คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓ กับศาลปกครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ ขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓กับศาลปกครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ ขัดแย้งกันหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ ๔๐/๒๕๖๑ ไม่รับคำฟ้องของกรมที่ดินที่ยื่นฟ้องผู้ร้องไว้พิจารณา เนื่องจากมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ต่อมากรมที่ดินจะนำข้อเท็จจริงเดียวกันไปยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๕๖/๒๕๖๒ จนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวชำระเงิน ๑๒๘,๑๐๔.๘๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๙๘,๐๐๐ บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลปกครองขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง เนื่องจากกรณีที่จะถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามบทบัญญัติดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองวินิจฉัยขัดแย้งกัน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา
คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓ กับศาลปกครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ ขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓กับศาลปกครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ ขัดแย้งกันหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ ๔๐/๒๕๖๑ ไม่รับคำฟ้องของกรมที่ดินที่ยื่นฟ้องผู้ร้องไว้พิจารณา เนื่องจากมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ต่อมากรมที่ดินจะนำข้อเท็จจริงเดียวกันไปยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๕๖/๒๕๖๒ จนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวชำระเงิน ๑๒๘,๑๐๔.๘๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๙๘,๐๐๐ บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลปกครองขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง เนื่องจากกรณีที่จะถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามบทบัญญัติดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองวินิจฉัยขัดแย้งกัน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มี ๒ กรณี ได้แก่ กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้ "คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การเป็นอย่างช้าสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ ศาลที่รับฟ้องอาจรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวก็ได้ และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว..." กับกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้นำความในมาตรานี้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาโดยอนุโลม เมื่อคดีนี้ ข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดมหาสารคาม ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๔ ระบุว่า ก่อนเริ่มสืบพยาน โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ฟ้องคดีได้แถลงต่อศาลว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ขอให้ศาลจังหวัดมหาสารคามส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา ดังนั้น การเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลในคดีนี้จึงมิใช่จำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องตามนัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิโต้แย้งเขตอำนาจศาล และแม้จำเลยทั้งสองจะแถลงโดยเห็นพ้องกับโจทก์ทั้งสองว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องได้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือโต้แย้งเขตอำนาจศาลยุติธรรมต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม กรณีจึงไม่เป็นไปตามรูปแบบและเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๒ ที่กำหนดว่าคำร้องต้องทำเป็นหนังสือ... แม้ต่อมาภายหลังศาลจังหวัดมหาสารคามจะทำความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และศาลปกครองขอนแก่นซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นก็มีความเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้อง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล แต่ก็มิใช่กรณีที่ศาลจังหวัดมหาสารคามซึ่งเป็นศาลผู้ส่งความเห็นได้ริเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลโดยศาลเห็นเองตามนัยของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม การเสนอเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันในคดีนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม คณะกรรมการไม่รับวินิจฉัย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มี ๒ กรณี ได้แก่ กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้ "คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การเป็นอย่างช้าสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ ศาลที่รับฟ้องอาจรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวก็ได้ และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว..." กับกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้นำความในมาตรานี้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาโดยอนุโลม เมื่อคดีนี้ ข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดมหาสารคาม ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๔ ระบุว่า ก่อนเริ่มสืบพยาน โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ฟ้องคดีได้แถลงต่อศาลว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ขอให้ศาลจังหวัดมหาสารคามส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา ดังนั้น การเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลในคดีนี้จึงมิใช่จำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องตามนัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิโต้แย้งเขตอำนาจศาล และแม้จำเลยทั้งสองจะแถลงโดยเห็นพ้องกับโจทก์ทั้งสองว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องได้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือโต้แย้งเขตอำนาจศาลยุติธรรมต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม กรณีจึงไม่เป็นไปตามรูปแบบและเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๒ ที่กำหนดว่าคำร้องต้องทำเป็นหนังสือ... แม้ต่อมาภายหลังศาลจังหวัดมหาสารคามจะทำความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และศาลปกครองขอนแก่นซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นก็มีความเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้อง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล แต่ก็มิใช่กรณีที่ศาลจังหวัดมหาสารคามซึ่งเป็นศาลผู้ส่งความเห็นได้ริเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลโดยศาลเห็นเองตามนัยของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม การเสนอเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันในคดีนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม คณะกรรมการไม่รับวินิจฉัย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การเสนอเรื่องเขตอำนาจศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลและศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีของศาลปกครองขอนแก่นและศาลแรงงานภาค ๔ ไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น "พนักงาน" ตามบทนิยามความหมายของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ หรือไม่ ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น "พนักงาน" ตามบทนิยามความหมายในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ ประเด็นข้อพิพาทและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองขอนแก่นและศาลแรงงานภาค ๔ จึงเป็นคนละประเด็นกันกับข้อพิพาทและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลฎีกาและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน จึงไม่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะของบุคคล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ คำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลและศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีของศาลปกครองขอนแก่นและศาลแรงงานภาค ๔ ไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น "พนักงาน" ตามบทนิยามความหมายของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ หรือไม่ ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น "พนักงาน" ตามบทนิยามความหมายในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ ประเด็นข้อพิพาทและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองขอนแก่นและศาลแรงงานภาค ๔ จึงเป็นคนละประเด็นกันกับข้อพิพาทและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลฎีกาและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน จึงไม่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะของบุคคล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ คำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
เมื่อคดีนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครอง ตามคำพิพากษาศาลปกครองนครราชสีมา ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ส่วนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรม ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาล และศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่ความในคดีที่ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และคู่ความในคดีของศาลปกครองนครราชสีมา มิใช่คู่ความรายเดียวกันและมิใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเดียวกัน โดยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลยุติธรรมและศาลปกครองต้องพิจารณานั้นเป็นคนละประเด็นกันและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน ทั้งกรณีไม่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
เมื่อคดีนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครอง ตามคำพิพากษาศาลปกครองนครราชสีมา ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ส่วนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรม ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาล และศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่ความในคดีที่ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และคู่ความในคดีของศาลปกครองนครราชสีมา มิใช่คู่ความรายเดียวกันและมิใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเดียวกัน โดยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลยุติธรรมและศาลปกครองต้องพิจารณานั้นเป็นคนละประเด็นกันและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน ทั้งกรณีไม่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป ถ้าคู่ความหรือศาลเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้องให้นำความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่คู่ความนำคดีซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป และคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้อง หรือศาลที่รับฟ้องเห็นว่าคดีมีปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล จึงจะรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและดำเนินการตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อไป แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ศาลจังหวัดพะเยาเห็นว่า คดีแพ่งของศาลจังหวัดพะเยา อยู่ในเขตอำนาจของศาลตน มิใช่กรณีที่ศาลรับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น และมิใช่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล ว่าคดีดังกล่าวมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้อง จึงไม่เป็นกรณีที่จะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป ถ้าคู่ความหรือศาลเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้องให้นำความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่คู่ความนำคดีซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป และคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้อง หรือศาลที่รับฟ้องเห็นว่าคดีมีปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล จึงจะรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและดำเนินการตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อไป แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ศาลจังหวัดพะเยาเห็นว่า คดีแพ่งของศาลจังหวัดพะเยา อยู่ในเขตอำนาจของศาลตน มิใช่กรณีที่ศาลรับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น และมิใช่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล ว่าคดีดังกล่าวมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้อง จึงไม่เป็นกรณีที่จะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกันของผู้ร้อง แม้คดีตามคำพิพากษาทั้งสองฉบับดังกล่าวจะมีปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลทั้งสองต้องพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารในลักษณะเดียวกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏมีความแตกต่างกัน แม้จะอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกัน ผลของคดีจึงแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริงที่ต่างกัน และคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดต่างก็เป็นการวินิจฉัยถึงคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นคนละฉบับซึ่งบังคับให้กระทำต่ออาคารคนละอาคารและเจ้าของอาคารเป็นบุคคลคนละคนกัน และวินิจฉัยถึงการดัดแปลงต่อเติมอาคารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแตกต่างกัน แม้เจ้าพนักงานผู้ต้องปฏิบัติตามผลคำพิพากษาจะเป็นคนเดียวกันและอาคารที่เกี่ยวข้องจะอยู่ติดกันก็ตาม กรณีย่อมไม่อาจมีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล ประกอบกับเมื่อพิจารณาคำร้องของผู้ร้องทั้งสองมีลักษณะเป็นการโต้แย้งการใช้ดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกันของผู้ร้อง แม้คดีตามคำพิพากษาทั้งสองฉบับดังกล่าวจะมีปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลทั้งสองต้องพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารในลักษณะเดียวกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏมีความแตกต่างกัน แม้จะอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกัน ผลของคดีจึงแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริงที่ต่างกัน และคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดต่างก็เป็นการวินิจฉัยถึงคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นคนละฉบับซึ่งบังคับให้กระทำต่ออาคารคนละอาคารและเจ้าของอาคารเป็นบุคคลคนละคนกัน และวินิจฉัยถึงการดัดแปลงต่อเติมอาคารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแตกต่างกัน แม้เจ้าพนักงานผู้ต้องปฏิบัติตามผลคำพิพากษาจะเป็นคนเดียวกันและอาคารที่เกี่ยวข้องจะอยู่ติดกันก็ตาม กรณีย่อมไม่อาจมีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล ประกอบกับเมื่อพิจารณาคำร้องของผู้ร้องทั้งสองมีลักษณะเป็นการโต้แย้งการใช้ดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า การสำคัญผิดของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเกิดจากข้อมูลราคาประเมินตาราวาละ ๔,๐๐๐ บาท ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งไม่เป็นปัจจุบัน การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ในวันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินรายพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กำหนดจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยชอบตรงตามเจตนาและเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้จดทะเบียนสิทธินิติกรรมโดยคำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ ตามราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท และราคาซื้อขายที่สูงกว่าราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท เพียงเล็กน้อย โดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขาย (ระหว่างเช่า) ที่ดินพิพาทจากผู้ฟ้องคดีทั้งสอง นั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการจดทะเบียนที่ดำเนินการไปถูกต้องแล้วและต่อมาตรวจพบว่ามีความบกพร่องเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วนนั้นมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจที่จะเรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ดังนั้น คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินพิพาทจะต้องถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินโดยต้องถือว่าราคาประเมินที่ดินตารางวาละ ๔๕,๐๐๐ บาท ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ (ผู้ร้อง) เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมิน ๓๕,๔๙๑,๕๐๐ บาท การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงเพียง ๓,๑๕๔,๘๐๐ บาท เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย (กรมสรรพากร) มีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องครบถ้วนได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเหตุลดหรืองดเงินเพิ่มนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ครบถ้วน เนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท ตามที่ยังคงปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานที่ดินซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินที่แท้จริง เป็นเหตุที่ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ (ผู้ร้อง) สมควรให้งดเงินเพิ่มแก่โจทก์ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดไม่สั่งให้เรียกค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเพิ่ม กับไม่เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทและคำพิพากษาศาลฎีกามิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดและคำพิพากษาของศาลฎีกาได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า การสำคัญผิดของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเกิดจากข้อมูลราคาประเมินตาราวาละ ๔,๐๐๐ บาท ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งไม่เป็นปัจจุบัน การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ในวันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินรายพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กำหนดจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยชอบตรงตามเจตนาและเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้จดทะเบียนสิทธินิติกรรมโดยคำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ ตามราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท และราคาซื้อขายที่สูงกว่าราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท เพียงเล็กน้อย โดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขาย (ระหว่างเช่า) ที่ดินพิพาทจากผู้ฟ้องคดีทั้งสอง นั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการจดทะเบียนที่ดำเนินการไปถูกต้องแล้วและต่อมาตรวจพบว่ามีความบกพร่องเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วนนั้นมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจที่จะเรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ดังนั้น คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินพิพาทจะต้องถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินโดยต้องถือว่าราคาประเมินที่ดินตารางวาละ ๔๕,๐๐๐ บาท ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ (ผู้ร้อง) เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมิน ๓๕,๔๙๑,๕๐๐ บาท การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงเพียง ๓,๑๕๔,๘๐๐ บาท เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย (กรมสรรพากร) มีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องครบถ้วนได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเหตุลดหรืองดเงินเพิ่มนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ครบถ้วน เนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท ตามที่ยังคงปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานที่ดินซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินที่แท้จริง เป็นเหตุที่ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ (ผู้ร้อง) สมควรให้งดเงินเพิ่มแก่โจทก์ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดไม่สั่งให้เรียกค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเพิ่ม กับไม่เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทและคำพิพากษาศาลฎีกามิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดและคำพิพากษาของศาลฎีกาได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ กับศาลปกครองสูงสุด โดยผู้ร้องเห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคในที่ดินจัดสรรโครงการ ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว และศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องกับพวกจึงไม่ต้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตลอดจนบำรุงรักษา แต่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคยังจัดทำไม่แล้วเสร็จตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต จึงพิพากษาให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนครนายก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการให้ผู้ร้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันในการจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันหรือไม่ โดยคดีของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เป็นคดีที่ผู้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการฟ้องผู้ร้องและผู้จัดสรรที่ดินเดิมเป็นคดีผู้บริโภค อ้างว่าผู้ร้องกับพวกมิได้ก่อสร้างหรือดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะภายในโครงการ คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้ได้วินิจฉัยตอนหนึ่งว่า สาธารณูปโภคหลัก ๆ ภายในโครงการพิพาทจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ได้วินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ร้องกับพวกยังไม่ได้จัดทำบริการสาธารณะให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ และการจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ นอกจากจะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ยังจะต้องบำรุงรักษาให้มีสภาพคงอยู่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามที่ควรจะเป็นด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่าผู้ร้องจัดทำสาธารณูปโภคเสร็จเรียบร้อยแล้ว อันจะเป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยชัดเจนว่า ข้อเท็จจริงฟังว่าสาธารณูปโภคในโครงการพิพาทบางส่วนยังจัดทำไม่แล้วเสร็จและบางส่วนไม่มีการบำรุงรักษา และบริการสาธารณะบางอย่างยังไม่ได้จัดทำ ซึ่งสอดคล้องกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดทำสาธารณูปโภคแล้วเสร็จหรือไม่ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และศาลปกครองสูงสุดจึงมิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ กับศาลปกครองสูงสุด โดยผู้ร้องเห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคในที่ดินจัดสรรโครงการ ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว และศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องกับพวกจึงไม่ต้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตลอดจนบำรุงรักษา แต่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคยังจัดทำไม่แล้วเสร็จตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต จึงพิพากษาให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนครนายก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการให้ผู้ร้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันในการจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันหรือไม่ โดยคดีของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เป็นคดีที่ผู้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการฟ้องผู้ร้องและผู้จัดสรรที่ดินเดิมเป็นคดีผู้บริโภค อ้างว่าผู้ร้องกับพวกมิได้ก่อสร้างหรือดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะภายในโครงการ คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้ได้วินิจฉัยตอนหนึ่งว่า สาธารณูปโภคหลัก ๆ ภายในโครงการพิพาทจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ได้วินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ร้องกับพวกยังไม่ได้จัดทำบริการสาธารณะให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ และการจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ นอกจากจะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ยังจะต้องบำรุงรักษาให้มีสภาพคงอยู่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามที่ควรจะเป็นด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่าผู้ร้องจัดทำสาธารณูปโภคเสร็จเรียบร้อยแล้ว อันจะเป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยชัดเจนว่า ข้อเท็จจริงฟังว่าสาธารณูปโภคในโครงการพิพาทบางส่วนยังจัดทำไม่แล้วเสร็จและบางส่วนไม่มีการบำรุงรักษา และบริการสาธารณะบางอย่างยังไม่ได้จัดทำ ซึ่งสอดคล้องกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดทำสาธารณูปโภคแล้วเสร็จหรือไม่ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และศาลปกครองสูงสุดจึงมิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้น อยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ..." เมื่อคดีนี้จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การ โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการที่จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตน อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้น อยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ..." เมื่อคดีนี้จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การ โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการที่จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตน อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ เพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องว่า คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ขัดแย้งกับคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครองกลางหรือไม่ เห็นว่า ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างเจ้าของร่วมในอาคารชุด ส. ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดกับบริษัท ธ. จำกัด จำเลย ซึ่งเป็นผู้ขายตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ได้โฆษณาโครงการโดยระบุอย่างชัดแจ้งว่าอาคารชุด ส. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ และในการขออนุญาตก่อสร้างโครงการอาคารชุดดังกล่าวก็ระบุว่า เป็นการก่อสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนคำพิพากษาของศาลปกครองกลางเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ จดทะเบียนอาคารชุดโดยระบุทรัพย์ส่วนกลาง คือ ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๓ เพียงแปลงเดียวเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลปกครองกลางจะพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลางชอบด้วยกฎหมายแล้วก็เป็นการวินิจฉัยการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้ขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวผูกพันต้องปฏิบัติตามประกาศโฆษณาโครงการของตนที่ระบุให้โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลาง อันเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่ได้ชี้แจงว่ามีเหตุขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด หรือหากมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖๕ ก็ได้บัญญัติให้อำนาจศาลในคดีดังกล่าวแก้ไขข้อขัดข้องได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ เพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องว่า คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ขัดแย้งกับคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครองกลางหรือไม่ เห็นว่า ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างเจ้าของร่วมในอาคารชุด ส. ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดกับบริษัท ธ. จำกัด จำเลย ซึ่งเป็นผู้ขายตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ได้โฆษณาโครงการโดยระบุอย่างชัดแจ้งว่าอาคารชุด ส. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ และในการขออนุญาตก่อสร้างโครงการอาคารชุดดังกล่าวก็ระบุว่า เป็นการก่อสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนคำพิพากษาของศาลปกครองกลางเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ จดทะเบียนอาคารชุดโดยระบุทรัพย์ส่วนกลาง คือ ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๓ เพียงแปลงเดียวเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลปกครองกลางจะพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลางชอบด้วยกฎหมายแล้วก็เป็นการวินิจฉัยการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้ขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวผูกพันต้องปฏิบัติตามประกาศโฆษณาโครงการของตนที่ระบุให้โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลาง อันเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่ได้ชี้แจงว่ามีเหตุขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด หรือหากมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖๕ ก็ได้บัญญัติให้อำนาจศาลในคดีดังกล่าวแก้ไขข้อขัดข้องได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันและจะส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบและศาลทั้งสองศาลนั้น มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแตกต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ล. โจทก์ บริษัท ค. จำเลย (ผู้ร้อง) ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน โดยไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่พิพาทกันในคดีปกครองตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ประเด็นข้อพิพาทของทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน แม้ในคดีปกครองจะมีปัญหาข้อเท็จจริงในบางประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่า บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ได้จัดทำถนนถูกต้องตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ไม่กำกับดูแล และตรวจสอบให้ ผู้ร้องสอดทำการก่อสร้างในโครงการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามแบบและแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยพิจารณาจากสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดี มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดา ซึ่งการจะบังคับการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมของศาลนั้นก็เป็นความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างคู่สัญญา ส่วนการที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจตามมาตรา ๕๒ ประกอบมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ สั่งให้บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ดำเนินการก่อสร้างถนนสายหลักและบ่อบำบัดน้ำเสียในโครงการให้ตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่คดีถึงที่สุด คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก เป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองเพื่อบังคับให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ขัดแย้งกันกับคดีแพ่ง ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกันและไม่ขัดแย้งกัน ทั้งปัญหากรณีที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี คำร้องของผู้ร้องไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันและจะส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบและศาลทั้งสองศาลนั้น มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแตกต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ล. โจทก์ บริษัท ค. จำเลย (ผู้ร้อง) ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน โดยไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่พิพาทกันในคดีปกครองตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ประเด็นข้อพิพาทของทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน แม้ในคดีปกครองจะมีปัญหาข้อเท็จจริงในบางประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่า บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ได้จัดทำถนนถูกต้องตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ไม่กำกับดูแล และตรวจสอบให้ ผู้ร้องสอดทำการก่อสร้างในโครงการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามแบบและแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยพิจารณาจากสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดี มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดา ซึ่งการจะบังคับการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมของศาลนั้นก็เป็นความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างคู่สัญญา ส่วนการที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจตามมาตรา ๕๒ ประกอบมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ สั่งให้บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ดำเนินการก่อสร้างถนนสายหลักและบ่อบำบัดน้ำเสียในโครงการให้ตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่คดีถึงที่สุด คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก เป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองเพื่อบังคับให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ขัดแย้งกันกับคดีแพ่ง ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกันและไม่ขัดแย้งกัน ทั้งปัญหากรณีที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี คำร้องของผู้ร้องไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบสามยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบสามยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบสามยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบสามยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลสองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการ กับคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดแพร่ยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวก เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดแพร่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗, ๙๐, ๘๓ และ ๘๖ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ประเด็นแห่งคดีของศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้แก่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกา ได้แก่การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗ ประกอบมาตรา ๘๓ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ จึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลสองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการ กับคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดแพร่ยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวก เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดแพร่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗, ๙๐, ๘๓ และ ๘๖ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ประเด็นแห่งคดีของศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้แก่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกา ได้แก่การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗ ประกอบมาตรา ๘๓ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ จึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเองอันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเองอันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คดีที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๔ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีโดยอาศัยมูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างกัน และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแตกต่างกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏว่า คำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าขัดแย้งกัน เป็นคำพิพากษาของศาลยุติธรรมด้วยกัน และคำสั่งในคดีของศาลปกครองระยอง เป็นเพียงคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ซึ่งศาลปกครองระยองยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแต่อย่างใด ทั้งไม่ใช่คู่ความเดียวกัน จึงมิใช่กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามความหมายของมาตรา ๑๔ ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องทั้งสอง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
คดีที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๔ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีโดยอาศัยมูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างกัน และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแตกต่างกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ปรากฏว่า คำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าขัดแย้งกัน เป็นคำพิพากษาของศาลยุติธรรมด้วยกัน และคำสั่งในคดีของศาลปกครองระยอง เป็นเพียงคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ซึ่งศาลปกครองระยองยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดแต่อย่างใด ทั้งไม่ใช่คู่ความเดียวกัน จึงมิใช่กรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามความหมายของมาตรา ๑๔ ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องทั้งสอง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลยุติธรรม จำเลยโต้แย้งคัดค้านเขตอำนาจศาลไว้คำให้การว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมจัดทำความเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลตน เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง กำหนดว่าหากคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งก็จะต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานของศาลยุติธรรม แต่การโต้แย้งเขตอำนาจศาลในกรณีนี้เป็นการโต้แย้งไว้ในคำให้การโดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะจึงเป็นการโต้แย้งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเอง อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คดีที่โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลยุติธรรม จำเลยโต้แย้งคัดค้านเขตอำนาจศาลไว้คำให้การว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมจัดทำความเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลตน เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง กำหนดว่าหากคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งก็จะต้องยื่นคำร้องก่อนวันสืบพยานของศาลยุติธรรม แต่การโต้แย้งเขตอำนาจศาลในกรณีนี้เป็นการโต้แย้งไว้ในคำให้การโดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะจึงเป็นการโต้แย้งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเอง อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลฎีกาและศาลปกครองนครศรีธรรมราชขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง โดยคดีแรกศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า การออกโฉนดที่ดินพิพาททั้งฉบับของผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์
ไม่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของนายอ. ซึ่งเป็นจำเลยที่ ๑ ให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่ไม่ชอบ ส่วนคดีหลังศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิพากษาว่า นาง ร. ผู้ฟ้องคดี มิใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี แต่ผู้ร้องต่างหากซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ กระบวนการออกโฉนดของผู้ร้องดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง
คณะกรรมการ เห็นว่า แม้ว่าคำพิพากษาของทั้งสองศาลจะเป็นการวินิจฉัยถึงผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดของผู้ร้องซึ่งเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม แต่มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องนายอ. ต่อศาลยุติธรรมแล้วนาย อ. กลับมาเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องต่อศาลปกครอง เพราะคดีที่ศาลปกครองนาง ร. เป็นผู้ฟ้องผู้ร้องต่างหาก ทั้งข้อเท็จจริงที่ทั้งสองศาลอาศัยเป็นหลักในการวินิจฉัยก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า หากบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาจะทำให้ผู้ร้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปบางส่วนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องนั้น เห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมผูกพันผู้ร้องและนายอ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ส่วนคำพิพากษาศาลปกครองก็ย่อมผูกพันผู้ร้องและนาง ร. เช่นกัน ตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา ๗๐ และมาตรา ๗๑ (๔) ดังนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องก็ใช้ยันกับนาง ร. ได้ตามคำพิพากษาศาลปกครองและคงมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่อย่างนั้นหาได้สูญเสียหรือลดน้อยถอยลงไปแต่อย่างใดไม่ อีกทั้งยังผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า ส่วนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาก็เป็นเรื่องที่นาย อ. สามารถใช้ยันกับผู้ร้องได้เช่นกันซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน คำพิพากษาทั้งสองศาลจึงไม่ขัดกันเพราะมิใช่เป็นเรื่องของคู่ความเดียวกันและไม่ใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน คำร้องจึงไม่ชอบด้วย มาตรา ๑๔ แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ อาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัยฯ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลฎีกาและศาลปกครองนครศรีธรรมราชขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง โดยคดีแรกศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า การออกโฉนดที่ดินพิพาททั้งฉบับของผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์
ไม่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของนายอ. ซึ่งเป็นจำเลยที่ ๑ ให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่ไม่ชอบ ส่วนคดีหลังศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิพากษาว่า นาง ร. ผู้ฟ้องคดี มิใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี แต่ผู้ร้องต่างหากซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ กระบวนการออกโฉนดของผู้ร้องดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง
คณะกรรมการ เห็นว่า แม้ว่าคำพิพากษาของทั้งสองศาลจะเป็นการวินิจฉัยถึงผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดของผู้ร้องซึ่งเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม แต่มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องนายอ. ต่อศาลยุติธรรมแล้วนาย อ. กลับมาเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องต่อศาลปกครอง เพราะคดีที่ศาลปกครองนาง ร. เป็นผู้ฟ้องผู้ร้องต่างหาก ทั้งข้อเท็จจริงที่ทั้งสองศาลอาศัยเป็นหลักในการวินิจฉัยก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า หากบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาจะทำให้ผู้ร้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปบางส่วนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องนั้น เห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมผูกพันผู้ร้องและนายอ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๕ วรรคหนึ่ง ส่วนคำพิพากษาศาลปกครองก็ย่อมผูกพันผู้ร้องและนาง ร. เช่นกัน ตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา ๗๐ และมาตรา ๗๑ (๔) ดังนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องก็ใช้ยันกับนาง ร. ได้ตามคำพิพากษาศาลปกครองและคงมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่อย่างนั้นหาได้สูญเสียหรือลดน้อยถอยลงไปแต่อย่างใดไม่ อีกทั้งยังผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ บุคคลภายนอกจะมีสิทธิดีกว่า ส่วนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดพิพาทของผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาก็เป็นเรื่องที่นาย อ. สามารถใช้ยันกับผู้ร้องได้เช่นกันซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน คำพิพากษาทั้งสองศาลจึงไม่ขัดกันเพราะมิใช่เป็นเรื่องของคู่ความเดียวกันและไม่ใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน คำร้องจึงไม่ชอบด้วย มาตรา ๑๔ แห่งพ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ อาศัยอำนาจตามข้อบังคับ ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัยฯ ข้อ ๒๘ ให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทในคดีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่าขัดแย้งกันแล้วเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ โจทก์หรือผู้ร้องมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพ
มหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งโครงการของบริษัทของผู้ร้องทั้งสองติด "ถนนสาธารณะ" ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ หรือไม่ แม้คดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลทั้งสองต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า ถนนซอยพร้อมจิตรหรือที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ มีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่าโจทก์และผู้ร้องในคดีแพ่งมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ และการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีของศาลปกครองว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องและบริษัท พ. โดยมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินติดถนนซอยพร้อมจิตรซึ่งมีสภาพเป็นถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร หรือไม่ แต่ทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยตรงกันว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยสภาพแห่งการใช้จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพียงแต่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยต่อไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยตีความข้อกฎหมายคำว่า"ถนนสาธารณะ" ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งศาลในคดีแพ่งมิได้
วินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพความเป็นถนนสาธารณะ เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทในคดีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่าขัดแย้งกันแล้วเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ โจทก์หรือผู้ร้องมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพ
มหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งโครงการของบริษัทของผู้ร้องทั้งสองติด "ถนนสาธารณะ" ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ หรือไม่ แม้คดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลทั้งสองต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า ถนนซอยพร้อมจิตรหรือที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ มีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่าโจทก์และผู้ร้องในคดีแพ่งมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ และการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีของศาลปกครองว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องและบริษัท พ. โดยมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินติดถนนซอยพร้อมจิตรซึ่งมีสภาพเป็นถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร หรือไม่ แต่ทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยตรงกันว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยสภาพแห่งการใช้จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพียงแต่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยต่อไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยตีความข้อกฎหมายคำว่า"ถนนสาธารณะ" ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งศาลในคดีแพ่งมิได้
วินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพความเป็นถนนสาธารณะ เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทในคดีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่าขัดแย้งกันแล้วเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ โจทก์หรือผู้ร้องมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งโครงการของบริษัทของผู้ร้องทั้งสองติด "ถนนสาธารณะ" ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ หรือไม่ แม้คดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลทั้งสองต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า ถนนซอยพร้อมจิตรหรือที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ มีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่าโจทก์และผู้ร้องในคดีแพ่งมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ และการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีของศาลปกครองว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องและบริษัท พ. โดยมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินติดถนนซอยพร้อมจิตรซึ่งมีสภาพเป็นถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร หรือไม่ แต่ทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยตรงกันว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยสภาพแห่งการใช้จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพียงแต่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยต่อไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยตีความข้อกฎหมายคำว่า"ถนนสาธารณะ" ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งศาลในคดีแพ่งมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพความเป็นถนนสาธารณะ เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้อพิพาทในคดีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่าขัดแย้งกันแล้วเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ โจทก์หรือผู้ร้องมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ในที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ ส่วนประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ การที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ตั้งโครงการของบริษัทของผู้ร้องทั้งสองติด "ถนนสาธารณะ" ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ตามข้อ ๒ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ หรือไม่ แม้คดีจะมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลทั้งสองต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่า ถนนซอยพร้อมจิตรหรือที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ มีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่าโจทก์และผู้ร้องในคดีแพ่งมีสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรหรือไม่ และการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีของศาลปกครองว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องและบริษัท พ. โดยมีด้านใดด้านหนึ่งของที่ดินติดถนนซอยพร้อมจิตรซึ่งมีสภาพเป็นถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร หรือไม่ แต่ทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยตรงกันว่าที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๒๗๕๙ หรือถนนซอยพร้อมจิตรตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยสภาพแห่งการใช้จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพียงแต่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยต่อไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยตีความข้อกฎหมายคำว่า"ถนนสาธารณะ" ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งศาลในคดีแพ่งมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพความเป็นถนนสาธารณะ เนื่องจากไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|