คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ จะต้องเป็นกรณีการขัดแย้งกันในคดีที่ได้อาศัยข้อเท็จจริง ที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบ และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดในประเด็นของเนื้อหาแห่งคดีนั้นแตกต่างกัน คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ซึ่งคำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองศาลเป็นคดีที่ผู้ร้องนำข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง กรณีผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ แต่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลตำบลวังกะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ โดยระบุในส่วนของผู้ร้องว่า "ไม่รับสมัคร" ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี จึงเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๐ (๒๐) และมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ซึ่งต่อมาได้มีคำสั่งในคดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ให้ยกคำร้อง เนื่องจากเป็นกรณีผู้ร้องใช้สิทธิดำเนินการตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคที่มีเขตอำนาจดังเช่นกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้ถอนรายชื่อออกจากรายชื่อผู้สมัครเพราะเหตุไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๖ ผู้ร้องจึงนำคดีเรื่องเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าการที่ผู้ฟ้องคดี (ผู้ร้อง) ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง โดยมีเจตนาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนี้ คณะกรรมการเห็นว่ากรณีไม่อาจถือว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ร้องไว้พิจารณาด้วยเหตุที่คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ส่วนคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ มิได้ปฏิเสธเขตอำนาจศาลยุติธรรมในการพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ หากแต่มีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องด้วยเหตุผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ เนื่องจากมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ จะต้องเป็นกรณีการขัดแย้งกันในคดีที่ได้อาศัยข้อเท็จจริง ที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบ และศาลทั้งสองศาลนั้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดในประเด็นของเนื้อหาแห่งคดีนั้นแตกต่างกัน คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ซึ่งคำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองศาลเป็นคดีที่ผู้ร้องนำข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง กรณีผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ แต่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลตำบลวังกะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวังกะ โดยระบุในส่วนของผู้ร้องว่า "ไม่รับสมัคร" ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี จึงเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๐ (๒๐) และมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ซึ่งต่อมาได้มีคำสั่งในคดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ให้ยกคำร้อง เนื่องจากเป็นกรณีผู้ร้องใช้สิทธิดำเนินการตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคที่มีเขตอำนาจดังเช่นกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้ถอนรายชื่อออกจากรายชื่อผู้สมัครเพราะเหตุไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕๖ ผู้ร้องจึงนำคดีเรื่องเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ ยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าการที่ผู้ฟ้องคดี (ผู้ร้อง) ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครอง โดยมีเจตนาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนี้ คณะกรรมการเห็นว่ากรณีไม่อาจถือว่าคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ลต ๑/๒๕๖๔ ขัดแย้งกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. ๔๖๓/๒๕๖๔ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ร้องไว้พิจารณาด้วยเหตุที่คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ส่วนคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๗ มิได้ปฏิเสธเขตอำนาจศาลยุติธรรมในการพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ หากแต่มีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องด้วยเหตุผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค ๗ เนื่องจากมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
การยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลสองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดีที่ผู้ร้องถูกศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งเรียกให้เข้ามาในคดีเป็นผู้ร้องสอดในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี เป็นเรื่องที่นาย ส. ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติโดยไม่ดำเนินการต่อผู้ร้องกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ ตรวจสอบพบว่าผู้ร้องสร้างกำแพงรุกล้ำคูน้ำสาธารณประโยชน์ และนายอำเภอ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้รื้อถอนรั้วกำแพงแล้ว แต่ผู้ร้องยังคงเพิกเฉย ส่วนในคดีของศาลยุติธรรม เป็นเรื่องที่ผู้ร้องฟ้องขอให้นาย ส. จำเลย ชดใช้ค่าเสียหายจากการที่นาย ส. กลั่นแกล้งผู้ร้องกับพวกโดยการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าผู้ร้องกับพวกบุกรุกที่ดินของจำเลย ซึ่งเจ้าพนักงานรังวัดยืนยันว่าเป็นเหมืองสาธารณประโยชน์ มิใช่ที่ดินของจำเลย ทั้งต่อมายังแจ้งความซ้ำว่าผู้ร้องกับพวกบุกรุกเหมืองสาธารณประโยชน์อันเป็นสถานที่เดียวกัน ซึ่งศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีคำพิพากษาตามยอมตามที่ผู้ร้องกับพวกและนาย ส. จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับว่าที่ดินเป็นของผู้ร้อง โดยที่ดินทางด้านทิศใต้จดเหมืองสาธารณประโยชน์ โดยนาย ส. ไม่ขอโต้แย้งสิทธิใด ๆ และผู้ร้องกับพวก ก็จะไม่ขอโต้แย้งสิทธิใด ๆ ในเหมืองสาธารณประโยชน์อีก โดยขอถือเอารูปแผนที่ที่เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำ เป็นอันถูกต้องแนบท้ายสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม ดังนั้น มูลความแห่งคดีที่ผู้ร้องฟ้องนาย ส. ต่อศาลยุติธรรม จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวหาว่า นาย ส. แจ้งความผู้ร้องกับพวกต่อพนักงานสอบสวนโดยเจตนากลั่นแกล้งประจานผู้ร้องกับพวก ซึ่งเป็นคนละข้อหากับที่นาย ส. ฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลปกครอง และภายหลังศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งเรียกผู้ร้องเข้ามาในคดี แม้จะปรากฏว่าในคดีของศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า กำแพงรั้วของผู้ร้องรุกล้ำคูน้ำสาธารณประโยชน์ ซึ่งผู้ร้องโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัย ชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับการรังวัดใหม่ตามคำสั่ง ของศาลยุติธรรม แต่ในคดีของศาลยุติธรรม ปัญหาว่าผู้ร้องก่อสร้างรั้วกำแพงรุกล้ำคูน้ำสาธารณประโยชน์หรือไม่ ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชมิได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นนี้ จึงไม่มีกรณีที่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ดังนี้ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และ คำพิพากษาตามยอมของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่าง ศาลปกครองกับศาลยุติธรรมจึงไม่ขัดแย้งกัน จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลสองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดีที่ผู้ร้องถูกศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งเรียกให้เข้ามาในคดีเป็นผู้ร้องสอดในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี เป็นเรื่องที่นาย ส. ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติโดยไม่ดำเนินการต่อผู้ร้องกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบการรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์ ตรวจสอบพบว่าผู้ร้องสร้างกำแพงรุกล้ำคูน้ำสาธารณประโยชน์ และนายอำเภอ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้รื้อถอนรั้วกำแพงแล้ว แต่ผู้ร้องยังคงเพิกเฉย ส่วนในคดีของศาลยุติธรรม เป็นเรื่องที่ผู้ร้องฟ้องขอให้นาย ส. จำเลย ชดใช้ค่าเสียหายจากการที่นาย ส. กลั่นแกล้งผู้ร้องกับพวกโดยการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าผู้ร้องกับพวกบุกรุกที่ดินของจำเลย ซึ่งเจ้าพนักงานรังวัดยืนยันว่าเป็นเหมืองสาธารณประโยชน์ มิใช่ที่ดินของจำเลย ทั้งต่อมายังแจ้งความซ้ำว่าผู้ร้องกับพวกบุกรุกเหมืองสาธารณประโยชน์อันเป็นสถานที่เดียวกัน ซึ่งศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีคำพิพากษาตามยอมตามที่ผู้ร้องกับพวกและนาย ส. จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับว่าที่ดินเป็นของผู้ร้อง โดยที่ดินทางด้านทิศใต้จดเหมืองสาธารณประโยชน์ โดยนาย ส. ไม่ขอโต้แย้งสิทธิใด ๆ และผู้ร้องกับพวก ก็จะไม่ขอโต้แย้งสิทธิใด ๆ ในเหมืองสาธารณประโยชน์อีก โดยขอถือเอารูปแผนที่ที่เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำ เป็นอันถูกต้องแนบท้ายสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม ดังนั้น มูลความแห่งคดีที่ผู้ร้องฟ้องนาย ส. ต่อศาลยุติธรรม จึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวหาว่า นาย ส. แจ้งความผู้ร้องกับพวกต่อพนักงานสอบสวนโดยเจตนากลั่นแกล้งประจานผู้ร้องกับพวก ซึ่งเป็นคนละข้อหากับที่นาย ส. ฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อศาลปกครอง และภายหลังศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งเรียกผู้ร้องเข้ามาในคดี แม้จะปรากฏว่าในคดีของศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า กำแพงรั้วของผู้ร้องรุกล้ำคูน้ำสาธารณประโยชน์ ซึ่งผู้ร้องโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัย ชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับการรังวัดใหม่ตามคำสั่ง ของศาลยุติธรรม แต่ในคดีของศาลยุติธรรม ปัญหาว่าผู้ร้องก่อสร้างรั้วกำแพงรุกล้ำคูน้ำสาธารณประโยชน์หรือไม่ ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชมิได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นนี้ จึงไม่มีกรณีที่ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ดังนี้ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และ คำพิพากษาตามยอมของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่าง ศาลปกครองกับศาลยุติธรรมจึงไม่ขัดแย้งกัน จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของกรมที่ดินที่ยื่นฟ้องผู้ร้องไว้พิจารณา เนื่องจากมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ต่อมากรมที่ดินจะนำข้อเท็จจริงเดียวกันไปยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมือง ซึ่งเป็นศาลที่มี เขตอำนาจ จนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลปกครองขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง เนื่องจากกรณีที่จะถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามบทบัญญัติดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ศาล ทั้งสองวินิจฉัยขัดแย้งกัน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากคดี ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองและยังไม่มีคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ดังนั้น แม้ต่อมากรมที่ดินนำข้อเท็จจริงในคดีเดียวกันนี้ไปฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลยุติธรรมและเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ร้องเบิกค่าใช้จ่ายและได้รับการอนุมัติจากโจทก์เป็นการไม่ชอบ จึงพิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ข้อพิพาทแห่งคดีและแม้ศาลอุทธรณ์จะเห็นว่าการที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยไปเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ ซึ่งไม่มีอายุความซึ่งผู้ร้องเห็นว่า เป็นการวินิจฉัยที่ขัดกับคำสั่ง ศาลปกครองสูงสุด แต่ก็จะเห็นได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลรับฟ้องคดีนี้ ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอายุความในคดีนั้นได้ ส่วนคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เป็นคำสั่งที่ไม่รับฟ้องไว้พิจารณาเนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงไม่มีประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีใด ๆ ที่ศาลปกครองสูงสุดจำต้องวินิจฉัย ดังนั้น คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณากับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดแย้งกัน
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีอื่น ๆ ว่าเป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ ๒ รุ่นที่ ๖ และรุ่นที่ ๔ แต่ศาลปกครองสูงสุดรับไว้พิจารณาและพิพากษาแตกต่างจากคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้องต่อศาลยุติธรรม ก็เป็นการอ้างว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในคดีอื่นขัดแย้งต่อคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้อง เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความหรือคู่กรณีในคดีดังกล่าว กรณีจึงไม่ใช่การยื่นคำร้องโดยกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ตามนัยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้ให้สิทธิคู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่มีการนำมูลความ แห่งคดีเรื่องเดียวกันไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลสองศาลต่างระบบกันและศาลทั้งสองนั้นตัดสินแตกต่างกัน เป็นเหตุให้คู่ความในคดีนั้นไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ โดยคู่ความหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ขัดกันนั้น อาจยื่นคำร้อง ต่อคณะกรรมการ เพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ ซึ่งมีความหมายว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองเรื่องต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ผู้ร้องเป็นคู่ความหรือเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดของทั้งสองเรื่องนั้นได้ เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดี ของศาลปกครองสูงสุดในคดีอื่น ๆ ตามที่กล่าวอ้าง คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง จึงให้ยกคำร้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของกรมที่ดินที่ยื่นฟ้องผู้ร้องไว้พิจารณา เนื่องจากมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ต่อมากรมที่ดินจะนำข้อเท็จจริงเดียวกันไปยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมือง ซึ่งเป็นศาลที่มี เขตอำนาจ จนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลปกครองขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง เนื่องจากกรณีที่จะถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามบทบัญญัติดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ศาล ทั้งสองวินิจฉัยขัดแย้งกัน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากคดี ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองและยังไม่มีคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ดังนั้น แม้ต่อมากรมที่ดินนำข้อเท็จจริงในคดีเดียวกันนี้ไปฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลยุติธรรมและเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ร้องเบิกค่าใช้จ่ายและได้รับการอนุมัติจากโจทก์เป็นการไม่ชอบ จึงพิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ข้อพิพาทแห่งคดีและแม้ศาลอุทธรณ์จะเห็นว่าการที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยไปเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ ซึ่งไม่มีอายุความซึ่งผู้ร้องเห็นว่า เป็นการวินิจฉัยที่ขัดกับคำสั่ง ศาลปกครองสูงสุด แต่ก็จะเห็นได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลรับฟ้องคดีนี้ ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอายุความในคดีนั้นได้ ส่วนคำสั่งศาลปกครองสูงสุด เป็นคำสั่งที่ไม่รับฟ้องไว้พิจารณาเนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงไม่มีประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีใด ๆ ที่ศาลปกครองสูงสุดจำต้องวินิจฉัย ดังนั้น คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณากับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดแย้งกัน
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีอื่น ๆ ว่าเป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ ๒ รุ่นที่ ๖ และรุ่นที่ ๔ แต่ศาลปกครองสูงสุดรับไว้พิจารณาและพิพากษาแตกต่างจากคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้องต่อศาลยุติธรรม ก็เป็นการอ้างว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในคดีอื่นขัดแย้งต่อคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้อง เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความหรือคู่กรณีในคดีดังกล่าว กรณีจึงไม่ใช่การยื่นคำร้องโดยกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ตามนัยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้ให้สิทธิคู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่มีการนำมูลความ แห่งคดีเรื่องเดียวกันไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลสองศาลต่างระบบกันและศาลทั้งสองนั้นตัดสินแตกต่างกัน เป็นเหตุให้คู่ความในคดีนั้นไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ โดยคู่ความหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ขัดกันนั้น อาจยื่นคำร้อง ต่อคณะกรรมการ เพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ ซึ่งมีความหมายว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองเรื่องต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ผู้ร้องเป็นคู่ความหรือเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดของทั้งสองเรื่องนั้นได้ เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดี ของศาลปกครองสูงสุดในคดีอื่น ๆ ตามที่กล่าวอ้าง คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของกรมที่ดินที่ยื่นฟ้องผู้ร้องไว้พิจารณา เนื่องจากมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ต่อมากรมที่ดินจะนำข้อเท็จจริงเดียวกันไปยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ จนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลปกครองขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง เนื่องจากกรณีที่จะถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามบทบัญญัติดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองวินิจฉัยขัดแย้งกัน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองและยังไม่มีคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ดังนั้น แม้ต่อมากรมที่ดินนำข้อเท็จจริงในคดีเดียวกันนี้ไปฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลยุติธรรมและเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุด วินิจฉัยว่า การที่ผู้ร้องเบิกค่าใช้จ่ายและได้รับการอนุมัติจากโจทก์เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรองรุ่นที่ ๒ ได้ และคดีไม่ขาดอายุความ จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี และแม้ศาลอุทธรณ์จะเห็นว่าการที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยไปเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ ซึ่งไม่มีอายุความ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า เป็นการวินิจฉัยที่ขัดกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุด แต่ก็จะเห็นได้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลรับฟ้องคดีนี้ ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอายุความในคดีนั้นได้ ส่วนคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเป็นคำสั่งที่ไม่รับฟ้องไว้พิจารณาเนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงไม่มีประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีใด ๆ ที่ศาลปกครองสูงสุดจำต้องวินิจฉัย ดังนั้น คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา กับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ขัดแย้งกัน ส่วนที่ผู้ร้องอ้างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีอื่น ๆ ว่า เป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐาน ที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ ๒ รุ่นที่ ๖ และรุ่นที่ ๔ แต่ศาลปกครองสูงสุดรับไว้พิจารณาและพิพากษาแตกต่างจากคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้องต่อศาลยุติธรรม ก็เป็นการอ้างว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในคดีอื่นขัดแย้งต่อคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้อง เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความหรือคู่กรณีในคดีดังกล่าว กรณีจึงไม่ใช่การยื่นคำร้องโดยกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ตามนัยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้ให้สิทธิคู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่มีการนำมูลความแห่งคดีเรื่องเดียวกันไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลสองศาลต่างระบบกันและศาลทั้งสองนั้นตัดสินแตกต่างกัน เป็นเหตุให้คู่ความในคดีนั้นไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ โดยคู่ความหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ขัดกันนั้น อาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ ซึ่งมีความหมายว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองเรื่องต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ผู้ร้องเป็นคู่ความหรือเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดของทั้งสองเรื่องนั้นได้ เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีของศาลปกครองสูงสุด ในคดีอื่น ๆ ตามที่กล่าวอ้าง คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง จึงให้ยกคำร้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของกรมที่ดินที่ยื่นฟ้องผู้ร้องไว้พิจารณา เนื่องจากมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ต่อมากรมที่ดินจะนำข้อเท็จจริงเดียวกันไปยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ จนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลปกครองขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง เนื่องจากกรณีที่จะถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามบทบัญญัติดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองวินิจฉัยขัดแย้งกัน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองและยังไม่มีคำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ดังนั้น แม้ต่อมากรมที่ดินนำข้อเท็จจริงในคดีเดียวกันนี้ไปฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลยุติธรรมและเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุด วินิจฉัยว่า การที่ผู้ร้องเบิกค่าใช้จ่ายและได้รับการอนุมัติจากโจทก์เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐานที่ ก.ศป. รับรองรุ่นที่ ๒ ได้ และคดีไม่ขาดอายุความ จึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี และแม้ศาลอุทธรณ์จะเห็นว่าการที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยไปเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ ซึ่งไม่มีอายุความ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า เป็นการวินิจฉัยที่ขัดกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุด แต่ก็จะเห็นได้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลรับฟ้องคดีนี้ ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอายุความในคดีนั้นได้ ส่วนคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเป็นคำสั่งที่ไม่รับฟ้องไว้พิจารณาเนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงไม่มีประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีใด ๆ ที่ศาลปกครองสูงสุดจำต้องวินิจฉัย ดังนั้น คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา กับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ขัดแย้งกัน ส่วนที่ผู้ร้องอ้างคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีอื่น ๆ ว่า เป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองตามมาตรฐาน ที่ ก.ศป. รับรอง รุ่นที่ ๒ รุ่นที่ ๖ และรุ่นที่ ๔ แต่ศาลปกครองสูงสุดรับไว้พิจารณาและพิพากษาแตกต่างจากคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้องต่อศาลยุติธรรม ก็เป็นการอ้างว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในคดีอื่นขัดแย้งต่อคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในคดีที่ผู้ร้องถูกฟ้อง เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความหรือคู่กรณีในคดีดังกล่าว กรณีจึงไม่ใช่การยื่นคำร้องโดยกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ตามนัยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้ให้สิทธิคู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่มีการนำมูลความแห่งคดีเรื่องเดียวกันไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลสองศาลต่างระบบกันและศาลทั้งสองนั้นตัดสินแตกต่างกัน เป็นเหตุให้คู่ความในคดีนั้นไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ โดยคู่ความหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ขัดกันนั้น อาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ ซึ่งมีความหมายว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งทั้งสองเรื่องต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ผู้ร้องเป็นคู่ความหรือเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดของทั้งสองเรื่องนั้นได้ เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีของศาลปกครองสูงสุด ในคดีอื่น ๆ ตามที่กล่าวอ้าง คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คดีนี้เอกชนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. โจทก์ ยื่นฟ้อง กรมสรรพากร จำเลย ต่อศาลจังหวัดแพร่ ว่า โจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. เด็กชาย ว. เป็นบุตรของโจทก์กับนาย ร. ผู้ค้างภาษี จำเลยได้ออกคำสั่งให้อายัดทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากรของนาย ร. โดยจำเลยมีหนังสือไปถึงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้อายัดเงินในสมุดบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรของเด็กชาย ว. เพื่อนำไปชำระหนี้ภาษีอากรของนาย ร. โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๒ แห่งประมวลรัษฎากร คำสั่งอายัดบัญชีเงินฝากดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้เด็กชาย ว.ได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีของจำเลยในการบังคับเอาทรัพย์สินของเด็กชาย ว. ให้จำเลยส่งมอบเงิน ๑๘,๘๐๑ บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ ๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ได้รับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้แก่เด็กชาย ว. จำเลยให้การและยื่นคำร้องว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร ศาลจังหวัดแพร่ จึงส่งสำนวนให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๐ วรรคสอง ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ภายหลังอ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดี ชำนัญพิเศษให้คู่ความฟัง ทนายจำเลยแถลงว่า เมื่อประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร จึงขอให้ส่งความเห็นไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อชี้ขาดตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจังหวัดแพร่จึงมีคำสั่งให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือ ศาลทหาร ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นกรรมการ" และวรรคสอง บัญญัติให้ "หลักเกณฑ์และวิธีการชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ บัญญัติให้ "ศาล" หมายความว่า ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ดังนั้น การขัดแย้งกันในเรื่องเขตอำนาจศาลซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลที่จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ต้องเป็นกรณีที่ความเห็นเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ซึ่งเป็นศาลต่างระบบ ขัดแย้งกัน มิใช่กรณีที่เขตอำนาจศาลในระบบเดียวกันขัดแย้งกัน ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดแพร่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาด โดยเห็นว่า การที่กรมสรรพากรใช้สิทธิตามกฎหมายอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากรค้างของนาย ร. และโจทก์มายื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดแพร่ และต่อมาประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำวินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร เป็นกรณีที่ศาลจังหวัดแพร่และศาลภาษีอากรมีความเห็นขัดแย้งกัน จึงให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดต่อไปนั้น เป็นการอ้างว่า เขตอำนาจของศาลจังหวัดแพร่และศาลภาษีอากรซึ่งเป็นศาลยุติธรรมที่อยู่ในระบบเดียวกันขัดแย้งกันเอง ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่จะวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓)
การเสนอเรื่องของศาลจังหวัดแพร่ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดในคดีของศาลจังหวัดแพร่ ระหว่าง นาง พ. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย จึงไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ให้ยกคำร้อง
คดีนี้เอกชนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. โจทก์ ยื่นฟ้อง กรมสรรพากร จำเลย ต่อศาลจังหวัดแพร่ ว่า โจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. เด็กชาย ว. เป็นบุตรของโจทก์กับนาย ร. ผู้ค้างภาษี จำเลยได้ออกคำสั่งให้อายัดทรัพย์ของผู้ค้างภาษีอากรของนาย ร. โดยจำเลยมีหนังสือไปถึงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้อายัดเงินในสมุดบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรของเด็กชาย ว. เพื่อนำไปชำระหนี้ภาษีอากรของนาย ร. โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๒ แห่งประมวลรัษฎากร คำสั่งอายัดบัญชีเงินฝากดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้เด็กชาย ว.ได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีของจำเลยในการบังคับเอาทรัพย์สินของเด็กชาย ว. ให้จำเลยส่งมอบเงิน ๑๘,๘๐๑ บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ ๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ได้รับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้แก่เด็กชาย ว. จำเลยให้การและยื่นคำร้องว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร ศาลจังหวัดแพร่ จึงส่งสำนวนให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๐ วรรคสอง ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ภายหลังอ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดี ชำนัญพิเศษให้คู่ความฟัง ทนายจำเลยแถลงว่า เมื่อประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร จึงขอให้ส่งความเห็นไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อชี้ขาดตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจังหวัดแพร่จึงมีคำสั่งให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ดังนี้ เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือ ศาลทหาร ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นกรรมการ" และวรรคสอง บัญญัติให้ "หลักเกณฑ์และวิธีการชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ บัญญัติให้ "ศาล" หมายความว่า ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ดังนั้น การขัดแย้งกันในเรื่องเขตอำนาจศาลซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลที่จะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ต้องเป็นกรณีที่ความเห็นเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ซึ่งเป็นศาลต่างระบบ ขัดแย้งกัน มิใช่กรณีที่เขตอำนาจศาลในระบบเดียวกันขัดแย้งกัน ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดแพร่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาด โดยเห็นว่า การที่กรมสรรพากรใช้สิทธิตามกฎหมายอายัดสิทธิเรียกร้องในบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากรค้างของนาย ร. และโจทก์มายื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดแพร่ และต่อมาประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำวินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลภาษีอากร เป็นกรณีที่ศาลจังหวัดแพร่และศาลภาษีอากรมีความเห็นขัดแย้งกัน จึงให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดต่อไปนั้น เป็นการอ้างว่า เขตอำนาจของศาลจังหวัดแพร่และศาลภาษีอากรซึ่งเป็นศาลยุติธรรมที่อยู่ในระบบเดียวกันขัดแย้งกันเอง ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่จะวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓)
การเสนอเรื่องของศาลจังหวัดแพร่ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดในคดีของศาลจังหวัดแพร่ ระหว่าง นาง พ. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย จึงไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๙๒ ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ให้ยกคำร้อง
การส่งเรื่องตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542
คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓ กับศาลปกครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ ขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓กับศาลปกครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ ขัดแย้งกันหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ ๔๐/๒๕๖๑ ไม่รับคำฟ้องของกรมที่ดินที่ยื่นฟ้องผู้ร้องไว้พิจารณา เนื่องจากมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ต่อมากรมที่ดินจะนำข้อเท็จจริงเดียวกันไปยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๕๖/๒๕๖๒ จนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวชำระเงิน ๑๒๘,๑๐๔.๘๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๙๘,๐๐๐ บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลปกครองขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง เนื่องจากกรณีที่จะถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามบทบัญญัติดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองวินิจฉัยขัดแย้งกัน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา
คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓ กับศาลปกครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ ขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓กับศาลปกครอง ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ ขัดแย้งกันหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด" คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ ๔๐/๒๕๖๑ ไม่รับคำฟ้องของกรมที่ดินที่ยื่นฟ้องผู้ร้องไว้พิจารณา เนื่องจากมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้ต่อมากรมที่ดินจะนำข้อเท็จจริงเดียวกันไปยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลแขวงดอนเมืองซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๕๖/๒๕๖๒ จนกระทั่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๓๖๖๕/๒๕๖๓พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวชำระเงิน ๑๒๘,๑๐๔.๘๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๙๘,๐๐๐ บาทนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ก็ตาม ก็ไม่อาจถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลปกครองขัดแย้งกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง เนื่องจากกรณีที่จะถือว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามบทบัญญัติดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองวินิจฉัยขัดแย้งกัน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๐/๒๕๖๑ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา เนื่องจากคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 14
การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มี ๒ กรณี ได้แก่ กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้ "คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การเป็นอย่างช้าสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ ศาลที่รับฟ้องอาจรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวก็ได้ และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว..." กับกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้นำความในมาตรานี้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาโดยอนุโลม เมื่อคดีนี้ ข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดมหาสารคาม ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๔ ระบุว่า ก่อนเริ่มสืบพยาน โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ฟ้องคดีได้แถลงต่อศาลว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ขอให้ศาลจังหวัดมหาสารคามส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา ดังนั้น การเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลในคดีนี้จึงมิใช่จำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องตามนัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิโต้แย้งเขตอำนาจศาล และแม้จำเลยทั้งสองจะแถลงโดยเห็นพ้องกับโจทก์ทั้งสองว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องได้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือโต้แย้งเขตอำนาจศาลยุติธรรมต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม กรณีจึงไม่เป็นไปตามรูปแบบและเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๒ ที่กำหนดว่าคำร้องต้องทำเป็นหนังสือ... แม้ต่อมาภายหลังศาลจังหวัดมหาสารคามจะทำความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และศาลปกครองขอนแก่นซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นก็มีความเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้อง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล แต่ก็มิใช่กรณีที่ศาลจังหวัดมหาสารคามซึ่งเป็นศาลผู้ส่งความเห็นได้ริเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลโดยศาลเห็นเองตามนัยของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม การเสนอเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันในคดีนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม คณะกรรมการไม่รับวินิจฉัย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มี ๒ กรณี ได้แก่ กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้ "คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การเป็นอย่างช้าสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ ศาลที่รับฟ้องอาจรอการพิจารณาไว้ชั่วคราวก็ได้ และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว..." กับกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้นำความในมาตรานี้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเอง ก่อนมีคำพิพากษาโดยอนุโลม เมื่อคดีนี้ ข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลจังหวัดมหาสารคาม ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๔ ระบุว่า ก่อนเริ่มสืบพยาน โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ฟ้องคดีได้แถลงต่อศาลว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ขอให้ศาลจังหวัดมหาสารคามส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณา ดังนั้น การเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลในคดีนี้จึงมิใช่จำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องตามนัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิโต้แย้งเขตอำนาจศาล และแม้จำเลยทั้งสองจะแถลงโดยเห็นพ้องกับโจทก์ทั้งสองว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องได้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือโต้แย้งเขตอำนาจศาลยุติธรรมต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม กรณีจึงไม่เป็นไปตามรูปแบบและเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๒ ที่กำหนดว่าคำร้องต้องทำเป็นหนังสือ... แม้ต่อมาภายหลังศาลจังหวัดมหาสารคามจะทำความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และศาลปกครองขอนแก่นซึ่งเป็นศาลที่รับความเห็นก็มีความเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมที่รับฟ้อง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล แต่ก็มิใช่กรณีที่ศาลจังหวัดมหาสารคามซึ่งเป็นศาลผู้ส่งความเห็นได้ริเริ่มกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลโดยศาลเห็นเองตามนัยของพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม การเสนอเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันในคดีนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม คณะกรรมการไม่รับวินิจฉัย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๙ (๒) จึงให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การเสนอเรื่องเขตอำนาจศาลขัดแย้งกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 10
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลและศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีของศาลปกครองขอนแก่นและศาลแรงงานภาค ๔ ไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น "พนักงาน" ตามบทนิยามความหมายของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ หรือไม่ ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น "พนักงาน" ตามบทนิยามความหมายในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ ประเด็นข้อพิพาทและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองขอนแก่นและศาลแรงงานภาค ๔ จึงเป็นคนละประเด็นกันกับข้อพิพาทและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลฎีกาและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน จึงไม่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะของบุคคล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ คำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น จะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลและศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คดีของศาลปกครองขอนแก่นและศาลแรงงานภาค ๔ ไม่มีประเด็นวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น "พนักงาน" ตามบทนิยามความหมายของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ หรือไม่ ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็น "พนักงาน" ตามบทนิยามความหมายในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๐๒ ประเด็นข้อพิพาทและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองขอนแก่นและศาลแรงงานภาค ๔ จึงเป็นคนละประเด็นกันกับข้อพิพาทและข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลฎีกาและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน จึงไม่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะของบุคคล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ คำร้องของผู้ร้องไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
เมื่อคดีนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครอง ตามคำพิพากษาศาลปกครองนครราชสีมา ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ส่วนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรม ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาล และศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่ความในคดีที่ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และคู่ความในคดีของศาลปกครองนครราชสีมา มิใช่คู่ความรายเดียวกันและมิใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเดียวกัน โดยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลยุติธรรมและศาลปกครองต้องพิจารณานั้นเป็นคนละประเด็นกันและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน ทั้งกรณีไม่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งกันในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
เมื่อคดีนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครอง ตามคำพิพากษาศาลปกครองนครราชสีมา ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ส่วนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลยุติธรรม ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ จึงเป็นการล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ออกภายหลังถึงที่สุด ประกอบกับการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ มูลความแห่งคดีเดียวกันแต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาล และศาลทั้งสองศาลนั้นตัดสินต่างกันจนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่ความในคดีที่ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๓ และคู่ความในคดีของศาลปกครองนครราชสีมา มิใช่คู่ความรายเดียวกันและมิใช่คดีที่มีข้อเท็จจริงเดียวกัน โดยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลยุติธรรมและศาลปกครองต้องพิจารณานั้นเป็นคนละประเด็นกันและไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกัน ทั้งกรณีไม่มีปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป ถ้าคู่ความหรือศาลเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้องให้นำความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่คู่ความนำคดีซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป และคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้อง หรือศาลที่รับฟ้องเห็นว่าคดีมีปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล จึงจะรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและดำเนินการตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อไป แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ศาลจังหวัดพะเยาเห็นว่า คดีแพ่งของศาลจังหวัดพะเยา อยู่ในเขตอำนาจของศาลตน มิใช่กรณีที่ศาลรับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น และมิใช่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล ว่าคดีดังกล่าวมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้อง จึงไม่เป็นกรณีที่จะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป ถ้าคู่ความหรือศาลเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้องให้นำความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่คู่ความนำคดีซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไป และคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้อง หรือศาลที่รับฟ้องเห็นว่าคดีมีปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล จึงจะรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและดำเนินการตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อไป แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่ศาลจังหวัดพะเยาเห็นว่า คดีแพ่งของศาลจังหวัดพะเยา อยู่ในเขตอำนาจของศาลตน มิใช่กรณีที่ศาลรับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น และมิใช่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล ว่าคดีดังกล่าวมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลใดศาลหนึ่งที่รับฟ้อง จึงไม่เป็นกรณีที่จะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกันของผู้ร้อง แม้คดีตามคำพิพากษาทั้งสองฉบับดังกล่าวจะมีปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลทั้งสองต้องพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารในลักษณะเดียวกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏมีความแตกต่างกัน แม้จะอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกัน ผลของคดีจึงแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริงที่ต่างกัน และคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดต่างก็เป็นการวินิจฉัยถึงคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นคนละฉบับซึ่งบังคับให้กระทำต่ออาคารคนละอาคารและเจ้าของอาคารเป็นบุคคลคนละคนกัน และวินิจฉัยถึงการดัดแปลงต่อเติมอาคารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแตกต่างกัน แม้เจ้าพนักงานผู้ต้องปฏิบัติตามผลคำพิพากษาจะเป็นคนเดียวกันและอาคารที่เกี่ยวข้องจะอยู่ติดกันก็ตาม กรณีย่อมไม่อาจมีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล ประกอบกับเมื่อพิจารณาคำร้องของผู้ร้องทั้งสองมีลักษณะเป็นการโต้แย้งการใช้ดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
การที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้นั้นจะต้องปรากฏว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในเรื่องเดียวกันนั้นขัดแย้งกัน การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดขัดแย้งกันของผู้ร้อง แม้คดีตามคำพิพากษาทั้งสองฉบับดังกล่าวจะมีปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลทั้งสองต้องพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารในลักษณะเดียวกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏมีความแตกต่างกัน แม้จะอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกัน ผลของคดีจึงแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริงที่ต่างกัน และคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดต่างก็เป็นการวินิจฉัยถึงคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นคนละฉบับซึ่งบังคับให้กระทำต่ออาคารคนละอาคารและเจ้าของอาคารเป็นบุคคลคนละคนกัน และวินิจฉัยถึงการดัดแปลงต่อเติมอาคารที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแตกต่างกัน แม้เจ้าพนักงานผู้ต้องปฏิบัติตามผลคำพิพากษาจะเป็นคนเดียวกันและอาคารที่เกี่ยวข้องจะอยู่ติดกันก็ตาม กรณีย่อมไม่อาจมีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาล ประกอบกับเมื่อพิจารณาคำร้องของผู้ร้องทั้งสองมีลักษณะเป็นการโต้แย้งการใช้ดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้คำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิได้ขัดแย้งกัน คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ อาศัยอำนาจตามข้อ ๒๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า การสำคัญผิดของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเกิดจากข้อมูลราคาประเมินตาราวาละ ๔,๐๐๐ บาท ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งไม่เป็นปัจจุบัน การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ในวันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินรายพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กำหนดจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยชอบตรงตามเจตนาและเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้จดทะเบียนสิทธินิติกรรมโดยคำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ ตามราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท และราคาซื้อขายที่สูงกว่าราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท เพียงเล็กน้อย โดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขาย (ระหว่างเช่า) ที่ดินพิพาทจากผู้ฟ้องคดีทั้งสอง นั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการจดทะเบียนที่ดำเนินการไปถูกต้องแล้วและต่อมาตรวจพบว่ามีความบกพร่องเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วนนั้นมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจที่จะเรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ดังนั้น คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินพิพาทจะต้องถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินโดยต้องถือว่าราคาประเมินที่ดินตารางวาละ ๔๕,๐๐๐ บาท ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ (ผู้ร้อง) เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมิน ๓๕,๔๙๑,๕๐๐ บาท การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงเพียง ๓,๑๕๔,๘๐๐ บาท เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย (กรมสรรพากร) มีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องครบถ้วนได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเหตุลดหรืองดเงินเพิ่มนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ครบถ้วน เนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท ตามที่ยังคงปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานที่ดินซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินที่แท้จริง เป็นเหตุที่ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ (ผู้ร้อง) สมควรให้งดเงินเพิ่มแก่โจทก์ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดไม่สั่งให้เรียกค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเพิ่ม กับไม่เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทและคำพิพากษาศาลฎีกามิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดและคำพิพากษาของศาลฎีกาได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า การสำคัญผิดของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเกิดจากข้อมูลราคาประเมินตาราวาละ ๔,๐๐๐ บาท ที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งไม่เป็นปัจจุบัน การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ชำระค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ในวันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินรายพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กำหนดจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยชอบตรงตามเจตนาและเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้จดทะเบียนสิทธินิติกรรมโดยคำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าอากรแสตมป์ ตามราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท และราคาซื้อขายที่สูงกว่าราคาประเมินตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท เพียงเล็กน้อย โดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งตามหนังสือเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขาย (ระหว่างเช่า) ที่ดินพิพาทจากผู้ฟ้องคดีทั้งสอง นั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการจดทะเบียนที่ดำเนินการไปถูกต้องแล้วและต่อมาตรวจพบว่ามีความบกพร่องเป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมไม่ครบถ้วนนั้นมีสิทธิเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจที่จะเรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ดังนั้น คำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ศาลฎีกาพิพากษาว่า การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการขายที่ดินพิพาทจะต้องถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินโดยต้องถือว่าราคาประเมินที่ดินตารางวาละ ๔๕,๐๐๐ บาท ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนวันที่จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวนั้นเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ (ผู้ร้อง) เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาประเมิน ๓๕,๔๙๑,๕๐๐ บาท การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงเพียง ๓,๑๕๔,๘๐๐ บาท เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย (กรมสรรพากร) มีอำนาจเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องครบถ้วนได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเหตุลดหรืองดเงินเพิ่มนั้น การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ครบถ้วน เนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาตารางวาละ ๔,๐๐๐ บาท ตามที่ยังคงปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานที่ดินซึ่งต่ำกว่าราคาประเมินที่แท้จริง เป็นเหตุที่ไม่ใช่ความผิดของโจทก์ (ผู้ร้อง) สมควรให้งดเงินเพิ่มแก่โจทก์ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดไม่สั่งให้เรียกค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเพิ่ม กับไม่เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทและคำพิพากษาศาลฎีกามิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดและคำพิพากษาของศาลฎีกาได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ กับศาลปกครองสูงสุด โดยผู้ร้องเห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคในที่ดินจัดสรรโครงการ ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว และศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องกับพวกจึงไม่ต้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตลอดจนบำรุงรักษา แต่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคยังจัดทำไม่แล้วเสร็จตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต จึงพิพากษาให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนครนายก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการให้ผู้ร้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันในการจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันหรือไม่ โดยคดีของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เป็นคดีที่ผู้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการฟ้องผู้ร้องและผู้จัดสรรที่ดินเดิมเป็นคดีผู้บริโภค อ้างว่าผู้ร้องกับพวกมิได้ก่อสร้างหรือดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะภายในโครงการ คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้ได้วินิจฉัยตอนหนึ่งว่า สาธารณูปโภคหลัก ๆ ภายในโครงการพิพาทจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ได้วินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ร้องกับพวกยังไม่ได้จัดทำบริการสาธารณะให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ และการจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ นอกจากจะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ยังจะต้องบำรุงรักษาให้มีสภาพคงอยู่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามที่ควรจะเป็นด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่าผู้ร้องจัดทำสาธารณูปโภคเสร็จเรียบร้อยแล้ว อันจะเป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยชัดเจนว่า ข้อเท็จจริงฟังว่าสาธารณูปโภคในโครงการพิพาทบางส่วนยังจัดทำไม่แล้วเสร็จและบางส่วนไม่มีการบำรุงรักษา และบริการสาธารณะบางอย่างยังไม่ได้จัดทำ ซึ่งสอดคล้องกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดทำสาธารณูปโภคแล้วเสร็จหรือไม่ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และศาลปกครองสูงสุดจึงมิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ กับศาลปกครองสูงสุด โดยผู้ร้องเห็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคในที่ดินจัดสรรโครงการ ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว และศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ร้องกับพวกจึงไม่ต้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตลอดจนบำรุงรักษา แต่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สาธารณูปโภคยังจัดทำไม่แล้วเสร็จตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต จึงพิพากษาให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนครนายก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการให้ผู้ร้องจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันในการจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันหรือไม่ โดยคดีของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ เป็นคดีที่ผู้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการฟ้องผู้ร้องและผู้จัดสรรที่ดินเดิมเป็นคดีผู้บริโภค อ้างว่าผู้ร้องกับพวกมิได้ก่อสร้างหรือดูแลสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะภายในโครงการ คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายกฟ้องในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง แม้ได้วินิจฉัยตอนหนึ่งว่า สาธารณูปโภคหลัก ๆ ภายในโครงการพิพาทจัดทำเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก็ได้วินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ร้องกับพวกยังไม่ได้จัดทำบริการสาธารณะให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ และการจัดทำสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ นอกจากจะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว ยังจะต้องบำรุงรักษาให้มีสภาพคงอยู่สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามที่ควรจะเป็นด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยว่าผู้ร้องจัดทำสาธารณูปโภคเสร็จเรียบร้อยแล้ว อันจะเป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ วินิจฉัยชัดเจนว่า ข้อเท็จจริงฟังว่าสาธารณูปโภคในโครงการพิพาทบางส่วนยังจัดทำไม่แล้วเสร็จและบางส่วนไม่มีการบำรุงรักษา และบริการสาธารณะบางอย่างยังไม่ได้จัดทำ ซึ่งสอดคล้องกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการจัดทำสาธารณูปโภคแล้วเสร็จหรือไม่ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และศาลปกครองสูงสุดจึงมิได้ขัดแย้งกัน ทั้งกรณีการยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นี้ จะต้องเป็นกรณีที่การวินิจฉัยขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุให้ผู้ร้องไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๒ และคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดได้ กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้น อยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ..." เมื่อคดีนี้จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การ โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการที่จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตน อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้น อยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ..." เมื่อคดีนี้จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การ โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งการทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นกรณีที่ศาลจัดทำความเห็นของตนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามข้อโต้แย้งที่เริ่มกระบวนการโดยการที่จำเลยหรือผู้ถูกฟ้องคดีทำเป็นคำร้องตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง หรือเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องเห็นเองว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น ตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งให้นำความในมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตน อันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่งและวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
การโต้แย้งเขตอำนาจศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ เพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องว่า คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ขัดแย้งกับคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครองกลางหรือไม่ เห็นว่า ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างเจ้าของร่วมในอาคารชุด ส. ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดกับบริษัท ธ. จำกัด จำเลย ซึ่งเป็นผู้ขายตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ได้โฆษณาโครงการโดยระบุอย่างชัดแจ้งว่าอาคารชุด ส. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ และในการขออนุญาตก่อสร้างโครงการอาคารชุดดังกล่าวก็ระบุว่า เป็นการก่อสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนคำพิพากษาของศาลปกครองกลางเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ จดทะเบียนอาคารชุดโดยระบุทรัพย์ส่วนกลาง คือ ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๓ เพียงแปลงเดียวเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลปกครองกลางจะพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลางชอบด้วยกฎหมายแล้วก็เป็นการวินิจฉัยการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้ขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวผูกพันต้องปฏิบัติตามประกาศโฆษณาโครงการของตนที่ระบุให้โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลาง อันเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่ได้ชี้แจงว่ามีเหตุขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด หรือหากมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖๕ ก็ได้บัญญัติให้อำนาจศาลในคดีดังกล่าวแก้ไขข้อขัดข้องได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ เพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องว่า คำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลอุทธรณ์ขัดแย้งกับคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลปกครองกลางหรือไม่ เห็นว่า ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างเจ้าของร่วมในอาคารชุด ส. ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดกับบริษัท ธ. จำกัด จำเลย ซึ่งเป็นผู้ขายตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งผู้ร้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ได้โฆษณาโครงการโดยระบุอย่างชัดแจ้งว่าอาคารชุด ส. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ และในการขออนุญาตก่อสร้างโครงการอาคารชุดดังกล่าวก็ระบุว่า เป็นการก่อสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๓ และ ๔๑๔ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนคำพิพากษาของศาลปกครองกลางเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ จดทะเบียนอาคารชุดโดยระบุทรัพย์ส่วนกลาง คือ ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๓ เพียงแปลงเดียวเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลปกครองกลางจะพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลางชอบด้วยกฎหมายแล้วก็เป็นการวินิจฉัยการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้ขัดหรือแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวผูกพันต้องปฏิบัติตามประกาศโฆษณาโครงการของตนที่ระบุให้โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๔ เป็นทรัพย์ส่วนกลาง อันเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดิน ฯ ไม่ได้ชี้แจงว่ามีเหตุขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด หรือหากมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๖๕ ก็ได้บัญญัติให้อำนาจศาลในคดีดังกล่าวแก้ไขข้อขัดข้องได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม อันจะเข้าองค์ประกอบของบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันและจะส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบและศาลทั้งสองศาลนั้น มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแตกต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ล. โจทก์ บริษัท ค. จำเลย (ผู้ร้อง) ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน โดยไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่พิพาทกันในคดีปกครองตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ประเด็นข้อพิพาทของทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน แม้ในคดีปกครองจะมีปัญหาข้อเท็จจริงในบางประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่า บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ได้จัดทำถนนถูกต้องตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ไม่กำกับดูแล และตรวจสอบให้ ผู้ร้องสอดทำการก่อสร้างในโครงการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามแบบและแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยพิจารณาจากสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดี มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดา ซึ่งการจะบังคับการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมของศาลนั้นก็เป็นความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างคู่สัญญา ส่วนการที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจตามมาตรา ๕๒ ประกอบมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ สั่งให้บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ดำเนินการก่อสร้างถนนสายหลักและบ่อบำบัดน้ำเสียในโครงการให้ตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่คดีถึงที่สุด คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก เป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองเพื่อบังคับให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ขัดแย้งกันกับคดีแพ่ง ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกันและไม่ขัดแย้งกัน ทั้งปัญหากรณีที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี คำร้องของผู้ร้องไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันและจะส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสองศาลต่างระบบและศาลทั้งสองศาลนั้น มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแตกต่างกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ล. โจทก์ บริษัท ค. จำเลย (ผู้ร้อง) ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน โดยไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่พิพาทกันในคดีปกครองตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ประเด็นข้อพิพาทของทั้งสองคดีจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน แม้ในคดีปกครองจะมีปัญหาข้อเท็จจริงในบางประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งว่า บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ได้จัดทำถนนถูกต้องตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองว่า คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ละเลยต่อหน้าที่ไม่กำกับดูแล และตรวจสอบให้ ผู้ร้องสอดทำการก่อสร้างในโครงการจัดสรรที่ดินให้ถูกต้องตามแบบและแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยพิจารณาจากสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดี มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดา ซึ่งการจะบังคับการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมของศาลนั้นก็เป็นความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างคู่สัญญา ส่วนการที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจตามมาตรา ๕๒ ประกอบมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ สั่งให้บริษัท ค. (ผู้ร้องสอด) ดำเนินการก่อสร้างถนนสายหลักและบ่อบำบัดน้ำเสียในโครงการให้ตรงตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ใช้อำนาจภายในระยะเวลา ๖๐ วัน นับแต่คดีถึงที่สุด คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก เป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทในคดีปกครองเพื่อบังคับให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี (ผู้ถูกฟ้องคดี) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ ซึ่งข้อเท็จจริงไม่ขัดแย้งกันกับคดีแพ่ง ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครองจึงไม่ใช่ประเด็นเดียวกันและไม่ขัดแย้งกัน ทั้งปัญหากรณีที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี คำร้องของผู้ร้องไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการจะรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบสามยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบสามยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบสามยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบสามยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
คดีนี้โจทก์ทั้งสิบยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ - ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและจำเลยที่ ๔ - ๘ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยทั้งแปดโต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลที่รับฟ้อง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง จนกระทั่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความโจทก์ทั้งสิบยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เพื่อขอให้ทบทวนคำวินิจฉัยและมีคำวินิจฉัยใหม่ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติว่า ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้คณะกรรมการลงมติให้ขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน โดยให้บันทึกเหตุแห่งความจำเป็นนั้นไว้ด้วย และวรรคสองของมาตราดังกล่าว บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามวรรคหนึ่ง (๓) ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคดีนี้คณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ตามมาตรา ๑๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีนี้ จึงถือเป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องนี้
การยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลสองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการ กับคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดแพร่ยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวก เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดแพร่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗, ๙๐, ๘๓ และ ๘๖ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ประเด็นแห่งคดีของศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้แก่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกา ได้แก่การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗ ประกอบมาตรา ๘๓ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ จึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
การยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ต้องเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลสองศาลขัดแย้งกันจนเป็นเหตุให้คู่ความหรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นได้ เนื่องจากในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดนั้นย่อมบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีผลผูกพันคู่ความให้ต้องปฏิบัติตามข้อความและผลแห่งคำพิพากษานั้น ตามคำร้องนี้แม้คดีที่ผู้ร้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการ กับคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดแพร่ยื่นฟ้องผู้ร้องกับพวก เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดแพร่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗, ๙๐, ๘๓ และ ๘๖ ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่ประเด็นแห่งคดีของศาลปกครองสูงสุดนั้น ได้แก่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ร้องเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีของศาลฎีกา ได้แก่การกระทำของผู้ร้องกับพวกเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๘, ๑๕๗ ประกอบมาตรา ๘๓ หรือไม่ ซึ่งการดำเนินการทางวินัยและทางอาญาแก่ข้าราชการนั้นเป็นกระบวนการที่แยกต่างหากจากกัน โดยการดำเนินการและการลงโทษทางวินัยของข้าราชการมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อควบคุมความประพฤติของข้าราชการให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิภาพ รักษาชื่อเสียงและสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบราชการอันเป็นการใช้มาตรการภายในฝ่ายบริหาร ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาวินัยข้าราชการ จึงแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา โดยมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งโดยหลักการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปตามองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา และศาลจะพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาและลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานมั่นคงพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณาความผิดทางวินัยและความผิดอาญาจะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน แต่เมื่อประเด็นในคดีต่างกันและการพิสูจน์ความผิดที่กฎหมายประสงค์จะนำมาลงโทษในคดีอาญาและคดีวินัยแตกต่างกัน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของทั้งสองศาลแต่อย่างใด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามนัยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลจะรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเองอันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม โดยไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ทั้งไม่ใช่กรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลตนเองอันจะถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสาม อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ประกอบข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดฯ ข้อ ๒๙ (๒) ให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบความ
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|