การที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยเพื่อจำหน่ายให้แก่จำเลย ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการจดทะเบียนภาระจำยอมจากโจทก์ให้แก่จำเลย ซึ่งซื้อที่ดินจากบริษัท ช. เพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะถือเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภคอันเป็นกรณีเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็เป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีผลทำให้การแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกจำหน่าย ไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แต่อย่างใด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เป็นกฎหมายเฉพาะ บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและประชาชนทั่วไป จึงไม่สามารถนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการสิ้นไปของภาระจำยอมที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 14649, 33679 และ 99548 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พ้นจากการเป็นภาระจำยอมที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4358, 4359, 4360, 4361, 4362, 8134, 46087, 46088, 46089, 46090, 46091, 46092, 46093, 46094, 46105, 46106, 46107, 46108, 46109, 46110, 46111, 46119, 46120, 46121, 46122, 46123, 46124, 46125, 46126, 46127, 46189, 46190, 46191, 46192, 46193, 46194, 46136, 46137, 46138, 46139, 46140, 46141, 46142, 46143, 46144, 46155, 46156, 46157, 46158, 46159, 46160, 46162, 46173, 46174, 46175, 46176, 46177, 46178, 46206, 46207, 46208, 46209, 46210 และ 46211 ตำบลแสมดำ (บางบอน) อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม ไปจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอม หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่สิบสาม โดยให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมทั้งหมด
จำเลยที่ 1 ที่ 10 ที่ 12 ที่ 14 ที่ 15 ที่ 17 ถึงที่ 22 ที่ 26 ที่ 27 ที่ 29 ที่ 30 ที่ 33 ที่ 34 ที่ 38 ที่ 40 และที่ 41 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ที่ 11 ที่ 13 ที่ 16 ที่ 23 ถึงที่ 25 ที่ 28 ที่ 31 ที่ 32 ที่ 35 ถึงที่ 37 ที่ 39 ที่ 42 และที่ 43 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 1 ที่ 26 และที่ 27 ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ในแต่ละแปลง ไปจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์โฉนดที่ดินเลขที่ 14649, 33679 และ 99548 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ดินภารยทรัพย์ หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่สิบสาม โดยให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมทั้งหมด ให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์และจำเลยที่ 10 ที่ 12 ที่ 14 ที่ 15 ที่ 17 ถึงที่ 22 ที่ 30 ที่ 33 ที่ 34 ที่ 38 ที่ 40 และที่ 41 อุทธรณ์
สำหรับอุทธรณ์ของโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่านำส่งหมาย ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาถึงวันที่ 8 มกราคม 2558 แต่โจทก์ไม่วางเงินค่านำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 ให้จำหน่ายอุทธรณ์ของโจทก์จากสารบบความ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท จึงไม่คืนให้
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยที่อุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 6,000 บาท
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 14649, 33679 และ 99548 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ส่วนจำเลยทั้งสี่สิบสามเป็นเจ้าของที่ดินหกสิบห้าแปลงตามรายละเอียดที่ปรากฏในเอกสารท้ายฟ้อง โดยที่ดินของจำเลยทั้งสี่สิบสาม ตั้งอยู่ที่ตำบลแสมดำ (บางบอน) อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และที่ดินของโจทก์ทั้ง 3 แปลงดังกล่าวจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสี่สิบสาม
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 หรือไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า เมื่อพิจารณาที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 ซึ่งเดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทชูจิตต์ จำกัด และที่ดินของจำเลยทั้ง 43 คน จะเห็นได้ว่าไม่มีข้อความใดๆ ระบุไว้ในโฉนดที่ดินเลยว่าที่ดินทั้งหมดดังกล่าวอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 และไม่มีเอกสารอื่นใดของจำเลยระบุว่าที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 อยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลำพังเพียงการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 4391 และ 5270 เป็นแปลงย่อย ๆ เท่านั้น ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นที่ดินจัดสรรตามคำจำกัดความ "การจัดสรรที่ดิน" ในข้อ 1 ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แต่อย่างใดนั้น เห็นว่า ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 บัญญัติว่า "การจัดสรรที่ดินหมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป ไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นค่าตอบแทน และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ หรือปรับปรุงที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย...." ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของคู่ความว่า โจทก์ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทชูจิตต์ จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทชูจิตต์ จำกัด แต่เพียงผู้เดียว และเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ที่มีการจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสาม ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจากบริษัทชูจิตต์ จำกัด ของโจทก์จากการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 4391 และ 5270 ออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 10 แปลง ซึ่งโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทชูจิตต์ จำกัด จัดให้มีถนนเพื่อใช้เป็นทางสัญจรจากที่ดินแปลงย่อยไปยังส่วนที่เป็นถนนของที่ดินโฉนดเลขที่ 1127 เพื่อออกสู่ถนนสาธารณะ โดยก่อนที่บริษัทชูจิตต์ จำกัด จะจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 และ 5270 ขายให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสามนั้น โจทก์ได้จดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ให้แก่ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 และ 5270 ก่อนแล้ว เพื่อให้ที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งออกจากที่ดินแปลงดังกล่าวสามารถออกไปยังถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นถนนสาธารณะ กรณีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยเพื่อจำหน่ายให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสาม ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการจดทะเบียนภาระจำยอมจากโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสาม ซึ่งซื้อที่ดินจากบริษัทชูจิตต์ จำกัด เพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะถือเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภคอันเป็นกรณีเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้ว บริษัทชูจิตต์ จำกัด โจทก์และจำเลยทั้งสี่สิบสามย่อมตกอยู่ในบังคับของกฎหมายดังกล่าว แม้บริษัทชูจิตต์ จำกัด หรือโจทก์จะไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็เป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเท่านั้น ทั้งการที่ไม่มีข้อความใด ๆ ระบุไว้ในโฉนดที่ดินเลยว่าที่ดินทั้งหมดอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตามที่โจทก์ฎีกาก็ตาม ก็หามีผลให้การแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าวออกจำหน่ายไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แต่อย่างใด ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ที่ดินที่นำมาแบ่งแยกและจำหน่ายให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสามเป็นของบริษัทชูจิตต์ จำกัด ไม่ใช่ของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์เป็นผู้จัดสรรที่ดินนั้น เห็นว่า นอกจากโจทก์จะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทชูจิตต์ จำกัด แล้วยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทชูจิตต์ จำกัด แต่เพียงผู้เดียว การที่โจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ของโจทก์แก่ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 และ 5270 ซึ่งเป็นของบริษัทชูจิตต์ จำกัด และภายหลังเมื่อบริษัทชูจิตต์ จำกัด แบ่งแยกที่ดินจำหน่ายให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสามคนแล้วโจทก์ก็ยังจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ให้แก่ผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวเฉพาะรายเพื่อนำไปจดทะเบียนจำนองธนาคารอันเป็นการที่โจทก์จัดให้มีสาธารณูปโภคเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่บริษัทของโจทก์จัดจำหน่ายแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการสุดท้ายว่า ภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์มิได้ใช้สิบปีสิ้นสภาพจากการเป็นภาระจำยอมหรือไม่ เห็นว่า ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 บัญญัติให้สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ และข้อ 18 ยังบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้น ทั้งนี้ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เป็นกฎหมายเฉพาะบัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและประชาชนทั่วไป จึงไม่สามารถนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการสิ้นไปของภาระจำยอมที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแก่ภาระจำยอมที่เกิดขึ้นในที่ดินของโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การที่โจทก์แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยเพื่อจำหน่ายให้แก่จำเลย ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการจดทะเบียนภาระจำยอมจากโจทก์ให้แก่จำเลย ซึ่งซื้อที่ดินจากบริษัท ช. เพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะถือเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภคอันเป็นกรณีเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็เป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีผลทำให้การแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกจำหน่าย ไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แต่อย่างใด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เป็นกฎหมายเฉพาะ บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและประชาชนทั่วไป จึงไม่สามารถนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการสิ้นไปของภาระจำยอมที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 14649, 33679 และ 99548 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พ้นจากการเป็นภาระจำยอมที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4358, 4359, 4360, 4361, 4362, 8134, 46087, 46088, 46089, 46090, 46091, 46092, 46093, 46094, 46105, 46106, 46107, 46108, 46109, 46110, 46111, 46119, 46120, 46121, 46122, 46123, 46124, 46125, 46126, 46127, 46189, 46190, 46191, 46192, 46193, 46194, 46136, 46137, 46138, 46139, 46140, 46141, 46142, 46143, 46144, 46155, 46156, 46157, 46158, 46159, 46160, 46162, 46173, 46174, 46175, 46176, 46177, 46178, 46206, 46207, 46208, 46209, 46210 และ 46211 ตำบลแสมดำ (บางบอน) อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร โดยให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม ไปจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอม หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่สิบสาม โดยให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมทั้งหมด
จำเลยที่ 1 ที่ 10 ที่ 12 ที่ 14 ที่ 15 ที่ 17 ถึงที่ 22 ที่ 26 ที่ 27 ที่ 29 ที่ 30 ที่ 33 ที่ 34 ที่ 38 ที่ 40 และที่ 41 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ที่ 11 ที่ 13 ที่ 16 ที่ 23 ถึงที่ 25 ที่ 28 ที่ 31 ที่ 32 ที่ 35 ถึงที่ 37 ที่ 39 ที่ 42 และที่ 43 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 1 ที่ 26 และที่ 27 ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ในแต่ละแปลง ไปจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์โฉนดที่ดินเลขที่ 14649, 33679 และ 99548 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ดินภารยทรัพย์ หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่สิบสาม โดยให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมทั้งหมด ให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์และจำเลยที่ 10 ที่ 12 ที่ 14 ที่ 15 ที่ 17 ถึงที่ 22 ที่ 30 ที่ 33 ที่ 34 ที่ 38 ที่ 40 และที่ 41 อุทธรณ์
สำหรับอุทธรณ์ของโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสี่สิบสาม ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่านำส่งหมาย ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาถึงวันที่ 8 มกราคม 2558 แต่โจทก์ไม่วางเงินค่านำส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ กรณีจึงฟังได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 ให้จำหน่ายอุทธรณ์ของโจทก์จากสารบบความ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท จึงไม่คืนให้
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลยที่อุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 6,000 บาท
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 14649, 33679 และ 99548 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ส่วนจำเลยทั้งสี่สิบสามเป็นเจ้าของที่ดินหกสิบห้าแปลงตามรายละเอียดที่ปรากฏในเอกสารท้ายฟ้อง โดยที่ดินของจำเลยทั้งสี่สิบสาม ตั้งอยู่ที่ตำบลแสมดำ (บางบอน) อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และที่ดินของโจทก์ทั้ง 3 แปลงดังกล่าวจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสี่สิบสาม
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 หรือไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า เมื่อพิจารณาที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 ซึ่งเดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทชูจิตต์ จำกัด และที่ดินของจำเลยทั้ง 43 คน จะเห็นได้ว่าไม่มีข้อความใดๆ ระบุไว้ในโฉนดที่ดินเลยว่าที่ดินทั้งหมดดังกล่าวอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 และไม่มีเอกสารอื่นใดของจำเลยระบุว่าที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 อยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลำพังเพียงการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 4391 และ 5270 เป็นแปลงย่อย ๆ เท่านั้น ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นที่ดินจัดสรรตามคำจำกัดความ "การจัดสรรที่ดิน" ในข้อ 1 ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แต่อย่างใดนั้น เห็นว่า ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 บัญญัติว่า "การจัดสรรที่ดินหมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไป ไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นค่าตอบแทน และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ หรือปรับปรุงที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย...." ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของคู่ความว่า โจทก์ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทชูจิตต์ จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทชูจิตต์ จำกัด แต่เพียงผู้เดียว และเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ตำบลแสมดำ อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ที่มีการจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสาม ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจากบริษัทชูจิตต์ จำกัด ของโจทก์จากการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 4391 และ 5270 ออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 10 แปลง ซึ่งโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทชูจิตต์ จำกัด จัดให้มีถนนเพื่อใช้เป็นทางสัญจรจากที่ดินแปลงย่อยไปยังส่วนที่เป็นถนนของที่ดินโฉนดเลขที่ 1127 เพื่อออกสู่ถนนสาธารณะ โดยก่อนที่บริษัทชูจิตต์ จำกัด จะจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 และ 5270 ขายให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสามนั้น โจทก์ได้จดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ให้แก่ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 และ 5270 ก่อนแล้ว เพื่อให้ที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งออกจากที่ดินแปลงดังกล่าวสามารถออกไปยังถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นถนนสาธารณะ กรณีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยเพื่อจำหน่ายให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสาม ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป และมีการจดทะเบียนภาระจำยอมจากโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสาม ซึ่งซื้อที่ดินจากบริษัทชูจิตต์ จำกัด เพื่อให้มีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะถือเป็นการจัดให้มีสาธารณูปโภคอันเป็นกรณีเข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้ว บริษัทชูจิตต์ จำกัด โจทก์และจำเลยทั้งสี่สิบสามย่อมตกอยู่ในบังคับของกฎหมายดังกล่าว แม้บริษัทชูจิตต์ จำกัด หรือโจทก์จะไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็เป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเท่านั้น ทั้งการที่ไม่มีข้อความใด ๆ ระบุไว้ในโฉนดที่ดินเลยว่าที่ดินทั้งหมดอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตามที่โจทก์ฎีกาก็ตาม ก็หามีผลให้การแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าวออกจำหน่ายไม่เข้าหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แต่อย่างใด ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ที่ดินที่นำมาแบ่งแยกและจำหน่ายให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสามเป็นของบริษัทชูจิตต์ จำกัด ไม่ใช่ของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์เป็นผู้จัดสรรที่ดินนั้น เห็นว่า นอกจากโจทก์จะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทชูจิตต์ จำกัด แล้วยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทชูจิตต์ จำกัด แต่เพียงผู้เดียว การที่โจทก์จดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ของโจทก์แก่ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4391 และ 5270 ซึ่งเป็นของบริษัทชูจิตต์ จำกัด และภายหลังเมื่อบริษัทชูจิตต์ จำกัด แบ่งแยกที่ดินจำหน่ายให้แก่จำเลยทั้งสี่สิบสามคนแล้วโจทก์ก็ยังจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 1127 ให้แก่ผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวเฉพาะรายเพื่อนำไปจดทะเบียนจำนองธนาคารอันเป็นการที่โจทก์จัดให้มีสาธารณูปโภคเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่บริษัทของโจทก์จัดจำหน่ายแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการสุดท้ายว่า ภาระจำยอมในที่ดินของโจทก์มิได้ใช้สิบปีสิ้นสภาพจากการเป็นภาระจำยอมหรือไม่ เห็นว่า ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 บัญญัติให้สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ และข้อ 18 ยังบัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินนั้น ทั้งนี้ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เป็นกฎหมายเฉพาะบัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรและประชาชนทั่วไป จึงไม่สามารถนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการสิ้นไปของภาระจำยอมที่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแก่ภาระจำยอมที่เกิดขึ้นในที่ดินของโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 และ 2.2 ขาดอายุความหรือไม่ ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์เพราะประสงค์ดำเนินคดีเอง โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดด้วย เมื่อโจทก์ฎีการับว่าผู้แทนโจทก์ทราบว่า จำเลยโอนโฉนดที่ดินตามฟ้องข้อ 2.1, 2.2 ไปให้บริษัท พ. และ ช. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 จึงเกินกว่า 3 เดือน ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนการที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารตามฟ้องให้กับบริษัท พ. เพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แม้การกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 2.3 อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดมีนบุรี แต่การกระทำความผิดดังกล่าวได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน จึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษเท่ากัน และโจทก์ยื่นฟ้องตามฟ้องข้อ 2.3 พร้อมกับคำฟ้องข้อ 2.4 และ 2.5 ต่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลที่ความผิดตามฟ้องข้อ 2.4 และ 2.5 เกิดขึ้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาฟ้องของโจทก์ข้อ 2.3 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวพันกับฟ้องข้อ 2.4 และ 2.5 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350,91
ศาลชั้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 การกระทำของจำเลยตามฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 ถึง 2.3 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 4 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 12 เดือน การกระทำของจำเลย ตามฟ้องโจทก์ข้อ 2.4 และ 2.5 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษเพียงกระทงเดียว (ที่ถูกบทเดียว) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 เดือน รวมจำคุก 16 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้องข้อ 2.3 ถึงข้อ 2.5 จำคุกกระทงละ 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 8 เดือน ยกฟ้องตามคำฟ้องข้อ 2.1 และ 2.2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ตามคำฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ขาดอายุความหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาพิเศษด้วย ซึ่งโจทก์จะต้องรู้ถึงเจตนาพิเศษนั้นด้วย แม้จำเลยได้โอนทรัพย์สินไปจนโจทก์อาจไม่ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และโจทก์ทราบถึงการกระทำของจำเลยดังกล่าวแล้ว หากปรากฏว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์สามารถบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยได้ครบถ้วนตามหนี้ที่มีอยู่ การโอนทรัพย์สินของจำเลยดังกล่าวก็ยังไม่เป็นการกระทำความผิด จนกว่าจำเลยได้โอนทรัพย์สินที่เหลือออกไปหมด เมื่อโจทก์ตรวจสอบเพิ่มเติมพบในภายหลังว่าจำเลยได้โอนทรัพย์ครั้งหลังไปจนหมด เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจบังคับคดีได้ โจทก์จึงเพิ่งทราบถึงการโอนทรัพย์สินของจำเลยในครั้งแรกและครั้งหลังซึ่งเป็นความผิด เมื่อปรากฏว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2555 ผู้แทนโจทก์ยึดทรัพย์ของบริษัทเพชรรัตน์ อิมปอร์ตแอนด์ เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด จำเลยที่ 2 ในคดีแพ่ง ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงต้องถือว่าโจทก์เพิ่งทราบเจตนาพิเศษของจำเลยและอายุความต้องเริ่มนับในวันดังกล่าว มิใช่วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทราบถึงการกระทำความผิด โดยไม่ทราบถึงเจตนาพิเศษของจำเลย เห็นว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์เพราะประสงค์ดำเนินคดีเอง โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดด้วย ซึ่งคำว่า รู้เรื่องความผิด หมายความถึง รู้ข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นความผิด ไม่ได้หมายความถึงความผิดต้องเกิดขึ้นหรือการกระทำเกิดผลเป็นความผิดขึ้นแล้ว เมื่อตามฎีกาของโจทก์รับว่าผู้แทนโจทก์ทราบว่าเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 จำเลยจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินตามฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ไปให้บริษัทเพชรรัตน์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และนายชูเกียรติ จึงถือว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 จึงเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ตามฟ้องดังกล่าวจึงขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามฟ้องข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ที่ศาลชั้นต้นหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่างวันและต่างสถานที่ โดยการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 เกิดที่สำนักงานที่ดินในกรุงเทพมหานคร มิใช่เขตฝั่งธนบุรี เมื่อโจทก์ขอให้ลงโทษแยกกระทง โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยตามฟ้องข้อดังกล่าวที่ศาลแขวงดุสิตและศาลจังหวัดมีนบุรี อันเป็นสถานที่กระทำความผิดแล้วขอให้นับโทษต่อ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้น สำหรับความผิดตามฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 เมื่อวินิจฉัยข้างต้นว่าคดีโจทก์ตามฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ขาดอายุความแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามคำฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ต่อศาลชั้นต้นหรือไม่ ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ 2.3 นั้น เห็นว่า แม้ความผิดตามฟ้องข้อ 2.3, 2.4 และ 2.5 เป็นความผิดแต่ละกรรมต่างกันและความผิดตามฟ้องข้อ 2.3 อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดมีนบุรีดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่การกระทำความผิดดังกล่าวได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน จึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษเท่ากัน และโจทก์ยื่นฟ้องตามฟ้องข้อ 2.3 พร้อมกับฟ้องข้อ 2.4 และข้อ 2.5 ต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่ความผิดตามฟ้องข้อ 2.4 และข้อ 2.5 เกิดขึ้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและให้ประทับฟ้องไว้แล้ว ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาฟ้องของโจทก์ข้อ 2.3 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวพันกับฟ้องข้อ 2.4 และข้อ 2.5 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 และ 2.2 ขาดอายุความหรือไม่ ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์เพราะประสงค์ดำเนินคดีเอง โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดด้วย เมื่อโจทก์ฎีการับว่าผู้แทนโจทก์ทราบว่า จำเลยโอนโฉนดที่ดินตามฟ้องข้อ 2.1, 2.2 ไปให้บริษัท พ. และ ช. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 จึงเกินกว่า 3 เดือน ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนการที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารตามฟ้องให้กับบริษัท พ. เพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แม้การกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 2.3 อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดมีนบุรี แต่การกระทำความผิดดังกล่าวได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน จึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษเท่ากัน และโจทก์ยื่นฟ้องตามฟ้องข้อ 2.3 พร้อมกับคำฟ้องข้อ 2.4 และ 2.5 ต่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลที่ความผิดตามฟ้องข้อ 2.4 และ 2.5 เกิดขึ้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาฟ้องของโจทก์ข้อ 2.3 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวพันกับฟ้องข้อ 2.4 และ 2.5 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350,91
ศาลชั้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 การกระทำของจำเลยตามฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 ถึง 2.3 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 4 เดือน รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 12 เดือน การกระทำของจำเลย ตามฟ้องโจทก์ข้อ 2.4 และ 2.5 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษเพียงกระทงเดียว (ที่ถูกบทเดียว) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 เดือน รวมจำคุก 16 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้องข้อ 2.3 ถึงข้อ 2.5 จำคุกกระทงละ 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 8 เดือน ยกฟ้องตามคำฟ้องข้อ 2.1 และ 2.2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์และจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ตามคำฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ขาดอายุความหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาพิเศษด้วย ซึ่งโจทก์จะต้องรู้ถึงเจตนาพิเศษนั้นด้วย แม้จำเลยได้โอนทรัพย์สินไปจนโจทก์อาจไม่ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน และโจทก์ทราบถึงการกระทำของจำเลยดังกล่าวแล้ว หากปรากฏว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์สามารถบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยได้ครบถ้วนตามหนี้ที่มีอยู่ การโอนทรัพย์สินของจำเลยดังกล่าวก็ยังไม่เป็นการกระทำความผิด จนกว่าจำเลยได้โอนทรัพย์สินที่เหลือออกไปหมด เมื่อโจทก์ตรวจสอบเพิ่มเติมพบในภายหลังว่าจำเลยได้โอนทรัพย์ครั้งหลังไปจนหมด เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจบังคับคดีได้ โจทก์จึงเพิ่งทราบถึงการโอนทรัพย์สินของจำเลยในครั้งแรกและครั้งหลังซึ่งเป็นความผิด เมื่อปรากฏว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2555 ผู้แทนโจทก์ยึดทรัพย์ของบริษัทเพชรรัตน์ อิมปอร์ตแอนด์ เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด จำเลยที่ 2 ในคดีแพ่ง ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงต้องถือว่าโจทก์เพิ่งทราบเจตนาพิเศษของจำเลยและอายุความต้องเริ่มนับในวันดังกล่าว มิใช่วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทราบถึงการกระทำความผิด โดยไม่ทราบถึงเจตนาพิเศษของจำเลย เห็นว่า ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์เพราะประสงค์ดำเนินคดีเอง โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดด้วย ซึ่งคำว่า รู้เรื่องความผิด หมายความถึง รู้ข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นความผิด ไม่ได้หมายความถึงความผิดต้องเกิดขึ้นหรือการกระทำเกิดผลเป็นความผิดขึ้นแล้ว เมื่อตามฎีกาของโจทก์รับว่าผู้แทนโจทก์ทราบว่าเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 จำเลยจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินตามฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ไปให้บริษัทเพชรรัตน์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และนายชูเกียรติ จึงถือว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 จึงเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ตามฟ้องดังกล่าวจึงขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามฟ้องข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ที่ศาลชั้นต้นหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า การกระทำความผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่างวันและต่างสถานที่ โดยการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 เกิดที่สำนักงานที่ดินในกรุงเทพมหานคร มิใช่เขตฝั่งธนบุรี เมื่อโจทก์ขอให้ลงโทษแยกกระทง โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยตามฟ้องข้อดังกล่าวที่ศาลแขวงดุสิตและศาลจังหวัดมีนบุรี อันเป็นสถานที่กระทำความผิดแล้วขอให้นับโทษต่อ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้น สำหรับความผิดตามฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 เมื่อวินิจฉัยข้างต้นว่าคดีโจทก์ตามฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ขาดอายุความแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามคำฟ้องข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ต่อศาลชั้นต้นหรือไม่ ส่วนความผิดตามฟ้องข้อ 2.3 นั้น เห็นว่า แม้ความผิดตามฟ้องข้อ 2.3, 2.4 และ 2.5 เป็นความผิดแต่ละกรรมต่างกันและความผิดตามฟ้องข้อ 2.3 อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดมีนบุรีดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่การกระทำความผิดดังกล่าวได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน จึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษเท่ากัน และโจทก์ยื่นฟ้องตามฟ้องข้อ 2.3 พร้อมกับฟ้องข้อ 2.4 และข้อ 2.5 ต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่ความผิดตามฟ้องข้อ 2.4 และข้อ 2.5 เกิดขึ้น เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องและให้ประทับฟ้องไว้แล้ว ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาฟ้องของโจทก์ข้อ 2.3 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวพันกับฟ้องข้อ 2.4 และข้อ 2.5 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
แม้โจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด หากมีการกระทำไปในทางที่จะทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเสียหาย ย่อมถือว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดและตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีแทนได้
โจทก์ฟ้องขอให้ถอนจำเลยเสียจากตำแหน่งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล และตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีแทน กับให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สิน หลักฐานการเงิน การบัญชี การบริหารงานทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดแก่โจทก์ ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ถอนจำเลยเสียจากตำแหน่งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดอุดรธานี ที่สมัครใจจะเป็นผู้ชำระบัญชีให้เป็นผู้ชำระบัญชีแทนที่จำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยเป็นบุตรร่วมบิดาเดียวกันคือนายเกรียงไกร ระหว่างนายเกรียงไกรมีชีวิตอยู่ได้ร่วมกับจำเลยจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล และมีนายเกรียงไกรและจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของนิติบุคคลดังกล่าวปรากฏตามหนังสือรับรอง ต่อมาวันที่ 16 สิงหาคม 2550 นายเกรียงไกรถึงแก่ความตาย ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ จำเลยและทายาทอื่นเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 321/2551 ครั้นวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยมีจำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวไม่ถูกต้องเรียบร้อยตามหน้าที่ ไม่ทำรายงานยื่นต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามกำหนดระยะเวลา ไม่เรียกประชุมใหญ่เกี่ยวกับการชำระบัญชีเพื่อรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ว่าได้จัดการชำระบัญชีไปอย่างไร ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวกับการจัดการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนดังกล่าว และมีการทำข้อตกลงในคดีแพ่งเพื่อให้จำเลยเบิกเงินจากกองมรดกของนายเกรียงไกรเพื่อนำไปชำระหนี้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้จำนองของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวปรากฏตามบันทึกข้อตกลง แต่จำเลยมิได้นำเงินของกองมรดกของนายเกรียงไกรไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตามข้อตกลง
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว และมิได้มีหน้าที่ในการบริหารหรือจัดการห้างหุ้นส่วน คงเป็นแต่ผู้จัดการมรดกของนายเกรียงไกร ผู้ตาย ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจากจำเลยมาเป็นโจทก์นั้น เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายเกรียงไกรซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว หากมีการกระทำไปในทางที่จะทำให้ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคลเสียหาย ย่อมถือว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายเกรียงไกรซึ่งเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเป็นผู้มีส่วนได้เสียแทนนายเกรียงไกรผู้ตาย เมื่อโจทก์พบว่าจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนดังกล่าวมีการดำเนินการไปในทางที่จะทำให้ประโยชน์ของห้างหุ้นส่วนเสียหาย เช่น การที่จำเลยมิได้นำเงินจากกองมรดกของนายเกรียงไกรไปชำระหนี้จำนองให้แก่เจ้าหนี้ผู้รับจำนองทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน ย่อมทำให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวซึ่งอยู่ระหว่างการชำระบัญชีเกิดความเสียหายอันเนื่องจากการเกิดดอกเบี้ยค้างชำระเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากห้างหุ้นส่วนไม่มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนและตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีแทนจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า มีเหตุสมควรถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล แล้วตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด แทน ชอบแล้วหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยมิได้ดำเนินการถอนเงินจากกองมรดกของนายเกรียงไกร มาชำระหนี้จำนองของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เห็นได้ชัดว่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วนรวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของกองมรดกของนายเกรียงไกรอันเกิดจากห้างหุ้นส่วนดังกล่าวที่มีการเลิกและชำระบัญชีนั้น จะต้องรับผิดชำระหนี้ในดอกเบี้ยของห้างหุ้นส่วนในที่ดินจำนองที่ห้างหุ้นส่วนตกเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าว การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ร่วมมือในการดำเนินงานเกี่ยวกับการชำระบัญชีและการถอนเงินของกองมรดกนายเกรียงไกรเพื่อนำไปชำระหนี้แก่นิติบุคคลนั้น ก็ไม่อาจรับฟังได้อันเนื่องจากว่ามีการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับกิจการ การเลิกห้างหุ้นส่วนดังกล่าวและมีการตกลงยอมความกันในคดีแพ่งโดยจำเลยก็ทราบดีว่าข้อตกลงดังกล่าวโจทก์และจำเลยตกลงให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีถอนเงินของกองมรดกของนายเกรียงไกรเพื่อไปชำระหนี้จำนองของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว แต่จำเลยก็มิได้ดำเนินการถอนเงินจากกองมรดกของนายเกรียงไกรเพื่อไปชำระหนี้จำนองของนิติบุคคลดังกล่าวนั้น ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วนทุกคนรวมทั้งประโยชน์ของกองมรดกของนายเกรียงไกร ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ใช้ดุลพินิจถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล จึงมีเหตุอันสมควรแล้ว ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ใช้ดุลพินิจตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ก็เป็นการถูกต้องอันเนื่องจากจำเลยน่าจะเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนและเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวดำเนินการชำระบัญชีไปในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วน และโจทก์กับจำเลยก็มีเรื่องขัดแย้งเกี่ยวกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว การที่จะแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีหรือแต่งตั้งโจทก์และจำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกัน ก็ยังจะก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อเนื่องและเป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ใช้ดุลพินิจตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการชำระบัญชีนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือนิติบุคคลอื่น ๆ นั้นก็เป็นการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติและเจ้าพนักงานบังคับคดียังเป็นบุคคลซึ่งเป็นกลางมิได้มีส่วนได้เสียกับห้างหุ้นส่วนจำกัดในคดีนี้ ย่อมมีความเหมาะสมและน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวมากกว่า ส่วนข้อกังวลถ้าตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีตามฎีกาของจำเลยนั้นก็เป็นเรื่องที่จำเลยคิดไปเอง และหากจะมีปัญหาดังกล่าวขึ้นก็มิใช่ข้อขัดข้องที่ไม่อาจแก้ไขได้ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
แม้โจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด หากมีการกระทำไปในทางที่จะทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเสียหาย ย่อมถือว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดและตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีแทนได้
โจทก์ฟ้องขอให้ถอนจำเลยเสียจากตำแหน่งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล และตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีแทน กับให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สิน หลักฐานการเงิน การบัญชี การบริหารงานทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดแก่โจทก์ ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ถอนจำเลยเสียจากตำแหน่งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดอุดรธานี ที่สมัครใจจะเป็นผู้ชำระบัญชีให้เป็นผู้ชำระบัญชีแทนที่จำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยเป็นบุตรร่วมบิดาเดียวกันคือนายเกรียงไกร ระหว่างนายเกรียงไกรมีชีวิตอยู่ได้ร่วมกับจำเลยจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล และมีนายเกรียงไกรและจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของนิติบุคคลดังกล่าวปรากฏตามหนังสือรับรอง ต่อมาวันที่ 16 สิงหาคม 2550 นายเกรียงไกรถึงแก่ความตาย ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ จำเลยและทายาทอื่นเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 321/2551 ครั้นวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนดังกล่าวโดยมีจำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวไม่ถูกต้องเรียบร้อยตามหน้าที่ ไม่ทำรายงานยื่นต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามกำหนดระยะเวลา ไม่เรียกประชุมใหญ่เกี่ยวกับการชำระบัญชีเพื่อรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ว่าได้จัดการชำระบัญชีไปอย่างไร ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวกับการจัดการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนดังกล่าว และมีการทำข้อตกลงในคดีแพ่งเพื่อให้จำเลยเบิกเงินจากกองมรดกของนายเกรียงไกรเพื่อนำไปชำระหนี้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้จำนองของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวปรากฏตามบันทึกข้อตกลง แต่จำเลยมิได้นำเงินของกองมรดกของนายเกรียงไกรไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตามข้อตกลง
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จำเลยฎีกาว่าโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว และมิได้มีหน้าที่ในการบริหารหรือจัดการห้างหุ้นส่วน คงเป็นแต่ผู้จัดการมรดกของนายเกรียงไกร ผู้ตาย ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจากจำเลยมาเป็นโจทก์นั้น เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายเกรียงไกรซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว หากมีการกระทำไปในทางที่จะทำให้ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคลเสียหาย ย่อมถือว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายเกรียงไกรซึ่งเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเป็นผู้มีส่วนได้เสียแทนนายเกรียงไกรผู้ตาย เมื่อโจทก์พบว่าจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนดังกล่าวมีการดำเนินการไปในทางที่จะทำให้ประโยชน์ของห้างหุ้นส่วนเสียหาย เช่น การที่จำเลยมิได้นำเงินจากกองมรดกของนายเกรียงไกรไปชำระหนี้จำนองให้แก่เจ้าหนี้ผู้รับจำนองทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน ย่อมทำให้ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวซึ่งอยู่ระหว่างการชำระบัญชีเกิดความเสียหายอันเนื่องจากการเกิดดอกเบี้ยค้างชำระเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากห้างหุ้นส่วนไม่มีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนและตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีแทนจำเลยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า มีเหตุสมควรถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล แล้วตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด แทน ชอบแล้วหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยมิได้ดำเนินการถอนเงินจากกองมรดกของนายเกรียงไกร มาชำระหนี้จำนองของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เห็นได้ชัดว่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วนรวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของกองมรดกของนายเกรียงไกรอันเกิดจากห้างหุ้นส่วนดังกล่าวที่มีการเลิกและชำระบัญชีนั้น จะต้องรับผิดชำระหนี้ในดอกเบี้ยของห้างหุ้นส่วนในที่ดินจำนองที่ห้างหุ้นส่วนตกเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าว การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ร่วมมือในการดำเนินงานเกี่ยวกับการชำระบัญชีและการถอนเงินของกองมรดกนายเกรียงไกรเพื่อนำไปชำระหนี้แก่นิติบุคคลนั้น ก็ไม่อาจรับฟังได้อันเนื่องจากว่ามีการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับกิจการ การเลิกห้างหุ้นส่วนดังกล่าวและมีการตกลงยอมความกันในคดีแพ่งโดยจำเลยก็ทราบดีว่าข้อตกลงดังกล่าวโจทก์และจำเลยตกลงให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีถอนเงินของกองมรดกของนายเกรียงไกรเพื่อไปชำระหนี้จำนองของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว แต่จำเลยก็มิได้ดำเนินการถอนเงินจากกองมรดกของนายเกรียงไกรเพื่อไปชำระหนี้จำนองของนิติบุคคลดังกล่าวนั้น ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วนทุกคนรวมทั้งประโยชน์ของกองมรดกของนายเกรียงไกร ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ใช้ดุลพินิจถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดรพาณิชยการ - ช่างกล จึงมีเหตุอันสมควรแล้ว ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ใช้ดุลพินิจตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ก็เป็นการถูกต้องอันเนื่องจากจำเลยน่าจะเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนและเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวดำเนินการชำระบัญชีไปในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วน และโจทก์กับจำเลยก็มีเรื่องขัดแย้งเกี่ยวกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว การที่จะแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีหรือแต่งตั้งโจทก์และจำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกัน ก็ยังจะก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อเนื่องและเป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ใช้ดุลพินิจตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการชำระบัญชีนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือนิติบุคคลอื่น ๆ นั้นก็เป็นการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติและเจ้าพนักงานบังคับคดียังเป็นบุคคลซึ่งเป็นกลางมิได้มีส่วนได้เสียกับห้างหุ้นส่วนจำกัดในคดีนี้ ย่อมมีความเหมาะสมและน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวมากกว่า ส่วนข้อกังวลถ้าตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีตามฎีกาของจำเลยนั้นก็เป็นเรื่องที่จำเลยคิดไปเอง และหากจะมีปัญหาดังกล่าวขึ้นก็มิใช่ข้อขัดข้องที่ไม่อาจแก้ไขได้ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การที่คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3604/2555 ของศาลชั้นต้น เป็นข้อแพ้ชนะคดีนี้แทน ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดี เพราะเป็นคำท้าที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญาซึ่งมีคู่ความรายเดียวกันและในมูลกรณีเดียวกันกับคดีนี้ จึงเป็นคำท้าที่ชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันคู่ความและศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามคำท้านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง กรณีถือได้ว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง คำท้าจึงมีผลผูกพันจำเลย
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนการจัดการมรดกของจำเลย ให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 11289, 29865, 12044 และ 11290 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลยี่ห้ออีซูซุ กลับคืนสู่กองมรดกของผู้ตายโดยไม่มีภาระติดพันใด ๆ ให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้โจทก์ครึ่งหนึ่งหรือเป็นเงิน 673,950 บาท หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้ ให้นำทรัพย์มรดกออกประมูลขายกันเองระหว่างทายาท หากประมูลระหว่างทายาทไม่ได้ ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกดังกล่าวทั้งหมด
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 11289, 29865, 12044 และ 11290 โดยปลอดจากการจำนองและภาระผูกพันใด ๆ และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลยี่ห้ออีซูซุ ให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่ง หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้ให้นำทรัพย์ดังกล่าวออกประมูลขายกันเองระหว่างทายาท หากประมูลระหว่างทายาทไม่ได้ ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งจำนวน 673,950 บาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้แล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหายักยอกตามคดีหมายเลขดำที่ 3604/2555 ของศาลชั้นต้นด้วย ซึ่งทั้งคดีนี้และคดีอาญาดังกล่าว จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของผู้ตาย ดังนั้น คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ โดยตกลงกันว่า หากคดีอาญาดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตายไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ยอมแพ้คดี แต่หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์เป็นทายาทของผู้ตาย จำเลยยินยอมโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 11289, 29865, 12044 และ 11290 โดยปลอดจากจำนองและภาระผูกพันใด ๆ และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลยี่ห้ออีซูซุ ให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กชาย ป. บุตรของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตาย ส่วนจำเลยไม่ขอรับที่ดินทั้งสี่แปลงและรถยนต์บรรทุกตามฟ้อง ต่อมาคดีอาญาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นบุตรผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีอาญาผูกพันจำเลยหรือไม่ เห็นว่า การที่คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3604/2555 ของศาลชั้นต้น เป็นข้อแพ้ชนะคดีนี้แทน ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดี เพราะเป็นคำท้าที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญาซึ่งมีคู่ความรายเดียวกันและในมูลกรณีเดียวกันกับคดีนี้ จึงเป็นคำท้าที่ชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันคู่ความและศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามคำท้านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นบุตรผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีอาญาดังกล่าววินิจฉัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคดีครอบครัวด้วย แต่การที่คู่ความตกลงกันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะคดีนี้แทนและจำเลยยื่นคำร้องในคดีอาญาดังกล่าวขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มิใช่บุตรของผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้อง กรณีถือได้ว่า จำเลยยอมรับอำนาจศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย โดยจำเลยจะยกขึ้นมาโต้แย้งภายหลังไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การที่คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3604/2555 ของศาลชั้นต้น เป็นข้อแพ้ชนะคดีนี้แทน ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดี เพราะเป็นคำท้าที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญาซึ่งมีคู่ความรายเดียวกันและในมูลกรณีเดียวกันกับคดีนี้ จึงเป็นคำท้าที่ชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันคู่ความและศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามคำท้านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง กรณีถือได้ว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง คำท้าจึงมีผลผูกพันจำเลย
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนการจัดการมรดกของจำเลย ให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 11289, 29865, 12044 และ 11290 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลยี่ห้ออีซูซุ กลับคืนสู่กองมรดกของผู้ตายโดยไม่มีภาระติดพันใด ๆ ให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้โจทก์ครึ่งหนึ่งหรือเป็นเงิน 673,950 บาท หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้ ให้นำทรัพย์มรดกออกประมูลขายกันเองระหว่างทายาท หากประมูลระหว่างทายาทไม่ได้ ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกดังกล่าวทั้งหมด
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 11289, 29865, 12044 และ 11290 โดยปลอดจากการจำนองและภาระผูกพันใด ๆ และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลยี่ห้ออีซูซุ ให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่ง หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้ให้นำทรัพย์ดังกล่าวออกประมูลขายกันเองระหว่างทายาท หากประมูลระหว่างทายาทไม่ได้ ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งจำนวน 673,950 บาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้แล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหายักยอกตามคดีหมายเลขดำที่ 3604/2555 ของศาลชั้นต้นด้วย ซึ่งทั้งคดีนี้และคดีอาญาดังกล่าว จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของผู้ตาย ดังนั้น คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ โดยตกลงกันว่า หากคดีอาญาดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตายไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ยอมแพ้คดี แต่หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์เป็นทายาทของผู้ตาย จำเลยยินยอมโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 11289, 29865, 12044 และ 11290 โดยปลอดจากจำนองและภาระผูกพันใด ๆ และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลยี่ห้ออีซูซุ ให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กชาย ป. บุตรของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตาย ส่วนจำเลยไม่ขอรับที่ดินทั้งสี่แปลงและรถยนต์บรรทุกตามฟ้อง ต่อมาคดีอาญาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นบุตรผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีอาญาผูกพันจำเลยหรือไม่ เห็นว่า การที่คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3604/2555 ของศาลชั้นต้น เป็นข้อแพ้ชนะคดีนี้แทน ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดี เพราะเป็นคำท้าที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญาซึ่งมีคู่ความรายเดียวกันและในมูลกรณีเดียวกันกับคดีนี้ จึงเป็นคำท้าที่ชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันคู่ความและศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามคำท้านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นบุตรผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีอาญาดังกล่าววินิจฉัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคดีครอบครัวด้วย แต่การที่คู่ความตกลงกันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะคดีนี้แทนและจำเลยยื่นคำร้องในคดีอาญาดังกล่าวขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มิใช่บุตรของผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้อง กรณีถือได้ว่า จำเลยยอมรับอำนาจศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย โดยจำเลยจะยกขึ้นมาโต้แย้งภายหลังไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
เมื่อผู้ตายยังมีทายาทโดยธรรมและร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาเช่นนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมย่อมสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายยิ่งกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นเพียงเจ้าของรวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมากับผู้ตายในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ทั้งทรัพย์สินที่มีชื่อผู้ตายถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นของมารดาผู้คัดค้านและผู้ตาย เป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน และเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของผู้ตายเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกและผู้คัดค้านเอง ไม่ใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ซึ่งย่อมเป็นอุปสรรคต่อการรวบรวม จัดการและแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย นอกจากนี้ในคดีที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันชีวิตนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของผู้คัดค้านด้วยเหตุผลว่าผู้คัดค้านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลอมลายมือชื่อของผู้ตาย น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านวางแผนทำสัญญาประกันชีวิตให้ผู้ตายเพื่อต้องการได้รับประโยชน์จากเงื่อนไขในกรมธรรม์มากกว่าทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตให้ผู้ตาย ผู้คัดค้านใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน และผู้ร้องยังฟ้องผู้คัดค้านต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเบิกความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีที่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ยิ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
การที่ศาลใช้ดุลพินิจตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกนั้น นอกจากจะต้องเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แล้ว ศาลยังจะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการนั้นด้วย ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าการที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านได้รับประโยชน์จากการทำสัญญาประกันชีวิตของผู้ตายแต่ผู้เดียวสูงถึง 22,000,000 บาทเศษ อันเป็นเรื่องผิดปกติทั้งๆ ที่ผู้คัดค้านเป็นภริยาซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนผู้ตายจะเสียชีวิตเพียง 2 ปีเศษ อีกทั้งสาเหตุที่ผู้ตายถูกคนร้ายยิงจนถึงแก่ความตายยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่าผู้คัดค้านมีส่วนรู้เห็นที่ผู้ตายถูกยิงหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยถึงความน่าเชื่อถือในตัวผู้คัดค้านว่าสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ส่วนการวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย และกิจการโรงเรียนกวดวิชาขาดทุนและปิดกิจการไปแล้ว ประกอบกับการที่ผู้ร้องยื่นฟ้องผู้คัดค้านข้อหาเบิกความเท็จ แสดงว่าต่างมีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย การจัดการมรดกร่วมกันมีข้อขัดข้อง ไม่อาจจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันต่อไปได้ ทั้งหมดเหล่านี้ย่อมเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการต่อไปประกอบการตั้งผู้จัดการมรดกหรือการเพิกถอนผู้จัดการมรดกคนใดคนหนึ่ง ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน และเมื่อประเด็นที่ว่า ผู้คัดค้านละเลยต่อหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นนี้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนางเสาวณีย์ ผู้ร้องและนางสาวพิชญ์สินี ผู้คัดค้าน ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของนายศิธรหรือจิรศักดิ์ ผู้ตาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอให้ถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งถอนนางสาวพิชญ์สินี ผู้คัดค้าน ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายศิธรหรือจิรศักดิ์ ผู้ตาย และให้นางเสาวณีย์ ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว โดยให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า นายศิธรหรือจิรศักดิ์ ผู้ตาย เป็นบุตรของผู้ร้องและนายสนธิ ตามสำเนารายการเกี่ยวกับบ้าน เดิมผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากับนางปิยฉัตร โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรร่วมกัน 2 คน คือ นางสาวณัฐธิดา และนายณัฐวุฒิ ตามสำเนารายการเกี่ยวกับบ้าน ต่อมาผู้ตายเลิกร้างกับนางปิยฉัตร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้คัดค้าน แต่ไม่มีบุตรร่วมกัน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2554 ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกคนร้ายยิงศีรษะ ตามมรณบัตร
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ศาลสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้อง นายสนธิ นางสาวณัฐธิดาและนายณัฐวุฒิเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ทั้งนายสนธิ นางสาวณัฐธิดาและนายณัฐวุฒิยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของผู้ตาย ไม่เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ผู้คัดค้านอ้างว่า เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตาย แต่ผู้คัดค้านอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเพียง 2 ปีเศษ ไม่มีบุตรร่วมกัน ผู้ตายก็ถึงแก่ความตาย เมื่อผู้ตายยังมีทายาทโดยธรรมและร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาเช่นนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมย่อมสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายยิ่งกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นเพียงเจ้าของรวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมากับผู้ตายในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ทั้งทรัพย์สินที่มีชื่อผู้ตายถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครอง เช่น ที่ดินและอาคารพาณิชย์เลขที่ 323 ถึง 323/1 ถนนมหาราช ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นของนางชนาพร มารดาของผู้คัดค้านและผู้ตาย บุคคลทั้งสองกู้ยืมเงินจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ ผู้ตายมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนนางชนาพร หากเป็นเช่นนี้ทรัพย์สินทั้งสองรายการนี้ย่อมไม่เกี่ยวกับผู้คัดค้าน รถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลตผู้ตายมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้คัดค้าน กิจการโรงเรียนกวดวิชาแม็คทั้งสาขากระบี่และสาขาภูเก็ต จดทะเบียนใบอนุญาตในชื่อผู้คัดค้าน หลังผู้ตายถึงแก่ความตาย กิจการขาดทุนทั้งสองแห่ง คงมีแต่รถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด เรนเจอร์ ที่อยู่ในครอบครองของผู้ร้องและกิจการร้านอาหาร TOSIT ที่อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของผู้ตายเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกและผู้คัดค้านเอง ไม่ใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ซึ่งย่อมเป็นอุปสรรคต่อการรวบรวม จัดการและแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย นอกจากนี้ในคดีที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันชีวิตนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของผู้คัดค้านด้วยเหตุผลว่าผู้คัดค้านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลอมลายมือชื่อของผู้ตายในคำขอเปลี่ยนแปลง/ต่ออายุกรรมธรรม์จากเดิมที่ระบุให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้รับประโยชน์คนละครึ่งมาเป็นให้ผู้คัดค้านได้รับประโยชน์เพียงผู้เดียว และการเสียชีวิตของผู้ตายทำให้ผู้คัดค้านได้รับประโยชน์อย่างมากจากการทำประกันชีวิตของผู้ตายหลายสัญญา น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านวางแผนทำสัญญาประกันชีวิตให้ผู้ตายเพื่อต้องการได้รับประโยชน์จากเงื่อนไขในกรมธรรม์มากกว่าทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตให้ผู้ตาย ผู้คัดค้านใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน ตามสำเนาคำพิพากษาและผู้ร้องยังฟ้องผู้คัดค้านต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเบิกความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีที่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนกันดังกล่าวตามสำเนาคำฟ้อง ยิ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้คัดค้านละเลยต่อหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล เห็นว่า การที่ศาลใช้ดุลพินิจตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกนั้น นอกจากจะต้องเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แล้ว ศาลยังจะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการนั้นด้วย ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าการที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านได้รับประโยชน์จากการทำสัญญาประกันชีวิตของผู้ตายแต่ผู้เดียวสูงถึง 22,000,000 บาทเศษ อันเป็นเรื่องผิดปกติทั้งๆ ที่ผู้คัดค้านเป็นภริยาซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนผู้ตายจะเสียชีวิตเพียง 2 ปีเศษ อีกทั้งสาเหตุที่ผู้ตายถูกคนร้ายยิงจนถึงแก่ความตายยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่าผู้คัดค้านมีส่วนรู้เห็นที่ผู้ตายถูกยิงหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยถึงความน่าเชื่อถือในตัวผู้คัดค้านว่าสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ส่วนการวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย และกิจการโรงเรียนกวดวิชาขาดทุนและปิดกิจการไปแล้ว ประกอบกับการที่ผู้ร้องยื่นฟ้องผู้คัดค้านข้อหาเบิกความเท็จ แสดงว่าต่างมีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย การจัดการมรดกร่วมกันมีข้อขัดข้อง ไม่อาจจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันต่อไปได้ ทั้งหมดเหล่านี้ย่อมเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการต่อไปประกอบการตั้งผู้จัดการมรดกหรือการเพิกถอนผู้จัดการมรดกคนใดคนหนึ่ง ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนและเมื่อประเด็นที่ว่า ผู้คัดค้านละเลยต่อหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
เมื่อผู้ตายยังมีทายาทโดยธรรมและร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาเช่นนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมย่อมสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายยิ่งกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นเพียงเจ้าของรวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมากับผู้ตายในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ทั้งทรัพย์สินที่มีชื่อผู้ตายถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นของมารดาผู้คัดค้านและผู้ตาย เป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน และเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของผู้ตายเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกและผู้คัดค้านเอง ไม่ใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ซึ่งย่อมเป็นอุปสรรคต่อการรวบรวม จัดการและแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย นอกจากนี้ในคดีที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันชีวิตนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของผู้คัดค้านด้วยเหตุผลว่าผู้คัดค้านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลอมลายมือชื่อของผู้ตาย น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านวางแผนทำสัญญาประกันชีวิตให้ผู้ตายเพื่อต้องการได้รับประโยชน์จากเงื่อนไขในกรมธรรม์มากกว่าทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตให้ผู้ตาย ผู้คัดค้านใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน และผู้ร้องยังฟ้องผู้คัดค้านต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเบิกความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีที่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ยิ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
การที่ศาลใช้ดุลพินิจตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกนั้น นอกจากจะต้องเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แล้ว ศาลยังจะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการนั้นด้วย ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าการที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านได้รับประโยชน์จากการทำสัญญาประกันชีวิตของผู้ตายแต่ผู้เดียวสูงถึง 22,000,000 บาทเศษ อันเป็นเรื่องผิดปกติทั้งๆ ที่ผู้คัดค้านเป็นภริยาซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนผู้ตายจะเสียชีวิตเพียง 2 ปีเศษ อีกทั้งสาเหตุที่ผู้ตายถูกคนร้ายยิงจนถึงแก่ความตายยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่าผู้คัดค้านมีส่วนรู้เห็นที่ผู้ตายถูกยิงหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยถึงความน่าเชื่อถือในตัวผู้คัดค้านว่าสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ส่วนการวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย และกิจการโรงเรียนกวดวิชาขาดทุนและปิดกิจการไปแล้ว ประกอบกับการที่ผู้ร้องยื่นฟ้องผู้คัดค้านข้อหาเบิกความเท็จ แสดงว่าต่างมีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย การจัดการมรดกร่วมกันมีข้อขัดข้อง ไม่อาจจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันต่อไปได้ ทั้งหมดเหล่านี้ย่อมเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการต่อไปประกอบการตั้งผู้จัดการมรดกหรือการเพิกถอนผู้จัดการมรดกคนใดคนหนึ่ง ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน และเมื่อประเด็นที่ว่า ผู้คัดค้านละเลยต่อหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นนี้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนางเสาวณีย์ ผู้ร้องและนางสาวพิชญ์สินี ผู้คัดค้าน ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของนายศิธรหรือจิรศักดิ์ ผู้ตาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอให้ถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งถอนนางสาวพิชญ์สินี ผู้คัดค้าน ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายศิธรหรือจิรศักดิ์ ผู้ตาย และให้นางเสาวณีย์ ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว โดยให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า นายศิธรหรือจิรศักดิ์ ผู้ตาย เป็นบุตรของผู้ร้องและนายสนธิ ตามสำเนารายการเกี่ยวกับบ้าน เดิมผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากับนางปิยฉัตร โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรร่วมกัน 2 คน คือ นางสาวณัฐธิดา และนายณัฐวุฒิ ตามสำเนารายการเกี่ยวกับบ้าน ต่อมาผู้ตายเลิกร้างกับนางปิยฉัตร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้คัดค้าน แต่ไม่มีบุตรร่วมกัน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2554 ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเหตุถูกคนร้ายยิงศีรษะ ตามมรณบัตร
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ศาลสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้อง นายสนธิ นางสาวณัฐธิดาและนายณัฐวุฒิเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ทั้งนายสนธิ นางสาวณัฐธิดาและนายณัฐวุฒิยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของผู้ตาย ไม่เป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ผู้คัดค้านอ้างว่า เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตาย แต่ผู้คัดค้านอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเพียง 2 ปีเศษ ไม่มีบุตรร่วมกัน ผู้ตายก็ถึงแก่ความตาย เมื่อผู้ตายยังมีทายาทโดยธรรมและร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาเช่นนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมย่อมสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายยิ่งกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นเพียงเจ้าของรวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมากับผู้ตายในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ทั้งทรัพย์สินที่มีชื่อผู้ตายถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครอง เช่น ที่ดินและอาคารพาณิชย์เลขที่ 323 ถึง 323/1 ถนนมหาราช ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นของนางชนาพร มารดาของผู้คัดค้านและผู้ตาย บุคคลทั้งสองกู้ยืมเงินจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ ผู้ตายมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนนางชนาพร หากเป็นเช่นนี้ทรัพย์สินทั้งสองรายการนี้ย่อมไม่เกี่ยวกับผู้คัดค้าน รถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลตผู้ตายมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้คัดค้าน กิจการโรงเรียนกวดวิชาแม็คทั้งสาขากระบี่และสาขาภูเก็ต จดทะเบียนใบอนุญาตในชื่อผู้คัดค้าน หลังผู้ตายถึงแก่ความตาย กิจการขาดทุนทั้งสองแห่ง คงมีแต่รถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด เรนเจอร์ ที่อยู่ในครอบครองของผู้ร้องและกิจการร้านอาหาร TOSIT ที่อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตาย แสดงว่าผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินของผู้ตายเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกและผู้คัดค้านเอง ไม่ใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ซึ่งย่อมเป็นอุปสรรคต่อการรวบรวม จัดการและแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย นอกจากนี้ในคดีที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันชีวิตนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของผู้คัดค้านด้วยเหตุผลว่าผู้คัดค้านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลอมลายมือชื่อของผู้ตายในคำขอเปลี่ยนแปลง/ต่ออายุกรรมธรรม์จากเดิมที่ระบุให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้รับประโยชน์คนละครึ่งมาเป็นให้ผู้คัดค้านได้รับประโยชน์เพียงผู้เดียว และการเสียชีวิตของผู้ตายทำให้ผู้คัดค้านได้รับประโยชน์อย่างมากจากการทำประกันชีวิตของผู้ตายหลายสัญญา น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านวางแผนทำสัญญาประกันชีวิตให้ผู้ตายเพื่อต้องการได้รับประโยชน์จากเงื่อนไขในกรมธรรม์มากกว่าทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตให้ผู้ตาย ผู้คัดค้านใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน ตามสำเนาคำพิพากษาและผู้ร้องยังฟ้องผู้คัดค้านต่อศาลชั้นต้นในข้อหาเบิกความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีที่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนกันดังกล่าวตามสำเนาคำฟ้อง ยิ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าผู้คัดค้านละเลยต่อหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล เห็นว่า การที่ศาลใช้ดุลพินิจตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกนั้น นอกจากจะต้องเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แล้ว ศาลยังจะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการนั้นด้วย ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าการที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้ผู้คัดค้านได้รับประโยชน์จากการทำสัญญาประกันชีวิตของผู้ตายแต่ผู้เดียวสูงถึง 22,000,000 บาทเศษ อันเป็นเรื่องผิดปกติทั้งๆ ที่ผู้คัดค้านเป็นภริยาซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนผู้ตายจะเสียชีวิตเพียง 2 ปีเศษ อีกทั้งสาเหตุที่ผู้ตายถูกคนร้ายยิงจนถึงแก่ความตายยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยว่าผู้คัดค้านมีส่วนรู้เห็นที่ผู้ตายถูกยิงหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยถึงความน่าเชื่อถือในตัวผู้คัดค้านว่าสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ส่วนการวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย และกิจการโรงเรียนกวดวิชาขาดทุนและปิดกิจการไปแล้ว ประกอบกับการที่ผู้ร้องยื่นฟ้องผู้คัดค้านข้อหาเบิกความเท็จ แสดงว่าต่างมีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย การจัดการมรดกร่วมกันมีข้อขัดข้อง ไม่อาจจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันต่อไปได้ ทั้งหมดเหล่านี้ย่อมเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการต่อไปประกอบการตั้งผู้จัดการมรดกหรือการเพิกถอนผู้จัดการมรดกคนใดคนหนึ่ง ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนและเมื่อประเด็นที่ว่า ผู้คัดค้านละเลยต่อหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ต้องเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของตนเองหรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับตน เมื่อจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเป็นธุระจัดหาและพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี อันเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น มิใช่เพื่อสนองความใคร่ของจำเลยทั้งสองกับพวก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม แต่ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ส่วนความผิดฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ฐานค้ามนุษย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 283, 283 ทวิ, 317 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 4, 9 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4, 6, 9, 10, 52
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคสาม วรรคสี่ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2), 9 วรรคหนึ่ง วรรคสอง, 10 วรรคหนึ่ง, 52 วรรคสาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม, 283 ทวิ วรรคสอง, 317 วรรคสาม, 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี เพื่อให้กระทำการค้าประเวณี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ฐานร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ และฐานร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อให้กระทำการค้าประเวณีฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 13 ปี 4 เดือน ฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ จำคุกคนละ 4 ปี ฐานโดยปราศจากเหตุอันสมควรร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร จำคุกคนละ 5 ปี รวมจำคุกคนละ 22 ปี 4 เดือน
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับความผิดฐานค้ามนุษย์และฐานโดยปราศจากเหตุอันสมควรร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2541 ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีอยู่ในความปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดา
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ โดยจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 นางสาวทักษิณาหรือเอิร์น และนายวิษณุพงษ์ ซึ่งเป็นประจักษ์พยานมีข้อพิรุธสงสัยไม่น่าเชื่อถือนั้น ผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาพยานโจทก์เบิกความได้ความว่า เมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เพื่อนรุ่นพี่ของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งพักอยู่บริเวณซอยพหลโยธิน 54 ชักชวนให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปทำงานกับจำเลยทั้งสองจะได้มีเงินใช้ และพาผู้เสียหายที่ 1 ไปพบจำเลยทั้งสองที่บริเวณซอยพหลโยธินอีกซอยหนึ่งซึ่งมีรถเก๋งจอดอยู่ จำเลยที่ 1 เดินเข้าไปพูดคุยกับชายที่อยู่ในรถเก๋ง จากนั้นชายคนดังกล่าวส่งเงินให้จำเลยที่ 1 จำนวน 500 บาท แล้วจำเลยทั้งสองให้ผู้เสียหายที่ 1 ขึ้นรถเก๋งไปกับชายคนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ถูกพาไปที่โรงแรมพีพีซึ่งอยู่ในซอยเพิ่มสินแล้วชายคนดังกล่าวมีเพศสัมพันธ์กับผู้เสียหายที่ 1 ต่อมาชายคนดังกล่าวโทรศัพท์หาจำเลยที่ 1 และพาผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งที่บริเวณถนนโชคชัย 4 จำเลยที่ 1 ให้ลูกน้องมารับและพาผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งที่อพาร์ตเม้นท์บริเวณห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีสะพานใหม่ ผู้เสียหายที่ 1 พบกับนางสาวพิมลดาหรือพิมพ์และนางสาวทักษิณา จำเลยที่ 1 แบ่งเงินที่ผู้เสียหายที่ 1 ได้จากการค้าประเวณีจำนวน 1,000 บาท ให้ผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 700 บาท ส่วนอีก 300 บาท จำเลยที่ 1 เก็บไว้ ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 โทรศัพท์ติดต่อผู้ซื้อบริการทางเพศแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปขายบริการทางเพศอีกสองครั้งโดยส่งไปที่โรงแรมบริเวณถนนลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี การขายบริการทางเพศแต่ละครั้งจำเลยทั้งสองได้รับค่านายหน้าจำนวน 500 บาท และเมื่อผู้เสียหายที่ 1 ได้รับค่าบริการทางเพศจำนวน 1,000 บาท จะต้องแบ่งให้จำเลยที่ 1 จำนวน 300 บาท ส่วนผู้เสียหายที่ 1 รับไว้เองจำนวน 700 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสองพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยที่ 1 ที่ซอยพหลโยธิน 51 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำเลยที่ 1 และสามี บุตร และมารดาของจำเลยที่ 1 พักอาศัย ผู้เสียหายที่ 1 นางสาวพิมลดาและนางสาวทักษิณามาพักอาศัยด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 พักอาศัยอยู่บ้านตรงข้าม ขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยที่บ้านของจำเลยที่ 1 ต้องขายบริการทางเพศทุกวันโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ติดต่อผู้ที่ต้องการซื้อบริการทางเพศและส่งรูปให้ดูก่อน การไปขายบริการทางเพศจะมีจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งตามสถานที่ที่นัดหมายกันไว้ บางครั้งก็ให้นางสาวพิมลดาพาไปส่ง ก่อนขายบริการทางเพศจำเลยที่ 1 จะให้โทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้เสียหายที่ 1 เมื่อขายบริการทางเพศเสร็จแล้วให้ผู้เสียหายที่ 1 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวติดต่อจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 จะมารับตามที่นัดหมายและนำโทรศัพท์เคลื่อนที่คืนไป ระหว่างที่ผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน 2556 ผู้เสียหายที่ 1 ต้องขายบริการทางเพศมากกว่า 10 ครั้ง ระยะหลังผู้เสียหายที่ 1 ได้รับค่าตัวเพียงครั้งละ 200 ถึง 300 บาท โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่าเนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 มาพักอาศัยที่บ้านของจำเลยที่ 1 จึงต้องหักเงินเป็นค่ากินค่าอยู่ จำเลยทั้งสองมักจะขู่ผู้เสียหายที่ 1 ว่าหากหลบหนีไป จำเลยทั้งสองสามารถตามตัวมาได้และต้องถูกลงโทษทุบตี ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2556 จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาไปขายบริการทางเพศที่บริเวณดอนเมืองโดยผู้ซื้อบริการทางเพศพาผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาไปที่คอนโดมิเนียมบริเวณคลองตัน หลังจากขายบริการทางเพศเสร็จแล้วผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาพากันหลบหนีจำเลยทั้งสองไปที่บ้านของนางสาวทักษิณาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาวันรุ่งขึ้นขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาเดินทางมารับพี่สาวของนางสาวทักษิณาที่สถานีขนส่งจังหวัดเพชรบูรณ์ ปรากฏว่านางสาวพิมลดาและนางสาวเปิ้ล หลานของจำเลยที่ 1 มาพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อจำเลยที่ 1 รู้ว่าผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาผู้เสียหายที่ 1 และเจ้าพนักงานตำรวจมาตามหาผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงให้ผู้เสียหายที่ 1 โทรศัพท์แจ้งแก่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเท็จว่าอยู่ตรงนั้นตรงนี้เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 2 และเจ้าพนักงานตำรวจตามหาผู้เสียหายที่ 1 ไม่พบและห้ามมิให้ผู้เสียหายที่ 1 พูดถึงจำเลยทั้งสอง ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับสัญญาณจากตู้โทรศัพท์และตามหาผู้เสียหายที่ 1 จนพบ รวมทั้งจับกุมจำเลยทั้งสองมาดำเนินคดี เมื่อพิจารณาจากคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาพยานโจทก์ทั้งสองแล้ว เห็นว่า พยานทั้งสองเบิกความสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองติดต่อทางโทรศัพท์กับผู้ที่ต้องการซื้อบริการทางเพศแล้วพาพยานทั้งสองไปส่งให้ชายผู้ที่ประสงค์จะซื้อบริการทางเพศโดยจำเลยทั้งสองได้รับเงินค่านายหน้า แล้วยังหักเงินจากพยานทั้งสองที่ได้รับจากการขายบริการทางเพศไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย ขณะเกิดเหตุพยานทั้งสองเป็นเด็กอายุยังน้อย ไม่น่าเชื่อว่าพยานทั้งสองจะสร้างเรื่องขึ้นปรักปรำจำเลยทั้งสองโดยปราศจากมูลความจริง คำเบิกความของพยานทั้งสองมีรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทำของจำเลยทั้งสองอย่างชัดเจนและไม่ปรากฏข้อพิรุธในข้อที่เป็นสาระสำคัญ นอกจากนี้ยังได้ความจากคำเบิกความของนายวิษณุพงษ์พยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเปิดห้องพักโรงแรมม่านรูดชื่อโรงแรมโมเดิร์นตั้งอยู่ที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ยืนยันว่า ผู้หญิงที่นำผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณามาส่งที่โรงแรมคือบุคคลในภาพถ่ายซึ่งก็คือจำเลยที่ 2 คำเบิกความของนายวิษณุพงษ์สอดคล้องและสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาทำให้มีน้ำหนักในการรับฟังมากยิ่งขึ้น ดังนี้ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงและเชื่อถือได้ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างว่า หลังจากผู้เสียหายที่ 1 ขายบริการทางเพศครั้งแรกแล้ว ในวันเดียวกันผู้เสียหายที่ 1 ยังขายบริการทางเพศอีกสองครั้ง รวมเป็นสามครั้งโดยโจทก์และผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้นำสืบว่า ผู้เสียหายที่ 1 ไปขายบริการทางเพศที่ไหน กับใคร สถานที่ใด เวลากลางวันหรือกลางคืน ได้เงินมาเท่าใด และจำเลยทั้งสองหักเงินไปเท่าใดนั้น เห็นว่า ผู้เสียหายที่ 1 เบิกความในสาระสำคัญแล้วว่า การขายบริการทางเพศแต่ละครั้งจำเลยทั้งสองได้รับค่านายหน้าจำนวน 500 บาท และเมื่อผู้เสียหายที่ 1 ได้รับค่าบริการทางเพศจำนวน 1,000 บาท จะต้องแบ่งให้จำเลยที่ 1 จำนวน 300 บาท ส่วนเรื่องสถานที่ที่ไปขายบริการทางเพศในแต่ละครั้งเป็นสถานที่ใด ในเวลากลางวันหรือกลางคืนเป็นเรื่องรายละเอียด แม้ผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้เบิกความกล่าวอ้างถึงเวลาและสถานที่ทุกแห่งที่ถูกพาไปขายบริการทางเพศก็ไม่ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 มีข้อพิรุธสงสัยถึงกับขาดน้ำหนักในการรับฟัง เพราะมีการไปขายบริการทางเพศหลายครั้งซึ่งย่อมเป็นการยากที่จะจดจำรายละเอียดได้ทั้งหมด ส่วนเรื่องเกี่ยวกับการข่มขู่ บังคับ และขู่เข็ญให้ขายบริการทางเพศนั้น ผู้เสียหายที่ 1 เบิกความว่า ผู้เสียหายที่ 1 ถูกจำเลยทั้งสองขู่ว่าหากหลบหนีไปจะถูกตามตัวมาและลงโทษทุบตี และนางสาวทักษิณาเบิกความว่า ผู้เสียหายที่ 1 ไม่มีอิสระที่จะออกไปไหนมาไหนและจำเลยที่ 1 ขู่ว่าหากหลบหนีจะให้คนตามไปทำร้าย อีกทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความด้วยว่า เมื่อผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาหลบหนีไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำเลยทั้งสองยังให้นางสาวพิมลดาและนางสาวเปิ้ลหลานของจำเลยที่ 1 ไปตามผู้เสียหายที่ 1 เมื่อพบกันนางสาวพิมลดาตบหน้าผู้เสียหายที่ 1 กับพูดว่าหนีแม่มาทำไม เขาอุตส่าห์เลี้ยงดูมา จากนั้นนางสาวพิมลดาและนางสาวเปิ้ลพาผู้เสียหายที่ 1 กลับมาที่กรุงเทพมหานคร ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ยังเป็นเด็ก พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 ดังกล่าวย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เกิดความหวาดกลัวถือว่าเป็นการข่มขู่ บังคับ และขู่เข็ญแล้ว ข้อกล่าวอ้างตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า จำเลยทั้งสองมิได้กระทำดังกล่าวนั้นฟังไม่ขึ้น สำหรับฎีกาของจำเลยทั้งสองในประการอื่นเป็นรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกกระทำความผิดจริง ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง การพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง นั้น ต้องเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของตนเองหรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับตน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเป็นธุระจัดหาและพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี อันเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น มิใช่กระทำไปเพื่อสนองความใคร่ของจำเลยทั้งสองกับพวก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทความผิดนี้มาจึงไม่ถูกต้อง ส่วนความผิดฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ฐานค้ามนุษย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น ต้องลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อให้กระทำการค้าประเวณีฯ จึงไม่ถูกต้องเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ฐานค้ามนุษย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม ส่วนโทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ต้องเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของตนเองหรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับตน เมื่อจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเป็นธุระจัดหาและพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี อันเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น มิใช่เพื่อสนองความใคร่ของจำเลยทั้งสองกับพวก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม แต่ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ส่วนความผิดฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ฐานค้ามนุษย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 283, 283 ทวิ, 317 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 4, 9 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4, 6, 9, 10, 52
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคสาม วรรคสี่ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2), 9 วรรคหนึ่ง วรรคสอง, 10 วรรคหนึ่ง, 52 วรรคสาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม, 283 ทวิ วรรคสอง, 317 วรรคสาม, 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี เพื่อให้กระทำการค้าประเวณี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ฐานร่วมกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ และฐานร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อให้กระทำการค้าประเวณีฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 13 ปี 4 เดือน ฐานสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ จำคุกคนละ 4 ปี ฐานโดยปราศจากเหตุอันสมควรร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร จำคุกคนละ 5 ปี รวมจำคุกคนละ 22 ปี 4 เดือน
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับความผิดฐานค้ามนุษย์และฐานโดยปราศจากเหตุอันสมควรร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2541 ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีอยู่ในความปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดา
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ โดยจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 นางสาวทักษิณาหรือเอิร์น และนายวิษณุพงษ์ ซึ่งเป็นประจักษ์พยานมีข้อพิรุธสงสัยไม่น่าเชื่อถือนั้น ผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาพยานโจทก์เบิกความได้ความว่า เมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เพื่อนรุ่นพี่ของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งพักอยู่บริเวณซอยพหลโยธิน 54 ชักชวนให้ผู้เสียหายที่ 1 ไปทำงานกับจำเลยทั้งสองจะได้มีเงินใช้ และพาผู้เสียหายที่ 1 ไปพบจำเลยทั้งสองที่บริเวณซอยพหลโยธินอีกซอยหนึ่งซึ่งมีรถเก๋งจอดอยู่ จำเลยที่ 1 เดินเข้าไปพูดคุยกับชายที่อยู่ในรถเก๋ง จากนั้นชายคนดังกล่าวส่งเงินให้จำเลยที่ 1 จำนวน 500 บาท แล้วจำเลยทั้งสองให้ผู้เสียหายที่ 1 ขึ้นรถเก๋งไปกับชายคนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ถูกพาไปที่โรงแรมพีพีซึ่งอยู่ในซอยเพิ่มสินแล้วชายคนดังกล่าวมีเพศสัมพันธ์กับผู้เสียหายที่ 1 ต่อมาชายคนดังกล่าวโทรศัพท์หาจำเลยที่ 1 และพาผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งที่บริเวณถนนโชคชัย 4 จำเลยที่ 1 ให้ลูกน้องมารับและพาผู้เสียหายที่ 1 ไปส่งที่อพาร์ตเม้นท์บริเวณห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีสะพานใหม่ ผู้เสียหายที่ 1 พบกับนางสาวพิมลดาหรือพิมพ์และนางสาวทักษิณา จำเลยที่ 1 แบ่งเงินที่ผู้เสียหายที่ 1 ได้จากการค้าประเวณีจำนวน 1,000 บาท ให้ผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 700 บาท ส่วนอีก 300 บาท จำเลยที่ 1 เก็บไว้ ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 โทรศัพท์ติดต่อผู้ซื้อบริการทางเพศแล้วพาผู้เสียหายที่ 1 ไปขายบริการทางเพศอีกสองครั้งโดยส่งไปที่โรงแรมบริเวณถนนลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี การขายบริการทางเพศแต่ละครั้งจำเลยทั้งสองได้รับค่านายหน้าจำนวน 500 บาท และเมื่อผู้เสียหายที่ 1 ได้รับค่าบริการทางเพศจำนวน 1,000 บาท จะต้องแบ่งให้จำเลยที่ 1 จำนวน 300 บาท ส่วนผู้เสียหายที่ 1 รับไว้เองจำนวน 700 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสองพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยที่ 1 ที่ซอยพหลโยธิน 51 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำเลยที่ 1 และสามี บุตร และมารดาของจำเลยที่ 1 พักอาศัย ผู้เสียหายที่ 1 นางสาวพิมลดาและนางสาวทักษิณามาพักอาศัยด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 พักอาศัยอยู่บ้านตรงข้าม ขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยที่บ้านของจำเลยที่ 1 ต้องขายบริการทางเพศทุกวันโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ติดต่อผู้ที่ต้องการซื้อบริการทางเพศและส่งรูปให้ดูก่อน การไปขายบริการทางเพศจะมีจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งตามสถานที่ที่นัดหมายกันไว้ บางครั้งก็ให้นางสาวพิมลดาพาไปส่ง ก่อนขายบริการทางเพศจำเลยที่ 1 จะให้โทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้เสียหายที่ 1 เมื่อขายบริการทางเพศเสร็จแล้วให้ผู้เสียหายที่ 1 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวติดต่อจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 จะมารับตามที่นัดหมายและนำโทรศัพท์เคลื่อนที่คืนไป ระหว่างที่ผู้เสียหายที่ 1 พักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน 2556 ผู้เสียหายที่ 1 ต้องขายบริการทางเพศมากกว่า 10 ครั้ง ระยะหลังผู้เสียหายที่ 1 ได้รับค่าตัวเพียงครั้งละ 200 ถึง 300 บาท โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่าเนื่องจากผู้เสียหายที่ 1 มาพักอาศัยที่บ้านของจำเลยที่ 1 จึงต้องหักเงินเป็นค่ากินค่าอยู่ จำเลยทั้งสองมักจะขู่ผู้เสียหายที่ 1 ว่าหากหลบหนีไป จำเลยทั้งสองสามารถตามตัวมาได้และต้องถูกลงโทษทุบตี ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2556 จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาไปขายบริการทางเพศที่บริเวณดอนเมืองโดยผู้ซื้อบริการทางเพศพาผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาไปที่คอนโดมิเนียมบริเวณคลองตัน หลังจากขายบริการทางเพศเสร็จแล้วผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาพากันหลบหนีจำเลยทั้งสองไปที่บ้านของนางสาวทักษิณาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาวันรุ่งขึ้นขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาเดินทางมารับพี่สาวของนางสาวทักษิณาที่สถานีขนส่งจังหวัดเพชรบูรณ์ ปรากฏว่านางสาวพิมลดาและนางสาวเปิ้ล หลานของจำเลยที่ 1 มาพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านของจำเลยที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อจำเลยที่ 1 รู้ว่าผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาผู้เสียหายที่ 1 และเจ้าพนักงานตำรวจมาตามหาผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงให้ผู้เสียหายที่ 1 โทรศัพท์แจ้งแก่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเท็จว่าอยู่ตรงนั้นตรงนี้เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 2 และเจ้าพนักงานตำรวจตามหาผู้เสียหายที่ 1 ไม่พบและห้ามมิให้ผู้เสียหายที่ 1 พูดถึงจำเลยทั้งสอง ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับสัญญาณจากตู้โทรศัพท์และตามหาผู้เสียหายที่ 1 จนพบ รวมทั้งจับกุมจำเลยทั้งสองมาดำเนินคดี เมื่อพิจารณาจากคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาพยานโจทก์ทั้งสองแล้ว เห็นว่า พยานทั้งสองเบิกความสอดคล้องต้องกันในสาระสำคัญเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองติดต่อทางโทรศัพท์กับผู้ที่ต้องการซื้อบริการทางเพศแล้วพาพยานทั้งสองไปส่งให้ชายผู้ที่ประสงค์จะซื้อบริการทางเพศโดยจำเลยทั้งสองได้รับเงินค่านายหน้า แล้วยังหักเงินจากพยานทั้งสองที่ได้รับจากการขายบริการทางเพศไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย ขณะเกิดเหตุพยานทั้งสองเป็นเด็กอายุยังน้อย ไม่น่าเชื่อว่าพยานทั้งสองจะสร้างเรื่องขึ้นปรักปรำจำเลยทั้งสองโดยปราศจากมูลความจริง คำเบิกความของพยานทั้งสองมีรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติการณ์การกระทำของจำเลยทั้งสองอย่างชัดเจนและไม่ปรากฏข้อพิรุธในข้อที่เป็นสาระสำคัญ นอกจากนี้ยังได้ความจากคำเบิกความของนายวิษณุพงษ์พยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเปิดห้องพักโรงแรมม่านรูดชื่อโรงแรมโมเดิร์นตั้งอยู่ที่ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ยืนยันว่า ผู้หญิงที่นำผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณามาส่งที่โรงแรมคือบุคคลในภาพถ่ายซึ่งก็คือจำเลยที่ 2 คำเบิกความของนายวิษณุพงษ์สอดคล้องและสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาทำให้มีน้ำหนักในการรับฟังมากยิ่งขึ้น ดังนี้ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงและเชื่อถือได้ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างว่า หลังจากผู้เสียหายที่ 1 ขายบริการทางเพศครั้งแรกแล้ว ในวันเดียวกันผู้เสียหายที่ 1 ยังขายบริการทางเพศอีกสองครั้ง รวมเป็นสามครั้งโดยโจทก์และผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้นำสืบว่า ผู้เสียหายที่ 1 ไปขายบริการทางเพศที่ไหน กับใคร สถานที่ใด เวลากลางวันหรือกลางคืน ได้เงินมาเท่าใด และจำเลยทั้งสองหักเงินไปเท่าใดนั้น เห็นว่า ผู้เสียหายที่ 1 เบิกความในสาระสำคัญแล้วว่า การขายบริการทางเพศแต่ละครั้งจำเลยทั้งสองได้รับค่านายหน้าจำนวน 500 บาท และเมื่อผู้เสียหายที่ 1 ได้รับค่าบริการทางเพศจำนวน 1,000 บาท จะต้องแบ่งให้จำเลยที่ 1 จำนวน 300 บาท ส่วนเรื่องสถานที่ที่ไปขายบริการทางเพศในแต่ละครั้งเป็นสถานที่ใด ในเวลากลางวันหรือกลางคืนเป็นเรื่องรายละเอียด แม้ผู้เสียหายที่ 1 ไม่ได้เบิกความกล่าวอ้างถึงเวลาและสถานที่ทุกแห่งที่ถูกพาไปขายบริการทางเพศก็ไม่ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 มีข้อพิรุธสงสัยถึงกับขาดน้ำหนักในการรับฟัง เพราะมีการไปขายบริการทางเพศหลายครั้งซึ่งย่อมเป็นการยากที่จะจดจำรายละเอียดได้ทั้งหมด ส่วนเรื่องเกี่ยวกับการข่มขู่ บังคับ และขู่เข็ญให้ขายบริการทางเพศนั้น ผู้เสียหายที่ 1 เบิกความว่า ผู้เสียหายที่ 1 ถูกจำเลยทั้งสองขู่ว่าหากหลบหนีไปจะถูกตามตัวมาและลงโทษทุบตี และนางสาวทักษิณาเบิกความว่า ผู้เสียหายที่ 1 ไม่มีอิสระที่จะออกไปไหนมาไหนและจำเลยที่ 1 ขู่ว่าหากหลบหนีจะให้คนตามไปทำร้าย อีกทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความด้วยว่า เมื่อผู้เสียหายที่ 1 และนางสาวทักษิณาหลบหนีไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จำเลยทั้งสองยังให้นางสาวพิมลดาและนางสาวเปิ้ลหลานของจำเลยที่ 1 ไปตามผู้เสียหายที่ 1 เมื่อพบกันนางสาวพิมลดาตบหน้าผู้เสียหายที่ 1 กับพูดว่าหนีแม่มาทำไม เขาอุตส่าห์เลี้ยงดูมา จากนั้นนางสาวพิมลดาและนางสาวเปิ้ลพาผู้เสียหายที่ 1 กลับมาที่กรุงเทพมหานคร ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 ยังเป็นเด็ก พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 ดังกล่าวย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เกิดความหวาดกลัวถือว่าเป็นการข่มขู่ บังคับ และขู่เข็ญแล้ว ข้อกล่าวอ้างตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า จำเลยทั้งสองมิได้กระทำดังกล่าวนั้นฟังไม่ขึ้น สำหรับฎีกาของจำเลยทั้งสองในประการอื่นเป็นรายละเอียดปลีกย่อยซึ่งไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกกระทำความผิดจริง ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง การพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคสอง นั้น ต้องเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของตนเองหรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับตน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันเป็นธุระจัดหาและพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี อันเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น มิใช่กระทำไปเพื่อสนองความใคร่ของจำเลยทั้งสองกับพวก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 283 ทวิ วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทความผิดนี้มาจึงไม่ถูกต้อง ส่วนความผิดฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ฐานค้ามนุษย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น ต้องลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อให้กระทำการค้าประเวณีฯ จึงไม่ถูกต้องเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ฐานค้ามนุษย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยขู่เข็ญ ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการใด ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 วรรคสาม ส่วนโทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ขณะที่จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2556 คดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้อง ล. กับจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ในระหว่างฎีกายังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามที่ปรากฏในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนจำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลง ซึ่งก็ตรงตามเอกสารที่แท้จริง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนจำนองไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่ามีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินหรือไม่ และจำเลยที่ 1 มิได้หลอกลวงให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และ 267
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 84, 86, 91, 137, 267
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 267 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน รวมสองกระทง เป็นจำคุก 12 เดือน ยกฟ้องโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
จำเลยที่ 1 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยที่ 1 และนางลาวัณย์ เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โดยเป็นบุตรของนายสังคมกับนางยันทา เมื่อนางยันทาถึงแก่ความตาย ศาลมีคำสั่งตั้งนางลาวัณย์เป็นผู้จัดการมรดก ต่อมาศาลมีคำสั่งถอน นางลาวัณย์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางยันทาแทน ตามสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในขณะที่นางลาวัณย์ยังเป็นผู้จัดการมรดกของนางยันทา นางลาวัณย์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 15783 และ 15786 ตำบลสร้างแป้น อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนางยันทาให้แก่จำเลยที่ 1 ต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดได้ฟ้องนางลาวัณย์และจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวพร้อมกับที่ดินแปลงอื่น และกำจัดมิให้นางลาวัณย์กับจำเลยที่ 1 รับมรดกของนางยันทา จากนั้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2555 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินทั้งสองแปลง และให้กำจัดนางลาวัณย์และจำเลยที่ 1 มิให้รับมรดกของนางยันทา ตามสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต่อมาวันที่ 5 สิงหาคม 2556 จำเลยที่ 1 นำที่ดินโฉนดเลขที่ 15783 และ 15786 ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สมรสลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมดังกล่าว คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และไม่อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 หรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 ฎีกาว่า คดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องนางลาวัณย์กับจำเลยที่1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 15783 และ 15786 พร้อมที่ดินแปลงอื่น และให้กำจัดนางลาวัณย์กับจำเลยที่ 1 มิให้รับมรดกของนางยันทา อยู่ในระหว่างฎีกายังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความต่อนายฉัตรชัย เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุทัยธานี สาขาเพ็ญ ผู้จดทะเบียนจำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเป็นการแจ้งข้อความตามความเป็นจริงตามที่ปรากฏในโฉนดที่ดินซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จึงมิได้เป็นข้อความเท็จ นั้น เห็นว่า โจทก์ที่ 1 เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสามรับว่า คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1641/2554 ของศาลจังหวัดอุดรธานี ที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องนางลาวัณย์กับจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสองแปลงพร้อมที่ดินแปลงอื่น อยู่ในระหว่างฎีกา คดียังไม่ถึงที่สุด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 คดีดังกล่าวยังคงอยู่ในระหว่างฎีกายังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามที่ปรากฏในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงต่อนายฉัตรชัย เจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนจำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ซึ่งก็ตรงตามเอกสารที่แท้จริง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ อีกทั้งนายฉัตรชัยพยานโจทก์ซึ่งเป็นพยานคนกลางเบิกความถึงขั้นตอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินได้ความว่า พยานสอบสวนสิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามแบบ ท.ด.1 โดยตรวจสอบว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีความสามารถตามกฎหมายและเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตามสารบัญจดทะเบียนหรือไม่ หลังจากตรวจสอบแล้ว พยานได้ดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่เจ้าของที่ดินโดยไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่ามีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินหรือไม่ และจำเลยทั้งสามมิได้หลอกลวงให้พยานจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งต่อนายฉัตรชัยนั้นเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ประการอื่นอีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามฟ้องมานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2556 คดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้อง ล. กับจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ในระหว่างฎีกายังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามที่ปรากฏในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนจำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลง ซึ่งก็ตรงตามเอกสารที่แท้จริง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนจำนองไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่ามีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินหรือไม่ และจำเลยที่ 1 มิได้หลอกลวงให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และ 267
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 84, 86, 91, 137, 267
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 267 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน รวมสองกระทง เป็นจำคุก 12 เดือน ยกฟ้องโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน
จำเลยที่ 1 ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยที่ 1 และนางลาวัณย์ เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โดยเป็นบุตรของนายสังคมกับนางยันทา เมื่อนางยันทาถึงแก่ความตาย ศาลมีคำสั่งตั้งนางลาวัณย์เป็นผู้จัดการมรดก ต่อมาศาลมีคำสั่งถอน นางลาวัณย์ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางยันทาแทน ตามสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในขณะที่นางลาวัณย์ยังเป็นผู้จัดการมรดกของนางยันทา นางลาวัณย์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 15783 และ 15786 ตำบลสร้างแป้น อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนางยันทาให้แก่จำเลยที่ 1 ต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดได้ฟ้องนางลาวัณย์และจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวพร้อมกับที่ดินแปลงอื่น และกำจัดมิให้นางลาวัณย์กับจำเลยที่ 1 รับมรดกของนางยันทา จากนั้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2555 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินทั้งสองแปลง และให้กำจัดนางลาวัณย์และจำเลยที่ 1 มิให้รับมรดกของนางยันทา ตามสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต่อมาวันที่ 5 สิงหาคม 2556 จำเลยที่ 1 นำที่ดินโฉนดเลขที่ 15783 และ 15786 ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สมรสลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมดังกล่าว คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และไม่อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 หรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 ฎีกาว่า คดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องนางลาวัณย์กับจำเลยที่1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 15783 และ 15786 พร้อมที่ดินแปลงอื่น และให้กำจัดนางลาวัณย์กับจำเลยที่ 1 มิให้รับมรดกของนางยันทา อยู่ในระหว่างฎีกายังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความต่อนายฉัตรชัย เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุทัยธานี สาขาเพ็ญ ผู้จดทะเบียนจำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเป็นการแจ้งข้อความตามความเป็นจริงตามที่ปรากฏในโฉนดที่ดินซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จึงมิได้เป็นข้อความเท็จ นั้น เห็นว่า โจทก์ที่ 1 เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสามรับว่า คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1641/2554 ของศาลจังหวัดอุดรธานี ที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องนางลาวัณย์กับจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสองแปลงพร้อมที่ดินแปลงอื่น อยู่ในระหว่างฎีกา คดียังไม่ถึงที่สุด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ขณะที่จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2556 คดีดังกล่าวยังคงอยู่ในระหว่างฎีกายังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามที่ปรากฏในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงต่อนายฉัตรชัย เจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนจำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ซึ่งก็ตรงตามเอกสารที่แท้จริง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ อีกทั้งนายฉัตรชัยพยานโจทก์ซึ่งเป็นพยานคนกลางเบิกความถึงขั้นตอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินได้ความว่า พยานสอบสวนสิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามแบบ ท.ด.1 โดยตรวจสอบว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีความสามารถตามกฎหมายและเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตามสารบัญจดทะเบียนหรือไม่ หลังจากตรวจสอบแล้ว พยานได้ดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่เจ้าของที่ดินโดยไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่ามีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินหรือไม่ และจำเลยทั้งสามมิได้หลอกลวงให้พยานจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งต่อนายฉัตรชัยนั้นเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ประการอื่นอีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามฟ้องมานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ กำหนดให้การผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ เป็นความผิดตามมาตรานี้ โดยไม่คำนึงว่ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิเพียงใด เว้นแต่เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งแตกต่างจากมาตรา 65 วรรคสาม เดิม ที่ผู้ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดให้โทษต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม เดิม มิฉะนั้น หากมีปริมาณตั้งแต่ที่กำหนดดังกล่าวขึ้นไป ย่อมเข้าบทสันนิษฐานเด็ดขาดว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) เดิม ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3 โดยเห็นว่าตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ซึ่งตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่แก้ไขใหม่ บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุไว้ในวรรคสามและวรรคสี่เป็นกรณีเฉพาะ แยกต่างหากจากบทความผิดและบทลงโทษในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในกรณีทั่วไปตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งมีสภาพแห่งความผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมมากกว่าการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ ตามมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย จึงเป็นความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม เพราะบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ มีข้อความเช่นเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 57, 65, 66, 91, 102 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 42, 64 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 58, 83, 91 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 4, 11, 12, 13, 18, 62, 81 ริบเมทแอมเฟตามีน อุปกรณ์การเสพยาเสพติดให้โทษและอุปกรณ์ผลิตยาเสพติดให้โทษของกลาง และบวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 3 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 84/2553 ของศาลชั้นต้น เข้ากับโทษจำคุกจำเลยที่ 3 ในคดีนี้
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ
จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน เป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ข้อหาขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ข้อหาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นให้การปฏิเสธ
จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน ส่วนข้อหาอื่นให้การปฏิเสธ
จำเลยที่ 4 ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 สำหรับจำเลยที่ 1 ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (2), 65 วรรคสี่, 66 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 อีกสถานหนึ่ง และจำเลยที่ 2 ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจราทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 42, 64 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 11, 12,18 วรรคสอง, 62 วรรคหนึ่ง, 81 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ในส่วนของจำเลยที่ 1 ขณะกระทำความผิดมีอายุสิบแปดปีเศษ เห็นควรลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 ปี และปรับ 280,000 บาท ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 เดือน ในส่วนของจำเลยที่ 2 ฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 8 เดือน และปรับ 20,000 บาท ฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ปรับ 400 บาท ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 เดือน และปรับ 2,000 บาท ฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 เดือน และปรับ 4,000 บาท และจำคุกจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน 6 เดือน และปรับ 10,000 บาท จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในความผิดฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย 2 ปี และปรับ 140,000 บาท ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 2 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี 2 เดือน และปรับ 140,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน 4 เดือน และปรับ 10,000 บาท ฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ปรับ 200 บาท ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท ฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 เดือน และปรับ 2,000 บาท รวมจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 6 เดือน และปรับ 13,200 บาท และจำคุกจำเลยที่ 3 เป็นเวลา 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และคุมความประพฤติของจำเลยที่ 3 ไว้มีกำหนด 1 ปี ให้จำเลยที่ 3 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ตามเงื่อนไขและกำหนดระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควร ห้ามจำเลยที่ 3 เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกชนิด ให้จำเลยที่ 3 กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยที่ 3 เห็นสมควรมีกำหนด 48 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ในส่วนของจำเลยที่ 1 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้ไม่เกิน 1 ปี ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในความผิดฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ริบเมทแอมเฟตามีนกับอุปกรณ์การเสพยาเสพติดให้โทษ และอุปกรณ์ผลิตยาเสพติดให้โทษของกลาง ส่วนที่โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 3 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 84/2553 ของศาลชั้นต้น เข้ากับโทษจำคุกของจำเลยที่ 3 ในคดีนี้นั้น เนื่องจากคดีนี้ศาลรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจบวกโทษจำคุกจำเลยที่ 3 ได้ ให้ยกคำขอในส่วนนี้
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุตามฟ้องเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสอง หรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 ผลิตมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.417 กรัม ซึ่งเกินกว่าสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ กำหนดให้การผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ เป็นความผิดตามมาตรานี้ โดยไม่คำนึงว่ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิเพียงใด เว้นแต่เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งแตกต่างจากมาตรา 65 วรรคสาม เดิม ที่ผู้ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดให้โทษต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม เดิม มิฉะนั้น หากมีปริมาณตั้งแต่ที่กำหนดดังกล่าวขึ้นไป ย่อมเข้าบทสันนิษฐานเด็ดขาดว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) เดิม ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 โดยเห็นว่าตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ซึ่งตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่แก้ไขใหม่ บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุไว้ในวรรคสามและวรรคสี่เป็นกรณีเฉพาะแยกต่างหากจากบทความผิดและบทลงโทษในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในกรณีทั่วไปตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งมีสภาพแห่งความผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมมากกว่าการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ ตามมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย จึงเป็นความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม เพราะบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ มีข้อความเช่นเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม มานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ กำหนดให้การผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ เป็นความผิดตามมาตรานี้ โดยไม่คำนึงว่ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิเพียงใด เว้นแต่เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งแตกต่างจากมาตรา 65 วรรคสาม เดิม ที่ผู้ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดให้โทษต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม เดิม มิฉะนั้น หากมีปริมาณตั้งแต่ที่กำหนดดังกล่าวขึ้นไป ย่อมเข้าบทสันนิษฐานเด็ดขาดว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) เดิม ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3 โดยเห็นว่าตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ซึ่งตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่แก้ไขใหม่ บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุไว้ในวรรคสามและวรรคสี่เป็นกรณีเฉพาะ แยกต่างหากจากบทความผิดและบทลงโทษในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในกรณีทั่วไปตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งมีสภาพแห่งความผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมมากกว่าการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ ตามมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย จึงเป็นความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม เพราะบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ มีข้อความเช่นเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 57, 65, 66, 91, 102 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 42, 64 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 58, 83, 91 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 4, 11, 12, 13, 18, 62, 81 ริบเมทแอมเฟตามีน อุปกรณ์การเสพยาเสพติดให้โทษและอุปกรณ์ผลิตยาเสพติดให้โทษของกลาง และบวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 3 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 84/2553 ของศาลชั้นต้น เข้ากับโทษจำคุกจำเลยที่ 3 ในคดีนี้
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ
จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน เป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ข้อหาขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ข้อหาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นให้การปฏิเสธ
จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน ส่วนข้อหาอื่นให้การปฏิเสธ
จำเลยที่ 4 ให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 สำหรับจำเลยที่ 1 ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (2), 65 วรรคสี่, 66 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 อีกสถานหนึ่ง และจำเลยที่ 2 ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจราทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 42, 64 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 11, 12,18 วรรคสอง, 62 วรรคหนึ่ง, 81 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ในส่วนของจำเลยที่ 1 ขณะกระทำความผิดมีอายุสิบแปดปีเศษ เห็นควรลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 ปี และปรับ 280,000 บาท ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 เดือน ในส่วนของจำเลยที่ 2 ฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 8 เดือน และปรับ 20,000 บาท ฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ปรับ 400 บาท ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 เดือน และปรับ 2,000 บาท ฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 เดือน และปรับ 4,000 บาท และจำคุกจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน 6 เดือน และปรับ 10,000 บาท จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพในความผิดฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย 2 ปี และปรับ 140,000 บาท ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 2 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี 2 เดือน และปรับ 140,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน 4 เดือน และปรับ 10,000 บาท ฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ปรับ 200 บาท ฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท ฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 เดือน และปรับ 2,000 บาท รวมจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 6 เดือน และปรับ 13,200 บาท และจำคุกจำเลยที่ 3 เป็นเวลา 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และคุมความประพฤติของจำเลยที่ 3 ไว้มีกำหนด 1 ปี ให้จำเลยที่ 3 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ตามเงื่อนไขและกำหนดระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควร ห้ามจำเลยที่ 3 เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกชนิด ให้จำเลยที่ 3 กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยที่ 3 เห็นสมควรมีกำหนด 48 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ในส่วนของจำเลยที่ 1 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้ไม่เกิน 1 ปี ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในความผิดฐานร่วมกันผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ริบเมทแอมเฟตามีนกับอุปกรณ์การเสพยาเสพติดให้โทษ และอุปกรณ์ผลิตยาเสพติดให้โทษของกลาง ส่วนที่โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 3 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 84/2553 ของศาลชั้นต้น เข้ากับโทษจำคุกของจำเลยที่ 3 ในคดีนี้นั้น เนื่องจากคดีนี้ศาลรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจบวกโทษจำคุกจำเลยที่ 3 ได้ ให้ยกคำขอในส่วนนี้
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุตามฟ้องเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสอง หรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 ผลิตมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.417 กรัม ซึ่งเกินกว่าสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ กำหนดให้การผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ เป็นความผิดตามมาตรานี้ โดยไม่คำนึงว่ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิเพียงใด เว้นแต่เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งแตกต่างจากมาตรา 65 วรรคสาม เดิม ที่ผู้ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดให้โทษต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม เดิม มิฉะนั้น หากมีปริมาณตั้งแต่ที่กำหนดดังกล่าวขึ้นไป ย่อมเข้าบทสันนิษฐานเด็ดขาดว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) เดิม ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 โดยเห็นว่าตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ซึ่งตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่แก้ไขใหม่ บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุไว้ในวรรคสามและวรรคสี่เป็นกรณีเฉพาะแยกต่างหากจากบทความผิดและบทลงโทษในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในกรณีทั่วไปตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งมีสภาพแห่งความผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมมากกว่าการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ ตามมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย จึงเป็นความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม เพราะบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ มีข้อความเช่นเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม มานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่ดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (เดิม) แต่ศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว กรณีมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ (เดิม) จึงให้รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้พิจารณา
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินการ คือ ทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ซึ่งรวมถึงทรัพย์ทุกประเภทของลูกหนี้ที่มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา 109 (1) ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินเพื่อจัดการได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 110 วรรคสาม หรือผู้คัดค้านได้สละสิทธิทรัพย์สินดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านจะสละสิทธิทรัพย์สินใดของลูกหนี้ต้องปรากฏว่าผู้คัดค้านได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 (3) แล้ว และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลายตามมาตรา 81/1 เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ผู้คัดค้านก็ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไปได้ ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทรัพย์หลักประกันเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้มีมาก่อนล้มละลาย และไม่ปรากฏว่ากรรมการเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้ผู้คัดค้านสละสิทธิในที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (3) ผู้คัดค้านจึงยังคงต้องมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเลือกที่จะใช้สิทธิมายื่นคำร้องให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับบุริมสิทธิของผู้ร้องกับที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป
คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาด วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ต่อมาวันที่ 6 กันยายน 2548 มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และวันที่ 7 กันยายน 2551 ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านยึดทรัพย์หลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 97, 548 ถึง 551, 556 ถึง 568 และ 571 ถึง 583 ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รวม 32 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี แก่ผู้ร้อง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยึดทรัพย์และขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันเสมอไป ผู้คัดค้านพิจารณาแล้วเห็นว่าทรัพย์หลักประกันของลูกหนี้มีมูลค่าน้อยกว่ายอดหนี้ของผู้ร้อง การยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันในกรณีนี้จึงไม่เป็นประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ คำสั่งของผู้คัดค้านไม่กระทบสิทธิในฐานะเจ้าหนี้จำนองของผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องยังได้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเพื่อบังคับจำนอง คำสั่งของผู้คัดค้านชอบแล้ว ขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 บัญญัติเพียงให้ผู้คัดค้านตรวจดูทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเท่านั้น มิได้บังคับให้ต้องดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันให้แก่เจ้าหนี้เสมอไป เมื่อปรากฏว่าทรัพย์จำนองของลูกหนี้มีราคาน้อยกว่าภาระหนี้ของผู้ร้อง การดำเนินการยึดทรัพย์จำนองจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ทั้งผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายหลังลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลาย และผู้ร้องยังคงมีทางอื่นที่จะดำเนินการบังคับกับทรัพย์จำนองได้ตามกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้าน ที่ไม่ดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง นั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (เดิม) แต่ศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว กรณีมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ (เดิม) จึงให้รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้พิจารณา คดีนี้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า วันที่ 10 สิงหาคม 2533 ลูกหนี้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 3,500,000 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี โดยลูกหนี้ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 97, 548 ถึง 551, 556 ถึง 568 และ 571 ถึง 583 ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รวม 32 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ในวงเงินรวม 2,504,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ภายหลังทำสัญญาลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ และเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ก็มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อมาผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและจำนองมาจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้ และได้ยื่นฟ้องลูกหนี้ต่อศาลจังหวัดตลิ่งชัน ในคดีหมายเลขดำที่ ผบ. 1647/2558
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องมีว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ยึดและขายทอดตลาดทรัพย์ประกันเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินการ คือ ทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ซึ่งรวมถึงทรัพย์ทุกประเภทของลูกหนี้ที่มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา 109 (1) ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินเพื่อจัดการได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 110 วรรคสาม หรือผู้คัดค้านได้สละสิทธิทรัพย์สินดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านจะสละสิทธิทรัพย์สินใดของลูกหนี้ได้ต้องปรากฏว่า ผู้คัดค้านได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 (3) แล้ว และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลายตามมาตรา 81/1 เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ผู้คัดค้านก็ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไปได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 97, 548 ถึง 551, 556 ถึง 568 และ 571 ถึง 583 ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้มีมาก่อนล้มละลาย และไม่ปรากฏว่ากรรมการเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้ผู้คัดค้านสละสิทธิในที่ดินดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (3) ผู้คัดค้านจึงยังคงต้องมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินดังกล่าว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเลือกที่จะใช้สิทธิมายื่นคำร้องให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับบุริมสิทธิของผู้ร้องกับที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจำต้องรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
พิพากษากลับ ให้ผู้คัดค้านรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่ดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (เดิม) แต่ศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว กรณีมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ (เดิม) จึงให้รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้พิจารณา
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินการ คือ ทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ซึ่งรวมถึงทรัพย์ทุกประเภทของลูกหนี้ที่มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา 109 (1) ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินเพื่อจัดการได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 110 วรรคสาม หรือผู้คัดค้านได้สละสิทธิทรัพย์สินดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านจะสละสิทธิทรัพย์สินใดของลูกหนี้ต้องปรากฏว่าผู้คัดค้านได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 (3) แล้ว และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลายตามมาตรา 81/1 เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ผู้คัดค้านก็ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไปได้ ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทรัพย์หลักประกันเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้มีมาก่อนล้มละลาย และไม่ปรากฏว่ากรรมการเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้ผู้คัดค้านสละสิทธิในที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (3) ผู้คัดค้านจึงยังคงต้องมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเลือกที่จะใช้สิทธิมายื่นคำร้องให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับบุริมสิทธิของผู้ร้องกับที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป
คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาด วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ต่อมาวันที่ 6 กันยายน 2548 มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และวันที่ 7 กันยายน 2551 ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านยึดทรัพย์หลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 97, 548 ถึง 551, 556 ถึง 568 และ 571 ถึง 583 ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รวม 32 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี แก่ผู้ร้อง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยึดทรัพย์และขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันเสมอไป ผู้คัดค้านพิจารณาแล้วเห็นว่าทรัพย์หลักประกันของลูกหนี้มีมูลค่าน้อยกว่ายอดหนี้ของผู้ร้อง การยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันในกรณีนี้จึงไม่เป็นประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ คำสั่งของผู้คัดค้านไม่กระทบสิทธิในฐานะเจ้าหนี้จำนองของผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องยังได้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเพื่อบังคับจำนอง คำสั่งของผู้คัดค้านชอบแล้ว ขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 บัญญัติเพียงให้ผู้คัดค้านตรวจดูทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเท่านั้น มิได้บังคับให้ต้องดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันให้แก่เจ้าหนี้เสมอไป เมื่อปรากฏว่าทรัพย์จำนองของลูกหนี้มีราคาน้อยกว่าภาระหนี้ของผู้ร้อง การดำเนินการยึดทรัพย์จำนองจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ทั้งผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายหลังลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลาย และผู้ร้องยังคงมีทางอื่นที่จะดำเนินการบังคับกับทรัพย์จำนองได้ตามกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้าน ที่ไม่ดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง นั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (เดิม) แต่ศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว กรณีมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ (เดิม) จึงให้รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้พิจารณา คดีนี้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า วันที่ 10 สิงหาคม 2533 ลูกหนี้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 3,500,000 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี โดยลูกหนี้ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 97, 548 ถึง 551, 556 ถึง 568 และ 571 ถึง 583 ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รวม 32 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ในวงเงินรวม 2,504,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ภายหลังทำสัญญาลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ และเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ก็มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต่อมาผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและจำนองมาจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้ และได้ยื่นฟ้องลูกหนี้ต่อศาลจังหวัดตลิ่งชัน ในคดีหมายเลขดำที่ ผบ. 1647/2558
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องมีว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ยึดและขายทอดตลาดทรัพย์ประกันเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินการ คือ ทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ซึ่งรวมถึงทรัพย์ทุกประเภทของลูกหนี้ที่มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา 109 (1) ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินเพื่อจัดการได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 110 วรรคสาม หรือผู้คัดค้านได้สละสิทธิทรัพย์สินดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านจะสละสิทธิทรัพย์สินใดของลูกหนี้ได้ต้องปรากฏว่า ผู้คัดค้านได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 (3) แล้ว และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลายตามมาตรา 81/1 เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ผู้คัดค้านก็ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไปได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 97, 548 ถึง 551, 556 ถึง 568 และ 571 ถึง 583 ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้มีมาก่อนล้มละลาย และไม่ปรากฏว่ากรรมการเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้ผู้คัดค้านสละสิทธิในที่ดินดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (3) ผู้คัดค้านจึงยังคงต้องมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินดังกล่าว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเลือกที่จะใช้สิทธิมายื่นคำร้องให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับบุริมสิทธิของผู้ร้องกับที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจำต้องรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
พิพากษากลับ ให้ผู้คัดค้านรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360 แล้ว จำเลยยังมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง ด้วย ซึ่งตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง และบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐอันเป็นเจ้าของที่ดินสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้โดยเร็วโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งอีก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9, 108 ทวิ สั่งให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งเข้าไปยึดถือครอบครองดังกล่าว
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี และปรับ 4,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งเข้าไปยึดถือครอบครอง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยว่า ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท กล่าวคือนอกจากจำเลยจะมีความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 แล้ว จำเลยยังมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง ด้วย ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง และบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐอันเป็นเจ้าของที่ดินสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยเร็วโดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่เมื่อการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ด้วย ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 360 แล้ว จำเลยยังมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง ด้วย ซึ่งตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง และบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐอันเป็นเจ้าของที่ดินสามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้โดยเร็วโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งอีก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9, 108 ทวิ สั่งให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งเข้าไปยึดถือครอบครองดังกล่าว
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี และปรับ 4,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งเข้าไปยึดถือครอบครอง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยว่า ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท กล่าวคือนอกจากจำเลยจะมีความผิดฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 แล้ว จำเลยยังมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง ด้วย ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง และบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐอันเป็นเจ้าของที่ดินสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยเร็วโดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่เมื่อการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ด้วย ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของรัฐได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่และออกเช็คให้โจทก์ แม้หนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ทั้งสองฉบับ ข้อ 2 เขียนว่า เช็คเงินสด เลขที่ 0094654 ลงวันที่ 11-08-2556 จำนวนเงิน 400,000 บาท ของธนาคาร ท. เลขที่บัญชี 974300XXXX เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวข้างต้น ให้ท่านถือไว้เป็นประกันด้วย และเช็คเงินสด เลขที่ 0094655 เลขที่บัญชี 974300XXXX ของธนาคาร ท. จำนวนเงิน 427,600 บาท เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวข้างต้น (เช็คลงวันที่ 11-08-2556) ให้ท่านถือไว้เป็นประกันด้วยก็ตาม แต่ในการค้นหาเจตนาที่แท้จริงจำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วย หาใช่ต้องถือตามข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยฝ่ายเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คให้โจทก์ เชื่อว่าจำเลยออกเช็คดังกล่าวเพื่อชำระหนี้เงินกู้ มิใช่ออกเช็คเพื่อเป็นประกัน เมื่อหนี้ดังกล่าวมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 (1) (2)
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 (1) (2) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 8 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ กับจำเลยออกเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาเทสโก้โลตัส สุราษฎร์ธานี รวม 2 ฉบับ ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2556 ฉบับที่ 1 สั่งจ่ายเงิน 400,000 บาท และฉบับที่ 2 สั่งจ่ายเงิน 427,600 บาท ต่อมาโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ โจทก์มีตัวโจทก์ นางณัฐฑริกา และนางสุทธาลักษณ์ เบิกความได้ความว่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2556 และวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 เวลาประมาณ 7 นาฬิกา จำเลยมาที่บ้านของนางสุทธาลักษณ์ เพื่อกู้ยืมเงินจากโจทก์ โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 400,000 บาท และ 427,600 บาท มีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันไว้เป็นหลักฐาน ตามหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ โดยนางณัฐฑริกาเป็นผู้เขียนสัญญากู้ยืมเงิน และจำเลยได้ออกเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ดังกล่าว เห็นว่า แม้โจทก์ นางณัฐฑริกา และนางสุทธาลักษณ์ เป็นพี่น้องกัน แต่โจทก์และพยานโจทก์ทั้งสองก็เบิกความสอดคล้องกันโดยไม่มีข้อพิรุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนางสุทธาลักษณ์ เป็นเจ้าของบ้าน ส่วนนางณัฐฑริกา เป็นผู้เขียนสัญญากู้เงิน หากไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นดังที่พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความแล้ว ย่อมไม่มีเหตุที่พยานโจทก์ทั้งสองจะเบิกความดังกล่าวเพราะเป็นการเสี่ยงที่พยานโจทก์ทั้งสองอาจได้รับโทษทางอาญาได้ จึงไม่มีข้อระแวงสงสัยว่านางณัฐฑริกาและนางสุทธาลักษณ์จะเบิกความเพื่อเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เชื่อว่าโจทก์และพยานโจทก์ทั้งสองเบิกความตามความเป็นจริง พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคง ส่วนที่จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า จำเลยออกเช็คให้นางสุทธาลักษณ์เพื่อประกันหนี้ที่จำเลยกู้ยืมเงินจากนางสุทธาลักษณ์หลายครั้ง และวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์นั้นจำเลยอยู่ที่บ้านและอยู่ที่จังหวัดยะลานั้น เห็นว่า จำเลยเบิกความว่า จำเลยกู้ยืมเงินนางสุทธาลักษณ์หลายครั้ง รวมเป็นเงินไม่เกิน 300,000 บาท จำเลยได้โอนเงินชำระหนี้ให้นางสุทธาลักษณ์เกินกว่า 300,000 บาท เมื่อจำเลยชำระหนี้ให้นางสุทธาลักษณ์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยกู้ยืมจากนางสุทธาลักษณ์ หากจะค้างชำระก็น่าจะมีเพียงแต่ดอกเบี้ย จึงเป็นการขัดต่อเหตุผลที่จำเลยจะออกเช็ค สั่งจ่ายเงินจำนวนรวมกันถึง 827,600 บาท ให้นางสุทธาลักษณ์ ทั้งจำเลยก็ไม่มีพยานมาเบิกความสนับสนุนว่า วันที่ 2 มีนาคม 2556 จำเลยอยู่ที่บ้าน ส่วนวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 จำเลยอยู่ที่จังหวัดยะลา สำหรับหลักฐานใบรับเงินและหลักฐานการเข้าพักที่โรงแรมพี.พี. จังหวัดยะลา ก็ไม่มีน้ำหนักรับฟังสนับสนุนคำเบิกความของจำเลยได้เพราะจำเลยอาจให้ผู้อื่นชำระเงินค่าห้องพักแทนจำเลย และจำเลยสามารถเดินทางจากจังหวัดยะลามายังบ้านของนางสุทธาลักษณ์ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้วเดินทางกลับจังหวัดยะลาได้ พยานหลักฐานของจำเลยจึงไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่และออกเช็คให้โจทก์ แม้หนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ทั้งสองฉบับดังกล่าว ข้อ 2 เขียนว่า เช็คเงินสด เลขที่ 0094654 ลงวันที่ 11-08-2556 จำนวนเงิน 400,000 บาท ของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทสโก้โลตัส สุราษฎร์ธานี เลขที่บัญชี 974300XXXX เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวข้างต้น ให้ท่านถือไว้เป็นประกันด้วย และเช็คเงินสด เลขที่ 0094655 เลขที่บัญชี 974300XXXX ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาเทสโก้โลตัส จำนวนเงิน 427,600 บาท เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวข้างต้น (เช็คลงวันที่ 11-08-2556) ให้ท่านถือไว้เป็นประกันด้วยก็ตาม แต่ในการค้นหาเจตนาที่แท้จริงจำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วย หาใช่ต้องถือตามข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยฝ่ายเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังวินิจฉัยข้างต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คให้โจทก์ เชื่อว่าจำเลยออกเช็คดังกล่าวเพื่อชำระหนี้เงินกู้ มิใช่ออกเช็คเพื่อเป็นประกัน เมื่อหนี้ดังกล่าวมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่และออกเช็คให้โจทก์ แม้หนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ทั้งสองฉบับ ข้อ 2 เขียนว่า เช็คเงินสด เลขที่ 0094654 ลงวันที่ 11-08-2556 จำนวนเงิน 400,000 บาท ของธนาคาร ท. เลขที่บัญชี 974300XXXX เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวข้างต้น ให้ท่านถือไว้เป็นประกันด้วย และเช็คเงินสด เลขที่ 0094655 เลขที่บัญชี 974300XXXX ของธนาคาร ท. จำนวนเงิน 427,600 บาท เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวข้างต้น (เช็คลงวันที่ 11-08-2556) ให้ท่านถือไว้เป็นประกันด้วยก็ตาม แต่ในการค้นหาเจตนาที่แท้จริงจำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วย หาใช่ต้องถือตามข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยฝ่ายเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คให้โจทก์ เชื่อว่าจำเลยออกเช็คดังกล่าวเพื่อชำระหนี้เงินกู้ มิใช่ออกเช็คเพื่อเป็นประกัน เมื่อหนี้ดังกล่าวมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 (1) (2)
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 (1) (2) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 4 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 8 เดือน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ กับจำเลยออกเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาเทสโก้โลตัส สุราษฎร์ธานี รวม 2 ฉบับ ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2556 ฉบับที่ 1 สั่งจ่ายเงิน 400,000 บาท และฉบับที่ 2 สั่งจ่ายเงิน 427,600 บาท ต่อมาโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ โจทก์มีตัวโจทก์ นางณัฐฑริกา และนางสุทธาลักษณ์ เบิกความได้ความว่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2556 และวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 เวลาประมาณ 7 นาฬิกา จำเลยมาที่บ้านของนางสุทธาลักษณ์ เพื่อกู้ยืมเงินจากโจทก์ โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินจำนวน 400,000 บาท และ 427,600 บาท มีการทำสัญญากู้ยืมเงินกันไว้เป็นหลักฐาน ตามหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ โดยนางณัฐฑริกาเป็นผู้เขียนสัญญากู้ยืมเงิน และจำเลยได้ออกเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ดังกล่าว เห็นว่า แม้โจทก์ นางณัฐฑริกา และนางสุทธาลักษณ์ เป็นพี่น้องกัน แต่โจทก์และพยานโจทก์ทั้งสองก็เบิกความสอดคล้องกันโดยไม่มีข้อพิรุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนางสุทธาลักษณ์ เป็นเจ้าของบ้าน ส่วนนางณัฐฑริกา เป็นผู้เขียนสัญญากู้เงิน หากไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นดังที่พยานโจทก์ทั้งสองเบิกความแล้ว ย่อมไม่มีเหตุที่พยานโจทก์ทั้งสองจะเบิกความดังกล่าวเพราะเป็นการเสี่ยงที่พยานโจทก์ทั้งสองอาจได้รับโทษทางอาญาได้ จึงไม่มีข้อระแวงสงสัยว่านางณัฐฑริกาและนางสุทธาลักษณ์จะเบิกความเพื่อเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เชื่อว่าโจทก์และพยานโจทก์ทั้งสองเบิกความตามความเป็นจริง พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคง ส่วนที่จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า จำเลยออกเช็คให้นางสุทธาลักษณ์เพื่อประกันหนี้ที่จำเลยกู้ยืมเงินจากนางสุทธาลักษณ์หลายครั้ง และวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์นั้นจำเลยอยู่ที่บ้านและอยู่ที่จังหวัดยะลานั้น เห็นว่า จำเลยเบิกความว่า จำเลยกู้ยืมเงินนางสุทธาลักษณ์หลายครั้ง รวมเป็นเงินไม่เกิน 300,000 บาท จำเลยได้โอนเงินชำระหนี้ให้นางสุทธาลักษณ์เกินกว่า 300,000 บาท เมื่อจำเลยชำระหนี้ให้นางสุทธาลักษณ์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยกู้ยืมจากนางสุทธาลักษณ์ หากจะค้างชำระก็น่าจะมีเพียงแต่ดอกเบี้ย จึงเป็นการขัดต่อเหตุผลที่จำเลยจะออกเช็ค สั่งจ่ายเงินจำนวนรวมกันถึง 827,600 บาท ให้นางสุทธาลักษณ์ ทั้งจำเลยก็ไม่มีพยานมาเบิกความสนับสนุนว่า วันที่ 2 มีนาคม 2556 จำเลยอยู่ที่บ้าน ส่วนวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 จำเลยอยู่ที่จังหวัดยะลา สำหรับหลักฐานใบรับเงินและหลักฐานการเข้าพักที่โรงแรมพี.พี. จังหวัดยะลา ก็ไม่มีน้ำหนักรับฟังสนับสนุนคำเบิกความของจำเลยได้เพราะจำเลยอาจให้ผู้อื่นชำระเงินค่าห้องพักแทนจำเลย และจำเลยสามารถเดินทางจากจังหวัดยะลามายังบ้านของนางสุทธาลักษณ์ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้วเดินทางกลับจังหวัดยะลาได้ พยานหลักฐานของจำเลยจึงไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่และออกเช็คให้โจทก์ แม้หนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ทั้งสองฉบับดังกล่าว ข้อ 2 เขียนว่า เช็คเงินสด เลขที่ 0094654 ลงวันที่ 11-08-2556 จำนวนเงิน 400,000 บาท ของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทสโก้โลตัส สุราษฎร์ธานี เลขที่บัญชี 974300XXXX เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวข้างต้น ให้ท่านถือไว้เป็นประกันด้วย และเช็คเงินสด เลขที่ 0094655 เลขที่บัญชี 974300XXXX ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาเทสโก้โลตัส จำนวนเงิน 427,600 บาท เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวข้างต้น (เช็คลงวันที่ 11-08-2556) ให้ท่านถือไว้เป็นประกันด้วยก็ตาม แต่ในการค้นหาเจตนาที่แท้จริงจำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วย หาใช่ต้องถือตามข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยฝ่ายเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังวินิจฉัยข้างต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คให้โจทก์ เชื่อว่าจำเลยออกเช็คดังกล่าวเพื่อชำระหนี้เงินกู้ มิใช่ออกเช็คเพื่อเป็นประกัน เมื่อหนี้ดังกล่าวมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
พฤติการณ์ของจำเลยที่ลักสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. สาขาพระราม 3 ของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งมีชื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นเจ้าของบัญชี ไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ในใบคำขอถอนเงินของผู้เสียหายที่ 2 แล้วนำสมุดบัญชีเงินฝากดังกล่าวไปแสดงต่อพนักงานของผู้เสียหายที่ 2 และได้รับเงินไปจำนวน 59,000 บาท เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 เป็นหลักจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 342 โดยไม่ได้อ้างมาตรา 341 มาด้วย แต่ความผิดฐานดังกล่าวเป็นการกระทำที่เป็นองค์ประกอบมาจากความผิดฐานฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 341 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 342 (1) ได้ กรณีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 188, 265, 268, 334, 342 ริบใบคำขอถอนเงินของกลาง ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ จำนวน 7,080 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายที่ 1 และให้จำเลยคืนเงินจำนวน 59,000 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 2
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188, 265, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ตามมาตรา 268 วรรคสอง (ที่ถูก ไม่ต้องระบุ ตามมาตรา 268 วรรคสอง), 334, 342 (1) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานลักทรัพย์สมุดบัญชีเงินฝากและบัตรประจำตัวประชาชน และฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน ฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม จำเลยเป็นทั้งผู้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารสิทธิปลอม ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 268 วรรคสอง และความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นกับความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 265 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน ริบใบคำขอถอนเงินอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมของกลาง กับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 80 บาท แก่นายสมบัติ ผู้เสียหายที่ 1 และราคาทรัพย์ 59,000 บาท ให้แก่บริษัทธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผู้เสียหายที่ 2 คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ผู้เสียหายที่ 1 รู้จักกับจำเลยมาก่อน ทั้งช่วงเกิดเหตุก็พักอาศัยอยู่ด้วยกันที่ห้องเช่าและทำงานร้านนวดที่เดียวกัน วันเกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 1 ยืนยันว่า ขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 ออกไปทำงาน จำเลยยังคงพักอยู่ที่ห้องเช่าโดยบอกว่าจะตามไปภายหลัง แต่วันดังกล่าวจำเลยไม่ไปทำงาน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ทราบว่าเงินในบัญชีหายไปจำนวน 59,000 บาท ก็รีบกลับมาที่ห้องเช่าแต่ไม่พบจำเลยและของใช้ส่วนตัวของจำเลยประกอบกับเมื่อไปตรวจสอบที่ธนาคารผู้เสียหายที่ 2 ก็เห็นภาพจากกล้องวงจรปิดและจากภาพถ่าย เป็นภาพที่จำเลยไปเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ใกล้ชิดต่อเนื่องกันกับเวลาเกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 1 ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยจึงไม่มีเหตุให้ระแวงว่าปรักปรำจำเลย ทั้งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวน จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ แม้จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการยึดของกลางจากจำเลย และจำเลยไม่ใช่บุคคลที่ปรากฏในภาพวงจรปิดที่ไปเบิกถอนเงินจากธนาคาร แต่ผู้เสียหายที่ 1 และนายณภัทร พนักงานของผู้เสียหายที่ 2 ก็เบิกความถึงพฤติการณ์ของจำเลยทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุได้สอดคล้องเชื่อมโยงกันตามลำดับและยืนยันตรงกันว่าชายที่ปรากฏในภาพวงจรปิดที่มาเบิกถอนเงินในวันเกิดเหตุคือจำเลย ผู้เสียหายที่ 1 รู้จักกับจำเลยมานานพอสมควร ทั้งพักอาศัยอยู่ด้วยกัน ย่อมทราบถึงบุคลิกภาพลักษณะท่าทางเฉพาะตัวของจำเลยได้เป็นอย่างดี จึงเชื่อว่าสามารถจดจำบุคคลที่ปรากฏในภาพจากกล้องวงจรปิดได้ว่าเป็นจำเลย ทั้งหลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีไปอันเป็นการส่อพิรุธ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่เคยพักอาศัยอยู่ห้องพักเดียวกับผู้เสียหายในขณะเกิดเหตุ ไม่เคยเห็นลายมือชื่อผู้เสียหายที่ 1 ที่ใช้ในการเบิกถอนเงินจากธนาคาร จึงไม่อาจลงลายมือชื่อให้เหมือนกับลายมือชื่อผู้เสียหายที่ 1 ได้ ผู้เสียหายที่ 1 ไม่เห็นว่าใครลักสมุดเงินฝากและบัตรประจำตัวประชาชนไป ส่วนภาพจากกล้องวงจรปิดก็เลือนราง ไม่เห็นหน้าหรือระบุตัวบุคคลได้อย่างชัดเจนว่าเป็นจำเลย คำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ จึงไม่น่าเชื่อถือนั้น เห็นว่า เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ชอบด้วยเหตุผลแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรมโดยลงโทษฐานลักทรัพย์และฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นกระทงหนึ่ง กับลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิ ฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นอีกกระทงหนึ่งนั้น เห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในการลักสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทยจำกัด (มหาชน) สาขาพระราม 3 สาขาของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งมีชื่อของผู้เสียหายที่ 1 เป็นเจ้าบัญชีไป กรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ในใบคำขอถอนเงินของผู้เสียหายที่ 2 แล้วนำสมุดบัญชีเงินฝากดังกล่าวที่จำเลยเอาไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 ไปแสดงต่อพนักงานของผู้เสียหายที่ 2 และได้รับเงินจำนวน 59,000 บาท เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 เป็นหลัก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาได้เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 อีกประการหนึ่ง ตามคำฟ้องของโจทก์ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 โดยไม่ได้อ้างมาตรา 341 มาด้วย แต่ความผิดฐานดังกล่าวเป็นการกระทำที่เป็นองค์ประกอบมาจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 (1) ได้ กรณีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 188, 265, 334 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงให้ใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิดแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 (เดิม), 265 (เดิม), 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 (เดิม), 334 (เดิม), 342 (1) ประกอบมาตรา 341 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงให้ลงโทษในความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 (เดิม) ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
พฤติการณ์ของจำเลยที่ลักสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. สาขาพระราม 3 ของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งมีชื่อผู้เสียหายที่ 1 เป็นเจ้าของบัญชี ไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ในใบคำขอถอนเงินของผู้เสียหายที่ 2 แล้วนำสมุดบัญชีเงินฝากดังกล่าวไปแสดงต่อพนักงานของผู้เสียหายที่ 2 และได้รับเงินไปจำนวน 59,000 บาท เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 เป็นหลักจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 342 โดยไม่ได้อ้างมาตรา 341 มาด้วย แต่ความผิดฐานดังกล่าวเป็นการกระทำที่เป็นองค์ประกอบมาจากความผิดฐานฉ้อโกง ตาม ป.อ. มาตรา 341 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 342 (1) ได้ กรณีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 188, 265, 268, 334, 342 ริบใบคำขอถอนเงินของกลาง ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ จำนวน 7,080 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายที่ 1 และให้จำเลยคืนเงินจำนวน 59,000 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 2
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188, 265, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ตามมาตรา 268 วรรคสอง (ที่ถูก ไม่ต้องระบุ ตามมาตรา 268 วรรคสอง), 334, 342 (1) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานลักทรัพย์สมุดบัญชีเงินฝากและบัตรประจำตัวประชาชน และฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน ฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม จำเลยเป็นทั้งผู้ปลอมเอกสารและใช้เอกสารสิทธิปลอม ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 268 วรรคสอง และความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นกับความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบ มาตรา 265 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน ริบใบคำขอถอนเงินอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมของกลาง กับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ 80 บาท แก่นายสมบัติ ผู้เสียหายที่ 1 และราคาทรัพย์ 59,000 บาท ให้แก่บริษัทธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผู้เสียหายที่ 2 คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ผู้เสียหายที่ 1 รู้จักกับจำเลยมาก่อน ทั้งช่วงเกิดเหตุก็พักอาศัยอยู่ด้วยกันที่ห้องเช่าและทำงานร้านนวดที่เดียวกัน วันเกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 1 ยืนยันว่า ขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 ออกไปทำงาน จำเลยยังคงพักอยู่ที่ห้องเช่าโดยบอกว่าจะตามไปภายหลัง แต่วันดังกล่าวจำเลยไม่ไปทำงาน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ทราบว่าเงินในบัญชีหายไปจำนวน 59,000 บาท ก็รีบกลับมาที่ห้องเช่าแต่ไม่พบจำเลยและของใช้ส่วนตัวของจำเลยประกอบกับเมื่อไปตรวจสอบที่ธนาคารผู้เสียหายที่ 2 ก็เห็นภาพจากกล้องวงจรปิดและจากภาพถ่าย เป็นภาพที่จำเลยไปเบิกถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ใกล้ชิดต่อเนื่องกันกับเวลาเกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 1 ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยจึงไม่มีเหตุให้ระแวงว่าปรักปรำจำเลย ทั้งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวน จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ แม้จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้าย ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการยึดของกลางจากจำเลย และจำเลยไม่ใช่บุคคลที่ปรากฏในภาพวงจรปิดที่ไปเบิกถอนเงินจากธนาคาร แต่ผู้เสียหายที่ 1 และนายณภัทร พนักงานของผู้เสียหายที่ 2 ก็เบิกความถึงพฤติการณ์ของจำเลยทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุได้สอดคล้องเชื่อมโยงกันตามลำดับและยืนยันตรงกันว่าชายที่ปรากฏในภาพวงจรปิดที่มาเบิกถอนเงินในวันเกิดเหตุคือจำเลย ผู้เสียหายที่ 1 รู้จักกับจำเลยมานานพอสมควร ทั้งพักอาศัยอยู่ด้วยกัน ย่อมทราบถึงบุคลิกภาพลักษณะท่าทางเฉพาะตัวของจำเลยได้เป็นอย่างดี จึงเชื่อว่าสามารถจดจำบุคคลที่ปรากฏในภาพจากกล้องวงจรปิดได้ว่าเป็นจำเลย ทั้งหลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีไปอันเป็นการส่อพิรุธ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น พิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่เคยพักอาศัยอยู่ห้องพักเดียวกับผู้เสียหายในขณะเกิดเหตุ ไม่เคยเห็นลายมือชื่อผู้เสียหายที่ 1 ที่ใช้ในการเบิกถอนเงินจากธนาคาร จึงไม่อาจลงลายมือชื่อให้เหมือนกับลายมือชื่อผู้เสียหายที่ 1 ได้ ผู้เสียหายที่ 1 ไม่เห็นว่าใครลักสมุดเงินฝากและบัตรประจำตัวประชาชนไป ส่วนภาพจากกล้องวงจรปิดก็เลือนราง ไม่เห็นหน้าหรือระบุตัวบุคคลได้อย่างชัดเจนว่าเป็นจำเลย คำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ จึงไม่น่าเชื่อถือนั้น เห็นว่า เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ชอบด้วยเหตุผลแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรมโดยลงโทษฐานลักทรัพย์และฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นกระทงหนึ่ง กับลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิ ฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นอีกกระทงหนึ่งนั้น เห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในการลักสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทยจำกัด (มหาชน) สาขาพระราม 3 สาขาของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งมีชื่อของผู้เสียหายที่ 1 เป็นเจ้าบัญชีไป กรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ในใบคำขอถอนเงินของผู้เสียหายที่ 2 แล้วนำสมุดบัญชีเงินฝากดังกล่าวที่จำเลยเอาไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 ไปแสดงต่อพนักงานของผู้เสียหายที่ 2 และได้รับเงินจำนวน 59,000 บาท เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากผู้เสียหายที่ 2 เป็นหลัก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาได้เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 อีกประการหนึ่ง ตามคำฟ้องของโจทก์ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 โดยไม่ได้อ้างมาตรา 341 มาด้วย แต่ความผิดฐานดังกล่าวเป็นการกระทำที่เป็นองค์ประกอบมาจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 (1) ได้ กรณีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้ ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 188, 265, 334 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงให้ใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิดแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 (เดิม), 265 (เดิม), 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 (เดิม), 334 (เดิม), 342 (1) ประกอบมาตรา 341 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงให้ลงโทษในความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 (เดิม) ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ปรากฏเหตุข้ออ้างในการขอขยายระยะเวลาแต่เพียงว่า วันที่ครบกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์เป็นวันตรงกับวันหยุดเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 มีเหตุขัดข้องประการอื่น ย่อมยังไม่พอฟังได้ว่า กรณีมีเหตุควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์เนื่องจากมีความจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 19
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโจทก์ที่ 2 ทุกฉบับมีการระบุแจ้งให้ทราบว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยมีเหตุผลตามใบแนบหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มทุกฉบับ ส่วนที่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นคำสั่งทางปกครองที่มิได้มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งไว้โดยเฉพาะ ก็มิได้มีผลกระทบต่อเนื้อหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายแห่งการประเมินภาษี และยังได้ความตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) เลขที่ 06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการจัดทำทะเบียนคุมรายการและจัดทำบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2546 รหัสชุดเลขที่ 25490615 หมายถึง พ.ศ.(2549) เดือน (6) วันที่ (15) ที่ออกหนังสือ โดยโจทก์ที่ 2 ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยชอบแล้ว ประกอบกับทางพิจารณาไม่ปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ต้องเสียหายเนื่องจากการที่มิได้มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 อันมิได้มีผลทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหายถึงขนาดต้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองให้เสียไปเพื่อเยียวยาแก่โจทก์ที่ 2
โจทก์ที่ 2 มีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินแปลงพิพาทจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำตามที่คณะบุคคลโครงการ น. มอบหมายซึ่งอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของคณะบุคคลดังกล่าว การที่คณะบุคคลโครงการ น. ตกลงให้อาคารและสิ่งก่อสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้วโดยคณะบุคคลโครงการ น. ได้รับสิทธิการเช่าเป็นค่าตอบแทนและสามารถนำสิทธิการเช่าโอนขายให้แก่บุคคลทั่วไปได้ โดยเมื่อลูกค้าชำระค่าสิทธิการเช่าดังกล่าวแล้ว ลูกค้าก็จะต้องไปทำสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าโดยตรง การประกอบกิจการของคณะบุคคลโครงการ น. ในลักษณะที่ได้รับผลตอบแทนจากการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว นิติสัมพันธ์ระหว่างคณะบุคคลโครงการ น. กับบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้า จึงหาได้มีลักษณะเป็นการเช่าอาคารอันได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ต) แต่เป็นการโอนขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกโดยมีค่าตอบแทน จึงย่อมเป็นการขายสินค้าที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/2
บทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มิได้ห้ามเจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินยกเลิกการประเมินภาษีครั้งแรกเพราะเห็นว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจยกเลิกการประเมินภาษีที่ไม่ถูกต้องแล้วทำการประเมินภาษีอีกครั้งตามที่เห็นว่าถูกต้องได้ แม้การประเมินภาษีครั้งหลังจะทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องชำระภาษีมากกว่าการประเมินครั้งแรก แต่มีผลทำให้ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว จึงมิใช่การประเมินซ้ำซ้อนและยังคงเป็นการประเมินในเรื่องเดิม เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจยกเลิกการประเมินที่ไม่ถูกต้องและแจ้งการประเมินใหม่ตามที่เห็นว่าถูกต้องได้
ภาระทางภาษีของคณะบุคคลโครงการ น. สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะเกิดจากธุรกรรมที่คณะบุคคลโครงการ น. ยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างให้เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่แตกต่างไปจากภาระทางภาษีของคณะบุคคลโครงการ น. สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากธุรกรรมที่คณะบุคคลโครงการ น. โอนขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้า จึงเป็นธุรกรรมที่แตกต่างกันและคนละคู่สัญญากัน ลำพังเพียงว่า คณะบุคคลโครงการ น. ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่แล้ว จึงหาใช่เป็นเหตุผลโดยตรงให้คณะบุคคลโครงการ น. ไม่ต้องมีภาระที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก
โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เลขที่ ภ.พ.73.1-06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 และ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ สภ.6 (นฐ)/20 ถึง 55/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว
ก่อนไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์ที่ 1 ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางอนุญาต
จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการแจ้งการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เลขที่ ภพ. 73.1-06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ สภ.6(นฐ)/20 ถึง 55/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ที่ 2 โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท
โจทก์ที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า เดิมโจทก์ที่ 2 มีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินแปลงหมายเลขที่ 14 ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 นายสุรพจน์ นายพยุงหรือพยุงศักดิ์ และนายอุดมทรัพย์ ตกลงทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน โดยมีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อติดต่อนำที่ดินซึ่งเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาดำเนินการรับจ้างก่อสร้างอาคารให้แก่บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่ประสงค์จะทำสัญญาเช่าอาคารโดยตรงกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนคณะบุคคลดังกล่าว วันที่ 16 มิถุนายน 2540 โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่าที่ดินแปลงดังกล่าวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อผู้เช่าได้ก่อสร้างตามสัญญาเสร็จลงเมื่อใด ผู้เช่ายอมยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างพร้อมทั้งส่วนควบ สิ่งตรึงตรา เครื่องประกอบและเครื่องอุปกรณ์ให้แก่ผู้ให้เช่าทันที สัญญาดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาเช่า 24 ปี และมีข้อตกลงให้ผู้เช่าสามารถนำอาคารออกให้เช่าช่วงได้ คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2543 และแจ้งเลิกประกอบกิจการ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2546 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน โจทก์ที่ 2 อุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ให้ถูกต้องตามเดือนภาษีที่มีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือแจ้งยกเลิกการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว และแจ้งการจำหน่ายอุทธรณ์ให้โจทก์ที่ 2 ทราบ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2549 เจ้าพนักงานของจำเลยแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน รวม 36 เดือนภาษี ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เลขที่ ภ.พ. 73.1-06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 โจทก์ที่ 2 ในฐานะบุคคลในคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่กรณีมีเหตุอันควรผ่อนผัน จึงพิจารณาให้ลดเบี้ยปรับลงคงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยชอบแล้ว
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่คัดค้านคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ยกคำร้องขอให้ขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 เสียก่อน โดยโจทก์ที่ 2 อุทธรณ์ว่า คำร้องของโจทก์ที่ 2 ที่ขอให้ขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ได้มีการบรรยายให้ปรากฏถึงพฤติการณ์พิเศษที่โจทก์ที่ 2 ไม่อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาได้ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 19 บัญญัติว่า "ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่ศาลภาษีอากรกำหนด ศาลภาษีอากรมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม" ซึ่งคดีได้ความว่า โจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ลงวันที่ 11 เมษายน 2557 โดยอ้างเหตุว่า คดีนี้ ครบกำหนดที่โจทก์ที่ 2 จะต้องยื่นคำแก้อุทธรณ์ให้ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ คือวันที่ 15 เมษายน 2557 ประกอบกับในวันครบตรงกับวันหยุด และทนายโจทก์ที่ 2 เกรงว่าจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์ที่ 2 มีความประสงค์ขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ไปอีกสัก 30 วัน นับแต่วันครบ ขอศาลได้โปรดอนุญาต ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ในวันเดียวกันว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏข้อความใดแสดงให้เห็นถึงเหตุที่ไม่สามารถยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้ทันภายในกำหนด คงได้ความตามคำร้องเพียงว่า ครบกำหนดในวันหยุดราชการ เกรงว่าจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ทัน ซึ่งไม่ปรากฏเหตุผลอื่นใดที่จะไม่สามารถทำคำแก้อุทธรณ์ได้ภายในกำหนด ไม่อนุญาต ยกคำร้อง จะเห็นได้ชัดว่า คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ปรากฏเหตุข้ออ้างในการขอขยายระยะเวลาแต่เพียงว่า วันที่ครบกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์เป็นวันตรงกับวันหยุดเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 มีเหตุขัดข้องประการอื่น ย่อมยังไม่พอฟังได้ว่า กรณีมีเหตุควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาเนื่องจากมีความจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์มานั้นชอบแล้ว อย่างไรก็ดี เมื่อโจทก์ที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์พ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ จึงมีคำสั่งให้รับคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 เป็นคำแถลงการณ์
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินที่ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโจทก์ที่ 2 เป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 หรือไม่ โดยจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยจัดทำหนังสือแจ้งการประเมินถูกต้องตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนคุมรายการและจัดทำบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2546 แล้ว โดยรายการวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งซึ่งจะต้องระบุไว้ในคำสั่งทางปกครองนั้นมีความสำคัญในแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหาครบถ้วนแล้ว การไม่มีวัน เดือน ปี ก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดจะทำให้คำสั่งทางปกครองนั้นเสียไป ปัญหานี้ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 บัญญัติว่า "คำสั่งทางปกครองที่ทําเป็?นหนังสืออย่?างน้อยต้?องระบุวัน เดือน และปี?ที่ทําคําสั่ง ชื่อ และตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่ง พร้?อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้?าหน้?าที่ผู้?ทําคําสั่งนั้น" มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยนั้นเจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ" ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร เห็นว่า เมื่อพิจารณาหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) เลขที่ 06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 ทุกฉบับมีการระบุแจ้งให้ทราบว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 โดยมีเหตุผลตามใบแนบหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มทุกฉบับในทำนองเดียวกันว่า คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินยื่นขอจดทะเบียนในภายหลังและได้ยื่นแบบ ภ.พ. 30 โดยระบุไม่มีรายรับ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 88, 88/2, 88/5 และ 88/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์ที่ 2 ในฐานะบุคคลในคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน ต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม อันเป็นการแสดงให้เห็น ชัดแจ้งว่า โจทก์ที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีคำสั่งประเมินภาษีด้วยเหตุใด และมีการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มมาพร้อมกับการประเมิน ส่วนที่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นคำสั่งทางปกครองที่มิได้มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งไว้โดยเฉพาะ ก็มิได้มีผลกระทบต่อเนื้อหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายแห่งการประเมินภาษี และยังได้ความตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) เลขที่ 06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนคุมรายการและจัดทำบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2546 รหัสชุดเลขที่ 25490615 หมายถึง พ.ศ.(2549) เดือน (6) วันที่ (15) ที่ออกหนังสือ โดยโจทก์ที่ 2 ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยชอบแล้ว ประกอบกับทางพิจารณาไม่ปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ต้องเสียหายเนื่องจากการที่มิได้มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิได้ระบุ วัน เดือนและปี ดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 อันมิได้มีผลทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหายถึงขนาดต้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองให้เสียไปเพื่อเยียวยาแก่โจทก์ที่ 2 ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินที่ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโจทก์ที่ 2 เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 แล้วพิพากษาเพิกถอนการแจ้งการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น
กรณีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 และจำเลยต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาเสียก่อน โดยปัญหานี้ โจทก์ที่ 2 อ้างว่า ในการประกอบกิจการของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินนั้น คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินไม่ใช่ผู้เช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สิทธิการเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นสิทธิส่วนตัวของโจทก์ที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว ส่วนการดำเนินการของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินเป็นการลงทุนทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารตึกแถวและทาวน์เฮาส์ในที่ดินที่มีสิทธิการเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดังกล่าวเพื่อนำออกขายให้แก่บุคคลทั่วไป โดยมิได้มีการโอนขายสิทธิการเช่าใด ๆ ระหว่างโจทก์ที่ 2 กับลูกค้าแต่ละราย คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินได้รับผลตอบแทนในรูปกำไรจากเงินค่าขายอาคาร ที่จะได้รับการผ่อนชำระเป็นงวดจากลูกค้าตามสัญญาจะซื้อจะขายอาคารหักด้วยต้นทุนค่าก่อสร้างอาคาร เงินค่าขายอาคารมีลักษณะเป็นเพียงเงินช่วยค่าก่อสร้าง มิใช่เงินค่าตอบแทนจากการโอนสิทธิการเช่าคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินไม่เคยนำเอาต้นทุนของสัญญาเช่าที่โจทก์ที่ 2 ทำไว้กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาบันทึกเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของโครงการ สัญญาเช่าที่โจทก์ที่ 2 ทำไว้กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มิได้เปิดโอกาสให้โจทก์ที่ 2 โอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอก เพียงแต่ให้สิทธิโจทก์ที่ 2 ในการนำอาคารออกให้เช่าช่วงแก่บุคคลภายนอกเท่านั้น เงินค่าขายอาคารอันมีลักษณะเป็นเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินได้รับ มีลักษณะเป็นการเช่าอาคารอันได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ต) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ใช่การขายสินค้าดังที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยกล่าวอ้างปัญหานี้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (8) บัญญัติว่า "ขาย หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่..." มาตรา 77/1 (9) บัญญัติว่า "สินค้า หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใด ๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า" มาตรา 77/1 (10) บัญญัติว่า "บริการ หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใดๆ..." และมาตรา 81 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้... (1) การขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ดังต่อไปนี้... (ต) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์..." ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า ทางพิจารณาได้ความว่า โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยข้อ 2 ของสัญญามีความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะลงมือดำเนินการก่อสร้างตึกแถว 3 ชั้น จำนวน 40 คูหา และอาคารพักอาศัย 2 ชั้น จำนวน 40 ห้อง ตามแบบแปลนแผนผังและรายละเอียดซึ่งผู้เช่าเป็นผู้ขออนุญาตในนามสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทุนก่อสร้างประมาณ 66,063,050 บาท ...." ข้อ 4 ของสัญญามีความว่า "ผู้เช่าให้สัญญาว่า เมื่อผู้เช่าได้ก่อสร้างตามสัญญาข้อสองเสร็จลงเมื่อใด ผู้เช่ายอมยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างพร้อมทั้งส่วนควบสิ่งตรึงตราเครื่องประกอบและเครื่องอุปกรณ์ให้แก่ผู้ให้เช่าทันที..." และข้อ 12 ของสัญญามีความว่า "ผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่านำอาคารออกให้เช่าช่วงได้..." จะเห็นได้ว่า แม้หนังสือสัญญาเช่าดังกล่าวจะระบุว่า โจทก์ที่ 2 เป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้เช่า แต่ตามหนังสือสัญญาเช่าดังกล่าวก็ระบุว่า ทรัพย์สินที่เช่าคือ ที่ดินแปลงหมายเลข 14 ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งโจทก์ที่ 2 ร่วมกับบุคคลอื่น ได้ทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 โดยใช้ชื่อว่าคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนเช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แปลงหมายเลขดังกล่าว เพื่อนำมาดำเนินการจัดแบ่งเป็นแปลง ๆ พร้อมทั้งสร้างอาคารพาณิชย์และอาคารพักอาศัยตามสัญญาเข้าหุ้นส่วน เพื่อโอนสิทธิการเช่าที่ดินพร้อมทั้งอาคารให้แก่บุคคลทั่วไป ซึ่งตามข้อ 1 ของสัญญาดังกล่าวระบุให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้เช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และตามข้อ 7 ระบุให้โจทก์ที่ 2 หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ดำเนินการติดต่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อขอโอนสิทธิการเช่าที่ดินพร้อมทั้งอาคารพักอาศัยให้แก่บุคคลอื่น เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จตามโครงการ ดังนี้เห็นได้ว่า การที่โจทก์ที่ 2 มีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินแปลงพิพาทจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำตามที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินมอบหมายซึ่งอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของคณะบุคคลดังกล่าว ซึ่งการที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินตกลงให้อาคารและสิ่งก่อสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว โดยคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินได้รับสิทธิการเช่าเป็นค่าตอบแทนและสามารถนำสิทธิการเช่าโอนขายให้แก่บุคคลทั่วไปได้ โดยเมื่อลูกค้าชำระค่าสิทธิการเช่าดังกล่าวแล้ว ลูกค้าก็จะต้องไปทำสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าโดยตรง การประกอบกิจการของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินในลักษณะที่ได้รับผลตอบแทนจากการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว นิติสัมพันธ์ระหว่างคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินกับบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้า จึงหาได้มีลักษณะเป็นการเช่าอาคารอันได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ต) แห่งประมวลรัษฎากร ดังที่โจทก์ที่ 2 อ้าง เนื่องจากลูกค้าต้องไปทำสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าโดยตรง ทั้งลูกค้าก็มิได้เช่าช่วงจากโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกโดยมีค่าตอบแทนอันถือเป็นการขายทรัพย์สิน ตามนิยามคำว่า ขาย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (8) เมื่อสิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ จึงเป็นสินค้าตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (9) การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกโดยมีค่าตอบแทน จึงย่อมเป็นการขายสินค้าที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/2 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว สำหรับที่โจทก์ที่ 2 อ้างว่า ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มรายโจทก์ที่ 2 ในคดีนี้ เจ้าพนักงานประเมินเคยประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มรายคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งโจทก์ที่ 2 ในฐานะคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินครั้งก่อน แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า การประเมินภาษีครั้งก่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การยกเลิกการประเมินภาษีครั้งก่อนต้องกระทำโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เท่านั้น ทั้งการประเมินภาษีครั้งหลังยังทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับภาระภาษีเพิ่มมากขึ้นกว่าการประเมินภาษีครั้งแรกอย่างมาก ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มิได้ห้ามเจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินยกเลิกการประเมินภาษีครั้งแรกเพราะเห็นว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจยกเลิกการประเมินภาษีที่ไม่ถูกต้องแล้วทำการประเมินภาษีอีกครั้งตามที่เห็นว่าถูกต้องได้ แม้การประเมินภาษีครั้งหลังจะทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องชำระภาษีมากกว่าการประเมินภาษีครั้งแรก แต่มีผลทำให้ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว จึงมิใช่การประเมินภาษีซ้ำซ้อน โดยเฉพาะการประเมินภาษีครั้งหลังยังเป็นการประเมินในเรื่องเดิมมิใช่การประเมินในเรื่องใหม่ ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจยกเลิกการประเมินที่ไม่ถูกต้องและแจ้งการประเมินใหม่ตามที่เห็นว่าถูกต้องได้ ข้ออ้างของโจทก์ที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ที่โจทก์ที่ 2 อ้างต่อไปว่า กิจการของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า ทางพิจารณาได้ความว่า คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือสิ่งก่อสร้างให้แก่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนคดีนี้เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินสำหรับการประกอบกิจการขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลทั่วไป จะเห็นได้ว่า ภาระทางภาษีของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะเกิดจากธุรกรรมที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างให้เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่แตกต่างไปจากภาระทางภาษีของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากธุรกรรมที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินโอนขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้า จึงเป็นธุรกรรมที่แตกต่างกันและคนละคู่สัญญากัน ลำพังเพียงว่า คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่แล้ว จึงหาใช่เป็นเหตุผลโดยตรงให้คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินไม่ต้องมีภาระที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังที่โจทก์ที่ 2 อ้าง สำหรับปัญหาว่า กรณีมีเหตุให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า ในชั้นตรวจสอบภาษี โจทก์ที่ 2 มิได้มาพบเจ้าพนักงานของจำเลยตามหนังสือเชิญพบและไม่ได้ส่งมอบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้แก่เจ้าพนักงานของจำเลย โดยที่โจทก์ที่ 2 นำส่งเอกสารที่เกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานของจำเลยจึงต้องทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อตรวจสอบเรื่องขอคัดหลักฐานข้อสัญญาเช่าและการโอนสิทธิการเช่า ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับลงคงเหลือเพียงร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้ออื่นอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องของโจทก์ที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ปรากฏเหตุข้ออ้างในการขอขยายระยะเวลาแต่เพียงว่า วันที่ครบกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์เป็นวันตรงกับวันหยุดเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 มีเหตุขัดข้องประการอื่น ย่อมยังไม่พอฟังได้ว่า กรณีมีเหตุควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์เนื่องจากมีความจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 19
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโจทก์ที่ 2 ทุกฉบับมีการระบุแจ้งให้ทราบว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยมีเหตุผลตามใบแนบหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มทุกฉบับ ส่วนที่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นคำสั่งทางปกครองที่มิได้มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งไว้โดยเฉพาะ ก็มิได้มีผลกระทบต่อเนื้อหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายแห่งการประเมินภาษี และยังได้ความตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) เลขที่ 06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการจัดทำทะเบียนคุมรายการและจัดทำบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2546 รหัสชุดเลขที่ 25490615 หมายถึง พ.ศ.(2549) เดือน (6) วันที่ (15) ที่ออกหนังสือ โดยโจทก์ที่ 2 ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยชอบแล้ว ประกอบกับทางพิจารณาไม่ปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ต้องเสียหายเนื่องจากการที่มิได้มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 อันมิได้มีผลทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหายถึงขนาดต้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองให้เสียไปเพื่อเยียวยาแก่โจทก์ที่ 2
โจทก์ที่ 2 มีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินแปลงพิพาทจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำตามที่คณะบุคคลโครงการ น. มอบหมายซึ่งอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของคณะบุคคลดังกล่าว การที่คณะบุคคลโครงการ น. ตกลงให้อาคารและสิ่งก่อสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้วโดยคณะบุคคลโครงการ น. ได้รับสิทธิการเช่าเป็นค่าตอบแทนและสามารถนำสิทธิการเช่าโอนขายให้แก่บุคคลทั่วไปได้ โดยเมื่อลูกค้าชำระค่าสิทธิการเช่าดังกล่าวแล้ว ลูกค้าก็จะต้องไปทำสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าโดยตรง การประกอบกิจการของคณะบุคคลโครงการ น. ในลักษณะที่ได้รับผลตอบแทนจากการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว นิติสัมพันธ์ระหว่างคณะบุคคลโครงการ น. กับบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้า จึงหาได้มีลักษณะเป็นการเช่าอาคารอันได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ต) แต่เป็นการโอนขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกโดยมีค่าตอบแทน จึงย่อมเป็นการขายสินค้าที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/2
บทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มิได้ห้ามเจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินยกเลิกการประเมินภาษีครั้งแรกเพราะเห็นว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจยกเลิกการประเมินภาษีที่ไม่ถูกต้องแล้วทำการประเมินภาษีอีกครั้งตามที่เห็นว่าถูกต้องได้ แม้การประเมินภาษีครั้งหลังจะทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องชำระภาษีมากกว่าการประเมินครั้งแรก แต่มีผลทำให้ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว จึงมิใช่การประเมินซ้ำซ้อนและยังคงเป็นการประเมินในเรื่องเดิม เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจยกเลิกการประเมินที่ไม่ถูกต้องและแจ้งการประเมินใหม่ตามที่เห็นว่าถูกต้องได้
ภาระทางภาษีของคณะบุคคลโครงการ น. สำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะเกิดจากธุรกรรมที่คณะบุคคลโครงการ น. ยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างให้เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่แตกต่างไปจากภาระทางภาษีของคณะบุคคลโครงการ น. สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากธุรกรรมที่คณะบุคคลโครงการ น. โอนขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้า จึงเป็นธุรกรรมที่แตกต่างกันและคนละคู่สัญญากัน ลำพังเพียงว่า คณะบุคคลโครงการ น. ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่แล้ว จึงหาใช่เป็นเหตุผลโดยตรงให้คณะบุคคลโครงการ น. ไม่ต้องมีภาระที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก
โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เลขที่ ภ.พ.73.1-06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 และ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ สภ.6 (นฐ)/20 ถึง 55/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว
ก่อนไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์ที่ 1 ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางอนุญาต
จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการแจ้งการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เลขที่ ภพ. 73.1-06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ สภ.6(นฐ)/20 ถึง 55/2550 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ที่ 2 โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท
โจทก์ที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า เดิมโจทก์ที่ 2 มีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินแปลงหมายเลขที่ 14 ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 นายสุรพจน์ นายพยุงหรือพยุงศักดิ์ และนายอุดมทรัพย์ ตกลงทำสัญญาจัดตั้งคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน โดยมีวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อติดต่อนำที่ดินซึ่งเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาดำเนินการรับจ้างก่อสร้างอาคารให้แก่บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่ประสงค์จะทำสัญญาเช่าอาคารโดยตรงกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยโจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแทนคณะบุคคลดังกล่าว วันที่ 16 มิถุนายน 2540 โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่าที่ดินแปลงดังกล่าวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อผู้เช่าได้ก่อสร้างตามสัญญาเสร็จลงเมื่อใด ผู้เช่ายอมยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างพร้อมทั้งส่วนควบ สิ่งตรึงตรา เครื่องประกอบและเครื่องอุปกรณ์ให้แก่ผู้ให้เช่าทันที สัญญาดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาเช่า 24 ปี และมีข้อตกลงให้ผู้เช่าสามารถนำอาคารออกให้เช่าช่วงได้ คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2543 และแจ้งเลิกประกอบกิจการ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2546 เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน โจทก์ที่ 2 อุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่ให้ถูกต้องตามเดือนภาษีที่มีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือแจ้งยกเลิกการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว และแจ้งการจำหน่ายอุทธรณ์ให้โจทก์ที่ 2 ทราบ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2549 เจ้าพนักงานของจำเลยแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน รวม 36 เดือนภาษี ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เลขที่ ภ.พ. 73.1-06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 โจทก์ที่ 2 ในฐานะบุคคลในคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่กรณีมีเหตุอันควรผ่อนผัน จึงพิจารณาให้ลดเบี้ยปรับลงคงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยชอบแล้ว
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ที่คัดค้านคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ยกคำร้องขอให้ขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 เสียก่อน โดยโจทก์ที่ 2 อุทธรณ์ว่า คำร้องของโจทก์ที่ 2 ที่ขอให้ขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ได้มีการบรรยายให้ปรากฏถึงพฤติการณ์พิเศษที่โจทก์ที่ 2 ไม่อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาได้ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 19 บัญญัติว่า "ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่ศาลภาษีอากรกำหนด ศาลภาษีอากรมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม" ซึ่งคดีได้ความว่า โจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ลงวันที่ 11 เมษายน 2557 โดยอ้างเหตุว่า คดีนี้ ครบกำหนดที่โจทก์ที่ 2 จะต้องยื่นคำแก้อุทธรณ์ให้ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ คือวันที่ 15 เมษายน 2557 ประกอบกับในวันครบตรงกับวันหยุด และทนายโจทก์ที่ 2 เกรงว่าจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์ที่ 2 มีความประสงค์ขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ไปอีกสัก 30 วัน นับแต่วันครบ ขอศาลได้โปรดอนุญาต ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ในวันเดียวกันว่า ตามคำร้องไม่ปรากฏข้อความใดแสดงให้เห็นถึงเหตุที่ไม่สามารถยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้ทันภายในกำหนด คงได้ความตามคำร้องเพียงว่า ครบกำหนดในวันหยุดราชการ เกรงว่าจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ทัน ซึ่งไม่ปรากฏเหตุผลอื่นใดที่จะไม่สามารถทำคำแก้อุทธรณ์ได้ภายในกำหนด ไม่อนุญาต ยกคำร้อง จะเห็นได้ชัดว่า คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ปรากฏเหตุข้ออ้างในการขอขยายระยะเวลาแต่เพียงว่า วันที่ครบกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์เป็นวันตรงกับวันหยุดเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 มีเหตุขัดข้องประการอื่น ย่อมยังไม่พอฟังได้ว่า กรณีมีเหตุควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาเนื่องจากมีความจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ขยายระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์มานั้นชอบแล้ว อย่างไรก็ดี เมื่อโจทก์ที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์พ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ จึงมีคำสั่งให้รับคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 เป็นคำแถลงการณ์
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินที่ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโจทก์ที่ 2 เป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 หรือไม่ โดยจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยจัดทำหนังสือแจ้งการประเมินถูกต้องตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนคุมรายการและจัดทำบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2546 แล้ว โดยรายการวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งซึ่งจะต้องระบุไว้ในคำสั่งทางปกครองนั้นมีความสำคัญในแต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหาครบถ้วนแล้ว การไม่มีวัน เดือน ปี ก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดจะทำให้คำสั่งทางปกครองนั้นเสียไป ปัญหานี้ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 บัญญัติว่า "คำสั่งทางปกครองที่ทําเป็?นหนังสืออย่?างน้อยต้?องระบุวัน เดือน และปี?ที่ทําคําสั่ง ชื่อ และตําแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่ง พร้?อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้?าหน้?าที่ผู้?ทําคําสั่งนั้น" มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยนั้นเจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ" ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร เห็นว่า เมื่อพิจารณาหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) เลขที่ 06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 ทุกฉบับมีการระบุแจ้งให้ทราบว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 โดยมีเหตุผลตามใบแนบหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มทุกฉบับในทำนองเดียวกันว่า คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินยื่นขอจดทะเบียนในภายหลังและได้ยื่นแบบ ภ.พ. 30 โดยระบุไม่มีรายรับ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 88, 88/2, 88/5 และ 88/6 แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์ที่ 2 ในฐานะบุคคลในคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน ต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม อันเป็นการแสดงให้เห็น ชัดแจ้งว่า โจทก์ที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีคำสั่งประเมินภาษีด้วยเหตุใด และมีการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มมาพร้อมกับการประเมิน ส่วนที่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นคำสั่งทางปกครองที่มิได้มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งไว้โดยเฉพาะ ก็มิได้มีผลกระทบต่อเนื้อหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายแห่งการประเมินภาษี และยังได้ความตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.73.1) เลขที่ 06730070-25490615-005-00047 ถึง 00082 ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนคุมรายการและจัดทำบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2546 รหัสชุดเลขที่ 25490615 หมายถึง พ.ศ.(2549) เดือน (6) วันที่ (15) ที่ออกหนังสือ โดยโจทก์ที่ 2 ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยชอบแล้ว ประกอบกับทางพิจารณาไม่ปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ต้องเสียหายเนื่องจากการที่มิได้มีการระบุวัน เดือน ปี ที่ทำคำสั่งในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิได้ระบุ วัน เดือนและปี ดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 อันมิได้มีผลทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหายถึงขนาดต้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองให้เสียไปเพื่อเยียวยาแก่โจทก์ที่ 2 ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินที่ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโจทก์ที่ 2 เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 แล้วพิพากษาเพิกถอนการแจ้งการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น
กรณีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ แต่เมื่อโจทก์ที่ 2 และจำเลยต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาเสียก่อน โดยปัญหานี้ โจทก์ที่ 2 อ้างว่า ในการประกอบกิจการของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินนั้น คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินไม่ใช่ผู้เช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สิทธิการเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นสิทธิส่วนตัวของโจทก์ที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว ส่วนการดำเนินการของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินเป็นการลงทุนทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคารตึกแถวและทาวน์เฮาส์ในที่ดินที่มีสิทธิการเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดังกล่าวเพื่อนำออกขายให้แก่บุคคลทั่วไป โดยมิได้มีการโอนขายสิทธิการเช่าใด ๆ ระหว่างโจทก์ที่ 2 กับลูกค้าแต่ละราย คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินได้รับผลตอบแทนในรูปกำไรจากเงินค่าขายอาคาร ที่จะได้รับการผ่อนชำระเป็นงวดจากลูกค้าตามสัญญาจะซื้อจะขายอาคารหักด้วยต้นทุนค่าก่อสร้างอาคาร เงินค่าขายอาคารมีลักษณะเป็นเพียงเงินช่วยค่าก่อสร้าง มิใช่เงินค่าตอบแทนจากการโอนสิทธิการเช่าคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินไม่เคยนำเอาต้นทุนของสัญญาเช่าที่โจทก์ที่ 2 ทำไว้กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาบันทึกเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของโครงการ สัญญาเช่าที่โจทก์ที่ 2 ทำไว้กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มิได้เปิดโอกาสให้โจทก์ที่ 2 โอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอก เพียงแต่ให้สิทธิโจทก์ที่ 2 ในการนำอาคารออกให้เช่าช่วงแก่บุคคลภายนอกเท่านั้น เงินค่าขายอาคารอันมีลักษณะเป็นเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินได้รับ มีลักษณะเป็นการเช่าอาคารอันได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ต) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ใช่การขายสินค้าดังที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยกล่าวอ้างปัญหานี้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (8) บัญญัติว่า "ขาย หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่..." มาตรา 77/1 (9) บัญญัติว่า "สินค้า หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใด ๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า" มาตรา 77/1 (10) บัญญัติว่า "บริการ หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึงการใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใดๆ..." และมาตรา 81 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้... (1) การขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ดังต่อไปนี้... (ต) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์..." ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า ทางพิจารณาได้ความว่า โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยข้อ 2 ของสัญญามีความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะลงมือดำเนินการก่อสร้างตึกแถว 3 ชั้น จำนวน 40 คูหา และอาคารพักอาศัย 2 ชั้น จำนวน 40 ห้อง ตามแบบแปลนแผนผังและรายละเอียดซึ่งผู้เช่าเป็นผู้ขออนุญาตในนามสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทุนก่อสร้างประมาณ 66,063,050 บาท ...." ข้อ 4 ของสัญญามีความว่า "ผู้เช่าให้สัญญาว่า เมื่อผู้เช่าได้ก่อสร้างตามสัญญาข้อสองเสร็จลงเมื่อใด ผู้เช่ายอมยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างพร้อมทั้งส่วนควบสิ่งตรึงตราเครื่องประกอบและเครื่องอุปกรณ์ให้แก่ผู้ให้เช่าทันที..." และข้อ 12 ของสัญญามีความว่า "ผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่านำอาคารออกให้เช่าช่วงได้..." จะเห็นได้ว่า แม้หนังสือสัญญาเช่าดังกล่าวจะระบุว่า โจทก์ที่ 2 เป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้เช่า แต่ตามหนังสือสัญญาเช่าดังกล่าวก็ระบุว่า ทรัพย์สินที่เช่าคือ ที่ดินแปลงหมายเลข 14 ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งโจทก์ที่ 2 ร่วมกับบุคคลอื่น ได้ทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 โดยใช้ชื่อว่าคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สิน มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนเช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แปลงหมายเลขดังกล่าว เพื่อนำมาดำเนินการจัดแบ่งเป็นแปลง ๆ พร้อมทั้งสร้างอาคารพาณิชย์และอาคารพักอาศัยตามสัญญาเข้าหุ้นส่วน เพื่อโอนสิทธิการเช่าที่ดินพร้อมทั้งอาคารให้แก่บุคคลทั่วไป ซึ่งตามข้อ 1 ของสัญญาดังกล่าวระบุให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้เช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และตามข้อ 7 ระบุให้โจทก์ที่ 2 หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ดำเนินการติดต่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อขอโอนสิทธิการเช่าที่ดินพร้อมทั้งอาคารพักอาศัยให้แก่บุคคลอื่น เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จตามโครงการ ดังนี้เห็นได้ว่า การที่โจทก์ที่ 2 มีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินแปลงพิพาทจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำตามที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินมอบหมายซึ่งอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของคณะบุคคลดังกล่าว ซึ่งการที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินตกลงให้อาคารและสิ่งก่อสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว โดยคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินได้รับสิทธิการเช่าเป็นค่าตอบแทนและสามารถนำสิทธิการเช่าโอนขายให้แก่บุคคลทั่วไปได้ โดยเมื่อลูกค้าชำระค่าสิทธิการเช่าดังกล่าวแล้ว ลูกค้าก็จะต้องไปทำสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าโดยตรง การประกอบกิจการของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินในลักษณะที่ได้รับผลตอบแทนจากการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว นิติสัมพันธ์ระหว่างคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินกับบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้า จึงหาได้มีลักษณะเป็นการเช่าอาคารอันได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ต) แห่งประมวลรัษฎากร ดังที่โจทก์ที่ 2 อ้าง เนื่องจากลูกค้าต้องไปทำสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าโดยตรง ทั้งลูกค้าก็มิได้เช่าช่วงจากโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกโดยมีค่าตอบแทนอันถือเป็นการขายทรัพย์สิน ตามนิยามคำว่า ขาย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (8) เมื่อสิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ จึงเป็นสินค้าตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (9) การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกโดยมีค่าตอบแทน จึงย่อมเป็นการขายสินค้าที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/2 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว สำหรับที่โจทก์ที่ 2 อ้างว่า ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มรายโจทก์ที่ 2 ในคดีนี้ เจ้าพนักงานประเมินเคยประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มรายคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งโจทก์ที่ 2 ในฐานะคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินครั้งก่อน แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า การประเมินภาษีครั้งก่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การยกเลิกการประเมินภาษีครั้งก่อนต้องกระทำโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เท่านั้น ทั้งการประเมินภาษีครั้งหลังยังทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับภาระภาษีเพิ่มมากขึ้นกว่าการประเมินภาษีครั้งแรกอย่างมาก ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มิได้ห้ามเจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินยกเลิกการประเมินภาษีครั้งแรกเพราะเห็นว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจยกเลิกการประเมินภาษีที่ไม่ถูกต้องแล้วทำการประเมินภาษีอีกครั้งตามที่เห็นว่าถูกต้องได้ แม้การประเมินภาษีครั้งหลังจะทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องชำระภาษีมากกว่าการประเมินภาษีครั้งแรก แต่มีผลทำให้ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว จึงมิใช่การประเมินภาษีซ้ำซ้อน โดยเฉพาะการประเมินภาษีครั้งหลังยังเป็นการประเมินในเรื่องเดิมมิใช่การประเมินในเรื่องใหม่ ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจยกเลิกการประเมินที่ไม่ถูกต้องและแจ้งการประเมินใหม่ตามที่เห็นว่าถูกต้องได้ ข้ออ้างของโจทก์ที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ที่โจทก์ที่ 2 อ้างต่อไปว่า กิจการของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า ทางพิจารณาได้ความว่า คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือสิ่งก่อสร้างให้แก่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนคดีนี้เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินสำหรับการประกอบกิจการขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลทั่วไป จะเห็นได้ว่า ภาระทางภาษีของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะเกิดจากธุรกรรมที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินยกกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างให้เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่แตกต่างไปจากภาระทางภาษีของคณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากธุรกรรมที่คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินโอนขายสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลทั่วไปซึ่งเป็นลูกค้า จึงเป็นธุรกรรมที่แตกต่างกันและคนละคู่สัญญากัน ลำพังเพียงว่า คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอยู่แล้ว จึงหาใช่เป็นเหตุผลโดยตรงให้คณะบุคคลโครงการนพวรรณทรัพย์สินไม่ต้องมีภาระที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังที่โจทก์ที่ 2 อ้าง สำหรับปัญหาว่า กรณีมีเหตุให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า ในชั้นตรวจสอบภาษี โจทก์ที่ 2 มิได้มาพบเจ้าพนักงานของจำเลยตามหนังสือเชิญพบและไม่ได้ส่งมอบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้แก่เจ้าพนักงานของจำเลย โดยที่โจทก์ที่ 2 นำส่งเอกสารที่เกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานของจำเลยจึงต้องทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อตรวจสอบเรื่องขอคัดหลักฐานข้อสัญญาเช่าและการโอนสิทธิการเช่า ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับลงคงเหลือเพียงร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้ออื่นอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องของโจทก์ที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
แม้หากฟังได้ว่าผู้ตายบอกยกเงินค่าที่ดินที่จะได้รับจากจำเลยให้แก่โจทก์ แต่เนื่องจากเป็นหนี้ที่จำเลยมีต่อผู้ตายแล้วยังมิได้ชำระ การให้เงินค่าขายที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์อันเป็นสิทธิเรียกร้องของผู้ตายที่มีต่อจำเลยจึงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องของผู้ตายให้แก่โจทก์ไม่มีการทำเป็นหนังสือย่อมไม่มีผลผูกพันผู้ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทและลูกหนี้ของผู้ตาย ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ เมื่อผู้ตายมีจำเลยและ ท. เป็นทายาทประเภทพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายประเภทคู่สมรส จึงมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) โจทก์ได้รับเงินกึ่งหนึ่งของทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับมรดกของผู้ตายตามสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 500,208.33 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ต้นเงินและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 2 มกราคม 2557) ต้องไม่เกิน 500,208.33 บาท ตามคำขอของโจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 6,000 บาท
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติโดยคู่ความมิได้โต้แย้งว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายวิชิต ผู้ตาย แต่ไม่มีบุตร บิดามารดาถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ส่วนจำเลยและนางทัศนีย์ เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ผู้ตาย จำเลยและนางทัศนีย์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 77693 ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยการรับมรดก เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 ผู้ตายทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนขายให้แก่จำเลย ในราคา 1,500,000 บาท กำหนดชำระในวันทำสัญญา 500,000 บาท งวดที่ 2 ชำระ 500,000 บาท ภายในเดือนธันวาคม 2553 งวดที่ 3 ชำระ 500,000 บาท หลังจากชำระงวดที่ 2 แล้วเป็นเวลา 3 ปี ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ผู้ตายจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาแล้ว ในเดือนธันวาคม 2553 จำเลยไม่ได้ชำระเงินงวดที่ 2 ต่อมาวันที่ 4 ธันวาคม 2554 ผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากนั้น 1 วัน จำเลยโอนเงินให้แก่โจทก์ 250,000 บาท และมอบเงินให้แก่โจทก์ 50,000 บาท ตามสำเนาใบถอนเงิน ต่อมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 โจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงว่าจำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์ 200,000 บาท โดยผ่อนชำระ 20 งวด ตามบันทึกข้อตกลง ต่อมาจำเลยชำระเงินทั้งยี่สิบงวด ครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่ได้ชำระเงินงวดที่ 3 จำนวน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายเนื่องจากเป็นคู่สมรส จำเลยและนางทัศนีย์เป็นทายาทของผู้ตายเนื่องจากเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า เงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดที่ 2 และงวดที่ 3 รวม 1,000,000 บาท เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายและโจทก์ได้รับเงินในส่วนของโจทก์ไปแล้วหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าผู้ตายแสดงเจตนายกเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อเป็นค่าดำรงชีพของโจทก์ และนำสืบว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคมะเร็ง โจทก์เป็นผู้ดูแลและจ่ายค่ารักษาพยาบาล ผู้ตายรู้ว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นานและโจทก์เสียค่ารักษาผู้ตายจำนวนมาก ผู้ตายจึงบอกยกเงินค่าขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ให้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้หากฟังได้ว่าผู้ตายบอกยกเงินค่าที่ดินที่จะได้รับจากจำเลยให้แก่โจทก์ แต่เนื่องจากเป็นหนี้ที่จำเลยมีต่อผู้ตายแล้วยังมิได้ชำระ การให้เงินค่าขายที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์อันเป็นสิทธิเรียกร้องของผู้ตายที่มีต่อจำเลยจึงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องของผู้ตายให้แก่โจทก์ไม่มีการทำเป็นหนังสือย่อมไม่มีผลผูกพันผู้ตาย แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องนี้ แต่เป็นอำนาจและหน้าที่ของศาลในการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายอันเป็นการปรับบทกฎหมาย ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นทายาทและลูกหนี้ของผู้ตาย ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ สิทธิของผู้ตายที่จะได้รับเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดที่ 2 และงวดที่ 3 รวม 1,000,000 บาท จึงตกเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาท เมื่อผู้ตายมีจำเลยและนางทัศนีย์เป็นทายาทประเภทพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (3) โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายประเภทคู่สมรส จึงมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1635 (2) ทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับเงินงวดที่ 2 จำนวน 500,000 บาท อันเป็นเงินกึ่งหนึ่งของทรัพย์มรดกของผู้ตายดังกล่าว จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับมรดกของผู้ตายตามสิทธิของโจทก์ตามที่จำเลยฎีกาแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม) เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ปัญหาข้ออื่นตามฎีกาของจำเลยจึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
แม้หากฟังได้ว่าผู้ตายบอกยกเงินค่าที่ดินที่จะได้รับจากจำเลยให้แก่โจทก์ แต่เนื่องจากเป็นหนี้ที่จำเลยมีต่อผู้ตายแล้วยังมิได้ชำระ การให้เงินค่าขายที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์อันเป็นสิทธิเรียกร้องของผู้ตายที่มีต่อจำเลยจึงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องของผู้ตายให้แก่โจทก์ไม่มีการทำเป็นหนังสือย่อมไม่มีผลผูกพันผู้ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทและลูกหนี้ของผู้ตาย ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ เมื่อผู้ตายมีจำเลยและ ท. เป็นทายาทประเภทพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (3) โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายประเภทคู่สมรส จึงมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 (2) โจทก์ได้รับเงินกึ่งหนึ่งของทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับมรดกของผู้ตายตามสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 500,208.33 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันที่ 31 ธันวาคม 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ต้นเงินและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 2 มกราคม 2557) ต้องไม่เกิน 500,208.33 บาท ตามคำขอของโจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 6,000 บาท
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติโดยคู่ความมิได้โต้แย้งว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายวิชิต ผู้ตาย แต่ไม่มีบุตร บิดามารดาถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ส่วนจำเลยและนางทัศนีย์ เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ผู้ตาย จำเลยและนางทัศนีย์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 77693 ตำบลจรเข้บัว อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยการรับมรดก เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 ผู้ตายทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนขายให้แก่จำเลย ในราคา 1,500,000 บาท กำหนดชำระในวันทำสัญญา 500,000 บาท งวดที่ 2 ชำระ 500,000 บาท ภายในเดือนธันวาคม 2553 งวดที่ 3 ชำระ 500,000 บาท หลังจากชำระงวดที่ 2 แล้วเป็นเวลา 3 ปี ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ผู้ตายจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาแล้ว ในเดือนธันวาคม 2553 จำเลยไม่ได้ชำระเงินงวดที่ 2 ต่อมาวันที่ 4 ธันวาคม 2554 ผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากนั้น 1 วัน จำเลยโอนเงินให้แก่โจทก์ 250,000 บาท และมอบเงินให้แก่โจทก์ 50,000 บาท ตามสำเนาใบถอนเงิน ต่อมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 โจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงว่าจำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์ 200,000 บาท โดยผ่อนชำระ 20 งวด ตามบันทึกข้อตกลง ต่อมาจำเลยชำระเงินทั้งยี่สิบงวด ครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่ได้ชำระเงินงวดที่ 3 จำนวน 500,000 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายเนื่องจากเป็นคู่สมรส จำเลยและนางทัศนีย์เป็นทายาทของผู้ตายเนื่องจากเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า เงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดที่ 2 และงวดที่ 3 รวม 1,000,000 บาท เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายและโจทก์ได้รับเงินในส่วนของโจทก์ไปแล้วหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าผู้ตายแสดงเจตนายกเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อเป็นค่าดำรงชีพของโจทก์ และนำสืบว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคมะเร็ง โจทก์เป็นผู้ดูแลและจ่ายค่ารักษาพยาบาล ผู้ตายรู้ว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นานและโจทก์เสียค่ารักษาผู้ตายจำนวนมาก ผู้ตายจึงบอกยกเงินค่าขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ให้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้หากฟังได้ว่าผู้ตายบอกยกเงินค่าที่ดินที่จะได้รับจากจำเลยให้แก่โจทก์ แต่เนื่องจากเป็นหนี้ที่จำเลยมีต่อผู้ตายแล้วยังมิได้ชำระ การให้เงินค่าขายที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์อันเป็นสิทธิเรียกร้องของผู้ตายที่มีต่อจำเลยจึงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องของผู้ตายให้แก่โจทก์ไม่มีการทำเป็นหนังสือย่อมไม่มีผลผูกพันผู้ตาย แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องนี้ แต่เป็นอำนาจและหน้าที่ของศาลในการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายอันเป็นการปรับบทกฎหมาย ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นทายาทและลูกหนี้ของผู้ตาย ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ สิทธิของผู้ตายที่จะได้รับเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดที่ 2 และงวดที่ 3 รวม 1,000,000 บาท จึงตกเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาท เมื่อผู้ตายมีจำเลยและนางทัศนีย์เป็นทายาทประเภทพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (3) โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายประเภทคู่สมรส จึงมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1635 (2) ทั้งปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับเงินงวดที่ 2 จำนวน 500,000 บาท อันเป็นเงินกึ่งหนึ่งของทรัพย์มรดกของผู้ตายดังกล่าว จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับมรดกของผู้ตายตามสิทธิของโจทก์ตามที่จำเลยฎีกาแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม) เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ปัญหาข้ออื่นตามฎีกาของจำเลยจึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1112 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตามวันกำหนด จำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ แม้ตามมาตรา 1123 บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันกำหนด กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น ให้ส่งใช้เงินที่เรียกเก็บกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้" ก็มิได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัด แต่มาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" และมาตรา 224 บัญญัติว่า "หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี..." ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ นับแต่วันที่กำหนดส่งใช้เงินค่าหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 และมาตรา 224
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีอากรพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม 1,827,052.31 บาท จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 310,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 300,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 3 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 4 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 5 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 6 ชำระเงิน 78,906.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 7 ชำระเงิน 77,484.37 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ร่วมกันชำระเงิน 75,296.88 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งแปดขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจำนวน 1,827,052.31 บาท ให้แก่โจทก์ ในจำนวนเงิน 1,827,052.31 บาท ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์นี้ ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท ให้จำเลยที่ 4 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท ให้จำเลยที่ 5 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท ให้จำเลยที่ 6 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท ให้จำเลยที่ 7 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ร่วมกันชำระเงินค่าหุ้นของนายสนิท ที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ไม่จำต้องร่วมรับผิดหนี้เงินค่าหุ้นของนายสนิทที่ยังส่งใช้ไม่ครบเกินกว่าทรัพย์มรดกของนายสนิทที่ตกทอดได้แก่ตน ทั้งนี้ โจทก์มีสิทธิรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 รวมกันได้ไม่เกินจำนวนหนี้ภาษีอากรค้างที่จำเลยที่ 1 คงค้างชำระหนี้โจทก์ในคดีนี้ กับให้จำเลยทั้งแปดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนด ค่าทนายความ 5,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยแต่ละรายรับผิดเท่าที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกเสีย
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และนายสนิท เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนมูลค่าหุ้นตามกฎหมาย นายสนิท ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสนิท จำเลยที่ 8 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้จัดการมรดกของนายสนิท วันที่ 31 สิงหาคม 2548 จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) โดยชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานของโจทก์จึงได้ตั้งเป็นยอดภาษีอากรค้างไว้ตามใบแจ้งการค้างชำระภาษีอากร (บช 35 ) สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ฉบับเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 สำหรับเดือนภาษีมกราคม เดือนภาษีกุมภาพันธ์ เดือนภาษีเมษายน ถึงกันยายน และเดือนภาษีธันวาคม 2546 เป็นหนี้ภาษีอากรค้าง ตามใบแจ้งการค้างชำระภาษีอากร (บช 35) เลขที่ บช 35-03014400-25480831-005-00381 ถึง 00389 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เป็นเงินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มรวม 706,726.36 บาท ส่วนการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ฉบับยื่นปกติ รอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เจ้าพนักงานของโจทก์ตั้งยอดภาษีอากรค้างไว้ตามใบแจ้งการค้างชำระภาษีอากรเลขที่ บช 35- 030214400-2548831-002-00167 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เป็นเงินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มรวม 507,870.27 บาท ค่าภาษีที่เหลือหลังหักเช็คที่จำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายไว้ 35,000 บาท อีก 597,870.27 บาท นอกจากนี้เจ้าพนักงานโจทก์วิเคราะห์แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) สำหรับเดือนภาษีเมษายน 2546 (ฉบับเพิ่มเติม ครั้งที่ 1) ที่จำเลยที่ 1 แสดงยอดขายแจ้งไว้ขาด ยอดซื้อแจ้งไว้ขาด พบว่าจำเลยที่ 1 คำนวณเบี้ยปรับตามแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้อง เนื่องจากเดือนภาษีเมษายน 2546 จำเลยที่ 1 ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (ฉบับปกติ) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ฉบับเพิ่มเติม ครั้งที่ 1) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ต้องเสียเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (2) เท่ากับ 153,912.74 บาท จำเลยที่ 1 ได้ขอลดและชำระเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย คิดเป็นเบี้ยปรับที่ลดแล้ว 30,782.55 บาท แต่จำเลยที่ 1 แสดงไว้เพียง 16,112.06 บาท จึงชำระเบี้ยปรับขาดจำนวน 14,670 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เลขที่ ภ.พ. 73-03014400-254812027-005-00039 จำนวน 14,670 บาท โจทก์จัดส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว เจ้าพนักงานของโจทก์ได้ดำเนินการอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยที่ 1 บางส่วนได้เงินไม่พอชำระหนี้ภาษีอากรค้างและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอื่นใดที่จะดำเนินการตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และนายสนิท เป็นผู้ถือหุ้นที่ชำระมูลค่าหุ้นไว้แล้วเพียงหุ้นละ 25 บาท ยังมีมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบอีกหุ้นละ 75 บาท นายสนิทถึงแก่ความตาย โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 นำเงินไปชำระหนี้ภาษีอากรและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 บอกกล่าวให้ผู้ถือหุ้นนำเงินมาชำระค่าหุ้นให้แก่จำเลยที่ 1 ให้ครบถ้วนตามจำนวนหุ้นที่แต่ละบุคคลถือไว้ แต่จำเลยที่ 1 มิได้นำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากรให้แก่โจทก์ และมิได้ดำเนินการใช้สิทธิตามกฎหมายเรียกร้องให้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 8 ในฐานะผู้ถือหุ้นและหรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นที่ตายนำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาชำระให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ โดยมีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 8 ในฐานะผู้ถือหุ้น ทายาทและ/หรือผู้จัดการมรดกของนายสนิท ผู้ถือหุ้นที่ตาย เพื่อให้นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ มาดำเนินการชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้รับหนังสือไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วด้วยวิธีปิดหมาย โดยจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2556 จำเลยที่ 7 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 นางสุพิศ ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของนายสนิท เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มิได้นำเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีอากร เบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวม 1,827,052.30 บาท จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 300,000 บาท จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ชำระเงินคนละ 75,000 บาท จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ร่วมกันชำระค่าหุ้นของนายสนิท 75,000 บาท แก่โจทก์โดยโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ย แต่ทั้งนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1122 เป็นเพียงการให้สิทธิกรรมการที่จะแจ้งเรื่องดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดไว้ในหนังสือบอกกล่าวได้ มิได้หมายความว่า หากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว จะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ดังที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยได้ นั้น ปัญหานี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1122 บัญญัติว่า "ถ้าและเงินอันจะพึงส่งใช้เป็นค่าหุ้นตามเรียกนั้น ผู้ถือหุ้นคนใดมิได้ส่งใช้ตามวันกำหนดไซร้ ผู้นั้นจำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ" ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1122 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตามวันกำหนด จำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ แม้ตามมาตรา 1123 บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันกำหนด กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น ให้ส่งใช้เงินที่เรียกเก็บกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้" ก็มิได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดดังที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ยังชำระเงินค่าหุ้นแก่จำเลยที่ 1 ไม่ครบถ้วน โจทก์ซึ่งใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ ได้มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 8 ในฐานะผู้ถือหุ้น ทายาทและหรือผู้จัดการมรดกของนายสนิท ผู้ถือหุ้นที่ตาย เพื่อให้นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาดำเนินการชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้รับหนังสือบอกกล่าวพร้อมกำหนดให้ส่งใช้ค่าหุ้นไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต้องชำระเอาไว้ในหนังสือดังกล่าว แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" และมาตรา 224 บัญญัติว่า "หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี..." ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ นับแต่วันที่กำหนดส่งใช้เงินค่าหุ้นตามมาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบโดยไม่กำหนดดอกเบี้ยให้ จึงไม่ต้องความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น แต่เมื่อโจทก์ขอดอกเบี้ยมาเพียงนับถัดจากวันฟ้องจึงให้เท่าที่โจทก์ขอ
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 310,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 300,000 บาท จำเลยที่ 3 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท จำเลยที่ 4 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท จำเลยที่ 5 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท จำเลยที่ 6 ชำระเงิน 78,906.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท จำเลยที่ 7 ชำระเงินจำนวน 77,484.37 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 75,296.88 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ไม่จำต้องร่วมรับผิดหนี้เงินค่าหุ้นของนายสนิท ที่ยังส่งใช้ไม่ครบเกินกว่าทรัพย์มรดกของนายสนิทที่ตกทอดได้แก่ตน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1112 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตามวันกำหนด จำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ แม้ตามมาตรา 1123 บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันกำหนด กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น ให้ส่งใช้เงินที่เรียกเก็บกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้" ก็มิได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัด แต่มาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" และมาตรา 224 บัญญัติว่า "หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี..." ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ นับแต่วันที่กำหนดส่งใช้เงินค่าหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 และมาตรา 224
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีอากรพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม 1,827,052.31 บาท จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 310,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 300,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 3 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 4 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 5 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 6 ชำระเงิน 78,906.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 7 ชำระเงิน 77,484.37 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ร่วมกันชำระเงิน 75,296.88 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งแปดขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจำนวน 1,827,052.31 บาท ให้แก่โจทก์ ในจำนวนเงิน 1,827,052.31 บาท ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์นี้ ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท ให้จำเลยที่ 4 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท ให้จำเลยที่ 5 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท ให้จำเลยที่ 6 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท ให้จำเลยที่ 7 ชำระเงินจำนวน 75,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ร่วมกันชำระเงินค่าหุ้นของนายสนิท ที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ไม่จำต้องร่วมรับผิดหนี้เงินค่าหุ้นของนายสนิทที่ยังส่งใช้ไม่ครบเกินกว่าทรัพย์มรดกของนายสนิทที่ตกทอดได้แก่ตน ทั้งนี้ โจทก์มีสิทธิรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 รวมกันได้ไม่เกินจำนวนหนี้ภาษีอากรค้างที่จำเลยที่ 1 คงค้างชำระหนี้โจทก์ในคดีนี้ กับให้จำเลยทั้งแปดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนด ค่าทนายความ 5,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยแต่ละรายรับผิดเท่าที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกเสีย
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และนายสนิท เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนมูลค่าหุ้นตามกฎหมาย นายสนิท ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสนิท จำเลยที่ 8 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้จัดการมรดกของนายสนิท วันที่ 31 สิงหาคม 2548 จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) โดยชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานของโจทก์จึงได้ตั้งเป็นยอดภาษีอากรค้างไว้ตามใบแจ้งการค้างชำระภาษีอากร (บช 35 ) สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ฉบับเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 สำหรับเดือนภาษีมกราคม เดือนภาษีกุมภาพันธ์ เดือนภาษีเมษายน ถึงกันยายน และเดือนภาษีธันวาคม 2546 เป็นหนี้ภาษีอากรค้าง ตามใบแจ้งการค้างชำระภาษีอากร (บช 35) เลขที่ บช 35-03014400-25480831-005-00381 ถึง 00389 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เป็นเงินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มรวม 706,726.36 บาท ส่วนการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ฉบับยื่นปกติ รอบระยะเวลาบัญชีวันที่ 1 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เจ้าพนักงานของโจทก์ตั้งยอดภาษีอากรค้างไว้ตามใบแจ้งการค้างชำระภาษีอากรเลขที่ บช 35- 030214400-2548831-002-00167 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เป็นเงินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มรวม 507,870.27 บาท ค่าภาษีที่เหลือหลังหักเช็คที่จำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายไว้ 35,000 บาท อีก 597,870.27 บาท นอกจากนี้เจ้าพนักงานโจทก์วิเคราะห์แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) สำหรับเดือนภาษีเมษายน 2546 (ฉบับเพิ่มเติม ครั้งที่ 1) ที่จำเลยที่ 1 แสดงยอดขายแจ้งไว้ขาด ยอดซื้อแจ้งไว้ขาด พบว่าจำเลยที่ 1 คำนวณเบี้ยปรับตามแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้อง เนื่องจากเดือนภาษีเมษายน 2546 จำเลยที่ 1 ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (ฉบับปกติ) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ฉบับเพิ่มเติม ครั้งที่ 1) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ต้องเสียเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (2) เท่ากับ 153,912.74 บาท จำเลยที่ 1 ได้ขอลดและชำระเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย คิดเป็นเบี้ยปรับที่ลดแล้ว 30,782.55 บาท แต่จำเลยที่ 1 แสดงไว้เพียง 16,112.06 บาท จึงชำระเบี้ยปรับขาดจำนวน 14,670 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เลขที่ ภ.พ. 73-03014400-254812027-005-00039 จำนวน 14,670 บาท โจทก์จัดส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว เจ้าพนักงานของโจทก์ได้ดำเนินการอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยที่ 1 บางส่วนได้เงินไม่พอชำระหนี้ภาษีอากรค้างและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอื่นใดที่จะดำเนินการตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และนายสนิท เป็นผู้ถือหุ้นที่ชำระมูลค่าหุ้นไว้แล้วเพียงหุ้นละ 25 บาท ยังมีมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบอีกหุ้นละ 75 บาท นายสนิทถึงแก่ความตาย โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 นำเงินไปชำระหนี้ภาษีอากรและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 บอกกล่าวให้ผู้ถือหุ้นนำเงินมาชำระค่าหุ้นให้แก่จำเลยที่ 1 ให้ครบถ้วนตามจำนวนหุ้นที่แต่ละบุคคลถือไว้ แต่จำเลยที่ 1 มิได้นำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากรให้แก่โจทก์ และมิได้ดำเนินการใช้สิทธิตามกฎหมายเรียกร้องให้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 8 ในฐานะผู้ถือหุ้นและหรือทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นที่ตายนำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาชำระให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ โดยมีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 8 ในฐานะผู้ถือหุ้น ทายาทและ/หรือผู้จัดการมรดกของนายสนิท ผู้ถือหุ้นที่ตาย เพื่อให้นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ มาดำเนินการชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้รับหนังสือไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วด้วยวิธีปิดหมาย โดยจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2556 จำเลยที่ 7 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 นางสุพิศ ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของนายสนิท เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มิได้นำเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีอากร เบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวม 1,827,052.30 บาท จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 300,000 บาท จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ชำระเงินคนละ 75,000 บาท จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ร่วมกันชำระค่าหุ้นของนายสนิท 75,000 บาท แก่โจทก์โดยโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ย แต่ทั้งนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นหรือไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1122 เป็นเพียงการให้สิทธิกรรมการที่จะแจ้งเรื่องดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดไว้ในหนังสือบอกกล่าวได้ มิได้หมายความว่า หากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้ว จะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ดังที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยได้ นั้น ปัญหานี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1122 บัญญัติว่า "ถ้าและเงินอันจะพึงส่งใช้เป็นค่าหุ้นตามเรียกนั้น ผู้ถือหุ้นคนใดมิได้ส่งใช้ตามวันกำหนดไซร้ ผู้นั้นจำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ" ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1122 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตามวันกำหนด จำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ แม้ตามมาตรา 1123 บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันกำหนด กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น ให้ส่งใช้เงินที่เรียกเก็บกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้" ก็มิได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดดังที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ยังชำระเงินค่าหุ้นแก่จำเลยที่ 1 ไม่ครบถ้วน โจทก์ซึ่งใช้สิทธิเรียกร้องแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ ได้มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 และที่ 8 ในฐานะผู้ถือหุ้น ทายาทและหรือผู้จัดการมรดกของนายสนิท ผู้ถือหุ้นที่ตาย เพื่อให้นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาดำเนินการชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ได้รับหนังสือบอกกล่าวพร้อมกำหนดให้ส่งใช้ค่าหุ้นไว้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต้องชำระเอาไว้ในหนังสือดังกล่าว แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" และมาตรา 224 บัญญัติว่า "หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี..." ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ นับแต่วันที่กำหนดส่งใช้เงินค่าหุ้นตามมาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบโดยไม่กำหนดดอกเบี้ยให้ จึงไม่ต้องความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น แต่เมื่อโจทก์ขอดอกเบี้ยมาเพียงนับถัดจากวันฟ้องจึงให้เท่าที่โจทก์ขอ
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 310,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 300,000 บาท จำเลยที่ 3 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท จำเลยที่ 4 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท จำเลยที่ 5 ชำระเงิน 79,156.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท จำเลยที่ 6 ชำระเงิน 78,906.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท จำเลยที่ 7 ชำระเงินจำนวน 77,484.37 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 75,296.88 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของมูลค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบจำนวน 75,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 8 ไม่จำต้องร่วมรับผิดหนี้เงินค่าหุ้นของนายสนิท ที่ยังส่งใช้ไม่ครบเกินกว่าทรัพย์มรดกของนายสนิทที่ตกทอดได้แก่ตน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทจดรายการที่ตั้งของสำนักงานผู้ชำระบัญชีคือเลขที่ 87/149 อาคารออลซีซั่น กรุงเทพมหานคร ถือว่าโจทก์ได้เลือกเอาที่ตั้งดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีและถือว่าเอกสารรายการจดทะเบียนดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่เจ้าพนักงานทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน การจดทะเบียนเลิกบริษัทถือว่าบริษัทยังคงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นในการชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจทำการแทนโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับย่อมเป็นการส่งที่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง และมีบุคคลลงชื่อรับไว้ โดยระบุว่าเป็นพนักงาน ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2553 ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 มาตรา 22 ประกอบมาตรา 6 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด พ.ศ.2546 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ตามหมวด 6 ระบบงานไปรษณีย์ การนำจ่ายสิ่งของทางไปรษณีย์ข้อ 64 ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ บริษัทถือว่าบุคคลต่อไปนี้ เป็นผู้แทนของผู้รับ ข้อ 64.1 บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดือนกันกับผู้รับ 64.2 บุคคลซึ่งทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกันกับผู้รับ 64.3 เจ้าหน้าที่รับรองหรือผู้ดูแลของโรงแรมหรืออาคาร 64.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานหรืออาคาร เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้วตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม
การที่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย้ายสำนักงานไปยังเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ กรุงเทพมหานคร นานถึงหนึ่งปีเศษ จึงแจ้งย้ายที่อยู่ของผู้ชำระบัญชี ก็เป็นกรณีหลังจากถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยชอบแล้ว เป็นความบกพร่องของโจทก์เอง ดังนั้น คำสั่งของรัฐมนตรีที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์จึงชอบแล้ว อนึ่ง อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะพิจารณาสั่ง หากคำสั่งของรัฐมนตรีไม่ชอบ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ แต่มิใช่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยอาศัยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และขอให้ศาลมีคำสั่งขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์แก่โจทก์และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา
จำเลยทั้งสองให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนเลิกบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 โดยมีนางสาวศิรินทิพย์เป็นผู้ชำระบัญชี สำนักงานผู้ชำระบัญชีตั้งอยู่เลขที่ 87/149 อาคารออลซีซั่น แขวงลุมพินี กรุงเทพมหานคร ต่อมาโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการต่อจำเลยที่ 1 (สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 ผู้ชำระบัญชีแจ้งแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชีเป็นเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 ผู้ชำระบัญชีของโจทก์มอบอำนาจให้บุคคลรับหนังสือเรื่องเตือนให้นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมกับคำอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือที่ กค 0706/ก4/14952 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2555 เรื่อง ไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์ไม่เห็นด้วยและอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 สรรพากรภาค 2 ส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังโดยรายงานผ่านจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 พิจารณาแล้วให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์และให้ส่งคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังจำเลยที่ 2 และแจ้งโจทก์ทราบ จำเลยที่ 1 มีบันทึกข้อความส่งคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 2 พิจารณา เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีความเห็นตามลำดับบังคับบัญชา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 โจทก์ได้รับหนังสือที่ กค 0206/1535 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 แจ้งคำสั่งไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงมาฟ้องเป็นคดีนี้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินให้แก่โจทก์ชอบด้วยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานประเมินส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ทั้งส่งไปยังที่อยู่ตามภูมิลำเนาของผู้ชำระบัญชีและสำนักงานผู้ชำระบัญชีโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และส่งคืนแก่ผู้รับด้วยสาเหตุว่าไม่มีผู้รับตามที่จ่าหน้าก็ต้องถือว่าผู้รับไม่ได้รับไปรษณีย์ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ต้องใช้วิธีปิดหมาย หรือปิดโฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อให้เป็นผลตามกฎหมายจึงจะชอบด้วยมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่ได้รับหนังสือเชิญพบและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงเอกสารที่จำเลยที่ 1 ส่งแก่โจทก์ทุกฉบับ โจทก์จึงไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินภายในกำหนดเวลาสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาขยายกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินให้แก่โจทก์ นั้น เห็นว่า มาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือหนังสืออื่นที่มีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้ ให้ส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือเจ้าพนักงานสรรพากรนำส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือ ณ สำนักงานของบุคคลนั้น ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของผู้รับจะส่งให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว และอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่โต้เถียงกันฟังได้ว่า โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทโดยจดรายการที่ตั้งของสำนักงานผู้ชำระบัญชีคือ เลขที่ 87/149 อาคารออลซีซั่น ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือว่าโจทก์ได้เลือกเอาที่ตั้งดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชี และถือว่าเอกสารรายการจดทะเบียนดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่เจ้าพนักงานทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน กรณีโจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัท แต่ถือว่ายังคงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นในการชำระบัญชี ซึ่งผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ขณะนั้นคือผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่สะสางหนี้สินและทรัพย์สินของโจทก์ กับใช้หนี้และแจกจ่ายทรัพย์สินของโจทก์ในช่วงที่มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีโดยการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับย่อมเป็นการส่งที่ชอบด้วยมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และมีบุคคลลงชื่อรับไว้ โดยระบุว่าเป็นพนักงาน ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2553 ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 มาตรา 22 ประกอบมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด พ.ศ.2546 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ตามหมวด 6 ระบบงานไปรษณีย์ การนำจ่ายสิ่งของทางไปรษณีย์ ข้อ 64 ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ บริษัทถือว่าบุคคลต่อไปนี้ เป็นผู้แทนของผู้รับ ข้อ 64.1 บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดือนกันกับผู้รับ 64.2 บุคคลซึ่งทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกันกับผู้รับ 64.3 เจ้าหน้าที่รับรองหรือผู้ดูแลของโรงแรมหรืออาคาร 64.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานหรืออาคาร เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้วตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร การที่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย้ายสำนักงานไปยังเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร นานถึงหนึ่งปีเศษโจทก์จึงแจ้งย้ายที่อยู่ของผู้ชำระบัญชี ก็เป็นกรณีหลังจากถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยชอบแล้ว เป็นความบกพร่องของโจทก์เองที่ไม่แจ้งย้ายที่อยู่ผู้ชำระบัญชี เพื่อประโยชน์ของโจทก์เอง ดังนั้น คำสั่งของรัฐมนตรีที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์ชอบแล้ว ส่วนข้ออ้างของการไม่อนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาโดยไม่ใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือมีผลกระทบต่อบุคคลจำนวนมากก็เป็นเพียงข้อความประกอบการวินิจฉัยไม่อนุญาตให้ขยายกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์เท่านั้น อนึ่ง อำนาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะพิจารณาสั่ง หากคำสั่งของรัฐมนตรีไม่ชอบ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของรัฐมนตรีได้ แต่มิใช่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยอาศัยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ดังที่โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาขอให้พิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่ศาลภาษีอากรกลางยกข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รับหนังสือเตือนให้ไปชำระเงินภาษีอากรค้างพร้อมสำเนาหนังสือแจ้งการประเมินของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 ศาลภาษีอากรกลางถือว่าเป็นวันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้โต้เถียงกันในประเด็นนี้ ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไม่ชอบ นั้น เห็นว่า ข้อวินิจฉัยดังกล่าวของศาลภาษีอากรกลางเป็นเพียงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยหนึ่งประการในประเด็นข้อพิพาท กรณีรัฐมนตรีมีเหตุสมควรขยายกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์หรือไม่ หาใช่เป็นคำวินิจฉัยไม่ชอบในข้อที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่โต้แย้งกันแต่อย่างใด ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทจดรายการที่ตั้งของสำนักงานผู้ชำระบัญชีคือเลขที่ 87/149 อาคารออลซีซั่น กรุงเทพมหานคร ถือว่าโจทก์ได้เลือกเอาที่ตั้งดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีและถือว่าเอกสารรายการจดทะเบียนดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่เจ้าพนักงานทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน การจดทะเบียนเลิกบริษัทถือว่าบริษัทยังคงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นในการชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจทำการแทนโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับย่อมเป็นการส่งที่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง และมีบุคคลลงชื่อรับไว้ โดยระบุว่าเป็นพนักงาน ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2553 ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 มาตรา 22 ประกอบมาตรา 6 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด พ.ศ.2546 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ตามหมวด 6 ระบบงานไปรษณีย์ การนำจ่ายสิ่งของทางไปรษณีย์ข้อ 64 ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ บริษัทถือว่าบุคคลต่อไปนี้ เป็นผู้แทนของผู้รับ ข้อ 64.1 บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดือนกันกับผู้รับ 64.2 บุคคลซึ่งทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกันกับผู้รับ 64.3 เจ้าหน้าที่รับรองหรือผู้ดูแลของโรงแรมหรืออาคาร 64.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานหรืออาคาร เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้วตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม
การที่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย้ายสำนักงานไปยังเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ กรุงเทพมหานคร นานถึงหนึ่งปีเศษ จึงแจ้งย้ายที่อยู่ของผู้ชำระบัญชี ก็เป็นกรณีหลังจากถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยชอบแล้ว เป็นความบกพร่องของโจทก์เอง ดังนั้น คำสั่งของรัฐมนตรีที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์จึงชอบแล้ว อนึ่ง อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะพิจารณาสั่ง หากคำสั่งของรัฐมนตรีไม่ชอบ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ แต่มิใช่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยอาศัยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และขอให้ศาลมีคำสั่งขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์แก่โจทก์และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณา
จำเลยทั้งสองให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนเลิกบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 โดยมีนางสาวศิรินทิพย์เป็นผู้ชำระบัญชี สำนักงานผู้ชำระบัญชีตั้งอยู่เลขที่ 87/149 อาคารออลซีซั่น แขวงลุมพินี กรุงเทพมหานคร ต่อมาโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการต่อจำเลยที่ 1 (สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 ผู้ชำระบัญชีแจ้งแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชีเป็นเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 ผู้ชำระบัญชีของโจทก์มอบอำนาจให้บุคคลรับหนังสือเรื่องเตือนให้นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมกับคำอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือที่ กค 0706/ก4/14952 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2555 เรื่อง ไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์ไม่เห็นด้วยและอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 สรรพากรภาค 2 ส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังโดยรายงานผ่านจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 พิจารณาแล้วให้เพิกถอนคำสั่งไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์และให้ส่งคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังจำเลยที่ 2 และแจ้งโจทก์ทราบ จำเลยที่ 1 มีบันทึกข้อความส่งคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 2 พิจารณา เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีความเห็นตามลำดับบังคับบัญชา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 โจทก์ได้รับหนังสือที่ กค 0206/1535 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 แจ้งคำสั่งไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงมาฟ้องเป็นคดีนี้
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินให้แก่โจทก์ชอบด้วยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่ โจทก์อุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานประเมินส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ทั้งส่งไปยังที่อยู่ตามภูมิลำเนาของผู้ชำระบัญชีและสำนักงานผู้ชำระบัญชีโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และส่งคืนแก่ผู้รับด้วยสาเหตุว่าไม่มีผู้รับตามที่จ่าหน้าก็ต้องถือว่าผู้รับไม่ได้รับไปรษณีย์ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ต้องใช้วิธีปิดหมาย หรือปิดโฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อให้เป็นผลตามกฎหมายจึงจะชอบด้วยมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่ได้รับหนังสือเชิญพบและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงเอกสารที่จำเลยที่ 1 ส่งแก่โจทก์ทุกฉบับ โจทก์จึงไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินภายในกำหนดเวลาสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาขยายกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินให้แก่โจทก์ นั้น เห็นว่า มาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือหนังสืออื่นที่มีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้ ให้ส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือเจ้าพนักงานสรรพากรนำส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือ ณ สำนักงานของบุคคลนั้น ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของผู้รับจะส่งให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว และอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับนั้นก็ได้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่โต้เถียงกันฟังได้ว่า โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทโดยจดรายการที่ตั้งของสำนักงานผู้ชำระบัญชีคือ เลขที่ 87/149 อาคารออลซีซั่น ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือว่าโจทก์ได้เลือกเอาที่ตั้งดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชี และถือว่าเอกสารรายการจดทะเบียนดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่เจ้าพนักงานทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน กรณีโจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัท แต่ถือว่ายังคงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นในการชำระบัญชี ซึ่งผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ขณะนั้นคือผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่สะสางหนี้สินและทรัพย์สินของโจทก์ กับใช้หนี้และแจกจ่ายทรัพย์สินของโจทก์ในช่วงที่มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีโดยการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับย่อมเป็นการส่งที่ชอบด้วยมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และมีบุคคลลงชื่อรับไว้ โดยระบุว่าเป็นพนักงาน ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2553 ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 มาตรา 22 ประกอบมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด พ.ศ.2546 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ตามหมวด 6 ระบบงานไปรษณีย์ การนำจ่ายสิ่งของทางไปรษณีย์ ข้อ 64 ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ บริษัทถือว่าบุคคลต่อไปนี้ เป็นผู้แทนของผู้รับ ข้อ 64.1 บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดือนกันกับผู้รับ 64.2 บุคคลซึ่งทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกันกับผู้รับ 64.3 เจ้าหน้าที่รับรองหรือผู้ดูแลของโรงแรมหรืออาคาร 64.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานหรืออาคาร เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้วตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร การที่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย้ายสำนักงานไปยังเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร นานถึงหนึ่งปีเศษโจทก์จึงแจ้งย้ายที่อยู่ของผู้ชำระบัญชี ก็เป็นกรณีหลังจากถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยชอบแล้ว เป็นความบกพร่องของโจทก์เองที่ไม่แจ้งย้ายที่อยู่ผู้ชำระบัญชี เพื่อประโยชน์ของโจทก์เอง ดังนั้น คำสั่งของรัฐมนตรีที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์ชอบแล้ว ส่วนข้ออ้างของการไม่อนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาโดยไม่ใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือมีผลกระทบต่อบุคคลจำนวนมากก็เป็นเพียงข้อความประกอบการวินิจฉัยไม่อนุญาตให้ขยายกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์เท่านั้น อนึ่ง อำนาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะพิจารณาสั่ง หากคำสั่งของรัฐมนตรีไม่ชอบ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของรัฐมนตรีได้ แต่มิใช่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยอาศัยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ดังที่โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาขอให้พิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่ศาลภาษีอากรกลางยกข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รับหนังสือเตือนให้ไปชำระเงินภาษีอากรค้างพร้อมสำเนาหนังสือแจ้งการประเมินของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 ศาลภาษีอากรกลางถือว่าเป็นวันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้โต้เถียงกันในประเด็นนี้ ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไม่ชอบ นั้น เห็นว่า ข้อวินิจฉัยดังกล่าวของศาลภาษีอากรกลางเป็นเพียงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยหนึ่งประการในประเด็นข้อพิพาท กรณีรัฐมนตรีมีเหตุสมควรขยายกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์หรือไม่ หาใช่เป็นคำวินิจฉัยไม่ชอบในข้อที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่โต้แย้งกันแต่อย่างใด ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า"การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ถ้าไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 เว้นแต่กรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี" และคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์เป็นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร พ.ศ.2546 ข้อ 14 (1) ซึ่งโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวพร้อมกับคำอุทธรณ์การประเมินเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 แม้ต่อมาวันที่ 12 มกราคม 2555 จำเลยมีคำสั่งไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรซึ่งโจทก์ยื่นอุทธรณ์และจำเลยมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่อนุมัติให้ทุเลาและยกอุทธรณ์โจทก์ก็ตาม แต่ปรากฏว่าต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ได้อุทธรณ์การประเมินฉบับลงวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานชอบแล้วแต่ให้ลดเบี้ยปรับลงกึ่งหนึ่ง โดยวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ดังนั้น คำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีย่อมสิ้นผลบังคับแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์อีกต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าการขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์ในระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งตามหนังสือที่ กค 0706/ก1/297 เรื่อง ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากร ลงวันที่ 12 มกราคม 2555 กับให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ 02/2557 ลงวันที่ 6 มกราคม 2557 และขอให้จำเลยรับเอาที่ดินโฉนดเลขที่196281 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 39/1 ถึง 39/5 ที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวเพื่อทุเลาการเสียภาษีอากร
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 3604/2546 ให้บริษัทอนิชตา จำกัด ส่งมอบที่ดินที่ให้เช่าโฉนดเลขที่ 196281 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ให้เช่าแก่นายอุดม โจทก์ในคดีนี้ ให้บริษัทอนิชตา จำกัด จดทะเบียนเพิกถอนการเช่าและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารเลขที่ 39/1 ถึง 39/5 เฉพาะสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ในคดีนี้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในสิ่งปลูกสร้างตามคำสั่งศาลถือเป็นการขาย เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ถือเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการเช่าทรัพย์สินตามมาตรา 40(5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่โจทก์ไม่ได้นำเงินได้ไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 33,681,218.95 บาท เบี้ยปรับ 3,681,218.95 บาท เงินเพิ่ม 33,681,218.95 บาท รวม 101,043,656 บาท โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินโดยชอบแล้ว และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินพร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยนำที่ดินโฉนดเลขที่ 196281 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร ที่มีราคาประเมิน 37,004,000 บาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 39/1 ถึง 39/5 ที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวทั้งหมด ซึ่งเป็นอาคารที่เจ้าพนักงานของจำเลยคำนวณมูลค่าขณะทำการประเมินภาษีของโจทก์ ต่อมาวันที่ 6 ธันวาคม 2554 เจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าทรัพย์สินมีมูลค่าคุ้มหนี้ภาษีอากรและนัดให้โจทก์ไปจดทะเบียนจำนอง แต่เมื่อจะจดทะเบียนจำนองเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนงแจ้งว่าไม่อาจจดทะเบียนจำนองให้ได้ เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 39/1 ถึง 39/5 มีชื่อบริษัทอนิชตา จำกัด เป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้าง และยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์ ทั้งอาคารดังกล่าวจดทะเบียนจำนองไว้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยซัมมิท จำกัด และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หากจำเลยรับจำนองก็ต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองลำดับที่สอง เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่อาจจดทะเบียนจำนองได้ จำเลยจึงไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากร ต่อมาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากร โดยในวันเดียวกันนั้นโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรอีกครั้งโดยเสนอที่ดินโฉนดเลขที่ 196281 และที่ดินโฉนดเลขที่ 216467 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร เป็นหลักประกัน แต่เจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือแจ้งแก่โจทก์ว่า อาคารและที่ดินมีราคาประเมินทุนทรัพย์เมื่อนำมาหักภาระจำนองของอาคารไม่คุ้มหนี้ภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีมติให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ เนื่องจากไม่ได้จัดให้มีหลักประกันตามข้อ 15 ของระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอุทธรณ์ พ.ศ.2546 ต่อมาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในเรื่องการขอทุเลาการเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ หลังจากที่โจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้แล้ว ต่อมาวันที่ 28 มีนาคม 2557 โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเรื่องการประเมินภาษี ซึ่งได้วินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ให้โจทก์ชำระภาษีแต่ลดเบี้ยปรับลงกึ่งหนึ่ง
สำหรับปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำสั่งไม่อนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษีอากรของจำเลยตามหนังสือ ที่ กค 0706/ก1/297 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ 02/2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ถ้าไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 เว้นแต่กรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี" และคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์เป็นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2546 ข้อ 14 (1) ซึ่งโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวพร้อมกับคำอุทธรณ์การประเมิน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 แม้ต่อมาวันที่ 12 มกราคม 2555 ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรซึ่งโจทก์ยื่นอุทธรณ์และผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรและยกอุทธรณ์โจทก์ก็ตาม แต่ปรากฏว่าต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ได้อุทธรณ์การประเมินฉบับลงวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานชอบแล้ว แต่ให้ลดเบี้ยปรับลงกึ่งหนึ่ง โดยวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 คำสั่งและคำวินิจฉัยของผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีย่อมสิ้นผลบังคับแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์อีกต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าการขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์ในระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วยในผล
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า"การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ถ้าไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 เว้นแต่กรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี" และคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์เป็นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร พ.ศ.2546 ข้อ 14 (1) ซึ่งโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวพร้อมกับคำอุทธรณ์การประเมินเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 แม้ต่อมาวันที่ 12 มกราคม 2555 จำเลยมีคำสั่งไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรซึ่งโจทก์ยื่นอุทธรณ์และจำเลยมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่อนุมัติให้ทุเลาและยกอุทธรณ์โจทก์ก็ตาม แต่ปรากฏว่าต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ได้อุทธรณ์การประเมินฉบับลงวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานชอบแล้วแต่ให้ลดเบี้ยปรับลงกึ่งหนึ่ง โดยวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ดังนั้น คำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีย่อมสิ้นผลบังคับแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์อีกต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าการขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์ในระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งตามหนังสือที่ กค 0706/ก1/297 เรื่อง ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากร ลงวันที่ 12 มกราคม 2555 กับให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ 02/2557 ลงวันที่ 6 มกราคม 2557 และขอให้จำเลยรับเอาที่ดินโฉนดเลขที่196281 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 39/1 ถึง 39/5 ที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวเพื่อทุเลาการเสียภาษีอากร
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันว่า ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 3604/2546 ให้บริษัทอนิชตา จำกัด ส่งมอบที่ดินที่ให้เช่าโฉนดเลขที่ 196281 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ให้เช่าแก่นายอุดม โจทก์ในคดีนี้ ให้บริษัทอนิชตา จำกัด จดทะเบียนเพิกถอนการเช่าและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารเลขที่ 39/1 ถึง 39/5 เฉพาะสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ในคดีนี้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในสิ่งปลูกสร้างตามคำสั่งศาลถือเป็นการขาย เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ถือเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการเช่าทรัพย์สินตามมาตรา 40(5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่โจทก์ไม่ได้นำเงินได้ไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 33,681,218.95 บาท เบี้ยปรับ 3,681,218.95 บาท เงินเพิ่ม 33,681,218.95 บาท รวม 101,043,656 บาท โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินโดยชอบแล้ว และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินพร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยนำที่ดินโฉนดเลขที่ 196281 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร ที่มีราคาประเมิน 37,004,000 บาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 39/1 ถึง 39/5 ที่ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินดังกล่าวทั้งหมด ซึ่งเป็นอาคารที่เจ้าพนักงานของจำเลยคำนวณมูลค่าขณะทำการประเมินภาษีของโจทก์ ต่อมาวันที่ 6 ธันวาคม 2554 เจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าทรัพย์สินมีมูลค่าคุ้มหนี้ภาษีอากรและนัดให้โจทก์ไปจดทะเบียนจำนอง แต่เมื่อจะจดทะเบียนจำนองเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนงแจ้งว่าไม่อาจจดทะเบียนจำนองให้ได้ เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 39/1 ถึง 39/5 มีชื่อบริษัทอนิชตา จำกัด เป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้าง และยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์ ทั้งอาคารดังกล่าวจดทะเบียนจำนองไว้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยซัมมิท จำกัด และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หากจำเลยรับจำนองก็ต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองลำดับที่สอง เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่อาจจดทะเบียนจำนองได้ จำเลยจึงไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากร ต่อมาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากร โดยในวันเดียวกันนั้นโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรอีกครั้งโดยเสนอที่ดินโฉนดเลขที่ 196281 และที่ดินโฉนดเลขที่ 216467 ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร เป็นหลักประกัน แต่เจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือแจ้งแก่โจทก์ว่า อาคารและที่ดินมีราคาประเมินทุนทรัพย์เมื่อนำมาหักภาระจำนองของอาคารไม่คุ้มหนี้ภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีมติให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ เนื่องจากไม่ได้จัดให้มีหลักประกันตามข้อ 15 ของระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอุทธรณ์ พ.ศ.2546 ต่อมาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในเรื่องการขอทุเลาการเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ หลังจากที่โจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้แล้ว ต่อมาวันที่ 28 มีนาคม 2557 โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเรื่องการประเมินภาษี ซึ่งได้วินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 ให้โจทก์ชำระภาษีแต่ลดเบี้ยปรับลงกึ่งหนึ่ง
สำหรับปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คำสั่งไม่อนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษีอากรของจำเลยตามหนังสือ ที่ กค 0706/ก1/297 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ 02/2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ถ้าไม่เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 เว้นแต่กรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี" และคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์เป็นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรไว้ระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2546 ข้อ 14 (1) ซึ่งโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวพร้อมกับคำอุทธรณ์การประเมิน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 แม้ต่อมาวันที่ 12 มกราคม 2555 ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรซึ่งโจทก์ยื่นอุทธรณ์และผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรและยกอุทธรณ์โจทก์ก็ตาม แต่ปรากฏว่าต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ได้อุทธรณ์การประเมินฉบับลงวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานชอบแล้ว แต่ให้ลดเบี้ยปรับลงกึ่งหนึ่ง โดยวินิจฉัยเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 คำสั่งและคำวินิจฉัยของผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินภาษีย่อมสิ้นผลบังคับแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์อีกต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าการขอทุเลาการเสียภาษีอากรของโจทก์ในระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องนั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วยในผล
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2549 โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษี (ค.10) วันที่ 2 สิงหาคม 2549 จำเลยแจ้งว่า โจทก์ยื่นคำร้องเกิน 3 ปี จึงไม่อนุมัติให้คืนภาษี วันที่ 17 สิงหาคม 2549 โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง วันที่ 21 เมษายน 2551 จำเลยแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ว่า กรณีของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 โจทก์มีหนังสือขอให้ทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร วันที่ 8 มีนาคม 2556 จำเลยมีหนังสือแจ้งว่า โจทก์ยื่นคำร้องเกิน 3 ปี คำสั่งแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรชอบแล้ว การปฏิบัติของจำเลยต่อการที่โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรเช่นนี้ มีลักษณะที่พอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยรับพิจารณาคำร้องขอทบทวนหรือขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ โดยไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์รู้ถึงเหตุที่อาจขอให้พิจารณาใหม่ แล้วยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อจำเลยเกินกว่า 90 วัน จากนั้นจำเลยก็มีคำตอบแจ้งแก่โจทก์ตามหนังสือที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2558 อันถือเป็นคำสั่งทางปกครองเช่นกัน โดยตามหนังสือของจำเลยฉบับนี้ก็มีข้อความระบุว่า ถ้าหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งหรือทราบคำสั่ง และโจทก์ก็ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองของจำเลยตามหนังสือแจ้งแก่โจทก์ฉบับนี้ โดยระบุในคำขอท้ายฟ้องว่าขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งไม่คืนภาษีแก่โจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ซึ่งเป็นคำสั่งของจำเลยคนละคำสั่งกับที่จำเลยแจ้งตอบอุทธรณ์ของโจทก์ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 ทั้งนี้ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรไว้ก่อนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 9 ประกอบมาตรา 7 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งไม่คืนภาษี และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ กค 0707/(อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ให้จำเลยคืนเงินภาษี 2,807,905.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรจำนวน 1,549,289.02 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน นับตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไปจนถึงวันที่จำเลยลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 1,549,289.02 บาท และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 7,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2509 และโจทก์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานตามหนังสือรับรองเข้าเป็นสมาชิกกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่ง ที่ 553/2554 เรื่อง พนักงานออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกันตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2544 ซึ่งโจทก์เข้าร่วมโครงการดังกล่าว มีผลให้โจทก์ออกจากการเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2545 ในขณะที่โจทก์อายุ 59 ปี มีระยะเวลาทำงาน 35 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายแล้ว เป็นเวลา 35 ปี โจทก์ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย 10,970,886.63 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 1,549,289.02 บาท ได้รับเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเงินเดือนค่าจ้าง 3,944,729.03 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 885,087.75 บาท เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2545 วันที่ 4 กรกฎาคม 2549 โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษี (ค.10) จำนวน 1,955,066.06 บาท ต่อมาสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14 มีหนังสือที่ กค 0711.03/ภค/028803 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2549 แจ้งผลพิจารณาอุทธรณ์ว่า ไม่อนุมัติให้คืนภาษี วันที่ 17 สิงหาคม 2549 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่คืนเงินภาษี จากนั้นวันที่ 21 เมษายน 2551 เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาแล้วมีหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 โจทก์มีหนังสือถึงสำนักงานสรรพากรภาค 3 ขอให้ทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร จำเลยมีหนังสือ ที่ กค 0708 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงฟ้องเป็นคดีนี้
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ปัญหานี้ในเบื้องต้นศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรวินิจฉัยก่อนว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังที่โจทก์อ้างหรือไม่ เห็นว่า ตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร กำหนดว่า เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (17) ซึ่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ข้อ 1 (1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151) และ (ฉบับที่ 158) ตามลำดับ กำหนดว่า กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ดังนั้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมิได้มีบทบังคับเด็ดขาดว่ากรณีเกษียณอายุจะต้องเป็นกำหนดเวลาทำงานที่มีอยู่แล้วตั้งแต่เวลาที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงานแต่อย่างใด จึงไม่อาจขยายความให้เป็นผลร้ายแก่ผู้เสียภาษีอากรได้ กรณีของโจทก์แม้ตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2532 จะกำหนดเวลาการจ้างแรงงานไว้ในข้อ 26 คือ พนักงานคนใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้พ้นจากตำแหน่งเกษียณอายุเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณของปีที่พนักงานมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็ตาม แต่จากที่โจทก์ออกจากงานก่อนครบกำหนดดังกล่าวตามคำสั่งที่ 553/2549 เรื่อง อนุญาตให้พนักงานออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกันตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2544 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2544 นั้น เป็นการเลิกสัญญาจ้างกันโดยความตกลงของทั้งสองฝ่ายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง อันมีผลทำให้เวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง หาใช่เป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน ข้อ 19 (2) ไม่ จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากงานเพราะสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรตามหลักเกณฑ์กรณีเกษียณอายุในข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ดังกล่าวแล้ว เมื่อขณะออกจากงานโจทก์มีอายุ 59 ปี และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามความในข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151) และ (ฉบับที่ 158) ตามลำดับ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์เคยอุทธรณ์คำสั่งไม่คืนภาษีอากรและจำเลยมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แจ้งแก่โจทก์ ตามหนังสือที่ กค 0707.04/ภค/2612 ลงวันที่ 21 เมษายน 2551 แล้ว แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลนั้น เห็นว่า คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นอาจถูกเพิกถอนได้และคำสั่งทางปกครองอาจมีการขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 50 และมาตรา 54 ซึ่งการขอให้พิจารณาใหม่ตามมาตรา 54 ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิในการทบทวนกระบวนพิจารณาที่เสร็จไปแล้วบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงใหม่โดยอาจมีการเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์แล้วได้ และในคดีนี้เมื่อพิจารณาข้อความตามหนังสือของโจทก์ เรื่อง ขอให้ทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 มีข้อความโดยสรุปว่า เดิมโจทก์เคยยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรปีภาษี 2545 ไว้แล้ว และมีการยื่นอุทธรณ์ แต่ได้รับแจ้งว่ากรณีของโจทก์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไม่สามารถคืนภาษีให้ได้นั้น บัดนี้ โจทก์ได้ทราบว่าสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี กรมสรรพากรได้มีบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเหตุออกจากงานของพนักงานกรณีออกจากงานก่อนเกษียณอายุ สรุปว่า "เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่พนักงานได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538" ซึ่งกรณีของโจทก์อยู่ในข่ายไม่ต้องเสียภาษีและได้รับเงินภาษีคืน และมีมติที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรพึงแจ้งให้สรรพากรภาคทุกภาคถือปฏิบัติ โจทก์จึงมีความชอบธรรมที่จะได้รับเงินภาษีคืน จึงขอให้คืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ มีลักษณะเป็นการขอให้จำเลยพิจารณาใหม่เพราะมีการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติของจำเลยใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์และเมื่อพิจารณาประกอบบันทึก เรื่อง การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กรณีออกจากงานก่อนเกษียณอายุ รายนางปรียา ตามเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นพยาน ประกอบกับหนังสือของจำเลย เรื่อง การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กรณีออกจากงานก่อนเกษียณอายุ ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ที่แจ้งแก่โจทก์ว่า จำเลยขอเรียนว่า ตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า "บุคคลใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไป" โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 63 ดังนั้น การออกคำสั่งแจ้งไม่คืนภาษีตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยจำเลยไม่ยืนยันว่า กรณีของโจทก์ไม่ใช่กรณีที่นายจ้างให้พนักงานลูกจ้างออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการตามข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 158) ดังนั้น เงินหรือผลประโยชน์อื่นใดที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (36) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ดังที่จำเลยเคยแจ้งแก่โจทก์ กรณีที่โจทก์เคยอุทธรณ์คำสั่งครั้งก่อนตามหนังสือ เรื่อง การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองกรณียกคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร ลงวันที่ 21 เมษายน 2551 อีกแต่อย่างใด ทั้งเมื่อพิจารณาถึงข้อความตามบันทึกข้อความของสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษีของจำเลย เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพราะเหตุออกจากงานของพนักงานกรณีออกจากงานก่อนเกษียณอายุ ซึ่งมีข้อความสำคัญว่า จำเลยขอซ้อมความเข้าใจดังนี้ กรณีที่นิติบุคคลมีสัญญาจ้างหรือข้อตกลงให้พนักงานทุกคนเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และหรือต่อมาได้ออกระเบียบแก้ไขเพิ่มเติมให้พนักงานทุกคนเกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์หรืออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เป็นลายลักษณ์อักษรมีสิทธิจะยื่นขอเกษียณอายุก่อนกำหนดได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนิติบุคคลนั้น ๆ หากเป็นการออกจากงานเมื่อพนักงานมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่พนักงานได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามระเบียบข้อตกลงที่หน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อใช้กับพนักงานทุกคนและหรือต้องเป็นระเบียบ/ข้อตกลงที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรที่ได้จัดทำขึ้นก่อนที่จะยื่นขอเกษียณอายุก่อนกำหนด จึงให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ แสดงให้เห็นว่าความตามบันทึกข้อความดังกล่าวก่อให้เกิดข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในการถือปฏิบัติของจำเลยที่ถือว่าเงินที่พนักงานได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามบันทึกดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ อันจะต้องคืนแก่ผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ซึ่งรวมทั้งกรณีของโจทก์ด้วย ทั้งที่แต่เดิมจำเลยถือปฏิบัติไปในทางที่ถือว่าเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นในอันที่จะไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ดังเช่นที่จำเลยเคยแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ในครั้งก่อนเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 ว่า กรณีโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ และกรณีการปฏิบัติของจำเลยต่อการที่โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรเช่นนี้ มีลักษณะที่พอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยรับพิจารณาคำร้องขอทบทวนหรือขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ โดยไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์รู้ถึงเหตุที่อาจขอให้พิจารณาใหม่แล้วยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อจำเลยเกินกว่า 90 วัน จากนั้นจำเลยก็มีคำตอบแจ้งแก่โจทก์ตามหนังสือที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2558 อันถือเป็นคำสั่งทางปกครองเช่นกัน โดยตามหนังสือของจำเลยฉบับนี้ก็มีข้อความระบุว่า ถ้าหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งหรือทราบคำสั่ง และโจทก์ก็ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองของจำเลยตามหนังสือแจ้งแก่โจทก์ฉบับนี้ โดยระบุในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ว่าขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งไม่คืนภาษีแก่โจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ซึ่งเป็นคำสั่งของจำเลยคนละคำสั่งกับที่จำเลยแจ้งตอบอุทธรณ์ของโจทก์ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 ทั้งนี้ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรไว้ก่อนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 9 ประกอบมาตรา 7 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
วันที่ 4 กรกฎาคม 2549 โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษี (ค.10) วันที่ 2 สิงหาคม 2549 จำเลยแจ้งว่า โจทก์ยื่นคำร้องเกิน 3 ปี จึงไม่อนุมัติให้คืนภาษี วันที่ 17 สิงหาคม 2549 โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง วันที่ 21 เมษายน 2551 จำเลยแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ว่า กรณีของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 โจทก์มีหนังสือขอให้ทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร วันที่ 8 มีนาคม 2556 จำเลยมีหนังสือแจ้งว่า โจทก์ยื่นคำร้องเกิน 3 ปี คำสั่งแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากรชอบแล้ว การปฏิบัติของจำเลยต่อการที่โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรเช่นนี้ มีลักษณะที่พอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยรับพิจารณาคำร้องขอทบทวนหรือขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ โดยไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์รู้ถึงเหตุที่อาจขอให้พิจารณาใหม่ แล้วยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อจำเลยเกินกว่า 90 วัน จากนั้นจำเลยก็มีคำตอบแจ้งแก่โจทก์ตามหนังสือที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2558 อันถือเป็นคำสั่งทางปกครองเช่นกัน โดยตามหนังสือของจำเลยฉบับนี้ก็มีข้อความระบุว่า ถ้าหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งหรือทราบคำสั่ง และโจทก์ก็ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองของจำเลยตามหนังสือแจ้งแก่โจทก์ฉบับนี้ โดยระบุในคำขอท้ายฟ้องว่าขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งไม่คืนภาษีแก่โจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ซึ่งเป็นคำสั่งของจำเลยคนละคำสั่งกับที่จำเลยแจ้งตอบอุทธรณ์ของโจทก์ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 ทั้งนี้ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรไว้ก่อนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 9 ประกอบมาตรา 7 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งไม่คืนภาษี และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ กค 0707/(อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ให้จำเลยคืนเงินภาษี 2,807,905.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรจำนวน 1,549,289.02 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน นับตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไปจนถึงวันที่จำเลยลงในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 1,549,289.02 บาท และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 7,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2509 และโจทก์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานตามหนังสือรับรองเข้าเป็นสมาชิกกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่ง ที่ 553/2554 เรื่อง พนักงานออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกันตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2544 ซึ่งโจทก์เข้าร่วมโครงการดังกล่าว มีผลให้โจทก์ออกจากการเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2545 ในขณะที่โจทก์อายุ 59 ปี มีระยะเวลาทำงาน 35 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายแล้ว เป็นเวลา 35 ปี โจทก์ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย 10,970,886.63 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 1,549,289.02 บาท ได้รับเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเงินเดือนค่าจ้าง 3,944,729.03 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 885,087.75 บาท เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2545 วันที่ 4 กรกฎาคม 2549 โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษี (ค.10) จำนวน 1,955,066.06 บาท ต่อมาสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14 มีหนังสือที่ กค 0711.03/ภค/028803 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2549 แจ้งผลพิจารณาอุทธรณ์ว่า ไม่อนุมัติให้คืนภาษี วันที่ 17 สิงหาคม 2549 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่คืนเงินภาษี จากนั้นวันที่ 21 เมษายน 2551 เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาแล้วมีหนังสือแจ้งไม่คืนเงินภาษีอากร ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 โจทก์มีหนังสือถึงสำนักงานสรรพากรภาค 3 ขอให้ทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร จำเลยมีหนังสือ ที่ กค 0708 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบ โจทก์ไม่เห็นด้วยจึงฟ้องเป็นคดีนี้
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ปัญหานี้ในเบื้องต้นศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรวินิจฉัยก่อนว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังที่โจทก์อ้างหรือไม่ เห็นว่า ตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร กำหนดว่า เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (17) ซึ่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ข้อ 1 (1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151) และ (ฉบับที่ 158) ตามลำดับ กำหนดว่า กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ดังนั้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมิได้มีบทบังคับเด็ดขาดว่ากรณีเกษียณอายุจะต้องเป็นกำหนดเวลาทำงานที่มีอยู่แล้วตั้งแต่เวลาที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงานแต่อย่างใด จึงไม่อาจขยายความให้เป็นผลร้ายแก่ผู้เสียภาษีอากรได้ กรณีของโจทก์แม้ตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2532 จะกำหนดเวลาการจ้างแรงงานไว้ในข้อ 26 คือ พนักงานคนใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ให้พ้นจากตำแหน่งเกษียณอายุเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณของปีที่พนักงานมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็ตาม แต่จากที่โจทก์ออกจากงานก่อนครบกำหนดดังกล่าวตามคำสั่งที่ 553/2549 เรื่อง อนุญาตให้พนักงานออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกันตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ.2544 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2544 นั้น เป็นการเลิกสัญญาจ้างกันโดยความตกลงของทั้งสองฝ่ายที่เป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง อันมีผลทำให้เวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง หาใช่เป็นการทำข้อตกลงให้โจทก์ลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการพนักงาน ข้อ 19 (2) ไม่ จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากงานเพราะสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรตามหลักเกณฑ์กรณีเกษียณอายุในข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ดังกล่าวแล้ว เมื่อขณะออกจากงานโจทก์มีอายุ 59 ปี และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามความในข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 151) และ (ฉบับที่ 158) ตามลำดับ ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์เคยอุทธรณ์คำสั่งไม่คืนภาษีอากรและจำเลยมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แจ้งแก่โจทก์ ตามหนังสือที่ กค 0707.04/ภค/2612 ลงวันที่ 21 เมษายน 2551 แล้ว แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลนั้น เห็นว่า คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นอาจถูกเพิกถอนได้และคำสั่งทางปกครองอาจมีการขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 50 และมาตรา 54 ซึ่งการขอให้พิจารณาใหม่ตามมาตรา 54 ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิในการทบทวนกระบวนพิจารณาที่เสร็จไปแล้วบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงใหม่โดยอาจมีการเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์แล้วได้ และในคดีนี้เมื่อพิจารณาข้อความตามหนังสือของโจทก์ เรื่อง ขอให้ทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2554 มีข้อความโดยสรุปว่า เดิมโจทก์เคยยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรปีภาษี 2545 ไว้แล้ว และมีการยื่นอุทธรณ์ แต่ได้รับแจ้งว่ากรณีของโจทก์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไม่สามารถคืนภาษีให้ได้นั้น บัดนี้ โจทก์ได้ทราบว่าสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี กรมสรรพากรได้มีบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเหตุออกจากงานของพนักงานกรณีออกจากงานก่อนเกษียณอายุ สรุปว่า "เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่พนักงานได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538" ซึ่งกรณีของโจทก์อยู่ในข่ายไม่ต้องเสียภาษีและได้รับเงินภาษีคืน และมีมติที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรพึงแจ้งให้สรรพากรภาคทุกภาคถือปฏิบัติ โจทก์จึงมีความชอบธรรมที่จะได้รับเงินภาษีคืน จึงขอให้คืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ มีลักษณะเป็นการขอให้จำเลยพิจารณาใหม่เพราะมีการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติของจำเลยใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์และเมื่อพิจารณาประกอบบันทึก เรื่อง การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กรณีออกจากงานก่อนเกษียณอายุ รายนางปรียา ตามเอกสารที่จำเลยอ้างเป็นพยาน ประกอบกับหนังสือของจำเลย เรื่อง การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กรณีออกจากงานก่อนเกษียณอายุ ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ที่แจ้งแก่โจทก์ว่า จำเลยขอเรียนว่า ตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า "บุคคลใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไป" โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 63 ดังนั้น การออกคำสั่งแจ้งไม่คืนภาษีตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยจำเลยไม่ยืนยันว่า กรณีของโจทก์ไม่ใช่กรณีที่นายจ้างให้พนักงานลูกจ้างออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการตามข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 158) ดังนั้น เงินหรือผลประโยชน์อื่นใดที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (36) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ดังที่จำเลยเคยแจ้งแก่โจทก์ กรณีที่โจทก์เคยอุทธรณ์คำสั่งครั้งก่อนตามหนังสือ เรื่อง การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองกรณียกคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากร ลงวันที่ 21 เมษายน 2551 อีกแต่อย่างใด ทั้งเมื่อพิจารณาถึงข้อความตามบันทึกข้อความของสำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษีของจำเลย เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพราะเหตุออกจากงานของพนักงานกรณีออกจากงานก่อนเกษียณอายุ ซึ่งมีข้อความสำคัญว่า จำเลยขอซ้อมความเข้าใจดังนี้ กรณีที่นิติบุคคลมีสัญญาจ้างหรือข้อตกลงให้พนักงานทุกคนเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และหรือต่อมาได้ออกระเบียบแก้ไขเพิ่มเติมให้พนักงานทุกคนเกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์หรืออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เป็นลายลักษณ์อักษรมีสิทธิจะยื่นขอเกษียณอายุก่อนกำหนดได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนิติบุคคลนั้น ๆ หากเป็นการออกจากงานเมื่อพนักงานมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามข้อ 1 (1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่พนักงานได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามระเบียบข้อตกลงที่หน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อใช้กับพนักงานทุกคนและหรือต้องเป็นระเบียบ/ข้อตกลงที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรที่ได้จัดทำขึ้นก่อนที่จะยื่นขอเกษียณอายุก่อนกำหนด จึงให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ แสดงให้เห็นว่าความตามบันทึกข้อความดังกล่าวก่อให้เกิดข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในการถือปฏิบัติของจำเลยที่ถือว่าเงินที่พนักงานได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามบันทึกดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ อันจะต้องคืนแก่ผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ซึ่งรวมทั้งกรณีของโจทก์ด้วย ทั้งที่แต่เดิมจำเลยถือปฏิบัติไปในทางที่ถือว่าเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นในอันที่จะไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้ดังเช่นที่จำเลยเคยแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ในครั้งก่อนเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 ว่า กรณีโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ และกรณีการปฏิบัติของจำเลยต่อการที่โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยทบทวนคำสั่งไม่คืนเงินภาษีอากรเช่นนี้ มีลักษณะที่พอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยรับพิจารณาคำร้องขอทบทวนหรือขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ โดยไม่ปรากฏชัดว่าโจทก์รู้ถึงเหตุที่อาจขอให้พิจารณาใหม่แล้วยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อจำเลยเกินกว่า 90 วัน จากนั้นจำเลยก็มีคำตอบแจ้งแก่โจทก์ตามหนังสือที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2558 อันถือเป็นคำสั่งทางปกครองเช่นกัน โดยตามหนังสือของจำเลยฉบับนี้ก็มีข้อความระบุว่า ถ้าหากประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำสั่งนี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 90 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งหรือทราบคำสั่ง และโจทก์ก็ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองของจำเลยตามหนังสือแจ้งแก่โจทก์ฉบับนี้ โดยระบุในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ว่าขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งไม่คืนภาษีแก่โจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ กค 0707 (อธ.1)/2916 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2556 ซึ่งเป็นคำสั่งของจำเลยคนละคำสั่งกับที่จำเลยแจ้งตอบอุทธรณ์ของโจทก์ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 ทั้งนี้ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรไว้ก่อนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 9 ประกอบมาตรา 7 (3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่และให้จำเลยทั้งสี่รับผิดทางแพ่งซึ่งมีมูลกระทำความผิดในทางอาญา ถือเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมกันมากับคดีอาญา ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 40 จำเลยทั้งสี่จึงมีฐานะเป็นจำเลยในคดีตั้งแต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และถือว่าคดีส่วนแพ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 และในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกไปจากที่ดินพิพาท หากไม่ออกไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา โดยให้โจทก์รื้อถอนพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสี่ปลูกไว้ได้เอง อันเป็นฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีส่วนแพ่งที่โจทก์ฟ้องรวมกันมาในคดีอาญาดังกล่าว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่พร้อมทั้งบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท และห้ามจำเลยทั้งสี่พร้อมทั้งบริวารเข้ามายุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทอีกต่อไป หากจำเลยทั้งสี่พร้อมทั้งบริวารไม่ยอมออก ขอถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ โดยให้โจทก์รื้อถอนพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสี่ปลูกไว้ในที่ดินพิพาทได้ทันที
จำเลยทั้งสี่ให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทตั้งอยู่หมู่ที่ 19 ตำบลวังกระทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ 57 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา เป็นของนิคมสร้างตนเองลำตะคอง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (เดิม กรมประชาสงเคราะห์) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้อนุญาตให้กองทัพบกโดยกองพันรบพิเศษปากช่อง ศูนย์สงครามพิเศษ (ค่ายหนองตะกู) เป็นผู้ใช้ประโยชน์ โจทก์ในฐานะตัวแทนของญาติพี่น้องประมาณ 10 ครอบครัว ได้รับการจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อทำกินจากกองพันรบพิเศษปากช่อง ศูนย์สงครามพิเศษ (ค่ายหนองตะกู) ตามหนังสือสัญญาการส่งมอบพื้นที่ทำกินพร้อมแบบสำรวจขอบเขตที่ดิน ส่วนจำเลยทั้งสี่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินเนื้อที่ 100 ไร่ 2 งาน 38 ตารางวา ตามรูปแสดงขอบเขตที่ดิน และจำเลยทั้งสี่ยังคงเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททำให้โจทก์และครอบครัวสามารถเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เฉพาะบางส่วน วันที่ 22 สิงหาคม 2556 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่และนางบุญช่วย เป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 623/2557 หมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้น ในข้อหาบุกรุกและยักย้ายทำลายหลักเขตที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคำขอในส่วนแพ่ง ให้จำเลยทั้งสี่และนางบุญช่วยขุดรื้อถอนต้นมันสำปะหลังทั้งหมดออกไปจากที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองทั้งแปลง หากไม่ขุดรื้อถอนต้นมันสำปะหลังดังกล่าวออกไป ขอให้ถือว่าต้นมันสำปะหลังและผลผลิตทั้งหมดตกเป็นของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสี่และนางบุญช่วยพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าวและห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป ทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสี่และนางบุญช่วยและบริวารจะออกไปจากที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2557 โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ ต่อมาวันที่ 2 เมษายน 2558 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษายืน ตามสำเนาคำฟ้องสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นและสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 623/2557 หมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่กับนางบุญช่วยขุดรื้อถอนต้นมันสำปะหลังทั้งหมดออกไปจากที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง หากจำเลยทั้งสี่กับนางบุญช่วยไม่ดำเนินการให้ถือว่าต้นมันสำปะหลังและผลผลิตทั้งหมดตกเป็นของโจทก์ กับให้จำเลยทั้งสี่กับนางบุญช่วยและบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าวและห้ามเข้าเกี่ยวข้องอีกต่อไปและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยนั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่และให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในทางแพ่งซึ่งมีมูลกระทำความผิดในทางอาญาถือเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมกันมากับคดีอาญา ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 จำเลยทั้งสี่จึงมีฐานะเป็นจำเลยในคดีตั้งแต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ต่อศาลชั้นต้น และถือว่าคดีส่วนแพ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งคำว่า อยู่ในระหว่างการพิจารณานั้น อาจอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 และในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ในคดีดังกล่าวของศาลชั้นต้นออกไปจากที่ดินพิพาท หากไม่ยอมออกไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา โดยให้โจทก์สามารถรื้อถอนบรรดาพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสี่ปลูกไว้ได้เอง อันเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีส่วนแพ่งที่โจทก์ฟ้องรวมมาในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้น ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่และให้จำเลยทั้งสี่รับผิดทางแพ่งซึ่งมีมูลกระทำความผิดในทางอาญา ถือเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมกันมากับคดีอาญา ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 40 จำเลยทั้งสี่จึงมีฐานะเป็นจำเลยในคดีตั้งแต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น และถือว่าคดีส่วนแพ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 และในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกไปจากที่ดินพิพาท หากไม่ออกไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา โดยให้โจทก์รื้อถอนพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสี่ปลูกไว้ได้เอง อันเป็นฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีส่วนแพ่งที่โจทก์ฟ้องรวมกันมาในคดีอาญาดังกล่าว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่พร้อมทั้งบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท และห้ามจำเลยทั้งสี่พร้อมทั้งบริวารเข้ามายุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทอีกต่อไป หากจำเลยทั้งสี่พร้อมทั้งบริวารไม่ยอมออก ขอถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ โดยให้โจทก์รื้อถอนพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสี่ปลูกไว้ในที่ดินพิพาทได้ทันที
จำเลยทั้งสี่ให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทตั้งอยู่หมู่ที่ 19 ตำบลวังกระทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เนื้อที่ 57 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา เป็นของนิคมสร้างตนเองลำตะคอง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (เดิม กรมประชาสงเคราะห์) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้อนุญาตให้กองทัพบกโดยกองพันรบพิเศษปากช่อง ศูนย์สงครามพิเศษ (ค่ายหนองตะกู) เป็นผู้ใช้ประโยชน์ โจทก์ในฐานะตัวแทนของญาติพี่น้องประมาณ 10 ครอบครัว ได้รับการจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อทำกินจากกองพันรบพิเศษปากช่อง ศูนย์สงครามพิเศษ (ค่ายหนองตะกู) ตามหนังสือสัญญาการส่งมอบพื้นที่ทำกินพร้อมแบบสำรวจขอบเขตที่ดิน ส่วนจำเลยทั้งสี่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินเนื้อที่ 100 ไร่ 2 งาน 38 ตารางวา ตามรูปแสดงขอบเขตที่ดิน และจำเลยทั้งสี่ยังคงเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททำให้โจทก์และครอบครัวสามารถเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เฉพาะบางส่วน วันที่ 22 สิงหาคม 2556 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่และนางบุญช่วย เป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 623/2557 หมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้น ในข้อหาบุกรุกและยักย้ายทำลายหลักเขตที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคำขอในส่วนแพ่ง ให้จำเลยทั้งสี่และนางบุญช่วยขุดรื้อถอนต้นมันสำปะหลังทั้งหมดออกไปจากที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองทั้งแปลง หากไม่ขุดรื้อถอนต้นมันสำปะหลังดังกล่าวออกไป ขอให้ถือว่าต้นมันสำปะหลังและผลผลิตทั้งหมดตกเป็นของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสี่และนางบุญช่วยพร้อมบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าวและห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป ทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสี่และนางบุญช่วยและบริวารจะออกไปจากที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2557 โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ ต่อมาวันที่ 2 เมษายน 2558 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษายืน ตามสำเนาคำฟ้องสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นและสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 623/2557 หมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่กับนางบุญช่วยขุดรื้อถอนต้นมันสำปะหลังทั้งหมดออกไปจากที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง หากจำเลยทั้งสี่กับนางบุญช่วยไม่ดำเนินการให้ถือว่าต้นมันสำปะหลังและผลผลิตทั้งหมดตกเป็นของโจทก์ กับให้จำเลยทั้งสี่กับนางบุญช่วยและบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าวและห้ามเข้าเกี่ยวข้องอีกต่อไปและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยนั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่และให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในทางแพ่งซึ่งมีมูลกระทำความผิดในทางอาญาถือเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญารวมกันมากับคดีอาญา ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 จำเลยทั้งสี่จึงมีฐานะเป็นจำเลยในคดีตั้งแต่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ต่อศาลชั้นต้น และถือว่าคดีส่วนแพ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งคำว่า อยู่ในระหว่างการพิจารณานั้น อาจอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 และในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ในคดีดังกล่าวของศาลชั้นต้นออกไปจากที่ดินพิพาท หากไม่ยอมออกไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา โดยให้โจทก์สามารถรื้อถอนบรรดาพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสี่ปลูกไว้ได้เอง อันเป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันกับคดีส่วนแพ่งที่โจทก์ฟ้องรวมมาในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2883/2557 ของศาลชั้นต้น ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
แม้คำขอบังคับของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถือว่ามีทุนทรัพย์พิพาทกันเพียง 300,000 บาท ก็ตาม แต่คำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้กับค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ต่อศาล คำขอบังคับส่วนนี้มุ่งประสงค์บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายรวมราคาซื้อขายไว้เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองชนะคดีโจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทที่มีราคาดังกล่าว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีจึงเกินกว่า 300,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าปรับเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดิน 45 ตารางวา และปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามจริงแก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง และหักกลบลบหนี้ค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อศาลมีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุดแล้ว หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแสดงเจตนาให้โจทก์ทั้งสองไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ที่ศาล ในกรณีมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ที่ดินพิพาทบางส่วนที่ซื้อขายต้องตกเป็นทางสาธารณประโยชน์ ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดแสวงหาและชำระค่าที่ดินทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสอง ให้มีที่ดินทำประโยชน์และก่อสร้างอาคารเพื่อขายให้เช่าภายใน 30 วัน นับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อรวมค่าเสียหายที่โจทก์ให้จำเลยชำระจำนวน 300,000 บาท กับดอกเบี้ยที่โจทก์ขอให้จำเลยชำระท้ายฟ้องคดีนี้แล้ว จึงมีทุนทรัพย์เกินกว่า 300,000 บาท คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) จึงไม่รับฟ้องโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ทั้งหมด จำหน่ายคดีจากสารบบความ
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองว่า ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องโดยใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย วกไปวนมาในลักษณะเล่าเรื่องความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่ทำให้เข้าใจยาก แต่เมื่อพิจารณาประกอบสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน และจดหมายที่จำเลยที่ 1 มีถึงโจทก์ที่ 2 ฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2557 แล้วพอสรุปสาระสำคัญได้ว่า จำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 121333 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เนื้อที่ 45 ตารางวา ในราคารวมค่าเฟอร์นิเจอร์และค่าตกแต่งเป็นเงิน 600,000 บาท และโจทก์ที่ 2 ผู้จะซื้อได้ชำระค่าตกแต่งบ้านเป็นเงิน 35,000 บาท และค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินจำนวนเงิน 32,000 บาท แล้ว โดยมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 10 ว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดข้อตกลงในสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที และโจทก์ที่ 2 ผู้จะซื้อต้องส่งมอบบ้านคืน หรือฝ่ายจำเลยที่ 1 ผู้จะขายต้องส่งมอบเงินที่รับไปแล้วคืนทั้งหมดพร้อมชำระเบี้ยปรับเพิ่มอีกร้อยละ 50 ของราคาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินข้างต้นพร้อมค่าเสียหายอื่น ๆ โดยไม่ชักช้า ต่อมาโจทก์ที่ 2 นำบ้านพร้อมที่ดินตามสัญญาไปขายต่อให้แก่โจทก์ที่ 1 เพื่อให้เข้ามาพัฒนาที่ดินและปลูกสร้างอาคาร แต่เมื่อโจทก์ที่ 1 ไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารต่อองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ และนำเอกสารให้เจ้าของบ้านข้างเคียงคือ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ลงนามรับรองแนวเขตข้างเคียง แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ยอมลงนาม เป็นเหตุให้การขออนุญาตต้องหยุดดำเนินการ โดยจำเลยทั้งสี่แจ้งเหตุไม่ยอมลงนามว่า ที่ดินที่ขายให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น มีเนื้อที่เพียง 18 ตารางวา ส่วนที่เหลืออีก 27 ตารางวา เป็นทางสาธารณประโยชน์ของโครงการ และสรุปข้อกล่าวหาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง กับมีคำขอบังคับในส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่า ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยชำระเสร็จแก่โจทก์ พร้อมโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดิน 45 ตารางวา และปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินลงวันที่ 7 เมษายน 2557 บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามจริงให้แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้ค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้จะซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้ และวางเงินคงเหลือไว้ที่ศาล ดังนี้ เห็นว่า แม้คำขอบังคับของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ 1 โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถือว่ามีทุนทรัพย์พิพาทกันเพียง 300,000 บาท เพราะดอกเบี้ยที่โจทก์ขอคิดจากจำเลยนับถัดจากวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยอันมิถึงกำหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคำฟ้องเป็นดอกเบี้ยในอนาคตที่ไม่อาจนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์พิพาทกันในคดีก็ตาม แต่คำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามจริงให้แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้กับค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ต่อศาลนั้น คำขอบังคับส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองมุ่งประสงค์บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาท ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายรวมราคาซื้อขายไว้เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองชนะคดีโจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทที่มีราคาดังกล่าว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีจึงเกินกว่า 300,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาวกไปวนมาสรุปสาระสำคัญว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้น ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าควรให้ชดใช้มากน้อยหนักเบาต่างกันอย่างไร การในส่วนนี้ยังคงอยู่ในดุลพินิจของศาล โจทก์ทั้งสองจึงไม่สามารถกำหนดเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องคดีได้นั้น เห็นว่า เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีหน้าที่ต้องประเมินความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาหรือทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และมีคำขอบังคับระบุจำนวนมาในคำขอท้ายฟ้องให้ชัดแจ้งเพื่อเป็นข้อบ่งชี้ถึงอำนาจศาล อำนาจของผู้พิพากษา และองค์คณะผู้พิพากษาที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ถูกต้อง ส่วนในที่สุดศาลจะพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองแพ้หรือชนะคดีได้รับค่าเสียหายเพียงใดก็จะขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานและดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณากำหนดให้ตามกฎหมายและตามพยานหลักฐานในคดี ดังนั้น ตามคำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามจริงให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งให้ชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่าใด แม้เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า "คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ..." ก็ตาม แต่ข้อความต่อไปในคำขอบังคับข้อ 2 ที่ว่า หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแสดงเจตนาให้ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้ และวางเงินคงเหลือไว้ที่ศาลนั้น เมื่อพิจารณาประกอบคำบรรยายฟ้องและสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน พอเข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอมก็ให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ผู้จะซื้อได้ อันเป็นการฟ้องบังคับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทตามสัญญาซึ่งระบุราคาไว้ชัดเจน เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีนั่นเอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนตามคำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้นมาชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
แม้คำขอบังคับของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถือว่ามีทุนทรัพย์พิพาทกันเพียง 300,000 บาท ก็ตาม แต่คำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้กับค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ต่อศาล คำขอบังคับส่วนนี้มุ่งประสงค์บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายรวมราคาซื้อขายไว้เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองชนะคดีโจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทที่มีราคาดังกล่าว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีจึงเกินกว่า 300,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าปรับเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดิน 45 ตารางวา และปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามจริงแก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง และหักกลบลบหนี้ค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อศาลมีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุดแล้ว หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแสดงเจตนาให้โจทก์ทั้งสองไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ที่ศาล ในกรณีมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ที่ดินพิพาทบางส่วนที่ซื้อขายต้องตกเป็นทางสาธารณประโยชน์ ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดแสวงหาและชำระค่าที่ดินทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสอง ให้มีที่ดินทำประโยชน์และก่อสร้างอาคารเพื่อขายให้เช่าภายใน 30 วัน นับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อรวมค่าเสียหายที่โจทก์ให้จำเลยชำระจำนวน 300,000 บาท กับดอกเบี้ยที่โจทก์ขอให้จำเลยชำระท้ายฟ้องคดีนี้แล้ว จึงมีทุนทรัพย์เกินกว่า 300,000 บาท คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) จึงไม่รับฟ้องโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ทั้งหมด จำหน่ายคดีจากสารบบความ
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสองฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองว่า ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องโดยใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย วกไปวนมาในลักษณะเล่าเรื่องความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่ทำให้เข้าใจยาก แต่เมื่อพิจารณาประกอบสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน และจดหมายที่จำเลยที่ 1 มีถึงโจทก์ที่ 2 ฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2557 แล้วพอสรุปสาระสำคัญได้ว่า จำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 121333 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เนื้อที่ 45 ตารางวา ในราคารวมค่าเฟอร์นิเจอร์และค่าตกแต่งเป็นเงิน 600,000 บาท และโจทก์ที่ 2 ผู้จะซื้อได้ชำระค่าตกแต่งบ้านเป็นเงิน 35,000 บาท และค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินจำนวนเงิน 32,000 บาท แล้ว โดยมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 10 ว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดข้อตกลงในสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที และโจทก์ที่ 2 ผู้จะซื้อต้องส่งมอบบ้านคืน หรือฝ่ายจำเลยที่ 1 ผู้จะขายต้องส่งมอบเงินที่รับไปแล้วคืนทั้งหมดพร้อมชำระเบี้ยปรับเพิ่มอีกร้อยละ 50 ของราคาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินข้างต้นพร้อมค่าเสียหายอื่น ๆ โดยไม่ชักช้า ต่อมาโจทก์ที่ 2 นำบ้านพร้อมที่ดินตามสัญญาไปขายต่อให้แก่โจทก์ที่ 1 เพื่อให้เข้ามาพัฒนาที่ดินและปลูกสร้างอาคาร แต่เมื่อโจทก์ที่ 1 ไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารต่อองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ และนำเอกสารให้เจ้าของบ้านข้างเคียงคือ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ลงนามรับรองแนวเขตข้างเคียง แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ยอมลงนาม เป็นเหตุให้การขออนุญาตต้องหยุดดำเนินการ โดยจำเลยทั้งสี่แจ้งเหตุไม่ยอมลงนามว่า ที่ดินที่ขายให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น มีเนื้อที่เพียง 18 ตารางวา ส่วนที่เหลืออีก 27 ตารางวา เป็นทางสาธารณประโยชน์ของโครงการ และสรุปข้อกล่าวหาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายและจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง กับมีคำขอบังคับในส่วนที่เป็นสาระสำคัญว่า ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับจำนวน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยชำระเสร็จแก่โจทก์ พร้อมโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดิน 45 ตารางวา และปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินลงวันที่ 7 เมษายน 2557 บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามจริงให้แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้ค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้จะซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้ และวางเงินคงเหลือไว้ที่ศาล ดังนี้ เห็นว่า แม้คำขอบังคับของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ 1 โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถือว่ามีทุนทรัพย์พิพาทกันเพียง 300,000 บาท เพราะดอกเบี้ยที่โจทก์ขอคิดจากจำเลยนับถัดจากวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยอันมิถึงกำหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคำฟ้องเป็นดอกเบี้ยในอนาคตที่ไม่อาจนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์พิพาทกันในคดีก็ตาม แต่คำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามจริงให้แก่โจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้กับค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ต่อศาลนั้น คำขอบังคับส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองมุ่งประสงค์บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาท ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายรวมราคาซื้อขายไว้เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองชนะคดีโจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทที่มีราคาดังกล่าว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีจึงเกินกว่า 300,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ที่โจทก์ทั้งสองฎีกาวกไปวนมาสรุปสาระสำคัญว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายนั้น ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าควรให้ชดใช้มากน้อยหนักเบาต่างกันอย่างไร การในส่วนนี้ยังคงอยู่ในดุลพินิจของศาล โจทก์ทั้งสองจึงไม่สามารถกำหนดเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องคดีได้นั้น เห็นว่า เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีหน้าที่ต้องประเมินความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาหรือทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และมีคำขอบังคับระบุจำนวนมาในคำขอท้ายฟ้องให้ชัดแจ้งเพื่อเป็นข้อบ่งชี้ถึงอำนาจศาล อำนาจของผู้พิพากษา และองค์คณะผู้พิพากษาที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ถูกต้อง ส่วนในที่สุดศาลจะพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองแพ้หรือชนะคดีได้รับค่าเสียหายเพียงใดก็จะขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานและดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณากำหนดให้ตามกฎหมายและตามพยานหลักฐานในคดี ดังนั้น ตามคำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามจริงให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งให้ชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่าใด แม้เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า "คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ..." ก็ตาม แต่ข้อความต่อไปในคำขอบังคับข้อ 2 ที่ว่า หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแสดงเจตนาให้ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้ และวางเงินคงเหลือไว้ที่ศาลนั้น เมื่อพิจารณาประกอบคำบรรยายฟ้องและสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน พอเข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอมก็ให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ผู้จะซื้อได้ อันเป็นการฟ้องบังคับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทตามสัญญาซึ่งระบุราคาไว้ชัดเจน เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีนั่นเอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนตามคำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้นมาชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|