ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕/๒๕๔๔
วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ มาตรา ๕๗ และ มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดปัตตานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองได้ส่งเรื่องมาให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน ให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๔ ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยนายตอปา สุหลง ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ หน่วยเลือกตั้งที่ ๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดประจำตัว ประจำตัวหมายเลข ๒ และหมายเลข ๔ เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือต่อศาลจังหวัดปัตตานี อ้างว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง คณะกรรมการตรวจคะแนน และเจ้าหน้าที่คะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งที่ ๑ หมู่ที่ ๖ตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้ยินยอมและรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายมาใช้สิทธิเลือกตั้งและลงคะแนนในบัตรเลือกตั้ง และเมื่อปิดหีบบัตรเลือกตั้งภายหลังการลงคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว กรรมการตรวจคะแนนผู้มีหน้าที่ในการเลือกตั้งได้อ่านคะแนนผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความจริงโดยมีเจตนาทุจริตและฝ่าฝืนต่อกฎระเบียบ ข้อบังคับตามกฎหมาย และการวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งว่าเป็นบัตรดีหรือบัตรเสียก็มิได้ดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังได้อ่านคะแนนไม่ตรงและไม่ครบถ้วนตามจำนวนเครื่องหมายกากบาทที่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลงคะแนนไว้ในบัตรเลือกตั้งอีกจำนวนหลายบัตรทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เปิดหีบบัตรเลือกตั้งเพื่อตรวจนับคะแนนใหม่ทั้งหมด และมีคำสั่งว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ หน่วยเลือกตั้งที่ ๑ หมู่ที่ ๖ เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่มี ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับการเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่หากศาลรับฟังได้ว่า การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ขอให้มีคำสั่งว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนน้อยกว่าผู้ร้องเป็นผู้มิได้รับการเลือกตั้งโดยชอบ และมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลจังหวัดปัตตานีเห็นว่ากรณีเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้อง
ผู้ร้องจึงได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางเพื่อคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ซึ่งศาลปกครองกลางเห็นว่า เรื่องดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เนื่องจากมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับมาตรา ๕๘ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. ๒๔๘๒ กำหนดให้การพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นวิธีพิจารณาคดีในศาลยุติธรรมจึงเห็นว่าศาลที่มีอำนาจพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองกลางไม่มีอำนาจรับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณา
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒มาตรา ๕๗ และมาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง หมายความถึง ศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เห็นว่า การคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีลักษณะเป็นการคัดค้านคำสั่งทางปกครอง เมื่อผู้ร้องอ้างว่าคณะกรรมการตรวจคะแนนปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่กำหนดไว้ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)ซึ่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔๕ วรรคสาม บัญญัติว่า"หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น" แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นใช้บังคับ กรณีจึงเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยอนุโลม" ดังนั้น การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจึงต้องนำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ มาตรา ๕๗ บัญญัติว่า"ภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่เทศบาลประกาศผลของการเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบคนก็ดีผู้สมัครคนใดก็ดี ในเขตเลือกตั้งใด เห็นว่าการเลือกตั้งในเขตนั้นเป็นไปโดยมิชอบ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเขตเลือกตั้งนั้นอยู่ในเขตอำนาจ เพื่อขอให้สั่งว่าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดมิได้รับเลือกตั้งโดยชอบและหรือว่าผู้ใดได้รับเลือกตั้งโดยชอบ หรือว่าไม่มีบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดได้รับเลือกตั้งโดยชอบ" และมาตรา๕๘ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อศาลได้รับคำร้องคัดค้านแล้วให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเร็ว ." เป็นการบัญญัติให้ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเป็นวิธีพิจารณาคดีในศาลยุติธรรม ซึ่งวิธีพิจารณาคดีถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเป็นไปตามความมุ่งหมายของกฎหมาย หากให้ศาลปกครองต้องตัดสินคดีปกครองโดยใช้วิธีพิจารณาความแพ่งแทนที่จะใช้วิธีพิจารณาคดีปกครองย่อมจะไม่สอดคล้องกับระบบและความมุ่งหมายของกฎหมาย ดังนั้น ศาลยุติธรรมจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑/๒๕๔๔
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ของนายตอปา สุหลง ผู้ร้อง อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปัตตานี
(ลงชื่อ) สันติ ทักราล (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายสันติ ทักราล) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) โภคิน พลกุล
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายโภคิน พลกุล)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สมัยรบ สุทธิวาทนฤพุฒิ (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สมัยรบ สุทธิวาทนฤพุฒิ) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
สำเนาถูกต้อง
(นางอุษณี ฉันทวรคุณ)
นิติกร 6 ว
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕/๒๕๔๔
วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๔
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ มาตรา ๕๗ และ มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดปัตตานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองได้ส่งเรื่องมาให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน ให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๔ ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยนายตอปา สุหลง ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ หน่วยเลือกตั้งที่ ๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดประจำตัว ประจำตัวหมายเลข ๒ และหมายเลข ๔ เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือต่อศาลจังหวัดปัตตานี อ้างว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง คณะกรรมการตรวจคะแนน และเจ้าหน้าที่คะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งที่ ๑ หมู่ที่ ๖ตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้ยินยอมและรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นซึ่งไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายมาใช้สิทธิเลือกตั้งและลงคะแนนในบัตรเลือกตั้ง และเมื่อปิดหีบบัตรเลือกตั้งภายหลังการลงคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว กรรมการตรวจคะแนนผู้มีหน้าที่ในการเลือกตั้งได้อ่านคะแนนผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความจริงโดยมีเจตนาทุจริตและฝ่าฝืนต่อกฎระเบียบ ข้อบังคับตามกฎหมาย และการวินิจฉัยบัตรเลือกตั้งว่าเป็นบัตรดีหรือบัตรเสียก็มิได้ดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังได้อ่านคะแนนไม่ตรงและไม่ครบถ้วนตามจำนวนเครื่องหมายกากบาทที่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลงคะแนนไว้ในบัตรเลือกตั้งอีกจำนวนหลายบัตรทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เปิดหีบบัตรเลือกตั้งเพื่อตรวจนับคะแนนใหม่ทั้งหมด และมีคำสั่งว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ หน่วยเลือกตั้งที่ ๑ หมู่ที่ ๖ เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่มี ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับการเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่หากศาลรับฟังได้ว่า การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ขอให้มีคำสั่งว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนน้อยกว่าผู้ร้องเป็นผู้มิได้รับการเลือกตั้งโดยชอบ และมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลจังหวัดปัตตานีเห็นว่ากรณีเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้อง
ผู้ร้องจึงได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางเพื่อคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ซึ่งศาลปกครองกลางเห็นว่า เรื่องดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เนื่องจากมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับมาตรา ๕๘ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. ๒๔๘๒ กำหนดให้การพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นวิธีพิจารณาคดีในศาลยุติธรรมจึงเห็นว่าศาลที่มีอำนาจพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองกลางไม่มีอำนาจรับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณา
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ ศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒มาตรา ๕๗ และมาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง หมายความถึง ศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เห็นว่า การคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีลักษณะเป็นการคัดค้านคำสั่งทางปกครอง เมื่อผู้ร้องอ้างว่าคณะกรรมการตรวจคะแนนปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่กำหนดไว้ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)ซึ่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔๕ วรรคสาม บัญญัติว่า"หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น" แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นใช้บังคับ กรณีจึงเป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยอนุโลม" ดังนั้น การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจึงต้องนำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ มาตรา ๕๗ บัญญัติว่า"ภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่เทศบาลประกาศผลของการเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบคนก็ดีผู้สมัครคนใดก็ดี ในเขตเลือกตั้งใด เห็นว่าการเลือกตั้งในเขตนั้นเป็นไปโดยมิชอบ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเขตเลือกตั้งนั้นอยู่ในเขตอำนาจ เพื่อขอให้สั่งว่าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดมิได้รับเลือกตั้งโดยชอบและหรือว่าผู้ใดได้รับเลือกตั้งโดยชอบ หรือว่าไม่มีบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดได้รับเลือกตั้งโดยชอบ" และมาตรา๕๘ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อศาลได้รับคำร้องคัดค้านแล้วให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเร็ว ." เป็นการบัญญัติให้ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องดำเนินการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเป็นวิธีพิจารณาคดีในศาลยุติธรรม ซึ่งวิธีพิจารณาคดีถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเป็นไปตามความมุ่งหมายของกฎหมาย หากให้ศาลปกครองต้องตัดสินคดีปกครองโดยใช้วิธีพิจารณาความแพ่งแทนที่จะใช้วิธีพิจารณาคดีปกครองย่อมจะไม่สอดคล้องกับระบบและความมุ่งหมายของกฎหมาย ดังนั้น ศาลยุติธรรมจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช ๒๔๘๒ มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑/๒๕๔๔
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ของนายตอปา สุหลง ผู้ร้อง อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปัตตานี
(ลงชื่อ) สันติ ทักราล (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายสันติ ทักราล) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) โภคิน พลกุล
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายโภคิน พลกุล)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท สมัยรบ สุทธิวาทนฤพุฒิ (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(สมัยรบ สุทธิวาทนฤพุฒิ) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
สำเนาถูกต้อง
(นางอุษณี ฉันทวรคุณ)
นิติกร 6 ว
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช 2482 มาตรา 57 และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|