โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงนครสวรรค์เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.2097/2563 ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 ซึ่ง ป.อ. มาตรา 328 มีระวางโทษเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลแขวงนครสวรรค์มีคำสั่งอนุญาต และหลังจากนั้น 6 วัน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ การถอนฟ้องของโจทก์จึงมิใช่การถอนฟ้องเด็ดขาด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ที่จะพิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) แม้ศาลแขวงนครสวรรค์อาจปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาคดี อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ และเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดตามฟ้อง แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้อง เป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลแขวงนครสวรรค์ และการจะปรับบทลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 นั้น ศาลจะต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเสียก่อน เมื่อศาลแขวงนครสวรรค์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ก็ไม่อาจปรับบทลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
แม้คดีส่วนแพ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท แต่คดีส่วนแพ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อโจทก์อุทธรณ์คดีในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตอุทธรณ์คดีส่วนแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90, 326, 328 ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 800,000 บาท แก่โจทก์
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ และขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับคดีส่วนอาญา แต่ให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 10,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลเหตุเดียวกับคดีนี้ต่อศาลแขวงนครสวรรค์และยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ศาลแขวงนครสวรรค์มีคำสั่งในวันเดียวกันอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า ฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 หรือไม่ จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแขวงนครสวรรค์ฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 แต่ความผิดดังกล่าวมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์รวมอยู่ด้วย ศาลแขวงนครสวรรค์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาการถอนฟ้องต่อศาลแขวงนครสวรรค์แล้วนำคดีมาฟ้องใหม่ต่อศาลชั้นต้นในความผิดเดียวกัน การกระทำครั้งเดียวของจำเลยเป็นผลให้จำเลยต้องถูกดำเนินคดีหลายครั้งไม่รู้จักจบสิ้น จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว นั้น เห็นว่า ตามคำร้องขอถอนฟ้องในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.2097/2563 ของศาลแขวงนครสวรรค์ โจทก์ระบุเหตุผลว่า "...เนื่องจากโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งเป็นคดีที่เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ โจทก์จึงมีความประสงค์ขอถอนฟ้องคดีเพื่อนำคดีไปยื่นฟ้องใหม่ต่อศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมต่อไป คือ ศาลจังหวัดนครสวรรค์..." ดังนี้ เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท กรณีจึงเกินอำนาจของศาลแขวงนครสวรรค์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) แม้ในคดีดังกล่าวศาลแขวงนครสวรรค์อาจปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์และเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดตามฟ้องดังที่จำเลยฎีกา แต่ข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นเรื่องการพิพากษาหรือคำสั่งเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งเป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ และการจะปรับบทลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 นั้น ศาลจะต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเสียก่อน เมื่อศาลแขวงนครสวรรค์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ไม่อาจปรับบทลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ฎีกาในส่วนนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีนี้หลังจากถอนฟ้องในคดีเดิมเพียง 6 วัน แสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ที่จะถอนฟ้องเพื่อฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจพิพากษาคดี มิใช่การถอนฟ้องคดีเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 และไม่เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกดำเนินคดีหลายครั้งดังที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยอ้างมีข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งจำเลยฎีกาว่ามีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต้องไม่รับวินิจฉัย นั้น คดีส่วนแพ่งของโจทก์เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อโจทก์อุทธรณ์คดีในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตอุทธรณ์คดีส่วนแพ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ทั้งคดีส่วนอาญาและส่วนแพ่ง จึงชอบแล้ว และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาที่เหลือของจำเลยเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงนครสวรรค์เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.2097/2563 ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 ซึ่ง ป.อ. มาตรา 328 มีระวางโทษเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลแขวงนครสวรรค์มีคำสั่งอนุญาต และหลังจากนั้น 6 วัน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดนครสวรรค์ การถอนฟ้องของโจทก์จึงมิใช่การถอนฟ้องเด็ดขาด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ที่จะพิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) แม้ศาลแขวงนครสวรรค์อาจปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 326 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาคดี อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ และเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดตามฟ้อง แต่ข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้อง เป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลแขวงนครสวรรค์ และการจะปรับบทลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 นั้น ศาลจะต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเสียก่อน เมื่อศาลแขวงนครสวรรค์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ก็ไม่อาจปรับบทลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
แม้คดีส่วนแพ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท แต่คดีส่วนแพ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อโจทก์อุทธรณ์คดีในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตอุทธรณ์คดีส่วนแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90, 326, 328 ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 800,000 บาท แก่โจทก์
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ และขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับคดีส่วนอาญา แต่ให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 10,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลเหตุเดียวกับคดีนี้ต่อศาลแขวงนครสวรรค์และยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ศาลแขวงนครสวรรค์มีคำสั่งในวันเดียวกันอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า ฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 หรือไม่ จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแขวงนครสวรรค์ฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 แต่ความผิดดังกล่าวมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์รวมอยู่ด้วย ศาลแขวงนครสวรรค์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาการถอนฟ้องต่อศาลแขวงนครสวรรค์แล้วนำคดีมาฟ้องใหม่ต่อศาลชั้นต้นในความผิดเดียวกัน การกระทำครั้งเดียวของจำเลยเป็นผลให้จำเลยต้องถูกดำเนินคดีหลายครั้งไม่รู้จักจบสิ้น จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว นั้น เห็นว่า ตามคำร้องขอถอนฟ้องในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.2097/2563 ของศาลแขวงนครสวรรค์ โจทก์ระบุเหตุผลว่า "...เนื่องจากโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งเป็นคดีที่เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ โจทก์จึงมีความประสงค์ขอถอนฟ้องคดีเพื่อนำคดีไปยื่นฟ้องใหม่ต่อศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมต่อไป คือ ศาลจังหวัดนครสวรรค์..." ดังนี้ เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท กรณีจึงเกินอำนาจของศาลแขวงนครสวรรค์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) แม้ในคดีดังกล่าวศาลแขวงนครสวรรค์อาจปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์และเป็นความผิดที่รวมอยู่ในความผิดตามฟ้องดังที่จำเลยฎีกา แต่ข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นเรื่องการพิพากษาหรือคำสั่งเกินคำขอที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งเป็นคนละกรณีกับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครสวรรค์ และการจะปรับบทลงโทษจำเลยในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 นั้น ศาลจะต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเสียก่อน เมื่อศาลแขวงนครสวรรค์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาก็ไม่อาจปรับบทลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ฎีกาในส่วนนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีนี้หลังจากถอนฟ้องในคดีเดิมเพียง 6 วัน แสดงให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ที่จะถอนฟ้องเพื่อฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจพิพากษาคดี มิใช่การถอนฟ้องคดีเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 และไม่เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกดำเนินคดีหลายครั้งดังที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยอ้างมีข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งจำเลยฎีกาว่ามีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต้องไม่รับวินิจฉัย นั้น คดีส่วนแพ่งของโจทก์เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา เมื่อโจทก์อุทธรณ์คดีในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตอุทธรณ์คดีส่วนแพ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ทั้งคดีส่วนอาญาและส่วนแพ่ง จึงชอบแล้ว และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาที่เหลือของจำเลยเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 19 วรรคสาม อนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระ หรือการขาดคุณสมบัติตามที่คู่พิพาทตกลงกัน โดยคู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะคัดค้านต้องดำเนินการตามกระบวนการที่ได้ตกลงกันไว้ หรือในกรณีที่ไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง หากการคัดค้านโดยวิธีตามที่คู่พิพาทตกลงกันหรือตามวิธีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ไม่บรรลุผล หรือในกรณีที่มีอนุญาโตตุลาการเพียงคนเดียว คู่พิพาทฝ่ายที่คัดค้านอาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง และเมื่อศาลไต่สวนคำคัดค้านนั้นแล้วให้มีคำสั่งยอมรับหรือยกเสียซึ่งคำคัดค้านนั้น และในระหว่างการพิจารณาของศาล คณะอนุญาโตตุลาการซึ่งรวมถึงอนุญาโตตุลาการซึ่งถูกคัดค้านอาจดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปจนกระทั่งมีคำชี้ขาดได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จากบทบัญญัติข้างต้นเห็นได้ว่า แม้ผู้ร้องทั้งสองจะยื่นคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัยต่อศาลชั้นต้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง แล้ว แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศ. ซึ่งเป็นอนุญาโตตุลาการที่ผู้คัดค้านแต่งตั้งก็อาจดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปได้หากศาลไม่มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนี้ การที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเพื่อรอฟังผลการไต่สวนคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัย แม้จะอ้างในหัวคำร้องว่าเป็นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเป็นการด่วน แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาตามคำร้องแล้วเห็นได้ว่าเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง ตอนท้าย ทั้งยังมีลักษณะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนขณะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง อันเป็นสิทธิที่คู่สัญญาที่ทำสัญญาอนุญาโตตุลาการไว้อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มิใช่การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. ดังที่ผู้คัดค้านอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีนี้ได้ตามกฎหมายดังกล่าว
คดีสืบเนื่องมาจากผู้ร้องทั้งสองเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ขอให้มีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านรับผิดและชำระค่าเสียหาย เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 ผู้ร้องทั้งสองแต่งตั้งนายวิคเตอร์เป็นอนุญาโตตุลาการ ส่วนผู้คัดค้านแต่งตั้งนายศักดาเป็นอนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการทั้งสองเลือกนายวิชัยเป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมาผู้ร้องทั้งสองยื่นหนังสือคัดค้านการแต่งตั้งนายศักดาเป็นอนุญาโตตุลาการต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 19 และมาตรา 20 วรรคหนึ่ง สถาบันอนุญาโตตุลาการแต่งตั้งนายธวัชชัยเป็นผู้วินิจฉัยคำคัดค้านของผู้ร้องทั้งสอง ตามข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ข้อ 23 ผู้วินิจฉัยพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดเหตุอันควรสงสัยในเรื่องความเป็นอิสระหรือเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการ และไม่มีเหตุผลให้เพิกถอนอนุญาโตตุลาการ จึงมีคำวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้านและแก้ไขคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัยต่อศาลชั้นต้นตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง ขอให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนนายศักดาจากการเป็นอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเป็นการด่วน โดยอ้างทำนองว่า หากคณะอนุญาโตตุลาการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 จนเสร็จสิ้นและมีคำชี้ขาดแล้ว คำสั่งให้เพิกถอนอนุญาโตตุลาการก็ไม่เป็นเหตุให้คำชี้ขาดไม่มีผลบังคับ แต่เป็นเพียงเหตุในการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 40 เท่านั้น ซึ่งผู้ร้องทั้งสองจะต้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการต่อศาลชั้นต้นอีกครั้ง อันจะทำให้ผู้ร้องทั้งสองได้รับความเดือดร้อนต่อไปและไม่อำนวยความยุติธรรมหากเทียบกับการหยุดกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำสั่งในคดีนี้ ขอให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้หยุดการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 ออกไปชั่วคราวเพื่อรอฟังผลการไต่สวนคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้คณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 หยุดดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งในคดีนี้
ผู้คัดค้านอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกาตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 วรรคสอง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อแรกว่า ผู้ร้องทั้งสองมีสิทธิยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 19 วรรคสาม อนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระ หรือการขาดคุณสมบัติตามที่คู่พิพาทตกลงกัน โดยคู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะคัดค้านต้องดำเนินการตามกระบวนการที่ได้ตกลงกันไว้ หรือในกรณีที่ไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง หากการคัดค้านโดยวิธีตามที่คู่พิพาทตกลงกันหรือตามวิธีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ไม่บรรลุผลหรือในกรณีที่มีอนุญาโตตุลาการเพียงคนเดียว คู่พิพาทฝ่ายที่คัดค้านอาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง และเมื่อศาลไต่สวนคำคัดค้านนั้นแล้วให้มีคำสั่งยอมรับหรือยกเสียซึ่งคำคัดค้านนั้น และในระหว่างการพิจารณาของศาล คณะอนุญาโตตุลาการซึ่งรวมถึงอนุญาโตตุลาการซึ่งถูกคัดค้านอาจดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปจนกระทั่งมีคำชี้ขาดได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จากบทบัญญัติข้างต้นเห็นได้ว่า แม้ผู้ร้องทั้งสองจะยื่นคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัยต่อศาลชั้นต้นตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง แล้ว แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายศักดาก็อาจดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปได้หากศาลไม่มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนี้ การที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเพื่อรอฟังผลการไต่สวนคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัย แม้จะอ้างในหัวคำร้องว่าเป็นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเป็นการด่วน แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาตามคำร้องแล้วเห็นได้ว่าเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง ตอนท้าย ทั้งยังมีลักษณะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนขณะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง อันเป็นสิทธิที่คู่สัญญาที่ทำสัญญาอนุญาโตตุลาการไว้อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มิใช่การขอคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังที่ผู้คัดค้านอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีนี้ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อสุดท้ายว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 หยุดดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งในคดีนี้ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงให้คณะอนุญาโตตุลาการหยุดดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเท่านั้นจนกว่าจะมีคำสั่งในคดีนี้ สำหรับประเด็นหลักตามคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้ร้องทั้งสองนั้น ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านไปกำหนดวันเวลาสืบพยานในชั้นไต่สวนที่ศูนย์นัดความของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นขั้นตอนของกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย เพื่อชั่งน้ำหนักว่าพยานหลักฐานของฝ่ายใดฟังขึ้นยิ่งกว่ากัน แล้วมีคำสั่งต่อไป คำสั่งศาลชั้นต้นในชั้นวิธีการชั่วคราวจึงมิได้มีผลเป็นการพิพากษาให้ผู้ร้องทั้งสองเป็นฝ่ายชนะคดีตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวก็เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง ที่ให้อำนาจไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับความเป็นกลางและเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการอันถือเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้แก่คู่พิพาทเสียก่อน หากอนุญาโตตุลาการปราศจากเสียซึ่งความเป็นกลางและเป็นอิสระแล้ว คู่พิพาทก็จะไม่ได้รับความเป็นธรรมและกระบวนการอนุญาโตตุลาการก็จะไม่ได้รับการยอมรับ กรณีจึงไม่เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 19 วรรคสาม อนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระ หรือการขาดคุณสมบัติตามที่คู่พิพาทตกลงกัน โดยคู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะคัดค้านต้องดำเนินการตามกระบวนการที่ได้ตกลงกันไว้ หรือในกรณีที่ไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง หากการคัดค้านโดยวิธีตามที่คู่พิพาทตกลงกันหรือตามวิธีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ไม่บรรลุผล หรือในกรณีที่มีอนุญาโตตุลาการเพียงคนเดียว คู่พิพาทฝ่ายที่คัดค้านอาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง และเมื่อศาลไต่สวนคำคัดค้านนั้นแล้วให้มีคำสั่งยอมรับหรือยกเสียซึ่งคำคัดค้านนั้น และในระหว่างการพิจารณาของศาล คณะอนุญาโตตุลาการซึ่งรวมถึงอนุญาโตตุลาการซึ่งถูกคัดค้านอาจดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปจนกระทั่งมีคำชี้ขาดได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จากบทบัญญัติข้างต้นเห็นได้ว่า แม้ผู้ร้องทั้งสองจะยื่นคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัยต่อศาลชั้นต้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง แล้ว แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศ. ซึ่งเป็นอนุญาโตตุลาการที่ผู้คัดค้านแต่งตั้งก็อาจดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปได้หากศาลไม่มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนี้ การที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเพื่อรอฟังผลการไต่สวนคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัย แม้จะอ้างในหัวคำร้องว่าเป็นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเป็นการด่วน แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาตามคำร้องแล้วเห็นได้ว่าเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง ตอนท้าย ทั้งยังมีลักษณะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนขณะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง อันเป็นสิทธิที่คู่สัญญาที่ทำสัญญาอนุญาโตตุลาการไว้อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มิใช่การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. ดังที่ผู้คัดค้านอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีนี้ได้ตามกฎหมายดังกล่าว
คดีสืบเนื่องมาจากผู้ร้องทั้งสองเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ขอให้มีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านรับผิดและชำระค่าเสียหาย เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 ผู้ร้องทั้งสองแต่งตั้งนายวิคเตอร์เป็นอนุญาโตตุลาการ ส่วนผู้คัดค้านแต่งตั้งนายศักดาเป็นอนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการทั้งสองเลือกนายวิชัยเป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมาผู้ร้องทั้งสองยื่นหนังสือคัดค้านการแต่งตั้งนายศักดาเป็นอนุญาโตตุลาการต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 19 และมาตรา 20 วรรคหนึ่ง สถาบันอนุญาโตตุลาการแต่งตั้งนายธวัชชัยเป็นผู้วินิจฉัยคำคัดค้านของผู้ร้องทั้งสอง ตามข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ข้อ 23 ผู้วินิจฉัยพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดเหตุอันควรสงสัยในเรื่องความเป็นอิสระหรือเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการ และไม่มีเหตุผลให้เพิกถอนอนุญาโตตุลาการ จึงมีคำวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้านและแก้ไขคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัยต่อศาลชั้นต้นตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง ขอให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนนายศักดาจากการเป็นอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเป็นการด่วน โดยอ้างทำนองว่า หากคณะอนุญาโตตุลาการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 จนเสร็จสิ้นและมีคำชี้ขาดแล้ว คำสั่งให้เพิกถอนอนุญาโตตุลาการก็ไม่เป็นเหตุให้คำชี้ขาดไม่มีผลบังคับ แต่เป็นเพียงเหตุในการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 40 เท่านั้น ซึ่งผู้ร้องทั้งสองจะต้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการต่อศาลชั้นต้นอีกครั้ง อันจะทำให้ผู้ร้องทั้งสองได้รับความเดือดร้อนต่อไปและไม่อำนวยความยุติธรรมหากเทียบกับการหยุดกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำสั่งในคดีนี้ ขอให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้หยุดการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 ออกไปชั่วคราวเพื่อรอฟังผลการไต่สวนคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้คณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 หยุดดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งในคดีนี้
ผู้คัดค้านอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกาตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 วรรคสอง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อแรกว่า ผู้ร้องทั้งสองมีสิทธิยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 19 วรรคสาม อนุญาโตตุลาการอาจถูกคัดค้านได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระ หรือการขาดคุณสมบัติตามที่คู่พิพาทตกลงกัน โดยคู่พิพาทฝ่ายที่ประสงค์จะคัดค้านต้องดำเนินการตามกระบวนการที่ได้ตกลงกันไว้ หรือในกรณีที่ไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง หากการคัดค้านโดยวิธีตามที่คู่พิพาทตกลงกันหรือตามวิธีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ไม่บรรลุผลหรือในกรณีที่มีอนุญาโตตุลาการเพียงคนเดียว คู่พิพาทฝ่ายที่คัดค้านอาจยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง และเมื่อศาลไต่สวนคำคัดค้านนั้นแล้วให้มีคำสั่งยอมรับหรือยกเสียซึ่งคำคัดค้านนั้น และในระหว่างการพิจารณาของศาล คณะอนุญาโตตุลาการซึ่งรวมถึงอนุญาโตตุลาการซึ่งถูกคัดค้านอาจดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปจนกระทั่งมีคำชี้ขาดได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จากบทบัญญัติข้างต้นเห็นได้ว่า แม้ผู้ร้องทั้งสองจะยื่นคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัยต่อศาลชั้นต้นตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง แล้ว แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายศักดาก็อาจดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการต่อไปได้หากศาลไม่มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนี้ การที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเพื่อรอฟังผลการไต่สวนคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้วินิจฉัย แม้จะอ้างในหัวคำร้องว่าเป็นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งหยุดการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเป็นการด่วน แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาตามคำร้องแล้วเห็นได้ว่าเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง ตอนท้าย ทั้งยังมีลักษณะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนขณะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง อันเป็นสิทธิที่คู่สัญญาที่ทำสัญญาอนุญาโตตุลาการไว้อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มิใช่การขอคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังที่ผู้คัดค้านอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีนี้ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อสุดท้ายว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คณะอนุญาโตตุลาการในข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 81/2564 หยุดดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งในคดีนี้ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงให้คณะอนุญาโตตุลาการหยุดดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้ชั่วคราวเท่านั้นจนกว่าจะมีคำสั่งในคดีนี้ สำหรับประเด็นหลักตามคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของผู้ร้องทั้งสองนั้น ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านไปกำหนดวันเวลาสืบพยานในชั้นไต่สวนที่ศูนย์นัดความของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นขั้นตอนของกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย เพื่อชั่งน้ำหนักว่าพยานหลักฐานของฝ่ายใดฟังขึ้นยิ่งกว่ากัน แล้วมีคำสั่งต่อไป คำสั่งศาลชั้นต้นในชั้นวิธีการชั่วคราวจึงมิได้มีผลเป็นการพิพากษาให้ผู้ร้องทั้งสองเป็นฝ่ายชนะคดีตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวก็เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 20 วรรคสอง ที่ให้อำนาจไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับความเป็นกลางและเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการอันถือเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้แก่คู่พิพาทเสียก่อน หากอนุญาโตตุลาการปราศจากเสียซึ่งความเป็นกลางและเป็นอิสระแล้ว คู่พิพาทก็จะไม่ได้รับความเป็นธรรมและกระบวนการอนุญาโตตุลาการก็จะไม่ได้รับการยอมรับ กรณีจึงไม่เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
ฟ้องโจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาที่เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยว่า การที่จำเลยไม่มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์เป็นการผิดสัญญา มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกฟ้อง เมื่อฟ้องอ้างเหตุแต่เพียงว่าจำเลยไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด โดยมิได้อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่ใช้สิทธิรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขายจากโจทก์ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ที่เป็นเจ้าหนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะการไม่ชำระหนี้ ข้ออ้างตามฟ้องจึงไม่มีมูลว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายตามฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องชุดพิพาท และให้จำเลยส่งมอบห้องชุดพิพาทแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องชุดพิพาทและส่งมอบห้องชุดพิพาทแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้ตกเป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ตกเป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาที่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยว่า การที่จำเลยไม่มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์เป็นการผิดสัญญา มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด และตามหนังสือที่ทนายโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยก็มิได้อ้างเหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาว่าจำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด แต่อ้างเหตุเพียงว่าหากจำเลยไม่ดำเนินการรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดภายในระยะเวลาที่กำหนดจนโครงการดำเนินการปิดบริษัทแล้ว จำเลยอาจได้รับความเสียหาย และจากการที่จำเลยเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจึงบอกเลิกสัญญาและขอใช้สิทธิริบเงินที่ชำระมาแล้วทั้งหมด แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง พยานโจทก์คงมีทนายโจทก์เป็นพยานเพียงปากเดียวเบิกความว่า การที่จำเลยไม่มาดำเนินการรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์เป็นการผิดสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เฉพาะข้อนำสืบที่ว่าจำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏรายละเอียดว่าจำเลยต้องชำระส่วนที่เหลืออีกเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องที่อ้างเหตุแต่เพียงว่าจำเลยไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด โดยมิได้อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช้สิทธิรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขายจากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ที่เป็นเจ้าหนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะการไม่ชำระหนี้ ข้ออ้างตามฟ้องจึงไม่มีมูลว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายตามฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ฟ้องโจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาที่เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยว่า การที่จำเลยไม่มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์เป็นการผิดสัญญา มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกฟ้อง เมื่อฟ้องอ้างเหตุแต่เพียงว่าจำเลยไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด โดยมิได้อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่ใช้สิทธิรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขายจากโจทก์ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ที่เป็นเจ้าหนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะการไม่ชำระหนี้ ข้ออ้างตามฟ้องจึงไม่มีมูลว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายตามฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องชุดพิพาท และให้จำเลยส่งมอบห้องชุดพิพาทแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องชุดพิพาทและส่งมอบห้องชุดพิพาทแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้ตกเป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ตกเป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ฟ้องโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาที่เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยว่า การที่จำเลยไม่มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์เป็นการผิดสัญญา มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด และตามหนังสือที่ทนายโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยก็มิได้อ้างเหตุแห่งการบอกเลิกสัญญาว่าจำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด แต่อ้างเหตุเพียงว่าหากจำเลยไม่ดำเนินการรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดภายในระยะเวลาที่กำหนดจนโครงการดำเนินการปิดบริษัทแล้ว จำเลยอาจได้รับความเสียหาย และจากการที่จำเลยเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจึงบอกเลิกสัญญาและขอใช้สิทธิริบเงินที่ชำระมาแล้วทั้งหมด แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง พยานโจทก์คงมีทนายโจทก์เป็นพยานเพียงปากเดียวเบิกความว่า การที่จำเลยไม่มาดำเนินการรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์เป็นการผิดสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เฉพาะข้อนำสืบที่ว่าจำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏรายละเอียดว่าจำเลยต้องชำระส่วนที่เหลืออีกเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องที่อ้างเหตุแต่เพียงว่าจำเลยไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด โดยมิได้อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช้สิทธิรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขายจากโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ที่เป็นเจ้าหนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะการไม่ชำระหนี้ ข้ออ้างตามฟ้องจึงไม่มีมูลว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายตามฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ตามทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมีความผูกพันเป็นพิเศษอย่างไรนอกเหนือจากที่เคยให้กู้ยืมเงินกันมาก่อน การที่หลังจากให้จำเลยกู้ยืมเงิน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 ต่อมาเดือนตุลาคม 2556 จำเลยขอให้โจทก์โอนเงินมาให้อีก 1,500,000 บาท และโจทก์เห็นว่าได้ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้แล้ว จึงโอนเงินไปให้โดยไม่ได้ทำหลักฐานอื่นใดเพิ่มเติมนั้น บ่งชี้ว่าเป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงินอีกดังที่ศาลล่างวินิจฉัย ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าการโอนเงินให้แก่กันไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการโอนเงินที่สามารถเรียกคืนได้ตามกฎหมายนั้น การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฎว่าจำเลยจะต้องคืนเฉพาะเงินเหรียญหรือธนบัตรในลักษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเท่านั้น เมื่อโจทก์โอนเงินกู้ให้แก่จำเลยไป กรรมสิทธิ์ในเงินกู้ย่อมตกแก่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่การใช้ทรัพยสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน แต่เป็นการใช้บุคคลสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" เมื่อโจทก์ยังมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพราะจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญมานำสืบตามกฎหมาย จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้ไม่ได้ ซึ่งรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องร้องและยึดถือโฉนดไว้เป็นหนี้เงินกู้ที่ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย ส่วนหนี้เงินกู้ 1,800,000 บาท โจทก์ก็รับว่าจำเลยชำระหนี้ให้แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ของจำเลยไว้ต่อไป
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงิน 2,062,500 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,500,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องและบังคับโจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 คืนแก่จำเลย
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 แก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเดิมจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 1,800,000 บาท โดยมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ให้ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยชำระเงินกู้จำนวนนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ยังไม่คืนโฉนดที่ดินให้จำเลย และเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2556 โจทก์โอนเงิน 1,500,000 บาท ไปยังบัญชีธนาคาร ก.
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกามีว่า จำเลยต้องชำระเงิน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยคืนโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ไว้หรือไม่ เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมีความผูกพันเป็นพิเศษอย่างไรนอกเหนือจากที่เคยให้กู้ยืมเงินกันมาก่อน การที่หลังจากให้จำเลยกู้ยืมเงิน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 ไปแล้ว ต่อมาเดือนตุลาคม 2556 จำเลยขอให้โจทก์โอนเงินมาให้อีก 1,500,000 บาท และโจทก์เห็นว่าได้ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้แล้วจึงโอนเงินไปให้โดยไม่ได้ทำหลักฐานอื่นใดเพิ่มเติมนั้น บ่งชี้ว่าเป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงินอีกดังศาลล่างวินิจฉัยไว้ชัดแจ้งแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าการโอนเงินให้แก่กันไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการโอนเงินที่สามารถเรียกคืนได้ตามกฎหมายนั้น การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยจะต้องคืนเฉพาะเงินเหรียญหรือธนบัตรในลักษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเท่านั้น เมื่อโจทก์โอนเงินกู้ให้แก่จำเลยไป กรรมสิทธิ์ในเงินกู้ย่อมตกแก่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่การใช้ทรัพยสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน แต่เป็นการใช้บุคคลสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" เมื่อโจทก์ยังมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพราะจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญมานำสืบตามกฎหมาย จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้ไม่ได้ ซึ่งหมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่า เงิน 1,500,000 บาท ตามฟ้องเป็นเงินของโจทก์หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ส่วนที่โจทก์ฎีกาประการอื่นว่าเงิน 1,500,000 บาท เป็นการกู้ยืมเงินครั้งที่ 2 ต่อจากการกู้เงิน 1,800,000 บาท รวมเป็นกู้เงิน 3,300,000 บาท และฎีกาต่อไปทำนองว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระหนี้เงิน 1,800,000 บาท ให้โจทก์แล้วเป็นการรับว่าได้ชำระหนี้เงินกู้บางส่วน โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญก็ฟ้องจำเลยได้นั้น โจทก์ไม่ได้นำสืบเช่นนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้ ส่วนฎีกาข้ออื่นของโจทก์นอกจากนี้เป็นประเด็นปลีกย่อยไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอีก เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องร้องและยึดถือโฉนดไว้เป็นหนี้เงินกู้ที่ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย ส่วนหนี้เงินกู้ 1,800,000 บาท โจทก์ก็รับว่าจำเลยชำระหนี้ให้แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ของจำเลยไว้ต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์ กับบังคับตามฟ้องแย้งให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 แก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ทั้งหมดฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาทั้งในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้งให้เป็นพับ
ตามทางนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมีความผูกพันเป็นพิเศษอย่างไรนอกเหนือจากที่เคยให้กู้ยืมเงินกันมาก่อน การที่หลังจากให้จำเลยกู้ยืมเงิน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 ต่อมาเดือนตุลาคม 2556 จำเลยขอให้โจทก์โอนเงินมาให้อีก 1,500,000 บาท และโจทก์เห็นว่าได้ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้แล้ว จึงโอนเงินไปให้โดยไม่ได้ทำหลักฐานอื่นใดเพิ่มเติมนั้น บ่งชี้ว่าเป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงินอีกดังที่ศาลล่างวินิจฉัย ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าการโอนเงินให้แก่กันไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการโอนเงินที่สามารถเรียกคืนได้ตามกฎหมายนั้น การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฎว่าจำเลยจะต้องคืนเฉพาะเงินเหรียญหรือธนบัตรในลักษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเท่านั้น เมื่อโจทก์โอนเงินกู้ให้แก่จำเลยไป กรรมสิทธิ์ในเงินกู้ย่อมตกแก่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่การใช้ทรัพยสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน แต่เป็นการใช้บุคคลสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" เมื่อโจทก์ยังมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพราะจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญมานำสืบตามกฎหมาย จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้ไม่ได้ ซึ่งรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องร้องและยึดถือโฉนดไว้เป็นหนี้เงินกู้ที่ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย ส่วนหนี้เงินกู้ 1,800,000 บาท โจทก์ก็รับว่าจำเลยชำระหนี้ให้แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ของจำเลยไว้ต่อไป
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงิน 2,062,500 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,500,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องและบังคับโจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 คืนแก่จำเลย
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 แก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเดิมจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 1,800,000 บาท โดยมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ให้ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยชำระเงินกู้จำนวนนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ยังไม่คืนโฉนดที่ดินให้จำเลย และเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2556 โจทก์โอนเงิน 1,500,000 บาท ไปยังบัญชีธนาคาร ก.
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกามีว่า จำเลยต้องชำระเงิน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยคืนโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ไว้หรือไม่ เห็นว่า ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมีความผูกพันเป็นพิเศษอย่างไรนอกเหนือจากที่เคยให้กู้ยืมเงินกันมาก่อน การที่หลังจากให้จำเลยกู้ยืมเงิน 1,800,000 บาท เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 ไปแล้ว ต่อมาเดือนตุลาคม 2556 จำเลยขอให้โจทก์โอนเงินมาให้อีก 1,500,000 บาท และโจทก์เห็นว่าได้ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้แล้วจึงโอนเงินไปให้โดยไม่ได้ทำหลักฐานอื่นใดเพิ่มเติมนั้น บ่งชี้ว่าเป็นการให้จำเลยกู้ยืมเงินอีกดังศาลล่างวินิจฉัยไว้ชัดแจ้งแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าการโอนเงินให้แก่กันไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการโอนเงินที่สามารถเรียกคืนได้ตามกฎหมายนั้น การให้กู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยจะต้องคืนเฉพาะเงินเหรียญหรือธนบัตรในลักษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งเท่านั้น เมื่อโจทก์โอนเงินกู้ให้แก่จำเลยไป กรรมสิทธิ์ในเงินกู้ย่อมตกแก่จำเลย ฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่การใช้ทรัพยสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน แต่เป็นการใช้บุคคลสิทธิเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" เมื่อโจทก์ยังมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพราะจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญมานำสืบตามกฎหมาย จึงฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้ไม่ได้ ซึ่งหมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่า เงิน 1,500,000 บาท ตามฟ้องเป็นเงินของโจทก์หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ส่วนที่โจทก์ฎีกาประการอื่นว่าเงิน 1,500,000 บาท เป็นการกู้ยืมเงินครั้งที่ 2 ต่อจากการกู้เงิน 1,800,000 บาท รวมเป็นกู้เงิน 3,300,000 บาท และฎีกาต่อไปทำนองว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระหนี้เงิน 1,800,000 บาท ให้โจทก์แล้วเป็นการรับว่าได้ชำระหนี้เงินกู้บางส่วน โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญก็ฟ้องจำเลยได้นั้น โจทก์ไม่ได้นำสืบเช่นนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้ ส่วนฎีกาข้ออื่นของโจทก์นอกจากนี้เป็นประเด็นปลีกย่อยไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอีก เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องร้องและยึดถือโฉนดไว้เป็นหนี้เงินกู้ที่ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย ส่วนหนี้เงินกู้ 1,800,000 บาท โจทก์ก็รับว่าจำเลยชำระหนี้ให้แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 ของจำเลยไว้ต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์ กับบังคับตามฟ้องแย้งให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินเลขที่ 59782 แก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ทั้งหมดฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาทั้งในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้งให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการอันอยู่ในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคหนึ่ง การมีเสือไว้ในครอบครองและดูแลรักษาก็เพื่อกิจการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง และเหตุเกิดขึ้นที่สวนสัตว์อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ทั้งตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบก็ได้ความว่า มีพนักงานจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลเสือโดยเฉพาะ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้รับเลี้ยงเสือด้วย จำเลยที่ 2 คงมีความเกี่ยวข้องในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 มิได้เลี้ยงหรือดูแลเสือโดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลหรือรับเลี้ยงรับรักษาสัตว์ไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 อันจะก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำการใดนอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงิน 10,000,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยทั้งสามขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 1,556,476 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 กรกฎาคม 2563) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง (ที่ถูก โจทก์) โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเฉพาะในส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในส่วนนี้จำนวน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้รับการยกเว้นนั้นให้จำเลยทั้งสามนำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 กรกฎาคม 2563) ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กับให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ และให้คืนค่าส่งคำคู่ความแก่โจทก์จำนวน 1,540 บาท
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการสวนสัตว์ โดยเก็บค่าบริการเข้าชมสัตว์จากนักท่องเที่ยวใช้ชื่อว่า สวนสัตว์ ห. มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการประกันภัยสำหรับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของนักท่องเที่ยวเนื่องจากอุบัติเหตุจากสัตว์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 เวลา 10.30 นาฬิกา โจทก์กับนายราฟี กับนางราเชล บิดาและมารดาไปเที่ยวที่สวนสัตว์ ห. ของจำเลยที่ 1 ระหว่างที่เที่ยวชม ประตูกรงเสือเปิดออกทำให้เสือหลุดออกจากกรงมากัดที่ศีรษะและใบหน้าของโจทก์จนได้รับบาดเจ็บ เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการเลี้ยงดูเสือซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองแล้ว
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาเพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือไม่ นั้น เห็นว่า แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในทำนองว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้เลี้ยงดูและเป็นเจ้าของเสือจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในค่ารักษาพยาบาลโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการอันอยู่ในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 วรรคหนึ่ง การมีเสือไว้ในครอบครองและดูแลรักษาก็เพื่อใช้ในกิจการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 วรรคสอง และเหตุเกิดขึ้นที่สวนสัตว์อันเป็นกิจการจำเลยที่ 1 ทั้งตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบก็ได้ความว่า มีพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลเสือดังกล่าวโดยเฉพาะโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้รับเลี้ยงเสือด้วยแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 คงมีความเกี่ยวข้องในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 มิได้เลี้ยงหรือดูแลเสือโดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลสัตว์หรือรับเลี้ยงรับรักษาสัตว์ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 อันจะก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดแก่จำเลยที่ 2 แต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำการใดนอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 อันจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นการส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข้อนี้ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ยกฟ้องจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการอันอยู่ในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคหนึ่ง การมีเสือไว้ในครอบครองและดูแลรักษาก็เพื่อกิจการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง และเหตุเกิดขึ้นที่สวนสัตว์อันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ทั้งตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบก็ได้ความว่า มีพนักงานจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลเสือโดยเฉพาะ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้รับเลี้ยงเสือด้วย จำเลยที่ 2 คงมีความเกี่ยวข้องในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 มิได้เลี้ยงหรือดูแลเสือโดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลหรือรับเลี้ยงรับรักษาสัตว์ไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 อันจะก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำการใดนอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงิน 10,000,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยทั้งสามขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 1,556,476 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 กรกฎาคม 2563) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง (ที่ถูก โจทก์) โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเฉพาะในส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในส่วนนี้จำนวน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้รับการยกเว้นนั้นให้จำเลยทั้งสามนำมาชำระต่อศาลในนามของโจทก์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 17 กรกฎาคม 2563) ถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กับให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ และให้คืนค่าส่งคำคู่ความแก่โจทก์จำนวน 1,540 บาท
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการสวนสัตว์ โดยเก็บค่าบริการเข้าชมสัตว์จากนักท่องเที่ยวใช้ชื่อว่า สวนสัตว์ ห. มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการประกันภัยสำหรับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของนักท่องเที่ยวเนื่องจากอุบัติเหตุจากสัตว์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 เวลา 10.30 นาฬิกา โจทก์กับนายราฟี กับนางราเชล บิดาและมารดาไปเที่ยวที่สวนสัตว์ ห. ของจำเลยที่ 1 ระหว่างที่เที่ยวชม ประตูกรงเสือเปิดออกทำให้เสือหลุดออกจากกรงมากัดที่ศีรษะและใบหน้าของโจทก์จนได้รับบาดเจ็บ เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการเลี้ยงดูเสือซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ยุติไปตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองแล้ว
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาเพียงประการเดียวว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือไม่ นั้น เห็นว่า แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในทำนองว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้เลี้ยงดูและเป็นเจ้าของเสือจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในค่ารักษาพยาบาลโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการอันอยู่ในฐานะผู้แทนจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 วรรคหนึ่ง การมีเสือไว้ในครอบครองและดูแลรักษาก็เพื่อใช้ในกิจการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงออกโดยจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 วรรคสอง และเหตุเกิดขึ้นที่สวนสัตว์อันเป็นกิจการจำเลยที่ 1 ทั้งตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบก็ได้ความว่า มีพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลเสือดังกล่าวโดยเฉพาะโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้รับเลี้ยงเสือด้วยแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 คงมีความเกี่ยวข้องในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 มิได้เลี้ยงหรือดูแลเสือโดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลสัตว์หรือรับเลี้ยงรับรักษาสัตว์ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 อันจะก่อให้เกิดหน้าที่และความรับผิดแก่จำเลยที่ 2 แต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำการใดนอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 อันจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นการส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข้อนี้ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ยกฟ้องจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดอื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทุกฐานความผิด จำเลยอุทธรณ์เฉพาะความผิดอื่นบางข้อหา ไม่ได้อุทธรณ์ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ส่วนโจทก์ไม่อุทธรณ์ ดังนั้น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดอื่นที่คู่ความไม่ได้อุทธรณ์เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า ในระหว่างพิจารณาได้มี ป.ยาเสพติดออกมาใช้บังคับแทนกฎหมายเดิม และมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ออกตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง ป.ยาเสพติด ซึ่งมีผลให้พืชกัญชาไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เป็นยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะเป็นอำนาจทั่วไปของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 80, 91, 138, 140, 289, 371 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 26/2, 26/3, 66, 75, 76, 100/1, 102 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ริบเมทแอมเฟตามีน กัญชา อาวุธปืนแบลงค์กันพร้อมซองกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนของกลาง นับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ย.1397/2563 ของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง, 140 วรรคหนึ่งและวรรคสาม, 289 (2) ประกอบมาตรา 80, 371 ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26/2 วรรคหนึ่ง, 26/3 วรรคหนึ่ง, 75 วรรคหนึ่ง, 76 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนกับฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (2) ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุกตลอดชีวิต ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า จำคุก 4 ปี และปรับ 300,000 บาท ฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 เดือน ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานผลิตและมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต (ที่ถูก ฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต) จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คงจำคุก 6 เดือน ฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต คงจำคุก 2 เดือน ฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน (ที่ถูก ฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่) ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุก 33 ปี 4 เดือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จำคุก 38 ปี 12 เดือน และปรับ 300,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี นับโทษจำคุกในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ย.1397/2563 ของศาลชั้นต้น ริบเมทแอมเฟตามีน อาวุธปืนแบลงค์กันพร้อมซองกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 72 วรรคหนึ่งและวรรคสาม เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้คืนกัญชาของกลางแก่เจ้าของ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง ร้อยตำรวจเอกบันลัง และดาบตำรวจสมชาย ผู้เสียหายกับพวกเข้าตรวจค้นกระท่อมของจำเลย พบจำเลยอยู่ที่บริเวณด้านหน้ากระท่อม หลังจากนั้นร้อยตำรวจเอกบันลังและผู้เสียหายเข้ากอดปล้ำกับจำเลยเพื่อจับกุม ในระหว่างนั้นจำเลยใช้มือชกที่ใบหน้าผู้เสียหาย 3 ครั้ง ได้รับบาดเจ็บบริเวณริมฝีปากล่าง เป็นแผลฟกช้ำขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร หลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีไปได้ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นภายในกระท่อม พบเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 109 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.525 กรัม อาวุธปืนยาวลูกซองเดี่ยวขนาด 12 เครื่องหมายทะเบียน กท 368604 เลขหมายประจำปืน 31195 จำนวน 1 กระบอก และกระสุนปืนลูกซอง ขนาด 12 จำนวน 3 นัด ส่วนการตรวจค้นที่นอกกระท่อม พบกัญชาสดปลูกไว้ในถุงดำ 1 ต้น ปลอกกระสุนปืน ขนาด .380 จำนวน 1 ปลอก ซองกระสุนปืน 1 อัน และเสื้อยืดคอกลมสีเทาของจำเลย 1 ตัว ตกอยู่ที่พื้นดิน ส่วนอาวุธปืนพกสั้นแบลงค์กัน ขนาด 9 มม. P.A. ดัดแปลงลำกล้องให้สามารถใช้ยิงกับกระสุนปืนออโตเมติก ขนาด .380 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ 1 กระบอก เจ้าพนักงานตำรวจอ้างว่าแย่งมาได้จากจำเลยขณะเข้ากอดปล้ำเพื่อจับกุมจึงยึดไว้เป็นของกลางทั้งหมด ร้อยตำรวจเอกบันลังกับพวกนำของกลางไปมอบให้พนักงานสอบสวน พร้อมทำบันทึกกล่าวโทษให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ต่อมาวันที่ 6 กรกฎาคม 2563 ภายหลังเกิดเหตุคดีนี้ 3 วัน จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีกคดีหนึ่ง และถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษไปแล้ว พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาคดีนี้แก่จำเลย ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ข้อหาผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นให้การปฏิเสธ
พิเคราะห์แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดอื่น แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทุกฐานความผิด จำเลยคงอุทธรณ์เฉพาะความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อชีวิต ไม่ได้อุทธรณ์ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และลหุโทษ ส่วนโจทก์ไม่อุทธรณ์ ดังนั้น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และลหุโทษ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า ในระหว่างพิจารณาได้มีประมวลกฎหมายยาเสพติดออกมาใช้บังคับแทนกฎหมายเดิม และมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ออกตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งมีผลให้พืชกัญชาไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 นับแต่วันที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เป็นยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะเป็นอำนาจทั่วไปของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง กรณีดังกล่าวไม่ถือว่าขัดต่อพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ที่บัญญัติให้การพิจารณาพิพากษาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งหมายถึงเฉพาะกรณีคู่ความอุทธรณ์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วยเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมทั้งสั่งคืนกัญชาของกลางแก่เจ้าของจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา ความผิด 2 ฐานนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
ในชั้นนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน กับฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ด้วยหรือไม่ ซึ่งเห็นสมควรวินิจฉัยไปตามลำดับ เห็นว่า แม้วันเกิดเหตุร้อยตำรวจเอกบันลังและผู้เสียหายจะปลอมตัวแต่งกายเป็นเกษตรกร โดยใช้ผ้าโพกศีรษะด้วย แต่ร้อยตำรวจเอกบันลังและผู้เสียหายเบิกความยืนยันตรงกันว่า ขณะออกจากจุดซุ่มไปที่บริเวณหน้ากระท่อมได้เปิดใบหน้า พร้อมแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจับกุมจำเลยแล้ว โดยผู้เสียหายเรียกจำเลยว่า "ม้าง นี่ดาบตำรวจสมชายนะ" ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน พยานโจทก์ทั้งสองเข้ามาอยู่ใกล้กับจำเลยเพียงประมาณ 1 เมตร เฉพาะอย่างยิ่งผู้เสียหายรู้จักจำเลยมาก่อนเป็นอย่างดี และอยู่ในลักษณะเผชิญหน้ากับจำเลย โดยจำเลยเองเบิกความยอมรับว่ารู้จักผู้เสียหายตั้งแต่จำเลยเรียนหนังสืออยู่ชั้นประถมศึกษา เจือสมกับทางนำสืบของโจทก์ อีกทั้งในชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การไว้ว่า วันเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจมาที่กระท่อมของจำเลย ขณะนั้นในกระท่อมมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และยาเสพติดให้โทษอยู่ จำเลยกลัวความผิดจึงวิ่งหลบหนี มิได้อ้างเหตุเรื่องเข้าใจผิดว่าเจ้าพนักงานตำรวจเป็นคนร้ายแต่อย่างใด เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นพิจารณา จึงไม่มีน้ำหนักแก่การรับฟัง อีกทั้งวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจสามารถยึดอาวุธปืนพกสั้นแบลงค์กัน ขนาด 9 มม. ได้จากจำเลย 1 กระบอก และยึดปลอกกระสุนปืนขนาด .380 จำนวน 1 ปลอก ที่ใช้ยิงจากอาวุธปืนดังกล่าว กับซองอาวุธปืนอีก 1 อัน ตกอยู่ที่พื้นในบริเวณที่เกิดเหตุได้เป็นของกลางด้วย เมื่อในชั้นพิจารณาจำเลยเบิกความยอมรับว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยได้ใช้มือชกต่อยที่บริเวณใบหน้าของผู้เสียหายประมาณ 3 ครั้งจริง สนับสนุนให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าขาดเจตนาในการกระทำความผิด เพราะไม่ทราบว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และขณะเกิดเหตุจำเลยไม่มีอาวุธปืนนั้น ขัดต่อเหตุผลและขัดกับพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การที่จำเลยใช้มือชกไปที่ใบหน้าผู้เสียหายขณะเข้าจับกุม อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยขณะนั้นจำเลยมีอาวุธปืนพกสั้นติดตัวมาด้วย และได้ชักอาวุธปืนดังกล่าวออกมาในขณะต่อสู้ขัดขวางการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ พยานโจทก์ทั้งสองปากดังกล่าวเบิกความทำนองเดียวกันว่า หลังจากมีการแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อเข้าจับกุมแล้ว จำเลยได้ชักอาวุธปืนพกสั้นแบลงค์กันซึ่งเหน็บไว้ที่เอวออกมาจ่อเล็งที่ลำตัวของผู้เสียหาย แต่ถูกร้อยตำรวจเอกบันลังกระโดดปัดและกดอาวุธปืนในมือของจำเลยให้วิถีปืนพ้นลำตัวของผู้เสียหาย ทำให้ปืนลั่นขึ้น 1 นัด และต่อมาร้อยตำรวจเอกบันลังสามารถแย่งอาวุธปืนจากจำเลยมาได้ ส่วนจำเลยวิ่งหลบหนีไป เห็นว่า การที่อาวุธปืนของจำเลยลั่นขึ้น 1 นัด ไม่ใช่เกิดจากการยิงของจำเลยโดยตรง แต่เกิดขึ้นในขณะร้อยตำรวจเอกบันลังเข้าไปกดมือและแย่งอาวุธปืนจากจำเลย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย 1 นัด ตามที่โจทก์อ้างในฟ้อง ส่วนที่โจทก์นำสืบว่า ขณะจำเลยชักอาวุธปืนจากเอวออกมาจ่อเล็งไปที่ลำตัวของผู้เสียหาย นิ้วมือของจำเลยสอดอยู่ในโกร่งไกปืนลักษณะพร้อมที่จะยิง อันเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ แล้วนั้น ผู้เสียหายเบิกความว่า ขณะนั้นนิ้วมือของจำเลยสอดอยู่ในโกร่งไกปืนแล้ว แต่ร้อยตำรวจเอกบันลังไม่เบิกความยืนยันว่านิ้วมือของจำเลยสอดอยู่ในโกร่งไกปืนหรือไม่ ดังนี้ จำต้องพิจารณาคำเบิกความของผู้เสียหายด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในข้อนี้เห็นว่า ขณะเกิดเหตุพยานโจทก์ทั้งสองออกจากจุดซุ่มเข้าประชิดตัวจำเลยที่บริเวณหน้ากระท่อมอย่างรวดเร็ว จำเลยเพิ่งรู้ตัวว่ามีเจ้าพนักงานตำรวจเข้ามาจับกุมเมื่ออยู่ห่างกันเพียงประมาณ 1 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้มาก แม้จำเลยอาจมีเวลาพอที่ชักอาวุธปืนออกจากเอวดังที่พยานโจทก์ทั้งสองปากเบิกความ แต่การเผชิญหน้ากันอย่างปัจจุบันทันด่วนในระยะประชิดตัวเช่นนี้ มีข้อให้น่าระแวงสงสัยว่า จำเลยมีเวลาพอที่จะทันใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในโกร่งไกปืนและจ่อเล็งไปที่บริเวณลำตัวของผู้เสียหายในลักษณะพร้อมจะยิงได้จริงหรือไม่ ประกอบกับร้อยตำรวจเอกบันลังซึ่งเข้าแย่งอาวุธปืนจากจำเลยโดยตรง ก็ไม่เบิกความยืนยันว่า ในขณะนั้นนิ้วมือของจำเลยสอดอยู่ในโกร่งไกปืนหรือไม่ จึงไม่อาจรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในส่วนนี้ได้อย่างสนิทใจ ตามรูปคดีจำเลยอาจชักอาวุธปืนออกจากเอวเพื่อต้องการขู่ผู้เสียหายไม่ให้เข้าจับกุมก็เป็นได้ อีกทั้งจำเลยให้การปฏิเสธในความผิดฐานนี้มาโดยตลอด เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายให้มีน้ำหนักรับฟังได้โดยมั่นคง พยานหลักฐานของโจทก์จึงยังมีความสงสัยอยู่ตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามฟ้องจริงหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่โต้เถียงเกี่ยวกับความผิดฐานนี้ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
ส่วนที่จำเลยฎีกาทำนองว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า แต่เป็นเมทแอมเฟตามีนของผู้ต้องหาอื่นที่เจ้าพนักงานตำรวจนำมากลั่นแกล้งปรักปรำจำเลย นั้น เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ จำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงอุทธรณ์เฉพาะความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อชีวิต ดังนั้น ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาในความผิดฐานนี้ จึงถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 6 เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง, 140 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำคุก 3 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี รวมกับโทษในความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 อีก 3 กระทงแล้ว เป็นจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 300,000 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (2) ประกอบมาตรา 80 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดอื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทุกฐานความผิด จำเลยอุทธรณ์เฉพาะความผิดอื่นบางข้อหา ไม่ได้อุทธรณ์ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ส่วนโจทก์ไม่อุทธรณ์ ดังนั้น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดอื่นที่คู่ความไม่ได้อุทธรณ์เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า ในระหว่างพิจารณาได้มี ป.ยาเสพติดออกมาใช้บังคับแทนกฎหมายเดิม และมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ออกตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง ป.ยาเสพติด ซึ่งมีผลให้พืชกัญชาไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เป็นยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะเป็นอำนาจทั่วไปของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 80, 91, 138, 140, 289, 371 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 26/2, 26/3, 66, 75, 76, 100/1, 102 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ริบเมทแอมเฟตามีน กัญชา อาวุธปืนแบลงค์กันพร้อมซองกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนของกลาง นับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ย.1397/2563 ของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง, 140 วรรคหนึ่งและวรรคสาม, 289 (2) ประกอบมาตรา 80, 371 ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (1) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 26/2 วรรคหนึ่ง, 26/3 วรรคหนึ่ง, 75 วรรคหนึ่ง, 76 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนกับฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (2) ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุกตลอดชีวิต ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 1 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า จำคุก 4 ปี และปรับ 300,000 บาท ฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 เดือน ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานผลิตและมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต (ที่ถูก ฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต) จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คงจำคุก 6 เดือน ฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต คงจำคุก 2 เดือน ฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน (ที่ถูก ฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่) ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุก 33 ปี 4 เดือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จำคุก 38 ปี 12 เดือน และปรับ 300,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี นับโทษจำคุกในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ย.1397/2563 ของศาลชั้นต้น ริบเมทแอมเฟตามีน อาวุธปืนแบลงค์กันพร้อมซองกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 72 วรรคหนึ่งและวรรคสาม เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้คืนกัญชาของกลางแก่เจ้าของ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง ร้อยตำรวจเอกบันลัง และดาบตำรวจสมชาย ผู้เสียหายกับพวกเข้าตรวจค้นกระท่อมของจำเลย พบจำเลยอยู่ที่บริเวณด้านหน้ากระท่อม หลังจากนั้นร้อยตำรวจเอกบันลังและผู้เสียหายเข้ากอดปล้ำกับจำเลยเพื่อจับกุม ในระหว่างนั้นจำเลยใช้มือชกที่ใบหน้าผู้เสียหาย 3 ครั้ง ได้รับบาดเจ็บบริเวณริมฝีปากล่าง เป็นแผลฟกช้ำขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร หลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีไปได้ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นภายในกระท่อม พบเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 109 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.525 กรัม อาวุธปืนยาวลูกซองเดี่ยวขนาด 12 เครื่องหมายทะเบียน กท 368604 เลขหมายประจำปืน 31195 จำนวน 1 กระบอก และกระสุนปืนลูกซอง ขนาด 12 จำนวน 3 นัด ส่วนการตรวจค้นที่นอกกระท่อม พบกัญชาสดปลูกไว้ในถุงดำ 1 ต้น ปลอกกระสุนปืน ขนาด .380 จำนวน 1 ปลอก ซองกระสุนปืน 1 อัน และเสื้อยืดคอกลมสีเทาของจำเลย 1 ตัว ตกอยู่ที่พื้นดิน ส่วนอาวุธปืนพกสั้นแบลงค์กัน ขนาด 9 มม. P.A. ดัดแปลงลำกล้องให้สามารถใช้ยิงกับกระสุนปืนออโตเมติก ขนาด .380 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ 1 กระบอก เจ้าพนักงานตำรวจอ้างว่าแย่งมาได้จากจำเลยขณะเข้ากอดปล้ำเพื่อจับกุมจึงยึดไว้เป็นของกลางทั้งหมด ร้อยตำรวจเอกบันลังกับพวกนำของกลางไปมอบให้พนักงานสอบสวน พร้อมทำบันทึกกล่าวโทษให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ต่อมาวันที่ 6 กรกฎาคม 2563 ภายหลังเกิดเหตุคดีนี้ 3 วัน จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอีกคดีหนึ่ง และถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษไปแล้ว พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาคดีนี้แก่จำเลย ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ข้อหาผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหามีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นให้การปฏิเสธ
พิเคราะห์แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดอื่น แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทุกฐานความผิด จำเลยคงอุทธรณ์เฉพาะความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อชีวิต ไม่ได้อุทธรณ์ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และลหุโทษ ส่วนโจทก์ไม่อุทธรณ์ ดังนั้น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และลหุโทษ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า ในระหว่างพิจารณาได้มีประมวลกฎหมายยาเสพติดออกมาใช้บังคับแทนกฎหมายเดิม และมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ออกตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งมีผลให้พืชกัญชาไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 นับแต่วันที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เป็นยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะเป็นอำนาจทั่วไปของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง กรณีดังกล่าวไม่ถือว่าขัดต่อพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ที่บัญญัติให้การพิจารณาพิพากษาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งหมายถึงเฉพาะกรณีคู่ความอุทธรณ์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วยเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมทั้งสั่งคืนกัญชาของกลางแก่เจ้าของจึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา ความผิด 2 ฐานนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
ในชั้นนี้คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน กับฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ด้วยหรือไม่ ซึ่งเห็นสมควรวินิจฉัยไปตามลำดับ เห็นว่า แม้วันเกิดเหตุร้อยตำรวจเอกบันลังและผู้เสียหายจะปลอมตัวแต่งกายเป็นเกษตรกร โดยใช้ผ้าโพกศีรษะด้วย แต่ร้อยตำรวจเอกบันลังและผู้เสียหายเบิกความยืนยันตรงกันว่า ขณะออกจากจุดซุ่มไปที่บริเวณหน้ากระท่อมได้เปิดใบหน้า พร้อมแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจับกุมจำเลยแล้ว โดยผู้เสียหายเรียกจำเลยว่า "ม้าง นี่ดาบตำรวจสมชายนะ" ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน พยานโจทก์ทั้งสองเข้ามาอยู่ใกล้กับจำเลยเพียงประมาณ 1 เมตร เฉพาะอย่างยิ่งผู้เสียหายรู้จักจำเลยมาก่อนเป็นอย่างดี และอยู่ในลักษณะเผชิญหน้ากับจำเลย โดยจำเลยเองเบิกความยอมรับว่ารู้จักผู้เสียหายตั้งแต่จำเลยเรียนหนังสืออยู่ชั้นประถมศึกษา เจือสมกับทางนำสืบของโจทก์ อีกทั้งในชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การไว้ว่า วันเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจมาที่กระท่อมของจำเลย ขณะนั้นในกระท่อมมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และยาเสพติดให้โทษอยู่ จำเลยกลัวความผิดจึงวิ่งหลบหนี มิได้อ้างเหตุเรื่องเข้าใจผิดว่าเจ้าพนักงานตำรวจเป็นคนร้ายแต่อย่างใด เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นพิจารณา จึงไม่มีน้ำหนักแก่การรับฟัง อีกทั้งวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจสามารถยึดอาวุธปืนพกสั้นแบลงค์กัน ขนาด 9 มม. ได้จากจำเลย 1 กระบอก และยึดปลอกกระสุนปืนขนาด .380 จำนวน 1 ปลอก ที่ใช้ยิงจากอาวุธปืนดังกล่าว กับซองอาวุธปืนอีก 1 อัน ตกอยู่ที่พื้นในบริเวณที่เกิดเหตุได้เป็นของกลางด้วย เมื่อในชั้นพิจารณาจำเลยเบิกความยอมรับว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยได้ใช้มือชกต่อยที่บริเวณใบหน้าของผู้เสียหายประมาณ 3 ครั้งจริง สนับสนุนให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าขาดเจตนาในการกระทำความผิด เพราะไม่ทราบว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และขณะเกิดเหตุจำเลยไม่มีอาวุธปืนนั้น ขัดต่อเหตุผลและขัดกับพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ การที่จำเลยใช้มือชกไปที่ใบหน้าผู้เสียหายขณะเข้าจับกุม อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยขณะนั้นจำเลยมีอาวุธปืนพกสั้นติดตัวมาด้วย และได้ชักอาวุธปืนดังกล่าวออกมาในขณะต่อสู้ขัดขวางการจับกุม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ พยานโจทก์ทั้งสองปากดังกล่าวเบิกความทำนองเดียวกันว่า หลังจากมีการแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อเข้าจับกุมแล้ว จำเลยได้ชักอาวุธปืนพกสั้นแบลงค์กันซึ่งเหน็บไว้ที่เอวออกมาจ่อเล็งที่ลำตัวของผู้เสียหาย แต่ถูกร้อยตำรวจเอกบันลังกระโดดปัดและกดอาวุธปืนในมือของจำเลยให้วิถีปืนพ้นลำตัวของผู้เสียหาย ทำให้ปืนลั่นขึ้น 1 นัด และต่อมาร้อยตำรวจเอกบันลังสามารถแย่งอาวุธปืนจากจำเลยมาได้ ส่วนจำเลยวิ่งหลบหนีไป เห็นว่า การที่อาวุธปืนของจำเลยลั่นขึ้น 1 นัด ไม่ใช่เกิดจากการยิงของจำเลยโดยตรง แต่เกิดขึ้นในขณะร้อยตำรวจเอกบันลังเข้าไปกดมือและแย่งอาวุธปืนจากจำเลย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย 1 นัด ตามที่โจทก์อ้างในฟ้อง ส่วนที่โจทก์นำสืบว่า ขณะจำเลยชักอาวุธปืนจากเอวออกมาจ่อเล็งไปที่ลำตัวของผู้เสียหาย นิ้วมือของจำเลยสอดอยู่ในโกร่งไกปืนลักษณะพร้อมที่จะยิง อันเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ แล้วนั้น ผู้เสียหายเบิกความว่า ขณะนั้นนิ้วมือของจำเลยสอดอยู่ในโกร่งไกปืนแล้ว แต่ร้อยตำรวจเอกบันลังไม่เบิกความยืนยันว่านิ้วมือของจำเลยสอดอยู่ในโกร่งไกปืนหรือไม่ ดังนี้ จำต้องพิจารณาคำเบิกความของผู้เสียหายด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในข้อนี้เห็นว่า ขณะเกิดเหตุพยานโจทก์ทั้งสองออกจากจุดซุ่มเข้าประชิดตัวจำเลยที่บริเวณหน้ากระท่อมอย่างรวดเร็ว จำเลยเพิ่งรู้ตัวว่ามีเจ้าพนักงานตำรวจเข้ามาจับกุมเมื่ออยู่ห่างกันเพียงประมาณ 1 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้มาก แม้จำเลยอาจมีเวลาพอที่ชักอาวุธปืนออกจากเอวดังที่พยานโจทก์ทั้งสองปากเบิกความ แต่การเผชิญหน้ากันอย่างปัจจุบันทันด่วนในระยะประชิดตัวเช่นนี้ มีข้อให้น่าระแวงสงสัยว่า จำเลยมีเวลาพอที่จะทันใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในโกร่งไกปืนและจ่อเล็งไปที่บริเวณลำตัวของผู้เสียหายในลักษณะพร้อมจะยิงได้จริงหรือไม่ ประกอบกับร้อยตำรวจเอกบันลังซึ่งเข้าแย่งอาวุธปืนจากจำเลยโดยตรง ก็ไม่เบิกความยืนยันว่า ในขณะนั้นนิ้วมือของจำเลยสอดอยู่ในโกร่งไกปืนหรือไม่ จึงไม่อาจรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในส่วนนี้ได้อย่างสนิทใจ ตามรูปคดีจำเลยอาจชักอาวุธปืนออกจากเอวเพื่อต้องการขู่ผู้เสียหายไม่ให้เข้าจับกุมก็เป็นได้ อีกทั้งจำเลยให้การปฏิเสธในความผิดฐานนี้มาโดยตลอด เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายให้มีน้ำหนักรับฟังได้โดยมั่นคง พยานหลักฐานของโจทก์จึงยังมีความสงสัยอยู่ตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามฟ้องจริงหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่โต้เถียงเกี่ยวกับความผิดฐานนี้ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
ส่วนที่จำเลยฎีกาทำนองว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้า แต่เป็นเมทแอมเฟตามีนของผู้ต้องหาอื่นที่เจ้าพนักงานตำรวจนำมากลั่นแกล้งปรักปรำจำเลย นั้น เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ จำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงอุทธรณ์เฉพาะความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อชีวิต ดังนั้น ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว การที่จำเลยฎีกาในความผิดฐานนี้ จึงถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 6 เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง, 140 วรรคหนึ่งและวรรคสาม จำคุก 3 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี รวมกับโทษในความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพื่อการค้าตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 อีก 3 กระทงแล้ว เป็นจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 300,000 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (2) ประกอบมาตรา 80 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
ข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของผู้ร้อง ซึ่งผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่าบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องเป็นการถาวรตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นแม้ในหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง... ก็ตาม แต่เหตุที่ตกลงเช่นนั้นก็เนื่องมาจากขณะนั้นบุตรผู้เยาว์พักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเมื่อปรากฏว่าข้อเท็จจริงได้เปลี่ยนแปลงไปโดยบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้อง ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องเป็นผู้ชำระทั้งสิ้น ทั้งผู้คัดค้านก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าตั้งแต่บุตรผู้เยาว์ย้ายมาพักอาศัยกับผู้ร้องแล้วผู้คัดค้านได้ใช้จ่ายสิ่งใดที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ไปบ้าง ดังนั้น หากให้ผู้ร้องต้องชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านตามข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 อีก ก็เท่ากับว่าผู้ร้องต้องชำระเงินเพิ่มจากที่ตกลงกันไว้ ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของคู่สัญญาที่ประสงค์จะให้ข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 เป็นไปเพื่อการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อย่างแท้จริง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว และให้บุตรผู้เยาว์มาอยู่อาศัยกับผู้ร้องโดยผู้ร้องไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านอีกต่อไป กับบังคับให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท แก่ผู้ร้อง และให้ผู้คัดค้านคืนบ้านดิ เออร์เบิร์น แก่ผู้ร้องเพื่อให้ผู้ร้องกับบุตรผู้เยาว์ใช้อยู่อาศัยต่อไป
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและฟ้องแย้งขอให้ยกคำร้องขอและบังคับให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ 475,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน กับให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อีกเดือนละ 20,000 บาท แก่ผู้คัดค้านนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือมีงานทำ
ผู้ร้องให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าให้ผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. บุตรผู้เยาว์ร่วมกัน โดยให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเฉพาะในส่วนการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (1) และให้ผู้คัดค้านมีสิทธิติดต่อเยี่ยมเยียนบุตรผู้เยาว์กับรับบุตรผู้เยาว์ไปดูแลในวันหยุดราชการตามควรแก่พฤติการณ์ตามมาตรา 1584/1 ทั้งนี้ ตามความยินยอมของบุตรผู้เยาว์ และให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 10,000 บาท แก่ผู้ร้อง นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา (ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564) เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ กับให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ 49,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้ง (ฟ้องแย้งวันที่ 14 กันยายน 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ป. บุตรผู้เยาว์ เดือนละ 5,000 บาท แก่ผู้ร้อง นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา (ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564) เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ค้างชำระแก่ผู้คัดค้าน 542,740 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 262,740 บาท นับแต่วันฟ้องแย้ง (ฟ้องแย้งวันที่ 14 กันยายน 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปีหรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านเคยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ป. เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ผู้ร้องกับผู้คัดค้านจดทะเบียนการหย่ากันโดยทำหนังสือข้อตกลงหย่า โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว และผู้ร้องตกลงให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่าโดยโอนเข้าบัญชีผู้คัดค้าน ชื่อบัญชีนางศิภาพัชร์ ยกเว้นผู้คัดค้านมีครอบครัวใหม่จะเปลี่ยนเป็นโอนเข้าบัญชีบุตรทันที จนกว่าบุตรจะมีงานทำ ต่อมาวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ร้องรับบุตรผู้เยาว์มาอยู่อาศัยกับผู้ร้องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป.บุตรผู้เยาว์ร่วมกันโดยให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเฉพาะในส่วนการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อแรกว่า ผู้ร้องค้างชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2561 จนถึงวันที่ 12 กันยายน 2562 หรือไม่ เห็นว่า ตามหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง ชื่อบัญชีนางศิภาพัชร์ ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้ค้างชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามฟ้องแย้งโดยมีหลักฐานการโอนเงินผ่านระบบธนาคาร ก. เอกสารหมาย ร.7 มาแสดงซึ่งเมื่อพิจารณาเอกสารหมาย ร.7 ประกอบรายการโอนเงินเอกสารหมาย ค.19 ซึ่งมียอดวัน เวลา จำนวนเงินที่โอนตรงกันแล้ว ปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 อันเป็นวันที่ข้อตกลงหย่ามีผลบังคับถึงวันที่ 12 กันยายน 2562 มีรายการโอนเงินจากบัญชีของผู้ร้องเข้าบัญชีของผู้คัดค้านทั้งสิ้น 163,260 บาท เข้าบัญชีของนางมาลี มารดาผู้ร้อง 15,000 บาท และเข้าบัญชีของบุตรผู้เยาว์ 5,000 บาท ซึ่งผู้ร้องและบุตรผู้เยาว์เบิกความตรงกันว่า เหตุที่โอนเงินเข้าบัญชีของนางมาลีเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่บุตรผู้เยาว์ไปพักอาศัยอยู่กับนางมาลี ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ไปแล้วทั้งสิ้น 183,260 บาท ที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องยังได้ชำระค่าไฟฟ้าและค่าสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายจำนวน 1,245 บาท และ 1,495 บาทตามลำดับ ซึ่งถือเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูส่วนหนึ่ง จึงต้องรวมไว้ในส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ผู้ร้องได้ชำระแล้วด้วยนั้น เห็นว่า เป็นข้ออ้างลอย ๆ ของผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว ผู้คัดค้านมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย ทั้งผู้ร้องก็มิได้มีหลักฐานมาแสดงยืนยันว่าได้ชำระค่าไฟฟ้าและค่าสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายดังกล่าวไปเพื่อประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์จริง จึงรับฟังไม่ได้ตามที่อ้างและส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเงินสดให้แก่บุตรผู้เยาว์ในช่วงเดือนมิถุนายน 2561 ถึงเดือนกันยายน 2562 เป็นจำนวน 50,000 บาท และ 80,000 บาท นั้น ก็ไม่ปรากฏหลักฐานแต่อย่างใด แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของบุตรผู้เยาว์ว่า ช่วงที่ผู้ร้องให้เงินสดแก่บุตรผู้เยาว์โดยตรงนั้น ผู้ร้องจะให้ในวันเสาร์ที่พบกัน โดยจะให้ครั้งละ 2,000 บาท ต่อหนึ่งอาทิตย์ ที่เหลือ 3,000 บาท ผู้ร้องจะฝากไว้ให้ในบัญชีธนาคาร แต่บุตรผู้เยาว์ยังไม่เห็นบัญชีธนาคารดังกล่าวเนื่องจากผู้ร้องเป็นคนเก็บไว้ก็ตาม จึงยังไม่แน่ชัดว่าผู้ร้องให้เงินบุตรผู้เยาว์ในช่วงเวลาใด เป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ดังนั้นเมื่อนำเงินที่ผู้ร้องชำระตามเอกสารหมาย ร.7 ซึ่งมียอดตรงกับเอกสารหมาย ค.19 ไปหักออกจากจำนวนเงินที่ผู้ร้องต้องชำระระหว่างเดือนมิถุนายน 2561 ถึงวันที่ 12 กันยายน 2562 เป็นเวลา 15 เดือน 2 สัปดาห์ คิดเป็นเงิน 310,000 บาท แล้วคงเป็นเงินที่ผู้ร้องค้างชำระแก่ผู้คัดค้านจำนวน 126,740 บาท ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่เนื่องจากคดีนี้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้ผู้ร้องชำระเงินในยอดดังกล่าวแก่ผู้คัดค้าน จำนวน 122,740 บาท และผู้คัดค้านมิได้รับอนุญาตให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ความรับผิดของผู้ร้องจึงมีเพียงเท่าที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามาเท่านั้น ศาลฎีกาไม่อาจพิพากษาให้ผู้ร้องรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษได้
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อต่อไปว่า ผู้ร้องต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ช่วงระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของผู้ร้องซึ่งผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า บุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องเป็นการถาวรตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นแม้ในหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง... ก็ตาม แต่เหตุที่ตกลงเช่นนั้นก็เนื่องมาจากขณะนั้นบุตรผู้เยาว์พักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเมื่อปรากฏว่าข้อเท็จจริงได้เปลี่ยนแปลงไปโดยบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องเป็นผู้ชำระทั้งสิ้น ทั้งผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าตั้งแต่บุตรผู้เยาว์ย้ายมาพักอาศัยกับผู้ร้องแล้ว ผู้คัดค้านได้ใช้จ่ายสิ่งใดที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ไปบ้าง ดังนั้นหากให้ผู้ร้องต้องชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านตามข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 อีก ก็เท่ากับว่าผู้ร้องต้องชำระเงินเพิ่มจากที่ตกลงกันไว้ ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของคู่สัญญาที่ประสงค์จะให้ข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 เป็นไปเพื่อการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อย่างแท้จริง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่ผู้คัดค้านตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงวันฟ้องแย้งและจากวันที่ฟ้องแย้งไปจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษารวมจำนวน 420,000 บาทนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องและผู้คัดค้าน ซึ่งศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปพร้อมกันในคราวเดียวว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ให้ผู้ร้องหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์..." ดังนั้นหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จึงเป็นของบิดาและมารดา มิใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งศาลอาจกำหนดให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ตามมาตรา 1598/38 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากทางนำสืบของผู้ร้องและผู้คัดค้านว่า ผู้ร้องเป็นพนักงานธนาคาร ก. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย มีอัตราเงินเดือน 108,060 บาท และค่าครองชีพเดือนละ 1,500 บาท แต่มีรายจ่ายที่ต้องผ่อนชำระหนี้ธนาคารจำนวนมาก ส่วนผู้คัดค้านประกอบอาชีพอิสระ ขายสินค้าออนไลน์ เป็นนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ รับจ้างทั่วไป และช่วยดูแลสวนยางพาราของบิดามารดามีรายได้รวมกันไม่น้อยกว่า 300,000 บาท ต่อปี ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษกำหนดให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 5,000 บาท นั้นเหมาะสมแล้วและไม่เกินคำขอแต่อย่างใด ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องและผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ค้างชำระแก่ผู้คัดค้าน 122,740 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้ง (วันที่ 14 กันยายน 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ตามที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของผู้ร้อง ซึ่งผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่าบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องเป็นการถาวรตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นแม้ในหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง... ก็ตาม แต่เหตุที่ตกลงเช่นนั้นก็เนื่องมาจากขณะนั้นบุตรผู้เยาว์พักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเมื่อปรากฏว่าข้อเท็จจริงได้เปลี่ยนแปลงไปโดยบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้อง ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องเป็นผู้ชำระทั้งสิ้น ทั้งผู้คัดค้านก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าตั้งแต่บุตรผู้เยาว์ย้ายมาพักอาศัยกับผู้ร้องแล้วผู้คัดค้านได้ใช้จ่ายสิ่งใดที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ไปบ้าง ดังนั้น หากให้ผู้ร้องต้องชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านตามข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 อีก ก็เท่ากับว่าผู้ร้องต้องชำระเงินเพิ่มจากที่ตกลงกันไว้ ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของคู่สัญญาที่ประสงค์จะให้ข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 เป็นไปเพื่อการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อย่างแท้จริง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว และให้บุตรผู้เยาว์มาอยู่อาศัยกับผู้ร้องโดยผู้ร้องไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านอีกต่อไป กับบังคับให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท แก่ผู้ร้อง และให้ผู้คัดค้านคืนบ้านดิ เออร์เบิร์น แก่ผู้ร้องเพื่อให้ผู้ร้องกับบุตรผู้เยาว์ใช้อยู่อาศัยต่อไป
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและฟ้องแย้งขอให้ยกคำร้องขอและบังคับให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ 475,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน กับให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อีกเดือนละ 20,000 บาท แก่ผู้คัดค้านนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือมีงานทำ
ผู้ร้องให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าให้ผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. บุตรผู้เยาว์ร่วมกัน โดยให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเฉพาะในส่วนการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (1) และให้ผู้คัดค้านมีสิทธิติดต่อเยี่ยมเยียนบุตรผู้เยาว์กับรับบุตรผู้เยาว์ไปดูแลในวันหยุดราชการตามควรแก่พฤติการณ์ตามมาตรา 1584/1 ทั้งนี้ ตามความยินยอมของบุตรผู้เยาว์ และให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 10,000 บาท แก่ผู้ร้อง นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา (ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564) เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ กับให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ 49,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้ง (ฟ้องแย้งวันที่ 14 กันยายน 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ป. บุตรผู้เยาว์ เดือนละ 5,000 บาท แก่ผู้ร้อง นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา (ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564) เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ค้างชำระแก่ผู้คัดค้าน 542,740 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 262,740 บาท นับแต่วันฟ้องแย้ง (ฟ้องแย้งวันที่ 14 กันยายน 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปีหรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านเคยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ป. เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ผู้ร้องกับผู้คัดค้านจดทะเบียนการหย่ากันโดยทำหนังสือข้อตกลงหย่า โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว และผู้ร้องตกลงให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่าโดยโอนเข้าบัญชีผู้คัดค้าน ชื่อบัญชีนางศิภาพัชร์ ยกเว้นผู้คัดค้านมีครอบครัวใหม่จะเปลี่ยนเป็นโอนเข้าบัญชีบุตรทันที จนกว่าบุตรจะมีงานทำ ต่อมาวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ร้องรับบุตรผู้เยาว์มาอยู่อาศัยกับผู้ร้องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป.บุตรผู้เยาว์ร่วมกันโดยให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเฉพาะในส่วนการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อแรกว่า ผู้ร้องค้างชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2561 จนถึงวันที่ 12 กันยายน 2562 หรือไม่ เห็นว่า ตามหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง ชื่อบัญชีนางศิภาพัชร์ ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้ค้างชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามฟ้องแย้งโดยมีหลักฐานการโอนเงินผ่านระบบธนาคาร ก. เอกสารหมาย ร.7 มาแสดงซึ่งเมื่อพิจารณาเอกสารหมาย ร.7 ประกอบรายการโอนเงินเอกสารหมาย ค.19 ซึ่งมียอดวัน เวลา จำนวนเงินที่โอนตรงกันแล้ว ปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 อันเป็นวันที่ข้อตกลงหย่ามีผลบังคับถึงวันที่ 12 กันยายน 2562 มีรายการโอนเงินจากบัญชีของผู้ร้องเข้าบัญชีของผู้คัดค้านทั้งสิ้น 163,260 บาท เข้าบัญชีของนางมาลี มารดาผู้ร้อง 15,000 บาท และเข้าบัญชีของบุตรผู้เยาว์ 5,000 บาท ซึ่งผู้ร้องและบุตรผู้เยาว์เบิกความตรงกันว่า เหตุที่โอนเงินเข้าบัญชีของนางมาลีเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่บุตรผู้เยาว์ไปพักอาศัยอยู่กับนางมาลี ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ไปแล้วทั้งสิ้น 183,260 บาท ที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องยังได้ชำระค่าไฟฟ้าและค่าสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายจำนวน 1,245 บาท และ 1,495 บาทตามลำดับ ซึ่งถือเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูส่วนหนึ่ง จึงต้องรวมไว้ในส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ผู้ร้องได้ชำระแล้วด้วยนั้น เห็นว่า เป็นข้ออ้างลอย ๆ ของผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว ผู้คัดค้านมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย ทั้งผู้ร้องก็มิได้มีหลักฐานมาแสดงยืนยันว่าได้ชำระค่าไฟฟ้าและค่าสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายดังกล่าวไปเพื่อประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์จริง จึงรับฟังไม่ได้ตามที่อ้างและส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเงินสดให้แก่บุตรผู้เยาว์ในช่วงเดือนมิถุนายน 2561 ถึงเดือนกันยายน 2562 เป็นจำนวน 50,000 บาท และ 80,000 บาท นั้น ก็ไม่ปรากฏหลักฐานแต่อย่างใด แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของบุตรผู้เยาว์ว่า ช่วงที่ผู้ร้องให้เงินสดแก่บุตรผู้เยาว์โดยตรงนั้น ผู้ร้องจะให้ในวันเสาร์ที่พบกัน โดยจะให้ครั้งละ 2,000 บาท ต่อหนึ่งอาทิตย์ ที่เหลือ 3,000 บาท ผู้ร้องจะฝากไว้ให้ในบัญชีธนาคาร แต่บุตรผู้เยาว์ยังไม่เห็นบัญชีธนาคารดังกล่าวเนื่องจากผู้ร้องเป็นคนเก็บไว้ก็ตาม จึงยังไม่แน่ชัดว่าผู้ร้องให้เงินบุตรผู้เยาว์ในช่วงเวลาใด เป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ดังนั้นเมื่อนำเงินที่ผู้ร้องชำระตามเอกสารหมาย ร.7 ซึ่งมียอดตรงกับเอกสารหมาย ค.19 ไปหักออกจากจำนวนเงินที่ผู้ร้องต้องชำระระหว่างเดือนมิถุนายน 2561 ถึงวันที่ 12 กันยายน 2562 เป็นเวลา 15 เดือน 2 สัปดาห์ คิดเป็นเงิน 310,000 บาท แล้วคงเป็นเงินที่ผู้ร้องค้างชำระแก่ผู้คัดค้านจำนวน 126,740 บาท ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่เนื่องจากคดีนี้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้ผู้ร้องชำระเงินในยอดดังกล่าวแก่ผู้คัดค้าน จำนวน 122,740 บาท และผู้คัดค้านมิได้รับอนุญาตให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ความรับผิดของผู้ร้องจึงมีเพียงเท่าที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามาเท่านั้น ศาลฎีกาไม่อาจพิพากษาให้ผู้ร้องรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษได้
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อต่อไปว่า ผู้ร้องต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ช่วงระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของผู้ร้องซึ่งผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า บุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องเป็นการถาวรตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นแม้ในหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง... ก็ตาม แต่เหตุที่ตกลงเช่นนั้นก็เนื่องมาจากขณะนั้นบุตรผู้เยาว์พักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเมื่อปรากฏว่าข้อเท็จจริงได้เปลี่ยนแปลงไปโดยบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องเป็นผู้ชำระทั้งสิ้น ทั้งผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าตั้งแต่บุตรผู้เยาว์ย้ายมาพักอาศัยกับผู้ร้องแล้ว ผู้คัดค้านได้ใช้จ่ายสิ่งใดที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ไปบ้าง ดังนั้นหากให้ผู้ร้องต้องชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านตามข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 อีก ก็เท่ากับว่าผู้ร้องต้องชำระเงินเพิ่มจากที่ตกลงกันไว้ ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของคู่สัญญาที่ประสงค์จะให้ข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 เป็นไปเพื่อการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อย่างแท้จริง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่ผู้คัดค้านตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงวันฟ้องแย้งและจากวันที่ฟ้องแย้งไปจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษารวมจำนวน 420,000 บาทนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องและผู้คัดค้าน ซึ่งศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปพร้อมกันในคราวเดียวว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ให้ผู้ร้องหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์..." ดังนั้นหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จึงเป็นของบิดาและมารดา มิใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งศาลอาจกำหนดให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ตามมาตรา 1598/38 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากทางนำสืบของผู้ร้องและผู้คัดค้านว่า ผู้ร้องเป็นพนักงานธนาคาร ก. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย มีอัตราเงินเดือน 108,060 บาท และค่าครองชีพเดือนละ 1,500 บาท แต่มีรายจ่ายที่ต้องผ่อนชำระหนี้ธนาคารจำนวนมาก ส่วนผู้คัดค้านประกอบอาชีพอิสระ ขายสินค้าออนไลน์ เป็นนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ รับจ้างทั่วไป และช่วยดูแลสวนยางพาราของบิดามารดามีรายได้รวมกันไม่น้อยกว่า 300,000 บาท ต่อปี ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษกำหนดให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 5,000 บาท นั้นเหมาะสมแล้วและไม่เกินคำขอแต่อย่างใด ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องและผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ค้างชำระแก่ผู้คัดค้าน 122,740 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้ง (วันที่ 14 กันยายน 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ตามที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ในวันนัดเดินเผชิญสืบ คู่ความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับรองความถูกต้องของแผนผังและแถลงสละประเด็นพิพาท ข้อ 2 ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง กรณีจึงไม่จำต้องสืบพยานและวินิจฉัยประเด็นพิพาท ข้อ 2 อีกต่อไป ข้อเท็จจริงจึงเป็นไปตามที่คู่ความยอมรับกันในความรับรู้ของศาลตามหลักความประสงค์ของคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) และมาตรา 99 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน ไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์เรื่องหน้าที่นำสืบ เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานหรือเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 250,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ คืนค่าธรรมเนียมใช้แทน 5,000 บาท แก่จำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากที่ศาลสั่งคืนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทั้งสองศาลให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความว่า โจทก์มีชื่อเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 เนื้อที่ 19 ไร่ 61 ตารางวา จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนในที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนในที่ดินโฉนดเลขที่ 15530 วันที่ 17 สิงหาคม 2563 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดน่านจัดทำแผนที่พิพาท จำเลยทั้งสองไม่ไปนำชี้และไม่รับรองแผนที่พิพาท วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1) โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 2) ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง 3) โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ เพียงใด วันที่ 5 มีนาคม 2564 ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท โจทก์และจำเลยทั้งสองรับรองความถูกต้องของแนวเขตตามแผนผัง คู่ความแถลงสละประเด็นข้อพิพาทในข้อ 2
พิเคราะห์แล้ว คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อแรกว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งยกประเด็นข้อพิพาทข้อ 2) ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง ซึ่งคู่ความสละแล้วขึ้นวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ข้อนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 บัญญัติว่า การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่ (3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล มาตรา 99 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 129 และ 130 เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะอยู่ในชั้นใด หรือเมื่อมีคำขอของคู่ความฝ่ายใดภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 87 และ 88 ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดการตรวจหรือการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 จำเลยทั้งสองนำรถแบ็กโฮและรถไถเกรดเข้าไปปรับไถพื้นที่และโค่นไม้ยืนต้นจำนวนมาก เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองปรับถมที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 ของจำเลยทั้งสองโดยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เช่นนี้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า 1) โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 2) ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง 3) โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ เพียงใด ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดและให้โจทก์นำสืบก่อน โดยโจทก์อ้างตนเองเป็นพยาน และมีนายสถาพรเบิกความสนับสนุนในทำนองเดียวกันว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 ซึ่งเป็นมรดกตกทอดสืบจากบรรพบุรุษมากว่า 100 ปี โดยที่ราบลุ่มใช้ทำนา ที่ดอนใช้ทำสวนปลูกต้นผลไม้ เช่น ขนุน ไผ่ ฉำฉา แนวเขตการครอบครองทำประโยชน์ด้านทิศใต้จรดร่องน้ำ (หมายถึงลำเหมืองสาธารณประโยชน์) จำเลยทั้งสองบุกรุกที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้ (ในกรอบสีเขียว) ตามแผนที่พิพาท โดยนำรถแบ็กโฮและรถเกรดเข้าไปปรับไถพื้นที่และโค่นไม้ยืนต้นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 4 มีนาคม 2564 ในวันดังกล่าวนายวิษณุ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดน่านมาศาลตามที่โจทก์ขอหมายเรียกไว้ ศาลชั้นต้นสอบคู่ความและนายวิษณุได้ความว่า ที่พิพาทได้มีการรังวัดสอบเขตแน่นอนแล้ว ขอให้ศาลไปเดินเผชิญสืบเพื่อเจ้าพนักงานที่ดินจะนำชี้หลักเขตให้เห็นสภาพที่แท้จริง ศาลชั้นต้นนัดเดินเผชิญสืบวันที่ 5 มีนาคม 2564 วันดังกล่าวมีโจทก์ ทนายโจทก์ จำเลยทั้งสอง ทนายจำเลยทั้งสอง นายวิษณุ และนายภานุวัฒน์ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดน่านมาพร้อม เจ้าพนักงานที่ดินขึงเชือกฟางตามหลักหมุดในภาพถ่ายแนบท้ายรายงานกระบวนพิจารณาประกอบแผนผัง ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับรองความถูกต้องและแถลงสละประเด็นข้อ 2) ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง แล้วศาลชั้นต้นให้สืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไป จำเลยทั้งสองมีจำเลยที่ 2 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า จำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เนื่องจากหลักเขตไม่แน่นอน ที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 เป็นของจำเลยทั้งสอง การปรับไถพื้นที่จำเลยทั้งสองอาศัยแนวเขตจาก GOOGLE MAP และให้ช่างรังวัดสอบเขตที่ดิน ต้นไม้ที่ตัดอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยทั้งสอง ดังนี้ เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาการเดินเผชิญสืบลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 ภาพถ่ายแนบท้ายรายงาน ประกอบแผนผัง ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับรองความถูกต้องตรงกับที่โจทก์และจำเลยทั้งสองนำสืบว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 ในฟ้องตามแนวเขตด้านทิศใต้จนจรดลำเหมืองสาธารณประโยชน์ ซึ่งส่วนหนึ่งครอบที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 (ในกรอบสีน้ำเงิน) และที่ดินโฉนดเลขที่ 15530 (ในกรอบสีแดง) ที่จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แต่เมื่อหักที่ดินของจำเลยที่ 2 ทั้งสองแปลงออกแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงบุกรุกแผ้วถางที่ดินและต้นผลไม้ที่โจทก์ครอบครองทำประโยชน์อยู่ประมาณ 2 ไร่เศษ คือที่พิพาทในกรอบสีเขียว เยี่ยงนี้ กรณีจึงไม่จำต้องสืบพยานและวินิจฉัยประเด็นพิพาทข้อ 2) ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสองต่อไป ที่คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงสละประเด็นข้อ 2) จึงเป็นไปดังที่คู่ความได้ยอมรับข้อเท็จจริงกันในความรับรู้ของศาลแล้วตามหลักความประสงค์ของคู่ความ (principle of party disposition) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 (3) และมาตรา 99 วรรคหนึ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบแล้ว ข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสองบุกรุกแผ้วถางที่ดินและต้นไม้ที่โจทก์ครอบครองทำประโยชน์อยู่ประมาณ 2 ไร่เศษ คือที่พิพาทในกรอบสีเขียวโดยไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน ไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์เรื่องหน้าที่นำสืบ เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานหรือเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแต่อย่างใด ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่มีอำนาจยกประเด็นข้อพิพาทข้อ 2) ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง ซึ่งคู่ความสละและยุติแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์กับพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปว่า โจทก์เสียหายเพียงใด โดยโจทก์ฎีกาว่า โจทก์เสียหายเป็นเงินจำนวน 500,000 บาท นั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นว่า จำเลยทั้งสองไถปรับดินและโค่นต้นไม้ของโจทก์คิดคำนวณเป็นเงินดังกล่าวได้อย่างไร ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ 250,000 บาท ไม่ชอบไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ชอบที่ถูกต้องควรเป็นจำนวนเท่าใด เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่เห็นสมควรวินิจฉัย และที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 250,000 บาท เหมาะสมแล้ว
อนึ่ง ตามที่ได้มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ไม่กระทบถึงอัตราดอกเบี้ยในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และมาตรา 7 ให้นำบทบัญญัติมาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มีผลใช้บังคับในวันที่ 11 เมษายน 2564 จึงให้ใช้อัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 ในอัตราใหม่ดังกล่าว การกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
พิพากษากลับว่า ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 หมู่ที่ 4 ซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตามแผนผัง เว้นแต่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 และที่ดินโฉนดเลขที่ 15530 ในกรอบสีน้ำเงินและสีแดง ให้จำเลยทั้งสองร่วมชำระเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปีแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามชั้นศาลให้เป็นพับ
ในวันนัดเดินเผชิญสืบ คู่ความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับรองความถูกต้องของแผนผังและแถลงสละประเด็นพิพาท ข้อ 2 ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง กรณีจึงไม่จำต้องสืบพยานและวินิจฉัยประเด็นพิพาท ข้อ 2 อีกต่อไป ข้อเท็จจริงจึงเป็นไปตามที่คู่ความยอมรับกันในความรับรู้ของศาลตามหลักความประสงค์ของคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3) และมาตรา 99 วรรคหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน ไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์เรื่องหน้าที่นำสืบ เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานหรือเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 250,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ คืนค่าธรรมเนียมใช้แทน 5,000 บาท แก่จำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมนอกจากที่ศาลสั่งคืนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทั้งสองศาลให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงซึ่งพิจารณาได้ความว่า โจทก์มีชื่อเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 เนื้อที่ 19 ไร่ 61 ตารางวา จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนในที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนในที่ดินโฉนดเลขที่ 15530 วันที่ 17 สิงหาคม 2563 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดน่านจัดทำแผนที่พิพาท จำเลยทั้งสองไม่ไปนำชี้และไม่รับรองแผนที่พิพาท วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า 1) โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 2) ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง 3) โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ เพียงใด วันที่ 5 มีนาคม 2564 ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท โจทก์และจำเลยทั้งสองรับรองความถูกต้องของแนวเขตตามแผนผัง คู่ความแถลงสละประเด็นข้อพิพาทในข้อ 2
พิเคราะห์แล้ว คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อแรกว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งยกประเด็นข้อพิพาทข้อ 2) ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง ซึ่งคู่ความสละแล้วขึ้นวินิจฉัยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ข้อนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 บัญญัติว่า การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่ (3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล มาตรา 99 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 129 และ 130 เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะอยู่ในชั้นใด หรือเมื่อมีคำขอของคู่ความฝ่ายใดภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 87 และ 88 ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดการตรวจหรือการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 จำเลยทั้งสองนำรถแบ็กโฮและรถไถเกรดเข้าไปปรับไถพื้นที่และโค่นไม้ยืนต้นจำนวนมาก เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองปรับถมที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 ของจำเลยทั้งสองโดยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เช่นนี้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า 1) โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 2) ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง 3) โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองหรือไม่ เพียงใด ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดและให้โจทก์นำสืบก่อน โดยโจทก์อ้างตนเองเป็นพยาน และมีนายสถาพรเบิกความสนับสนุนในทำนองเดียวกันว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 ซึ่งเป็นมรดกตกทอดสืบจากบรรพบุรุษมากว่า 100 ปี โดยที่ราบลุ่มใช้ทำนา ที่ดอนใช้ทำสวนปลูกต้นผลไม้ เช่น ขนุน ไผ่ ฉำฉา แนวเขตการครอบครองทำประโยชน์ด้านทิศใต้จรดร่องน้ำ (หมายถึงลำเหมืองสาธารณประโยชน์) จำเลยทั้งสองบุกรุกที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้ (ในกรอบสีเขียว) ตามแผนที่พิพาท โดยนำรถแบ็กโฮและรถเกรดเข้าไปปรับไถพื้นที่และโค่นไม้ยืนต้นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 4 มีนาคม 2564 ในวันดังกล่าวนายวิษณุ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดน่านมาศาลตามที่โจทก์ขอหมายเรียกไว้ ศาลชั้นต้นสอบคู่ความและนายวิษณุได้ความว่า ที่พิพาทได้มีการรังวัดสอบเขตแน่นอนแล้ว ขอให้ศาลไปเดินเผชิญสืบเพื่อเจ้าพนักงานที่ดินจะนำชี้หลักเขตให้เห็นสภาพที่แท้จริง ศาลชั้นต้นนัดเดินเผชิญสืบวันที่ 5 มีนาคม 2564 วันดังกล่าวมีโจทก์ ทนายโจทก์ จำเลยทั้งสอง ทนายจำเลยทั้งสอง นายวิษณุ และนายภานุวัฒน์ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดน่านมาพร้อม เจ้าพนักงานที่ดินขึงเชือกฟางตามหลักหมุดในภาพถ่ายแนบท้ายรายงานกระบวนพิจารณาประกอบแผนผัง ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับรองความถูกต้องและแถลงสละประเด็นข้อ 2) ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง แล้วศาลชั้นต้นให้สืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไป จำเลยทั้งสองมีจำเลยที่ 2 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า จำเลยทั้งสองไม่ทราบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เนื่องจากหลักเขตไม่แน่นอน ที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 เป็นของจำเลยทั้งสอง การปรับไถพื้นที่จำเลยทั้งสองอาศัยแนวเขตจาก GOOGLE MAP และให้ช่างรังวัดสอบเขตที่ดิน ต้นไม้ที่ตัดอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยทั้งสอง ดังนี้ เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาการเดินเผชิญสืบลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 ภาพถ่ายแนบท้ายรายงาน ประกอบแผนผัง ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับรองความถูกต้องตรงกับที่โจทก์และจำเลยทั้งสองนำสืบว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 ในฟ้องตามแนวเขตด้านทิศใต้จนจรดลำเหมืองสาธารณประโยชน์ ซึ่งส่วนหนึ่งครอบที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 (ในกรอบสีน้ำเงิน) และที่ดินโฉนดเลขที่ 15530 (ในกรอบสีแดง) ที่จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม แต่เมื่อหักที่ดินของจำเลยที่ 2 ทั้งสองแปลงออกแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงบุกรุกแผ้วถางที่ดินและต้นผลไม้ที่โจทก์ครอบครองทำประโยชน์อยู่ประมาณ 2 ไร่เศษ คือที่พิพาทในกรอบสีเขียว เยี่ยงนี้ กรณีจึงไม่จำต้องสืบพยานและวินิจฉัยประเด็นพิพาทข้อ 2) ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสองต่อไป ที่คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงสละประเด็นข้อ 2) จึงเป็นไปดังที่คู่ความได้ยอมรับข้อเท็จจริงกันในความรับรู้ของศาลแล้วตามหลักความประสงค์ของคู่ความ (principle of party disposition) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 (3) และมาตรา 99 วรรคหนึ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบแล้ว ข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสองบุกรุกแผ้วถางที่ดินและต้นไม้ที่โจทก์ครอบครองทำประโยชน์อยู่ประมาณ 2 ไร่เศษ คือที่พิพาทในกรอบสีเขียวโดยไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน ไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์เรื่องหน้าที่นำสืบ เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานหรือเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแต่อย่างใด ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่มีอำนาจยกประเด็นข้อพิพาทข้อ 2) ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสอง ซึ่งคู่ความสละและยุติแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์กับพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปว่า โจทก์เสียหายเพียงใด โดยโจทก์ฎีกาว่า โจทก์เสียหายเป็นเงินจำนวน 500,000 บาท นั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นว่า จำเลยทั้งสองไถปรับดินและโค่นต้นไม้ของโจทก์คิดคำนวณเป็นเงินดังกล่าวได้อย่างไร ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ 250,000 บาท ไม่ชอบไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ชอบที่ถูกต้องควรเป็นจำนวนเท่าใด เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่เห็นสมควรวินิจฉัย และที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 250,000 บาท เหมาะสมแล้ว
อนึ่ง ตามที่ได้มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มาตรา 4 ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี แต่ไม่กระทบถึงอัตราดอกเบี้ยในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ และมาตรา 7 ให้นำบทบัญญัติมาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มีผลใช้บังคับในวันที่ 11 เมษายน 2564 จึงให้ใช้อัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 ในอัตราใหม่ดังกล่าว การกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
พิพากษากลับว่า ห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.) เลขที่ 274 หมู่ที่ 4 ซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตามแผนผัง เว้นแต่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15537 และที่ดินโฉนดเลขที่ 15530 ในกรอบสีน้ำเงินและสีแดง ให้จำเลยทั้งสองร่วมชำระเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปีแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามชั้นศาลให้เป็นพับ
แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทำให้ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จำเลยย่อมมีสิทธิยกเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยจึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 80, 91, 288, 371 ริบอาวุธมีดของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร ส่วนข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และ 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำคุก 10 ปี ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 1,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน ส่วนฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 500 บาท รวมจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบอาวุธมีดของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำคุก 1 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน รวมกับโทษฐานพาอาวุธฯ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วเป็นจำคุก 8 เดือน และปรับ 500 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยใช้บุหรี่จี้ขาของนายสมศักดิ์ เพื่อนของจำเลยและผู้เสียหาย วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ ผู้เสียหายและนายสมศักดิ์กับเพื่อนอีกหลายคนนั่งดื่มสุราที่พื้นหน้าบ้านของผู้เสียหายตั้งแต่เวลาประมาณ 19 นาฬิกา ต่อมาเวลา 21 นาฬิกา ผู้เสียหายเตะหน้าของจำเลย 1 ครั้ง ครั้นในเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยพาอาวุธมีดปลายแหลมยาวประมาณ 40 เซนติเมตร 1 เล่ม ติดตัวไปบริเวณถนนหน้าบ้านของผู้เสียหาย และใช้อาวุธมีดดังกล่าวฟันศีรษะของผู้เสียหาย 1 ครั้ง มีแผลฉีกขาดขนาด 7.5 เซนติเมตร รักษาด้วยการเย็บบาดแผล ใช้เวลารักษาประมาณ 7 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน ตามรายงานผลการชันสูตรบาดแผล สำหรับความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร คู่ความไม่อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่ามีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำเลยฎีกายอมรับว่ามีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายแต่อ้างว่าจำเลยกระทำไปโดยบันดาลโทสะ ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยตามที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อแรกของจำเลยว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะหรือไม่นั้นชอบหรือไม่ เห็นว่า การพิจารณาคดีอาญาเป็นการพิจารณาให้ได้ความจริงเพื่อพิพากษาลงโทษ หรือยกฟ้อง หรือวินิจฉัยว่ามีเหตุยกเว้นโทษ หรือลดหย่อนผ่อนโทษให้จำเลยหรือไม่ อย่างไร การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ หากมีกรณีที่ศาลพิจารณาได้ความจริงในทางใด ศาลก็มีอำนาจยกบทกฎหมายที่ต้องด้วยกรณีนั้นขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ หากศาลมิได้ยกข้อกฎหมายข้อใดขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงเรื่องใดซึ่งจำเลยเห็นว่าควรที่ศาลสูงจะได้พิจารณาวินิจฉัยเพราะอาจจะเป็นคุณแก่ตน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ คดีนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ในคำให้การที่ศาลบันทึกหรือที่จำเลยยื่น ทำให้ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ต่อมาเมื่อการพิจารณาขึ้นสู่ศาลชั้นอุทธรณ์ จำเลยย่อมมีสิทธิยกเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยได้ โดยเฉพาะเมื่อคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานจนสิ้นกระแสความแล้ว เพราะย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยจึงไม่ชอบ และเมื่อจำเลยได้ฎีกาปัญหานี้มาด้วยแล้ว จึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า การที่จำเลยทำร้ายผู้เสียหายเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะหรือไม่ เห็นว่า จำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับนายสมศักดิ์ ไม่เกี่ยวกับผู้เสียหาย การมาปรากฏตัวที่บ้านของผู้เสียหายก็มิใช่ว่าจะไม่มีเหตุสมควร เนื่องจากมีการเลี้ยงสังสรรค์กัน แม้ก่อนเกิดเหตุถูกจำเลยฟัน จำเลยจะพูดหรือกระทำการใดอันมีลักษณะขัดหูขัดตาผู้เสียหาย หรือแม้จะเป็นเพราะไม่อยากให้จำเลยอยู่ที่บ้านของผู้เสียหาย ก็ไม่ใช่เหตุที่ผู้เสียหายจะทำร้ายจำเลยได้ โดยเฉพาะด้วยการเตะหน้าของจำเลย ประกอบกับนายสมศักดิ์ก็มิได้แสดงกิริยาอย่างใดที่เห็นได้ว่าโกรธหรือไม่พอใจการกระทำหรือการพูดของจำเลย ผู้เสียหายก็ยอมรับว่าเห็นจำเลยนั่งกอดนายสมศักดิ์อยู่ข้าง ๆ การกระทำของผู้เสียหายย่อมทำให้จำเลยเจ็บแค้นและอาย อันมีลักษณะเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และการกระทำต่อผู้เสียหายต้องเป็นการกระทำในขณะนั้น ซึ่งข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากถูกเตะหน้า จำเลยก็ออกจากบ้านของผู้เสียหาย ขับรถจักรยานยนต์กลับไปที่บ้านของจำเลยที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 600 เมตร ซึ่งเห็นได้ว่าไม่ไกลและใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปกลับไม่นานในขณะที่โทสะของจำเลยยังพลุ่งพล่านอยู่ไม่ขาดตอนจากเหตุการณ์ที่ถูกผู้เสียหายเตะหน้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายว่า มีเหตุสมควรลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยหรือไม่ เห็นว่า เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะดังวินิจฉัยมาแล้ว และการที่จำเลยฟันผู้เสียหายก็เพราะถูกเตะหน้าก่อน ทั้งที่สาเหตุก็มิได้เกี่ยวข้องกับผู้เสียหายและเป็นการทะเลาะกันระหว่างเพื่อน ลักษณะบาดแผลก็ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง จำเลยเองก็ถูกขังระหว่างฎีกา 2 วัน ซึ่งน่าจะพอทำให้จำเลยรู้สำนึกและเข็ดหลาบ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน จึงมีเหตุอันควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยเพื่อให้จำเลยมีโอกาสประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว และเห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่งด้วยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้นโดยบันดาลโทสะ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบมาตรา 72 ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้นโดยบันดาลโทสะ ให้ปรับ 15,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 10,000 บาท เมื่อรวมกับโทษจำคุก 8 เดือนในความผิดฐานดังกล่าวและโทษปรับ 500 บาท ในความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควรตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุก 8 เดือน และปรับ 10,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง ให้คุมความประพฤติของจำเลยมีกำหนด 1 ปี และให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือนต่อครั้งภายในกำหนดเวลาดังกล่าว กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด 24 ชั่วโมงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทำให้ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จำเลยย่อมมีสิทธิยกเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยจึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 80, 91, 288, 371 ริบอาวุธมีดของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร ส่วนข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และ 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำคุก 10 ปี ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 1,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน ส่วนฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 500 บาท รวมจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบอาวุธมีดของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำคุก 1 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน รวมกับโทษฐานพาอาวุธฯ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วเป็นจำคุก 8 เดือน และปรับ 500 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยใช้บุหรี่จี้ขาของนายสมศักดิ์ เพื่อนของจำเลยและผู้เสียหาย วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ ผู้เสียหายและนายสมศักดิ์กับเพื่อนอีกหลายคนนั่งดื่มสุราที่พื้นหน้าบ้านของผู้เสียหายตั้งแต่เวลาประมาณ 19 นาฬิกา ต่อมาเวลา 21 นาฬิกา ผู้เสียหายเตะหน้าของจำเลย 1 ครั้ง ครั้นในเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยพาอาวุธมีดปลายแหลมยาวประมาณ 40 เซนติเมตร 1 เล่ม ติดตัวไปบริเวณถนนหน้าบ้านของผู้เสียหาย และใช้อาวุธมีดดังกล่าวฟันศีรษะของผู้เสียหาย 1 ครั้ง มีแผลฉีกขาดขนาด 7.5 เซนติเมตร รักษาด้วยการเย็บบาดแผล ใช้เวลารักษาประมาณ 7 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน ตามรายงานผลการชันสูตรบาดแผล สำหรับความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร คู่ความไม่อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่ามีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำเลยฎีกายอมรับว่ามีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายแต่อ้างว่าจำเลยกระทำไปโดยบันดาลโทสะ ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยตามที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อแรกของจำเลยว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะหรือไม่นั้นชอบหรือไม่ เห็นว่า การพิจารณาคดีอาญาเป็นการพิจารณาให้ได้ความจริงเพื่อพิพากษาลงโทษ หรือยกฟ้อง หรือวินิจฉัยว่ามีเหตุยกเว้นโทษ หรือลดหย่อนผ่อนโทษให้จำเลยหรือไม่ อย่างไร การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ หากมีกรณีที่ศาลพิจารณาได้ความจริงในทางใด ศาลก็มีอำนาจยกบทกฎหมายที่ต้องด้วยกรณีนั้นขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ หากศาลมิได้ยกข้อกฎหมายข้อใดขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงเรื่องใดซึ่งจำเลยเห็นว่าควรที่ศาลสูงจะได้พิจารณาวินิจฉัยเพราะอาจจะเป็นคุณแก่ตน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ คดีนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ในคำให้การที่ศาลบันทึกหรือที่จำเลยยื่น ทำให้ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ต่อมาเมื่อการพิจารณาขึ้นสู่ศาลชั้นอุทธรณ์ จำเลยย่อมมีสิทธิยกเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยได้ โดยเฉพาะเมื่อคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานจนสิ้นกระแสความแล้ว เพราะย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยจึงไม่ชอบ และเมื่อจำเลยได้ฎีกาปัญหานี้มาด้วยแล้ว จึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า การที่จำเลยทำร้ายผู้เสียหายเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะหรือไม่ เห็นว่า จำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับนายสมศักดิ์ ไม่เกี่ยวกับผู้เสียหาย การมาปรากฏตัวที่บ้านของผู้เสียหายก็มิใช่ว่าจะไม่มีเหตุสมควร เนื่องจากมีการเลี้ยงสังสรรค์กัน แม้ก่อนเกิดเหตุถูกจำเลยฟัน จำเลยจะพูดหรือกระทำการใดอันมีลักษณะขัดหูขัดตาผู้เสียหาย หรือแม้จะเป็นเพราะไม่อยากให้จำเลยอยู่ที่บ้านของผู้เสียหาย ก็ไม่ใช่เหตุที่ผู้เสียหายจะทำร้ายจำเลยได้ โดยเฉพาะด้วยการเตะหน้าของจำเลย ประกอบกับนายสมศักดิ์ก็มิได้แสดงกิริยาอย่างใดที่เห็นได้ว่าโกรธหรือไม่พอใจการกระทำหรือการพูดของจำเลย ผู้เสียหายก็ยอมรับว่าเห็นจำเลยนั่งกอดนายสมศักดิ์อยู่ข้าง ๆ การกระทำของผู้เสียหายย่อมทำให้จำเลยเจ็บแค้นและอาย อันมีลักษณะเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และการกระทำต่อผู้เสียหายต้องเป็นการกระทำในขณะนั้น ซึ่งข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากถูกเตะหน้า จำเลยก็ออกจากบ้านของผู้เสียหาย ขับรถจักรยานยนต์กลับไปที่บ้านของจำเลยที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 600 เมตร ซึ่งเห็นได้ว่าไม่ไกลและใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปกลับไม่นานในขณะที่โทสะของจำเลยยังพลุ่งพล่านอยู่ไม่ขาดตอนจากเหตุการณ์ที่ถูกผู้เสียหายเตะหน้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายว่า มีเหตุสมควรลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยหรือไม่ เห็นว่า เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะดังวินิจฉัยมาแล้ว และการที่จำเลยฟันผู้เสียหายก็เพราะถูกเตะหน้าก่อน ทั้งที่สาเหตุก็มิได้เกี่ยวข้องกับผู้เสียหายและเป็นการทะเลาะกันระหว่างเพื่อน ลักษณะบาดแผลก็ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง จำเลยเองก็ถูกขังระหว่างฎีกา 2 วัน ซึ่งน่าจะพอทำให้จำเลยรู้สำนึกและเข็ดหลาบ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน จึงมีเหตุอันควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยเพื่อให้จำเลยมีโอกาสประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว และเห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่งด้วยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้นโดยบันดาลโทสะ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบมาตรา 72 ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้นโดยบันดาลโทสะ ให้ปรับ 15,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 10,000 บาท เมื่อรวมกับโทษจำคุก 8 เดือนในความผิดฐานดังกล่าวและโทษปรับ 500 บาท ในความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควรตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุก 8 เดือน และปรับ 10,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง ให้คุมความประพฤติของจำเลยมีกำหนด 1 ปี และให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือนต่อครั้งภายในกำหนดเวลาดังกล่าว กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด 24 ชั่วโมงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6
จำเลยฎีกาโต้เถียงว่าพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุคนใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140 เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 7, 72 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 92 ริบอาวุธปืนของกลาง และเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง จำคุก 1 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 1 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน ริบของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งลงโทษจำคุกจำเลย 8 เดือน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรระเบาะไผ่ที่เกิดเหตุมีพนักงานสอบสวนหลายคน แต่ตามคำร้องขอฝากขังคดีนี้พนักงานสอบสอบสวนมิใช่พนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น หรือผู้รักษาราชการแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคท้าย การสอบสวนจึงไม่ชอบ ตามมาตรา 140 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120 นั้น เห็นว่า ปัญหาตามฎีกาของจำเลยดังกล่าวเป็นการโต้เถียงว่าพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุคนใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140 เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาของจำเลย
จำเลยฎีกาโต้เถียงว่าพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุคนใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 140 เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 7, 72 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 92 ริบอาวุธปืนของกลาง และเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง จำคุก 1 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 1 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน ริบของกลาง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งลงโทษจำคุกจำเลย 8 เดือน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรระเบาะไผ่ที่เกิดเหตุมีพนักงานสอบสวนหลายคน แต่ตามคำร้องขอฝากขังคดีนี้พนักงานสอบสอบสวนมิใช่พนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น หรือผู้รักษาราชการแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคท้าย การสอบสวนจึงไม่ชอบ ตามมาตรา 140 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120 นั้น เห็นว่า ปัญหาตามฎีกาของจำเลยดังกล่าวเป็นการโต้เถียงว่าพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุคนใดจะเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140 เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายกฎีกาของจำเลย
สำหรับความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เวลากลางวัน จำเลยทั้งยี่สิบร่วมกันเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายร่วมกันประชุมในที่ประชุมอั้งยี่และกระทำความผิดตามความมุ่งหมายของอั้งยี่ โดยร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซต์ http://www.biz99.bet/ โดยชักชวนผู้ที่ต้องการเล่นพนันบอลออนไลน์ บาการาออนไลน์ และสล็อตออนไลน์ให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ดังกล่าวด้วยข้อความประกาศที่หน้าเว็บไซต์ที่ว่า "เว็บไซต์ออนไลน์ แทงบอล บาการา สล็อต ฝาก ถอน ออโต 1 วิ มีโปรโมชั่น กิจกรรม เครดิตฟรี มากที่สุด" โดยบาการาออนไลน์ เป็นการพนันที่ระบุในบัญชี ก. หมายเลข 27 สล็อตออนไลน์เป็นการพนันที่ระบุในบัญชี ข. หมายเลข 28 และบอลออนไลน์ เป็นการพนันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 จำเลยทั้งยี่สิบร่วมกันรับเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายและอยู่ด้วยในที่ประชุมขณะกระทำความผิด ไม่ได้คัดค้านในการกระทำความผิดนั้น ตามฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจำเลยทั้งยี่สิบรู้อยู่แล้วว่าคณะบุคคลที่ตนเป็นสมาชิกมีความมุ่งหมายเพื่อร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซต์สำหรับผู้ที่ต้องการเล่นพนันบอลออนไลน์ บาการาออนไลน์ และสล็อตออนไลน์ให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ดังกล่าวโดยจำเลยทั้งยี่สิบต่างร่วมกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และทราบข้อกฎหมายซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปว่า บาการาออนไลน์ สล็อตออนไลน์ และบอลออนไลน์ ล้วนแต่เป็นการพนันที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่มีความมุ่งหมายโดยเจตนาให้ผิดต่อกฎหมายอยู่ในตัวแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายคำฟ้องว่าจำเลยทั้งยี่สิบรู้อยู่ก่อนแล้วโดยเจตนาว่าเป็นการเล่นพนันที่มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งยี่สิบได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งยี่สิบเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แล้ว ส่วนการที่จำเลยทั้งยี่สิบยื่นใบสมัครต่อบุคคลใด ตั้งแต่เมื่อใด มิใช่องค์ประกอบความผิด และเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แต่เมื่อจำเลยทั้งยี่สิบให้การรับสารภาพ ย่อมแสดงว่าจำเลยทั้งยี่สิบเข้าใจข้อหาตามคำฟ้องแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ คำฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่แล้ว สำหรับการปกปิดวิธีการดำเนินการตามคำฟ้องก็เป็นเรื่องวิธีการหรือขั้นตอนในการกระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นอังยี่ส่วนการร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซต์ผู้ที่ต้องการเล่นการพนันออนไลน์ก็เป็นวิธีการหรือขั้นตอนอย่างหนี่งในการกระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ด้วยเหมือนกัน หาได้ขัดแย้งและเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4, 4 ทวิ, 5, 6, 10, 12, 15 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 58, 83, 209, 211, 213 ริบของกลาง จ่ายสินบนนำจับตามกฎหมาย และบวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 10 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้
จำเลยทั้งยี่สิบให้การรับสารภาพ และจำเลยที่ 10 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งยี่สิบมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคแรก, 211 ประกอบมาตรา 213, 83 พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ, 12 (2) การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคแรก ประกอบมาตรา 213 (ที่ถูก ประกอบมาตรา 83 ด้วย) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 1 ปี จำเลยทั้งยี่สิบให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 6 เดือน ให้นำโทษจำคุก 1 เดือน ของจำเลยที่ 10 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1431/2564 ของศาลแขวงพระนครเหนือ มาบวกกับโทษจำคุกของจำเลยที่ 10 ในคดีนี้ เป็นจำคุก 7 เดือน ริบของกลาง เนื่องจากศาลไม่ได้ลงโทษปรับ จึงไม่อาจให้จ่ายสินบนนำจับได้ ยกคำขอในส่วนนี้
จำเลยทั้งยี่สิบอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลยทั้งยี่สิบคนละ 6 เดือน ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยทั้งยี่สิบคนละ 3 เดือน ให้นำโทษจำคุก 1 เดือน ของจำเลยที่ 10 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1431/2564 ของศาลแขวงพระนครเหนือ มาบวกกับโทษจำคุกของจำเลยที่ 10 ในคดีนี้ เป็นจำคุก 4 เดือน ไม่ริบของกลาง ให้คืนของกลางแก่เจ้าของ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งยี่สิบฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งยี่สิบข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ และเป็นฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ เห็นว่า สำหรับความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เวลากลางวัน จำเลยทั้งยี่สิบร่วมกันเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายร่วมกันประชุมในที่ประชุมอั้งยี่และกระทำความผิดตามความมุ่งหมายของอั้งยี่ โดยร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณา หรือชักชวนทางเว็บไซต์ โดยชักชวนผู้ที่ต้องการเล่นพนันบอลออนไลน์ บาการาออนไลน์ และสล็อตออนไลน์ให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ดังกล่าวด้วยข้อความประกาศที่หน้าเว็บไซต์ที่ว่า "เว็บไซต์ออนไลน์ แทงบอล บาการ่า สล็อต ฝาก ถอน ออโต 1 วิ มีโปรโมชั่น กิจกรรม เครดิตฟรี มากที่สุด" โดยบาการาออนไลน์ เป็นการพนันที่ระบุในบัญชี ก. หมายเลข 27 สล็อตออนไลน์ เป็นการพนันที่ระบุในบัญชี ข. หมายเลข 28 และบอลออนไลน์ เป็นการพนันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 จำเลยทั้งยี่สิบร่วมกันรับเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย และอยู่ด้วยในที่ประชุมขณะกระทำความผิดไม่ได้คัดค้านในการกระทำความผิดนั้น ตามฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจำเลยทั้งยี่สิบรู้อยู่แล้วว่าคณะบุคคลที่ตนเป็นสมาชิกมีความมุ่งหมายเพื่อร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซต์สำหรับผู้ที่ต้องการเล่นพนันบอลออนไลน์ บาการาออนไลน์ และสล็อตออนไลน์ให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ดังกล่าวโดยจำเลยทั้งยี่สิบต่างร่วมกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และทราบข้อกฎหมายซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปว่าบาการาออนไลน์ สล็อตออนไลน์ และบอลออนไลน์ ล้วนแต่เป็นการพนันที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่มีความมุ่งหมายโดยเจตนาให้ผิดต่อกฎหมายอยู่ในตัวแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายคำฟ้องว่าจำเลยทั้งยี่สิบรู้อยู่ก่อนแล้วโดยเจตนาว่าเป็นการเล่นพนันที่มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งยี่สิบได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งยี่สิบเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แล้ว ส่วนการที่จำเลยทั้งยี่สิบยื่นใบสมัครต่อบุคคลใด ตั้งแต่เมื่อใดมิใช่องค์ประกอบความผิด และเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แต่เมื่อจำเลยทั้งยี่สิบให้การรับสารภาพ ย่อมแสดงว่าจำเลยทั้งยี่สิบเข้าใจข้อหาตามคำฟ้องแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ คำฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่แล้ว สำหรับการปกปิดวิธีดำเนินการตามคำฟ้องก็เป็นเรื่องวิธีการหรือขั้นตอนในการกระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ ส่วนการร่วมกันจัดให้มีการเล่นช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซด์ผู้ที่ต้องการเล่นการพนันออนไลน์ก็เป็นวิธีการหรือขั้นตอนอย่างหนึ่งในการกระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ด้วยเหมือนกันหาได้ขัดแย้งและเป็นฟ้องเคลือบคลุมดังที่จำเลยทั้งยี่สิบกล่าวอ้างมาในฎีกาแต่อย่างใดไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งยี่สิบข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งยี่สิบข้อสุดท้ายมีว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ และฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณา หรือชักชวนโดยตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่นหรือเข้าพนันโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคแรก, 211 ประกอบมาตรา 213, 83 พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ, 12 (2) การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ประกอบมาตรา 213, 83 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 นั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดเกี่ยวกับบทกฎหมายเฉพาะและบทกฎหมายทั่วไปได้นั้น ต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องประเภทเดียวกันและเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน แต่ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งยี่สิบในคดีนี้ไม่เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องประเภทเดียวกันและไม่เป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบตามคำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยทั้งยี่สิบกล่าวอ้างในฎีกานั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งยี่สิบข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน
สำหรับความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เวลากลางวัน จำเลยทั้งยี่สิบร่วมกันเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายร่วมกันประชุมในที่ประชุมอั้งยี่และกระทำความผิดตามความมุ่งหมายของอั้งยี่ โดยร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซต์ http://www.biz99.bet/ โดยชักชวนผู้ที่ต้องการเล่นพนันบอลออนไลน์ บาการาออนไลน์ และสล็อตออนไลน์ให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ดังกล่าวด้วยข้อความประกาศที่หน้าเว็บไซต์ที่ว่า "เว็บไซต์ออนไลน์ แทงบอล บาการา สล็อต ฝาก ถอน ออโต 1 วิ มีโปรโมชั่น กิจกรรม เครดิตฟรี มากที่สุด" โดยบาการาออนไลน์ เป็นการพนันที่ระบุในบัญชี ก. หมายเลข 27 สล็อตออนไลน์เป็นการพนันที่ระบุในบัญชี ข. หมายเลข 28 และบอลออนไลน์ เป็นการพนันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 จำเลยทั้งยี่สิบร่วมกันรับเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายและอยู่ด้วยในที่ประชุมขณะกระทำความผิด ไม่ได้คัดค้านในการกระทำความผิดนั้น ตามฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจำเลยทั้งยี่สิบรู้อยู่แล้วว่าคณะบุคคลที่ตนเป็นสมาชิกมีความมุ่งหมายเพื่อร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซต์สำหรับผู้ที่ต้องการเล่นพนันบอลออนไลน์ บาการาออนไลน์ และสล็อตออนไลน์ให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ดังกล่าวโดยจำเลยทั้งยี่สิบต่างร่วมกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และทราบข้อกฎหมายซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปว่า บาการาออนไลน์ สล็อตออนไลน์ และบอลออนไลน์ ล้วนแต่เป็นการพนันที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่มีความมุ่งหมายโดยเจตนาให้ผิดต่อกฎหมายอยู่ในตัวแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายคำฟ้องว่าจำเลยทั้งยี่สิบรู้อยู่ก่อนแล้วโดยเจตนาว่าเป็นการเล่นพนันที่มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งยี่สิบได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งยี่สิบเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แล้ว ส่วนการที่จำเลยทั้งยี่สิบยื่นใบสมัครต่อบุคคลใด ตั้งแต่เมื่อใด มิใช่องค์ประกอบความผิด และเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แต่เมื่อจำเลยทั้งยี่สิบให้การรับสารภาพ ย่อมแสดงว่าจำเลยทั้งยี่สิบเข้าใจข้อหาตามคำฟ้องแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ คำฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่แล้ว สำหรับการปกปิดวิธีการดำเนินการตามคำฟ้องก็เป็นเรื่องวิธีการหรือขั้นตอนในการกระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นอังยี่ส่วนการร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซต์ผู้ที่ต้องการเล่นการพนันออนไลน์ก็เป็นวิธีการหรือขั้นตอนอย่างหนี่งในการกระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ด้วยเหมือนกัน หาได้ขัดแย้งและเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4, 4 ทวิ, 5, 6, 10, 12, 15 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33, 58, 83, 209, 211, 213 ริบของกลาง จ่ายสินบนนำจับตามกฎหมาย และบวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 10 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้
จำเลยทั้งยี่สิบให้การรับสารภาพ และจำเลยที่ 10 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งยี่สิบมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคแรก, 211 ประกอบมาตรา 213, 83 พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ, 12 (2) การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคแรก ประกอบมาตรา 213 (ที่ถูก ประกอบมาตรา 83 ด้วย) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 1 ปี จำเลยทั้งยี่สิบให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 6 เดือน ให้นำโทษจำคุก 1 เดือน ของจำเลยที่ 10 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1431/2564 ของศาลแขวงพระนครเหนือ มาบวกกับโทษจำคุกของจำเลยที่ 10 ในคดีนี้ เป็นจำคุก 7 เดือน ริบของกลาง เนื่องจากศาลไม่ได้ลงโทษปรับ จึงไม่อาจให้จ่ายสินบนนำจับได้ ยกคำขอในส่วนนี้
จำเลยทั้งยี่สิบอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลยทั้งยี่สิบคนละ 6 เดือน ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยทั้งยี่สิบคนละ 3 เดือน ให้นำโทษจำคุก 1 เดือน ของจำเลยที่ 10 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1431/2564 ของศาลแขวงพระนครเหนือ มาบวกกับโทษจำคุกของจำเลยที่ 10 ในคดีนี้ เป็นจำคุก 4 เดือน ไม่ริบของกลาง ให้คืนของกลางแก่เจ้าของ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งยี่สิบฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งยี่สิบข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ และเป็นฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ เห็นว่า สำหรับความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เวลากลางวัน จำเลยทั้งยี่สิบร่วมกันเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายร่วมกันประชุมในที่ประชุมอั้งยี่และกระทำความผิดตามความมุ่งหมายของอั้งยี่ โดยร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณา หรือชักชวนทางเว็บไซต์ โดยชักชวนผู้ที่ต้องการเล่นพนันบอลออนไลน์ บาการาออนไลน์ และสล็อตออนไลน์ให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ดังกล่าวด้วยข้อความประกาศที่หน้าเว็บไซต์ที่ว่า "เว็บไซต์ออนไลน์ แทงบอล บาการ่า สล็อต ฝาก ถอน ออโต 1 วิ มีโปรโมชั่น กิจกรรม เครดิตฟรี มากที่สุด" โดยบาการาออนไลน์ เป็นการพนันที่ระบุในบัญชี ก. หมายเลข 27 สล็อตออนไลน์ เป็นการพนันที่ระบุในบัญชี ข. หมายเลข 28 และบอลออนไลน์ เป็นการพนันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 จำเลยทั้งยี่สิบร่วมกันรับเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย และอยู่ด้วยในที่ประชุมขณะกระทำความผิดไม่ได้คัดค้านในการกระทำความผิดนั้น ตามฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจำเลยทั้งยี่สิบรู้อยู่แล้วว่าคณะบุคคลที่ตนเป็นสมาชิกมีความมุ่งหมายเพื่อร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซต์สำหรับผู้ที่ต้องการเล่นพนันบอลออนไลน์ บาการาออนไลน์ และสล็อตออนไลน์ให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ดังกล่าวโดยจำเลยทั้งยี่สิบต่างร่วมกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และทราบข้อกฎหมายซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปว่าบาการาออนไลน์ สล็อตออนไลน์ และบอลออนไลน์ ล้วนแต่เป็นการพนันที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่มีความมุ่งหมายโดยเจตนาให้ผิดต่อกฎหมายอยู่ในตัวแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายคำฟ้องว่าจำเลยทั้งยี่สิบรู้อยู่ก่อนแล้วโดยเจตนาว่าเป็นการเล่นพนันที่มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งยี่สิบได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งยี่สิบเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แล้ว ส่วนการที่จำเลยทั้งยี่สิบยื่นใบสมัครต่อบุคคลใด ตั้งแต่เมื่อใดมิใช่องค์ประกอบความผิด และเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แต่เมื่อจำเลยทั้งยี่สิบให้การรับสารภาพ ย่อมแสดงว่าจำเลยทั้งยี่สิบเข้าใจข้อหาตามคำฟ้องแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ คำฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่แล้ว สำหรับการปกปิดวิธีดำเนินการตามคำฟ้องก็เป็นเรื่องวิธีการหรือขั้นตอนในการกระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ ส่วนการร่วมกันจัดให้มีการเล่นช่วยประกาศโฆษณาหรือชักชวนทางเว็บไซด์ผู้ที่ต้องการเล่นการพนันออนไลน์ก็เป็นวิธีการหรือขั้นตอนอย่างหนึ่งในการกระทำความผิดฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ด้วยเหมือนกันหาได้ขัดแย้งและเป็นฟ้องเคลือบคลุมดังที่จำเลยทั้งยี่สิบกล่าวอ้างมาในฎีกาแต่อย่างใดไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งยี่สิบข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งยี่สิบข้อสุดท้ายมีว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบฐานร่วมกันเป็นอั้งยี่ และฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่น ช่วยประกาศโฆษณา หรือชักชวนโดยตรงหรือทางอ้อมให้ผู้อื่นเข้าเล่นหรือเข้าพนันโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคแรก, 211 ประกอบมาตรา 213, 83 พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ, 12 (2) การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ประกอบมาตรา 213, 83 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 นั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดเกี่ยวกับบทกฎหมายเฉพาะและบทกฎหมายทั่วไปได้นั้น ต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องประเภทเดียวกันและเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน แต่ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งยี่สิบในคดีนี้ไม่เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องประเภทเดียวกันและไม่เป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบตามคำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยทั้งยี่สิบกล่าวอ้างในฎีกานั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งยี่สิบข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน
การที่ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทโจทก์เข้าใจว่าตกลงขายฝากที่ดินพิพาทเป็นเงิน 160,000 บาท ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 มิใช่ 500,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาขายฝากเป็นกรณีโจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาขายฝาก แม้มิใช่การสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาที่ตกลงขายฝากย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมการขายฝากโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ศาลจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการขายฝากที่ดินพิพาท
ส่วนเงินจำนวน 160,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะยึดถือเงินนั้นไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์คืนแก่จำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สำหรับเงินอีกจำนวน 340,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไปเป็นของตนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหาก
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 4797 คืนแก่โจทก์ ในราคา 160,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความให้จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์จึงไม่กำหนด ค่าทนายความให้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งคัดค้านกันในชั้นฎีการับฟังได้เป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 250,000 บาท โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 4797 เป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าว ต่อมาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 500,000 บาท มีกำหนดเวลา 1 ปี โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาจำนองและสัญญาขายฝาก แต่โจทก์ไม่ไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ต่อมาโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 โจทก์ไปแจ้งแก่ร้อยตำรวจเอกพัสกรที่สถานีตำรวจภูธรกันทรวิชัย ว่ามีปัญหาเรื่องการขายฝากที่ดิน ร้อยตำรวจเอกพัสกรเรียกจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มาเจรจากับโจทก์และทำบันทึกข้อตกลงไว้ โดยจำเลยที่ 2 ทำบันทึกยอมรับว่า จำเลยที่ 1 โอนเงินที่รับซื้อฝากให้จำเลยที่ 2 เพื่อมอบให้โจทก์ครบตามจำนวนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 มอบเงินให้โจทก์เพียง 160,000 บาท ส่วนอีก 340,000 บาท จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไป คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงทำสัญญารับใช้หนี้ 340,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ตกลงจะเป็นฝ่ายชำระภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 มีจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นพยาน จากนั้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำบันทึกตกลงว่า ให้จำเลยที่ 2 รับผิดชอบเงินจำนวน 340,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่จำเลยที่ 1 และให้โจทก์รับผิดชอบเงินจำนวน 160,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (ตามบันทึกที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561) โดยชำระให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 เมื่อชำระครบแล้ว ฝ่ายจำเลยที่ 1 จะโอนที่ดินคืนแก่โจทก์
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในราคา 160,000 บาท หรือไม่ เห็นว่า ที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์กู้เงินและทำสัญญาจำนองกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 160,000 บาท แต่ทราบภายหลังว่าสัญญาที่ทำกันขึ้นนั้นเป็นสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ทำนองว่าโจทก์สำคัญผิดในประเภทของนิติกรรมนั้น เป็นข้อนำสืบที่ขัดแย้งกับข้อกล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงให้โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทในราคา 160,000 บาท ความจริงแล้วเป็นการขายฝากที่ดินพิพาทในราคา 500,000 บาท ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การรับฟังได้ในชั้นนี้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท คงมีข้อโต้เถียงกันในชั้นฎีกาว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ให้ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทในราคา 500,000 บาท หรือไม่ โจทก์นำสืบว่านิติกรรมสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันนั้น ไม่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้และการจำนองที่ดินพิพาทโดยนางไพศรีบุตรสาวโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว และได้มีการไถ่ถอนจำนองในวันเดียวกับการทำนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 นำสืบว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทกันในราคา 500,000 บาท ซึ่งมีที่มาจากการนำหนี้ที่โจทก์ค้างชำระตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ดินพิพาทจำนวน 250,000 บาท มารวมกับเงินที่จำเลยที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 นำไปให้ชำระค่าขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อีก 250,000 บาท โจทก์และพันตำรวจโทพชธกรพยานโจทก์เบิกความตรงกันว่า วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 หลังจากทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ได้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรกันทรวิชัยเกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท พันตำรวจโทพชธกรได้เรียกจำเลยทั้งสองมาเจรจาไกล่เกลี่ยกันที่สถานีตำรวจภูธรกันทรวิชัย จำเลยที่ 2 รับว่าได้รับเงินราคาขายฝากจากจำเลยที่ 1 จำนวน 500,000 บาท แต่ได้มอบให้โจทก์ไปเพียง 160,000 บาท ที่เหลืออีก 340,000 บาท จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไป จำเลยที่ 2 รับว่าจะใช้คืนให้แก่จำเลยที่ 1 มีการทำบันทึกข้อตกลงกันไว้โดยจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ในบันทึกเอกสารหมาย จ.5 ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวสอดคล้องกับข้ออ้างของโจทก์ว่าได้รับเงินค่าขายฝากจากจำเลยที่ 2 ไปเพียง 160,000 บาท จำเลย 1 ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานเพียงปากเดียวก็มิได้เป็นผู้ไปดำเนินการทำสัญญาและจดทะเบียนการขายฝากที่ดินพิพาทตลอดจนมอบเงินให้แก่โจทก์ด้วยตนเอง แต่ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จึงมิได้รู้เห็นการเจรจาตกลงกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตลอดจนจำเลยที่ 2 ได้มอบเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์ไปจำนวนเท่าใด คำเบิกความของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนัก ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกเอกสารหมาย จ.5 โดยไม่ปรากฏข้อทักท้วงของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบเงินค่าขายฝากที่ดินพิพาทจำนวน 500,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เพื่อนำไปมอบให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ได้มอบเงินให้แก่โจทก์ไปเพียง 160,000 บาท พยานหลักฐานของโจทก์ดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในการขายฝากที่ดินพิพาทมิได้มีการนำหนี้เงินกู้และการจำนองจำนวน 250,000 บาท มาคิดรวมเป็นราคาขายฝากที่ดินพิพาทด้วย หากแต่จำเลยที่ 1 ได้มอบเงินจำนวน 500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 นำไปมอบให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ได้มอบให้แก่โจทก์เพียง 160,000 บาท ปัญหาว่า ขณะทำสัญญาขายฝาก โจทก์ทราบหรือไม่ว่าสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุราคาขายฝากเป็นเงิน 500,000 บาท เห็นว่า ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์ว่าตกลงขายฝากที่ดินพิพาทกันในราคา 160,000 บาท ตามจำนวนเงินที่โจทก์รับไปจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบียดบังเอาเงินส่วนที่เหลืออีก 340,000 บาท เป็นของตนเอง เพราะหากโจทก์ทราบว่าสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุราคาขายฝากไว้เป็นเงิน 500,000 บาท แต่จำเลยที่ 2 กลับมอบเงินให้แก่โจทก์เพียง 160,000 บาท ซึ่งเป็นเพียงเงินส่วนน้อย น่าเชื่อว่าโจทก์ต้องโต้แย้งและไม่ยินยอมทำสัญญาขายฝากอย่างแน่นอน ทั้งหลังจากโจทก์ทราบว่าสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุราคาขายฝากเป็นเงิน 500,000 บาท โจทก์ก็มิได้นิ่งนอนใจได้ไปแจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินการกับจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทโจทก์เข้าใจว่าตกลงขายฝากที่ดินพิพาทเป็นเงิน 160,000 บาท ตามจำนวนที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 การที่โจทก์เข้าใจว่าสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทตกลงราคาขายฝากเป็นเงิน 160,000 บาท มิใช่ 500,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาขายฝากจึงเป็นกรณีโจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาขายฝาก แม้มิใช่การสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาที่ตกลงขายฝากย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมการขายฝากโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ศาลจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาท ส่วนเงินจำนวน 160,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะยึดถือเงินนั้นไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์คืนแก่จำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สำหรับเงินอีกจำนวน 340,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไปเป็นของตนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 4797 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 4797 คืนแก่โจทก์ และให้โจทก์ชำระเงิน 160,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก
การที่ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทโจทก์เข้าใจว่าตกลงขายฝากที่ดินพิพาทเป็นเงิน 160,000 บาท ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 มิใช่ 500,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาขายฝากเป็นกรณีโจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาขายฝาก แม้มิใช่การสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาที่ตกลงขายฝากย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมการขายฝากโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ศาลจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการขายฝากที่ดินพิพาท
ส่วนเงินจำนวน 160,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะยึดถือเงินนั้นไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์คืนแก่จำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สำหรับเงินอีกจำนวน 340,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไปเป็นของตนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหาก
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 4797 คืนแก่โจทก์ ในราคา 160,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความให้จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์จึงไม่กำหนด ค่าทนายความให้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งคัดค้านกันในชั้นฎีการับฟังได้เป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2557 โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 250,000 บาท โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 4797 เป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าว ต่อมาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 500,000 บาท มีกำหนดเวลา 1 ปี โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาจำนองและสัญญาขายฝาก แต่โจทก์ไม่ไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ต่อมาโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 โจทก์ไปแจ้งแก่ร้อยตำรวจเอกพัสกรที่สถานีตำรวจภูธรกันทรวิชัย ว่ามีปัญหาเรื่องการขายฝากที่ดิน ร้อยตำรวจเอกพัสกรเรียกจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มาเจรจากับโจทก์และทำบันทึกข้อตกลงไว้ โดยจำเลยที่ 2 ทำบันทึกยอมรับว่า จำเลยที่ 1 โอนเงินที่รับซื้อฝากให้จำเลยที่ 2 เพื่อมอบให้โจทก์ครบตามจำนวนแล้ว แต่จำเลยที่ 2 มอบเงินให้โจทก์เพียง 160,000 บาท ส่วนอีก 340,000 บาท จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไป คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงทำสัญญารับใช้หนี้ 340,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ตกลงจะเป็นฝ่ายชำระภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 มีจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นพยาน จากนั้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำบันทึกตกลงว่า ให้จำเลยที่ 2 รับผิดชอบเงินจำนวน 340,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ให้แก่จำเลยที่ 1 และให้โจทก์รับผิดชอบเงินจำนวน 160,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (ตามบันทึกที่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561) โดยชำระให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 เมื่อชำระครบแล้ว ฝ่ายจำเลยที่ 1 จะโอนที่ดินคืนแก่โจทก์
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในราคา 160,000 บาท หรือไม่ เห็นว่า ที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์กู้เงินและทำสัญญาจำนองกับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 160,000 บาท แต่ทราบภายหลังว่าสัญญาที่ทำกันขึ้นนั้นเป็นสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ทำนองว่าโจทก์สำคัญผิดในประเภทของนิติกรรมนั้น เป็นข้อนำสืบที่ขัดแย้งกับข้อกล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงให้โจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทในราคา 160,000 บาท ความจริงแล้วเป็นการขายฝากที่ดินพิพาทในราคา 500,000 บาท ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การรับฟังได้ในชั้นนี้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท คงมีข้อโต้เถียงกันในชั้นฎีกาว่า จำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ให้ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทในราคา 500,000 บาท หรือไม่ โจทก์นำสืบว่านิติกรรมสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันนั้น ไม่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้และการจำนองที่ดินพิพาทโดยนางไพศรีบุตรสาวโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว และได้มีการไถ่ถอนจำนองในวันเดียวกับการทำนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 นำสืบว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทกันในราคา 500,000 บาท ซึ่งมีที่มาจากการนำหนี้ที่โจทก์ค้างชำระตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ดินพิพาทจำนวน 250,000 บาท มารวมกับเงินที่จำเลยที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 นำไปให้ชำระค่าขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อีก 250,000 บาท โจทก์และพันตำรวจโทพชธกรพยานโจทก์เบิกความตรงกันว่า วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 หลังจากทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ได้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรกันทรวิชัยเกี่ยวกับสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท พันตำรวจโทพชธกรได้เรียกจำเลยทั้งสองมาเจรจาไกล่เกลี่ยกันที่สถานีตำรวจภูธรกันทรวิชัย จำเลยที่ 2 รับว่าได้รับเงินราคาขายฝากจากจำเลยที่ 1 จำนวน 500,000 บาท แต่ได้มอบให้โจทก์ไปเพียง 160,000 บาท ที่เหลืออีก 340,000 บาท จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไป จำเลยที่ 2 รับว่าจะใช้คืนให้แก่จำเลยที่ 1 มีการทำบันทึกข้อตกลงกันไว้โดยจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ในบันทึกเอกสารหมาย จ.5 ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวสอดคล้องกับข้ออ้างของโจทก์ว่าได้รับเงินค่าขายฝากจากจำเลยที่ 2 ไปเพียง 160,000 บาท จำเลย 1 ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานเพียงปากเดียวก็มิได้เป็นผู้ไปดำเนินการทำสัญญาและจดทะเบียนการขายฝากที่ดินพิพาทตลอดจนมอบเงินให้แก่โจทก์ด้วยตนเอง แต่ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จึงมิได้รู้เห็นการเจรจาตกลงกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตลอดจนจำเลยที่ 2 ได้มอบเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์ไปจำนวนเท่าใด คำเบิกความของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนัก ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกเอกสารหมาย จ.5 โดยไม่ปรากฏข้อทักท้วงของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบเงินค่าขายฝากที่ดินพิพาทจำนวน 500,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เพื่อนำไปมอบให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ได้มอบเงินให้แก่โจทก์ไปเพียง 160,000 บาท พยานหลักฐานของโจทก์ดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในการขายฝากที่ดินพิพาทมิได้มีการนำหนี้เงินกู้และการจำนองจำนวน 250,000 บาท มาคิดรวมเป็นราคาขายฝากที่ดินพิพาทด้วย หากแต่จำเลยที่ 1 ได้มอบเงินจำนวน 500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 นำไปมอบให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ได้มอบให้แก่โจทก์เพียง 160,000 บาท ปัญหาว่า ขณะทำสัญญาขายฝาก โจทก์ทราบหรือไม่ว่าสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุราคาขายฝากเป็นเงิน 500,000 บาท เห็นว่า ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์ว่าตกลงขายฝากที่ดินพิพาทกันในราคา 160,000 บาท ตามจำนวนเงินที่โจทก์รับไปจากจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบียดบังเอาเงินส่วนที่เหลืออีก 340,000 บาท เป็นของตนเอง เพราะหากโจทก์ทราบว่าสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุราคาขายฝากไว้เป็นเงิน 500,000 บาท แต่จำเลยที่ 2 กลับมอบเงินให้แก่โจทก์เพียง 160,000 บาท ซึ่งเป็นเพียงเงินส่วนน้อย น่าเชื่อว่าโจทก์ต้องโต้แย้งและไม่ยินยอมทำสัญญาขายฝากอย่างแน่นอน ทั้งหลังจากโจทก์ทราบว่าสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุราคาขายฝากเป็นเงิน 500,000 บาท โจทก์ก็มิได้นิ่งนอนใจได้ไปแจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินการกับจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทโจทก์เข้าใจว่าตกลงขายฝากที่ดินพิพาทเป็นเงิน 160,000 บาท ตามจำนวนที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 การที่โจทก์เข้าใจว่าสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทตกลงราคาขายฝากเป็นเงิน 160,000 บาท มิใช่ 500,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาขายฝากจึงเป็นกรณีโจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาขายฝาก แม้มิใช่การสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาที่ตกลงขายฝากย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมการขายฝากโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ศาลจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาท ส่วนเงินจำนวน 160,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะยึดถือเงินนั้นไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์คืนแก่จำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สำหรับเงินอีกจำนวน 340,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไปเป็นของตนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 4797 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 4797 คืนแก่โจทก์ และให้โจทก์ชำระเงิน 160,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก
ป.อ. มาตรา 332 (2) เป็นบทกฎหมายที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ได้เองตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ไม่ว่าโจทก์จะมีคำขอหรือไม่ และคำว่า "หนังสือพิมพ์" ย่อมปริวรรตไปตามยุคสมัย มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นโดยใช้กระดาษ แต่ยังมีความหมายรวมถึงข้อมูลข่าวสารเป็นตัวหนังสือที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านเข้าใจได้ ซึ่งเผยแพร่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ด้วย คดีนี้จำเลยกระทำผิดด้วยการเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวและข้อความเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบและเฟซบุ๊กซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเลยเผยแพร่ได้เป็นจำนวนมาก และอาจมีการเผยแพร่ซ้ำหรือเผยแพร่ต่อไปอีกอย่างกว้างขวาง การเยียวยาความเสียหายแก่โจทก์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย เพื่อทำให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีด้วยการเผยแพร่คำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์อีกช่องทางหนึ่งด้วย จึงเห็นสมควรให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 2 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ที่แพร่หลายอีก 2 เว็บไซต์ด้วย โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 กับขอให้จำเลยนำคำพิพากษาหรือคำขอขมาเผยแพร่และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ในเว็บไซต์เฟซบุ๊กบัญชีของจำเลยและเว็บไซต์ยูทูบ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน กับให้โจทก์สามารถนำคำพิพากษาหรือคำขอขมาของจำเลยเผยแพร่และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ในทุกช่องทาง โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูลเฉพาะข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ให้ประทับฟ้องในข้อหาดังกล่าว ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จำคุก 1 ปี และปรับ 100,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง กรณีมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสี่ คงจำคุก 9 เดือน และปรับ 75,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 1 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกันโดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์มีชื่อเล่นว่าโบว์ ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์พิเศษ วิทยากรอบรมด้านบุคลิกภาพ และเป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม ที่เผยแพร่ข้อมูลด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำเลยทำงานด้านสื่อสารมวลชน เคยเป็นผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ขณะเกิดเหตุเป็นนักวิชาการอิสระและจัดรายการเกี่ยวกับข่าวการเมืองอยู่สำนักข่าว ว. เผยแพร่ภาพรายการทางระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านเว็บไซต์ยูทูบชื่อ "V." ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กชื่อ "ท." หรือ "V." ในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยจัดรายการเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวและข้อความเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บไซต์ยูทูบและเฟซบุ๊กตามแผ่นวีดิทัศน์ มีข้อความตามคำฟ้องและตามคำถอดเทป สำหรับความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คู่ความไม่อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่า การใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าผู้ถูกใส่ความเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง ก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ และต้องพิจารณาถ้อยคำที่ผู้ใส่ความกล่าวถึงทั้งหมดรวมกัน โดยจะพิจารณาเพียงถ้อยคำเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ เมื่อพิจารณาข้อความที่จำเลยกล่าวในรายการของจำเลยตามคำถอดเทปแล้ว แม้จำเลยไม่ได้กล่าวระบุโดยตรงว่า โจทก์เป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหวที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากองค์กรต่างชาติเพื่อดำเนินการแบ่งแยกประเทศ แต่ในการจัดรายการครั้งดังกล่าว ช่วงต้นรายการจำเลยเปิดคลิประหว่างโจทก์กับนายวัฒนา โดยเรียกโจทก์ว่า นักประชาธิปไตยสาวอย่างน้องโบว์ ซึ่งจำเลยก็เบิกความรับว่า จำเลยกล่าวถึงโจทก์ในเรื่องคลิปช่วงต้นของรายการจริง จากนั้นจำเลยกล่าวข้อความเน้นย้ำทำนองว่า พฤติกรรมของโจทก์กับนายวัฒนาตามคลิปเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ประเด็นที่จำเลยให้ความสนใจโดยจำเลยกล่าวถึงประเด็นที่จำเลยสนใจเป็นใจความว่า มีคนกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่าเป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหว มีความเกี่ยวข้องกับนักโกงเมือง และได้รับการสนับสนุนเงินจากคนในต่างประเทศและจากมูลนิธิของพ่อมดทางการเงินเพื่อแบ่งแยกประเทศ การกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ตั้งแต่ช่วงต้นรายการเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์คือบุคคลที่จำเลยต้องการจะกล่าวถึงในช่วงต่อไป โดยเฉพาะในการดำเนินรายการนั้น จำเลยจัดรายการต่อเนื่องไปตลอด โดยมิได้แบ่งการดำเนินรายการเป็นช่วง ๆ เพื่อแบ่งแยกให้เห็นว่า เรื่องคลิประหว่างโจทก์กับนายวัฒนาและถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อมาในภายหลังถึงคนกลุ่มหนึ่งที่อ้างเป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหว และไปรับการสนับสนุนเงินจากคนต่างประเทศหรือองค์กรในต่างประเทศเพื่อมาดำเนินการให้มีการแบ่งแยกประเทศนั้นเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวกับเรื่องคลิประคนปนกันไปจนเป็นเรื่องเดียวกันในลักษณะเช่นนี้ย่อมทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า นักประชาธิปไตยที่จำเลยกล่าวถึงนั้นหมายถึงโจทก์ เพราะไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะต้องนำคลิประหว่างโจทก์กับนายวัฒนามาเปิดในช่วงต้นของรายการก่อนกล่าวถึงเรื่องการรับเงินสนับสนุนเพื่อแบ่งแยกประเทศ หากไม่ต้องการที่จะสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจว่า บุคคลในคลิปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการรับเงินสนับสนุนเพื่อแบ่งแยกประเทศ แม้จำเลยพยายามกล่าวในรายการหลายครั้งว่า จำเลยมิได้ระบุถึงบุคคลใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้ที่ได้รับฟังถ้อยคำของจำเลยเข้าใจว่าเป็นคนอื่นไปได้ นอกจากเข้าใจว่าจำเลยหมายถึงโจทก์นั่นเอง บุคคลที่จำเลยพูดถึงในรายการจึงหมายถึงโจทก์ทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาถ้อยคำที่จำเลยกล่าวถึงโจทก์ว่า "...กลุ่มคนกลุ่มคนหนึ่งแล้วกัน... ที่อ้างประชาธิปไตย เป็นนักประชาธิปไตยเป็นนักเคลื่อนไหว... แต่ปรากฏว่าสุดท้ายก็เกี่ยวข้องกับใครละ เกี่ยวข้องกับนักโกงเมือง... สะท้อนให้เห็นว่าใครอยู่เบื้องหลัง...ขบวนการเหล่านี้...เรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ... แต่ประเด็นองค์กรเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนนอกจากจะคนจากต่างประเทศแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนเงินจากมูลนิธิของพ่อมดทางการเงิน ซึ่งมีเครือข่ายในเอเชียหลายจังหวัด ทั้งพม่า บังกลาเทศ เขมร ลาว และก็ในประเทศที่เป็นฝั่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข องค์กรต่างชาตินี้มาสนับสนุนเงินคนภายในประเทศหลาย ๆ ประเทศ ผ่านมูลนิธิของฝรั่ง หรือพ่อมดทางการเงินฉายาเค้า เพื่ออะไร ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงนี้ เพื่อที่จะแบ่งแยกประเทศนั้น ๆ ..." ยิ่งชี้ชัดว่า จำเลยมุ่งประสงค์ให้ วิญญูชนที่ฟังถ้อยคำของจำเลยแล้วเข้าใจว่า โจทก์เป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหวที่รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศเพื่อดำเนินการให้มีการแบ่งแยกประเทศ อันเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามว่า โจทก์เป็นคนไม่ดี ไม่รักแผ่นดินเกิด อ้างตัวเป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหวเพื่อรับเงินสนับสนุนจากองค์กรต่างชาติมาดำเนินการแบ่งแยกประเทศและล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นการกระทำความผิดทางอาญาทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เมื่อรายการของจำเลยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กและยูทูบ อันเป็นการกระจายภาพและเสียงไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณา แต่ขณะเดียวกันจำเลยกลับพูดจาออกตัวย้ำหลายครั้งว่า จำเลยไม่ได้พูดถึงใครย่อมเป็นเรื่องยากที่จะให้โจทก์ออกมากล่าวแก้ต่อสาธารณชนเพราะโจทก์อาจถูกมองว่าเป็นผู้บ่อนทำลายชาติตามที่จำเลยกล่าว จำเลยมุ่งหวังให้โจทก์เสียหายแต่ฝ่ายเดียว จึงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
ส่วนปัญหาที่ว่าสมควรลงโทษจำเลยสถานใดนั้น เห็นว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กและยูทูบ ทำให้ข้อความหมิ่นประมาทแพร่หลายสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เป็นที่เสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่ง พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าร้ายแรง อย่างไรก็ดี ยังมีถ้อยคำของจำเลยบางส่วนที่แสดงออกถึงความห่วงใยปัญหาบ้านเมืองแสดงให้เห็นเจตนาที่ดีของจำเลยอยู่บ้าง จำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน ความประพฤติไม่มีข้อเสื่อมเสีย ทั้งยังมีการศึกษาสูงและมีประสบการณ์ในการทำงานหลายด้าน สมควรที่จำเลยจะใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งกว่าการถูกจำคุกในระยะสั้น ที่ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงตั้งกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่ความผิด และแม้โจทก์จะไม่อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 1 ฉบับ เป็นเวลา 3 วัน ติดต่อกัน โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 (2) ก็ตาม แต่ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 332 บัญญัติว่า "ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง... (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา" บทบัญญัติมาตรานี้จึงเป็นบทกฎหมายที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ได้เองตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ไม่ว่าโจทก์จะมีคำขอหรือไม่ และคำว่า "หนังสือพิมพ์" ย่อมปริวรรตไปตามยุคสมัย มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นโดยใช้กระดาษ แต่ยังมีความหมายรวมถึงข้อมูลข่าวสารเป็นตัวหนังสือที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านเข้าใจได้ซึ่งเผยแพร่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ด้วย คดีนี้จำเลยกระทำผิดด้วยการเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวและข้อความเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบและเฟซบุ๊กซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเลยเผยแพร่ได้เป็นจำนวนมาก และอาจมีการเผยแพร่ซ้ำหรือเผยแพร่ต่อไปอีกอย่างกว้างขวาง การเยียวยาความเสียหายแก่โจทก์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย เพื่อทำให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีด้วยการเผยแพร่คำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์อีกช่องทางหนึ่งด้วย จึงเห็นสมควรให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 2 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ที่แพร่หลายอีก 2 เว็บไซต์ด้วย โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา
พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับ 150,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ตามมาตรา 78 ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 1 ปี และปรับ 112,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30 กับให้โฆษณาคำพิพากษาโดยย่อในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 2 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ที่แพร่หลายอีก 2 เว็บไซต์ด้วย โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา ตามมาตรา 332 (2) คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
ป.อ. มาตรา 332 (2) เป็นบทกฎหมายที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ได้เองตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ไม่ว่าโจทก์จะมีคำขอหรือไม่ และคำว่า "หนังสือพิมพ์" ย่อมปริวรรตไปตามยุคสมัย มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นโดยใช้กระดาษ แต่ยังมีความหมายรวมถึงข้อมูลข่าวสารเป็นตัวหนังสือที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านเข้าใจได้ ซึ่งเผยแพร่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ด้วย คดีนี้จำเลยกระทำผิดด้วยการเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวและข้อความเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบและเฟซบุ๊กซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเลยเผยแพร่ได้เป็นจำนวนมาก และอาจมีการเผยแพร่ซ้ำหรือเผยแพร่ต่อไปอีกอย่างกว้างขวาง การเยียวยาความเสียหายแก่โจทก์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย เพื่อทำให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีด้วยการเผยแพร่คำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์อีกช่องทางหนึ่งด้วย จึงเห็นสมควรให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 2 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ที่แพร่หลายอีก 2 เว็บไซต์ด้วย โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 กับขอให้จำเลยนำคำพิพากษาหรือคำขอขมาเผยแพร่และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ในเว็บไซต์เฟซบุ๊กบัญชีของจำเลยและเว็บไซต์ยูทูบ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน กับให้โจทก์สามารถนำคำพิพากษาหรือคำขอขมาของจำเลยเผยแพร่และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ในทุกช่องทาง โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูลเฉพาะข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ให้ประทับฟ้องในข้อหาดังกล่าว ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จำคุก 1 ปี และปรับ 100,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง กรณีมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่งในสี่ คงจำคุก 9 เดือน และปรับ 75,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 1 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกันโดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์มีชื่อเล่นว่าโบว์ ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์พิเศษ วิทยากรอบรมด้านบุคลิกภาพ และเป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม ที่เผยแพร่ข้อมูลด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำเลยทำงานด้านสื่อสารมวลชน เคยเป็นผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ขณะเกิดเหตุเป็นนักวิชาการอิสระและจัดรายการเกี่ยวกับข่าวการเมืองอยู่สำนักข่าว ว. เผยแพร่ภาพรายการทางระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านเว็บไซต์ยูทูบชื่อ "V." ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กชื่อ "ท." หรือ "V." ในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยจัดรายการเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวและข้อความเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บไซต์ยูทูบและเฟซบุ๊กตามแผ่นวีดิทัศน์ มีข้อความตามคำฟ้องและตามคำถอดเทป สำหรับความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คู่ความไม่อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามอันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่า การใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าผู้ถูกใส่ความเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง ก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ และต้องพิจารณาถ้อยคำที่ผู้ใส่ความกล่าวถึงทั้งหมดรวมกัน โดยจะพิจารณาเพียงถ้อยคำเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ เมื่อพิจารณาข้อความที่จำเลยกล่าวในรายการของจำเลยตามคำถอดเทปแล้ว แม้จำเลยไม่ได้กล่าวระบุโดยตรงว่า โจทก์เป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหวที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากองค์กรต่างชาติเพื่อดำเนินการแบ่งแยกประเทศ แต่ในการจัดรายการครั้งดังกล่าว ช่วงต้นรายการจำเลยเปิดคลิประหว่างโจทก์กับนายวัฒนา โดยเรียกโจทก์ว่า นักประชาธิปไตยสาวอย่างน้องโบว์ ซึ่งจำเลยก็เบิกความรับว่า จำเลยกล่าวถึงโจทก์ในเรื่องคลิปช่วงต้นของรายการจริง จากนั้นจำเลยกล่าวข้อความเน้นย้ำทำนองว่า พฤติกรรมของโจทก์กับนายวัฒนาตามคลิปเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ประเด็นที่จำเลยให้ความสนใจโดยจำเลยกล่าวถึงประเด็นที่จำเลยสนใจเป็นใจความว่า มีคนกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่าเป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหว มีความเกี่ยวข้องกับนักโกงเมือง และได้รับการสนับสนุนเงินจากคนในต่างประเทศและจากมูลนิธิของพ่อมดทางการเงินเพื่อแบ่งแยกประเทศ การกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ตั้งแต่ช่วงต้นรายการเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์คือบุคคลที่จำเลยต้องการจะกล่าวถึงในช่วงต่อไป โดยเฉพาะในการดำเนินรายการนั้น จำเลยจัดรายการต่อเนื่องไปตลอด โดยมิได้แบ่งการดำเนินรายการเป็นช่วง ๆ เพื่อแบ่งแยกให้เห็นว่า เรื่องคลิประหว่างโจทก์กับนายวัฒนาและถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อมาในภายหลังถึงคนกลุ่มหนึ่งที่อ้างเป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหว และไปรับการสนับสนุนเงินจากคนต่างประเทศหรือองค์กรในต่างประเทศเพื่อมาดำเนินการให้มีการแบ่งแยกประเทศนั้นเป็นคนละเรื่องกัน จำเลยกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวกับเรื่องคลิประคนปนกันไปจนเป็นเรื่องเดียวกันในลักษณะเช่นนี้ย่อมทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า นักประชาธิปไตยที่จำเลยกล่าวถึงนั้นหมายถึงโจทก์ เพราะไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยจะต้องนำคลิประหว่างโจทก์กับนายวัฒนามาเปิดในช่วงต้นของรายการก่อนกล่าวถึงเรื่องการรับเงินสนับสนุนเพื่อแบ่งแยกประเทศ หากไม่ต้องการที่จะสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจว่า บุคคลในคลิปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการรับเงินสนับสนุนเพื่อแบ่งแยกประเทศ แม้จำเลยพยายามกล่าวในรายการหลายครั้งว่า จำเลยมิได้ระบุถึงบุคคลใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้ที่ได้รับฟังถ้อยคำของจำเลยเข้าใจว่าเป็นคนอื่นไปได้ นอกจากเข้าใจว่าจำเลยหมายถึงโจทก์นั่นเอง บุคคลที่จำเลยพูดถึงในรายการจึงหมายถึงโจทก์ทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาถ้อยคำที่จำเลยกล่าวถึงโจทก์ว่า "...กลุ่มคนกลุ่มคนหนึ่งแล้วกัน... ที่อ้างประชาธิปไตย เป็นนักประชาธิปไตยเป็นนักเคลื่อนไหว... แต่ปรากฏว่าสุดท้ายก็เกี่ยวข้องกับใครละ เกี่ยวข้องกับนักโกงเมือง... สะท้อนให้เห็นว่าใครอยู่เบื้องหลัง...ขบวนการเหล่านี้...เรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ... แต่ประเด็นองค์กรเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนนอกจากจะคนจากต่างประเทศแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนเงินจากมูลนิธิของพ่อมดทางการเงิน ซึ่งมีเครือข่ายในเอเชียหลายจังหวัด ทั้งพม่า บังกลาเทศ เขมร ลาว และก็ในประเทศที่เป็นฝั่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข องค์กรต่างชาตินี้มาสนับสนุนเงินคนภายในประเทศหลาย ๆ ประเทศ ผ่านมูลนิธิของฝรั่ง หรือพ่อมดทางการเงินฉายาเค้า เพื่ออะไร ประเด็นสำคัญมันอยู่ตรงนี้ เพื่อที่จะแบ่งแยกประเทศนั้น ๆ ..." ยิ่งชี้ชัดว่า จำเลยมุ่งประสงค์ให้ วิญญูชนที่ฟังถ้อยคำของจำเลยแล้วเข้าใจว่า โจทก์เป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหวที่รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศเพื่อดำเนินการให้มีการแบ่งแยกประเทศ อันเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามว่า โจทก์เป็นคนไม่ดี ไม่รักแผ่นดินเกิด อ้างตัวเป็นนักประชาธิปไตยหรือนักเคลื่อนไหวเพื่อรับเงินสนับสนุนจากองค์กรต่างชาติมาดำเนินการแบ่งแยกประเทศและล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นการกระทำความผิดทางอาญาทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เมื่อรายการของจำเลยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กและยูทูบ อันเป็นการกระจายภาพและเสียงไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณา แต่ขณะเดียวกันจำเลยกลับพูดจาออกตัวย้ำหลายครั้งว่า จำเลยไม่ได้พูดถึงใครย่อมเป็นเรื่องยากที่จะให้โจทก์ออกมากล่าวแก้ต่อสาธารณชนเพราะโจทก์อาจถูกมองว่าเป็นผู้บ่อนทำลายชาติตามที่จำเลยกล่าว จำเลยมุ่งหวังให้โจทก์เสียหายแต่ฝ่ายเดียว จึงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
ส่วนปัญหาที่ว่าสมควรลงโทษจำเลยสถานใดนั้น เห็นว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กและยูทูบ ทำให้ข้อความหมิ่นประมาทแพร่หลายสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เป็นที่เสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่ง พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าร้ายแรง อย่างไรก็ดี ยังมีถ้อยคำของจำเลยบางส่วนที่แสดงออกถึงความห่วงใยปัญหาบ้านเมืองแสดงให้เห็นเจตนาที่ดีของจำเลยอยู่บ้าง จำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน ความประพฤติไม่มีข้อเสื่อมเสีย ทั้งยังมีการศึกษาสูงและมีประสบการณ์ในการทำงานหลายด้าน สมควรที่จำเลยจะใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งกว่าการถูกจำคุกในระยะสั้น ที่ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงตั้งกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่ความผิด และแม้โจทก์จะไม่อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 1 ฉบับ เป็นเวลา 3 วัน ติดต่อกัน โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 (2) ก็ตาม แต่ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 332 บัญญัติว่า "ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง... (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา" บทบัญญัติมาตรานี้จึงเป็นบทกฎหมายที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ได้เองตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ไม่ว่าโจทก์จะมีคำขอหรือไม่ และคำว่า "หนังสือพิมพ์" ย่อมปริวรรตไปตามยุคสมัย มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นโดยใช้กระดาษ แต่ยังมีความหมายรวมถึงข้อมูลข่าวสารเป็นตัวหนังสือที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านเข้าใจได้ซึ่งเผยแพร่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ด้วย คดีนี้จำเลยกระทำผิดด้วยการเผยแพร่ภาพเคลื่อนไหวและข้อความเสียงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบและเฟซบุ๊กซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเลยเผยแพร่ได้เป็นจำนวนมาก และอาจมีการเผยแพร่ซ้ำหรือเผยแพร่ต่อไปอีกอย่างกว้างขวาง การเยียวยาความเสียหายแก่โจทก์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย เพื่อทำให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีด้วยการเผยแพร่คำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์อีกช่องทางหนึ่งด้วย จึงเห็นสมควรให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 2 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ที่แพร่หลายอีก 2 เว็บไซต์ด้วย โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา
พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับ 150,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ตามมาตรา 78 ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 1 ปี และปรับ 112,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30 กับให้โฆษณาคำพิพากษาโดยย่อในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลาย 2 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน กับให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อผ่านทางเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ที่แพร่หลายอีก 2 เว็บไซต์ด้วย โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา ตามมาตรา 332 (2) คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนผู้อื่นให้เข้าเล่นการพนันบาการา สล๊อทแมชีน สลากกินรวบ และทายผลฟุตบอลออนไลน์ บนเว็บไซต์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์และเฟซบุ๊ก พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมกันมาในข้อเดียวกัน ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฎชัดเจนว่าจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้เล่นการพนันแต่ละประเภทแยกต่างหากออกจากกันเป็นแต่ละกรรมต่างกัน ทั้งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้อ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกฐานร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันหลายประเภทตามที่กล่าวในฟ้องเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และต้องถือตามคำฟ้องของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสิบหกมีเจตนาเดียวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4, 4 ทวิ, 5, 6, 10, 12, 15 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83 ริบของกลาง และให้จำเลยทั้งสิบหกจ่ายสินบนนำจับตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสิบหกให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสิบหกมีความผิดตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 4 ทวิ และ 12 (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำคุกคนละ 2 เดือน และปรับคนละ 2,000 บาท จำเลยทั้งสิบหกให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกคนละ 1 เดือน และปรับคนละ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ริบของกลาง ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 29/1, 30 และให้จำเลยทั้งสิบหกจ่ายสินบนนำจับตามกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์ โดยอธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลสูงภาค 9 ซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบด้วย และเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ไม่ลงโทษปรับ ไม่รอการลงโทษและไม่จ่ายสินบนนำจับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสิบหกฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยในประการแรกเสียก่อนว่า การกระทำของจำเลยทั้งสิบหกเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องสรุปความได้ว่า วันเกิดเหตุจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันบาการา สล๊อทแมชีน สลากกินรวบ และทายผลฟุตบอลออนไลน์บนเว็บไซต์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์และเฟซบุ๊ก พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมกันมาในข้อเดียวกัน ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้เล่นการพนันแต่ละประเภทแยกต่างหากออกจากกันเป็นแต่ละกรรมต่างกัน ทั้งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาด้วย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยไม่ จึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสิบหกฐานร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันสลากกินรวบ ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 12 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้ลงโทษด้วย กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 อย่างไรก็ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 4 ทวิ และ 12 (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสิบหกคนละ 2 เดือน และปรับคนละ 2,000 บาท ก่อนลดโทษให้นั้นเป็นการลงโทษบทเบากว่าความผิดฐานร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันสลากกินรวบ ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 12 (1) ซึ่งเป็นบทหนักและมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจนถึง 3 ปี และปรับตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไปจนถึง 5,000 บาท แต่เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสิบหกให้เป็นไปตามโทษที่กำหนดในความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสิบหก อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
ส่วนที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 และที่ 12 ฎีกาในทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 8 ที่ 9 และที่ 12 สมัครเข้าทำงานโดยเข้าใจว่าทำหน้าที่แอดมินเพจและคอยตอบคำถามให้แก่ลูกค้าทางออนไลน์เท่านั้น มีลักษณะเป็นการฎีกาโต้แย้งทำนองว่า จำเลยที่ 8 ที่ 9 และที่ 12 ไม่ได้ประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันตามฟ้อง อันเป็นการขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 8 ที่ 9 และที่ 12 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามฎีกาของจำเลยทั้งสิบหกว่า กรณีมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสิบหกหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยทั้งสิบหกกับพวกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเล่นการพนันบาการา สล๊อทแมชีน สลากกินรวบ และทายผลฟุตบอล ออนไลน์บนเว็บไซต์ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์และเฟซบุ๊ก พนันเอาทรัพย์สินกัน โดยจำเลยทั้งสิบหกกับพวกเป็นฝ่ายเจ้ามือรับกินรับใช้ทำหน้าที่ให้บริการคอยตอบคำถามให้แก่ลูกค้า (admin) และชักชวนให้ลูกค้าเข้าเล่นการพนันดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญทำให้การพนันแพร่กระจายไปสู่สังคมได้รวดเร็วยากแก่การตรวจสอบและควบคุม ก่อให้ประชาชนลุ่มหลงในอบายมุข โดยเฉพาะในหมู่เยาวชน อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้ส่วนตน ไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะติดตามมาจากการเล่นการพนันอีกหลายประการ นอกจากนั้นจำเลยทั้งสิบหกกับพวกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันออนไลน์บนเว็บไซต์เป็นจำนวนมากถึง 8 เว็บไซต์ โดยเมื่อลูกค้าสนใจเข้าร่วมเล่นการพนันสามารถสมัครเล่นผ่านลิงก์ในข้อความประกาศโฆษณาชักชวนบนแอปพลิเคชันดังกล่าว ลูกค้าจะต้องโอนเงินพนันให้แก่ฝ่ายบัญชี แล้วจำเลยทั้งสิบหกกับพวกจะส่งรหัสสมาชิก (Username Password) และหลักฐานการโอนเงินแก่ลูกค้า จากนั้นลูกค้าจึงจะสามารถเข้าไปเล่นการพนันออนไลน์ต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ดังกล่าวได้ อันมีลักษณะกระทำการเป็นขั้นเป็นตอน ประกอบกับขณะเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสิบหกกับพวกพร้อมยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ 15 เครื่อง เครื่องเร้าเตอร์กระจายสัญญาณไวไฟ 4 เครื่อง และโทรศัพท์เคลื่อนที่ 6 เครื่อง รวม 25 รายการ แสดงว่าจำเลยทั้งสิบหกกับพวกร่วมกันกระทำเป็นขบวนการเครือข่ายเล่นการพนันออนไลน์รายใหญ่ กระทำเป็นอาชีพ ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคมและระบบเศรษฐกิจโดยรวม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสิบหกเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมีเหตุผลความจำเป็นดังที่กล่าวอ้างมาในฎีกาก็ตาม แต่ก็ยังมิใช่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสิบหก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสิบหกมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสิบหกฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสิบหกมีความผิดตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 4 ทวิ และ 12 (1) (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสิบหกเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันสลากกินรวบ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ส่วนโทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนผู้อื่นให้เข้าเล่นการพนันบาการา สล๊อทแมชีน สลากกินรวบ และทายผลฟุตบอลออนไลน์ บนเว็บไซต์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์และเฟซบุ๊ก พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมกันมาในข้อเดียวกัน ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฎชัดเจนว่าจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้เล่นการพนันแต่ละประเภทแยกต่างหากออกจากกันเป็นแต่ละกรรมต่างกัน ทั้งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้อ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกฐานร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันหลายประเภทตามที่กล่าวในฟ้องเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และต้องถือตามคำฟ้องของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสิบหกมีเจตนาเดียวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4, 4 ทวิ, 5, 6, 10, 12, 15 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83 ริบของกลาง และให้จำเลยทั้งสิบหกจ่ายสินบนนำจับตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสิบหกให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสิบหกมีความผิดตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 4 ทวิ และ 12 (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำคุกคนละ 2 เดือน และปรับคนละ 2,000 บาท จำเลยทั้งสิบหกให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกคนละ 1 เดือน และปรับคนละ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ริบของกลาง ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 29/1, 30 และให้จำเลยทั้งสิบหกจ่ายสินบนนำจับตามกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์ โดยอธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลสูงภาค 9 ซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบด้วย และเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ไม่ลงโทษปรับ ไม่รอการลงโทษและไม่จ่ายสินบนนำจับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสิบหกฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยในประการแรกเสียก่อนว่า การกระทำของจำเลยทั้งสิบหกเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องสรุปความได้ว่า วันเกิดเหตุจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันบาการา สล๊อทแมชีน สลากกินรวบ และทายผลฟุตบอลออนไลน์บนเว็บไซต์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์และเฟซบุ๊ก พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมกันมาในข้อเดียวกัน ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้เล่นการพนันแต่ละประเภทแยกต่างหากออกจากกันเป็นแต่ละกรรมต่างกัน ทั้งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาด้วย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยไม่ จึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสิบหกฐานร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันสลากกินรวบ ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 12 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษฐานร่วมกันจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้ลงโทษด้วย กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 อย่างไรก็ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 4 ทวิ และ 12 (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสิบหกคนละ 2 เดือน และปรับคนละ 2,000 บาท ก่อนลดโทษให้นั้นเป็นการลงโทษบทเบากว่าความผิดฐานร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันสลากกินรวบ ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 12 (1) ซึ่งเป็นบทหนักและมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจนถึง 3 ปี และปรับตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไปจนถึง 5,000 บาท แต่เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสิบหกให้เป็นไปตามโทษที่กำหนดในความผิดฐานดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสิบหก อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
ส่วนที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 และที่ 12 ฎีกาในทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 8 ที่ 9 และที่ 12 สมัครเข้าทำงานโดยเข้าใจว่าทำหน้าที่แอดมินเพจและคอยตอบคำถามให้แก่ลูกค้าทางออนไลน์เท่านั้น มีลักษณะเป็นการฎีกาโต้แย้งทำนองว่า จำเลยที่ 8 ที่ 9 และที่ 12 ไม่ได้ประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันตามฟ้อง อันเป็นการขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 8 ที่ 9 และที่ 12 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงตามฎีกาของจำเลยทั้งสิบหกว่า กรณีมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสิบหกหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยทั้งสิบหกกับพวกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเล่นการพนันบาการา สล๊อทแมชีน สลากกินรวบ และทายผลฟุตบอล ออนไลน์บนเว็บไซต์ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์และเฟซบุ๊ก พนันเอาทรัพย์สินกัน โดยจำเลยทั้งสิบหกกับพวกเป็นฝ่ายเจ้ามือรับกินรับใช้ทำหน้าที่ให้บริการคอยตอบคำถามให้แก่ลูกค้า (admin) และชักชวนให้ลูกค้าเข้าเล่นการพนันดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญทำให้การพนันแพร่กระจายไปสู่สังคมได้รวดเร็วยากแก่การตรวจสอบและควบคุม ก่อให้ประชาชนลุ่มหลงในอบายมุข โดยเฉพาะในหมู่เยาวชน อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้ส่วนตน ไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะติดตามมาจากการเล่นการพนันอีกหลายประการ นอกจากนั้นจำเลยทั้งสิบหกกับพวกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันออนไลน์บนเว็บไซต์เป็นจำนวนมากถึง 8 เว็บไซต์ โดยเมื่อลูกค้าสนใจเข้าร่วมเล่นการพนันสามารถสมัครเล่นผ่านลิงก์ในข้อความประกาศโฆษณาชักชวนบนแอปพลิเคชันดังกล่าว ลูกค้าจะต้องโอนเงินพนันให้แก่ฝ่ายบัญชี แล้วจำเลยทั้งสิบหกกับพวกจะส่งรหัสสมาชิก (Username Password) และหลักฐานการโอนเงินแก่ลูกค้า จากนั้นลูกค้าจึงจะสามารถเข้าไปเล่นการพนันออนไลน์ต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ดังกล่าวได้ อันมีลักษณะกระทำการเป็นขั้นเป็นตอน ประกอบกับขณะเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสิบหกกับพวกพร้อมยึดเครื่องคอมพิวเตอร์ 15 เครื่อง เครื่องเร้าเตอร์กระจายสัญญาณไวไฟ 4 เครื่อง และโทรศัพท์เคลื่อนที่ 6 เครื่อง รวม 25 รายการ แสดงว่าจำเลยทั้งสิบหกกับพวกร่วมกันกระทำเป็นขบวนการเครือข่ายเล่นการพนันออนไลน์รายใหญ่ กระทำเป็นอาชีพ ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคมและระบบเศรษฐกิจโดยรวม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสิบหกเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมีเหตุผลความจำเป็นดังที่กล่าวอ้างมาในฎีกาก็ตาม แต่ก็ยังมิใช่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสิบหก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสิบหกมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสิบหกฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสิบหกมีความผิดตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 วรรคหนึ่งและวรรคสอง, 4 ทวิ และ 12 (1) (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสิบหกเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันสลากกินรวบ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ส่วนโทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9
การจดทะเบียนกรรมการของสมาคมตาม ป.พ.พ. มาตรา 85 นั้น การตรวจสอบฐานะและความประพฤติของกรรมการก่อนจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญในการควบคุมสมาคมเพื่อให้ทราบบุคคลผู้บริหารกิจการสมาคมได้จากหลักฐานทางทะเบียน ผู้คัดค้านจึงมีคณะกรรมการตามจำนวนที่จดทะเบียนไว้ เมื่อกรรมการของผู้คัดค้านเข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม การประชุมและลงมติให้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีจึงเป็นไปตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน
ในการเรียกประชุมใหญ่ผู้คัดค้านส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังสมาชิกที่มีชื่อในทะเบียนของผู้คัดค้านก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันชอบด้วยข้อบังคับของผู้คัดค้านและ ป.พ.พ. มาตรา 95 วรรคหนึ่งแล้ว แม้มีสมาชิกของผู้คัดค้านได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันนัดน้อยกว่าเจ็ดวัน หรือสมาชิกบางคนไม่ได้รับหนังสือนัดประชุมหากมีจำนวนน้อยมิได้ถึงขนาดที่มีนัยสำคัญต่อผลการลงมติสำคัญใด ๆ ก็ไม่ทำให้การส่งหนังสือนัดประชุมดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของผู้คัดค้านหรือกฎหมาย ในวันประชุมมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุมครบเป็นองค์ประชุมและมีการลงมติโดยชอบแล้ว ย่อมไม่มีเหตุเพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ดังกล่าว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ของผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า ผู้คัดค้านเป็นนิติบุคคลประเภทสมาคม ขณะเกิดข้อพิพาทมีนางชนิดา เป็นนายกสมาคม นายเกียรติศักดิ์ เป็นอุปนายกและเหรัญญิก นางเสาวคนธ์ และนางชนิศา เป็นอุปนายก นางสาวดวงพร นางสาวศันสนีย์ และนางสาวลัดดา เป็นกรรมการ นายวิรัช เป็นกรรมการและฝ่ายปฏิคม นายสรสิทธิ์ เป็นกรรมการและนายทะเบียน นายสมบูรณ์ เป็นกรรมการและเลขาธิการ และนายณัฐพงศ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ รวม 11 คน และจะครบวาระในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้คัดค้านมีสมาชิกแบบตลอดชีพ 158 คน และแบบรายปี 38 คน รวม 196 คน และมีข้อบังคับที่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนแล้ว เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562 มีการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 7 คน ได้แก่ นางชนิดา นายเกียรติศักดิ์ นางเสาวคนธ์ นางชนิศา นางสาวศันสนีย์ นางสาวลัดดา และนายสมบูรณ์ โดยมีมติให้นัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 9 ถึง 12 นาฬิกา และให้สมาชิกที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารของสมาคมผู้คัดค้านส่งใบสมัครและชำระค่าสมัคร 10,000 บาท ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 นายสมบูรณ์ในฐานะเลขาธิการสมาคมมีหนังสือลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 นัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 และแจ้งสมาชิกที่สนใจสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการของสมาคม ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ครั้งที่ 42 มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 64 คน และที่ประชุมดังกล่าวดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระที่ 1 ประธานกล่าวเปิดประชุม วาระที่ 2 รายงานผลการดำเนินงานของกรรมการบริหารสมาคมปี 2561 วาระที่ 3 พิจารณารับรองรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 วาระที่ 4 พิจารณารับรองงบการเงินของสมาคมประจำปี 2561 และแต่งตั้งผู้สอบบัญชีปี 2562 และวาระที่ 5 เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคม มีผู้ใช้สิทธิเลือกกรรมการ 38 เสียง มีผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการ 25 คน ในกรรมการที่ได้รับเลือกดังกล่าวได้เลือกกรรมการบริหาร 19 คน
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านมีว่า มีเหตุให้เพิกถอนมติในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของผู้คัดค้านเพราะมีการนัดประชุมโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ ในเบื้องต้นเห็นได้ว่าปัญหาข้อพิพาทระหว่างสมาชิกของสมาคม มีสาเหตุสำคัญจากความไม่ชัดเจนของระเบียบข้อบังคับของสมาคมกับความเห็นและมูลเหตุจูงใจที่แตกต่างกันของสมาชิก การแสวงหาข้อยุติเพื่อลดความขัดแย้งข้อพิพาท และสร้างความมั่นคงขององค์กรในระยะยาว จึงจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับกฎหมายและความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสำคัญ สำหรับข้อพิพาทในชั้นนี้ ศาลจำต้องอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของสมาคมที่มีอยู่ประกอบวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและควบคุมกำกับการทำงานของสมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิกและการคุ้มครองสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง กรณีการประชุมใหญ่ของสมาคมนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93 บัญญัติให้คณะกรรมการของสมาคมต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง และมาตรา 95 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการเรียกประชุมใหญ่ คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังสมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันหรือลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และวรรคสองบัญญัติให้การเรียกประชุมใหญ่ต้องระบุสถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระการประชุมและจัดส่งรายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามควรไปพร้อมกันด้วย ทั้งตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน ข้อ 16 ข้อ ก. ถึง ง. กำหนดให้มีการนัดประชุมใหญ่ทุกปีเพื่อพิจารณารายงานกิจการของคณะกรรมการบริหารเกี่ยวกับกิจการของสมาคม ซึ่งคณะกรรมการนั้นได้บริหารมา เพื่อพิจารณาและอนุมัติบัญชีงบดุลสำหรับปีที่ล่วงมาแล้ว เพื่อเลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี และเพื่อปรึกษาพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ การจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่ต้องดำเนินการไปตามกฎหมายและข้อบังคับของผู้คัดค้าน สำหรับปัญหาว่า คณะกรรมการของสมาคมผู้คัดค้านได้ร่วมประชุมคณะกรรมการโดยชอบและมีมติให้นัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของผู้คัดค้านโดยชอบหรือไม่ นั้น ผู้ร้องทั้งหกมีนายสมชาติ ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องทั้งหก และนายชวินทร์ เป็นพยานเบิกความทำนองเดียวกันว่า คณะกรรมการของผู้คัดค้านที่ได้รับเลือกจากสมาชิกในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2560 มี 40 คน โดยสมาชิกซึ่งเข้าร่วมประชุมใหญ่เสนอรายชื่อต่อที่ประชุมและให้สมาชิกที่เข้าประชุมลงคะแนนเลือกแล้วนับคะแนนจากมากไปหาน้อยเหลือเพียง 40 คน แล้วจึงถามความสมัครใจของผู้ที่ได้รับเลือก หากไม่สมัครใจก็จะเลื่อนผู้ที่ได้รับคะแนนถัดไปขึ้นมาจนครบ 40 คน แล้วคณะกรรมการ 40 คน ดังกล่าวลงคะแนนเลือกนายกสมาคมโดยนายกสมาคมจะแต่งตั้งคณะทำงาน หลังจากนั้นผู้คัดค้านจะนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน แต่เพื่อความสะดวกของผู้คัดค้านและตามธรรมเนียมประเพณีของผู้คัดค้านมีการจดทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการของผู้คัดค้านเพียง 11 คน คณะกรรมการของสมาคมผู้คัดค้านจึงมีจำนวน 40 คน มิใช่เพียง 11 คน ที่ได้จดทะเบียน การนัดประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 ที่ส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่คณะกรรมการที่ได้จดทะเบียนเพียง 11 คน และมีคณะกรรมการมาประชุม 7 คน และกรรมการ 2 คน ที่มาประชุม คือนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาเป็นสมาชิกที่ขาดคุณสมบัติ จึงเป็นการประชุมที่ไม่ครบองค์ประชุมตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน ส่วนผู้คัดค้านมีนายสมบูรณ์เลขาธิการสมาคมผู้คัดค้านเป็นพยานเบิกความว่า ตามข้อบังคับ ข้อ 9 ระบุว่า ให้มีกรรมการ 2 ประเภท คือ กรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษา โดยให้มีกรรมการบริหารไม่น้อยกว่า 5 คน ซึ่งสมาชิกได้เลือกมาจำนวน 40 คน แต่สมาคมผู้คัดค้านจดทะเบียนกรรมการบริหารเพียง 11 คน เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงมติและกระทำการผูกพันบุคคลภายนอก ส่วนกรรมการที่ได้รับเลือกจากสมาชิกที่เหลือ คงมีสิทธิเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการและเสนอความเห็น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ และตามข้อบังคับหมวดที่ 4 คณะกรรมการ ข้อ 10 ง. ระบุว่า การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการบริหารมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน จึงเป็นองค์ประชุมได้ พยานจึงส่งหนังสือนัดประชุมคณะกรรมการบริหารให้แก่คณะกรรมการบริหารที่ได้จดทะเบียน 11 คน ส่วนกรรมการที่เหลือที่ไม่ใช่กรรมการบริหารได้แจ้งให้ทราบทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในวันประชุมมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 7 คน จึงถือว่าเกินกึ่งจำนวน ครบเป็นองค์ประชุม สำหรับนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาเป็นกรรมการที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นสมาชิกในวาระที่นายชวินทร์เป็นนายกสมาคม และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารตามมติที่ประชุมใหญ่ปี 2560 ซึ่งไม่มีสมาชิกยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าว เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงของสมาคมกระทำตามข้อบังคับของสมาคม และสมาคมต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม และวรรคสองบัญญัติว่า ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของสมาคมตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคมผู้นั้นก็ได้ การตรวจสอบฐานะและความประพฤติของกรรมการก่อนจดทะเบียนกรรมการของสมาคมจึงเป็นสาระสำคัญในการควบคุมสมาคมและเพื่อให้บุคคลภายนอกทราบตัวบุคคลผู้บริหารกิจการสมาคมได้จากหลักฐานทางทะเบียน ที่ผู้ร้องทั้งหกนำสืบว่าคณะกรรมการของสมาคมผู้คัดค้านมีจำนวน 40 คน มิใช่เพียง 11 คน ที่ได้จดทะเบียนจึงขัดต่อเจตจำนงของกฎหมายเพราะย่อมเป็นการเปิดช่องให้คณะกรรมการคนอื่น ๆ ของผู้คัดค้านสามารถครอบงำที่ประชุมคณะกรรมการโดยที่นายทะเบียนไม่สามารถตรวจสอบได้ ประกอบกับข้อบังคับของผู้คัดค้านกำหนดให้คณะกรรมการของผู้คัดค้านประกอบด้วยกรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษา โดยกรรมการบริหารประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญที่ยังดำรงสมาชิกภาพอยู่ และให้คณะกรรมการบริหารเลือกตั้งกันเองทำหน้าที่ นายก อุปนายก เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม และตำแหน่งอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นแก่การบริหารของสมาคม การแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ จึงมีการเลือกและแต่งตั้งกันในวันประชุมใหญ่สามัญและนำชื่อไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ดังที่ได้ความจากนายสมบูรณ์พยานผู้คัดค้าน กรรมการที่ได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ซึ่งมิได้นำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ย่อมมิใช่กรรมการบริหารของผู้คัดค้าน สำหรับนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาที่ผู้ร้องทั้งหกอ้างว่าขาดคุณสมบัติเป็นกรรมการบริหารเพราะมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือกฎหมาย นอกจากไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานของผู้ร้องทั้งหกว่าในเวลาดังกล่าวนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาพ้นจากการเป็นสมาชิกสามัญตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน นายสมชาติและนายชวินทร์ยังเบิกความตอบทนายผู้คัดค้านถามค้านเจือสมกับนายสมบูรณ์พยานผู้คัดค้านว่า ไม่มีสมาชิกของผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่แต่งตั้งนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาเป็นกรรมการของผู้คัดค้าน ข้ออ้างของผู้ร้องทั้งหกในเรื่องนี้จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ผู้คัดค้านจึงมีคณะกรรมการบริหาร 11 คน การประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 ซึ่งมีกรรมการเข้าร่วมประชุม 7 คน จึงมีกรรมการบริหารมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน ครบเป็นองค์ประชุม ทั้งได้ความว่าคณะกรรมการของผู้คัดค้านจะครบวาระในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 และตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน ข้อ 17 กำหนดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ทุก 2 ปี ภายในเดือนเมษายนของปีถัดไป การที่นายสมบูรณ์มีหนังสือนัดประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 โดยกำหนดระเบียบวาระเพื่อจัดเตรียมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 และคณะกรรมการของผู้คัดค้านได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวโดยมีมติให้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 และให้ส่งใบสมัครเป็นกรรมการบริหารไปพร้อมจดหมายเชิญประชุมใหญ่สามัญประจำปีแจ้งให้ทราบว่า หากสนใจสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารของผู้คัดค้าน ให้ชำระเงินค่าสมัครคนละ 10,000 บาท พร้อมแจ้งชื่อและชื่อสกุล พร้อมกับส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไปยังสมาคมผู้คัดค้านภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จึงเป็นการนัดประชุมและลงมติของคณะกรรมการตามข้อบังคับของสมาคมผู้คัดค้านโดยถูกต้อง ส่วนที่ผู้ร้องทั้งหกนำสืบว่า มีสมาชิกได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันประชุมน้อยกว่า 7 วัน และมีสมาชิกของผู้คัดค้านคือ นายวิชาญ ไม่ได้รับหนังสือนัดประชุมและเอกสารดังกล่าว จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม นั้น เห็นว่า ข้อบังคับของผู้คัดค้าน ข้อ 19 กำหนดไว้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 95 วรรคหนึ่ง ว่าในการเรียกประชุมใหญ่ คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังสมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยผู้คัดค้านมีนายสมบูรณ์และนางสาวชนิกานต์ เจ้าหน้าที่ของผู้คัดค้านเป็นพยานเบิกความว่า นางสาวชนิกานต์ส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 และหนังสือเรื่องขอเรียนเชิญสมาชิกสมัครเป็นกรรมการของสมาคม ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ให้แก่สมาชิกของผู้คัดค้านที่มีชื่อในทะเบียนของผู้คัดค้านทางไปรษณีย์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 โดยนางสาวชนิกานต์ซื้อไปรษณียากรเพิ่ม 576 บาท จึงเป็นการส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังสมาชิกที่มีชื่อในทะเบียนของผู้คัดค้านก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แม้มีสมาชิกของผู้คัดค้านได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันนัดน้อยกว่าเจ็ดวันหรือสมาชิกบางคนไม่ได้รับหนังสือนัดประชุมหากมีจำนวนน้อยมิได้ถึงขนาดที่มีนัยสำคัญต่อผลของการลงมติสำคัญใด ๆ ก็ไม่ทำให้การส่งหนังสือนัดประชุมดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของผู้คัดค้านหรือกฎหมาย ทั้งได้ความว่าในวันดังกล่าวมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุม 64 คน จึงมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุมไม่น้อยกว่า 20 คน ตามข้อบังคับข้อ 20 ครบเป็นองค์ประชุมและมีการลงมติโดยชอบแล้ว ย่อมไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้คัดค้านฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องขอ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
การจดทะเบียนกรรมการของสมาคมตาม ป.พ.พ. มาตรา 85 นั้น การตรวจสอบฐานะและความประพฤติของกรรมการก่อนจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญในการควบคุมสมาคมเพื่อให้ทราบบุคคลผู้บริหารกิจการสมาคมได้จากหลักฐานทางทะเบียน ผู้คัดค้านจึงมีคณะกรรมการตามจำนวนที่จดทะเบียนไว้ เมื่อกรรมการของผู้คัดค้านเข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม การประชุมและลงมติให้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีจึงเป็นไปตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน
ในการเรียกประชุมใหญ่ผู้คัดค้านส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังสมาชิกที่มีชื่อในทะเบียนของผู้คัดค้านก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันชอบด้วยข้อบังคับของผู้คัดค้านและ ป.พ.พ. มาตรา 95 วรรคหนึ่งแล้ว แม้มีสมาชิกของผู้คัดค้านได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันนัดน้อยกว่าเจ็ดวัน หรือสมาชิกบางคนไม่ได้รับหนังสือนัดประชุมหากมีจำนวนน้อยมิได้ถึงขนาดที่มีนัยสำคัญต่อผลการลงมติสำคัญใด ๆ ก็ไม่ทำให้การส่งหนังสือนัดประชุมดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของผู้คัดค้านหรือกฎหมาย ในวันประชุมมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุมครบเป็นองค์ประชุมและมีการลงมติโดยชอบแล้ว ย่อมไม่มีเหตุเพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ดังกล่าว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ของผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า ผู้คัดค้านเป็นนิติบุคคลประเภทสมาคม ขณะเกิดข้อพิพาทมีนางชนิดา เป็นนายกสมาคม นายเกียรติศักดิ์ เป็นอุปนายกและเหรัญญิก นางเสาวคนธ์ และนางชนิศา เป็นอุปนายก นางสาวดวงพร นางสาวศันสนีย์ และนางสาวลัดดา เป็นกรรมการ นายวิรัช เป็นกรรมการและฝ่ายปฏิคม นายสรสิทธิ์ เป็นกรรมการและนายทะเบียน นายสมบูรณ์ เป็นกรรมการและเลขาธิการ และนายณัฐพงศ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ รวม 11 คน และจะครบวาระในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้คัดค้านมีสมาชิกแบบตลอดชีพ 158 คน และแบบรายปี 38 คน รวม 196 คน และมีข้อบังคับที่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนแล้ว เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562 มีการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 7 คน ได้แก่ นางชนิดา นายเกียรติศักดิ์ นางเสาวคนธ์ นางชนิศา นางสาวศันสนีย์ นางสาวลัดดา และนายสมบูรณ์ โดยมีมติให้นัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 9 ถึง 12 นาฬิกา และให้สมาชิกที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารของสมาคมผู้คัดค้านส่งใบสมัครและชำระค่าสมัคร 10,000 บาท ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 นายสมบูรณ์ในฐานะเลขาธิการสมาคมมีหนังสือลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 นัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 และแจ้งสมาชิกที่สนใจสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการของสมาคม ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ครั้งที่ 42 มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 64 คน และที่ประชุมดังกล่าวดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระที่ 1 ประธานกล่าวเปิดประชุม วาระที่ 2 รายงานผลการดำเนินงานของกรรมการบริหารสมาคมปี 2561 วาระที่ 3 พิจารณารับรองรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 วาระที่ 4 พิจารณารับรองงบการเงินของสมาคมประจำปี 2561 และแต่งตั้งผู้สอบบัญชีปี 2562 และวาระที่ 5 เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคม มีผู้ใช้สิทธิเลือกกรรมการ 38 เสียง มีผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการ 25 คน ในกรรมการที่ได้รับเลือกดังกล่าวได้เลือกกรรมการบริหาร 19 คน
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านมีว่า มีเหตุให้เพิกถอนมติในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของผู้คัดค้านเพราะมีการนัดประชุมโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ ในเบื้องต้นเห็นได้ว่าปัญหาข้อพิพาทระหว่างสมาชิกของสมาคม มีสาเหตุสำคัญจากความไม่ชัดเจนของระเบียบข้อบังคับของสมาคมกับความเห็นและมูลเหตุจูงใจที่แตกต่างกันของสมาชิก การแสวงหาข้อยุติเพื่อลดความขัดแย้งข้อพิพาท และสร้างความมั่นคงขององค์กรในระยะยาว จึงจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับกฎหมายและความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสำคัญ สำหรับข้อพิพาทในชั้นนี้ ศาลจำต้องอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของสมาคมที่มีอยู่ประกอบวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและควบคุมกำกับการทำงานของสมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิกและการคุ้มครองสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง กรณีการประชุมใหญ่ของสมาคมนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93 บัญญัติให้คณะกรรมการของสมาคมต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง และมาตรา 95 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการเรียกประชุมใหญ่ คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังสมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันหรือลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และวรรคสองบัญญัติให้การเรียกประชุมใหญ่ต้องระบุสถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระการประชุมและจัดส่งรายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามควรไปพร้อมกันด้วย ทั้งตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน ข้อ 16 ข้อ ก. ถึง ง. กำหนดให้มีการนัดประชุมใหญ่ทุกปีเพื่อพิจารณารายงานกิจการของคณะกรรมการบริหารเกี่ยวกับกิจการของสมาคม ซึ่งคณะกรรมการนั้นได้บริหารมา เพื่อพิจารณาและอนุมัติบัญชีงบดุลสำหรับปีที่ล่วงมาแล้ว เพื่อเลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี และเพื่อปรึกษาพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ การจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่ต้องดำเนินการไปตามกฎหมายและข้อบังคับของผู้คัดค้าน สำหรับปัญหาว่า คณะกรรมการของสมาคมผู้คัดค้านได้ร่วมประชุมคณะกรรมการโดยชอบและมีมติให้นัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของผู้คัดค้านโดยชอบหรือไม่ นั้น ผู้ร้องทั้งหกมีนายสมชาติ ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องทั้งหก และนายชวินทร์ เป็นพยานเบิกความทำนองเดียวกันว่า คณะกรรมการของผู้คัดค้านที่ได้รับเลือกจากสมาชิกในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2560 มี 40 คน โดยสมาชิกซึ่งเข้าร่วมประชุมใหญ่เสนอรายชื่อต่อที่ประชุมและให้สมาชิกที่เข้าประชุมลงคะแนนเลือกแล้วนับคะแนนจากมากไปหาน้อยเหลือเพียง 40 คน แล้วจึงถามความสมัครใจของผู้ที่ได้รับเลือก หากไม่สมัครใจก็จะเลื่อนผู้ที่ได้รับคะแนนถัดไปขึ้นมาจนครบ 40 คน แล้วคณะกรรมการ 40 คน ดังกล่าวลงคะแนนเลือกนายกสมาคมโดยนายกสมาคมจะแต่งตั้งคณะทำงาน หลังจากนั้นผู้คัดค้านจะนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน แต่เพื่อความสะดวกของผู้คัดค้านและตามธรรมเนียมประเพณีของผู้คัดค้านมีการจดทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการของผู้คัดค้านเพียง 11 คน คณะกรรมการของสมาคมผู้คัดค้านจึงมีจำนวน 40 คน มิใช่เพียง 11 คน ที่ได้จดทะเบียน การนัดประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 ที่ส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่คณะกรรมการที่ได้จดทะเบียนเพียง 11 คน และมีคณะกรรมการมาประชุม 7 คน และกรรมการ 2 คน ที่มาประชุม คือนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาเป็นสมาชิกที่ขาดคุณสมบัติ จึงเป็นการประชุมที่ไม่ครบองค์ประชุมตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน ส่วนผู้คัดค้านมีนายสมบูรณ์เลขาธิการสมาคมผู้คัดค้านเป็นพยานเบิกความว่า ตามข้อบังคับ ข้อ 9 ระบุว่า ให้มีกรรมการ 2 ประเภท คือ กรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษา โดยให้มีกรรมการบริหารไม่น้อยกว่า 5 คน ซึ่งสมาชิกได้เลือกมาจำนวน 40 คน แต่สมาคมผู้คัดค้านจดทะเบียนกรรมการบริหารเพียง 11 คน เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงมติและกระทำการผูกพันบุคคลภายนอก ส่วนกรรมการที่ได้รับเลือกจากสมาชิกที่เหลือ คงมีสิทธิเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการและเสนอความเห็น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ และตามข้อบังคับหมวดที่ 4 คณะกรรมการ ข้อ 10 ง. ระบุว่า การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการบริหารมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน จึงเป็นองค์ประชุมได้ พยานจึงส่งหนังสือนัดประชุมคณะกรรมการบริหารให้แก่คณะกรรมการบริหารที่ได้จดทะเบียน 11 คน ส่วนกรรมการที่เหลือที่ไม่ใช่กรรมการบริหารได้แจ้งให้ทราบทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในวันประชุมมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 7 คน จึงถือว่าเกินกึ่งจำนวน ครบเป็นองค์ประชุม สำหรับนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาเป็นกรรมการที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นสมาชิกในวาระที่นายชวินทร์เป็นนายกสมาคม และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารตามมติที่ประชุมใหญ่ปี 2560 ซึ่งไม่มีสมาชิกยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าว เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงของสมาคมกระทำตามข้อบังคับของสมาคม และสมาคมต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม และวรรคสองบัญญัติว่า ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของสมาคมตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคมผู้นั้นก็ได้ การตรวจสอบฐานะและความประพฤติของกรรมการก่อนจดทะเบียนกรรมการของสมาคมจึงเป็นสาระสำคัญในการควบคุมสมาคมและเพื่อให้บุคคลภายนอกทราบตัวบุคคลผู้บริหารกิจการสมาคมได้จากหลักฐานทางทะเบียน ที่ผู้ร้องทั้งหกนำสืบว่าคณะกรรมการของสมาคมผู้คัดค้านมีจำนวน 40 คน มิใช่เพียง 11 คน ที่ได้จดทะเบียนจึงขัดต่อเจตจำนงของกฎหมายเพราะย่อมเป็นการเปิดช่องให้คณะกรรมการคนอื่น ๆ ของผู้คัดค้านสามารถครอบงำที่ประชุมคณะกรรมการโดยที่นายทะเบียนไม่สามารถตรวจสอบได้ ประกอบกับข้อบังคับของผู้คัดค้านกำหนดให้คณะกรรมการของผู้คัดค้านประกอบด้วยกรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษา โดยกรรมการบริหารประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญที่ยังดำรงสมาชิกภาพอยู่ และให้คณะกรรมการบริหารเลือกตั้งกันเองทำหน้าที่ นายก อุปนายก เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม และตำแหน่งอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นแก่การบริหารของสมาคม การแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ จึงมีการเลือกและแต่งตั้งกันในวันประชุมใหญ่สามัญและนำชื่อไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ดังที่ได้ความจากนายสมบูรณ์พยานผู้คัดค้าน กรรมการที่ได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ซึ่งมิได้นำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ย่อมมิใช่กรรมการบริหารของผู้คัดค้าน สำหรับนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาที่ผู้ร้องทั้งหกอ้างว่าขาดคุณสมบัติเป็นกรรมการบริหารเพราะมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือกฎหมาย นอกจากไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานของผู้ร้องทั้งหกว่าในเวลาดังกล่าวนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาพ้นจากการเป็นสมาชิกสามัญตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน นายสมชาติและนายชวินทร์ยังเบิกความตอบทนายผู้คัดค้านถามค้านเจือสมกับนายสมบูรณ์พยานผู้คัดค้านว่า ไม่มีสมาชิกของผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่แต่งตั้งนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาเป็นกรรมการของผู้คัดค้าน ข้ออ้างของผู้ร้องทั้งหกในเรื่องนี้จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ผู้คัดค้านจึงมีคณะกรรมการบริหาร 11 คน การประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 ซึ่งมีกรรมการเข้าร่วมประชุม 7 คน จึงมีกรรมการบริหารมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน ครบเป็นองค์ประชุม ทั้งได้ความว่าคณะกรรมการของผู้คัดค้านจะครบวาระในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 และตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน ข้อ 17 กำหนดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ทุก 2 ปี ภายในเดือนเมษายนของปีถัดไป การที่นายสมบูรณ์มีหนังสือนัดประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 โดยกำหนดระเบียบวาระเพื่อจัดเตรียมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 และคณะกรรมการของผู้คัดค้านได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวโดยมีมติให้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 และให้ส่งใบสมัครเป็นกรรมการบริหารไปพร้อมจดหมายเชิญประชุมใหญ่สามัญประจำปีแจ้งให้ทราบว่า หากสนใจสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารของผู้คัดค้าน ให้ชำระเงินค่าสมัครคนละ 10,000 บาท พร้อมแจ้งชื่อและชื่อสกุล พร้อมกับส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไปยังสมาคมผู้คัดค้านภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จึงเป็นการนัดประชุมและลงมติของคณะกรรมการตามข้อบังคับของสมาคมผู้คัดค้านโดยถูกต้อง ส่วนที่ผู้ร้องทั้งหกนำสืบว่า มีสมาชิกได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันประชุมน้อยกว่า 7 วัน และมีสมาชิกของผู้คัดค้านคือ นายวิชาญ ไม่ได้รับหนังสือนัดประชุมและเอกสารดังกล่าว จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม นั้น เห็นว่า ข้อบังคับของผู้คัดค้าน ข้อ 19 กำหนดไว้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 95 วรรคหนึ่ง ว่าในการเรียกประชุมใหญ่ คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังสมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยผู้คัดค้านมีนายสมบูรณ์และนางสาวชนิกานต์ เจ้าหน้าที่ของผู้คัดค้านเป็นพยานเบิกความว่า นางสาวชนิกานต์ส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 และหนังสือเรื่องขอเรียนเชิญสมาชิกสมัครเป็นกรรมการของสมาคม ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ให้แก่สมาชิกของผู้คัดค้านที่มีชื่อในทะเบียนของผู้คัดค้านทางไปรษณีย์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 โดยนางสาวชนิกานต์ซื้อไปรษณียากรเพิ่ม 576 บาท จึงเป็นการส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังสมาชิกที่มีชื่อในทะเบียนของผู้คัดค้านก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แม้มีสมาชิกของผู้คัดค้านได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันนัดน้อยกว่าเจ็ดวันหรือสมาชิกบางคนไม่ได้รับหนังสือนัดประชุมหากมีจำนวนน้อยมิได้ถึงขนาดที่มีนัยสำคัญต่อผลของการลงมติสำคัญใด ๆ ก็ไม่ทำให้การส่งหนังสือนัดประชุมดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของผู้คัดค้านหรือกฎหมาย ทั้งได้ความว่าในวันดังกล่าวมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุม 64 คน จึงมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุมไม่น้อยกว่า 20 คน ตามข้อบังคับข้อ 20 ครบเป็นองค์ประชุมและมีการลงมติโดยชอบแล้ว ย่อมไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้คัดค้านฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องขอ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท อนุญาตให้จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว เดินทางเข้ามาในประเทศไทย รู้จักและคบหาโจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยร่วมลงทุนทำธุรกิจ และอยู่กินฉันสามีภริยาและลงทุนทำธุรกิจร่วมกันตลอดมา โดยอยู่อาศัยร่วมกันที่บ้านเช่าของจำเลยแล้วร่วมกันซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดยใช้เงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว จึงตกลงให้โจทก์เป็นผู้มีชื่อในที่ดินและบ้านพิพาท หลังจากนั้นโจทก์กระทำการอันเป็นความผิดร้ายแรงต่อจำเลยและบุตรสาวเป็นเหตุให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปได้ จำเลยให้โจทก์ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท ก่อนที่โจทก์จะย้ายออก โจทก์บอกว่าโจทก์ยกที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นการชดเชยกับสิ่งที่โจทก์ทำกับจำเลยและบุตรสาว แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว ไม่สามารถจดทะเบียนมีชื่อในโฉนดที่ดินโดยยังไม่ได้รับอนุญาต โฉนดที่ดินจึงยังเป็นชื่อของโจทก์ โดยจำเลยครอบครองอยู่อาศัยอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย มิใช่ขอให้ส่งมอบแก่เด็กหญิง ก. จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ส่วนในภายหน้าจำเลยจะยกที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลใดย่อมเป็นสิทธิส่วนตัวของจำเลย ชอบที่จะต้องรับฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้ไว้พิจารณาพิพากษา
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 150461 และสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 38/5 และส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี ให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารและส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 150461 และสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 38/5 ซึ่งเป็นที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับนายกานต์ ให้โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากโจทก์ไม่ดำเนินการขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ให้โจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลยเพื่อส่งมอบแก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากโจทก์ไม่ดำเนินการขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทแก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่า และให้โจทก์ชำระค่าเสียหาย 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าชำระเสร็จแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และนายกานต์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี จากนั้นให้โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทและส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่า เป็นฟ้องแย้งที่มีผลกระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอก และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีนิติสัมพันธ์หรือหน้าที่ตามกฎหมายอย่างไรกับเด็กหญิงกาปีตาลีน่า จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่อาจบังคับได้ ส่วนค่าเสียหายเป็นการอ้างมูลเหตุการกระทำของโจทก์ที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก อันเป็นมูลเหตุคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้ง จึงไม่มีค่าขึ้นศาลต้องสั่งคืน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนให้ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับนายกานต์ ให้หมายเรียกนายกานต์เข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับโจทก์แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นบิดาของโจทก์ร่วม โจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 150461 พร้อมบ้านเลขที่ 38/5 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ต่อมาวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 โจทก์จดทะเบียนการให้แก่โจทก์ร่วม
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประเด็นเดียวว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลยเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท อนุญาตให้จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ มาตลอดจนถึงปัจจุบัน ต่อมาโจทก์ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินและบ้านพิพาท จึงแจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉย ส่วนจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว สัญชาติรัสเซีย เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเดือนมีนาคม 2533 รู้จักและคบหาโจทก์ ต่อมาวันที่ 7 ธันวาคม 2533 โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนทำธุรกิจ และตั้งแต่ปี 2533 ถึงปี 2545 โจทก์และจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาและลงทุนทำธุรกิจร่วมกันตลอดมา โดยอยู่อาศัยร่วมกันที่บ้านเช่าของจำเลย และวันที่ 21 พฤษภาคม 2539 ร่วมกันซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดยใช้เงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว จึงตกลงให้โจทก์เป็นผู้มีชื่อในที่ดินและบ้านพิพาท จากนั้นเดือนตุลาคม 2545 โจทก์กระทำการอันเป็นความผิดร้ายแรงต่อจำเลยและบุตรสาวเป็นเหตุให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปได้ และจำเลยให้โจทก์ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท ก่อนที่โจทก์จะย้ายออก โจทก์บอกจำเลยว่าโจทก์ยกที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นการชดเชยกับสิ่งที่โจทก์ทำกับจำเลยและบุตรสาว แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว ไม่สามารถจดทะเบียนมีชื่อในโฉนดที่ดินโดยยังไม่ได้รับอนุญาต โฉนดที่ดินจึงยังเป็นชื่อของโจทก์ แต่จำเลยครอบครองอยู่อาศัยอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย มิใช่ขอให้ส่งมอบแก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่า จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ส่วนในภายหน้าจำเลยจะยกที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลใดย่อมเป็นสิทธิส่วนตัวของจำเลย ชอบที่จะต้องรับฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้ไว้พิจารณาพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท อนุญาตให้จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว เดินทางเข้ามาในประเทศไทย รู้จักและคบหาโจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยร่วมลงทุนทำธุรกิจ และอยู่กินฉันสามีภริยาและลงทุนทำธุรกิจร่วมกันตลอดมา โดยอยู่อาศัยร่วมกันที่บ้านเช่าของจำเลยแล้วร่วมกันซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดยใช้เงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว จึงตกลงให้โจทก์เป็นผู้มีชื่อในที่ดินและบ้านพิพาท หลังจากนั้นโจทก์กระทำการอันเป็นความผิดร้ายแรงต่อจำเลยและบุตรสาวเป็นเหตุให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปได้ จำเลยให้โจทก์ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท ก่อนที่โจทก์จะย้ายออก โจทก์บอกว่าโจทก์ยกที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นการชดเชยกับสิ่งที่โจทก์ทำกับจำเลยและบุตรสาว แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว ไม่สามารถจดทะเบียนมีชื่อในโฉนดที่ดินโดยยังไม่ได้รับอนุญาต โฉนดที่ดินจึงยังเป็นชื่อของโจทก์ โดยจำเลยครอบครองอยู่อาศัยอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย มิใช่ขอให้ส่งมอบแก่เด็กหญิง ก. จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ส่วนในภายหน้าจำเลยจะยกที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลใดย่อมเป็นสิทธิส่วนตัวของจำเลย ชอบที่จะต้องรับฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้ไว้พิจารณาพิพากษา
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 150461 และสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 38/5 และส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี ให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารและส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 150461 และสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 38/5 ซึ่งเป็นที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับนายกานต์ ให้โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากโจทก์ไม่ดำเนินการขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ ให้โจทก์ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลยเพื่อส่งมอบแก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากโจทก์ไม่ดำเนินการขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทแก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่า และให้โจทก์ชำระค่าเสียหาย 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าชำระเสร็จแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และนายกานต์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี จากนั้นให้โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทและส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่า เป็นฟ้องแย้งที่มีผลกระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอก และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีนิติสัมพันธ์หรือหน้าที่ตามกฎหมายอย่างไรกับเด็กหญิงกาปีตาลีน่า จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่อาจบังคับได้ ส่วนค่าเสียหายเป็นการอ้างมูลเหตุการกระทำของโจทก์ที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก อันเป็นมูลเหตุคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้ง จึงไม่มีค่าขึ้นศาลต้องสั่งคืน
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนให้ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์กับนายกานต์ ให้หมายเรียกนายกานต์เข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับโจทก์แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นบิดาของโจทก์ร่วม โจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 150461 พร้อมบ้านเลขที่ 38/5 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ต่อมาวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 โจทก์จดทะเบียนการให้แก่โจทก์ร่วม
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประเด็นเดียวว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลยเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท อนุญาตให้จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ มาตลอดจนถึงปัจจุบัน ต่อมาโจทก์ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินและบ้านพิพาท จึงแจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินและบ้านพิพาท แต่จำเลยเพิกเฉย ส่วนจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว สัญชาติรัสเซีย เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเดือนมีนาคม 2533 รู้จักและคบหาโจทก์ ต่อมาวันที่ 7 ธันวาคม 2533 โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนทำธุรกิจ และตั้งแต่ปี 2533 ถึงปี 2545 โจทก์และจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาและลงทุนทำธุรกิจร่วมกันตลอดมา โดยอยู่อาศัยร่วมกันที่บ้านเช่าของจำเลย และวันที่ 21 พฤษภาคม 2539 ร่วมกันซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดยใช้เงินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว จึงตกลงให้โจทก์เป็นผู้มีชื่อในที่ดินและบ้านพิพาท จากนั้นเดือนตุลาคม 2545 โจทก์กระทำการอันเป็นความผิดร้ายแรงต่อจำเลยและบุตรสาวเป็นเหตุให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปได้ และจำเลยให้โจทก์ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท ก่อนที่โจทก์จะย้ายออก โจทก์บอกจำเลยว่าโจทก์ยกที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นการชดเชยกับสิ่งที่โจทก์ทำกับจำเลยและบุตรสาว แต่จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว ไม่สามารถจดทะเบียนมีชื่อในโฉนดที่ดินโดยยังไม่ได้รับอนุญาต โฉนดที่ดินจึงยังเป็นชื่อของโจทก์ แต่จำเลยครอบครองอยู่อาศัยอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย มิใช่ขอให้ส่งมอบแก่เด็กหญิงกาปีตาลีน่า จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ส่วนในภายหน้าจำเลยจะยกที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลใดย่อมเป็นสิทธิส่วนตัวของจำเลย ชอบที่จะต้องรับฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้ไว้พิจารณาพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (2) และ (5) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้รอการกำหนดโทษและคุมความประพฤติของจำเลยที่ 2 ไว้ มีกำหนด 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขในการเยียวยาโจทก์ร่วม โดยให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินตามเช็คที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลารอการกำหนดโทษ โดยให้ชำระทุก 3 เดือน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นต้นไป โดยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นหรือโดยวิธีการที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคสอง (10) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ระบุว่าจำนวนยอดหนี้ตามเช็คพิพาทที่ค้างชำระอยู่เป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นการยากที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ ทั้งจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งมาโดยตลอดว่าได้มีการชำระหนี้เงินต้นบางส่วนแก่โจทก์ร่วมแล้ว โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมหลายครั้งตามเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4 แม้ศาลล่างทั้งสองจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ต้นเงิน แต่จำนวนยอดหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ร่วมมีเพียงใดนั้น โจทก์ร่วมจะต้องไปฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งต่างหาก ซึ่งในการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีนี้อันเป็นคดีอาญา เนื่องจากการฟ้องร้องคดีแพ่งดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 แต่อย่างใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คดีแพ่งดังกล่าวมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่อยู่ในบังคับบัญญัติมาตรา 46 แห่ง ป.วิ.อ. การกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติในการเยียวยาโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นไปตามควรแก่กรณี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91
จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา นายสกนธ์ ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (ที่ถูก มาตรา 4 (1) (2) (5) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83) การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 3 เดือน รวมสองกระทงเป็นจำคุก 6 เดือน และลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 10,000 บาท รวมสองกระทงเป็นปรับ 20,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29
จําเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รอการกำหนดโทษและคุมความประพฤติของจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขในการเยียวยาโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินตามเช็คที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลารอการกำหนดโทษ โดยให้ชำระทุก 3 เดือน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นต้นไป โดยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นหรือโดยวิธีการที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 (ที่ถูก มาตรา 56 วรรคสอง) (10) ให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน เพื่อสอดส่องตักเตือนให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้นอย่างเคร่งครัด หากผิดเงื่อนไขดังกล่าวให้พนักงานคุมประพฤติรายงานศาลชั้นต้นเพื่อกำหนดโทษแก่จำเลยที่ 2 ต่อไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดเงื่อนไขในการเยียวยาโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินตามเช็คที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลารอการกำหนดโทษ โดยให้ชำระทุก 3 เดือน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นต้นไป โดยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นหรือโดยวิธีการที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคสอง (10) ให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน เพื่อสอดส่องตักเตือนให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้นอย่างเคร่งครัด หากผิดเงื่อนไขดังกล่าวให้พนักงานคุมประพฤติรายงานศาลชั้นต้นเพื่อกำหนดโทษแก่จำเลยที่ 2 ต่อไปนั้น ชอบหรือไม่ เห็นว่า เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดในการเยียวยาโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ร่วมนั้น ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งมาโดยตลอดว่าได้มีการชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนให้แก่โจทก์ร่วมแล้ว โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมหลายครั้ง แม้ศาลล่างทั้งสองจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ไปแล้วบางส่วน แต่จำนวนยอดหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ร่วมมีเพียงใดนั้น โจทก์ร่วมจะต้องไปฟ้องร้องบังคับกันเป็นคดีแพ่งต่างหาก ซึ่งในการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีนี้อันเป็นคดีอาญา เนื่องจากการฟ้องร้องคดีแพ่งดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องโดยไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 แต่อย่างใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คดีแพ่งดังกล่าวมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 46 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อีกทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มิได้ระบุว่าจำนวนยอดหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่จำเลยทั้งสองค้างชำระอยู่เป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงเป็นการยากที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติในการเยียวยาโจทก์ร่วมมานั้น จึงเป็นการกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไม่เป็นไปตามควรแก่กรณีแห่งคดี เป็นการไม่ชอบ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยข้ออ้างอื่น ๆ ในฎีกาของจำเลยทั้งสองอีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่กำหนดเงื่อนไขในการเยียวยาโจทก์ร่วมตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนด นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (2) และ (5) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้รอการกำหนดโทษและคุมความประพฤติของจำเลยที่ 2 ไว้ มีกำหนด 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขในการเยียวยาโจทก์ร่วม โดยให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินตามเช็คที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลารอการกำหนดโทษ โดยให้ชำระทุก 3 เดือน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นต้นไป โดยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นหรือโดยวิธีการที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคสอง (10) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ระบุว่าจำนวนยอดหนี้ตามเช็คพิพาทที่ค้างชำระอยู่เป็นจำนวนเท่าใด จึงเป็นการยากที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ ทั้งจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งมาโดยตลอดว่าได้มีการชำระหนี้เงินต้นบางส่วนแก่โจทก์ร่วมแล้ว โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมหลายครั้งตามเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.4 แม้ศาลล่างทั้งสองจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ต้นเงิน แต่จำนวนยอดหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ร่วมมีเพียงใดนั้น โจทก์ร่วมจะต้องไปฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งต่างหาก ซึ่งในการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีนี้อันเป็นคดีอาญา เนื่องจากการฟ้องร้องคดีแพ่งดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 แต่อย่างใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คดีแพ่งดังกล่าวมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่อยู่ในบังคับบัญญัติมาตรา 46 แห่ง ป.วิ.อ. การกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติในการเยียวยาโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นไปตามควรแก่กรณี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91
จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา นายสกนธ์ ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (ที่ถูก มาตรา 4 (1) (2) (5) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83) การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 3 เดือน รวมสองกระทงเป็นจำคุก 6 เดือน และลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 10,000 บาท รวมสองกระทงเป็นปรับ 20,000 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29
จําเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รอการกำหนดโทษและคุมความประพฤติของจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขในการเยียวยาโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินตามเช็คที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลารอการกำหนดโทษ โดยให้ชำระทุก 3 เดือน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นต้นไป โดยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นหรือโดยวิธีการที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 (ที่ถูก มาตรา 56 วรรคสอง) (10) ให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน เพื่อสอดส่องตักเตือนให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้นอย่างเคร่งครัด หากผิดเงื่อนไขดังกล่าวให้พนักงานคุมประพฤติรายงานศาลชั้นต้นเพื่อกำหนดโทษแก่จำเลยที่ 2 ต่อไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดเงื่อนไขในการเยียวยาโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินตามเช็คที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลารอการกำหนดโทษ โดยให้ชำระทุก 3 เดือน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นต้นไป โดยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นหรือโดยวิธีการที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคสอง (10) ให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน เพื่อสอดส่องตักเตือนให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้นอย่างเคร่งครัด หากผิดเงื่อนไขดังกล่าวให้พนักงานคุมประพฤติรายงานศาลชั้นต้นเพื่อกำหนดโทษแก่จำเลยที่ 2 ต่อไปนั้น ชอบหรือไม่ เห็นว่า เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดในการเยียวยาโจทก์ร่วมโดยให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ร่วมนั้น ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งมาโดยตลอดว่าได้มีการชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนให้แก่โจทก์ร่วมแล้ว โดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมหลายครั้ง แม้ศาลล่างทั้งสองจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ไปแล้วบางส่วน แต่จำนวนยอดหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ร่วมมีเพียงใดนั้น โจทก์ร่วมจะต้องไปฟ้องร้องบังคับกันเป็นคดีแพ่งต่างหาก ซึ่งในการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าวศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีนี้อันเป็นคดีอาญา เนื่องจากการฟ้องร้องคดีแพ่งดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องโดยไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 แต่อย่างใด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คดีแพ่งดังกล่าวมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 46 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อีกทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มิได้ระบุว่าจำนวนยอดหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับที่จำเลยทั้งสองค้างชำระอยู่เป็นจำนวนเงินเท่าใด จึงเป็นการยากที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติในการเยียวยาโจทก์ร่วมมานั้น จึงเป็นการกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไม่เป็นไปตามควรแก่กรณีแห่งคดี เป็นการไม่ชอบ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยข้ออ้างอื่น ๆ ในฎีกาของจำเลยทั้งสองอีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่กำหนดเงื่อนไขในการเยียวยาโจทก์ร่วมตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนด นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 6 ระบุเหตุที่โจทก์สละสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยว่า ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย โจทก์สละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น แต่กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวระบุข้อยกเว้นที่โจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยไว้ด้วยว่า กรณีการใช้โดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การทำความสะอาดรถ การบำรุงรักษารถ หรือการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น โจทก์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากบุคคลเหล่านั้น คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้เอาประกันภัยประสงค์จะนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้าซ่อมที่บริษัท บ. แต่ไม่สามารถนำรถไปส่งซ่อมเองได้ จึงมอบหมายให้บริษัท บ. จัดหาบุคคลไปรับรถยนต์มาเพื่อซ่อม เมื่อบริษัท บ. เป็นสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การที่บริษัท บ. ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ไปรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย จึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้ารับบริการซ่อมตามการมอบหมายและความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ต่อมาจำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างไปรับรถและขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไปส่งที่บริษัท บ. จึงเป็นการกระทำในวัตถุประสงค์และการมอบหมายของบริษัท บ. เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งรับดำเนินการในกรณีนี้เป็นตัวแทนของบริษัท บ. ในการรับมอบรถยนต์จากผู้เอาประกันภัยเพื่อนำไปรับบริการซ่อมแซมจากบริษัท บ. ผู้เป็นตัวการ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจึงเป็นการกระทำโดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถเมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น อันเป็นข้อยกเว้นซึ่งโจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยนั้น โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้าง และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง มาตรา 420 และมาตรา 425
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 817,968 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 817,968 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 สิงหาคม 2562) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้เงิน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 817,968 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสามฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า โจทก์รับประกันภัยรถยนต์ ยี่ห้อเมอร์เซเดสเบนซ์ หมายเลขทะเบียน ฆข XXXX กรุงเทพมหานคร ไว้จากบริษัท ฮ. ผู้เอาประกันภัย ระยะเวลาประกันภัยเริ่มวันที่ 12 พฤษภาคม 2561 สิ้นสุดวันที่ 12 พฤษภาคม 2562 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์โดยสารสาธารณะ รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 3 รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561 บริษัท ฮ. ประสงค์จะนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไปเข้าซ่อมที่บริษัท บ. แต่ไม่สามารถนำรถยนต์ไปส่งซ่อมได้ จึงมอบหมายให้บริษัท บ. จัดหาบุคคลไปรับรถยนต์มาเพื่อซ่อม บริษัท บ. จึงว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ไปรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยที่บริษัท ฮ. ต่อมาวันที่ 17 สิงหาคม 2561 จำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างไปรับรถและขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากบริษัท ฮ. ไปส่งที่บริษัท บ. ระหว่างทางที่จำเลยที่ 1 ขับรถมาตามถนนบรมราชชนนี จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความเร็วสูงปราศจากความระมัดระวังชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 ฒง XXXX กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างที่ได้มอบหมายสั่งการให้มารับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากบริษัท ฮ. แล้วเกิดอุบัติเหตุชนท้ายรถยนต์คันอื่น โดยได้ทำบันทึกยอมรับผิดไว้กับพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลธรรมศาลาสอบสวนแล้วมีความเห็นว่า เหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 จึงแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 1 ว่า ขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถผู้อื่นได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพและยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ หลังเกิดเหตุรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ต้องเสียค่ายกลากรถไปยังบริษัท บ. เป็นเงิน 2,500 บาท โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าซ่อมรถเป็นค่าอะไหล่และค่าแรงไป 815,468 บาท แล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหาย แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 ฒง XXXX กรุงเทพมหานคร เป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 คู่ความไม่ฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงส่วนนี้ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อแรกว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชำระไปหรือไม่ เห็นว่า กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ผู้เอาประกันภัย ข้อ 6 ระบุเหตุที่โจทก์สละสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยว่า ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย โจทก์สละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น แต่กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวได้ระบุข้อยกเว้นที่โจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยไว้ด้วยว่า กรณีการใช้โดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การทำความสะอาดรถ การบำรุงรักษารถ หรือการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น โจทก์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากบุคคลเหล่านั้น คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้เอาประกันภัยประสงค์จะนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้าซ่อมที่บริษัท บ. แต่ไม่สามารถนำรถไปส่งซ่อมเองได้ จึงมอบหมายให้บริษัท บ. จัดหาบุคคลไปรับรถยนต์มาเพื่อซ่อม เมื่อบริษัท บ. เป็นสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การที่บริษัท บ. ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ไปรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยจึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้ารับบริการซ่อมตามการมอบหมายและความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างไปรับรถและขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไปส่งที่บริษัท บ. จึงเป็นการกระทำในวัตถุประสงค์และการมอบหมายของบริษัท บ. เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งรับดำเนินการในกรณีนี้เป็นตัวแทนของบริษัท บ. ในการรับมอบรถยนต์จากผู้เอาประกันภัยเพื่อนำไปรับบริการซ่อมแซมจากบริษัท บ. ผู้เป็นตัวการ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจึงเป็นการกระทำโดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถเมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 6 ตอนท้าย อันเป็นข้อยกเว้นซึ่งโจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยนั้น แม้กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยไม่ได้ระบุชื่อผู้ขับขี่ ซึ่งหมายความว่า เมื่อผู้เอาประกันภัยยินยอมให้บุคคลใดเป็นผู้ขับขี่ ย่อมถือว่าบุคคลนั้นเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเอง และโจทก์ตกลงสละสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยดังที่จำเลยทั้งสามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้ต้องด้วยข้อยกเว้นของการที่โจทก์ตกลงสละสิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีต่อผู้ใช้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยดังวินิจฉัยข้างต้น โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยในความเสียหายของรถยนต์อันเป็นผลจากเหตุละเมิดที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง มาตรา 420 และมาตรา 425 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามรับผิดนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
สำหรับปัญหาในเรื่องค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใดนั้น ในส่วนของค่ายกลากรถ ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์เป็นเงิน 2,500 บาท จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์ว่าสูงเกินไป จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อต่อไปว่า ค่าซ่อมรถที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาเหมาะสมหรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีนายสุรพล ผู้จัดการฝ่ายซ่อมสีและตัวถังของบริษัท บ. เบิกความว่า รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายด้านหน้าขวา จึงได้ทำใบเสนอราคาค่าอะไหล่และค่าแรงเพื่อส่งให้โจทก์คุมราคาค่าอะไหล่และค่าแรงแล้วเป็นเงิน 815,468.94 บาท เมื่อซ่อมรถเสร็จ โจทก์ชำระเงินค่าซ่อมรถให้แก่บริษัท บ. และพยานเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ 2 ว่า รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายด้านหน้าขวาซึ่งเป็นที่ตั้งของเทอร์โบ และต้องใช้วิธีซ่อมแซมทั้งชุดตามรายการที่ 89 ในใบเสนอราคา ส่วนอะไหล่รายการที่ 63 เป็นการเปลี่ยนไฟหน้าขวาเพียงด้านเดียว อะไหล่ที่มีการถอดเปลี่ยนได้คืนให้แก่โจทก์ เมื่อพิจารณารายการอะไหล่ที่ระบุในใบเสนอราคาดังกล่าวข้างต้นปรากฏว่าสอดคล้องตรงกับความเสียหายของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยที่ได้รับความเสียหายทางด้านหน้าขวา ทั้งโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยย่อมต้องตรวจสอบควบคุมราคาค่าอะไหล่และค่าแรงมิให้ต้องชดใช้ค่าเสียหายเกินความเสียหายที่แท้จริง จำเลยทั้งสามก็มิได้ถามค้านหรือนำสืบให้ได้ความว่า ชิ้นส่วนที่เสียหายดังกล่าวสามารถซ่อมแซมให้มีสภาพใช้งานได้ดีดังเดิมโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ทั้งชุด และไม่ปรากฏว่าชิ้นส่วนซากอะไหล่เดิมที่เสียหายยังคงใช้ประโยชน์และนำไปขายได้ จึงฟังได้ว่ารายการค่าอะไหล่และค่าแรงที่โจทก์จ่ายไปเป็นจำนวนที่เหมาะสมและถูกต้องตามรายการที่เสียหายจริงแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าซ่อมรถตามจำนวนเงินที่โจทก์ชำระไปนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
อนึ่ง เนื่องจากได้มีประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติให้ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับแก่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมายที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
พิพากษาแก้เป็นว่า ในส่วนดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 สิงหาคม 2562) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 นั้น ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 6 ระบุเหตุที่โจทก์สละสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยว่า ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย โจทก์สละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น แต่กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวระบุข้อยกเว้นที่โจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยไว้ด้วยว่า กรณีการใช้โดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การทำความสะอาดรถ การบำรุงรักษารถ หรือการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น โจทก์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากบุคคลเหล่านั้น คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้เอาประกันภัยประสงค์จะนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้าซ่อมที่บริษัท บ. แต่ไม่สามารถนำรถไปส่งซ่อมเองได้ จึงมอบหมายให้บริษัท บ. จัดหาบุคคลไปรับรถยนต์มาเพื่อซ่อม เมื่อบริษัท บ. เป็นสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การที่บริษัท บ. ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ไปรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย จึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้ารับบริการซ่อมตามการมอบหมายและความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ต่อมาจำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างไปรับรถและขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไปส่งที่บริษัท บ. จึงเป็นการกระทำในวัตถุประสงค์และการมอบหมายของบริษัท บ. เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งรับดำเนินการในกรณีนี้เป็นตัวแทนของบริษัท บ. ในการรับมอบรถยนต์จากผู้เอาประกันภัยเพื่อนำไปรับบริการซ่อมแซมจากบริษัท บ. ผู้เป็นตัวการ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจึงเป็นการกระทำโดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถเมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น อันเป็นข้อยกเว้นซึ่งโจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยนั้น โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้าง และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง มาตรา 420 และมาตรา 425
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 817,968 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 817,968 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 สิงหาคม 2562) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้เงิน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 817,968 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสามฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า โจทก์รับประกันภัยรถยนต์ ยี่ห้อเมอร์เซเดสเบนซ์ หมายเลขทะเบียน ฆข XXXX กรุงเทพมหานคร ไว้จากบริษัท ฮ. ผู้เอาประกันภัย ระยะเวลาประกันภัยเริ่มวันที่ 12 พฤษภาคม 2561 สิ้นสุดวันที่ 12 พฤษภาคม 2562 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์โดยสารสาธารณะ รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 3 รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561 บริษัท ฮ. ประสงค์จะนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไปเข้าซ่อมที่บริษัท บ. แต่ไม่สามารถนำรถยนต์ไปส่งซ่อมได้ จึงมอบหมายให้บริษัท บ. จัดหาบุคคลไปรับรถยนต์มาเพื่อซ่อม บริษัท บ. จึงว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ไปรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยที่บริษัท ฮ. ต่อมาวันที่ 17 สิงหาคม 2561 จำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างไปรับรถและขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากบริษัท ฮ. ไปส่งที่บริษัท บ. ระหว่างทางที่จำเลยที่ 1 ขับรถมาตามถนนบรมราชชนนี จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความเร็วสูงปราศจากความระมัดระวังชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 ฒง XXXX กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างที่ได้มอบหมายสั่งการให้มารับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากบริษัท ฮ. แล้วเกิดอุบัติเหตุชนท้ายรถยนต์คันอื่น โดยได้ทำบันทึกยอมรับผิดไว้กับพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลธรรมศาลาสอบสวนแล้วมีความเห็นว่า เหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 จึงแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 1 ว่า ขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถผู้อื่นได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพและยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ หลังเกิดเหตุรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ต้องเสียค่ายกลากรถไปยังบริษัท บ. เป็นเงิน 2,500 บาท โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าซ่อมรถเป็นค่าอะไหล่และค่าแรงไป 815,468 บาท แล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหาย แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 ฒง XXXX กรุงเทพมหานคร เป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 คู่ความไม่ฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงส่วนนี้ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อแรกว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชำระไปหรือไม่ เห็นว่า กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ผู้เอาประกันภัย ข้อ 6 ระบุเหตุที่โจทก์สละสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยว่า ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย โจทก์สละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น แต่กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวได้ระบุข้อยกเว้นที่โจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยไว้ด้วยว่า กรณีการใช้โดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การทำความสะอาดรถ การบำรุงรักษารถ หรือการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น โจทก์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากบุคคลเหล่านั้น คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้เอาประกันภัยประสงค์จะนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้าซ่อมที่บริษัท บ. แต่ไม่สามารถนำรถไปส่งซ่อมเองได้ จึงมอบหมายให้บริษัท บ. จัดหาบุคคลไปรับรถยนต์มาเพื่อซ่อม เมื่อบริษัท บ. เป็นสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การที่บริษัท บ. ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ไปรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยจึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้ารับบริการซ่อมตามการมอบหมายและความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างไปรับรถและขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไปส่งที่บริษัท บ. จึงเป็นการกระทำในวัตถุประสงค์และการมอบหมายของบริษัท บ. เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งรับดำเนินการในกรณีนี้เป็นตัวแทนของบริษัท บ. ในการรับมอบรถยนต์จากผู้เอาประกันภัยเพื่อนำไปรับบริการซ่อมแซมจากบริษัท บ. ผู้เป็นตัวการ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจึงเป็นการกระทำโดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถเมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 6 ตอนท้าย อันเป็นข้อยกเว้นซึ่งโจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยนั้น แม้กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยไม่ได้ระบุชื่อผู้ขับขี่ ซึ่งหมายความว่า เมื่อผู้เอาประกันภัยยินยอมให้บุคคลใดเป็นผู้ขับขี่ ย่อมถือว่าบุคคลนั้นเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเอง และโจทก์ตกลงสละสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยดังที่จำเลยทั้งสามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้ต้องด้วยข้อยกเว้นของการที่โจทก์ตกลงสละสิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีต่อผู้ใช้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยดังวินิจฉัยข้างต้น โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยในความเสียหายของรถยนต์อันเป็นผลจากเหตุละเมิดที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง มาตรา 420 และมาตรา 425 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามรับผิดนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
สำหรับปัญหาในเรื่องค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใดนั้น ในส่วนของค่ายกลากรถ ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์เป็นเงิน 2,500 บาท จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์ว่าสูงเกินไป จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อต่อไปว่า ค่าซ่อมรถที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาเหมาะสมหรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีนายสุรพล ผู้จัดการฝ่ายซ่อมสีและตัวถังของบริษัท บ. เบิกความว่า รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายด้านหน้าขวา จึงได้ทำใบเสนอราคาค่าอะไหล่และค่าแรงเพื่อส่งให้โจทก์คุมราคาค่าอะไหล่และค่าแรงแล้วเป็นเงิน 815,468.94 บาท เมื่อซ่อมรถเสร็จ โจทก์ชำระเงินค่าซ่อมรถให้แก่บริษัท บ. และพยานเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ 2 ว่า รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายด้านหน้าขวาซึ่งเป็นที่ตั้งของเทอร์โบ และต้องใช้วิธีซ่อมแซมทั้งชุดตามรายการที่ 89 ในใบเสนอราคา ส่วนอะไหล่รายการที่ 63 เป็นการเปลี่ยนไฟหน้าขวาเพียงด้านเดียว อะไหล่ที่มีการถอดเปลี่ยนได้คืนให้แก่โจทก์ เมื่อพิจารณารายการอะไหล่ที่ระบุในใบเสนอราคาดังกล่าวข้างต้นปรากฏว่าสอดคล้องตรงกับความเสียหายของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยที่ได้รับความเสียหายทางด้านหน้าขวา ทั้งโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยย่อมต้องตรวจสอบควบคุมราคาค่าอะไหล่และค่าแรงมิให้ต้องชดใช้ค่าเสียหายเกินความเสียหายที่แท้จริง จำเลยทั้งสามก็มิได้ถามค้านหรือนำสืบให้ได้ความว่า ชิ้นส่วนที่เสียหายดังกล่าวสามารถซ่อมแซมให้มีสภาพใช้งานได้ดีดังเดิมโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ทั้งชุด และไม่ปรากฏว่าชิ้นส่วนซากอะไหล่เดิมที่เสียหายยังคงใช้ประโยชน์และนำไปขายได้ จึงฟังได้ว่ารายการค่าอะไหล่และค่าแรงที่โจทก์จ่ายไปเป็นจำนวนที่เหมาะสมและถูกต้องตามรายการที่เสียหายจริงแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าซ่อมรถตามจำนวนเงินที่โจทก์ชำระไปนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
อนึ่ง เนื่องจากได้มีประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติให้ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับแก่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมายที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
พิพากษาแก้เป็นว่า ในส่วนดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 สิงหาคม 2562) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 นั้น ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด ซึ่งหมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้มีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามทางไต่สวนมูลฟ้องไม่เป็นความผิดแล้ว ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ได้
คดีนี้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วให้ประทับฟ้องเฉพาะข้อหารับของโจร เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ในส่วนความผิดข้อหาลักทรัพย์กับข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ตายและจำเลยร่วมกันลักโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลง และรับฟังไมได้ว่ามีการลักสมุดเช็คตามฟ้องเกิดขึ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมหรือสนับสนุนผู้ตายลักทรัพย์ในวัตถุแห่งการกระทำเดียวกัน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในส่วนความผิดข้อหารับของโจรว่าที่จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินและสมุดเช็คดังกล่าวต่อมาย่อมไม่เป็นความผิด เพราะความผิดฐานข้อหาของโจรตามฟ้องต้องเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์ชอบที่ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 170 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 264, 265, 266 (4), 334, 335, 357
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูลเฉพาะข้อหารับของโจร ให้ประทับฟ้องในข้อหาดังกล่าว ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์กับนายอุดรเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกันสองคน คือ นายภัทรธวัฒน์ (สามีจำเลย) และนายธนัทพัชร์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2546 นายอุดรถึงแก่ความตาย โจทก์ยื่นคำร้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนายอุดร วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 ศาลจังหวัดกาญจนบุรีมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายอุดร นายอุดรมีทรัพย์สินคือ ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 105953, 21447, 21448 และ 7352 ตามลำดับ และทรัพย์สินอื่นอีก ส่วนจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายภัทรธวัฒน์ผู้ตาย ซึ่งถึงแก่ความตายวันที่ 14 มีนาคม 2564 สำหรับความผิดข้อหาลักทรัพย์ กับข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ประทับฟ้องทุกข้อหา ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดข้อหารับของโจรด้วย โจทก์ยื่นฎีกาฉบับแรกลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ต่อมาวันที่ 2 มีนาคม 2566 โจทก์ยื่นฎีกาฉบับที่ 2 พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้รับฎีกาของโจทก์เฉพาะข้อหารับของโจรตามฎีกาฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เพียงว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อหารับของโจรขึ้นวินิจฉัย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดข้อหานี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด ซึ่งหมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้มีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามทางไต่สวนมูลฟ้องไม่เป็นความผิดแล้ว ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง คดีนี้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะข้อหารับของโจร แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ในส่วนความผิดฐานลักทรัพย์กับปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ตายและจำเลยร่วมกันลักโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลง และรับฟังไม่ได้ว่ามีการลักสมุดเช็คตามฟ้องเกิดขึ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันหรือสนับสนุนผู้ตายลักทรัพย์ในวัตถุแห่งการกระทำเดียวกันเช่นนี้ ศาลอุทธรณ์จึงวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในส่วนความผิดฐานรับของโจรว่า การที่จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินและสมุดเช็คดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร เพราะความผิดฐานรับของโจรตามฟ้องย่อมต้องเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ เนื่องจากปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 170 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังที่โจทก์อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด ซึ่งหมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้มีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามทางไต่สวนมูลฟ้องไม่เป็นความผิดแล้ว ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ได้
คดีนี้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วให้ประทับฟ้องเฉพาะข้อหารับของโจร เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ในส่วนความผิดข้อหาลักทรัพย์กับข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ตายและจำเลยร่วมกันลักโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลง และรับฟังไมได้ว่ามีการลักสมุดเช็คตามฟ้องเกิดขึ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมหรือสนับสนุนผู้ตายลักทรัพย์ในวัตถุแห่งการกระทำเดียวกัน ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในส่วนความผิดข้อหารับของโจรว่าที่จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินและสมุดเช็คดังกล่าวต่อมาย่อมไม่เป็นความผิด เพราะความผิดฐานข้อหาของโจรตามฟ้องต้องเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์ชอบที่ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 170 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 264, 265, 266 (4), 334, 335, 357
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูลเฉพาะข้อหารับของโจร ให้ประทับฟ้องในข้อหาดังกล่าว ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า โจทก์กับนายอุดรเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกันสองคน คือ นายภัทรธวัฒน์ (สามีจำเลย) และนายธนัทพัชร์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2546 นายอุดรถึงแก่ความตาย โจทก์ยื่นคำร้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนายอุดร วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 ศาลจังหวัดกาญจนบุรีมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายอุดร นายอุดรมีทรัพย์สินคือ ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 105953, 21447, 21448 และ 7352 ตามลำดับ และทรัพย์สินอื่นอีก ส่วนจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายภัทรธวัฒน์ผู้ตาย ซึ่งถึงแก่ความตายวันที่ 14 มีนาคม 2564 สำหรับความผิดข้อหาลักทรัพย์ กับข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ประทับฟ้องทุกข้อหา ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดข้อหารับของโจรด้วย โจทก์ยื่นฎีกาฉบับแรกลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ต่อมาวันที่ 2 มีนาคม 2566 โจทก์ยื่นฎีกาฉบับที่ 2 พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้รับฎีกาของโจทก์เฉพาะข้อหารับของโจรตามฎีกาฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เพียงว่า การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อหารับของโจรขึ้นวินิจฉัย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดข้อหานี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 บัญญัติว่า คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด ซึ่งหมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้มีมูลได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามทางไต่สวนมูลฟ้องไม่เป็นความผิดแล้ว ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง คดีนี้ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะข้อหารับของโจร แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์โจทก์ในส่วนความผิดฐานลักทรัพย์กับปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ตายและจำเลยร่วมกันลักโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลง และรับฟังไม่ได้ว่ามีการลักสมุดเช็คตามฟ้องเกิดขึ้น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันหรือสนับสนุนผู้ตายลักทรัพย์ในวัตถุแห่งการกระทำเดียวกันเช่นนี้ ศาลอุทธรณ์จึงวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในส่วนความผิดฐานรับของโจรว่า การที่จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินและสมุดเช็คดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร เพราะความผิดฐานรับของโจรตามฟ้องย่อมต้องเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ เนื่องจากปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ไม่เป็นการขัดต่อมาตรา 170 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังที่โจทก์อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แล้วผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อพร้อมคำฟ้องและอ้างส่งต่อศาล ทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามสัญญาเช่าซื้อด้วย
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6.7 กำหนดว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย หากมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือ ทั้งนี้เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้จ่ายไปจริงโดยประหยัดตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ดังนั้น โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ จำเลยผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดเฉพาะเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือเท่านั้น ซึ่งในส่วนเบี้ยปรับ แม้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ชดใช้ให้แก่กันเมื่ออีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 4 กำหนดรายละเอียดของเบี้ยปรับว่า ได้แก่ เบี้ยปรับของค่าเช่าซื้อที่ผิดนัด เบี้ยปรับของค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ชำระที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บแทนผู้เช่าซื้อ เบี้ยปรับจึงมีความหมายเฉพาะที่ระบุในข้อสัญญาดังกล่าว มิใช่ค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์อาจมีสิทธิเรียกได้กรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือตามที่ระบุไว้ในข้อสัญญาดังกล่าว ทั้งสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่น จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 380,623.04 บาท ให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 22,876.96 บาท และค่าขาดประโยชน์อัตราเดือนละ 2,859.62 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์หรือใช้ราคาแทนครบถ้วน และให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 403,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2562 จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้วยี่ห้ออีซูซุ รุ่นดีแมกซ์ 2 ดีอาร์ จากโจทก์ในราคาค่าเช่าซื้อ 391,500 บาท จำเลยตกลงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือนรวม 72 งวด งวดที่ 1 ถึง 71 เดือนละ 5,819 บาท งวดที่ 72 เป็นเงิน 5,755.83 บาท เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 5 มิถุนายน 2562 และภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไปจนกว่าจะครบถ้วน หากผิดนัด 3 งวดติดต่อกัน โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์เพียง 2 งวด และงวดที่ 3 บางส่วน รวมเป็นเงิน 10,876.96 บาท เป็นการผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 3 ประจำวันที่ 5 สิงหาคม 2562 เป็นต้นมา โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่จำเลยเพิกเฉย ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2562 รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป ภรรยาจำเลยแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลย
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แล้วผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อพร้อมคำฟ้องและอ้างส่งต่อศาล ทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามสัญญาเช่าซื้อด้วย ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6.7 กำหนดว่า กรณีรถที่เช่าซื้อสูญหาย หากมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือ ทั้งนี้เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้จ่ายไปจริงโดยประหยัด ตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ดังนั้น โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลยผู้เช่าซื้อ จำเลยผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดเฉพาะเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือเท่านั้น ซึ่งในส่วนเบี้ยปรับ แม้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ชดใช้ให้แก่กันเมื่ออีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 4 ได้กำหนดรายละเอียดของค่าเบี้ยปรับว่า ได้แก่ เบี้ยปรับของค่าเช่าซื้อที่ผิดนัด และเบี้ยปรับของค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ชำระที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บแทนผู้เช่าซื้อ โดยผู้เช่าซื้อต้องชำระในอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี บวกร้อยละ 3 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เบี้ยปรับจึงมีความหมายเฉพาะที่ระบุในข้อสัญญาดังกล่าว มิใช่ค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์อาจมีสิทธิเรียกได้กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือตามที่ระบุไว้ในข้อสัญญาดังกล่าว ทั้งสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่นให้แก่โจทก์นอกจากที่ตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้แล้ว จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แล้วผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อพร้อมคำฟ้องและอ้างส่งต่อศาล ทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามสัญญาเช่าซื้อด้วย
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6.7 กำหนดว่า กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย หากมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือ ทั้งนี้เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้จ่ายไปจริงโดยประหยัดตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ดังนั้น โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ จำเลยผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดเฉพาะเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือเท่านั้น ซึ่งในส่วนเบี้ยปรับ แม้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ชดใช้ให้แก่กันเมื่ออีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 4 กำหนดรายละเอียดของเบี้ยปรับว่า ได้แก่ เบี้ยปรับของค่าเช่าซื้อที่ผิดนัด เบี้ยปรับของค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ชำระที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บแทนผู้เช่าซื้อ เบี้ยปรับจึงมีความหมายเฉพาะที่ระบุในข้อสัญญาดังกล่าว มิใช่ค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์อาจมีสิทธิเรียกได้กรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือตามที่ระบุไว้ในข้อสัญญาดังกล่าว ทั้งสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่น จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 380,623.04 บาท ให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 22,876.96 บาท และค่าขาดประโยชน์อัตราเดือนละ 2,859.62 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์หรือใช้ราคาแทนครบถ้วน และให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 403,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2562 จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้วยี่ห้ออีซูซุ รุ่นดีแมกซ์ 2 ดีอาร์ จากโจทก์ในราคาค่าเช่าซื้อ 391,500 บาท จำเลยตกลงผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือนรวม 72 งวด งวดที่ 1 ถึง 71 เดือนละ 5,819 บาท งวดที่ 72 เป็นเงิน 5,755.83 บาท เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 5 มิถุนายน 2562 และภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไปจนกว่าจะครบถ้วน หากผิดนัด 3 งวดติดต่อกัน โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์เพียง 2 งวด และงวดที่ 3 บางส่วน รวมเป็นเงิน 10,876.96 บาท เป็นการผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 3 ประจำวันที่ 5 สิงหาคม 2562 เป็นต้นมา โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่จำเลยเพิกเฉย ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2562 รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป ภรรยาจำเลยแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลย
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์แล้วผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาพร้อมเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์แนบสำเนาสัญญาเช่าซื้อพร้อมคำฟ้องและอ้างส่งต่อศาล ทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย แต่พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามสัญญาเช่าซื้อด้วย ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6.7 กำหนดว่า กรณีรถที่เช่าซื้อสูญหาย หากมิใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือ ทั้งนี้เพียงเท่าที่ผู้ให้เช่าซื้อได้จ่ายไปจริงโดยประหยัด ตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร ดังนั้น โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลยผู้เช่าซื้อ จำเลยผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดเฉพาะเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือเท่านั้น ซึ่งในส่วนเบี้ยปรับ แม้เป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่ง แต่มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ชดใช้ให้แก่กันเมื่ออีกฝ่ายไม่ชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 4 ได้กำหนดรายละเอียดของค่าเบี้ยปรับว่า ได้แก่ เบี้ยปรับของค่าเช่าซื้อที่ผิดนัด และเบี้ยปรับของค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้ชำระที่ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเก็บแทนผู้เช่าซื้อ โดยผู้เช่าซื้อต้องชำระในอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี บวกร้อยละ 3 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เบี้ยปรับจึงมีความหมายเฉพาะที่ระบุในข้อสัญญาดังกล่าว มิใช่ค่าเสียหายอย่างอื่นที่โจทก์อาจมีสิทธิเรียกได้กรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อ ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลือตามที่ระบุไว้ในข้อสัญญาดังกล่าว ทั้งสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่นให้แก่โจทก์นอกจากที่ตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้แล้ว จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|