัท พ. หลงเชื่อว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการในพระราชดำริจริง และตกลงทำสัญญากับบริษัท อ. กับยอมมอบเงิน 50 ล้านบาทให้แก่จำเลยที่ 8 กับพวกไป หลังจากทำสัญญาแล้ว บริษัท พ. ได้ติดต่อธนาคารต่าง ๆ เพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างโครงการดังกล่าว แต่ธนาคารไม่สามารถออกหนังสือให้ได้ เนื่องจากยังขาดเอกสารเกี่ยวกับโครงการ กรรมการบริษัท พ. จึงปรึกษากับนายศรีวิชัยกรรมการของบริษัท อ. นายศรีวิชัยอ้างว่าไม่สามารถให้ข้อมูลได้เนื่องจากเป็นความลับของสำนักพระราชวัง ต่อมาบริษัท พ. จึงทราบว่าโครงการดังกล่าวไม่เกี่ยวกับสำนักพระราชวัง การกระทำของจำเลยที่ 8 คดีนี้กับพวกเป็นการกระทำโดยทุจริต หลอกลวงโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และในการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยที่ 8 คดีนี้กับพวกได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากบริษัท พ. เป็นเงิน 50 ล้านบาท ส่วนคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ 8 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันกระทำความผิด 3 กรรม กล่าวคือ กรรมแรก เมื่อระหว่างต้นเดือนตุลาคม 2556 ถึงต้นเดือนธันวาคม 2556 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันหลอกลวงนายธนสาร กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท พ. ซึ่งประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างว่า “มีงานโครงการพระราชดำริของในหลวงก่อสร้างบ้านพักชั้นเดียวหลายจังหวัด มูลค่าหมื่นกว่าล้านบาท โดยให้วางเงินมัดจำ 20 ล้านบาท” และพูดว่า “จะรับงานไหม หากสนใจให้ทำโปรไฟล์ของบริษัทมาให้เพื่อจะนำไปเสนอข้างใน” การเซ็นสัญญาให้ไปเซ็นในวัง” และต่อมาได้ขอเพิ่มวงเงินมัดจำเป็น 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นการทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่า พระองค์ทรงเรียกรับสินบน กรรมที่สอง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556 เวลากลางวัน จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันจัดให้มีการทำสัญญาตามโครงการที่กล่าวอ้างที่โรงแรม ด. โดยจำเลยที่ 8 กับพวกได้แบ่งหน้าที่กันทำ แอบอ้างพูดกับนายธนสารว่า “เขาเปลี่ยนสถานที่ ในสำนักพระราชวังไม่สะดวก ให้มาเซ็นที่โรงแรมแทน แต่ไม่ต้องกลัวมีผู้ใหญ่ฝ่ายกฎหมายของสำนักพระราชวังมาดูแลเรื่องสัญญา” เมื่อนายธนสารเตรียมเงินมาไม่ครบ จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันพูดข่มขู่นายธนสารว่า “ไม่ได้ คุณต้องไปเตรียมมาให้ครบ เพราะว่าส่วน 30 ล้านเนี้ยะ ต้องไปนำถวายส่วนพระองค์ ไม่งั้นจะกลายเป็นหมิ่นเบื้องสูง เพราะคนของท่านออกมาแล้ว เดี๋ยวบริษัทจะอยู่ลำบาก เดี๋ยวเซ็นสัญญาให้โชว์เช็ค 20 ล้านบาท ส่วนอีก 30 ล้านบาทไม่ต้องโชว์ เพราะพระองค์ท่านไม่ต้องการให้ใครรู้” อีกทั้งยังพูดว่า “เช็คที่เหลืออีก 30 ล้าน ที่จะนำไปถวายอยู่ไหน โดยจำเลยที่ 8 ได้แต่งกายเครื่องแบบข้าราชการสีกาสีติดเข็มตราสัญลักษณ์เครื่องหมายของสำนักพระราชวัง เป็นการทำให้นายธนสารเข้าใจได้ว่า โครงการที่จำเลยที่ 8 กับพวกแอบอ้าง เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 8 กับพวกไป กรรมที่สาม เมื่อระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงปลายเดือนตุลาคม 2558 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 8 กับพวกร่วมกันแอบอ้างต่อนายธนสารซึ่งขอรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างดังกล่าวเพื่อประกอบการขอหนังสือค้ำประกันจากธนาคารพาณิชย์ว่า “มันเป็นความลับของสำนักพระราชวัง โครงการมีอยู่จริง เงินที่จะสร้างโครงการเป็นเงินส่วนพระองค์และมีทองคำมหาศาลของในวังค้ำอยู่ สร้างในที่ราชพัสดุทั่วประเทศ 77 จังหวัด เดี๋ยวเราสบายแล้ว ทำงานรับใช้พ่อหลวง” จำเลยที่ 8 กับพวกยังแอบอ้างว่ามีโครงการสวนเกษตร 555 และยังพูดว่า “จะนำเงินไปถวายพ่อหลวง จะนำเด็กมูลนิธิพระดาบสมาฝึกงานในที่ดังกล่าวให้เราช่วยกันทำเพื่อประเทศชาติ หากทำสำเร็จแล้วทุกคนจะได้เครื่องราชสายสะพาย” ซึ่งเป็นการแอบอ้างว่าพระองค์ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวสามารถชำระเงินค่าจ้างเนื่องจากสำนักพระราชวังมีทองคำจำนวนมาก และหากดำเนินการสำเร็จจำเลยที่ 8 กับพวกสามารถประสานสำนักพระราชวังเพื่อเสนอให้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง เกียรติคุณ ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง เป็นการนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อราชวงศ์จักรี ลดพระเกียรติ การกระทำดังกล่าวทำให้ประชาชนหรือบุคคลทั่วไปเข้าใจว่าโครงการพระราชดำริต้องมีการมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 8 กับพวกแล้วจำเลยที่ 8 กับพวกจะต้องนำเงินไปทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงที่บรรยายฟ้องมาในทั้งสองคดีดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ 8 กับพวกว่า การที่จำเลยที่ 8 กับพวกกล่าวข้อความหมิ่นประมาทตามคำฟ้องในคดีนี้เป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการหลอกลวงบริษัท พ. แม้การกล่าวข้อความหมิ่นประมาทจะกระทำขึ้นหลายคราวต่างวันต่างเวลาแต่การกระทำในแต่ละคราวมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้บริษัท พ. หลงเชื่อและตกลงเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างกับส่งมอบเงินจำนวน 50 ล้านบาท ให้แก่จำเลยที่ 8 กับพวก อันถือเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงโดยมีเจตนาเดียว การกระทำของจำเลยที่ 8 กับพวกจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว มิใช่หลายกรรมต่างกัน ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ นั้น ศาลแขวงพระนครเหนือมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 จึงเป็นกรณีที่การกระทำของจำเลยที่ 8 ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) ถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 8 มิต้องรับโทษ และเป็นเหตุในลักษณะคดีซึ่งย่อมมีผลถึงผู้ร่วมกระทำความผิดทุกคน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 15 (1) ทำให้คดีต้องห้ามฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง, 215 และ 225 ทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและให้สอดคล้องกับผลในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2105/2561 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2618/2561 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเป็นฟ้องซ้ำซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้ว
พิพากษากลับ ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเดิมที่ให้ลงโทษจำเลยที่ 8 และพิพากษาใหม่เป็นยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8
เมื่อจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง บุหรี่ซิกาแรตของกลาง ซึ่งเป็นของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรจึงเป็นของที่พึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 166
ฟ้องโจทก์บรรยายไว้เป็นที่เข้าใจแล้วว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงฟังได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร อันพึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3, 4, 165, 166, 167, 242, 246 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 4, 159, 165, 203, 204, 206, 207 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 4, 5, 6, 7, 8, 9 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 ริบบุหรี่ 80 ซอง (1,600 มวน) และรถยนต์ 1 คัน พร้อมกุญแจรถยนต์ ของกลาง และจ่ายเงินสินบนแก่ผู้นำจับ และจ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าพนักงานผู้จับตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 242 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 165, 203 (1), 204 (1) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปรับ 1,536 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 768 บาท ริบของกลาง ให้จ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับร้อยละ 30 และจ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าพนักงานผู้จับร้อยละ 25 ของราคาของกลางหรือค่าปรับ ในกรณีที่ไม่มีผู้นำจับ ให้จ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้ทำผิดร้อยละ 20 ของราคาของกลางหรือค่าปรับ ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 5 (2), 7, 8
จำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ริบบุหรี่ซิกาแรตทั้งหมด 80 ซอง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 166 บัญญัติว่า “ของที่ยังมิได้เสียอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร เป็นของที่พึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้” เมื่อจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 242 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 165, 203 (1), 204 (1) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 บุหรี่ซิกาแรต จำนวน 80 ซอง ของกลาง ซึ่งเป็นของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร จึงเป็นของที่พึงต้องริบตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาริบบุหรี่ซิกาแรตของกลางชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์และกุญแจรถยนต์ของกลางชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า " เรือที่มีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตันกรอส ยานพาหนะ... หากได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่มิได้เสียอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ให้ริบเสียทั้งสิ้น..." ซึ่งตามเจตนารมณ์ของมาตรา 165 วรรคหนึ่ง ต้องการให้ศาลริบยานพาหนะหรือทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ไม่ได้เสียอากร หรือของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากร เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ข้อ 2 บรรยายว่าภายหลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยบุหรี่ซิกาแรตอันเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดในฟ้องข้อ 1 และรถยนต์พร้อมกุญแจรถยนต์เป็นยานพาหนะที่จำเลยได้ใช้ในการซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่เป็นของกลาง เห็นได้ว่าฟ้องของโจทก์บรรยายไว้เป็นที่เข้าใจแล้วว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงฟังได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร อันพึงต้องริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ริบรถยนต์และกุญแจรถยนต์ของกลางนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
เมื่อจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง บุหรี่ซิกาแรตของกลาง ซึ่งเป็นของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรจึงเป็นของที่พึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 166
ฟ้องโจทก์บรรยายไว้เป็นที่เข้าใจแล้วว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่ซิกาแรตในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงฟังได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร อันพึงต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3, 4, 165, 166, 167, 242, 246 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 4, 159, 165, 203, 204, 206, 207 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 4, 5, 6, 7, 8, 9 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 ริบบุหรี่ 80 ซอง (1,600 มวน) และรถยนต์ 1 คัน พร้อมกุญแจรถยนต์ ของกลาง และจ่ายเงินสินบนแก่ผู้นำจับ และจ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าพนักงานผู้จับตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 242 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 165, 203 (1), 204 (1) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปรับ 1,536 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 768 บาท ริบของกลาง ให้จ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับร้อยละ 30 และจ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าพนักงานผู้จับร้อยละ 25 ของราคาของกลางหรือค่าปรับ ในกรณีที่ไม่มีผู้นำจับ ให้จ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้ทำผิดร้อยละ 20 ของราคาของกลางหรือค่าปรับ ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 5 (2), 7, 8
จำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ริบบุหรี่ซิกาแรตทั้งหมด 80 ซอง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 166 บัญญัติว่า “ของที่ยังมิได้เสียอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร เป็นของที่พึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้” เมื่อจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 242 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 165, 203 (1), 204 (1) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 บุหรี่ซิกาแรต จำนวน 80 ซอง ของกลาง ซึ่งเป็นของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร จึงเป็นของที่พึงต้องริบตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาริบบุหรี่ซิกาแรตของกลางชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์และกุญแจรถยนต์ของกลางชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า " เรือที่มีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตันกรอส ยานพาหนะ... หากได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่มิได้เสียอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ให้ริบเสียทั้งสิ้น..." ซึ่งตามเจตนารมณ์ของมาตรา 165 วรรคหนึ่ง ต้องการให้ศาลริบยานพาหนะหรือทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ไม่ได้เสียอากร หรือของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากร เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ข้อ 2 บรรยายว่าภายหลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยบุหรี่ซิกาแรตอันเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดในฟ้องข้อ 1 และรถยนต์พร้อมกุญแจรถยนต์เป็นยานพาหนะที่จำเลยได้ใช้ในการซุกซ่อนและขนส่งบุหรี่เป็นของกลาง เห็นได้ว่าฟ้องของโจทก์บรรยายไว้เป็นที่เข้าใจแล้วว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 246 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงฟังได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการย้าย ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียอากรหรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร อันพึงต้องริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 165 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ริบรถยนต์และกุญแจรถยนต์ของกลางนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิที่ดินมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 2 และแม้หากที่ดินพิพาทจะพ้นจากการเป็นที่ชายตลิ่งไปโดยสภาพ เนื่องจากในฤดูฝนน้ำท่วมไม่ถึง แต่ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของรัฐ ประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการต้องห้ามตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่มีสิทธิอ้างการครอบครองที่ผิดกฎหมายใช้ยันรัฐได้ไม่ว่าในทางใด การฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อไม่ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาท จึงมีผลเท่ากับอ้างสิทธิครอบครองมายันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันในกรณีที่มีข้อพิพาทหรือคดีเกี่ยวกับที่ดิน นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมกันดำเนินการ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะดำเนินการ ก็ให้มีอำนาจกระทำได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทได้
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกโจทก์ในสำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 เรียกโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 ในสำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 10 ตามลำดับ และเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งสองสำนวนว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2
โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องขอให้พิพากษาว่า โจทก์ทั้งสิบเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2497 ซึ่งเป็นวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และที่ดินดังกล่าวไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ห้ามจำเลยทั้งสองกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสิบ กับให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการเพิกถอนการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องและขับไล่โจทก์ทั้งสิบพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายสิ่งของออกจากที่ดินพิพาท หากโจทก์ทั้งสิบไม่รื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไป ให้จำเลยทั้งสองหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจรื้อถอน และขนย้ายสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกไป โดยให้โจทก์ทั้งสิบเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด
โจทก์ที่ 1 ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 10 ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ขับไล่โจทก์ทั้งสิบพร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท ให้โจทก์ทั้งสิบรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และขนย้ายสิ่งของออกจากที่ดินพิพาทด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์ทั้งสิบ ห้ามโจทก์ทั้งสิบและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป กับให้โจทก์ทั้งสิบใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งทั้งสองสำนวนแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ สำนวนแรก 3,000 บาท สำนวนที่สอง 10,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ยกฟ้องโจทก์ทั้งสิบ ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งสิบให้เป็นพับ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 10 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในส่วนฟ้องแย้งทั้งสองสำนวนในศาลชั้นต้นกับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสิบต่างครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 1 ครอบครองเนื้อที่ 1 งาน 5.6 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 71/1 โจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 2 งาน 34.1 ตารางวา พร้อมบ้านอยู่อาศัยและให้เช่าพักแรมเลขที่ 3/9 โจทก์ที่ 3 เนื้อที่ 40.5 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 3/6 โจทก์ที่ 4 เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 20.2 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 3/4 โจทก์ที่ 5 เนื้อที่ 3 งาน 22.4 ตารางวา พร้อมบ้านอยู่อาศัยและให้เช่าพักแรมเลขที่ 99/4 โจทก์ที่ 6 เนื้อที่ 2 งาน 5.9 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 154/4 โจทก์ที่ 7 เนื้อที่ 84.1 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 135/5 โจทก์ที่ 8 เนื้อที่ 2 งาน 78.3 ตารางวา โจทก์ที่ 9 เนื้อที่ 1 งาน 66.1 ตารางวา และโจทก์ที่ 10 เนื้อที่ 3 งาน 11.5 ตารางวา วันที่ 28 ตุลาคม 2559 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีหนังสือถึงสำนักงานที่ดินว่า ด้วยจำเลยที่ 1 ได้รับการร้องเรียนกรณีมีการบุกรุกที่ดินริมตลิ่งแม่น้ำโขง โดยเอกชนหลายรายเข้าไปล้อมรั้วแสดงสิทธิครอบครอง และมีบางรายปลูกบ้านพักส่วนตัว ขอให้จำเลยที่ 1 ตรวจสอบและรังวัดที่ดินว่างเปล่าเพื่อเป็นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันและเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง จึงขอความอนุเคราะห์ประมาณค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดินเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่ มีผู้คัดค้านประมาณ 20 ราย ครอบคลุมที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสิบครอบครองด้วย คดีสำหรับโจทก์ที่ 4 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคดีสำหรับโจทก์ที่ 3 ที่ 6 และที่ 10 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ตามที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เป็นฝ่ายที่กล่าวอ้างว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 แต่ละคนต่างมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองที่ดินสืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ตามที่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 บัญญัติว่า “บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ให้มีสิทธิครอบครองสืบไปและให้คุ้มครองตลอดถึงผู้รับโอนด้วย” โดยประมวลกฎหมายที่ดินเริ่มใช้บังคับในวันที่ 1 ธันวาคม 2497 หน้าที่ในการนำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างจึงตกแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า เดิมที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา นายวงค์และนางเตี้ยง ได้ครอบครองและทำประโยชน์ด้วยการปลูกพืชไร่และกอไผ่ขาย นายวงค์และนางเตี้ยงมีบุตร 5 คน นายบุญศรี และนางบาง มารดาของนายบุญตัน ต่างเป็นบุตรของนายวงค์และนางเตี้ยง หลังจากนายวงค์และนางเตี้ยงตาย ทายาทตกลงมอบที่ดินให้แก่นายบุญศรี ต่อมานายบุญศรีแบ่งที่ดิน 1 งาน 5.6 ตารางวา ให้แก่นายบุญตันซึ่งเป็นหลาน วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537 นายบุญตันขายที่ดินให้แก่นางโสภาพรรณ ในราคา 130,000 บาท วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 นางโสภาพรรณขายที่ดินให้แก่นางวันดี มารดาของโจทก์ที่ 1 ในราคา 500,000 บาท นางวันดีเข้าครอบครองที่ดินและปลูกสร้างบ้านเลขที่ 71/1 และเมื่อต้นปี 2555 นางวันดีได้ยกที่ดินพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 1 มีนายบุญตันซึ่งเกิดปี 2485 เป็นพยานเบิกความสนับสนุนว่า พยานเห็นนายวงค์และนางเตี้ยงครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยการปลูกพืชไร่และกอไผ่ขายตั้งแต่พยานจำความได้ พยานเคยไปช่วยนางเตี้ยงปลูกผักสวนครัวด้วยก็ตาม แต่นางเตี้ยงกลับมิได้ไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 180 วัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 ซึ่งหากนายวงค์และนางเตี้ยงได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2497 โดยชอบ เพียงแต่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับมิใช่เป็นที่ดินที่มีการหวงห้ามมิให้ราษฎรเข้าถือครอง ย่อมไม่มีเหตุผลใดที่นายวงค์และนางเตี้ยงจะต้องละเลยไม่ไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อทางราชการเพื่อรักษาสิทธิในที่ดินของตนไว้ ทั้งนายบุญตันมิได้เบิกความอธิบายให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าว ข้ออ้างการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 ว่าได้ครอบครองสืบต่อกันมาจากนายวงค์และนางเตี้ยงตั้งแต่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ จึงไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง คงรับฟังได้เพียงว่า นายบุญตันครอบครองและขายที่ดินพิพาทให้แก่นางโสภาพรรณเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537 นางโสภาพรรณขายที่ดินต่อให้แก่นางวันดี มารดาของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 และนางวันดียกให้แก่โจทก์ที่ 1 ในปี 2555 เท่านั้น ล้วนแต่เป็นการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้วทั้งสิ้น ส่วนโจทก์ที่ 2 นำสืบว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2554 นายธนชาตซื้อที่ดินพิพาทบางส่วนจากนายสุรันดรในราคา 150,000 บาท วันที่ 31 มกราคม 2556 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินเนื้อที่ 1 งาน 53 ตารางวา จากนางจิรารัตน์ในราคา 700,000 บาท และวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินเนื้อที่ 50 ตารางวา จากนายธนชาตในราคา 200,000 บาท โจทก์ที่ 5 นำสืบว่า โจทก์ที่ 5 ซื้อที่ดินมาจากนายสุรันดรและนางปราณี เมื่อปี 2544 จากนั้นโจทก์ที่ 5 สร้างบ้านอยู่อาศัย ประกอบกิจค้าขายและให้เช่าพักแรมในชื่อ “บ้านพัก ร.” มาจนถึงปัจจุบัน และโจทก์ที่ 7 นำสืบว่า เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2533 นางโสภาพรรณและนางสาวคะนึงนิจ ซื้อที่ดินมาจากนายปัญญา แล้วโจทก์ที่ 7 ซื้อที่ดินต่อจากนางโสภาพรรณและนางสาวคะนึงนิจ คงเป็นการนำสืบเพียงในช่วงที่แต่ละคนซื้อที่ดินมาและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของตนเท่านั้นและเป็นการซื้อที่ดินที่ไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดินเพื่อการอ้างอิงถึงสิทธิครอบครองในที่ดิน ผู้ที่ขายที่ดินจะได้ที่ดินมาโดยชอบหรือไม่ อย่างไรและเมื่อใด ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับหรือไม่ ก็ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์ที่ 2 เบิกความว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในชุมชนเก่าที่ชาวบ้านอยู่อาศัยมานานหลายร้อยปี แต่ที่ดินกลับไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเลยและมีเฉพาะในส่วนที่โจทก์ทั้งสิบครอบครองซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขงเท่านั้นที่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน หาได้อยู่ในส่วนอื่นของชุมชนที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยไม่ สำหรับโจทก์ที่ 9 นำสืบว่า โจทก์ที่ 9 ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินเมื่อปี 2540 ตกทอดมาจากบิดามารดา และบิดามารดาครอบครองสืบมาต่อจากตายาย โจทก์ที่ 9 ปลูกผักสวนครัวและไม้ยืนต้น แต่โจทก์ที่ 9 เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า ต้นไผ่ ต้นกล้วยและเถาวัลย์ตามภาพถ่ายเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและโจทก์ที่ 9 มิได้อาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท พยานหลักฐานตามที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 แต่ละคนได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินและโดยไม่ขาดสายตั้งแต่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ หากแต่เป็นการเข้าครอบครองภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว ไม่มีกรณีที่จะทำให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 พึงได้รับความคุ้มครองว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 2 และแม้หากที่ดินพิพาทจะพ้นจากการเป็นที่ชายตลิ่งไปโดยสภาพ เนื่องจากในฤดูฝนน้ำท่วมไม่ถึง ดังโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ฎีกา แต่ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของรัฐ ประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (1) ตามคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสอง การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่มีสิทธิอ้างการครอบครองที่ผิดกฎหมายใช้ยันรัฐได้ไม่ว่าในทางใด การฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อไม่ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาท จึงมีผลเท่ากับอ้างสิทธิครอบครองมายันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในกรณีที่มีข้อพิพาทหรือคดีเกี่ยวกับที่ดิน นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมกันดำเนินการ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะดำเนินการ ก็ให้มีอำนาจกระทำได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้งในชั้นฎีกาทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ
เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิที่ดินมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 2 และแม้หากที่ดินพิพาทจะพ้นจากการเป็นที่ชายตลิ่งไปโดยสภาพ เนื่องจากในฤดูฝนน้ำท่วมไม่ถึง แต่ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของรัฐ ประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการต้องห้ามตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่มีสิทธิอ้างการครอบครองที่ผิดกฎหมายใช้ยันรัฐได้ไม่ว่าในทางใด การฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อไม่ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาท จึงมีผลเท่ากับอ้างสิทธิครอบครองมายันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันในกรณีที่มีข้อพิพาทหรือคดีเกี่ยวกับที่ดิน นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมกันดำเนินการ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะดำเนินการ ก็ให้มีอำนาจกระทำได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทได้
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกโจทก์ในสำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 เรียกโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 ในสำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 10 ตามลำดับ และเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งสองสำนวนว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2
โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องขอให้พิพากษาว่า โจทก์ทั้งสิบเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2497 ซึ่งเป็นวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และที่ดินดังกล่าวไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ห้ามจำเลยทั้งสองกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสิบ กับให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการเพิกถอนการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องและขับไล่โจทก์ทั้งสิบพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายสิ่งของออกจากที่ดินพิพาท หากโจทก์ทั้งสิบไม่รื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกไป ให้จำเลยทั้งสองหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจรื้อถอน และขนย้ายสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกไป โดยให้โจทก์ทั้งสิบเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด
โจทก์ที่ 1 ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 10 ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ขับไล่โจทก์ทั้งสิบพร้อมบริวารออกจากที่ดินพิพาท ให้โจทก์ทั้งสิบรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และขนย้ายสิ่งของออกจากที่ดินพิพาทด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์ทั้งสิบ ห้ามโจทก์ทั้งสิบและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป กับให้โจทก์ทั้งสิบใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งทั้งสองสำนวนแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ สำนวนแรก 3,000 บาท สำนวนที่สอง 10,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ยกฟ้องโจทก์ทั้งสิบ ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งสิบให้เป็นพับ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 10 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในส่วนฟ้องแย้งทั้งสองสำนวนในศาลชั้นต้นกับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสิบต่างครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 1 ครอบครองเนื้อที่ 1 งาน 5.6 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 71/1 โจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 2 งาน 34.1 ตารางวา พร้อมบ้านอยู่อาศัยและให้เช่าพักแรมเลขที่ 3/9 โจทก์ที่ 3 เนื้อที่ 40.5 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 3/6 โจทก์ที่ 4 เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 20.2 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 3/4 โจทก์ที่ 5 เนื้อที่ 3 งาน 22.4 ตารางวา พร้อมบ้านอยู่อาศัยและให้เช่าพักแรมเลขที่ 99/4 โจทก์ที่ 6 เนื้อที่ 2 งาน 5.9 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 154/4 โจทก์ที่ 7 เนื้อที่ 84.1 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 135/5 โจทก์ที่ 8 เนื้อที่ 2 งาน 78.3 ตารางวา โจทก์ที่ 9 เนื้อที่ 1 งาน 66.1 ตารางวา และโจทก์ที่ 10 เนื้อที่ 3 งาน 11.5 ตารางวา วันที่ 28 ตุลาคม 2559 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีหนังสือถึงสำนักงานที่ดินว่า ด้วยจำเลยที่ 1 ได้รับการร้องเรียนกรณีมีการบุกรุกที่ดินริมตลิ่งแม่น้ำโขง โดยเอกชนหลายรายเข้าไปล้อมรั้วแสดงสิทธิครอบครอง และมีบางรายปลูกบ้านพักส่วนตัว ขอให้จำเลยที่ 1 ตรวจสอบและรังวัดที่ดินว่างเปล่าเพื่อเป็นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันและเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง จึงขอความอนุเคราะห์ประมาณค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดินเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่ มีผู้คัดค้านประมาณ 20 ราย ครอบคลุมที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสิบครอบครองด้วย คดีสำหรับโจทก์ที่ 4 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และคดีสำหรับโจทก์ที่ 3 ที่ 6 และที่ 10 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ตามที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เป็นฝ่ายที่กล่าวอ้างว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 แต่ละคนต่างมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองที่ดินสืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ตามที่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 บัญญัติว่า “บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ให้มีสิทธิครอบครองสืบไปและให้คุ้มครองตลอดถึงผู้รับโอนด้วย” โดยประมวลกฎหมายที่ดินเริ่มใช้บังคับในวันที่ 1 ธันวาคม 2497 หน้าที่ในการนำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างจึงตกแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ที่โจทก์ที่ 1 นำสืบว่า เดิมที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา นายวงค์และนางเตี้ยง ได้ครอบครองและทำประโยชน์ด้วยการปลูกพืชไร่และกอไผ่ขาย นายวงค์และนางเตี้ยงมีบุตร 5 คน นายบุญศรี และนางบาง มารดาของนายบุญตัน ต่างเป็นบุตรของนายวงค์และนางเตี้ยง หลังจากนายวงค์และนางเตี้ยงตาย ทายาทตกลงมอบที่ดินให้แก่นายบุญศรี ต่อมานายบุญศรีแบ่งที่ดิน 1 งาน 5.6 ตารางวา ให้แก่นายบุญตันซึ่งเป็นหลาน วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537 นายบุญตันขายที่ดินให้แก่นางโสภาพรรณ ในราคา 130,000 บาท วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 นางโสภาพรรณขายที่ดินให้แก่นางวันดี มารดาของโจทก์ที่ 1 ในราคา 500,000 บาท นางวันดีเข้าครอบครองที่ดินและปลูกสร้างบ้านเลขที่ 71/1 และเมื่อต้นปี 2555 นางวันดีได้ยกที่ดินพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 1 มีนายบุญตันซึ่งเกิดปี 2485 เป็นพยานเบิกความสนับสนุนว่า พยานเห็นนายวงค์และนางเตี้ยงครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยการปลูกพืชไร่และกอไผ่ขายตั้งแต่พยานจำความได้ พยานเคยไปช่วยนางเตี้ยงปลูกผักสวนครัวด้วยก็ตาม แต่นางเตี้ยงกลับมิได้ไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 180 วัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 ซึ่งหากนายวงค์และนางเตี้ยงได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2497 โดยชอบ เพียงแต่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับมิใช่เป็นที่ดินที่มีการหวงห้ามมิให้ราษฎรเข้าถือครอง ย่อมไม่มีเหตุผลใดที่นายวงค์และนางเตี้ยงจะต้องละเลยไม่ไปแจ้งการครอบครองที่ดินต่อทางราชการเพื่อรักษาสิทธิในที่ดินของตนไว้ ทั้งนายบุญตันมิได้เบิกความอธิบายให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าว ข้ออ้างการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 ว่าได้ครอบครองสืบต่อกันมาจากนายวงค์และนางเตี้ยงตั้งแต่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ จึงไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง คงรับฟังได้เพียงว่า นายบุญตันครอบครองและขายที่ดินพิพาทให้แก่นางโสภาพรรณเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537 นางโสภาพรรณขายที่ดินต่อให้แก่นางวันดี มารดาของโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 และนางวันดียกให้แก่โจทก์ที่ 1 ในปี 2555 เท่านั้น ล้วนแต่เป็นการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้วทั้งสิ้น ส่วนโจทก์ที่ 2 นำสืบว่า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2554 นายธนชาตซื้อที่ดินพิพาทบางส่วนจากนายสุรันดรในราคา 150,000 บาท วันที่ 31 มกราคม 2556 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินเนื้อที่ 1 งาน 53 ตารางวา จากนางจิรารัตน์ในราคา 700,000 บาท และวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินเนื้อที่ 50 ตารางวา จากนายธนชาตในราคา 200,000 บาท โจทก์ที่ 5 นำสืบว่า โจทก์ที่ 5 ซื้อที่ดินมาจากนายสุรันดรและนางปราณี เมื่อปี 2544 จากนั้นโจทก์ที่ 5 สร้างบ้านอยู่อาศัย ประกอบกิจค้าขายและให้เช่าพักแรมในชื่อ “บ้านพัก ร.” มาจนถึงปัจจุบัน และโจทก์ที่ 7 นำสืบว่า เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2533 นางโสภาพรรณและนางสาวคะนึงนิจ ซื้อที่ดินมาจากนายปัญญา แล้วโจทก์ที่ 7 ซื้อที่ดินต่อจากนางโสภาพรรณและนางสาวคะนึงนิจ คงเป็นการนำสืบเพียงในช่วงที่แต่ละคนซื้อที่ดินมาและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของตนเท่านั้นและเป็นการซื้อที่ดินที่ไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดินเพื่อการอ้างอิงถึงสิทธิครอบครองในที่ดิน ผู้ที่ขายที่ดินจะได้ที่ดินมาโดยชอบหรือไม่ อย่างไรและเมื่อใด ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับหรือไม่ ก็ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์ที่ 2 เบิกความว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในชุมชนเก่าที่ชาวบ้านอยู่อาศัยมานานหลายร้อยปี แต่ที่ดินกลับไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเลยและมีเฉพาะในส่วนที่โจทก์ทั้งสิบครอบครองซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขงเท่านั้นที่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน หาได้อยู่ในส่วนอื่นของชุมชนที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยไม่ สำหรับโจทก์ที่ 9 นำสืบว่า โจทก์ที่ 9 ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินเมื่อปี 2540 ตกทอดมาจากบิดามารดา และบิดามารดาครอบครองสืบมาต่อจากตายาย โจทก์ที่ 9 ปลูกผักสวนครัวและไม้ยืนต้น แต่โจทก์ที่ 9 เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า ต้นไผ่ ต้นกล้วยและเถาวัลย์ตามภาพถ่ายเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและโจทก์ที่ 9 มิได้อาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท พยานหลักฐานตามที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 นำสืบมายังฟังไม่ได้ว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 แต่ละคนได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินและโดยไม่ขาดสายตั้งแต่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ หากแต่เป็นการเข้าครอบครองภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้ว ไม่มีกรณีที่จะทำให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 พึงได้รับความคุ้มครองว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ให้ถือว่าเป็นของรัฐ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 2 และแม้หากที่ดินพิพาทจะพ้นจากการเป็นที่ชายตลิ่งไปโดยสภาพ เนื่องจากในฤดูฝนน้ำท่วมไม่ถึง ดังโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ฎีกา แต่ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของรัฐ ประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (1) ตามคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสอง การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่มีสิทธิอ้างการครอบครองที่ผิดกฎหมายใช้ยันรัฐได้ไม่ว่าในทางใด การฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อไม่ให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาท จึงมีผลเท่ากับอ้างสิทธิครอบครองมายันรัฐซึ่งไม่อาจกระทำได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในกรณีที่มีข้อพิพาทหรือคดีเกี่ยวกับที่ดิน นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมกันดำเนินการ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะดำเนินการ ก็ให้มีอำนาจกระทำได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 9 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้งในชั้นฎีกาทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ