ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๒/๒๕๕๔
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดนราธิวาส
ระหว่าง
ศาลปกครองสงขลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดนราธิวาสส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ วัดประชุมชลธารา โจทก์ ยื่นฟ้องสำนักงานธนารักษ์พื้นที่นราธิวาส ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ คณะกรรมการที่ราชพัสดุ ที่ ๓ กระทรวงการคลัง ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดนราธิวาส เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๑๗/๒๕๕๒ ความว่า เมื่อประมาณต้นปี ๒๕๕๒ โจทก์ทำการตรวจสอบที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดประชุมชลธารา มีเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ ๓ งาน แต่พบว่าที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวถูกจำเลยที่ ๒ เสนอให้จำเลยที่ ๓ ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบและไม่มีหลักฐานการได้มา ทั้งขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื่องจากตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้กำหนดว่า ที่ราชพัสดุจะได้มาก็โดยการประกาศสงวนไว้ใช้ในราชการหรือตกเป็นของรัฐเนื่องจากค้างชำระภาษีอากร หรือรัฐบาลจัดซื้อด้วยเงินงบประมาณ หรือเป็นโบราณสถาน กำแพงเมือง คูเมือง หรือโดยคำพิพากษาของศาล หรือเป็นที่ดินเหลือเศษจากการเวนคืนซึ่งรัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชย หรือโดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรี หรือเอกชนบริจาคให้กับทางราชการ หรือโดยเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือโดยเหตุอื่น ๆ ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินธรณีสงฆ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุได้ แต่จำเลยทั้งสี่กลับนำไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุเมื่อปี ๒๕๐๘ โดยอ้างว่าเป็นการได้มาโดยราษฎรยกให้ ซึ่งเป็นความเท็จเนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่โจทก์ยินยอมให้มีการจัดตั้งโรงเรียนและถือเป็นที่ธรณีสงฆ์ไม่อาจยกให้บุคคลใด ๆ ได้ เว้นแต่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ดำเนินการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุบนที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์และส่งมอบคืนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์กับให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าวออกไป
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นที่ดินของโจทก์แต่เป็นของจำเลยที่ ๔ ซึ่งนำขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุถูกต้องตามกฎหมายเมื่อปี ๒๕๑๒ เป็นแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ๒๕๖๑๕ และได้ปรับปรุงทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวในปี ๒๕๒๓ เป็นหมายเลขทะเบียน นธ. ๒๕๖ ทั้งในปี ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ ร่วมกับโรงเรียนและเจ้าของที่ดินข้างเคียงทำการรังวัดปักหลักเขตที่ดินราชพัสดุแปลงพิพาท โดยโจทก์มอบให้ไวยาวัจกรของโจทก์ในขณะนั้นมาร่วมรังวัดปักเขตที่ดินโดยได้ยอมรับว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ และเมื่อขึ้นทะเบียนที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ โจทก์ก็ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้านกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด นอกจากนี้โจทก์เคยยื่นขอเอกสารสิทธิในที่ดินของโจทก์จำนวน ๘ แปลง โดยไม่มีที่ดินแปลงพิพาทอยู่ในรายการที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุและโอนเปลี่ยนชื่อในที่ดินพิพาทได้ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐว่านำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบและขอให้ดำเนินการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดนราธิวาสพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ที่เคยมอบให้โรงเรียนวัดประชุมชลธาราใช้ประโยชน์ เมื่อโรงเรียนไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว โจทก์ได้รังวัดพื้นที่ดังกล่าวพบว่าจำเลยทั้งสี่ได้นำที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ โดยอ้างว่ามีราษฎรเป็นผู้ยกให้ ส่วนจำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยที่ ๔ นำไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยเมื่อปี ๒๕๑๒ ที่ดินดังกล่าวได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ๒๕๖๑๕ ต่อมาปี ๒๕๒๓ ได้ปรับปรุงทะเบียนที่ราชพัสดุเป็นแปลงหมายเลขทะเบียน นธ. ๒๕๖ และทางราชการเคยนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ในการสร้างโรงเรียนวัดประชุมชลธารา อีกทั้งปี ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ ร่วมกับโรงเรียนวัดประชุมชลธาราและเจ้าของที่ดินข้างเคียงทำการรังวัดที่ดินพิพาทโดยโจทก์มอบให้ไวยาวัจกรของวัดในขณะนั้นมาร่วมรังวัดปักเขตที่ดินโดยได้ยอมรับว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ จึงเป็นกรณีที่คู่กรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยที่ ๔ โดยไม่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินพิพาทนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดิน จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองสงขลาพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันนำที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยจำเลยที่ ๑ ได้เสนอต่อจำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลยที่ ๓ โดยมีจำเลยที่ ๔ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทั้ง ๆ ที่ที่ดินพิพาทไม่มีหลักฐานการได้มา และโจทก์ยังได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินด้านข้างเคียงที่ติดกับที่ดินพิพาทมาโดยตลอด การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลเพิกถอนการขึ้นทะเบียนและให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในที่ราชพัสดุดังกล่าวออกไป จึงเท่ากับเป็นการฟ้องคดีที่สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ ดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุและสิ่งปลูกสร้างอาคารโดยไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดไว้ และโดยที่การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุเป็นขั้นตอนในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุก่อนที่จะดำเนินการนำที่ราชพัสดุมาให้เช่าซึ่งเป็นเรื่องการจัดประโยชน์ ซึ่งต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับการนำที่ราชพัสดุมาให้เช่า ในเมื่อการอนุมัติให้เช่าที่ราชพัสดุซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการขึ้นทะเบียนเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของอธิบดีกรมธนารักษ์ กรณีจึงต้องถือว่า การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุของจำเลยทั้งสี่ซึ่งต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ระเบียบกฎหมายกำหนดไว้ย่อมเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายเช่นกัน เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วจะทำให้เกิดความลักลั่นในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุตามมาได้ ดังนั้น คำฟ้องในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยที่ ๒ และที่ ๔ จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง และจำเลยที่ ๓ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาอ้างว่า โจทก์ทำการตรวจสอบที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดประชุมชลธารา มีเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ ๓ งาน แต่ถูกจำเลยที่ ๒ เสนอให้จำเลยที่ ๓ ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ และไม่มีหลักฐานการได้มา ขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ไม่อาจยกให้บุคคลใด ๆ ได้ เว้นแต่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ดำเนินการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุบนที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์และส่งมอบคืนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าวออกไป ส่วนจำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นที่ดินของโจทก์แต่เป็นของจำเลยที่ ๔ ซึ่งนำขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุถูกต้องตามกฎหมายเมื่อปี ๒๕๑๒ ทั้งในปี ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ ร่วมกับโรงเรียนและเจ้าของที่ดินข้างเคียงทำการรังวัดปักหลักเขตที่ดินราชพัสดุแปลงพิพาท โดยโจทก์มอบให้ไวยาวัจกรของโจทก์ในขณะนั้นมาร่วมรังวัดปักเขตที่ดินโดยได้ยอมรับว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ และเมื่อขึ้นทะเบียนที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ โจทก์ก็ไม่เคยคัดค้าน นอกจากนี้โจทก์เคยยื่นขอเอกสารสิทธิในที่ดินของโจทก์จำนวน ๘ แปลง โดยไม่มีที่ดินแปลงพิพาทอยู่ในรายการที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุและโอนเปลี่ยนชื่อในที่ดินพิพาทได้ ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือเป็นที่ราชพัสดุเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างวัดประชุมชลธารา โจทก์ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นราธิวาส ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ คณะกรรมการที่ราชพัสดุ ที่ ๓ กระทรวงการคลัง ที่ ๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๒/๒๕๕๔
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดนราธิวาส
ระหว่าง
ศาลปกครองสงขลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดนราธิวาสส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ วัดประชุมชลธารา โจทก์ ยื่นฟ้องสำนักงานธนารักษ์พื้นที่นราธิวาส ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ คณะกรรมการที่ราชพัสดุ ที่ ๓ กระทรวงการคลัง ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดนราธิวาส เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๑๗/๒๕๕๒ ความว่า เมื่อประมาณต้นปี ๒๕๕๒ โจทก์ทำการตรวจสอบที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดประชุมชลธารา มีเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ ๓ งาน แต่พบว่าที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวถูกจำเลยที่ ๒ เสนอให้จำเลยที่ ๓ ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบและไม่มีหลักฐานการได้มา ทั้งขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื่องจากตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้กำหนดว่า ที่ราชพัสดุจะได้มาก็โดยการประกาศสงวนไว้ใช้ในราชการหรือตกเป็นของรัฐเนื่องจากค้างชำระภาษีอากร หรือรัฐบาลจัดซื้อด้วยเงินงบประมาณ หรือเป็นโบราณสถาน กำแพงเมือง คูเมือง หรือโดยคำพิพากษาของศาล หรือเป็นที่ดินเหลือเศษจากการเวนคืนซึ่งรัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชย หรือโดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรี หรือเอกชนบริจาคให้กับทางราชการ หรือโดยเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือโดยเหตุอื่น ๆ ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินธรณีสงฆ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุได้ แต่จำเลยทั้งสี่กลับนำไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุเมื่อปี ๒๕๐๘ โดยอ้างว่าเป็นการได้มาโดยราษฎรยกให้ ซึ่งเป็นความเท็จเนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่โจทก์ยินยอมให้มีการจัดตั้งโรงเรียนและถือเป็นที่ธรณีสงฆ์ไม่อาจยกให้บุคคลใด ๆ ได้ เว้นแต่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ดำเนินการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุบนที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์และส่งมอบคืนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์กับให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าวออกไป
จำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นที่ดินของโจทก์แต่เป็นของจำเลยที่ ๔ ซึ่งนำขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุถูกต้องตามกฎหมายเมื่อปี ๒๕๑๒ เป็นแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ๒๕๖๑๕ และได้ปรับปรุงทะเบียนที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวในปี ๒๕๒๓ เป็นหมายเลขทะเบียน นธ. ๒๕๖ ทั้งในปี ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ ร่วมกับโรงเรียนและเจ้าของที่ดินข้างเคียงทำการรังวัดปักหลักเขตที่ดินราชพัสดุแปลงพิพาท โดยโจทก์มอบให้ไวยาวัจกรของโจทก์ในขณะนั้นมาร่วมรังวัดปักเขตที่ดินโดยได้ยอมรับว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ และเมื่อขึ้นทะเบียนที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ โจทก์ก็ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้านกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด นอกจากนี้โจทก์เคยยื่นขอเอกสารสิทธิในที่ดินของโจทก์จำนวน ๘ แปลง โดยไม่มีที่ดินแปลงพิพาทอยู่ในรายการที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุและโอนเปลี่ยนชื่อในที่ดินพิพาทได้ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐว่านำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบและขอให้ดำเนินการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดนราธิวาสพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ที่เคยมอบให้โรงเรียนวัดประชุมชลธาราใช้ประโยชน์ เมื่อโรงเรียนไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว โจทก์ได้รังวัดพื้นที่ดังกล่าวพบว่าจำเลยทั้งสี่ได้นำที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ โดยอ้างว่ามีราษฎรเป็นผู้ยกให้ ส่วนจำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยที่ ๔ นำไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยเมื่อปี ๒๕๑๒ ที่ดินดังกล่าวได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ๒๕๖๑๕ ต่อมาปี ๒๕๒๓ ได้ปรับปรุงทะเบียนที่ราชพัสดุเป็นแปลงหมายเลขทะเบียน นธ. ๒๕๖ และทางราชการเคยนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ในการสร้างโรงเรียนวัดประชุมชลธารา อีกทั้งปี ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ ร่วมกับโรงเรียนวัดประชุมชลธาราและเจ้าของที่ดินข้างเคียงทำการรังวัดที่ดินพิพาทโดยโจทก์มอบให้ไวยาวัจกรของวัดในขณะนั้นมาร่วมรังวัดปักเขตที่ดินโดยได้ยอมรับว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ จึงเป็นกรณีที่คู่กรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยที่ ๔ โดยไม่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินพิพาทนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดิน จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองสงขลาพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันนำที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยจำเลยที่ ๑ ได้เสนอต่อจำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลยที่ ๓ โดยมีจำเลยที่ ๔ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ทั้ง ๆ ที่ที่ดินพิพาทไม่มีหลักฐานการได้มา และโจทก์ยังได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินด้านข้างเคียงที่ติดกับที่ดินพิพาทมาโดยตลอด การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลเพิกถอนการขึ้นทะเบียนและให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในที่ราชพัสดุดังกล่าวออกไป จึงเท่ากับเป็นการฟ้องคดีที่สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ ดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุและสิ่งปลูกสร้างอาคารโดยไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดไว้ และโดยที่การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุเป็นขั้นตอนในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุก่อนที่จะดำเนินการนำที่ราชพัสดุมาให้เช่าซึ่งเป็นเรื่องการจัดประโยชน์ ซึ่งต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับการนำที่ราชพัสดุมาให้เช่า ในเมื่อการอนุมัติให้เช่าที่ราชพัสดุซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากการขึ้นทะเบียนเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของอธิบดีกรมธนารักษ์ กรณีจึงต้องถือว่า การขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุของจำเลยทั้งสี่ซึ่งต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ระเบียบกฎหมายกำหนดไว้ย่อมเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายเช่นกัน เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้วจะทำให้เกิดความลักลั่นในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุตามมาได้ ดังนั้น คำฟ้องในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยที่ ๒ และที่ ๔ จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง และจำเลยที่ ๓ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาอ้างว่า โจทก์ทำการตรวจสอบที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดประชุมชลธารา มีเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ ๓ งาน แต่ถูกจำเลยที่ ๒ เสนอให้จำเลยที่ ๓ ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบตั้งแต่ปี ๒๕๐๘ และไม่มีหลักฐานการได้มา ขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ไม่อาจยกให้บุคคลใด ๆ ได้ เว้นแต่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ดำเนินการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุบนที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์และส่งมอบคืนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินดังกล่าวออกไป ส่วนจำเลยทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นที่ดินของโจทก์แต่เป็นของจำเลยที่ ๔ ซึ่งนำขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุถูกต้องตามกฎหมายเมื่อปี ๒๕๑๒ ทั้งในปี ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ ร่วมกับโรงเรียนและเจ้าของที่ดินข้างเคียงทำการรังวัดปักหลักเขตที่ดินราชพัสดุแปลงพิพาท โดยโจทก์มอบให้ไวยาวัจกรของโจทก์ในขณะนั้นมาร่วมรังวัดปักเขตที่ดินโดยได้ยอมรับว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ และเมื่อขึ้นทะเบียนที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ โจทก์ก็ไม่เคยคัดค้าน นอกจากนี้โจทก์เคยยื่นขอเอกสารสิทธิในที่ดินของโจทก์จำนวน ๘ แปลง โดยไม่มีที่ดินแปลงพิพาทอยู่ในรายการที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุและโอนเปลี่ยนชื่อในที่ดินพิพาทได้ ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือเป็นที่ราชพัสดุเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างวัดประชุมชลธารา โจทก์ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่นราธิวาส ที่ ๑ กรมธนารักษ์ ที่ ๒ คณะกรรมการที่ราชพัสดุ ที่ ๓ กระทรวงการคลัง ที่ ๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๑/๒๕๕๔
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดกำแพงเพชร
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดกำแพงเพชรส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นางติง ชาวสวน หรือศรีชะนะ โจทก์ ยื่นฟ้อง กระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมบัญชีกลาง ที่ ๒ นายเพ็ง ชาวสวน ที่ ๓ นางสมร ชาวสวน ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดกำแพงเพชร เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๖๙/๒๕๕๒ ความว่า โจทก์เป็นมารดาของพลทหารคำสิงห์ ชาวสวน ซึ่งเกิดกับนายเส็ง ชาวสวน โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เมื่อปี ๒๕๓๐ พลทหารคำสิงห์ ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ไปปฏิบัติงานที่สมรภูมิร่มเกล้าและถึงแก่ความตายในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ทหารประจำการ ทำให้ทายาทมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอดและเงินบำนาญพิเศษ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ หลังจากนั้น
เมื่อปี ๒๕๓๑ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ยื่นคำร้องขอรับเงินบำนาญพิเศษในฐานะทายาท โดยแจ้งว่า เป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ จำเลยที่ ๑ พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้วอนุมัติให้จ่ายเงินบำนาญพิเศษแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ โดยจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรให้คลังจังหวัดจ่ายเงินบำนาญพิเศษแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ นับแต่วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๓๑ เป็นต้นมาจนถึงปี ๒๕๕๒ รวมเป็นเงินที่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ได้รับไปแล้วทั้งสิ้น ๑,๑๐๗,๘๔๖ บาท การสั่งจ่ายเงินของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้แก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ดังกล่าว เนื่องจากจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ อ้างว่าเป็นทายาทอันเป็นความเท็จ ทำให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หลงเชื่อ มิได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นทายาทที่แท้จริงหรือไม่ เป็นเหตุให้โจทก์ ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงและมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษแต่เพียงผู้เดียวได้รับความเสียหาย ไม่อาจใช้สิทธิในการรับเงิน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๑,๑๐๗ ,๘๔๖ บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ระงับการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ นับถัดจากวันฟ้องและสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์เพียงผู้เดียวจนกว่าโจทก์จะถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง อีกทั้งโจทก์มิใช่ มารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์ ประกอบกับหน่วยงานต้นสังกัดของพลทหารคำสิงห์ดำเนินการตรวจสอบความเป็นทายาทของจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ แล้วรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ส่งมายังจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเงินแผ่นดินเพื่อสั่งจ่ายเงิน เมื่อจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ตรวจสอบแล้ว เห็นว่า มีเอกสารครบถ้วนจึงได้สั่งจ่ายเงินดังกล่าว โดยจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการเป็นทายาท จึงมิได้สั่งจ่ายเงินดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า ไม่เคยยื่นคำร้องขอรับเบี้ยบำเหน็จพิเศษหรืออ้างว่าเป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ต่อจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ แต่ยอมรับว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มิใช่บิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ เนื่องจากเดิมนายเส็งพี่ชายของจำเลยที่ ๓ อยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน คือพลทหารคำสิงห์ แต่ไม่ได้ไปแจ้งเกิดตามกฎหมาย จากนั้นนายเส็งกับโจทก์แยกทางกัน จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ได้อุปการะเลี้ยงดูพลทหารคำสิงห์ตลอดมาจนกระทั่งอายุ ๑๘ ปี ซึ่งต้องขึ้นทะเบียนทหาร จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ จึงไปแจ้งเกิดพลทหารคำสิงห์ย้อนหลัง เจ้าหน้าที่อำเภอได้ระบุให้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ โดยมิได้จงใจให้มีสิทธิต่างๆ แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการให้ผู้ตายขึ้นทะเบียนทหารได้เท่านั้น เมื่อพลทหารคำสิงห์ถึงแก่ความตาย ผู้บังคับบัญชาของพลทหารคำสิงห์ได้แจ้งว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มีสิทธิได้รับเงินบำนาญพิเศษและดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้ จึงเป็นการจ่ายเงินตามหลักฐานที่ปรากฏ โดยจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มิได้แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ อีกทั้งบำนาญพิเศษมิใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์จึงไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ คดีโจทก์ขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดกำแพงเพชรพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองและเอกชนว่า จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ แจ้งความอันเป็นเท็จว่าเป็นทายาทของพลทหารคำสิงห์ แล้วจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองได้อนุมัติให้จ่ายเงินบำนาญพิเศษ โดยมิได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นทายาทที่แท้จริงหรือไม่ เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์และมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษแต่เพียงผู้เดียวได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยกับให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ระงับการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ และสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์เพียงผู้เดียว ซึ่งคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ไม่มีการโต้แย้งและเป็นที่ยุติว่าอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ นั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ โต้แย้งว่าโจทก์มิใช่มารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์ จึงไม่มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษ ซึ่งศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า โจทก์เป็นมารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์หรือไม่ แล้วจึงพิจารณาได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งหมดเป็นการกระทำละเมิดหรือไม่และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการรับบำนาญพิเศษ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม อีกทั้งมูลความแห่งคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เพื่อให้คำพิพากษาเป็นไปในแนวเดียวกันจึงชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน ดังนั้น คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรม จะต้องพิจารณาเขตอำนาจศาลของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองแล้วศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง
เมื่อคดีนี้โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ กระทำละเมิดต่อโจทก์ กรณีที่อนุมัติให้จ่ายบำนาญพิเศษให้แก่ทายาทของพลทหารประจำการที่ถึงแก่ความตายในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่ตรวจสอบว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นทายาทที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์หรือไม่ ทำให้โจทก์ ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์และมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษแต่เพียงผู้เดียว ได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวและขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๑,๑๐๗,๘๔๖ บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ระงับการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ นับถัดจากวันฟ้อง เป็นต้นไปและสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์แต่เพียงผู้เดียวจนกว่าโจทก์จะถึงแก่ความตาย เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๕ บัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้... มาตรา ๕๑ บัญญัติว่า เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัดได้รับเรื่องราวขอรับบำเหน็จบำนาญแล้ว ให้รีบตรวจสอบนำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังภายในหกสิบวันนับแต่วันรับ และเมื่อกระทรวงการคลังได้รับเรื่องดังกล่าวแล้ว ให้รีบพิจารณาสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันรับ ประกอบกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อ ๑๗ กำหนดว่า การสั่งจ่ายบำเหน็จบำนาญให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมบัญชีกลาง...วรรคสองกำหนดว่า เมื่อกรมบัญชีกลางได้รับเรื่องราวขอรับบำเหน็จบำนาญแล้วให้ตรวจสอบและพิจารณาสั่งจ่ายแล้วแจ้งให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือจังหวัดผู้ขอและผู้เบิกตามความในหมวด ๔ โดยระบุประเภทเงินที่จ่าย จำนวน และชื่อผู้รับให้ชัดเจน เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ โดยอธิบดีกรมบัญชีกลางซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายในการอนุมัติสั่งจ่ายบำเหน็จบำนาญได้อนุมัติจ่ายบำนาญพิเศษให้แก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ไปตามรายงานการตรวจสอบทายาทของหน่วยต้นสังกัดของพลทหารคำสิงห์ จึงเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยที่เมื่อคำสั่งให้จ่ายบำนาญพิเศษของจำเลยที่ ๑ มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ในการได้รับบำนาญพิเศษ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ใช้อำนาจตามกฏหมายปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นบิดามารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์หรือไม่ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ออกคำสั่ง
ทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้โจทก์ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์และเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษเพียงผู้เดียวได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับบำนาญพิเศษดังกล่าว และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง การที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ใช่มารดาของพลทหารคำสิงห์ นั้น เห็นว่าประเด็นโต้แย้งดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาแห่งคดีเพื่อพิจารณาว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ออกไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่เท่านั้นมิใช่เกณฑ์พิจารณาอำนาจศาล และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลปกครองพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้กรณีพิพาทพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการรับเงินบำนาญพิเศษเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมโดยเฉพาะเมื่อคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัย มาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ แม้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล แต่เหตุพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เกิดจากการที่จำเลยที่ ๑ มีคำสั่งให้อนุมัติให้จ่ายบำนาญพิเศษแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ศาลจำต้องพิจารณาคำสั่งของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้ได้ความเสียก่อนว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ได้ จึงเป็นกรณีมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเดียวกันที่ศาลปกครองเพื่อให้คำพิพากษาเป็นไปในทางเดียวกัน โดยอาศัยอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยเรื่องที่มีมูลเดียวกันได้ทั้งคดี แม้บางข้อหาจะไม่ได้มีกรณีโต้แย้งเขตอำนาจศาลก็ตาม ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙/๒๕๔๗
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้อง จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและจำเลยที่ ๓ ที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันเอง ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า โจทก์เป็นมารดาของพลทหารคำสิงห์ ชาวสวน ซึ่งเกิดกับนายเส็ง ชาวสวน โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย พลทหารคำสิงห์ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ไปปฏิบัติงานที่สมรภูมิร่มเกล้าและถึงแก่ความตายในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ทหารประจำการ ทำให้ทายาทมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอดและเงินบำนาญพิเศษ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ แจ้งความอันเป็นเท็จว่าเป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หลงเชื่อ อนุมัติให้จ่ายเงินบำนาญพิเศษแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ โดยมิได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าเป็นทายาทที่แท้จริงหรือไม่ เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงและมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษแต่เพียงผู้เดียวได้รับความเสียหายไม่อาจใช้สิทธิในการรับเงินดังกล่าว ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ได้รับไปแล้ว และให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ระงับการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ และสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์เพียงผู้เดียวจนกว่าโจทก์ จะถึงแก่ความตาย จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า โจทก์มิใช่มารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์การจ่ายเงินเป็นไปตามหลักฐานการตรวจสอบความเป็นทายาทของหน่วยงานต้นสังกัด จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการเป็นทายาท จึงมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ไม่เคยยื่นคำร้องขอรับเบี้ยบำเหน็จพิเศษหรืออ้างว่าเป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มิใช่บิดามารดาของพลทหารคำสิงห์แต่พลทหารคำสิงห์เป็นบุตรของโจทก์กับพี่ชายจำเลยที่ ๓ ที่อยู่กินฉันสามีภรรยาและไม่ได้แจ้งการเกิดตามกฎหมาย เมื่อโจทก์กับพี่ชายของจำเลยที่ ๓ แยกทางกันและพลทหารคำสิงห์ ต้องขึ้นทะเบียนทหาร จึงมีการแจ้งเกิดย้อนหลังเพื่อให้ผู้ตายขึ้นทะเบียนทหารได้เท่านั้น เจ้าหน้าที่อำเภอได้ระบุให้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นบิดามารดา เมื่อพลทหารคำสิงห์ถึงแก่ความตายผู้บังคับบัญชาของพลทหารคำสิงห์ได้แจ้งว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มีสิทธิได้รับเงินบำนาญพิเศษและดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้ จึงเป็นการจ่ายเงินตามหลักฐานที่ปรากฏ โดยจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มิได้แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ อีกทั้งบำนาญพิเศษมิใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์จึงไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าตนเป็นมารดาของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทและมีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จตกทอดและเงินบำนาญพิเศษ แม้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ จะให้การยอมรับข้อเท็จจริงว่าตนมิใช่บิดามารดาของผู้ตายก็ตาม แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ก็ให้การว่า โจทก์มิใช่มารดาที่แท้จริงของผู้ตายและจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ก็เคยยืนยันว่าเป็นบิดามารดาของผู้ตาย ดังนั้น ประเด็นหลักของข้อพิพาทในคดีนี้ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า โจทก์หรือจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ฝ่ายใดเป็นทายาทของผู้ตายอันที่จะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่า จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ หากทำละเมิดก็จะต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่หากไม่เป็นการละเมิดก็ไม่จำต้องคืน ซึ่งเป็นข้อพิพาทในทางแพ่งระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน อันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ส่วนประเด็นที่ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ โดยละเมิดหรือไม่ อันถือได้ว่าเป็นประเด็นรองนั้น แม้เป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ตาม แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ก็จะต้องจ่ายให้แก่ทาทายาทตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งต้องพิจารณาให้ได้ความจากประเด็นหลักเสียก่อน เมื่อประเด็นหลักอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมแล้วประเด็นรองจึงควรอยู่ในอำนาจของศาลเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางติง ชาวสวน หรือศรีชะนะ โจทก์ กระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมบัญชีกลางที่ ๒ นายเพ็ง ชาวสวน ที่ ๓ นางสมร ชาวสวน ที่ ๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๑/๒๕๕๔
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดกำแพงเพชร
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดกำแพงเพชรส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นางติง ชาวสวน หรือศรีชะนะ โจทก์ ยื่นฟ้อง กระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมบัญชีกลาง ที่ ๒ นายเพ็ง ชาวสวน ที่ ๓ นางสมร ชาวสวน ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดกำแพงเพชร เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๖๙/๒๕๕๒ ความว่า โจทก์เป็นมารดาของพลทหารคำสิงห์ ชาวสวน ซึ่งเกิดกับนายเส็ง ชาวสวน โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย เมื่อปี ๒๕๓๐ พลทหารคำสิงห์ ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ไปปฏิบัติงานที่สมรภูมิร่มเกล้าและถึงแก่ความตายในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ทหารประจำการ ทำให้ทายาทมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอดและเงินบำนาญพิเศษ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ หลังจากนั้น
เมื่อปี ๒๕๓๑ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ยื่นคำร้องขอรับเงินบำนาญพิเศษในฐานะทายาท โดยแจ้งว่า เป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ จำเลยที่ ๑ พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้วอนุมัติให้จ่ายเงินบำนาญพิเศษแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ โดยจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรให้คลังจังหวัดจ่ายเงินบำนาญพิเศษแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ นับแต่วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๓๑ เป็นต้นมาจนถึงปี ๒๕๕๒ รวมเป็นเงินที่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ได้รับไปแล้วทั้งสิ้น ๑,๑๐๗,๘๔๖ บาท การสั่งจ่ายเงินของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้แก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ดังกล่าว เนื่องจากจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ อ้างว่าเป็นทายาทอันเป็นความเท็จ ทำให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หลงเชื่อ มิได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นทายาทที่แท้จริงหรือไม่ เป็นเหตุให้โจทก์ ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงและมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษแต่เพียงผู้เดียวได้รับความเสียหาย ไม่อาจใช้สิทธิในการรับเงิน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๑,๑๐๗ ,๘๔๖ บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ระงับการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ นับถัดจากวันฟ้องและสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์เพียงผู้เดียวจนกว่าโจทก์จะถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง อีกทั้งโจทก์มิใช่ มารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์ ประกอบกับหน่วยงานต้นสังกัดของพลทหารคำสิงห์ดำเนินการตรวจสอบความเป็นทายาทของจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ แล้วรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ส่งมายังจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเงินแผ่นดินเพื่อสั่งจ่ายเงิน เมื่อจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ตรวจสอบแล้ว เห็นว่า มีเอกสารครบถ้วนจึงได้สั่งจ่ายเงินดังกล่าว โดยจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการเป็นทายาท จึงมิได้สั่งจ่ายเงินดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า ไม่เคยยื่นคำร้องขอรับเบี้ยบำเหน็จพิเศษหรืออ้างว่าเป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ต่อจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ แต่ยอมรับว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มิใช่บิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ เนื่องจากเดิมนายเส็งพี่ชายของจำเลยที่ ๓ อยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน คือพลทหารคำสิงห์ แต่ไม่ได้ไปแจ้งเกิดตามกฎหมาย จากนั้นนายเส็งกับโจทก์แยกทางกัน จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ได้อุปการะเลี้ยงดูพลทหารคำสิงห์ตลอดมาจนกระทั่งอายุ ๑๘ ปี ซึ่งต้องขึ้นทะเบียนทหาร จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ จึงไปแจ้งเกิดพลทหารคำสิงห์ย้อนหลัง เจ้าหน้าที่อำเภอได้ระบุให้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ โดยมิได้จงใจให้มีสิทธิต่างๆ แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการให้ผู้ตายขึ้นทะเบียนทหารได้เท่านั้น เมื่อพลทหารคำสิงห์ถึงแก่ความตาย ผู้บังคับบัญชาของพลทหารคำสิงห์ได้แจ้งว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มีสิทธิได้รับเงินบำนาญพิเศษและดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้ จึงเป็นการจ่ายเงินตามหลักฐานที่ปรากฏ โดยจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มิได้แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ อีกทั้งบำนาญพิเศษมิใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์จึงไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ คดีโจทก์ขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดกำแพงเพชรพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีที่เอกชนยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองและเอกชนว่า จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ แจ้งความอันเป็นเท็จว่าเป็นทายาทของพลทหารคำสิงห์ แล้วจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองได้อนุมัติให้จ่ายเงินบำนาญพิเศษ โดยมิได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นทายาทที่แท้จริงหรือไม่ เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์และมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษแต่เพียงผู้เดียวได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยกับให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ระงับการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ และสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์เพียงผู้เดียว ซึ่งคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ไม่มีการโต้แย้งและเป็นที่ยุติว่าอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ นั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ โต้แย้งว่าโจทก์มิใช่มารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์ จึงไม่มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษ ซึ่งศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า โจทก์เป็นมารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์หรือไม่ แล้วจึงพิจารณาได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งหมดเป็นการกระทำละเมิดหรือไม่และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการรับบำนาญพิเศษ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม อีกทั้งมูลความแห่งคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เพื่อให้คำพิพากษาเป็นไปในแนวเดียวกันจึงชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียวกัน ดังนั้น คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรม จะต้องพิจารณาเขตอำนาจศาลของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองแล้วศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง
เมื่อคดีนี้โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ กระทำละเมิดต่อโจทก์ กรณีที่อนุมัติให้จ่ายบำนาญพิเศษให้แก่ทายาทของพลทหารประจำการที่ถึงแก่ความตายในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่ตรวจสอบว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นทายาทที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์หรือไม่ ทำให้โจทก์ ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์และมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษแต่เพียงผู้เดียว ได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวและขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน ๑,๑๐๗,๘๔๖ บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ระงับการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ นับถัดจากวันฟ้อง เป็นต้นไปและสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์แต่เพียงผู้เดียวจนกว่าโจทก์จะถึงแก่ความตาย เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๕ บัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้... มาตรา ๕๑ บัญญัติว่า เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัดได้รับเรื่องราวขอรับบำเหน็จบำนาญแล้ว ให้รีบตรวจสอบนำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังภายในหกสิบวันนับแต่วันรับ และเมื่อกระทรวงการคลังได้รับเรื่องดังกล่าวแล้ว ให้รีบพิจารณาสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันรับ ประกอบกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ ข้อ ๑๗ กำหนดว่า การสั่งจ่ายบำเหน็จบำนาญให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมบัญชีกลาง...วรรคสองกำหนดว่า เมื่อกรมบัญชีกลางได้รับเรื่องราวขอรับบำเหน็จบำนาญแล้วให้ตรวจสอบและพิจารณาสั่งจ่ายแล้วแจ้งให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือจังหวัดผู้ขอและผู้เบิกตามความในหมวด ๔ โดยระบุประเภทเงินที่จ่าย จำนวน และชื่อผู้รับให้ชัดเจน เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ โดยอธิบดีกรมบัญชีกลางซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายในการอนุมัติสั่งจ่ายบำเหน็จบำนาญได้อนุมัติจ่ายบำนาญพิเศษให้แก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ไปตามรายงานการตรวจสอบทายาทของหน่วยต้นสังกัดของพลทหารคำสิงห์ จึงเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยที่เมื่อคำสั่งให้จ่ายบำนาญพิเศษของจำเลยที่ ๑ มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ในการได้รับบำนาญพิเศษ คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ใช้อำนาจตามกฏหมายปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นบิดามารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์หรือไม่ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ออกคำสั่ง
ทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้โจทก์ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์และเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษเพียงผู้เดียวได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับบำนาญพิเศษดังกล่าว และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่อยู่ ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง การที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ใช่มารดาของพลทหารคำสิงห์ นั้น เห็นว่าประเด็นโต้แย้งดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาแห่งคดีเพื่อพิจารณาว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ออกไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่เท่านั้นมิใช่เกณฑ์พิจารณาอำนาจศาล และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลปกครองพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้กรณีพิพาทพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการรับเงินบำนาญพิเศษเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมโดยเฉพาะเมื่อคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัย มาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ แม้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล แต่เหตุพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เกิดจากการที่จำเลยที่ ๑ มีคำสั่งให้อนุมัติให้จ่ายบำนาญพิเศษแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ศาลจำต้องพิจารณาคำสั่งของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้ได้ความเสียก่อนว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงจะสามารถวินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ได้ จึงเป็นกรณีมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ชอบที่จะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเดียวกันที่ศาลปกครองเพื่อให้คำพิพากษาเป็นไปในทางเดียวกัน โดยอาศัยอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยเรื่องที่มีมูลเดียวกันได้ทั้งคดี แม้บางข้อหาจะไม่ได้มีกรณีโต้แย้งเขตอำนาจศาลก็ตาม ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๙/๒๕๔๗
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้อง จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและจำเลยที่ ๓ ที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันเอง ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า โจทก์เป็นมารดาของพลทหารคำสิงห์ ชาวสวน ซึ่งเกิดกับนายเส็ง ชาวสวน โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย พลทหารคำสิงห์ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ไปปฏิบัติงานที่สมรภูมิร่มเกล้าและถึงแก่ความตายในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ทหารประจำการ ทำให้ทายาทมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอดและเงินบำนาญพิเศษ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ แจ้งความอันเป็นเท็จว่าเป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ หลงเชื่อ อนุมัติให้จ่ายเงินบำนาญพิเศษแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ โดยมิได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าเป็นทายาทที่แท้จริงหรือไม่ เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นมารดาที่แท้จริงและมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษแต่เพียงผู้เดียวได้รับความเสียหายไม่อาจใช้สิทธิในการรับเงินดังกล่าว ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ได้รับไปแล้ว และให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ระงับการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ และสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์เพียงผู้เดียวจนกว่าโจทก์ จะถึงแก่ความตาย จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า โจทก์มิใช่มารดาที่แท้จริงของพลทหารคำสิงห์การจ่ายเงินเป็นไปตามหลักฐานการตรวจสอบความเป็นทายาทของหน่วยงานต้นสังกัด จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการเป็นทายาท จึงมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ไม่เคยยื่นคำร้องขอรับเบี้ยบำเหน็จพิเศษหรืออ้างว่าเป็นบิดามารดาของพลทหารคำสิงห์ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มิใช่บิดามารดาของพลทหารคำสิงห์แต่พลทหารคำสิงห์เป็นบุตรของโจทก์กับพี่ชายจำเลยที่ ๓ ที่อยู่กินฉันสามีภรรยาและไม่ได้แจ้งการเกิดตามกฎหมาย เมื่อโจทก์กับพี่ชายของจำเลยที่ ๓ แยกทางกันและพลทหารคำสิงห์ ต้องขึ้นทะเบียนทหาร จึงมีการแจ้งเกิดย้อนหลังเพื่อให้ผู้ตายขึ้นทะเบียนทหารได้เท่านั้น เจ้าหน้าที่อำเภอได้ระบุให้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ เป็นบิดามารดา เมื่อพลทหารคำสิงห์ถึงแก่ความตายผู้บังคับบัญชาของพลทหารคำสิงห์ได้แจ้งว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มีสิทธิได้รับเงินบำนาญพิเศษและดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้ จึงเป็นการจ่ายเงินตามหลักฐานที่ปรากฏ โดยจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ มิได้แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ อีกทั้งบำนาญพิเศษมิใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์จึงไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าตนเป็นมารดาของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทและมีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จตกทอดและเงินบำนาญพิเศษ แม้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ จะให้การยอมรับข้อเท็จจริงว่าตนมิใช่บิดามารดาของผู้ตายก็ตาม แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ก็ให้การว่า โจทก์มิใช่มารดาที่แท้จริงของผู้ตายและจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ก็เคยยืนยันว่าเป็นบิดามารดาของผู้ตาย ดังนั้น ประเด็นหลักของข้อพิพาทในคดีนี้ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า โจทก์หรือจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ฝ่ายใดเป็นทายาทของผู้ตายอันที่จะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่า จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ หากทำละเมิดก็จะต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่หากไม่เป็นการละเมิดก็ไม่จำต้องคืน ซึ่งเป็นข้อพิพาทในทางแพ่งระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน อันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ส่วนประเด็นที่ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ โดยละเมิดหรือไม่ อันถือได้ว่าเป็นประเด็นรองนั้น แม้เป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ตาม แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ก็จะต้องจ่ายให้แก่ทาทายาทตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งต้องพิจารณาให้ได้ความจากประเด็นหลักเสียก่อน เมื่อประเด็นหลักอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมแล้วประเด็นรองจึงควรอยู่ในอำนาจของศาลเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางติง ชาวสวน หรือศรีชะนะ โจทก์ กระทรวงการคลัง ที่ ๑ กรมบัญชีกลางที่ ๒ นายเพ็ง ชาวสวน ที่ ๓ นางสมร ชาวสวน ที่ ๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๐/๒๕๕๔
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นายวุฒิวัฒน์ โชคธัญพิพัฒน์ โจทก์ ยื่นฟ้อง บริษัทลิงเค็น (ประเทศไทย) จำกัด ที่ ๑ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ ๒ กรุงเทพมหานคร ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๓๘๕/๒๕๕๒ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โจทก์ขับรถจักรยานยนต์คันหมายเลขทะเบียน ปลต ๒๒๘ กรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางถนนพระราม ๖ มุ่งหน้าสี่แยกตึกชัย โดยขับในช่องทางที่ ๑ จากด้านซ้ายและใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อถึงบริเวณด้านหน้าสถานที่ก่อสร้างอาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่มาได้ตกหลุมที่จำเลยที่ ๑ ผู้รับจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ ๒ ผู้ว่าจ้างหรือตัวการ และจำเลยที่ ๓ ผู้อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ขุดก่อสร้างวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินโดยจำเลยที่ ๑ กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง กล่าวคือเมื่อจำเลยที่ ๑ ทำการวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินเสร็จ จำเลยที่ ๑ ต้องตรวจสอบว่าสภาพผิวจราจรในช่องทางเดินรถช่องที่ ๑ อยู่ในสภาพใช้งานได้เป็นปกติหรือไม่ แต่จำเลยที่ ๑ ก็ไม่ดำเนินการ ทำให้บริเวณพื้นผิวจราจรช่องทางเดินดังกล่าวชำรุดเป็นหลุม และเมื่อจำเลยที่ ๑ ได้ทำงานตามที่จำเลยที่ ๒ ว่าจ้างเสร็จสิ้น จำเลยที่ ๒ ผู้ว่าจ้างหรือตัวการก็ต้องไปตรวจผิวจราจรว่าจำเลยที่ ๑ ได้ปรับสภาพผิวจราจรให้เป็นปกติตามเดิมหรือไม่ และจำเลยที่ ๓ ผู้อนุญาตให้ขุดวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินก็ต้องตรวจผิวจราจรว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้ปรับสภาพพื้นผิวจราจรตรงบริเวณที่เกิดเหตุให้เป็นปกติตามเดิมหรือไม่เช่นกัน แต่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ก็ไม่ดำเนินการ การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวทำให้โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ตกหลุมที่จำเลยที่ ๑ ขุดไว้ เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่มาพลิกคว่ำและโจทก์ได้รับอันตรายแก่กาย บาดเจ็บสาหัสต้องเสียดวงตา ทำให้โจทก์ต้องสูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพตามที่ได้ศึกษามา และป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา ใบหน้าเสียโฉม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวน ๗,๒๑๙,๐๑๒.๑๖ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๖,๗๑๖,๖๔๔ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ รับจ้างเหมางานปรับปรุงวางท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินกับจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๑ ได้ทำงานเสร็จเรียบร้อยและส่งมอบงานแล้วเมื่อประมาณกลางเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ ก่อนส่งมอบงานเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ ได้ซ่อมผิวจราจร อยู่ในสภาพเรียบร้อย จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ได้ว่าจ้างจำเลยที่ ๑ ปรับปรุงวางท่อร้อยสายเคเบิ้ลใต้ดิน จำเลยที่ ๒ ตรวจพื้นผิวจราจรแล้วเห็นว่าจำเลยที่ ๑ ปรับสภาพผิวจราจรให้เป็นไปตามปกติเรียบร้อย รถทุกชนิดได้ใช้สัญจรไปมาอย่างสะดวกตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดทำให้เสียหลักล้มไปเอง จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ ให้การว่า การที่โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปตกหลุมตามฟ้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ ถนนบริเวณที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นสถานที่เกิดเหตุและวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องนั้น มีผิวจราจรอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ จำเลยที่ ๓ ได้ตรวจสอบการก่อสร้างร่วมกับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ แล้วก็ปรากฏว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาตครบถ้วน จำเลยที่ ๓ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า จำเลยที่ ๓ เป็นหน่วยงานทางปกครอง และคำฟ้องคดีนี้เป็นคำฟ้องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มูลคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อพิจารณาคำคู่ความแล้วคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ ๑ กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จำเลยที่ ๒ เป็นผู้ว่าจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ ๑ และจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ หรือไม่ จำเลยที่ ๓ เป็นผู้อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคตามฟ้องและจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ค่าเสียหายโจทก์มีหรือไม่ เพียงใด การจะพิจารณาข้อพิพาทดังกล่าวจะต้องพิจารณาไปตาม ลำดับว่า จำเลยที่ ๑ ผู้รับจ้างได้ขุดหลุมตรงที่เกิดเหตุตามฟ้องแล้วไม่ได้ปรับผิวจราจรให้ใช้งานได้ตามปกติอันเป็นการประมาทเลินเล่อหรือไม่ โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปตามเส้นทางตามฟ้องโดยประมาทเลินเล่อหรือมีส่วนประมาทเลินเล่อหรือไม่ จำเลยที่ ๒ เป็นผู้ใช้หรือตัวการของจำเลยที่ ๑ และจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ หรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาต่อไปว่าจำเลยที่ ๓ จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ หรือไม่ จึงต้องพิจารณาลักษณะ การกระทำของจำเลยที่ ๑ และการกระทำของโจทก์เป็นหลักซึ่งลักษณะการกระทำของจำเลยที่ ๑ และการกระทำของโจทก์เป็นลักษณะการกระทำทางกายภาพ แม้การก่อสร้างวางท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินจะเป็นการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค แต่ก็เป็นการจ้างเพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง มิใช่ลักษณะการสัมปทาน ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์จะต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่า จำเลยที่ ๑ ได้กระทำขุดปรับปรุงท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินแล้วไม่ปรับผิวจราจรให้ใช้งานได้ตามปกติและเป็นการประมาทเลินเล่อต่อโจทก์ หรือการที่โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์พลิกคว่ำเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์เอง แล้วจึงพิจารณาประเด็นอื่นต่อไปได้ การพิจารณาประเด็นแห่งคดีที่พิพาทจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองก่อนเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้วศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งข้อพิพาทที่เป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองนั้น จะมีองค์ประกอบสำคัญ ๒ ประการ ประการแรกคู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประการที่สองการกระทำอันเป็นเหตุพิพาทต้องเป็นการกระทำอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินการทางปกครอง จำเลยที่ ๓ เป็นราชการส่วนท้องถิ่น จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนจำเลยที่ ๒ เดิมเป็นรัฐวิสาหกิจ มีชื่อเรียกว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน รวมทั้งดำเนินกิจการอื่นที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกัน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๙ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้รับสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ บรรดาที่กฎหมายให้ไว้แก่กรมไปรษณีย์โทรเลขในส่วนที่ว่าด้วยการให้บริการและการปฏิบัติด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคมตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ และพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ ให้คงใช้บังคับต่อไปเมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้แปรสภาพนิติบุคคลเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๖ และโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิดและสินทรัพย์ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมทั้งหมดไปเป็นของจำเลยที่ ๒ และมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจำกัดอำนาจ สิทธิ หรือประโยชน์ที่จำเลยที่ ๒ ได้รับโอนมาจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย อำนาจทางปกครองของการสื่อสารแห่งประเทศไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ จึงโอนมาเป็นอำนาจทางปกครองของจำเลยที่ ๒ ด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ ๒ จะมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัดก็ตาม แต่ในการดำเนินกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชน ซึ่งมีการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจกาทางปกครองเพื่อให้บริการสาธารณะบรรลุผลแล้ว ถือว่าจำเลยที่ ๒ เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง และมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนจำเลยที่ ๑ แม้ว่าได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดและดำเนินกิจการอย่างเอกชนทั่วไปก็ตาม แต่การดำเนินกิจการของจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ ๑ เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ ๒ ทำการปรับปรุงวางท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินเส้นทางแยกราชวิถี-แยกอุรุพงษ์ จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ ๒ มอบอำนาจให้จำเลยที่ ๑ โดยผลของสัญญาให้ดำเนินการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคอันเป็นบริการสาธารณะแทนจำเลยที่ ๒ ทำให้จำเลยที่ ๑ ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ แทนจำเลยที่ ๒ ด้วย การดำเนินการของจำเลยที่ ๑ ในกรณีนี้จึงเป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นกรณีที่จำเลยที่ ๑ มีสิทธิตามกฎหมายในการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อให้บริการสาธารณะบรรลุผล เมื่อพิจารณาถึงการกระทำของจำเลยทั้งสามอันเป็น เหตุพิพาทในคดีนี้เห็นได้ว่า ผู้ที่จะสามารถดำเนินกิจการขุดเจาะถนนหรือทางสาธารณประโยชน์ได้ต้องมีอำนาจตามกฎหมายหรือได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจให้ดำเนินการแทน การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงมิใช่การกระทำในทางแพ่งหรือการกระทำทางกายภาพที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม แต่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจตรวจสอบของศาลปกครอง นอกจากนี้เหตุพิพาทตามฟ้องของโจทก์ไม่ได้เกิดจากผลโดยตรงของการขุดเจาะถนน เพราะการที่จำเลยที่ ๑ ขุดเจาะถนนยังไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่โจทก์ ความเสียหายของโจทก์ตามฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ ๑ ไม่ฝังกลบหลุม ที่ขุดให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ดังนั้น เหตุพิพาทตามฟ้องของโจทก์จึงเกิดจากผลโดยตรงของการที่ จำเลยที่ ๑ ละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการปรับสภาพถนนให้กลับสู่สภาพเดิม เมื่อการขุดเจาะถนนดังกล่าวเป็นกรณีที่ใช้อำนาจทางปกครองแล้ว หน้าที่ในการปรับสภาพถนนให้กลับสู่สภาพเดิมจึงเป็นหน้าที่ทางปกครองเช่นกัน ดังนั้นการดำเนินการของจำเลยที่ ๑ อันเป็นเหตุพิพาทแห่งคดี จึงเป็นการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือการดำเนินกิจการทางปกครอง สำหรับจำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้ว่าจ้าง และจำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้อนุญาตให้ก่อสร้างนั้น โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่มิได้ตรวจสอบดูแลการดำเนินงานของจำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้มีอำนาจในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ก่อสร้างสาธารณูปโภคในหรือบนทางบก และทางระบายน้ำ ซึ่งแม้จะได้อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ก่อสร้างสาธารณูปโภคแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ ๓ ยังคงมีอำนาจหน้าที่ในการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำตามกฎหมายดังกล่าวอยู่เช่นเดิม ในเมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่เกี่ยวกับการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค และจำเลยที่ ๓ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติในการดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์โดยมิได้ฝังกลบหลุมที่จำเลยที่ ๑ ขุดให้เรียบร้อย เหตุพิพาทจึงเกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือจากการดำเนินกิจการทางปกครองเช่นกัน
เมื่อพิจารณาข้อพิพาทนี้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว คดีมีคู่กรณีฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเหตุพิพาทตามที่โจทก์กล่าวอ้างเกิดจากการที่จำเลยทั้งสามใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือดำเนินกิจการทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
สำหรับหลักเกณฑ์การวินิจฉัยเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลนั้น ดังได้กล่าวแล้วว่าต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในเมื่อไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากคดีมีประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการในทางแพ่งที่ต้องวินิจฉัยก่อนแล้วส่งผลให้คดีทั้งคดีซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครองอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ดังนั้น จึงไม่สามารถนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นย่อมขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจเฉพาะคดีปกครองและบัญญัติให้ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีอำนาจทั่วไปในคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใด เมื่อคดีมีลักษณะเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองแล้ว จึงไม่สามารถกำหนดเกณฑ์ใด ๆ เพื่อให้คดีอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมได้ นอกจากนี้ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่มีการหยิบยกว่าต้องวินิจฉัยก่อนเป็นเพียงข้อเท็จจริงหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เกณฑ์การพิจารณาเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลและไม่มีกฎหมายใดห้ามศาลปกครองมิให้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว เมื่อ ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นคดีพิพาททางปกครองและไม่มีบทกฎหมายใดยกเว้นอำนาจของศาลปกครองไว้ คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
นอกจากนั้นแล้วคดีพิพาทที่หน่วยงานทางปกครองมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองแทน เช่นมอบหมายให้ก่อสร้างถนนหรือก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคอื่นเช่นในคดีนี้ หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลที่สามและบุคคลผู้ได้รับความเสียหายฟ้องคดีต่อศาลขอให้พิพากษาหรือคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครองและบุคคลผู้ได้รับมอบหมายรับผิดชดใช้ค่าเสียหายร่วมกันนั้น การที่ศาลจะวินิจฉัยให้หน่วยงานทางปกครองผู้มอบหมายและบุคคลผู้ได้รับมอบหมายรับผิดต่อผู้เสียหายหรือไม่ เพียงใดนั้น ศาลจำต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานผู้มอบหมาย (ผู้ว่าจ้าง) ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่จำเลยที่ ๒ และบุคคลผู้ได้รับมอบหมาย (ผู้รับจ้าง) ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่จำเลยที่ ๑ ด้วยว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญา ซึ่งสัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองมอบหมายให้บุคคลจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเพียงใดจำต้องวินิจฉัยตามหลักกฎหมาย แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งมีหลักเกณฑ์บางประการแตกต่างไปจากที่บังคับใช้ในสัญญาทางแพ่งด้วยกัน เช่น หลักดุลยภาพทางการเงินในสัญญา เป็นต้น
เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นสัญญาทางปกครอง หากคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามสัญญานำข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของศาลเพื่อให้วินิจฉัยความรับผิดของคู่สัญญา คดีพิพาทดังกล่าวย่อมเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และหากจำเลยที่ ๓ ฟ้องให้จำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้รับอนุญาตให้รับผิดต่อจำเลยที่ ๓ ก็เป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองด้วยกันและเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินกิจการทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน การที่จะให้คดีนี้ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม และให้ข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ หรือข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๒ กับจำเลยที่ ๓ อยู่ในอำนาจของศาลปกครองย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องการให้คดีเรื่องเดียวกันได้รับการพิจารณาพิพากษาโดยศาลเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้วางหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาในกรณีมีการนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลไว้ และเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คดีพิพาททั้งหมดตามที่กล่าวแล้วควรได้รับการพิจารณาโดยศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันและจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่า จำเลยที่ ๒ ว่าจ้างจำเลยที่ ๑ ให้ทำการขุดถนนก่อสร้างวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินโดยมีจำเลยที่ ๓ เป็นผู้อนุญาต จำเลยที่ ๑ ทำการขุดก่อสร้างวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินแล้วไม่ตรวจสอบว่าสภาพผิวจราจรอยู่ในสภาพใช้งานได้เป็นปกติหรือไม่ ทำให้บริเวณพื้นผิวจราจรชำรุดเป็นหลุม และจำเลยที่ ๒ ก็ไม่ตรวจผิวจราจรว่าจำเลยที่ ๑ ปรับสภาพผิวจราจรให้เป็นปกติตามเดิมหรือไม่ และจำเลยที่ ๓ ก็ไม่ตรวจผิวจราจรว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ปรับสภาพพื้นผิวจราจรให้เป็นปกติตามเดิมหรือไม่เช่นกัน ทำให้โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ตกหลุมที่จำเลยที่ ๑ ขุดไว้ ได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัสต้องเสียดวงตา สูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ได้ทำงานเสร็จเรียบร้อยและก่อนส่งมอบงานได้ซ่อมผิวจราจรให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ตรวจพื้นผิวจราจรแล้วเห็นว่า จำเลยที่ ๑ ปรับสภาพผิวจราจรให้เป็นไปตามปกติเรียบร้อย รถทุกชนิดได้ใช้สัญจรไปมาอย่างสะดวก โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดทำให้เสียหลักล้มไปเอง จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน และจำเลยที่ ๓ ให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ ถนนมีผิวจราจรอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ จำเลยที่ ๓ ได้ตรวจสอบการก่อสร้างร่วมกับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ แล้วพบว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาตครบถ้วน จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเอกชนผู้รับจ้างกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังกระทำการขุดถนนวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินแล้วไม่ปรับผิวจราจรให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เป็นเหตุให้โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ตกหลุมที่จำเลยที่ ๑ ขุดไว้ ได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัส ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ประเด็นแห่งคดีจึงเป็นกรณีที่เอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากเอกชนด้วยกัน ที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองเพียงเพราะในฐานะผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้างและผู้อนุญาตให้ขุดถนนเท่านั้น เหตุละเมิดตามคำฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น และไม่ได้เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายวุฒิวัฒน์ โชคธัญพิพัฒน์ โจทก์ บริษัทลิงเค็น (ประเทศไทย) จำกัด ที่ ๑ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ ๒ กรุงเทพมหานคร ที่ ๓ จำเลยอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๐/๒๕๕๔
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นายวุฒิวัฒน์ โชคธัญพิพัฒน์ โจทก์ ยื่นฟ้อง บริษัทลิงเค็น (ประเทศไทย) จำกัด ที่ ๑ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ ๒ กรุงเทพมหานคร ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๓๘๕/๒๕๕๒ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โจทก์ขับรถจักรยานยนต์คันหมายเลขทะเบียน ปลต ๒๒๘ กรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางถนนพระราม ๖ มุ่งหน้าสี่แยกตึกชัย โดยขับในช่องทางที่ ๑ จากด้านซ้ายและใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อถึงบริเวณด้านหน้าสถานที่ก่อสร้างอาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่มาได้ตกหลุมที่จำเลยที่ ๑ ผู้รับจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ ๒ ผู้ว่าจ้างหรือตัวการ และจำเลยที่ ๓ ผู้อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ขุดก่อสร้างวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินโดยจำเลยที่ ๑ กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง กล่าวคือเมื่อจำเลยที่ ๑ ทำการวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินเสร็จ จำเลยที่ ๑ ต้องตรวจสอบว่าสภาพผิวจราจรในช่องทางเดินรถช่องที่ ๑ อยู่ในสภาพใช้งานได้เป็นปกติหรือไม่ แต่จำเลยที่ ๑ ก็ไม่ดำเนินการ ทำให้บริเวณพื้นผิวจราจรช่องทางเดินดังกล่าวชำรุดเป็นหลุม และเมื่อจำเลยที่ ๑ ได้ทำงานตามที่จำเลยที่ ๒ ว่าจ้างเสร็จสิ้น จำเลยที่ ๒ ผู้ว่าจ้างหรือตัวการก็ต้องไปตรวจผิวจราจรว่าจำเลยที่ ๑ ได้ปรับสภาพผิวจราจรให้เป็นปกติตามเดิมหรือไม่ และจำเลยที่ ๓ ผู้อนุญาตให้ขุดวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินก็ต้องตรวจผิวจราจรว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้ปรับสภาพพื้นผิวจราจรตรงบริเวณที่เกิดเหตุให้เป็นปกติตามเดิมหรือไม่เช่นกัน แต่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ก็ไม่ดำเนินการ การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวทำให้โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ตกหลุมที่จำเลยที่ ๑ ขุดไว้ เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับขี่มาพลิกคว่ำและโจทก์ได้รับอันตรายแก่กาย บาดเจ็บสาหัสต้องเสียดวงตา ทำให้โจทก์ต้องสูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพตามที่ได้ศึกษามา และป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา ใบหน้าเสียโฉม ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวน ๗,๒๑๙,๐๑๒.๑๖ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๖,๗๑๖,๖๔๔ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ รับจ้างเหมางานปรับปรุงวางท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินกับจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๑ ได้ทำงานเสร็จเรียบร้อยและส่งมอบงานแล้วเมื่อประมาณกลางเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ ก่อนส่งมอบงานเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ ได้ซ่อมผิวจราจร อยู่ในสภาพเรียบร้อย จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ได้ว่าจ้างจำเลยที่ ๑ ปรับปรุงวางท่อร้อยสายเคเบิ้ลใต้ดิน จำเลยที่ ๒ ตรวจพื้นผิวจราจรแล้วเห็นว่าจำเลยที่ ๑ ปรับสภาพผิวจราจรให้เป็นไปตามปกติเรียบร้อย รถทุกชนิดได้ใช้สัญจรไปมาอย่างสะดวกตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดทำให้เสียหลักล้มไปเอง จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ ให้การว่า การที่โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปตกหลุมตามฟ้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ ถนนบริเวณที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นสถานที่เกิดเหตุและวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องนั้น มีผิวจราจรอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ จำเลยที่ ๓ ได้ตรวจสอบการก่อสร้างร่วมกับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ แล้วก็ปรากฏว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาตครบถ้วน จำเลยที่ ๓ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า จำเลยที่ ๓ เป็นหน่วยงานทางปกครอง และคำฟ้องคดีนี้เป็นคำฟ้องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มูลคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อพิจารณาคำคู่ความแล้วคดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ ๑ กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จำเลยที่ ๒ เป็นผู้ว่าจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ ๑ และจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ หรือไม่ จำเลยที่ ๓ เป็นผู้อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคตามฟ้องและจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ค่าเสียหายโจทก์มีหรือไม่ เพียงใด การจะพิจารณาข้อพิพาทดังกล่าวจะต้องพิจารณาไปตาม ลำดับว่า จำเลยที่ ๑ ผู้รับจ้างได้ขุดหลุมตรงที่เกิดเหตุตามฟ้องแล้วไม่ได้ปรับผิวจราจรให้ใช้งานได้ตามปกติอันเป็นการประมาทเลินเล่อหรือไม่ โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปตามเส้นทางตามฟ้องโดยประมาทเลินเล่อหรือมีส่วนประมาทเลินเล่อหรือไม่ จำเลยที่ ๒ เป็นผู้ใช้หรือตัวการของจำเลยที่ ๑ และจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ หรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาต่อไปว่าจำเลยที่ ๓ จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ หรือไม่ จึงต้องพิจารณาลักษณะ การกระทำของจำเลยที่ ๑ และการกระทำของโจทก์เป็นหลักซึ่งลักษณะการกระทำของจำเลยที่ ๑ และการกระทำของโจทก์เป็นลักษณะการกระทำทางกายภาพ แม้การก่อสร้างวางท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินจะเป็นการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค แต่ก็เป็นการจ้างเพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง มิใช่ลักษณะการสัมปทาน ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์จะต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่า จำเลยที่ ๑ ได้กระทำขุดปรับปรุงท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินแล้วไม่ปรับผิวจราจรให้ใช้งานได้ตามปกติและเป็นการประมาทเลินเล่อต่อโจทก์ หรือการที่โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์พลิกคว่ำเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์เอง แล้วจึงพิจารณาประเด็นอื่นต่อไปได้ การพิจารณาประเด็นแห่งคดีที่พิพาทจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองก่อนเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้วศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งข้อพิพาทที่เป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองนั้น จะมีองค์ประกอบสำคัญ ๒ ประการ ประการแรกคู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประการที่สองการกระทำอันเป็นเหตุพิพาทต้องเป็นการกระทำอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินการทางปกครอง จำเลยที่ ๓ เป็นราชการส่วนท้องถิ่น จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ส่วนจำเลยที่ ๒ เดิมเป็นรัฐวิสาหกิจ มีชื่อเรียกว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน รวมทั้งดำเนินกิจการอื่นที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกัน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๑๙ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้รับสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ บรรดาที่กฎหมายให้ไว้แก่กรมไปรษณีย์โทรเลขในส่วนที่ว่าด้วยการให้บริการและการปฏิบัติด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคมตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ และพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ ให้คงใช้บังคับต่อไปเมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้แปรสภาพนิติบุคคลเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๖ และโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิดและสินทรัพย์ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมทั้งหมดไปเป็นของจำเลยที่ ๒ และมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจำกัดอำนาจ สิทธิ หรือประโยชน์ที่จำเลยที่ ๒ ได้รับโอนมาจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย อำนาจทางปกครองของการสื่อสารแห่งประเทศไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ จึงโอนมาเป็นอำนาจทางปกครองของจำเลยที่ ๒ ด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ ๒ จะมีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัดก็ตาม แต่ในการดำเนินกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชน ซึ่งมีการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจกาทางปกครองเพื่อให้บริการสาธารณะบรรลุผลแล้ว ถือว่าจำเลยที่ ๒ เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง และมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนจำเลยที่ ๑ แม้ว่าได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดและดำเนินกิจการอย่างเอกชนทั่วไปก็ตาม แต่การดำเนินกิจการของจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ ๑ เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ ๒ ทำการปรับปรุงวางท่อร้อยสายเคเบิลใต้ดินเส้นทางแยกราชวิถี-แยกอุรุพงษ์ จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ ๒ มอบอำนาจให้จำเลยที่ ๑ โดยผลของสัญญาให้ดำเนินการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคอันเป็นบริการสาธารณะแทนจำเลยที่ ๒ ทำให้จำเลยที่ ๑ ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ แทนจำเลยที่ ๒ ด้วย การดำเนินการของจำเลยที่ ๑ ในกรณีนี้จึงเป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นกรณีที่จำเลยที่ ๑ มีสิทธิตามกฎหมายในการใช้อำนาจทางปกครองเพื่อให้บริการสาธารณะบรรลุผล เมื่อพิจารณาถึงการกระทำของจำเลยทั้งสามอันเป็น เหตุพิพาทในคดีนี้เห็นได้ว่า ผู้ที่จะสามารถดำเนินกิจการขุดเจาะถนนหรือทางสาธารณประโยชน์ได้ต้องมีอำนาจตามกฎหมายหรือได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจให้ดำเนินการแทน การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงมิใช่การกระทำในทางแพ่งหรือการกระทำทางกายภาพที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม แต่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจตรวจสอบของศาลปกครอง นอกจากนี้เหตุพิพาทตามฟ้องของโจทก์ไม่ได้เกิดจากผลโดยตรงของการขุดเจาะถนน เพราะการที่จำเลยที่ ๑ ขุดเจาะถนนยังไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่โจทก์ ความเสียหายของโจทก์ตามฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ ๑ ไม่ฝังกลบหลุม ที่ขุดให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ดังนั้น เหตุพิพาทตามฟ้องของโจทก์จึงเกิดจากผลโดยตรงของการที่ จำเลยที่ ๑ ละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการปรับสภาพถนนให้กลับสู่สภาพเดิม เมื่อการขุดเจาะถนนดังกล่าวเป็นกรณีที่ใช้อำนาจทางปกครองแล้ว หน้าที่ในการปรับสภาพถนนให้กลับสู่สภาพเดิมจึงเป็นหน้าที่ทางปกครองเช่นกัน ดังนั้นการดำเนินการของจำเลยที่ ๑ อันเป็นเหตุพิพาทแห่งคดี จึงเป็นการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือการดำเนินกิจการทางปกครอง สำหรับจำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้ว่าจ้าง และจำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้อนุญาตให้ก่อสร้างนั้น โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่มิได้ตรวจสอบดูแลการดำเนินงานของจำเลยที่ ๑ ส่วนจำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้มีอำนาจในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ก่อสร้างสาธารณูปโภคในหรือบนทางบก และทางระบายน้ำ ซึ่งแม้จะได้อนุญาตให้จำเลยที่ ๒ ก่อสร้างสาธารณูปโภคแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ ๓ ยังคงมีอำนาจหน้าที่ในการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำตามกฎหมายดังกล่าวอยู่เช่นเดิม ในเมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่เกี่ยวกับการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค และจำเลยที่ ๓ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติในการดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์โดยมิได้ฝังกลบหลุมที่จำเลยที่ ๑ ขุดให้เรียบร้อย เหตุพิพาทจึงเกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือจากการดำเนินกิจการทางปกครองเช่นกัน
เมื่อพิจารณาข้อพิพาทนี้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว คดีมีคู่กรณีฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเหตุพิพาทตามที่โจทก์กล่าวอ้างเกิดจากการที่จำเลยทั้งสามใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือดำเนินกิจการทางปกครอง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
สำหรับหลักเกณฑ์การวินิจฉัยเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลนั้น ดังได้กล่าวแล้วว่าต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในเมื่อไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากคดีมีประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการในทางแพ่งที่ต้องวินิจฉัยก่อนแล้วส่งผลให้คดีทั้งคดีซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครองอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ดังนั้น จึงไม่สามารถนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นย่อมขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจเฉพาะคดีปกครองและบัญญัติให้ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีอำนาจทั่วไปในคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใด เมื่อคดีมีลักษณะเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองแล้ว จึงไม่สามารถกำหนดเกณฑ์ใด ๆ เพื่อให้คดีอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมได้ นอกจากนี้ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่มีการหยิบยกว่าต้องวินิจฉัยก่อนเป็นเพียงข้อเท็จจริงหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เกณฑ์การพิจารณาเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลและไม่มีกฎหมายใดห้ามศาลปกครองมิให้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว เมื่อ ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นคดีพิพาททางปกครองและไม่มีบทกฎหมายใดยกเว้นอำนาจของศาลปกครองไว้ คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
นอกจากนั้นแล้วคดีพิพาทที่หน่วยงานทางปกครองมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองแทน เช่นมอบหมายให้ก่อสร้างถนนหรือก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคอื่นเช่นในคดีนี้ หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลที่สามและบุคคลผู้ได้รับความเสียหายฟ้องคดีต่อศาลขอให้พิพากษาหรือคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครองและบุคคลผู้ได้รับมอบหมายรับผิดชดใช้ค่าเสียหายร่วมกันนั้น การที่ศาลจะวินิจฉัยให้หน่วยงานทางปกครองผู้มอบหมายและบุคคลผู้ได้รับมอบหมายรับผิดต่อผู้เสียหายหรือไม่ เพียงใดนั้น ศาลจำต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานผู้มอบหมาย (ผู้ว่าจ้าง) ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่จำเลยที่ ๒ และบุคคลผู้ได้รับมอบหมาย (ผู้รับจ้าง) ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่จำเลยที่ ๑ ด้วยว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญา ซึ่งสัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองมอบหมายให้บุคคลจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเพียงใดจำต้องวินิจฉัยตามหลักกฎหมาย แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งมีหลักเกณฑ์บางประการแตกต่างไปจากที่บังคับใช้ในสัญญาทางแพ่งด้วยกัน เช่น หลักดุลยภาพทางการเงินในสัญญา เป็นต้น
เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นสัญญาทางปกครอง หากคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามสัญญานำข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของศาลเพื่อให้วินิจฉัยความรับผิดของคู่สัญญา คดีพิพาทดังกล่าวย่อมเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และหากจำเลยที่ ๓ ฟ้องให้จำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้รับอนุญาตให้รับผิดต่อจำเลยที่ ๓ ก็เป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองด้วยกันและเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินกิจการทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน การที่จะให้คดีนี้ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม และให้ข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒ หรือข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ ๒ กับจำเลยที่ ๓ อยู่ในอำนาจของศาลปกครองย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องการให้คดีเรื่องเดียวกันได้รับการพิจารณาพิพากษาโดยศาลเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้วางหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาในกรณีมีการนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลไว้ และเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ คดีพิพาททั้งหมดตามที่กล่าวแล้วควรได้รับการพิจารณาโดยศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันและจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่า จำเลยที่ ๒ ว่าจ้างจำเลยที่ ๑ ให้ทำการขุดถนนก่อสร้างวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินโดยมีจำเลยที่ ๓ เป็นผู้อนุญาต จำเลยที่ ๑ ทำการขุดก่อสร้างวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินแล้วไม่ตรวจสอบว่าสภาพผิวจราจรอยู่ในสภาพใช้งานได้เป็นปกติหรือไม่ ทำให้บริเวณพื้นผิวจราจรชำรุดเป็นหลุม และจำเลยที่ ๒ ก็ไม่ตรวจผิวจราจรว่าจำเลยที่ ๑ ปรับสภาพผิวจราจรให้เป็นปกติตามเดิมหรือไม่ และจำเลยที่ ๓ ก็ไม่ตรวจผิวจราจรว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ปรับสภาพพื้นผิวจราจรให้เป็นปกติตามเดิมหรือไม่เช่นกัน ทำให้โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ตกหลุมที่จำเลยที่ ๑ ขุดไว้ ได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัสต้องเสียดวงตา สูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ได้ทำงานเสร็จเรียบร้อยและก่อนส่งมอบงานได้ซ่อมผิวจราจรให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ ๑ ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ตรวจพื้นผิวจราจรแล้วเห็นว่า จำเลยที่ ๑ ปรับสภาพผิวจราจรให้เป็นไปตามปกติเรียบร้อย รถทุกชนิดได้ใช้สัญจรไปมาอย่างสะดวก โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดทำให้เสียหลักล้มไปเอง จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน และจำเลยที่ ๓ ให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ ถนนมีผิวจราจรอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ จำเลยที่ ๓ ได้ตรวจสอบการก่อสร้างร่วมกับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ แล้วพบว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาตครบถ้วน จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ค่าเสียหายสูงเกินส่วน เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเอกชนผู้รับจ้างกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังกระทำการขุดถนนวางท่อร้อยสายเคเบิลหรือสายใต้ดินแล้วไม่ปรับผิวจราจรให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เป็นเหตุให้โจทก์ขับขี่รถจักรยานยนต์ตกหลุมที่จำเลยที่ ๑ ขุดไว้ ได้รับอันตรายบาดเจ็บสาหัส ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ประเด็นแห่งคดีจึงเป็นกรณีที่เอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากเอกชนด้วยกัน ที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองเพียงเพราะในฐานะผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้างและผู้อนุญาตให้ขุดถนนเท่านั้น เหตุละเมิดตามคำฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น และไม่ได้เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายวุฒิวัฒน์ โชคธัญพิพัฒน์ โจทก์ บริษัทลิงเค็น (ประเทศไทย) จำกัด ที่ ๑ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ ๒ กรุงเทพมหานคร ที่ ๓ จำเลยอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๙/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดชลบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดชลบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ นายมงคล สิมะโรจน์ โดยนายเกียรติพล วงษารัตน์ ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ ยื่นฟ้อง กรมป่าไม้ ที่ ๑ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดชลบุรี ที่ ๒ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑๓ (ชลบุรี) ที่ ๓ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ ๔ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ (ศรีราชา) ที่ ๕ กรมที่ดิน ที่ ๖ จำเลย ต่อศาลจังหวัดชลบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๙๒/๒๕๕๒ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๓ โจทก์ซื้อที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) เลขที่ ๒๑๒, ๒๑๓ และ ๒๑๗ หมู่ที่ ๗ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อที่รวม ๑๕๙ ไร่ ๒ งาน ๔๖ ตารางวา จากนายโสภณ ดำนุ้ย นางจินดารัตน์ พิชะยะ นางบุปผา เข็มเจริญ นางแน่งน้อย พรหมสวัสดิ์ และนายวิชัย พงษ์พัฒนเจริญที่รับโอนมาจากผู้มีสิทธิครอบครองเดิม โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน ตาม ส.ค. ๑ ทั้งสามฉบับดังกล่าว ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา แต่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา แจ้งว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓ โจทก์จึงยื่นฟ้องนายโสภณ ดำนุ้ย กับพวกต่อศาลจังหวัดชลบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๓๑๒/๒๕๔๓ เรื่อง สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะและเรียกเงินค่าที่ดินคืน ต่อมาวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ศาลจังหวัดชลบุรีมีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ ว่า ที่ดินพิพาทน่าจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว -เขาชมภู่ แต่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเดิมครอบครองที่ดินและทำประโยชน์นับแต่ปี ๒๔๙๗ ถือว่าผู้มีสิทธิครอบครองบริเวณที่ดินพิพาทเข้าครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ทางราชการกำหนดให้บริเวณที่ดินพิพาทเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ดินพิพาทจึงเป็นที่ดินที่อาจออกเอกสารสิทธิต่อทางราชการได้ หรือแม้ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินต่อทางราชการได้โจทก์คงเสียสิทธิในการที่ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น โจทก์หาเสียสิทธิในสิทธิครอบครองที่ได้รับโอนจากจำเลยทั้งห้าไปแต่อย่างใด ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า จำเลยทั้งห้าในฐานะผู้ขายจึงมีแต่เพียงสิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยทั้งห้าส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เข้าครอบครองนับแต่วันทำสัญญาแล้ว ถือว่าจำเลยทั้งห้าสละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไป การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์โดยการส่งมอบจำเลยทั้งห้ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา พิพากษายกฟ้อง
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ โจทก์จึงยื่นเรื่องรังวัดขอออกโฉนดที่ดิน ตาม ส.ค. ๑ ทั้งสามฉบับดังกล่าวอีกครั้ง โจทก์ตรวจสอบพบว่าบริเวณที่ดินที่โจทก์ได้ยื่นเรื่องรังวัด ขอออกโฉนดที่ดินนั้น โจทก์ได้ยื่นแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค. ๑ ไว้ไม่ครบโดยขาด ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๕ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โจทก์จึงยื่นเรื่องรังวัดขอออกโฉนดที่ดิน ตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๕ เพิ่มอีกหนึ่งฉบับ ในวันทำการรังวัดจำเลยทั้งหกได้คัดค้านโดยอ้างว่า ที่ดิน ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าวอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ และเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาเขียว และที่ดินไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์ ยังมีสภาพเป็นป่าไม้และไม่ใช่ที่ดิน ส.ค. ๑ ของบริเวณพื้นที่ที่ขอออกโฉนดที่ดิน โจทก์เห็นว่า แม้ที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ แต่ผู้ครอบครองเดิมได้ทำประโยชน์ตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ และทางราชการออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ ซึ่งเป็นการได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดินและครอบครองที่ดินก่อนวันที่ทางราชการจะกำหนดให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ เมื่อปี ๒๕๑๗ โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินดังกล่าวมาจาก นายโสภณ กับพวก ที่รับโอนที่ดินมาจากผู้มีสิทธิครอบครองเดิมและได้มีการครอบครองที่ดินทำประโยชน์โดยปลูกมันสำปะหลังและกล้วยมาอย่างต่อเนื่อง โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าวดีกว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ กันที่ดินดังกล่าวออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ ห้ามจำเลยทั้งหกขัดขวางและหรือคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าว และให้จำเลยที่ ๖ ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ หากไม่ปฎิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งหก
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ไม่มีอำนาจในการออกโฉนดเพียงแต่ให้ความเห็น การตรวจพิสูจน์ที่ดินที่ขอออกโฉนดตามคำสั่งจังหวัดชลบุรีในการขอออกโฉนด
จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ให้การในทำนองเดียวกันว่า คำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๓๑๒/๒๕๔๓ คดีหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ ของศาลจังหวัดชลบุรี ระหว่าง นายมงคล สิมะโรจน์ โจทก์ กับนายโสภณ ดำนุ้ย ที่ ๑ กับพวก รวม ๕ คน จำเลย เรื่อง สัญญาขายที่ดิน จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว และคำพิพากษาดังกล่าวมิใช่ คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเขียว และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ ที่ดินไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์ยังมีสภาพเป็นป่าไม้ และไม่ใช่ที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.๑) ในบริเวณพื้นที่ที่ขอออกโฉนดที่ดิน การที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๕ ระวังชี้แนวเขตป่าไม้และคัดค้านการออกโฉนดที่ดินตามคำขอของโจทก์ โดยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ยื่นขอออกโฉนดที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเขียวและเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ ส่วนกรณีเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นจำเลยที่ ๖ มีคำสั่งยกเลิกคำขอที่ยื่นขอออกโฉนดที่ดิน คำสั่งยกเลิกคำขอดังกล่าวจึงเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน
จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อโต้แย้งคำสั่งทางปกครองของจำเลยทั้งหกที่ได้มีคำสั่งในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดชลบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่จะออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองหรือเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ และที่ดินไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์ยังมีสภาพเป็นป่าเป็นสำคัญ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรม จะต้องพิจารณาเขตอำนาจศาลของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองแล้วศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งและพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์โต้แย้งการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๕ ในการระวังชี้แนวเขตพื้นที่ป่าไม้กรณีมีผู้ขอออกโฉนดที่ดิน และคำสั่งไม่ออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ ๖ ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ โดยการสั่งให้จำเลยทั้งห้าถือปฏิบัติต่อสิทธิครอบครองในที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๑๕ และ ๒๑๗ ของโจทก์และสั่งให้จำเลยที่ ๖ ดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอของโจทก์ได้ตาม มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) และ (๔) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวคดีนี้ไม่มีข้อโต้แย้งว่าที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๒, ๒๑๓ และ ๒๑๗ ของโจทก์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ หรือไม่ เนื่องจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การรับกันว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว - เขาชมภู่
ส่วนประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ หรือเป็นที่ที่โจทก์มีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย นั้น เป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดี อันเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่า การกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการดูแลและป้องกันการบุกรุกและทำลายป่าของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๕ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ รวมทั้งคำสั่งของจำเลยที่ ๖ ที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์เป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เช่นกัน และแม้การพิจารณาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทดังกล่าวหรือไม่ จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตามแต่การพิจารณาในปัญหาดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้หรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะศาลหนึ่งศาลใดเท่านั้นที่จะนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับโดยสั่งให้จำเลยทั้งห้าถือปฏิบัติตามสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีการฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธินั้น ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวยังบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันเป็นบทบัญญัติที่ยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินและนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีได้ ประกอบกับกรมป่าไม้ จำเลยที่ ๑ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี จำเลยที่ ๒ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑๓ (ชลบุรี) จำเลยที่ ๓ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จำเลยที่ ๔ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ (ศรีราชา) จำเลยที่ ๕ และกรมที่ดิน จำเลยที่ ๖ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในที่ดินที่พิพาทที่จะทำให้เกิดเป็นข้อพิพาทว่าผู้ใดมีสิทธิในที่ดินดีกว่ากันข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับความมีอยู่ของที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการก่อตั้งสิทธิขึ้นใหม่ อันเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินแต่อย่างใด
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยทั้งหกจะเป็นหน่วยงานทางปกครองแต่ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์ซื้อที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) เลขที่ ๒๑๒, ๒๑๓ และ ๒๑๗ หมู่ที่ ๗ ตำบลบางพระอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อที่รวม ๑๕๙ ไร่ ๒ งาน ๔๖ ตารางวา จากนายโสภณ ดำนุ้ย กับพวก ที่รับโอนมาจากผู้มีสิทธิครอบครองเดิมและยื่นรังวัดขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสามฉบับดังกล่าว แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ โจทก์จึงยื่นฟ้อง นายโสภณ กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรี เรื่อง สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะและเรียกเงินค่าที่ดินคืน ศาลมีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทน่าจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว -เขาชมภู่ แต่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเดิมครอบครองที่ดินและทำประโยชน์นับแต่ปี ๒๔๙๗ ถือว่าผู้มีสิทธิครอบครองบริเวณที่ดินพิพาทเข้าครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ทางราชการกำหนดให้บริเวณที่ดินพิพาทเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ดินพิพาทจึงเป็นที่ดินที่อาจออกเอกสารสิทธิต่อทางราชการได้ หรือแม้ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินต่อทางราชการได้โจทก์คงเสียสิทธิในการที่ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น โจทก์หาเสียสิทธิในสิทธิครอบครองที่ได้รับโอนจากจำเลยทั้งห้าไปแต่อย่างใด การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์โดยการส่งมอบ โจทก์จึงยื่นรังวัดขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสามฉบับดังกล่าวอีกครั้งพร้อมกับ ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๕ จำเลยทั้งหกคัดค้านอ้างว่าที่ดิน ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์มีสภาพเป็นป่าไม้และไม่ใช่ที่ดิน ส.ค. ๑ ของบริเวณพื้นที่ที่ขอออกโฉนดที่ดิน โจทก์เห็นว่า แม้ที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แต่ผู้ครอบครองเดิมได้ทำประโยชน์เรื่อยมาและทางราชการได้ออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ ซึ่งเป็นการได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดินและครอบครองที่ดินก่อนวันที่ทางราชการจะกำหนดให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินดังกล่าวมาจึงมีสิทธิครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าวดีกว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ กันที่ดินดังกล่าวออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ ห้ามจำเลยทั้งหกขัดขวางและหรือคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าว และให้จำเลยที่ ๖ ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ หากไม่ปฎิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งหก ส่วนจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ให้การในทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีของศาลจังหวัดชลบุรีหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ และคำพิพากษาดังกล่าวมิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเขียว และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ ที่ดินไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์มีสภาพเป็นป่าไม้และไม่ใช่ที่ดินตาม ส.ค. ๑ ในบริเวณพื้นที่ที่ขอออกโฉนดที่ดิน การที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๕ ระวังชี้แนวเขตป่าไม้และคัดค้านการออกโฉนดที่ดินตามคำขอของโจทก์ เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ ส่วนกรณีจำเลยที่ ๖ มีคำสั่งยกเลิกคำขอที่ยื่นขอออกโฉนดที่ดินเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน และจำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ไม่มีอำนาจในการออกโฉนดเพียงแต่ให้ความเห็นการตรวจพิสูจน์ที่ดินที่ขอออกโฉนดตามคำสั่งจังหวัดชลบุรี เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์คดีนี้ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่า โจทก์มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดได้หรือไม่ อันเป็นการขอให้รับรองสิทธิในที่ดิน แม้ที่ดินดังกล่าวอาจจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือไม่ก็ตาม แต่หากโจทก์ได้สวมสิทธิของผู้ครอบครองเดิม ที่ครอบครองมาก่อนวันที่ทางราชการจะกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โจทก์ก็ชอบที่จะได้รับรองสิทธิดังกล่าว ทั้งประเด็นพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้แม้คู่ความจะมิใช่คู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ ของศาลจังหวัดชลบุรีก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งศาลจังหวัดชลบุรีได้เคยวินิจฉัยไว้แล้ว ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายมงคล สิมะโรจน์ โดยนายเกียรติพล วงษารัตน์ ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ กรมป่าไม้ ที่ ๑ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี ที่ ๒ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑๓ (ชลบุรี) ที่ ๓ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ ๔ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ (ศรีราชา) ที่ ๕ กรมที่ดิน ที่ ๖ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๙/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดชลบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดชลบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ นายมงคล สิมะโรจน์ โดยนายเกียรติพล วงษารัตน์ ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ ยื่นฟ้อง กรมป่าไม้ ที่ ๑ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดชลบุรี ที่ ๒ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑๓ (ชลบุรี) ที่ ๓ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ ๔ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ (ศรีราชา) ที่ ๕ กรมที่ดิน ที่ ๖ จำเลย ต่อศาลจังหวัดชลบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๙๒/๒๕๕๒ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๓ โจทก์ซื้อที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) เลขที่ ๒๑๒, ๒๑๓ และ ๒๑๗ หมู่ที่ ๗ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อที่รวม ๑๕๙ ไร่ ๒ งาน ๔๖ ตารางวา จากนายโสภณ ดำนุ้ย นางจินดารัตน์ พิชะยะ นางบุปผา เข็มเจริญ นางแน่งน้อย พรหมสวัสดิ์ และนายวิชัย พงษ์พัฒนเจริญที่รับโอนมาจากผู้มีสิทธิครอบครองเดิม โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน ตาม ส.ค. ๑ ทั้งสามฉบับดังกล่าว ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา แต่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา แจ้งว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓ โจทก์จึงยื่นฟ้องนายโสภณ ดำนุ้ย กับพวกต่อศาลจังหวัดชลบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๓๑๒/๒๕๔๓ เรื่อง สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะและเรียกเงินค่าที่ดินคืน ต่อมาวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ศาลจังหวัดชลบุรีมีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ ว่า ที่ดินพิพาทน่าจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว -เขาชมภู่ แต่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเดิมครอบครองที่ดินและทำประโยชน์นับแต่ปี ๒๔๙๗ ถือว่าผู้มีสิทธิครอบครองบริเวณที่ดินพิพาทเข้าครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ทางราชการกำหนดให้บริเวณที่ดินพิพาทเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ดินพิพาทจึงเป็นที่ดินที่อาจออกเอกสารสิทธิต่อทางราชการได้ หรือแม้ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินต่อทางราชการได้โจทก์คงเสียสิทธิในการที่ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น โจทก์หาเสียสิทธิในสิทธิครอบครองที่ได้รับโอนจากจำเลยทั้งห้าไปแต่อย่างใด ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า จำเลยทั้งห้าในฐานะผู้ขายจึงมีแต่เพียงสิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยทั้งห้าส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เข้าครอบครองนับแต่วันทำสัญญาแล้ว ถือว่าจำเลยทั้งห้าสละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไป การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์โดยการส่งมอบจำเลยทั้งห้ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา พิพากษายกฟ้อง
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ โจทก์จึงยื่นเรื่องรังวัดขอออกโฉนดที่ดิน ตาม ส.ค. ๑ ทั้งสามฉบับดังกล่าวอีกครั้ง โจทก์ตรวจสอบพบว่าบริเวณที่ดินที่โจทก์ได้ยื่นเรื่องรังวัด ขอออกโฉนดที่ดินนั้น โจทก์ได้ยื่นแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค. ๑ ไว้ไม่ครบโดยขาด ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๕ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โจทก์จึงยื่นเรื่องรังวัดขอออกโฉนดที่ดิน ตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๕ เพิ่มอีกหนึ่งฉบับ ในวันทำการรังวัดจำเลยทั้งหกได้คัดค้านโดยอ้างว่า ที่ดิน ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าวอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ และเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาเขียว และที่ดินไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์ ยังมีสภาพเป็นป่าไม้และไม่ใช่ที่ดิน ส.ค. ๑ ของบริเวณพื้นที่ที่ขอออกโฉนดที่ดิน โจทก์เห็นว่า แม้ที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ แต่ผู้ครอบครองเดิมได้ทำประโยชน์ตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ และทางราชการออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ ซึ่งเป็นการได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดินและครอบครองที่ดินก่อนวันที่ทางราชการจะกำหนดให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ เมื่อปี ๒๕๑๗ โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินดังกล่าวมาจาก นายโสภณ กับพวก ที่รับโอนที่ดินมาจากผู้มีสิทธิครอบครองเดิมและได้มีการครอบครองที่ดินทำประโยชน์โดยปลูกมันสำปะหลังและกล้วยมาอย่างต่อเนื่อง โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าวดีกว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ กันที่ดินดังกล่าวออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ ห้ามจำเลยทั้งหกขัดขวางและหรือคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าว และให้จำเลยที่ ๖ ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ หากไม่ปฎิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งหก
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ไม่มีอำนาจในการออกโฉนดเพียงแต่ให้ความเห็น การตรวจพิสูจน์ที่ดินที่ขอออกโฉนดตามคำสั่งจังหวัดชลบุรีในการขอออกโฉนด
จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ให้การในทำนองเดียวกันว่า คำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๓๑๒/๒๕๔๓ คดีหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ ของศาลจังหวัดชลบุรี ระหว่าง นายมงคล สิมะโรจน์ โจทก์ กับนายโสภณ ดำนุ้ย ที่ ๑ กับพวก รวม ๕ คน จำเลย เรื่อง สัญญาขายที่ดิน จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว และคำพิพากษาดังกล่าวมิใช่ คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเขียว และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ ที่ดินไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์ยังมีสภาพเป็นป่าไม้ และไม่ใช่ที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.๑) ในบริเวณพื้นที่ที่ขอออกโฉนดที่ดิน การที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๕ ระวังชี้แนวเขตป่าไม้และคัดค้านการออกโฉนดที่ดินตามคำขอของโจทก์ โดยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ยื่นขอออกโฉนดที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเขียวและเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ ส่วนกรณีเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นจำเลยที่ ๖ มีคำสั่งยกเลิกคำขอที่ยื่นขอออกโฉนดที่ดิน คำสั่งยกเลิกคำขอดังกล่าวจึงเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน
จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อโต้แย้งคำสั่งทางปกครองของจำเลยทั้งหกที่ได้มีคำสั่งในการปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดชลบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่จะออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองหรือเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ และที่ดินไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์ยังมีสภาพเป็นป่าเป็นสำคัญ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรม จะต้องพิจารณาเขตอำนาจศาลของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครองแล้วศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งและพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์โต้แย้งการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๕ ในการระวังชี้แนวเขตพื้นที่ป่าไม้กรณีมีผู้ขอออกโฉนดที่ดิน และคำสั่งไม่ออกโฉนดที่ดินของจำเลยที่ ๖ ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ โดยการสั่งให้จำเลยทั้งห้าถือปฏิบัติต่อสิทธิครอบครองในที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๒, ๒๑๓, ๒๑๕ และ ๒๑๗ ของโจทก์และสั่งให้จำเลยที่ ๖ ดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอของโจทก์ได้ตาม มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) และ (๔) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวคดีนี้ไม่มีข้อโต้แย้งว่าที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๒, ๒๑๓ และ ๒๑๗ ของโจทก์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ หรือไม่ เนื่องจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การรับกันว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว - เขาชมภู่
ส่วนประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ หรือเป็นที่ที่โจทก์มีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย นั้น เป็นประเด็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดี อันเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่า การกระทำตามอำนาจหน้าที่ในการดูแลและป้องกันการบุกรุกและทำลายป่าของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๕ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ รวมทั้งคำสั่งของจำเลยที่ ๖ ที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์เป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เช่นกัน และแม้การพิจารณาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทดังกล่าวหรือไม่ จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตามแต่การพิจารณาในปัญหาดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้หรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะศาลหนึ่งศาลใดเท่านั้นที่จะนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับโดยสั่งให้จำเลยทั้งห้าถือปฏิบัติตามสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีการฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธินั้น ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวยังบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันเป็นบทบัญญัติที่ยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินและนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีได้ ประกอบกับกรมป่าไม้ จำเลยที่ ๑ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี จำเลยที่ ๒ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑๓ (ชลบุรี) จำเลยที่ ๓ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จำเลยที่ ๔ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ (ศรีราชา) จำเลยที่ ๕ และกรมที่ดิน จำเลยที่ ๖ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในที่ดินที่พิพาทที่จะทำให้เกิดเป็นข้อพิพาทว่าผู้ใดมีสิทธิในที่ดินดีกว่ากันข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับความมีอยู่ของที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการก่อตั้งสิทธิขึ้นใหม่ อันเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินแต่อย่างใด
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยทั้งหกจะเป็นหน่วยงานทางปกครองแต่ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์ซื้อที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) เลขที่ ๒๑๒, ๒๑๓ และ ๒๑๗ หมู่ที่ ๗ ตำบลบางพระอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อที่รวม ๑๕๙ ไร่ ๒ งาน ๔๖ ตารางวา จากนายโสภณ ดำนุ้ย กับพวก ที่รับโอนมาจากผู้มีสิทธิครอบครองเดิมและยื่นรังวัดขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสามฉบับดังกล่าว แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ โจทก์จึงยื่นฟ้อง นายโสภณ กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรี เรื่อง สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะและเรียกเงินค่าที่ดินคืน ศาลมีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทน่าจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว -เขาชมภู่ แต่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเดิมครอบครองที่ดินและทำประโยชน์นับแต่ปี ๒๔๙๗ ถือว่าผู้มีสิทธิครอบครองบริเวณที่ดินพิพาทเข้าครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่ทางราชการกำหนดให้บริเวณที่ดินพิพาทเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ดินพิพาทจึงเป็นที่ดินที่อาจออกเอกสารสิทธิต่อทางราชการได้ หรือแม้ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินต่อทางราชการได้โจทก์คงเสียสิทธิในการที่ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น โจทก์หาเสียสิทธิในสิทธิครอบครองที่ได้รับโอนจากจำเลยทั้งห้าไปแต่อย่างใด การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์โดยการส่งมอบ โจทก์จึงยื่นรังวัดขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสามฉบับดังกล่าวอีกครั้งพร้อมกับ ส.ค. ๑ เลขที่ ๒๑๕ จำเลยทั้งหกคัดค้านอ้างว่าที่ดิน ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์มีสภาพเป็นป่าไม้และไม่ใช่ที่ดิน ส.ค. ๑ ของบริเวณพื้นที่ที่ขอออกโฉนดที่ดิน โจทก์เห็นว่า แม้ที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แต่ผู้ครอบครองเดิมได้ทำประโยชน์เรื่อยมาและทางราชการได้ออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ ซึ่งเป็นการได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดินและครอบครองที่ดินก่อนวันที่ทางราชการจะกำหนดให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินดังกล่าวมาจึงมีสิทธิครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าวดีกว่าจำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ให้จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ กันที่ดินดังกล่าวออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ ห้ามจำเลยทั้งหกขัดขวางและหรือคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค. ๑ ทั้งสี่ฉบับดังกล่าว และให้จำเลยที่ ๖ ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ หากไม่ปฎิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งหก ส่วนจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ให้การในทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีของศาลจังหวัดชลบุรีหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ และคำพิพากษาดังกล่าวมิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเขียว และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ ที่ดินไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์มีสภาพเป็นป่าไม้และไม่ใช่ที่ดินตาม ส.ค. ๑ ในบริเวณพื้นที่ที่ขอออกโฉนดที่ดิน การที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๕ ระวังชี้แนวเขตป่าไม้และคัดค้านการออกโฉนดที่ดินตามคำขอของโจทก์ เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ ส่วนกรณีจำเลยที่ ๖ มีคำสั่งยกเลิกคำขอที่ยื่นขอออกโฉนดที่ดินเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน และจำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ไม่มีอำนาจในการออกโฉนดเพียงแต่ให้ความเห็นการตรวจพิสูจน์ที่ดินที่ขอออกโฉนดตามคำสั่งจังหวัดชลบุรี เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์คดีนี้ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่า โจทก์มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดได้หรือไม่ อันเป็นการขอให้รับรองสิทธิในที่ดิน แม้ที่ดินดังกล่าวอาจจะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือไม่ก็ตาม แต่หากโจทก์ได้สวมสิทธิของผู้ครอบครองเดิม ที่ครอบครองมาก่อนวันที่ทางราชการจะกำหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โจทก์ก็ชอบที่จะได้รับรองสิทธิดังกล่าว ทั้งประเด็นพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้แม้คู่ความจะมิใช่คู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๔๘๒/๒๕๔๘ ของศาลจังหวัดชลบุรีก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งศาลจังหวัดชลบุรีได้เคยวินิจฉัยไว้แล้ว ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายมงคล สิมะโรจน์ โดยนายเกียรติพล วงษารัตน์ ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ กรมป่าไม้ ที่ ๑ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี ที่ ๒ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑๓ (ชลบุรี) ที่ ๓ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ ๔ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ (ศรีราชา) ที่ ๕ กรมที่ดิน ที่ ๖ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๘/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลจังหวัดสุโขทัย
ระหว่าง
ศาลปกครองพิษณุโลก
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสุโขทัยโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) โจทก์ยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำเลย ต่อศาลจังหวัดสุโขทัย เป็นคดีหมายเลขดำที่ ผบ. ๑๐๓/๒๕๕๒ ความว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ มีวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยเป็นหน่วยงานในสังกัด เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๐ จำเลยโดยผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยทำสัญญาเช่าคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน จำนวน ๕๐ เครื่องกับโจทก์ ระยะเวลาเช่า ๓ ปี กำหนดชำระค่าเช่าทุก ๆ ๖ เดือน เป็นเงินงวดละ ๒๖๘,๗๐๓.๗๕ บาท โจทก์ส่งมอบและติดตั้ง ตรวจสอบการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้จำเลยได้ใช้ประโยชน์เรื่อยมา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่างวดที่ ๑ ถึงที่ ๔ แก่โจทก์ รวมเป็นเงิน ๑,๐๗๔,๘๑๕ บาท เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ จำเลยทำสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คกับโจทก์ ราคา ๖๓๖,๘๖๔ บาท โจทก์ส่งมอบและติดตั้งระบบเน็ตเวอร์คให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ชำระราคาแก่โจทก์ และเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จำเลยทำสัญญาเช่าคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน จำนวน ๕๐ เครื่องกับโจทก์ ระยะเวลาเช่า ๓ ปี กำหนดชำระค่าเช่าทุก ๆ ๖ เดือน เป็นเงินงวดละ ๓๑๘,๐๕๗.๕๐ บาท โจทก์ส่งมอบและติดตั้ง ตรวจสอบการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้จำเลยได้ใช้ประโยชน์เรื่อยมา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่างวดที่ ๑ ถึงที่ ๔ แก่โจทก์รวมเป็นเงิน ๑,๒๗๒,๒๓๐ บาท จำเลยค้างชำระเงินแก่โจทก์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๙๘๓,๙๐๙ บาท โจทก์ติดตามทวงถามแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน ๒,๙๘๓,๙๐๙ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากจำเลยมิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์และไม่เคยทำสัญญาเช่าคอมพิวเตอร์และสั่งซื้อระบบเน็ตเวอร์คและอุปกรณ์จากโจทก์ และไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ คู่สัญญาเช่าและผู้สั่งซื้อได้กระทำในฐานะส่วนตัวมิได้กระทำแทนจำเลยและมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และคำฟ้องโจทก์ในส่วนของค่าเช่าขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คเป็นสัญญาทางปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสุโขทัยพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้จำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐพิพาทกับโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คตามฟ้องยังไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ๔ ประเภท ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ และกรณีเป็นเรื่องสัญญาทางแพ่ง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองพิษณุโลกพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองก่อนเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง คดีนี้จำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดและส่งเสริมการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามข้อ ๑ ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยเป็นสถานศึกษาที่เป็นส่วนราชการอยู่ในสังกัด มีหน้าที่จัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษาวิชาชีพที่รัฐเป็นผู้จัดทำ การที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยซึ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัดของจำเลยตกลงเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนจากโจทก์และตกลงซื้อระบบเน็ตเวอร์คพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยกำหนดให้โจทก์ส่งมอบและติดตั้งที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย รวมทั้งให้โจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีอยู่เสมอตลอดอายุสัญญา จึงเป็นสัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คเพื่อนำไปใช้จัดการเรียนการสอนด้านการศึกษาวิชาชีพและการค้นคว้าข้อมูลของนักศึกษาอันเป็นการให้การศึกษาด้านวิชาชีพซึ่งเป็นภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะของสถานศึกษาของจำเลยให้บรรลุผล สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อระบบเน็ตเวอร์คระหว่างโจทก์กับวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นสถานศึกษาในสังกัดของจำเลย ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัยมาตรา ๒๑๘ ประกอบกับมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้จำเลยเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์ค จึงต้องพิจารณาว่า สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ บัญญัติว่า สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อจำเลยมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดและส่งเสริมการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามข้อ ๑ ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยเป็นสถานศึกษาที่เป็นส่วนราชการอยู่ในสังกัด มีหน้าที่จัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษาวิชาชีพที่รัฐ เป็นผู้จัดทำ การที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยซึ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัดของจำเลยตกลงเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนและตกลงซื้อระบบเน็ตเวอร์คพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ จากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านการศึกษาวิชาชีพและการค้นคว้าข้อมูลของนักศึกษา อันเป็นการให้การศึกษาด้านวิชาชีพซึ่งเป็นภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะของสถานศึกษาของจำเลยให้บรรลุผล สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คดังกล่าว จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างบริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) โจทก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๘/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลจังหวัดสุโขทัย
ระหว่าง
ศาลปกครองพิษณุโลก
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสุโขทัยโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) โจทก์ยื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำเลย ต่อศาลจังหวัดสุโขทัย เป็นคดีหมายเลขดำที่ ผบ. ๑๐๓/๒๕๕๒ ความว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ มีวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยเป็นหน่วยงานในสังกัด เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๐ จำเลยโดยผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยทำสัญญาเช่าคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน จำนวน ๕๐ เครื่องกับโจทก์ ระยะเวลาเช่า ๓ ปี กำหนดชำระค่าเช่าทุก ๆ ๖ เดือน เป็นเงินงวดละ ๒๖๘,๗๐๓.๗๕ บาท โจทก์ส่งมอบและติดตั้ง ตรวจสอบการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้จำเลยได้ใช้ประโยชน์เรื่อยมา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่างวดที่ ๑ ถึงที่ ๔ แก่โจทก์ รวมเป็นเงิน ๑,๐๗๔,๘๑๕ บาท เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ จำเลยทำสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คกับโจทก์ ราคา ๖๓๖,๘๖๔ บาท โจทก์ส่งมอบและติดตั้งระบบเน็ตเวอร์คให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ชำระราคาแก่โจทก์ และเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จำเลยทำสัญญาเช่าคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอน จำนวน ๕๐ เครื่องกับโจทก์ ระยะเวลาเช่า ๓ ปี กำหนดชำระค่าเช่าทุก ๆ ๖ เดือน เป็นเงินงวดละ ๓๑๘,๐๕๗.๕๐ บาท โจทก์ส่งมอบและติดตั้ง ตรวจสอบการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้จำเลยได้ใช้ประโยชน์เรื่อยมา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่างวดที่ ๑ ถึงที่ ๔ แก่โจทก์รวมเป็นเงิน ๑,๒๗๒,๒๓๐ บาท จำเลยค้างชำระเงินแก่โจทก์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๙๘๓,๙๐๙ บาท โจทก์ติดตามทวงถามแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน ๒,๙๘๓,๙๐๙ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากจำเลยมิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์และไม่เคยทำสัญญาเช่าคอมพิวเตอร์และสั่งซื้อระบบเน็ตเวอร์คและอุปกรณ์จากโจทก์ และไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ คู่สัญญาเช่าและผู้สั่งซื้อได้กระทำในฐานะส่วนตัวมิได้กระทำแทนจำเลยและมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และคำฟ้องโจทก์ในส่วนของค่าเช่าขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คเป็นสัญญาทางปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสุโขทัยพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้จำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐพิพาทกับโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คตามฟ้องยังไม่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง ๔ ประเภท ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ และกรณีเป็นเรื่องสัญญาทางแพ่ง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองพิษณุโลกพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองก่อนเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง คดีนี้จำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดและส่งเสริมการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามข้อ ๑ ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยเป็นสถานศึกษาที่เป็นส่วนราชการอยู่ในสังกัด มีหน้าที่จัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษาวิชาชีพที่รัฐเป็นผู้จัดทำ การที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยซึ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัดของจำเลยตกลงเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนจากโจทก์และตกลงซื้อระบบเน็ตเวอร์คพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยกำหนดให้โจทก์ส่งมอบและติดตั้งที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย รวมทั้งให้โจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีอยู่เสมอตลอดอายุสัญญา จึงเป็นสัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คเพื่อนำไปใช้จัดการเรียนการสอนด้านการศึกษาวิชาชีพและการค้นคว้าข้อมูลของนักศึกษาอันเป็นการให้การศึกษาด้านวิชาชีพซึ่งเป็นภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะของสถานศึกษาของจำเลยให้บรรลุผล สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อระบบเน็ตเวอร์คระหว่างโจทก์กับวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นสถานศึกษาในสังกัดของจำเลย ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัยมาตรา ๒๑๘ ประกอบกับมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้จำเลยเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์ค จึงต้องพิจารณาว่า สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ บัญญัติว่า สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อจำเลยมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดและส่งเสริมการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามข้อ ๑ ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยเป็นสถานศึกษาที่เป็นส่วนราชการอยู่ในสังกัด มีหน้าที่จัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะด้านการศึกษาวิชาชีพที่รัฐ เป็นผู้จัดทำ การที่วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัยซึ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัดของจำเลยตกลงเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนการสอนและตกลงซื้อระบบเน็ตเวอร์คพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ จากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านการศึกษาวิชาชีพและการค้นคว้าข้อมูลของนักศึกษา อันเป็นการให้การศึกษาด้านวิชาชีพซึ่งเป็นภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะของสถานศึกษาของจำเลยให้บรรลุผล สัญญาเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาซื้อขายระบบเน็ตเวอร์คดังกล่าว จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างบริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) โจทก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๗/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ บริษัทเทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๒๗๓/๒๕๕๒ ความว่า โจทก์รับจ้างซ่อมบำรุงดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัย รถยก รถหอน้ำ และรถดับเพลิงทุกชนิดให้จำเลยโดยมีค่าตอบแทนตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน เมื่อปี ๒๕๔๘ จำเลยได้ทำสัญญาซื้อรถดับเพลิงและรถกู้ภัยกับบริษัทสไตเออร์ - เดมเลอร์ - พุค สเปเชี่ยล ฟาห์รซอย เอจีแอนด์ โคเอจี แห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ต่อมาบริษัทสไตเออร์ฯ ได้จัดส่งรถดับเพลิงและรถกู้ภัย จำนวน ๑๗๖ คัน มากับเรือเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลย ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จำเลยได้ขอรับรถดับเพลิงและรถกู้ภัยจากท่าเรือแหลมฉบังมาจอดเก็บฝากไว้ในพื้นที่โรงงานของโจทก์เพื่อให้โจทก์รับฝากเก็บดูแลรักษาไว้ในเบื้องต้นก่อนที่จะนำไปใช้ในกิจการของจำเลยต่อไป ซึ่งโรงงานดังกล่าวเป็นสถานที่รับจ้างซ่อมบำรุงดูแลรักษารถดับเพลิง รถบรรทุกน้ำ รถยก และรถกู้ภัย อันอยู่ในความดูแลของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในสังกัดของจำเลยโดยมีค่าตอบแทนอยู่ก่อนแล้ว จึงถือได้ว่าพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นเป็นนิติสัมพันธ์ในลักษณะฝากเก็บดูแลรักษาโดยคิดค่าฝากเก็บดูแลรักษาที่มีบำเหน็จค่าตอบแทนเช่นเดียวกับที่จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมเก็บฝากกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย และเช่นเดียวกับที่จำเลยเคยว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมบำรุงดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัยของจำเลย เมื่อจำเลยได้นำส่งรถดับเพลิงและรถกู้ภัยมาที่โรงงานของโจทก์แล้ว โจทก์ได้ตกลงรับมอบและรับฝากดูแลรักษาไว้ โจทก์ได้ทำหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมรถดับเพลิงและรถกู้ภัยเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าบำเหน็จค่าฝาก อันได้แก่ ค่าภาระใช้พื้นที่วางพักจอดเก็บในพื้นที่ของโจทก์ รวมทั้งค่าภาระเคลื่อนย้ายรถ ค่าแรงช่างดูแลรักษาทำความสะอาดให้แก่โจทก์ ก่อนที่จะนำรถออกจากพื้นที่เก็บรักษาของโจทก์เช่นเดียวกับที่โจทก์จำเลยได้เคยปฏิบัติ โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่าฝากดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัย แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยชำระเงินค่าฝากดูแลรักษารถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัย แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ชำระหนี้แต่อย่างใด ขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน ๓๓๖,๗๑๘,๓๕๐.๒๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินจำนวน ๓๓๒,๐๘๓,๐๒๔.๖๙ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๙ บริษัทสไตเออร์ฯ ได้จัดส่งรถดับเพลิงและรถกู้ภัยมาถึงท่าเรือแหลมฉบัง จำเลยจึงมีหนังสือขอผ่อนผันรับของออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการศุลกากร ซึ่งนายด่านศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังได้อนุมัติให้รับของออกไปก่อนได้ ในระหว่างนั้นโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทสไตเออร์ฯ ได้นำรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัยออกจากท่าเรือแหลมฉบังไปเก็บรักษาไว้ที่สถานที่ของโจทก์ โดยจำเลยมิได้มอบหมายให้โจทก์หรือบริษัทสไตเออร์ฯ เป็นผู้นำรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัยไปเก็บรักษาแต่อย่างใด หนังสือขอผ่อนผันไม่มีข้อความตอนใดระบุว่ามอบหมายให้โจทก์นำรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัยไปเก็บรักษาที่โรงงานของโจทก์ แม้ตามข้อตกลงซื้อขายประกอบบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐออสเตรีย โดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย และบริษัทสไตเออร์ฯ จะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้ซื้อเป็นผู้ขนส่งและจัดส่งสิ่งของตามสัญญาจากท่าเรือประเทศไทยไปยังคลังเก็บสินค้า โดยผู้ขายเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายก็ตาม แต่เนื่องจากตามข้อตกลงซื้อขายฯ กำหนดว่า ในการตรวจรับสิ่งของที่ถือว่าถูกต้องสมบูรณ์ตามข้อตกลงก็โดยคณะกรรมการตรวจรับที่ผู้ซื้อได้แต่งตั้งขึ้นได้ทำการตรวจรับสิ่งของที่ส่งมอบครบถ้วนถูกต้องเรียบร้อยตามข้อตกลงแล้ว ณ คลังเก็บสิ่งอุปกรณ์ จำเลยจะต้องให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุตรวจรับสิ่งของที่ส่งมอบก่อนว่าถูกต้องตามที่กำหนดในข้อตกลงซื้อขายฯ หรือไม่ ความรับผิดชอบของจำเลยในการดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัยจึงย่อมเกิดมีขึ้น ต่อมาได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ส่งเรื่องให้จำเลยเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลเพิกถอนการอนุมัติหรืออนุญาตเกี่ยวกับข้อตกลงซื้อขายฯ จำเลยจึงยื่นฟ้องบริษัทสไตเออร์ฯ ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นคดีหมายเลขดำที่ กค. ๑๕๕/๒๕๕๒ จำเลยไม่เคยทำสัญญาฝากทรัพย์ตามฟ้องกับโจทก์ โจทก์และจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ในเรื่องฝากทรัพย์และดูแลรักษาทรัพย์ตามฟ้องแต่อย่างใด แม้จำเลยจะเคยจ้างโจทก์ให้ซ่อมบำรุงรักษารถดับเพลิงของจำเลยมาก่อนก็ตาม แต่ในการจ้างจำเลยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบของทางราชการ และมีการทำสัญญาว่าจ้างเป็นหลักฐานทุกครั้ง โจทก์จะถือเอาพฤติการณ์ที่จำเลยเคยว่าจ้างโจทก์ให้ซ่อมรถดับเพลิงมาก่อนเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหาได้ไม่ นอกจากนี้ จำเลยไม่เคยมอบหมายหรือยินยอมให้โจทก์นำรถดับเพลิงและรถกู้ภัยไปดูแลรักษาและฝากทรัพย์ไว้กับโจทก์ในสถานที่ของโจทก์แต่อย่างใด ขอให้ศาลยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า ข้อตกลงซื้อขายฯ เป็นการดำเนินการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดซื้อรถดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจของจำเลยในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อันเป็นบริการสาธารณะซึ่งจำเลยในฐานะหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการบริการสาธารณะตามกฎหมาย ข้อตกลงซื้อขายฯ ดังกล่าว จึงเป็นสัญญาทางปกครองซึ่งจำเลยตกลงมอบหมายให้ผู้ขายจัดหาบริการสาธารณะแทนจำเลย การที่โจทก์นำรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัยไปเก็บรักษา แม้จะกระทำไปโดยพลการ แต่ก็เกี่ยวเนื่องกับสัญญาทางปกครองซึ่งจำเลยกระทำไปภายในขอบวัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขาย ฟ้องโจทก์จึงเกี่ยวเนื่องกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่โจทก์ไม่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงมิใช่สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ การเก็บ ดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัย เป็นเพียงสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อมุ่งประโยชน์ในการดูแลทรัพย์สินของจำเลย และสนับสนุนการให้บริการสาธารณะให้สำเร็จลุล่วงไปได้เท่านั้น ทั้งไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จึงมิใช่สัญญาทางปกครองตามความหมายในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมาตรา ๘๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยได้ทำสัญญารับฝากทรัพย์คือ รถยนต์ดับเพลิงฯ จำนวน ๑๗๖ คัน กับโจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอันได้แก่จำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครอง ทรัพย์ที่โจทก์รับฝากตามสัญญาคือรถดับเพลิงและรถกู้ภัยซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้โดยตรงในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ในการเก็บ ดูแล บำรุงรักษาและซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา แต่จำเลยไม่ดำเนินการเองโดยมอบให้โจทก์ทำหน้าที่ดังกล่าวแทน ซึ่งหากโจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยย่อมไม่อาจนำรถดับเพลิงและรถกู้ภัยพร้อมอุปกรณ์ไปใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลย ตามอำนาจหน้าที่ของตนให้บรรลุผลได้ สัญญาฝากทรัพย์ดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ให้โจทก์เข้ามีส่วนร่วมโดยตรงในการจัดทำบริการสาธารณะ จึงเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ชำระบำเหน็จค่าฝากทรัพย์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าฝากทรัพย์พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้จำเลยเป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับฝากรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัย จึงต้องพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ บัญญัติว่า สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ แม้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะก็ตาม แต่สัญญารับฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยหากมีอยู่ก็เป็นเพียงสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อมุ่งประโยชน์ในการดูแลทรัพย์สินของจำเลย โจทก์คงมีหน้าที่เพียงดูแลรักษาทรัพย์ที่รับฝากไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วส่งมอบคืนให้แก่จำเลย และโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบำเหน็จค่าฝากได้หรือไม่เพียงใดเท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองให้โจทก์เข้าดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง แต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่มีหน่วยงานทางปกครองเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างบริษัทเทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด โจทก์ กรุงเทพมหานคร จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๗/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ บริษัทเทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๒๗๓/๒๕๕๒ ความว่า โจทก์รับจ้างซ่อมบำรุงดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัย รถยก รถหอน้ำ และรถดับเพลิงทุกชนิดให้จำเลยโดยมีค่าตอบแทนตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน เมื่อปี ๒๕๔๘ จำเลยได้ทำสัญญาซื้อรถดับเพลิงและรถกู้ภัยกับบริษัทสไตเออร์ - เดมเลอร์ - พุค สเปเชี่ยล ฟาห์รซอย เอจีแอนด์ โคเอจี แห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ต่อมาบริษัทสไตเออร์ฯ ได้จัดส่งรถดับเพลิงและรถกู้ภัย จำนวน ๑๗๖ คัน มากับเรือเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลย ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จำเลยได้ขอรับรถดับเพลิงและรถกู้ภัยจากท่าเรือแหลมฉบังมาจอดเก็บฝากไว้ในพื้นที่โรงงานของโจทก์เพื่อให้โจทก์รับฝากเก็บดูแลรักษาไว้ในเบื้องต้นก่อนที่จะนำไปใช้ในกิจการของจำเลยต่อไป ซึ่งโรงงานดังกล่าวเป็นสถานที่รับจ้างซ่อมบำรุงดูแลรักษารถดับเพลิง รถบรรทุกน้ำ รถยก และรถกู้ภัย อันอยู่ในความดูแลของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในสังกัดของจำเลยโดยมีค่าตอบแทนอยู่ก่อนแล้ว จึงถือได้ว่าพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นเป็นนิติสัมพันธ์ในลักษณะฝากเก็บดูแลรักษาโดยคิดค่าฝากเก็บดูแลรักษาที่มีบำเหน็จค่าตอบแทนเช่นเดียวกับที่จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมเก็บฝากกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย และเช่นเดียวกับที่จำเลยเคยว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมบำรุงดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัยของจำเลย เมื่อจำเลยได้นำส่งรถดับเพลิงและรถกู้ภัยมาที่โรงงานของโจทก์แล้ว โจทก์ได้ตกลงรับมอบและรับฝากดูแลรักษาไว้ โจทก์ได้ทำหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมรถดับเพลิงและรถกู้ภัยเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าบำเหน็จค่าฝาก อันได้แก่ ค่าภาระใช้พื้นที่วางพักจอดเก็บในพื้นที่ของโจทก์ รวมทั้งค่าภาระเคลื่อนย้ายรถ ค่าแรงช่างดูแลรักษาทำความสะอาดให้แก่โจทก์ ก่อนที่จะนำรถออกจากพื้นที่เก็บรักษาของโจทก์เช่นเดียวกับที่โจทก์จำเลยได้เคยปฏิบัติ โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่าฝากดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัย แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยชำระเงินค่าฝากดูแลรักษารถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัย แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ชำระหนี้แต่อย่างใด ขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน ๓๓๖,๗๑๘,๓๕๐.๒๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินจำนวน ๓๓๒,๐๘๓,๐๒๔.๖๙ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๙ บริษัทสไตเออร์ฯ ได้จัดส่งรถดับเพลิงและรถกู้ภัยมาถึงท่าเรือแหลมฉบัง จำเลยจึงมีหนังสือขอผ่อนผันรับของออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการศุลกากร ซึ่งนายด่านศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังได้อนุมัติให้รับของออกไปก่อนได้ ในระหว่างนั้นโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทสไตเออร์ฯ ได้นำรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัยออกจากท่าเรือแหลมฉบังไปเก็บรักษาไว้ที่สถานที่ของโจทก์ โดยจำเลยมิได้มอบหมายให้โจทก์หรือบริษัทสไตเออร์ฯ เป็นผู้นำรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัยไปเก็บรักษาแต่อย่างใด หนังสือขอผ่อนผันไม่มีข้อความตอนใดระบุว่ามอบหมายให้โจทก์นำรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัยไปเก็บรักษาที่โรงงานของโจทก์ แม้ตามข้อตกลงซื้อขายประกอบบันทึกข้อตกลงความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐออสเตรีย โดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย และบริษัทสไตเออร์ฯ จะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้ซื้อเป็นผู้ขนส่งและจัดส่งสิ่งของตามสัญญาจากท่าเรือประเทศไทยไปยังคลังเก็บสินค้า โดยผู้ขายเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายก็ตาม แต่เนื่องจากตามข้อตกลงซื้อขายฯ กำหนดว่า ในการตรวจรับสิ่งของที่ถือว่าถูกต้องสมบูรณ์ตามข้อตกลงก็โดยคณะกรรมการตรวจรับที่ผู้ซื้อได้แต่งตั้งขึ้นได้ทำการตรวจรับสิ่งของที่ส่งมอบครบถ้วนถูกต้องเรียบร้อยตามข้อตกลงแล้ว ณ คลังเก็บสิ่งอุปกรณ์ จำเลยจะต้องให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุตรวจรับสิ่งของที่ส่งมอบก่อนว่าถูกต้องตามที่กำหนดในข้อตกลงซื้อขายฯ หรือไม่ ความรับผิดชอบของจำเลยในการดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัยจึงย่อมเกิดมีขึ้น ต่อมาได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ส่งเรื่องให้จำเลยเพื่อยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลเพิกถอนการอนุมัติหรืออนุญาตเกี่ยวกับข้อตกลงซื้อขายฯ จำเลยจึงยื่นฟ้องบริษัทสไตเออร์ฯ ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นคดีหมายเลขดำที่ กค. ๑๕๕/๒๕๕๒ จำเลยไม่เคยทำสัญญาฝากทรัพย์ตามฟ้องกับโจทก์ โจทก์และจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ในเรื่องฝากทรัพย์และดูแลรักษาทรัพย์ตามฟ้องแต่อย่างใด แม้จำเลยจะเคยจ้างโจทก์ให้ซ่อมบำรุงรักษารถดับเพลิงของจำเลยมาก่อนก็ตาม แต่ในการจ้างจำเลยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบของทางราชการ และมีการทำสัญญาว่าจ้างเป็นหลักฐานทุกครั้ง โจทก์จะถือเอาพฤติการณ์ที่จำเลยเคยว่าจ้างโจทก์ให้ซ่อมรถดับเพลิงมาก่อนเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหาได้ไม่ นอกจากนี้ จำเลยไม่เคยมอบหมายหรือยินยอมให้โจทก์นำรถดับเพลิงและรถกู้ภัยไปดูแลรักษาและฝากทรัพย์ไว้กับโจทก์ในสถานที่ของโจทก์แต่อย่างใด ขอให้ศาลยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า ข้อตกลงซื้อขายฯ เป็นการดำเนินการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดซื้อรถดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจของจำเลยในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อันเป็นบริการสาธารณะซึ่งจำเลยในฐานะหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการบริการสาธารณะตามกฎหมาย ข้อตกลงซื้อขายฯ ดังกล่าว จึงเป็นสัญญาทางปกครองซึ่งจำเลยตกลงมอบหมายให้ผู้ขายจัดหาบริการสาธารณะแทนจำเลย การที่โจทก์นำรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัยไปเก็บรักษา แม้จะกระทำไปโดยพลการ แต่ก็เกี่ยวเนื่องกับสัญญาทางปกครองซึ่งจำเลยกระทำไปภายในขอบวัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขาย ฟ้องโจทก์จึงเกี่ยวเนื่องกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่โจทก์ไม่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงมิใช่สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ การเก็บ ดูแลรักษารถดับเพลิงและรถกู้ภัย เป็นเพียงสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อมุ่งประโยชน์ในการดูแลทรัพย์สินของจำเลย และสนับสนุนการให้บริการสาธารณะให้สำเร็จลุล่วงไปได้เท่านั้น ทั้งไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จึงมิใช่สัญญาทางปกครองตามความหมายในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมาตรา ๘๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยได้ทำสัญญารับฝากทรัพย์คือ รถยนต์ดับเพลิงฯ จำนวน ๑๗๖ คัน กับโจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอันได้แก่จำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครอง ทรัพย์ที่โจทก์รับฝากตามสัญญาคือรถดับเพลิงและรถกู้ภัยซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้โดยตรงในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ในการเก็บ ดูแล บำรุงรักษาและซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา แต่จำเลยไม่ดำเนินการเองโดยมอบให้โจทก์ทำหน้าที่ดังกล่าวแทน ซึ่งหากโจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยย่อมไม่อาจนำรถดับเพลิงและรถกู้ภัยพร้อมอุปกรณ์ไปใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลย ตามอำนาจหน้าที่ของตนให้บรรลุผลได้ สัญญาฝากทรัพย์ดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ให้โจทก์เข้ามีส่วนร่วมโดยตรงในการจัดทำบริการสาธารณะ จึงเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ชำระบำเหน็จค่าฝากทรัพย์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าฝากทรัพย์พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้จำเลยเป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับฝากรถยนต์ดับเพลิงและรถกู้ภัย จึงต้องพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ บัญญัติว่า สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ แม้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะก็ตาม แต่สัญญารับฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยหากมีอยู่ก็เป็นเพียงสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อมุ่งประโยชน์ในการดูแลทรัพย์สินของจำเลย โจทก์คงมีหน้าที่เพียงดูแลรักษาทรัพย์ที่รับฝากไว้ในอารักขาแห่งตนแล้วส่งมอบคืนให้แก่จำเลย และโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบำเหน็จค่าฝากได้หรือไม่เพียงใดเท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองให้โจทก์เข้าดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง แต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่มีหน่วยงานทางปกครองเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างบริษัทเทพยนต์ แอโรโมทีฟ อินดัสตรีส์ จำกัด โจทก์ กรุงเทพมหานคร จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๖/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ บริษัทวงศ์ภัทระ จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องกรมทางหลวง และการประปานครหลวง ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๐๒๘/๒๕๕๒ และ ๒๐๒๙/๒๕๕๒ และเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๒ โจทก์ได้ยื่นฟ้องการไฟฟ้านครหลวง ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๗๑/๒๕๕๒ ต่อมาได้โอนมารวมกับคดีของศาลแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๐๒๘/๒๕๕๒ โดยตั้งคดีใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๒๐๖/๒๕๕๒ ศาลแพ่งอนุญาตให้รวมคดีทั้งสามสำนวนเข้าด้วยกัน และให้เรียกโจทก์ทั้งสามสำนวนว่า โจทก์ เรียกจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ ๒๐๒๘/๒๕๕๒, ๒๐๒๙/๒๕๕๒ และ ๕๒๐๖/๒๕๕๒ ว่า จำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ตามลำดับ ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา เมื่อประมาณกลางปี ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ ปรับปรุงขยายถนนเทพารักษ์หรือทางหลวงจังหวัดสายสำโรง-บางพลี-บางบ่อ (๓๒๖๘) ด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์ โจทก์ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินดังกล่าวปรากฏว่า จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างถนนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือกว้างประมาณ ๑.๒๕ เมตร ยาวประมาณ ๕๕ เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๗ ตารางวา และก่อสร้างบันไดทางเท้าขึ้นลงสะพานในที่ดินดังกล่าวด้วย ส่วนจำเลยที่ ๒ ได้วางท่อส่งน้ำประปาพร้อมอุปกรณ์เปิดปิดน้ำรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ประมาณ ๒.๘๕ เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร และจำเลยที่ ๓ ปักเสาไฟฟ้ารุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ประมาณ ๑.๖๕ เมตร และพาดสายไฟฟ้าผ่านที่ดินโจทก์ยาวตลอดแนวประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร การกระทำของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้รื้อถอนท่อส่งน้ำประปาพร้อมอุปกรณ์ กับเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้า และทำที่ดินให้มีสภาพเรียบร้อยตามเดิม พร้อมให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ ๓ รับรองแนวเขตที่ดินตามแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ ด้านติดถนนเทพารักษ์ให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ ๓ ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ ๓
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งหักที่ดินพิพาทให้เป็นถนนเทพารักษ์อันเป็นทางสาธารณประโยชน์ตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ และแบ่งหักเพิ่มเติมให้อีกในปี ๒๕๑๕ การก่อสร้างทางหลวงและบันได ขึ้นลงเป็นการก่อสร้างในพื้นที่เขตทางหลวงมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ จึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ มิได้วางท่อประปาและอุปกรณ์การจ่ายน้ำรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่วางในเขตแนวถนนเทพารักษ์หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๘ ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ ให้การว่า จำเลยที่ ๓ มิได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ได้กระทำไปตามที่จำเลยที่ ๑ ขยายถนนเทพารักษ์และแจ้งให้จำเลยที่ ๓ รื้อถอนเสาไฟฟ้าต้นเดิมและกำหนดตำแหน่งให้ปักเสาต้นใหม่และพาดสายไฟฟ้าลงในตำแหน่งที่ดินพิพาท จำเลยที่ ๓ เข้าใจโดยสุจริตว่าปักเสาในแนวเขตที่ดินของกรมทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน จำเลยที่ ๓ มิได้กระทำละเมิด ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นหน่วยงานทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๒ ทำละเมิดวางท่อประปารุกล้ำที่ดินของโจทก์ และจำเลยที่ ๓ ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย มูลคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ แต่ถูกจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ วางท่อประปาพร้อมอุปกรณ์กับเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์รังวัดตรวจสอบพบการกระทำดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำละเมิด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวและให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ให้การว่าไม่ได้กระทำละเมิด ดังนี้ศาลจำต้องพิจารณาว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นละเมิดหรือไม่ และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด เมื่อจำต้องพิจารณาถึงสิทธิในที่ดินพิพาทของโจทก์แล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองก่อนเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง นอกจากนั้นยังจำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยที่เป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดี รวมทั้งคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องประกอบด้วยซึ่งในแต่ละคดีจะมีความแตกต่างกันและไม่อาจเทียบเคียงกันได้ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินเลขที่ ๘๙๘๒๔ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา ทิศเหนือจดทางหลวงจังหวัดสายสำโรง-บางพลี-บางบ่อ (๓๒๖๘) หรือถนนเทพารักษ์ เมื่อประมาณกลางปี ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ ได้ทำการปรับปรุงถนนสายดังกล่าวโดยได้ก่อสร้างสะพานข้ามคลองบางเรือนให้สูงและกว้างขึ้น เพื่อก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กใช้เป็นทางกลับรถ และได้ก่อสร้างบันไดทางเดินเท้าขึ้นลงสะพาน โจทก์ได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินแล้วพบว่า จำเลยที่ ๑ ได้ทำการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนที่ใช้เป็นทางกลับรถและบันไดทางเดินเท้าขึ้นสะพานดังกล่าวรุกล้ำที่ดินของโจทก์ โดยทางเดินเท้าขึ้นลงสะพานรุกล้ำที่ดินโจทก์กว้างประมาณ ๑.๒๐ เมตร ส่วนถนนคอนกรีตเสริมเหล็กรุกล้ำที่ดินโจทก์เนื้อที่ประมาณ ๑๗ ตารางวา และพบว่าจำเลยที่ ๒ ได้วางท่อประปาพร้อมอุปกรณ์ประตูเปิดปิดน้ำรุกล้ำที่ดินโจทก์ประมาณ ๒.๘๕ เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร นอกจากนั้นจำเลยที่ ๓ ยังได้ปักเสาไฟฟ้าจำนวน ๑ ต้น รุกล้ำที่ดินโจทก์ประมาณ ๑.๖๕ เมตร และได้พาดสายไฟฟ้าผ่านที่ดินโจทก์ตลอดแนวยาวประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร โจทก์เห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีจึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ ๑ เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. ๒๕๐๑ ดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดำเนินกิจการทางปกครองเพื่อจัดให้มีถนน ประปา และไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประชาชนในประเทศ แต่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีพิพาทดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และการที่โจทก์ได้มีคำขอท้ายคำฟ้องรวม ๓ ข้อดังกล่าวนั้น เป็นคำขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสามทำการรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ พร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยห้ามมิให้ใช้ที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นถนนสาธารณประโยชน์ เป็นที่วางท่อประปา และเป็นที่ปักเสาพาดสายไฟฟ้าสาธารณะ กับให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นกรณีที่มีคำขอให้ศาลออกคำสั่งห้ามกระทำการทั้งหมดในที่ดินพิพาท และสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและกระทำการละเมิด ศาลปกครองสามารถกำหนดคำบังคับได้ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) ประกอบมาตรา ๗๑ (๑) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่ ศาลแพ่งมีความเห็นว่า เมื่อจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ให้การว่า ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลจึงต้องพิจารณาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นละเมิดหรือไม่และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด คดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม นั้น ศาลปกครองกลางไม่เห็นพ้องด้วย เนื่องจากที่ดินของโจทก์ตามหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ ๘๙๘๒๔ เป็นที่ดินที่มีอาณาเขตชัดเจนแน่นอน มีเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา การที่โจทก์ได้ขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าว โดยผลการรังวัดปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๓ โจทก์ได้นำชี้ว่าเป็นที่ดินโจทก์จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนเนื้อที่และรูปแผนที่ท้ายโฉนดที่ดินเลขที่ ๘๙๘๒๔ ของโจทก์ และเมื่อโจทก์พบว่าจำเลยทั้งสามได้ทำการปรับปรุงถนนทางหลวงจังหวัด วางท่อประปา และปักเสาไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ กรณีย่อมเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้โดยชอบหรือไม่ และเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตทางหลวง การดำเนินการของจำเลยทั้งสามจึงมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์และมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเพียงการยกประเด็นเกี่ยวกับสถานะของที่ดินส่วนที่พิพาทเป็นข้อต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นเขตทางหลวงซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามมิได้เป็นผู้กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ หาใช่กรณีพิพาทที่มีการโต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด และในการวินิจฉัยกรณีพิพาทคดีนี้ แม้ศาลจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่เพื่อนำข้อเท็จจริงมาประกอบการพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ก็เป็นเพียงการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเท่านั้น ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ห้ามมิให้ศาลปกครองดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลหรือสิทธิในที่ดินพิพาทคดีนี้ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ นอกจากนี้การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองย่อมมิอาจ ถือได้ว่าเป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์หรือผู้ทรงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เป็นแต่เพียงผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรักษา หรือวางท่อประปาพร้อมอุปกรณ์ หรือปักเสาพาดสายไฟฟ้าในเขตทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น กรณีพิพาทในลักษณะเช่นนี้จึงไม่อาจเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินด้วยข้อเท็จจริงและเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยทั้งสามจะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องคดีนี้โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา โจทก์รังวัดสอบเขตที่ดินดังกล่าวพบว่า จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างถนนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือกว้างประมาณ ๑.๒๕ เมตร ยาวประมาณ ๕๕ เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๗ ตารางวา และก่อสร้างบันไดทางเท้าขึ้นลงสะพานในที่ดินดังกล่าวด้วย ส่วนจำเลยที่ ๒ ได้วางท่อส่งน้ำประปาพร้อมอุปกรณ์เปิดปิดน้ำรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ประมาณ ๒.๘๕ เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร และจำเลยที่ ๓ ปักเสาไฟฟ้ารุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ประมาณ ๑.๖๕ เมตร และพาดสายไฟฟ้าผ่านที่ดินโจทก์ยาวตลอดแนวประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร การกระทำของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้รื้อถอนท่อส่งน้ำประปาพร้อมอุปกรณ์ กับเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้า และทำที่ดินให้มีสภาพเรียบร้อยตามเดิม พร้อมให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ ๓ รับรองแนวเขตที่ดินตามแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ ด้านติดถนนเทพารักษ์ให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ ๓ ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ ๓ ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินพิพาทเจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งหักให้เป็นถนนเทพารักษ์อันเป็นทางสาธารณประโยชน์ตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ และแบ่งหักเพิ่มเติมให้อีกในปี ๒๕๑๕ การก่อสร้างทางหลวงและบันไดขึ้นลงเป็นการก่อสร้างในพื้นที่เขตทางหลวงมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ จึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ มิได้วางท่อประปาและอุปกรณ์การจ่ายน้ำรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่วางในเขตแนวถนนเทพารักษ์หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๘ ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ คดีโจทก์ขาดอายุความ และจำเลยที่ ๓ ให้การว่า จำเลยที่ ๓ มิได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ได้กระทำไปตามที่จำเลยที่ ๑ ขยายถนนเทพารักษ์และแจ้งให้จำเลยที่ ๓ รื้อถอนเสาไฟฟ้าต้นเดิมและกำหนดตำแหน่งให้ปักเสาต้นใหม่และพาดสายไฟฟ้าลงในตำแหน่งที่ดินพิพาท จำเลยที่ ๓ เข้าใจโดยสุจริตว่าปักเสาในแนวเขตที่ดินของกรมทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน จำเลยที่ ๓ มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นถนนสาธารณะเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างบริษัทวงศ์ภัทระ จำกัด โจทก์ กรมทางหลวง ที่ ๑ การประปานครหลวง ที่ ๒ การไฟฟ้านครหลวง ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๖/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ บริษัทวงศ์ภัทระ จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องกรมทางหลวง และการประปานครหลวง ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๐๒๘/๒๕๕๒ และ ๒๐๒๙/๒๕๕๒ และเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๒ โจทก์ได้ยื่นฟ้องการไฟฟ้านครหลวง ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๗๑/๒๕๕๒ ต่อมาได้โอนมารวมกับคดีของศาลแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๐๒๘/๒๕๕๒ โดยตั้งคดีใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๒๐๖/๒๕๕๒ ศาลแพ่งอนุญาตให้รวมคดีทั้งสามสำนวนเข้าด้วยกัน และให้เรียกโจทก์ทั้งสามสำนวนว่า โจทก์ เรียกจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ ๒๐๒๘/๒๕๕๒, ๒๐๒๙/๒๕๕๒ และ ๕๒๐๖/๒๕๕๒ ว่า จำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ตามลำดับ ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา เมื่อประมาณกลางปี ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ ปรับปรุงขยายถนนเทพารักษ์หรือทางหลวงจังหวัดสายสำโรง-บางพลี-บางบ่อ (๓๒๖๘) ด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์ โจทก์ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินดังกล่าวปรากฏว่า จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างถนนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือกว้างประมาณ ๑.๒๕ เมตร ยาวประมาณ ๕๕ เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๗ ตารางวา และก่อสร้างบันไดทางเท้าขึ้นลงสะพานในที่ดินดังกล่าวด้วย ส่วนจำเลยที่ ๒ ได้วางท่อส่งน้ำประปาพร้อมอุปกรณ์เปิดปิดน้ำรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ประมาณ ๒.๘๕ เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร และจำเลยที่ ๓ ปักเสาไฟฟ้ารุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ประมาณ ๑.๖๕ เมตร และพาดสายไฟฟ้าผ่านที่ดินโจทก์ยาวตลอดแนวประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร การกระทำของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้รื้อถอนท่อส่งน้ำประปาพร้อมอุปกรณ์ กับเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้า และทำที่ดินให้มีสภาพเรียบร้อยตามเดิม พร้อมให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ ๓ รับรองแนวเขตที่ดินตามแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ ด้านติดถนนเทพารักษ์ให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ ๓ ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ ๓
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งหักที่ดินพิพาทให้เป็นถนนเทพารักษ์อันเป็นทางสาธารณประโยชน์ตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ และแบ่งหักเพิ่มเติมให้อีกในปี ๒๕๑๕ การก่อสร้างทางหลวงและบันได ขึ้นลงเป็นการก่อสร้างในพื้นที่เขตทางหลวงมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ จึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ มิได้วางท่อประปาและอุปกรณ์การจ่ายน้ำรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่วางในเขตแนวถนนเทพารักษ์หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๘ ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๓ ให้การว่า จำเลยที่ ๓ มิได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ได้กระทำไปตามที่จำเลยที่ ๑ ขยายถนนเทพารักษ์และแจ้งให้จำเลยที่ ๓ รื้อถอนเสาไฟฟ้าต้นเดิมและกำหนดตำแหน่งให้ปักเสาต้นใหม่และพาดสายไฟฟ้าลงในตำแหน่งที่ดินพิพาท จำเลยที่ ๓ เข้าใจโดยสุจริตว่าปักเสาในแนวเขตที่ดินของกรมทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน จำเลยที่ ๓ มิได้กระทำละเมิด ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นหน่วยงานทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๒ ทำละเมิดวางท่อประปารุกล้ำที่ดินของโจทก์ และจำเลยที่ ๓ ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย มูลคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ แต่ถูกจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ วางท่อประปาพร้อมอุปกรณ์กับเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์รังวัดตรวจสอบพบการกระทำดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทำละเมิด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวและให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ให้การว่าไม่ได้กระทำละเมิด ดังนี้ศาลจำต้องพิจารณาว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นละเมิดหรือไม่ และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด เมื่อจำต้องพิจารณาถึงสิทธิในที่ดินพิพาทของโจทก์แล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองก่อนเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง นอกจากนั้นยังจำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยที่เป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดี รวมทั้งคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องประกอบด้วยซึ่งในแต่ละคดีจะมีความแตกต่างกันและไม่อาจเทียบเคียงกันได้ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินเลขที่ ๘๙๘๒๔ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา ทิศเหนือจดทางหลวงจังหวัดสายสำโรง-บางพลี-บางบ่อ (๓๒๖๘) หรือถนนเทพารักษ์ เมื่อประมาณกลางปี ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ ได้ทำการปรับปรุงถนนสายดังกล่าวโดยได้ก่อสร้างสะพานข้ามคลองบางเรือนให้สูงและกว้างขึ้น เพื่อก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กใช้เป็นทางกลับรถ และได้ก่อสร้างบันไดทางเดินเท้าขึ้นลงสะพาน โจทก์ได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินแล้วพบว่า จำเลยที่ ๑ ได้ทำการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนที่ใช้เป็นทางกลับรถและบันไดทางเดินเท้าขึ้นสะพานดังกล่าวรุกล้ำที่ดินของโจทก์ โดยทางเดินเท้าขึ้นลงสะพานรุกล้ำที่ดินโจทก์กว้างประมาณ ๑.๒๐ เมตร ส่วนถนนคอนกรีตเสริมเหล็กรุกล้ำที่ดินโจทก์เนื้อที่ประมาณ ๑๗ ตารางวา และพบว่าจำเลยที่ ๒ ได้วางท่อประปาพร้อมอุปกรณ์ประตูเปิดปิดน้ำรุกล้ำที่ดินโจทก์ประมาณ ๒.๘๕ เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดินประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร นอกจากนั้นจำเลยที่ ๓ ยังได้ปักเสาไฟฟ้าจำนวน ๑ ต้น รุกล้ำที่ดินโจทก์ประมาณ ๑.๖๕ เมตร และได้พาดสายไฟฟ้าผ่านที่ดินโจทก์ตลอดแนวยาวประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร โจทก์เห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีจึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ ๑ เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ และพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. ๒๕๐๑ ดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการดำเนินกิจการทางปกครองเพื่อจัดให้มีถนน ประปา และไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประชาชนในประเทศ แต่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีพิพาทดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และการที่โจทก์ได้มีคำขอท้ายคำฟ้องรวม ๓ ข้อดังกล่าวนั้น เป็นคำขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสามทำการรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ พร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยห้ามมิให้ใช้ที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นถนนสาธารณประโยชน์ เป็นที่วางท่อประปา และเป็นที่ปักเสาพาดสายไฟฟ้าสาธารณะ กับให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นกรณีที่มีคำขอให้ศาลออกคำสั่งห้ามกระทำการทั้งหมดในที่ดินพิพาท และสั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและกระทำการละเมิด ศาลปกครองสามารถกำหนดคำบังคับได้ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) ประกอบมาตรา ๗๑ (๑) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่ ศาลแพ่งมีความเห็นว่า เมื่อจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ให้การว่า ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลจึงต้องพิจารณาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ เป็นละเมิดหรือไม่และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด คดีนี้จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม นั้น ศาลปกครองกลางไม่เห็นพ้องด้วย เนื่องจากที่ดินของโจทก์ตามหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ ๘๙๘๒๔ เป็นที่ดินที่มีอาณาเขตชัดเจนแน่นอน มีเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา การที่โจทก์ได้ขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าว โดยผลการรังวัดปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๓ โจทก์ได้นำชี้ว่าเป็นที่ดินโจทก์จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนเนื้อที่และรูปแผนที่ท้ายโฉนดที่ดินเลขที่ ๘๙๘๒๔ ของโจทก์ และเมื่อโจทก์พบว่าจำเลยทั้งสามได้ทำการปรับปรุงถนนทางหลวงจังหวัด วางท่อประปา และปักเสาไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ กรณีย่อมเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้โดยชอบหรือไม่ และเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตทางหลวง การดำเนินการของจำเลยทั้งสามจึงมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์และมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเพียงการยกประเด็นเกี่ยวกับสถานะของที่ดินส่วนที่พิพาทเป็นข้อต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นเขตทางหลวงซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามมิได้เป็นผู้กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ หาใช่กรณีพิพาทที่มีการโต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด และในการวินิจฉัยกรณีพิพาทคดีนี้ แม้ศาลจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่เพื่อนำข้อเท็จจริงมาประกอบการพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ก็เป็นเพียงการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเท่านั้น ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ห้ามมิให้ศาลปกครองดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลหรือสิทธิในที่ดินพิพาทคดีนี้ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ นอกจากนี้การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองย่อมมิอาจ ถือได้ว่าเป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์หรือผู้ทรงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เป็นแต่เพียงผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรักษา หรือวางท่อประปาพร้อมอุปกรณ์ หรือปักเสาพาดสายไฟฟ้าในเขตทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น กรณีพิพาทในลักษณะเช่นนี้จึงไม่อาจเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินด้วยข้อเท็จจริงและเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้จำเลยทั้งสามจะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องคดีนี้โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๓๕ ตารางวา โจทก์รังวัดสอบเขตที่ดินดังกล่าวพบว่า จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างถนนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือกว้างประมาณ ๑.๒๕ เมตร ยาวประมาณ ๕๕ เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๗ ตารางวา และก่อสร้างบันไดทางเท้าขึ้นลงสะพานในที่ดินดังกล่าวด้วย ส่วนจำเลยที่ ๒ ได้วางท่อส่งน้ำประปาพร้อมอุปกรณ์เปิดปิดน้ำรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ประมาณ ๒.๘๕ เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร และจำเลยที่ ๓ ปักเสาไฟฟ้ารุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์ประมาณ ๑.๖๕ เมตร และพาดสายไฟฟ้าผ่านที่ดินโจทก์ยาวตลอดแนวประมาณ ๖๐.๒๙ เมตร การกระทำของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้รื้อถอนท่อส่งน้ำประปาพร้อมอุปกรณ์ กับเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้า และทำที่ดินให้มีสภาพเรียบร้อยตามเดิม พร้อมให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ ๓ รับรองแนวเขตที่ดินตามแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ ๘๙๘๒๔ ด้านติดถนนเทพารักษ์ให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ ๓ ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ ๓ ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินพิพาทเจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งหักให้เป็นถนนเทพารักษ์อันเป็นทางสาธารณประโยชน์ตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ และแบ่งหักเพิ่มเติมให้อีกในปี ๒๕๑๕ การก่อสร้างทางหลวงและบันไดขึ้นลงเป็นการก่อสร้างในพื้นที่เขตทางหลวงมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ จึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ มิได้วางท่อประปาและอุปกรณ์การจ่ายน้ำรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่วางในเขตแนวถนนเทพารักษ์หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๖๘ ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๒ จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ คดีโจทก์ขาดอายุความ และจำเลยที่ ๓ ให้การว่า จำเลยที่ ๓ มิได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ได้กระทำไปตามที่จำเลยที่ ๑ ขยายถนนเทพารักษ์และแจ้งให้จำเลยที่ ๓ รื้อถอนเสาไฟฟ้าต้นเดิมและกำหนดตำแหน่งให้ปักเสาต้นใหม่และพาดสายไฟฟ้าลงในตำแหน่งที่ดินพิพาท จำเลยที่ ๓ เข้าใจโดยสุจริตว่าปักเสาในแนวเขตที่ดินของกรมทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน จำเลยที่ ๓ มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นถนนสาธารณะเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างบริษัทวงศ์ภัทระ จำกัด โจทก์ กรมทางหลวง ที่ ๑ การประปานครหลวง ที่ ๒ การไฟฟ้านครหลวง ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และ (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๕/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ นางชื่นจิตต์ ศุภจรรยา ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ศุภจรรยา ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องนายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่ ๑ เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๙๘/๒๕๕๒ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๙๔ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๗๓ ๕/๑๐ ตารางวา ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ศุภจรรยา ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งในวันทำการรังวัดที่ดินตัวแทนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มาระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ แต่ไม่ยินยอมลงชื่อรับรองแนวเขต โดยอ้างว่าสภาพที่ดินของผู้ฟ้องคดีทางทิศเหนือมีทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่านที่ดิน และแนะนำให้ผู้ฟ้องคดีแบ่งหักที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ยินยอม ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่มาร่วมระวังและชี้แนวเขต ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะผู้ทำทางสาธารณประโยชน์ถนนลูกรังตัดผ่านที่ดินของผู้ฟ้องคดีดำเนินการแก้ไขทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวให้ออกไปจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เพิกเฉย ต่อมาสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวอีกครั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มาร่วมระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้มอบหมายให้ตัวแทนมาร่วมระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ แต่ไม่ยินยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางด้านทิศเหนือซึ่งติดทางสาธารณประโยชน์พิพาท ผลการรังวัดสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ก่อสร้างเป็นทางสาธารณประโยชน์ที่มีสภาพเป็นถนนลูกรังรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา สำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองตรวจสอบที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้ดำเนินการใดๆ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ รับรองแนวเขตที่ดินตามผลการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ปรับพื้นที่ดินบริเวณทางสาธารณประโยชน์ที่พิพาทส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๙๔ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของผู้ฟ้องคดีให้กลับสู่สภาพเดิม หากไม่ดำเนินการ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินจำนวน ๗๒๐,๐๐๐ บาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยมีสภาพเป็นทางสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรมาเป็นเวลากว่าสามสิบปีแล้ว โดยนายวิชัย ศุภจรรยา เจ้ามรดก ซึ่งได้รับโอนที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๙๔ มาตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๐๗ และผู้ฟ้องคดีซึ่งได้รับโอนที่ดินในฐานะผู้จัดการมรดกตั้งแต่วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๖ ก็ไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน การกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นการแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ฟ้องคดีที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินเพื่อประโยชน์ของพลเมืองที่จะได้ใช้ร่วมกันอย่างชัดแจ้ง ถือว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วโดยปริยายตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๘๕๙/๒๕๓๕ และที่ ๑๗๒/๒๕๓๖ ซึ่งการอุทิศที่ดินเพื่อเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ตกอยู่ในบังคับว่าด้วยการให้ จึงอาจอุทิศด้วยวาจาหรือโดยปริยายก็ได้ มีผลทำให้ที่ดินที่อุทิศตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว หาจำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่รับรองแนวเขตที่ดินที่มีการรังวัดตามคำฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ที่ดินพิพาทมีสภาพเป็นถนนที่ประชาชนใช้สัญจรเป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ เป็นต้นมา โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เข้าไปดูแลรักษาเมื่อประมาณปี ๒๕๔๐ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นำเสาไฟฟ้าไปปักไว้ในแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีมิได้โต้แย้งคัดค้าน ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ในการพิจารณาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่นั้น จำต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เป็นสำคัญ ซึ่งตามมาตรา ๒๑๘ กำหนดให้ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเป็นการทั่วไป แต่หากเป็นคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ เมื่อมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรม จึงต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองก่อนเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น นอกจากนั้นจำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่เป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดี รวมทั้งคำขอท้ายคำฟ้องประกอบด้วย ซึ่งในแต่ละคดีจะมีความแตกต่างกันและไม่อาจเทียบเคียงกันได้ เมื่อพิจารณาสำนวนคดีนี้แล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กรณีพิพาทมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ลงนามรับรองแนวเขตและการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทำการรับรองแนวเขตที่ดินตามที่ได้มีการรังวัด และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ปรับสภาพที่ดินของผู้ฟ้องคดีให้กลับสู่สภาพเดิม หากไม่สามารถดำเนินการได้ก็ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีอำนาจหน้าที่ในการปกครองดูแลที่ดินทางสาธารณประโยชน์ ตามมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ แต่ในวันที่ทำการรังวัดสอบเขตที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กลับมิได้ลงชื่อรับรองแนวเขตโดยอ้างเหตุผลว่า ในการรังวัดสอบเขตที่ดิน ปรากฏว่ามีสภาพทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่านที่ดินและได้แนะนำให้ผู้ขอ (ผู้ฟ้องคดี) แบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ ผู้ขอไม่ยินยอมให้แบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยจะขอประสานกับเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่สามารถลงนามรับรองแนวเขตให้ได้ ทั้งที่หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตามมาตรา ๑๓๐๔ (๒) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ควรอ้างเหตุไม่รับรองแนวเขตที่ดินเนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ และเมื่อสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สอบถามให้ตรวจสอบสถานะที่ดินพิพาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็เพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ก็ควรแจ้งสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อคัดค้านและให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามมาตรา ๖๙ ทวิ วรรคห้า แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเพียงว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่ยินยอมรับรองแนวเขตที่ดินพิพาทตามผลการรังวัดเพราะเหตุผู้ฟ้องคดีไม่ยินยอมแบ่งหักที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับกรณีของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และมีอำนาจหน้าที่ในการให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ ตามมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ก่อสร้างทางสาธารณประโยชน์รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีตามหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๙๔ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ โดยมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แก้ไขปรับพื้นที่ให้กลับสู่สภาพเดิม หากไม่ดำเนินการให้ชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเมื่อพิจารณาคำชี้แจงของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พบว่า ตามรูปแผนที่ผลการรังวัดในครั้งที่สองปรากฏว่า ทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่านที่ดินของผู้ฟ้องคดี คดีจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเพียงว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ สร้างทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่านที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ จึงเป็นกรณีที่มีการฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ตามมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะอ้างในคำให้การว่า ที่ดินบริเวณพิพาทประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันจนมีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์ และอ้างเป็นเหตุว่าคดีนี้มีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินนั้น ก็คงเป็นแต่เพียงคำให้การเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของตนในประเด็นเนื้อหาของคดีเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กระทำการโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หาใช่เป็นกรณีพิพาทที่มีการโต้แย้งสิทธิในที่ดินกันแต่อย่างใด และไม่อาจนำประเด็นตามคำให้การดังกล่าวมากล่าวอ้างว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน เพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลในการพิจารณาพิพากษาคดีได้ ทั้งนี้เนื่องจากการพิจารณาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทต่างๆ จะต้องพิจารณาจากคำฟ้องและคำขอของผู้ฟ้องคดีหรือของโจทก์เป็นหลัก มิใช่พิจารณาจากคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีหรือจำเลย และในคดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองก็มิใช่ผู้ทรงกรรมสิทธิ์หรือผู้ทรงสิทธิครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีเพียงอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางปกครองให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น เมื่อเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจดังกล่าวย่อมไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน หากแต่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง และการที่ศาลปกครองจะวินิจฉัยว่าการใช้อำนาจทางปกครองดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดหรือไม่นั้น แม้ศาลจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็เป็นเพียงข้อเท็จจริงประเด็นหนึ่งที่ศาลจะต้องนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ห้ามมิให้ศาลปกครองดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ และตามมาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก อันเป็นบทบัญญัติที่ยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน นอกจากนั้นหากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้การต่อสู้แต่เพียงว่า คดีนี้มีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี และส่งผลให้คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ย่อมเป็นสิ่งที่ขัดต่อมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ประสงค์ให้คดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีแบบไต่สวนอันเหมาะสมกับลักษณะของคดีพิพาทประเภทนี้โดยเฉพาะ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยสองประเด็นคือ ประเด็นแรก ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่รับรองแนวเขตชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และประเด็นที่สอง ที่ดินพิพาทนายวิชัยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ สำหรับประเด็นแรกเป็นการโต้เถียงถึงอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเป็นการโต้แย้งถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานว่ากระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีในประเด็นนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ส่วนประเด็นที่สองเป็นการโต้เถียงถึงสิทธิในที่ดินโดยผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ เพราะศาลต้องพิจารณาให้ได้ความจริงว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่ดินของนายวิชัยหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์เสียก่อน คดีในประเด็นนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๙/๒๕๔๘
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดที่ดิน ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ศุภจรรยา ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มาระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ แต่ไม่ยินยอมลงชื่อรับรองแนวเขตโดยอ้างว่าสภาพที่ดินของผู้ฟ้องคดีทางทิศเหนือมีทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่าน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่มาร่วมระวังและชี้แนวเขต ผู้ฟ้องคดีขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แก้ไขทางสาธารณประโยชน์ให้ออกไปจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เพิกเฉย ต่อมาสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวอีกครั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มาร่วมระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้มอบหมายให้ตัวแทนมา แต่ไม่ยินยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางด้านทิศเหนือซึ่งติดทางสาธารณประโยชน์พิพาท ผลการรังวัดปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ก่อสร้างทางสาธารณประโยชน์รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี สำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองตรวจสอบที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้ดำเนินการใดๆ ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองรับรองแนวเขตที่ดินตามผลการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ปรับพื้นที่ดินบริเวณทางสาธารณประโยชน์ที่พิพาทส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดีให้กลับสู่สภาพเดิม หากไม่ดำเนินการ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยมีสภาพเป็นทางสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรมาเป็นเวลากว่าสามสิบปีแล้ว โดยนายวิชัย ศุภจรรยา เจ้ามรดก และผู้ฟ้องคดีไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ฟ้องคดีที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินเพื่อประโยชน์ของพลเมืองที่จะได้ใช้ร่วมกันอย่างชัดแจ้ง ถือว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วโดยปริยาย การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่รับรองแนวเขตที่ดินที่มีการรังวัดตามคำฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ที่ดินพิพาทมีสภาพเป็นถนนที่ประชาชนใช้สัญจรเป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เข้าไปดูแลรักษาเมื่อประมาณปี ๒๕๔๐ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นำเสาไฟฟ้าไปปักไว้ในแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยผู้ฟ้องคดีมิได้โต้แย้งคัดค้าน ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ เห็นว่า เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งการที่ศาลจะพิพากษาตามที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมสำหรับประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่รับรองแนวเขต ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองรับรองแนวเขตที่ดินตามผลการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นั้น แม้ศาลปกครองกลางและศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะไม่มีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องเขตอำนาจศาล แต่อำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบัญญัติเรื่องปัญหาเขตอำนาจศาลใน "คดี" ย่อมมิใช่เป็นเพียงอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยเฉพาะประเด็นย่อยในคดี หากแต่มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยเรื่องที่มีมูลคดีเดียวกันได้ทั้งคดี เมื่อประเด็นที่ ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่รับรองแนวเขต สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันและมีมูลคดีเดียวกันกับประเด็นเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นของศาลยุติธรรมเช่นกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางชื่นจิตต์ ศุภจรรยา ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ศุภจรรยา ผู้ฟ้องคดี นายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่ ๑ เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๕/๒๕๕๔
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ นางชื่นจิตต์ ศุภจรรยา ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ศุภจรรยา ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องนายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่ ๑ เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๙๘/๒๕๕๒ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๙๔ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๗๓ ๕/๑๐ ตารางวา ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ศุภจรรยา ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งในวันทำการรังวัดที่ดินตัวแทนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มาระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ แต่ไม่ยินยอมลงชื่อรับรองแนวเขต โดยอ้างว่าสภาพที่ดินของผู้ฟ้องคดีทางทิศเหนือมีทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่านที่ดิน และแนะนำให้ผู้ฟ้องคดีแบ่งหักที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ยินยอม ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่มาร่วมระวังและชี้แนวเขต ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะผู้ทำทางสาธารณประโยชน์ถนนลูกรังตัดผ่านที่ดินของผู้ฟ้องคดีดำเนินการแก้ไขทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวให้ออกไปจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เพิกเฉย ต่อมาสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวอีกครั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มาร่วมระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้มอบหมายให้ตัวแทนมาร่วมระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ แต่ไม่ยินยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางด้านทิศเหนือซึ่งติดทางสาธารณประโยชน์พิพาท ผลการรังวัดสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ก่อสร้างเป็นทางสาธารณประโยชน์ที่มีสภาพเป็นถนนลูกรังรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา สำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองตรวจสอบที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้ดำเนินการใดๆ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ รับรองแนวเขตที่ดินตามผลการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ปรับพื้นที่ดินบริเวณทางสาธารณประโยชน์ที่พิพาทส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๙๔ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของผู้ฟ้องคดีให้กลับสู่สภาพเดิม หากไม่ดำเนินการ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินจำนวน ๗๒๐,๐๐๐ บาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยมีสภาพเป็นทางสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรมาเป็นเวลากว่าสามสิบปีแล้ว โดยนายวิชัย ศุภจรรยา เจ้ามรดก ซึ่งได้รับโอนที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๙๔ มาตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๐๗ และผู้ฟ้องคดีซึ่งได้รับโอนที่ดินในฐานะผู้จัดการมรดกตั้งแต่วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๖ ก็ไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน การกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นการแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ฟ้องคดีที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินเพื่อประโยชน์ของพลเมืองที่จะได้ใช้ร่วมกันอย่างชัดแจ้ง ถือว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วโดยปริยายตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๘๕๙/๒๕๓๕ และที่ ๑๗๒/๒๕๓๖ ซึ่งการอุทิศที่ดินเพื่อเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ตกอยู่ในบังคับว่าด้วยการให้ จึงอาจอุทิศด้วยวาจาหรือโดยปริยายก็ได้ มีผลทำให้ที่ดินที่อุทิศตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว หาจำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่รับรองแนวเขตที่ดินที่มีการรังวัดตามคำฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ที่ดินพิพาทมีสภาพเป็นถนนที่ประชาชนใช้สัญจรเป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ เป็นต้นมา โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เข้าไปดูแลรักษาเมื่อประมาณปี ๒๕๔๐ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นำเสาไฟฟ้าไปปักไว้ในแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีมิได้โต้แย้งคัดค้าน ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ในการพิจารณาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่นั้น จำต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เป็นสำคัญ ซึ่งตามมาตรา ๒๑๘ กำหนดให้ศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเป็นการทั่วไป แต่หากเป็นคดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ เมื่อมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรม จึงต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองก่อนเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้ว ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น นอกจากนั้นจำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่เป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องคดี รวมทั้งคำขอท้ายคำฟ้องประกอบด้วย ซึ่งในแต่ละคดีจะมีความแตกต่างกันและไม่อาจเทียบเคียงกันได้ เมื่อพิจารณาสำนวนคดีนี้แล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กรณีพิพาทมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ลงนามรับรองแนวเขตและการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทำการรับรองแนวเขตที่ดินตามที่ได้มีการรังวัด และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ปรับสภาพที่ดินของผู้ฟ้องคดีให้กลับสู่สภาพเดิม หากไม่สามารถดำเนินการได้ก็ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย กรณีจึงเห็นได้ว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีอำนาจหน้าที่ในการปกครองดูแลที่ดินทางสาธารณประโยชน์ ตามมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ แต่ในวันที่ทำการรังวัดสอบเขตที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กลับมิได้ลงชื่อรับรองแนวเขตโดยอ้างเหตุผลว่า ในการรังวัดสอบเขตที่ดิน ปรากฏว่ามีสภาพทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่านที่ดินและได้แนะนำให้ผู้ขอ (ผู้ฟ้องคดี) แบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ ผู้ขอไม่ยินยอมให้แบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยจะขอประสานกับเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่สามารถลงนามรับรองแนวเขตให้ได้ ทั้งที่หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตามมาตรา ๑๓๐๔ (๒) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ควรอ้างเหตุไม่รับรองแนวเขตที่ดินเนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ และเมื่อสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สอบถามให้ตรวจสอบสถานะที่ดินพิพาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็เพิกเฉยไม่ดำเนินการใดๆ หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ก็ควรแจ้งสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อคัดค้านและให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามมาตรา ๖๙ ทวิ วรรคห้า แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเพียงว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่ยินยอมรับรองแนวเขตที่ดินพิพาทตามผลการรังวัดเพราะเหตุผู้ฟ้องคดีไม่ยินยอมแบ่งหักที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับกรณีของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว และมีอำนาจหน้าที่ในการให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ ตามมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ก่อสร้างทางสาธารณประโยชน์รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีตามหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๙๔ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ โดยมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แก้ไขปรับพื้นที่ให้กลับสู่สภาพเดิม หากไม่ดำเนินการให้ชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเมื่อพิจารณาคำชี้แจงของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พบว่า ตามรูปแผนที่ผลการรังวัดในครั้งที่สองปรากฏว่า ทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่านที่ดินของผู้ฟ้องคดี คดีจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเพียงว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ สร้างทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่านที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ จึงเป็นกรณีที่มีการฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ตามมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะอ้างในคำให้การว่า ที่ดินบริเวณพิพาทประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันจนมีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์ และอ้างเป็นเหตุว่าคดีนี้มีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินนั้น ก็คงเป็นแต่เพียงคำให้การเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้ของตนในประเด็นเนื้อหาของคดีเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กระทำการโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หาใช่เป็นกรณีพิพาทที่มีการโต้แย้งสิทธิในที่ดินกันแต่อย่างใด และไม่อาจนำประเด็นตามคำให้การดังกล่าวมากล่าวอ้างว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน เพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลในการพิจารณาพิพากษาคดีได้ ทั้งนี้เนื่องจากการพิจารณาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทต่างๆ จะต้องพิจารณาจากคำฟ้องและคำขอของผู้ฟ้องคดีหรือของโจทก์เป็นหลัก มิใช่พิจารณาจากคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีหรือจำเลย และในคดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองก็มิใช่ผู้ทรงกรรมสิทธิ์หรือผู้ทรงสิทธิครอบครองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีเพียงอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางปกครองให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น เมื่อเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจดังกล่าวย่อมไม่ใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน หากแต่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง และการที่ศาลปกครองจะวินิจฉัยว่าการใช้อำนาจทางปกครองดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดหรือไม่นั้น แม้ศาลจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็เป็นเพียงข้อเท็จจริงประเด็นหนึ่งที่ศาลจะต้องนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ห้ามมิให้ศาลปกครองดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ และตามมาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก อันเป็นบทบัญญัติที่ยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน นอกจากนั้นหากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้การต่อสู้แต่เพียงว่า คดีนี้มีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี และส่งผลให้คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ย่อมเป็นสิ่งที่ขัดต่อมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ประสงค์ให้คดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีแบบไต่สวนอันเหมาะสมกับลักษณะของคดีพิพาทประเภทนี้โดยเฉพาะ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยสองประเด็นคือ ประเด็นแรก ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่รับรองแนวเขตชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และประเด็นที่สอง ที่ดินพิพาทนายวิชัยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ สำหรับประเด็นแรกเป็นการโต้เถียงถึงอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเป็นการโต้แย้งถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานว่ากระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีในประเด็นนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ส่วนประเด็นที่สองเป็นการโต้เถียงถึงสิทธิในที่ดินโดยผู้ฟ้องคดีมุ่งประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ เพราะศาลต้องพิจารณาให้ได้ความจริงว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่ดินของนายวิชัยหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์เสียก่อน คดีในประเด็นนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๙/๒๕๔๘
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดที่ดิน ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ศุภจรรยา ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มาระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ แต่ไม่ยินยอมลงชื่อรับรองแนวเขตโดยอ้างว่าสภาพที่ดินของผู้ฟ้องคดีทางทิศเหนือมีทางสาธารณประโยชน์ตัดผ่าน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่มาร่วมระวังและชี้แนวเขต ผู้ฟ้องคดีขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แก้ไขทางสาธารณประโยชน์ให้ออกไปจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เพิกเฉย ต่อมาสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวอีกครั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มาร่วมระวังและชี้แนวเขตทางสาธารณประโยชน์ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้มอบหมายให้ตัวแทนมา แต่ไม่ยินยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางด้านทิศเหนือซึ่งติดทางสาธารณประโยชน์พิพาท ผลการรังวัดปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ก่อสร้างทางสาธารณประโยชน์รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี สำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จึงแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองตรวจสอบที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้ดำเนินการใดๆ ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองรับรองแนวเขตที่ดินตามผลการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ปรับพื้นที่ดินบริเวณทางสาธารณประโยชน์ที่พิพาทส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดีให้กลับสู่สภาพเดิม หากไม่ดำเนินการ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยมีสภาพเป็นทางสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรมาเป็นเวลากว่าสามสิบปีแล้ว โดยนายวิชัย ศุภจรรยา เจ้ามรดก และผู้ฟ้องคดีไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ฟ้องคดีที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินเพื่อประโยชน์ของพลเมืองที่จะได้ใช้ร่วมกันอย่างชัดแจ้ง ถือว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินให้เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วโดยปริยาย การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่รับรองแนวเขตที่ดินที่มีการรังวัดตามคำฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริงแล้ว ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ที่ดินพิพาทมีสภาพเป็นถนนที่ประชาชนใช้สัญจรเป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เข้าไปดูแลรักษาเมื่อประมาณปี ๒๕๔๐ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นำเสาไฟฟ้าไปปักไว้ในแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยผู้ฟ้องคดีมิได้โต้แย้งคัดค้าน ทางพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๘๒ เห็นว่า เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งการที่ศาลจะพิพากษาตามที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมสำหรับประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่รับรองแนวเขต ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองรับรองแนวเขตที่ดินตามผลการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นั้น แม้ศาลปกครองกลางและศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะไม่มีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องเขตอำนาจศาล แต่อำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบัญญัติเรื่องปัญหาเขตอำนาจศาลใน "คดี" ย่อมมิใช่เป็นเพียงอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยเฉพาะประเด็นย่อยในคดี หากแต่มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยเรื่องที่มีมูลคดีเดียวกันได้ทั้งคดี เมื่อประเด็นที่ ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่รับรองแนวเขต สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันและมีมูลคดีเดียวกันกับประเด็นเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นของศาลยุติธรรมเช่นกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางชื่นจิตต์ ศุภจรรยา ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายวิชัย ศุภจรรยา ผู้ฟ้องคดี นายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่ ๑ เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๔/๒๕๕๔
วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองนครราชสีมา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดอุบลราชธานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครราชสีมาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ นางสาวจารุวรรณ ทวีสิทธิ์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองนครราชสีมา เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๐๖/๒๕๕๒ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๙๔ บิดาและมารดาของผู้ฟ้องคดีซื้อที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์จากผู้มีชื่อ ต่อมาบิดาของผู้ฟ้องคดีได้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘ เนื้อที่ ๓๖ ตารางวา เมื่อบิดามารดาของผู้ฟ้องคดีถึงแก่กรรมผู้ฟ้องคดีและพี่น้องรวม ๓ คน ได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อจากบิดาและมารดาถึงปัจจุบัน ที่ดินดังกล่าวอยู่ติดกับที่ดินของนายวิฤทธิ์ ทวีสิทธิ์ ซึ่งออกโฉนดที่ดินได้ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๑ ผู้ฟ้องคดียื่นขอออกโฉนดที่ดินตามหลักฐาน ส.ค. ๑ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่า ผู้ฟ้องคดีได้นำรังวัดทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ เต็มทั้งแปลง ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พิจารณาอุทธรณ์แล้วไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีความเห็นยืนตามความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอฉบับที่ ๒๒๗/๒๒๗/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๑ ให้ผู้ฟ้องคดี และให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของ ผู้ฟ้องคดีเนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีนำรังวัดออกโฉนดที่ดินทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ อบ ๔๕๙๙ เต็มทั้งแปลง หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวออกตามคำขอของอำเภอเมืองอุบลราชธานีซึ่งแจ้งขอรังวัดแปลงที่สาธารณประโยชน์ "ริมแม่น้ำมูล" ผู้ฟ้องคดีเคยคัดค้านอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ไม่ได้คัดค้านภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงจึงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้วศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง โดยที่การออกโฉนดที่ดินตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่า เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควรให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กำหนด และมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินสาขา หรือเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมายเป็นผู้ลงนามออกโฉนดที่ดิน ซึ่งในการดำเนินการออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินเจ้าพนักงานที่ดินจะต้องดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และกรณีเจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งยกเลิกคำขอที่ยื่นขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน คำสั่งยกเลิกคำขอดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่า เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พิจารณาแล้วมีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีดังกล่าว จึงเป็นการใช้อำนาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดินตามหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามคำขอลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๑ แล้วได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ว่า ช่างรังวัดได้ดำเนินการรังวัดที่ดินแล้วปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีได้นำรังวัดทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เต็มทั้งแปลง ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดียื่นขอออกโฉนดที่ดินจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ออกโฉนดที่ดินได้ตามข้อ ๑๔ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีคำสั่งตามหนังสือลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงได้อุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นฟ้องคดีนี้โดยมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๑ ให้ผู้ฟ้องคดี และให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี ตามคำฟ้องและคำขอดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีประสงค์ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี และเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี อีกทั้งให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี แล้วให้ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอให้ผู้ฟ้องคดี อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ทั้งนี้ แม้คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินตามหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘ ที่พิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ หรือเป็นที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ ๔๕๙๙ ประเด็นดังกล่าวก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดีอันเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งยกเลิกและไม่ออกโฉนดที่ดินตามคำขอให้ผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำการที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และแม้การพิจารณาว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่พิพาทดังกล่าวหรือไม่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่การพิจารณาในปัญหาดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ หรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะศาลหนึ่งศาลใดเท่านั้นที่จะนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน และนอกจากนั้นมาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันเป็นบทบัญญัติที่ยืนยันให้เห็นว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินและนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีได้ อีกทั้ง มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับสั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีการฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธิหรือหน้าที่นั้น อันเป็นกฎหมายอีกมาตราหนึ่งที่ยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินและเมื่อพิจารณาคำฟ้องของผู้ฟ้องคดี เห็นได้ว่า การที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอท้ายคำฟ้องให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดให้แก่ผู้ฟ้องคดีและให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีนั้น เท่ากับว่า ผู้ฟ้องคดีประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธิที่ผู้ฟ้องคดีมีอยู่เหนือที่ดินพิพาท ซึ่งตามกรณีพิพาทในคดีนี้ศาลปกครองมีอำนาจออกคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) และ (๔) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือดำเนินกิจการทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับตามคำขอของผู้ฟ้องคดีตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) และ (๔) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ครอบครองต่อเนื่องมาจากบิดาและมารดา ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจออกเอกสารสิทธิในที่ดินได้ อันเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีที่ฟ้องคดีต่อศาล ก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินของผู้ฟ้องคดี การที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้ผู้ฟ้องคดี รวมทั้งให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไปได้ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า บิดามารดาของผู้ฟ้องคดีซื้อที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์จากผู้มีชื่อ และแจ้งการครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘ เนื้อที่ ๓๖ ตารางวา หลังจากบิดามารดาของผู้ฟ้องคดีถึงแก่กรรม ผู้ฟ้องคดียื่นขอออกโฉนดที่ดินตามหลักฐาน ส.ค. ๑ ดังกล่าว แต่ได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่า ผู้ฟ้องคดีนำรังวัดทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ เต็มทั้งแปลง ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ออกโฉนดที่ดินได้ และมีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดิน ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีความเห็นยืนตามความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอให้ผู้ฟ้องคดี และให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ให้การว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีเนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีนำรังวัดออกโฉนดที่ดินทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ อบ ๔๕๙๙ เต็มทั้งแปลง หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวออกตามคำขอของอำเภอเมืองอุบลราชธานีซึ่งแจ้งขอรังวัดแปลงที่สาธารณประโยชน์ "ริมแม่น้ำมูล" ผู้ฟ้องคดีเคยคัดค้านอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ไม่ได้คัดค้านภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงจึงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้น ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางสาวจารุวรรณ ทวีสิทธิ์ ผู้ฟ้องคดี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๔/๒๕๕๔
วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองนครราชสีมา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดอุบลราชธานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครราชสีมาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ นางสาวจารุวรรณ ทวีสิทธิ์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองนครราชสีมา เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๐๖/๒๕๕๒ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๔๙๔ บิดาและมารดาของผู้ฟ้องคดีซื้อที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์จากผู้มีชื่อ ต่อมาบิดาของผู้ฟ้องคดีได้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘ เนื้อที่ ๓๖ ตารางวา เมื่อบิดามารดาของผู้ฟ้องคดีถึงแก่กรรมผู้ฟ้องคดีและพี่น้องรวม ๓ คน ได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อจากบิดาและมารดาถึงปัจจุบัน ที่ดินดังกล่าวอยู่ติดกับที่ดินของนายวิฤทธิ์ ทวีสิทธิ์ ซึ่งออกโฉนดที่ดินได้ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๑ ผู้ฟ้องคดียื่นขอออกโฉนดที่ดินตามหลักฐาน ส.ค. ๑ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่า ผู้ฟ้องคดีได้นำรังวัดทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ เต็มทั้งแปลง ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ออกโฉนดที่ดินได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พิจารณาอุทธรณ์แล้วไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีความเห็นยืนตามความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอฉบับที่ ๒๒๗/๒๒๗/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๑ ให้ผู้ฟ้องคดี และให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของ ผู้ฟ้องคดีเนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีนำรังวัดออกโฉนดที่ดินทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ อบ ๔๕๙๙ เต็มทั้งแปลง หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวออกตามคำขอของอำเภอเมืองอุบลราชธานีซึ่งแจ้งขอรังวัดแปลงที่สาธารณประโยชน์ "ริมแม่น้ำมูล" ผู้ฟ้องคดีเคยคัดค้านอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ไม่ได้คัดค้านภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงจึงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมจะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลปกครองเป็นสำคัญ หากคดีพิพาทใดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแล้วศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ตามนัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๑๘ และมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง โดยที่การออกโฉนดที่ดินตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่า เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นสมควรให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลกฎหมายนี้กำหนด และมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินสาขา หรือเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมายเป็นผู้ลงนามออกโฉนดที่ดิน ซึ่งในการดำเนินการออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินเจ้าพนักงานที่ดินจะต้องดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และกรณีเจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งยกเลิกคำขอที่ยื่นขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน คำสั่งยกเลิกคำขอดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อคดีนี้ปรากฏว่า เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พิจารณาแล้วมีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีดังกล่าว จึงเป็นการใช้อำนาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดินตามหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามคำขอลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๑ แล้วได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ว่า ช่างรังวัดได้ดำเนินการรังวัดที่ดินแล้วปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีได้นำรังวัดทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เต็มทั้งแปลง ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดียื่นขอออกโฉนดที่ดินจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ออกโฉนดที่ดินได้ตามข้อ ๑๔ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีคำสั่งตามหนังสือลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงได้อุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นฟ้องคดีนี้โดยมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๑ ให้ผู้ฟ้องคดี และให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี ตามคำฟ้องและคำขอดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีประสงค์ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี และเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี อีกทั้งให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี แล้วให้ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอให้ผู้ฟ้องคดี อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ทั้งนี้ แม้คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินตามหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘ ที่พิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ หรือเป็นที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ ๔๕๙๙ ประเด็นดังกล่าวก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลต้องพิจารณาในเนื้อหาของคดีอันเป็นเพียงประเด็นปัญหาย่อยหนึ่งในหลายประเด็นปัญหาที่จะพิจารณาว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งยกเลิกและไม่ออกโฉนดที่ดินตามคำขอให้ผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำการที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และแม้การพิจารณาว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่พิพาทดังกล่าวหรือไม่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่การพิจารณาในปัญหาดังกล่าวก็มิใช่เกณฑ์การพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดห้ามศาลปกครองมิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ หรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้เป็นอำนาจเฉพาะศาลหนึ่งศาลใดเท่านั้นที่จะนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้ ศาลปกครองจึงนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีได้เช่นเดียวกัน และนอกจากนั้นมาตรา ๗๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินมีผลผูกพันบุคคลภายนอก คู่กรณีที่เกี่ยวข้องอาจอ้างกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า อันเป็นบทบัญญัติที่ยืนยันให้เห็นว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับสิทธิแห่งทรัพย์สินและนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีได้ อีกทั้ง มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับสั่งให้ถือปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีที่มีการฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธิหรือหน้าที่นั้น อันเป็นกฎหมายอีกมาตราหนึ่งที่ยืนยันให้เห็นว่าศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินและเมื่อพิจารณาคำฟ้องของผู้ฟ้องคดี เห็นได้ว่า การที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอท้ายคำฟ้องให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดให้แก่ผู้ฟ้องคดีและให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีนั้น เท่ากับว่า ผู้ฟ้องคดีประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงความเป็นอยู่ของสิทธิที่ผู้ฟ้องคดีมีอยู่เหนือที่ดินพิพาท ซึ่งตามกรณีพิพาทในคดีนี้ศาลปกครองมีอำนาจออกคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) และ (๔) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือดำเนินกิจการทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และศาลปกครองมีอำนาจออกคำบังคับตามคำขอของผู้ฟ้องคดีตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) และ (๔) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดอุบลราชธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ครอบครองต่อเนื่องมาจากบิดาและมารดา ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจออกเอกสารสิทธิในที่ดินได้ อันเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ทั้งความมุ่งหมายของผู้ฟ้องคดีที่ฟ้องคดีต่อศาล ก็เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินของผู้ฟ้องคดี การที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้ผู้ฟ้องคดี รวมทั้งให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญแล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไปได้ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า บิดามารดาของผู้ฟ้องคดีซื้อที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์จากผู้มีชื่อ และแจ้งการครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๙๘ เนื้อที่ ๓๖ ตารางวา หลังจากบิดามารดาของผู้ฟ้องคดีถึงแก่กรรม ผู้ฟ้องคดียื่นขอออกโฉนดที่ดินตามหลักฐาน ส.ค. ๑ ดังกล่าว แต่ได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่า ผู้ฟ้องคดีนำรังวัดทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่ อบ ๔๕๙๙ เต็มทั้งแปลง ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ออกโฉนดที่ดินได้ และมีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดิน ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีความเห็นยืนตามความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามคำขอให้ผู้ฟ้องคดี และให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ อบ ๔๕๙๙ ในส่วนที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ให้การว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งยกเลิกคำขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีเนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีนำรังวัดออกโฉนดที่ดินทับที่ดินตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ อบ ๔๕๙๙ เต็มทั้งแปลง หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวออกตามคำขอของอำเภอเมืองอุบลราชธานีซึ่งแจ้งขอรังวัดแปลงที่สาธารณประโยชน์ "ริมแม่น้ำมูล" ผู้ฟ้องคดีเคยคัดค้านอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ไม่ได้คัดค้านภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงจึงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้น ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางสาวจารุวรรณ ทวีสิทธิ์ ผู้ฟ้องคดี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี ที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๓/๒๕๕๔
วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลจังหวัดสระบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสระบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ บริษัทสระบุรี คอมพ์ โฟกัส จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องจังหวัดสระบุรี จำเลย เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๓๑๘๖/๒๕๕๑ ความว่า เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๙ จำเลยมอบอำนาจให้นายดุษฎี ศิลปไพบูลย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรี ทำสัญญาซื้อครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการ จากโจทก์ ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ๓๙๙,๓๐๐ บาท กำหนดส่งมอบสินค้าและชำระราคาภายในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ และเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ได้วางเงินประกันค่าเสียหายจำนวน ๑๙,๙๖๕ บาท ต่อมาวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามเวลาที่กำหนด แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระเงินในวันส่งมอบสินค้า ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์ทวงถามให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีในฐานะกระทำการแทนจำเลยและนายดุษฎีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรี ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย ชำระหนี้เป็นเงินค่าสินค้าหลายครั้ง แต่บุคคลทั้งสองเพิกเฉย การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าสินค้าจำนวน ๓๙๙,๓๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ จนถึงวันฟ้อง คิดเป็นเงินค่าเสียหายรวมเป็นเงินจำนวน ๔๖๙,๑๗๗.๕๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๓๙๙,๓๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ อนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๑ โจทก์ได้เคยยื่นฟ้องจำเลยและนายดุษฎีต่อศาลปกครองกลางแล้ว แต่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยให้เหตุผลว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่มีหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นคู่สัญญาเท่านั้น คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง (คดีของศาลปกครองกลาง หมายเลขแดงที่ ๗๐๕/๒๕๕๑)
จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยจำเลยมิได้ผิดนัด เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักฐานในการตรวจรับสิ่งของมาแสดง อีกทั้งโจทก์เองไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการส่งมอบ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เนื่องจากสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีระหว่างโจทก์และจำเลยจัดทำขึ้นภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดประกอบด้วย จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสิงห์บุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นแหล่งบริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ของจังหวัดให้ประสบความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะในหน้าที่ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดสระบุรี ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วย การจัดซื้อครุภัณฑ์ไอที ๕ รายการ การจ้างเหมาจัดทำข้อมูลเข้าสู่ระบบและจ้างเหมาดูแลระบบข้อมูล ซึ่งการจัดทำข้อมูลเข้าสู่ระบบดังกล่าวจะต้องบันทึกข้อมูลลงในครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าว ครุภัณฑ์ไอทีและการจัดทำข้อมูลเข้าสู่ระบบซึ่งเป็นวัตถุแห่งสัญญาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองในกำกับดูแลของจำเลย ใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะในหน้าที่ให้บรรลุผล สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีและสัญญาจ้างเหมาจัดทำข้อมูลเข้าสู่ระบบจึงเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสระบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้คดีนี้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งคือจำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครอง และการจัดซื้อครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าวเป็นไปตามโครงการประกอบด้วยการจัดซื้อครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการ การจ้างเหมาจัดทำข้อมูล และฝึกสอนผู้ดูแลระบบและการจ้างเหมาดูแลระบบ แต่เมื่อพิจารณาตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการตามที่กำหนด ณ ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรี พร้อมทั้งหีบห่อเครื่องรัดพันผูกโดยเรียบร้อยเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำข้อมูล ฝึกสอนผู้ดูแลระบบหรือดูแลระบบแต่อย่างใด การจัดซื้อครุภัณฑ์ไอทีจึงเป็นเพียงสัญญาจัดหาพัสดุธรรมดาเพื่อสนับสนุนการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลยเท่านั้น สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาทางปกครอง แต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่มีหน่วยงานทางปกครองของรัฐเป็นคู่สัญญาเท่านั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดข้อตกลงไม่ชำระราคาค่าสินค้าแก่โจทก์และฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขาย ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีระหว่างโจทก์และจำเลยจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในโครงการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดของจังหวัดสระบุรี งบประมาณเหลือจ่ายจากโครงการส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์เชิงรุกของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน กลุ่ม ๒ จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสิงห์บุรี โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดสระบุรีและกลุ่มจังหวัด และเป็นแหล่งบริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรีและกลุ่มจังหวัด ดังนั้น การจัดซื้อครุภัณฑ์ไอที ๕ รายการในคดีพิพาทนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดของจังหวัดสระบุรี ทั้งนี้เมื่อได้จัดซื้อครุภัณฑ์ไอทีแล้วจะต้องมีการบันทึกข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเข้าสู่ระบบครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าว โดยจำเลยจะนำครุภัณฑ์ไอทีที่ได้บันทึกข้อมูลด้านการท่องเที่ยวตามโครงการไปตั้งวางให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดแก่ประชาชนทั่วไปในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ครุภัณฑ์ไอทีในสัญญาพิพาท จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการดำเนินบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรีให้บรรลุผล สัญญาจัดซื้อครุภัณฑ์ไอที ๕ รายการ ระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิใช่สัญญาจัดหาพัสดุธรรมดาที่สนับสนุนการจัดการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลยเท่านั้น ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ จำเลยมอบอำนาจให้นายดุษฎี ศิลปไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของจำเลย ทำสัญญาซื้อครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการ จากโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่โจทก์อ้างว่า จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าว ส่วนจำเลยก็ให้การว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยจำเลยมิได้ผิดนัด เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักฐานในการตรวจรับสิ่งของมาแสดง อีกทั้งโจทก์เองไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการส่งมอบ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวเนื่องกับสัญญาซื้อขายดังกล่าว คดีนี้จึงต้องพิจารณาว่า สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ บัญญัติว่า สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ คดีนี้จำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและรับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๕๔ และมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ เมื่อจำเลยมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของจำเลยทำสัญญาซื้อครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการ ที่มีสาระสำคัญให้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนจัดหาและส่งมอบครุภัณฑ์ไอทีเพื่อใช้ในโครงการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดของจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดสระบุรีและกลุ่มจังหวัด และเป็นแหล่งบริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรีและกลุ่มจังหวัด อันเป็นภารกิจเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะอย่างหนึ่งในการพัฒนาการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการของรัฐ ครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลยให้บรรลุผล สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง บริษัทสระบุรี คอมพ์ โฟกัส จำกัด โจทก์ จังหวัดสระบุรี จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๓/๒๕๕๔
วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลจังหวัดสระบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสระบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ บริษัทสระบุรี คอมพ์ โฟกัส จำกัด โจทก์ ยื่นฟ้องจังหวัดสระบุรี จำเลย เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๓๑๘๖/๒๕๕๑ ความว่า เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๙ จำเลยมอบอำนาจให้นายดุษฎี ศิลปไพบูลย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรี ทำสัญญาซื้อครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการ จากโจทก์ ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ๓๙๙,๓๐๐ บาท กำหนดส่งมอบสินค้าและชำระราคาภายในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ และเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ได้วางเงินประกันค่าเสียหายจำนวน ๑๙,๙๖๕ บาท ต่อมาวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามเวลาที่กำหนด แต่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระเงินในวันส่งมอบสินค้า ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์ทวงถามให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีในฐานะกระทำการแทนจำเลยและนายดุษฎีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรี ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย ชำระหนี้เป็นเงินค่าสินค้าหลายครั้ง แต่บุคคลทั้งสองเพิกเฉย การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าสินค้าจำนวน ๓๙๙,๓๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ จนถึงวันฟ้อง คิดเป็นเงินค่าเสียหายรวมเป็นเงินจำนวน ๔๖๙,๑๗๗.๕๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๓๙๙,๓๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ อนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๑ โจทก์ได้เคยยื่นฟ้องจำเลยและนายดุษฎีต่อศาลปกครองกลางแล้ว แต่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยให้เหตุผลว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งที่มีหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นคู่สัญญาเท่านั้น คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง (คดีของศาลปกครองกลาง หมายเลขแดงที่ ๗๐๕/๒๕๕๑)
จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยจำเลยมิได้ผิดนัด เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักฐานในการตรวจรับสิ่งของมาแสดง อีกทั้งโจทก์เองไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการส่งมอบ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม เนื่องจากสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีระหว่างโจทก์และจำเลยจัดทำขึ้นภายใต้โครงการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดประกอบด้วย จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสิงห์บุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นแหล่งบริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ของจังหวัดให้ประสบความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะในหน้าที่ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดสระบุรี ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วย การจัดซื้อครุภัณฑ์ไอที ๕ รายการ การจ้างเหมาจัดทำข้อมูลเข้าสู่ระบบและจ้างเหมาดูแลระบบข้อมูล ซึ่งการจัดทำข้อมูลเข้าสู่ระบบดังกล่าวจะต้องบันทึกข้อมูลลงในครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าว ครุภัณฑ์ไอทีและการจัดทำข้อมูลเข้าสู่ระบบซึ่งเป็นวัตถุแห่งสัญญาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองในกำกับดูแลของจำเลย ใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะในหน้าที่ให้บรรลุผล สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีและสัญญาจ้างเหมาจัดทำข้อมูลเข้าสู่ระบบจึงเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสระบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้คดีนี้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งคือจำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครอง และการจัดซื้อครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าวเป็นไปตามโครงการประกอบด้วยการจัดซื้อครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการ การจ้างเหมาจัดทำข้อมูล และฝึกสอนผู้ดูแลระบบและการจ้างเหมาดูแลระบบ แต่เมื่อพิจารณาตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการตามที่กำหนด ณ ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรี พร้อมทั้งหีบห่อเครื่องรัดพันผูกโดยเรียบร้อยเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำข้อมูล ฝึกสอนผู้ดูแลระบบหรือดูแลระบบแต่อย่างใด การจัดซื้อครุภัณฑ์ไอทีจึงเป็นเพียงสัญญาจัดหาพัสดุธรรมดาเพื่อสนับสนุนการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลยเท่านั้น สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาทางปกครอง แต่เป็นสัญญาทางแพ่งที่มีหน่วยงานทางปกครองของรัฐเป็นคู่สัญญาเท่านั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยผิดข้อตกลงไม่ชำระราคาค่าสินค้าแก่โจทก์และฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขาย ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่ง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีระหว่างโจทก์และจำเลยจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในโครงการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดของจังหวัดสระบุรี งบประมาณเหลือจ่ายจากโครงการส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์เชิงรุกของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน กลุ่ม ๒ จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสิงห์บุรี โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดสระบุรีและกลุ่มจังหวัด และเป็นแหล่งบริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรีและกลุ่มจังหวัด ดังนั้น การจัดซื้อครุภัณฑ์ไอที ๕ รายการในคดีพิพาทนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดของจังหวัดสระบุรี ทั้งนี้เมื่อได้จัดซื้อครุภัณฑ์ไอทีแล้วจะต้องมีการบันทึกข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเข้าสู่ระบบครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าว โดยจำเลยจะนำครุภัณฑ์ไอทีที่ได้บันทึกข้อมูลด้านการท่องเที่ยวตามโครงการไปตั้งวางให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดแก่ประชาชนทั่วไปในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ครุภัณฑ์ไอทีในสัญญาพิพาท จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการดำเนินบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ของศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดสระบุรีให้บรรลุผล สัญญาจัดซื้อครุภัณฑ์ไอที ๕ รายการ ระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิใช่สัญญาจัดหาพัสดุธรรมดาที่สนับสนุนการจัดการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลยเท่านั้น ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ จำเลยมอบอำนาจให้นายดุษฎี ศิลปไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของจำเลย ทำสัญญาซื้อครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการ จากโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่โจทก์อ้างว่า จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าว ส่วนจำเลยก็ให้การว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยจำเลยมิได้ผิดนัด เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักฐานในการตรวจรับสิ่งของมาแสดง อีกทั้งโจทก์เองไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการส่งมอบ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวเนื่องกับสัญญาซื้อขายดังกล่าว คดีนี้จึงต้องพิจารณาว่า สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ บัญญัติว่า สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ คดีนี้จำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและรับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๕๔ และมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ เมื่อจำเลยมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของจำเลยทำสัญญาซื้อครุภัณฑ์ไอทีจำนวน ๕ รายการ ที่มีสาระสำคัญให้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนจัดหาและส่งมอบครุภัณฑ์ไอทีเพื่อใช้ในโครงการจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดของจังหวัดสระบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดสระบุรีและกลุ่มจังหวัด และเป็นแหล่งบริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรีและกลุ่มจังหวัด อันเป็นภารกิจเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะอย่างหนึ่งในการพัฒนาการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการของรัฐ ครุภัณฑ์ไอทีดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นต่อการจัดทำบริการสาธารณะของจำเลยให้บรรลุผล สัญญาซื้อขายครุภัณฑ์ไอทีระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง บริษัทสระบุรี คอมพ์ โฟกัส จำกัด โจทก์ จังหวัดสระบุรี จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๒/๒๕๕๔
วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒ นายสุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ โจทก์ ยื่นฟ้องนายธัชชัย สุมิตร ที่ ๑ กับพวกรวม ๓๔ คน จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๔๙/๒๕๕๒ ความว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๒๗ มีตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำเลยที่ ๒๘ ถึงที่ ๓๒ มีตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจำเลยที่ ๓๓ ถึงที่ ๓๔ เป็นพนักงานสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ แต่งตั้งโจทก์เป็นผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีวาระ ๔ ปี ซึ่งโจทก์และสถาบันทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวกำหนดหน้าที่ วิธีปฏิบัติงาน และเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ไว้ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ แต่งตั้งจำเลยที่ ๑๙ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการประเมินผลเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ แต่จำเลยที่ ๑๙ ถึงที่ ๒๔ ไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์ประเมินผลที่โจทก์ทำกับสถาบัน อ้างว่าหลักเกณฑ์ประเมินผลดังกล่าวไม่เพียงพอ และจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เห็นชอบให้จัดทำร่างเกณฑ์ประเมินผลใหม่โดยให้ปรึกษาหารือกับโจทก์อย่างใกล้ชิดและให้ยึดแนวทางที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับสถาบัน แต่จำเลยที่ ๑๙ ถึงที่ ๒๔ ไม่ได้ปรึกษาหารือกับโจทก์และไม่ได้ยึดแนวทางที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับสถาบันในการจัดทำร่างหลักเกณฑ์ประเมินผลขึ้นใหม่ โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินว่าผู้รับการประเมินจะต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ให้ความเห็นชอบ ทั้งให้โจทก์จัดทำแผนปรับปรุงการทำงานของตนเองซึ่งไม่อยู่ในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับสถาบัน ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ลงมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการ โดยให้เหตุผลว่าแผนปรับปรุงการทำงานของโจทก์ไม่เป็นแผนงานพัฒนาองค์กรแบบก้าวกระโดดและขาดภาวะผู้นำ ถือว่าการปฏิบัติงานของโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ การกระทำของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ปราศจากความเป็นธรรม ไม่ยึดถือข้อตกลงตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับสถาบัน โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ จำเลยที่ ๑ ในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบันได้ออกประกาศแจ้งมติคณะกรรมการครั้งที่ ๔๐๔/๒/๒๕๕๑ กรณีให้โจทก์พ้นจากตำแหน่ง และมีคำสั่งให้ออกหนังสือเวียนแจ้งข้อความในประกาศดังกล่าวส่งไปยังทุกหน่วยงานของสถาบัน เพื่อให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ทั้งที่เป็นการประชุมลับ ส่วนจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ ร่วมกันทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นกล่าวหาโจทก์ว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความแตกแยกในองค์กร นอกจากนี้จำเลยที่ ๒๕ ที่ ๓๓ และที่ ๓๔ ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายในองค์กรสถาบัน ใส่ความโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งหมดดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามสิบสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ กับให้ลงข้อความขอโทษในหนังสือพิมพ์รายวัน ๓ ฉบับ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน ๗ วัน
จำเลยทั้งสามสิบสี่ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ประเมินโจทก์ด้วยความเป็นธรรมถูกต้องตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ และไม่ได้กลั่นแกล้งโจทก์ การแจ้งมติของคณะกรรมการเป็นการแจ้งข่าวการประชุมมิได้บิดเบือนไปจากมติของคณะกรรมการ และข้อความที่แจ้งก็ไม่ได้ทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง และไม่เป็นการจงใจทำลายชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ไม่เคยออกคำสั่งให้ออกหนังสือเวียน และไม่เคยแพร่ข่าวลงหนังสือพิมพ์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ เป็นการสื่อสารกับพนักงานของสถาบันด้วยความชอบธรรม และไม่มีข้อความใดกล่าวใส่ร้ายโจทก์อันจะทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การเขียนบทความลงในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยที่ ๓๔ เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตอยู่ในวิสัยย่อมกระทำได้และไม่ทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยทั้งสามสิบสี่ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบกรณีมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งอันเป็นคำสั่งทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ทั้งโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ และคณะรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๘๙๐/๒๕๕๑ อ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน และลงมติให้พ้นจากตำแหน่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับคดีนี้
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ มีวัตถุประสงค์ในการริเริ่ม ดำเนินการ ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนรู้ วิธีสอน และการประเมินผลการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก ฯลฯ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามความหมายในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบัน ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสถาบันโจทก์ย่อมเป็นผู้แทนของสถาบันด้วย ดังนั้นสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้อำนวยการสถาบัน จึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่าจ้างให้โจทก์เป็นผู้แทนของสถาบัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง โดยมีจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน และโดยเฉพาะมีอำนาจและหน้าที่ออกข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ฯลฯ จึงเป็นคณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล ดังนั้น จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องโดยอ้างว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ปราศจากความเป็นธรรมไม่ยึดถือข้อตกลงตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับสถาบัน โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันก่อนครบกำหนดวาระ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะเป็นคดีปกครอง อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยลงมติในการประชุมคณะกรรมการของสถาบันให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันโดยระบุว่า "โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่" แล้วนำไปเผยแพร่ต่อบุคคลทั่วไป เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง และยังได้เผยแพร่ต่อสื่อมวลชน เหตุดังกล่าวก็สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ มีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันจึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์โดยไม่ยึดถือข้อตกลงตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับสถาบันและมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งทั้งยังมีคำสั่งให้ออกหนังสือเวียนเพื่อแจ้งเรื่องให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งส่งไปยังทุกหน่วยงานของสถาบันจึงเป็นการดำเนินการตามหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนี้ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ จึงมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวเนื่องกับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ และเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวเนื่องกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและเกี่ยวเนื่องกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันมีลักษณะเป็นคดีปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ชึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครองเช่นกัน
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการสถาบัน จำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๒๗ มีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการสถาบัน จำเลยที่ ๒๘ ถึงที่ ๓๒ มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน และจำเลยที่ ๓๓ ถึงที่ ๓๔ เป็นพนักงานของสถาบัน ดังนั้น จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓๔ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ โดยจำเลยที่ ๑ ในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบัน ออกประกาศ เรื่อง แจ้งมติคณะกรรมการสถาบัน ครั้งที่ ๔๐๔/๒/๒๕๕๑ ที่มีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน ต่อมามีคำสั่งคณะกรรมการสถาบัน ที่ ๒/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๑ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์และให้ถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่ จากนั้นจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ มีคำสั่งให้ออกหนังสือเวียนเพื่อแจ้งข้อความในประกาศดังกล่าวส่งไปยังหน่วยงานภายในสถาบัน และแจ้งส่งข้อความเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังพนักงานสถาบันทุกคน ทั้งยังได้นำความดังกล่าวลงหนังสือพิมพ์อีกด้วย โดยที่มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ในฐานะคณะกรรมการสถาบันมีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน และโดยเฉพาะมีอำนาจและหน้าที่ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสถาบัน และข้อบังคับว่าด้วยการออกจากตำแหน่งของผู้อำนวยการสถาบันหาได้บัญญัติให้มีอำนาจกระทำการดังที่โจทก์กล่าวหาแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการที่จำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ ร่วมกันทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวหาโจทก์ว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความแตกแยก และขอให้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามมติคณะกรรมการสถาบัน อีกทั้งจำเลยที่ ๒๕ ยังได้ทำจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายในสถาบัน โดยมีข้อความให้ร้ายโจทก์ส่งไปยังพนักงานของสถาบันด้วยนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓๔ มิได้เป็นการกระทำโดยใช้อำนาจหน้าที่ แต่เป็นการกระทำในการปฏิบัติราชการหรือในฐานะส่วนตัวและเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น เข้าข่ายเป็นการกระทำละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้การจะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามสิบสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการดังกล่าวมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นอำนาจพิจารณาตรวจสอบของศาลแพ่ง คำฟ้องนี้จึงไม่ใช่คดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร คดีนี้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการสถาบัน จำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๒๗ เป็นรองผู้อำนวยการสถาบัน จำเลยที่ ๒๘ ถึงที่ ๓๒ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน และจำเลยที่ ๓๓ ถึงที่ ๓๔ เป็นพนักงานของสถาบัน จำเลยทั้งหมดจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน และโดยเฉพาะมีอำนาจและหน้าที่ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสถาบัน และข้อบังคับว่าด้วยการออกจากตำแหน่งของผู้อำนวยการสถาบันตามพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๕ ได้กระทำการออกประกาศ เรื่อง แจ้งมติคณะกรรมการสถาบันให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน และมีคำสั่งคณะกรรมการสถาบันให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งโดยให้เหตุผลว่า โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์และให้ถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ปราศจากความเป็นธรรม ไม่ยึดถือข้อตกลงตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับสถาบัน โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันก่อนครบกำหนดวาระ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และการที่โจทก์กล่าวหาว่า เมื่อจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ได้ทำการประกาศให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งแล้ว จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยมีคำสั่งให้ออกหนังสือเวียนเพื่อแจ้งข้อความในประกาศส่งไปยังหน่วยงานภายในสถาบัน และแจ้งส่งข้อความเกี่ยวกับประกาศทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังพนักงานสถาบันทุกคน และเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน เพื่อให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ทั้งที่เป็นการประชุมลับ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย พร้อมทั้งขอให้ชดใช้ค่าเสียหายด้วยนั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ตามที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนการที่โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ ร่วมกันทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นกล่าวหาโจทก์ว่า เป็นผู้ก่อให้เกิดความแตกแยกในองค์กร และจำเลยที่ ๒๕ ที่ ๓๓ และที่ ๓๔ ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายในองค์กรสถาบันใส่ความโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้น ก็ล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ จึงเป็นมูลคดีที่เกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายสุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ โจทก์ นายธัชชัย สุมิตร ที่ ๑ กับพวกรวม ๓๔ คน จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๒/๒๕๕๔
วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๒ นายสุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ โจทก์ ยื่นฟ้องนายธัชชัย สุมิตร ที่ ๑ กับพวกรวม ๓๔ คน จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๔๙/๒๕๕๒ ความว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๒๗ มีตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำเลยที่ ๒๘ ถึงที่ ๓๒ มีตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และจำเลยที่ ๓๓ ถึงที่ ๓๔ เป็นพนักงานสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ แต่งตั้งโจทก์เป็นผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีวาระ ๔ ปี ซึ่งโจทก์และสถาบันทำบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวกำหนดหน้าที่ วิธีปฏิบัติงาน และเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ไว้ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ แต่งตั้งจำเลยที่ ๑๙ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการประเมินผลเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ แต่จำเลยที่ ๑๙ ถึงที่ ๒๔ ไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์ประเมินผลที่โจทก์ทำกับสถาบัน อ้างว่าหลักเกณฑ์ประเมินผลดังกล่าวไม่เพียงพอ และจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เห็นชอบให้จัดทำร่างเกณฑ์ประเมินผลใหม่โดยให้ปรึกษาหารือกับโจทก์อย่างใกล้ชิดและให้ยึดแนวทางที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับสถาบัน แต่จำเลยที่ ๑๙ ถึงที่ ๒๔ ไม่ได้ปรึกษาหารือกับโจทก์และไม่ได้ยึดแนวทางที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับสถาบันในการจัดทำร่างหลักเกณฑ์ประเมินผลขึ้นใหม่ โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินว่าผู้รับการประเมินจะต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ให้ความเห็นชอบ ทั้งให้โจทก์จัดทำแผนปรับปรุงการทำงานของตนเองซึ่งไม่อยู่ในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับสถาบัน ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ลงมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการ โดยให้เหตุผลว่าแผนปรับปรุงการทำงานของโจทก์ไม่เป็นแผนงานพัฒนาองค์กรแบบก้าวกระโดดและขาดภาวะผู้นำ ถือว่าการปฏิบัติงานของโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ การกระทำของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ปราศจากความเป็นธรรม ไม่ยึดถือข้อตกลงตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับสถาบัน โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ จำเลยที่ ๑ ในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบันได้ออกประกาศแจ้งมติคณะกรรมการครั้งที่ ๔๐๔/๒/๒๕๕๑ กรณีให้โจทก์พ้นจากตำแหน่ง และมีคำสั่งให้ออกหนังสือเวียนแจ้งข้อความในประกาศดังกล่าวส่งไปยังทุกหน่วยงานของสถาบัน เพื่อให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ทั้งที่เป็นการประชุมลับ ส่วนจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ ร่วมกันทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นกล่าวหาโจทก์ว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความแตกแยกในองค์กร นอกจากนี้จำเลยที่ ๒๕ ที่ ๓๓ และที่ ๓๔ ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายในองค์กรสถาบัน ใส่ความโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งหมดดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามสิบสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ กับให้ลงข้อความขอโทษในหนังสือพิมพ์รายวัน ๓ ฉบับ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน ๗ วัน
จำเลยทั้งสามสิบสี่ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ประเมินโจทก์ด้วยความเป็นธรรมถูกต้องตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ และไม่ได้กลั่นแกล้งโจทก์ การแจ้งมติของคณะกรรมการเป็นการแจ้งข่าวการประชุมมิได้บิดเบือนไปจากมติของคณะกรรมการ และข้อความที่แจ้งก็ไม่ได้ทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง และไม่เป็นการจงใจทำลายชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ไม่เคยออกคำสั่งให้ออกหนังสือเวียน และไม่เคยแพร่ข่าวลงหนังสือพิมพ์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ เป็นการสื่อสารกับพนักงานของสถาบันด้วยความชอบธรรม และไม่มีข้อความใดกล่าวใส่ร้ายโจทก์อันจะทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การเขียนบทความลงในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของจำเลยที่ ๓๔ เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตอยู่ในวิสัยย่อมกระทำได้และไม่ทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ค่าเสียหายสูงเกินส่วน ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยทั้งสามสิบสี่ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบกรณีมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งอันเป็นคำสั่งทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ทั้งโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ และคณะรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๘๙๐/๒๕๕๑ อ้างว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน และลงมติให้พ้นจากตำแหน่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับคดีนี้
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ มีวัตถุประสงค์ในการริเริ่ม ดำเนินการ ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนรู้ วิธีสอน และการประเมินผลการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก ฯลฯ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามความหมายในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบัน ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสถาบันโจทก์ย่อมเป็นผู้แทนของสถาบันด้วย ดังนั้นสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้อำนวยการสถาบัน จึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่าจ้างให้โจทก์เป็นผู้แทนของสถาบัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง โดยมีจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน และโดยเฉพาะมีอำนาจและหน้าที่ออกข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ฯลฯ จึงเป็นคณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล ดังนั้น จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องโดยอ้างว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ปราศจากความเป็นธรรมไม่ยึดถือข้อตกลงตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับสถาบัน โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันก่อนครบกำหนดวาระ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะเป็นคดีปกครอง อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามมาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยลงมติในการประชุมคณะกรรมการของสถาบันให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันโดยระบุว่า "โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่" แล้วนำไปเผยแพร่ต่อบุคคลทั่วไป เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียง และยังได้เผยแพร่ต่อสื่อมวลชน เหตุดังกล่าวก็สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ มีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันจึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์โดยไม่ยึดถือข้อตกลงตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับสถาบันและมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งทั้งยังมีคำสั่งให้ออกหนังสือเวียนเพื่อแจ้งเรื่องให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งส่งไปยังทุกหน่วยงานของสถาบันจึงเป็นการดำเนินการตามหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนี้ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ จึงมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวเนื่องกับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ และเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวเนื่องกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและเกี่ยวเนื่องกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันมีลักษณะเป็นคดีปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ชึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครองเช่นกัน
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการสถาบัน จำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๒๗ มีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการสถาบัน จำเลยที่ ๒๘ ถึงที่ ๓๒ มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน และจำเลยที่ ๓๓ ถึงที่ ๓๔ เป็นพนักงานของสถาบัน ดังนั้น จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓๔ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ โดยจำเลยที่ ๑ ในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบัน ออกประกาศ เรื่อง แจ้งมติคณะกรรมการสถาบัน ครั้งที่ ๔๐๔/๒/๒๕๕๑ ที่มีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน ต่อมามีคำสั่งคณะกรรมการสถาบัน ที่ ๒/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๑ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์และให้ถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่ จากนั้นจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ มีคำสั่งให้ออกหนังสือเวียนเพื่อแจ้งข้อความในประกาศดังกล่าวส่งไปยังหน่วยงานภายในสถาบัน และแจ้งส่งข้อความเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังพนักงานสถาบันทุกคน ทั้งยังได้นำความดังกล่าวลงหนังสือพิมพ์อีกด้วย โดยที่มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ในฐานะคณะกรรมการสถาบันมีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน และโดยเฉพาะมีอำนาจและหน้าที่ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสถาบัน และข้อบังคับว่าด้วยการออกจากตำแหน่งของผู้อำนวยการสถาบันหาได้บัญญัติให้มีอำนาจกระทำการดังที่โจทก์กล่าวหาแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการที่จำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ ร่วมกันทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวหาโจทก์ว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความแตกแยก และขอให้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามมติคณะกรรมการสถาบัน อีกทั้งจำเลยที่ ๒๕ ยังได้ทำจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายในสถาบัน โดยมีข้อความให้ร้ายโจทก์ส่งไปยังพนักงานของสถาบันด้วยนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓๔ มิได้เป็นการกระทำโดยใช้อำนาจหน้าที่ แต่เป็นการกระทำในการปฏิบัติราชการหรือในฐานะส่วนตัวและเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น เข้าข่ายเป็นการกระทำละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้การจะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสามสิบสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการดังกล่าวมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นอำนาจพิจารณาตรวจสอบของศาลแพ่ง คำฟ้องนี้จึงไม่ใช่คดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร คดีนี้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ เป็นคณะกรรมการสถาบัน จำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๒๗ เป็นรองผู้อำนวยการสถาบัน จำเลยที่ ๒๘ ถึงที่ ๓๒ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน และจำเลยที่ ๓๓ ถึงที่ ๓๔ เป็นพนักงานของสถาบัน จำเลยทั้งหมดจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน และโดยเฉพาะมีอำนาจและหน้าที่ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสถาบัน และข้อบังคับว่าด้วยการออกจากตำแหน่งของผู้อำนวยการสถาบันตามพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๕ ได้กระทำการออกประกาศ เรื่อง แจ้งมติคณะกรรมการสถาบันให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน และมีคำสั่งคณะกรรมการสถาบันให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งโดยให้เหตุผลว่า โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์และให้ถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ปราศจากความเป็นธรรม ไม่ยึดถือข้อตกลงตามสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับสถาบัน โดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันก่อนครบกำหนดวาระ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และการที่โจทก์กล่าวหาว่า เมื่อจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ได้ทำการประกาศให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งแล้ว จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยมีคำสั่งให้ออกหนังสือเวียนเพื่อแจ้งข้อความในประกาศส่งไปยังหน่วยงานภายในสถาบัน และแจ้งส่งข้อความเกี่ยวกับประกาศทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังพนักงานสถาบันทุกคน และเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน เพื่อให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ทั้งที่เป็นการประชุมลับ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย พร้อมทั้งขอให้ชดใช้ค่าเสียหายด้วยนั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ ตามที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนการที่โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ ๒๕ ถึงที่ ๓๔ ร่วมกันทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นกล่าวหาโจทก์ว่า เป็นผู้ก่อให้เกิดความแตกแยกในองค์กร และจำเลยที่ ๒๕ ที่ ๓๓ และที่ ๓๔ ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายในองค์กรสถาบันใส่ความโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้น ก็ล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๒๔ จึงเป็นมูลคดีที่เกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นคดีปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายสุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ โจทก์ นายธัชชัย สุมิตร ที่ ๑ กับพวกรวม ๓๔ คน จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) สบโชค สุขารมณ์ (ลงชื่อ) สุวัฒน์ วรรธนะหทัย
(นายสบโชค สุขารมณ์) (นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล (ลงชื่อ) จรัญ หัตถกรรม
(นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล) (นายจรัญ หัตถกรรม)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท ศิลปชัย สรภักดี (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(ศิลปชัย สรภักดี) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) จิระ บุญพจนสุนทร
(นายจิระ บุญพจนสุนทร)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๑/๒๕๕๔
วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาล
ในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ นายวีระศักดิ์ กุลวานิช ที่ ๑ นายเสริมศักดิ์ กุลวานิช ที่ ๒ โจทก์ ยื่นฟ้องนางศิริมา จิวะอนันต์หรือกุลวานิช ที่ ๑ บริษัทสตาร์โฮมบีชรีสอร์ท จำกัด ที่ ๒ กรมที่ดิน ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๖๖๐๖/๒๕๕๑ ความว่า โจทก์ทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายเจริญศักดิ์ กุลวานิช และเป็นหุ้นส่วนร่วมลงทุนกิจการบ้านพักและรีสอร์ทชายทะเลชื่อว่า "บ้านรักทะเล" ตั้งอยู่บริเวณชายหาดบางเนียง ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา (เขาหลัก) บนที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๘๖๒๙ ที่ ๘๖๓๖ ที่ ๘๖๓๗ ที่ ๑๔๓๖๕ และที่ ๑๔๓๘๗ (ที่ถูกน่าจะเป็น ๑๕๓๘๗) แต่เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ทำให้นายเจริญศักดิ์เสียชีวิตและรีสอร์ทเสียหายทั้งหมด ต่อมาจำเลยที่ ๑ ซึ่งอ้างว่าเป็นบุตรนอกสมรสของนายเจริญศักดิ์ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนายเจริญศักดิ์ต่อศาลจังหวัดตะกั่วป่า และศาลจังหวัดตะกั่วป่ามีคำสั่งให้จำเลยที่ ๑ เป็นผู้จัดการมรดกของนายเจริญศักดิ์ตามคำร้อง แต่โจทก์ที่ ๒ อุทธรณ์ เนื่องจากเห็นว่าจำเลยที่ ๑ มิใช่บุตรนอกสมรสของนายเจริญศักดิ์และขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ที่ ๒ เป็นผู้จัดการมรดกของนายเจริญศักดิ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งในระหว่างนั้นจำเลยที่ ๑ นำคำสั่งศาลจังหวัดตะกั่วป่าดำเนินการปิดบัญชีธนาคารและโอนที่ดินที่มีชื่อนายเจริญศักดิ์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นของจำเลยที่ ๑ โดยไม่ดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสองในฐานะหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนในกิจการบ้านพักและรีสอร์ท ต่อมาโจทก์ที่ ๒ ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๓ ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๓๓/๒๕๕๑ โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๓ ออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงให้แก่จำเลยที่ ๑ โดยมิชอบ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง
ต่อมาวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๑ จำเลยที่ ๑ ขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๕๓๘๗ ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ให้แก่จำเลยที่ ๒ โดยจำเลยที่ ๓ จดทะเบียนให้ทั้งที่ทราบแล้วว่าคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล อันทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลและความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ การ