คำร้องของผู้ร้องมีประเด็นต้องพิจารณาว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันและเป็นเหตุให้คู่ความไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลหรือไม่ เมื่อประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ เป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิดีกว่ากันในที่ดินพิพาท การที่โจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีชื่อตาม น.ส. ๓ แล้วศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทเพราะมีรูปที่ดินตรงกัน ก็เป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองโดยมิได้วินิจฉัยถึงความชอบด้วยกฎหมายของการออกโฉนดที่ดินพิพาท ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดี ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งยกเลิกคำขอให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการใช้สิทธิคนละส่วน และไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำร้องของผู้ร้องมีประเด็นต้องพิจารณาว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันและเป็นเหตุให้คู่ความไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลหรือไม่ เมื่อประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ เป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเอกชนด้วยกันว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิดีกว่ากันในที่ดินพิพาท การที่โจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีชื่อตาม น.ส. ๓ แล้วศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทเพราะมีรูปที่ดินตรงกัน ก็เป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองโดยมิได้วินิจฉัยถึงความชอบด้วยกฎหมายของการออกโฉนดที่ดินพิพาท ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดี ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอให้ศาลตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งยกเลิกคำขอให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการใช้สิทธิคนละส่วน และไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คดีที่ ผู้ร้องอ้างว่า คำพิพากษาศาลฎีกาสองเรื่องขัดแย้งกัน ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีล้มละลาย ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาศาลฎีกาสองเรื่องพิพากษาขัดแย้งกันเอง ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลยุติธรรมขัดแย้งกันเอง จึงมิได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับไว้พิจารณาได้
คำร้องของบมจ. ท. ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๒๙ (๒) ของข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คดีที่ ผู้ร้องอ้างว่า คำพิพากษาศาลฎีกาสองเรื่องขัดแย้งกัน ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีล้มละลาย ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาศาลฎีกาสองเรื่องพิพากษาขัดแย้งกันเอง ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลยุติธรรมขัดแย้งกันเอง จึงมิได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับไว้พิจารณาได้
คำร้องของบมจ. ท. ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๒๙ (๒) ของข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 14
คดีที่ ผู้ร้องอ้างว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกาขัดแย้งกัน ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลอุทธรณ์กับศาลฎีกาที่พิพากษาขัดแย้งกัน ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลยุติธรรมขัดแย้งกันเอง จึงมิได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับไว้พิจารณาได้คำร้องของบมจ. ท. ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๒๙ (๒) ของข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
คดีที่ ผู้ร้องอ้างว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษาศาลฎีกาขัดแย้งกัน ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลอุทธรณ์กับศาลฎีกาที่พิพากษาขัดแย้งกัน ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลยุติธรรมขัดแย้งกันเอง จึงมิได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับไว้พิจารณาได้คำร้องของบมจ. ท. ผู้ร้อง ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๒๙ (๒) ของข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 15 ประกอบ มาตรา 14
การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มี 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้ "คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การเป็นอย่างช้าสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่นในการนี้ ศาลที่รับฟ้องอาจรอการพิจารณา ไว้ชั่วคราวก็ได้ และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่า คดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว..." กับกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนตามมาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้นำความในมาตรานี้ ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาโดยอนุโลม เมื่อคดีนี้ จำเลยที่ 2 โต้แย้งเขตอำนาจศาลมาในคำให้การ และข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ทนายจำเลยที่ 2 แถลงว่า คดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องได้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือโต้แย้งเขตอำนาจศาลยุติธรรมต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ กรณี จึงไม่เป็นไปตามรูปแบบและเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. 2544 ข้อ 12 ที่กำหนดว่าคำร้องต้องทำเป็นหนังสือ... แม้ต่อมาภายหลังศาลจังหวัดสมุทรปราการจะทำความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ส่วนศาลปกครองกลางซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นมีความเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้อง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล แต่ก็มิใช่กรณีที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นศาลผู้ส่งความเห็นได้ริเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลโดยศาลเห็นเอง ตามนัยของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคสาม การเสนอเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีเขตอำนาจศาล ขัดแย้งกันในคดีนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่งและวรรคสาม คณะกรรมการไม่รับวินิจฉัย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 17 วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. 2544 ข้อ 29 (2) จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มี 2 กรณี ได้แก่ กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้ "คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การเป็นอย่างช้าสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่นในการนี้ ศาลที่รับฟ้องอาจรอการพิจารณา ไว้ชั่วคราวก็ได้ และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่า คดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว..." กับกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนตามมาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้นำความในมาตรานี้ ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาโดยอนุโลม เมื่อคดีนี้ จำเลยที่ 2 โต้แย้งเขตอำนาจศาลมาในคำให้การ และข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ทนายจำเลยที่ 2 แถลงว่า คดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องได้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือโต้แย้งเขตอำนาจศาลยุติธรรมต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ กรณี จึงไม่เป็นไปตามรูปแบบและเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. 2544 ข้อ 12 ที่กำหนดว่าคำร้องต้องทำเป็นหนังสือ... แม้ต่อมาภายหลังศาลจังหวัดสมุทรปราการจะทำความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ส่วนศาลปกครองกลางซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นมีความเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้อง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล แต่ก็มิใช่กรณีที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นศาลผู้ส่งความเห็นได้ริเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลโดยศาลเห็นเอง ตามนัยของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคสาม การเสนอเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีเขตอำนาจศาล ขัดแย้งกันในคดีนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่งและวรรคสาม คณะกรรมการไม่รับวินิจฉัย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 17 วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. 2544 ข้อ 29 (2) จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การเสนอเรื่องเขตอำนาจศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่ลดโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 151, 157 ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 21 และข้อ 50 ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่ลดโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่ลดโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 151, 157 ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 21 และข้อ 50 ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่ลดโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ลงโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓, ๘๖, ๑๕๑, ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ ๔ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ ก็ตามแต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ลงโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการโดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญาโดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ลงโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓, ๘๖, ๑๕๑, ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ ๔ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ ก็ตามแต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ลงโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการโดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญาโดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ มาตรา ๘๖ มาตรา ๑๕๑ และมาตรา ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๔ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๖ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญ เพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหารตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการและการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญาโดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ มาตรา ๘๖ มาตรา ๑๕๑ และมาตรา ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๔ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๖ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญ เพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหารตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการและการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญาโดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ในส่วนที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพิกถอนผลการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 151, 157 ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 21 และข้อ 50 (6) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหาย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ ดังนั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกัน คือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 50 (6) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ จากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ในส่วนที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพิกถอนผลการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 151, 157 ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 21 และข้อ 50 (6) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหาย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ ดังนั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกัน คือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 50 (6) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ จากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ ๔ ในส่วนที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพิกถอนผลการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓, ๘๖, ๑๕๑, ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ ๔ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ (๖) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหาย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ ดังนั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกัน คือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ (๖) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ จากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ ๔ ในส่วนที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพิกถอนผลการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓, ๘๖, ๑๕๑, ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ ๔ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ (๖) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหาย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ ดังนั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกัน คือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ (๖) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ จากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๔ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ มาตรา ๘๖ มาตรา ๑๕๑ และมาตรา ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๔ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ (๖) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้เทศบาลนครลำปางได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหายชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวก เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๖ หรือไม่ ดังนั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกันคือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้อง ในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ (๖) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ จากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๖ หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๔ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ มาตรา ๘๖ มาตรา ๑๕๑ และมาตรา ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๔ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ (๖) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้เทศบาลนครลำปางได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหายชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวก เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๖ หรือไม่ ดังนั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกันคือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้อง ในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ (๖) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปางที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ จากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๖ หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเทศบาลเมืองมาบตาพุดที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓, ๘๖, ๑๕๑, ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลเมืองมาบตาพุดที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเทศบาลเมืองมาบตาพุดที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓, ๘๖, ๑๕๑, ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลเมืองมาบตาพุดที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ ๑ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓, ๘๖, ๑๕๑, ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ ๑ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ (๖) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหายชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกัน คือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ (๖) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบประเด็นความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการจากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตาม คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ ๑ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓, ๘๖, ๑๕๑, ๑๕๗ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ ๑ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๑ และข้อ ๕๐ (๖) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหายชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกัน คือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ (๖) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบประเด็นความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการจากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๑ (เดิม) ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๖ หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตาม คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ ต้องดำเนินการภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เป็นคำพิพากษาที่ถึงที่สุดที่ออกภายหลัง โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๙ วรรคสาม บัญญัติว่า "เมื่อศาลปกครองได้อ่านผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีปกครอง ในศาลปกครองโดยเปิดเผยในวันใดแล้ว ให้ถือว่าวันที่ได้อ่านนั้นเป็นวันที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง..." และมาตรา ๗๓ วรรคสี่ บัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดให้เป็นที่สุด" เมื่อศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้ให้คู่กรณีฟัง วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕ คดีของศาลปกครองสูงสุดจึงถึงที่สุดวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕ แม้คำร้องคดีนี้จะลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ แต่เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดถึงที่สุด คำร้องของผู้ร้อง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ ต้องดำเนินการภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เป็นคำพิพากษาที่ถึงที่สุดที่ออกภายหลัง โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖๙ วรรคสาม บัญญัติว่า "เมื่อศาลปกครองได้อ่านผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีปกครอง ในศาลปกครองโดยเปิดเผยในวันใดแล้ว ให้ถือว่าวันที่ได้อ่านนั้นเป็นวันที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง..." และมาตรา ๗๓ วรรคสี่ บัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดให้เป็นที่สุด" เมื่อศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้ให้คู่กรณีฟัง วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕ คดีของศาลปกครองสูงสุดจึงถึงที่สุดวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕ แม้คำร้องคดีนี้จะลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ แต่เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดถึงที่สุด คำร้องของผู้ร้อง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่ลดโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 151, 157 ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งที่ 4 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 21 และข้อ 50 ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่ลดโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่ลดโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการ และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปางขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 151, 157 ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งที่ 4 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 21 และข้อ 50 ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ที่ลดโทษผู้ร้องเป็นปลดออกจากราชการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายและตามที่เห็นสมควร โดยเน้นที่ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการ และการคุ้มครองเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลย ก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ 4 ในส่วนที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพิกถอนผลการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 151, 157 ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ 4 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 21 และข้อ 50 (6) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหาย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 , 86 หรือไม่ ดังนั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกัน คือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 50 (6) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ จากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลนครลำปาง เรื่อง ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ กรณีการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะ ครั้งที่ 4 ในส่วนที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพิกถอนผลการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดลำปางยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวกต่อศาลจังหวัดลำปาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 151, 157 ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ 4 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 21 และข้อ 50 (6) ก็ตาม แต่ประเด็นแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องได้กระทำละเมิดในการจัดซื้อที่ดินทิ้งขยะเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหาย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ได้แก่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 , 86 หรือไม่ ดังนั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาความรับผิดเป็นอย่างเดียวกัน คือ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ร้องในฐานะคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีพิเศษเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 50 (6) หรือไม่ แต่เมื่อในการพิจารณาคดีของศาลปกครองเป็นไปเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับทางราชการ จากการที่ผู้ร้องทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ส่วนคดีของศาลยุติธรรมมุ่งประสงค์ตรวจสอบในประเด็นที่ว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 (เดิม) ประกอบมาตรา 83, 86 หรือไม่ เมื่อหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งและทางอาญาอาจแตกต่างกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 16 และข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. 2544 ข้อ 6 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับองค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการ ตลอดจนความมีส่วนได้เสียในเรื่องที่จะประชุมว่า คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ ประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกสี่คน ได้แก่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยในการประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการคนใดมีผลประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่ประชุม ห้ามกรรมการผู้นั้นออกเสียงลงคะแนนในเรื่องดังกล่าว
การที่กรมควบคุมมลพิษ ผู้ร้อง ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้ทบทวนและเพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ 60/2565 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2565 โดยอ้างว่าการประชุมเพื่อพิจารณารับเรื่องและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ 60/2565 เป็นไปโดยไม่ครบองค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการ อันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 มีคณะกรรมการมาประชุมครบจำนวน 7 ท่าน จึงถือว่าครบองค์ประชุมและครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในการประชุมเรื่องดังกล่าวมีกรรมการที่ไม่อาจลงคะแนนเสียงด้วยเหตุที่เป็นผู้มีผลประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่จะประชุมจำนวน 3 ท่าน การวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยโดยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่จำนวน 4 ท่าน ซึ่งสามารถกระทำได้ตามกฎหมายโดยใช้เสียงข้างมาก ตามมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ดังนั้น คำวินิจฉัยในส่วนขององค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการในการพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้จึงชอบแล้ว
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า คำร้องของผู้ร้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 กำหนด โดยเป็นกรณีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 กับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 ขัดแย้งกัน เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องเป็นข้อเท็จจริงเดียวกับคำร้องเดิมของผู้ร้องตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ 60/2565 มีลักษณะเป็นการโต้แย้งเหตุผลที่ระบุในคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ 60/2565 อันเป็นการขอให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยซ้ำในเรื่องที่คณะกรรมการได้วินิจฉัยไว้แล้วซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวถือเป็นที่สุด ตามมาตรา 14 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 จึงเป็นการต้องห้ามตามข้อ 28 แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. 2544 ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 16 และข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. 2544 ข้อ 6 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับองค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการ ตลอดจนความมีส่วนได้เสียในเรื่องที่จะประชุมว่า คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ ประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกสี่คน ได้แก่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยในการประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการคนใดมีผลประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่ประชุม ห้ามกรรมการผู้นั้นออกเสียงลงคะแนนในเรื่องดังกล่าว
การที่กรมควบคุมมลพิษ ผู้ร้อง ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้ทบทวนและเพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ 60/2565 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2565 โดยอ้างว่าการประชุมเพื่อพิจารณารับเรื่องและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ 60/2565 เป็นไปโดยไม่ครบองค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการ อันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 มีคณะกรรมการมาประชุมครบจำนวน 7 ท่าน จึงถือว่าครบองค์ประชุมและครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในการประชุมเรื่องดังกล่าวมีกรรมการที่ไม่อาจลงคะแนนเสียงด้วยเหตุที่เป็นผู้มีผลประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่จะประชุมจำนวน 3 ท่าน การวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยโดยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่จำนวน 4 ท่าน ซึ่งสามารถกระทำได้ตามกฎหมายโดยใช้เสียงข้างมาก ตามมาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ดังนั้น คำวินิจฉัยในส่วนขององค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการในการพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้จึงชอบแล้ว
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า คำร้องของผู้ร้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 กำหนด โดยเป็นกรณีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 กับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 ขัดแย้งกัน เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องเป็นข้อเท็จจริงเดียวกับคำร้องเดิมของผู้ร้องตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ 60/2565 มีลักษณะเป็นการโต้แย้งเหตุผลที่ระบุในคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (คำสั่ง) ที่ 60/2565 อันเป็นการขอให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยซ้ำในเรื่องที่คณะกรรมการได้วินิจฉัยไว้แล้วซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวถือเป็นที่สุด ตามมาตรา 14 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 จึงเป็นการต้องห้ามตามข้อ 28 แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. 2544 ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..." คดีที่ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า คำพิพากษาของศาลยุติธรรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อบ. ๑๗/๒๕๖๑ ซึ่งแม้ผู้ร้องเป็นผู้ฟ้องคดีในคดีของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อบ. ๑๗/๒๕๖๑ และเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ซึ่งเป็นคู่ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตามการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต้องดำเนินการภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรมที่ออกภายหลัง ศาลอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ โจทก์ฎีกา ศาลมีคำสั่งว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ฎีกา จึงมีคำสั่งไม่รับฎีกา คดีถึงที่สุด โดยศาลอาญาตลิ่งชันออกใบสำคัญคดีถึงที่สุด ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๕ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ถึงที่สุด แม้ว่าภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องจะได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลปกครอง และศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของผู้ร้อง ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ แต่คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่งที่ไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีใหม่ ตามมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ไม่ใช่คำพิพากษาในเนื้อหาของคดีที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำวินิจฉัยคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อบ. ๑๗/๒๕๖๑ จึงมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดที่จะขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ คำร้องของผู้ร้อง ไม่ชอบด้วย มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๒๘ ของข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงให้ยกคำร้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..." คดีที่ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า คำพิพากษาของศาลยุติธรรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อบ. ๑๗/๒๕๖๑ ซึ่งแม้ผู้ร้องเป็นผู้ฟ้องคดีในคดีของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อบ. ๑๗/๒๕๖๑ และเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ซึ่งเป็นคู่ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตามการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต้องดำเนินการภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรมที่ออกภายหลัง ศาลอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ โจทก์ฎีกา ศาลมีคำสั่งว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ฎีกา จึงมีคำสั่งไม่รับฎีกา คดีถึงที่สุด โดยศาลอาญาตลิ่งชันออกใบสำคัญคดีถึงที่สุด ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๕ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ ถึงที่สุด แม้ว่าภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องจะได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลปกครอง และศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของผู้ร้อง ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ แต่คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวเป็นเพียงคำสั่งที่ไม่รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีใหม่ ตามมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ไม่ใช่คำพิพากษาในเนื้อหาของคดีที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำวินิจฉัยคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อบ. ๑๗/๒๕๖๑ จึงมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดที่จะขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๒๐/๒๕๖๒ คำร้องของผู้ร้อง ไม่ชอบด้วย มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๒๘ ของข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด"
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าได้รับผลกระทบจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 ประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2564 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ 8567/2564 ในคดีที่มีข้อเท็จจริงสืบเนื่องมาจากกรณีที่ผู้ร้องและกิจการร่วมค้า อ. ตกลงทำสัญญาจ้างดำเนินโครงการออกแบบก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ต่อมาผู้ร้องแจ้งให้กิจการร่วมค้าฯ ยุติการก่อสร้าง เนื่องจากสัญญาตกเป็นโมฆะ บริษัทในกิจการร่วมค้าทั้งหกบริษัท ผู้เรียกร้อง จึงยื่นเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 2/2554 ให้ผู้ร้องชำระค่าจ้างและค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้เรียกร้อง ต่อมาผู้ร้องและบริษัทในกิจการร่วมค้าทั้งหกบริษัทได้นำข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาลปกครองและศาลยุติธรรม
เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 เป็นคำพิพากษาในคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือมีคำชี้ขาดใหม่ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.487-488/2557 ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น โดยให้ผู้ร้องชำระเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.139-140/2565 จึงเป็นเพียงคำสั่งยกคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ซึ่งมีผลให้ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามคำบังคับในคดีเดิม และเป็นเพียงคดีสาขาของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.487-488/2557 ที่มีประเด็นในคดีเพียงว่า กรณีตามคำร้องเข้าเงื่อนไขที่ศาลปกครองจะพิจารณาคดีหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองนั้นใหม่ตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 หรือไม่ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.139-140/2565 จึงมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชี้ขาดข้อพิพาทในประเด็นแห่งคดีที่จะขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2564 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ 8567/2564 ทั้งไม่ปรากฏว่าคู่ความในคดีตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลมีเหตุขัดข้องที่ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นได้ อันจะแสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน คณะกรรมการฯ จึงไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่ผู้ร้องเห็นว่าคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดหมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 ไม่นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 รวมถึงพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำเสนอมาประกอบกาวินิจฉัยคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 เป็นคำพิพากษาที่สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ในคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.487-488/2557 จึงเป็นอำนาจของศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นจะพิจารณาวินิจฉัย คณะกรรมการฯ ไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการฯ จะรับไว้วินิจฉัยได้ จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด"
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าได้รับผลกระทบจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 ประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2564 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ 8567/2564 ในคดีที่มีข้อเท็จจริงสืบเนื่องมาจากกรณีที่ผู้ร้องและกิจการร่วมค้า อ. ตกลงทำสัญญาจ้างดำเนินโครงการออกแบบก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ต่อมาผู้ร้องแจ้งให้กิจการร่วมค้าฯ ยุติการก่อสร้าง เนื่องจากสัญญาตกเป็นโมฆะ บริษัทในกิจการร่วมค้าทั้งหกบริษัท ผู้เรียกร้อง จึงยื่นเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 2/2554 ให้ผู้ร้องชำระค่าจ้างและค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้เรียกร้อง ต่อมาผู้ร้องและบริษัทในกิจการร่วมค้าทั้งหกบริษัทได้นำข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาลปกครองและศาลยุติธรรม
เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 เป็นคำพิพากษาในคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาหรือมีคำชี้ขาดใหม่ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.487-488/2557 ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น โดยให้ผู้ร้องชำระเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.139-140/2565 จึงเป็นเพียงคำสั่งยกคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ซึ่งมีผลให้ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามคำบังคับในคดีเดิม และเป็นเพียงคดีสาขาของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.487-488/2557 ที่มีประเด็นในคดีเพียงว่า กรณีตามคำร้องเข้าเงื่อนไขที่ศาลปกครองจะพิจารณาคดีหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองนั้นใหม่ตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 หรือไม่ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.139-140/2565 จึงมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชี้ขาดข้อพิพาทในประเด็นแห่งคดีที่จะขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2564 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ 8567/2564 ทั้งไม่ปรากฏว่าคู่ความในคดีตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลมีเหตุขัดข้องที่ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นได้ อันจะแสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน คณะกรรมการฯ จึงไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่ผู้ร้องเห็นว่าคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดหมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 ไม่นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 รวมถึงพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำเสนอมาประกอบกาวินิจฉัยคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หมายเลขแดงที่ อ.139-140/2565 เป็นคำพิพากษาที่สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ในคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.487-488/2557 จึงเป็นอำนาจของศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นจะพิจารณาวินิจฉัย คณะกรรมการฯ ไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการฯ จะรับไว้วินิจฉัยได้ จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 14
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน โดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาล และศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม และไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อคดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลยในคดีที่กรมที่ดินฟ้องเรียกคืนเงินค่าใช้จ่ายในการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ 1 ที่รับไปโดยไม่มีสิทธิ ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด แต่เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่กรณีในคดีของศาลปกครองดังกล่าวและมูลความแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดมิใช่มูลความแห่งคดีเดียวกัน การที่กรมที่ดินฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยต่อศาลยุติธรรมแต่เพียงแห่งเดียว โดยมิได้นำข้อเท็จจริงเดียวกันนี้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลปกครองด้วย กรณีจึงไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ที่จะเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีเหตุที่ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นเพียงการอ้างว่า ศาลยุติธรรมในคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผู้ร้องเป็นจำเลย วินิจฉัยขัดแย้งกับแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลที่รับฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นคู่กรณีในเรื่องเดียวกัน ในมูลความแห่งคดีเดียวกันนี้ที่ศาลปกครองด้วย กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง จึงให้ยกคำร้อง
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน โดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาล และศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม และไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อคดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลยในคดีที่กรมที่ดินฟ้องเรียกคืนเงินค่าใช้จ่ายในการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ 1 ที่รับไปโดยไม่มีสิทธิ ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด แต่เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่กรณีในคดีของศาลปกครองดังกล่าวและมูลความแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดมิใช่มูลความแห่งคดีเดียวกัน การที่กรมที่ดินฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยต่อศาลยุติธรรมแต่เพียงแห่งเดียว โดยมิได้นำข้อเท็จจริงเดียวกันนี้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลปกครองด้วย กรณีจึงไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ที่จะเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีเหตุที่ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นเพียงการอ้างว่า ศาลยุติธรรมในคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผู้ร้องเป็นจำเลย วินิจฉัยขัดแย้งกับแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลที่รับฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นคู่กรณีในเรื่องเดียวกัน ในมูลความแห่งคดีเดียวกันนี้ที่ศาลปกครองด้วย กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ จะต้องเป็นกรณีการขัดแย้งกันในคดีที่ได้อาศัยข้อเท็จจริง ที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบ และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดในประเด็นของเนื้อหาแห่งคดีนั้นแตกต่างกัน คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ซึ่งคำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองศาลเป็นคดีที่ผู้ร้องนำข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง กรณีผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ แต่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลตำบลวังกะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ โดยระบุในส่วนของผู้ร้องว่า "ไม่รับสมัคร" ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี จึงเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๐ (๒๐) และมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ซึ่งต่อมาได้มีคำสั่งในคดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ให้ยกคำร้อง เนื่องจากเป็นกรณีผู้ร้องใช้สิทธิดำเนินการตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคที่มีเขตอำนาจดังเช่นกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้ถอนรายชื่อออกจากรายชื่อผู้สมัครเพราะเหตุไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๖ ผู้ร้องจึงนำคดีเรื่องเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าการที่ผู้ฟ้องคดี (ผู้ร้อง) ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง โดยมีเจตนาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนี้ คณะกรรมการเห็นว่ากรณีไม่อาจถือว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ร้องไว้พิจารณาด้วยเหตุที่คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ส่วนคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ มิได้ปฏิเสธเขตอำนาจศาลยุติธรรมในการพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ หากแต่มีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องด้วยเหตุผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ เนื่องจากมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ จะต้องเป็นกรณีการขัดแย้งกันในคดีที่ได้อาศัยข้อเท็จจริง ที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบ และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดในประเด็นของเนื้อหาแห่งคดีนั้นแตกต่างกัน คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ซึ่งคำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองศาลเป็นคดีที่ผู้ร้องนำข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง กรณีผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ แต่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลตำบลวังกะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ โดยระบุในส่วนของผู้ร้องว่า "ไม่รับสมัคร" ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี จึงเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๐ (๒๐) และมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ซึ่งต่อมาได้มีคำสั่งในคดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ให้ยกคำร้อง เนื่องจากเป็นกรณีผู้ร้องใช้สิทธิดำเนินการตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคที่มีเขตอำนาจดังเช่นกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้ถอนรายชื่อออกจากรายชื่อผู้สมัครเพราะเหตุไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๖ ผู้ร้องจึงนำคดีเรื่องเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าการที่ผู้ฟ้องคดี (ผู้ร้อง) ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง โดยมีเจตนาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนี้ คณะกรรมการเห็นว่ากรณีไม่อาจถือว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ร้องไว้พิจารณาด้วยเหตุที่คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ส่วนคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ มิได้ปฏิเสธเขตอำนาจศาลยุติธรรมในการพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ หากแต่มีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องด้วยเหตุผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ เนื่องจากมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
การยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|