คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องกองทัพอากาศ จำเลย โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จโดยสั่งซื้อยาจากโจทก์หลายครั้งหลายรายการ แต่ไม่ชำระเงินค่าสินค้า ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ เห็นว่า เมื่อสัญญาเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลยและเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีสาระสำคัญเพื่อให้ได้มาซึ่งยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จอันเป็นเวชภัณฑ์สำคัญที่จำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ให้บรรลุผล สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๔/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ บริษัทไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องกองทัพอากาศ จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๓๘๓/๒๕๕๓ ความว่า ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน ๒๕๕๐ ถึงมีนาคม ๒๕๕๑ โรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลยตกลงซื้อสินค้าประเภทยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จจากโจทก์หลายครั้งหลายรายการ กำหนดชำระเงินค่ายาภายในหกสิบวันนับแต่วันสั่งซื้อ แต่หลังจากโจทก์ส่งมอบสินค้าและครบกำหนดเวลาชำระเงินตามใบสั่งซื้อแล้ว โรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่าสินค้า ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน ๑,๑๕๑,๐๓๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในต้นเงิน ๘๒๗,๔๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้มีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์และมิได้ตกลงยินยอมกับโจทก์ในการสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์และในเงื่อนไขตามเอกสารที่โจทก์กล่าวอ้าง จากการตรวจสอบปรากฏว่าโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ไม่ได้สั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ แต่เป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ไม่สุจริตโดยมีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ การสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ดังกล่าวจึงมิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่มีใบสั่งซื้อที่ถูกต้องจากโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้จำเลยได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องแล้ว การที่โจทก์จำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ให้กับโรงพยาบาลโดยไม่ดำเนินการตามระเบียบทั้งที่โจทก์เคยดำเนินการในเรื่องเหล่านี้มาก่อนแล้ว เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทตามสัญญาที่เกี่ยวกับการจัดให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนโดยทั่วไปอันเป็นบริการสาธารณะ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า สัญญาซื้อขายยาและเวชภัณฑ์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้อง แม้จะฟังได้ว่าจำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครองมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ตามที่อ้าง สัญญาดังกล่าวก็เป็นสัญญาที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์และจำเลยแสดงเจตนาด้วยใจสมัครในฐานะที่เท่าเทียมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาได้เป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองตกลงมอบหมายให้โจทก์ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองแทนรัฐ ทั้งสัญญาดังกล่าวก็มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นอกจากนั้นสัญญาซื้อขายตามโจทก์บรรยายฟ้องมาก็ไม่ปรากฏว่ามีส่วนใดของสัญญาที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของจำเลยว่ามีอยู่เหนือโจทก์ ประกอบกับสัญญาก็มิได้ให้โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง ดังนั้นสัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อสัญญาซื้อขายตามฟ้องมิใช่สัญญาทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า หากพิจารณามาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๓ และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จะเห็นได้ว่านอกจากสัญญาทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแล้วยังมีสัญญาที่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองอื่นๆ ได้อีก โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์และเนื้อหาของสัญญานั้นๆ หากเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายให้ดำเนินการในลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่งของการใช้อำนาจทางปกครองหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง หรือเป็นสัญญาที่มีเนื้อหาซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกสิทธิ์ของรัฐที่มีเหนือคู่สัญญา สัญญาดังกล่าวก็จะมีลักษณะที่เป็นสัญญาทางปกครองโดยสภาพ โดยที่สัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันระหว่างโจทก์กับโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ เป็นสัญญาที่มีสาระสำคัญให้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนจัดหาและส่งมอบยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จเพื่อใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะด้านการแพทย์ของโรงพยาบาล ยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สำคัญและจำเป็นในการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลย สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายจำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐและเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สำคัญหรือจำเป็นเพื่อใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะของโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ และจำเลย อันเป็นสัญญาที่มีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของการใช้อำนาจทางปกครองหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง อีกทั้งสัญญาดังกล่าวยังมีลักษณะเป็นสัญญาที่จำเลยใช้เอกสิทธิ์ของรัฐโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๓ ออกคำสั่งทางปกครองในขั้นตอนต่างๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียว รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขสัญญาและบอกเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียว อันแสดงให้เห็นถึงเอกสิทธิ์ของจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายปกครองที่มีเหนือโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินกิจการทางปกครองของจำเลย อันได้แก่ การจัดซื้อยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จเพื่อนำไปใช้จัดทำบริการสาธารณะด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของจำเลยบรรลุผล สัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามคำฟ้องคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยอันเนื่องมาจากโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลย ผิดสัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จโดยสั่งซื้อยาจากโจทก์หลายครั้งหลายรายการแต่ไม่ชำระเงินค่าสินค้า ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ส่วนจำเลยให้การว่าไม่ต้องรับผิดตามสัญญาเพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ การสั่งซื้อยาที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ไม่สุจริตซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยที่เกิดขึ้นจากสัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ กรณีจึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งสัญญาทางปกครองหมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลยและเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีสาระสำคัญเพื่อให้ได้มาซึ่งยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จอันเป็นเวชภัณฑ์สำคัญที่จำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ให้บรรลุผล สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างบริษัทไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด โจทก์ กองทัพอากาศ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องกองทัพอากาศ จำเลย โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จโดยสั่งซื้อยาจากโจทก์หลายครั้งหลายรายการ แต่ไม่ชำระเงินค่าสินค้า ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ เห็นว่า เมื่อสัญญาเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลยและเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีสาระสำคัญเพื่อให้ได้มาซึ่งยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จอันเป็นเวชภัณฑ์สำคัญที่จำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ให้บรรลุผล สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๔/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๓ บริษัทไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องกองทัพอากาศ จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๓๘๓/๒๕๕๓ ความว่า ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน ๒๕๕๐ ถึงมีนาคม ๒๕๕๑ โรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลยตกลงซื้อสินค้าประเภทยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จจากโจทก์หลายครั้งหลายรายการ กำหนดชำระเงินค่ายาภายในหกสิบวันนับแต่วันสั่งซื้อ แต่หลังจากโจทก์ส่งมอบสินค้าและครบกำหนดเวลาชำระเงินตามใบสั่งซื้อแล้ว โรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่าสินค้า ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน ๑,๑๕๑,๐๓๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในต้นเงิน ๘๒๗,๔๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้มีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์และมิได้ตกลงยินยอมกับโจทก์ในการสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์และในเงื่อนไขตามเอกสารที่โจทก์กล่าวอ้าง จากการตรวจสอบปรากฏว่าโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ไม่ได้สั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ แต่เป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ไม่สุจริตโดยมีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ การสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ดังกล่าวจึงมิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่มีใบสั่งซื้อที่ถูกต้องจากโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้จำเลยได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องแล้ว การที่โจทก์จำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ให้กับโรงพยาบาลโดยไม่ดำเนินการตามระเบียบทั้งที่โจทก์เคยดำเนินการในเรื่องเหล่านี้มาก่อนแล้ว เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมกับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทตามสัญญาที่เกี่ยวกับการจัดให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนโดยทั่วไปอันเป็นบริการสาธารณะ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า สัญญาซื้อขายยาและเวชภัณฑ์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้อง แม้จะฟังได้ว่าจำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครองมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ตามที่อ้าง สัญญาดังกล่าวก็เป็นสัญญาที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์และจำเลยแสดงเจตนาด้วยใจสมัครในฐานะที่เท่าเทียมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาได้เป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองตกลงมอบหมายให้โจทก์ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองแทนรัฐ ทั้งสัญญาดังกล่าวก็มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นอกจากนั้นสัญญาซื้อขายตามโจทก์บรรยายฟ้องมาก็ไม่ปรากฏว่ามีส่วนใดของสัญญาที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของจำเลยว่ามีอยู่เหนือโจทก์ ประกอบกับสัญญาก็มิได้ให้โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง ดังนั้นสัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อสัญญาซื้อขายตามฟ้องมิใช่สัญญาทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า หากพิจารณามาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๓ และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จะเห็นได้ว่านอกจากสัญญาทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแล้วยังมีสัญญาที่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองอื่นๆ ได้อีก โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์และเนื้อหาของสัญญานั้นๆ หากเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐตกลงกับคู่สัญญาอีกฝ่ายให้ดำเนินการในลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่งของการใช้อำนาจทางปกครองหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง หรือเป็นสัญญาที่มีเนื้อหาซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกสิทธิ์ของรัฐที่มีเหนือคู่สัญญา สัญญาดังกล่าวก็จะมีลักษณะที่เป็นสัญญาทางปกครองโดยสภาพ โดยที่สัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันระหว่างโจทก์กับโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ เป็นสัญญาที่มีสาระสำคัญให้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนจัดหาและส่งมอบยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จเพื่อใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะด้านการแพทย์ของโรงพยาบาล ยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สำคัญและจำเป็นในการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลย สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายจำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐและเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สำคัญหรือจำเป็นเพื่อใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะของโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ และจำเลย อันเป็นสัญญาที่มีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของการใช้อำนาจทางปกครองหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง อีกทั้งสัญญาดังกล่าวยังมีลักษณะเป็นสัญญาที่จำเลยใช้เอกสิทธิ์ของรัฐโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๓ ออกคำสั่งทางปกครองในขั้นตอนต่างๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียว รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขสัญญาและบอกเลิกสัญญาได้ฝ่ายเดียว อันแสดงให้เห็นถึงเอกสิทธิ์ของจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายปกครองที่มีเหนือโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินกิจการทางปกครองของจำเลย อันได้แก่ การจัดซื้อยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จเพื่อนำไปใช้จัดทำบริการสาธารณะด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของจำเลยบรรลุผล สัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามคำฟ้องคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยอันเนื่องมาจากโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลย ผิดสัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จโดยสั่งซื้อยาจากโจทก์หลายครั้งหลายรายการแต่ไม่ชำระเงินค่าสินค้า ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ส่วนจำเลยให้การว่าไม่ต้องรับผิดตามสัญญาเพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ การสั่งซื้อยาที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ไม่สุจริตซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยที่เกิดขึ้นจากสัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ กรณีจึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งสัญญาทางปกครองหมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดจำเลยและเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีสาระสำคัญเพื่อให้ได้มาซึ่งยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จอันเป็นเวชภัณฑ์สำคัญที่จำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะด้านการแพทย์ของโรงพยาบาลกองบิน ๒๓ ให้บรรลุผล สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างบริษัทไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด โจทก์ กองทัพอากาศ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4)
คดีนี้โจทก์ทั้งสองอ้างว่าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ แต่จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐออก น.ส. ๓ ก. ให้แก่ ส. โดยไม่ชอบทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วน ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินไปขายฝากและผู้รับซื้อฝากไม่มีสิทธิขายต่อให้จำเลยที่ ๑ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ส่งมอบ น.ส. ๓ ก. คืนแก่สำนักงานที่ดิน และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอน น.ส. ๓ ก. หรือเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีซึ่งศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นสิทธิครอบครองของจำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๒ ให้การว่า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งผูกพันโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ ๒ ออก น.ส. ๓ ก. โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เห็นว่า ข้อหาและข้อต่อสู้เป็นเรื่องสิทธิครอบครอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า โจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ ๑ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเป็นสำคัญ แล้วจึงพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๓/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดเดชอุดม
ระหว่าง
ศาลปกครองอุบลราชธานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดเดชอุดมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ นายสมบูรณ์ นำระนะ ที่ ๑ นางปั่น นำระนะ ที่ ๒ โจทก์ ยื่นฟ้องนายวิรัตน์ กุลแก้ว ที่ ๑ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดเดชอุดม เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๖๙/๒๕๕๔ ความว่า โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลตาเกา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ต่อเนื่องมาโดยตลอด เมื่อปี ๒๕๓๙ โจทก์ทั้งสองได้แจ้งการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินคนละ ๑๒ ไร่เศษ ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สาขาน้ำยืน แต่ปรากฏว่ามีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ ตำบลตาเกา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ให้แก่นายสัมฤทธิ์ อินตะ ไปแล้วเมื่อปี ๒๕๒๑ โดยออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วน ทั้งที่นายสัมฤทธิ์ไม่เคยแจ้งการครอบครอง ไม่เคยพิสูจน์การทำประโยชน์และไม่เคยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว และทางราชการไม่เคยประกาศการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงดังกล่าว การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายสัมฤทธิ์ไม่มีสิทธินำที่ดินดังกล่าวไปขายฝากให้แก่นายเดชา โชควิวัฒนวนิช และนายเดชาไม่มีสิทธินำที่ดินแปลงดังกล่าวไปขายต่อให้จำเลยที่ ๑ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ คืนแก่สำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สาขาน้ำยืน และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวหรือเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ๔๔๐/๒๕๕๒ ของศาลจังหวัดเดชอุดม ซึ่งศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นสิทธิครอบครองของจำเลยที่ ๑ ให้ขับไล่โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ กับพวกรวม ๗ คน ออกจากที่ดินดังกล่าวและให้ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษายืนและคดีถึงที่สุด
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์ทั้งสองเคยยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานีในข้อเท็จจริงเดียวกับคดีนี้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๕/๒๕๔๒ (ที่ถูก ๑๗๕๔/๒๕๔๒) ซึ่งศาลพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชนะคดี แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๖๘๕/๒๕๕๑ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ต่อศาลจังหวัดเดชอุดมในข้อเท็จจริงเดียวกันนี้อีก เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๒๓๐/๒๕๕๒ ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง โดยอาศัยข้อเท็จจริงตาม คำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ที่ได้พิพากษาว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. พิพาทซึ่งผูกพันโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ ๒ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ โดยถูกต้องตามกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ ๒ ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) โดยอ้างว่าจำเลยที่ ๒ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวโดยมิชอบ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๒ ออกคำสั่งทางปกครอง โดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดเดชอุดมพิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าการออกหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ของทางราชการให้แก่ผู้มีชื่อทับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ทั้งสอง การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) หรือเพิกถอนในส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ ๒ มาด้วย แต่ในการที่ศาลจะพิจารณาว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของทางราชการให้แก่ผู้มีชื่อทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองเพื่อที่จะมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของคู่ความ โดยจะต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติก่อนว่าโจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ ๑เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญในข้อหาแห่งคดี ดังนั้น คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองอุบลราชธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และ ๒๒๓ หากศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีใดแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ ให้แก่นายสัมฤทธิ์ อินตะ ทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนอันเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกล่าวอ้างว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ตามมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๘ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของบุคคล การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงฟ้องขอให้ศาลมีคำบังคับให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวหรือเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการด้วยการออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับตามคำขอของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง สำหรับประเด็นปัญหาว่าระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ ๑ ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น เป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดี แม้จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่การพิจารณาในปัญหาดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การพิจารณาแต่เพียงเฉพาะประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินย่อมไม่ครอบคลุมทุกประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่กล่าวอ้างว่า พนักงานเจ้าหน้าที่มิได้พิสูจน์การทำประโยชน์และไม่ดำเนินการประกาศการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็เป็นประเด็นปัญหาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นกัน ทั้งนี้ หากการพิจารณาในประเด็นดังกล่าวข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์กล่าวอ้าง กระบวนการในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทในคดีนี้ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลปกครองสามารถเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวได้ นอกจากนั้น มาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สิน มีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สิน เมื่อคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยที่ ๒ จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่มีการออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๔๗ ให้แก่นายสัมฤทธิ์ ทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วน การออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๔๗ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายสัมฤทธิ์ไม่มีสิทธินำที่ดิน น.ส. ๓ ก. แปลงดังกล่าวไปขายฝากและผู้รับซื้อฝากไม่มีสิทธิขายต่อให้จำเลยที่ ๑ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ส่งมอบ น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๔๗ คืนแก่สำนักงานที่ดินจังหวัด และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวหรือเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำกับคดีของศาลจังหวัดเดชอุดมที่ศาลพิพากษาว่า ที่ดินเป็นสิทธิครอบครองของจำเลยที่ ๑ ให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองกับพวก ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษายืนและคดีถึงที่สุด และจำเลยที่ ๒ ให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์ทั้งสองเคยยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานีในข้อเท็จจริงเดียวกับคดีนี้ ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. พิพาทซึ่งผูกพันโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ ๒ ออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๔๗ โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เห็นว่า ข้อหาและข้อต่อสู้เป็นเรื่องสิทธิครอบครอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า โจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ ๑ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเป็นสำคัญ แล้วจึงพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายสมบูรณ์ นำระนะ ที่ ๑ นางปั่น นำระนะ ที่ ๒ โจทก์ นายวิรัตน์ กุลแก้ว ที่ ๑ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีนี้โจทก์ทั้งสองอ้างว่าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ แต่จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐออก น.ส. ๓ ก. ให้แก่ ส. โดยไม่ชอบทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วน ส. ไม่มีสิทธินำที่ดินไปขายฝากและผู้รับซื้อฝากไม่มีสิทธิขายต่อให้จำเลยที่ ๑ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ส่งมอบ น.ส. ๓ ก. คืนแก่สำนักงานที่ดิน และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอน น.ส. ๓ ก. หรือเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีซึ่งศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นสิทธิครอบครองของจำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๒ ให้การว่า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งผูกพันโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ ๒ ออก น.ส. ๓ ก. โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เห็นว่า ข้อหาและข้อต่อสู้เป็นเรื่องสิทธิครอบครอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า โจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ ๑ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเป็นสำคัญ แล้วจึงพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๓/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดเดชอุดม
ระหว่าง
ศาลปกครองอุบลราชธานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดเดชอุดมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ นายสมบูรณ์ นำระนะ ที่ ๑ นางปั่น นำระนะ ที่ ๒ โจทก์ ยื่นฟ้องนายวิรัตน์ กุลแก้ว ที่ ๑ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดเดชอุดม เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๖๙/๒๕๕๔ ความว่า โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลตาเกา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ต่อเนื่องมาโดยตลอด เมื่อปี ๒๕๓๙ โจทก์ทั้งสองได้แจ้งการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินคนละ ๑๒ ไร่เศษ ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สาขาน้ำยืน แต่ปรากฏว่ามีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ ตำบลตาเกา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ให้แก่นายสัมฤทธิ์ อินตะ ไปแล้วเมื่อปี ๒๕๒๑ โดยออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วน ทั้งที่นายสัมฤทธิ์ไม่เคยแจ้งการครอบครอง ไม่เคยพิสูจน์การทำประโยชน์และไม่เคยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว และทางราชการไม่เคยประกาศการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงดังกล่าว การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายสัมฤทธิ์ไม่มีสิทธินำที่ดินดังกล่าวไปขายฝากให้แก่นายเดชา โชควิวัฒนวนิช และนายเดชาไม่มีสิทธินำที่ดินแปลงดังกล่าวไปขายต่อให้จำเลยที่ ๑ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ คืนแก่สำนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี สาขาน้ำยืน และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวหรือเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ๔๔๐/๒๕๕๒ ของศาลจังหวัดเดชอุดม ซึ่งศาลพิพากษาว่าที่ดินเป็นสิทธิครอบครองของจำเลยที่ ๑ ให้ขับไล่โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ กับพวกรวม ๗ คน ออกจากที่ดินดังกล่าวและให้ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษายืนและคดีถึงที่สุด
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์ทั้งสองเคยยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานีในข้อเท็จจริงเดียวกับคดีนี้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๕/๒๕๔๒ (ที่ถูก ๑๗๕๔/๒๕๔๒) ซึ่งศาลพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชนะคดี แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๗๖๘๕/๒๕๕๑ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ต่อศาลจังหวัดเดชอุดมในข้อเท็จจริงเดียวกันนี้อีก เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๒๓๐/๒๕๕๒ ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง โดยอาศัยข้อเท็จจริงตาม คำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ที่ได้พิพากษาว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. พิพาทซึ่งผูกพันโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ ๒ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ โดยถูกต้องตามกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ ๒ ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) โดยอ้างว่าจำเลยที่ ๒ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวโดยมิชอบ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๒ ออกคำสั่งทางปกครอง โดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดเดชอุดมพิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าการออกหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ของทางราชการให้แก่ผู้มีชื่อทับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ทั้งสอง การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) หรือเพิกถอนในส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องอธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ ๒ มาด้วย แต่ในการที่ศาลจะพิจารณาว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของทางราชการให้แก่ผู้มีชื่อทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองเพื่อที่จะมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของคู่ความ โดยจะต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติก่อนว่าโจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ ๑เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญในข้อหาแห่งคดี ดังนั้น คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองอุบลราชธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และ ๒๒๓ หากศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีใดแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๔๔๗ ให้แก่นายสัมฤทธิ์ อินตะ ทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วนอันเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกล่าวอ้างว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ตามมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๘ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของบุคคล การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงฟ้องขอให้ศาลมีคำบังคับให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวหรือเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการด้วยการออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับตามคำขอของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง สำหรับประเด็นปัญหาว่าระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ ๑ ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น เป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดี แม้จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่การพิจารณาในปัญหาดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การพิจารณาแต่เพียงเฉพาะประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินย่อมไม่ครอบคลุมทุกประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่กล่าวอ้างว่า พนักงานเจ้าหน้าที่มิได้พิสูจน์การทำประโยชน์และไม่ดำเนินการประกาศการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็เป็นประเด็นปัญหาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นกัน ทั้งนี้ หากการพิจารณาในประเด็นดังกล่าวข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์กล่าวอ้าง กระบวนการในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทในคดีนี้ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลปกครองสามารถเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวได้ นอกจากนั้น มาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สิน มีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สิน เมื่อคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยที่ ๒ จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่มีการออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๔๗ ให้แก่นายสัมฤทธิ์ ทับที่ดินของโจทก์ทั้งสองบางส่วน การออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๔๗ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายสัมฤทธิ์ไม่มีสิทธินำที่ดิน น.ส. ๓ ก. แปลงดังกล่าวไปขายฝากและผู้รับซื้อฝากไม่มีสิทธิขายต่อให้จำเลยที่ ๑ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ส่งมอบ น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๔๗ คืนแก่สำนักงานที่ดินจังหวัด และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวหรือเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องซ้ำกับคดีของศาลจังหวัดเดชอุดมที่ศาลพิพากษาว่า ที่ดินเป็นสิทธิครอบครองของจำเลยที่ ๑ ให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองกับพวก ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษายืนและคดีถึงที่สุด และจำเลยที่ ๒ ให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์ทั้งสองเคยยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานีในข้อเท็จจริงเดียวกับคดีนี้ ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. พิพาทซึ่งผูกพันโจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ ๒ ออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๔๗ โดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เห็นว่า ข้อหาและข้อต่อสู้เป็นเรื่องสิทธิครอบครอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า โจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ ๑ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเป็นสำคัญ แล้วจึงพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายสมบูรณ์ นำระนะ ที่ ๑ นางปั่น นำระนะ ที่ ๒ โจทก์ นายวิรัตน์ กุลแก้ว ที่ ๑ อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีนี้แม้จำเลยที่ ๓ จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจำเลยที่ ๔ เป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่โจทก์อ้างว่าเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า โดยซื้อมาจาก ก. จำเลยที่ ๓ ได้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ ๑ ซึ่งรับโอนมรดกที่ดินและจำเลยที่ ๒ ซึ่งซื้อที่ดิน จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ร่วมกันเพิกถอนโฉนดที่ดิน ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรม และพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน จำเลยที่ ๒ ให้การว่า ก. ไม่เคยขายหรือมอบการครอบครองที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยที่ ๒ ได้กรรมสิทธิ์ ในที่ดินโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต ทั้งที่ดินดังกล่าวมิใช่แปลงเดียวกับที่ดินมือเปล่าตามฟ้องโจทก์ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแล้ว เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครองหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ ๒ เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๒/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ นายพูลสมบัติ ดำเนินชาญวนิชย์ โจทก์ ยื่นฟ้องนางสาวกิติยา แก้วคำ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายแก่น แก้วคำ ที่ ๑ นางเฉลียว กุฎีทอง ที่ ๒ สำนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาพนมสารคาม ที่ ๓ กรมที่ดิน ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๒๘/๒๕๕๔ ความว่า โจทก์เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน โดยซื้อมาจากนายแก่น แก้วคำ เจ้าของที่ดินเดิม โจทก์เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนถึงปัจจุบัน โดยนายแก่นไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้านแต่อย่างใด ต่อมาโจทก์พบว่าในปี ๒๕๔๐ นายแก่นนำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินต่อจำเลยที่ ๓ และจำเลยที่ ๓ ได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๓๓๐ ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน ๗๑ ตารางวา ให้แก่นายแก่นอันเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายแก่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ ๑ รับโอนมรดกที่ดินพิพาท แต่ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะการออกโฉนดที่ดินพิพาทไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ ๑ จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๒ ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเช่นกัน การกระทำของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ร่วมกันเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมโฉนดที่ดินพิพาท และพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
จำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า นายแก่นไม่เคยขายหรือมอบการครอบครองที่ดินมือเปล่าให้แก่โจทก์ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของนายแก่นและนายแก่นมีสิทธิยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้ จำเลยที่ ๒ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๓๓๐ มาโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต ทั้งที่ดินดังกล่าวมิใช่แปลงเดียวกับที่ดินมือเปล่าตามฟ้องโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การออกโฉนดที่ดินให้แก่นายแก่นชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแล้ว ไม่ได้ละเมิดต่อโจทก์ คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม คดีขาดอายุความแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากการออกโฉนดที่ดินที่โจทก์อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน ความมุ่งหมายในการฟ้องคดีก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดิน ทั้งจากคำให้การบางประเด็นของจำเลยที่ ๒ ว่า นายแก่นไม่เคยขายหรือมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ นายแก่นจึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกโฉนดที่ดินได้ จำเลยที่ ๒ จดทะเบียนซื้อที่ดินพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต ทั้งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินตามฟ้องโจทก์นั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ ประกอบมาตรา ๒๒๓ การออกโฉนดที่ดินที่โจทก์ อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองที่ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทที่อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับตามคำขอของโจทก์ โดยการสั่งให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม แม้คดีนี้ มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือไม่ ประเด็นดังกล่าวก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดีอันเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่าการดำเนินการออกโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และแม้การพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวหรือไม่ จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่การพิจารณาในปัญหาดังกล่าวมิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ มาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันยืนยันให้เห็นว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สิน และนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีได้ อีกทั้งจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มีหน้าที่ดำเนินการออกโฉนดที่ดิน จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทที่ศาลจะพิพากษาเฉพาะสิทธิในที่ดินเพียงอย่างเดียว ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นประเด็นหลักของคดี ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีจึงมิใช่เรื่องพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินโดยเฉพาะเท่านั้น
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยที่ ๓ จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ เป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า โดยซื้อมาจากนายแก่นเจ้าของที่ดินเดิม แต่จำเลยที่ ๓ ได้ออกโฉนดในที่ดินพิพาทให้แก่นายแก่นตามที่ยื่นคำขออันเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ ๑ ซึ่งรับโอนมรดกที่ดินพิพาทก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์และจำเลยที่ ๒ ซึ่งซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ ๑ ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นกัน ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ร่วมกันเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมโฉนดที่ดินพิพาท และพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยที่ ๒ ให้การว่า นายแก่นไม่เคยขายหรือมอบการครอบครองที่ดินมือเปล่าให้แก่โจทก์ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของนายแก่นและนายแก่นมีสิทธิยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้จำเลยที่ ๒ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต ทั้งที่ดินดังกล่าวมิใช่แปลงเดียวกับที่ดินมือเปล่าตามฟ้องโจทก์ และจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินให้แก่นายแก่นชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแล้ว ไม่ได้ละเมิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครองหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ ๒ เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายพูลสมบัติ ดำเนินชาญวนิชย์ โจทก์ นางสาวกิติยา แก้วคำ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายแก่น แก้วคำ ที่ ๑ นางเฉลียว กุฎีทอง ที่ ๒สำนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาพนมสารคาม ที่ ๓ กรมที่ดิน ที่ ๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีนี้แม้จำเลยที่ ๓ จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจำเลยที่ ๔ เป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่โจทก์อ้างว่าเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า โดยซื้อมาจาก ก. จำเลยที่ ๓ ได้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ ๑ ซึ่งรับโอนมรดกที่ดินและจำเลยที่ ๒ ซึ่งซื้อที่ดิน จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ร่วมกันเพิกถอนโฉนดที่ดิน ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรม และพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน จำเลยที่ ๒ ให้การว่า ก. ไม่เคยขายหรือมอบการครอบครองที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยที่ ๒ ได้กรรมสิทธิ์ ในที่ดินโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต ทั้งที่ดินดังกล่าวมิใช่แปลงเดียวกับที่ดินมือเปล่าตามฟ้องโจทก์ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแล้ว เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครองหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ ๒ เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๒/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ นายพูลสมบัติ ดำเนินชาญวนิชย์ โจทก์ ยื่นฟ้องนางสาวกิติยา แก้วคำ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายแก่น แก้วคำ ที่ ๑ นางเฉลียว กุฎีทอง ที่ ๒ สำนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาพนมสารคาม ที่ ๓ กรมที่ดิน ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๒๘/๒๕๕๔ ความว่า โจทก์เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน โดยซื้อมาจากนายแก่น แก้วคำ เจ้าของที่ดินเดิม โจทก์เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนถึงปัจจุบัน โดยนายแก่นไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้านแต่อย่างใด ต่อมาโจทก์พบว่าในปี ๒๕๔๐ นายแก่นนำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินต่อจำเลยที่ ๓ และจำเลยที่ ๓ ได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๓๓๐ ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน ๗๑ ตารางวา ให้แก่นายแก่นอันเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายแก่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ ๑ รับโอนมรดกที่ดินพิพาท แต่ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะการออกโฉนดที่ดินพิพาทไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ ๑ จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๒ ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเช่นกัน การกระทำของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ร่วมกันเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมโฉนดที่ดินพิพาท และพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
จำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า นายแก่นไม่เคยขายหรือมอบการครอบครองที่ดินมือเปล่าให้แก่โจทก์ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของนายแก่นและนายแก่นมีสิทธิยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้ จำเลยที่ ๒ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๓๓๐ มาโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต ทั้งที่ดินดังกล่าวมิใช่แปลงเดียวกับที่ดินมือเปล่าตามฟ้องโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การออกโฉนดที่ดินให้แก่นายแก่นชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแล้ว ไม่ได้ละเมิดต่อโจทก์ คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม คดีขาดอายุความแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากการออกโฉนดที่ดินที่โจทก์อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน ความมุ่งหมายในการฟ้องคดีก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดิน ทั้งจากคำให้การบางประเด็นของจำเลยที่ ๒ ว่า นายแก่นไม่เคยขายหรือมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ นายแก่นจึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกโฉนดที่ดินได้ จำเลยที่ ๒ จดทะเบียนซื้อที่ดินพิพาทโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต ทั้งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินตามฟ้องโจทก์นั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ ประกอบมาตรา ๒๒๓ การออกโฉนดที่ดินที่โจทก์ อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจำเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองที่ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มีความประสงค์จะให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทที่อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับตามคำขอของโจทก์ โดยการสั่งให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม แม้คดีนี้ มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หรือไม่ ประเด็นดังกล่าวก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดีอันเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่าการดำเนินการออกโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และแม้การพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวหรือไม่ จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่การพิจารณาในปัญหาดังกล่าวมิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ มาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันยืนยันให้เห็นว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สิน และนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีได้ อีกทั้งจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มีหน้าที่ดำเนินการออกโฉนดที่ดิน จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทที่ศาลจะพิพากษาเฉพาะสิทธิในที่ดินเพียงอย่างเดียว ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นประเด็นหลักของคดี ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีจึงมิใช่เรื่องพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินโดยเฉพาะเท่านั้น
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยที่ ๓ จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ เป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า โดยซื้อมาจากนายแก่นเจ้าของที่ดินเดิม แต่จำเลยที่ ๓ ได้ออกโฉนดในที่ดินพิพาทให้แก่นายแก่นตามที่ยื่นคำขออันเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ ๑ ซึ่งรับโอนมรดกที่ดินพิพาทก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์และจำเลยที่ ๒ ซึ่งซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ ๑ ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นกัน ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ร่วมกันเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมโฉนดที่ดินพิพาท และพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยที่ ๒ ให้การว่า นายแก่นไม่เคยขายหรือมอบการครอบครองที่ดินมือเปล่าให้แก่โจทก์ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของนายแก่นและนายแก่นมีสิทธิยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้จำเลยที่ ๒ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต ทั้งที่ดินดังกล่าวมิใช่แปลงเดียวกับที่ดินมือเปล่าตามฟ้องโจทก์ และจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินให้แก่นายแก่นชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแล้ว ไม่ได้ละเมิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครองหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ ๒ เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายพูลสมบัติ ดำเนินชาญวนิชย์ โจทก์ นางสาวกิติยา แก้วคำ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายแก่น แก้วคำ ที่ ๑ นางเฉลียว กุฎีทอง ที่ ๒สำนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาพนมสารคาม ที่ ๓ กรมที่ดิน ที่ ๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองอ้างว่า จำเลยทำละเมิดโดยการฝังท่อระบายน้ำและเทพื้นถนนคอนกรีตรุกล้ำที่ดินโจทก์ ขอให้รื้อถอนท่อระบายน้ำและถนนคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากที่ดิน จำเลยให้การว่า ทางพิพาทเป็นทางเกวียนสาธารณประโยชน์ที่มีอยู่ก่อนทางราชการออกโฉนดให้แก่โจทก์ จำเลยสร้างถนนและท่อระบายน้ำตามแนวเขตทางเดิม ก่อนและขณะก่อสร้างโจทก์ไม่เคยคัดค้าน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๑/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดชลบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดชลบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ นายซิว แซ่ตั๊ง โจทก์ ยื่นฟ้องเทศบาลเมืองพนัสนิคม จำเลย ต่อศาลจังหวัดชลบุรีเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๗๓๙/๒๕๕๔ ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๐๕๙๙ ตำบลพนัสนิคม (วัดกลาง) อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำเลย ทำโครงการปรับปรุงถนนและท่อระบายน้ำโดยประมาทเลินเล่อมิได้มีการสอบเขตอย่างแน่ชัด ฝังท่อระบายน้ำและเทพื้นถนนคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เนื้อที่ ๙๖ ตารางเมตร ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนท่อระบายน้ำและถนนคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์
จำเลยให้การว่า ทางพิพาทเป็นทางเกวียนสาธารณประโยชน์ที่มีอยู่ก่อนทางราชการออกโฉนดให้แก่โจทก์ จำเลยสร้างถนนและท่อระบายน้ำตามแนวเขตทางเดิม ทั้งก่อนก่อสร้างได้ออกตรวจสอบพื้นที่และปักหลักแนวเขต โจทก์ก็ไม่คัดค้าน และขณะก่อสร้างโจทก์ก็ไม่เคยคัดค้านเช่นกัน ถือว่าโจทก์ให้ความยินยอมในการปักหลักแนวเขตตลอดจนการก่อสร้างของจำเลย จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลจังหวัดชลบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์กับจำเลยโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งการที่ศาลจะมีคำพิพากษาตามคำฟ้องของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือเป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินซึ่งต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ และประมวลกฎหมายที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันเป็นหน่วยงานทางปกครอง โดยฟ้องว่า จำเลยก่อสร้างถนนและท่อระบายน้ำโดยประมาทเลินเล่อรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เนื่องจากมิได้มีการสอบแนวเขตที่ดินก่อนดำเนินการ อันเป็นการฟ้องว่า จำเลยกระทำการโดยใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ถึงแม้ในการวินิจฉัยประเด็นพิพาทว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่นั้น ศาลจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นทางสาธารณประโยชน์ (ทางเกวียนสาธารณประโยชน์เดิม) ก็ตาม แต่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ห้ามมิให้ศาลปกครองแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของที่ดิน และประเด็นดังกล่าวซึ่งเป็นการวินิจฉัยถึงสถานะทางกฎหมายของที่ดินว่าเป็นที่ดินของเอกชนหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น เป็นเพียงประเด็นเบื้องต้นที่ศาลจะต้องนำมาประกอบการพิจารณาวินิจฉัยประเด็นพิพาทที่ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ อันเป็นประเด็นหลักที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาด คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยจะเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่คำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดแต่จำเลยได้ทำโครงการปรับปรุงถนนและท่อระบายน้ำโดยประมาทเลินเล่อมิได้มีการสอบเขตอย่างแน่ชัด ฝังท่อระบายน้ำและเทพื้นถนนคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เนื้อที่ ๙๖ ตารางเมตร ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนท่อระบายน้ำและถนนคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยให้การว่า ทางพิพาทเป็นทางเกวียนสาธารณประโยชน์ที่มีอยู่ก่อนทางราชการออกโฉนดให้แก่โจทก์ จำเลยสร้างถนนและท่อระบายน้ำตามแนวเขตทางเดิม ทั้งก่อนก่อสร้างจำเลยได้ออกตรวจสอบพื้นที่และปักหลักแนวเขต โจทก์ก็ไม่คัดค้าน และขณะก่อสร้างโจทก์ก็ไม่คัดค้านเช่นกัน ถือว่าโจทก์ให้ความยินยอมในการปักหลักแนวเขตตลอดจนการก่อสร้างของจำเลย จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินส่วนพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายซิว แซ่ตั๊ง โจทก์ เทศบาลเมืองพนัสนิคม จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองอ้างว่า จำเลยทำละเมิดโดยการฝังท่อระบายน้ำและเทพื้นถนนคอนกรีตรุกล้ำที่ดินโจทก์ ขอให้รื้อถอนท่อระบายน้ำและถนนคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากที่ดิน จำเลยให้การว่า ทางพิพาทเป็นทางเกวียนสาธารณประโยชน์ที่มีอยู่ก่อนทางราชการออกโฉนดให้แก่โจทก์ จำเลยสร้างถนนและท่อระบายน้ำตามแนวเขตทางเดิม ก่อนและขณะก่อสร้างโจทก์ไม่เคยคัดค้าน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๑/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดชลบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดชลบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ นายซิว แซ่ตั๊ง โจทก์ ยื่นฟ้องเทศบาลเมืองพนัสนิคม จำเลย ต่อศาลจังหวัดชลบุรีเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๗๓๙/๒๕๕๔ ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๐๕๙๙ ตำบลพนัสนิคม (วัดกลาง) อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำเลย ทำโครงการปรับปรุงถนนและท่อระบายน้ำโดยประมาทเลินเล่อมิได้มีการสอบเขตอย่างแน่ชัด ฝังท่อระบายน้ำและเทพื้นถนนคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เนื้อที่ ๙๖ ตารางเมตร ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนท่อระบายน้ำและถนนคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์
จำเลยให้การว่า ทางพิพาทเป็นทางเกวียนสาธารณประโยชน์ที่มีอยู่ก่อนทางราชการออกโฉนดให้แก่โจทก์ จำเลยสร้างถนนและท่อระบายน้ำตามแนวเขตทางเดิม ทั้งก่อนก่อสร้างได้ออกตรวจสอบพื้นที่และปักหลักแนวเขต โจทก์ก็ไม่คัดค้าน และขณะก่อสร้างโจทก์ก็ไม่เคยคัดค้านเช่นกัน ถือว่าโจทก์ให้ความยินยอมในการปักหลักแนวเขตตลอดจนการก่อสร้างของจำเลย จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลจังหวัดชลบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์กับจำเลยโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งการที่ศาลจะมีคำพิพากษาตามคำฟ้องของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือเป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินซึ่งต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ และประมวลกฎหมายที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันเป็นหน่วยงานทางปกครอง โดยฟ้องว่า จำเลยก่อสร้างถนนและท่อระบายน้ำโดยประมาทเลินเล่อรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เนื่องจากมิได้มีการสอบแนวเขตที่ดินก่อนดำเนินการ อันเป็นการฟ้องว่า จำเลยกระทำการโดยใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ถึงแม้ในการวินิจฉัยประเด็นพิพาทว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่นั้น ศาลจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นทางสาธารณประโยชน์ (ทางเกวียนสาธารณประโยชน์เดิม) ก็ตาม แต่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ห้ามมิให้ศาลปกครองแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาของที่ดิน และประเด็นดังกล่าวซึ่งเป็นการวินิจฉัยถึงสถานะทางกฎหมายของที่ดินว่าเป็นที่ดินของเอกชนหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น เป็นเพียงประเด็นเบื้องต้นที่ศาลจะต้องนำมาประกอบการพิจารณาวินิจฉัยประเด็นพิพาทที่ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ อันเป็นประเด็นหลักที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาด คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยจะเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่คำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดแต่จำเลยได้ทำโครงการปรับปรุงถนนและท่อระบายน้ำโดยประมาทเลินเล่อมิได้มีการสอบเขตอย่างแน่ชัด ฝังท่อระบายน้ำและเทพื้นถนนคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เนื้อที่ ๙๖ ตารางเมตร ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนท่อระบายน้ำและถนนคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยให้การว่า ทางพิพาทเป็นทางเกวียนสาธารณประโยชน์ที่มีอยู่ก่อนทางราชการออกโฉนดให้แก่โจทก์ จำเลยสร้างถนนและท่อระบายน้ำตามแนวเขตทางเดิม ทั้งก่อนก่อสร้างจำเลยได้ออกตรวจสอบพื้นที่และปักหลักแนวเขต โจทก์ก็ไม่คัดค้าน และขณะก่อสร้างโจทก์ก็ไม่คัดค้านเช่นกัน ถือว่าโจทก์ให้ความยินยอมในการปักหลักแนวเขตตลอดจนการก่อสร้างของจำเลย จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินส่วนพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายซิว แซ่ตั๊ง โจทก์ เทศบาลเมืองพนัสนิคม จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
คดีที่โจทก์ทั้งสิบเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันและหน่วยงานทางปกครองอ้างว่า มารดาจำเลยที่ ๑ นำรังวัดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓) เพื่อเปลี่ยนเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) และเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่พิพาทซึ่งเป็นบางหรือร่องน้ำไหลสาธารณสมบัติของแผ่นดินและได้จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ ๑ ทำให้โจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านไม่สามารถใช้ที่พิพาทได้ ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ ๑ ให้การว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก) และโฉนดที่ดินไม่ได้ทับที่ดินข้างเคียงหรือที่สาธารณประโยชน์ จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ส่วนจำเลยที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสิบได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นของจำเลยที่ ๑ เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๐/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดชุมพร
ระหว่าง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดชุมพรโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ นางจุรี สมสอน ที่ ๑ กับพวกรวม ๑๐ คน โจทก์ ยื่นฟ้องนางพิจิตรา ลี้ยุทธานนท์ ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดชุมพร เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๐/๒๕๕๔ ความว่า เมื่อปี ๒๕๑๕ นางศิริ จันทรปะทิวหรือตรีนันทวัน เป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตั้งอยู่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เนื้อที่ประมาณ ๗ ไร่ ๒ งาน ด้านทิศตะวันตกจดที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (บางหรือร่องน้ำไหล) ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นที่พิพาทในคดีนี้ และป่าตาคุ่ม โดยโจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงได้นำเรือเข้าไปจอดในที่พิพาทดังกล่าวเป็นประจำ ต่อมานางศิริได้ถมที่พิพาทเหลือไว้เฉพาะบริเวณบางหรือร่องน้ำไหลที่ติดกับคลองปะทิวและนำรังวัดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓) เพื่อเปลี่ยนเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) รุกล้ำทับที่พิพาทที่ได้มีการถมดินปรับพื้นที่ไว้รวมไปด้วยได้เนื้อที่เพิ่มจากเดิมประมาณ ๕ ไร่ ต่อมาได้รังวัดเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๐๗๒๖ ทับที่พิพาทที่ได้มีการถมดินปรับพื้นที่ไว้ได้เนื้อที่เพิ่มจากเดิมอีกประมาณ ๑ ไร่เศษ และได้จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ ๑ ทำให้โจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านไม่สามารถใช้ที่พิพาทได้ ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากจำเลยที่ ๑ ไม่ปฏิบัติตามให้ส่งโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน ถ้าไม่ส่งมอบให้ถือว่าโฉนดที่ดินสูญหาย ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินได้ และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินของนางศิริตามหลักฐาน น.ส. ๓ ไม่ปรากฏว่าจดที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (บางหรือร่องน้ำไหล) นางศิริซึ่งเป็นมารดาของจำเลยที่ ๑ ไม่เคยถมที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และบางหรือร่องน้ำไหลไม่เคยมีอยู่จริง การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก) และโฉนดที่ดินได้ปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดิน ไม่ได้ทับที่ดินข้างเคียง ที่สาธารณประโยชน์หรือที่สงวนหวงห้าม จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามฟ้องและมิได้เป็นผู้ออกโฉนดที่ดิน จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสิบ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยด้านทิศตะวันตกของที่ดินมิได้เป็นบางหรือร่องน้ำไหลซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่โจทก์ทั้งสิบกล่าวอ้าง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจว่า การขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการดำเนินการหรือการกระทำทางปกครอง คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดชุมพรพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้คู่ความยังโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน คดีมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่แล้วจึงพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าเป็นที่ดินของเอกชนหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ โดยจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของคู่ความ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยที่ ๒ เป็นส่วนราชการระดับกรมจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง และโดยที่ข้อ ๒ ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดให้จำเลยที่ ๒ มีอำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินและ มาตรา ๖๑ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่า เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้อธิบดีหรือรองอธิบดีซึ่งอธิบดีมอบหมายอำนาจหน้าที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้ เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ทั้งสิบอ้างว่า นางศิรินำรังวัดรุกล้ำที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังนั้น น.ส. ๓ ก. และโฉนดที่ดินจึงเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสิบประสงค์ให้ศาลตรวจสอบการออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อีกทั้งเมื่อพิจารณาคำขอท้ายคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสิบขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งเป็นผลมาจากการออกคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ ๒ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามคำขอของโจทก์ทั้งสิบได้ ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง อย่างไรก็ดี หากคดีมีประเด็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ประเด็นดังกล่าวก็เป็นเพียงประเด็นข้อเท็จจริงในคดีที่ใช้ประกอบการพิจารณาข้อหาการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และแม้จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาลักษณะคดีว่าอยู่ในอำนาจของศาลใด นอกจากนี้ มาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินและนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างบุคคลหรือนิติบุคคลกับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้โดยตรง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยที่ ๒ จะเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสิบอ้างว่า โจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงได้นำเรือเข้าไปจอดในที่พิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (บางหรือร่องน้ำไหล) เป็นประจำ แต่ถูกมารดาจำเลยที่ ๑ นำรังวัดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓) เพื่อเปลี่ยนเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. ๓ ก.) และเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่พิพาทและได้จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ ๑ ทำให้โจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านไม่สามารถใช้ที่พิพาทได้ ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก) และโฉนดที่ดินไม่ได้ทับที่ดินข้างเคียง ที่สาธารณประโยชน์หรือที่สงวนหวงห้าม จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามฟ้อง และจำเลยที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสิบได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นของจำเลยที่ ๑ เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางจุรี สมสอน ที่ ๑ กับพวกรวม ๑๐ คน โจทก์ นางพิจิตรา ลี้ยุทธานนท์ ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่โจทก์ทั้งสิบเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันและหน่วยงานทางปกครองอ้างว่า มารดาจำเลยที่ ๑ นำรังวัดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓) เพื่อเปลี่ยนเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) และเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่พิพาทซึ่งเป็นบางหรือร่องน้ำไหลสาธารณสมบัติของแผ่นดินและได้จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ ๑ ทำให้โจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านไม่สามารถใช้ที่พิพาทได้ ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ ๑ ให้การว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก) และโฉนดที่ดินไม่ได้ทับที่ดินข้างเคียงหรือที่สาธารณประโยชน์ จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ส่วนจำเลยที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสิบได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นของจำเลยที่ ๑ เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗๐/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดชุมพร
ระหว่าง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดชุมพรโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ นางจุรี สมสอน ที่ ๑ กับพวกรวม ๑๐ คน โจทก์ ยื่นฟ้องนางพิจิตรา ลี้ยุทธานนท์ ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดชุมพร เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๐/๒๕๕๔ ความว่า เมื่อปี ๒๕๑๕ นางศิริ จันทรปะทิวหรือตรีนันทวัน เป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตั้งอยู่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เนื้อที่ประมาณ ๗ ไร่ ๒ งาน ด้านทิศตะวันตกจดที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (บางหรือร่องน้ำไหล) ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นที่พิพาทในคดีนี้ และป่าตาคุ่ม โดยโจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงได้นำเรือเข้าไปจอดในที่พิพาทดังกล่าวเป็นประจำ ต่อมานางศิริได้ถมที่พิพาทเหลือไว้เฉพาะบริเวณบางหรือร่องน้ำไหลที่ติดกับคลองปะทิวและนำรังวัดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓) เพื่อเปลี่ยนเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) รุกล้ำทับที่พิพาทที่ได้มีการถมดินปรับพื้นที่ไว้รวมไปด้วยได้เนื้อที่เพิ่มจากเดิมประมาณ ๕ ไร่ ต่อมาได้รังวัดเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๐๗๒๖ ทับที่พิพาทที่ได้มีการถมดินปรับพื้นที่ไว้ได้เนื้อที่เพิ่มจากเดิมอีกประมาณ ๑ ไร่เศษ และได้จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ ๑ ทำให้โจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านไม่สามารถใช้ที่พิพาทได้ ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากจำเลยที่ ๑ ไม่ปฏิบัติตามให้ส่งโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน ถ้าไม่ส่งมอบให้ถือว่าโฉนดที่ดินสูญหาย ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินได้ และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินของนางศิริตามหลักฐาน น.ส. ๓ ไม่ปรากฏว่าจดที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (บางหรือร่องน้ำไหล) นางศิริซึ่งเป็นมารดาของจำเลยที่ ๑ ไม่เคยถมที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และบางหรือร่องน้ำไหลไม่เคยมีอยู่จริง การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก) และโฉนดที่ดินได้ปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดิน ไม่ได้ทับที่ดินข้างเคียง ที่สาธารณประโยชน์หรือที่สงวนหวงห้าม จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามฟ้องและมิได้เป็นผู้ออกโฉนดที่ดิน จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสิบ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยด้านทิศตะวันตกของที่ดินมิได้เป็นบางหรือร่องน้ำไหลซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่โจทก์ทั้งสิบกล่าวอ้าง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจว่า การขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการดำเนินการหรือการกระทำทางปกครอง คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดชุมพรพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้คู่ความยังโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน คดีมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่แล้วจึงพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าเป็นที่ดินของเอกชนหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ โดยจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของคู่ความ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยที่ ๒ เป็นส่วนราชการระดับกรมจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง และโดยที่ข้อ ๒ ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดให้จำเลยที่ ๒ มีอำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินและ มาตรา ๖๑ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่า เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้อธิบดีหรือรองอธิบดีซึ่งอธิบดีมอบหมายอำนาจหน้าที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้ เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ทั้งสิบอ้างว่า นางศิรินำรังวัดรุกล้ำที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังนั้น น.ส. ๓ ก. และโฉนดที่ดินจึงเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสิบประสงค์ให้ศาลตรวจสอบการออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อีกทั้งเมื่อพิจารณาคำขอท้ายคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสิบขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งเป็นผลมาจากการออกคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ ๒ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามคำขอของโจทก์ทั้งสิบได้ ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง อย่างไรก็ดี หากคดีมีประเด็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ประเด็นดังกล่าวก็เป็นเพียงประเด็นข้อเท็จจริงในคดีที่ใช้ประกอบการพิจารณาข้อหาการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และแม้จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาลักษณะคดีว่าอยู่ในอำนาจของศาลใด นอกจากนี้ มาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินและนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างบุคคลหรือนิติบุคคลกับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้โดยตรง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยที่ ๒ จะเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสิบอ้างว่า โจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงได้นำเรือเข้าไปจอดในที่พิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (บางหรือร่องน้ำไหล) เป็นประจำ แต่ถูกมารดาจำเลยที่ ๑ นำรังวัดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓) เพื่อเปลี่ยนเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. ๓ ก.) และเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่พิพาทและได้จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ ๑ ทำให้โจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านไม่สามารถใช้ที่พิพาทได้ ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และให้จำเลยที่ ๒ เพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก) และโฉนดที่ดินไม่ได้ทับที่ดินข้างเคียง ที่สาธารณประโยชน์หรือที่สงวนหวงห้าม จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามฟ้อง และจำเลยที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสิบได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นของจำเลยที่ ๑ เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางจุรี สมสอน ที่ ๑ กับพวกรวม ๑๐ คน โจทก์ นางพิจิตรา ลี้ยุทธานนท์ ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
คดีที่โจทก์ทั้งหกเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อ้างว่า จำเลยรังวัดเพื่อออก น.ส.ล. แปลงป่าช้าบ้านโคกยางทับที่ดินที่โจทก์ทั้งหกครอบครอง โจทก์ทั้งหกได้ยื่นคำขอคัดค้านแล้ว แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้ใช้สิทธิทางศาล ขอให้พิพากษาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินและห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งหกได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๙/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดนางรอง
ระหว่าง
ศาลปกครองนครราชสีมา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดนางรองโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ นางสำราญ บุญซำ ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน โจทก์ ยื่นฟ้องนายอำเภอชำนิ จำเลย ต่อศาลจังหวัดนางรอง เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๑๗/๒๕๕๔ ความว่า โจทก์ทั้งหกเป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าโดยครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๒๖ จำเลยรังวัดที่ดินเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลงป่าช้าบ้านโคกยางทับที่ดินของโจทก์ทั้งหก ต่อมาวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง แจ้งให้โจทก์ทั้งหกยื่นคำขอคัดค้านการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง "แปลงป่าช้าบ้านโคกยางสาธารณประโยชน์" แปลงที่ ๑ และแปลงที่ ๒ โจทก์ทั้งหกได้ยื่นคำขอคัดค้านแล้ว และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ได้แจ้งให้ไปใช้สิทธิทางศาลภายในกำหนด ๖๐ วัน การกระทำของจำเลยเป็นการรบกวนการครอบครองโดยปกติสุขของโจทก์ทั้งหก ขอให้พิพากษาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและห้ามมิให้จำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งหกอ้างว่า จำเลยกระทำการในทางปกครองอันเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายละเมิดสิทธิ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดนางรองพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้คู่ความโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าโจทก์ทั้งหกมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หรือที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ มาตรา ๑๒๙๘ และมาตรา ๑๓๐๔ ประกอบประมวลกฎหมายที่ดิน โดยจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท คดีนี้จึงไม่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินจึงได้แก่ศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอในการขอออกและทำการรังวัดชี้แนวเขต อันเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของบุคคล เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งหกฟ้องว่าจำเลยขอรังวัดและรังวัดที่สาธารณประโยชน์ทับที่ดินของตน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง สำหรับประเด็นปัญหาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่นั้น เป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดี อันเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลงดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และแม้จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่ก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ นอกจากนั้น มาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินและนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีได้ อีกทั้งการพิจารณาว่าการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มิได้พิจารณาเฉพาะประเด็นว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ แต่ยังต้องพิจารณาในประเด็นว่าหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงได้ออกโดยถูกต้องตามขั้นตอนหรือวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ด้วย ซึ่งประเด็นดังกล่าวก็อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งหกเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อ้างว่า จำเลยรังวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลงป่าช้าบ้านโคกยางทับที่ดินที่โจทก์ทั้งหกครอบครอง โจทก์ทั้งหกได้ยื่นคำขอคัดค้านแล้ว แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้ใช้สิทธิทางศาล ขอให้พิพากษาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินและห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งหกได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางสำราญ บุญซำ ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน โจทก์ นายอำเภอชำนิ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่โจทก์ทั้งหกเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อ้างว่า จำเลยรังวัดเพื่อออก น.ส.ล. แปลงป่าช้าบ้านโคกยางทับที่ดินที่โจทก์ทั้งหกครอบครอง โจทก์ทั้งหกได้ยื่นคำขอคัดค้านแล้ว แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้ใช้สิทธิทางศาล ขอให้พิพากษาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินและห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งหกได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๙/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดนางรอง
ระหว่าง
ศาลปกครองนครราชสีมา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดนางรองโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ นางสำราญ บุญซำ ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน โจทก์ ยื่นฟ้องนายอำเภอชำนิ จำเลย ต่อศาลจังหวัดนางรอง เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๑๗/๒๕๕๔ ความว่า โจทก์ทั้งหกเป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าโดยครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องกันมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๒๖ จำเลยรังวัดที่ดินเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลงป่าช้าบ้านโคกยางทับที่ดินของโจทก์ทั้งหก ต่อมาวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง แจ้งให้โจทก์ทั้งหกยื่นคำขอคัดค้านการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง "แปลงป่าช้าบ้านโคกยางสาธารณประโยชน์" แปลงที่ ๑ และแปลงที่ ๒ โจทก์ทั้งหกได้ยื่นคำขอคัดค้านแล้ว และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ได้แจ้งให้ไปใช้สิทธิทางศาลภายในกำหนด ๖๐ วัน การกระทำของจำเลยเป็นการรบกวนการครอบครองโดยปกติสุขของโจทก์ทั้งหก ขอให้พิพากษาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและห้ามมิให้จำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งหกอ้างว่า จำเลยกระทำการในทางปกครองอันเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายละเมิดสิทธิ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดนางรองพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้คู่ความโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าโจทก์ทั้งหกมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หรือที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ มาตรา ๑๒๙๘ และมาตรา ๑๓๐๔ ประกอบประมวลกฎหมายที่ดิน โดยจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท คดีนี้จึงไม่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินจึงได้แก่ศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอในการขอออกและทำการรังวัดชี้แนวเขต อันเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่มีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของบุคคล เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งหกฟ้องว่าจำเลยขอรังวัดและรังวัดที่สาธารณประโยชน์ทับที่ดินของตน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง สำหรับประเด็นปัญหาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่นั้น เป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดี อันเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลงดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และแม้จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่ก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ นอกจากนั้น มาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินและนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีได้ อีกทั้งการพิจารณาว่าการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มิได้พิจารณาเฉพาะประเด็นว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ แต่ยังต้องพิจารณาในประเด็นว่าหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงได้ออกโดยถูกต้องตามขั้นตอนหรือวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ด้วย ซึ่งประเด็นดังกล่าวก็อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งหกเป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อ้างว่า จำเลยรังวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลงป่าช้าบ้านโคกยางทับที่ดินที่โจทก์ทั้งหกครอบครอง โจทก์ทั้งหกได้ยื่นคำขอคัดค้านแล้ว แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้ใช้สิทธิทางศาล ขอให้พิพากษาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินและห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งหกได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางสำราญ บุญซำ ที่ ๑ กับพวกรวม ๖ คน โจทก์ นายอำเภอชำนิ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
คดีที่เอกชนยื่นฟ้องเอกชนด้วยกันและหน่วยงานทางปกครอง กรณีเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี นำที่ดินซึ่งผู้ฟ้องคดีครอบครองไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเช่าโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่มาคัดค้านการเช่าก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังกระทำการขัดต่อวัตถุประสงค์การเช่าตามสัญญาเช่าและกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การโดยสรุปว่า การเช่าที่ราชพัสดุเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า เมื่อการให้เช่าที่ราชพัสดุเป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมธนารักษ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ และกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยโต้แย้งกันว่าการดำเนินการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเป็นกรณีที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกัน ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๘/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดกาญจนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นางรัตนา ลีลาขจรโรจน์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ นายภคคม ถาวรเจริญสุโข ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๕/๒๕๕๓ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินจำนวน ๓ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๓๑ ไร่เศษ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยเสียภาษีบำรุงท้องที่มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ แต่ธนารักษ์พื้นที่กาญจนบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ กลับนำที่ดินแปลงดังกล่าวไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่า โดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ เนื่องจากการเช่าดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุและไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่คัดค้านการเช่า นอกจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มิได้เข้าทำประโยชน์ภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ทั้งยังนำที่ดินไปจัดสรรขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลอื่นอันเป็นการขัดวัตถุประสงค์การเช่าที่ระบุว่าเป็นการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังบังคับขู่เข็ญผู้ฟ้องคดีและราษฎรในพื้นที่ที่เช่าให้ชำระค่าโอนสิทธิ เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ยินยอม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้นำรถแทรกเตอร์และรถไถดันรั้วแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้เช่าและมีคำสั่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดี ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหยุดการดำเนินการที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างตามฟ้องเป็นที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้รับสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าได้เสียภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอดไม่สามารถใช้ต่อสู้กับสิทธิการเช่าของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พิจารณาอนุญาตให้นายสมโชค มีไชยโย เช่าที่ราชพัสดุซึ่งครอบคลุมที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง ต่อมานายสมโชคโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ การที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ เห็นชอบและอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงเป็นการฟ้องคดีโต้แย้งว่าการดำเนินการหาผู้เช่าที่ราชพัสดุตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔/๒๕๕๓ นอกจากนั้น ผู้ฟ้องคดีเคยร้องขอความเป็นธรรมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีขอเช่าหรือรับโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุเฉพาะส่วนที่ครอบครองทำประโยชน์ คดีนี้จึงไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน เนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่ได้กล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อโต้แย้งสิทธิกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหรือขอให้ศาลรับรองสิทธิในที่ดินพิพาท หากแต่เป็นการกล่าวอ้างเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเท่านั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาวินิจฉัยแต่เพียงว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลจังหวัดกาญจนบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พิจารณาอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุทับซ้อนที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนครอบครองมาก่อนโดยชอบ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ นำรถแทรกเตอร์เข้ามาไถพื้นที่และทำลายแนวเขตรั้วของที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง แม้กล่าวอ้างว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ที่อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุ เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน รูปแบบ หรือวิธีการพิจารณาอนุญาตให้เช่าที่ราชพัสดุ และไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ จะมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่การที่จะมีคำสั่งได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทใครมีสิทธิครอบครองระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ อันเป็นประเด็นสำคัญในคดี ประกอบกับคำขอท้ายฟ้องของผู้ฟ้องคดีระบุให้ศาลมีคำสั่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดีและประชาชนในเขตที่ราชพัสดุดังกล่าว โดยมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หยุดนำรถเข้าไปไถดิน แผ้วถาง รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในที่ดิน ดังนั้นคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินแต่อย่างใด คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๖ และกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ กำหนดให้อำนาจอธิบดีกรมธนารักษ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นำที่ราชพัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทางราชการหรือที่ไม่ได้สงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการมาจัดหาประโยชน์โดยการจัดให้เช่าได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด การให้เช่าที่ราชพัสดุจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมธนารักษ์ที่จะพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ นำที่ดินซึ่งผู้ฟ้องคดีครอบครองไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเช่าโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่มาคัดค้านการเช่าก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังกระทำการขัดต่อวัตถุประสงค์การเช่าตามสัญญาเช่าและกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การโดยสรุปว่า การเช่าที่ราชพัสดุเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีที่สืบเนื่องมาจากการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ในการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุตามที่พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติไว้ และตามกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้น เมื่อคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยโต้แย้งกันว่าการดำเนินการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นกรณีที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกัน ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางรัตนา ลีลาขจรโรจน์ ผู้ฟ้องคดี กระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ นายภคคม ถาวรเจริญสุโข ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่เอกชนยื่นฟ้องเอกชนด้วยกันและหน่วยงานทางปกครอง กรณีเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี นำที่ดินซึ่งผู้ฟ้องคดีครอบครองไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเช่าโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่มาคัดค้านการเช่าก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังกระทำการขัดต่อวัตถุประสงค์การเช่าตามสัญญาเช่าและกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การโดยสรุปว่า การเช่าที่ราชพัสดุเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า เมื่อการให้เช่าที่ราชพัสดุเป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมธนารักษ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ และกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยโต้แย้งกันว่าการดำเนินการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเป็นกรณีที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกัน ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๘/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดกาญจนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นางรัตนา ลีลาขจรโรจน์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ นายภคคม ถาวรเจริญสุโข ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๕/๒๕๕๓ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินจำนวน ๓ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๓๑ ไร่เศษ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยเสียภาษีบำรุงท้องที่มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ แต่ธนารักษ์พื้นที่กาญจนบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ กลับนำที่ดินแปลงดังกล่าวไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่า โดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ เนื่องจากการเช่าดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุและไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่คัดค้านการเช่า นอกจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มิได้เข้าทำประโยชน์ภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ทั้งยังนำที่ดินไปจัดสรรขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลอื่นอันเป็นการขัดวัตถุประสงค์การเช่าที่ระบุว่าเป็นการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังบังคับขู่เข็ญผู้ฟ้องคดีและราษฎรในพื้นที่ที่เช่าให้ชำระค่าโอนสิทธิ เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ยินยอม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้นำรถแทรกเตอร์และรถไถดันรั้วแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้เช่าและมีคำสั่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดี ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหยุดการดำเนินการที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างตามฟ้องเป็นที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้รับสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าได้เสียภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอดไม่สามารถใช้ต่อสู้กับสิทธิการเช่าของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พิจารณาอนุญาตให้นายสมโชค มีไชยโย เช่าที่ราชพัสดุซึ่งครอบคลุมที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง ต่อมานายสมโชคโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ การที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ เห็นชอบและอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงเป็นการฟ้องคดีโต้แย้งว่าการดำเนินการหาผู้เช่าที่ราชพัสดุตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔/๒๕๕๓ นอกจากนั้น ผู้ฟ้องคดีเคยร้องขอความเป็นธรรมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีขอเช่าหรือรับโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุเฉพาะส่วนที่ครอบครองทำประโยชน์ คดีนี้จึงไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน เนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่ได้กล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อโต้แย้งสิทธิกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหรือขอให้ศาลรับรองสิทธิในที่ดินพิพาท หากแต่เป็นการกล่าวอ้างเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเท่านั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาวินิจฉัยแต่เพียงว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลจังหวัดกาญจนบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พิจารณาอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุทับซ้อนที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนครอบครองมาก่อนโดยชอบ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ นำรถแทรกเตอร์เข้ามาไถพื้นที่และทำลายแนวเขตรั้วของที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง แม้กล่าวอ้างว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ที่อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุ เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน รูปแบบ หรือวิธีการพิจารณาอนุญาตให้เช่าที่ราชพัสดุ และไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ จะมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่การที่จะมีคำสั่งได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทใครมีสิทธิครอบครองระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ อันเป็นประเด็นสำคัญในคดี ประกอบกับคำขอท้ายฟ้องของผู้ฟ้องคดีระบุให้ศาลมีคำสั่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดีและประชาชนในเขตที่ราชพัสดุดังกล่าว โดยมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หยุดนำรถเข้าไปไถดิน แผ้วถาง รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในที่ดิน ดังนั้นคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินแต่อย่างใด คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๖ และกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ กำหนดให้อำนาจอธิบดีกรมธนารักษ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นำที่ราชพัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทางราชการหรือที่ไม่ได้สงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการมาจัดหาประโยชน์โดยการจัดให้เช่าได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด การให้เช่าที่ราชพัสดุจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมธนารักษ์ที่จะพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ นำที่ดินซึ่งผู้ฟ้องคดีครอบครองไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเช่าโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่มาคัดค้านการเช่าก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังกระทำการขัดต่อวัตถุประสงค์การเช่าตามสัญญาเช่าและกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การโดยสรุปว่า การเช่าที่ราชพัสดุเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีที่สืบเนื่องมาจากการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ในการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุตามที่พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติไว้ และตามกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้น เมื่อคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยโต้แย้งกันว่าการดำเนินการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นกรณีที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกัน ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางรัตนา ลีลาขจรโรจน์ ผู้ฟ้องคดี กระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ นายภคคม ถาวรเจริญสุโข ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1)
คดีที่เอกชนยื่นฟ้องเอกชนด้วยกันและหน่วยงานทางปกครอง กรณีเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี นำที่ดินซึ่งผู้ฟ้องคดีครอบครองไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเช่าโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่มาคัดค้านการเช่าก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังกระทำการขัดต่อวัตถุประสงค์การเช่าตามสัญญาเช่าและกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การโดยสรุปว่า การเช่าที่ราชพัสดุเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า เมื่อการให้เช่าที่ราชพัสดุเป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมธนารักษ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ และกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยโต้แย้งกันว่าการดำเนินการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเป็นกรณีที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกัน ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๗/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดกาญจนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ นายดามพ์ เผด็จดัสกร หรือนายธนฤกษ์ ธัญมงคล ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ นายภคคม ถาวรเจริญสุโข ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๗๑๙/๒๕๕๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน เดิมเลขสำรวจที่ ๔๙๓/๒๕๕๓ ต่อมาเปลี่ยนเป็น ๒๙๑/๒๕๕๓ เนื้อที่ประมาณ ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๗๓ ตารางวา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยเสียภาษีบำรุงท้องที่มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ แต่ธนารักษ์พื้นที่กาญจนบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ กลับนำที่ดินแปลงดังกล่าวไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่า โดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ เนื่องจากการเช่าดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุและไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่คัดค้านการเช่า นอกจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มิได้เข้าทำประโยชน์ภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ทั้งยังนำที่ดินไปจัดสรรขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลอื่นอันเป็นการขัดวัตถุประสงค์การเช่าที่ระบุว่าเป็นการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังบังคับขู่เข็ญผู้ฟ้องคดีและราษฎรในพื้นที่ที่เช่าให้ชำระค่าโอนสิทธิ์ เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ยินยอม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้นำรถแทรกเตอร์และรถไถดันรั้วแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้เช่าและมีคำสั่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดี ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหยุดการดำเนินการที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า ที่พิพาทเป็นที่ราชพัสดุตามประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ๒๔๘๑ เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร และขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้เป็นแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กจ ๒๐๙ อยู่ในความปกครองดูแลของกองทัพบกโดยจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี (ส่วนแยกกาญจนบุรี) เป็นผู้ปกครองดูแล การให้เช่าได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว เดิมที่พิพาททางราชการจัดให้นายสมโชค มีไชยโย เป็นผู้เช่า ต่อมานายสมโชคขอโอนสิทธิการเช่าให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทางราชการรังวัดตรวจสอบที่ดินดังกล่าวพบว่ามีราษฎรบุกรุกจึงกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ดำเนินการขับไล่ผู้บุกรุกออกไปจากที่ราชพัสดุดังกล่าวซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ยื่นฟ้องผู้บุกรุกที่พิพาทต่อศาลแล้ว แต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ราชพัสดุ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทำการปรับปรุงพื้นที่เช่าและยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การเช่าเพื่อจัดทำบ้านพักอาศัย รวมถึงขออนุญาตแบ่งโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุให้ราษฎรรายอื่น ซึ่งกองทัพบกในฐานะหน่วยราชการที่มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลพื้นที่ดังกล่าวเห็นว่าเป็นการไม่เหมาะสม สำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาญจนบุรีจึงมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทราบแล้ว ข้อเท็จจริงตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างเป็นการโต้แย้งสิทธิทางแพ่งและเกิดจากการที่ผู้ฟ้องคดีบุกรุกเข้าไปถือครองที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างตามฟ้องเป็นที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้รับสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุ แต่ผู้ฟ้องคดีเข้ามาบุกรุกที่ดินและบริวารของผู้ฟ้องคดียังร่วมกันลักทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครอง ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับบริวารของผู้ฟ้องคดีและศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษแล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พิจารณาอนุญาตให้นายสมโชค มีไชยโย เช่าที่ราชพัสดุซึ่งครอบคลุมที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง ต่อมานายสมโชคโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ การที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ เห็นชอบและอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงเป็นการฟ้องคดีโต้แย้งว่า การดำเนินการหาผู้เช่าที่ราชพัสดุตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔/๒๕๕๓ นอกจากนั้น ผู้ฟ้องคดีเคยร้องขอความเป็นธรรมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีขอเช่าหรือรับโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุเฉพาะส่วนที่ครอบครองทำประโยชน์ (ที่ถูกไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเรื่องร้องขอความเป็นธรรม) คดีนี้จึงไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่ได้กล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อโต้แย้งสิทธิกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหรือขอให้ศาลรับรองสิทธิในที่พิพาท หากแต่เป็นการกล่าวอ้างเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเท่านั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาวินิจฉัยแต่เพียงว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลจังหวัดกาญจนบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พิจารณาอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุทับซ้อนที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนครอบครองมาก่อนโดยชอบ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ นำรถแทรกเตอร์เข้ามาไถพื้นที่และทำลายแนวเขตรั้วของที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง แม้กล่าวอ้างว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ที่อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุ เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน รูปแบบ หรือวิธีการพิจารณาอนุญาตให้เช่าที่ราชพัสดุ และไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ จะมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่การที่จะมีคำสั่งได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาท ใครมีสิทธิครอบครองระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ อันเป็นประเด็นสำคัญในคดี ประกอบกับคำขอท้ายฟ้องของผู้ฟ้องคดีระบุให้ศาลมีคำสั่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดีและประชาชนในเขตที่ราชพัสดุดังกล่าว โดยมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หยุดนำรถเข้าไปไถดิน แผ้วถาง รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในที่ดิน ดังนั้นคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินแต่อย่างใด คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๖ และกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ กำหนดให้อำนาจอธิบดีกรมธนารักษ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นำที่ราชพัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทางราชการหรือที่ไม่ได้สงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการมาจัดหาประโยชน์โดยการจัดให้เช่าได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดการให้เช่าที่ราชพัสดุจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมธนารักษ์ที่จะพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ นำที่ดินซึ่งผู้ฟ้องคดีครอบครองไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเช่าโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่มาคัดค้านการเช่าก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังกระทำการขัดต่อวัตถุประสงค์การเช่าตามสัญญาเช่าและกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การโดยสรุปว่า การเช่าที่ราชพัสดุเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการฟ้องคดีที่สืบเนื่องมาจากการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ในการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุตามที่พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติไว้ และตามกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้น เมื่อคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยโต้แย้งกันว่าการดำเนินการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นกรณีที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกัน ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายดามพ์ เผด็จดัสกร หรือนายธนฤกษ์ ธัญมงคล ผู้ฟ้องคดี กระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ นายภคคม ถาวรเจริญสุโข ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่เอกชนยื่นฟ้องเอกชนด้วยกันและหน่วยงานทางปกครอง กรณีเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี นำที่ดินซึ่งผู้ฟ้องคดีครอบครองไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเช่าโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่มาคัดค้านการเช่าก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังกระทำการขัดต่อวัตถุประสงค์การเช่าตามสัญญาเช่าและกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การโดยสรุปว่า การเช่าที่ราชพัสดุเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า เมื่อการให้เช่าที่ราชพัสดุเป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมธนารักษ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ และกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยโต้แย้งกันว่าการดำเนินการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเป็นกรณีที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกัน ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๗/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดกาญจนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔ นายดามพ์ เผด็จดัสกร หรือนายธนฤกษ์ ธัญมงคล ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ นายภคคม ถาวรเจริญสุโข ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๗๑๙/๒๕๕๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน เดิมเลขสำรวจที่ ๔๙๓/๒๕๕๓ ต่อมาเปลี่ยนเป็น ๒๙๑/๒๕๕๓ เนื้อที่ประมาณ ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๗๓ ตารางวา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยเสียภาษีบำรุงท้องที่มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ แต่ธนารักษ์พื้นที่กาญจนบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ กลับนำที่ดินแปลงดังกล่าวไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่า โดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ เนื่องจากการเช่าดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุและไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่คัดค้านการเช่า นอกจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มิได้เข้าทำประโยชน์ภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ทั้งยังนำที่ดินไปจัดสรรขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลอื่นอันเป็นการขัดวัตถุประสงค์การเช่าที่ระบุว่าเป็นการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังบังคับขู่เข็ญผู้ฟ้องคดีและราษฎรในพื้นที่ที่เช่าให้ชำระค่าโอนสิทธิ์ เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ยินยอม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้นำรถแทรกเตอร์และรถไถดันรั้วแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้เช่าและมีคำสั่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดี ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหยุดการดำเนินการที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า ที่พิพาทเป็นที่ราชพัสดุตามประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ๒๔๘๑ เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร และขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้เป็นแปลงหมายเลขทะเบียนที่ กจ ๒๐๙ อยู่ในความปกครองดูแลของกองทัพบกโดยจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี (ส่วนแยกกาญจนบุรี) เป็นผู้ปกครองดูแล การให้เช่าได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว เดิมที่พิพาททางราชการจัดให้นายสมโชค มีไชยโย เป็นผู้เช่า ต่อมานายสมโชคขอโอนสิทธิการเช่าให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทางราชการรังวัดตรวจสอบที่ดินดังกล่าวพบว่ามีราษฎรบุกรุกจึงกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ดำเนินการขับไล่ผู้บุกรุกออกไปจากที่ราชพัสดุดังกล่าวซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ยื่นฟ้องผู้บุกรุกที่พิพาทต่อศาลแล้ว แต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ราชพัสดุ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทำการปรับปรุงพื้นที่เช่าและยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การเช่าเพื่อจัดทำบ้านพักอาศัย รวมถึงขออนุญาตแบ่งโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุให้ราษฎรรายอื่น ซึ่งกองทัพบกในฐานะหน่วยราชการที่มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลพื้นที่ดังกล่าวเห็นว่าเป็นการไม่เหมาะสม สำนักงานธนารักษ์พื้นที่กาญจนบุรีจึงมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทราบแล้ว ข้อเท็จจริงตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างเป็นการโต้แย้งสิทธิทางแพ่งและเกิดจากการที่ผู้ฟ้องคดีบุกรุกเข้าไปถือครองที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างตามฟ้องเป็นที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้รับสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุ แต่ผู้ฟ้องคดีเข้ามาบุกรุกที่ดินและบริวารของผู้ฟ้องคดียังร่วมกันลักทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครอง ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับบริวารของผู้ฟ้องคดีและศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษแล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พิจารณาอนุญาตให้นายสมโชค มีไชยโย เช่าที่ราชพัสดุซึ่งครอบคลุมที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง ต่อมานายสมโชคโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ การที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ เห็นชอบและอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงเป็นการฟ้องคดีโต้แย้งว่า การดำเนินการหาผู้เช่าที่ราชพัสดุตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๔/๒๕๕๓ นอกจากนั้น ผู้ฟ้องคดีเคยร้องขอความเป็นธรรมไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีขอเช่าหรือรับโอนสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุเฉพาะส่วนที่ครอบครองทำประโยชน์ (ที่ถูกไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเรื่องร้องขอความเป็นธรรม) คดีนี้จึงไม่มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเนื่องจากผู้ฟ้องคดีไม่ได้กล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อโต้แย้งสิทธิกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามหรือขอให้ศาลรับรองสิทธิในที่พิพาท หากแต่เป็นการกล่าวอ้างเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเท่านั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาวินิจฉัยแต่เพียงว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลจังหวัดกาญจนบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ พิจารณาอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุทับซ้อนที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนครอบครองมาก่อนโดยชอบ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ นำรถแทรกเตอร์เข้ามาไถพื้นที่และทำลายแนวเขตรั้วของที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง แม้กล่าวอ้างว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ที่อนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เช่าที่ราชพัสดุ เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน รูปแบบ หรือวิธีการพิจารณาอนุญาตให้เช่าที่ราชพัสดุ และไม่ชอบด้วยกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ จะมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่การที่จะมีคำสั่งได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาท ใครมีสิทธิครอบครองระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ อันเป็นประเด็นสำคัญในคดี ประกอบกับคำขอท้ายฟ้องของผู้ฟ้องคดีระบุให้ศาลมีคำสั่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดีและประชาชนในเขตที่ราชพัสดุดังกล่าว โดยมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หยุดนำรถเข้าไปไถดิน แผ้วถาง รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในที่ดิน ดังนั้นคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินแต่อย่างใด คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๖ และกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ กำหนดให้อำนาจอธิบดีกรมธนารักษ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นำที่ราชพัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทางราชการหรือที่ไม่ได้สงวนไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการมาจัดหาประโยชน์โดยการจัดให้เช่าได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดการให้เช่าที่ราชพัสดุจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมธนารักษ์ที่จะพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เห็นว่า เมื่อคดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ นำที่ดินซึ่งผู้ฟ้องคดีครอบครองไปให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเอกชนเช่าโดยอ้างว่าเป็นที่ราชพัสดุและดำเนินการให้เช่าโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ไม่มีการรังวัดสำรวจพื้นที่ก่อนอนุญาตให้เช่า รวมถึงไม่มีการประกาศหรือแจ้งให้ราษฎรในพื้นที่มาคัดค้านการเช่าก่อน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยังกระทำการขัดต่อวัตถุประสงค์การเช่าตามสัญญาเช่าและกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การโดยสรุปว่า การเช่าที่ราชพัสดุเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการฟ้องคดีที่สืบเนื่องมาจากการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ในการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุตามที่พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติไว้ และตามกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้น เมื่อคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนสัญญาเช่าที่ราชพัสดุระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยโต้แย้งกันว่าการดำเนินการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับคดีระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นกรณีที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกัน ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายดามพ์ เผด็จดัสกร หรือนายธนฤกษ์ ธัญมงคล ผู้ฟ้องคดี กระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ นายภคคม ถาวรเจริญสุโข ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา9 วรรคหนึ่ง (1)
คดีที่เอกชนยื่นฟ้ององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ที่ ๑ และผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ที่ ๒ จำเลย อ้างว่าเลิกจ้างโจทก์โดยขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินค่าตอบแทนอื่นเพิ่มพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า แม้พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะบัญญัติให้จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณะด้านการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐและเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อสัญญาพิพาทเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงอยู่ในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง แม้มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงฯ จะบัญญัติให้กิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาเขตอำนาจศาล เพียงแต่กำหนดว่าการจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานทั่วไป อีกทั้งการที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าเป็นพนักงานก็เป็นเพียงการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ ๑ สามารถจัดทำบริการสาธารณะไปได้ตามภารกิจเท่านั้น หาใช่การจ้างพนักงานให้เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ ดังนั้น คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) (๒) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๖/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒
ศาลแรงงานกลาง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแรงงานกลางโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ นายบุญชาย ศิริโภคทรัพย์ โจทก์ ยื่นฟ้ององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ที่ ๑ นายเทพชัย หย่อง ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลแรงงานกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๘๕๗/๒๕๕๓ หมายเลขแดงที่ ๔๑๑๑/๒๕๕๔ ความว่า เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ สังกัดฝ่ายผลิตรายการ โดยได้รับค่าจ้างในอัตราเดือนละ ๒๐๗,๕๒๐ บาท โจทก์ครบเกษียณอายุการทำงานในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓ ในตำแหน่งรักษาการรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. และนายสถานี แต่จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายเฉพาะค่าจ้างเดือนสุดท้ายกับเงินค่าตอบแทนอื่นตามระเบียบของจำเลยที่ ๑ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒๔ เป็นเงินจำนวน ๒๐๗,๕๒๐ บาท อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของจำเลยที่ ๑ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับพนักงานภายในองค์กร เพราะโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์ไม่ได้ใช้และเงินค่าตอบแทนอื่น โดยคำนวณเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินค่าตอบแทนอื่น รวมเป็นเงิน ๑,๐๕๑,๔๓๔ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการบรรจุแต่งตั้งหรือการให้โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งทางปกครอง การพ้นสภาพพนักงานของโจทก์มิได้เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่เป็นการพ้นสภาพตามระเบียบองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔๓ (๒) เนื่องจากเกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยการเลิกจ้างหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าเสียหายประการอื่น และจำเลยที่ ๑ ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนอื่นตามระเบียบของจำเลยที่ ๑ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒๔ วรรคท้าย ให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าตอบแทนอื่นเพิ่มอีก นอกจากนี้ เมื่อกิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ การที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปีถือว่าโจทก์สละสิทธิในการลาซึ่งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์เรียกร้องได้ ส่วนค่าตอบแทนอื่นที่โจทก์กล่าวอ้างตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอื่นฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับบุคคลซึ่งไม่ได้เป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ แตกต่างจากโจทก์ที่เป็นพนักงานประจำได้รับสวัสดิการต่างๆ นอกเหนือจากเงินเดือนปกติ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใดๆ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับโจทก์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับลูกจ้างในสังกัดที่มีขึ้นเพื่อร่วมกันจัดทำบริการสาธารณะ อันเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน ข้อตกลงจ้างทำงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อกรณีพิพาทคดีนี้สืบเนื่องมาจากสัญญาทางปกครองคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๖/๒๕๔๘ และที่ ๒๙/๒๕๕๓
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะกำหนดสถานะจำเลยที่ ๑ ให้เป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทำหน้าที่เป็นองค์การสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยกิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน จำเลยที่ ๑ จึงมีลักษณะเป็นหน่วยงานทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานบริการสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของประเทศ แต่โดยที่มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้อำนวยการ พนักงาน และลูกจ้างของจำเลยต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่าสิทธิประโยชน์ของพนักงานลูกจ้างของจำเลยต้องเป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้ เมื่อพิจารณาจากสัญญาจ้างที่พิพาท ก็ปรากฏเรื่องที่จำเลยในฐานะนายจ้างตกลงจ้างโจทก์เข้าทำงาน โดยจ่ายค่าจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานให้ อันมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งตามสัญญาดังกล่าวจำเลยยอมสละเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเหนือเอกชน โดยลดฐานะให้มีสิทธิเสรีภาพในการทำสัญญาจ้างพนักงานที่เท่าเทียมกันกับโจทก์ แม้ในสัญญาดังกล่าวจะปรากฏถึงสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งต่างๆ การมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ และมีอำนาจเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่กับค่าจ้างของโจทก์ตามความจำเป็นและตามสมควร แต่การตกลงให้อำนาจจำเลยฝ่ายเดียวดังกล่าวก็ไม่ใช่ข้อกำหนดที่มีลักษณะพิเศษอันจะแสดงอำนาจของจำเลยที่เป็นฝ่ายปกครองในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อสนองความต้องการและความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะ เพราะเป็นเพียงการยืนยันอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีสิทธิแสดงเจตนาฝ่ายเดียวในการเลิกจ้างลูกจ้าง การใช้อำนาจบังคับบัญชาในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ และการใช้อำนาจบริหารกิจการในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งต่างๆ รวมถึงการปรับอัตราค่าจ้าง อันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยทั่วไปที่ปรากฏในสัญญาจ้างแรงงานตามระบบกฎหมายเอกชนทั้งสิ้น หาใช่เป็นการแสดงอำนาจเหนือของฝ่ายปกครองตามระบบกฎหมายมหาชนไม่ สัญญาพิพาทจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง คงเป็นเพียงสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิในฐานะลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานเรียกร้องค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินตอบแทนอื่นจากจำเลยตามสัญญาจ้างพนักงานข้อ ๘ ประกอบมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน และเป็นการเรียกร้องให้คุ้มครองสิทธิในการให้ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานกับการหยุดงานตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยเป็นกรณีพิพาทในส่วนของการขอรับความคุ้มครองให้ได้รับค่าจ้าง ค่าตอบแทน และการมีหลักประกันการทำงานที่เหมาะสม คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา ๘ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดตั้งจำเลยที่ ๑ ให้มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ มีเจตนารมณ์ให้การบริหารและการดำเนินงานของจำเลยที่ ๑ เป็นไปอย่างอิสระและปราศจากการแทรกแซง โดยให้คณะกรรมการนโยบายของจำเลยที่ ๑ มีอำนาจหน้าที่กำหนดระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ ๑ กิจการของจำเลยที่ ๑ จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่ใช้บังคับกับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยจะอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ที่คณะกรรมการนโยบายของจำเลยที่ ๑ กำหนดขึ้น และเพื่อเป็นการคุ้มครองและรับรองสิทธิประโยชน์ตอบแทนของผู้อำนวยการ พนักงาน และลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ กฎหมายจึงบัญญัติให้ได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายของจำเลยที่ ๑ ออกระเบียบกฎเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าประโยชน์ตอบแทนที่ลูกจ้างในหน่วยงานเอกชนได้รับตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งการที่กฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิประโยชน์ในลักษณะดังกล่าวไว้ ไม่ใช่เกณฑ์สำหรับใช้ในการพิจารณาเรื่องเขตอำนาจศาล และศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาว่าข้อบังคับ ระเบียบ กฎเกณฑ์ดังกล่าวกำหนดสิทธิประโยชน์ตอบแทนน้อยกว่าที่กฎหมายทั้งสามฉบับกำหนดไว้หรือไม่ การที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างบุคคลที่ผ่านกระบวนการสรรหาและคัดเลือกเข้าเป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ เป็นเพียงวิธีการในการบรรจุแต่งตั้งพนักงานของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นกลไกหรือเครื่องมือในการบริหารงานบุคคลของจำเลยที่ ๑ ตามที่คณะกรรมการนโยบายของจำเลยที่ ๑ กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ ๑ เพื่อให้การดำเนินการบริหารงานบุคคลของจำเลยที่ ๑ เป็นไปด้วยความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ หาใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่ ๑ ได้สละเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองหรือยอมลดฐานะของตนลงในการเข้าทำสัญญาจ้างผู้อำนวยการ พนักงาน หรือลูกจ้าง อันมีผลทำให้สัญญาจ้างผู้อำนวยการ พนักงาน หรือลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาจ้างพนักงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ จึงเป็นสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีวัตถุประสงค์ในการจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นพนักงานประจำของจำเลยที่ ๑ เพื่อให้โจทก์เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะหรือการดำเนินกิจการทางปกครองตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ตามที่กฎหมายกำหนด สัญญาจ้างพนักงานดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และโดยที่จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานทางปกครองซึ่งมีภารกิจเพื่อบริการสาธารณะจึงมีอำนาจเหนือลูกจ้าง เพื่อบังคับการให้การบริการสาธารณะบรรลุผล และมีเอกสิทธิ์ในการทำสัญญาจ้างโจทก์ด้วย นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับโจทก์จึงเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานทางปกครองซึ่งมีอำนาจเหนือลูกจ้างที่เป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจบริการสาธารณะของหน่วยงานทางปกครอง อันเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน ไม่ใช่นิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างที่เท่าเทียมกันตามสัญญาจ้างแรงงานในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ข้อตกลงจ้างทำงานระหว่างจำเลยที่ ๑ กับโจทก์จึงไม่เป็นสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายแพ่ง คดีนี้จึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๖/๒๕๔๘ อีกทั้งมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้กิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน คดีนี้จึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองอ้างว่าเลิกจ้างโจทก์ซึ่งครบเกษียณอายุการทำงานแล้วโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายเฉพาะค่าจ้างเดือนสุดท้ายกับเงินค่าตอบแทนอื่นซึ่งขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินค่าตอบแทนอื่นเพิ่มพร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยการเลิกจ้างหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าเสียหายประการอื่น เนื่องจากการพ้นสภาพพนักงานของโจทก์มิได้เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่เป็นการพ้นสภาพเนื่องจากเกษียณอายุ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเพราะกิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และจำเลยที่ ๑ ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนอื่นตามระเบียบของจำเลยที่ ๑ โดยชอบแล้ว ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสองที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างทำงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ กรณีจึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่าสัญญาพิพาทดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งสัญญาทางปกครองหมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เห็นว่า แม้พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะบัญญัติให้จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณะด้านการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐและเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อสัญญาพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ฉบับลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ มีสาระสำคัญว่าจำเลยที่ ๑ ตกลงจ้างโจทก์และโจทก์ตกลงรับจ้างทำงานให้จำเลยโดยจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะทำงานให้แก่จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๑ ตกลงจะให้สินจ้างแก่โจทก์ตลอดเวลาที่ทำงานให้ อันเข้าลักษณะของสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๕ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงอยู่ในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง แม้มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะบัญญัติให้กิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาเขตอำนาจศาล เพียงแต่กำหนดว่าการจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานทั่วไป อีกทั้งการที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าเป็นพนักงานก็เป็นเพียงการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ ๑ สามารถจัดทำบริการสาธารณะไปได้ตามภารกิจเท่านั้น หาใช่การจ้างพนักงานให้เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ ดังนั้น คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) (๒) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายบุญชาย ศิริโภคทรัพย์ โจทก์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ที่ ๑ นายเทพชัย หย่อง ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่เอกชนยื่นฟ้ององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ที่ ๑ และผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ที่ ๒ จำเลย อ้างว่าเลิกจ้างโจทก์โดยขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินค่าตอบแทนอื่นเพิ่มพร้อมดอกเบี้ย เห็นว่า แม้พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะบัญญัติให้จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณะด้านการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐและเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อสัญญาพิพาทเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงอยู่ในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง แม้มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงฯ จะบัญญัติให้กิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาเขตอำนาจศาล เพียงแต่กำหนดว่าการจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานทั่วไป อีกทั้งการที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าเป็นพนักงานก็เป็นเพียงการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ ๑ สามารถจัดทำบริการสาธารณะไปได้ตามภารกิจเท่านั้น หาใช่การจ้างพนักงานให้เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ ดังนั้น คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) (๒) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๖/๒๕๕๖
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒
ศาลแรงงานกลาง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแรงงานกลางโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ นายบุญชาย ศิริโภคทรัพย์ โจทก์ ยื่นฟ้ององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ที่ ๑ นายเทพชัย หย่อง ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลแรงงานกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๘๕๗/๒๕๕๓ หมายเลขแดงที่ ๔๑๑๑/๒๕๕๔ ความว่า เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตรายการ สังกัดฝ่ายผลิตรายการ โดยได้รับค่าจ้างในอัตราเดือนละ ๒๐๗,๕๒๐ บาท โจทก์ครบเกษียณอายุการทำงานในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓ ในตำแหน่งรักษาการรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. และนายสถานี แต่จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายเฉพาะค่าจ้างเดือนสุดท้ายกับเงินค่าตอบแทนอื่นตามระเบียบของจำเลยที่ ๑ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒๔ เป็นเงินจำนวน ๒๐๗,๕๒๐ บาท อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของจำเลยที่ ๑ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับพนักงานภายในองค์กร เพราะโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์ไม่ได้ใช้และเงินค่าตอบแทนอื่น โดยคำนวณเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการนโยบาย กรรมการนโยบาย และกรรมการบริหารอื่นขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินค่าตอบแทนอื่น รวมเป็นเงิน ๑,๐๕๑,๔๓๔ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากการบรรจุแต่งตั้งหรือการให้โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งทางปกครอง การพ้นสภาพพนักงานของโจทก์มิได้เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่เป็นการพ้นสภาพตามระเบียบองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔๓ (๒) เนื่องจากเกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยการเลิกจ้างหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าเสียหายประการอื่น และจำเลยที่ ๑ ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนอื่นตามระเบียบของจำเลยที่ ๑ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๒๔ วรรคท้าย ให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าตอบแทนอื่นเพิ่มอีก นอกจากนี้ เมื่อกิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ การที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปีถือว่าโจทก์สละสิทธิในการลาซึ่งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้โจทก์เรียกร้องได้ ส่วนค่าตอบแทนอื่นที่โจทก์กล่าวอ้างตามมาตรา ๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและประโยชน์ตอบแทนอื่นฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับบุคคลซึ่งไม่ได้เป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ แตกต่างจากโจทก์ที่เป็นพนักงานประจำได้รับสวัสดิการต่างๆ นอกเหนือจากเงินเดือนปกติ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใดๆ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับโจทก์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับลูกจ้างในสังกัดที่มีขึ้นเพื่อร่วมกันจัดทำบริการสาธารณะ อันเป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน ข้อตกลงจ้างทำงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อกรณีพิพาทคดีนี้สืบเนื่องมาจากสัญญาทางปกครองคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๖/๒๕๔๘ และที่ ๒๙/๒๕๕๓
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะกำหนดสถานะจำเลยที่ ๑ ให้เป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทำหน้าที่เป็นองค์การสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยกิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่ตกอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน จำเลยที่ ๑ จึงมีลักษณะเป็นหน่วยงานทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานบริการสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของประเทศ แต่โดยที่มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้อำนวยการ พนักงาน และลูกจ้างของจำเลยต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่าสิทธิประโยชน์ของพนักงานลูกจ้างของจำเลยต้องเป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้ เมื่อพิจารณาจากสัญญาจ้างที่พิพาท ก็ปรากฏเรื่องที่จำเลยในฐานะนายจ้างตกลงจ้างโจทก์เข้าทำงาน โดยจ่ายค่าจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานให้ อันมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งตามสัญญาดังกล่าวจำเลยยอมสละเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเหนือเอกชน โดยลดฐานะให้มีสิทธิเสรีภาพในการทำสัญญาจ้างพนักงานที่เท่าเทียมกันกับโจทก์ แม้ในสัญญาดังกล่าวจะปรากฏถึงสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งต่างๆ การมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ และมีอำนาจเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่กับค่าจ้างของโจทก์ตามความจำเป็นและตามสมควร แต่การตกลงให้อำนาจจำเลยฝ่ายเดียวดังกล่าวก็ไม่ใช่ข้อกำหนดที่มีลักษณะพิเศษอันจะแสดงอำนาจของจำเลยที่เป็นฝ่ายปกครองในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อสนองความต้องการและความต่อเนื่องของการบริการสาธารณะ เพราะเป็นเพียงการยืนยันอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีสิทธิแสดงเจตนาฝ่ายเดียวในการเลิกจ้างลูกจ้าง การใช้อำนาจบังคับบัญชาในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ และการใช้อำนาจบริหารกิจการในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งต่างๆ รวมถึงการปรับอัตราค่าจ้าง อันเป็นอำนาจของนายจ้างโดยทั่วไปที่ปรากฏในสัญญาจ้างแรงงานตามระบบกฎหมายเอกชนทั้งสิ้น หาใช่เป็นการแสดงอำนาจเหนือของฝ่ายปกครองตามระบบกฎหมายมหาชนไม่ สัญญาพิพาทจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง คงเป็นเพียงสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิในฐานะลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานเรียกร้องค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินตอบแทนอื่นจากจำเลยตามสัญญาจ้างพนักงานข้อ ๘ ประกอบมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน และเป็นการเรียกร้องให้คุ้มครองสิทธิในการให้ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานกับการหยุดงานตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยเป็นกรณีพิพาทในส่วนของการขอรับความคุ้มครองให้ได้รับค่าจ้าง ค่าตอบแทน และการมีหลักประกันการทำงานที่เหมาะสม คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา ๘ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดตั้งจำเลยที่ ๑ ให้มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ มีเจตนารมณ์ให้การบริหารและการดำเนินงานของจำเลยที่ ๑ เป็นไปอย่างอิสระและปราศจากการแทรกแซง โดยให้คณะกรรมการนโยบายของจำเลยที่ ๑ มีอำนาจหน้าที่กำหนดระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ ๑ กิจการของจำเลยที่ ๑ จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่ใช้บังคับกับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยจะอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ที่คณะกรรมการนโยบายของจำเลยที่ ๑ กำหนดขึ้น และเพื่อเป็นการคุ้มครองและรับรองสิทธิประโยชน์ตอบแทนของผู้อำนวยการ พนักงาน และลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ กฎหมายจึงบัญญัติให้ได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายของจำเลยที่ ๑ ออกระเบียบกฎเกณฑ์ในส่วนที่เกี่ยวกับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าประโยชน์ตอบแทนที่ลูกจ้างในหน่วยงานเอกชนได้รับตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งการที่กฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิประโยชน์ในลักษณะดังกล่าวไว้ ไม่ใช่เกณฑ์สำหรับใช้ในการพิจารณาเรื่องเขตอำนาจศาล และศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาว่าข้อบังคับ ระเบียบ กฎเกณฑ์ดังกล่าวกำหนดสิทธิประโยชน์ตอบแทนน้อยกว่าที่กฎหมายทั้งสามฉบับกำหนดไว้หรือไม่ การที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างบุคคลที่ผ่านกระบวนการสรรหาและคัดเลือกเข้าเป็นพนักงานของจำเลยที่ ๑ เป็นเพียงวิธีการในการบรรจุแต่งตั้งพนักงานของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นกลไกหรือเครื่องมือในการบริหารงานบุคคลของจำเลยที่ ๑ ตามที่คณะกรรมการนโยบายของจำเลยที่ ๑ กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ ๑ เพื่อให้การดำเนินการบริหารงานบุคคลของจำเลยที่ ๑ เป็นไปด้วยความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ หาใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่ ๑ ได้สละเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองหรือยอมลดฐานะของตนลงในการเข้าทำสัญญาจ้างผู้อำนวยการ พนักงาน หรือลูกจ้าง อันมีผลทำให้สัญญาจ้างผู้อำนวยการ พนักงาน หรือลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาจ้างพนักงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ จึงเป็นสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีวัตถุประสงค์ในการจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นพนักงานประจำของจำเลยที่ ๑ เพื่อให้โจทก์เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะหรือการดำเนินกิจการทางปกครองตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ตามที่กฎหมายกำหนด สัญญาจ้างพนักงานดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และโดยที่จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานทางปกครองซึ่งมีภารกิจเพื่อบริการสาธารณะจึงมีอำนาจเหนือลูกจ้าง เพื่อบังคับการให้การบริการสาธารณะบรรลุผล และมีเอกสิทธิ์ในการทำสัญญาจ้างโจทก์ด้วย นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับโจทก์จึงเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานทางปกครองซึ่งมีอำนาจเหนือลูกจ้างที่เป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจบริการสาธารณะของหน่วยงานทางปกครอง อันเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน ไม่ใช่นิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างที่เท่าเทียมกันตามสัญญาจ้างแรงงานในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ข้อตกลงจ้างทำงานระหว่างจำเลยที่ ๑ กับโจทก์จึงไม่เป็นสัญญาจ้างแรงงานตามกฎหมายแพ่ง คดีนี้จึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๑) ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๖/๒๕๔๘ อีกทั้งมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติให้กิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน คดีนี้จึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองอ้างว่าเลิกจ้างโจทก์ซึ่งครบเกษียณอายุการทำงานแล้วโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายเฉพาะค่าจ้างเดือนสุดท้ายกับเงินค่าตอบแทนอื่นซึ่งขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินค่าตอบแทนอื่นเพิ่มพร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยการเลิกจ้างหรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าเสียหายประการอื่น เนื่องจากการพ้นสภาพพนักงานของโจทก์มิได้เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แต่เป็นการพ้นสภาพเนื่องจากเกษียณอายุ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเพราะกิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และจำเลยที่ ๑ ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนอื่นตามระเบียบของจำเลยที่ ๑ โดยชอบแล้ว ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสองที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างทำงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ กรณีจึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่าสัญญาพิพาทดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งสัญญาทางปกครองหมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เห็นว่า แม้พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะบัญญัติให้จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณะด้านการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐและเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อสัญญาพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ฉบับลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ มีสาระสำคัญว่าจำเลยที่ ๑ ตกลงจ้างโจทก์และโจทก์ตกลงรับจ้างทำงานให้จำเลยโดยจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะทำงานให้แก่จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๑ ตกลงจะให้สินจ้างแก่โจทก์ตลอดเวลาที่ทำงานให้ อันเข้าลักษณะของสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๕ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ ๑ จึงอยู่ในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง แม้มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ จะบัญญัติให้กิจการของจำเลยที่ ๑ ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาเขตอำนาจศาล เพียงแต่กำหนดว่าการจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายแรงงานทั่วไป อีกทั้งการที่จำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าเป็นพนักงานก็เป็นเพียงการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ ๑ สามารถจัดทำบริการสาธารณะไปได้ตามภารกิจเท่านั้น หาใช่การจ้างพนักงานให้เข้าร่วมจัดทำบริการสาธารณะ ดังนั้น คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๘ (๑) (๒) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายบุญชาย ศิริโภคทรัพย์ โจทก์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ที่ ๑ นายเทพชัย หย่อง ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522
คดีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานทางปกครอง กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออกโฉนดเลขที่ ๑๐๘๗๑ ให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยมิใช่ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีกลับออกเป็นโฉนดเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยอาศัยสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นสัญญาปลอม แล้วผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ไป ขอให้เพิกถอนการออกโฉนดเลขที่ ๑๐๙๑๒ และการโอนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับคืนโฉนดเลขที่ ๑๐๘๗๑ ไปดำเนินการให้ถูกต้องกับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซื้อที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวมาจากผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๔/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองนครราชสีมา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดชัยภูมิ
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครราชสีมาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ นางจันลา ศรีจันทร์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ สาขาบ้านเขว้า ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ นายวรวิทย์ ชัยวิรัตนะ ที่ ๓ นางขวัญเรือน กองโฮม ที่ ๔ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองนครราชสีมา เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๕/๒๕๕๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ฟ้องคดีด้วยการทำนาปลูกข้าวตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ จนมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๓๑๔๑ อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ในปี ๒๕๑๘ และในปี ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีได้รับโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ มาโดยเข้าใจว่าเป็นโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ แปลงของผู้ฟ้องคดี แต่ต่อมาในปี ๒๕๕๑ ผู้ฟ้องคดีจึงทราบว่า โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ที่ถือครองอยู่ไม่ตรงกับที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองและทำประโยชน์ จึงได้ตรวจสอบเอกสารการถือครองที่ดินพบแต่เพียงสำเนา น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ซึ่งเป็นชื่อผู้ฟ้องคดี และพบอีกว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีได้ออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ระบุชื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยมีหลักฐานการซื้อขายที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่เคยทำสัญญาซื้อขายและลงลายมือชื่อในเอกสารที่ดินแปลงดังกล่าว ในปี ๒๕๕๒ ผู้ฟ้องคดีจึงได้ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ต่อศาลจังหวัดชัยภูมิ ระหว่างนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และต่อมาทนายความของผู้ฟ้องคดีได้ให้ผู้ฟ้องคดีลงลายมือชื่อในเอกสารขอถอนฟ้องคดีดังกล่าว ซึ่งศาลจังหวัดชัยภูมิมีคำสั่งอนุญาต การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ที่ออกให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ รวมถึงการจดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ฟ้องคดีได้ถือครองโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ โดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการกับโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดเนื่องจากการออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ และ ๑๐๘๗๑ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นการออกจากหลักฐาน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ดังกล่าว มาจากการขายของผู้ฟ้องคดี จึงมีสิทธินำหลักฐานตาม น.ส. ๓ ก. มารับโฉนดที่ดินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า เดิมที่ดินแปลงพิพาทเป็นที่ดินตาม น.ส.๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ซึ่งผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนและขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ในปี ๒๕๓๒ จนกระทั่งปี ๒๕๓๙ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยินยอมให้ผู้ฟ้องคดีดูแลและใช้สอยที่ดินพิพาทแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ตลอดมา ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จะขายที่ดินพิพาท ผู้ฟ้องคดีเกรงว่าผู้ซื้อจะไม่ยอมให้ผู้ฟ้องคดีใช้สอยที่ดินพิพาท จึงยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ต่อศาลจังหวัดชัยภูมิ อ้างว่าผู้ฟ้องคดีได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท ซึ่งในวันนัดสืบพยานผู้ฟ้องคดีไม่ยอมสืบพยานแต่ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและแถลงต่อศาลเพิ่มเติมด้วยวาจาว่าจะไม่ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยซื้อมาจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า แม้ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลจะพิจารณาว่าการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องวินิจฉัยให้ได้ความก่อนว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ แล้วจึงจะมีคำสั่งเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินต่อไป กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใด อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ ประกอบมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งและพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ และ ๑๐๘๗๑ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ที่ออกให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ รวมทั้งการจดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ฟ้องคดีถือครองโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ โดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการกับโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายจากการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อเท็จจริงรับฟังได้จากคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ว่า โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ออกตามความในมาตรา ๕๘ ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวจะออกให้แก่ผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในหนังสือรองการทำประโยชน์ สำหรับที่ดินพิพาทโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกให้ตามหลักฐานหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๓๑๔๑ ซึ่งมีชื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้มีสิทธิโดยปรากฏตามหลักฐานการจดทะเบียนขายระหว่างผู้ฟ้องคดี ผู้ขาย และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ผู้ซื้อ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ อ้างว่าเป็นการจดทะเบียนขายโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้ไปจดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ก็อ้างว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้จดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ด้วยตนเอง ซึ่งการออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวเป็นการดำเนินการโดยเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาว่าผู้ฟ้องคดีได้ไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หรือไม่ อีกทั้งการจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวของเจ้าพนักงานที่ดินก็เป็นการกระทำที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย เมื่อผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการจดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ใน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องให้มีการออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดชัยภูมิพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครอง กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน ขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และการโอนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับคืนโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ไปดำเนินการให้ถูกต้อง กับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายโดยอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๓๑๔๑ ปัจจุบันคือโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ กลับออกโฉนดที่ดินเลขที่ดังกล่าวให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยอาศัยสัญญาซื้อขายที่ดินปลอมระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ กับผู้ฟ้องคดี แล้วออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ผู้ฟ้องคดีขายที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยถูกต้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้ผู้ฟ้องคดีทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแทนเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานทางปกครอง กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๒๑ ที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยอาศัยสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ กับผู้ฟ้องคดี ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่เคยทำสัญญาซื้อขายและลงลายมือชื่อในเอกสาร และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ และการโอนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับคืนโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ไปดำเนินการให้ถูกต้องกับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซื้อที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ดังกล่าว มาจากผู้ฟ้องคดี โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยินยอมให้ผู้ฟ้องคดีดูแลและใช้สอยที่ดินพิพาทแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ตลอดมา และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางจันลา ศรีจันทร์ ผู้ฟ้องคดี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ สาขาบ้านเขว้า ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ นายวรวิทย์ ชัยวิรัตนะ ที่ ๓ นางขวัญเรือน กองโฮม ที่ ๔ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานทางปกครอง กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออกโฉนดเลขที่ ๑๐๘๗๑ ให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยมิใช่ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครอง เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีกลับออกเป็นโฉนดเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยอาศัยสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นสัญญาปลอม แล้วผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ไป ขอให้เพิกถอนการออกโฉนดเลขที่ ๑๐๙๑๒ และการโอนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับคืนโฉนดเลขที่ ๑๐๘๗๑ ไปดำเนินการให้ถูกต้องกับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซื้อที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวมาจากผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๔/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองนครราชสีมา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดชัยภูมิ
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครราชสีมาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ นางจันลา ศรีจันทร์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ สาขาบ้านเขว้า ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ นายวรวิทย์ ชัยวิรัตนะ ที่ ๓ นางขวัญเรือน กองโฮม ที่ ๔ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองนครราชสีมา เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๕/๒๕๕๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ฟ้องคดีด้วยการทำนาปลูกข้าวตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ จนมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๓๑๔๑ อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ในปี ๒๕๑๘ และในปี ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีได้รับโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ มาโดยเข้าใจว่าเป็นโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ แปลงของผู้ฟ้องคดี แต่ต่อมาในปี ๒๕๕๑ ผู้ฟ้องคดีจึงทราบว่า โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ที่ถือครองอยู่ไม่ตรงกับที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองและทำประโยชน์ จึงได้ตรวจสอบเอกสารการถือครองที่ดินพบแต่เพียงสำเนา น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ซึ่งเป็นชื่อผู้ฟ้องคดี และพบอีกว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีได้ออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ระบุชื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยมีหลักฐานการซื้อขายที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่เคยทำสัญญาซื้อขายและลงลายมือชื่อในเอกสารที่ดินแปลงดังกล่าว ในปี ๒๕๕๒ ผู้ฟ้องคดีจึงได้ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ต่อศาลจังหวัดชัยภูมิ ระหว่างนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และต่อมาทนายความของผู้ฟ้องคดีได้ให้ผู้ฟ้องคดีลงลายมือชื่อในเอกสารขอถอนฟ้องคดีดังกล่าว ซึ่งศาลจังหวัดชัยภูมิมีคำสั่งอนุญาต การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ที่ออกให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ รวมถึงการจดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ฟ้องคดีได้ถือครองโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ โดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการกับโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดเนื่องจากการออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ และ ๑๐๘๗๑ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นการออกจากหลักฐาน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ดังกล่าว มาจากการขายของผู้ฟ้องคดี จึงมีสิทธินำหลักฐานตาม น.ส. ๓ ก. มารับโฉนดที่ดินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า เดิมที่ดินแปลงพิพาทเป็นที่ดินตาม น.ส.๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ซึ่งผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนและขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ในปี ๒๕๓๒ จนกระทั่งปี ๒๕๓๙ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยินยอมให้ผู้ฟ้องคดีดูแลและใช้สอยที่ดินพิพาทแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ตลอดมา ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จะขายที่ดินพิพาท ผู้ฟ้องคดีเกรงว่าผู้ซื้อจะไม่ยอมให้ผู้ฟ้องคดีใช้สอยที่ดินพิพาท จึงยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ต่อศาลจังหวัดชัยภูมิ อ้างว่าผู้ฟ้องคดีได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท ซึ่งในวันนัดสืบพยานผู้ฟ้องคดีไม่ยอมสืบพยานแต่ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องและแถลงต่อศาลเพิ่มเติมด้วยวาจาว่าจะไม่ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยซื้อมาจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า แม้ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลจะพิจารณาว่าการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องวินิจฉัยให้ได้ความก่อนว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ แล้วจึงจะมีคำสั่งเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินต่อไป กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใด อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ ประกอบมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งและพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ และ ๑๐๘๗๑ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ที่ออกให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ รวมทั้งการจดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ฟ้องคดีถือครองโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ โดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการกับโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายจากการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย และข้อเท็จจริงรับฟังได้จากคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ว่า โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ออกตามความในมาตรา ๕๘ ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวจะออกให้แก่ผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในหนังสือรองการทำประโยชน์ สำหรับที่ดินพิพาทโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกให้ตามหลักฐานหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๓๑๔๑ ซึ่งมีชื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้มีสิทธิโดยปรากฏตามหลักฐานการจดทะเบียนขายระหว่างผู้ฟ้องคดี ผู้ขาย และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ผู้ซื้อ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ อ้างว่าเป็นการจดทะเบียนขายโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้ไปจดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ก็อ้างว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้จดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ด้วยตนเอง ซึ่งการออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวเป็นการดำเนินการโดยเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาว่าผู้ฟ้องคดีได้ไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ หรือไม่ อีกทั้งการจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวของเจ้าพนักงานที่ดินก็เป็นการกระทำที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย เมื่อผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการจดทะเบียนขายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ใน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องให้มีการออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดชัยภูมิพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครอง กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน ขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และการโอนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับคืนโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ไปดำเนินการให้ถูกต้อง กับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายโดยอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๓๑๔๑ ปัจจุบันคือโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ กลับออกโฉนดที่ดินเลขที่ดังกล่าวให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยอาศัยสัญญาซื้อขายที่ดินปลอมระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ กับผู้ฟ้องคดี แล้วออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ผู้ฟ้องคดีขายที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยถูกต้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้ผู้ฟ้องคดีทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแทนเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานทางปกครอง กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๓๑๔๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๒๑ ที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยอาศัยสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ กับผู้ฟ้องคดี ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่เคยทำสัญญาซื้อขายและลงลายมือชื่อในเอกสาร และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองทำประโยชน์ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ และการโอนขายที่ดินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับคืนโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๘๗๑ ไปดำเนินการให้ถูกต้องกับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๙๑๒ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซื้อที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ดังกล่าว มาจากผู้ฟ้องคดี โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยินยอมให้ผู้ฟ้องคดีดูแลและใช้สอยที่ดินพิพาทแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ตลอดมา และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางจันลา ศรีจันทร์ ผู้ฟ้องคดี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ สาขาบ้านเขว้า ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ นายวรวิทย์ ชัยวิรัตนะ ที่ ๓ นางขวัญเรือน กองโฮม ที่ ๔ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
เอกชนเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และจัดที่ดินดังกล่าว ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ซึ่งเป็นเอกชนเข้าทำประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าร่วมกันเพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าไปยุ่งเกี่ยว กับห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดี สืบเนื่องมาจากการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และการจัดที่ดินดังกล่าวให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าทำประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการยื่นคำขอออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ซึ่งเป็นเท็จ อันเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่ฟ้องต่อศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความ เสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไปได้ คดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๓/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดเลย
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๔ นายสุชาติ รุ่งพรชัย ที่ ๑ นางสาวเกตน์สิรี เจียรุ่งเรืองกิจ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๑ กับพวกรวม ๙ คน ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๙๙๙/๒๕๕๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๐ ถึง ๒๐๔ จำนวน ๕ แปลง ตั้งอยู่ตำบลศรีสงคราม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยซื้อมาจากเจ้าของเดิมเมื่อปี ๒๕๓๒ ในขณะมีหลักฐานเป็น น.ส. ๓ และเข้าทำประโยชน์เรื่อยมา โดยมอบให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้จัดการดูแลและทำประโยชน์ในที่ดินแทน และได้นำ น.ส. ๓ ไปขอออกหลักฐานเป็น น.ส. ๓ ก. ต่อมาผู้ฟ้องคดีทั้งสองขอรังวัดออกโฉนดที่ดินทั้งห้าแปลงดังกล่าวต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดเลย สาขาวังสะพุง แต่ไม่อาจออกโฉนดที่ดินได้เนื่องจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเลย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คัดค้าน อ้างว่าที่ดินทั้งห้าแปลงได้ยื่นคำขอออก น.ส. ๓ ก. ภายหลังจากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่ดินดังกล่าว เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน และการรังวัดขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดิน ส.ป.ก. แปลงเลขที่ ๓ และเลขที่ ๗ ถึง ๑๒ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จัดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เป็นผู้เข้าทำประโยชน์ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการยื่นคำขอออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ซึ่งเป็นเท็จ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าร่วมกันเพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ แปลงเลขที่ ๓ และเลขที่ ๗ ถึง ๑๒ ในส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ทั้งห้าแปลงของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง กับห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า คณะรัฐมนตรีมีมติให้ที่ดินพิพาทเป็นป่าไม้ถาวรเมื่อปี ๒๕๐๖ ต่อมาในปี ๒๕๓๒ ได้มีมติจำแนกพื้นที่ออกจากป่าไม้ถาวรเพื่อเป็นที่ดินทำกินของราษฎรหรือเพื่อให้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้กำหนดให้พื้นที่ที่จำแนกมาเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและตราเป็นพระราชกฤษฎีกาให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๖ การจัดที่ดินและออกหนังสือรับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่อาจขอออกโฉนดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินและขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทั้งเจ็ดฉบับได้ ที่ดินทั้งห้าแปลงที่ผู้ฟ้องคดีอ้างได้ออก น.ส. ๓ โดยอาศัยใบจองที่ออกในเขตป่าไม้ถาวร เป็นใบจองที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย น.ส. ๓ ก. ทั้งห้าฉบับจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยันผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ให้การว่า การออก น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกภายหลังมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งห้าแปลง ที่พิพาทเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของและมีราษฎรบุกรุกจับจองเป็นเจ้าของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ จึงร่วมกับสมาชิกสหกรณ์การเกษตรผสมผสานจังหวัดเลย จำกัด จับจองที่ดินเพื่อทำประโยชน์ เป็นการครอบครองและยึดถือเพื่อตนโดยสุจริตและเปิดเผยเกินกว่า ๑๐ ปี คำขอท้ายคำฟ้องไม่อาจบังคับได้เนื่องจากที่ดินพิพาททางราชการเป็นผู้ออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ซึ่งเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน โดยมีความมุ่งหมายในการฟ้องเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งรับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คัดค้านการออกโฉนดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินก็เป็นการกระทำในฐานะผู้ถือสิทธิในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเช่นเดียวกันกับเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงอื่น ๆ การคัดค้านดังกล่าวจึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจศาลระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ ประกอบมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ยังจำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำที่เป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีและคำขอท้าย คำฟ้องเป็นหลัก คดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นส่วนราชการในสังกัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว เนื่องจากที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง อ้างว่ามีสิทธิครอบครองทับซ้อนกับที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ โดยผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า เป็นการออกโดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ส่วนที่ออกทับซ้อนกับที่ดิน น.ส. ๓ ก. กับห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ยุ่งเกี่ยวในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และห้ามผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าออกคำสั่งและหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง กรณีเป็นการฟ้องคดีโต้แย้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ใช้อำนาจในการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ โดยไม่ชอบตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนด จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และแม้คดีนี้มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาด้วยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองมีสิทธิครอบครอง หรือเป็นที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ มีสิทธิเข้าทำประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม ซึ่งจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาลักษณะคดีว่าอยู่ในอำนาจของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดห้าม ศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน
ศาลจังหวัดเลยพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. รวม ๕ แปลง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองบางส่วนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ยื่นคำขอออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ตามคำฟ้องคดีนี้ แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะกล่าวอ้างว่า ได้รับความเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง อันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายในการฟ้องคดีก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามขอได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ จะเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำฟ้องผู้ฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. จำนวน ๕ แปลง แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้ถูกผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คัดค้าน อ้างว่าที่ดินทั้งห้าแปลงได้ยื่นคำขอออก น.ส. ๓ ก. ภายหลังจากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน และการรังวัดขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดิน ส.ป.ก. ๔-๐๑ รวม ๗ แปลง ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จัดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เป็นผู้เข้าทำประโยชน์ ซึ่งการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งเก้าร่วมกันเพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง กับห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า คณะรัฐมนตรีมีมติให้ที่ดินพิพาทเป็นป่าไม้ถาวร ต่อมาในปี ๒๕๓๒ ได้มีมติจำแนกพื้นที่ออกจากป่าไม้ถาวรเพื่อเป็นที่ดินทำกินของราษฎรหรือเพื่อให้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้กำหนดให้พื้นที่ที่จำแนกมาเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและตราเป็นพระราชกฤษฎีกาให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๖ การจัดที่ดินและออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่อาจขอออกโฉนดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินและขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทั้งเจ็ดฉบับได้ ที่ดินทั้งห้าแปลงที่ผู้ฟ้องคดีอ้างได้ออก น.ส. ๓ โดยอาศัยใบจองที่ออกในเขตป่าไม้ถาวร เป็นใบจองที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย น.ส. ๓ ก. ทั้งห้าฉบับจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ให้การว่า การออก น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกภายหลังมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งห้าแปลง ที่พิพาทเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าจับจองทำประโยชน์เกินกว่า ๑๐ ปี เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และการจัดที่ดินดังกล่าวให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าทำประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการยื่นคำขอออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ซึ่งเป็นเท็จ อันเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่ฟ้องต่อศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไปได้ คดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายสุชาติ รุ่งพรชัย ที่ ๑ นางสาวเกตน์สิรี เจียรุ่งเรืองกิจ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๑ กับพวกรวม ๙ คน ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เอกชนเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และจัดที่ดินดังกล่าว ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ซึ่งเป็นเอกชนเข้าทำประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าร่วมกันเพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าไปยุ่งเกี่ยว กับห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดี สืบเนื่องมาจากการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และการจัดที่ดินดังกล่าวให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าทำประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการยื่นคำขอออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ซึ่งเป็นเท็จ อันเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่ฟ้องต่อศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความ เสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไปได้ คดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๓/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดเลย
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๔ นายสุชาติ รุ่งพรชัย ที่ ๑ นางสาวเกตน์สิรี เจียรุ่งเรืองกิจ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๑ กับพวกรวม ๙ คน ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๙๙๙/๒๕๕๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๐ ถึง ๒๐๔ จำนวน ๕ แปลง ตั้งอยู่ตำบลศรีสงคราม อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยซื้อมาจากเจ้าของเดิมเมื่อปี ๒๕๓๒ ในขณะมีหลักฐานเป็น น.ส. ๓ และเข้าทำประโยชน์เรื่อยมา โดยมอบให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้จัดการดูแลและทำประโยชน์ในที่ดินแทน และได้นำ น.ส. ๓ ไปขอออกหลักฐานเป็น น.ส. ๓ ก. ต่อมาผู้ฟ้องคดีทั้งสองขอรังวัดออกโฉนดที่ดินทั้งห้าแปลงดังกล่าวต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดเลย สาขาวังสะพุง แต่ไม่อาจออกโฉนดที่ดินได้เนื่องจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเลย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คัดค้าน อ้างว่าที่ดินทั้งห้าแปลงได้ยื่นคำขอออก น.ส. ๓ ก. ภายหลังจากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่ดินดังกล่าว เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน และการรังวัดขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดิน ส.ป.ก. แปลงเลขที่ ๓ และเลขที่ ๗ ถึง ๑๒ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จัดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เป็นผู้เข้าทำประโยชน์ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการยื่นคำขอออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ซึ่งเป็นเท็จ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าร่วมกันเพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ แปลงเลขที่ ๓ และเลขที่ ๗ ถึง ๑๒ ในส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ทั้งห้าแปลงของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง กับห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า คณะรัฐมนตรีมีมติให้ที่ดินพิพาทเป็นป่าไม้ถาวรเมื่อปี ๒๕๐๖ ต่อมาในปี ๒๕๓๒ ได้มีมติจำแนกพื้นที่ออกจากป่าไม้ถาวรเพื่อเป็นที่ดินทำกินของราษฎรหรือเพื่อให้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้กำหนดให้พื้นที่ที่จำแนกมาเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและตราเป็นพระราชกฤษฎีกาให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๖ การจัดที่ดินและออกหนังสือรับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่อาจขอออกโฉนดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินและขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทั้งเจ็ดฉบับได้ ที่ดินทั้งห้าแปลงที่ผู้ฟ้องคดีอ้างได้ออก น.ส. ๓ โดยอาศัยใบจองที่ออกในเขตป่าไม้ถาวร เป็นใบจองที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย น.ส. ๓ ก. ทั้งห้าฉบับจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยันผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ให้การว่า การออก น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกภายหลังมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งห้าแปลง ที่พิพาทเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของและมีราษฎรบุกรุกจับจองเป็นเจ้าของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ จึงร่วมกับสมาชิกสหกรณ์การเกษตรผสมผสานจังหวัดเลย จำกัด จับจองที่ดินเพื่อทำประโยชน์ เป็นการครอบครองและยึดถือเพื่อตนโดยสุจริตและเปิดเผยเกินกว่า ๑๐ ปี คำขอท้ายคำฟ้องไม่อาจบังคับได้เนื่องจากที่ดินพิพาททางราชการเป็นผู้ออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ซึ่งเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน โดยมีความมุ่งหมายในการฟ้องเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งรับรองคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คัดค้านการออกโฉนดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินก็เป็นการกระทำในฐานะผู้ถือสิทธิในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเช่นเดียวกันกับเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงอื่น ๆ การคัดค้านดังกล่าวจึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจศาลระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ ประกอบมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ยังจำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำที่เป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีและคำขอท้าย คำฟ้องเป็นหลัก คดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นส่วนราชการในสังกัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง มูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว เนื่องจากที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง อ้างว่ามีสิทธิครอบครองทับซ้อนกับที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ โดยผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า เป็นการออกโดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ส่วนที่ออกทับซ้อนกับที่ดิน น.ส. ๓ ก. กับห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ยุ่งเกี่ยวในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และห้ามผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าออกคำสั่งและหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง กรณีเป็นการฟ้องคดีโต้แย้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ใช้อำนาจในการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ โดยไม่ชอบตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนด จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และแม้คดีนี้มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาด้วยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองมีสิทธิครอบครอง หรือเป็นที่ดินที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ มีสิทธิเข้าทำประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม ซึ่งจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาลักษณะคดีว่าอยู่ในอำนาจของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดห้าม ศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน
ศาลจังหวัดเลยพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. รวม ๕ แปลง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองบางส่วนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ยื่นคำขอออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ตามคำฟ้องคดีนี้ แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะกล่าวอ้างว่า ได้รับความเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง อันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายในการฟ้องคดีก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามขอได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ จะเป็นหน่วยงานทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำฟ้องผู้ฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. จำนวน ๕ แปลง แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้ถูกผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ คัดค้าน อ้างว่าที่ดินทั้งห้าแปลงได้ยื่นคำขอออก น.ส. ๓ ก. ภายหลังจากมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน และการรังวัดขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดิน ส.ป.ก. ๔-๐๑ รวม ๗ แปลง ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จัดให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เป็นผู้เข้าทำประโยชน์ ซึ่งการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งเก้าร่วมกันเพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในส่วนที่ทับซ้อนกับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง กับห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า คณะรัฐมนตรีมีมติให้ที่ดินพิพาทเป็นป่าไม้ถาวร ต่อมาในปี ๒๕๓๒ ได้มีมติจำแนกพื้นที่ออกจากป่าไม้ถาวรเพื่อเป็นที่ดินทำกินของราษฎรหรือเพื่อให้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้กำหนดให้พื้นที่ที่จำแนกมาเป็นเขตปฏิรูปที่ดินและตราเป็นพระราชกฤษฎีกาให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๖ การจัดที่ดินและออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่อาจขอออกโฉนดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินและขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทั้งเจ็ดฉบับได้ ที่ดินทั้งห้าแปลงที่ผู้ฟ้องคดีอ้างได้ออก น.ส. ๓ โดยอาศัยใบจองที่ออกในเขตป่าไม้ถาวร เป็นใบจองที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย น.ส. ๓ ก. ทั้งห้าฉบับจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ ให้การว่า การออก น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกภายหลังมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งห้าแปลง ที่พิพาทเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าจับจองทำประโยชน์เกินกว่า ๑๐ ปี เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ทับที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และการจัดที่ดินดังกล่าวให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๙ เข้าทำประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการยื่นคำขอออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ซึ่งเป็นเท็จ อันเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่ฟ้องต่อศาลก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไปได้ คดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายสุชาติ รุ่งพรชัย ที่ ๑ นางสาวเกตน์สิรี เจียรุ่งเรืองกิจ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๑ กับพวกรวม ๙ คน ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
คดีที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับ ส.ป.ก. ๔-๐๑ แต่ถูกจำเลยไปรับสิทธิใส่ชื่อแทน โดยจำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ โจทก์ขอให้จดทะเบียนโอนเปลี่ยนมาเป็นชื่อโจทก์ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ขอให้จำเลยจดทะเบียนเพิกถอนชื่อของจำเลยใน ส.ป.ก. ๔-๐๑ และจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของและห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดิน จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยถูกต้องตามกฎหมายและขอให้ขับไล่โจทก์ เป็นคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ในนิติสัมพันธ์ที่จะต้องรับผิดต่อกันในทางแพ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๒/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดสุรินทร์
ระหว่าง
ศาลปกครองนครราชสีมา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสุรินทร์โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นายสมนึก สายแก้ว โจทก์ ยื่นฟ้องนายสมจิตร ดีงาม จำเลย ต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๑๓๐/๒๕๕๔ ความว่า เมื่อปี ๒๕๔๘ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ได้ออกไปสอบสิทธิเพื่อออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับตามสิทธิที่โจทก์ได้ครอบครองทำกินในที่ดินที่ได้รับจัดสรร ต่อมาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์แจ้งให้โจทก์ไปรับ ส.ป.ก. ๔-๐๑ แปลงที่ ๗๙ แต่โจทก์เดินทางไปต่างจังหวัด ภริยาโจทก์จึงให้จำเลยซึ่งเป็นน้องชายไปรับสิทธิใส่ชื่อแทนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ที่ดินดังกล่าวโจทก์ครอบครองทำประโยชน์โดยทำนามาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ ถึงปี ๒๕๔๙ จำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ ในปี ๒๕๕๐ โจทก์และภริยาได้ถมที่เพื่อทำตลาดให้ชาวบ้านเช่าค้าขาย ปลูกสร้างห้องน้ำไว้บริการประชาชนเพื่อเก็บค่าบริการและปลูกบ้านพักอาศัย ต่อมาปี ๒๕๕๔ จำเลยแจ้งต่อโจทก์ว่าจะเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวและขอเก็บค่าเช่าแทนโจทก์ โจทก์มีหนังสือไปยังสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์เพื่อขอให้จดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อจากจำเลยเป็นชื่อโจทก์ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนเพิกถอนชื่อของจำเลยออกจาก ส.ป.ก. ๔-๐๑ เลขที่ ๔๖๔๕ แปลงที่ ๗๙ และจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของและห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดิน
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและตามระเบียบ กฎ ข้อบังคับและเงื่อนไขที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดโดยถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องและขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินพิพาท
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔- ๐๑ เลขที่ ๔๖๔๕ แปลงที่ ๗๙ อันเป็นคำสั่งทางปกครอง กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสุรินทร์พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น เมื่อข้อพิพาทคดีนี้โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนด้วยกัน ทั้งมูลความแห่งคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนเพิกถอนชื่อออกจากหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินและใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิแทนและห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป อันเป็นนิติสัมพันธ์ที่คู่ความจะต้องรับผิดต่อกันในทางแพ่งเท่านั้น มิได้เกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครองแต่อย่างใด คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่อำนาจในการให้ความเห็นชอบเกษตรกรผู้ได้รับการคัดเลือกและได้รับที่ดินทำกินเป็นของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ตามข้อ ๕ วรรคหนึ่ง ประกอบข้อ ๑๑ แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ และอำนาจในการเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นของปฏิรูปที่ดินจังหวัดตามข้อ ๑๐ (๒) แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการออก แก้ไขเพิ่มเติม เพิกถอน และออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยใน ส.ป.ก. ๔-๐๑ โดยให้เปลี่ยนเป็นชื่อโจทก์นั้น เห็นว่า ปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามข้อ ๑๐ แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ และปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์มีหนังสือลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ แจ้งโจทก์และจำเลยไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและเปลี่ยนชื่อใน ส.ป.ก. ๔-๐๑ โจทก์ไปพบเจ้าหน้าที่แต่ขอทำคำชี้แจงเป็นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่ภายใน ๑๕ วัน ส่วนจำเลยไม่ไปพบเจ้าหน้าที่แต่มีหนังสือชี้แจงต่อสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ แต่จนถึงวันฟ้องคดีนี้ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ยังไม่แจ้งผลการพิจารณาให้คู่กรณีทราบ แม้คดีนี้จะเป็นกรณีที่เอกชนยื่นฟ้องเอกชน แต่การที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ที่มีชื่อของจำเลย และโดยที่มติของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดที่อนุญาตให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินและการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ตามมติของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาแห่งคดี จึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเป็นคู่กรณีในคดีได้ ตามมาตรา ๕๗ (๓) (ข) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง" คดีนี้โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) แต่ถูกจำเลยซึ่งเป็นน้องภริยาโจทก์ไปรับสิทธิใส่ชื่อแทน โดยจำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ โจทก์ขอให้จดทะเบียนโอนเปลี่ยนมาเป็นชื่อโจทก์ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเพิกถอนชื่อของจำเลยใน ส.ป.ก. ๔-๐๑ และจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของและห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดิน ส่วนจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยถูกต้องตามกฎหมายและขอให้ขับไล่โจทก์ เห็นว่า เมื่อคดีนี้เป็นคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง ในนิติสัมพันธ์ที่จะต้องรับผิดต่อกันในทางแพ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายสมนึก สายแก้ว โจทก์ นายสมจิตร ดีงาม จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับ ส.ป.ก. ๔-๐๑ แต่ถูกจำเลยไปรับสิทธิใส่ชื่อแทน โดยจำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ โจทก์ขอให้จดทะเบียนโอนเปลี่ยนมาเป็นชื่อโจทก์ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ขอให้จำเลยจดทะเบียนเพิกถอนชื่อของจำเลยใน ส.ป.ก. ๔-๐๑ และจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของและห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดิน จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยถูกต้องตามกฎหมายและขอให้ขับไล่โจทก์ เป็นคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ในนิติสัมพันธ์ที่จะต้องรับผิดต่อกันในทางแพ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๒/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดสุรินทร์
ระหว่าง
ศาลปกครองนครราชสีมา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสุรินทร์โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นายสมนึก สายแก้ว โจทก์ ยื่นฟ้องนายสมจิตร ดีงาม จำเลย ต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๑๓๐/๒๕๕๔ ความว่า เมื่อปี ๒๕๔๘ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ได้ออกไปสอบสิทธิเพื่อออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับตามสิทธิที่โจทก์ได้ครอบครองทำกินในที่ดินที่ได้รับจัดสรร ต่อมาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์แจ้งให้โจทก์ไปรับ ส.ป.ก. ๔-๐๑ แปลงที่ ๗๙ แต่โจทก์เดินทางไปต่างจังหวัด ภริยาโจทก์จึงให้จำเลยซึ่งเป็นน้องชายไปรับสิทธิใส่ชื่อแทนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ที่ดินดังกล่าวโจทก์ครอบครองทำประโยชน์โดยทำนามาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ ถึงปี ๒๕๔๙ จำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ ในปี ๒๕๕๐ โจทก์และภริยาได้ถมที่เพื่อทำตลาดให้ชาวบ้านเช่าค้าขาย ปลูกสร้างห้องน้ำไว้บริการประชาชนเพื่อเก็บค่าบริการและปลูกบ้านพักอาศัย ต่อมาปี ๒๕๕๔ จำเลยแจ้งต่อโจทก์ว่าจะเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวและขอเก็บค่าเช่าแทนโจทก์ โจทก์มีหนังสือไปยังสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์เพื่อขอให้จดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อจากจำเลยเป็นชื่อโจทก์ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนเพิกถอนชื่อของจำเลยออกจาก ส.ป.ก. ๔-๐๑ เลขที่ ๔๖๔๕ แปลงที่ ๗๙ และจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของและห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดิน
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและตามระเบียบ กฎ ข้อบังคับและเงื่อนไขที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดโดยถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องและขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินพิพาท
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔- ๐๑ เลขที่ ๔๖๔๕ แปลงที่ ๗๙ อันเป็นคำสั่งทางปกครอง กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสุรินทร์พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น เมื่อข้อพิพาทคดีนี้โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนด้วยกัน ทั้งมูลความแห่งคดีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนเพิกถอนชื่อออกจากหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินและใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิแทนและห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป อันเป็นนิติสัมพันธ์ที่คู่ความจะต้องรับผิดต่อกันในทางแพ่งเท่านั้น มิได้เกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครองแต่อย่างใด คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่อำนาจในการให้ความเห็นชอบเกษตรกรผู้ได้รับการคัดเลือกและได้รับที่ดินทำกินเป็นของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด ตามข้อ ๕ วรรคหนึ่ง ประกอบข้อ ๑๑ แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ และอำนาจในการเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นของปฏิรูปที่ดินจังหวัดตามข้อ ๑๐ (๒) แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการออก แก้ไขเพิ่มเติม เพิกถอน และออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยใน ส.ป.ก. ๔-๐๑ โดยให้เปลี่ยนเป็นชื่อโจทก์นั้น เห็นว่า ปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามข้อ ๑๐ แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ และปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์มีหนังสือลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ แจ้งโจทก์และจำเลยไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและเปลี่ยนชื่อใน ส.ป.ก. ๔-๐๑ โจทก์ไปพบเจ้าหน้าที่แต่ขอทำคำชี้แจงเป็นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่ภายใน ๑๕ วัน ส่วนจำเลยไม่ไปพบเจ้าหน้าที่แต่มีหนังสือชี้แจงต่อสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ แต่จนถึงวันฟ้องคดีนี้ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ยังไม่แจ้งผลการพิจารณาให้คู่กรณีทราบ แม้คดีนี้จะเป็นกรณีที่เอกชนยื่นฟ้องเอกชน แต่การที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ที่มีชื่อของจำเลย และโดยที่มติของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดที่อนุญาตให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินและการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ตามมติของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาแห่งคดี จึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเป็นคู่กรณีในคดีได้ ตามมาตรา ๕๗ (๓) (ข) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง" คดีนี้โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔-๐๑) แต่ถูกจำเลยซึ่งเป็นน้องภริยาโจทก์ไปรับสิทธิใส่ชื่อแทน โดยจำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ โจทก์ขอให้จดทะเบียนโอนเปลี่ยนมาเป็นชื่อโจทก์ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเพิกถอนชื่อของจำเลยใน ส.ป.ก. ๔-๐๑ และจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของและห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดิน ส่วนจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยถูกต้องตามกฎหมายและขอให้ขับไล่โจทก์ เห็นว่า เมื่อคดีนี้เป็นคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง ในนิติสัมพันธ์ที่จะต้องรับผิดต่อกันในทางแพ่ง โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายสมนึก สายแก้ว โจทก์ นายสมจิตร ดีงาม จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
คดีที่เอกชนผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิได้รับความเดือดร้อนจากการถูกคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินมีมติยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าที่ดินเป็นส่วนหนึ่งของที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงฟ้องขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่โจทก์ เพิกถอนการส่งมอบที่ดินของโจทก์คืนกรมป่าไม้ และให้เพิกถอนข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่า คดีมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า มติของจำเลยที่ว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจนำมาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มูลพิพาทคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๑/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลจังหวัดอุบลราชธานี
ระหว่าง
ศาลปกครองอุบลราชธานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดอุบลราชธานีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ นายวันทา สุวรรณรมย์ โจทก์ที่ ๑ ยื่นฟ้องคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี จำเลย ต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๓๘๓/๒๕๕๔ และในวันเดียวกันนายบุญมา รัตนมูล โจทก์ที่ ๒ ยื่นฟ้องคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี จำเลย ต่อศาลเดียวกันเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๓๘๔/๒๕๕๔ ซึ่งศาลสั่งรวมพิจารณาเข้ากับคดีแรก ความว่า โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเนื้อที่ ๓๒ ไร่ ๒ งาน ๕๓ ตารางวา และ ๑๗ ไร่ ๓ งาน ๒๙ ตารางวา ตามลำดับ บริเวณป่าดงตาหวัง ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ต่อจากบรรพบุรุษ ในปี ๒๕๓๐ ได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๐๙ ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ กำหนดให้ป่าดงตาหวังซึ่งรวมถึงที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมาในปี ๒๕๔๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินซึ่งรวมที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โจทก์ทั้งสองนำเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีไปรังวัดปักหลักเขตที่ดินพร้อมกับยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ ซึ่งจำเลยประกาศผลคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘ ให้โจทก์ทั้งสองได้รับคัดเลือกเข้าทำประโยชน์คนละ ๑ แปลง แต่ต่อมาจำเลยได้กลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองโดยมีมติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง อ้างว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของโคกทำเลเลี้ยงสัตว์ป่าภูแปก อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอำเภอโพธิ์ไทร กรณีราษฎรร้องเรียนขอให้ตรวจสอบแนวเขตป่าชุมชน และดำเนินการคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้กรมป่าไม้ ขอให้เพิกถอนมติของจำเลยที่ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง ให้จำเลยออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามประกาศรายชื่อเกษตรกรผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดิน ให้จำเลยเพิกถอนการส่งมอบที่ดินของโจทก์ทั้งสองคืนกรมป่าไม้ และให้เพิกถอนข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
จำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินไม่มีอำนาจทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ จำเลยจึงไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวไปจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ มติของจำเลยที่ให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเนื่องจากเคยฟ้องคดีในประเด็นเดียวกันต่อศาลปกครองนครราชสีมา โดยในคดีดังกล่าวโจทก์ทั้งสองฟ้องสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีแทนจำเลยคดีนี้ ซึ่งศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณา เพราะโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฟ้อง และศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืน คดีของโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า การที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่า จำเลยในฐานะหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีมติยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยไม่ชอบ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทั้งสองได้เข้าทำประโยชน์ต่อจากบรรพบุรุษ โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งหรือคัดค้าน ต่อมามีกฎกระทรวงกำหนดให้ที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จากนั้นได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เขตที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โจทก์ทั้งสองจึงนำเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีทำการรังวัดปักหลักเขตที่ดินและยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดิน เจ้าหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีได้ทำการรังวัดที่ดินและสอบสวนสิทธิของโจทก์ทั้งสอง แล้วประกาศว่าโจทก์ทั้งสองได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ต่อมาจำเลยมีมติที่ประชุมให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์เป็นส่วนหนึ่งของโคกทำเลเลี้ยงสัตว์ป่าภูแปก เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จากนั้นจำเลยได้กลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองโดยการนำที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์อยู่ไปกันคืนให้แก่กรมป่าไม้ ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครอง ทำประโยชน์อยู่นั้น โจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองอุบลราชธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้จำเลยมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อจำเลยมีมติให้โจทก์ทั้งสองได้รับการคัดเลือกเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน อันเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อให้เกิดสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสอง แต่ต่อมาจำเลยกลับมีมติให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง ซึ่งมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในอันที่จะระงับซึ่งสิทธิ จึงเห็นได้ว่ามติทั้งสองมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองโดยตรง อันถือเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อจำเลยเห็นว่าการอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินไม่ถูกต้อง เนื่องจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์อยู่นั้นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงมีมติให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ ของระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วย การออก แก้ไขเพิ่มเติม เพิกถอนและออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อโจทก์ทั้งสองเห็นว่ามติดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นอกจากนี้คดีมีประเด็นที่ศาลจะต้องพิจารณาว่า มติของจำเลยที่ให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการที่ศาลจะพิจารณาประเด็นดังกล่าวได้ต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์นั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรืออยู่ในพื้นที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงไม่มีประเด็นโต้แย้งสิทธิในที่ดินแต่อย่างใด ทั้งการที่จะพิจารณาประเด็นดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคดีเพื่อให้ศาลควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณา โดยไม่ถูกจำกัดให้พิจารณาเฉพาะข้อเท็จจริงที่คู่ความเสนอ หรือตามที่คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งอาจทำให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องเสียสิทธิในการใช้ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๘ กำหนดให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งตามความหมายของ "การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ประการหนึ่ง ในการนำที่ดินของรัฐมาจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่เพียงพอแก่การครองชีพได้เข้าทำประโยชน์ การดำเนินการจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่กำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินไว้หลายประการ ซึ่งแตกต่างจากการได้สิทธิในที่ดินของเอกชนตามประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโดยที่ข้อ ๕ ของระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า การจัดเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมท้องที่ใดให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเสนอ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ทั้งนี้ ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ (๑) บัญญัติให้การกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ใดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะมีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรือเมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน เมื่อตามคำฟ้องคดีนี้โจทก์ทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินซึ่งรวมที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงได้ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดิน และจำเลยประกาศผลให้โจทก์ทั้งสองได้รับคัดเลือกเข้าทำประโยชน์แล้ว แต่ต่อมากลับมีมติยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยอ้างว่าที่ดิน ที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของโคกทำเลเลี้ยงสัตว์ป่าภูแปก อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอำเภอโพธิ์ไทร และคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้กรมป่าไม้ ขอให้บังคับให้จำเลยเพิกถอนมติที่ให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง ให้จำเลยออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่โจทก์ทั้งสองให้จำเลยเพิกถอนการส่งมอบที่ดินของโจทก์ทั้งสองคืนกรมป่าไม้ และให้เพิกถอนข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่วนจำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองยังมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจึงไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวมาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และจำเลยไม่มีอำนาจจัดให้เกษตรกรเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น การที่จำเลยมีมติตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า คดีมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า มติของจำเลยที่ว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจึงไม่อาจนำมาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มูลพิพาทคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายวันทา สุวรรณรมย์ ที่ ๑ นายบุญมา รัตนมูล ที่ ๒ โจทก์ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่เอกชนผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิได้รับความเดือดร้อนจากการถูกคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินมีมติยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าที่ดินเป็นส่วนหนึ่งของที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงฟ้องขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่โจทก์ เพิกถอนการส่งมอบที่ดินของโจทก์คืนกรมป่าไม้ และให้เพิกถอนข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่า คดีมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า มติของจำเลยที่ว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจนำมาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มูลพิพาทคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๑/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลจังหวัดอุบลราชธานี
ระหว่าง
ศาลปกครองอุบลราชธานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดอุบลราชธานีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ นายวันทา สุวรรณรมย์ โจทก์ที่ ๑ ยื่นฟ้องคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี จำเลย ต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๓๘๓/๒๕๕๔ และในวันเดียวกันนายบุญมา รัตนมูล โจทก์ที่ ๒ ยื่นฟ้องคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี จำเลย ต่อศาลเดียวกันเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๓๘๔/๒๕๕๔ ซึ่งศาลสั่งรวมพิจารณาเข้ากับคดีแรก ความว่า โจทก์ที่ ๑ และที่ ๒ ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเนื้อที่ ๓๒ ไร่ ๒ งาน ๕๓ ตารางวา และ ๑๗ ไร่ ๓ งาน ๒๙ ตารางวา ตามลำดับ บริเวณป่าดงตาหวัง ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ต่อจากบรรพบุรุษ ในปี ๒๕๓๐ ได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๐๙ ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ กำหนดให้ป่าดงตาหวังซึ่งรวมถึงที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมาในปี ๒๕๔๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินซึ่งรวมที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โจทก์ทั้งสองนำเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีไปรังวัดปักหลักเขตที่ดินพร้อมกับยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ ซึ่งจำเลยประกาศผลคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘ ให้โจทก์ทั้งสองได้รับคัดเลือกเข้าทำประโยชน์คนละ ๑ แปลง แต่ต่อมาจำเลยได้กลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองโดยมีมติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง อ้างว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของโคกทำเลเลี้ยงสัตว์ป่าภูแปก อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอำเภอโพธิ์ไทร กรณีราษฎรร้องเรียนขอให้ตรวจสอบแนวเขตป่าชุมชน และดำเนินการคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้กรมป่าไม้ ขอให้เพิกถอนมติของจำเลยที่ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง ให้จำเลยออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามประกาศรายชื่อเกษตรกรผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดิน ให้จำเลยเพิกถอนการส่งมอบที่ดินของโจทก์ทั้งสองคืนกรมป่าไม้ และให้เพิกถอนข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง
จำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินไม่มีอำนาจทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ จำเลยจึงไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวไปจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ มติของจำเลยที่ให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเนื่องจากเคยฟ้องคดีในประเด็นเดียวกันต่อศาลปกครองนครราชสีมา โดยในคดีดังกล่าวโจทก์ทั้งสองฟ้องสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีแทนจำเลยคดีนี้ ซึ่งศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณา เพราะโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาฟ้อง และศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืน คดีของโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า การที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่า จำเลยในฐานะหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีมติยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยไม่ชอบ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทั้งสองได้เข้าทำประโยชน์ต่อจากบรรพบุรุษ โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งหรือคัดค้าน ต่อมามีกฎกระทรวงกำหนดให้ที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ จากนั้นได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เขตที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โจทก์ทั้งสองจึงนำเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีทำการรังวัดปักหลักเขตที่ดินและยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดิน เจ้าหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานีได้ทำการรังวัดที่ดินและสอบสวนสิทธิของโจทก์ทั้งสอง แล้วประกาศว่าโจทก์ทั้งสองได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ต่อมาจำเลยมีมติที่ประชุมให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์เป็นส่วนหนึ่งของโคกทำเลเลี้ยงสัตว์ป่าภูแปก เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จากนั้นจำเลยได้กลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองโดยการนำที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์อยู่ไปกันคืนให้แก่กรมป่าไม้ ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ทั้งสองได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครอง ทำประโยชน์อยู่นั้น โจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองอุบลราชธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้จำเลยมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อจำเลยมีมติให้โจทก์ทั้งสองได้รับการคัดเลือกเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน อันเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อให้เกิดสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสอง แต่ต่อมาจำเลยกลับมีมติให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง ซึ่งมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในอันที่จะระงับซึ่งสิทธิ จึงเห็นได้ว่ามติทั้งสองมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองโดยตรง อันถือเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อจำเลยเห็นว่าการอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินไม่ถูกต้อง เนื่องจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์อยู่นั้นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงมีมติให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ ของระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วย การออก แก้ไขเพิ่มเติม เพิกถอนและออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อโจทก์ทั้งสองเห็นว่ามติดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นอกจากนี้คดีมีประเด็นที่ศาลจะต้องพิจารณาว่า มติของจำเลยที่ให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการที่ศาลจะพิจารณาประเด็นดังกล่าวได้ต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์นั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรืออยู่ในพื้นที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงไม่มีประเด็นโต้แย้งสิทธิในที่ดินแต่อย่างใด ทั้งการที่จะพิจารณาประเด็นดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคดีเพื่อให้ศาลควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณา โดยไม่ถูกจำกัดให้พิจารณาเฉพาะข้อเท็จจริงที่คู่ความเสนอ หรือตามที่คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งอาจทำให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องเสียสิทธิในการใช้ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๘ กำหนดให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งตามความหมายของ "การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ประการหนึ่ง ในการนำที่ดินของรัฐมาจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่เพียงพอแก่การครองชีพได้เข้าทำประโยชน์ การดำเนินการจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดินเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่กำหนดคุณสมบัติของเกษตรกรผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินไว้หลายประการ ซึ่งแตกต่างจากการได้สิทธิในที่ดินของเอกชนตามประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโดยที่ข้อ ๕ ของระเบียบดังกล่าวกำหนดว่า การจัดเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามโครงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมท้องที่ใดให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดเสนอ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ทั้งนี้ ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ (๑) บัญญัติให้การกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ใดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้าในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะมีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรือเมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน เมื่อตามคำฟ้องคดีนี้โจทก์ทั้งสองอ้างว่า โจทก์ทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินซึ่งรวมที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จึงได้ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปที่ดิน และจำเลยประกาศผลให้โจทก์ทั้งสองได้รับคัดเลือกเข้าทำประโยชน์แล้ว แต่ต่อมากลับมีมติยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยอ้างว่าที่ดิน ที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของโคกทำเลเลี้ยงสัตว์ป่าภูแปก อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอำเภอโพธิ์ไทร และคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้กรมป่าไม้ ขอให้บังคับให้จำเลยเพิกถอนมติที่ให้ยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง ให้จำเลยออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้แก่โจทก์ทั้งสองให้จำเลยเพิกถอนการส่งมอบที่ดินของโจทก์ทั้งสองคืนกรมป่าไม้ และให้เพิกถอนข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่วนจำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองยังมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจึงไม่มีอำนาจนำที่ดินดังกล่าวมาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และจำเลยไม่มีอำนาจจัดให้เกษตรกรเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น การที่จำเลยมีมติตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นว่า คดีมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า มติของจำเลยที่ว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองครอบครองเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจึงไม่อาจนำมาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและยกเลิกการจัดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มูลพิพาทคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายวันทา สุวรรณรมย์ ที่ ๑ นายบุญมา รัตนมูล ที่ ๒ โจทก์ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1)
คดีที่เอกชนฟ้องว่าได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเอาชื่อไปจดทะเบียนเป็นกรรมการ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท จึงขอให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการดังกล่าว แต่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีคำสั่งไม่เพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอ โดยอ้างว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบแล้ว และถูกผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ รวมทั้งเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๐/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแพ่ง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ นายธนวัฒน์ หนูวัน ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ที่ ๑ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๕๕/๒๕๕๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทของบริษัทพี.ไพรส์ ซัพพลายส์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด จากนายกิตติพันธ์ หิรัญชัยสกุล เป็นผู้ฟ้องคดี ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้จดทะเบียนให้ เนื่องจากมีการนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดีไปจดทะเบียนโดยผู้ฟ้องคดีไม่ทราบเรื่อง มิได้ยินยอมหรือมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทและไม่เคยเข้าร่วมประชุมหรือดำเนินกิจการของบริษัทแต่อย่างใด แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แจ้งว่า ไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียน เนื่องจากได้จดทะเบียนโดยถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายแล้ว เมื่อผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยกอุทธรณ์ ขอให้พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ไม่เพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทตามคำขอของผู้ฟ้องคดี เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี และเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า บริษัทพี.ไพรส์ ซัพพลายส์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทมาเป็นผู้ฟ้องคดี โดยอาศัยมติที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบจึงจดทะเบียนให้ และไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าวตามคำขอของผู้ฟ้องคดีที่อ้างว่ามิได้ตกลงยินยอมด้วยและไม่เคยเข้าร่วมประชุมหรือดำเนินกิจการใด ๆ ของบริษัท เนื่องจากได้จดทะเบียน โดยถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้ว และอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไม่มีเหตุผลพอที่จะรับฟังได้
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ซึ่งเรื่องการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ๒๒ หมวด ๔ การตั้งกรรมการใหม่จะต้องกระทำโดยที่ประชุมใหญ่เท่านั้น ดังนั้น การที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนหรือไม่ จึงต้องตรวจสอบถึงการประชุมใหญ่ว่าได้ดำเนินการถูกต้องและชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการจะต้องจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง แก้ไข อย่างใดจะต้องเป็นผลมาจากการประชุมใหญ่ที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลต้องตรวจสอบตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมในการตรวจสอบ ไม่ใช่การตรวจสอบการใช้อำนาจในทางปกครองของฝ่ายปกครองแต่อย่างใด การจะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง แก้ไข อย่างใดเป็นเพียงความสมบูรณ์ในส่วนรูปแบบเท่านั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองและเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับบริษัท แต่ได้มอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านกับลงลายมือชื่อในเอกสารให้นายจ้าง และมีการนำเอกสารดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมการให้ผู้ฟ้องคดีเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทโดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่รู้เห็นยินยอม ซึ่งในการจดทะเบียนดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะต้องพิจารณาตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องข้อพิพาทของผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว แต่เป็นการโต้แย้งคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ถูกบริษัทยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการและอำนาจกรรมการบริษัทนำชื่อผู้ฟ้องคดีเข้าเป็นกรรมการบริษัทโดยอ้างมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่เคยรู้จักหรือเกี่ยวข้องกับบริษัทและไม่เคยเข้าร่วมประชุมหรือดำเนินการใด ๆ ของบริษัทและไม่เคยตกลงหรือรู้เห็นยินยอมที่จะเป็นกรรมการบริษัท ซึ่งเท่ากับผู้ฟ้องคดีอ้างว่าการประชุมและมติที่ประชุมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งรับจดทะเบียนจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่มีคำสั่งปฏิเสธการเพิกถอนการรับจดทะเบียน เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่รับจดทะเบียนและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้จึงสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดี รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทและอำนาจกรรมการบริษัททำให้ผู้ฟ้องคดีเข้ามาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท และการที่อ้างว่าการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ เมื่อบริษัทเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าเพื่อแสวงหากำไรและเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงบัญญัติว่า ในการก่อตั้ง การดำเนินการ ตลอดจนการเลิกกิจการของนิติบุคคลต้องเป็นไปตามขั้นตอนและจดทะเบียน หากมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็ต้องนำความไปแจ้งต่อนายทะเบียน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรับรองสิทธิของนิติบุคคลนั้นว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย มีความสามารถทำนิติกรรมได้และเพื่อเปิดเผยให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ถึงสถานะอำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลนั้น ๆ ซึ่งกระบวนการและขั้นตอนตามกฎหมายดังกล่าวเป็นไปเพื่อรับรองสิทธิของนิติบุคคลในทางแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องทางปกครอง สถานภาพของผู้ฟ้องคดีจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ต้องเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นหลัก ซึ่งเป็นเรื่องทางแพ่ง ไม่ใช่อยู่ที่การรับจดทะเบียนของผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อศาลต้องพิจารณาถึงสิทธิในทางแพ่งเป็นสำคัญ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยฟ้องว่าผู้ฟ้องคดีได้มีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทพี.ไพรส์ ซัพพลายส์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด จากผู้มีชื่อเป็นผู้ฟ้องคดี ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับบริษัทฯ แต่ได้มอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านกับลงลายมือชื่อในเอกสารให้นายจ้าง และ มีการนำเอกสารดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการให้ผู้ฟ้องคดีเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ โดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่รู้เห็นยินยอม แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งไม่เพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอ โดยอ้างว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๔๙ แล้ว ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายธนวัฒน์ หนูวัน ผู้ฟ้องคดี นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ที่ ๑ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ไพโรจน์ วายุภาพ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายไพโรจน์ วายุภาพ) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สุขสันต์ สิงหเดช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สุขสันต์ สิงหเดช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีที่เอกชนฟ้องว่าได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเอาชื่อไปจดทะเบียนเป็นกรรมการ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท จึงขอให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการดังกล่าว แต่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีคำสั่งไม่เพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอ โดยอ้างว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบแล้ว และถูกผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ รวมทั้งเพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๐/๒๕๕๖
วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแพ่ง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ นายธนวัฒน์ หนูวัน ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ที่ ๑ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๕๕/๒๕๕๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๓ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทของบริษัทพี.ไพรส์ ซัพพลายส์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด จากนายกิตติพันธ์ หิรัญชัยสกุล เป็นผู้ฟ้องคดี ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้จดทะเบียนให้ เนื่องจากมีการนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบ