ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 8 วรรคสอง กำหนดให้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคำร้องนั้นด้วย แม้ตามคําร้องของจำเลยทั้งสองขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ มีคําขอท้ายคําร้องเพียงว่าขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่และพิพากษายกฟ้อง มิได้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องนี้ด้วย ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้รับคําร้องของจำเลยทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ ในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ จำเลยทั้งสองจึงเพิ่งยื่นคําร้องขอเงินค่าปรับคืนจากศาลพร้อมดอกเบี้ยก็ตาม ก็พออนุโลมได้ว่า จำเลยทั้งสองประสงค์จะขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนดังกล่าวและระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว และตามมาตรา 14 (2) ตอนแรกที่บัญญัติว่า “ถ้าต้องรับโทษปรับและได้ชําระค่าปรับต่อศาลแล้ว ให้ได้รับเงินค่าปรับคืน...” เป็นการบังคับว่าต้องให้ได้รับเงินค่าปรับคืน จะใช้ดุลพินิจไม่ให้ได้รับเงินค่าปรับคืนไม่ได้ ส่วนตอนท้ายที่บัญญัติว่า “…โดยศาลจะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับ จนถึงวันที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้” เป็นการให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงในสํานวนว่าสมควรจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ หาใช่ว่าศาลต้องคิดดอกเบี้ยให้โดยศาลคงใช้ดุลพินิจคิดดอกเบี้ยให้เพียงถึงวันใดเท่านั้นคดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย
ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 8 วรรคสอง กำหนดให้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคำร้องนั้นด้วย แม้ตามคําร้องของจำเลยทั้งสองขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ มีคําขอท้ายคําร้องเพียงว่าขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่และพิพากษายกฟ้อง มิได้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องนี้ด้วย ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้รับคําร้องของจำเลยทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ ในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ จำเลยทั้งสองจึงเพิ่งยื่นคําร้องขอเงินค่าปรับคืนจากศาลพร้อมดอกเบี้ยก็ตาม ก็พออนุโลมได้ว่า จำเลยทั้งสองประสงค์จะขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนดังกล่าวและระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว และตามมาตรา 14 (2) ตอนแรกที่บัญญัติว่า “ถ้าต้องรับโทษปรับและได้ชําระค่าปรับต่อศาลแล้ว ให้ได้รับเงินค่าปรับคืน...” เป็นการบังคับว่าต้องให้ได้รับเงินค่าปรับคืน จะใช้ดุลพินิจไม่ให้ได้รับเงินค่าปรับคืนไม่ได้ ส่วนตอนท้ายที่บัญญัติว่า “…โดยศาลจะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับ จนถึงวันที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้” เป็นการให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงในสํานวนว่าสมควรจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ หาใช่ว่าศาลต้องคิดดอกเบี้ยให้โดยศาลคงใช้ดุลพินิจคิดดอกเบี้ยให้เพียงถึงวันใดเท่านั้นคดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย
จำเลยนำซากรถยนต์เก๋งยี่ห้อ MINI AUSTIN และหัวเก๋งยี่ห้อ MINI ROVER พร้อมเครื่องยนต์อีก 2 เครื่อง มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรถยนต์ของกลางแล้วโฆษณาประกาศขาย ซึ่งการซื้อซากรถยนต์เก๋งยี่ห้อ MINI AUSTIN และหัวเก๋งยี่ห้อ MINI ROVER ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้ขายได้แจ้งจดทะเบียนการโอน ทั้งไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนรถ บ่งชี้ให้เห็นว่าซากรถยนต์และหัวเก๋งดังกล่าวจำเลยซื้อมาในสภาพของชิ้นส่วนอะไหล่เก่า การที่จำเลยนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรถยนต์ของกลางเท่ากับเป็นการผลิตสินค้าตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 หาใช่การซ่อมแซมหรือบำรุงรักษารถยนต์เก่า รถยนต์ของกลางจึงเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต การที่จำเลยมีรถยนต์ของกลางที่ยังไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิตไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 4, 5, 204, 207 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ริบรถยนต์ของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 204 วรรคหนึ่ง (1) ปรับ 550,000 บาท คำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 366,666.66 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ริบรถยนต์ของกลางเป็นของกรมสรรพสามิต
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลย 500,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับ 333,333.33 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า รถยนต์ของกลางเป็น “สินค้า” ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 หรือไม่ เห็นว่า ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 “สินค้า” หมายความว่า สิ่งซึ่งผลิตหรือนำเข้าและระบุไว้ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัตินี้ “ผลิต” หมายความว่าทำ ประกอบ ปรับปรุง แปรรูป หรือแปรสภาพสินค้าหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แต่มิให้หมายความรวมถึง... และกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ระบุให้สินค้ารถยนต์อยู่ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ข้อเท็จจริงได้ความจากคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ว่า จำเลยนำซากรถยนต์เก๋งยี่ห้อ MINI AUSTIN ที่ซื้อมาจากนางสาวศรัญญา หัวเก๋งยี่ห้อ MINI ROVER พร้อมเครื่องยนต์อีก 2 เครื่อง ที่ซื้อมาจากนายประสาทศิลป์ มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรถยนต์ของกลางแล้วโฆษณาประกาศขาย ซึ่งการซื้อซากรถยนต์เก๋งยี่ห้อ MINI AUSTIN และหัวเก๋งยี่ห้อ MINI ROVER ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้ขายได้แจ้งจดทะเบียนการโอน ทั้งไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนรถ บ่งชี้ให้เห็นว่าซากรถยนต์และหัวเก๋งดังกล่าวจำเลยซื้อมาในสภาพของชิ้นส่วนอะไหล่เก่า การที่จำเลยนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรถยนต์ของกลางเท่ากับเป็นการผลิตสินค้าตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 หาใช่การซ่อมแซมหรือบำรุงรักษารถยนต์เก่า รถยนต์ของกลางจึงเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต การที่จำเลยมีรถยนต์ของกลางที่ยังไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิตไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิดตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยมาชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
จำเลยนำซากรถยนต์เก๋งยี่ห้อ MINI AUSTIN และหัวเก๋งยี่ห้อ MINI ROVER พร้อมเครื่องยนต์อีก 2 เครื่อง มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรถยนต์ของกลางแล้วโฆษณาประกาศขาย ซึ่งการซื้อซากรถยนต์เก๋งยี่ห้อ MINI AUSTIN และหัวเก๋งยี่ห้อ MINI ROVER ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้ขายได้แจ้งจดทะเบียนการโอน ทั้งไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนรถ บ่งชี้ให้เห็นว่าซากรถยนต์และหัวเก๋งดังกล่าวจำเลยซื้อมาในสภาพของชิ้นส่วนอะไหล่เก่า การที่จำเลยนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรถยนต์ของกลางเท่ากับเป็นการผลิตสินค้าตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 หาใช่การซ่อมแซมหรือบำรุงรักษารถยนต์เก่า รถยนต์ของกลางจึงเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต การที่จำเลยมีรถยนต์ของกลางที่ยังไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิตไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 4, 5, 204, 207 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ริบรถยนต์ของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 204 วรรคหนึ่ง (1) ปรับ 550,000 บาท คำเบิกความของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 366,666.66 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ริบรถยนต์ของกลางเป็นของกรมสรรพสามิต
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลย 500,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับ 333,333.33 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า รถยนต์ของกลางเป็น “สินค้า” ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 หรือไม่ เห็นว่า ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 “สินค้า” หมายความว่า สิ่งซึ่งผลิตหรือนำเข้าและระบุไว้ในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัตินี้ “ผลิต” หมายความว่าทำ ประกอบ ปรับปรุง แปรรูป หรือแปรสภาพสินค้าหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แต่มิให้หมายความรวมถึง... และกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ระบุให้สินค้ารถยนต์อยู่ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ข้อเท็จจริงได้ความจากคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ว่า จำเลยนำซากรถยนต์เก๋งยี่ห้อ MINI AUSTIN ที่ซื้อมาจากนางสาวศรัญญา หัวเก๋งยี่ห้อ MINI ROVER พร้อมเครื่องยนต์อีก 2 เครื่อง ที่ซื้อมาจากนายประสาทศิลป์ มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรถยนต์ของกลางแล้วโฆษณาประกาศขาย ซึ่งการซื้อซากรถยนต์เก๋งยี่ห้อ MINI AUSTIN และหัวเก๋งยี่ห้อ MINI ROVER ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้ขายได้แจ้งจดทะเบียนการโอน ทั้งไม่มีใบคู่มือจดทะเบียนรถ บ่งชี้ให้เห็นว่าซากรถยนต์และหัวเก๋งดังกล่าวจำเลยซื้อมาในสภาพของชิ้นส่วนอะไหล่เก่า การที่จำเลยนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรถยนต์ของกลางเท่ากับเป็นการผลิตสินค้าตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 หาใช่การซ่อมแซมหรือบำรุงรักษารถยนต์เก่า รถยนต์ของกลางจึงเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต การที่จำเลยมีรถยนต์ของกลางที่ยังไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิตไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิดตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยมาชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
การขับรถกระบะบรรทุกของกลางที่มีการทำหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้ายจากจังหวัดกาญจนบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการมีระยะทางไกลเกินกว่าจะเดินไปได้เอง จำเลยจำเป็นต้องใช้รถของกลางเป็นยานพาหนะพาคนต่างด้าวเดินทางไป โดยใช้วิธีการให้คนต่างด้าวสองคนหลบซ่อนอยู่ในช่องใต้หลังคาด้านบนของหัวรถ แล้วใช้ถังน้ำมันขนาดประมาณ 30 ลิตร หลายถังปิดบังไว้ อันเป็นการซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าว จึงมิใช่การใช้รถของกลางตามสภาพอย่างยานพาหนะโดยสารทั่วไป อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะใช้รถของกลางในการช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม รถของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 64 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ริบรถยนต์กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง จำคุก 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 เดือน ริบรถยนต์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ริบรถยนต์ของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า รถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด และศาลมีอำนาจสั่งให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) หรือไม่ เห็นว่า การขับรถยนต์กระบะบรรทุกของกลางที่มีการทำหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้ายจากจังหวัดกาญจนบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการมีระยะทางไกลเกินกว่าจะเดินไปได้เอง เพราะต้องขับข้ามผ่านหลายจังหวัด จำเลยจำเป็นต้องใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะพาคนต่างด้าวทั้งสามเดินทางไป โดยใช้วิธีการให้นายซู มิน โท กับนายมิน มิน แท หลบซ่อนอยู่ในช่องใต้หลังคาด้านบนของหัวรถ แล้วใช้ถังน้ำมันจำนวนหลายถังปิดบังไว้ อันเป็นการซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าว จึงมิใช่การใช้รถยนต์ของกลางตามสภาพอย่างยานพาหนะโดยสารทั่วไป อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะใช้รถยนต์ของกลางในการช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวทั้งสามพ้นจากการจับกุม รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลมีอำนาจริบรถยนต์ของกลางได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ริบรถยนต์ของกลาง ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า รถยนต์ของกลางให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7
การขับรถกระบะบรรทุกของกลางที่มีการทำหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้ายจากจังหวัดกาญจนบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการมีระยะทางไกลเกินกว่าจะเดินไปได้เอง จำเลยจำเป็นต้องใช้รถของกลางเป็นยานพาหนะพาคนต่างด้าวเดินทางไป โดยใช้วิธีการให้คนต่างด้าวสองคนหลบซ่อนอยู่ในช่องใต้หลังคาด้านบนของหัวรถ แล้วใช้ถังน้ำมันขนาดประมาณ 30 ลิตร หลายถังปิดบังไว้ อันเป็นการซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าว จึงมิใช่การใช้รถของกลางตามสภาพอย่างยานพาหนะโดยสารทั่วไป อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะใช้รถของกลางในการช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม รถของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 64 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ริบรถยนต์กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง จำคุก 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 เดือน ริบรถยนต์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ริบรถยนต์ของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า รถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด และศาลมีอำนาจสั่งให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) หรือไม่ เห็นว่า การขับรถยนต์กระบะบรรทุกของกลางที่มีการทำหลังคาฝาปิดด้านข้างและด้านท้ายจากจังหวัดกาญจนบุรีไปจังหวัดสมุทรปราการมีระยะทางไกลเกินกว่าจะเดินไปได้เอง เพราะต้องขับข้ามผ่านหลายจังหวัด จำเลยจำเป็นต้องใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะพาคนต่างด้าวทั้งสามเดินทางไป โดยใช้วิธีการให้นายซู มิน โท กับนายมิน มิน แท หลบซ่อนอยู่ในช่องใต้หลังคาด้านบนของหัวรถ แล้วใช้ถังน้ำมันจำนวนหลายถังปิดบังไว้ อันเป็นการซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าว จึงมิใช่การใช้รถยนต์ของกลางตามสภาพอย่างยานพาหนะโดยสารทั่วไป อันเป็นข้อที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่มุ่งประสงค์จะใช้รถยนต์ของกลางในการช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวทั้งสามพ้นจากการจับกุม รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลมีอำนาจริบรถยนต์ของกลางได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ริบรถยนต์ของกลาง ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า รถยนต์ของกลางให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7
ท. ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีนี้ โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เรื่องการถอนฟ้องของ ท. เพื่อให้ได้ความกระจ่างว่า ท. มีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้จริงหรือไม่ แต่ ม. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาเรื่องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย อันเนื่องจากสถานการณ์โลกในขณะนั้นมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 เป็นวงกว้าง ม. จึงส่งบันทึกถ้อยคำตอบข้อซักถามของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่กระทำในต่างประเทศโดยมีโนตารีพับลิกและสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศญี่ปุ่นรับรองว่า ม. ลงลายมือชื่อในเอกสารต่อหน้าตนต่อศาลชั้นต้นแทนการให้ถ้อยคำด้วยวาจาซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงรับฟังบันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการสอบถามข้อเท็จจริงด้วยวาจาได้ ทั้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. ด้วยวาจาในเรื่องการถอนฟ้องเป็นไปเพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว มิใช่เป็นการให้สืบพยานเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) จึงไม่จำต้องสืบพยานปาก ม. ที่ศาลอื่น หรือสถานที่ทำการของทางราชการ หรือสถานที่แห่งอื่นนอกศาล โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230/1 ดังนี้ เมื่อบันทึกถ้อยคำของ ม. ระบุว่า ท. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และตราประทับที่ ท. ได้ประทับในคำร้องขอถอนฟ้องไม่ใช่ตราประทับของโจทก์ กับ ท. ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในนามของโจทก์ คำร้องขอถอนฟ้องของ ท. จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ และปรากฏตามหนังสือรับรองข้อเท็จจริงว่า ม. ในฐานะกรรมการผู้แทนแต่เพียงผู้เดียวของโจทก์ขอรับรองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะถอนฟ้องคดีนี้แต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ถอนฟ้องคดีนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267, 268 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ลงโทษฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จ จำคุก 1 ปี ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดเกี่ยวกับบริษัทจำกัด
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุก 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า นายทาเคโอะ มีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้ศาลชั้นต้นสอบถามนายมิโตชิด้วยวาจาในเรื่องการถอนฟ้องคดีนี้นั้นเป็นไปเพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว มิใช่เป็นการให้สืบพยานเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 (1) จึงไม่จำต้องสืบพยานปากนายมิโตชิที่ศาลอื่น หรือสถานที่ทำการของทางราชการ หรือสถานที่แห่งอื่นนอกศาล โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 230/1 ดังที่จำเลยฎีกา ดังนี้ เมื่อบันทึกถ้อยคำของนายมิโตชิที่ระบุว่า นายทาเคโอะไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และตราประทับที่นายทาเคโอะได้ประทับในคำร้องขอถอนฟ้องไม่ใช่ตราประทับของโจทก์ กับนายทาเคโอะไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในนามของโจทก์ คำร้องขอถอนฟ้องของนายทาเคโอะจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ สอดคล้องกับหนังสือรับรองข้อเท็จจริงพร้อมคำแปลเอกสารท้ายคำร้องขอนำส่งหนังสือยืนยันข้อเท็จจริงลงวันที่ 30 เมษายน 2562 ที่ระบุว่า นายมิโตชิในฐานะกรรมการผู้แทนแต่เพียงผู้เดียวของโจทก์ขอรับรองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะถอนฟ้องคดีนี้แต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปมีว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือไม่ โจทก์มีนายมิโตชิ ฟูจิกิจ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เป็นพยานเบิกความได้ความว่า เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 เวลากลางวัน จำเลยมอบอำนาจให้นายณัฐธวัช ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท ม. ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร วันเดียวกันนายณัฐธวัชยื่นคำขอจดทะเบียน 2 เรื่อง คือ ให้นายทาเคชิ ออกจากตำแหน่งกรรมการของบริษัท ม. และให้นางสาวชุติมา เข้าเป็นกรรมการแทน กับแก้ไขให้จำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือนางสาวชุติมาลงลายมือชื่อร่วมกับนางสาววีระวรรณ และประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันบริษัท จำเลยยังให้คำรับรองต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทว่า ได้จัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ณ อาคาร ด. มีผู้ถือหุ้นเข้าประชุมจำนวน 4 คน นับจำนวนหุ้นได้ 10,000 หุ้น โดยจำเลยเป็นประธานที่ประชุม ได้มีการบอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ/ส่งมอบให้แก่ตัวผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งคำรับรองดังกล่าวเป็นความเท็จ เนื่องจากโจทก์ไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 ไม่ได้เข้าร่วมประชุม และไม่ได้ส่งตัวแทนหรือผู้รับมอบฉันทะของโจทก์เข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 ดังนั้น การที่จำเลยให้คำรับรองต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทดังกล่าวจึงเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยทำให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหลงเชื่อรับจดทะเบียนแก้ไขรายการบริษัทของบริษัท ม.บริษัท อ. โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการจากจำเลย นางสาววีระวรรณ และนายทาเคชิ เป็นให้นายทาเคชิ ออกจากตำแหน่งกรรมการแล้วให้นางสาวชุติมาเข้าเป็นกรรมการแทน กรรมการชุดใหม่ จึงประกอบด้วย จำเลย นางสาวชุติมา และนางสาววีระวรรณ และแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการที่มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทจากจำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือนายทาเคชิลงลายมือชื่อร่วมกับนางสาววีระวรรณและประทับตราสำคัญของบริษัทมาเป็นจำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือนางสาวชุติมาลงลายมือชื่อร่วมกับนางสาววีระวรรณและประทับตราสำคัญของบริษัท อีกทั้งการที่โจทก์ไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวเชิญประชุม โจทก์เสียโอกาสในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกกรรมการหรือเสนอชื่อบุคคลอื่นเข้าเป็นกรรมการคนใหม่ ส่วนจำเลยมีตัวจำเลยเป็นพยานเบิกความได้ความว่า จำเลยถือสัญชาติญี่ปุ่น ไม่สามารถพูด ฟัง อ่าน และเขียนภาษาไทยได้ จำเลยไม่มีความรู้ในการจดทะเบียนตั้งและเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนบริษัท นายทาเคชิเป็นผู้ติดต่อว่าที่ร้อยตรีเกื้อกูล ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนต่าง ๆ ว่าที่ร้อยตรีเกื้อกูลเป็นกรรมการของบริษัท อ. บริษัทดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำเอกสารและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัท ม. จำเลยลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดและหนังสือมอบอำนาจ ที่บริษัท อ. จัดทำโดยทำเครื่องหมายกากบาทไว้ โดยยังไม่มีการพิมพ์วันที่ เดือน ไม่มีลายมือชื่อของว่าที่ร้อยตรีเกื้อกูล ไม่มีการพิมพ์ข้อความว่าประชุมเรื่องอะไร เมื่อใด และอย่างใด จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารเพราะไว้วางใจและเชื่อโดยสุจริตว่าทนายความจะดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เห็นว่า นายมิโตชิกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เบิกความยืนยันว่า โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. ไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 และโจทก์ก็ไม่ได้เข้าร่วมการประชุม และไม่ได้ส่งตัวแทนหรือผู้รับมอบฉันทะใด ๆ ของโจทก์ให้เข้าร่วมการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ตามที่จำเลยให้คำรับรองในคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด โดยในเรื่องนี้จำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้ง เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทและหนังสือมอบอำนาจ แต่อ่านภาษาไทยไม่ออกและไม่รู้กฎหมายไทย แต่ในเมื่อจำเลยเป็นถึงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ม. ซึ่งในฐานะเป็นผู้บริหารรับผิดชอบกิจการของบริษัทก่อนที่จะลงนามในเอกสารต่างประเทศชิ้นใด แม้จะยังไม่มีการกรอกรายละเอียดของข้อความ จำเลยก็ต้องสอบถามให้ได้ความชัดเจนก่อนที่จะลงลายมือชื่อว่ามีข้อความอย่างไร และจะต้องมีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องอย่างไรเสียก่อน ซึ่งก็ปรากฏข้อความเกี่ยวกับเรื่องการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 และมีการบอกกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทุกคนทราบในเอกสารดังกล่าวแล้ว อีกทั้งจำเลยยังยอมรับนางสาวชุติมาเป็นกรรมการของบริษัทแทนนายทาเคชิกรรมการคนเก่าที่ลาออกไป นอกจากนี้จำเลยไม่โต้แย้งคัดค้านคำรับรองต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและไม่ได้ดำเนินคดีแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่จัดทำเอกสารดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารดังกล่าวจะนำไปกรอกรายละเอียดอย่างไรบ้างและนำไปใช้เพื่ออะไร อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยว่า จำเลยรับรู้เรื่องการยื่นคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทและจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 อันเป็นเท็จแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปมีว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานเบาและรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ความสัมพันธ์ของนายมิโตชิกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และจำเลยเป็นพี่น้องกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายในทางเศรษฐกิจจากการกระทำของจำเลยแต่อย่างใด นอกจากนี้จำเลยยังได้แก้ไขด้วยการตั้งกรรมการคนใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบกับโจทก์ยื่นคำแถลงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยแล้วโดยขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบาและรอการลงโทษ กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน นั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว แต่ที่ใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่ง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 137 และมาตรา 267 และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน ปรากฏว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 (เดิม), 267 (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน และปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก
ท. ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีนี้ โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เรื่องการถอนฟ้องของ ท. เพื่อให้ได้ความกระจ่างว่า ท. มีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้จริงหรือไม่ แต่ ม. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาเรื่องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย อันเนื่องจากสถานการณ์โลกในขณะนั้นมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 เป็นวงกว้าง ม. จึงส่งบันทึกถ้อยคำตอบข้อซักถามของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่กระทำในต่างประเทศโดยมีโนตารีพับลิกและสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศญี่ปุ่นรับรองว่า ม. ลงลายมือชื่อในเอกสารต่อหน้าตนต่อศาลชั้นต้นแทนการให้ถ้อยคำด้วยวาจาซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงรับฟังบันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการสอบถามข้อเท็จจริงด้วยวาจาได้ ทั้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้ศาลชั้นต้นสอบถาม ม. ด้วยวาจาในเรื่องการถอนฟ้องเป็นไปเพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว มิใช่เป็นการให้สืบพยานเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) จึงไม่จำต้องสืบพยานปาก ม. ที่ศาลอื่น หรือสถานที่ทำการของทางราชการ หรือสถานที่แห่งอื่นนอกศาล โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230/1 ดังนี้ เมื่อบันทึกถ้อยคำของ ม. ระบุว่า ท. ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และตราประทับที่ ท. ได้ประทับในคำร้องขอถอนฟ้องไม่ใช่ตราประทับของโจทก์ กับ ท. ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในนามของโจทก์ คำร้องขอถอนฟ้องของ ท. จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ และปรากฏตามหนังสือรับรองข้อเท็จจริงว่า ม. ในฐานะกรรมการผู้แทนแต่เพียงผู้เดียวของโจทก์ขอรับรองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะถอนฟ้องคดีนี้แต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ถอนฟ้องคดีนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267, 268 พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ลงโทษฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จ จำคุก 1 ปี ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดเกี่ยวกับบริษัทจำกัด
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุก 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า นายทาเคโอะ มีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้ศาลชั้นต้นสอบถามนายมิโตชิด้วยวาจาในเรื่องการถอนฟ้องคดีนี้นั้นเป็นไปเพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าว มิใช่เป็นการให้สืบพยานเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 (1) จึงไม่จำต้องสืบพยานปากนายมิโตชิที่ศาลอื่น หรือสถานที่ทำการของทางราชการ หรือสถานที่แห่งอื่นนอกศาล โดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 230/1 ดังที่จำเลยฎีกา ดังนี้ เมื่อบันทึกถ้อยคำของนายมิโตชิที่ระบุว่า นายทาเคโอะไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และตราประทับที่นายทาเคโอะได้ประทับในคำร้องขอถอนฟ้องไม่ใช่ตราประทับของโจทก์ กับนายทาเคโอะไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในนามของโจทก์ คำร้องขอถอนฟ้องของนายทาเคโอะจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ สอดคล้องกับหนังสือรับรองข้อเท็จจริงพร้อมคำแปลเอกสารท้ายคำร้องขอนำส่งหนังสือยืนยันข้อเท็จจริงลงวันที่ 30 เมษายน 2562 ที่ระบุว่า นายมิโตชิในฐานะกรรมการผู้แทนแต่เพียงผู้เดียวของโจทก์ขอรับรองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะถอนฟ้องคดีนี้แต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปมีว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือไม่ โจทก์มีนายมิโตชิ ฟูจิกิจ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เป็นพยานเบิกความได้ความว่า เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 เวลากลางวัน จำเลยมอบอำนาจให้นายณัฐธวัช ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท ม. ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร วันเดียวกันนายณัฐธวัชยื่นคำขอจดทะเบียน 2 เรื่อง คือ ให้นายทาเคชิ ออกจากตำแหน่งกรรมการของบริษัท ม. และให้นางสาวชุติมา เข้าเป็นกรรมการแทน กับแก้ไขให้จำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือนางสาวชุติมาลงลายมือชื่อร่วมกับนางสาววีระวรรณ และประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันบริษัท จำเลยยังให้คำรับรองต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทว่า ได้จัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ณ อาคาร ด. มีผู้ถือหุ้นเข้าประชุมจำนวน 4 คน นับจำนวนหุ้นได้ 10,000 หุ้น โดยจำเลยเป็นประธานที่ประชุม ได้มีการบอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ/ส่งมอบให้แก่ตัวผู้ถือหุ้นแล้ว ซึ่งคำรับรองดังกล่าวเป็นความเท็จ เนื่องจากโจทก์ไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 ไม่ได้เข้าร่วมประชุม และไม่ได้ส่งตัวแทนหรือผู้รับมอบฉันทะของโจทก์เข้าร่วมประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 ดังนั้น การที่จำเลยให้คำรับรองต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทดังกล่าวจึงเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยทำให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหลงเชื่อรับจดทะเบียนแก้ไขรายการบริษัทของบริษัท ม.บริษัท อ. โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการจากจำเลย นางสาววีระวรรณ และนายทาเคชิ เป็นให้นายทาเคชิ ออกจากตำแหน่งกรรมการแล้วให้นางสาวชุติมาเข้าเป็นกรรมการแทน กรรมการชุดใหม่ จึงประกอบด้วย จำเลย นางสาวชุติมา และนางสาววีระวรรณ และแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการที่มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทจากจำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือนายทาเคชิลงลายมือชื่อร่วมกับนางสาววีระวรรณและประทับตราสำคัญของบริษัทมาเป็นจำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือนางสาวชุติมาลงลายมือชื่อร่วมกับนางสาววีระวรรณและประทับตราสำคัญของบริษัท อีกทั้งการที่โจทก์ไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวเชิญประชุม โจทก์เสียโอกาสในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกกรรมการหรือเสนอชื่อบุคคลอื่นเข้าเป็นกรรมการคนใหม่ ส่วนจำเลยมีตัวจำเลยเป็นพยานเบิกความได้ความว่า จำเลยถือสัญชาติญี่ปุ่น ไม่สามารถพูด ฟัง อ่าน และเขียนภาษาไทยได้ จำเลยไม่มีความรู้ในการจดทะเบียนตั้งและเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนบริษัท นายทาเคชิเป็นผู้ติดต่อว่าที่ร้อยตรีเกื้อกูล ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนต่าง ๆ ว่าที่ร้อยตรีเกื้อกูลเป็นกรรมการของบริษัท อ. บริษัทดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำเอกสารและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของบริษัท ม. จำเลยลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดและหนังสือมอบอำนาจ ที่บริษัท อ. จัดทำโดยทำเครื่องหมายกากบาทไว้ โดยยังไม่มีการพิมพ์วันที่ เดือน ไม่มีลายมือชื่อของว่าที่ร้อยตรีเกื้อกูล ไม่มีการพิมพ์ข้อความว่าประชุมเรื่องอะไร เมื่อใด และอย่างใด จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารเพราะไว้วางใจและเชื่อโดยสุจริตว่าทนายความจะดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เห็นว่า นายมิโตชิกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เบิกความยืนยันว่า โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. ไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 และโจทก์ก็ไม่ได้เข้าร่วมการประชุม และไม่ได้ส่งตัวแทนหรือผู้รับมอบฉันทะใด ๆ ของโจทก์ให้เข้าร่วมการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ตามที่จำเลยให้คำรับรองในคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด โดยในเรื่องนี้จำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้ง เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทและหนังสือมอบอำนาจ แต่อ่านภาษาไทยไม่ออกและไม่รู้กฎหมายไทย แต่ในเมื่อจำเลยเป็นถึงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ม. ซึ่งในฐานะเป็นผู้บริหารรับผิดชอบกิจการของบริษัทก่อนที่จะลงนามในเอกสารต่างประเทศชิ้นใด แม้จะยังไม่มีการกรอกรายละเอียดของข้อความ จำเลยก็ต้องสอบถามให้ได้ความชัดเจนก่อนที่จะลงลายมือชื่อว่ามีข้อความอย่างไร และจะต้องมีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องอย่างไรเสียก่อน ซึ่งก็ปรากฏข้อความเกี่ยวกับเรื่องการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 6/2558 และมีการบอกกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทุกคนทราบในเอกสารดังกล่าวแล้ว อีกทั้งจำเลยยังยอมรับนางสาวชุติมาเป็นกรรมการของบริษัทแทนนายทาเคชิกรรมการคนเก่าที่ลาออกไป นอกจากนี้จำเลยไม่โต้แย้งคัดค้านคำรับรองต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและไม่ได้ดำเนินคดีแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่จัดทำเอกสารดังกล่าวแต่อย่างใด จึงเชื่อได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเอกสารดังกล่าวจะนำไปกรอกรายละเอียดอย่างไรบ้างและนำไปใช้เพื่ออะไร อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยว่า จำเลยรับรู้เรื่องการยื่นคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทและจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 อันเป็นเท็จแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปมีว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานเบาและรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ความสัมพันธ์ของนายมิโตชิกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และจำเลยเป็นพี่น้องกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายในทางเศรษฐกิจจากการกระทำของจำเลยแต่อย่างใด นอกจากนี้จำเลยยังได้แก้ไขด้วยการตั้งกรรมการคนใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบกับโจทก์ยื่นคำแถลงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยแล้วโดยขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบาและรอการลงโทษ กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน นั้น เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว แต่ที่ใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่ง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 137 และมาตรา 267 และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน ปรากฏว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 (เดิม), 267 (เดิม) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน และปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก
ในกรณีตามปกติสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยมีกำหนดอายุความ 2 ปี โดยเริ่มนับแต่วันวินาศภัย แต่ในขณะเกิดเหตุละเมิด ผู้ร้องทั้งสองไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ดังนั้นในคดีนี้อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง สำหรับการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีมีวินาศภัยยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้เยาว์มีผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/20คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการการที่วินิจฉัยโดยปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งสำหรับคดีนี้คือ เรื่องการนับอายุความ เป็นกรณีที่ปรากฏต่อศาลว่า การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) ศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และขอให้มีคำสั่งดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการใหม่ หรือวินิจฉัยชี้ขาดในส่วนค่าเสียหายใหม่
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 67/2563 หมายเลขแดงที่ 74/2564 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้ รับฟังเป็นยุติว่า นาง ส. เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องทั้งสอง และเป็นมารดาของนางสาววาสนา ผู้ตาย ผู้ร้องทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสาววาสนากับนายสมควร ซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ผู้ร้องที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 ผู้ร้องที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 ผู้คัดค้านมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ผู้คัดค้านเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนภาคบังคับและภาคสมัครใจของรถบรรทุกพ่วงหัวลาก เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 นางสาววาสนานั่งรถจักรยานยนต์ มีนายจิตติภูมิ เป็นผู้ขับขี่ มาตามถนนสุขุมวิทสายเก่ามุ่งหน้าไปจังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ขับขี่และควบคุมรถบรรทุกพ่วงดังกล่าวขับมาเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่นางสาววาสนานั่งมา เป็นเหตุให้นางสาววาสนาถึงแก่ความตาย ต่อมาวันที่ 23 เมษายน 2562 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งตั้งนาง ส. เป็นผู้ปกครองผู้ร้องทั้งสอง และวันที่ 26 สิงหาคม 2562 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งอนุญาตให้นาง ส. ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การประนีประนอมยอมความ การมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย ตลอดจนรับเงินใด ๆ แทนผู้ร้องทั้งสองได้ วันที่ 28 มกราคม 2563 ผู้ร้องทั้งสองโดยนาง ส. ผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 67/2563 เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้คัดค้าน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากเหตุที่นางสาววาสนาถึงแก่ความตายดังกล่าว ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอข้อพิพาทพ้นกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จึงไม่ต้องรับผิด ค่าขาดไร้อุปการะที่เรียกร้องสูงเกินส่วน ผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดค่าขาดแรงงานในครอบครัวและค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดว่า คำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องทั้งสองขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ประเด็นค่าสินไหมทดแทนไม่จำต้องวินิจฉัยเนื่องจากไม่ทำให้คำชี้ขาดมีผลเปลี่ยนแปลง ให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องทั้งสอง
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ โดยผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า มูลละเมิดคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 แต่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 อันเป็นการกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำหลักทั่วไปในการนับอายุความตามมาตรา 193/12 และมาตรา 193/20 มาบังคับได้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เหตุที่ยื่นคำเสนอข้อพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทนายความของผู้ร้องทั้งสองเอง เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย” ดังนั้น ในกรณีตามปกติสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี โดยเริ่มนับแต่วันวินาศภัย แต่ในคดีนี้เหตุละเมิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 ขณะนั้นผู้ร้องทั้งสองมีอายุเพียง 10 ปี เศษ และ 9 ปี เศษ ตามลำดับ ผู้ร้องทั้งสองไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเนื่องจากนางสาววาสนา มารดาของผู้ร้องทั้งสอง ถึงแก่ความตายเพราะเหตุละเมิดคดีนี้ ส่วนนายสมควร บิดาของผู้ร้องทั้งสอง อยู่กินฉันสามีภรรยากับนางสาววาสนาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งมาตรา 193/20 บัญญัติว่า “อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของบุคคลวิกลจริตอันศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ก็ตาม ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี...” ดังนั้น ในคดีนี้อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่ครบจนกว่าจะครบ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องทั้งสองมีผู้แทนโดยชอบธรรม ตามมาตรา 193/20 เมื่อปรากฏว่าวันที่ 23 เมษายน 2562 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งตั้งนาง ส. เป็นผู้ปกครองผู้ร้องทั้งสอง อายุความจึงต้องนับจากวันที่ผู้ร้องทั้งสองมีผู้แทนโดยชอบธรรมออกไปอีก 1 ปี คือวันที่ 23 เมษายน 2563 เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ยังไม่ครบ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องทั้งสองมีผู้แทนโดยชอบธรรม คดีของผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นการวินิจฉัยโดยปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง และปรากฏต่อศาลว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการมานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ได้ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คดีไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านในประเด็นอื่นเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ในกรณีตามปกติสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยมีกำหนดอายุความ 2 ปี โดยเริ่มนับแต่วันวินาศภัย แต่ในขณะเกิดเหตุละเมิด ผู้ร้องทั้งสองไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ดังนั้นในคดีนี้อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง สำหรับการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีมีวินาศภัยยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้เยาว์มีผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/20คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการการที่วินิจฉัยโดยปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งสำหรับคดีนี้คือ เรื่องการนับอายุความ เป็นกรณีที่ปรากฏต่อศาลว่า การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) ศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และขอให้มีคำสั่งดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการใหม่ หรือวินิจฉัยชี้ขาดในส่วนค่าเสียหายใหม่
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 67/2563 หมายเลขแดงที่ 74/2564 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้ รับฟังเป็นยุติว่า นาง ส. เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องทั้งสอง และเป็นมารดาของนางสาววาสนา ผู้ตาย ผู้ร้องทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสาววาสนากับนายสมควร ซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ผู้ร้องที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 ผู้ร้องที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 ผู้คัดค้านมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ผู้คัดค้านเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนภาคบังคับและภาคสมัครใจของรถบรรทุกพ่วงหัวลาก เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 นางสาววาสนานั่งรถจักรยานยนต์ มีนายจิตติภูมิ เป็นผู้ขับขี่ มาตามถนนสุขุมวิทสายเก่ามุ่งหน้าไปจังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ขับขี่และควบคุมรถบรรทุกพ่วงดังกล่าวขับมาเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่นางสาววาสนานั่งมา เป็นเหตุให้นางสาววาสนาถึงแก่ความตาย ต่อมาวันที่ 23 เมษายน 2562 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งตั้งนาง ส. เป็นผู้ปกครองผู้ร้องทั้งสอง และวันที่ 26 สิงหาคม 2562 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งอนุญาตให้นาง ส. ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การประนีประนอมยอมความ การมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย ตลอดจนรับเงินใด ๆ แทนผู้ร้องทั้งสองได้ วันที่ 28 มกราคม 2563 ผู้ร้องทั้งสองโดยนาง ส. ผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 67/2563 เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้คัดค้าน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากเหตุที่นางสาววาสนาถึงแก่ความตายดังกล่าว ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอข้อพิพาทพ้นกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จึงไม่ต้องรับผิด ค่าขาดไร้อุปการะที่เรียกร้องสูงเกินส่วน ผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดค่าขาดแรงงานในครอบครัวและค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดว่า คำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องทั้งสองขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ประเด็นค่าสินไหมทดแทนไม่จำต้องวินิจฉัยเนื่องจากไม่ทำให้คำชี้ขาดมีผลเปลี่ยนแปลง ให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องทั้งสอง
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ โดยผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า มูลละเมิดคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 แต่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 อันเป็นการกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำหลักทั่วไปในการนับอายุความตามมาตรา 193/12 และมาตรา 193/20 มาบังคับได้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เหตุที่ยื่นคำเสนอข้อพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทนายความของผู้ร้องทั้งสองเอง เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย” ดังนั้น ในกรณีตามปกติสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี โดยเริ่มนับแต่วันวินาศภัย แต่ในคดีนี้เหตุละเมิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 ขณะนั้นผู้ร้องทั้งสองมีอายุเพียง 10 ปี เศษ และ 9 ปี เศษ ตามลำดับ ผู้ร้องทั้งสองไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเนื่องจากนางสาววาสนา มารดาของผู้ร้องทั้งสอง ถึงแก่ความตายเพราะเหตุละเมิดคดีนี้ ส่วนนายสมควร บิดาของผู้ร้องทั้งสอง อยู่กินฉันสามีภรรยากับนางสาววาสนาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งมาตรา 193/20 บัญญัติว่า “อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของบุคคลวิกลจริตอันศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ก็ตาม ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี...” ดังนั้น ในคดีนี้อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่ครบจนกว่าจะครบ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องทั้งสองมีผู้แทนโดยชอบธรรม ตามมาตรา 193/20 เมื่อปรากฏว่าวันที่ 23 เมษายน 2562 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งตั้งนาง ส. เป็นผู้ปกครองผู้ร้องทั้งสอง อายุความจึงต้องนับจากวันที่ผู้ร้องทั้งสองมีผู้แทนโดยชอบธรรมออกไปอีก 1 ปี คือวันที่ 23 เมษายน 2563 เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ยังไม่ครบ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องทั้งสองมีผู้แทนโดยชอบธรรม คดีของผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นการวินิจฉัยโดยปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง และปรากฏต่อศาลว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการมานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ได้ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คดีไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านในประเด็นอื่นเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารรับฝากเงิน ทำการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วยข้อความว่าเป็นการรับฝากเงินสงเคราะห์ แบบคุ้มครองสินเชื่อแก่ลูกค้าผู้กู้ของธนาคาร โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ฝากเงินสงเคราะห์และเงื่อนไขสำคัญว่า ผู้ฝากเงินสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรลูกค้าผู้กู้และคู่สมรส อายุระหว่าง 20 ปี ถึง 70 ปี ชำระเงินต่อปี โดยมีผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรับเพิ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ ของเงินทุนสงเคราะห์ ข้อความโฆษณาดังกล่าวจำเลยนำมาจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ย่อมทำให้ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคเข้าใจว่า หากผู้ตายเป็นลูกค้าของธนาคารจำเลย นำเงินไปฝากกับจำเลยตามจำนวนและต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาแล้ว ผู้ตายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ที่จำเลยโฆษณาไว้ด้วย จำเลยจึงต้องผูกพันให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตายตามที่ตนโฆษณาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 การที่ผู้ตายขอฝากเงินสงเคราะห์ต่อจำเลยโดยมุ่งหวังรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์มอบรัก 1/1 จึงเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายอยู่ด้วย เพราะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารรับฝากเงิน ทำการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วยข้อความว่าเป็นการรับฝากเงินสงเคราะห์ แบบคุ้มครองสินเชื่อแก่ลูกค้าผู้กู้ของธนาคาร โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ฝากเงินสงเคราะห์และเงื่อนไขสำคัญว่า ผู้ฝากเงินสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรลูกค้าผู้กู้และคู่สมรส อายุระหว่าง 20 ปี ถึง 70 ปี ชำระเงินต่อปี โดยมีผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรับเพิ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ ของเงินทุนสงเคราะห์ ข้อความโฆษณาดังกล่าวจำเลยนำมาจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ย่อมทำให้ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคเข้าใจว่า หากผู้ตายเป็นลูกค้าของธนาคารจำเลย นำเงินไปฝากกับจำเลยตามจำนวนและต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาแล้ว ผู้ตายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ที่จำเลยโฆษณาไว้ด้วย จำเลยจึงต้องผูกพันให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตายตามที่ตนโฆษณาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 การที่ผู้ตายขอฝากเงินสงเคราะห์ต่อจำเลยโดยมุ่งหวังรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์มอบรัก 1/1 จึงเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายอยู่ด้วย เพราะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์
แม้จำเลยยังมิได้ออกกรมธรรม์เป็นหนังสือให้แก่ผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ก็สามารถฟ้องบังคับคดีได้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 10 ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมาย (ป.พ.พ. มาตรา 867) ที่บังคับให้นิติกรรมใดต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้นั้น มิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้ พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรฯ มาตรา 10 (12) ให้ธนาคารจำเลยมีอำนาจรับฝากเงินเพื่อสงเคราะห์ชีวิตของเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกรได้ก้อง ศิวะเกื้อ
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับให้รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย ซึ่งเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากกันกับการฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลหนี้ละเมิด เมื่อกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถระบุจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยสำหรับการเสียชีวิตจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคนสำหรับการเสียชีวิต จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชําระแก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่เป็นทายาทโดยไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดได้ แต่อย่างไรก็ตาม การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. โดย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 22 บัญญัติว่า “การได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 ไม่ตัดสิทธิผู้ประสบภัยที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้ถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” และมาตรา 31 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถ ผู้ขับขี่ ผู้ซึ่งอยู่ในรถ หรือผู้ประสบภัย เมื่อบริษัทได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทน....ไปแล้วจำนวนเท่าใดให้บริษัท...มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลดังกล่าวหรือมีสิทธิเรียกให้ผู้ประสบภัยคืนเงินดังกล่าวได้” อันหมายความว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อผู้ประสบภัยได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ผู้ประสบภัยยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. จากผู้ก่อความเสียหายได้อีก และในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากบุคคลภายนอก เมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจำนวนเท่าใด บริษัทก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ ค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนี้จึงเป็นการจ่ายตามสัญญาประกันวินาศภัย ซึ่งค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขความคุ้มครองหมายถึงค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวนเงินที่คุ้มครองผู้ประสบภัยดังกล่าว จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. นั่นเองคดีนี้ผู้ตายขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 และความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ขับรถกระบะของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หากจำเลยที่ 3 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนไป จำเลยที่ 3 ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกได้ ในกรณีนี้คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับ รวมทั้งฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยภาคบังคับ แม้การฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดจะเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก็ตาม ในส่วนที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดนี้ หากจำเลยที่ 3 ชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเท่าใดก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้กระทำละเมิดหรือผู้ก่อความเสียหายได้ ตามมาตรา 31 แห่งบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น ดังนั้น เมื่อเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ แม้การฟ้องจะแยกจำนวนเงินที่แต่ละคนต้องรับผิด ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชําระเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับชดใช้เกินจำนวนความเสียหายที่ได้รับ และไม่ให้บุคคลภายนอกผู้ก่อความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าที่ต้องรับผิด แต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามจำนวนความเสียหายที่กําหนดให้แล้ว ซึ่งต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามคําพิพากษาจนเป็นที่พอใจแล้ว กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมได้อีก เพราะจะทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินจำนวนที่ได้รับความเสียหายจริง ทั้งหากจำเลยที่ 3 ชําระให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมแล้วก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินไปกว่าจำนวนความเสียหายที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 2,418,006.05 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,262,288 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 288,672.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 270,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา นางสาวรัชฎาภรณ์ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายประสิทธิ์ ผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 620,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 620,000 บาท นับแต่วันทำละเมิด (วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์และโจทก์ร่วม ให้จำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 265,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 265,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 25 มกราคม 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์และโจทก์ร่วม ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์และโจทก์ร่วมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายประสิทธิ์ ผู้ตาย ผู้ตายทำสัญญาประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 รถกระบะไว้กับจำเลยที่ 3 ระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นวันที่ 12 ตุลาคม 2560 สิ้นสุดวันที่ 12 ตุลาคม 2561 กรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยกรณีเสียชีวิต 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 จำเลยที่ 1 ตำแหน่งคนงานทั่วไป กองสวัสดิการสังคมของจำเลยที่ 2 ขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน กค 3011 กำแพงเพชร ของจำเลยที่ 2 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมของจำเลยที่ 2 เมื่อถึงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นถนนมี 4 ช่องเดินรถ ไป 2 ช่อง และกลับ 2 ช่อง มีเส้นทึบสีเหลืองแบ่งกึ่งกลางถนน จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทข้ามเส้นทึบสีเหลืองดังกล่าวเข้าไปชนรถกระบะ ที่ผู้ตายขับสวนทางมา เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย รถกระบะของผู้ตายได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท แก่โจทก์ คดีในส่วนอาญาพนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 โดยไม่รอการลงโทษ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 เนื่องจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดทางละเมิดไม่ได้ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์และโจทก์ร่วมเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ 110,000 บาท ค่าซ่อมรถกระบะของผู้ตาย 110,000 บาท ค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของโจทก์และโจทก์ร่วม 400,000 บาท รวมเป็นเงิน 620,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิด โจทก์และโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างคู่ความดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 3 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรณีเสียชีวิตแก่โจทก์และโจทก์ร่วมหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเป็นเหตุให้นายประสิทธิ์ ถึงแก่ความตาย ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์และโจทก์ร่วมอันเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลหนี้ละเมิด และฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับซึ่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์และโจทก์ร่วมกรณีผู้ตายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต อันเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย เห็นได้ว่าโจทก์และโจทก์ร่วมประสงค์ที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 รับผิดชำระหนี้ในมูลหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกัน เมื่อตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ระบุจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยสำหรับการเสียชีวิตจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคนสำหรับการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่เป็นทายาทโดยไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดได้ แต่อย่างไรก็ตาม การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 22 บัญญัติว่า “การได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 ไม่ตัดสิทธิผู้ประสบภัยที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้ถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” และมาตรา 31 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถ ผู้ขับขี่ ผู้ซึ่งอยู่ในรถ หรือผู้ประสบภัย เมื่อบริษัทได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทน...ไปแล้วจำนวนเท่าใดให้บริษัท...มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลดังกล่าวหรือมีสิทธิเรียกให้ผู้ประสบภัยคืนเงินดังกล่าวได้” อันหมายความว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อผู้ประสบภัยได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ผู้ประสบภัยยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากผู้ก่อความเสียหายได้อีก และในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก เมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจำนวนเท่าใด บริษัทก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ ค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนี้จึงเป็นการจ่ายตามสัญญาประกันภัยวินาศภัย ซึ่งค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขความคุ้มครองหมายถึงค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามตารางกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถระบุว่าค่าเสียหายเบื้องต้น คือ ค่าเสียหายต่อร่างกายไม่เกิน 30,000 บาท ต่อหนึ่งคน หรือตามที่กฎหมายกำหนด ค่าเสียหายต่อร่างกาย สำหรับการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาท หรือตามที่กฎหมายกำหนด ความเสียหายต่อชีวิต 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน หรือตามที่กฎหมายกำหนด ตามที่ระบุไว้ในรายการ 5 จำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น ส่วนที่โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 3 ต้องจ่ายในกรณีนี้จำนวน 300,000 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายเบื้องต้น แต่อยู่ในส่วนจำนวนเงินที่คุ้มครองผู้ประสบภัย 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ตามที่ระบุไว้ในรายการ 4 จำนวนเงินที่คุ้มครองผู้ประสบภัย กรณีเป็นดังที่วินิจฉัยมาข้างต้น จำนวนเงินที่คุ้มครองผู้ประสบภัยดังกล่าวจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ตายขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 และความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ขับรถกระบะคันของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หากจำเลยที่ 3 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ไป จำเลยที่ 3 ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกได้ ในกรณีนี้คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับ รวมทั้งฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยภาคบังคับ แม้การฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดจะเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก็ตาม ในส่วนที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดนี้ หากจำเลยที่ 3 ชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเท่าใดก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้กระทำละเมิดหรือผู้ก่อความเสียหายได้ ตามมาตรา 31 แห่งบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น ดังนั้น เมื่อเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ แม้การฟ้องจะแยกจำนวนเงินที่แต่ละคนต้องรับผิด ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับชดใช้เกินจำนวนความเสียหายที่ได้รับ และไม่ให้บุคคลภายนอกผู้ก่อความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าที่ต้องรับผิด แต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามจำนวนความเสียหายที่กำหนดให้แล้ว ซึ่งต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมได้รับชำระค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจนเป็นที่พอใจแล้ว กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมได้อีก เพราะจะทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินจำนวนที่ได้รับความเสียหายจริง ทั้งหากจำเลยที่ 3 ชำระให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมแล้วก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินไปกว่าจำนวนความเสียหายที่แท้จริงเช่นนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับให้รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย ซึ่งเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากกันกับการฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลหนี้ละเมิด เมื่อกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถระบุจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยสำหรับการเสียชีวิตจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคนสำหรับการเสียชีวิต จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชําระแก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่เป็นทายาทโดยไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดได้ แต่อย่างไรก็ตาม การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. โดย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 22 บัญญัติว่า “การได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 ไม่ตัดสิทธิผู้ประสบภัยที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้ถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” และมาตรา 31 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถ ผู้ขับขี่ ผู้ซึ่งอยู่ในรถ หรือผู้ประสบภัย เมื่อบริษัทได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทน....ไปแล้วจำนวนเท่าใดให้บริษัท...มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลดังกล่าวหรือมีสิทธิเรียกให้ผู้ประสบภัยคืนเงินดังกล่าวได้” อันหมายความว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อผู้ประสบภัยได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ผู้ประสบภัยยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. จากผู้ก่อความเสียหายได้อีก และในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากบุคคลภายนอก เมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจำนวนเท่าใด บริษัทก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ ค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนี้จึงเป็นการจ่ายตามสัญญาประกันวินาศภัย ซึ่งค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขความคุ้มครองหมายถึงค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวนเงินที่คุ้มครองผู้ประสบภัยดังกล่าว จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. นั่นเองคดีนี้ผู้ตายขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 และความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ขับรถกระบะของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หากจำเลยที่ 3 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนไป จำเลยที่ 3 ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกได้ ในกรณีนี้คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับ รวมทั้งฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยภาคบังคับ แม้การฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดจะเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก็ตาม ในส่วนที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดนี้ หากจำเลยที่ 3 ชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเท่าใดก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้กระทำละเมิดหรือผู้ก่อความเสียหายได้ ตามมาตรา 31 แห่งบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น ดังนั้น เมื่อเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ แม้การฟ้องจะแยกจำนวนเงินที่แต่ละคนต้องรับผิด ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชําระเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับชดใช้เกินจำนวนความเสียหายที่ได้รับ และไม่ให้บุคคลภายนอกผู้ก่อความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าที่ต้องรับผิด แต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามจำนวนความเสียหายที่กําหนดให้แล้ว ซึ่งต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามคําพิพากษาจนเป็นที่พอใจแล้ว กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมได้อีก เพราะจะทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินจำนวนที่ได้รับความเสียหายจริง ทั้งหากจำเลยที่ 3 ชําระให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมแล้วก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินไปกว่าจำนวนความเสียหายที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 2,418,006.05 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,262,288 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 288,672.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 270,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา นางสาวรัชฎาภรณ์ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายประสิทธิ์ ผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 620,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 620,000 บาท นับแต่วันทำละเมิด (วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์และโจทก์ร่วม ให้จำเลยที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 265,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 265,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 25 มกราคม 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์และโจทก์ร่วม ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกและให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์และโจทก์ร่วมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายประสิทธิ์ ผู้ตาย ผู้ตายทำสัญญาประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 รถกระบะไว้กับจำเลยที่ 3 ระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นวันที่ 12 ตุลาคม 2560 สิ้นสุดวันที่ 12 ตุลาคม 2561 กรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยกรณีเสียชีวิต 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 จำเลยที่ 1 ตำแหน่งคนงานทั่วไป กองสวัสดิการสังคมของจำเลยที่ 2 ขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน กค 3011 กำแพงเพชร ของจำเลยที่ 2 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมของจำเลยที่ 2 เมื่อถึงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นถนนมี 4 ช่องเดินรถ ไป 2 ช่อง และกลับ 2 ช่อง มีเส้นทึบสีเหลืองแบ่งกึ่งกลางถนน จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทข้ามเส้นทึบสีเหลืองดังกล่าวเข้าไปชนรถกระบะ ที่ผู้ตายขับสวนทางมา เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย รถกระบะของผู้ตายได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 35,000 บาท แก่โจทก์ คดีในส่วนอาญาพนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชรฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 โดยไม่รอการลงโทษ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 เนื่องจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดทางละเมิดไม่ได้ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์และโจทก์ร่วมเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ 110,000 บาท ค่าซ่อมรถกระบะของผู้ตาย 110,000 บาท ค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของโจทก์และโจทก์ร่วม 400,000 บาท รวมเป็นเงิน 620,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิด โจทก์และโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างคู่ความดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 3 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรณีเสียชีวิตแก่โจทก์และโจทก์ร่วมหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเป็นเหตุให้นายประสิทธิ์ ถึงแก่ความตาย ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์และโจทก์ร่วมอันเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลหนี้ละเมิด และฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับซึ่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์และโจทก์ร่วมกรณีผู้ตายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต อันเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย เห็นได้ว่าโจทก์และโจทก์ร่วมประสงค์ที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 รับผิดชำระหนี้ในมูลหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกัน เมื่อตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ระบุจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยสำหรับการเสียชีวิตจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคนสำหรับการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่เป็นทายาทโดยไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดได้ แต่อย่างไรก็ตาม การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 22 บัญญัติว่า “การได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 ไม่ตัดสิทธิผู้ประสบภัยที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้ถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” และมาตรา 31 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถ ผู้ขับขี่ ผู้ซึ่งอยู่ในรถ หรือผู้ประสบภัย เมื่อบริษัทได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทน...ไปแล้วจำนวนเท่าใดให้บริษัท...มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลดังกล่าวหรือมีสิทธิเรียกให้ผู้ประสบภัยคืนเงินดังกล่าวได้” อันหมายความว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อผู้ประสบภัยได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ผู้ประสบภัยยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากผู้ก่อความเสียหายได้อีก และในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก เมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจำนวนเท่าใด บริษัทก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ ค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนี้จึงเป็นการจ่ายตามสัญญาประกันภัยวินาศภัย ซึ่งค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขความคุ้มครองหมายถึงค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามตารางกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถระบุว่าค่าเสียหายเบื้องต้น คือ ค่าเสียหายต่อร่างกายไม่เกิน 30,000 บาท ต่อหนึ่งคน หรือตามที่กฎหมายกำหนด ค่าเสียหายต่อร่างกาย สำหรับการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาท หรือตามที่กฎหมายกำหนด ความเสียหายต่อชีวิต 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน หรือตามที่กฎหมายกำหนด ตามที่ระบุไว้ในรายการ 5 จำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น ส่วนที่โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 3 ต้องจ่ายในกรณีนี้จำนวน 300,000 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายเบื้องต้น แต่อยู่ในส่วนจำนวนเงินที่คุ้มครองผู้ประสบภัย 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ตามที่ระบุไว้ในรายการ 4 จำนวนเงินที่คุ้มครองผู้ประสบภัย กรณีเป็นดังที่วินิจฉัยมาข้างต้น จำนวนเงินที่คุ้มครองผู้ประสบภัยดังกล่าวจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ตายขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 และความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ขับรถกระบะคันของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หากจำเลยที่ 3 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ไป จำเลยที่ 3 ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกได้ ในกรณีนี้คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับ รวมทั้งฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยภาคบังคับ แม้การฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดจะเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก็ตาม ในส่วนที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดนี้ หากจำเลยที่ 3 ชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเท่าใดก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้กระทำละเมิดหรือผู้ก่อความเสียหายได้ ตามมาตรา 31 แห่งบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น ดังนั้น เมื่อเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ แม้การฟ้องจะแยกจำนวนเงินที่แต่ละคนต้องรับผิด ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับชดใช้เกินจำนวนความเสียหายที่ได้รับ และไม่ให้บุคคลภายนอกผู้ก่อความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าที่ต้องรับผิด แต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามจำนวนความเสียหายที่กำหนดให้แล้ว ซึ่งต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมได้รับชำระค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจนเป็นที่พอใจแล้ว กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมได้อีก เพราะจะทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินจำนวนที่ได้รับความเสียหายจริง ทั้งหากจำเลยที่ 3 ชำระให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมแล้วก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินไปกว่าจำนวนความเสียหายที่แท้จริงเช่นนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือ และต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ ประการแรก ต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สอง จะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง และประการที่สาม คำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่
ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 2,480,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เคยทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลยตั้งแต่ปี 2544 โจทก์ถูกโอนย้ายไปทำงานกับบริษัทอื่น ๆ อีกหลายแห่งจนมาทำงานกับจำเลยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้ชำนาญการด้านโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ หน่วยงานด้านพัฒนาธุรกิจโรงงานแปรรูป ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 77,500 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 25 ของเดือน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 มกราคม 2563 โดยจ่ายค่าชดเชย 775,000 บาท และค่าตอบแทนพิเศษจำนวน 3 เท่าของค่าจ้าง จำนวน 232,500 บาท รวมเป็นเงิน 1,007,500 บาท แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ลักษณะงานในหน่วยงานที่โจทก์ทำอยู่มีการซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น มีผลให้บุคลากรล้นงาน จำเลยพยายามหาทางโยกย้ายโจทก์ให้ไปทำงานยังธุรกิจอื่นของจำเลยและบริษัทในเครือ แต่ไม่มีหน่วยงานหรือธุรกิจใดรองรับโจทก์ได้ จำเลยโยกย้ายลูกจ้างบางส่วนไปยังธุรกิจอื่นของจำเลยและเจรจาเลิกจ้างลูกจ้างไปบางส่วน ไม่ได้เจาะจงเลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ โจทก์อยู่ในหน่วยงานด้านพัฒนาธุรกิจโรงงานแปรรูปเพียงคนเดียวและไม่มีงานที่จะต้องทำ แต่จำเลยให้โจทก์มาทำงานโดยจ่ายค่าจ้างเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจการบริหารงานและดำเนินกิจการของจำเลยในการประกอบธุรกิจเพื่อความเหมาะสมและอยู่รอด ไม่ถือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
มีปัญหาต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่า คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้ทำเป็นหนังสือและต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น” ซึ่งหมายความว่า ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือและในคำพิพากษาหรือคำสั่งที่เป็นหนังสือนั้นจะต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรกต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สองจะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง และประการที่สามคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้น จะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากเห็นว่าการปรับโครงสร้างการบริหารงานของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจการบริหารงานและดำเนินกิจการของจำเลยในการประกอบธุรกิจเพื่อความเหมาะสมและอยู่รอด ไม่ถือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์นั้น ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ลักษณะงานในหน่วยงานที่โจทก์ทำอยู่มีการซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น มีผลให้บุคลากรล้นงาน การพยายามหาทางแก้ไขโดยโยกย้ายโจทก์ให้ไปทำงานยังธุรกิจอื่นของจำเลยและบริษัทในเครือ การไม่ได้เจาะจงเลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ ลักษณะงานในหน่วยงานด้านพัฒนาธุรกิจโรงงานแปรรูปที่อ้างว่ามีโจทก์ทำงานเพียงคนเดียวและไม่มีงานที่จะต้องทำแต่จำเลยให้โจทก์มาทำงานโดยจ่ายค่าจ้างเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวทั้งสิ้น ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกันแล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยเท่านั้น โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการทำคำพิพากษาที่กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป และไม่ได้แสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏในประเด็นแห่งคดี พร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 252 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคสอง และเห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงใหม่เสียก่อน แล้วพิพากษาตามรูปคดีต่อไป ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) มาตรา 246 และมาตรา 252 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคสอง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์อีกต่อไป
พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ และให้ย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือ และต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ ประการแรก ต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สอง จะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง และประการที่สาม คำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่
ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 2,480,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีแรงงานพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เคยทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลยตั้งแต่ปี 2544 โจทก์ถูกโอนย้ายไปทำงานกับบริษัทอื่น ๆ อีกหลายแห่งจนมาทำงานกับจำเลยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้ชำนาญการด้านโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ หน่วยงานด้านพัฒนาธุรกิจโรงงานแปรรูป ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 77,500 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 25 ของเดือน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลเป็นการเลิกจ้างในวันที่ 1 มกราคม 2563 โดยจ่ายค่าชดเชย 775,000 บาท และค่าตอบแทนพิเศษจำนวน 3 เท่าของค่าจ้าง จำนวน 232,500 บาท รวมเป็นเงิน 1,007,500 บาท แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ลักษณะงานในหน่วยงานที่โจทก์ทำอยู่มีการซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น มีผลให้บุคลากรล้นงาน จำเลยพยายามหาทางโยกย้ายโจทก์ให้ไปทำงานยังธุรกิจอื่นของจำเลยและบริษัทในเครือ แต่ไม่มีหน่วยงานหรือธุรกิจใดรองรับโจทก์ได้ จำเลยโยกย้ายลูกจ้างบางส่วนไปยังธุรกิจอื่นของจำเลยและเจรจาเลิกจ้างลูกจ้างไปบางส่วน ไม่ได้เจาะจงเลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ โจทก์อยู่ในหน่วยงานด้านพัฒนาธุรกิจโรงงานแปรรูปเพียงคนเดียวและไม่มีงานที่จะต้องทำ แต่จำเลยให้โจทก์มาทำงานโดยจ่ายค่าจ้างเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจการบริหารงานและดำเนินกิจการของจำเลยในการประกอบธุรกิจเพื่อความเหมาะสมและอยู่รอด ไม่ถือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
มีปัญหาต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่า คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้ทำเป็นหนังสือและต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น” ซึ่งหมายความว่า ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือและในคำพิพากษาหรือคำสั่งที่เป็นหนังสือนั้นจะต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรกต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สองจะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง และประการที่สามคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้น จะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากเห็นว่าการปรับโครงสร้างการบริหารงานของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจการบริหารงานและดำเนินกิจการของจำเลยในการประกอบธุรกิจเพื่อความเหมาะสมและอยู่รอด ไม่ถือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์นั้น ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ลักษณะงานในหน่วยงานที่โจทก์ทำอยู่มีการซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น มีผลให้บุคลากรล้นงาน การพยายามหาทางแก้ไขโดยโยกย้ายโจทก์ให้ไปทำงานยังธุรกิจอื่นของจำเลยและบริษัทในเครือ การไม่ได้เจาะจงเลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ ลักษณะงานในหน่วยงานด้านพัฒนาธุรกิจโรงงานแปรรูปที่อ้างว่ามีโจทก์ทำงานเพียงคนเดียวและไม่มีงานที่จะต้องทำแต่จำเลยให้โจทก์มาทำงานโดยจ่ายค่าจ้างเป็นเวลาถึง 1 ปีเศษ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวทั้งสิ้น ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกันแล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยเท่านั้น โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการทำคำพิพากษาที่กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุป และไม่ได้แสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏในประเด็นแห่งคดี พร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 252 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคสอง และเห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงใหม่เสียก่อน แล้วพิพากษาตามรูปคดีต่อไป ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) มาตรา 246 และมาตรา 252 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคสอง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์อีกต่อไป
พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ และให้ย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัตินิยามความหมายคำว่า "การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์" ไว้เป็นการเฉพาะ การตีความความหมายของคำดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้ศาลไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีกิจการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย เนื่องจากผลของการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมไม่อาจกระทบกระเทือนต่อกิจการที่ได้กระทำไปจนเสร็จสิ้นก่อนแล้วเช่นเดียวกัน การที่มาตรา 110 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีของผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว ได้ให้ความหมายของคำว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326 วรรคห้า ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามเช็คที่ผู้ร้องนำส่งตามหนังสือแจ้งอายัดที่พิพาทนี้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 กำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังกล่าว คือวันที่ 5 มิถุนายน 2563 จำเลยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ถือว่าการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลแรงงานกลางไม่จำเป็นต้องงดการบังคับคดีไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (5)
ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า หากผู้คัดค้านสละสิทธิในการบังคับคดีหรือไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องบังคับคดีต่อไปนั้น เนื่องจากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 327 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวถอนการบังคับคดีให้ผู้ยื่นคำร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 324 หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา 326 ทราบโดยไม่ชักช้า...." ดังนั้น หากมีการถอนการบังคับคดีจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ
เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัตินิยามความหมายคำว่า "การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์" ไว้เป็นการเฉพาะ การตีความความหมายของคำดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 90/12 (5) ที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้ศาลไม่จำต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณีที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการนั้น คงต้องพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีกิจการที่ได้กระทำไปแล้วหากมีกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย เนื่องจากผลของการล้มละลายหรือการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมไม่อาจกระทบกระเทือนต่อกิจการที่ได้กระทำไปจนเสร็จสิ้นก่อนแล้วเช่นเดียวกัน การที่มาตรา 110 วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีของผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว ได้ให้ความหมายของคำว่า การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 326 วรรคห้า ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอเฉลี่ยทรัพย์ ในกรณีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามเช็คที่ผู้ร้องนำส่งตามหนังสือแจ้งอายัดที่พิพาทนี้ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 กำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังกล่าว คือวันที่ 5 มิถุนายน 2563 จำเลยยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันชำระเงิน ถือว่าการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบว่าได้มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลแรงงานกลางไม่จำเป็นต้องงดการบังคับคดีไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12 (5)
ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า หากผู้คัดค้านสละสิทธิในการบังคับคดีหรือไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องบังคับคดีต่อไปนั้น เนื่องจากตาม ป.วิ.พ. มาตรา 327 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวถอนการบังคับคดีให้ผู้ยื่นคำร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 324 หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา 326 ทราบโดยไม่ชักช้า...." ดังนั้น หากมีการถอนการบังคับคดีจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในส่วนนี้มาจึงไม่ชอบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มาตรา 7 วรรคสอง กำหนดว่า อัตราดอกเบี้ยอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนทุกสามปี แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังมิได้กำหนดกรณีดังกล่าวไว้ในคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาตรา 246 และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มาตรา 7 วรรคสอง กำหนดว่า อัตราดอกเบี้ยอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนทุกสามปี แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังมิได้กำหนดกรณีดังกล่าวไว้ในคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาตรา 246 และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
การร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม) ศาลมีอำนาจที่จะขยายหรือย่นระยะเวลาได้โดยคู่ความไม่จำต้องร้องขอ เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 13 พฤศจิกายน 2543 คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2546 ต่อมาโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยรวมถึงหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 141813 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง การดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยังอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี แต่ศาลกำหนดนัดไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาภายหลังรับคำร้องนานเกือบ 3 เดือน แล้วมีคำสั่งอนุญาตเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งล่วงเลยระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว นับได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ แต่ระยะเวลาบังคับคดีได้สิ้นสุดลงในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิดังกล่าว ทำให้ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงมีเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ต้องถือว่าศาลมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปแล้ว บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 141813 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ จ. เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามที่ศาลชั้นต้นให้ขยาย กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการยึด
การร้องขอให้บังคับคดีซึ่งต้องกระทำภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม) ศาลมีอำนาจที่จะขยายหรือย่นระยะเวลาได้โดยคู่ความไม่จำต้องร้องขอ เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 13 พฤศจิกายน 2543 คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2546 ต่อมาโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยรวมถึงหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 141813 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง การดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยังอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี แต่ศาลกำหนดนัดไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาภายหลังรับคำร้องนานเกือบ 3 เดือน แล้วมีคำสั่งอนุญาตเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งล่วงเลยระยะเวลาการบังคับคดีแล้ว นับได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ แต่ระยะเวลาบังคับคดีได้สิ้นสุดลงในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอสวมสิทธิดังกล่าว ทำให้ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายระยะเวลาบังคับคดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงมีเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ต้องถือว่าศาลมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปแล้ว บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 141813 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย ซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ จ. เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามที่ศาลชั้นต้นให้ขยาย กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการยึด
แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องให้ชัดเจนว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ให้รับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ทำการเป็นตัวแทนหรือทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด ซึ่งสหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 37 วรรคสอง และโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ความเกี่ยวพันระหว่างสหกรณ์ น. กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งสองทาง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดทั้งในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนและในมูลละเมิด แม้ว่าโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าในวันที่ 20 ธันวาคม 2555 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดของโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือในฐานะตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 นั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 กระทำการฝ่าฝืนระเบียบสหกรณ์ น. ในวันที่ 17 มิถุนายน 2552 โดยการทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อและมิได้ให้บริษัท ภ. จัดหาหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามระเบียบ เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันชำระเงิน 60,309,065.34 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 48,834,265 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่สหกรณ์ น.
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 21 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 11 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 8 ศาลชั้นต้นอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 8 ออกจากสารบบความ และจำเลยที่ 11 ถึงแก่ความตาย นาย ธ. ทายาทของจำเลยที่ 11 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า สหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสมาชิกโดยวิธีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวบรวมผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์และบริการแก่สมาชิกมาจัดการขาย หรือแปรรูปออกขาย โดยซื้อหรือรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกก่อนผู้อื่น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายทะเบียนสหกรณ์ โจทก์เป็นรองนายทะเบียนสหกรณ์ โจทก์มีอำนาจดำเนินคดีแทนสหกรณ์ น. ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรรมการ ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย และสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 21 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุดที่ 21 ถึงชุดที่ 23 มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2551 สหกรณ์ น. ออกระเบียบว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก พ.ศ. 2551 ข้อ 15 กำหนดว่า “ถ้าจำเป็นต้องขายเงินเชื่อ ให้ผู้ซื้อทำสัญญาไว้กับสหกรณ์ และจะต้องให้ธนาคารค้ำประกันเงินเชื่อนั้น” เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2552 ซึ่งอยู่ในช่วงคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุดที่ 21 ถึงชุดที่ 23 คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ได้ทำบันทึกข้อตกลงขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อ โดยไม่มีการเรียกหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ต่อมาบริษัท ภ. ผิดนัดชำระหนี้ สหกรณ์ได้ยื่นฟ้องบริษัท ภ. ต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 227 - 228/2554 บริษัท ภ. ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยขอผ่อนชำระหนี้แก่สหกรณ์และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แต่บริษัทดังกล่าวไม่ชำระหนี้แก่สหกรณ์ สหกรณ์ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีต่อไป บริษัท ภ. มีหนี้ค้างชำระแก่สหกรณ์คำนวณถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นเงิน 48,834,265 บาท และดอกเบี้ย 11,120,250.20 บาท รวมเป็นเงิน 59,954,515.20 บาท และค้างชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 354,550.14 บาท เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561 โจทก์แต่งตั้งผู้ตรวจการสหกรณ์ทำการตรวจสอบกิจการสหกรณ์ และวันที่ 1 เมษายน 2562 โจทก์มีคำสั่งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาผู้รับผิดชอบและฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำผิดระเบียบ แต่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุดที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบสหกรณ์ น. ว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก พ.ศ. 2551 โดยการทำสัญญาขายปาล์มน้ำมันแก่บริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อ แต่ไม่ได้ให้บริษัทดังกล่าวนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาเป็นหลักประกันไว้แก่สหกรณ์ ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 21 โจทก์มิใช่ตัวแทนหรือผู้ใช้อำนาจทำการแทนนิติบุคคลตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 กระทำละเมิดทำให้สหกรณ์ น. ได้รับความเสียหาย จึงไม่อาจนำอายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ กรณีต้องนำอายุความ 10 ปี อันเป็นบทบัญญัติอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มาใช้ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้อันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ น. ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของสหกรณ์ว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก พ.ศ. 2551 โดยทำสัญญาขายปาล์มน้ำมันแก่บริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อโดยไม่ได้ให้บริษัทดังกล่าวจัดให้มีธนาคารค้ำประกันเงินเชื่อนั้น เป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์แจ้งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาผู้รับผิดชอบในกรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวและฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย แต่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการ โจทก์ในฐานะเป็นรองนายทะเบียนสหกรณ์จึงฟ้องคดีแทนสหกรณ์ น. ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องให้ชัดเจนว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ให้รับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ทำการเป็นตัวแทนหรือทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด ซึ่งสหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 37 วรรคสอง และโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ดังนั้น ความเกี่ยวพันระหว่างสหกรณ์ น. กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 บัญญัติให้ตัวแทนจะต้องรับผิดถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ เพราะความประมาทเลินเล่อของตัวแทน เพราะไม่ทำการเป็นตัวแทน หรือเพราะทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งสองทาง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดทั้งในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนและในมูลละเมิด ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าในวันที่ 20 ธันวาคม 2555 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 นั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 กระทำการฝ่าฝืนระเบียบสหกรณ์ น. ในวันที่ 17 มิถุนายน 2552 โดยการทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อและมิได้ให้บริษัท ภ. จัดหาหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามระเบียบ เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 11 ว่า สหกรณ์ น. ได้ฟ้องบริษัท ภ. ให้ชำระหนี้ค่าปาล์มน้ำมันต่อศาลชั้นต้น และบริษัทดังกล่าวทำสัญญาประนีประนอมยอมความขอผ่อนชำระหนี้แก่สหกรณ์ ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แม้บริษัท ภ. จะไม่ชำระหนี้แก่สหกรณ์ สหกรณ์ก็สามารถบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวได้อยู่แล้ว ความเสียหายของสหกรณ์จึงหมดไป โจทก์ไม่อาจมาฟ้องจำเลยที่ 11 กับพวกได้อีกนั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคดีนี้แทนสหกรณ์ น. เพื่อบังคับให้ชำระค่าเสียหายแก่สหกรณ์อันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ในฐานะคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบของสหกรณ์ในการทำสัญญาขายปาล์มน้ำมันแก่บริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อ โดยไม่ได้ให้บริษัทดังกล่าวจัดหาธนาคารมาค้ำประกันการขายเงินเชื่อนั้น ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหายเพราะไม่ได้รับชำระหนี้ แม้สหกรณ์ได้ฟ้องบริษัท ภ. ให้ชำระหนี้และบริษัทดังกล่าวทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลขอผ่อนชำระหนี้แก่สหกรณ์แล้วก็ตาม แต่บริษัทดังกล่าวผิดนัดชำระหนี้ โดยยังค้างชำระหนี้แก่สหกรณ์อีกหลายสิบล้านบาท เมื่อสหกรณ์ยังเสียหายเพราะไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน โจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนสหกรณ์โดยนำคดีมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 11 กับพวก ที่ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหายได้ คำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 11 ฟังไม่ขึ้น
เนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่สหกรณ์ น. เพียงใด เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยก่อน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. ฝ่าฝืนระเบียบ ทำให้สหกรณ์ น. ได้รับความเสียหาย เพราะบริษัท ภ. ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นเต็มจำนวน โดยยังคงมีหนี้ค้างชำระ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นเงิน 48,834,265 บาท ดอกเบี้ย 11,120,250.20 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 354,550.14 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 60,309,065.34 บาท และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 มิได้ให้การปฏิเสธจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า สหกรณ์ น. ได้รับความเสียหายตามจำนวนหนี้ที่บริษัท ภ. ค้างชำระในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายดังกล่าวแก่สหกรณ์ น. แต่ที่โจทก์ขอดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องนั้น ปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมคดีหมายเลขแดงที่ 227 - 228/2554 ของศาลชั้นต้น ว่า บริษัท ภ. ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี เมื่อความเสียหายที่สหกรณ์ น. ได้รับ คือจำนวนหนี้ที่บริษัท ภ. ค้างชำระในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องรับผิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี และหากภายหลังสหกรณ์ น. ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ภ. ในคดีดังกล่าวเพียงใด ก็ต้องนำมาหักจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ต้องรับผิดในคดีนี้ด้วย
พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ร่วมกันชำระเงิน 60,309,065.34 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี ของต้นเงิน 48,834,265 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 14 มิถุนายน 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่สหกรณ์ น. ทั้งนี้ หากภายหลังวันฟ้องดังกล่าวสหกรณ์ น. ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ภ. เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำมาหักออกและบังคับได้เฉพาะส่วนที่ยังค้างชำระเท่านั้น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องให้ชัดเจนว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ให้รับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ทำการเป็นตัวแทนหรือทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด ซึ่งสหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 37 วรรคสอง และโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ความเกี่ยวพันระหว่างสหกรณ์ น. กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งสองทาง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดทั้งในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนและในมูลละเมิด แม้ว่าโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าในวันที่ 20 ธันวาคม 2555 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดของโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือในฐานะตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 นั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 กระทำการฝ่าฝืนระเบียบสหกรณ์ น. ในวันที่ 17 มิถุนายน 2552 โดยการทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อและมิได้ให้บริษัท ภ. จัดหาหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามระเบียบ เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันชำระเงิน 60,309,065.34 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 48,834,265 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่สหกรณ์ น.
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 21 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 11 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 8 ศาลชั้นต้นอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 8 ออกจากสารบบความ และจำเลยที่ 11 ถึงแก่ความตาย นาย ธ. ทายาทของจำเลยที่ 11 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า สหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสมาชิกโดยวิธีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวบรวมผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์และบริการแก่สมาชิกมาจัดการขาย หรือแปรรูปออกขาย โดยซื้อหรือรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกก่อนผู้อื่น อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายทะเบียนสหกรณ์ โจทก์เป็นรองนายทะเบียนสหกรณ์ โจทก์มีอำนาจดำเนินคดีแทนสหกรณ์ น. ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ กรรมการ ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย และสหกรณ์ไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 21 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุดที่ 21 ถึงชุดที่ 23 มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2551 สหกรณ์ น. ออกระเบียบว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก พ.ศ. 2551 ข้อ 15 กำหนดว่า “ถ้าจำเป็นต้องขายเงินเชื่อ ให้ผู้ซื้อทำสัญญาไว้กับสหกรณ์ และจะต้องให้ธนาคารค้ำประกันเงินเชื่อนั้น” เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2552 ซึ่งอยู่ในช่วงคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุดที่ 21 ถึงชุดที่ 23 คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ได้ทำบันทึกข้อตกลงขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อ โดยไม่มีการเรียกหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ต่อมาบริษัท ภ. ผิดนัดชำระหนี้ สหกรณ์ได้ยื่นฟ้องบริษัท ภ. ต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 227 - 228/2554 บริษัท ภ. ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยขอผ่อนชำระหนี้แก่สหกรณ์และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แต่บริษัทดังกล่าวไม่ชำระหนี้แก่สหกรณ์ สหกรณ์ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีต่อไป บริษัท ภ. มีหนี้ค้างชำระแก่สหกรณ์คำนวณถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นเงิน 48,834,265 บาท และดอกเบี้ย 11,120,250.20 บาท รวมเป็นเงิน 59,954,515.20 บาท และค้างชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 354,550.14 บาท เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561 โจทก์แต่งตั้งผู้ตรวจการสหกรณ์ทำการตรวจสอบกิจการสหกรณ์ และวันที่ 1 เมษายน 2562 โจทก์มีคำสั่งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาผู้รับผิดชอบและฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำผิดระเบียบ แต่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ชุดที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบสหกรณ์ น. ว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก พ.ศ. 2551 โดยการทำสัญญาขายปาล์มน้ำมันแก่บริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อ แต่ไม่ได้ให้บริษัทดังกล่าวนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาเป็นหลักประกันไว้แก่สหกรณ์ ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 21 โจทก์มิใช่ตัวแทนหรือผู้ใช้อำนาจทำการแทนนิติบุคคลตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 กระทำละเมิดทำให้สหกรณ์ น. ได้รับความเสียหาย จึงไม่อาจนำอายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ กรณีต้องนำอายุความ 10 ปี อันเป็นบทบัญญัติอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 มาใช้ คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้อันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ น. ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของสหกรณ์ว่าด้วยการรวบรวมผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของสมาชิก พ.ศ. 2551 โดยทำสัญญาขายปาล์มน้ำมันแก่บริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อโดยไม่ได้ให้บริษัทดังกล่าวจัดให้มีธนาคารค้ำประกันเงินเชื่อนั้น เป็นเหตุให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์แจ้งให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาผู้รับผิดชอบในกรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวและฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลที่ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย แต่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการ โจทก์ในฐานะเป็นรองนายทะเบียนสหกรณ์จึงฟ้องคดีแทนสหกรณ์ น. ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องให้ชัดเจนว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ให้รับผิดในความเสียหายจากการกระทำละเมิด หรือให้รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ทำการเป็นตัวแทนหรือทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด ซึ่งสหกรณ์ น. เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 37 วรรคสอง และโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์และเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงเป็นผู้แทนสหกรณ์ น. ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 51 ดังนั้น ความเกี่ยวพันระหว่างสหกรณ์ น. กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 บัญญัติให้ตัวแทนจะต้องรับผิดถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ เพราะความประมาทเลินเล่อของตัวแทน เพราะไม่ทำการเป็นตัวแทน หรือเพราะทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งสองทาง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดทั้งในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือตัวแทนและในมูลละเมิด ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าในวันที่ 20 ธันวาคม 2555 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 รับผิดในฐานะผู้แทนนิติบุคคลหรือในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ประกอบมาตรา 812 นั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 กระทำการฝ่าฝืนระเบียบสหกรณ์ น. ในวันที่ 17 มิถุนายน 2552 โดยการทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อและมิได้ให้บริษัท ภ. จัดหาหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามระเบียบ เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 11 ว่า สหกรณ์ น. ได้ฟ้องบริษัท ภ. ให้ชำระหนี้ค่าปาล์มน้ำมันต่อศาลชั้นต้น และบริษัทดังกล่าวทำสัญญาประนีประนอมยอมความขอผ่อนชำระหนี้แก่สหกรณ์ ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แม้บริษัท ภ. จะไม่ชำระหนี้แก่สหกรณ์ สหกรณ์ก็สามารถบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวได้อยู่แล้ว ความเสียหายของสหกรณ์จึงหมดไป โจทก์ไม่อาจมาฟ้องจำเลยที่ 11 กับพวกได้อีกนั้น เห็นว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 เป็นคดีนี้แทนสหกรณ์ น. เพื่อบังคับให้ชำระค่าเสียหายแก่สหกรณ์อันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ในฐานะคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบของสหกรณ์ในการทำสัญญาขายปาล์มน้ำมันแก่บริษัท ภ. เป็นเงินเชื่อ โดยไม่ได้ให้บริษัทดังกล่าวจัดหาธนาคารมาค้ำประกันการขายเงินเชื่อนั้น ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหายเพราะไม่ได้รับชำระหนี้ แม้สหกรณ์ได้ฟ้องบริษัท ภ. ให้ชำระหนี้และบริษัทดังกล่าวทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลขอผ่อนชำระหนี้แก่สหกรณ์แล้วก็ตาม แต่บริษัทดังกล่าวผิดนัดชำระหนี้ โดยยังค้างชำระหนี้แก่สหกรณ์อีกหลายสิบล้านบาท เมื่อสหกรณ์ยังเสียหายเพราะไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน โจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนสหกรณ์โดยนำคดีมาฟ้องบังคับจำเลยที่ 11 กับพวก ที่ทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหายได้ คำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 11 ฟังไม่ขึ้น
เนื่องจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่สหกรณ์ น. เพียงใด เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยก่อน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายปาล์มน้ำมันกับบริษัท ภ. ฝ่าฝืนระเบียบ ทำให้สหกรณ์ น. ได้รับความเสียหาย เพราะบริษัท ภ. ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นเต็มจำนวน โดยยังคงมีหนี้ค้างชำระ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นเงิน 48,834,265 บาท ดอกเบี้ย 11,120,250.20 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 354,550.14 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 60,309,065.34 บาท และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 มิได้ให้การปฏิเสธจำนวนค่าเสียหายดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า สหกรณ์ น. ได้รับความเสียหายตามจำนวนหนี้ที่บริษัท ภ. ค้างชำระในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายดังกล่าวแก่สหกรณ์ น. แต่ที่โจทก์ขอดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องนั้น ปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมคดีหมายเลขแดงที่ 227 - 228/2554 ของศาลชั้นต้น ว่า บริษัท ภ. ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี เมื่อความเสียหายที่สหกรณ์ น. ได้รับ คือจำนวนหนี้ที่บริษัท ภ. ค้างชำระในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 จึงต้องรับผิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี และหากภายหลังสหกรณ์ น. ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ภ. ในคดีดังกล่าวเพียงใด ก็ต้องนำมาหักจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ต้องรับผิดในคดีนี้ด้วย
พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 21 ร่วมกันชำระเงิน 60,309,065.34 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี ของต้นเงิน 48,834,265 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 14 มิถุนายน 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่สหกรณ์ น. ทั้งนี้ หากภายหลังวันฟ้องดังกล่าวสหกรณ์ น. ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ภ. เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำมาหักออกและบังคับได้เฉพาะส่วนที่ยังค้างชำระเท่านั้น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
จำเลยนำแบบพิมพ์แจ้งการจ้างคนต่างด้าว ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการมากรอกข้อความขึ้นเองและลงลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 4 เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่เอกชนทำขึ้นเพื่อยื่นต่อทางราชการ เจ้าพนักงานมิได้เป็นผู้ทำเอกสาร และมิใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่ใช่เอกสารราชการ จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารธรรมดาและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น
จำเลยนำแบบพิมพ์แจ้งการจ้างคนต่างด้าว ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการมากรอกข้อความขึ้นเองและลงลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 4 เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่เอกชนทำขึ้นเพื่อยื่นต่อทางราชการ เจ้าพนักงานมิได้เป็นผู้ทำเอกสาร และมิใช่เอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่ใช่เอกสารราชการ จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารธรรมดาและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานและการทำละเมิดต่อโจทก์มาด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานและกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องชำระเงินค่าสินค้าเกินกว่าราคาที่แท้จริงในอัตราร้อยละ 3 จำเลยจึงต้องรับผิดชอบค่าเสียหายในส่วนที่จำเลยเรียกรับจากบริษัท อ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ห. จึงหาได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานและการทำละเมิดต่อโจทก์มาด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานและกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องชำระเงินค่าสินค้าเกินกว่าราคาที่แท้จริงในอัตราร้อยละ 3 จำเลยจึงต้องรับผิดชอบค่าเสียหายในส่วนที่จำเลยเรียกรับจากบริษัท อ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ห. จึงหาได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
ภายหลังจากศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาแล้ว ได้มี พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ประกาศใช้บังคับ โดยมาตรา 134 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ยังคงบัญญัติให้ผู้แข่งรถในทางเป็นความผิดอยู่ และมาตรา 134/1 ที่แก้ไขเพิ่มเติมยังคงบัญญัติให้ผู้จัด หรือส่งเสริมให้มีการแข่งรถในทางเป็นความผิด กฎหมายใหม่จึงไม่ได้ยกเลิกความผิดตามมาตรา 134 วรรคหนึ่งและวรรคสอง (เดิม) แต่อัตราโทษตามมาตรา 160 ทวิ วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่ากฎหมายเดิม และโทษตามมาตรา 160 ทวิ วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษจำคุกและปรับสูงกว่ากฎหมายเดิม ดังนั้น โทษตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 17 ส่วนการที่บทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (ที่แก้ไขใหม่) มีส่วนที่เป็นคุณในเรื่องการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ที่บัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ซึ่งเป็นคุณกว่าบทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (เดิม) ที่บัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนโดยไม่ได้กำหนดเวลาสิ้นสุดไว้ แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวของจำเลย จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้บทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (ที่แก้ไขใหม่) มีส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย แต่ก็ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่จำเลยได้
ภายหลังจากศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาแล้ว ได้มี พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ประกาศใช้บังคับ โดยมาตรา 134 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ยังคงบัญญัติให้ผู้แข่งรถในทางเป็นความผิดอยู่ และมาตรา 134/1 ที่แก้ไขเพิ่มเติมยังคงบัญญัติให้ผู้จัด หรือส่งเสริมให้มีการแข่งรถในทางเป็นความผิด กฎหมายใหม่จึงไม่ได้ยกเลิกความผิดตามมาตรา 134 วรรคหนึ่งและวรรคสอง (เดิม) แต่อัตราโทษตามมาตรา 160 ทวิ วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่ากฎหมายเดิม และโทษตามมาตรา 160 ทวิ วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษจำคุกและปรับสูงกว่ากฎหมายเดิม ดังนั้น โทษตามกฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 17 ส่วนการที่บทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (ที่แก้ไขใหม่) มีส่วนที่เป็นคุณในเรื่องการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ที่บัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ซึ่งเป็นคุณกว่าบทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (เดิม) ที่บัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนโดยไม่ได้กำหนดเวลาสิ้นสุดไว้ แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวของจำเลย จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้บทบัญญัติมาตรา 160 ทวิ (ที่แก้ไขใหม่) มีส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย แต่ก็ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่จำเลยได้
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์โดยรับเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อไว้โดยสุจริต เมื่อกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อยังเป็นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ทั้งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังจากทราบว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดมูลฐาน ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งรถยนต์ที่ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อได้ แต่การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานมาชำระเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาจึงไม่ชอบที่จะคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เสียทีเดียว แต่ชอบที่จะคืนเงินลงทุนที่ยังเหลืออยู่ภายหลังหักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดนั้นชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 แล้ว โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต้องดำเนินการขายทอดตลาดรถยนต์ แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินเงินลงทุนที่ยังขาดอยู่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้หักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ตกเป็นของแผ่นดิน ส่วนที่เหลือ (หากมี) ให้คืนแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 นั้น เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะเท่ากับเป็นการให้ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ในระหว่างเช่าซื้อโดยไม่เสียค่าตอบแทน เป็นการเสียหายแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามบัญชีรายการทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 51
ผู้คัดค้านทั้งสี่ ยื่นคำคัดค้านทำนองเดียวกันขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ทรัพย์สิน 4 รายการ พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้นำรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้าและรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้ออีซูซุ ออกขายทอดตลาด แล้วให้หักเงินจำนวน 365,267.22 บาท และ 850,368.06 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน ส่วนที่เหลือ (หากมี) ให้คืนแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ตามลำดับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองและที่คู่ความทุกฝ่ายมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ลักลอบค้าสัตว์ป่า (ตัวนิ่ม) โดยเป็นเครือข่ายเกี่ยวข้องกับนายสุริยชัยหรือถัง ซึ่งเป็นนายทุนลักลอบค้าไม้พะยูงและลักลอบค้าสัตว์ป่า (ตัวนิ่ม) โดยทำหน้าที่จัดหาตัวนิ่มและรถยนต์บรรทุกตัวนิ่ม และได้ใช้บัญชีของบุคคลอื่นในการโอนเงิน รับโอนเงิน เพื่อปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามตรวจยึดทรัพย์สินได้ อันเป็นการกระทำซึ่งเป็นความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (ตัวนิ่ม) โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อันเป็นความผิดมูลฐานและเป็นความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 3 (15) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ต่อมาเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้วเป็นกรณีมีหลักฐานเชื่อว่าทรัพย์สินทั้ง 4 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 1,156,000 บาท พร้อมดอกผล เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และมีมติเห็นชอบให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินส่งเรื่องให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับแหวนเพชร 2 วง ทรัพย์สินรายการที่ 3 และที่ 4 ยุติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทรัพย์สินทั้งสองรายการดังกล่าวนี้ตกเป็นของแผ่นดิน
คดีมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ขายทอดตลาดรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้ออีซูซุ แล้วให้หักเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระเป็นเงินดาวน์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ทั้งสองคันเป็นเงิน 365,267.22 บาท และ 850,368.06 บาท ตามลำดับ ให้ตกเป็นของแผ่นดินชอบหรือไม่ เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งประกอบกิจการให้เช่าซื้อรถยนต์แก่บุคคลทั่วไป และจากผู้คัดค้านที่ 4 ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้จากการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง (ตัวนิ่ม) ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ ยึดถือ หรือครอบครองทรัพยากรธรรมชาติหรือกระบวนการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันมีลักษณะเป็นการค้ามาชำระเงินดาวน์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายงวดเดือนแต่ละเดือนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ก็ตาม แต่กรณีเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อและรับเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อนั้นไว้โดยสุจริตไม่ทราบว่าผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าวมาชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เมื่อกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อยังเป็นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ทั้งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 และวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ภายหลังจากที่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ทราบว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งรถยนต์ที่ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อดังกล่าวได้ แต่การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นมาชำระเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาแก่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเงิน 365,267.22 บาท และ 850,368.06 บาท ตามลำดับ เช่นนี้จึงไม่ชอบที่จะคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เสียทีเดียวได้ แต่ชอบที่จะคืนเงินลงทุนที่ยังเหลืออยู่ภายหลังหักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดนั้นชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 แล้ว เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 กับผู้คัดค้านที่ 1 รถยนต์ที่ให้เช่าซื้อนั้นมีราคาเงินสดหักเงินดาวน์แล้วผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ใช้เงินลงทุนในการให้เช่าซื้อรถยนต์แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเงิน 704,908.41 บาท และ 643,229.91 บาท ตามลำดับ โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไป ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิเรียกเก็บจากผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 แล้วบางส่วน ในส่วนที่ยังขาดอยู่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิได้รับคืนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสาม อยู่แล้ว ซึ่งเมื่อการเช่าซื้อมีกำหนดระยะเวลาชำระเป็นงวดรายเดือน 72 งวด และ 60 งวด ตามลำดับ และค่าเช่าซื้อในส่วนที่เป็นราคารถยนต์ที่เช่าซื้องวดละ 12,257.94 บาท และ 12,114.95 บาท ตามลำดับ ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 มาแล้ว 18 งวด และ 50 งวด เป็นเงิน 220,642.92 บาท และ 605,747.50 บาท ตามลำดับ คงเหลือเป็นเงินลงทุนของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ที่ยังขาดอยู่ซึ่งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิจะได้รับ 484,265.49 บาท 37,482.41 บาท จึงต้องคืนราคารถยนต์ที่ให้เช่าซื้อตามสิทธิของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต้องดำเนินการขายทอดตลาดรถยนต์ที่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ให้เช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านที่ 1 แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ไม่เกิน 484,265.49 บาท และ 37,482.41 บาท พร้อมดอกผล ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้หักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ตกเป็นของแผ่นดิน ส่วนที่เหลือ (หากมี) ให้คืนแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ตามลำดับนั้น เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะเท่ากับเป็นการให้ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ในระหว่างเช่าซื้อโดยไม่เสียค่าตอบแทน เป็นการเสียหายแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ที่ให้คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 3 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้หักเงินจำนวน 365,267.22 บาท ที่ได้จากการขายทอดตลาดรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า ตกเป็นของแผ่นดิน ถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา ต้องชำระค่าขึ้นศาล 7,305 บาท แต่ผู้คัดค้านที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้คัดค้านที่ 3
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการขายทอดตลาดรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้ออีซูซุ แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ไม่เกิน 484,265.49 บาท และ 37,482.41 บาท ตามลำดับ หากมีเงินเหลือพร้อมดอกผลให้ตกเป็นของแผ่นดิน คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 3 เสียเกิน 7,305 บาท แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์โดยรับเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อไว้โดยสุจริต เมื่อกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อยังเป็นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ทั้งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ภายหลังจากทราบว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดมูลฐาน ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งรถยนต์ที่ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อได้ แต่การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานมาชำระเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาจึงไม่ชอบที่จะคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เสียทีเดียว แต่ชอบที่จะคืนเงินลงทุนที่ยังเหลืออยู่ภายหลังหักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดนั้นชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 แล้ว โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต้องดำเนินการขายทอดตลาดรถยนต์ แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินเงินลงทุนที่ยังขาดอยู่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้หักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ตกเป็นของแผ่นดิน ส่วนที่เหลือ (หากมี) ให้คืนแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 นั้น เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะเท่ากับเป็นการให้ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ในระหว่างเช่าซื้อโดยไม่เสียค่าตอบแทน เป็นการเสียหายแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามบัญชีรายการทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 51
ผู้คัดค้านทั้งสี่ ยื่นคำคัดค้านทำนองเดียวกันขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ทรัพย์สิน 4 รายการ พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้นำรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้าและรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้ออีซูซุ ออกขายทอดตลาด แล้วให้หักเงินจำนวน 365,267.22 บาท และ 850,368.06 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน ส่วนที่เหลือ (หากมี) ให้คืนแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ตามลำดับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองและที่คู่ความทุกฝ่ายมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ลักลอบค้าสัตว์ป่า (ตัวนิ่ม) โดยเป็นเครือข่ายเกี่ยวข้องกับนายสุริยชัยหรือถัง ซึ่งเป็นนายทุนลักลอบค้าไม้พะยูงและลักลอบค้าสัตว์ป่า (ตัวนิ่ม) โดยทำหน้าที่จัดหาตัวนิ่มและรถยนต์บรรทุกตัวนิ่ม และได้ใช้บัญชีของบุคคลอื่นในการโอนเงิน รับโอนเงิน เพื่อปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามตรวจยึดทรัพย์สินได้ อันเป็นการกระทำซึ่งเป็นความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (ตัวนิ่ม) โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อันเป็นความผิดมูลฐานและเป็นความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 3 (15) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ต่อมาเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้วเป็นกรณีมีหลักฐานเชื่อว่าทรัพย์สินทั้ง 4 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 1,156,000 บาท พร้อมดอกผล เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และมีมติเห็นชอบให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินส่งเรื่องให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับแหวนเพชร 2 วง ทรัพย์สินรายการที่ 3 และที่ 4 ยุติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทรัพย์สินทั้งสองรายการดังกล่าวนี้ตกเป็นของแผ่นดิน
คดีมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ขายทอดตลาดรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้ออีซูซุ แล้วให้หักเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระเป็นเงินดาวน์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ทั้งสองคันเป็นเงิน 365,267.22 บาท และ 850,368.06 บาท ตามลำดับ ให้ตกเป็นของแผ่นดินชอบหรือไม่ เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากผู้คัดค้านที่ 3 ซึ่งประกอบกิจการให้เช่าซื้อรถยนต์แก่บุคคลทั่วไป และจากผู้คัดค้านที่ 4 ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้จากการค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง (ตัวนิ่ม) ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ ยึดถือ หรือครอบครองทรัพยากรธรรมชาติหรือกระบวนการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันมีลักษณะเป็นการค้ามาชำระเงินดาวน์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายงวดเดือนแต่ละเดือนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ก็ตาม แต่กรณีเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อและรับเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อนั้นไว้โดยสุจริตไม่ทราบว่าผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าวมาชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เมื่อกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อยังเป็นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ทั้งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 และวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ภายหลังจากที่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ทราบว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งรถยนต์ที่ให้ผู้คัดค้านที่ 1 เช่าซื้อดังกล่าวได้ แต่การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นมาชำระเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาแก่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเงิน 365,267.22 บาท และ 850,368.06 บาท ตามลำดับ เช่นนี้จึงไม่ชอบที่จะคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เสียทีเดียวได้ แต่ชอบที่จะคืนเงินลงทุนที่ยังเหลืออยู่ภายหลังหักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินที่ได้จากการกระทำความผิดนั้นชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 แล้ว เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 กับผู้คัดค้านที่ 1 รถยนต์ที่ให้เช่าซื้อนั้นมีราคาเงินสดหักเงินดาวน์แล้วผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ใช้เงินลงทุนในการให้เช่าซื้อรถยนต์แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเงิน 704,908.41 บาท และ 643,229.91 บาท ตามลำดับ โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไป ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิเรียกเก็บจากผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 แล้วบางส่วน ในส่วนที่ยังขาดอยู่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิได้รับคืนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสาม อยู่แล้ว ซึ่งเมื่อการเช่าซื้อมีกำหนดระยะเวลาชำระเป็นงวดรายเดือน 72 งวด และ 60 งวด ตามลำดับ และค่าเช่าซื้อในส่วนที่เป็นราคารถยนต์ที่เช่าซื้องวดละ 12,257.94 บาท และ 12,114.95 บาท ตามลำดับ ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 มาแล้ว 18 งวด และ 50 งวด เป็นเงิน 220,642.92 บาท และ 605,747.50 บาท ตามลำดับ คงเหลือเป็นเงินลงทุนของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ที่ยังขาดอยู่ซึ่งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิจะได้รับ 484,265.49 บาท 37,482.41 บาท จึงต้องคืนราคารถยนต์ที่ให้เช่าซื้อตามสิทธิของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต้องดำเนินการขายทอดตลาดรถยนต์ที่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ให้เช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านที่ 1 แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ไม่เกิน 484,265.49 บาท และ 37,482.41 บาท พร้อมดอกผล ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้หักเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ตกเป็นของแผ่นดิน ส่วนที่เหลือ (หากมี) ให้คืนแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ตามลำดับนั้น เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะเท่ากับเป็นการให้ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ในระหว่างเช่าซื้อโดยไม่เสียค่าตอบแทน เป็นการเสียหายแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ที่ให้คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 3 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้หักเงินจำนวน 365,267.22 บาท ที่ได้จากการขายทอดตลาดรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า ตกเป็นของแผ่นดิน ถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา ต้องชำระค่าขึ้นศาล 7,305 บาท แต่ผู้คัดค้านที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้คัดค้านที่ 3
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการขายทอดตลาดรถยนต์กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้ออีซูซุ แล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ไม่เกิน 484,265.49 บาท และ 37,482.41 บาท ตามลำดับ หากมีเงินเหลือพร้อมดอกผลให้ตกเป็นของแผ่นดิน คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 3 เสียเกิน 7,305 บาท แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
สัญญาเช่าข้อ 10.3 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่า สอดคล้องกับข้อ 3.2 ซึ่งกำหนดว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า โดยเหตุจากการกระทำผิดสัญญาของผู้เช่าหรือผู้เช่าขอเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าตกลงให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันได้ทั้งจำนวน นอกจากนี้สัญญาเช่าข้อ 11 ยังระบุว่า เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุครบกำหนดสัญญาแล้ว ไม่มีการต่อสัญญาออกไปตามข้อ 9 หรือโดยการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10 หรือด้วยเหตุอื่นใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้ ข้อ 11.1 ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันที โดยมิจำเป็นต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามีสิทธิครอบครองยึดหน่วง และขนย้ายทรัพย์สินทั้งปวงที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่าออกไป รวมทั้งมีสิทธิดำเนินการให้ผู้อื่นเช่าทรัพย์สินที่เช่าต่อไปด้วย และสัญญาจ้างบริการข้อ 8 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการใช้บริการได้ในกรณีสัญญาจ้างบริการสิ้นสุดโดยเหตุแห่งการผิดสัญญาของจำเลย แสดงให้เห็นว่าหากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยให้จำเลยชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญา แม้ว่าจำเลยจะมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าอีกต่อไป รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ดังนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันตามสัญญาเช่าข้อ 10.3 เมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใดไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างชำระเสมือนหนึ่งเป็นการเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่เลิกกันไปแล้วหาได้ไม่ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่บอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญาโดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 802,547.39 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 769,758.83 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยชำระเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของต้นเงิน 32,788.56 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 426,798.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 411,798.83 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 สิงหาคม 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 71,941.47 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ก. ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในอาคาร ค. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 จำเลยทำสัญญาเช่าพื้นที่ชั้น 10 โซน C2 เนื้อที่ 157 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในอาคาร ค. กับโจทก์ กำหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 อัตราค่าเช่ารายเดือน 228 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร คิดเป็นค่าเช่า 35,796 บาท ต่อเดือน โดยจำเลยวางเงินประกันการเช่า 107,388 บาท นอกจากนี้ จำเลยทำสัญญาจ้างบริการในสำนักงานและอาคารดังกล่าวกับโจทก์ ซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าอาคาร อัตราค่าบริการรายเดือน 152 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร คิดเป็นค่าบริการ 23,864 บาท ต่อเดือน ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจำเลยวางเงินประกันการใช้บริการ 71,592 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 จำเลยมีหนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่และสัญญาจ้างบริการดังกล่าวไปยังโจทก์ โดยที่ยังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าและไม่ใช่ความผิดของโจทก์ และวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่า ค่าบริการ และค่าเสียหายไปยังจำเลย สำหรับค่าเสียหายในส่วนค่าเช่าเดือนมกราคม 2562 จำนวน 35,796 บาท ค่าบริการเดือนมกราคม 2562 จำนวน 23,864 บาท ค่าไฟฟ้าและค่าบริการจอดรถ จำนวน 1,209.67 บาท และ 5,071.80 บาท ตามลำดับ และค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าและค่าบริการตามสัญญาจ้างบริการล่าช้า 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 71,941.47 บาท ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดนั้น คู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ฎีกาโต้แย้ง ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การบอกเลิกสัญญาของจำเลยทำให้สัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการเลิกกันหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดในค่าเช่าและค่าบริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 หรือไม่ เห็นว่า ตามสัญญาเช่า ข้อ 10 เรื่องการเลิกสัญญา ได้กำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาไว้ โดยข้อ 10.1 และ 10.2 กำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาของผู้ให้เช่ากรณีผู้เช่าผิดสัญญาส่วนข้อ 10.3 กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกยกเลิกสัญญานี้ก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่า สอดคล้องกับข้อ 3.2 เรื่องค่าเช่าและเงินประกันการเช่า ซึ่งกำหนดว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า โดยเหตุจากการกระทำผิดสัญญาของผู้เช่าหรือผู้เช่าขอเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าตกลงให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันดังกล่าวได้ทั้งจำนวน นอกจากนี้ตามสัญญาเช่า ข้อ 11 ยังระบุว่า “เมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุครบกำหนดสัญญาแล้ว ไม่มีการต่อสัญญาออกไปตามข้อ 9 หรือโดยการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10 หรือด้วยเหตุอื่นใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง 11.1 ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันทีโดยมิจำเป็นต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามีสิทธิครอบครองยึดหน่วง และขนย้ายทรัพย์สินทั้งปวงที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่าออกไป... รวมทั้งมีสิทธิดำเนินการให้ผู้อื่นเช่าทรัพย์สินที่เช่าต่อไปด้วย...” และสัญญาจ้างบริการ ข้อ 8 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการใช้บริการได้ในกรณีสัญญาจ้างบริการสิ้นสุดโดยเหตุแห่งการผิดสัญญาของจำเลย แสดงให้เห็นว่า หากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นความผิดของโจทก์ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงได้กำหนดค่าเสียหายไว้ โดยให้จำเลยชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญา แม้ว่าจำเลยจะมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าอีกต่อไป รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ประกอบกับนางสาวกุลสรา ผู้จัดการโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิกลับเข้าครอบครองพื้นที่ตามสัญญาเช่า ข้อ 11.1 และนายนิวัฒน์ ซึ่งเป็นบุคลากรในการดูแลบริหารอาคารของโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า ในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2561 พนักงานทุกคนของจำเลยนำคีย์การ์ดที่ใช้ในการเข้าออกอาคารมาคืนแก่พยาน พยานทราบว่ามีการเลิกสัญญาเช่าพื้นที่พิพาทแล้ว จึงรับคีย์การ์ดคืนจากพนักงานของจำเลย หลังจากนั้นพยานก็ไม่เห็นพนักงานของจำเลยเข้ามาในพื้นที่พิพาทและจำเลยก็ไม่ได้ใช้บริการต่าง ๆ ของอาคาร เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ตลอดจนสถานที่จอดรถ ดังนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันตามสัญญาเช่า ข้อ 10.3 เมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างชำระเสมือนหนึ่งเป็นการเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่เลิกกันไปแล้วหาได้ไม่ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่บอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญาโดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ให้จำเลยรับผิดในค่าเช่าและค่าบริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการโดยเห็นว่าเป็นค่าเสียหายที่พอสมควรแล้วนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
สัญญาเช่าข้อ 10.3 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่า สอดคล้องกับข้อ 3.2 ซึ่งกำหนดว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า โดยเหตุจากการกระทำผิดสัญญาของผู้เช่าหรือผู้เช่าขอเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าตกลงให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันได้ทั้งจำนวน นอกจากนี้สัญญาเช่าข้อ 11 ยังระบุว่า เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุครบกำหนดสัญญาแล้ว ไม่มีการต่อสัญญาออกไปตามข้อ 9 หรือโดยการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10 หรือด้วยเหตุอื่นใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้ ข้อ 11.1 ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันที โดยมิจำเป็นต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามีสิทธิครอบครองยึดหน่วง และขนย้ายทรัพย์สินทั้งปวงที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่าออกไป รวมทั้งมีสิทธิดำเนินการให้ผู้อื่นเช่าทรัพย์สินที่เช่าต่อไปด้วย และสัญญาจ้างบริการข้อ 8 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการใช้บริการได้ในกรณีสัญญาจ้างบริการสิ้นสุดโดยเหตุแห่งการผิดสัญญาของจำเลย แสดงให้เห็นว่าหากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยให้จำเลยชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญา แม้ว่าจำเลยจะมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าอีกต่อไป รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ดังนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันตามสัญญาเช่าข้อ 10.3 เมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใดไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างชำระเสมือนหนึ่งเป็นการเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่เลิกกันไปแล้วหาได้ไม่ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่บอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญาโดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 802,547.39 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 769,758.83 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยชำระเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของต้นเงิน 32,788.56 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 426,798.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 411,798.83 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 สิงหาคม 2562) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 15,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงิน 71,941.47 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ก. ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในอาคาร ค. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 จำเลยทำสัญญาเช่าพื้นที่ชั้น 10 โซน C2 เนื้อที่ 157 ตารางเมตร ซึ่งอยู่ในอาคาร ค. กับโจทก์ กำหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 อัตราค่าเช่ารายเดือน 228 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร คิดเป็นค่าเช่า 35,796 บาท ต่อเดือน โดยจำเลยวางเงินประกันการเช่า 107,388 บาท นอกจากนี้ จำเลยทำสัญญาจ้างบริการในสำนักงานและอาคารดังกล่าวกับโจทก์ ซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าอาคาร อัตราค่าบริการรายเดือน 152 บาท ต่อ 1 ตารางเมตร คิดเป็นค่าบริการ 23,864 บาท ต่อเดือน ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจำเลยวางเงินประกันการใช้บริการ 71,592 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 จำเลยมีหนังสือยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่และสัญญาจ้างบริการดังกล่าวไปยังโจทก์ โดยที่ยังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาเช่าและไม่ใช่ความผิดของโจทก์ และวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่า ค่าบริการ และค่าเสียหายไปยังจำเลย สำหรับค่าเสียหายในส่วนค่าเช่าเดือนมกราคม 2562 จำนวน 35,796 บาท ค่าบริการเดือนมกราคม 2562 จำนวน 23,864 บาท ค่าไฟฟ้าและค่าบริการจอดรถ จำนวน 1,209.67 บาท และ 5,071.80 บาท ตามลำดับ และค่าปรับเนื่องจากชำระค่าเช่าและค่าบริการตามสัญญาจ้างบริการล่าช้า 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 71,941.47 บาท ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดนั้น คู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ฎีกาโต้แย้ง ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การบอกเลิกสัญญาของจำเลยทำให้สัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการเลิกกันหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดในค่าเช่าและค่าบริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 หรือไม่ เห็นว่า ตามสัญญาเช่า ข้อ 10 เรื่องการเลิกสัญญา ได้กำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาไว้ โดยข้อ 10.1 และ 10.2 กำหนดสิทธิในการเลิกสัญญาของผู้ให้เช่ากรณีผู้เช่าผิดสัญญาส่วนข้อ 10.3 กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าบอกยกเลิกสัญญานี้ก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องรับผิดชอบชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญาเช่า สอดคล้องกับข้อ 3.2 เรื่องค่าเช่าและเงินประกันการเช่า ซึ่งกำหนดว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดก่อนครบกำหนดระยะเวลาการเช่า โดยเหตุจากการกระทำผิดสัญญาของผู้เช่าหรือผู้เช่าขอเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดระยะเวลา ผู้เช่าตกลงให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันดังกล่าวได้ทั้งจำนวน นอกจากนี้ตามสัญญาเช่า ข้อ 11 ยังระบุว่า “เมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุครบกำหนดสัญญาแล้ว ไม่มีการต่อสัญญาออกไปตามข้อ 9 หรือโดยการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 10 หรือด้วยเหตุอื่นใด ผู้ให้เช่ามีสิทธิดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง 11.1 ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ทันทีโดยมิจำเป็นต้องบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ให้เช่ามีสิทธิครอบครองยึดหน่วง และขนย้ายทรัพย์สินทั้งปวงที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่าออกไป... รวมทั้งมีสิทธิดำเนินการให้ผู้อื่นเช่าทรัพย์สินที่เช่าต่อไปด้วย...” และสัญญาจ้างบริการ ข้อ 8 ยังกำหนดให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการใช้บริการได้ในกรณีสัญญาจ้างบริการสิ้นสุดโดยเหตุแห่งการผิดสัญญาของจำเลย แสดงให้เห็นว่า หากการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นความผิดของโจทก์ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงได้กำหนดค่าเสียหายไว้ โดยให้จำเลยชำระค่าเช่าทั้งหมดตลอดอายุสัญญา แม้ว่าจำเลยจะมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าอีกต่อไป รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ประกอบกับนางสาวกุลสรา ผู้จัดการโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิกลับเข้าครอบครองพื้นที่ตามสัญญาเช่า ข้อ 11.1 และนายนิวัฒน์ ซึ่งเป็นบุคลากรในการดูแลบริหารอาคารของโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า ในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2561 พนักงานทุกคนของจำเลยนำคีย์การ์ดที่ใช้ในการเข้าออกอาคารมาคืนแก่พยาน พยานทราบว่ามีการเลิกสัญญาเช่าพื้นที่พิพาทแล้ว จึงรับคีย์การ์ดคืนจากพนักงานของจำเลย หลังจากนั้นพยานก็ไม่เห็นพนักงานของจำเลยเข้ามาในพื้นที่พิพาทและจำเลยก็ไม่ได้ใช้บริการต่าง ๆ ของอาคาร เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ตลอดจนสถานที่จอดรถ ดังนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าและสัญญาจ้างบริการก่อนหมดอายุสัญญา โดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์ จึงมีผลให้สัญญาเลิกกันตามสัญญาเช่า ข้อ 10.3 เมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแต่อย่างใดไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โจทก์จึงเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างชำระเสมือนหนึ่งเป็นการเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาที่เลิกกันไปแล้วหาได้ไม่ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาของจำเลยที่บอกเลิกสัญญาก่อนหมดอายุสัญญาโดยมิได้เป็นความผิดของโจทก์เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ให้จำเลยรับผิดในค่าเช่าและค่าบริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2562 และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันการเช่าและเงินประกันการใช้บริการโดยเห็นว่าเป็นค่าเสียหายที่พอสมควรแล้วนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ให้ผู้ต้องขังชาย ด. เป็นผู้เขียนอุทธรณ์ และผู้ต้องขังชาย ด. ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียง ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ไว้ท้ายฟ้องอุทธรณ์ โดยผู้ต้องขังชาย ด. มิได้เป็นทนายความ ย่อมถือว่าเป็นการกระทำโดยพลั้งเผลอที่ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงผิดพลาดไป อันจะทำให้ฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ถูกต้อง มีข้อบกพร่องเกิดขึ้น แต่ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ตรวจพบข้อบกพร่องว่ามีบุคคลซึ่งมิได้จดทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้น ตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ที่ให้มีอำนาจเรียงฟ้องอุทธรณ์ เป็นผู้เขียนฟ้องอุทธรณ์และลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงในฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 สั่งให้จำเลยที่ 2 แก้ไขข้อบกพร่องเรื่องดังกล่าวในฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ให้ผู้ต้องขังชาย ด. เป็นผู้เขียนอุทธรณ์ และผู้ต้องขังชาย ด. ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียง ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ไว้ท้ายฟ้องอุทธรณ์ โดยผู้ต้องขังชาย ด. มิได้เป็นทนายความ ย่อมถือว่าเป็นการกระทำโดยพลั้งเผลอที่ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียงผิดพลาดไป อันจะทำให้ฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ถูกต้อง มีข้อบกพร่องเกิดขึ้น แต่ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ตรวจพบข้อบกพร่องว่ามีบุคคลซึ่งมิได้จดทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้น ตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ที่ให้มีอำนาจเรียงฟ้องอุทธรณ์ เป็นผู้เขียนฟ้องอุทธรณ์และลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงในฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 สั่งให้จำเลยที่ 2 แก้ไขข้อบกพร่องเรื่องดังกล่าวในฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้
เมื่อคดีฟังได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ให้บริการในการที่ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์จึงมิได้เป็นตัวกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบำเหน็จ ค่าตอบแทนที่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจ่ายให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ที่คำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดที่โจทก์เรียกว่า Fee and Commission Income Local สำหรับการประกันภัยต่อในประเทศ และเรียกว่า Fee and Commission Income Non Local สำหรับการประกันภัยต่อในต่างประเทศตามอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีอัตราหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเสียหายและความเสี่ยงในแต่ละสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงได้รับเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเป็นค่าตอบแทนเพื่อความเสี่ยงตามสัญญาประกันภัยต่อ และเมื่อโจทก์มิใช่นายหน้าหรือผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร จึงไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นเพียงตัวแปรในวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิตามปกติธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัย และการที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่ง แยกต่างหากจากการทำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต่อจึงอยู่ในฐานะผู้รับบริการ ส่วนผู้รับประกันภัยต่ออยู่ในฐานะผู้ให้บริการ และเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้บริการใด ๆ ต่อผู้รับประกันภัยต่อ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) ดังนั้น ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในประเทศและต่างประเทศจึงมิใช่มูลค่าที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่งกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ถือว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร เมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่อให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโจทก์จึงมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2) ส่วนฐานภาษีที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรวมส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อหรือไม่นั้น ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีเมื่อมีการชำระค่าบริการให้ผู้ประกอบการ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นตัวคำนวณหาค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ มิใช่ส่วนลดที่ผู้รับประกันภัยต่อลดให้โจทก์จากค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่กำหนดไว้แล้ว อันจะนำมาเป็นค่าบริการของผู้รับประกันภัยต่อ เมื่อส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) จึงมิใช่มูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่ต้องนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อดังกล่าวมารวมเป็นฐานภาษีเพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2556 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2557 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2556 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2557 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ยกเลิกการที่จำเลยนำภาษีซื้อยกยอดของโจทก์เป็นจำนวนทั้งหมด 2,482,330.65 บาท มาหักออกจากภาษีขายอันเป็นผลจากการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 (ภพ 73.1)
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2557 และให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว กับให้ยกเลิกการนำภาษีซื้อยกยอดของโจทก์จำนวน 2,482,330.65 บาท มาหักออกจากภาษีขาย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าอุทธรณ์ของจำเลยมีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวด้วย ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจการประกันวินาศภัยทุกประเภท รวมทั้งการรับประกันภัยต่อและการเอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ โจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินทั้ง 48 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 137,182,213.06 บาท วันที่ 17 มีนาคม 2560 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ยกเลิกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม รวม 48 ฉบับ ดังกล่าว เนื่องจากเป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากจะประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 ขอให้งดเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 เนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม และโจทก์ได้ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการด้วยดีตลอดมา วันที่ 19 ตุลาคม 2561 โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ซึ่งมีมติให้ยกอุทธรณ์
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 จนถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 พิพาทรวม 24 ฉบับ ที่ให้โจทก์รับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ปัญหานี้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (10) บัญญัติว่า “บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า...” มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 79/1 ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ...” วรรคสาม บัญญัติว่า “มูลค่าของฐานภาษีไม่ให้รวมถึง (1) ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว... (4) ค่าตอบแทนที่มีลักษณะและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 ได้กำหนดนิยามของคำว่า “ผู้รับประกันภัย” หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ คำว่า “ผู้เอาประกันภัย” หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย กรณีนายหน้า มาตรา 845 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทำสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จ...” และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้กำหนดนิยามของคำว่า “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการนั้น ทางพิจารณาโจทก์มีนายสุเทพ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และนางสาวดวงใจ ผู้จัดการส่วนอาวุโสบัญชีทั่วไป เป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของโจทก์แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 โจทก์ให้บริการประกันวินาศภัยโดยออกกรมธรรม์ประกันวินาศภัยให้แก่ลูกค้าผู้เอาประกันภัย เพื่อคุ้มครองภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย ในส่วนนี้โจทก์จะเป็นผู้ให้บริการประกันวินาศภัย และส่วนที่ 2 กรณีที่จำนวนเงินเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ที่โจทก์ออกให้ลูกค้าสูงเกินที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยลำพังในกรณีที่เกิดภัย โจทก์จะบริหารความเสี่ยงของตนโดยเข้าทำสัญญาประกันภัยต่อ (Reinsurance) กับบริษัทผู้ประกอบกิจการประกันวินาศภัยรายอื่นทั้งที่เป็นบริษัทผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ โดยในกรณีนี้โจทก์จะมีสถานภาพเป็นลูกค้าผู้เอาประกันภัยต่อ (Reinsured หรือ Reassured หรือ Cedant หรือ Ceding Company) ส่วนบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต่อจะเป็นผู้ให้บริการแก่โจทก์ หรือที่เรียกว่า ผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) กรณีที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อ หากเกิดภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้น ผู้รับประกันภัยต่อจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ สำหรับการจ่ายเงินให้กับผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์จะจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ซึ่งมีวิธีการคำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดตามอัตราที่ตกลงกันไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ อันเป็นสูตรในการคำนวณค่าตอบแทนเป็นปกติตามธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัยนี้ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อจึงไม่ใช่ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ และโจทก์ไม่เคยจ่ายเบี้ยประกันภัยต่อในส่วนที่เป็นส่วนลด ส่วนจำเลยมีนางสาวดวงใจ และนางธนัชพร เจ้าพนักงานของจำเลยเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อที่เกิดจากการที่ผู้เอาประกันภัยโดยตรงซื้อประกันภัยจากโจทก์ แล้วโจทก์ในฐานะบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อจะหักส่วนลดจากการประกันภัยต่อไว้แล้วจึงโอนเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ดังนั้นผู้ใช้บริการที่แท้จริงคือผู้เอาประกันภัยโดยตรง เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้น โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจะจ่ายค่าชดเชยให้ผู้เอาประกันภัยโดยตรงไปก่อน และเมื่อได้รับเอกสารแล้วจึงเรียกค่าชดเชยคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงเป็นผู้ให้บริการที่แท้จริง โดยมีโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อเป็นผู้ประกอบการและให้บริการในฐานะตัวกลางในการจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น เมื่อรายการส่วนลดรับเบี้ยประกันภัยต่อในประเทศ โจทก์ระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า Fee and Commission Income Local และส่วนลดรับเบี้ยประกันภัยต่อในต่างประเทศ โจทก์ระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า Fee and Commission Income Non Local ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อจึงมีความหมายว่าเป็นค่านายหน้า ซึ่งเป็นมูลค่าที่โจทก์ในฐานะบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อพึงได้รับจากเบี้ยประกันภัยต่อ ฐานภาษีสำหรับการให้บริการประกันภัยต่อของโจทก์จึงต้องรวมส่วนลดที่ได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรพิเคราะห์แล้ว คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่โจทก์ลงบันทึกในบัญชีแยกประเภท (General Ledger) มาประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเห็นว่าส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นค่าบริการของโจทก์ที่โจทก์ต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี จึงต้องพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้ให้บริการและส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นค่าบริการของโจทก์หรือไม่ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดฐานภาษีสำหรับการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้นิยามความหมายของคำว่า นายหน้า ใจความว่าคือ ผู้ชี้ช่องให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัย โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการชี้ช่องนั้น ที่จำเลยอ้างว่า ระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อเป็นเพียงตัวกลางในการจ่ายค่าชดเชยให้ผู้เอาประกันภัยแทนผู้รับประกันภัยต่อเท่านั้น เห็นว่า เมื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการรับประกันวินาศภัยของโจทก์กับผู้เอาประกันภัย แล้วเห็นได้ว่า โจทก์ให้บริการโดยทำสัญญารับประกันวินาศภัยกับผู้เอาประกันภัย โดยหากเกิดภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย และเมื่อพิจารณาบันทึกถ้อยคำพยานโจทก์ของนายวัชรินทร์ รองกรรมการผู้จัดการด้านการเงินและการบัญชีของบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัยที่ซื้อกรมธรรม์ประกันวินาศภัยจากโจทก์ได้ความว่า บริษัทได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์กรณีเกิดภัยหลายครั้ง เมื่อบริษัทได้รับค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยจากโจทก์แล้ว บริษัทจะออกหนังสือปิดเรื่องให้แก่โจทก์เพื่อแสดงความตกลงยอมรับค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ระบุและยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ขอรับความคุ้มครองความเสียหายเดียวกันจากบริษัทประกันวินาศภัยรายอื่น บริษัทไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ออกให้กับบริษัท เพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์ไม่เคยแสดงออกว่าเป็นนายหน้าตัวแทนหรือคนกลางระหว่างบริษัทกับผู้รับประกันภัยต่อแต่อย่างใด ซึ่งจำเลยเองก็แถลงยอมรับบันทึกถ้อยคำพยานของพยานปากดังกล่าว และไม่ได้โต้แย้งรายละเอียดในบันทึกถ้อยคำพยานและเอกสารเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงฟังได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัยโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเป็นคู่สัญญากับผู้เอาประกันภัยโดยตรง หากเกิดความเสียหายขึ้น โจทก์ต้องผูกพันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัย ส่วนลักษณะการประกอบการระหว่างโจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น โจทก์นำสืบว่า โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการ แต่โจทก์มีสถานภาพเป็นลูกค้าผู้เอาประกันภัยต่อ ในขณะที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นผู้ให้บริการคุ้มครองความเสี่ยงภัยต่อโจทก์ โดยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์กรณีเกิดภัยตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ โดยโจทก์มีบันทึกถ้อยคำพยานที่บันทึกไว้ล่วงหน้าของนายอานนท์ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยประจำปี 2556 ถึงปี 2560 และประจำปี 2562 ถึงปี 2564 ที่อธิบายถึงลักษณะของสัญญาประกันภัยต่อ ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า สถานภาพของบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อเป็นการให้บริการคุ้มครองความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย เมื่อบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยได้เข้าทำสัญญารับประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกค้า แต่พิจารณาแล้วเห็นว่าเงินที่เอาประกันภัยไว้ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยที่ตนออกให้แก่ลูกค้ามีจำนวนที่สูงก็จะกระจายความเสี่ยงบางส่วนไปยังบริษัทประกันวินาศภัยรายอื่นด้วยการเข้าทำสัญญาประกันภัยต่อ โดยบริษัทประกันวินาศภัยที่เป็นบริษัทผู้รับประกันภัยตรงให้แก่ลูกค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นจะกลายเป็นลูกค้า เรียกว่า บริษัทผู้เอาประกันภัยต่อ และบริษัทประกันวินาศภัยรายที่รับกระจายความเสี่ยงภัยจะเรียกว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ การทำสัญญาประกันภัยต่อจะไม่มีผลเป็นการปลดภาระความรับผิดชอบของบริษัทผู้รับประกันภัยตรงตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นซึ่งยังต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นลูกค้าของตน ปรากฏตามแนวทางปฏิบัติในการจัดทำกลยุทธ์การบริหารการประกันภัยต่อสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และคู่มือบัญชีประกันวินาศภัย ที่ตีพิมพ์โดยสมาคมประกันวินาศภัย ซึ่งสอดคล้องกับสำเนาสัญญารับประกันภัยต่อระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ที่มีบริษัท อ. เป็นผู้รับประกันวินาศภัยต่อ ที่มีเพียงรายละเอียดความรับผิดระหว่างบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต่อที่มีต่อโจทก์โดยตรง หาได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ให้บริการใดแก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ หรือโจทก์เป็นผู้รับเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย แล้วจะส่งต่อเบี้ยประกันภัยนั้นให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อโดยมีส่วนลดเบี้ยประกันภัยเป็นค่าบริการของโจทก์ตามข้ออ้างของจำเลยแต่อย่างใด ประกอบกับได้ความจากพยานจำเลยปากนางสาวดวงใจ เจ้าพนักงานของจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า พยานไม่มีหลักฐานในการรับเงินจากผู้เอาประกันภัยทอดแรกและในการนำส่งเงินดังกล่าวให้ผู้รับประกันภัยต่อ และพยานไม่มีหลักฐานในการที่ผู้รับประกันภัยต่อได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยส่งต่อมายังโจทก์ และให้โจทก์นำส่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ให้บริการในการที่ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อโจทก์จึงมิได้เป็นตัวกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบำเหน็จดังที่จำเลยอ้าง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต่อไม่ได้รับค่าเบี้ยประกันภัยต่อจากโจทก์เท่ากับความเสี่ยงที่ได้รับเบี้ยประกันภัยต่อ โดยโจทก์หักเป็นส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อไว้ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ จึงถือเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (5) (10) ไม่ว่าจะเรียกชื่อใด ๆ และต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 นั้น เห็นว่า พยานโจทก์ปากนายอานนท์ได้ให้ถ้อยคำตามบันทึกถ้อยคำพยานที่บันทึกไว้ล่วงหน้าว่า ตามสัญญาประกันภัยต่อ ผู้รับประกันภัยต่อจะได้รับค่าตอบแทนที่เรียกว่า “เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ” ซึ่งคำนวณโดยใช้จำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้ง หักด้วยส่วนลด (Reinsurance Commission) ตามอัตราที่ตกลงกันเพื่อให้ได้จำนวนเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเสมอ ดังนั้นค่าตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยต่อมีสิทธิได้รับ คือ เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณตามปกติธรรมเนียมประเพณีในการทำสัญญาประกันภัยต่อในวงการประกันวินาศภัยทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ผู้รับประกันภัยต่อจะไม่มีการจ่ายส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นเงินสด หรือนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อไปหักกลบกับรายการใด ๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต่อต้องชำระให้กับผู้รับประกันภัยต่อ เนื่องจากส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นเพียงตัวเลขที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันในสูตรการคำนวณจำนวนค่าตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยต่อมีสิทธิได้รับตามสัญญาประกันภัยต่อที่เรียกว่า “เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ” เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า ค่าตอบแทนที่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจ่ายให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ เป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ที่คำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดที่โจทก์เรียกว่า Fee and Commission Income Local สำหรับการประกันภัยต่อในประเทศ และเรียกว่า Fee and Commission Income Non Local สำหรับการประกันภัยต่อในต่างประเทศตามอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีอัตราหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเสียหายและความเสี่ยงในแต่ละสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงได้รับเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเป็นค่าตอบแทนเพื่อความเสี่ยงตามสัญญาประกันภัยต่อ และเมื่อได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่าโจทก์มิใช่นายหน้าหรือผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร จึงไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นเพียงตัวแปรในวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิตามปกติธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัย และการที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่ง แยกต่างหากจากการทำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต่อจึงอยู่ในฐานะผู้รับบริการ ส่วนผู้รับประกันภัยต่ออยู่ในฐานะผู้ให้บริการ และเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้บริการใด ๆ ต่อผู้รับประกันภัยต่อพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (1) ดังนั้น ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในประเทศและต่างประเทศจึงมิใช่มูลค่าที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่ง หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาททั้ง 24 ฉบับ ดังกล่าวจึงไม่ชอบ และการที่จำเลยนำภาษีซื้อที่โจทก์มีสิทธิได้รับมาหักออกจากภาษีขายที่จำเลยประเมินไว้นั้นจึงไม่ชอบ
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 จนถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 พิพาทรวม 24 ฉบับ ที่ให้โจทก์รับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่า ในการประกอบกิจการประกันวินาศภัยของโจทก์ เมื่อโจทก์รับประกันวินาศภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้ว เพื่อเป็นการคุ้มครองความเสี่ยงภัยของธุรกิจ โจทก์จะเอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อเพื่อที่โจทก์จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อ กรณีที่โจทก์มีการเอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ถือว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร เมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่อให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ โจทก์จึงมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) ส่วนฐานภาษีที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรวมส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อตามที่จำเลยฎีกาด้วยหรือไม่ นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีเมื่อมีการชำระค่าบริการให้ผู้ประกอบการ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นตัวคำนวณหาค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ มิใช่ส่วนลดที่ผู้รับประกันภัยต่อลดให้โจทก์จากค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่กำหนดไว้แล้ว อันจะนำมาเป็นค่าบริการของผู้รับประกันภัยต่อดังที่จำเลยอ้าง เมื่อส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (10) จึงมิใช่มูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่ต้องนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อดังกล่าวมารวมเป็นฐานภาษีเพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาททั้ง 24 ฉบับ ดังกล่าวจึงไม่ชอบ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนที่จำเลยอ้างว่า ก่อนประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 207) ที่กำหนดให้มูลค่าของการให้บริการรับประกันวินาศภัยต่อตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ทั้งนี้ เฉพาะส่วนลดประกันภัยต่อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการประกันภัยต่อได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีมีผลใช้บังคับ มูลค่าฐานภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 คือส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะได้วินิจฉัยแล้วว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในคดีนี้ไม่ใช่ค่าบริการจึงไม่อาจถือเป็นส่วนลดของค่าบริการที่ต้องพิจารณาว่าเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
เมื่อคดีฟังได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ให้บริการในการที่ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์จึงมิได้เป็นตัวกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบำเหน็จ ค่าตอบแทนที่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจ่ายให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ที่คำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดที่โจทก์เรียกว่า Fee and Commission Income Local สำหรับการประกันภัยต่อในประเทศ และเรียกว่า Fee and Commission Income Non Local สำหรับการประกันภัยต่อในต่างประเทศตามอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีอัตราหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเสียหายและความเสี่ยงในแต่ละสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงได้รับเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเป็นค่าตอบแทนเพื่อความเสี่ยงตามสัญญาประกันภัยต่อ และเมื่อโจทก์มิใช่นายหน้าหรือผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร จึงไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นเพียงตัวแปรในวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิตามปกติธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัย และการที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่ง แยกต่างหากจากการทำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต่อจึงอยู่ในฐานะผู้รับบริการ ส่วนผู้รับประกันภัยต่ออยู่ในฐานะผู้ให้บริการ และเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้บริการใด ๆ ต่อผู้รับประกันภัยต่อ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) ดังนั้น ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในประเทศและต่างประเทศจึงมิใช่มูลค่าที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่งกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ถือว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร เมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่อให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโจทก์จึงมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2) ส่วนฐานภาษีที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรวมส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อหรือไม่นั้น ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีเมื่อมีการชำระค่าบริการให้ผู้ประกอบการ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นตัวคำนวณหาค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ มิใช่ส่วนลดที่ผู้รับประกันภัยต่อลดให้โจทก์จากค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่กำหนดไว้แล้ว อันจะนำมาเป็นค่าบริการของผู้รับประกันภัยต่อ เมื่อส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) จึงมิใช่มูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่ต้องนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อดังกล่าวมารวมเป็นฐานภาษีเพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83/6 (2)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2556 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2557 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2556 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข หนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2557 ยกเลิก กลับ หรือแก้ไข คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ยกเลิกการที่จำเลยนำภาษีซื้อยกยอดของโจทก์เป็นจำนวนทั้งหมด 2,482,330.65 บาท มาหักออกจากภาษีขายอันเป็นผลจากการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมีนาคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 (ภพ 73.1)
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงธันวาคม 2557 และให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว กับให้ยกเลิกการนำภาษีซื้อยกยอดของโจทก์จำนวน 2,482,330.65 บาท มาหักออกจากภาษีขาย คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าอุทธรณ์ของจำเลยมีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวด้วย ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจการประกันวินาศภัยทุกประเภท รวมทั้งการรับประกันภัยต่อและการเอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 รวม 24 ฉบับ โจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามหนังสือแจ้งการประเมินทั้ง 48 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 137,182,213.06 บาท วันที่ 17 มีนาคม 2560 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ยกเลิกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม รวม 48 ฉบับ ดังกล่าว เนื่องจากเป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากจะประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 ถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 ขอให้งดเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 เนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม และโจทก์ได้ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการด้วยดีตลอดมา วันที่ 19 ตุลาคม 2561 โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/437-484/2561 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ซึ่งมีมติให้ยกอุทธรณ์
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 73.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 จนถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 พิพาทรวม 24 ฉบับ ที่ให้โจทก์รับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ปัญหานี้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (10) บัญญัติว่า “บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า...” มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 79/1 ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ...” วรรคสาม บัญญัติว่า “มูลค่าของฐานภาษีไม่ให้รวมถึง (1) ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว... (4) ค่าตอบแทนที่มีลักษณะและเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 ได้กำหนดนิยามของคำว่า “ผู้รับประกันภัย” หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ คำว่า “ผู้เอาประกันภัย” หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย กรณีนายหน้า มาตรา 845 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทำสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบำเหน็จ...” และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้กำหนดนิยามของคำว่า “นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการนั้น ทางพิจารณาโจทก์มีนายสุเทพ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และนางสาวดวงใจ ผู้จัดการส่วนอาวุโสบัญชีทั่วไป เป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของโจทก์แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 โจทก์ให้บริการประกันวินาศภัยโดยออกกรมธรรม์ประกันวินาศภัยให้แก่ลูกค้าผู้เอาประกันภัย เพื่อคุ้มครองภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย ในส่วนนี้โจทก์จะเป็นผู้ให้บริการประกันวินาศภัย และส่วนที่ 2 กรณีที่จำนวนเงินเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ที่โจทก์ออกให้ลูกค้าสูงเกินที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยลำพังในกรณีที่เกิดภัย โจทก์จะบริหารความเสี่ยงของตนโดยเข้าทำสัญญาประกันภัยต่อ (Reinsurance) กับบริษัทผู้ประกอบกิจการประกันวินาศภัยรายอื่นทั้งที่เป็นบริษัทผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ โดยในกรณีนี้โจทก์จะมีสถานภาพเป็นลูกค้าผู้เอาประกันภัยต่อ (Reinsured หรือ Reassured หรือ Cedant หรือ Ceding Company) ส่วนบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต่อจะเป็นผู้ให้บริการแก่โจทก์ หรือที่เรียกว่า ผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer) กรณีที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อ หากเกิดภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้น ผู้รับประกันภัยต่อจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ สำหรับการจ่ายเงินให้กับผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์จะจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ซึ่งมีวิธีการคำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดตามอัตราที่ตกลงกันไว้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ อันเป็นสูตรในการคำนวณค่าตอบแทนเป็นปกติตามธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัยนี้ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อจึงไม่ใช่ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ และโจทก์ไม่เคยจ่ายเบี้ยประกันภัยต่อในส่วนที่เป็นส่วนลด ส่วนจำเลยมีนางสาวดวงใจ และนางธนัชพร เจ้าพนักงานของจำเลยเป็นพยานเบิกความในทำนองเดียวกันว่า โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อที่เกิดจากการที่ผู้เอาประกันภัยโดยตรงซื้อประกันภัยจากโจทก์ แล้วโจทก์ในฐานะบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อจะหักส่วนลดจากการประกันภัยต่อไว้แล้วจึงโอนเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ดังนั้นผู้ใช้บริการที่แท้จริงคือผู้เอาประกันภัยโดยตรง เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้น โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจะจ่ายค่าชดเชยให้ผู้เอาประกันภัยโดยตรงไปก่อน และเมื่อได้รับเอกสารแล้วจึงเรียกค่าชดเชยคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงเป็นผู้ให้บริการที่แท้จริง โดยมีโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อเป็นผู้ประกอบการและให้บริการในฐานะตัวกลางในการจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น เมื่อรายการส่วนลดรับเบี้ยประกันภัยต่อในประเทศ โจทก์ระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า Fee and Commission Income Local และส่วนลดรับเบี้ยประกันภัยต่อในต่างประเทศ โจทก์ระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า Fee and Commission Income Non Local ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อจึงมีความหมายว่าเป็นค่านายหน้า ซึ่งเป็นมูลค่าที่โจทก์ในฐานะบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อพึงได้รับจากเบี้ยประกันภัยต่อ ฐานภาษีสำหรับการให้บริการประกันภัยต่อของโจทก์จึงต้องรวมส่วนลดที่ได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรพิเคราะห์แล้ว คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่โจทก์ลงบันทึกในบัญชีแยกประเภท (General Ledger) มาประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเห็นว่าส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นค่าบริการของโจทก์ที่โจทก์ต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี จึงต้องพิจารณาว่าโจทก์เป็นผู้ให้บริการและส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นค่าบริการของโจทก์หรือไม่ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดฐานภาษีสำหรับการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้นิยามความหมายของคำว่า นายหน้า ใจความว่าคือ ผู้ชี้ช่องให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัย โดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการชี้ช่องนั้น ที่จำเลยอ้างว่า ระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อเป็นเพียงตัวกลางในการจ่ายค่าชดเชยให้ผู้เอาประกันภัยแทนผู้รับประกันภัยต่อเท่านั้น เห็นว่า เมื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการรับประกันวินาศภัยของโจทก์กับผู้เอาประกันภัย แล้วเห็นได้ว่า โจทก์ให้บริการโดยทำสัญญารับประกันวินาศภัยกับผู้เอาประกันภัย โดยหากเกิดภัยตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย และเมื่อพิจารณาบันทึกถ้อยคำพยานโจทก์ของนายวัชรินทร์ รองกรรมการผู้จัดการด้านการเงินและการบัญชีของบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัยที่ซื้อกรมธรรม์ประกันวินาศภัยจากโจทก์ได้ความว่า บริษัทได้เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์กรณีเกิดภัยหลายครั้ง เมื่อบริษัทได้รับค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยจากโจทก์แล้ว บริษัทจะออกหนังสือปิดเรื่องให้แก่โจทก์เพื่อแสดงความตกลงยอมรับค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ระบุและยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ขอรับความคุ้มครองความเสียหายเดียวกันจากบริษัทประกันวินาศภัยรายอื่น บริษัทไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ออกให้กับบริษัท เพราะเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้รับประกันภัยต่อ โจทก์ไม่เคยแสดงออกว่าเป็นนายหน้าตัวแทนหรือคนกลางระหว่างบริษัทกับผู้รับประกันภัยต่อแต่อย่างใด ซึ่งจำเลยเองก็แถลงยอมรับบันทึกถ้อยคำพยานของพยานปากดังกล่าว และไม่ได้โต้แย้งรายละเอียดในบันทึกถ้อยคำพยานและเอกสารเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงฟังได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัยโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเป็นคู่สัญญากับผู้เอาประกันภัยโดยตรง หากเกิดความเสียหายขึ้น โจทก์ต้องผูกพันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัย ส่วนลักษณะการประกอบการระหว่างโจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น โจทก์นำสืบว่า โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการ แต่โจทก์มีสถานภาพเป็นลูกค้าผู้เอาประกันภัยต่อ ในขณะที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อเป็นผู้ให้บริการคุ้มครองความเสี่ยงภัยต่อโจทก์ โดยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์กรณีเกิดภัยตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ โดยโจทก์มีบันทึกถ้อยคำพยานที่บันทึกไว้ล่วงหน้าของนายอานนท์ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยประจำปี 2556 ถึงปี 2560 และประจำปี 2562 ถึงปี 2564 ที่อธิบายถึงลักษณะของสัญญาประกันภัยต่อ ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า สถานภาพของบริษัทผู้เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อเป็นการให้บริการคุ้มครองความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย เมื่อบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยได้เข้าทำสัญญารับประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกค้า แต่พิจารณาแล้วเห็นว่าเงินที่เอาประกันภัยไว้ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัยที่ตนออกให้แก่ลูกค้ามีจำนวนที่สูงก็จะกระจายความเสี่ยงบางส่วนไปยังบริษัทประกันวินาศภัยรายอื่นด้วยการเข้าทำสัญญาประกันภัยต่อ โดยบริษัทประกันวินาศภัยที่เป็นบริษัทผู้รับประกันภัยตรงให้แก่ลูกค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นจะกลายเป็นลูกค้า เรียกว่า บริษัทผู้เอาประกันภัยต่อ และบริษัทประกันวินาศภัยรายที่รับกระจายความเสี่ยงภัยจะเรียกว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ การทำสัญญาประกันภัยต่อจะไม่มีผลเป็นการปลดภาระความรับผิดชอบของบริษัทผู้รับประกันภัยตรงตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นซึ่งยังต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นลูกค้าของตน ปรากฏตามแนวทางปฏิบัติในการจัดทำกลยุทธ์การบริหารการประกันภัยต่อสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และคู่มือบัญชีประกันวินาศภัย ที่ตีพิมพ์โดยสมาคมประกันวินาศภัย ซึ่งสอดคล้องกับสำเนาสัญญารับประกันภัยต่อระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ที่มีบริษัท อ. เป็นผู้รับประกันวินาศภัยต่อ ที่มีเพียงรายละเอียดความรับผิดระหว่างบริษัทผู้รับประกันวินาศภัยต่อที่มีต่อโจทก์โดยตรง หาได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ให้บริการใดแก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ หรือโจทก์เป็นผู้รับเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย แล้วจะส่งต่อเบี้ยประกันภัยนั้นให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อโดยมีส่วนลดเบี้ยประกันภัยเป็นค่าบริการของโจทก์ตามข้ออ้างของจำเลยแต่อย่างใด ประกอบกับได้ความจากพยานจำเลยปากนางสาวดวงใจ เจ้าพนักงานของจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า พยานไม่มีหลักฐานในการรับเงินจากผู้เอาประกันภัยทอดแรกและในการนำส่งเงินดังกล่าวให้ผู้รับประกันภัยต่อ และพยานไม่มีหลักฐานในการที่ผู้รับประกันภัยต่อได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยส่งต่อมายังโจทก์ และให้โจทก์นำส่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า โจทก์มิได้เป็นผู้ให้บริการในการที่ผู้เอาประกันภัยเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อโจทก์จึงมิได้เป็นตัวกลางผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อบำเหน็จดังที่จำเลยอ้าง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต่อไม่ได้รับค่าเบี้ยประกันภัยต่อจากโจทก์เท่ากับความเสี่ยงที่ได้รับเบี้ยประกันภัยต่อ โดยโจทก์หักเป็นส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อไว้ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ จึงถือเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (5) (10) ไม่ว่าจะเรียกชื่อใด ๆ และต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 นั้น เห็นว่า พยานโจทก์ปากนายอานนท์ได้ให้ถ้อยคำตามบันทึกถ้อยคำพยานที่บันทึกไว้ล่วงหน้าว่า ตามสัญญาประกันภัยต่อ ผู้รับประกันภัยต่อจะได้รับค่าตอบแทนที่เรียกว่า “เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ” ซึ่งคำนวณโดยใช้จำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้ง หักด้วยส่วนลด (Reinsurance Commission) ตามอัตราที่ตกลงกันเพื่อให้ได้จำนวนเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเสมอ ดังนั้นค่าตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยต่อมีสิทธิได้รับ คือ เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณตามปกติธรรมเนียมประเพณีในการทำสัญญาประกันภัยต่อในวงการประกันวินาศภัยทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ผู้รับประกันภัยต่อจะไม่มีการจ่ายส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นเงินสด หรือนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อไปหักกลบกับรายการใด ๆ ที่ผู้เอาประกันภัยต่อต้องชำระให้กับผู้รับประกันภัยต่อ เนื่องจากส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นเพียงตัวเลขที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันในสูตรการคำนวณจำนวนค่าตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยต่อมีสิทธิได้รับตามสัญญาประกันภัยต่อที่เรียกว่า “เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ” เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า ค่าตอบแทนที่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยต่อจ่ายให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อ เป็นเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิ ที่คำนวณโดยนำจำนวนเบี้ยประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต้นเป็นตัวตั้งและหักด้วยส่วนลดที่โจทก์เรียกว่า Fee and Commission Income Local สำหรับการประกันภัยต่อในประเทศ และเรียกว่า Fee and Commission Income Non Local สำหรับการประกันภัยต่อในต่างประเทศตามอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีอัตราหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับอัตราส่วนความเสียหายและความเสี่ยงในแต่ละสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยต่อจึงได้รับเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิเป็นค่าตอบแทนเพื่อความเสี่ยงตามสัญญาประกันภัยต่อ และเมื่อได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่าโจทก์มิใช่นายหน้าหรือผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลผู้เอาประกันภัยทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อ ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร จึงไม่ใช่ค่านายหน้า แต่เป็นเพียงตัวแปรในวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้เบี้ยประกันภัยต่อสุทธิตามปกติธรรมเนียมประเพณีของธุรกิจประกันภัย และการที่โจทก์ทำสัญญาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่ง แยกต่างหากจากการทำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัย โจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต่อจึงอยู่ในฐานะผู้รับบริการ ส่วนผู้รับประกันภัยต่ออยู่ในฐานะผู้ให้บริการ และเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้บริการใด ๆ ต่อผู้รับประกันภัยต่อพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (1) ดังนั้น ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อในประเทศและต่างประเทศจึงมิใช่มูลค่าที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการอันเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่ง หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาททั้ง 24 ฉบับ ดังกล่าวจึงไม่ชอบ และการที่จำเลยนำภาษีซื้อที่โจทก์มีสิทธิได้รับมาหักออกจากภาษีขายที่จำเลยประเมินไว้นั้นจึงไม่ชอบ
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.75.1) สำหรับเดือนภาษีมกราคม 2556 จนถึงเดือนภาษีธันวาคม 2557 พิพาทรวม 24 ฉบับ ที่ให้โจทก์รับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่า ในการประกอบกิจการประกันวินาศภัยของโจทก์ เมื่อโจทก์รับประกันวินาศภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้ว เพื่อเป็นการคุ้มครองความเสี่ยงภัยของธุรกิจ โจทก์จะเอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อเพื่อที่โจทก์จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทผู้รับประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อ กรณีที่โจทก์มีการเอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ ถือว่าบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร เมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยต่อให้บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศ โจทก์จึงมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) ส่วนฐานภาษีที่โจทก์ต้องนำมาคำนวณเพื่อส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรวมส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อตามที่จำเลยฎีกาด้วยหรือไม่ นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) บัญญัติให้ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีเมื่อมีการชำระค่าบริการให้ผู้ประกอบการ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อเป็นตัวคำนวณหาค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ มิใช่ส่วนลดที่ผู้รับประกันภัยต่อลดให้โจทก์จากค่าเบี้ยประกันภัยต่อสุทธิที่กำหนดไว้แล้ว อันจะนำมาเป็นค่าบริการของผู้รับประกันภัยต่อดังที่จำเลยอ้าง เมื่อส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในกรณีที่โจทก์เอาประกันภัยต่อกับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศไม่ใช่ค่าบริการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (10) จึงมิใช่มูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 79 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่ต้องนำส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อดังกล่าวมารวมเป็นฐานภาษีเพื่อนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83/6 (2) หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพิพาททั้ง 24 ฉบับ ดังกล่าวจึงไม่ชอบ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนที่จำเลยอ้างว่า ก่อนประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 207) ที่กำหนดให้มูลค่าของการให้บริการรับประกันวินาศภัยต่อตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ทั้งนี้ เฉพาะส่วนลดประกันภัยต่อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการประกันภัยต่อได้หักออกจากค่าเบี้ยประกันภัยต่อไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีมีผลใช้บังคับ มูลค่าฐานภาษีสำหรับเบี้ยประกันภัยต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 คือส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะได้วินิจฉัยแล้วว่า ส่วนลดเบี้ยประกันภัยต่อในคดีนี้ไม่ใช่ค่าบริการจึงไม่อาจถือเป็นส่วนลดของค่าบริการที่ต้องพิจารณาว่าเข้าข้อยกเว้นไม่ต้องนำมารวมเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้ร้องทั้งสองครอบครองทำประโยชน์โดยไม่ได้ยึดถือที่ดินตามสัดส่วนของเจ้าของรวมและครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ทราบว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าของรวม แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องทั้งสองว่าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับรู้ถึงสิทธิของเจ้าของรวมทั้งฝ่ายที่ส่งมอบการครอบครองต่อ ๆ มาแก่ตนและเจ้าของรวมฝ่ายผู้คัดค้านจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของเอง หาใช่ครอบครองในฐานะเจ้าของรวมหรือผู้สืบสิทธิจากเจ้าของรวมอันจะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินแก่เจ้าของรวมไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ที่ดินพิพาทตามกรอบสีดำหมายสีเขียว เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 25 5/10 ตารางวา ในโฉนดที่ดินเลขที่ 4824 จังหวัดราชบุรี ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ต่อมาวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โดยอ้างว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้ดำเนินการส่งสำเนาคำร้องให้แก่ทายาทของนางพริ้ง ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้คัดค้านไม่อุทธรณ์
วันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) โดยขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งยกคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องทั้งสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับว่า ให้รับคำร้องขอของผู้คัดค้านฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ไว้ดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอของผู้คัดค้าน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขอของผู้ร้องสอด (ที่ถูก ผู้คัดค้าน) ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับว่า ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ที่ดินพิพาทตามกรอบสีดำหมายสีเขียว เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 25 5/10 ตารางวา ในโฉนดที่ดินเลขที่ 4824 จังหวัดราชบุรี ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และยกคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้ร้องทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าที่ดินพิพาทบริเวณกรอบสีดำหมายสีเขียวเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 25 5/10 เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 4824 จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ 3 ไร่ 12 ตารางวา มีบ้านอยู่บนที่ดินพิพาท บ้านหลังนี้นายเลย บิดาของผู้ร้องทั้งสองเป็นคนสร้าง ผู้ร้องทั้งสองพักอาศัยอยู่กับบิดาที่บ้านหลังดังกล่าวตั้งแต่เกิดและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 4824 มีชื่อนางพริ้งยายของนายเลย ซึ่งเป็นบิดาของผู้ร้องทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับอำแดงหล่ำหรือนางหล่ำ ต่อมานายเอี่ยม จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนของนางหล่ำ หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2501 นายเอี่ยมจดทะเบียนโอนขายเฉพาะส่วนของตนให้แก่นายทอน ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2511 นายทอนจดทะเบียนโอนขายเฉพาะส่วนของตนให้แก่นายเติม บิดาผู้คัดค้าน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 ผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนมรดกเฉพาะส่วนของนายเติม มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องทั้งสองว่า ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกรอบสีดำหมายสีเขียว เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 25 5/10 ตารางวา ในโฉนดที่ดินเลขที่ 4824 จังหวัดราชบุรี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ ผู้ร้องทั้งสองฎีกาในข้อสาระสำคัญว่า ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิได้ครอบครองในฐานะสืบสิทธิของผู้เป็นเจ้าของรวม จึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าของรวม ดังนั้น เมื่อผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทเกินสิบปีแล้วผู้ร้องทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน เห็นว่า การที่ผู้ร้องทั้งสองนำสืบว่านางพริ้งยกที่ดินให้นางชดซึ่งเป็นบุตรต่อมานางชดยกที่ดินให้นายเลยบิดาผู้ร้องทั้งสอง นายเลยถึงแก่ความตายเมื่อปี 2532 ก่อนตายนายเลยยกที่ดินให้ผู้ร้องทั้งสองแล้วผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทเรื่อยมาจนปัจจุบัน เป็นเพียงการนำสืบถึงความเป็นมาในการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเท่านั้น เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลเฉพาะเนื้อที่ที่ดินส่วนที่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ โดยไม่ได้ยึดถือที่ดินตามสัดส่วนของเจ้าของรวมประกอบผู้ร้องทั้งสองเบิกความยืนยันว่าผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ทราบว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าของรวม แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องทั้งสองว่าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับรู้ถึงสิทธิของเจ้าของรวมทั้งฝ่ายที่ส่งมอบการครอบครองต่อ ๆ มาแก่ตนและเจ้าของรวมฝ่ายผู้คัดค้าน นอกจากนี้การปลูกสร้างบ้านที่มีลักษณะมั่นคงถาวรโดยนายเลยบิดาผู้ร้องทั้งสองที่ย้ายจากบ้านหลังเดิมที่นางชดปลูกอยู่บริเวณกลางที่ดินมาในบริเวณที่ดินพิพาท ทั้งนายเลยไม่ได้บอกกล่าวหรือขอความเห็นชอบจากเจ้าของรวมก่อนแต่อย่างใด ย่อมเป็นเครื่องชี้ได้ว่านายเลยบิดาผู้ร้องทั้งสองและผู้ร้องทั้งสองมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของเอง หาใช่ครอบครองในฐานะเจ้าของรวมหรือผู้สืบสิทธิจากเจ้าของรวมอันจะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินแก่เจ้าของรวมไม่ ดังนั้น การที่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้ร้องทั้งสองครอบครองทำประโยชน์โดยไม่ได้ยึดถือที่ดินตามสัดส่วนของเจ้าของรวมและครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ทราบว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าของรวม แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องทั้งสองว่าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับรู้ถึงสิทธิของเจ้าของรวมทั้งฝ่ายที่ส่งมอบการครอบครองต่อ ๆ มาแก่ตนและเจ้าของรวมฝ่ายผู้คัดค้านจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของเอง หาใช่ครอบครองในฐานะเจ้าของรวมหรือผู้สืบสิทธิจากเจ้าของรวมอันจะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินแก่เจ้าของรวมไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ที่ดินพิพาทตามกรอบสีดำหมายสีเขียว เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 25 5/10 ตารางวา ในโฉนดที่ดินเลขที่ 4824 จังหวัดราชบุรี ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ต่อมาวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โดยอ้างว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้ดำเนินการส่งสำเนาคำร้องให้แก่ทายาทของนางพริ้ง ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้คัดค้านไม่อุทธรณ์
วันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) โดยขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งยกคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องทั้งสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับว่า ให้รับคำร้องขอของผู้คัดค้านฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ไว้ดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอของผู้คัดค้าน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขอของผู้ร้องสอด (ที่ถูก ผู้คัดค้าน) ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับว่า ให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ที่ดินพิพาทตามกรอบสีดำหมายสีเขียว เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 25 5/10 ตารางวา ในโฉนดที่ดินเลขที่ 4824 จังหวัดราชบุรี ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และยกคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
ผู้ร้องทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าที่ดินพิพาทบริเวณกรอบสีดำหมายสีเขียวเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 25 5/10 เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 4824 จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ 3 ไร่ 12 ตารางวา มีบ้านอยู่บนที่ดินพิพาท บ้านหลังนี้นายเลย บิดาของผู้ร้องทั้งสองเป็นคนสร้าง ผู้ร้องทั้งสองพักอาศัยอยู่กับบิดาที่บ้านหลังดังกล่าวตั้งแต่เกิดและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 4824 มีชื่อนางพริ้งยายของนายเลย ซึ่งเป็นบิดาของผู้ร้องทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับอำแดงหล่ำหรือนางหล่ำ ต่อมานายเอี่ยม จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินเฉพาะส่วนของนางหล่ำ หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2501 นายเอี่ยมจดทะเบียนโอนขายเฉพาะส่วนของตนให้แก่นายทอน ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2511 นายทอนจดทะเบียนโอนขายเฉพาะส่วนของตนให้แก่นายเติม บิดาผู้คัดค้าน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 ผู้คัดค้านจดทะเบียนรับโอนมรดกเฉพาะส่วนของนายเติม มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องทั้งสองว่า ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกรอบสีดำหมายสีเขียว เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 25 5/10 ตารางวา ในโฉนดที่ดินเลขที่ 4824 จังหวัดราชบุรี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ ผู้ร้องทั้งสองฎีกาในข้อสาระสำคัญว่า ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิได้ครอบครองในฐานะสืบสิทธิของผู้เป็นเจ้าของรวม จึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าของรวม ดังนั้น เมื่อผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทเกินสิบปีแล้วผู้ร้องทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน เห็นว่า การที่ผู้ร้องทั้งสองนำสืบว่านางพริ้งยกที่ดินให้นางชดซึ่งเป็นบุตรต่อมานางชดยกที่ดินให้นายเลยบิดาผู้ร้องทั้งสอง นายเลยถึงแก่ความตายเมื่อปี 2532 ก่อนตายนายเลยยกที่ดินให้ผู้ร้องทั้งสองแล้วผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทเรื่อยมาจนปัจจุบัน เป็นเพียงการนำสืบถึงความเป็นมาในการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเท่านั้น เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลเฉพาะเนื้อที่ที่ดินส่วนที่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองทำประโยชน์ โดยไม่ได้ยึดถือที่ดินตามสัดส่วนของเจ้าของรวมประกอบผู้ร้องทั้งสองเบิกความยืนยันว่าผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ทราบว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าของรวม แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องทั้งสองว่าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับรู้ถึงสิทธิของเจ้าของรวมทั้งฝ่ายที่ส่งมอบการครอบครองต่อ ๆ มาแก่ตนและเจ้าของรวมฝ่ายผู้คัดค้าน นอกจากนี้การปลูกสร้างบ้านที่มีลักษณะมั่นคงถาวรโดยนายเลยบิดาผู้ร้องทั้งสองที่ย้ายจากบ้านหลังเดิมที่นางชดปลูกอยู่บริเวณกลางที่ดินมาในบริเวณที่ดินพิพาท ทั้งนายเลยไม่ได้บอกกล่าวหรือขอความเห็นชอบจากเจ้าของรวมก่อนแต่อย่างใด ย่อมเป็นเครื่องชี้ได้ว่านายเลยบิดาผู้ร้องทั้งสองและผู้ร้องทั้งสองมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของเอง หาใช่ครอบครองในฐานะเจ้าของรวมหรือผู้สืบสิทธิจากเจ้าของรวมอันจะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินแก่เจ้าของรวมไม่ ดังนั้น การที่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|