ผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนเดิม ซึ่งแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ด้วยเช่นกัน เมื่อผู้บริหารแผนไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ทั้งยังได้ความจากรายงานสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาลว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้บางรายได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาเป็นการขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนและขอแก้ไขเงื่อนไขการออกจากแผนโดยเป็นการขอแก้ไขต่อจากข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับแรกซึ่งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้บางรายจะได้รับชำระหนี้ยังคงน้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นเดิม ศาลฎีกาจึงไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาทุกฉบับ และย่อมมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิมที่ศาลเห็นชอบด้วยแผน การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง โดยเห็นว่าการฟื้นฟูกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่มีการแก้ไขดังกล่าวได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนแล้ว จึงต้องถูกยกเลิกเพิกถอนด้วย
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งลูกหนี้เป็นผู้ทำแผนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 ต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 โดยมีลูกหนี้เป็นผู้บริหารแผน ผู้บริหารแผนได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า หลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วผู้บริหารแผนได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 2 เมษายน 2563 แต่ได้ยกเลิกนัดและกำหนดวันนัดประชุมเจ้าหนี้ใหม่ในวันที่ 11 มิถุนายน 2563 ก่อนวันนัดประชุมเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 3 วัน ผู้บริหารแผนได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ขอแก้ไขข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นควรรวมเป็นฉบับเดียวกันเพื่อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้พิจารณาลงมติ ปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/63 ประกอบมาตรา 90/46 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดวันนัดพิจารณาคำขอแก้ไขแผนให้ผู้บริหารแผนและบรรดาเจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว ขอให้ศาลนัดพิจารณาว่าจะเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 ประกอบมาตรา 90/63
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์และอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ จึงให้ยกคำร้องและไม่รับอุทธรณ์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่ผู้คัดค้าน
ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า ผู้บริหารแผนได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 และฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 19 เมษายน 2564 แต่ได้เลื่อนไปนัดประชุมเจ้าหนี้ใหม่ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ก่อนวันนัดประชุมเจ้าหนี้ ผู้บริหารแผนได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ โดยขอยกเลิกคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงรับคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นคำร้องขอแก้ไขแผนฉบับที่ 1 และรับคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เป็นคำร้องขอแก้ไขแผนฉบับที่ 2 ปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนทั้งสองฉบับดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/63 ประกอบมาตรา 90/46 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดวันนัดพิจารณาคำขอแก้ไขแผนให้ผู้บริหารแผนและบรรดาเจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว ขอให้ศาลนัดพิจารณาว่าจะเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 ประกอบมาตรา 90/63
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายที่ 1 ยื่นคำคัดค้านว่า แผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขมีรายการไม่ครบถ้วนตามมาตรา 90/42 ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนที่จะทำให้เจ้าหนี้พิจารณาได้ว่าหากอนุมัติแล้วเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนที่แก้ไข การขอแก้ไขแผนเป็นการประวิงเวลาทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายและทรัพย์สินของลูกหนี้เสื่อมราคา และเมื่อถึงที่สุดจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ขอให้มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์และอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ให้ยกคำร้องและไม่รับอุทธรณ์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่ผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษทั้งสองฉบับ โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ทั้งสองฉบับชอบหรือไม่ เห็นว่า การที่กฎหมายล้มละลายในส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดให้แผนฟื้นฟูกิจการหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติตามมาตรา 90/46 ยอมรับแล้วต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมาตรา 90/58 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า (1) แผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 (2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และในกรณีที่มติยอมรับแผนเป็นมติตามมาตรา 90/46 (2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนนั้นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอม และ (3) เมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย อันเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอแก้ไขแผน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจโดยใช้อำนาจตุลาการเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และให้ศาลใช้ดุลพินิจตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนหรือไม่ สำหรับการพิจารณาปัญหาว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) หรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาประกอบข้อมูลจากแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนรายการรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ที่แท้จริงของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (2) เมื่อต่อมาผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน ซึ่งตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) เช่นกัน แต่กลับได้ความจากรายการสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปไว้ว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงต่อศาลในวันนัดพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขว่าจากการตรวจสอบทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ได้นำไปเป็นหลักประกันเจ้าหนี้รายที่ 7 ทั้งหมด ซึ่งหากมีการบังคับขายหลักประกันจะไม่มีเงินเหลือชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายอื่น ดังนั้นจึงถือว่าเจ้าหนี้ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่แก้ไขมากกว่ากรณีล้มละลาย โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาสนับสนุน ทั้งยังขัดแย้งกับรายการสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาโดยละเอียด จึงมีข้อน่าพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) หรือไม่ กรณีจึงมีเหตุอันควรอนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยประกอบกับคดีฟื้นฟูกิจการจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาโดยเร็ว ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยก่อน สำหรับคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนครั้งแรกลงวันที่ 17 สิงหาคม 2563 นั้น เห็นว่า คดีนี้ ในกระบวนพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้นไม่มีคู่ความใดโต้แย้งรายการในแผนเกี่ยวกับรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงรับฟังได้ตามที่ปรากฏในแผน และในแผนฟื้นฟูกิจการได้นำจำนวนเงินตามรายการต่าง ๆ มาคิดคำนวณประมาณการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและกรณีดำเนินการตามแผนสำเร็จ ซึ่งแสดงว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว ตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับผ่านมติที่ประชุมเจ้าหนี้วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เอกสารแนบท้าย 10 ซึ่งต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 ดังกล่าว เมื่อผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน ซึ่งตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่า เมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) ด้วยเช่นกัน โดยจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้ทั้งหลายจะได้รับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายซึ่งจะนำมาพิจารณาเปรียบเทียบนั้นจะต้องเป็นข้อมูลจากแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนรายการรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ที่แท้จริงของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (2) ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แต่เมื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขซึ่งผ่านมติที่ประชุมเจ้าหนี้วันที่ 11 มิถุนายน 2563 เอกสารแนบท้าย 10 ประมาณการผลตอบแทนในการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการและในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย กลับเป็นฉบับเดียวกับที่แนบท้ายแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิมโดยจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้นั้นยังคงเป็นจำนวนตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม มิได้เปรียบเทียบโดยระบุจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไข จึงเป็นกรณีที่ผู้บริหารแผนไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) แต่อย่างใด นอกจากนี้ยังได้ความจากรายงานสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนฉบับลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาล โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำตารางเปรียบเทียบจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละกลุ่มจะได้รับตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ฉบับที่แก้ไข กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับกรณีล้มละลาย ซึ่งระบุว่าจำนวนเงินที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับกรณีฟื้นฟูกิจการตามแผนฉบับที่แก้ไขคือ 0 บาท และ 1,004,797.11 บาท ตามลำดับ และจำนวนเงินที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับกรณีล้มละลาย คือ 2,497,976 บาท และ 3,608,702 บาท ตามลำดับ แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปไว้ว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย โดยใช้ข้อมูลการชำระหนี้กรณีล้มละลายตามเอกสารแนบท้าย 10 ของแผนฟื้นฟูกิจการฉบับศาลเห็นชอบวันที่ 12 มีนาคม 2558 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 สำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้บางรายได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาเป็นการขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนและขอแก้ไขเงื่อนไขการออกจากแผนโดยเป็นการขอแก้ไขต่อจากข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับแรกซึ่งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้บางรายจะได้รับชำระหนี้ยังคงน้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นเดิม ศาลฎีกาจึงไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาทุกฉบับ และย่อมมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง โดยเห็นว่าการฟื้นฟูกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่มีการแก้ไขดังกล่าวได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนแล้ว จึงต้องถูกยกเลิกเพิกถอนด้วยเช่นกัน
อนึ่ง เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนทุกฉบับมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่ศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 ซึ่งขณะนี้ระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุดแล้ว แต่การที่ศาลจะพิจารณามีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง ได้นั้นจะต้องพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนและฟังคำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้และคำคัดค้านของลูกหนี้ด้วย แต่ในชั้นนี้ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 90/70 วรรคสอง จึงเห็นควรให้ศาลล้มละลายกลางดำเนินการและพิจารณามีคำสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวตามที่เห็นสมควร
พิพากษากลับเป็นว่า มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนทุกฉบับ ยกคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาและมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง ตามที่เห็นสมควรต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนเดิม ซึ่งแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ด้วยเช่นกัน เมื่อผู้บริหารแผนไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ทั้งยังได้ความจากรายงานสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาลว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้บางรายได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาเป็นการขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนและขอแก้ไขเงื่อนไขการออกจากแผนโดยเป็นการขอแก้ไขต่อจากข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับแรกซึ่งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้บางรายจะได้รับชำระหนี้ยังคงน้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นเดิม ศาลฎีกาจึงไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาทุกฉบับ และย่อมมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิมที่ศาลเห็นชอบด้วยแผน การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง โดยเห็นว่าการฟื้นฟูกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่มีการแก้ไขดังกล่าวได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนแล้ว จึงต้องถูกยกเลิกเพิกถอนด้วย
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งลูกหนี้เป็นผู้ทำแผนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 ต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 โดยมีลูกหนี้เป็นผู้บริหารแผน ผู้บริหารแผนได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า หลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วผู้บริหารแผนได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 2 เมษายน 2563 แต่ได้ยกเลิกนัดและกำหนดวันนัดประชุมเจ้าหนี้ใหม่ในวันที่ 11 มิถุนายน 2563 ก่อนวันนัดประชุมเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 3 วัน ผู้บริหารแผนได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ขอแก้ไขข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นควรรวมเป็นฉบับเดียวกันเพื่อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้พิจารณาลงมติ ปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/63 ประกอบมาตรา 90/46 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดวันนัดพิจารณาคำขอแก้ไขแผนให้ผู้บริหารแผนและบรรดาเจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว ขอให้ศาลนัดพิจารณาว่าจะเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 ประกอบมาตรา 90/63
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์และอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ จึงให้ยกคำร้องและไม่รับอุทธรณ์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่ผู้คัดค้าน
ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า ผู้บริหารแผนได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 และฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 19 เมษายน 2564 แต่ได้เลื่อนไปนัดประชุมเจ้าหนี้ใหม่ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ก่อนวันนัดประชุมเจ้าหนี้ ผู้บริหารแผนได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ โดยขอยกเลิกคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงรับคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นคำร้องขอแก้ไขแผนฉบับที่ 1 และรับคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เป็นคำร้องขอแก้ไขแผนฉบับที่ 2 ปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนทั้งสองฉบับดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/63 ประกอบมาตรา 90/46 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดวันนัดพิจารณาคำขอแก้ไขแผนให้ผู้บริหารแผนและบรรดาเจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว ขอให้ศาลนัดพิจารณาว่าจะเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 ประกอบมาตรา 90/63
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายที่ 1 ยื่นคำคัดค้านว่า แผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขมีรายการไม่ครบถ้วนตามมาตรา 90/42 ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนที่จะทำให้เจ้าหนี้พิจารณาได้ว่าหากอนุมัติแล้วเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนที่แก้ไข การขอแก้ไขแผนเป็นการประวิงเวลาทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายและทรัพย์สินของลูกหนี้เสื่อมราคา และเมื่อถึงที่สุดจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ขอให้มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์และอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ให้ยกคำร้องและไม่รับอุทธรณ์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่ผู้คัดค้าน
ผู้คัดค้านฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษทั้งสองฉบับ โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ทั้งสองฉบับชอบหรือไม่ เห็นว่า การที่กฎหมายล้มละลายในส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดให้แผนฟื้นฟูกิจการหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติตามมาตรา 90/46 ยอมรับแล้วต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมาตรา 90/58 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า (1) แผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 (2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และในกรณีที่มติยอมรับแผนเป็นมติตามมาตรา 90/46 (2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนนั้นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอม และ (3) เมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย อันเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอแก้ไขแผน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจโดยใช้อำนาจตุลาการเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และให้ศาลใช้ดุลพินิจตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนหรือไม่ สำหรับการพิจารณาปัญหาว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) หรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาประกอบข้อมูลจากแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนรายการรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ที่แท้จริงของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (2) เมื่อต่อมาผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน ซึ่งตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) เช่นกัน แต่กลับได้ความจากรายการสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปไว้ว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงต่อศาลในวันนัดพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขว่าจากการตรวจสอบทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ได้นำไปเป็นหลักประกันเจ้าหนี้รายที่ 7 ทั้งหมด ซึ่งหากมีการบังคับขายหลักประกันจะไม่มีเงินเหลือชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายอื่น ดังนั้นจึงถือว่าเจ้าหนี้ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่แก้ไขมากกว่ากรณีล้มละลาย โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาสนับสนุน ทั้งยังขัดแย้งกับรายการสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาโดยละเอียด จึงมีข้อน่าพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) หรือไม่ กรณีจึงมีเหตุอันควรอนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยประกอบกับคดีฟื้นฟูกิจการจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาโดยเร็ว ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยก่อน สำหรับคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนครั้งแรกลงวันที่ 17 สิงหาคม 2563 นั้น เห็นว่า คดีนี้ ในกระบวนพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้นไม่มีคู่ความใดโต้แย้งรายการในแผนเกี่ยวกับรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงรับฟังได้ตามที่ปรากฏในแผน และในแผนฟื้นฟูกิจการได้นำจำนวนเงินตามรายการต่าง ๆ มาคิดคำนวณประมาณการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและกรณีดำเนินการตามแผนสำเร็จ ซึ่งแสดงว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว ตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับผ่านมติที่ประชุมเจ้าหนี้วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เอกสารแนบท้าย 10 ซึ่งต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 ดังกล่าว เมื่อผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน ซึ่งตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่า เมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) ด้วยเช่นกัน โดยจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้ทั้งหลายจะได้รับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายซึ่งจะนำมาพิจารณาเปรียบเทียบนั้นจะต้องเป็นข้อมูลจากแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนรายการรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ที่แท้จริงของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (2) ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แต่เมื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขซึ่งผ่านมติที่ประชุมเจ้าหนี้วันที่ 11 มิถุนายน 2563 เอกสารแนบท้าย 10 ประมาณการผลตอบแทนในการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการและในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย กลับเป็นฉบับเดียวกับที่แนบท้ายแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิมโดยจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้นั้นยังคงเป็นจำนวนตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม มิได้เปรียบเทียบโดยระบุจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไข จึงเป็นกรณีที่ผู้บริหารแผนไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) แต่อย่างใด นอกจากนี้ยังได้ความจากรายงานสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนฉบับลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาล โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำตารางเปรียบเทียบจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละกลุ่มจะได้รับตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ฉบับที่แก้ไข กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับกรณีล้มละลาย ซึ่งระบุว่าจำนวนเงินที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับกรณีฟื้นฟูกิจการตามแผนฉบับที่แก้ไขคือ 0 บาท และ 1,004,797.11 บาท ตามลำดับ และจำนวนเงินที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับกรณีล้มละลาย คือ 2,497,976 บาท และ 3,608,702 บาท ตามลำดับ แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปไว้ว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย โดยใช้ข้อมูลการชำระหนี้กรณีล้มละลายตามเอกสารแนบท้าย 10 ของแผนฟื้นฟูกิจการฉบับศาลเห็นชอบวันที่ 12 มีนาคม 2558 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 สำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้บางรายได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาเป็นการขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนและขอแก้ไขเงื่อนไขการออกจากแผนโดยเป็นการขอแก้ไขต่อจากข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับแรกซึ่งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้บางรายจะได้รับชำระหนี้ยังคงน้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นเดิม ศาลฎีกาจึงไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาทุกฉบับ และย่อมมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง โดยเห็นว่าการฟื้นฟูกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่มีการแก้ไขดังกล่าวได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนแล้ว จึงต้องถูกยกเลิกเพิกถอนด้วยเช่นกัน
อนึ่ง เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนทุกฉบับมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่ศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 ซึ่งขณะนี้ระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุดแล้ว แต่การที่ศาลจะพิจารณามีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง ได้นั้นจะต้องพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนและฟังคำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้และคำคัดค้านของลูกหนี้ด้วย แต่ในชั้นนี้ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 90/70 วรรคสอง จึงเห็นควรให้ศาลล้มละลายกลางดำเนินการและพิจารณามีคำสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวตามที่เห็นสมควร
พิพากษากลับเป็นว่า มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนทุกฉบับ ยกคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาและมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง ตามที่เห็นสมควรต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ผู้รับจำนองซึ่งทรงทรัพยสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันหรือสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความ เพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และ 745 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เมื่อคดีเข้าสู่ศาล กระบวนพิจารณาก็ต้องบังคับตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. ดังนั้น เมื่อ ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 274 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่งวดแรกวันที่ 30 มิถุนายน 2543 ดังนี้ การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินจำนองจึงต้องกระทำภายในสิบปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลยล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 แล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลย อย่างไรก็ตาม ทรัพยสิทธิจำนองยังคงอยู่ และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องเป็นเงิน 1,564,537.55 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 1,509,373.07 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 19,500 บาท เริ่มงวดแรกในวันสิ้นเดือนมิถุนายน 2543 เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้จำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นภายในเวลา 3 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ขอออกหมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 325 ทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งว่า ตรวจสอบแล้วคดีนี้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 และโจทก์แถลงว่าจำเลยไม่เคยชำระหนี้ ดังนั้น นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ (วันที่ 1 กรกฎาคม 2543) จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว คดีจึงพ้นระยะเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจบังคับคดีหรือยึดทรัพย์ตามคำร้องได้ ยกคำร้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า การบังคับคดีจะต้องกระทำภายใน 10 ปี คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบแล้ว ยกคำร้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 325 อันเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดหรือไม่ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า สิทธิจำนองเป็นทรัพยสิทธิจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (1) ถึง (6) ดังนี้ ผู้รับจำนองซึ่งทรงทรัพยสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันหรือสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความ เพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 และมาตรา 745 บัญญัติไว้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่แก่คู่กรณีที่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โดยหากเจ้าหนี้ประสงค์บังคับตามสิทธิก็ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพราะเหตุถูกลูกหนี้โต้แย้งสิทธิ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติคือกฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติไว้ และเมื่อคดีเข้าสู่ศาล กระบวนพิจารณาก็ต้องบังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 274 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่งวดแรกวันที่ 30 มิถุนายน 2543 ดังนี้ การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินจำนองจึงต้องกระทำในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการบังคับคดีที่ต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความ แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำขอฉบับลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลยล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 แล้ว จึงมีผลเพียงทำให้โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลยในคดีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทรัพยสิทธิจำนองยังคงอยู่ และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
ผู้รับจำนองซึ่งทรงทรัพยสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันหรือสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความ เพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และ 745 แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เมื่อคดีเข้าสู่ศาล กระบวนพิจารณาก็ต้องบังคับตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. ดังนั้น เมื่อ ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 274 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่งวดแรกวันที่ 30 มิถุนายน 2543 ดังนี้ การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินจำนองจึงต้องกระทำภายในสิบปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลยล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 แล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลย อย่างไรก็ตาม ทรัพยสิทธิจำนองยังคงอยู่ และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องเป็นเงิน 1,564,537.55 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 1,509,373.07 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 19,500 บาท เริ่มงวดแรกในวันสิ้นเดือนมิถุนายน 2543 เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้จำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นภายในเวลา 3 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ขอออกหมายบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 325 ทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งว่า ตรวจสอบแล้วคดีนี้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 และโจทก์แถลงว่าจำเลยไม่เคยชำระหนี้ ดังนั้น นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ (วันที่ 1 กรกฎาคม 2543) จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว คดีจึงพ้นระยะเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจบังคับคดีหรือยึดทรัพย์ตามคำร้องได้ ยกคำร้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า การบังคับคดีจะต้องกระทำภายใน 10 ปี คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบแล้ว ยกคำร้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 325 อันเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดหรือไม่ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า สิทธิจำนองเป็นทรัพยสิทธิจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (1) ถึง (6) ดังนี้ ผู้รับจำนองซึ่งทรงทรัพยสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันหรือสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความ เพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 และมาตรา 745 บัญญัติไว้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่แก่คู่กรณีที่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โดยหากเจ้าหนี้ประสงค์บังคับตามสิทธิก็ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพราะเหตุถูกลูกหนี้โต้แย้งสิทธิ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 อันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติคือกฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติไว้ และเมื่อคดีเข้าสู่ศาล กระบวนพิจารณาก็ต้องบังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 274 บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่งวดแรกวันที่ 30 มิถุนายน 2543 ดังนี้ การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินจำนองจึงต้องกระทำในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการบังคับคดีที่ต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความ แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำขอฉบับลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลยล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 แล้ว จึงมีผลเพียงทำให้โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลยในคดีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทรัพยสิทธิจำนองยังคงอยู่ และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การเรียกร้องค่าทดแทนเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อชดเชยความเสียหายอันที่เกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินจากจำเลยเป็นคดีต่างหากได้ หากศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยได้สิทธิทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยโจทก์ทั้งสามไม่จำต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาในคำให้การ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบของคู่ความว่า มีการบังคับคดีเปิดทางจำเป็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 โจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสามนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2555 อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เมื่อ ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความใช้ค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็นไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่มีการเปิดใช้ทางจำเป็นจนถึงวันที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าทดแทนในคดีนี้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ทั้งสามเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่าน สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 100,000 บาท และโจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสามฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังยุติว่า ก่อนหน้านี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ถูกนางสาวมาลีและพันเอกวินัยฟ้องต่อศาลชั้นต้น ให้เปิดทางผ่านที่ดินของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะรวม 2 คดี คือคดีหมายเลขแดงที่ 770/2548 และคดีหมายเลขแดงที่ 3972/2548 ตามลำดับ ซึ่งตามคำฟ้องทั้ง 2 คดี เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมไม่ได้เสนอค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 และโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมใช้ค่าทดแทนเพราะเหตุมีทางผ่านเช่นกัน สำหรับการเปิดทางจำเป็นในคดีหมายเลขแดงที่ 770/2548 เป็นคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและต่อมาศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง การเปิดทางจำเป็นชั่วคราวจึงสิ้นสุดลง ในชั้นนี้คงพิจารณาเฉพาะทางจำเป็นที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไว้ในคดีหมายเลขแดงที่ 3972/2548 เท่านั้น ซึ่งในคดีดังกล่าวศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เปิดทางจำเป็นในที่ดินของโจทก์ทั้งสาม
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามประการแรกว่า การใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสามขาดอายุความแล้วหรือไม่ เห็นว่า ตามมาตรา 1349 วรรคสี่ ผู้มีสิทธิผ่านทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการขอเปิดทางผ่าน แต่ไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้ค่าทดแทนก่อนจึงใช้ทางจำเป็นได้ ดังนั้น การฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นจึงไม่จำต้องเสนอชดใช้ค่าทดแทนที่ดินแต่เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินที่ถูกฟ้องให้เปิดทางจำเป็นที่จะต้องเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินขึ้นมาเอง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมไม่เสนอค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อม และเจ้าของที่ดินที่ล้อมไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อม คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนที่จะต้องพิจารณา และเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสามต้องไปว่ากล่าวเป็นคดีอื่น ดังที่ศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขแดงที่ 3972/2548 ของศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้ตอนหนึ่ง ซึ่งชอบด้วยเหตุผลแล้ว และแม้การใช้ทางจำเป็น เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงข้อจำกัดสิทธิของเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมที่ดินของผู้อื่นจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ต้องยอมให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมใช้ทางผ่านที่ดินของตนเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติที่เป็นการให้สิทธิเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมที่จะเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นหรือกระทำการใดๆในที่ดินของผู้อื่นได้โดยพลการ ทั้งสิทธิในการใช้ทางจำเป็นตามกฎหมายดังกล่าวจะต้องพิจารณาสภาพความเป็นจริงในขณะนั้นว่าเข้าเงื่อนไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และ มาตรา 1350 บัญญัติไว้หรือไม่ด้วย ที่จำเลยแก้ฎีกาว่า โจทก์ทั้งสามไม่ได้ฟ้องแย้งมาในคำให้การหรือฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในอายุความ เพิ่งฟ้องเป็นคดีนี้จึงขาดอายุความนั้น เห็นว่า ขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นคำให้การในคดีก่อน ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นอันยุติว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมมีสิทธิใช้ทางผ่านที่ดินของโจทก์ทั้งสามที่ล้อมอยู่ได้หรือไม่ จึงต้องใช้ศาลชี้ขาดข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นยุติก่อนว่า ตามสภาพของที่ดินนั้น เข้าเงื่อนไขทางจำเป็นหรือไม่ และการเรียกร้องค่าทดแทนเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อชดเชยความเสียหายอันที่เกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินจากจำเลยเป็นคดีต่างหากได้หากศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยได้สิทธิทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยโจทก์ทั้งสามไม่จำต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาในคำให้การตามที่จำเลยแก้ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบของคู่ความว่า มีการบังคับคดีเปิดทางจำเป็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 โจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสามนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2555 อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความใช้ค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็นไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่มีการเปิดใช้ทางจำเป็นจนถึงวันที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าทดแทนในคดีนี้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงยังไม่ขาดอายุความ
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ต่อไปว่า โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับค่าทดแทนหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า แม้จำเลยให้การว่า โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 585 และ 7695 และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 กับการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ตั้งแต่เมื่อปี 2554 แต่จำเลยไม่ได้อ้างส่งสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวอ้างดังกล่าว ส่วนที่จำเลยนำสืบโดยอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ของโจทก์ที่ 1 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ เมื่อการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ส่วนที่เป็นถนนลาดยางอีกต่อไปและอ้างส่งหนังสือจากการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ที่แจ้งจำเลยว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 ของโจทก์ที่ 3 และที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ของโจทก์ที่ 1 ถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้วางเงินค่าทดแทนแล้วโดยฝากไว้กับธนาคารออมสิน แต่หนังสือของการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดังกล่าวมีข้อความระบุแต่เพียงว่า การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้วางเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ของโจทก์ที่ 1 และที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 ของโจทก์ที่ 3 ที่ถูกเวนคืนไว้แล้วโดยฝากไว้กับธนาคารออมสิน สาขาบางแค เท่านั้น ไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงินทดแทนไว้เมื่อใด อันจะทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ของโจทก์ที่ 1 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยอ้าง ซึ่งในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น หากเจ้าหน้าที่เวนคืนจัดให้มีการวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ตกลงกันได้หรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ ให้ถือว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นับแต่วันวางเงินทดแทน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 13 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 11 วรรคสอง พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบจึงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 585 และ 7695 และโจทก์ที่ 3 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 ให้แก่การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยไปแล้วตั้งแต่ปี 2554 โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนจากจำเลย
ส่วนปัญหาว่า โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเพียงใดนั้น เห็นว่า จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสามสำหรับจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาในฟ้อง ทั้งเมื่อพิจารณาเนื้อที่และที่ตั้งของที่ดินแล้ว จำนวนเงินค่าทดแทนที่เรียกร้องมาเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 ของโจทก์ที่ 2 ได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 ไปแล้ว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 ก่อนที่จะมีการเปิดใช้ทางจำเป็นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 จำเลยจึงไม่มีหนี้ค่าทดแทนค้างชำระต่อโจทก์ที่ 2 ภายหลังเมื่อโจทก์ที่ 3 รับโอนที่ดินมาจากโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลย ประกอบกับค่าทดแทนมีไว้เพื่อชดเชยความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมเท่านั้น ไม่ได้ชดเชยให้กับบริวารที่พักอาศัยด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความตามฎีกาของโจทก์ที่ 3 ว่า โจทก์ที่ 3 คงติดใจเรียกร้องค่าทดแทนในชั้นฎีกาเพียง 335,000 บาท จึงกำหนดให้ตามขอ จำเลยจึงต้องใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 200,000 บาท และใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 335,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันที่ฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และมาตรา 224 (เดิม) และ (ที่แก้ไขใหม่) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเนื่องจากขาดอายุความนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ทั้งสามฟังขึ้น
พิพากษากลับเป็นว่า ให้จำเลยใช้ค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท และโจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 335,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าว นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ สำหรับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปนั้น หากกระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนไปบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอ กับให้ยกคำขอเรียกค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
การเรียกร้องค่าทดแทนเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อชดเชยความเสียหายอันที่เกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินจากจำเลยเป็นคดีต่างหากได้ หากศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยได้สิทธิทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยโจทก์ทั้งสามไม่จำต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาในคำให้การ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบของคู่ความว่า มีการบังคับคดีเปิดทางจำเป็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 โจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสามนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2555 อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เมื่อ ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความใช้ค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็นไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่มีการเปิดใช้ทางจำเป็นจนถึงวันที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าทดแทนในคดีนี้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ทั้งสามเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่าน สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 100,000 บาท และโจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสามฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังยุติว่า ก่อนหน้านี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ถูกนางสาวมาลีและพันเอกวินัยฟ้องต่อศาลชั้นต้น ให้เปิดทางผ่านที่ดินของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ล้อมอยู่ออกสู่ทางสาธารณะรวม 2 คดี คือคดีหมายเลขแดงที่ 770/2548 และคดีหมายเลขแดงที่ 3972/2548 ตามลำดับ ซึ่งตามคำฟ้องทั้ง 2 คดี เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมไม่ได้เสนอค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 และโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมใช้ค่าทดแทนเพราะเหตุมีทางผ่านเช่นกัน สำหรับการเปิดทางจำเป็นในคดีหมายเลขแดงที่ 770/2548 เป็นคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาและต่อมาศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง การเปิดทางจำเป็นชั่วคราวจึงสิ้นสุดลง ในชั้นนี้คงพิจารณาเฉพาะทางจำเป็นที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไว้ในคดีหมายเลขแดงที่ 3972/2548 เท่านั้น ซึ่งในคดีดังกล่าวศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เปิดทางจำเป็นในที่ดินของโจทก์ทั้งสาม
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามประการแรกว่า การใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสามขาดอายุความแล้วหรือไม่ เห็นว่า ตามมาตรา 1349 วรรคสี่ ผู้มีสิทธิผ่านทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการขอเปิดทางผ่าน แต่ไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้ค่าทดแทนก่อนจึงใช้ทางจำเป็นได้ ดังนั้น การฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นจึงไม่จำต้องเสนอชดใช้ค่าทดแทนที่ดินแต่เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินที่ถูกฟ้องให้เปิดทางจำเป็นที่จะต้องเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินขึ้นมาเอง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมไม่เสนอค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อม และเจ้าของที่ดินที่ล้อมไม่ได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกล้อม คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าทดแทนที่จะต้องพิจารณา และเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสามต้องไปว่ากล่าวเป็นคดีอื่น ดังที่ศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขแดงที่ 3972/2548 ของศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้ตอนหนึ่ง ซึ่งชอบด้วยเหตุผลแล้ว และแม้การใช้ทางจำเป็น เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงข้อจำกัดสิทธิของเจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมที่ดินของผู้อื่นจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ต้องยอมให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมใช้ทางผ่านที่ดินของตนเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติที่เป็นการให้สิทธิเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมที่จะเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นหรือกระทำการใดๆในที่ดินของผู้อื่นได้โดยพลการ ทั้งสิทธิในการใช้ทางจำเป็นตามกฎหมายดังกล่าวจะต้องพิจารณาสภาพความเป็นจริงในขณะนั้นว่าเข้าเงื่อนไขตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 และ มาตรา 1350 บัญญัติไว้หรือไม่ด้วย ที่จำเลยแก้ฎีกาว่า โจทก์ทั้งสามไม่ได้ฟ้องแย้งมาในคำให้การหรือฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในอายุความ เพิ่งฟ้องเป็นคดีนี้จึงขาดอายุความนั้น เห็นว่า ขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นคำให้การในคดีก่อน ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นอันยุติว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมมีสิทธิใช้ทางผ่านที่ดินของโจทก์ทั้งสามที่ล้อมอยู่ได้หรือไม่ จึงต้องใช้ศาลชี้ขาดข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นยุติก่อนว่า ตามสภาพของที่ดินนั้น เข้าเงื่อนไขทางจำเป็นหรือไม่ และการเรียกร้องค่าทดแทนเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อชดเชยความเสียหายอันที่เกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินจากจำเลยเป็นคดีต่างหากได้หากศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยได้สิทธิทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยโจทก์ทั้งสามไม่จำต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาในคำให้การตามที่จำเลยแก้ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบของคู่ความว่า มีการบังคับคดีเปิดทางจำเป็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 โจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสามนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2555 อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความใช้ค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็นไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่มีการเปิดใช้ทางจำเป็นจนถึงวันที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าทดแทนในคดีนี้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงยังไม่ขาดอายุความ
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ต่อไปว่า โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับค่าทดแทนหรือไม่ เพียงใด เห็นว่า แม้จำเลยให้การว่า โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 585 และ 7695 และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 กับการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ตั้งแต่เมื่อปี 2554 แต่จำเลยไม่ได้อ้างส่งสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้อกล่าวอ้างดังกล่าว ส่วนที่จำเลยนำสืบโดยอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ของโจทก์ที่ 1 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2550 ใช้บังคับ เมื่อการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ส่วนที่เป็นถนนลาดยางอีกต่อไปและอ้างส่งหนังสือจากการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2563 ที่แจ้งจำเลยว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 ของโจทก์ที่ 3 และที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ของโจทก์ที่ 1 ถูกเวนคืนเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้วางเงินค่าทดแทนแล้วโดยฝากไว้กับธนาคารออมสิน แต่หนังสือของการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดังกล่าวมีข้อความระบุแต่เพียงว่า การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้วางเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ของโจทก์ที่ 1 และที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 ของโจทก์ที่ 3 ที่ถูกเวนคืนไว้แล้วโดยฝากไว้กับธนาคารออมสิน สาขาบางแค เท่านั้น ไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงินทดแทนไว้เมื่อใด อันจะทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 585 ของโจทก์ที่ 1 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยอ้าง ซึ่งในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น หากเจ้าหน้าที่เวนคืนจัดให้มีการวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ตกลงกันได้หรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ ให้ถือว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นับแต่วันวางเงินทดแทน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 13 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 11 วรรคสอง พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบจึงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 585 และ 7695 และโจทก์ที่ 3 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 ให้แก่การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยไปแล้วตั้งแต่ปี 2554 โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนจากจำเลย
ส่วนปัญหาว่า โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเพียงใดนั้น เห็นว่า จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสามสำหรับจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาในฟ้อง ทั้งเมื่อพิจารณาเนื้อที่และที่ตั้งของที่ดินแล้ว จำนวนเงินค่าทดแทนที่เรียกร้องมาเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 136075 ของโจทก์ที่ 2 ได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 ไปแล้ว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 ก่อนที่จะมีการเปิดใช้ทางจำเป็นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 จำเลยจึงไม่มีหนี้ค่าทดแทนค้างชำระต่อโจทก์ที่ 2 ภายหลังเมื่อโจทก์ที่ 3 รับโอนที่ดินมาจากโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลย ประกอบกับค่าทดแทนมีไว้เพื่อชดเชยความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมเท่านั้น ไม่ได้ชดเชยให้กับบริวารที่พักอาศัยด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความตามฎีกาของโจทก์ที่ 3 ว่า โจทก์ที่ 3 คงติดใจเรียกร้องค่าทดแทนในชั้นฎีกาเพียง 335,000 บาท จึงกำหนดให้ตามขอ จำเลยจึงต้องใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 200,000 บาท และใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 335,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันที่ฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และมาตรา 224 (เดิม) และ (ที่แก้ไขใหม่) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยเนื่องจากขาดอายุความนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ทั้งสามฟังขึ้น
พิพากษากลับเป็นว่า ให้จำเลยใช้ค่าทดแทนที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท และโจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 335,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าว นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ สำหรับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปนั้น หากกระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนไปบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอ กับให้ยกคำขอเรียกค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
แม้อุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แต่ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้นั้น ศาลจำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ตราที่โจทก์ประทับในฟ้องเป็นตราประทับที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ตามข้อบังคับของโจทก์หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352, 353 มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทั้งไม่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ได้รับอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ ตามมาตรา 22 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาในปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฟ้อง เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง ดังนั้น เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยเฉพาะศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดี และการสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 352 และ 353 นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 632/2562 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 342/2564 ของศาลจังหวัดนนทบุรี และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 1794/2563 ของศาลอาญาพระโขนง
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาคดีนี้ต่อไปตามรูปคดี
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตราที่โจทก์ใช้ประทับในฟ้องไม่ใช่ตราประทับที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ฟ้องโจทก์จึงมีเพียงกรรมการสองคนลงลายมือชื่อโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญ ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์ ทำให้ไม่ผูกพันโจทก์ ถือว่าฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นอุทธรณ์ แม้ว่าอุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้นั้น ศาลจำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ตราที่โจทก์ประทับในฟ้องเป็นตราประทับที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตามข้อบังคับของโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์อุทธรณ์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่อ้างคำเบิกความของพยานขึ้นมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานไม่ถูกต้อง และศาลชั้นต้นน่าจะรับฟังพยานหลักฐานอื่นด้วยให้ได้ความว่าตราประทับในฟ้องเป็นตราประทับที่ตรงกับที่จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการโต้เถียงปัญหาข้อเท็จจริงเข้ามาสู่ปัญหาข้อกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายใหม่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ อันเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลอาญาพระโขนง และศาลอาญามีนบุรี พ.ศ. 2562 มาตรา 10 และไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้ง หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมาย ได้รับรองให้อุทธรณ์ ตามมาตรา 22 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาในปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาว่า โจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฟ้องเป็นฟ้องที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (7) และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง ดังนั้น เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์ อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยเฉพาะศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดี และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นสั่งโจทก์แก้ไขฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้อง แล้วพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปตามรูปคดี
แม้อุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แต่ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้นั้น ศาลจำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ตราที่โจทก์ประทับในฟ้องเป็นตราประทับที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ตามข้อบังคับของโจทก์หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352, 353 มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทั้งไม่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ได้รับอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ ตามมาตรา 22 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาในปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฟ้อง เป็นฟ้องที่ไม่ชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง ดังนั้น เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยเฉพาะศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดี และการสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4
โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 352 และ 353 นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ 632/2562 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 342/2564 ของศาลจังหวัดนนทบุรี และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 1794/2563 ของศาลอาญาพระโขนง
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาคดีนี้ต่อไปตามรูปคดี
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตราที่โจทก์ใช้ประทับในฟ้องไม่ใช่ตราประทับที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ฟ้องโจทก์จึงมีเพียงกรรมการสองคนลงลายมือชื่อโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญ ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์ ทำให้ไม่ผูกพันโจทก์ ถือว่าฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นอุทธรณ์ แม้ว่าอุทธรณ์ของโจทก์จะเป็นการขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ก่อนที่ศาลจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้นั้น ศาลจำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ตราที่โจทก์ประทับในฟ้องเป็นตราประทับที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตามข้อบังคับของโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์อุทธรณ์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่อ้างคำเบิกความของพยานขึ้นมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานไม่ถูกต้อง และศาลชั้นต้นน่าจะรับฟังพยานหลักฐานอื่นด้วยให้ได้ความว่าตราประทับในฟ้องเป็นตราประทับที่ตรงกับที่จดทะเบียนไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการโต้เถียงปัญหาข้อเท็จจริงเข้ามาสู่ปัญหาข้อกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายใหม่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ อันเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลอาญาพระโขนง และศาลอาญามีนบุรี พ.ศ. 2562 มาตรา 10 และไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้ง หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมาย ได้รับรองให้อุทธรณ์ ตามมาตรา 22 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาในปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาว่า โจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในฟ้องเป็นฟ้องที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (7) และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง ดังนั้น เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์ อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยเฉพาะศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดี และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นสั่งโจทก์แก้ไขฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้อง แล้วพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปตามรูปคดี
โจทก์ร่วมและจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติและต่างเป็นสมาชิกกลุ่ม อสม. เมื่อจำเลยทราบว่าสมาชิกผู้สั่งซื้อเสื้อยังไม่ได้รับเสื้อ จำเลยซึ่งเป็นผู้ดำเนินการรับสั่งจองเสื้อ จึงไปสอบถามและทวงเสื้อคืนจากโจทก์ร่วมโดยเปิดเผย ทั้งยังฝากเงินค่าซื้อเสื้อคืนให้แก่โจทก์ร่วมและนำเสื้อไปให้สมาชิกทันที พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเสื้อที่โจทก์ร่วมมีไว้ในครอบครอง โจทก์ร่วมได้รับไปโดยไม่ถูกต้อง การกระทำของจำเลยหาใช่เจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335
จำเลยให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา นางบัวเงิน ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง จำคุก 1 ปี และปรับ 20,000 บาท ทางนำสืบและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 9 เดือน และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
โจทก์ร่วมและจำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ร่วมฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง และคดีมีเหตุให้ลงโทษจำเลยสถานหนักหรือไม่ ในปัญหานี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันฉันเครือญาติ ทั้งเป็นสมาชิกของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้วยกัน มูลเหตุของคดีนี้ก็สืบเนื่องมาจากเสื้อยืดคอกลม 1 ตัว ราคา 120 บาท ที่ทางกลุ่มจัดทำให้สมาชิกสั่งซื้อเพื่อสวมใส่ไปทัศนศึกษาที่จังหวัดระยอง โดยจำเลยเป็นผู้ร่วมดำเนินการรับสั่งจองเสื้อดังกล่าวด้วย โจทก์ร่วมมิได้สั่งจองซื้อเสื้อจากจำเลย ต่อมาเมื่อจำเลยทราบเหตุว่าสมาชิกผู้สั่งซื้อยังไม่ได้รับเสื้อ จึงไปพบเพื่อสอบถามและทวงเสื้อคืนจากโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมยืนยันว่าได้สั่งซื้อมาโดยถูกต้อง แต่ต่อมาจำเลยได้แจ้งให้ผู้อื่นไปเอาเสื้อคืนจากบ้านของโจทก์ร่วมแล้วฝากเงินค่าซื้อเสื้อคืนให้โจทก์ร่วมแล้วด้วย ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับพฤติกรรมของจำเลยและความสัมพันธ์ฉันญาติของโจทก์ร่วมกับจำเลยแล้ว กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตเกี่ยวกับเสื้อที่โจทก์ร่วมมีไว้ในครอบครองว่าโจทก์ร่วมได้รับไปโดยไม่ถูกต้อง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามเอาคืนมาเพื่อส่งมอบให้แก่สมาชิกผู้สั่งซื้อตามความรับผิดชอบของตน การได้เสื้อคืนมาจำเลยก็กระทำการไปโดยเปิดเผยในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ ทั้งจำเลยยังฝากเงินค่าซื้อเสื้อคืนให้โจทก์ร่วมแล้วและรีบนำเสื้อดังกล่าวไปมอบให้แก่สมาชิกผู้สั่งซื้อทันที การกระทำของจำเลยหาใช่เจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน อันเป็นการกระทำโดยทุจริตแต่อย่างใดไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำโดยขาดเจตนาทุจริตในการลักทรัพย์แล้วพิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
โจทก์ร่วมและจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันเครือญาติและต่างเป็นสมาชิกกลุ่ม อสม. เมื่อจำเลยทราบว่าสมาชิกผู้สั่งซื้อเสื้อยังไม่ได้รับเสื้อ จำเลยซึ่งเป็นผู้ดำเนินการรับสั่งจองเสื้อ จึงไปสอบถามและทวงเสื้อคืนจากโจทก์ร่วมโดยเปิดเผย ทั้งยังฝากเงินค่าซื้อเสื้อคืนให้แก่โจทก์ร่วมและนำเสื้อไปให้สมาชิกทันที พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเสื้อที่โจทก์ร่วมมีไว้ในครอบครอง โจทก์ร่วมได้รับไปโดยไม่ถูกต้อง การกระทำของจำเลยหาใช่เจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335
จำเลยให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา นางบัวเงิน ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง จำคุก 1 ปี และปรับ 20,000 บาท ทางนำสืบและคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 9 เดือน และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
โจทก์ร่วมและจำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ร่วมฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง และคดีมีเหตุให้ลงโทษจำเลยสถานหนักหรือไม่ ในปัญหานี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันฉันเครือญาติ ทั้งเป็นสมาชิกของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้วยกัน มูลเหตุของคดีนี้ก็สืบเนื่องมาจากเสื้อยืดคอกลม 1 ตัว ราคา 120 บาท ที่ทางกลุ่มจัดทำให้สมาชิกสั่งซื้อเพื่อสวมใส่ไปทัศนศึกษาที่จังหวัดระยอง โดยจำเลยเป็นผู้ร่วมดำเนินการรับสั่งจองเสื้อดังกล่าวด้วย โจทก์ร่วมมิได้สั่งจองซื้อเสื้อจากจำเลย ต่อมาเมื่อจำเลยทราบเหตุว่าสมาชิกผู้สั่งซื้อยังไม่ได้รับเสื้อ จึงไปพบเพื่อสอบถามและทวงเสื้อคืนจากโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมยืนยันว่าได้สั่งซื้อมาโดยถูกต้อง แต่ต่อมาจำเลยได้แจ้งให้ผู้อื่นไปเอาเสื้อคืนจากบ้านของโจทก์ร่วมแล้วฝากเงินค่าซื้อเสื้อคืนให้โจทก์ร่วมแล้วด้วย ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับพฤติกรรมของจำเลยและความสัมพันธ์ฉันญาติของโจทก์ร่วมกับจำเลยแล้ว กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตเกี่ยวกับเสื้อที่โจทก์ร่วมมีไว้ในครอบครองว่าโจทก์ร่วมได้รับไปโดยไม่ถูกต้อง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามเอาคืนมาเพื่อส่งมอบให้แก่สมาชิกผู้สั่งซื้อตามความรับผิดชอบของตน การได้เสื้อคืนมาจำเลยก็กระทำการไปโดยเปิดเผยในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ ทั้งจำเลยยังฝากเงินค่าซื้อเสื้อคืนให้โจทก์ร่วมแล้วและรีบนำเสื้อดังกล่าวไปมอบให้แก่สมาชิกผู้สั่งซื้อทันที การกระทำของจำเลยหาใช่เจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน อันเป็นการกระทำโดยทุจริตแต่อย่างใดไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำโดยขาดเจตนาทุจริตในการลักทรัพย์แล้วพิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
เดิมโจทก์ใช้ชื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นชื่อคู่ความ ต่อมาแก้ฟ้องใช้ชื่อ ส. กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นคู่ความแทน เมื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ ไม่เป็นบุคคลตาม ป.พ.พ. จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ ดังนั้น ส. กับพวก ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แม้ ส. กับ จ. จะเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ ดังกล่าว แต่ก็มิได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว จึงไม่สามารถมอบอำนาจให้ ภ. ดำเนินคดีแทนได้ เมื่อ ส. กับพวกไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ตามกฎหมายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ทั้งสามฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 350
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 จำคุก 3 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ทั้งสามฎีกา โดยผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจากที่เดิมระบุชื่อโจทก์ว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคลองกรูด เป็นนายสังเกตกับนางจีรนันท์และนางสาวขวัญสุดาก็ตาม แต่ตามคำเบิกความของนางสาวสุภาวดี ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทั้งสามปรากฏว่า นายสังเกตกับนางจีรนันท์และนางสาวขวัญสุดา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคลองกรูด ซึ่งกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวไม่เป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ นายสังเกตกับนางจีรนันท์และนางสาวขวัญสุดา ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวจึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ประกอบเอกสารท้ายคำฟ้องที่ระบุว่า นายสังเกตและนางจีรนันท์ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวด้วย ก็ไม่ปรากฏว่านายสังเกตและนางจีรนันท์ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว โจทก์ทั้งสามจึงมอบอำนาจให้นางสาวสุภาวดี ดำเนินคดีนี้แทนไม่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ นางสาวสุภาวดี ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทั้งสาม ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ประกอบเอกสารท้ายคำฟ้อง ระบุว่าเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวด้วย ก็ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากสมาชิกทั้งหมดของกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าว เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ตามกฎหมายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้อง นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสามอีกต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
พิพากษายืน
เดิมโจทก์ใช้ชื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นชื่อคู่ความ ต่อมาแก้ฟ้องใช้ชื่อ ส. กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ เป็นคู่ความแทน เมื่อกลุ่มออมทรัพย์ฯ ไม่เป็นบุคคลตาม ป.พ.พ. จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ ดังนั้น ส. กับพวก ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ฯ จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ แม้ ส. กับ จ. จะเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ ดังกล่าว แต่ก็มิได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว จึงไม่สามารถมอบอำนาจให้ ภ. ดำเนินคดีแทนได้ เมื่อ ส. กับพวกไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ตามกฎหมายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ทั้งสามฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 350
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 จำคุก 3 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
โจทก์ทั้งสามฎีกา โดยผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจากที่เดิมระบุชื่อโจทก์ว่า กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคลองกรูด เป็นนายสังเกตกับนางจีรนันท์และนางสาวขวัญสุดาก็ตาม แต่ตามคำเบิกความของนางสาวสุภาวดี ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทั้งสามปรากฏว่า นายสังเกตกับนางจีรนันท์และนางสาวขวัญสุดา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคลองกรูด ซึ่งกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวไม่เป็นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีได้ นายสังเกตกับนางจีรนันท์และนางสาวขวัญสุดา ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวจึงไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ประกอบเอกสารท้ายคำฟ้องที่ระบุว่า นายสังเกตและนางจีรนันท์ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวด้วย ก็ไม่ปรากฏว่านายสังเกตและนางจีรนันท์ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว โจทก์ทั้งสามจึงมอบอำนาจให้นางสาวสุภาวดี ดำเนินคดีนี้แทนไม่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ นางสาวสุภาวดี ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทั้งสาม ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ประกอบเอกสารท้ายคำฟ้อง ระบุว่าเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวด้วย ก็ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากสมาชิกทั้งหมดของกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าว เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่สามารถเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ตามกฎหมายย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้อง นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสามอีกต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
พิพากษายืน
คดีนี้โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ขอให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นลงโทษปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาโดยชอบจึงถือว่าเป็นอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 92, 334, 335, 336 ทวิ และเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ และจำเลยที่ 1 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) (12) วรรคสอง, 336 ทวิ ประกอบมาตรา 83 (ที่ถูก ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83) จำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน และปรับจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 บาท เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี 12 เดือน จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 12 เดือน คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 9 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกจำเลยที่ 2 ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 4 เดือน ต่อครั้ง ภายในเวลา 1 ปี ให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้เพิ่มโทษปรับแก่จำเลยที่ 2 นั้น ชอบหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ขอให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยอ้างว่าศาลชั้นต้นลงโทษปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์กับส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาโดยชอบ จึงถือว่าเป็นอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8) อย่างไรก็ตามเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เพื่อมิได้คดีต้องล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาใหม่ เห็นว่า ความผิดของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) (12) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 อัตราโทษปรับขั้นต่ำปรับตั้งแต่ 30,000 บาท แต่ที่ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 บาท ก่อนลดโทษเป็นการลงโทษปรับต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด และศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้เพิ่มเติมโทษปรับให้ถูกต้องตามที่โจทก์อุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 30,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงปรับ 15,000 บาท เมื่อรวมกับโทษจำคุกจำเลยที่ 2 แล้ว คงจำคุก 9 เดือน และปรับ 15,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8
คดีนี้โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ขอให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นลงโทษปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาโดยชอบจึงถือว่าเป็นอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 92, 334, 335, 336 ทวิ และเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ และจำเลยที่ 1 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) (12) วรรคสอง, 336 ทวิ ประกอบมาตรา 83 (ที่ถูก ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83) จำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน และปรับจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 บาท เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี 12 เดือน จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 12 เดือน คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 9 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกจำเลยที่ 2 ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้จำเลยที่ 2 ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 4 เดือน ต่อครั้ง ภายในเวลา 1 ปี ให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้เพิ่มโทษปรับแก่จำเลยที่ 2 นั้น ชอบหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ขอให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยอ้างว่าศาลชั้นต้นลงโทษปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์กับส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาโดยชอบ จึงถือว่าเป็นอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8) อย่างไรก็ตามเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เพื่อมิได้คดีต้องล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาใหม่ เห็นว่า ความผิดของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) (12) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 อัตราโทษปรับขั้นต่ำปรับตั้งแต่ 30,000 บาท แต่ที่ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยที่ 2 จำนวน 10,000 บาท ก่อนลดโทษเป็นการลงโทษปรับต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด และศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้เพิ่มเติมโทษปรับให้ถูกต้องตามที่โจทก์อุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 30,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงปรับ 15,000 บาท เมื่อรวมกับโทษจำคุกจำเลยที่ 2 แล้ว คงจำคุก 9 เดือน และปรับ 15,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8
การตีความ ป.พ.พ. มาตรา 879 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยนั้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด การที่โจทก์ขับรถยนต์ที่ทำประกันภัยไว้กับจำเลยไปจอดที่หน้าร้านค้าอื่นซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะขนาดใหญ่ มีร้านค้าตั้งอยู่ติด ๆ กัน สภาพที่เกิดเหตุเป็นตลาดย่านการค้า โดยห่างจากร้านค้าที่โจทก์ไปติดต่อประมาณ 5 ถึง 8 เมตร ไม่มีสิ่งใดปิดบังจุดที่จอดรถยนต์อันจะเป็นช่องทางให้คนร้ายสามารถลงมือกระทำความผิดได้โดยง่ายแต่อย่างใด แล้วลงไปติดต่อซื้อของประมาณ 6 นาที ขณะจอดรถเป็นเวลากลางวัน แม้โจทก์จะวางกุญแจไว้ที่เบาะข้างคนขับด้านหน้า และไม่ล็อกประตู ก็ยังอยู่ในวิสัยที่โจทก์สามารถดูแลรักษารถยนต์ได้ การจอดรถในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่การละทิ้งความครอบครองชั่วคราว แม้จะพอถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่บ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 16 เมษายน 2565) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใดก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามขอ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 โจทก์ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลย มีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 และสิ้นสุดวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 โดยกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อตกลงว่าด้วยกรณีรถยนต์สูญหายหรือไฟไหม้ ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ 150,000 บาท เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565 เวลา 10.10 นาฬิกา โจทก์ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยแล่นไปจอดที่บริเวณหน้าร้านขายแบตเตอรี่ทุ่งสง 99 แล้วมีคนร้ายลักรถยนต์คันดังกล่าวไป ต่อมาวันที่ 26 มกราคม 2565 เจ้าพนักงานตำรวจได้รับแจ้งว่าพบรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไปถูกเพลิงไหม้ที่ริมถนนสายเพชรเกษมฝั่งขาออกไปจังหวัดตรัง เยื้องโรงเรียนบ้านเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โจทก์แจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยปฏิเสธอ้างว่าเหตุที่รถยนต์สูญหายเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า การกระทำของโจทก์เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่า การที่โจทก์ขับรถยนต์ที่ทำประกันภัยไว้กับจำเลยแล่นไปจอดริมถนนบริเวณหน้าร้านขายแบตเตอรี่ทุ่งสง 99 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะขนาดใหญ่ มีร้านค้าตั้งอยู่ติด ๆ กัน ฝั่งตรงข้ามของถนนก็มีลักษณะเปิดเป็นร้านค้าเช่นเดียวกัน สภาพร้านขายของริมถนนบริเวณที่เกิดเหตุจึงมีลักษณะเป็นตลาดย่านการค้า โจทก์จอดรถเพื่อติดต่อขอซื้อแบตเตอรี่ โดยจอดรถห่างจากร้านประมาณ 5 ถึง 8 เมตร เนื่องจากไม่มีที่จอดรถ เมื่อจอดรถแล้วลงจากรถไปต่อรองราคากับเจ้าของร้านทุ่งสงแบตเตอรี่ 99 ใช้เวลาประมาณ 6 นาที จึงหันหลังกลับมาที่รถยนต์เพื่อให้พนักงานของร้านนำแบตเตอรี่ที่ตกลงซื้อไปส่งให้ แต่รถยนต์หายไปจากที่จอดแล้ว จากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจุดจอดรถยนต์อยู่ใกล้ร้านขายแบตเตอรี่และจุดที่โจทก์ติดต่อขอซื้อแบตเตอรี่กับทางเจ้าของร้านอย่างมาก การติดต่อขอซื้อแบตเตอรี่ก็เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าใช้เวลาไม่นาน และจากข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าใช้เวลาประมาณ 6 นาทีเท่านั้น ขณะจอดรถเป็นเวลากลางวัน ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีสิ่งใดปิดบังจุดที่จอดรถยนต์อันเป็นช่องทางให้คนร้ายสามารถลงมือกระทำความผิดได้โดยง่ายแต่อย่างใด และจุดจอดรถอยู่หน้าร้านค้าหรืออาคารที่พักอาศัยของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ติดกับร้านขายแบตเตอรี่ จุดจอดรถจึงอยู่เยื้องจากหน้าร้านขายแบตเตอรี่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การจอดรถยนต์ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวโดยวางกุญแจไว้ที่เบาะข้างคนขับด้านหน้าไม่ล็อกประตู ก็ยังอยู่ในวิสัยที่โจทก์สามารถดูแลรักษารถยนต์ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ได้ การจอดรถยนต์ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวมิใช่การละทิ้งการครอบครองชั่วคราว รถยนต์ยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ และการตีความตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ และข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งเป็นบทยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันนั้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้นแม้การที่โจทก์จอดรถยนต์ โดยวางกุญแจไว้ที่รถ ไม่นำกุญแจติดตัวไปด้วยและไม่ปิดล็อกรถยนต์จะพอถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่บ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จะทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคำพิพากษาเปลี่ยนแปลง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 4,000 บาท แทนโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นในชั้นฎีกานอกจากนี้ให้เป็นพับ
การตีความ ป.พ.พ. มาตรา 879 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยนั้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด การที่โจทก์ขับรถยนต์ที่ทำประกันภัยไว้กับจำเลยไปจอดที่หน้าร้านค้าอื่นซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะขนาดใหญ่ มีร้านค้าตั้งอยู่ติด ๆ กัน สภาพที่เกิดเหตุเป็นตลาดย่านการค้า โดยห่างจากร้านค้าที่โจทก์ไปติดต่อประมาณ 5 ถึง 8 เมตร ไม่มีสิ่งใดปิดบังจุดที่จอดรถยนต์อันจะเป็นช่องทางให้คนร้ายสามารถลงมือกระทำความผิดได้โดยง่ายแต่อย่างใด แล้วลงไปติดต่อซื้อของประมาณ 6 นาที ขณะจอดรถเป็นเวลากลางวัน แม้โจทก์จะวางกุญแจไว้ที่เบาะข้างคนขับด้านหน้า และไม่ล็อกประตู ก็ยังอยู่ในวิสัยที่โจทก์สามารถดูแลรักษารถยนต์ได้ การจอดรถในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่การละทิ้งความครอบครองชั่วคราว แม้จะพอถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่บ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 16 เมษายน 2565) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใดก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามขอ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 โจทก์ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลย มีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 และสิ้นสุดวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 โดยกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อตกลงว่าด้วยกรณีรถยนต์สูญหายหรือไฟไหม้ ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ 150,000 บาท เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565 เวลา 10.10 นาฬิกา โจทก์ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยแล่นไปจอดที่บริเวณหน้าร้านขายแบตเตอรี่ทุ่งสง 99 แล้วมีคนร้ายลักรถยนต์คันดังกล่าวไป ต่อมาวันที่ 26 มกราคม 2565 เจ้าพนักงานตำรวจได้รับแจ้งว่าพบรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไปถูกเพลิงไหม้ที่ริมถนนสายเพชรเกษมฝั่งขาออกไปจังหวัดตรัง เยื้องโรงเรียนบ้านเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โจทก์แจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยปฏิเสธอ้างว่าเหตุที่รถยนต์สูญหายเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า การกระทำของโจทก์เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่า การที่โจทก์ขับรถยนต์ที่ทำประกันภัยไว้กับจำเลยแล่นไปจอดริมถนนบริเวณหน้าร้านขายแบตเตอรี่ทุ่งสง 99 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะขนาดใหญ่ มีร้านค้าตั้งอยู่ติด ๆ กัน ฝั่งตรงข้ามของถนนก็มีลักษณะเปิดเป็นร้านค้าเช่นเดียวกัน สภาพร้านขายของริมถนนบริเวณที่เกิดเหตุจึงมีลักษณะเป็นตลาดย่านการค้า โจทก์จอดรถเพื่อติดต่อขอซื้อแบตเตอรี่ โดยจอดรถห่างจากร้านประมาณ 5 ถึง 8 เมตร เนื่องจากไม่มีที่จอดรถ เมื่อจอดรถแล้วลงจากรถไปต่อรองราคากับเจ้าของร้านทุ่งสงแบตเตอรี่ 99 ใช้เวลาประมาณ 6 นาที จึงหันหลังกลับมาที่รถยนต์เพื่อให้พนักงานของร้านนำแบตเตอรี่ที่ตกลงซื้อไปส่งให้ แต่รถยนต์หายไปจากที่จอดแล้ว จากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจุดจอดรถยนต์อยู่ใกล้ร้านขายแบตเตอรี่และจุดที่โจทก์ติดต่อขอซื้อแบตเตอรี่กับทางเจ้าของร้านอย่างมาก การติดต่อขอซื้อแบตเตอรี่ก็เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าใช้เวลาไม่นาน และจากข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าใช้เวลาประมาณ 6 นาทีเท่านั้น ขณะจอดรถเป็นเวลากลางวัน ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีสิ่งใดปิดบังจุดที่จอดรถยนต์อันเป็นช่องทางให้คนร้ายสามารถลงมือกระทำความผิดได้โดยง่ายแต่อย่างใด และจุดจอดรถอยู่หน้าร้านค้าหรืออาคารที่พักอาศัยของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ติดกับร้านขายแบตเตอรี่ จุดจอดรถจึงอยู่เยื้องจากหน้าร้านขายแบตเตอรี่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การจอดรถยนต์ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวโดยวางกุญแจไว้ที่เบาะข้างคนขับด้านหน้าไม่ล็อกประตู ก็ยังอยู่ในวิสัยที่โจทก์สามารถดูแลรักษารถยนต์ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ได้ การจอดรถยนต์ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวมิใช่การละทิ้งการครอบครองชั่วคราว รถยนต์ยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ และการตีความตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเมื่อความวินาศภัยหรือเหตุอื่นซึ่งได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ และข้อสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งเป็นบทยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันนั้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้นแม้การที่โจทก์จอดรถยนต์ โดยวางกุญแจไว้ที่รถ ไม่นำกุญแจติดตัวไปด้วยและไม่ปิดล็อกรถยนต์จะพอถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่บ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จะทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยหลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคำพิพากษาเปลี่ยนแปลง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 4,000 บาท แทนโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นในชั้นฎีกานอกจากนี้ให้เป็นพับ
ผู้ร้องเป็นชาวต่างประเทศมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่มีตัวแทนในประเทศไทย ช่วงเวลาที่กำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องไม่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ ทั้งเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลาย ผู้ร้องก็ได้รีบดำเนินการมอบอำนาจให้ อ. ยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันที กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงไม่คัดค้าน แต่ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องแสดงให้เห็นว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันภายในกำหนดเวลา
ศาลล้มละลายกลางไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้ร้องฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 และนำออกเผยแพร่ให้แก่สมาชิกที่ได้รับด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน และเจ้าหนี้ทั้งหลายต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันดังกล่าว จึงครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดภูเก็ต คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 1075/2555 ประสงค์ขอยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหนี้ไม่มีประกัน เป็นเงิน 54,109,238.56 บาท โดยได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ผู้ร้องมีเชื้อชาติและสัญชาติรัสเซีย ภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรที่ประเทศรัสเซีย
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91/1 หรือไม่ เห็นว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 และนำออกเผยแพร่ให้แก่สมาชิกที่ได้รับด้วยตนเองเป็นครั้งแรกวันที่ 18 ธันวาคม 2562 ครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ร้องมีเชื้อชาติและสัญชาติรัสเซียมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขยายกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้อีกไม่เกิน 2 เดือน แต่ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 รัฐบาลออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) กำหนดให้ปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค งดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตจังหวัดโดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ และแม้ว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งนายธำรงเป็นผู้รับมอบอำนาจในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 1075/2555 ของศาลจังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ 15 และ 16 พฤศจิกายน 2555 ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องแต่งตั้งนายธำรงให้มีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้แทนผู้ร้องในคดีล้มละลายนี้ด้วย นายธำรงจึงไม่มีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แทนผู้ร้องรวมตลอดถึงตรวจสอบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด คงมีอำนาจดำเนินการแทนผู้ร้องเฉพาะในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 1075/2555 ของศาลจังหวัดภูเก็ตเพื่อการบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องเพิ่งแต่งตั้งนายอภิสิทธิ์เป็นผู้รับมอบอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว เมื่อผู้ร้องเป็นชาวต่างประเทศมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่มีตัวแทนในประเทศไทย ประกอบกับช่วงเวลาที่กำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องไม่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ ทั้งเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลาย ผู้ร้องก็ได้รีบดำเนินการมอบอำนาจให้นายอภิสิทธิ์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันที กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองให้ยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น
พิพากษากลับ อนุญาตให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้ให้คู่ความฟัง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ผู้ร้องเป็นชาวต่างประเทศมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่มีตัวแทนในประเทศไทย ช่วงเวลาที่กำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องไม่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ ทั้งเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลาย ผู้ร้องก็ได้รีบดำเนินการมอบอำนาจให้ อ. ยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันที กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงไม่คัดค้าน แต่ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องแสดงให้เห็นว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันภายในกำหนดเวลา
ศาลล้มละลายกลางไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
ผู้ร้องฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 และนำออกเผยแพร่ให้แก่สมาชิกที่ได้รับด้วยตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน และเจ้าหนี้ทั้งหลายต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันดังกล่าว จึงครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดภูเก็ต คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 1075/2555 ประสงค์ขอยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหนี้ไม่มีประกัน เป็นเงิน 54,109,238.56 บาท โดยได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ผู้ร้องมีเชื้อชาติและสัญชาติรัสเซีย ภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรที่ประเทศรัสเซีย
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องมีว่า มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91/1 หรือไม่ เห็นว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 และนำออกเผยแพร่ให้แก่สมาชิกที่ได้รับด้วยตนเองเป็นครั้งแรกวันที่ 18 ธันวาคม 2562 ครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ร้องมีเชื้อชาติและสัญชาติรัสเซียมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขยายกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้อีกไม่เกิน 2 เดือน แต่ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 รัฐบาลออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) กำหนดให้ปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค งดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตจังหวัดโดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ และแม้ว่าผู้ร้องได้แต่งตั้งนายธำรงเป็นผู้รับมอบอำนาจในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 1075/2555 ของศาลจังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ 15 และ 16 พฤศจิกายน 2555 ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องแต่งตั้งนายธำรงให้มีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้แทนผู้ร้องในคดีล้มละลายนี้ด้วย นายธำรงจึงไม่มีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แทนผู้ร้องรวมตลอดถึงตรวจสอบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาด คงมีอำนาจดำเนินการแทนผู้ร้องเฉพาะในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 1075/2555 ของศาลจังหวัดภูเก็ตเพื่อการบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องเพิ่งแต่งตั้งนายอภิสิทธิ์เป็นผู้รับมอบอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้แล้ว เมื่อผู้ร้องเป็นชาวต่างประเทศมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่มีตัวแทนในประเทศไทย ประกอบกับช่วงเวลาที่กำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องไม่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ ทั้งเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลาย ผู้ร้องก็ได้รีบดำเนินการมอบอำนาจให้นายอภิสิทธิ์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันที กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองให้ยกคำร้องของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น
พิพากษากลับ อนุญาตให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกานี้ให้คู่ความฟัง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) อันเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าไม่ได้มีการไตร่ตรองหรือตระเตรียมการเพื่อเจตนาฆ่าผู้ตายได้อีก ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในประเด็นนี้ เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 91, 92, 288, 289, 371 ริบของกลาง และเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ
ระหว่างพิจารณา นางจำหนิ มารดาของนางสาวจตุพร ผู้ตาย ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ 100,000 บาท และค่าขาดไร้อุปการะ 400,000 บาท รวมเป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่ง ขอให้ยกคำร้อง
ต่อมาในคดีส่วนแพ่ง ผู้ร้องและจำเลยตกลงกันได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉบับลงวันที่ 25 มกราคม 2565 โดยจำเลยตกลงชำระเงินให้แก่ผู้ร้อง 400,000 บาท ชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 หากผิดนัดยอมให้ผู้ร้องบังคับคดีได้จากยอดหนี้ที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงิน 400,000 บาท นับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระครบถ้วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4), 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ลงโทษประหารชีวิต ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 900 บาท เพิ่มโทษกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเมื่อลงโทษประหารชีวิตแล้วจึงไม่อาจเพิ่มโทษได้ ส่วนฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เมื่อศาลลงโทษปรับเพียงอย่างเดียวก็ไม่อาจเพิ่มโทษได้เช่นกัน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 (ที่ถูก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1)) ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คงจำคุกตลอดชีวิต ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร คงปรับ 600 บาท รวมจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 600 บาท (ที่ถูก หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30) ริบอาวุธมีดทรงโค้งวงเดือนปลายแหลม 1 เล่ม อาวุธมีดปลายแหลม 1 เล่ม สิ่งเทียมอาวุธปืน 1 กระบอก เหล็กสปริงสิ่งเทียมอาวุธปืน 1 อัน ของกลาง ในคดีส่วนแพ่ง พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉบับลงวันที่ 25 มกราคม 2565 ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) อันเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยไม่ได้มีการไตร่ตรองหรือตระเตรียมการเพื่อเจตนาฆ่าผู้ตายได้อีก ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในประเด็นนี้มานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แต่อย่างไรก็ตามเฉพาะประเด็นสมควรลงโทษจำเลยในสถานเบาหรือไม่ ยังไม่ถึงที่สุดเพราะเป็นประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ และจำเลยมีสิทธิฎีกาในประเด็นนี้ได้ จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยในสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า ผู้ตายเป็นอดีตภริยาของจำเลย วันเกิดเหตุจำเลยพาอาวุธมีดปลายแหลม อาวุธมีดทรงโค้งวงเดือนปลายแหลม และสิ่งเทียมอาวุธปืนติดตัวไปพบผู้ตายที่ร้านที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยใช้อาวุธมีดดังกล่าวแทงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย โดยปรากฏตามรายงานการชันสูตรพลิกศพว่า ผู้ตายมีบาดแผลขอบเรียบทั้งหมด 35 แผล ได้แก่ ใต้ราวนมด้านซ้ายและช่องท้องซ้ายลึกถึงกระดูกซี่โครง 7 แผล ใต้สะดือ 1 แผล ลึก 3 เซนติเมตร ใต้ราวนมและอกด้านขวา 2 แผล ลึกถึงปอด และแผลที่ช่องท้องขวา 2 แผล ลึกถึงอวัยวะภายในช่องท้องที่บริเวณตับและลำไส้ ต้นคอทางด้านหลัง 1 แผล และแผลที่หลังกับสีข้างด้านขวา 22 แผล บาดแผลส่วนใหญ่กว้าง 3 เซนติเมตร ส่อแสดงว่า จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายด้วยความอาฆาตแค้นเป็นอย่างมากจึงเกิดบาดแผลแก่ผู้ตายถึง 35 แผล อีกทั้งตามภาพถ่ายขณะผู้ตายถูกจำเลยใช้อาวุธมีดแทงจนล้มลงนอนกับพื้นแล้ว จำเลยยังใช้อาวุธมีดแทงซ้ำผู้ตายอีก ผิดปกติวิสัยที่จำเลยอ้างว่า ยังมีความรักแก่ผู้ตายซึ่งเป็นอดีตภริยา ตรงกันข้ามกลับบ่งชี้ให้เห็นถึงความโหดเหี้ยมอำมหิตของจำเลย กอปรกับหลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีและถูกจับกุมตามหมายจับที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยจำเลยหาได้สำนึกในการกระทำความผิดของตนและเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจไม่ ยิ่งกว่านั้นโจทก์มีพยานหลักฐานที่มั่นคงหนักแน่นและสามารถพิสูจน์ว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่กระทำความผิดในคดีนี้ได้อยู่แล้ว คำให้การรับสารภาพของจำเลยเป็นลักษณะจำนนต่อพยานหลักฐานของโจทก์ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษประหารชีวิตจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และยังลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) คงจำคุกจำเลยตลอดชีวิต นั้น นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยมากแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะลงโทษจำเลยให้เบากว่านี้อีก ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) อันเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าไม่ได้มีการไตร่ตรองหรือตระเตรียมการเพื่อเจตนาฆ่าผู้ตายได้อีก ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในประเด็นนี้ เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 91, 92, 288, 289, 371 ริบของกลาง และเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพ
ระหว่างพิจารณา นางจำหนิ มารดาของนางสาวจตุพร ผู้ตาย ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพ 100,000 บาท และค่าขาดไร้อุปการะ 400,000 บาท รวมเป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่ง ขอให้ยกคำร้อง
ต่อมาในคดีส่วนแพ่ง ผู้ร้องและจำเลยตกลงกันได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉบับลงวันที่ 25 มกราคม 2565 โดยจำเลยตกลงชำระเงินให้แก่ผู้ร้อง 400,000 บาท ชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 หากผิดนัดยอมให้ผู้ร้องบังคับคดีได้จากยอดหนี้ที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงิน 400,000 บาท นับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระครบถ้วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4), 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ลงโทษประหารชีวิต ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 900 บาท เพิ่มโทษกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเมื่อลงโทษประหารชีวิตแล้วจึงไม่อาจเพิ่มโทษได้ ส่วนฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เมื่อศาลลงโทษปรับเพียงอย่างเดียวก็ไม่อาจเพิ่มโทษได้เช่นกัน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 (ที่ถูก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1)) ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คงจำคุกตลอดชีวิต ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร คงปรับ 600 บาท รวมจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 600 บาท (ที่ถูก หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30) ริบอาวุธมีดทรงโค้งวงเดือนปลายแหลม 1 เล่ม อาวุธมีดปลายแหลม 1 เล่ม สิ่งเทียมอาวุธปืน 1 กระบอก เหล็กสปริงสิ่งเทียมอาวุธปืน 1 อัน ของกลาง ในคดีส่วนแพ่ง พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉบับลงวันที่ 25 มกราคม 2565 ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) อันเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยไม่ได้มีการไตร่ตรองหรือตระเตรียมการเพื่อเจตนาฆ่าผู้ตายได้อีก ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยในประเด็นนี้มานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แต่อย่างไรก็ตามเฉพาะประเด็นสมควรลงโทษจำเลยในสถานเบาหรือไม่ ยังไม่ถึงที่สุดเพราะเป็นประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ และจำเลยมีสิทธิฎีกาในประเด็นนี้ได้ จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยในสถานเบากว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า ผู้ตายเป็นอดีตภริยาของจำเลย วันเกิดเหตุจำเลยพาอาวุธมีดปลายแหลม อาวุธมีดทรงโค้งวงเดือนปลายแหลม และสิ่งเทียมอาวุธปืนติดตัวไปพบผู้ตายที่ร้านที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยใช้อาวุธมีดดังกล่าวแทงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย โดยปรากฏตามรายงานการชันสูตรพลิกศพว่า ผู้ตายมีบาดแผลขอบเรียบทั้งหมด 35 แผล ได้แก่ ใต้ราวนมด้านซ้ายและช่องท้องซ้ายลึกถึงกระดูกซี่โครง 7 แผล ใต้สะดือ 1 แผล ลึก 3 เซนติเมตร ใต้ราวนมและอกด้านขวา 2 แผล ลึกถึงปอด และแผลที่ช่องท้องขวา 2 แผล ลึกถึงอวัยวะภายในช่องท้องที่บริเวณตับและลำไส้ ต้นคอทางด้านหลัง 1 แผล และแผลที่หลังกับสีข้างด้านขวา 22 แผล บาดแผลส่วนใหญ่กว้าง 3 เซนติเมตร ส่อแสดงว่า จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายด้วยความอาฆาตแค้นเป็นอย่างมากจึงเกิดบาดแผลแก่ผู้ตายถึง 35 แผล อีกทั้งตามภาพถ่ายขณะผู้ตายถูกจำเลยใช้อาวุธมีดแทงจนล้มลงนอนกับพื้นแล้ว จำเลยยังใช้อาวุธมีดแทงซ้ำผู้ตายอีก ผิดปกติวิสัยที่จำเลยอ้างว่า ยังมีความรักแก่ผู้ตายซึ่งเป็นอดีตภริยา ตรงกันข้ามกลับบ่งชี้ให้เห็นถึงความโหดเหี้ยมอำมหิตของจำเลย กอปรกับหลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีและถูกจับกุมตามหมายจับที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยจำเลยหาได้สำนึกในการกระทำความผิดของตนและเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจไม่ ยิ่งกว่านั้นโจทก์มีพยานหลักฐานที่มั่นคงหนักแน่นและสามารถพิสูจน์ว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่กระทำความผิดในคดีนี้ได้อยู่แล้ว คำให้การรับสารภาพของจำเลยเป็นลักษณะจำนนต่อพยานหลักฐานของโจทก์ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษประหารชีวิตจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และยังลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) คงจำคุกจำเลยตลอดชีวิต นั้น นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยมากแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะลงโทษจำเลยให้เบากว่านี้อีก ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.410 กรัม และจำหน่ายไปมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.027 กรัม ซึ่งแม้จะเป็นการขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นอันแสดงให้เห็นว่าจำเลยประกอบกิจการด้วยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการปกติทั่วไป อันจะถือเป็นการกระทำเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดที่กำหนดโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) สำหรับการปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรมนั้น เนื่องจากได้มี พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับ โดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ ป.ยาเสพติดท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าวแทน ซึ่งตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันคือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงกรรมเดียวบทเดียว ดังนั้น การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง เพียงกรรมเดียว จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1)
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 4 ปี และปรับ 400,000 บาท ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี เพิ่มโทษกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน และปรับ 533,333.33 บาท ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน และปรับ 266,666.67 บาท ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 16 เดือน และปรับ 266,666.67 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ริบเมทแอมเฟตามีนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง คดีถึงที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาววินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า กรณีมีเหตุกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ... ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง...” ดังนั้น คำว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวนั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิด หรือบัญญัติถึงกำหนดโทษหรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทบัญญัติความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและมีผลที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 นั้น สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การกำหนดโทษใหม่จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาถึงที่สุดหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง คดีนี้คำพิพากษาถึงที่สุดกำหนดโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 4 ปี และปรับ 400,000 บาท และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.410 กรัม และจำหน่ายไปมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.027 กรัม ซึ่งแม้จะเป็นการขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นอันแสดงให้เห็นว่าจำเลยประกอบกิจการด้วยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการปกติทั่วไป อันจะถือเป็นการกระทำเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น คำพิพากษาถึงที่สุดที่กำหนดโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ดังกล่าวจึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) สำหรับการปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรมนั้น เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับ โดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวแทน ซึ่งตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันคือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงกรรมเดียวบทเดียว แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด ดังนั้น การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามประมวลกฎหมายเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง เพียงกรรมเดียว จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกคำร้องมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับว่า ให้กำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) เพียงกรรมเดียว ให้จำคุก 4 ปี และปรับ 400,000 บาท เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 แล้ว เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน และปรับ 533,333.33 บาท ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.410 กรัม และจำหน่ายไปมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.027 กรัม ซึ่งแม้จะเป็นการขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นอันแสดงให้เห็นว่าจำเลยประกอบกิจการด้วยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการปกติทั่วไป อันจะถือเป็นการกระทำเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดที่กำหนดโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) สำหรับการปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรมนั้น เนื่องจากได้มี พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับ โดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ ป.ยาเสพติดท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าวแทน ซึ่งตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันคือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงกรรมเดียวบทเดียว ดังนั้น การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง เพียงกรรมเดียว จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1)
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 4 ปี และปรับ 400,000 บาท ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี เพิ่มโทษกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน และปรับ 533,333.33 บาท ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน และปรับ 266,666.67 บาท ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 16 เดือน และปรับ 266,666.67 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ริบเมทแอมเฟตามีนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง คดีถึงที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืน
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาววินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า กรณีมีเหตุกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ... ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง...” ดังนั้น คำว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวนั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิด หรือบัญญัติถึงกำหนดโทษหรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทบัญญัติความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและมีผลที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 นั้น สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การกำหนดโทษใหม่จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาถึงที่สุดหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง คดีนี้คำพิพากษาถึงที่สุดกำหนดโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 4 ปี และปรับ 400,000 บาท และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.410 กรัม และจำหน่ายไปมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.027 กรัม ซึ่งแม้จะเป็นการขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นอันแสดงให้เห็นว่าจำเลยประกอบกิจการด้วยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการปกติทั่วไป อันจะถือเป็นการกระทำเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น คำพิพากษาถึงที่สุดที่กำหนดโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ดังกล่าวจึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) สำหรับการปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรมนั้น เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับ โดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวแทน ซึ่งตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันคือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงกรรมเดียวบทเดียว แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด ดังนั้น การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามประมวลกฎหมายเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง เพียงกรรมเดียว จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกคำร้องมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษากลับว่า ให้กำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) เพียงกรรมเดียว ให้จำคุก 4 ปี และปรับ 400,000 บาท เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 แล้ว เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน และปรับ 533,333.33 บาท ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มีที่มาจากบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ทำกับทายาทของ ก. เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก. ให้แก่ทายาท โดยตกลงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 (เลขที่ 96870) ให้แก่โจทก์ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก อันมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนภายใต้ขอบอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719, 1723, 1724 วรรคหนึ่ง และ 1745 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกรู้ว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่กับโจทก์ แต่กลับมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทวันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ 10 เมษายน 2561 เป็นเวลาหลังจากได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทเพียง 18 วัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการของจำเลยที่ 1 ที่จะเอาที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นประโยชน์ของตนเพียงผู้เดียว ย่อมไม่เป็นไปเพื่อการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอันเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและนอกขอบอำนาจของผู้จัดการมรดก จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ผู้มีชื่อไปขอใบแทนทั้งที่โฉนดที่ดินไม่ได้สูญหาย ใบแทนโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้โฉนดที่ดินถูกยกเลิกไป และถือไม่ได้ว่าใบแทนโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่คู่กรณีจะนำไปใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. ได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 63 วรรคแรกและวรรคสอง, 72 การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 96870 ลงวันที่ 10 เมษายน 2561 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการโอน หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนโอนดังกล่าวให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย นางพันทิพา ทายาทของโจทก์ ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาอนุญาต
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติได้ว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 เดิมมีชื่อนางกุ่ม เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เมื่อนางกุ่มถึงแก่ความตายจึงตกทอดเป็นมรดกแก่นายกิมเจ็ง จำเลยที่ 1 เป็นภริยาและเป็นผู้จัดการมรดกของนายกิมเจ็ง จำเลยที่ 1 กับนายกิมเจ็ง ไม่มีบุตรด้วยกัน โจทก์เป็นบุตรของนางกิมเซ็ก ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายกิมเจ็ง โจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 462/2541 หมายเลขแดงที่ 1515/2541 ของศาลชั้นต้น ต่อมาวันที่ 21 ตุลาคม 2541 ในคดีดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 คดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายกิมเจ็งมีการทำบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกนายกิมเจ็งให้แก่ทายาทและทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 คดีนี้มอบโฉนดที่ดินเลขที่ 8235 (ที่ดินพิพาท) ซึ่งภายหลังมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นโฉนดเลขที่ 96870 ให้แก่โจทก์ไว้ด้วย แต่โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความและบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดก วันที่ 26 ธันวาคม 2560 จำเลยที่ 1 แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า โฉนดที่ดินพิพาทสูญหาย วันที่ 5 มกราคม 2561 จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท วันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท วันที่ 10 เมษายน 2561 จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุราคาซื้อขายเป็นเงิน 5,130,000 บาท โดยที่ดินพิพาทมีราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเป็นเงิน 10,519,850 บาท
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกที่ดินพิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้หรือไม่ เห็นว่า คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 462/2541 หมายเลขแดงที่ 1515/2541 ของศาลชั้นต้น มีที่มาจากบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายกิมเจ็งทำกับทายาทของนายกิมเจ็งแบ่งปันทรัพย์มรดกของนายกิมเจ็งให้แก่ทายาท โดยตกลงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 (เลขที่ 96870) ให้แก่โจทก์ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก อันมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นตัวแทนตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนภายใต้ขอบอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1723, 1724 วรรคหนึ่ง และ 1745 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกรู้ว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่กับโจทก์ แต่กลับมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทวันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ 10 เมษายน 2561 เป็นเวลาหลังจากได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทเพียง 18 วัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการของจำเลยที่ 1 ที่จะเอาที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นประโยชน์ของตนเพียงผู้เดียว ย่อมไม่เป็นไปเพื่อการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอันเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและนอกขอบอำนาจของผู้จัดการมรดก จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้การจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยใช้ใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 96870 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ผู้มีชื่อไปขอใบแทนทั้งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ไม่ได้สูญหาย อันจะเป็นเหตุให้เจ้าของมาขอรับใบแทนโฉนดที่ดินได้ ใบแทนโฉนดที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้โฉนดที่ดินเลขที่ 96870 ถูกยกเลิกไป และถือไม่ได้ว่าใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 96870 เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่คู่กรณีจะนำไปใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 63 วรรคแรกและวรรคสอง, 72 การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กรณีมิใช่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องโดยเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินพิพาทโดยมีค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตหรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้วก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เพื่อให้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์โดยบริบูรณ์ ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 หรือมีผลบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแล้ว ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปด บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายดังกล่าว ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพื่อให้ผลเป็นไปตามคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 96870 และเพิกถอนใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 96870 เลขที่ดิน 289 ลงวันที่ 10 เมษายน 2561 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มีที่มาจากบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ทำกับทายาทของ ก. เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก. ให้แก่ทายาท โดยตกลงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 (เลขที่ 96870) ให้แก่โจทก์ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก อันมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนภายใต้ขอบอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719, 1723, 1724 วรรคหนึ่ง และ 1745 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกรู้ว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่กับโจทก์ แต่กลับมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทวันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ 10 เมษายน 2561 เป็นเวลาหลังจากได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทเพียง 18 วัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการของจำเลยที่ 1 ที่จะเอาที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นประโยชน์ของตนเพียงผู้เดียว ย่อมไม่เป็นไปเพื่อการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอันเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและนอกขอบอำนาจของผู้จัดการมรดก จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ผู้มีชื่อไปขอใบแทนทั้งที่โฉนดที่ดินไม่ได้สูญหาย ใบแทนโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้โฉนดที่ดินถูกยกเลิกไป และถือไม่ได้ว่าใบแทนโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่คู่กรณีจะนำไปใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. ได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 63 วรรคแรกและวรรคสอง, 72 การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 96870 ลงวันที่ 10 เมษายน 2561 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการโอน หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนโอนดังกล่าวให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย นางพันทิพา ทายาทของโจทก์ ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาอนุญาต
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติได้ว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 เดิมมีชื่อนางกุ่ม เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เมื่อนางกุ่มถึงแก่ความตายจึงตกทอดเป็นมรดกแก่นายกิมเจ็ง จำเลยที่ 1 เป็นภริยาและเป็นผู้จัดการมรดกของนายกิมเจ็ง จำเลยที่ 1 กับนายกิมเจ็ง ไม่มีบุตรด้วยกัน โจทก์เป็นบุตรของนางกิมเซ็ก ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายกิมเจ็ง โจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 462/2541 หมายเลขแดงที่ 1515/2541 ของศาลชั้นต้น ต่อมาวันที่ 21 ตุลาคม 2541 ในคดีดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 คดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายกิมเจ็งมีการทำบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกนายกิมเจ็งให้แก่ทายาทและทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 คดีนี้มอบโฉนดที่ดินเลขที่ 8235 (ที่ดินพิพาท) ซึ่งภายหลังมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นโฉนดเลขที่ 96870 ให้แก่โจทก์ไว้ด้วย แต่โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความและบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดก วันที่ 26 ธันวาคม 2560 จำเลยที่ 1 แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า โฉนดที่ดินพิพาทสูญหาย วันที่ 5 มกราคม 2561 จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท วันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท วันที่ 10 เมษายน 2561 จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุราคาซื้อขายเป็นเงิน 5,130,000 บาท โดยที่ดินพิพาทมีราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเป็นเงิน 10,519,850 บาท
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เรียกที่ดินพิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้หรือไม่ เห็นว่า คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 462/2541 หมายเลขแดงที่ 1515/2541 ของศาลชั้นต้น มีที่มาจากบันทึกข้อตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายกิมเจ็งทำกับทายาทของนายกิมเจ็งแบ่งปันทรัพย์มรดกของนายกิมเจ็งให้แก่ทายาท โดยตกลงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 8235 (เลขที่ 96870) ให้แก่โจทก์ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก อันมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นตัวแทนตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนภายใต้ขอบอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1723, 1724 วรรคหนึ่ง และ 1745 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกรู้ว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่กับโจทก์ แต่กลับมอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทวันที่ 22 มีนาคม 2561 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ 10 เมษายน 2561 เป็นเวลาหลังจากได้รับใบแทนโฉนดที่ดินพิพาทเพียง 18 วัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการของจำเลยที่ 1 ที่จะเอาที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมาเป็นประโยชน์ของตนเพียงผู้เดียว ย่อมไม่เป็นไปเพื่อการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอันเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและนอกขอบอำนาจของผู้จัดการมรดก จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากนี้การจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยใช้ใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 96870 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ผู้มีชื่อไปขอใบแทนทั้งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ไม่ได้สูญหาย อันจะเป็นเหตุให้เจ้าของมาขอรับใบแทนโฉนดที่ดินได้ ใบแทนโฉนดที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลให้โฉนดที่ดินเลขที่ 96870 ถูกยกเลิกไป และถือไม่ได้ว่าใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 96870 เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่คู่กรณีจะนำไปใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 63 วรรคแรกและวรรคสอง, 72 การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กรณีมิใช่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องโดยเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินพิพาทโดยมีค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตหรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้วก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เพื่อให้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์โดยบริบูรณ์ ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 หรือมีผลบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแล้ว ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 วรรคแปด บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายดังกล่าว ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ เพื่อให้ผลเป็นไปตามคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 96870 และเพิกถอนใบแทนโฉนดที่ดินเลขที่ 96870 เลขที่ดิน 289 ลงวันที่ 10 เมษายน 2561 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำชำเราผู้ตายในคราวเดียวกันกับที่จำเลยทำร้ายผู้ตาย โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมหลังจากที่มีการตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายแล้ว การทำร้ายทางเพศเกิดขึ้นเป็นประจำไม่ใช่คราวใดคราวหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งเจตนาของจำเลยที่ใช้มือตีไปที่ศีรษะและบริเวณหลังคือเจตนาทำร้ายผู้ตายที่เป็นเด็กด้วยความโมโห และเจตนากระทำความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งสามารถแยกออกจากเจตนาของจำเลยที่กระทำความผิดข้อหากระทำชำเราได้ การกระทำของจำเลยจึงเห็นได้ชัดว่า จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลในการกระทำทั้งสองข้อหาแตกต่างกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277, 290 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4
จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายอันเป็นการกระทำความรุนแรงในครอบครัว ปฏิเสธข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี แต่ระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสาม (ที่ถูก มาตรา 277 วรรคสอง) 290 (ที่ถูก มาตรา 290 วรรคหนึ่ง) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4 (ที่ถูก มาตรา 4 วรรคหนึ่ง) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 จำคุก 4 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี พิเคราะห์รายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร (สาขามีนบุรี) แล้ว เห็นว่า แม้จำเลยจะถูกดำเนินคดีเป็นครั้งแรก ความประพฤติไม่ปรากฏข้อเสียหายร้ายแรง และผู้ปกครองยังติดตามห่วงใยก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่กระทำความผิดต่อผู้ตายซึ่งมีอายุเพียง 3 ปีเศษ เป็นบุคคลที่ต้องพึ่งพาอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกับจำเลย นับว่าจำเลยขาดจิตสำนึกที่ดีและไม่รู้จักยับยั้งอารมณ์ความใคร่ ทั้งเป็นภัยต่อสตรีเพศโดยทั่วไป ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีอุกฉกรรจ์มีอัตราโทษสูง แต่หากจำเลยได้รับการฝึกอบรมและขัดเกลานิสัยและความประพฤติสักระยะหนึ่งอาจทำให้ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่จำเลยมากกว่าที่จะลงโทษจำคุก ทั้งนี้ เพื่อสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเอง อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 142 (1) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี แต่ไม่เกินกว่าจำเลยจะมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ หากจำเลยถูกควบคุมตัวเพื่อฝึกอบรมแล้ว แต่ยังไม่ครบกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ให้ส่งไปจำคุกในเรือนจำ มีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 142 วรรคสอง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เพียงประการเดียวว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยข้อเท็จจริงได้ความจากบันทึกคำให้การของพลตำรวจตรีภวัต ผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งพลตำรวจตรีภวัต เป็นผู้จัดทำรายงานการตรวจศพระบุรายละเอียดว่า ผู้ตายถูกทำร้ายทางเพศ เนื่องจากตรวจพบการฉีกขาดใหม่ที่เยื่อพรหมจรรย์ตำแหน่งที่ 2 และที่ 4 นาฬิกา ยาว 2 มิลลิเมตร รูทวารอ้ากว้าง พบติ่งเนื้อในรูทวารหลายแฉก โดยมากมักเกิดจากถูกทำร้ายทางเพศ และระบุว่า รูทวารถ่างกว้างและมีติ่งเนื้อแสดงว่ามีการถ่างขยายอวัยวะดังกล่าวเป็นประจำ อาจเกิดจากการถูกชำเราทางทวารหนักเป็นประจำ ทั้งจากทางนำสืบของโจทก์ ได้ความว่าผู้ตายถูกทำร้ายเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 ในชั้นสอบสวนจึงแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต่อมาหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายและผลการตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายปรากฏว่าพบบาดแผลฉีกขาดใหม่ที่เยื่อพรหมจรรย์ของผู้ตาย จึงแจ้งข้อหาเพิ่มเติมตามฟ้อง ส่วนจำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำชำเราผู้ตายในคราวเดียวกันกับที่จำเลยทำร้ายผู้ตาย โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมหลังจากที่มีการตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายแล้ว เมื่อพิจารณาจากบันทึกคำให้การของพลตำรวจตรีภวัตแล้ว พลตำรวจตรีภวัตให้ความเห็นว่าการทำร้ายทางเพศเกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่ใช่ในคราวใดคราวหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งเจตนาของจำเลยที่ใช้มือตีไปที่ศีรษะและบริเวณหลังคือเจตนาทำร้ายผู้ตายที่เป็นเด็กด้วยความโมโหและเจตนากระทำความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งสามารถแยกออกจากเจตนาของจำเลยที่กระทำความผิดข้อหากระทำชำเราได้ การกระทำของจำเลยจึงเห็นได้ชัดว่า จำเลยมีเจตนาที่ประสงค์ต่อผลในการกระทำทั้งสองข้อหาแตกต่างกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง, 290 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันใหลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ฐานกระทำชำเราแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี จำคุก 4 ปี ฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายและกระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 7 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานกระทำชำเราแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี จำคุก 2 ปี ฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จำคุก 3 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 5 ปี 6 เดือน อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 142 (1) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 5 ปี หากจำเลยมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์แล้ว ยังควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังไม่ครบกำหนดขั้นต่ำให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกในเรือนจำมีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 142 วรรคท้าย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำชำเราผู้ตายในคราวเดียวกันกับที่จำเลยทำร้ายผู้ตาย โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมหลังจากที่มีการตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายแล้ว การทำร้ายทางเพศเกิดขึ้นเป็นประจำไม่ใช่คราวใดคราวหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งเจตนาของจำเลยที่ใช้มือตีไปที่ศีรษะและบริเวณหลังคือเจตนาทำร้ายผู้ตายที่เป็นเด็กด้วยความโมโห และเจตนากระทำความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งสามารถแยกออกจากเจตนาของจำเลยที่กระทำความผิดข้อหากระทำชำเราได้ การกระทำของจำเลยจึงเห็นได้ชัดว่า จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลในการกระทำทั้งสองข้อหาแตกต่างกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277, 290 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4
จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายอันเป็นการกระทำความรุนแรงในครอบครัว ปฏิเสธข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี แต่ระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสาม (ที่ถูก มาตรา 277 วรรคสอง) 290 (ที่ถูก มาตรา 290 วรรคหนึ่ง) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4 (ที่ถูก มาตรา 4 วรรคหนึ่ง) การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 จำคุก 4 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี พิเคราะห์รายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร (สาขามีนบุรี) แล้ว เห็นว่า แม้จำเลยจะถูกดำเนินคดีเป็นครั้งแรก ความประพฤติไม่ปรากฏข้อเสียหายร้ายแรง และผู้ปกครองยังติดตามห่วงใยก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่กระทำความผิดต่อผู้ตายซึ่งมีอายุเพียง 3 ปีเศษ เป็นบุคคลที่ต้องพึ่งพาอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกับจำเลย นับว่าจำเลยขาดจิตสำนึกที่ดีและไม่รู้จักยับยั้งอารมณ์ความใคร่ ทั้งเป็นภัยต่อสตรีเพศโดยทั่วไป ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีอุกฉกรรจ์มีอัตราโทษสูง แต่หากจำเลยได้รับการฝึกอบรมและขัดเกลานิสัยและความประพฤติสักระยะหนึ่งอาจทำให้ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่จำเลยมากกว่าที่จะลงโทษจำคุก ทั้งนี้ เพื่อสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเอง อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 142 (1) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี แต่ไม่เกินกว่าจำเลยจะมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์ หากจำเลยถูกควบคุมตัวเพื่อฝึกอบรมแล้ว แต่ยังไม่ครบกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ให้ส่งไปจำคุกในเรือนจำ มีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 142 วรรคสอง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เพียงประการเดียวว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยข้อเท็จจริงได้ความจากบันทึกคำให้การของพลตำรวจตรีภวัต ผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งพลตำรวจตรีภวัต เป็นผู้จัดทำรายงานการตรวจศพระบุรายละเอียดว่า ผู้ตายถูกทำร้ายทางเพศ เนื่องจากตรวจพบการฉีกขาดใหม่ที่เยื่อพรหมจรรย์ตำแหน่งที่ 2 และที่ 4 นาฬิกา ยาว 2 มิลลิเมตร รูทวารอ้ากว้าง พบติ่งเนื้อในรูทวารหลายแฉก โดยมากมักเกิดจากถูกทำร้ายทางเพศ และระบุว่า รูทวารถ่างกว้างและมีติ่งเนื้อแสดงว่ามีการถ่างขยายอวัยวะดังกล่าวเป็นประจำ อาจเกิดจากการถูกชำเราทางทวารหนักเป็นประจำ ทั้งจากทางนำสืบของโจทก์ ได้ความว่าผู้ตายถูกทำร้ายเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 ในชั้นสอบสวนจึงแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต่อมาหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายและผลการตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายปรากฏว่าพบบาดแผลฉีกขาดใหม่ที่เยื่อพรหมจรรย์ของผู้ตาย จึงแจ้งข้อหาเพิ่มเติมตามฟ้อง ส่วนจำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำชำเราผู้ตายในคราวเดียวกันกับที่จำเลยทำร้ายผู้ตาย โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมหลังจากที่มีการตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายแล้ว เมื่อพิจารณาจากบันทึกคำให้การของพลตำรวจตรีภวัตแล้ว พลตำรวจตรีภวัตให้ความเห็นว่าการทำร้ายทางเพศเกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่ใช่ในคราวใดคราวหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งเจตนาของจำเลยที่ใช้มือตีไปที่ศีรษะและบริเวณหลังคือเจตนาทำร้ายผู้ตายที่เป็นเด็กด้วยความโมโหและเจตนากระทำความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งสามารถแยกออกจากเจตนาของจำเลยที่กระทำความผิดข้อหากระทำชำเราได้ การกระทำของจำเลยจึงเห็นได้ชัดว่า จำเลยมีเจตนาที่ประสงค์ต่อผลในการกระทำทั้งสองข้อหาแตกต่างกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง, 290 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันใหลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ฐานกระทำชำเราแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี จำคุก 4 ปี ฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายและกระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 7 ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานกระทำชำเราแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 13 ปี จำคุก 2 ปี ฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จำคุก 3 ปี 6 เดือน รวมจำคุก 5 ปี 6 เดือน อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 142 (1) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 5 ปี หากจำเลยมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์แล้ว ยังควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังไม่ครบกำหนดขั้นต่ำให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกในเรือนจำมีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 142 วรรคท้าย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ
จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้านตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม ป.พ.พ. จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 วรรคสอง (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (2) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (3) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (4)... (5)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา 29 กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการตามมาตรา 6 ได้แก่ (1) เงินที่คณะกรรมการกองทุนและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (4) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (5) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้ มาตรา 11 บัญญัติให้เป็นหน่วยงานของรัฐ และมีวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 11 วรรคสอง โดยมาตรา 12 บัญญัติให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบไปด้วย (1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 31 ซึ่งโอนมาจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 มีฐานะเป็นองค์การมหาชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติตามมาตรา 11 และกองทุนหมู่บ้านจำเลยที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 5 จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน การที่มาตรา 14 บัญญัติว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อความคล่องตัวทางการเงิน อันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ดังนั้น เงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเพื่อเป็นเงินอุดหนุน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 301 (5) ส่วนเงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออมตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชยกรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิใช่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 303 และมาตรา 316
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองคนละ 234,788.53 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 16 ตุลาคม 2561) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านส่งเงินฝากของจำเลยตามที่โจทก์ทั้งสองขออายัดรวมเป็นเงิน 289,000 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี หากไม่ส่งขอให้ผู้คัดค้านชำระค่าสินไหมทดแทนเท่าจำนวนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 321
จำเลยยื่นคำร้องและคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองและมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าว
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองยื่นคำคัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของจำเลยขอให้ยกคำร้องของจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเงินในบัญชีธนาคาร อ. สาขาฝาง ชื่อบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ห. บัญชีเลขที่ 05067074XXXX และบัญชีเลขที่ 05067074XXXX ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยที่ฝากธนาคาร อ. สาขาฝาง บัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 99,000 บาท และบัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 190,000 บาท ตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง หากธนาคาร อ. ผู้คัดค้าน ไม่ส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสองแทน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสองตรวจพบว่าจำเลยมีเงินในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน บัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 99,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยได้รับอุดหนุนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และบัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 190,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออม รวมสองบัญชีเป็นเงิน 289,000 บาท โจทก์ทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ถึงผู้คัดค้านขออายัดเงินทั้งสองบัญชีให้ผู้คัดค้านส่งเงินทั้งสองบัญชีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ผู้คัดค้านไม่ส่งเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและมีหนังสือลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งว่า เงินทั้งสองบัญชีเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 และเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 301 (5)
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า เงินในบัญชีเงินฝากทั้งสองบัญชีของจำเลยที่โจทก์ทั้งสองขออายัดเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน และเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองจะบังคับคดีได้หรือไม่ เห็นว่า จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้าน ตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องดำเนินการยื่นคำขอจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ 2549 จำเลยจึงมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 วรรคสอง (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (2) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (3) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (4)... (5)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา 29 กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการปรากฏตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้แก่ (1) เงินที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (4) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (5) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นั้น มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติให้เป็น “หน่วยงานของรัฐ” และมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 11 วรรคสอง โดยมาตรา 12 บัญญัติให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบไปด้วย (1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 31 ซึ่งโอนมาจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งเมื่อได้รับการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ขึ้นแล้ว มาตรา 31 ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวประกาศยุติการดำเนินการของกองทุนและให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ เงินงบประมาณ รายได้และลูกจ้างของกองทุนดังกล่าวไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (4) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ดังนั้น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามมาตรา 11 และกองทุนหมู่บ้านจำเลยที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 5 จึงเป็น “หน่วยงานอื่นของรัฐ” ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าว มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ก็บัญญัติว่าต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากนี้ การที่มาตรา 14 บัญญัติว่า “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ” ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ก็เพื่อความคล่องตัวทางการเงิน อันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่บัญญัติว่า “บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราชการ ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้น นำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น” ดังนั้น เงินฝากในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน เลขที่ 05067074XXXX จำนวน 99,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเพื่อเป็นเงินอุดหนุน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 301 (5) ส่วนเงินฝากในบัญชีเงินฝากเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 190,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออม ก็เป็นเงินของสมาชิกที่นำมาฝากไว้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านตามหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชยกรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิใช่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 303 และมาตรา 316 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากในบัญชีของจำเลยทั้งสองบัญชีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง และให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสอง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษากลับเป็นให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ
จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้านตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม ป.พ.พ. จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 วรรคสอง (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (2) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (3) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (4)... (5)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา 29 กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการตามมาตรา 6 ได้แก่ (1) เงินที่คณะกรรมการกองทุนและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (4) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (5) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้ มาตรา 11 บัญญัติให้เป็นหน่วยงานของรัฐ และมีวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 11 วรรคสอง โดยมาตรา 12 บัญญัติให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบไปด้วย (1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 31 ซึ่งโอนมาจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 มีฐานะเป็นองค์การมหาชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติตามมาตรา 11 และกองทุนหมู่บ้านจำเลยที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 5 จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน การที่มาตรา 14 บัญญัติว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อความคล่องตัวทางการเงิน อันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ดังนั้น เงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเพื่อเป็นเงินอุดหนุน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 301 (5) ส่วนเงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออมตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชยกรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิใช่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 303 และมาตรา 316
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองคนละ 234,788.53 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 16 ตุลาคม 2561) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านส่งเงินฝากของจำเลยตามที่โจทก์ทั้งสองขออายัดรวมเป็นเงิน 289,000 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี หากไม่ส่งขอให้ผู้คัดค้านชำระค่าสินไหมทดแทนเท่าจำนวนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 321
จำเลยยื่นคำร้องและคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองและมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าว
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองยื่นคำคัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของจำเลยขอให้ยกคำร้องของจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเงินในบัญชีธนาคาร อ. สาขาฝาง ชื่อบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ห. บัญชีเลขที่ 05067074XXXX และบัญชีเลขที่ 05067074XXXX ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยที่ฝากธนาคาร อ. สาขาฝาง บัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 99,000 บาท และบัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 190,000 บาท ตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง หากธนาคาร อ. ผู้คัดค้าน ไม่ส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสองแทน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสองตรวจพบว่าจำเลยมีเงินในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน บัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 99,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยได้รับอุดหนุนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และบัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 190,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออม รวมสองบัญชีเป็นเงิน 289,000 บาท โจทก์ทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ถึงผู้คัดค้านขออายัดเงินทั้งสองบัญชีให้ผู้คัดค้านส่งเงินทั้งสองบัญชีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ผู้คัดค้านไม่ส่งเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและมีหนังสือลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งว่า เงินทั้งสองบัญชีเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 และเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 301 (5)
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า เงินในบัญชีเงินฝากทั้งสองบัญชีของจำเลยที่โจทก์ทั้งสองขออายัดเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน และเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองจะบังคับคดีได้หรือไม่ เห็นว่า จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้าน ตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องดำเนินการยื่นคำขอจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ 2549 จำเลยจึงมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 วรรคสอง (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (2) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (3) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (4)... (5)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา 29 กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการปรากฏตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้แก่ (1) เงินที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (4) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (5) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นั้น มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติให้เป็น “หน่วยงานของรัฐ” และมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 11 วรรคสอง โดยมาตรา 12 บัญญัติให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบไปด้วย (1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 31 ซึ่งโอนมาจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งเมื่อได้รับการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ขึ้นแล้ว มาตรา 31 ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวประกาศยุติการดำเนินการของกองทุนและให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ เงินงบประมาณ รายได้และลูกจ้างของกองทุนดังกล่าวไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (4) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ดังนั้น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามมาตรา 11 และกองทุนหมู่บ้านจำเลยที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 5 จึงเป็น “หน่วยงานอื่นของรัฐ” ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าว มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ก็บัญญัติว่าต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากนี้ การที่มาตรา 14 บัญญัติว่า “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ” ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ก็เพื่อความคล่องตัวทางการเงิน อันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่บัญญัติว่า “บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราชการ ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้น นำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น” ดังนั้น เงินฝากในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน เลขที่ 05067074XXXX จำนวน 99,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเพื่อเป็นเงินอุดหนุน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 301 (5) ส่วนเงินฝากในบัญชีเงินฝากเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 190,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออม ก็เป็นเงินของสมาชิกที่นำมาฝากไว้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านตามหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชยกรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิใช่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 303 และมาตรา 316 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากในบัญชีของจำเลยทั้งสองบัญชีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง และให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสอง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษากลับเป็นให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุก 6 ปี 10 เดือน ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3099/2559 ของศาลจังหวัดเลย จำเลยจึงเป็นผู้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าวอยู่ในเรือนจำกลางอุดรธานี เรือนจำกลางอุดรธานีจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในช่วงระยะเวลาที่จำเลยถูกจำคุกในคดีดังกล่าว ไม่ใช่ที่อยู่ตามฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไปยังที่อยู่ของจำเลยตามฟ้อง จึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ที่บัญญัติว่า ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล หรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำ หรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้จำเลยแก้ไปที่เรือนจำกลางอุดรธานี หาใช่ส่งไปยังที่อยู่ตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีโดยมิได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้นั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 97, 100/1 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำคุก 4 ปี และปรับ 300,000 บาท เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นลงโทษจำคุก 5 ปี 4 เดือน และปรับ 400,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า ไม่เคยได้รับสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเจ้าพนักงานส่งหมายไปที่ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องทั้ง ๆ ที่จำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำ ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการทำคำแก้อุทธรณ์ตามกฎหมาย เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 บัญญัติว่า การยื่นอุทธรณ์ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น มาตรา 200 บัญญัติว่า ให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ และ มาตรา 201 บัญญัติว่า เมื่อศาลส่งสำเนาอุทธรณ์แก่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้เพราะหาตัวไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ หรือได้รับแก้อุทธรณ์แล้ว หรือพ้นกำหนดแก้อุทธรณ์แล้ว ให้ศาลรีบส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อทำการพิจารณาพิพากษาต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 และในวันเดียวกันศาลชั้นต้นได้ออกหมายปล่อยจำเลยโดยระบุหมายเหตุ ว่า “ปล่อยเฉพาะคดีนี้“โจทก์ได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 คดีนี้จึงยังไม่ถึงที่สุด ภูมิลำเนาของจำเลยจึงถือตามฟ้องของโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2559 จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 6 ปี 10 เดือน ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3099/2559 ของศาลจังหวัดเลย จำเลยได้รับอนุมัติพักการลงโทษโดยจะพ้นโทษในคดีดังกล่าววันที่ 24 ตุลาคม 2564 ระหว่างพักการลงโทษจำเลยกลับมากระทำความผิดอีกขอให้เพิ่มโทษ ประกอบกับหนังสือสำคัญการพักโทษ จำเลยได้พักการลงโทษเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562 แต่จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 และตามหนังสือเรือนจำกลางอุดรธานี เลขที่ 3016/2564 ออกให้เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ว่า จำเลยถูกตัดสินจำคุก 581 วัน เริ่มจำคุกตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ตามหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3099/2559 บัดนี้จำเลยได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกา (ลดโทษ ปล่อยตัว) พ.ศ. 2564 มาตรา 9, 7 ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 ดังนั้น จำเลยจึงเป็นผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลในคดีดังกล่าวอยู่ในเรือนจำกลางอุดรธานี เรือนจำกลางอุดรธานีจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในช่วงระยะเวลาที่จำเลยถูกจำคุกในคดีดังกล่าว มิใช่ที่อยู่ตามฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไปที่บ้านเลขที่ 227 อันเป็นที่อยู่ของจำเลยตามฟ้อง จึงมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ที่บัญญัติว่า “ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่ จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว” ดังนั้น จึงมิใช่กรณีส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้เพราะหาตัวไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาได้เลย โดยไม่ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 201 เมื่อการส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้นั้นเกิดจากความบกพร่องเนื่องจากการส่งหมายไม่ตรงตามภูมิลำเนาของจำเลยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือจำเลยหลบหนี การส่งสำเนาอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 201 ดังกล่าว ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยแก้ไปที่เรือนจำกลางอุดรธานีอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในช่วงเวลานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 หาใช่ส่งไปยังที่อยู่ของจำเลยตามคำฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ปิดหมายก็เป็นคำสั่งที่เกินเลยไม่เป็นผลให้การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้เป็นไปโดยชอบ และถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์โดยวิธีปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 201 ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีโดยมิได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้นั้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการในเรื่องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุก 6 ปี 10 เดือน ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3099/2559 ของศาลจังหวัดเลย จำเลยจึงเป็นผู้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าวอยู่ในเรือนจำกลางอุดรธานี เรือนจำกลางอุดรธานีจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในช่วงระยะเวลาที่จำเลยถูกจำคุกในคดีดังกล่าว ไม่ใช่ที่อยู่ตามฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไปยังที่อยู่ของจำเลยตามฟ้อง จึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ที่บัญญัติว่า ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล หรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำ หรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้จำเลยแก้ไปที่เรือนจำกลางอุดรธานี หาใช่ส่งไปยังที่อยู่ตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีโดยมิได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้นั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 97, 100/1 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และเพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมาย
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคสอง (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จำคุก 4 ปี และปรับ 300,000 บาท เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นลงโทษจำคุก 5 ปี 4 เดือน และปรับ 400,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า ไม่เคยได้รับสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเจ้าพนักงานส่งหมายไปที่ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องทั้ง ๆ ที่จำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำ ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการทำคำแก้อุทธรณ์ตามกฎหมาย เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 บัญญัติว่า การยื่นอุทธรณ์ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น มาตรา 200 บัญญัติว่า ให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ และ มาตรา 201 บัญญัติว่า เมื่อศาลส่งสำเนาอุทธรณ์แก่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้เพราะหาตัวไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ หรือได้รับแก้อุทธรณ์แล้ว หรือพ้นกำหนดแก้อุทธรณ์แล้ว ให้ศาลรีบส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อทำการพิจารณาพิพากษาต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 และในวันเดียวกันศาลชั้นต้นได้ออกหมายปล่อยจำเลยโดยระบุหมายเหตุ ว่า “ปล่อยเฉพาะคดีนี้“โจทก์ได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 คดีนี้จึงยังไม่ถึงที่สุด ภูมิลำเนาของจำเลยจึงถือตามฟ้องของโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2559 จำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 6 ปี 10 เดือน ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3099/2559 ของศาลจังหวัดเลย จำเลยได้รับอนุมัติพักการลงโทษโดยจะพ้นโทษในคดีดังกล่าววันที่ 24 ตุลาคม 2564 ระหว่างพักการลงโทษจำเลยกลับมากระทำความผิดอีกขอให้เพิ่มโทษ ประกอบกับหนังสือสำคัญการพักโทษ จำเลยได้พักการลงโทษเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562 แต่จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 และตามหนังสือเรือนจำกลางอุดรธานี เลขที่ 3016/2564 ออกให้เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 ว่า จำเลยถูกตัดสินจำคุก 581 วัน เริ่มจำคุกตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ตามหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3099/2559 บัดนี้จำเลยได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกา (ลดโทษ ปล่อยตัว) พ.ศ. 2564 มาตรา 9, 7 ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 ดังนั้น จำเลยจึงเป็นผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลในคดีดังกล่าวอยู่ในเรือนจำกลางอุดรธานี เรือนจำกลางอุดรธานีจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในช่วงระยะเวลาที่จำเลยถูกจำคุกในคดีดังกล่าว มิใช่ที่อยู่ตามฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไปที่บ้านเลขที่ 227 อันเป็นที่อยู่ของจำเลยตามฟ้อง จึงมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ที่บัญญัติว่า “ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่ จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว” ดังนั้น จึงมิใช่กรณีส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้เพราะหาตัวไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ ที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาได้เลย โดยไม่ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 201 เมื่อการส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้นั้นเกิดจากความบกพร่องเนื่องจากการส่งหมายไม่ตรงตามภูมิลำเนาของจำเลยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือจำเลยหลบหนี การส่งสำเนาอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 201 ดังกล่าว ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยแก้ไปที่เรือนจำกลางอุดรธานีอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในช่วงเวลานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 หาใช่ส่งไปยังที่อยู่ของจำเลยตามคำฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ปิดหมายก็เป็นคำสั่งที่เกินเลยไม่เป็นผลให้การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้เป็นไปโดยชอบ และถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์โดยวิธีปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือหลบหนี หรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 201 ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีโดยมิได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้นั้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น
พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการในเรื่องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
การขอรับชำระหนี้นั้น เจ้าหนี้มีหน้าที่นำพยานมาให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า หนี้ที่ขอรับชำระหนี้นั้นมีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว คดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาจำนำหุ้นที่ลูกหนี้นำมาจำนำไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของบริษัท ม. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) การที่จะพิจารณาว่าเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนำซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องพิจารณามูลหนี้ประธานเป็นสำคัญว่ามีเพียงใด และเจ้าหนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเท่าใด เพื่อกำหนดจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนำว่าต้องไม่เกินไปกว่าความรับผิดในต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามมูลหนี้ประธาน เมื่อเจ้าหนี้มิได้นำสืบให้เห็นว่า มูลหนี้กู้ยืมเงินของบริษัท ม. อันเป็นมูลหนี้ประธานมีเพียงใด ศาลย่อมมิอาจพิพากษาให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในหนี้จำนำหุ้นอันเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้จำนำตามคำขอรับชำระหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าหนี้ไม่มีพยานมาให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อันทำให้ศาลมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นั้น ไม่ใช่เหตุที่ทำให้การจำนำระงับสิ้นไป สิทธิจำนำยังคงมีอยู่ หากเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนำเพียงใด เจ้าหนี้สามารถบังคับจำนำในทางแพ่งต่อไปได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2556
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ในมูลหนี้ตามสัญญาจำนำหุ้นเป็นเงิน 63,784,356.15 บาท จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 (3)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 104 แล้ว ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วทำความเห็นว่า ลูกหนี้ทำสัญญาจำนำหุ้นของบริษัท จ. เป็นประกันการชำระหนี้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัท ม. ผู้กู้ กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิมผู้ให้กู้ แต่เจ้าหนี้ไม่นำส่งรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงไม่อาจทราบได้ว่ามีการชำระหนี้กันครั้งสุดท้ายเมื่อใด แต่เมื่อมีการทำคำขอกู้เงินกับเจ้าหนี้เดิมครั้งสุดท้ายวันที่ 4 มีนาคม 2539 กำหนดชำระหนี้เป็นงวดรายเดือนทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน จึงถือว่าวันที่สิ้นสุดของเดือนคือวันที่ 31 มีนาคม 2539 สัญญาจึงเลิกกันในวันดังกล่าว เจ้าหนี้เดิมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2539 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 18 มิถุนายน 2557 จึงเลยกำหนดระยะเวลา 10 ปี หนี้ดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (3) ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ เห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 107 (1) (เดิม) แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดหุ้นของบริษัท จ. 1,000,000 หุ้น อันเป็นทรัพย์จำนำหลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนี้ประธาน โดยมีเงื่อนไขว่าหากเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ม. ลูกหนี้ชั้นต้น และ/หรือ ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนำอื่น และ/หรือ ได้รับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกันไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้ลดลงเพียงนั้น
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ แต่ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้ในการบังคับจำนำหุ้นบริษัท จ. 1,000,000 หุ้น ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
เจ้าหนี้ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความไม่โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2539 บริษัท ม. ทำคำขอกู้เงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม 100,000,000 บาท ตกลงเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยเป็นงวดรายเดือนทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน เพื่อเป็นหลักประกันผู้กู้ตกลงจำนำหุ้นธนาคาร อ. 52,400 หุ้น หุ้นบริษัท จ. 1,000,000 หุ้น หุ้นบริษัท ส. 1,508,000 หุ้น และหุ้นบริษัท ย. 3,155,500 หุ้น กับจัดให้นายธาตรี และนายวัฒนศักดิ์ เป็นผู้ค้ำประกัน และวันที่ 27 มีนาคม 2539 ลูกหนี้ทำสัญญาจำนำหุ้นบริษัท จ. 1,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ซึ่งในวันทำสัญญาจำนำ หุ้นดังกล่าวมีมูลค่ารวม 13,500,000 บาท เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบริษัท ม. ต่อมาเจ้าหนี้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวมาจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องนี้มาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของเจ้าหนี้ว่า เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า การขอรับชำระหนี้นั้น เจ้าหนี้มีหน้าที่นำพยานมาให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า หนี้ที่ขอรับชำระหนี้นั้นมีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว คดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาจำนำหุ้นที่ลูกหนี้นำมาจำนำไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของบริษัท ม. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 (3) โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ การที่จะพิจารณาว่า เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนำซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องพิจารณามูลหนี้ประธานเป็นสำคัญว่ามีเพียงใด และเจ้าหนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเท่าใด เพื่อกำหนดจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนำว่าต้องไม่เกินไปกว่าความรับผิดในต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามมูลหนี้ประธาน ดังนี้ แม้ว่าสัญญาจำนำเอกสารหมาย จ.5 จะระบุว่า ณ วันจำนำ หุ้นบริษัท จ. จำนวน 1,000,000 หุ้น มีมูลค่ารวม 13,500,000 บาท และลูกหนี้ตกลงชำระดอกเบี้ยตามสัญญาจำนำให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปีก็ตาม แต่สัญญาจำนำดังกล่าวมิได้ระบุว่า หนี้เงินกู้ที่บริษัท ม. ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้อันเป็นหนี้ประธานนั้นมีเพียงใด ทั้งเจ้าหนี้ก็มิได้ส่งรายการความเคลื่อนไหวทางบัญชีเพื่อแสดงว่า ณ วันพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินกู้จากบริษัท ม. เพียงใด คงมีเพียงสำเนาคำขอกู้เงิน ที่ระบุว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2539 บริษัท ม. ขอกู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม จำนวน 100,000,000 บาท เท่านั้น ซึ่งเอกสารดังกล่าวไม่อาจกำหนดได้ว่า ณ วันพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด บริษัท ม. มีภาระหนี้ต่อเจ้าหนี้เท่าใด ประกอบกับบันทึกถ้อยคำพยานเจ้าหนี้ในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าหนี้คงให้การเกี่ยวกับมูลหนี้ตามสัญญาจำนำหุ้นเท่านั้น โดยมิได้ให้การเกี่ยวกับมูลหนี้กู้ยืมเงินของบริษัท ม. เมื่อเจ้าหนี้มิได้นำสืบให้เห็นว่า มูลหนี้กู้ยืมเงินของบริษัท ม. อันเป็นมูลหนี้ประธานมีเพียงใด ศาลย่อมมิอาจพิพากษาให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในหนี้จำนำหุ้นอันเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้จำนำตามคำขอรับชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าหนี้ไม่มีพยานมาให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อันทำให้ศาลมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นั้น ไม่ใช่เหตุที่ทำให้การจำนำระงับสิ้นไป สิทธิจำนำยังคงมีอยู่ หากเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนำเพียงใด เจ้าหนี้สามารถบังคับจำนำในทางแพ่งต่อไปได้ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของเจ้าหนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การขอรับชำระหนี้นั้น เจ้าหนี้มีหน้าที่นำพยานมาให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า หนี้ที่ขอรับชำระหนี้นั้นมีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว คดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาจำนำหุ้นที่ลูกหนี้นำมาจำนำไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของบริษัท ม. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) การที่จะพิจารณาว่าเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนำซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องพิจารณามูลหนี้ประธานเป็นสำคัญว่ามีเพียงใด และเจ้าหนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเท่าใด เพื่อกำหนดจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนำว่าต้องไม่เกินไปกว่าความรับผิดในต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามมูลหนี้ประธาน เมื่อเจ้าหนี้มิได้นำสืบให้เห็นว่า มูลหนี้กู้ยืมเงินของบริษัท ม. อันเป็นมูลหนี้ประธานมีเพียงใด ศาลย่อมมิอาจพิพากษาให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในหนี้จำนำหุ้นอันเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้จำนำตามคำขอรับชำระหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าหนี้ไม่มีพยานมาให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อันทำให้ศาลมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นั้น ไม่ใช่เหตุที่ทำให้การจำนำระงับสิ้นไป สิทธิจำนำยังคงมีอยู่ หากเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนำเพียงใด เจ้าหนี้สามารถบังคับจำนำในทางแพ่งต่อไปได้
คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2556
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ในมูลหนี้ตามสัญญาจำนำหุ้นเป็นเงิน 63,784,356.15 บาท จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 (3)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 104 แล้ว ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วทำความเห็นว่า ลูกหนี้ทำสัญญาจำนำหุ้นของบริษัท จ. เป็นประกันการชำระหนี้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัท ม. ผู้กู้ กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิมผู้ให้กู้ แต่เจ้าหนี้ไม่นำส่งรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงไม่อาจทราบได้ว่ามีการชำระหนี้กันครั้งสุดท้ายเมื่อใด แต่เมื่อมีการทำคำขอกู้เงินกับเจ้าหนี้เดิมครั้งสุดท้ายวันที่ 4 มีนาคม 2539 กำหนดชำระหนี้เป็นงวดรายเดือนทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน จึงถือว่าวันที่สิ้นสุดของเดือนคือวันที่ 31 มีนาคม 2539 สัญญาจึงเลิกกันในวันดังกล่าว เจ้าหนี้เดิมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2539 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 18 มิถุนายน 2557 จึงเลยกำหนดระยะเวลา 10 ปี หนี้ดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (3) ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ เห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 107 (1) (เดิม) แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดหุ้นของบริษัท จ. 1,000,000 หุ้น อันเป็นทรัพย์จำนำหลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนี้ประธาน โดยมีเงื่อนไขว่าหากเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ม. ลูกหนี้ชั้นต้น และ/หรือ ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนำอื่น และ/หรือ ได้รับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกันไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้ลดลงเพียงนั้น
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ แต่ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้ในการบังคับจำนำหุ้นบริษัท จ. 1,000,000 หุ้น ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
เจ้าหนี้ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความไม่โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติได้ว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2539 บริษัท ม. ทำคำขอกู้เงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม 100,000,000 บาท ตกลงเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยเป็นงวดรายเดือนทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน เพื่อเป็นหลักประกันผู้กู้ตกลงจำนำหุ้นธนาคาร อ. 52,400 หุ้น หุ้นบริษัท จ. 1,000,000 หุ้น หุ้นบริษัท ส. 1,508,000 หุ้น และหุ้นบริษัท ย. 3,155,500 หุ้น กับจัดให้นายธาตรี และนายวัฒนศักดิ์ เป็นผู้ค้ำประกัน และวันที่ 27 มีนาคม 2539 ลูกหนี้ทำสัญญาจำนำหุ้นบริษัท จ. 1,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ซึ่งในวันทำสัญญาจำนำ หุ้นดังกล่าวมีมูลค่ารวม 13,500,000 บาท เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบริษัท ม. ต่อมาเจ้าหนี้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวมาจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องนี้มาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของเจ้าหนี้ว่า เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า การขอรับชำระหนี้นั้น เจ้าหนี้มีหน้าที่นำพยานมาให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า หนี้ที่ขอรับชำระหนี้นั้นมีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว คดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาจำนำหุ้นที่ลูกหนี้นำมาจำนำไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของบริษัท ม. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 (3) โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ การที่จะพิจารณาว่า เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนำซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องพิจารณามูลหนี้ประธานเป็นสำคัญว่ามีเพียงใด และเจ้าหนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเท่าใด เพื่อกำหนดจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนำว่าต้องไม่เกินไปกว่าความรับผิดในต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามมูลหนี้ประธาน ดังนี้ แม้ว่าสัญญาจำนำเอกสารหมาย จ.5 จะระบุว่า ณ วันจำนำ หุ้นบริษัท จ. จำนวน 1,000,000 หุ้น มีมูลค่ารวม 13,500,000 บาท และลูกหนี้ตกลงชำระดอกเบี้ยตามสัญญาจำนำให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปีก็ตาม แต่สัญญาจำนำดังกล่าวมิได้ระบุว่า หนี้เงินกู้ที่บริษัท ม. ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้อันเป็นหนี้ประธานนั้นมีเพียงใด ทั้งเจ้าหนี้ก็มิได้ส่งรายการความเคลื่อนไหวทางบัญชีเพื่อแสดงว่า ณ วันพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินกู้จากบริษัท ม. เพียงใด คงมีเพียงสำเนาคำขอกู้เงิน ที่ระบุว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2539 บริษัท ม. ขอกู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เจ้าหนี้เดิม จำนวน 100,000,000 บาท เท่านั้น ซึ่งเอกสารดังกล่าวไม่อาจกำหนดได้ว่า ณ วันพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด บริษัท ม. มีภาระหนี้ต่อเจ้าหนี้เท่าใด ประกอบกับบันทึกถ้อยคำพยานเจ้าหนี้ในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าหนี้คงให้การเกี่ยวกับมูลหนี้ตามสัญญาจำนำหุ้นเท่านั้น โดยมิได้ให้การเกี่ยวกับมูลหนี้กู้ยืมเงินของบริษัท ม. เมื่อเจ้าหนี้มิได้นำสืบให้เห็นว่า มูลหนี้กู้ยืมเงินของบริษัท ม. อันเป็นมูลหนี้ประธานมีเพียงใด ศาลย่อมมิอาจพิพากษาให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในหนี้จำนำหุ้นอันเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้จำนำตามคำขอรับชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าหนี้ไม่มีพยานมาให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อันทำให้ศาลมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้นั้น ไม่ใช่เหตุที่ทำให้การจำนำระงับสิ้นไป สิทธิจำนำยังคงมีอยู่ หากเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนำเพียงใด เจ้าหนี้สามารถบังคับจำนำในทางแพ่งต่อไปได้ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของเจ้าหนี้ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ
หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและค่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ เป็นหนี้ที่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอนและนำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามมาตรา 8 (9) จำเลยมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งยังจดทะเบียนเลิกบริษัท กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
โจทก์ฟ้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย
จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลล้มละลายกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับ ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและในศาลชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลย เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า หนี้ตามฟ้องนั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขาย 31,000,000 บาท และค่าสินค้าที่สั่งซื้อซึ่งจำเลยค้างชำระแก่โจทก์ 343,976,286.27 บาท รวมเป็นเงิน 374,976,286.27 บาท โดยโจทก์แนบหนังสือข้อตกลงการจ่ายเงินทดรองและสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษีพร้อมรายการสรุปเอกสารแนบท้ายคำฟ้องมาพร้อมกับฟ้อง ซึ่งหนังสือข้อตกลงการจ่ายเงินทดรองมีการระบุจำนวนเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและข้อตกลงที่จำเลยจะคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ไว้อย่างชัดเจน ส่วนสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษีก็มีการระบุชื่อจำเลยเป็นลูกค้าโดยมีรายการสินค้าและจำนวนเงินค่าสินค้าที่ส่งมอบในแต่ละครั้ง ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ตามรายการที่โจทก์ฟ้องล้วนขัดต่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและค่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนกันและจำเลยอาจใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ได้ นั้น กรณีดังกล่าวหาทำให้หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องซึ่งเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้วกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนอีกไม่ อีกทั้งหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เนื่องจากพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อนแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) แล้ว จำเลยมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ที่จำเลยนำสืบและฎีกาว่า หนี้ตามฟ้องโจทก์มีเพียง 374,976,286.27 บาท แต่จำเลยมีทรัพย์สินและลูกหนี้การค้า รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 395,966,852.38 บาท เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามฟ้อง จำเลยจึงไม่ได้มีหนี้สินล้นพ้นตัว นั้น เห็นว่า เมื่อพิจารณาทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องที่จำเลยอ้างว่าจะได้รับ ประกอบกับข้อฎีกาของจำเลยเกี่ยวกับทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องแต่ละรายการตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าว โดยเฉพาะเงินฝากในบัญชีธนาคารที่จำเลยฎีกาว่า ณ วันที่โจทก์ฟ้องคดีมีจำนวน 106,597,160.68 บาท แม้เอกสารดังกล่าวบางฉบับเป็นสำเนาเอกสาร บางฉบับเป็นรายการเดินบัญชีซึ่งพิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์ตามที่โจทก์แก้ฎีกามาก็ตาม แต่จำเลยก็ได้แนบเอกสารฉบับที่เจ้าหน้าที่ธนาคารรับรองมาท้ายคำแถลงการณ์ปิดคดี ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยมีเงินฝากในบัญชีธนาคารจำนวนดังกล่าวตามที่จำเลยฎีกา อย่างไรก็ตามในส่วนยานพาหนะที่จำเลยฎีกาว่ามีมูลค่าทางบัญชี 5,964,127.24 บาท แต่มีมูลค่าที่แท้จริง 14,930,000 บาท และอ้างว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ปรากฏในงบการเงินเป็นเพียงการแสดงมูลค่าทางบัญชีเท่านั้น ไม่ใช่มูลค่าทรัพย์สินที่ซื้อขายกันจริงตามท้องตลาด และตามปกติแล้วมูลค่าทางบัญชีจะน้อยกว่าราคาท้องตลาด นั้น นางสาวสุขกมล พยานจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า จำเลยประเมินราคาโดยเชิญศูนย์รถยนต์มาร่วมประเมินด้วย แต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานใดมาสนับสนุนว่าการประเมินราคาเป็นการประเมินโดยผู้ใดและใช้หลักเกณฑ์อย่างไรในการประเมิน ลำพังเอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นเองและสำเนาใบคู่มือจดทะเบียน ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่ายานพาหนะมีมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีดังที่จำเลยอ้าง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ส. ชำระค่าบริการจัดการจำนวน 29,161,564 บาท ซึ่งพยานจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า ค่าบริการจัดการค้างรับตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 จำเลยได้ออกใบแจ้งหนี้ไปยังบริษัท ส. และมีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายแล้ว ซึ่งเป็นใบสรุปรายการ ปรากฏรายการยอดยกมาก่อนวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 จำนวน 41,481,652 บาท จำเลยมิได้นำสืบเกี่ยวกับจำนวนเงินดังกล่าวว่าเป็นค่าบริการจัดการค้างรับเมื่อใด ทั้งไม่มีใบแจ้งหนี้แนบท้าย นอกจากนี้ตามใบสรุปรายการก็ปรากฏรายการบันทึกรับค่าบริการจัดการและปรับปรุงล้างค่าบริการจัดการค้างรับ ซึ่งจำเลยก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดดังกล่าวว่าเป็นการรับชำระหนี้รายการใดหรือเหตุใดจึงต้องปรับปรุงรายการ กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ส. ชำระค่าบริการจัดการจำนวน 29,161,564 บาท ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าภาษีนิติบุคคล และค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่จำเลยรอเรียกคืน จำนวน 38,165,534.49 บาท ตามเอกสารหมาย ล.41 ถึง ล.45 นั้น เมื่อพิจารณาเอกสารดังกล่าวแล้ว เอกสารหมาย ล.41 เป็นเอกสารที่จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรเนื่องจากตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 มีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ มิใช่กรณีมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายที่จะถือว่าจำเลยชำระภาษีไว้เกิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้รับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไปคืนจากกรมสรรพากร ส่วนเอกสารหมาย ล. 42 และ ล.43 จำเลยมีเพียงสำเนาหน้าแรกของแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ.ง.ด. 50 มาแสดง โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนว่าจำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าวต่อกรมสรรพากรแล้วและมีสิทธิขอคืนภาษีจริง จึงไม่เพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้กรมสรรพากรคืนเงินภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนเอกสารหมาย ล.44 และ ล.45 ก็มีเพียงรายการสรุปที่จำเลยจัดทำขึ้นมาเองโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องที่จะเรียกคืนค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช่นกัน ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าเงินค่าภาษีที่จำเลยรอเรียกคืนตามเอกสารหมาย ล.41 ถึง ล.45 เป็นส่วนหนึ่งของค่าโปรโมชั่นส่งเสริมการขายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระคืนแก่จำเลย หากจำเลยไม่ได้รับเงินคืนจากกรมสรรพากร โจทก์ก็ต้องรับผิดคืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลย เห็นว่า แม้จำเลยจะมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย และโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย แต่รายการภาษีดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ชำระค่าโปรโมชั่นส่งเสริมการขายไม่เกี่ยวข้องกับรายการภาษีที่จำเลยอ้างว่ารอเรียกคืนจากกรมสรรพากรตามเอกสารหมาย ล.41 ถึง ล.45 แต่อย่างใด พยานหลักฐานของจำเลยยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยมีสิทธิเรียกคืนค่าภาษีจากกรมสรรพากรหรือจากโจทก์ และที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินค่าสนับสนุนหนี้สูญในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดขายทั้งหมด ค่าสินค้าชำรุดบกพร่องเสียหายและสินค้าดีที่ลูกค้าส่งคืนและจำเลยต้องสำรองจ่ายเงินให้แก่ลูกค้าแทนโจทก์ และค่าโปรโมชั่นส่งเสริมการขายรวมเป็นเงิน 195,477,916.61 บาท ปรากฏว่ารายการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายการที่จำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.1855/2563 ซึ่งศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าโจทก์จะต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยหรือไม่ เพียงใด แต่ไม่ว่าจำเลยจะมีสิทธิหักกลบลบหนี้จำนวนดังกล่าวกับหนี้ตามฟ้องโจทก์หรือไม่ก็ตาม ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องรายการอื่นซึ่งไม่ได้แยกวินิจฉัยให้นั้นมีมูลค่าหรือคิดเป็นจำนวนเงินไม่มาก แม้จะรับฟังว่ามีมูลค่าตามที่จำเลยอ้างรวมกับมูลค่าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่ารับฟังได้ก็มีจำนวนเงินรวมไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งหมด พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งยังจดทะเบียนเลิกบริษัท กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับ ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน และไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้ออื่นตามฎีกาของจำเลยต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและค่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ เป็นหนี้ที่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอนและนำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามมาตรา 8 (9) จำเลยมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว แต่พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งยังจดทะเบียนเลิกบริษัท กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
โจทก์ฟ้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย
จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลล้มละลายกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับ ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและในศาลชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์โดยหักจากกองทรัพย์สินของจำเลย เฉพาะค่าทนายความให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดตามที่เห็นสมควร
จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า หนี้ตามฟ้องนั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ เห็นว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้นั้น โจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขาย 31,000,000 บาท และค่าสินค้าที่สั่งซื้อซึ่งจำเลยค้างชำระแก่โจทก์ 343,976,286.27 บาท รวมเป็นเงิน 374,976,286.27 บาท โดยโจทก์แนบหนังสือข้อตกลงการจ่ายเงินทดรองและสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษีพร้อมรายการสรุปเอกสารแนบท้ายคำฟ้องมาพร้อมกับฟ้อง ซึ่งหนังสือข้อตกลงการจ่ายเงินทดรองมีการระบุจำนวนเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและข้อตกลงที่จำเลยจะคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ไว้อย่างชัดเจน ส่วนสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษีก็มีการระบุชื่อจำเลยเป็นลูกค้าโดยมีรายการสินค้าและจำนวนเงินค่าสินค้าที่ส่งมอบในแต่ละครั้ง ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ตามรายการที่โจทก์ฟ้องล้วนขัดต่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ค่าเงินยืมเพื่อทดรองจ่ายในกิจกรรมส่งเสริมการขายและค่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ที่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนกันและจำเลยอาจใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ได้ นั้น กรณีดังกล่าวหาทำให้หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องซึ่งเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้วกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนอีกไม่ อีกทั้งหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เนื่องจากพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่าหนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อนแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) แล้ว จำเลยมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ที่จำเลยนำสืบและฎีกาว่า หนี้ตามฟ้องโจทก์มีเพียง 374,976,286.27 บาท แต่จำเลยมีทรัพย์สินและลูกหนี้การค้า รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 395,966,852.38 บาท เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามฟ้อง จำเลยจึงไม่ได้มีหนี้สินล้นพ้นตัว นั้น เห็นว่า เมื่อพิจารณาทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องที่จำเลยอ้างว่าจะได้รับ ประกอบกับข้อฎีกาของจำเลยเกี่ยวกับทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องแต่ละรายการตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าว โดยเฉพาะเงินฝากในบัญชีธนาคารที่จำเลยฎีกาว่า ณ วันที่โจทก์ฟ้องคดีมีจำนวน 106,597,160.68 บาท แม้เอกสารดังกล่าวบางฉบับเป็นสำเนาเอกสาร บางฉบับเป็นรายการเดินบัญชีซึ่งพิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์ตามที่โจทก์แก้ฎีกามาก็ตาม แต่จำเลยก็ได้แนบเอกสารฉบับที่เจ้าหน้าที่ธนาคารรับรองมาท้ายคำแถลงการณ์ปิดคดี ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยมีเงินฝากในบัญชีธนาคารจำนวนดังกล่าวตามที่จำเลยฎีกา อย่างไรก็ตามในส่วนยานพาหนะที่จำเลยฎีกาว่ามีมูลค่าทางบัญชี 5,964,127.24 บาท แต่มีมูลค่าที่แท้จริง 14,930,000 บาท และอ้างว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ปรากฏในงบการเงินเป็นเพียงการแสดงมูลค่าทางบัญชีเท่านั้น ไม่ใช่มูลค่าทรัพย์สินที่ซื้อขายกันจริงตามท้องตลาด และตามปกติแล้วมูลค่าทางบัญชีจะน้อยกว่าราคาท้องตลาด นั้น นางสาวสุขกมล พยานจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า จำเลยประเมินราคาโดยเชิญศูนย์รถยนต์มาร่วมประเมินด้วย แต่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานใดมาสนับสนุนว่าการประเมินราคาเป็นการประเมินโดยผู้ใดและใช้หลักเกณฑ์อย่างไรในการประเมิน ลำพังเอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นเองและสำเนาใบคู่มือจดทะเบียน ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่ายานพาหนะมีมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่ามูลค่าทางบัญชีดังที่จำเลยอ้าง ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ส. ชำระค่าบริการจัดการจำนวน 29,161,564 บาท ซึ่งพยานจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า ค่าบริการจัดการค้างรับตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 จำเลยได้ออกใบแจ้งหนี้ไปยังบริษัท ส. และมีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายแล้ว ซึ่งเป็นใบสรุปรายการ ปรากฏรายการยอดยกมาก่อนวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 จำนวน 41,481,652 บาท จำเลยมิได้นำสืบเกี่ยวกับจำนวนเงินดังกล่าวว่าเป็นค่าบริการจัดการค้างรับเมื่อใด ทั้งไม่มีใบแจ้งหนี้แนบท้าย นอกจากนี้ตามใบสรุปรายการก็ปรากฏรายการบันทึกรับค่าบริการจัดการและปรับปรุงล้างค่าบริการจัดการค้างรับ ซึ่งจำเลยก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดดังกล่าวว่าเป็นการรับชำระหนี้รายการใดหรือเหตุใดจึงต้องปรับปรุงรายการ กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ส. ชำระค่าบริการจัดการจำนวน 29,161,564 บาท ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าภาษีนิติบุคคล และค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่จำเลยรอเรียกคืน จำนวน 38,165,534.49 บาท ตามเอกสารหมาย ล.41 ถึง ล.45 นั้น เมื่อพิจารณาเอกสารดังกล่าวแล้ว เอกสารหมาย ล.41 เป็นเอกสารที่จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรเนื่องจากตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30 มีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ มิใช่กรณีมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายที่จะถือว่าจำเลยชำระภาษีไว้เกิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้รับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไปคืนจากกรมสรรพากร ส่วนเอกสารหมาย ล. 42 และ ล.43 จำเลยมีเพียงสำเนาหน้าแรกของแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ.ง.ด. 50 มาแสดง โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนว่าจำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการดังกล่าวต่อกรมสรรพากรแล้วและมีสิทธิขอคืนภาษีจริง จึงไม่เพียงพอให้รับฟังว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้กรมสรรพากรคืนเงินภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนเอกสารหมาย ล.44 และ ล.45 ก็มีเพียงรายการสรุปที่จำเลยจัดทำขึ้นมาเองโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องที่จะเรียกคืนค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย เช่นกัน ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าเงินค่าภาษีที่จำเลยรอเรียกคืนตามเอกสารหมาย ล.41 ถึง ล.45 เป็นส่วนหนึ่งของค่าโปรโมชั่นส่งเสริมการขายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระคืนแก่จำเลย หากจำเลยไม่ได้รับเงินคืนจากกรมสรรพากร โจทก์ก็ต้องรับผิดคืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลย เห็นว่า แม้จำเลยจะมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย และโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย แต่รายการภาษีดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ชำระค่าโปรโมชั่นส่งเสริมการขายไม่เกี่ยวข้องกับรายการภาษีที่จำเลยอ้างว่ารอเรียกคืนจากกรมสรรพากรตามเอกสารหมาย ล.41 ถึง ล.45 แต่อย่างใด พยานหลักฐานของจำเลยยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่า จำเลยมีสิทธิเรียกคืนค่าภาษีจากกรมสรรพากรหรือจากโจทก์ และที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินค่าสนับสนุนหนี้สูญในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดขายทั้งหมด ค่าสินค้าชำรุดบกพร่องเสียหายและสินค้าดีที่ลูกค้าส่งคืนและจำเลยต้องสำรองจ่ายเงินให้แก่ลูกค้าแทนโจทก์ และค่าโปรโมชั่นส่งเสริมการขายรวมเป็นเงิน 195,477,916.61 บาท ปรากฏว่ารายการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายการที่จำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.1855/2563 ซึ่งศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าโจทก์จะต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยหรือไม่ เพียงใด แต่ไม่ว่าจำเลยจะมีสิทธิหักกลบลบหนี้จำนวนดังกล่าวกับหนี้ตามฟ้องโจทก์หรือไม่ก็ตาม ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องรายการอื่นซึ่งไม่ได้แยกวินิจฉัยให้นั้นมีมูลค่าหรือคิดเป็นจำนวนเงินไม่มาก แม้จะรับฟังว่ามีมูลค่าตามที่จำเลยอ้างรวมกับมูลค่าทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่ารับฟังได้ก็มีจำนวนเงินรวมไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งหมด พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งยังจดทะเบียนเลิกบริษัท กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษากลับ ให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน และไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้ออื่นตามฎีกาของจำเลยต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์นำเหล็กเส้นมาใช้หรือเตรียมใช้ในการก่อสร้างอาคารให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญา เหล็กเส้นดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของการงานที่โจทก์ทำค้างไว้และเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 382 จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำเหล็กเส้นดังกล่าวไป โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เหล็กเส้นที่จำเลยที่ 1 นำไป
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงิน 2,745,549.27 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 1,507,293.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 1,295,259 บาท นับแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และของต้นเงินจำนวน 212,034.20 บาท นับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ราคาเหล็กเส้นจำนวน 212,034.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารตึก 4 ชั้น พร้อมดาดฟ้า กำหนดแล้วเสร็จภายใน 365 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2560 ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2561 หากไม่แล้วเสร็จตามสัญญา โจทก์ยินยอมให้ปรับวันละ 2,000 บาท ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์ก่อสร้างและส่งมอบงานให้จำเลยที่ 1 ไป 3 งวด และได้รับค่าจ้างแล้ว ต่อมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือขอยกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ได้นำเหล็กเส้นราคา 212,034.20 บาท ที่โจทก์เก็บไว้ที่บริเวณที่พักคนงานไป สำหรับปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานบางส่วนของงานงวดที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นเงิน 1,295,259 บาท จากจำเลยที่ 1 หรือไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ และยกฟ้องโจทก์สำหรับค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์และโอกาส และยกฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในปัญหาดังกล่าว คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้ง ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เพียงประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ราคาเหล็กเส้นที่จำเลยที่ 1 นำไปหรือไม่ เห็นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการรับเหมาก่อสร้างและได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 1 โดยมีการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและมีสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเป็นพยานหลักฐานสนับสนุน โจทก์กล่าวอ้างว่าเหล็กเส้นที่อยู่ในที่พักคนงานของโจทก์นั้นโจทก์เตรียมไว้ใช้ในการก่อสร้างอีกสัญญาหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ที่ก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 แต่โจทก์กลับไม่มีรายละเอียดของสัญญาและไม่มีหนังสือสัญญารับจ้างก่อสร้างดังเช่นที่ทำกับจำเลยที่ 1 มานำสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นจริงตามที่กล่าวอ้าง ทั้ง ๆ ที่โจทก์ดำเนินธุรกิจในรูปบริษัทจำกัดซึ่งจะต้องมีระเบียบแบบแผนและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง จึงมีพิรุธ ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ นายศักดิ์สิทธิ์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านยอมรับว่าโจทก์ไม่มีสถานที่จัดเก็บวัสดุจึงเช่าพื้นที่โรงเรียนเป็นที่จัดเก็บพัสดุ เหล็กเส้นที่จำเลยที่ 1 นำออกไปนั้น พยานทราบว่านำไปใช้ต่อในอีกโครงการที่โจทก์เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างแต่ไม่แล้วเสร็จ เจือสมกับคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ทำให้พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ประกอบกับสถานที่ที่โจทก์วางเหล็กเส้นไว้นั้นอยู่ห่างจากสถานที่ก่อสร้างเพียง 400 ถึง 500 เมตร เท่านั้น ถือว่าไม่ไกลนัก มีความสะดวกที่โจทก์จะนำเหล็กเส้นไปใช้ก่อสร้างตามสัญญาจ้างที่ทำกับจำเลยที่ 1 ทั้งโจทก์ยังใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่พักอาศัยคนงานของโจทก์อีกด้วย ข้อเท็จจริงดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าการที่โจทก์นำเหล็กเส้นไปวางไว้ ณ ที่ดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างของโจทก์เอง หลังจากมีการเลิกสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 ก็นำเหล็กเส้นดังกล่าวไปใช้ต่อในโครงการที่โจทก์เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างแต่ไม่แล้วเสร็จ ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า โจทก์ซื้อเหล็กเส้นมาด้วยเงินของโจทก์เอง เหล็กเส้นจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งหากเป็นเหล็กเส้นที่โจทก์จะนำไปใช้ในโครงการก่อสร้างที่พิพาท โจทก์จะให้รถบรรทุกเหล็กเส้นยกลงบริเวณสถานที่ก่อสร้างแล้วนั้น ก็ขัดกับคำเบิกความของนายศักดิ์สิทธิ์ที่ตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า โจทก์ไม่มีสถานที่จัดเก็บวัสดุที่ใช้ก่อสร้างจึงเช่าพื้นที่ของโรงเรียนเพื่อวางเหล็กเส้น ข้ออ้างของโจทก์จึงขัดต่อเหตุผล พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าโจทก์นำเหล็กเส้นมาใช้หรือเตรียมใช้ในการก่อสร้างอาคารให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญา เหล็กเส้นดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของการงานที่โจทก์ทำค้างไว้และเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำเหล็กเส้นดังกล่าวไป โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เหล็กเส้นที่จำเลยที่ 1 นำไป ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าว ได้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และมาตรา 224 วรรคแรก เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ปัญหาการกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง และกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 1,295,259 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 นั้น ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
โจทก์นำเหล็กเส้นมาใช้หรือเตรียมใช้ในการก่อสร้างอาคารให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญา เหล็กเส้นดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของการงานที่โจทก์ทำค้างไว้และเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 382 จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำเหล็กเส้นดังกล่าวไป โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เหล็กเส้นที่จำเลยที่ 1 นำไป
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงิน 2,745,549.27 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 1,507,293.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 1,295,259 บาท นับแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และของต้นเงินจำนวน 212,034.20 บาท นับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ราคาเหล็กเส้นจำนวน 212,034.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารตึก 4 ชั้น พร้อมดาดฟ้า กำหนดแล้วเสร็จภายใน 365 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2560 ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2561 หากไม่แล้วเสร็จตามสัญญา โจทก์ยินยอมให้ปรับวันละ 2,000 บาท ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์ก่อสร้างและส่งมอบงานให้จำเลยที่ 1 ไป 3 งวด และได้รับค่าจ้างแล้ว ต่อมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือขอยกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ได้นำเหล็กเส้นราคา 212,034.20 บาท ที่โจทก์เก็บไว้ที่บริเวณที่พักคนงานไป สำหรับปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานบางส่วนของงานงวดที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นเงิน 1,295,259 บาท จากจำเลยที่ 1 หรือไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ และยกฟ้องโจทก์สำหรับค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์และโอกาส และยกฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในปัญหาดังกล่าว คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้ง ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์เพียงประการเดียวว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ราคาเหล็กเส้นที่จำเลยที่ 1 นำไปหรือไม่ เห็นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการรับเหมาก่อสร้างและได้ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 1 โดยมีการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและมีสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเป็นพยานหลักฐานสนับสนุน โจทก์กล่าวอ้างว่าเหล็กเส้นที่อยู่ในที่พักคนงานของโจทก์นั้นโจทก์เตรียมไว้ใช้ในการก่อสร้างอีกสัญญาหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ที่ก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 แต่โจทก์กลับไม่มีรายละเอียดของสัญญาและไม่มีหนังสือสัญญารับจ้างก่อสร้างดังเช่นที่ทำกับจำเลยที่ 1 มานำสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นจริงตามที่กล่าวอ้าง ทั้ง ๆ ที่โจทก์ดำเนินธุรกิจในรูปบริษัทจำกัดซึ่งจะต้องมีระเบียบแบบแผนและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง จึงมีพิรุธ ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ นายศักดิ์สิทธิ์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ก็เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านยอมรับว่าโจทก์ไม่มีสถานที่จัดเก็บวัสดุจึงเช่าพื้นที่โรงเรียนเป็นที่จัดเก็บพัสดุ เหล็กเส้นที่จำเลยที่ 1 นำออกไปนั้น พยานทราบว่านำไปใช้ต่อในอีกโครงการที่โจทก์เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างแต่ไม่แล้วเสร็จ เจือสมกับคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ทำให้พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ประกอบกับสถานที่ที่โจทก์วางเหล็กเส้นไว้นั้นอยู่ห่างจากสถานที่ก่อสร้างเพียง 400 ถึง 500 เมตร เท่านั้น ถือว่าไม่ไกลนัก มีความสะดวกที่โจทก์จะนำเหล็กเส้นไปใช้ก่อสร้างตามสัญญาจ้างที่ทำกับจำเลยที่ 1 ทั้งโจทก์ยังใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่พักอาศัยคนงานของโจทก์อีกด้วย ข้อเท็จจริงดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าการที่โจทก์นำเหล็กเส้นไปวางไว้ ณ ที่ดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างของโจทก์เอง หลังจากมีการเลิกสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 ก็นำเหล็กเส้นดังกล่าวไปใช้ต่อในโครงการที่โจทก์เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างแต่ไม่แล้วเสร็จ ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า โจทก์ซื้อเหล็กเส้นมาด้วยเงินของโจทก์เอง เหล็กเส้นจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งหากเป็นเหล็กเส้นที่โจทก์จะนำไปใช้ในโครงการก่อสร้างที่พิพาท โจทก์จะให้รถบรรทุกเหล็กเส้นยกลงบริเวณสถานที่ก่อสร้างแล้วนั้น ก็ขัดกับคำเบิกความของนายศักดิ์สิทธิ์ที่ตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า โจทก์ไม่มีสถานที่จัดเก็บวัสดุที่ใช้ก่อสร้างจึงเช่าพื้นที่ของโรงเรียนเพื่อวางเหล็กเส้น ข้ออ้างของโจทก์จึงขัดต่อเหตุผล พฤติการณ์ดังกล่าวเชื่อได้ว่าโจทก์นำเหล็กเส้นมาใช้หรือเตรียมใช้ในการก่อสร้างอาคารให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญา เหล็กเส้นดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของการงานที่โจทก์ทำค้างไว้และเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำเหล็กเส้นดังกล่าวไป โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เหล็กเส้นที่จำเลยที่ 1 นำไป ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าว ได้แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และมาตรา 224 วรรคแรก เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ปัญหาการกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง และกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 1,295,259 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 นั้น ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ผู้กระทำต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร แต่เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบคงได้ความเพียงว่า ตามวันและเวลาเกิดเหตุในฟ้อง พันตำรวจตรี ช. ได้รับแจ้งจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายว่า ที่ร้าน ว. มีการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรมาเสนอจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป พันตำรวจตรี ช. และ บ. กับพวก จึงนำหมายค้นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเข้าตรวจค้นที่ร้านดังกล่าว พบว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จึงจับกุมจำเลยและยึดของกลางส่งพนักงานสอบสวน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่า จำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร กลับได้ความจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายให้การว่า สินค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย คงมีจำหน่ายเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้น โดยผู้เสียหายยังไม่ได้มอบหมายให้ตัวแทนรายใดเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย อันแสดงได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งในส่วนนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เครื่องหมายที่ติดบนสินค้าของกลางเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขน จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นเครื่องหมายที่บุคคลใดก็สามารถนำไปใช้ได้ สอดคล้องกับที่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนโดยอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าของกลางมาเพื่อขายต่อ โดยไม่ทราบว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น และจำเลยยังมีบาทหลวง ท. เจ้าอาวาสวัด น. เป็นพยานเบิกความว่า เครื่องหมายการค้าตามฟ้องเป็นรูปกางเขนของศาสนาคริสต์ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าด้วยตนเอง และการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบกับการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายมีลักษณะใกล้เคียงกับไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ที่ประชาชนหรือผู้ขายสินค้าทั่วไปจะไม่รู้จักเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และอาจเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏบนสินค้าของกลางเป็นไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยรู้หรือไม่ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 108, 109, 110, 115 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 ริบของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน แต่ให้ริบของกลาง
โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า บริษัท ค. ผู้เสียหาย จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่น ประกอบกิจการขายสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งกระเป๋าใส่เงิน กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ ผู้เสียหายได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค319393 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 14 รายการสินค้า เช่น กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ เป็นต้น เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค314961 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 18 รายการสินค้า เช่น กระเป๋าใส่เงิน เป็นต้น เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค314964 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 18 รายการสินค้า เช่น กระเป๋าใส่เงิน เป็นต้น และเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค319395 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 14 รายการสินค้า เช่น กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ เป็นต้น ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 70 ใบ ที่มีเครื่องหมายและกำไลข้อมือ 3 วง พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า 3 อัน แหวน 168 วง กระดุมข้อมือเสื้อ 19 อัน ที่มีเครื่องหมายอันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร และจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 23 ใบ ที่มีเครื่องหมาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยพร้อมยึดกระเป๋าใส่เงิน กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน และกระดุมข้อมือเสื้อ รวม 5 รายการ จำนวน 286 ชิ้น อันเป็นสินค้าที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 70 ใบ ที่มีเครื่องหมาย และ กำไลข้อมือ 3 วง พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า 3 อัน แหวน 168 วง กระดุมข้อมือเสื้อ 19 อัน ที่มีเครื่องหมาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยชอบแล้ว และจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 23 ใบ ที่มีเครื่องหมาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหาย เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยชอบแล้ว โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีการปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 108, 109, 110, 115 ซึ่งการกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ผู้กระทำต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักรจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร แต่เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ได้แก่ บันทึกคำให้การของนายบรรเทิง ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหาย บันทึกคำให้การของพันตำรวจตรีชัยวัฒน์ เจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจค้นจับกุม และบันทึกการตรวจค้น/จับกุม คงได้ความเพียงว่า ตามวันและเวลาเกิดเหตุในฟ้อง พันตำรวจตรีชัยวัฒน์ได้รับแจ้งจากนายบรรเทิง ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายว่า ที่ร้าน ว. มีการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรมาเสนอจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป พันตำรวจตรีชัยวัฒน์และนายบรรเทิงกับพวกจึงนำหมายค้นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเข้าตรวจค้นที่ร้านดังกล่าว พบว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จึงจับกุมจำเลยและยึดของกลางส่งพนักงานสอบสวน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร กลับได้ความจากนายบรรเทิง ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายให้การว่า สินค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีจำหน่ายเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้น โดยผู้เสียหายยังไม่ได้มอบหมายให้ตัวแทนรายใดเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย อันแสดงได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งในส่วนนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เครื่องหมายที่ติดบนสินค้าของกลางเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขน จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นเครื่องหมายที่บุคคลใดก็สามารถนำไปใช้ได้ สอดคล้องกับที่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนโดยอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าของกลางมาเพื่อขายต่อ โดยไม่ทราบว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น และจำเลยยังมีบาทหลวงทวีศักดิ์ เจ้าอาวาสวัด น. เป็นพยานเบิกความว่า เป็นภาพถ่ายรูปกางเขนที่มีการสลักเป็นสัญลักษณ์ที่พระแท่นภายในโบสถ์วัด ก. ตั้งแต่เริ่มสร้างโบสถ์ในปี ค.ศ. 1883 และเครื่องหมายการค้าตามฟ้องเป็นรูปกางเขนของศาสนาคริสต์ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าด้วยตนเอง และการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบกับการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายมีลักษณะใกล้เคียงกับไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ที่ประชาชนหรือผู้ขายสินค้าทั่วไปจะไม่รู้จักเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และอาจเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏบนสินค้าของกลางเป็นไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ ที่โจทก์ฎีกาว่า สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยมีราคาถูกกว่าสินค้าของผู้เสียหายหลายเท่า จำเลยจึงต้องรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายนั้น ก็ไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่าสินค้าของผู้เสียหายจำหน่ายที่ต่างประเทศในราคาเท่าไร พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยรู้หรือไม่ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ผู้กระทำต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่าย เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร แต่เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบคงได้ความเพียงว่า ตามวันและเวลาเกิดเหตุในฟ้อง พันตำรวจตรี ช. ได้รับแจ้งจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายว่า ที่ร้าน ว. มีการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรมาเสนอจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป พันตำรวจตรี ช. และ บ. กับพวก จึงนำหมายค้นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเข้าตรวจค้นที่ร้านดังกล่าว พบว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จึงจับกุมจำเลยและยึดของกลางส่งพนักงานสอบสวน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่า จำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร กลับได้ความจาก บ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายให้การว่า สินค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย คงมีจำหน่ายเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้น โดยผู้เสียหายยังไม่ได้มอบหมายให้ตัวแทนรายใดเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย อันแสดงได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งในส่วนนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เครื่องหมายที่ติดบนสินค้าของกลางเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขน จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นเครื่องหมายที่บุคคลใดก็สามารถนำไปใช้ได้ สอดคล้องกับที่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนโดยอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าของกลางมาเพื่อขายต่อ โดยไม่ทราบว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น และจำเลยยังมีบาทหลวง ท. เจ้าอาวาสวัด น. เป็นพยานเบิกความว่า เครื่องหมายการค้าตามฟ้องเป็นรูปกางเขนของศาสนาคริสต์ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าด้วยตนเอง และการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบกับการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายมีลักษณะใกล้เคียงกับไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ที่ประชาชนหรือผู้ขายสินค้าทั่วไปจะไม่รู้จักเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และอาจเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏบนสินค้าของกลางเป็นไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยรู้หรือไม่ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 108, 109, 110, 115 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 ริบของกลาง
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืน แต่ให้ริบของกลาง
โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า บริษัท ค. ผู้เสียหาย จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่น ประกอบกิจการขายสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งกระเป๋าใส่เงิน กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ ผู้เสียหายได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค319393 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 14 รายการสินค้า เช่น กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ เป็นต้น เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค314961 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 18 รายการสินค้า เช่น กระเป๋าใส่เงิน เป็นต้น เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค314964 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 18 รายการสินค้า เช่น กระเป๋าใส่เงิน เป็นต้น และเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค319395 สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 14 รายการสินค้า เช่น กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน กระดุมข้อมือเสื้อ เป็นต้น ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุในฟ้อง จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 70 ใบ ที่มีเครื่องหมายและกำไลข้อมือ 3 วง พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า 3 อัน แหวน 168 วง กระดุมข้อมือเสื้อ 19 อัน ที่มีเครื่องหมายอันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร และจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 23 ใบ ที่มีเครื่องหมาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยพร้อมยึดกระเป๋าใส่เงิน กำไลข้อมือ พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า แหวน และกระดุมข้อมือเสื้อ รวม 5 รายการ จำนวน 286 ชิ้น อันเป็นสินค้าที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 70 ใบ ที่มีเครื่องหมาย และ กำไลข้อมือ 3 วง พวงกุญแจทำด้วยโลหะมีค่า 3 อัน แหวน 168 วง กระดุมข้อมือเสื้อ 19 อัน ที่มีเครื่องหมาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยชอบแล้ว และจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้ากระเป๋าใส่เงิน 23 ใบ ที่มีเครื่องหมาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำเลียนเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหาย เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยชอบแล้ว โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีการปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 108, 109, 110, 115 ซึ่งการกระทำที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ผู้กระทำต้องรู้ว่าสินค้าที่ตนนำเข้ามาในราชอาณาจักรจำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร แต่เมื่อพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ได้แก่ บันทึกคำให้การของนายบรรเทิง ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหาย บันทึกคำให้การของพันตำรวจตรีชัยวัฒน์ เจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจค้นจับกุม และบันทึกการตรวจค้น/จับกุม คงได้ความเพียงว่า ตามวันและเวลาเกิดเหตุในฟ้อง พันตำรวจตรีชัยวัฒน์ได้รับแจ้งจากนายบรรเทิง ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายว่า ที่ร้าน ว. มีการนำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรมาเสนอจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป พันตำรวจตรีชัยวัฒน์และนายบรรเทิงกับพวกจึงนำหมายค้นของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเข้าตรวจค้นที่ร้านดังกล่าว พบว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร จึงจับกุมจำเลยและยึดของกลางส่งพนักงานสอบสวน แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่าจำเลยรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร กลับได้ความจากนายบรรเทิง ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้เสียหายให้การว่า สินค้าของผู้เสียหายยังไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีจำหน่ายเฉพาะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้น โดยผู้เสียหายยังไม่ได้มอบหมายให้ตัวแทนรายใดเป็นตัวแทนในการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย อันแสดงได้ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งในส่วนนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เครื่องหมายที่ติดบนสินค้าของกลางเป็นสัญลักษณ์ไม้กางเขน จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นเครื่องหมายที่บุคคลใดก็สามารถนำไปใช้ได้ สอดคล้องกับที่จำเลยให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนโดยอ้างว่า จำเลยซื้อสินค้าของกลางมาเพื่อขายต่อ โดยไม่ทราบว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น และจำเลยยังมีบาทหลวงทวีศักดิ์ เจ้าอาวาสวัด น. เป็นพยานเบิกความว่า เป็นภาพถ่ายรูปกางเขนที่มีการสลักเป็นสัญลักษณ์ที่พระแท่นภายในโบสถ์วัด ก. ตั้งแต่เริ่มสร้างโบสถ์ในปี ค.ศ. 1883 และเครื่องหมายการค้าตามฟ้องเป็นรูปกางเขนของศาสนาคริสต์ โดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าด้วยตนเอง และการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบกับการที่เครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายมีลักษณะใกล้เคียงกับไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ที่ประชาชนหรือผู้ขายสินค้าทั่วไปจะไม่รู้จักเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย และอาจเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏบนสินค้าของกลางเป็นไม้กางเขนในศาสนาคริสต์ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้ ที่โจทก์ฎีกาว่า สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยมีราคาถูกกว่าสินค้าของผู้เสียหายหลายเท่า จำเลยจึงต้องรู้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายนั้น ก็ไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์เลยว่าสินค้าของผู้เสียหายจำหน่ายที่ต่างประเทศในราคาเท่าไร พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยรู้หรือไม่ว่าสินค้าของกลางที่จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 40 วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
คดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำผิดของจำเลยกับพวกมาเป็นข้อ ๆ โดยมีคำขอท้ายฟ้องตาม ป.อ. มาตรา 91 และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีจากข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้วปรากฏว่า จำเลยกับพวกมีเจตนาประการเดียวคือมุ่งประสงค์ที่จะหลอกลวงผู้เสียหายที่ 3 โอนเงินชำระค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ตกลงสั่งซื้อนั้นเอง ความผิดฐานร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ฐานร่วมกันแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ฐานโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นฐานร่วมกันปลอมเอกสารและฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอม จึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90 หาใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ตามที่โจทก์อ้างในฎีกา
ส่วนปัญหาที่ว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานหนักหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยมิชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งและมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3, 83, 91, 264, 268, 341, 342, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7, 9, 14 (1) ประกอบวรรคสอง ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่ประทุษร้ายยังไม่ได้คืน 3,179,930 บาท ให้แก่ผู้เสียหายที่ 3
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264, 342 (1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7, 9, 14 (1) วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่ยังไม่ได้คืน 3,179,930 บาท ให้แก่ผู้เสียหายที่ 3
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก (เดิม) , 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก (เดิม), 342 (1) (เดิม) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7, 9, 14 (1) วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 9 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันหรือไม่ เห็นว่า แม้คดีนี้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำผิดของจำเลยกับพวกมาเป็นข้อ ๆ โดยมีคำขอท้ายฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาด้วย และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีจากข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้วปรากฏว่าการที่จำเลยได้เข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมลของผู้เสียหายที่ 1 โดยนางสาวลินจง บัญชีชื่อ kxxx@royaluniversallace.com ซึ่งมีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะมิได้มีไว้สำหรับจำเลยกับพวก ทำให้จำเลยกับพวกทราบข้อมูลการเจรจาติดต่อซื้อขายสินค้าผ้าระหว่างบริษัท ร. ผู้เสียหายที่ 1 กับนายลิทเนอร์ ผู้เสียหายที่ 3 แล้วจำเลยกับพวกร่วมกันส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีอีเมลที่มีชื่อคล้ายกับบัญชีอีเมลของผู้เสียหายที่ 1 ชื่อ kxxx @royalunversallance.com (ไม่มีอักษรตัว i ระหว่างตัว n และตัว v) ถึงบัญชีอีเมลชื่อ lxxx@hotmail.com ของผู้เสียหายที่ 3 โดยแอบอ้างแสดงตนเป็นนางสาวลินจงต่อผู้เสียหายที่ 3 เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 3 หลงเชื่อว่าข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวส่งมาจากบัญชีอีเมลของผู้เสียหายที่ 1 โดยนางสาวลินจงเพื่อแจ้งให้ผู้เสียหายที่ 3 ชำระเงินค่าสินค้าที่ตกลงสั่งซื้อจากผู้เสียหายที่ 1 ให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 โดยให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ก. ชื่อบัญชี บริษัท จ. เลขที่บัญชี 760-2-63XXX-X ซึ่งเป็นความเท็จ แล้วจำเลยกับพวกร่วมกันปลอมเอกสารของผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 2 ฉบับ ด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในส่วนชื่อบัญชีธนาคารของผู้เสียหายที่ 1 ที่จะรับโอนเงินชำระค่าสินค้าจากผู้เสียหายที่ 3 ดังกล่าวในไฟล์เอกสารของผู้เสียหายที่ 1 ที่แท้จริงนั้น และผู้เสียหายที่ 3 ได้โอนเงินชำระค่าสินค้าครึ่งหนึ่งของราคาสินค้าเป็นเงิน 3,179,930 บาท เข้าบัญชีธนาคาร ก. เลขที่บัญชี 760-2-63XXX-X ชื่อบัญชี บริษัท จ. ซึ่งมีจำเลยเป็นกรรมการ มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทและเบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว และต่อมาวันที่ 25 สิงหาคม 2557 เงินจำนวนดังกล่าวได้โอนเข้ามาในบัญชีธนาคาร ก. ของ บริษัท จ. พวกของจำเลย ทำให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหายที่ 3 ผู้ถูกหลอกลวง เพื่อประโยชน์ของจำเลยกับพวก ส่อแสดงว่าพฤติกรรมการกระทำของจำเลยกับพวกมีเจตนาประการเดียวคือมุ่งประสงค์ที่จะหลอกลวงเพื่อที่จะได้เงินของผู้เสียหายที่ 3 ที่โอนเงินชำระค่าสินค้าครึ่งหนึ่งของราคาสินค้าที่ตกลงสั่งซื้อจากผู้เสียหายที่ 1 เป็นเงิน 3,179,930 บาท นั้นเอง ความผิดฐานร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ฐานร่วมกันแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ฐานโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นฐานร่วมกันปลอมเอกสารและฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอม จึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ตามที่โจทก์อ้างในฎีกาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการสุดท้ายว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานหนักหรือไม่ เห็นว่า ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยมิชอบในศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งและมาตรา 252 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พิพากษายืน
คดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำผิดของจำเลยกับพวกมาเป็นข้อ ๆ โดยมีคำขอท้ายฟ้องตาม ป.อ. มาตรา 91 และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีจากข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้วปรากฏว่า จำเลยกับพวกมีเจตนาประการเดียวคือมุ่งประสงค์ที่จะหลอกลวงผู้เสียหายที่ 3 โอนเงินชำระค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ตกลงสั่งซื้อนั้นเอง ความผิดฐานร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ฐานร่วมกันแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ฐานโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นฐานร่วมกันปลอมเอกสารและฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอม จึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90 หาใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา 91 ตามที่โจทก์อ้างในฎีกา
ส่วนปัญหาที่ว่า มีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานหนักหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยมิชอบในศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งและมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3, 83, 91, 264, 268, 341, 342, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7, 9, 14 (1) ประกอบวรรคสอง ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่ประทุษร้ายยังไม่ได้คืน 3,179,930 บาท ให้แก่ผู้เสียหายที่ 3
จำเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264, 342 (1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7, 9, 14 (1) วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่ยังไม่ได้คืน 3,179,930 บาท ให้แก่ผู้เสียหายที่ 3
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก (เดิม) , 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก (เดิม), 342 (1) (เดิม) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7, 9, 14 (1) วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 9 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา โดยอัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันหรือไม่ เห็นว่า แม้คดีนี้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกการกระทำผิดของจำเลยกับพวกมาเป็นข้อ ๆ โดยมีคำขอท้ายฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาด้วย และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งคดีจากข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้วปรากฏว่าการที่จำเลยได้เข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมลของผู้เสียหายที่ 1 โดยนางสาวลินจง บัญชีชื่อ kxxx@royaluniversallace.com ซึ่งมีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะมิได้มีไว้สำหรับจำเลยกับพวก ทำให้จำเลยกับพวกทราบข้อมูลการเจรจาติดต่อซื้อขายสินค้าผ้าระหว่างบริษัท ร. ผู้เสียหายที่ 1 กับนายลิทเนอร์ ผู้เสียหายที่ 3 แล้วจำเลยกับพวกร่วมกันส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีอีเมลที่มีชื่อคล้ายกับบัญชีอีเมลของผู้เสียหายที่ 1 ชื่อ kxxx @royalunversallance.com (ไม่มีอักษรตัว i ระหว่างตัว n และตัว v) ถึงบัญชีอีเมลชื่อ lxxx@hotmail.com ของผู้เสียหายที่ 3 โดยแอบอ้างแสดงตนเป็นนางสาวลินจงต่อผู้เสียหายที่ 3 เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 3 หลงเชื่อว่าข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวส่งมาจากบัญชีอีเมลของผู้เสียหายที่ 1 โดยนางสาวลินจงเพื่อแจ้งให้ผู้เสียหายที่ 3 ชำระเงินค่าสินค้าที่ตกลงสั่งซื้อจากผู้เสียหายที่ 1 ให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 โดยให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ก. ชื่อบัญชี บริษัท จ. เลขที่บัญชี 760-2-63XXX-X ซึ่งเป็นความเท็จ แล้วจำเลยกับพวกร่วมกันปลอมเอกสารของผู้เสียหายที่ 1 จำนวน 2 ฉบับ ด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในส่วนชื่อบัญชีธนาคารของผู้เสียหายที่ 1 ที่จะรับโอนเงินชำระค่าสินค้าจากผู้เสียหายที่ 3 ดังกล่าวในไฟล์เอกสารของผู้เสียหายที่ 1 ที่แท้จริงนั้น และผู้เสียหายที่ 3 ได้โอนเงินชำระค่าสินค้าครึ่งหนึ่งของราคาสินค้าเป็นเงิน 3,179,930 บาท เข้าบัญชีธนาคาร ก. เลขที่บัญชี 760-2-63XXX-X ชื่อบัญชี บริษัท จ. ซึ่งมีจำเลยเป็นกรรมการ มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทและเบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว และต่อมาวันที่ 25 สิงหาคม 2557 เงินจำนวนดังกล่าวได้โอนเข้ามาในบัญชีธนาคาร ก. ของ บริษัท จ. พวกของจำเลย ทำให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหายที่ 3 ผู้ถูกหลอกลวง เพื่อประโยชน์ของจำเลยกับพวก ส่อแสดงว่าพฤติกรรมการกระทำของจำเลยกับพวกมีเจตนาประการเดียวคือมุ่งประสงค์ที่จะหลอกลวงเพื่อที่จะได้เงินของผู้เสียหายที่ 3 ที่โอนเงินชำระค่าสินค้าครึ่งหนึ่งของราคาสินค้าที่ตกลงสั่งซื้อจากผู้เสียหายที่ 1 เป็นเงิน 3,179,930 บาท นั้นเอง ความผิดฐานร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ฐานร่วม