ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๒/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลปกครองพิษณุโลก
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพิษณุโลก
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองพิษณุโลกโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ บริษัทผลิตภัณฑ์ยาเส้นไทย (มวนเอง) จำกัด ที่ ๑ นายอภินันท์ ยกยิ่ง ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องกรมสรรพสามิต ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองพิษณุโลก เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๕๔/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายยาเส้นไทย (มวนเอง) ทำสัญญาจ้างให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้ดำเนินการผลิตและจำหน่ายยาเส้น เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ เจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิษณุโลกเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้ไปติดต่อขอซื้อยาเส้นมวนเองจากนายมานะ ทองนก อดีตลูกจ้างของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นายมานะได้พาไปติดต่อนางรุ่งลาวัลย์ เจริญสุข ลูกจ้างของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าโกดังเก็บสินค้าแล้วแสดงตัวจับบุคคลทั้งสองพร้อมทั้งตรวจค้นโรงงานของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ยึดยาเส้น จำนวน ๗,๒๘๘ ซอง ยึดแสตมป์ยาสูบที่ใช้แล้ว จำนวน ๑๘,๕๗๕ ดวง เป็นของกลาง โดยแจ้งข้อหาว่าร่วมกันขายและมีไว้เพื่อขายยาเส้นที่ไม่ได้ปิดแสตมป์ยาสูบ และร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบเพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นแสตมป์ยาสูบที่ใช้แล้ว แล้วนำตัวบุคคลทั้งสองพร้อมของกลางไปกักขังไว้ที่ทำการสรรพสามิตพื้นที่พิษณุโลก ต่อมาเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีติดต่อให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองไปตกลงเกี่ยวกับการจับกุมตามข้อหาข้างต้นแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีได้แสดงใบอนุญาตประกอบการให้ทราบแล้วก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีไม่รับฟังและไม่หยุดกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีทั้งสอง กลับส่งผู้ต้องหาทั้งสองพร้อมของกลางให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองพิษณุโลก และเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖ เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีจำนวน ๕ คน ได้ออกตรวจพื้นที่ตลาดบึงพระ ทำการยึดยาเส้นไทยมวนเองของผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่วางขายอยู่ทั้งหมด โดยสั่งห้ามผู้ที่วางขายไม่ให้รับมาวางขายอีก หากขัดขืนจะจับกุมดำเนินคดีทางอาญา พร้อมทั้งได้สั่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระประกาศทางวิทยุท้องถิ่น ห้ามมิให้ผู้ใดวางขายยาเส้นของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้ผู้ที่รับยาเส้นมวนเองของผู้ฟ้องคดีส่งคืนยาเส้นที่รับไปเป็นจำนวนมาก ต่อมาพนักงานสอบสวนเห็นว่าคดีมีมูลเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาสี่รายที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันรวมทั้งผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงส่งให้พนักงานอัยการดำเนินการพิจารณาสั่งฟ้อง พนักงานอัยการเห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ จึงขอคืนของกลางที่ถูกยึดไปทั้งหมดและผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองพิษณุโลกอนุญาตให้คืนตามคำขอ แต่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ยอมคืน ผู้ฟ้องคดีทราบว่าเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้ตัดมุมซองยาเส้นทุกซองทำให้อากาศเข้าซองยาเส้นที่บรรจุในซองเสียหายทั้งหมด การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดจงใจกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีทั้งสองให้ได้รับ ความเสียหาย โดยเอาตำแหน่งบังหน้าและอ้างว่ากระทำตามหน้าที่ โดยผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้รับความเสียหายจากการสูญเสียยาเส้นบรรจุซองที่ถูกยึดไปเป็นของกลางและไม่ได้คืน จำนวน ๗,๒๘๘ ซอง ราคาซองละ ๕ บาท เป็นเงินจำนวน ๓๖,๔๔๐ บาท ขาดรายได้จากการที่ไม่สามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายยาเส้นไทย (มวนเอง) ซึ่งเคยได้รับจากผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ จนถึงวันฟ้องเป็นเวลา ๑๒ เดือน เป็นเงิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท และค้างชำระเงินกู้ที่กู้จากธนาคารจำนวน ๘๗๙,๙๔๘ บาท รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑,๑๕๖,๓๘๘ บาท ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับความเสียหายจากการขาดรายได้จากการผลิตและบรรจุซองยาเส้น ซองละ ๐.๓๐ บาท และจากการเป็นนายหน้าจำหน่ายยาเส้นในอัตราร้อยละ ๙ ของเงินที่ขายได้ เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท นับจากวันละเมิด จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท จึงเป็นค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ของผู้ถูกฟ้องคดีจำนวน ๑,๒๗๖,๓๘๘ บาท แต่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเรียกค่าเสียหายเพียง ๑,๐๑๖,๓๘๘ บาท โดยเป็นค่าเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จำนวน ๙๑๖,๓๘๘ บาท และของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จำนวน ๙๑๖,๓๘๘ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และผู้ฟ้องคดีที่ ๒ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า คดีขาดอายุความ การจับกุมและการยึดของกลางได้กระทำตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีสืบสวนทราบว่ามีการลักลอบทำและขายยาเส้นปรุงเอง จึงได้ทำการล่อซื้อและจับกุม การตรวจพิสูจน์ของกลางได้กระทำตามระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการพิสูจน์ของกลาง พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ของกลางดังกล่าวได้ส่งมอบให้พนักงานสอบสวนแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดี จึงไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด การดำเนินการของเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีตั้งแต่การจับกุมและตรวจค้น ตลอดจนการดำเนินคดีต่อผู้ต้องหาทั้งสี่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันเป็นการดำเนินตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่สุจริต และมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองที่ศาลปกครองจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษา ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
ศาลปกครองพิษณุโลกพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีสืบสวนทราบว่ามีการลักลอบทำและขายยาเส้นปรุง อันเป็นการกระทำผิดกฎหมายยาสูบ ต่อมาดำเนินการล่อซื้อได้จากลูกจ้างของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จึงแสดงตัวจับกุม พร้อมเข้าตรวจค้นโรงงานของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และยึดยาเส้นบรรจุซอง แสตมป์ยาสูบที่ใช้แล้วของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไปเป็นของกลางดำเนินคดี โดยส่งผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ส่วนของกลางเก็บรักษาไว้แทนพนักงานสอบสวนที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิษณุโลก พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนแล้ว เห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาสี่รายที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันรวมทั้งผู้ฟ้องคดีทั้งสอง แต่พนักงานอัยการเห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง เจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจหน้าที่จับกุมและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาสูบตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ และเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายแล้ว ถือเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามมาตรา ๒ (๑๖) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การที่เจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการสืบสวน จับกุมผู้ต้องหา เข้าตรวจค้นโรงงานของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ รวมทั้งการยึดยาเส้นบรรจุซองและแสตมป์ที่ใช้แล้วของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไปเป็นของกลาง ถือเป็นกระบวนการดำเนินคดีทางอาญาในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาสูบ เพื่อนำไปสู่การลงโทษทางอาญาแก่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีเข้าจับกุมดำเนินคดีอาญาทำให้ขาดรายได้ในการดำเนินการผลิตยาเส้นและจำหน่ายยาเส้น ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ยังได้เรียกค่าเสียหายจากการสูญเสียยาเส้นบรรจุซองซึ่งเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีได้ยึดเป็นของกลางในการดำเนินคดี กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีอันสืบเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในกระบวนการดำเนินคดีทางอาญา มิใช่คดีละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลจังหวัดพิษณุโลกพิจารณาแล้วเห็นว่า สาระสำคัญตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง แม้จะเป็นการเริ่มต้นเกี่ยวกับการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่อาศัยอำนาจตามตามตรา ๔๐ และมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา ๒ (๑๖) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาดังกล่าว ก็เป็นไปเพื่อมุ่งหมายตามขั้นตอนของกฎหมายที่นำไปสู่การลงโทษทางอาญาโดยตรงเท่านั้น มิได้หมายความว่าหากเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายพิเศษหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วจะไม่ถูกควบคุมตรวจสอบการกระทำจากศาลปกครองได้ และในขั้นตอนตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาดังกล่าวอาจมีการกระทำทางปกครองรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สามารถแยกออกจากการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองกล่าวอ้างตามคำฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีกลั่นแกล้งโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และอ้างการกระทำตามหน้าที่ให้ผู้ฟ้องคดี ทั้งสองได้รับความเสียหาย ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามกฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนือหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามที่กฎหมายกำหนดหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้สรุปได้ว่า เจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิษณุโลกสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีทำการสืบสวน จับกุมลูกจ้างและอดีตลูกจ้างของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ค้นโดยยึดยาเส้นบรรจุซองและแสตมป์ยาสูบที่ใช้แล้วไปเป็นของกลางแล้วส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาสี่รายที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันรวมทั้งผู้ฟ้องคดีทั้งสอง แต่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเสียหายขาดรายได้จากการผลิตและจำหน่ายยาเส้น และผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ต้องสูญเสียยาเส้นบรรจุซองที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางอันเนื่องมาจากการพิสูจน์ของกลางของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การสืบสวน จับกุม ค้น ยึดและพิสูจน์ของกลางของเจ้าพนักงานกระทำโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายยาสูบ ไม่ได้กระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด คดีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ เห็นว่า การดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอาญาอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนั้น แม้ว่าในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ อาจจะมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย แต่ขั้นตอนใดเป็นการกระทำตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำในขั้นตอนนั้นก็ย่อมอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่หากการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเข้าเกณฑ์เป็นการกระทำละเมิดหรือเป็นความรับผิดอย่างอื่นตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การกระทำนั้นก็จะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง เมื่อคดีนี้เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานกรมสรรพสามิตตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ มีอำนาจหน้าที่จับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว อันเป็นความผิดอาญา เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามมาตรา ๒ (๑๖) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อได้ทำการสืบสวน จับกุมผู้กระทำผิด ค้น ยึดและพิสูจน์ของกลางโดยใช้อำนาจตามมาตรา ๒ (๑๖) มาตรา ๗๘ มาตรา ๘๕ และมาตรา ๙๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ และระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการพิสูจน์ของกลาง พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำผิดอาญาเกี่ยวกับกฎหมายยาสูบ จึงเป็นการดำเนินการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดอำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง อันอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของ ศาลยุติธรรม ดังนั้น การฟ้องเรียกค่าเสียหายของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นการเฉพาะโดยตรง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง บริษัทผลิตภัณฑ์ยาเส้นไทย (มวนเอง) จำกัด ที่ ๑ นายอภินันท์ ยกยิ่ง ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี กรมสรรพสามิต ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) นายวิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๒/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลปกครองพิษณุโลก
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพิษณุโลก
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองพิษณุโลกโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๗ บริษัทผลิตภัณฑ์ยาเส้นไทย (มวนเอง) จำกัด ที่ ๑ นายอภินันท์ ยกยิ่ง ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องกรมสรรพสามิต ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองพิษณุโลก เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๕๔/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายยาเส้นไทย (มวนเอง) ทำสัญญาจ้างให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้ดำเนินการผลิตและจำหน่ายยาเส้น เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ เจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิษณุโลกเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้ไปติดต่อขอซื้อยาเส้นมวนเองจากนายมานะ ทองนก อดีตลูกจ้างของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นายมานะได้พาไปติดต่อนางรุ่งลาวัลย์ เจริญสุข ลูกจ้างของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าโกดังเก็บสินค้าแล้วแสดงตัวจับบุคคลทั้งสองพร้อมทั้งตรวจค้นโรงงานของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ยึดยาเส้น จำนวน ๗,๒๘๘ ซอง ยึดแสตมป์ยาสูบที่ใช้แล้ว จำนวน ๑๘,๕๗๕ ดวง เป็นของกลาง โดยแจ้งข้อหาว่าร่วมกันขายและมีไว้เพื่อขายยาเส้นที่ไม่ได้ปิดแสตมป์ยาสูบ และร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบเพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นแสตมป์ยาสูบที่ใช้แล้ว แล้วนำตัวบุคคลทั้งสองพร้อมของกลางไปกักขังไว้ที่ทำการสรรพสามิตพื้นที่พิษณุโลก ต่อมาเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีติดต่อให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองไปตกลงเกี่ยวกับการจับกุมตามข้อหาข้างต้นแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ ทั้งที่ผู้ฟ้องคดีได้แสดงใบอนุญาตประกอบการให้ทราบแล้วก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีไม่รับฟังและไม่หยุดกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีทั้งสอง กลับส่งผู้ต้องหาทั้งสองพร้อมของกลางให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองพิษณุโลก และเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖ เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีจำนวน ๕ คน ได้ออกตรวจพื้นที่ตลาดบึงพระ ทำการยึดยาเส้นไทยมวนเองของผู้ฟ้องคดีทั้งสองที่วางขายอยู่ทั้งหมด โดยสั่งห้ามผู้ที่วางขายไม่ให้รับมาวางขายอีก หากขัดขืนจะจับกุมดำเนินคดีทางอาญา พร้อมทั้งได้สั่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระประกาศทางวิทยุท้องถิ่น ห้ามมิให้ผู้ใดวางขายยาเส้นของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้ผู้ที่รับยาเส้นมวนเองของผู้ฟ้องคดีส่งคืนยาเส้นที่รับไปเป็นจำนวนมาก ต่อมาพนักงานสอบสวนเห็นว่าคดีมีมูลเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาสี่รายที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันรวมทั้งผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงส่งให้พนักงานอัยการดำเนินการพิจารณาสั่งฟ้อง พนักงานอัยการเห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ จึงขอคืนของกลางที่ถูกยึดไปทั้งหมดและผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองพิษณุโลกอนุญาตให้คืนตามคำขอ แต่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ยอมคืน ผู้ฟ้องคดีทราบว่าเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้ตัดมุมซองยาเส้นทุกซองทำให้อากาศเข้าซองยาเส้นที่บรรจุในซองเสียหายทั้งหมด การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดจงใจกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีทั้งสองให้ได้รับ ความเสียหาย โดยเอาตำแหน่งบังหน้าและอ้างว่ากระทำตามหน้าที่ โดยผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้รับความเสียหายจากการสูญเสียยาเส้นบรรจุซองที่ถูกยึดไปเป็นของกลางและไม่ได้คืน จำนวน ๗,๒๘๘ ซอง ราคาซองละ ๕ บาท เป็นเงินจำนวน ๓๖,๔๔๐ บาท ขาดรายได้จากการที่ไม่สามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายยาเส้นไทย (มวนเอง) ซึ่งเคยได้รับจากผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ จนถึงวันฟ้องเป็นเวลา ๑๒ เดือน เป็นเงิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท และค้างชำระเงินกู้ที่กู้จากธนาคารจำนวน ๘๗๙,๙๔๘ บาท รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑,๑๕๖,๓๘๘ บาท ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับความเสียหายจากการขาดรายได้จากการผลิตและบรรจุซองยาเส้น ซองละ ๐.๓๐ บาท และจากการเป็นนายหน้าจำหน่ายยาเส้นในอัตราร้อยละ ๙ ของเงินที่ขายได้ เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท นับจากวันละเมิด จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท จึงเป็นค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ของผู้ถูกฟ้องคดีจำนวน ๑,๒๗๖,๓๘๘ บาท แต่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเรียกค่าเสียหายเพียง ๑,๐๑๖,๓๘๘ บาท โดยเป็นค่าเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จำนวน ๙๑๖,๓๘๘ บาท และของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จำนวน ๙๑๖,๓๘๘ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และผู้ฟ้องคดีที่ ๒ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า คดีขาดอายุความ การจับกุมและการยึดของกลางได้กระทำตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีสืบสวนทราบว่ามีการลักลอบทำและขายยาเส้นปรุงเอง จึงได้ทำการล่อซื้อและจับกุม การตรวจพิสูจน์ของกลางได้กระทำตามระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการพิสูจน์ของกลาง พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ของกลางดังกล่าวได้ส่งมอบให้พนักงานสอบสวนแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดี จึงไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด การดำเนินการของเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีตั้งแต่การจับกุมและตรวจค้น ตลอดจนการดำเนินคดีต่อผู้ต้องหาทั้งสี่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันเป็นการดำเนินตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่สุจริต และมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองที่ศาลปกครองจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษา ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
ศาลปกครองพิษณุโลกพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีสืบสวนทราบว่ามีการลักลอบทำและขายยาเส้นปรุง อันเป็นการกระทำผิดกฎหมายยาสูบ ต่อมาดำเนินการล่อซื้อได้จากลูกจ้างของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จึงแสดงตัวจับกุม พร้อมเข้าตรวจค้นโรงงานของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และยึดยาเส้นบรรจุซอง แสตมป์ยาสูบที่ใช้แล้วของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไปเป็นของกลางดำเนินคดี โดยส่งผู้ต้องหาให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ส่วนของกลางเก็บรักษาไว้แทนพนักงานสอบสวนที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิษณุโลก พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนแล้ว เห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาสี่รายที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันรวมทั้งผู้ฟ้องคดีทั้งสอง แต่พนักงานอัยการเห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง เจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจหน้าที่จับกุมและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาสูบตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ และเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายแล้ว ถือเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามมาตรา ๒ (๑๖) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การที่เจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการสืบสวน จับกุมผู้ต้องหา เข้าตรวจค้นโรงงานของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ รวมทั้งการยึดยาเส้นบรรจุซองและแสตมป์ที่ใช้แล้วของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไปเป็นของกลาง ถือเป็นกระบวนการดำเนินคดีทางอาญาในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาสูบ เพื่อนำไปสู่การลงโทษทางอาญาแก่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีเข้าจับกุมดำเนินคดีอาญาทำให้ขาดรายได้ในการดำเนินการผลิตยาเส้นและจำหน่ายยาเส้น ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ยังได้เรียกค่าเสียหายจากการสูญเสียยาเส้นบรรจุซองซึ่งเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีได้ยึดเป็นของกลางในการดำเนินคดี กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีอันสืบเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในกระบวนการดำเนินคดีทางอาญา มิใช่คดีละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลจังหวัดพิษณุโลกพิจารณาแล้วเห็นว่า สาระสำคัญตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง แม้จะเป็นการเริ่มต้นเกี่ยวกับการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่อาศัยอำนาจตามตามตรา ๔๐ และมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามมาตรา ๒ (๑๖) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาดังกล่าว ก็เป็นไปเพื่อมุ่งหมายตามขั้นตอนของกฎหมายที่นำไปสู่การลงโทษทางอาญาโดยตรงเท่านั้น มิได้หมายความว่าหากเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายพิเศษหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วจะไม่ถูกควบคุมตรวจสอบการกระทำจากศาลปกครองได้ และในขั้นตอนตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาดังกล่าวอาจมีการกระทำทางปกครองรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สามารถแยกออกจากการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองกล่าวอ้างตามคำฟ้องว่า เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีกลั่นแกล้งโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และอ้างการกระทำตามหน้าที่ให้ผู้ฟ้องคดี ทั้งสองได้รับความเสียหาย ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามกฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนือหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามที่กฎหมายกำหนดหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้สรุปได้ว่า เจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิษณุโลกสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีทำการสืบสวน จับกุมลูกจ้างและอดีตลูกจ้างของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ค้นโดยยึดยาเส้นบรรจุซองและแสตมป์ยาสูบที่ใช้แล้วไปเป็นของกลางแล้วส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาสี่รายที่ร่วมกระทำผิดด้วยกันรวมทั้งผู้ฟ้องคดีทั้งสอง แต่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเสียหายขาดรายได้จากการผลิตและจำหน่ายยาเส้น และผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ต้องสูญเสียยาเส้นบรรจุซองที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางอันเนื่องมาจากการพิสูจน์ของกลางของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การสืบสวน จับกุม ค้น ยึดและพิสูจน์ของกลางของเจ้าพนักงานกระทำโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายยาสูบ ไม่ได้กระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด คดีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่ เห็นว่า การดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอาญาอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนั้น แม้ว่าในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ อาจจะมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย แต่ขั้นตอนใดเป็นการกระทำตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำในขั้นตอนนั้นก็ย่อมอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่หากการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเข้าเกณฑ์เป็นการกระทำละเมิดหรือเป็นความรับผิดอย่างอื่นตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การกระทำนั้นก็จะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง เมื่อคดีนี้เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานกรมสรรพสามิตตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ มีอำนาจหน้าที่จับกุมและปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว อันเป็นความผิดอาญา เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามมาตรา ๒ (๑๖) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อได้ทำการสืบสวน จับกุมผู้กระทำผิด ค้น ยึดและพิสูจน์ของกลางโดยใช้อำนาจตามมาตรา ๒ (๑๖) มาตรา ๗๘ มาตรา ๘๕ และมาตรา ๙๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙ และระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการพิสูจน์ของกลาง พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำผิดอาญาเกี่ยวกับกฎหมายยาสูบ จึงเป็นการดำเนินการของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดอำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง อันอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของ ศาลยุติธรรม ดังนั้น การฟ้องเรียกค่าเสียหายของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นการเฉพาะโดยตรง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง บริษัทผลิตภัณฑ์ยาเส้นไทย (มวนเอง) จำกัด ที่ ๑ นายอภินันท์ ยกยิ่ง ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี กรมสรรพสามิต ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) นายวิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๑/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ บริษัท ยู.ที.เอ็ม.เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๘๙๘/๒๕๔๗ ขอให้เพิกถอนคำสั่งชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ที่ให้ผู้ร้องชำระเงินแก่มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คัดค้าน จำนวน ๓,๑๙๑,๔๕๔.๕๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๓ จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ผู้คัดค้านคืนหนังสือค้ำประกันโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ร้องต้องชำระเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านก่อน ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า ผู้ร้องเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บริเวณคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑ หลัง ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๒๒๗/๒๕๓๙ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ วงเงิน ๑๐๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๑ โดยมีหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร จำนวน ๑๐,๒๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ร้องได้เข้าดำเนินการก่อสร้างแต่ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามงวดงานได้ อันเป็นผลมาจากผู้คัดค้านได้แก้ไขแบบก่อสร้างอาคารศูนย์โรคหัวใจหลายประการที่ผู้ร้องได้ก่อสร้างให้ผู้คัดค้าน ทำให้การก่อสร้างอาคารศูนย์โรคหัวใจล่าช้าออกไปกว่า ๒ ปี ผู้ร้องจึงไม่ได้เงินค่างานไปชำระให้แก่ธนาคาร ธนาคารจึงไม่สนับสนุนทางการเงินให้แก่ผู้ร้อง ประกอบกับเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา คณะรัฐมนตรีได้มีมติแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร.๐๒๐๕/ว ๗๐ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๑ ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง โดยให้ขยายเวลาก่อสร้างตามสัญญาจ้างได้ ๑๘๐ วัน นับแต่ระยะเวลาตามสัญญาเดิมสิ้นสุดลง ซึ่งผู้คัดค้านได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบการได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาก่อสร้างได้ก็ล่วงเลยกำหนดตามสัญญาเดิมเหลือเวลาเพียง ๘๐ วันเท่านั้น ไม่อยู่ในวิสัยที่จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาได้ และเมื่อครบกำหนดผู้คัดค้านได้บอกเลิกสัญญา ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร.๐๒๐๕/ว ๑๙๗ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างซึ่งเป็นคู่สัญญากับรัฐ ผู้ร้องจึงมีหนังสือถึงผู้คัดค้านเพื่อขอความช่วยเหลือ ผู้คัดค้านได้มีหนังสือแจ้งผู้ร้องว่าได้อนุมัติให้นิรโทษกรรมและคืนหลักประกัน โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ร้องจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการคัดเลือกผู้รับเหมารายใหม่ ผู้ร้องประสงค์จะเข้าทำงานต่อในราคาเดิม แต่ผู้คัดค้านได้เลือกผู้รับเหมารายใหม่โดยวิธีพิเศษให้เข้าดำเนินการก่อสร้างต่อในราคาก่อสร้างที่สูงกว่าเดิม โดยไม่ให้โอกาสผู้ร้องเข้าทำงานต่อ ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ซึ่งตามสัญญาจ้างมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ต่อมาวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๓ ผู้ร้องจึงยื่นข้อพิพาทตามสัญญาจ้างดังกล่าวต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันคือสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม) ขอให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เลขที่ ๐๔/๓๙/๕๐๑๖๐ ฉบับลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๓๙ ให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการไม่คืนหนังสือค้ำประกัน ๒๖๗,๗๕๐ บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับจากวันเสนอข้อพิพาทจนกว่าจะชำระเสร็จ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ได้จ่ายเงินให้ผู้ร้องตามงวดงานที่แล้วเสร็จตามสัญญามาตลอด เมื่อผู้ร้องทิ้งงานผู้คัดค้านได้มีหนังสือให้ชี้แจงเหตุผล แต่ไม่ได้รับคำชี้แจง เมื่อมีมติคณะรัฐมนตรีให้ต่ออายุสัญญาจ้างก่อสร้าง ผู้ร้องได้เข้าทำงานก่อสร้างเพียงเล็กน้อยและหยุดการก่อสร้างอีก ผู้คัดค้านได้มีหนังสือเร่งรัด แต่ผู้ร้องยังคงเพิกเฉย และเมื่อรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้ขยายระยะเวลาก่อสร้าง ผู้ร้องก็มิได้เข้าทำการก่อสร้าง ผู้คัดค้านจึงบอกเลิกสัญญาและแจ้งริบหลักประกันตามสัญญา พร้อมแจ้งสงวนสิทธิให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากต้องจ้างเอกชนรายอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ เป็นเงินจำนวน ๓,๑๙๑,๔๕๔.๕๔ บาท ต่อมาวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ ผู้ร้องได้รับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตามข้อพิพาท หมายเลขดำที่ ๕๔/๒๕๔๓ หมายเลขแดงที่ ๕๑/๒๕๔๖ ชี้ขาดว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้คัดค้าน ไม่ต้องชำระค่าเสียหายจากการจากการไม่คืนหนังสือค้ำประกันสัญญาจ้าง ให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านจำนวน ๓,๑๙๑,๔๕๔.๕๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้คืนหนังสือค้ำประกันสัญญาจ้างให้แก่ผู้ร้องเมื่อผู้ร้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้ผู้คัดค้านครบถ้วนจนพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว ผู้ร้องเห็นว่า คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นพิพาทโดยยึดหลักเคร่งครัดเช่นเดียวกับหลักการขอวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือว่าผิดหรือขัดต่อปรัชญาและเจตนารมณ์ของระบบอนุญาโตตุลาการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องชำระค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบถ้วน ศาลแพ่งไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เนื่องจากสัญญาจ้างก่อสร้างหอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นสัญญาทางปกครอง ประกอบกับขณะมีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ ศาลปกครองยังไม่เปิดดำเนินการ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการใช้สิทธิขอให้ศาลแพ่งออกหมายเรียกพยานบุคคลหรือออกคำสั่งเรียกพยานเอกสารและพยานวัตถุเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการมาก่อน ศาลแพ่งมิเคยได้ใช้อำนาจเหนือข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทมาแต่เริ่มต้น กรณียังถือไม่ได้ว่าศาลแพ่งเป็นศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ ทั้งคู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่ง และมูลคดีเกิดที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มิได้เกิดในเขตอำนาจของศาลแพ่ง แม้คณะอนุญาโตตุลาการตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งก็ไม่มีเหตุทำให้มูลคดีกลับมาอยู่ในเขตอำนาจ ศาลแพ่ง การวินิจฉัยข้อพิพาทตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชอบแล้วไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ขอให้ยกคำร้อง ผู้คัดค้านยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีอยู่อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองด้วยเหตุผลตามคำคัดค้านข้างต้น
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ วางหลักเกณฑ์ให้สัญญาทางปกครองมีลักษณะเป็นสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งต้องเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ แม้ผู้คัดค้านเป็นหน่วยงานทางปกครองที่ให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ อันเป็นประโยชน์ต่อการสาธารณสุขของประเทศ แต่สัญญาคดีนี้เป็นการจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์เชื่อว่าอาคารดังกล่าวมิได้ทำขึ้นเพื่อให้การบริการสาธารณะโดยประชาชนทั่วไปใช้บริการและมิใช่สิ่งสาธารณูปโภค สัญญาจ้างคดีนี้ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิใช่สัญญาทางปกครองแต่เป็นสัญญาทางแพ่ง พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๐ วรรคสอง บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ และมาตรา ๙ บัญญัติให้ศาลที่มีการพิจารณา ชั้นอนุญาโตตุลการอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้นเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคดีนี้เป็นสัญญาทางแพ่ง ดังนั้น การที่ผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาด โดยยื่นต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งชอบแล้ว ศาลแพ่งจึงเป็นศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาล ย่อมเป็นศาลที่มีเขตอำนาจที่ผู้ร้องอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ มาตรา ๔๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ มาตรา ๙ บัญญัติให้ศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือศาล ที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้น เป็นศาลที่มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๕ วรรคสอง บัญญัติว่า การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ให้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุดแล้วแต่กรณี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มุ่งประสงค์ให้พิจารณาลักษณะเนื้อหาแห่งประเด็นข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาเป็นสำคัญว่าเป็นคดีแพ่งหรือคดีปกครอง โดยมิได้พิจารณาข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการแยกออกต่างหากอีกส่วนหนึ่ง หากข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทใด มีลักษณะเป็นคดีแพ่ง ศาลที่มีเขตอำนาจได้แก่ศาลยุติธรรม หากข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทใดมีลักษณะเป็นคดีปกครอง ศาลที่มีเขตอำนาจได้แก่ศาลปกครอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เพื่อให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งในวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับแล้ว โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป ทำให้คดีพิพาทเกี่ยวสัญญาทางปกครองอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ขณะทำสัญญาจ้างผู้คัดค้านเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๐ และเป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบริการสาธารณะให้การศึกษา ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยที่เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของประเทศชาติ ผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในวิชาชีพและเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบริการสาธารณะให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ของคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล นักศึกษาแพทย์มีความจำเป็นจะต้องศึกษาเรียนรู้จากผู้ป่วยที่มารับการรักษาในสถานศึกษาหรือโรงพยาบาลของสถานศึกษา ซึ่งจะมีผู้ป่วยที่มารับการรักษาตลอดเวลาในแต่ละวัน การที่ผู้คัดค้านจัดหาที่พักให้แก่นักศึกษาแพทย์ซึ่งไม่มีที่พักหรือมีที่พักแต่อยู่ไกลจากสถานศึกษา เพื่อให้นักศึกษาแพทย์มีความสะดวกในการศึกษาเรียนรู้จากผู้ป่วยอันเป็นการสนับสนุนการให้การศึกษาของผู้คัดค้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์จึงจำเป็นต้องมีหอพักนักศึกษาแพทย์ หอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ซึ่งเป็นบริการสาธารณะดังกล่าวให้บรรลุผล นอกจากนั้น ผู้คัดค้านมีฐานะเป็นผู้ให้บริการสาธารณะโดยการให้การศึกษา ส่วนนักศึกษาแพทย์เป็นผู้รับบริการสาธารณะ การที่ผู้คัดค้านจัดทำหอพักนักศึกษาแพทย์เพื่อให้นักศึกษาแพทย์พักอาศัยใช้ประโยชน์ระหว่างเข้ารับบริการสาธารณะ หอพักนักศึกษาแพทย์จึงเป็นสิ่งสาธารณูปโภค สัญญาจ้างให้ก่อสร้างหอพักดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามนัย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวีธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ศาลปกครองจึงเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้น และเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา ๔๐ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ สำหรับกรณีผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดโดยยื่นต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม แต่การพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลแพ่งออกหมายเรียกพยานบุคคล หรือคำสั่งเรียกพยานเอกสารและพยานวัตถุ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ ศาลแพ่งจึงมิใช่ศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาลตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ และมิใช่ศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามมาตรา ๔๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องสรุปได้ว่า บริษัท ยู.ที.เอ็ม.เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้ร้อง เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จำนวน ๑ หลัง โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คัดค้าน เป็นผู้ว่าจ้างในการทำสัญญาดังกล่าว ผู้ร้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปมอบให้แก่ผู้คัดค้านไว้เป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญา แต่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา โดยมิใช่ความผิดของผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน จากนั้นผู้ร้องยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ขอให้มีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านคืนหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าว ให้ชำระค่าเสียหายจากการไม่คืนหนังสือค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ย ต่อมา อนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา และให้ชำระเงินแก่ผู้คัดค้านจำนวน ๓,๑๙๑,๔๕๔.๕๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ผู้คัดค้านคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาจ้างเมื่อผู้ร้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้ครบถ้วนจนพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านสรุปได้ว่า สัญญาจ้างดังกล่าวเป็นสัญญาทางปกครอง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง และการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการชอบแล้ว ขอให้ยกคำร้อง กรณีจึงเป็นข้อพิพาทสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ดังกล่าว คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า สัญญาพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน เป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง โดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คัดค้านมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยที่เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของประเทศชาติ ผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในวิชาชีพและเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทำสัญญาว่าจ้างให้ผู้ร้องก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน ๑ หลัง จึงถือเป็นกิจการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาดำเนินการเพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะบรรลุผล สัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้นศาลปกครองจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการ ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแม้คดีนี้ผู้ร้องจะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๓ อันเป็นวันก่อนวันเปิดทำการของ ศาลปกครองก็ตาม (ศาลปกครองเปิดทำการวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔) แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนที่ศาลปกครองจะเปิดทำการคู่สัญญาหรืออนุญาโตตุลาการได้มีการร้องขอให้ศาลยุติธรรมใช้อำนาจเหนือข้อขัดแย้งในคดีนี้มาก่อน ศาลยุติธรรมจึงมิใช่ศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง บริษัท ยู.ที.เอ็ม.เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้ร้อง มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คัดค้าน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) วิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๗
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๑/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ บริษัท ยู.ที.เอ็ม.เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๘๙๘/๒๕๔๗ ขอให้เพิกถอนคำสั่งชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ที่ให้ผู้ร้องชำระเงินแก่มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คัดค้าน จำนวน ๓,๑๙๑,๔๕๔.๕๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๓ จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ผู้คัดค้านคืนหนังสือค้ำประกันโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ร้องต้องชำระเงินตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านก่อน ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า ผู้ร้องเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บริเวณคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑ หลัง ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๒๒๗/๒๕๓๙ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙ วงเงิน ๑๐๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๑ โดยมีหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร จำนวน ๑๐,๒๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ร้องได้เข้าดำเนินการก่อสร้างแต่ไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามงวดงานได้ อันเป็นผลมาจากผู้คัดค้านได้แก้ไขแบบก่อสร้างอาคารศูนย์โรคหัวใจหลายประการที่ผู้ร้องได้ก่อสร้างให้ผู้คัดค้าน ทำให้การก่อสร้างอาคารศูนย์โรคหัวใจล่าช้าออกไปกว่า ๒ ปี ผู้ร้องจึงไม่ได้เงินค่างานไปชำระให้แก่ธนาคาร ธนาคารจึงไม่สนับสนุนทางการเงินให้แก่ผู้ร้อง ประกอบกับเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา คณะรัฐมนตรีได้มีมติแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร.๐๒๐๕/ว ๗๐ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๑ ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง โดยให้ขยายเวลาก่อสร้างตามสัญญาจ้างได้ ๑๘๐ วัน นับแต่ระยะเวลาตามสัญญาเดิมสิ้นสุดลง ซึ่งผู้คัดค้านได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบการได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาก่อสร้างได้ก็ล่วงเลยกำหนดตามสัญญาเดิมเหลือเวลาเพียง ๘๐ วันเท่านั้น ไม่อยู่ในวิสัยที่จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาได้ และเมื่อครบกำหนดผู้คัดค้านได้บอกเลิกสัญญา ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีแจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร.๐๒๐๕/ว ๑๙๗ ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างซึ่งเป็นคู่สัญญากับรัฐ ผู้ร้องจึงมีหนังสือถึงผู้คัดค้านเพื่อขอความช่วยเหลือ ผู้คัดค้านได้มีหนังสือแจ้งผู้ร้องว่าได้อนุมัติให้นิรโทษกรรมและคืนหลักประกัน โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ร้องจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการคัดเลือกผู้รับเหมารายใหม่ ผู้ร้องประสงค์จะเข้าทำงานต่อในราคาเดิม แต่ผู้คัดค้านได้เลือกผู้รับเหมารายใหม่โดยวิธีพิเศษให้เข้าดำเนินการก่อสร้างต่อในราคาก่อสร้างที่สูงกว่าเดิม โดยไม่ให้โอกาสผู้ร้องเข้าทำงานต่อ ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ซึ่งตามสัญญาจ้างมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ต่อมาวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๓ ผู้ร้องจึงยื่นข้อพิพาทตามสัญญาจ้างดังกล่าวต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันคือสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม) ขอให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เลขที่ ๐๔/๓๙/๕๐๑๖๐ ฉบับลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๓๙ ให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการไม่คืนหนังสือค้ำประกัน ๒๖๗,๗๕๐ บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับจากวันเสนอข้อพิพาทจนกว่าจะชำระเสร็จ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ได้จ่ายเงินให้ผู้ร้องตามงวดงานที่แล้วเสร็จตามสัญญามาตลอด เมื่อผู้ร้องทิ้งงานผู้คัดค้านได้มีหนังสือให้ชี้แจงเหตุผล แต่ไม่ได้รับคำชี้แจง เมื่อมีมติคณะรัฐมนตรีให้ต่ออายุสัญญาจ้างก่อสร้าง ผู้ร้องได้เข้าทำงานก่อสร้างเพียงเล็กน้อยและหยุดการก่อสร้างอีก ผู้คัดค้านได้มีหนังสือเร่งรัด แต่ผู้ร้องยังคงเพิกเฉย และเมื่อรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้ขยายระยะเวลาก่อสร้าง ผู้ร้องก็มิได้เข้าทำการก่อสร้าง ผู้คัดค้านจึงบอกเลิกสัญญาและแจ้งริบหลักประกันตามสัญญา พร้อมแจ้งสงวนสิทธิให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากต้องจ้างเอกชนรายอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ เป็นเงินจำนวน ๓,๑๙๑,๔๕๔.๕๔ บาท ต่อมาวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ ผู้ร้องได้รับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตามข้อพิพาท หมายเลขดำที่ ๕๔/๒๕๔๓ หมายเลขแดงที่ ๕๑/๒๕๔๖ ชี้ขาดว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้คัดค้าน ไม่ต้องชำระค่าเสียหายจากการจากการไม่คืนหนังสือค้ำประกันสัญญาจ้าง ให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านจำนวน ๓,๑๙๑,๔๕๔.๕๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้คืนหนังสือค้ำประกันสัญญาจ้างให้แก่ผู้ร้องเมื่อผู้ร้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้ผู้คัดค้านครบถ้วนจนพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว ผู้ร้องเห็นว่า คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นพิพาทโดยยึดหลักเคร่งครัดเช่นเดียวกับหลักการขอวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือว่าผิดหรือขัดต่อปรัชญาและเจตนารมณ์ของระบบอนุญาโตตุลาการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องชำระค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบถ้วน ศาลแพ่งไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เนื่องจากสัญญาจ้างก่อสร้างหอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นสัญญาทางปกครอง ประกอบกับขณะมีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ ศาลปกครองยังไม่เปิดดำเนินการ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการใช้สิทธิขอให้ศาลแพ่งออกหมายเรียกพยานบุคคลหรือออกคำสั่งเรียกพยานเอกสารและพยานวัตถุเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการมาก่อน ศาลแพ่งมิเคยได้ใช้อำนาจเหนือข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทมาแต่เริ่มต้น กรณียังถือไม่ได้ว่าศาลแพ่งเป็นศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ ทั้งคู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่ง และมูลคดีเกิดที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มิได้เกิดในเขตอำนาจของศาลแพ่ง แม้คณะอนุญาโตตุลาการตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งก็ไม่มีเหตุทำให้มูลคดีกลับมาอยู่ในเขตอำนาจ ศาลแพ่ง การวินิจฉัยข้อพิพาทตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชอบแล้วไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ขอให้ยกคำร้อง ผู้คัดค้านยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีอยู่อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองด้วยเหตุผลตามคำคัดค้านข้างต้น
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ วางหลักเกณฑ์ให้สัญญาทางปกครองมีลักษณะเป็นสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งต้องเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ แม้ผู้คัดค้านเป็นหน่วยงานทางปกครองที่ให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ อันเป็นประโยชน์ต่อการสาธารณสุขของประเทศ แต่สัญญาคดีนี้เป็นการจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์เชื่อว่าอาคารดังกล่าวมิได้ทำขึ้นเพื่อให้การบริการสาธารณะโดยประชาชนทั่วไปใช้บริการและมิใช่สิ่งสาธารณูปโภค สัญญาจ้างคดีนี้ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงมิใช่สัญญาทางปกครองแต่เป็นสัญญาทางแพ่ง พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๐ วรรคสอง บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้ โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ และมาตรา ๙ บัญญัติให้ศาลที่มีการพิจารณา ชั้นอนุญาโตตุลการอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้นเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคดีนี้เป็นสัญญาทางแพ่ง ดังนั้น การที่ผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาด โดยยื่นต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งชอบแล้ว ศาลแพ่งจึงเป็นศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาล ย่อมเป็นศาลที่มีเขตอำนาจที่ผู้ร้องอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ มาตรา ๔๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ มาตรา ๙ บัญญัติให้ศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือศาล ที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้น เป็นศาลที่มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๕ วรรคสอง บัญญัติว่า การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ให้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุดแล้วแต่กรณี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ มุ่งประสงค์ให้พิจารณาลักษณะเนื้อหาแห่งประเด็นข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาเป็นสำคัญว่าเป็นคดีแพ่งหรือคดีปกครอง โดยมิได้พิจารณาข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการแยกออกต่างหากอีกส่วนหนึ่ง หากข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทใด มีลักษณะเป็นคดีแพ่ง ศาลที่มีเขตอำนาจได้แก่ศาลยุติธรรม หากข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทใดมีลักษณะเป็นคดีปกครอง ศาลที่มีเขตอำนาจได้แก่ศาลปกครอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เพื่อให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งในวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับแล้ว โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นไป ทำให้คดีพิพาทเกี่ยวสัญญาทางปกครองอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ขณะทำสัญญาจ้างผู้คัดค้านเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๐ และเป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบริการสาธารณะให้การศึกษา ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยที่เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของประเทศชาติ ผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในวิชาชีพและเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบริการสาธารณะให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ของคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล นักศึกษาแพทย์มีความจำเป็นจะต้องศึกษาเรียนรู้จากผู้ป่วยที่มารับการรักษาในสถานศึกษาหรือโรงพยาบาลของสถานศึกษา ซึ่งจะมีผู้ป่วยที่มารับการรักษาตลอดเวลาในแต่ละวัน การที่ผู้คัดค้านจัดหาที่พักให้แก่นักศึกษาแพทย์ซึ่งไม่มีที่พักหรือมีที่พักแต่อยู่ไกลจากสถานศึกษา เพื่อให้นักศึกษาแพทย์มีความสะดวกในการศึกษาเรียนรู้จากผู้ป่วยอันเป็นการสนับสนุนการให้การศึกษาของผู้คัดค้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์จึงจำเป็นต้องมีหอพักนักศึกษาแพทย์ หอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการให้การศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์ซึ่งเป็นบริการสาธารณะดังกล่าวให้บรรลุผล นอกจากนั้น ผู้คัดค้านมีฐานะเป็นผู้ให้บริการสาธารณะโดยการให้การศึกษา ส่วนนักศึกษาแพทย์เป็นผู้รับบริการสาธารณะ การที่ผู้คัดค้านจัดทำหอพักนักศึกษาแพทย์เพื่อให้นักศึกษาแพทย์พักอาศัยใช้ประโยชน์ระหว่างเข้ารับบริการสาธารณะ หอพักนักศึกษาแพทย์จึงเป็นสิ่งสาธารณูปโภค สัญญาจ้างให้ก่อสร้างหอพักดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามนัย มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวีธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ศาลปกครองจึงเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้น และเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา ๔๐ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ สำหรับกรณีผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดโดยยื่นต่อสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม แต่การพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีการขอให้ศาลแพ่งออกหมายเรียกพยานบุคคล หรือคำสั่งเรียกพยานเอกสารและพยานวัตถุ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ ศาลแพ่งจึงมิใช่ศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาลตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ และมิใช่ศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามมาตรา ๔๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องสรุปได้ว่า บริษัท ยู.ที.เอ็ม.เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้ร้อง เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จำนวน ๑ หลัง โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คัดค้าน เป็นผู้ว่าจ้างในการทำสัญญาดังกล่าว ผู้ร้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปมอบให้แก่ผู้คัดค้านไว้เป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญา แต่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญา โดยมิใช่ความผิดของผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน จากนั้นผู้ร้องยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ขอให้มีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านคืนหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าว ให้ชำระค่าเสียหายจากการไม่คืนหนังสือค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ย ต่อมา อนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา และให้ชำระเงินแก่ผู้คัดค้านจำนวน ๓,๑๙๑,๔๕๔.๕๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ผู้คัดค้านคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาจ้างเมื่อผู้ร้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้ครบถ้วนจนพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านสรุปได้ว่า สัญญาจ้างดังกล่าวเป็นสัญญาทางปกครอง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง และการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการชอบแล้ว ขอให้ยกคำร้อง กรณีจึงเป็นข้อพิพาทสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ดังกล่าว คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า สัญญาพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน เป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง โดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คัดค้านมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยที่เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของประเทศชาติ ผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในวิชาชีพและเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทำสัญญาว่าจ้างให้ผู้ร้องก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน ๑ หลัง จึงถือเป็นกิจการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาดำเนินการเพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะบรรลุผล สัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้นศาลปกครองจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการ ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งแม้คดีนี้ผู้ร้องจะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๓ อันเป็นวันก่อนวันเปิดทำการของ ศาลปกครองก็ตาม (ศาลปกครองเปิดทำการวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔) แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนที่ศาลปกครองจะเปิดทำการคู่สัญญาหรืออนุญาโตตุลาการได้มีการร้องขอให้ศาลยุติธรรมใช้อำนาจเหนือข้อขัดแย้งในคดีนี้มาก่อน ศาลยุติธรรมจึงมิใช่ศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง บริษัท ยู.ที.เอ็ม.เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้ร้อง มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คัดค้าน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) วิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๗
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๐/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดมหาสารคาม
ระหว่าง
ศาลปกครองขอนแก่น
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดมหาสารคามโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นางปาน จำรัสศรี โจทก์ ยื่นฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม จำเลย ต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๖๖๙/๒๕๔๗ ความว่า เดิมนายสอน คำตัน พี่ชายโจทก์ เป็นเจ้าของที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) เลขที่ ๑๑๙ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอเมือง (ที่ถูกอำเภอกันทรวิชัย) จังหวัดมหาสารคาม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ นายสอนไปประกอบอาชีพที่ต่างจังหวัดจึงยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้โจทก์ และในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ นายเจียม จำรัสศรี สามีโจทก์ ได้ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์โดยชอบ เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวให้เป็น น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ต่อมา ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๒ นายสอนขอที่ดินแปลงดังกล่าวคืนจากโจทก์แต่สามีโจทก์ไม่คืนให้ นายสอนจึงร้องเรียนเท็จไปยังสำนักงานที่ดินอำเภอกันทรวิชัยว่า สามีโจทก์สร้างหลักฐานเท็จว่านายสอนยกที่ดินให้ ทั้งนำพยานหลักฐานเท็จมานำสืบจนเจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อและเสนอให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ของสามีโจทก์ และต่อมา จำเลยได้มีคำสั่งจังหวัดมหาสารคามที่ ๔๗๖/๒๕๒๔ ให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของสามีโจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากจำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจตามความในมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากการออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวให้แก่นายเจียมเป็นไปโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง โดยออกทับที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และ ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๖๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งนายสอนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา โดยนายเจียมได้นำเจ้าพนักงานที่ดินเดินสำรวจรังวัดออก น.ส. ๓ ก. โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศ พร้อมทั้งแจ้งหลักฐานในการขอออกในแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ว่าเป็นที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย ซึ่งมีชื่อนายสอนเป็นผู้แจ้งการครอบครอง และอ้างว่านายสอนยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้เมื่อ ๑๘ ปี มาแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินจึงออก น.ส. ๓ ก. ให้แก่นายเจียม ต่อมา นายสอนทราบว่า นายเจียมนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ดังกล่าว ทับที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และเลขที่ ๑๖๑ ที่นายสอนครอบครองอยู่จึงร้องเรียนต่อนายอำเภอกันทรวิชัยให้ทำการสอบสวนและเพิกถอน น.ส. ก. ดังกล่าว เจ้าพนักงานได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้วพบว่า นายเจียมไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และเลขที่ ๑๖๑ ที่จะขอออก น.ส. ๓ ก. ได้ ส่วนที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๑๙ ที่นายเจียมอ้างเป็นหลักฐานในการขอออก น.ส. ๓ ก. นั้น เป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ ที่นายเจียมนำพนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปรังวัดขอออก น.ส. ๓ ก. และนายสอนไม่เคยยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้โจทก์ การออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวจึงเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จึงใช้อำนาจตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ออกคำสั่งที่ ๔๗๖/๒๕๒๔ เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และคดีโจทก์ขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง อนึ่ง จำเลยยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาล
ศาลจังหวัดมหาสารคามเห็นว่า การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งของจำเลยชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะเพิกถอนได้หรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า การขอออก น.ส. ๓ ก. ในที่ดินพิพาท ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๑๙ ของนายเจียม สามีโจทก์เป็นไปโดยชอบหรือไม่ และเป็นการออกทับ ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และเลขที่ ๑๖๑ ของนายสอนหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาพยานหลักฐานไปตามประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองขอนแก่นเห็นว่า คดีพิพาทคดีนี้ จำเลยยอมรับว่าได้ออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ให้แก่นายเจียมเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยออกทับที่ดิน ส.ค. ๑ ของนายสอน จำเลยจึงใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๖๑ ออกคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าว ในการพิจารณามีประเด็นพิพาทเพียงว่า คำสั่งจังหวัดมหาสารคามที่ ๔๗๖/๒๕๒๔ เรื่อง เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยศาลมีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าผู้ออกคำสั่งมีอำนาจหรือไม่ กระบวนการหรือขั้นตอนก่อนมีคำสั่งชอบหรือไม่ และการใช้ดุลพินิจออกคำสั่งว่าการออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ไม่เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (การออก น.ส. ๓ ก. โดยอาศัยหลักฐาน ส.ค. ๑ คนละแปลง) เป็นไปโดยชอบหรือไม่ ทั้งนี้ ตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติ ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าใครมีกรรมสิทธิ์ดีกว่ากัน กรณีเป็นการฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองขอนแก่น
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า นายสอน คำตัน พี่ชายโจทก์ เป็นเจ้าของที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) เลขที่ ๑๑๙ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ต่อมาได้ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้โจทก์และนายเจียม จำรัสศรี สามีโจทก์ ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยชอบเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม แต่ปรากฏว่าจำเลยมีคำสั่ง ที่ ๔๗๖/๒๕๒๔ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ของสามีโจทก์ ส่วนจำเลยให้การสรุปได้ว่า เนื่องจากการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวผิดพลาดคลาดเคลื่อนโดยออกทับที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และ เลขที่ ๑๖๑ ซึ่งนายสอนพี่ชายโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ดังนั้น มูลความแห่งคดีนี้จึงสืบเนื่องมาจากคำสั่งของฝ่ายปกครองที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ของสามีโจทก์ แต่โจทก์เห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นของสามีโจทก์ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) จึงชอบแล้ว แม้โจทก์จะมิได้กล่าวอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท และคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของสามีโจทก์หรือเป็นของพี่ชายโจทก์เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าคำสั่งดังกล่าวตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิในที่ดินของสามีโจทก์โดยตรง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่ความ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางปาน จำรัสศรี โจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) วิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๐/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดมหาสารคาม
ระหว่าง
ศาลปกครองขอนแก่น
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดมหาสารคามโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นางปาน จำรัสศรี โจทก์ ยื่นฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม จำเลย ต่อศาลจังหวัดมหาสารคาม เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๖๖๙/๒๕๔๗ ความว่า เดิมนายสอน คำตัน พี่ชายโจทก์ เป็นเจ้าของที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) เลขที่ ๑๑๙ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอเมือง (ที่ถูกอำเภอกันทรวิชัย) จังหวัดมหาสารคาม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ นายสอนไปประกอบอาชีพที่ต่างจังหวัดจึงยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้โจทก์ และในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ นายเจียม จำรัสศรี สามีโจทก์ ได้ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์โดยชอบ เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวให้เป็น น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ต่อมา ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๒ นายสอนขอที่ดินแปลงดังกล่าวคืนจากโจทก์แต่สามีโจทก์ไม่คืนให้ นายสอนจึงร้องเรียนเท็จไปยังสำนักงานที่ดินอำเภอกันทรวิชัยว่า สามีโจทก์สร้างหลักฐานเท็จว่านายสอนยกที่ดินให้ ทั้งนำพยานหลักฐานเท็จมานำสืบจนเจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อและเสนอให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ของสามีโจทก์ และต่อมา จำเลยได้มีคำสั่งจังหวัดมหาสารคามที่ ๔๗๖/๒๕๒๔ ให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของสามีโจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากจำเลยเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจตามความในมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากการออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวให้แก่นายเจียมเป็นไปโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง โดยออกทับที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และ ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๖๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งนายสอนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมา โดยนายเจียมได้นำเจ้าพนักงานที่ดินเดินสำรวจรังวัดออก น.ส. ๓ ก. โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศ พร้อมทั้งแจ้งหลักฐานในการขอออกในแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ว่าเป็นที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๑๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย ซึ่งมีชื่อนายสอนเป็นผู้แจ้งการครอบครอง และอ้างว่านายสอนยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้เมื่อ ๑๘ ปี มาแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินจึงออก น.ส. ๓ ก. ให้แก่นายเจียม ต่อมา นายสอนทราบว่า นายเจียมนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ดังกล่าว ทับที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และเลขที่ ๑๖๑ ที่นายสอนครอบครองอยู่จึงร้องเรียนต่อนายอำเภอกันทรวิชัยให้ทำการสอบสวนและเพิกถอน น.ส. ก. ดังกล่าว เจ้าพนักงานได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้วพบว่า นายเจียมไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และเลขที่ ๑๖๑ ที่จะขอออก น.ส. ๓ ก. ได้ ส่วนที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๑๙ ที่นายเจียมอ้างเป็นหลักฐานในการขอออก น.ส. ๓ ก. นั้น เป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ ที่นายเจียมนำพนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปรังวัดขอออก น.ส. ๓ ก. และนายสอนไม่เคยยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้โจทก์ การออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวจึงเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จึงใช้อำนาจตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ออกคำสั่งที่ ๔๗๖/๒๕๒๔ เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และคดีโจทก์ขาดอายุความขอให้ยกฟ้อง อนึ่ง จำเลยยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาล
ศาลจังหวัดมหาสารคามเห็นว่า การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งของจำเลยชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะเพิกถอนได้หรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า การขอออก น.ส. ๓ ก. ในที่ดินพิพาท ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๑๙ ของนายเจียม สามีโจทก์เป็นไปโดยชอบหรือไม่ และเป็นการออกทับ ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และเลขที่ ๑๖๑ ของนายสอนหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาพยานหลักฐานไปตามประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองขอนแก่นเห็นว่า คดีพิพาทคดีนี้ จำเลยยอมรับว่าได้ออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ให้แก่นายเจียมเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยออกทับที่ดิน ส.ค. ๑ ของนายสอน จำเลยจึงใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๖๑ ออกคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าว ในการพิจารณามีประเด็นพิพาทเพียงว่า คำสั่งจังหวัดมหาสารคามที่ ๔๗๖/๒๕๒๔ เรื่อง เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยศาลมีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าผู้ออกคำสั่งมีอำนาจหรือไม่ กระบวนการหรือขั้นตอนก่อนมีคำสั่งชอบหรือไม่ และการใช้ดุลพินิจออกคำสั่งว่าการออก น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๐ ไม่เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (การออก น.ส. ๓ ก. โดยอาศัยหลักฐาน ส.ค. ๑ คนละแปลง) เป็นไปโดยชอบหรือไม่ ทั้งนี้ ตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติ ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าใครมีกรรมสิทธิ์ดีกว่ากัน กรณีเป็นการฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองขอนแก่น
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า นายสอน คำตัน พี่ชายโจทก์ เป็นเจ้าของที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) เลขที่ ๑๑๙ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ต่อมาได้ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้โจทก์และนายเจียม จำรัสศรี สามีโจทก์ ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยชอบเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๐๔๐ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม แต่ปรากฏว่าจำเลยมีคำสั่ง ที่ ๔๗๖/๒๕๒๔ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ของสามีโจทก์ ส่วนจำเลยให้การสรุปได้ว่า เนื่องจากการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวผิดพลาดคลาดเคลื่อนโดยออกทับที่ดิน ส.ค. ๑ เลขที่ ๙๗ และ เลขที่ ๑๖๑ ซึ่งนายสอนพี่ชายโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ดังนั้น มูลความแห่งคดีนี้จึงสืบเนื่องมาจากคำสั่งของฝ่ายปกครองที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ของสามีโจทก์ แต่โจทก์เห็นว่าที่ดินพิพาทเป็นของสามีโจทก์ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) จึงชอบแล้ว แม้โจทก์จะมิได้กล่าวอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท และคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของโจทก์ได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของสามีโจทก์หรือเป็นของพี่ชายโจทก์เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าคำสั่งดังกล่าวตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิในที่ดินของสามีโจทก์โดยตรง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่ความ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางปาน จำรัสศรี โจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) วิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๙/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๗ นางเสนาะ ประไพพงษ์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง นายอำเภออุทัย ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๔๒๑/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๖๗๗ เลขที่ดิน ๒/๒๙๔ ตำบลบ้านอ้อย อำเภออุไทยใหญ่ เมืองกรุงเก่า ออกเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๕ โดยครอบครองต่อเนื่องมาจากบรรพบุรุษและได้ปลูกสร้างบ้านเลขที่ ๒๐/๑ ตลอดจนใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ปลูกสร้างเพิ่มเติมในที่ดินแปลงนี้อีก ๑ หลัง เลขที่ ๒๐/๒ และใช้ประโยชน์เป็นร้านค้าเนื่องจากอยู่ใกล้แนวถนนสายอยุธยา-อุทัย ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งผู้ฟ้องคดีตามหนังสืออำเภออุทัย ที่ อย ๑๔๑๗/๑๒๓ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ ว่าผู้ฟ้องคดีได้บุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ปลูกสร้างบ้านและร้านค้าโดยมิได้รับอนุญาตและอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ประกอบมาตรา ๖๒ วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนบ้านและร้านค้าออกจากที่ดินพิพาทภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๔๗ ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๗ อ้างว่าบ้านและร้านค้าดังกล่าวปลูกสร้างในโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๖๗๗ ห่างจากถนนสาธารณะประมาณ ๓ - ๔ เมตร ผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสืออำเภออุทัย ด่วนที่สุด ที่ อย ๑๔๑๗/๔๔๖ ลงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ชอบจึงฟ้องต่อศาลเป็นคดีนี้ ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีตามหนังสืออำเภออุทัย ที่ อย ๑๔๑๗/๑๒๓ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การปฏิเสธและให้การเพิ่มเติมว่า ราษฎรได้ร้องเรียนว่าผู้ฟ้องคดี ปลูกสร้างบ้านเลขที่ ๒๐/๒ และร้านค้ารุกล้ำที่ดินสาธารณประโยชน์ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริง และได้รับรายงานว่าบ้านของผู้ฟ้องคดีเลขที่ ๒๐/๑, ๒๐/๒ และร้านค้า ตั้งอยู่ในเขตที่สาธารณประโยชน์โดยมีหลักฐานตามระวางแผนที่ระวางเดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ราวปี ร.ศ. ๑๒๐ ประกอบกับที่ดินทั้งสองฝั่งของทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวเป็นโฉนดที่ดินระบุข้างเคียงเป็นทางสาธารณประโยชน์และประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน และจากบันทึกถ้อยคำของผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีได้ยอมรับว่าบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์จริงโดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของบิดามารดามาแต่เดิม ปัจจุบันผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภออุทัยเพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ฟ้องคดี และขณะนี้อยู่ในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ผู้ฟ้องคดีคัดค้านคำให้การว่า บ้านพิพาททั้งสองหลังและร้านค้าปลูกสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๖๗๗ เลขที่ดิน ๒/๒๙๔ มีชื่อน้องสาวของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์โดยทำการปลูกสร้างมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ซึ่งที่ดินสาธารณประโยชน์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างและราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นทางเดินบริเวณด้านข้างของบ้านเลขที่ ๒๐/๒ นอกจากนี้ยังมีที่ดินซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นถนนลาดยางแอสฟัสท์ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลางเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้ที่ดินกลับคืนสู่การเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ประกอบมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ถูกฟ้องคดีควรที่จะใช้ความระมัดระวังดำเนินการตรวจพิสูจน์เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีให้เรียบร้อยเสียก่อนเพื่อไม่เป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ซึ่งการตรวจพิสูจน์สถานะของที่ดินรวมทั้งการดำเนินการเพื่อให้ มีการเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นการเตรียมการตามขั้นตอนเพื่อดำเนินการออกคำสั่งทางปกครองหรือการกระทำทางปกครองตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนบ้านและร้านค้าออกจากที่ดินพิพาทตามหนังสืออำเภออุทัย ที่ อย ๑๔๑๗/๑๒๓ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตหรือไม่ โดยไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาถึงสิทธิของผู้ฟ้องคดีในที่ดินพิพาทอันเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างแต่อย่างใด คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเห็นว่า การที่จะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จะต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นสำคัญ ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าบ้านของผู้ฟ้องคดีเลขที่ ๒๐/๑ ๒๐/๒ และร้านค้าปลูกสร้างในโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๖๗๗ เลขที่ดิน ๒/๒๙๔ ตำบลบ้านอ้อย อำเภออุไทยใหญ่ เมืองกรุงเก่า ออกเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๕ ปัจจุบันโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวมีชื่อน้องสาวของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีมีหนังสือ อย ๑๔๑๗/๑๒๓ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนบ้านและร้านค้าออกจากที่ดินพิพาทภายใน ๙๐ วัน อ้างว่าได้ปลูกสร้างบ้านและร้านค้าบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาต ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยยกอุทธรณ์ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากบ้านและร้านค้าปลูกสร้างในที่ดินที่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดินโดยมีชื่อน้องสาวของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้รื้อถอนบ้านและร้านค้าดังกล่าว ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การสรุปได้ว่า บ้านและร้านค้าตั้งอยู่ในเขตที่สาธารณประโยชน์ ประกอบกับที่ดินทั้งสองฝั่งของทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวเป็นโฉนดที่ดินระบุข้างเคียงเป็นทางสาธารณประโยชน์และประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งจากบันทึกถ้อยคำของผู้ฟ้องคดียอมรับว่าบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์จริง คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ดังนั้น มูลความแห่งคดีนี้จึงสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาท แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอยู่ในโฉนดที่ดินของน้องสาวผู้ฟ้องคดี แม้ผู้ฟ้องคดีจะมิได้กล่าวอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือเป็นของน้องสาวผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าคำสั่งดังกล่าวตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิในที่ดินของน้องสาวผู้ฟ้องคดีโดยตรง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางเสนาะ ประไพพงษ์ ผู้ฟ้องคดี นายอำเภออุทัย ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) วิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๙/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๗ นางเสนาะ ประไพพงษ์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง นายอำเภออุทัย ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๔๒๑/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๖๗๗ เลขที่ดิน ๒/๒๙๔ ตำบลบ้านอ้อย อำเภออุไทยใหญ่ เมืองกรุงเก่า ออกเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๕ โดยครอบครองต่อเนื่องมาจากบรรพบุรุษและได้ปลูกสร้างบ้านเลขที่ ๒๐/๑ ตลอดจนใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ปลูกสร้างเพิ่มเติมในที่ดินแปลงนี้อีก ๑ หลัง เลขที่ ๒๐/๒ และใช้ประโยชน์เป็นร้านค้าเนื่องจากอยู่ใกล้แนวถนนสายอยุธยา-อุทัย ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งผู้ฟ้องคดีตามหนังสืออำเภออุทัย ที่ อย ๑๔๑๗/๑๒๓ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ ว่าผู้ฟ้องคดีได้บุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ปลูกสร้างบ้านและร้านค้าโดยมิได้รับอนุญาตและอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ประกอบมาตรา ๖๒ วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนบ้านและร้านค้าออกจากที่ดินพิพาทภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๔๗ ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่ง ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๗ อ้างว่าบ้านและร้านค้าดังกล่าวปลูกสร้างในโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๖๗๗ ห่างจากถนนสาธารณะประมาณ ๓ - ๔ เมตร ผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ตามหนังสืออำเภออุทัย ด่วนที่สุด ที่ อย ๑๔๑๗/๔๔๖ ลงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ชอบจึงฟ้องต่อศาลเป็นคดีนี้ ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีตามหนังสืออำเภออุทัย ที่ อย ๑๔๑๗/๑๒๓ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การปฏิเสธและให้การเพิ่มเติมว่า ราษฎรได้ร้องเรียนว่าผู้ฟ้องคดี ปลูกสร้างบ้านเลขที่ ๒๐/๒ และร้านค้ารุกล้ำที่ดินสาธารณประโยชน์ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริง และได้รับรายงานว่าบ้านของผู้ฟ้องคดีเลขที่ ๒๐/๑, ๒๐/๒ และร้านค้า ตั้งอยู่ในเขตที่สาธารณประโยชน์โดยมีหลักฐานตามระวางแผนที่ระวางเดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ราวปี ร.ศ. ๑๒๐ ประกอบกับที่ดินทั้งสองฝั่งของทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวเป็นโฉนดที่ดินระบุข้างเคียงเป็นทางสาธารณประโยชน์และประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน และจากบันทึกถ้อยคำของผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีได้ยอมรับว่าบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์จริงโดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของบิดามารดามาแต่เดิม ปัจจุบันผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภออุทัยเพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ฟ้องคดี และขณะนี้อยู่ในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน นอกจากนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ผู้ฟ้องคดีคัดค้านคำให้การว่า บ้านพิพาททั้งสองหลังและร้านค้าปลูกสร้างในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๖๗๗ เลขที่ดิน ๒/๒๙๔ มีชื่อน้องสาวของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์โดยทำการปลูกสร้างมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ซึ่งที่ดินสาธารณประโยชน์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างและราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นทางเดินบริเวณด้านข้างของบ้านเลขที่ ๒๐/๒ นอกจากนี้ยังมีที่ดินซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นถนนลาดยางแอสฟัสท์ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลางเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้ที่ดินกลับคืนสู่การเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ประกอบมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ถูกฟ้องคดีควรที่จะใช้ความระมัดระวังดำเนินการตรวจพิสูจน์เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีให้เรียบร้อยเสียก่อนเพื่อไม่เป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ซึ่งการตรวจพิสูจน์สถานะของที่ดินรวมทั้งการดำเนินการเพื่อให้ มีการเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นการเตรียมการตามขั้นตอนเพื่อดำเนินการออกคำสั่งทางปกครองหรือการกระทำทางปกครองตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนบ้านและร้านค้าออกจากที่ดินพิพาทตามหนังสืออำเภออุทัย ที่ อย ๑๔๑๗/๑๒๓ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตหรือไม่ โดยไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาถึงสิทธิของผู้ฟ้องคดีในที่ดินพิพาทอันเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างแต่อย่างใด คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเห็นว่า การที่จะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จะต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นสำคัญ ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าบ้านของผู้ฟ้องคดีเลขที่ ๒๐/๑ ๒๐/๒ และร้านค้าปลูกสร้างในโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๖๗๗ เลขที่ดิน ๒/๒๙๔ ตำบลบ้านอ้อย อำเภออุไทยใหญ่ เมืองกรุงเก่า ออกเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๕ ปัจจุบันโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวมีชื่อน้องสาวของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีมีหนังสือ อย ๑๔๑๗/๑๒๓ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๗ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนบ้านและร้านค้าออกจากที่ดินพิพาทภายใน ๙๐ วัน อ้างว่าได้ปลูกสร้างบ้านและร้านค้าบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาต ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยยกอุทธรณ์ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากบ้านและร้านค้าปลูกสร้างในที่ดินที่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดินโดยมีชื่อน้องสาวของผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้รื้อถอนบ้านและร้านค้าดังกล่าว ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การสรุปได้ว่า บ้านและร้านค้าตั้งอยู่ในเขตที่สาธารณประโยชน์ ประกอบกับที่ดินทั้งสองฝั่งของทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวเป็นโฉนดที่ดินระบุข้างเคียงเป็นทางสาธารณประโยชน์และประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งจากบันทึกถ้อยคำของผู้ฟ้องคดียอมรับว่าบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์จริง คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ดังนั้น มูลความแห่งคดีนี้จึงสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาท แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอยู่ในโฉนดที่ดินของน้องสาวผู้ฟ้องคดี แม้ผู้ฟ้องคดีจะมิได้กล่าวอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือเป็นของน้องสาวผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าคำสั่งดังกล่าวตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ทั้งผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิในที่ดินของน้องสาวผู้ฟ้องคดีโดยตรง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางเสนาะ ประไพพงษ์ ผู้ฟ้องคดี นายอำเภออุทัย ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) วิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๘/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจ และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ นางสาวโกศล คงเจริญ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องนายอำเภอบางบ่อ ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ที่ ๒ สารวัตรสถานีตำรวจภูธรตำบลบางพลีน้อย ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๖๗/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้เช่านาแปลงที่ติดกับลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหล ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ลำรางดังกล่าวถูกนายลี ภู่หลำ และนางประเสริฐ ภู่หลำ เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๕๓๐๒ และเลขที่ ๖๙๑๗ ซึ่งอยู่แปลงตรงข้ามลำรางและแปลงข้างเคียงที่นาที่ผู้ฟ้องคดีทำนาอยู่ บุกรุกครอบครองและสร้างรั้วลวดหนามปิดกั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลำรางพิพาทได้ ผู้ฟ้องคดีได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นเวลา ๔ ปีเศษ แต่ไม่มีความคืบหน้า จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นเรื่องขอรังวัดที่ดินของนายลีและนางประเสริฐเพื่อกันเขตที่สาธารณประโยชน์ออกจากที่ดินของบุคคลดังกล่าวโดยเร็ว ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เร่งรัดการรังวัดสำรวจที่ดินราษฎรที่บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลให้เสร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เร่งรัดดำเนินคดีกับผู้บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. ๒๕๔๖
ต่อมา วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม โดยยื่นฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่ ๔ คณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรีที่ ๕ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีน้อย ที่ ๖ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ที่ ๗ ผู้ถูกฟ้องคดี ความว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ทำการก่อสร้างทางหลวงพิเศษสายกรุงเทพ-ชลบุรี ข้ามลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลโดยไม่ก่อสร้างสะพานหรือท่อลอดเป็นเหตุให้น้ำไหลเข้านาผู้ฟ้องคดีไม่ได้อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ถึงที่ ๗ ละเลยต่อหน้าที่ในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในส่วนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ เนื่องจากข้อหาที่ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และคำฟ้องในส่วนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นคำฟ้องเพิ่มเติมที่ไม่ชอบ ศาลรับฟ้องไว้โดยผิดหลงอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ อนึ่ง ผู้ฟ้องคดีได้ขอถอนฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ถึงที่ ๗ เนื่องจากยื่นฟ้องโดยเข้าใจผิดว่าผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวมีหน้าที่ในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ ศาลปกครองกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนคำฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ได้ตรวจสอบและติดตามแก้ไขปัญหาให้กับผู้ฟ้องคดีมาโดยตลอด แต่ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินการเกี่ยวกับการบุกรุกลำรางสาธารณประโยชน์เนื่องจากแนวเขตลำรางสาธารณประโยชน์ที่ปรากฏตามระวางหลักฐานแผนที่ ร.ศ. ๑๒๕ ไม่สามารถชี้ชัดความกว้างและไม่สามารถหาข้อยุติได้ ประกอบกับเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้รังวัดออกโฉนดที่ดินอย่างถูกต้องอ้างการครอบครองตามเนื้อที่ของตนเอง ซึ่งเป็นปัญหาทางกฎหมายที่ต้องใช้ความพยายามไกล่เกลี่ย และดำเนินการต่างๆ หลายขั้นตอนเพื่อยุติปัญหาดังกล่าว ทั้งได้ขอความอนุเคราะห์ช่างเทคนิคจากสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการตรวจสอบเอกสารการรังวัดออกโฉนดหลักฐานที่ดินข้างเคียงลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลแปลงต่างๆ ที่พิพาท เพื่อให้ทราบความกว้างของลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม ในส่วนคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินของราษฎรข้างเคียงลำรางสาธารณประโยชน์นั้น แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มีอำนาจขอรังวัดสอบเขตที่ดินของเอกชน ซึ่งเป็นกรณีที่เจ้าของที่ดินข้างเคียงลำรางสาธารณประโยชน์ทุกแปลงจะต้องยื่นคำร้องและนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของตนยื่นคำขอสอบเขตหรือตรวจสอบเนื้อที่เอง ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมที่ดินที่ มท ๐๖๑๑/ว ๑๖๕๖๒ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๕
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ได้ออกโฉนดเลขที่ ๕๓๐๒ และเลขที่ ๖๙๑๗ ให้แก่นายลีและนางประเสริฐโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แจ้งว่า ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกไปรังวัดตรวจสอบข้อเท็จจริงบริเวณที่ดินพิพาทและขึ้นรูปแผนที่จากผลการรังวัดเรียบร้อยแล้ว ส่วนกรณีจะมีการบุกรุกครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งของลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลหรือไม่เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอบางบ่อผู้ดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์
ศาลปกครองกลางเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหล ปล่อยให้นายลีและนางประเสริฐ บุกรุกครอบครองลำรางสาธารณประโยชน์ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลำรางดังกล่าว เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการรังวัดตรวจสอบแนวเขตลำรางสาธารณประโยชน์ที่พิพาทปรากฏว่า นายลีและนางประเสริฐคัดค้านการรังวัดโดยอ้างว่าที่ดินของตน มีการรังวัดออกโฉนดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และมีตำแหน่งของหลักเขตตั้งอยู่อย่างถูกต้องแล้ว จึงเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้อง การที่จะวินิจฉัยว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรตามข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ศาลจำต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่านายลีและนางประเสริฐทำการบุกรุกครอบครองเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลหรือเป็นที่ดินในกรรมสิทธิ์ของบุคคลทั้งสองอันเป็นกรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินคือที่ดิน ซึ่งศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้แก่ ศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔/๒๕๔๕ ที่ ๒๔/๒๕๔๗ ที่ ๒๕/๒๕๔๗ และที่ ๒๖/๒๕๔๗
ศาลจังหวัดสมุทรปราการเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ปล่อยให้นายลีและนางประเสริฐบุกรุกครอบครองลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายจากการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลำรางดังกล่าวได้เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่าได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการรังวัดตรวจสอบแนวเขตลำรางพิพาทแล้วปรากฏว่านายลีและนางประเสริฐคัดค้านการรังวัดอ้างว่าที่ดินของตนมีการออกโฉนดโดยถูกต้อง การตรวจสอบแนวเขตลำรางพิพาทมีปัญหาเพราะขณะมีการตรวจสอบที่พิพาทลำรางตื้นเขินไม่มีสภาพเป็นลำรางและที่ดินแนวเขตติดต่อกับลำรางนั้นก็มีการออกโฉนดหลายแปลงและมีข้อจำกัดทางกฎหมายที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยเร็ว ในทำนองว่าผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ประเด็นในคดีจึงมีว่า "ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลหรือไม่" ไม่ได้มีประเด็นโต้แย้งกันเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิทธิในทรัพย์สิน และข้อสำคัญที่เป็นเหตุผลที่ศาลจะยกมาประกอบการวินิจฉัยคดีคือ การดำเนินการแก้ไขปัญหาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ตามที่ปรากฏในคำให้การต่างๆ นั้น ถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ คดีนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) บัญญัติให้เป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีที่เอกชนฟ้องนายอำเภอบางบ่อที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลีที่ ๒ สารวัตรสถานีตำรวจภูธรตำบลบางพลีน้อยที่ ๓ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่ ๔ คณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี ที่ ๕ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีน้อย ที่ ๖ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ที่ ๗ ผู้ถูกฟ้องคดี แต่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในส่วนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ และผู้ฟ้องคดีขอถอนฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ถึงที่ ๗ ดังนั้น คงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะในส่วนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด
ผู้ฟ้องคดีเป็นราษฎรหมู่ที่ ๘ ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การสรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหล จากการที่ลำรางดังกล่าวถูกนายลี และนางประเสริฐ บุกรุกครอบครองและสร้างรั้วลวดหนามปิดกั้นลำรางสาธารณะประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีเคยร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วเป็นเวลา ๔ ปีเศษ แต่ไม่มีความคืบหน้า ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นเรื่องรังวัดเพื่อกันเขตที่สาธารณประโยชน์โดยเร็ว ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เร่งรัดการรังวัดสำรวจที่ดินของราษฎรที่บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลให้แล้วเสร็จ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่าได้ตรวจสอบและติดตามแก้ไขปัญหาให้กับผู้ฟ้องคดีมาโดยตลอด แต่เนื่องจากตามระวางหลักฐานแผนที่ ร.ศ. ๑๒๕ ไม่สามารถชี้ชัดความกว้างของลำรางดังกล่าวได้ จึงต้องทำการพิสูจน์แนวเขตลำรางด้วยวิธีอื่น เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการตามกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่าได้ปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายแล้ว ดังนั้น ข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การ คดีนี้เกิดจากการที่มีผู้บุกรุกลำรางสาธารณะ ผู้ฟ้องคดีจึงร้องเรียนต่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอรังวัดและทำการรังวัดลำรางสาธารณประโยชน์ แต่เวลาผ่านมาแล้วกว่า ๔ ปี ก็ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองก็ให้การว่าอยู่ในระหว่างดำเนินการ คดีจึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์หรือไม่ โดยไม่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางสาวโกศล คงเจริญ ผู้ฟ้องคดี นายอำเภอบางบ่อ ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) วิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๖
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๘/๒๕๔๘
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจ และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ นางสาวโกศล คงเจริญ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องนายอำเภอบางบ่อ ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ที่ ๒ สารวัตรสถานีตำรวจภูธรตำบลบางพลีน้อย ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๖๗/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้เช่านาแปลงที่ติดกับลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหล ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่ลำรางดังกล่าวถูกนายลี ภู่หลำ และนางประเสริฐ ภู่หลำ เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๕๓๐๒ และเลขที่ ๖๙๑๗ ซึ่งอยู่แปลงตรงข้ามลำรางและแปลงข้างเคียงที่นาที่ผู้ฟ้องคดีทำนาอยู่ บุกรุกครอบครองและสร้างรั้วลวดหนามปิดกั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลำรางพิพาทได้ ผู้ฟ้องคดีได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นเวลา ๔ ปีเศษ แต่ไม่มีความคืบหน้า จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นเรื่องขอรังวัดที่ดินของนายลีและนางประเสริฐเพื่อกันเขตที่สาธารณประโยชน์ออกจากที่ดินของบุคคลดังกล่าวโดยเร็ว ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เร่งรัดการรังวัดสำรวจที่ดินราษฎรที่บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลให้เสร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เร่งรัดดำเนินคดีกับผู้บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. ๒๕๔๖
ต่อมา วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม โดยยื่นฟ้องการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่ ๔ คณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรีที่ ๕ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีน้อย ที่ ๖ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ที่ ๗ ผู้ถูกฟ้องคดี ความว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ทำการก่อสร้างทางหลวงพิเศษสายกรุงเทพ-ชลบุรี ข้ามลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลโดยไม่ก่อสร้างสะพานหรือท่อลอดเป็นเหตุให้น้ำไหลเข้านาผู้ฟ้องคดีไม่ได้อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ถึงที่ ๗ ละเลยต่อหน้าที่ในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในส่วนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ เนื่องจากข้อหาที่ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และคำฟ้องในส่วนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เป็นคำฟ้องเพิ่มเติมที่ไม่ชอบ ศาลรับฟ้องไว้โดยผิดหลงอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ อนึ่ง ผู้ฟ้องคดีได้ขอถอนฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ถึงที่ ๗ เนื่องจากยื่นฟ้องโดยเข้าใจผิดว่าผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวมีหน้าที่ในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ ศาลปกครองกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนคำฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ได้ตรวจสอบและติดตามแก้ไขปัญหาให้กับผู้ฟ้องคดีมาโดยตลอด แต่ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินการเกี่ยวกับการบุกรุกลำรางสาธารณประโยชน์เนื่องจากแนวเขตลำรางสาธารณประโยชน์ที่ปรากฏตามระวางหลักฐานแผนที่ ร.ศ. ๑๒๕ ไม่สามารถชี้ชัดความกว้างและไม่สามารถหาข้อยุติได้ ประกอบกับเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้รังวัดออกโฉนดที่ดินอย่างถูกต้องอ้างการครอบครองตามเนื้อที่ของตนเอง ซึ่งเป็นปัญหาทางกฎหมายที่ต้องใช้ความพยายามไกล่เกลี่ย และดำเนินการต่างๆ หลายขั้นตอนเพื่อยุติปัญหาดังกล่าว ทั้งได้ขอความอนุเคราะห์ช่างเทคนิคจากสำนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการตรวจสอบเอกสารการรังวัดออกโฉนดหลักฐานที่ดินข้างเคียงลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลแปลงต่างๆ ที่พิพาท เพื่อให้ทราบความกว้างของลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม ในส่วนคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินของราษฎรข้างเคียงลำรางสาธารณประโยชน์นั้น แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มีอำนาจขอรังวัดสอบเขตที่ดินของเอกชน ซึ่งเป็นกรณีที่เจ้าของที่ดินข้างเคียงลำรางสาธารณประโยชน์ทุกแปลงจะต้องยื่นคำร้องและนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของตนยื่นคำขอสอบเขตหรือตรวจสอบเนื้อที่เอง ทั้งนี้ ตามหนังสือกรมที่ดินที่ มท ๐๖๑๑/ว ๑๖๕๖๒ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๕
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ได้ออกโฉนดเลขที่ ๕๓๐๒ และเลขที่ ๖๙๑๗ ให้แก่นายลีและนางประเสริฐโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แจ้งว่า ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกไปรังวัดตรวจสอบข้อเท็จจริงบริเวณที่ดินพิพาทและขึ้นรูปแผนที่จากผลการรังวัดเรียบร้อยแล้ว ส่วนกรณีจะมีการบุกรุกครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งของลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลหรือไม่เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอบางบ่อผู้ดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์
ศาลปกครองกลางเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหล ปล่อยให้นายลีและนางประเสริฐ บุกรุกครอบครองลำรางสาธารณประโยชน์ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลำรางดังกล่าว เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการรังวัดตรวจสอบแนวเขตลำรางสาธารณประโยชน์ที่พิพาทปรากฏว่า นายลีและนางประเสริฐคัดค้านการรังวัดโดยอ้างว่าที่ดินของตน มีการรังวัดออกโฉนดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และมีตำแหน่งของหลักเขตตั้งอยู่อย่างถูกต้องแล้ว จึงเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้อง การที่จะวินิจฉัยว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรตามข้อกล่าวอ้างของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ศาลจำต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่านายลีและนางประเสริฐทำการบุกรุกครอบครองเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลหรือเป็นที่ดินในกรรมสิทธิ์ของบุคคลทั้งสองอันเป็นกรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินคือที่ดิน ซึ่งศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้แก่ ศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔/๒๕๔๕ ที่ ๒๔/๒๕๔๗ ที่ ๒๕/๒๕๔๗ และที่ ๒๖/๒๕๔๗
ศาลจังหวัดสมุทรปราการเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ปล่อยให้นายลีและนางประเสริฐบุกรุกครอบครองลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายจากการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลำรางดังกล่าวได้เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่าได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการรังวัดตรวจสอบแนวเขตลำรางพิพาทแล้วปรากฏว่านายลีและนางประเสริฐคัดค้านการรังวัดอ้างว่าที่ดินของตนมีการออกโฉนดโดยถูกต้อง การตรวจสอบแนวเขตลำรางพิพาทมีปัญหาเพราะขณะมีการตรวจสอบที่พิพาทลำรางตื้นเขินไม่มีสภาพเป็นลำรางและที่ดินแนวเขตติดต่อกับลำรางนั้นก็มีการออกโฉนดหลายแปลงและมีข้อจำกัดทางกฎหมายที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยเร็ว ในทำนองว่าผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ประเด็นในคดีจึงมีว่า "ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลหรือไม่" ไม่ได้มีประเด็นโต้แย้งกันเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสิทธิในทรัพย์สิน และข้อสำคัญที่เป็นเหตุผลที่ศาลจะยกมาประกอบการวินิจฉัยคดีคือ การดำเนินการแก้ไขปัญหาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ตามที่ปรากฏในคำให้การต่างๆ นั้น ถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ คดีนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) บัญญัติให้เป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีที่เอกชนฟ้องนายอำเภอบางบ่อที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลีที่ ๒ สารวัตรสถานีตำรวจภูธรตำบลบางพลีน้อยที่ ๓ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่ ๔ คณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี ที่ ๕ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีน้อย ที่ ๖ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ที่ ๗ ผู้ถูกฟ้องคดี แต่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในส่วนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และที่ ๔ และผู้ฟ้องคดีขอถอนฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ถึงที่ ๗ ดังนั้น คงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะในส่วนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด
ผู้ฟ้องคดีเป็นราษฎรหมู่ที่ ๘ ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การสรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหล จากการที่ลำรางดังกล่าวถูกนายลี และนางประเสริฐ บุกรุกครอบครองและสร้างรั้วลวดหนามปิดกั้นลำรางสาธารณะประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีเคยร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วเป็นเวลา ๔ ปีเศษ แต่ไม่มีความคืบหน้า ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นเรื่องรังวัดเพื่อกันเขตที่สาธารณประโยชน์โดยเร็ว ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เร่งรัดการรังวัดสำรวจที่ดินของราษฎรที่บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ลำชวดอยู่แหลให้แล้วเสร็จ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่าได้ตรวจสอบและติดตามแก้ไขปัญหาให้กับผู้ฟ้องคดีมาโดยตลอด แต่เนื่องจากตามระวางหลักฐานแผนที่ ร.ศ. ๑๒๕ ไม่สามารถชี้ชัดความกว้างของลำรางดังกล่าวได้ จึงต้องทำการพิสูจน์แนวเขตลำรางด้วยวิธีอื่น เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการตามกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่าได้ปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายแล้ว ดังนั้น ข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การ คดีนี้เกิดจากการที่มีผู้บุกรุกลำรางสาธารณะ ผู้ฟ้องคดีจึงร้องเรียนต่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้ดำเนินการยื่นเรื่องขอรังวัดและทำการรังวัดลำรางสาธารณประโยชน์ แต่เวลาผ่านมาแล้วกว่า ๔ ปี ก็ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองก็ให้การว่าอยู่ในระหว่างดำเนินการ คดีจึงมีประเด็นต้องพิจารณาว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการดูแลรักษาลำรางสาธารณประโยชน์หรือไม่ โดยไม่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางสาวโกศล คงเจริญ ผู้ฟ้องคดี นายอำเภอบางบ่อ ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการสาขาบางพลี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) วิชัย วิวิตเสวี
(นายศุภชัย ภู่งาม) (นายวิชัย วิวิตเสวี)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๖
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๗/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดอุดรธานี
ระหว่าง
ศาลปกครองขอนแก่น
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดอุดรธานีส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๗ นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ โจทก์ ยื่นฟ้อง นายขันตี ตระกูลชัยอนันต์ ที่ ๑ นางสุวิทย์ หรือสุนิจนันต์ ตระกูลชัยอนันต์ หรือจันทร์รังศรี ที่ ๒ กรมที่ดิน ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลจังหวัดอุดรธานี เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๖๔๙/๒๕๔๗ ความว่าในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑ ได้เสนอขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๘๑ และเลขที่ ๘๒ ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี รวม ๒ แปลง แก่โจทก์ และจำเลยที่ ๒ ได้เสนอขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๙๓ ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี แก่โจทก์ โดยจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีหลักฐานการครอบครองถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สาขากุมภวาปี ส่วนแยกโนนสะอาดในขณะนั้น ยืนยันว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีการออกหลักฐานอย่างถูกต้องและไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือเป็นที่ดินต้องห้ามตามกฎหมายอย่างใดๆ โจทก์จึงซื้อที่ดินทั้งสามแปลงไว้ แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ จำเลยที่ ๓ ได้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ทั้งสามฉบับ เนื่องจากการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) ดังกล่าวเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมีการนำหนังสือแสดงสิทธิครอบครอง (ส.ค.๑) ที่แจ้งไว้สำหรับที่ดินแปลงอื่นมาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) และที่ดินทั้งสามแปลงตั้งอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์เห็นว่าการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการกระทำในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๓ ทั้งจำเลยที่ ๓ ได้ออกหลักฐานในที่ดินดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นที่ดินที่สามารถครอบครองและทำประโยชน์ได้จำเลยที่ ๓ จึงต้องร่วมรับผิดในการกระทำดังกล่าว ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายเป็นเงินค่าซื้อที่ดินทั้ง ๓ แปลง จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท และค่าเสียหายที่โจทก์ได้เตรียมการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีในที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ก่อนที่โจทก์จะตกลงซื้อที่ดินจากจำเลยที่ ๑ โจทก์ได้ตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินแล้ว ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวมีการออกหลักฐานถูกต้องและไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือต้องห้ามตามกฎหมาย ดังนั้นจำเลยที่ ๑ จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าที่ดิน ส่วนที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในการเตรียมการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยเคมี ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเพียงโครงการของโจทก์ที่เตรียมขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเท่านั้น ซึ่งสถาบันการเงินจะอนุมัติตามโครงการของโจทก์หรือไม่ โจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและค่าเสียหายในส่วนนี้ก็เป็นค่าเสียหายที่สูงเกินความเป็นจริง
จำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ ๓ ให้การพร้อมทั้งโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า จำเลยที่ ๓ ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เพราะจำเลยที่ ๓ ไม่เคยมอบหมายให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองว่าที่ดินที่ถูกเพิกถอนเป็นที่ดินที่ไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือที่ดินต้องห้ามตามกฎหมายใดๆ ดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่ประการใด ทั้งโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๓ ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีเนื่องจาก จำเลยที่ ๓ เป็นส่วนราชการระดับกรมมีฐานะเป็นนิติบุคคล สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่จำเลยที่ ๓ มีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งสามแปลง เนื่องจากเป็นการออกโดยอาศัยหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนำหลักฐาน ส.ค.๑ ของที่ดินแปลงอื่นมาใช้เป็นหลักฐานขอออก น.ส.๓ ก. ประกอบกับที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้จำแนกเป็นป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีโดยไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งการครอบครองไว้ก่อน ตามกฎหมาย จึงเป็นที่ดินต้องห้ามและไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
โจทก์ยื่นคำชี้แจงว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ร่วมกันกับเจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สาขากุมภวาปี ยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ออกหลักฐานอย่างถูกต้องและไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือต้องห้ามตามกฎหมายอย่างใด หากโจทก์ซื้อก็สามารถทำประโยชน์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้มีนายอำเภอโนนสะอาด (ในขณะที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์) เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและลงลายมือชื่อในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ทำให้โจทก์หลงเชื่อซื้อที่ดินดังกล่าวไว้ เป็นลักษณะที่เจ้าพนักงานที่ดินร่วมกับบุคคลภายนอกกระทำความผิดโดยไม่สามารถแบ่งแยกการกระทำได้ อีกทั้งจำเลยที่ ๓ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนและสรุปผลว่าเจ้าพนักงานที่ดินกระทำความผิดจริง และโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ ๓ ในการออกคำสั่งตามที่จำเลยที่ ๓ กล่าวอ้างในคำให้การ เพราะการออกคำสั่งของจำเลยที่ ๓ ไม่เข้าองค์ประกอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) "คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ''
ศาลจังหวัดอุดรธานีเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ โดยกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สาขากุมภวาปี ส่วนแยกโนนสะอาด ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ หลอกลวงโจทก์โดยร่วมกันยืนยันว่าที่ดินที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ นำไปเสนอขายแก่โจทก์เป็นที่ดินที่มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ถูกต้องตามกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อและซื้อที่ดินจากจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ กรณีจึงเป็นการกระทำละเมิด อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดาโดยทั่วไปของเจ้าพนักงานที่ดิน มิใช่การกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด ทั้งคดีนี้โจทก์มิได้มีคำขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินที่สั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งสามแปลงของโจทก์ ศาลจึงต้องใช้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยลักษณะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ชี้ขาด ดังนั้น คดีในส่วนของจำเลยที่ ๓ จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑
ศาลปกครองขอนแก่นเห็นว่า มูลเหตุของคดีนี้มาจากการที่จำเลยที่ ๓ ออกคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ เพราะการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินกำหนด โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทดังกล่าวโดยการซื้อตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากคำสั่งดังกล่าว แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ ๓ เพื่อขอให้มีการเพิกถอนหรือยกเลิกคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่โจทก์ฟ้องว่า การที่จำเลยที่ ๓ ออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยประมาทเลินเล่อและเจ้าพนักงานที่ดินในสำนักงานที่ดินจังหวัด ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคของจำเลยที่ ๓ ร่วมกับบุคคลภายนอกกระทำการยืนยันว่าที่ดินที่พิพาทเป็นที่ดินที่มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน โดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่รุกล้ำที่สาธารณะและไม่เป็นที่ดินต้องห้ามตามกฎหมายใดๆ ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๓ เป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อในความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว และได้ดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายและจำนองโดยถูกต้องตามกฎหมาย โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ ๓ ต้องร่วมรับผิดในการกระทำดังกล่าวของเจ้าพนักงานที่ดินอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ ๓ ในฐานะหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีภารกิจตามที่กฎหมายแบ่งส่วนราชการกำหนดไว้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในที่ดินของบุคคลโดยการออกหนังสือแสดงสิทธิและในการบริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้บุคคลมีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน เมื่อมีการฟ้องคดีว่า เจ้าหน้าที่ของตนกระทำการรับรองความถูกต้องของที่ดินพิพาททำให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยถูกต้องและไม่เป็นที่ดินต้องห้ามตามกฎหมายใด จึงเป็นการกระทำที่อาศัยการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ ๓ จึงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงเห็นว่าคดีในส่วนจำเลยที่ ๓ เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ เป็นคดีที่เอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชนด้วยกันและจากหน่วยงานทางปกครองอันเนื่องมาจากการทำละเมิด ซึ่งศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นสอดคล้องกันว่า คดีในส่วนจำเลยที่ ๑ และ ที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำ หรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ ๓ ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) จำนวน ๓ แปลง จากจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เนื่องจากบุคคลดังกล่าวและเจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สาขากุมภวาปี ส่วนแยกโนนสะอาดในขณะนั้น ร่วมกันยืนยันและรับรองทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีการออกหลักฐานอย่างถูกต้องและไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือเป็นที่ต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ปรากฏว่าต่อมาจำเลยที่ ๓ มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวทั้งสามแปลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยที่ ๓ ร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของเจ้าพนักงานที่ดินและจากการที่จำเลยที่ ๓ ได้ออกหลักฐานในที่ดินโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนทำให้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวเป็นที่ดินที่สามารถครอบครองและทำประโยชน์ได้และซื้อที่ดินดังกล่าวไว้ โดยคำฟ้องของโจทก์มิได้มีการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ในสังกัดจำเลยที่ ๓ กระทำละเมิดต่อโจทก์และการที่จำเลยที่ ๓ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือไม่
เหตุแห่งการฟ้องคดีมาจากการที่จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ในที่ดินทั้งสามแปลงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ในที่ดินดังกล่าวในเวลาต่อมา ซึ่งการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) นั้น เจ้าพนักงานที่ดินและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการตรวจสอบและพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายที่ดินได้ให้อำนาจไว้ และการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวก็เป็นอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติไว้เช่นกัน ทั้งคำสั่งเพิกถอนถือเป็นคำสั่งทางปกครองตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กรณีไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องสิทธิในที่ดิน ฉะนั้น การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ ๓ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ โจทก์ นายขันตี ตระกูลชัยอนันต์ ที่ ๑ นางสุวิทย์หรือสุนิจนันต์ ตระกูลชัยอนันต์ หรือจันทร์รังศรี ที่ ๒ กรมที่ดิน ที่ ๓ จำเลยนั้น สำหรับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนจำเลยที่ ๓ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๗/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดอุดรธานี
ระหว่าง
ศาลปกครองขอนแก่น
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดอุดรธานีส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๗ นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ โจทก์ ยื่นฟ้อง นายขันตี ตระกูลชัยอนันต์ ที่ ๑ นางสุวิทย์ หรือสุนิจนันต์ ตระกูลชัยอนันต์ หรือจันทร์รังศรี ที่ ๒ กรมที่ดิน ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลจังหวัดอุดรธานี เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๖๔๙/๒๕๔๗ ความว่าในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑ ได้เสนอขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๘๑ และเลขที่ ๘๒ ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี รวม ๒ แปลง แก่โจทก์ และจำเลยที่ ๒ ได้เสนอขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๙๓ ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี แก่โจทก์ โดยจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีหลักฐานการครอบครองถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สาขากุมภวาปี ส่วนแยกโนนสะอาดในขณะนั้น ยืนยันว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีการออกหลักฐานอย่างถูกต้องและไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือเป็นที่ดินต้องห้ามตามกฎหมายอย่างใดๆ โจทก์จึงซื้อที่ดินทั้งสามแปลงไว้ แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ จำเลยที่ ๓ ได้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ทั้งสามฉบับ เนื่องจากการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) ดังกล่าวเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมีการนำหนังสือแสดงสิทธิครอบครอง (ส.ค.๑) ที่แจ้งไว้สำหรับที่ดินแปลงอื่นมาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) และที่ดินทั้งสามแปลงตั้งอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์เห็นว่าการกระทำของเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการกระทำในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๓ ทั้งจำเลยที่ ๓ ได้ออกหลักฐานในที่ดินดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นที่ดินที่สามารถครอบครองและทำประโยชน์ได้จำเลยที่ ๓ จึงต้องร่วมรับผิดในการกระทำดังกล่าว ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายเป็นเงินค่าซื้อที่ดินทั้ง ๓ แปลง จำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท และค่าเสียหายที่โจทก์ได้เตรียมการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีในที่ดินแปลงดังกล่าวจำนวน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ก่อนที่โจทก์จะตกลงซื้อที่ดินจากจำเลยที่ ๑ โจทก์ได้ตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินแล้ว ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวมีการออกหลักฐานถูกต้องและไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือต้องห้ามตามกฎหมาย ดังนั้นจำเลยที่ ๑ จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าที่ดิน ส่วนที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในการเตรียมการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยเคมี ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเพียงโครงการของโจทก์ที่เตรียมขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเท่านั้น ซึ่งสถาบันการเงินจะอนุมัติตามโครงการของโจทก์หรือไม่ โจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและค่าเสียหายในส่วนนี้ก็เป็นค่าเสียหายที่สูงเกินความเป็นจริง
จำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ ๓ ให้การพร้อมทั้งโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า จำเลยที่ ๓ ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เพราะจำเลยที่ ๓ ไม่เคยมอบหมายให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองว่าที่ดินที่ถูกเพิกถอนเป็นที่ดินที่ไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือที่ดินต้องห้ามตามกฎหมายใดๆ ดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่ประการใด ทั้งโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๓ ต่อศาลจังหวัดอุดรธานีเนื่องจาก จำเลยที่ ๓ เป็นส่วนราชการระดับกรมมีฐานะเป็นนิติบุคคล สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่จำเลยที่ ๓ มีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งสามแปลง เนื่องจากเป็นการออกโดยอาศัยหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะนำหลักฐาน ส.ค.๑ ของที่ดินแปลงอื่นมาใช้เป็นหลักฐานขอออก น.ส.๓ ก. ประกอบกับที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้จำแนกเป็นป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีโดยไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งการครอบครองไว้ก่อน ตามกฎหมาย จึงเป็นที่ดินต้องห้ามและไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
โจทก์ยื่นคำชี้แจงว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ร่วมกันกับเจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สาขากุมภวาปี ยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ออกหลักฐานอย่างถูกต้องและไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือต้องห้ามตามกฎหมายอย่างใด หากโจทก์ซื้อก็สามารถทำประโยชน์ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้มีนายอำเภอโนนสะอาด (ในขณะที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์) เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและลงลายมือชื่อในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ทำให้โจทก์หลงเชื่อซื้อที่ดินดังกล่าวไว้ เป็นลักษณะที่เจ้าพนักงานที่ดินร่วมกับบุคคลภายนอกกระทำความผิดโดยไม่สามารถแบ่งแยกการกระทำได้ อีกทั้งจำเลยที่ ๓ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนและสรุปผลว่าเจ้าพนักงานที่ดินกระทำความผิดจริง และโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ ๓ ในการออกคำสั่งตามที่จำเลยที่ ๓ กล่าวอ้างในคำให้การ เพราะการออกคำสั่งของจำเลยที่ ๓ ไม่เข้าองค์ประกอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) "คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ''
ศาลจังหวัดอุดรธานีเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ โดยกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สาขากุมภวาปี ส่วนแยกโนนสะอาด ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ หลอกลวงโจทก์โดยร่วมกันยืนยันว่าที่ดินที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ นำไปเสนอขายแก่โจทก์เป็นที่ดินที่มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ถูกต้องตามกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อและซื้อที่ดินจากจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ กรณีจึงเป็นการกระทำละเมิด อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดาโดยทั่วไปของเจ้าพนักงานที่ดิน มิใช่การกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด ทั้งคดีนี้โจทก์มิได้มีคำขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินที่สั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งสามแปลงของโจทก์ ศาลจึงต้องใช้บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยลักษณะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ชี้ขาด ดังนั้น คดีในส่วนของจำเลยที่ ๓ จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑
ศาลปกครองขอนแก่นเห็นว่า มูลเหตุของคดีนี้มาจากการที่จำเลยที่ ๓ ออกคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ เพราะการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจตามที่ประมวลกฎหมายที่ดินกำหนด โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทดังกล่าวโดยการซื้อตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากคำสั่งดังกล่าว แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ ๓ เพื่อขอให้มีการเพิกถอนหรือยกเลิกคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่โจทก์ฟ้องว่า การที่จำเลยที่ ๓ ออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยประมาทเลินเล่อและเจ้าพนักงานที่ดินในสำนักงานที่ดินจังหวัด ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคของจำเลยที่ ๓ ร่วมกับบุคคลภายนอกกระทำการยืนยันว่าที่ดินที่พิพาทเป็นที่ดินที่มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน โดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่รุกล้ำที่สาธารณะและไม่เป็นที่ดินต้องห้ามตามกฎหมายใดๆ ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๓ เป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อในความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว และได้ดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายและจำนองโดยถูกต้องตามกฎหมาย โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ ๓ ต้องร่วมรับผิดในการกระทำดังกล่าวของเจ้าพนักงานที่ดินอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ ๓ ในฐานะหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีภารกิจตามที่กฎหมายแบ่งส่วนราชการกำหนดไว้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในที่ดินของบุคคลโดยการออกหนังสือแสดงสิทธิและในการบริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้บุคคลมีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน เมื่อมีการฟ้องคดีว่า เจ้าหน้าที่ของตนกระทำการรับรองความถูกต้องของที่ดินพิพาททำให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยถูกต้องและไม่เป็นที่ดินต้องห้ามตามกฎหมายใด จึงเป็นการกระทำที่อาศัยการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ ๓ จึงต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงเห็นว่าคดีในส่วนจำเลยที่ ๓ เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ เป็นคดีที่เอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเอกชนด้วยกันและจากหน่วยงานทางปกครองอันเนื่องมาจากการทำละเมิด ซึ่งศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นสอดคล้องกันว่า คดีในส่วนจำเลยที่ ๑ และ ที่ ๒ ซึ่งเป็นเอกชน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำ หรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
โจทก์เป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ ๓ ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) จำนวน ๓ แปลง จากจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เนื่องจากบุคคลดังกล่าวและเจ้าพนักงานที่ดิน หัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดอุดรธานี สาขากุมภวาปี ส่วนแยกโนนสะอาดในขณะนั้น ร่วมกันยืนยันและรับรองทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีการออกหลักฐานอย่างถูกต้องและไม่มีการรุกล้ำที่สาธารณะหรือเป็นที่ต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ปรากฏว่าต่อมาจำเลยที่ ๓ มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวทั้งสามแปลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยที่ ๓ ร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของเจ้าพนักงานที่ดินและจากการที่จำเลยที่ ๓ ได้ออกหลักฐานในที่ดินโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนทำให้โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวเป็นที่ดินที่สามารถครอบครองและทำประโยชน์ได้และซื้อที่ดินดังกล่าวไว้ โดยคำฟ้องของโจทก์มิได้มีการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ในสังกัดจำเลยที่ ๓ กระทำละเมิดต่อโจทก์และการที่จำเลยที่ ๓ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือไม่
เหตุแห่งการฟ้องคดีมาจากการที่จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ในที่ดินทั้งสามแปลงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ในที่ดินดังกล่าวในเวลาต่อมา ซึ่งการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) นั้น เจ้าพนักงานที่ดินและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการตรวจสอบและพิจารณาดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายที่ดินได้ให้อำนาจไว้ และการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ดังกล่าวก็เป็นอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติไว้เช่นกัน ทั้งคำสั่งเพิกถอนถือเป็นคำสั่งทางปกครองตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กรณีไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องสิทธิในที่ดิน ฉะนั้น การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ ๓ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ โจทก์ นายขันตี ตระกูลชัยอนันต์ ที่ ๑ นางสุวิทย์หรือสุนิจนันต์ ตระกูลชัยอนันต์ หรือจันทร์รังศรี ที่ ๒ กรมที่ดิน ที่ ๓ จำเลยนั้น สำหรับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนจำเลยที่ ๓ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๖/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คำพิพากษาศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ระหว่าง
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ
นายชุลี ธรรมวิศาล ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อเท็จจริงในคดี
นายชุลี ธรรมวิศาล ได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๘ ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีนายชุลี ธรรมวิศาล ข้าราชการครู ตำแหน่งอาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนเกาะสมุย กรมสามัญศึกษา (ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้รับคำสั่งของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ ให้ออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตเกษียณอายุก่อนกำหนด รุ่นที่ ๑ ในขณะที่รับราชการชดใช้ทุนยังไม่ครบ ซึ่งกรมสามัญศึกษา โจทก์ ได้ยื่นฟ้องนายชุลี ธรรมวิศาลและผู้ค้ำประกัน รวม ๗ คน จำเลย ให้ชดใช้ทุนและเบี้ยปรับตามสัญญาให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ จำนวน ๑,๕๖๕,๔๗๔.๖๙ บาท และให้ชำระดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีของต้นเงิน จำนวน ๑,๔๕๓,๒๐๐.๐๖ บาท และศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีคำพิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๑๙/๒๕๔๔ หมายเลขแดงที่ ๓๙๒/๒๕๔๕) ซึ่งนายชุลี ธรรมวิศาลเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าวของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.๒๘๖/๒๕๔๗ หมายเลขแดงที่ อ.๑๑๓/๒๕๔๗ ระหว่างนายชุลี ธรรมวิศาล ผู้ฟ้องคดี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กรมสามัญศึกษา เดิม) ผู้ถูกฟ้องคดี กรณีศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนตาม คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ เฉพาะส่วนของผู้ฟ้องคดีโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากเงื่อนไขของโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตเกษียณอายุก่อนกำหนด รุ่นที่ ๑ ไม่ได้กำหนดว่าการลาออกจะต้องชดใช้ทุนตามสัญญาลาศึกษาต่อ ทำให้ผู้ฟ้องคดีสำคัญผิดในคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการอันเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ถูกฟ้องคดีได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ฟ้องคดีมีคุณสมบัติตามโครงการที่กำหนดไว้ อีกทั้งเมื่อคณะกรรมการโครงการพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ข้าราชการตามบัญชีรายชื่อที่ผู้ถูกฟ้องคดี จัดทำเสนอมาทุกรายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาก่อนที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกจะมีคำสั่งอนุญาตให้ลาออก ให้ส่วนราชการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคุณสมบัติของผู้ได้รับความเห็นชอบให้ลาออกจากราชการตามโครงการอีกครั้งหนึ่งก่อนออกคำสั่งและเร่งรัดดำเนินการออกคำสั่งให้ข้าราชการผู้ขอลาออกตามโครงการโดยเร็วที่สุด ภายในวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ หากมีข้าราชการตามโครงการประสงค์จะอยู่รับราชการต่อไปให้แจ้งให้ผู้นั้นแจ้งขอระงับการเข้าร่วมโครงการเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาพร้อมสำเนาให้คณะกรรมการโครงการทราบก่อนวันที่การลาออกจากราชการจะมีผล ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งให้สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานีทราบและดำเนินการต่อไป แต่สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานีมิได้แจ้งผู้ฟ้องคดีหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกรายอื่น ๆ ทราบแต่อย่างใด และผู้ฟ้องคดี ก็มิเคยได้รับแจ้งเรื่องการชดใช้ทุนก่อนที่จะมีคำสั่งให้ออกจากราชการ จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่มีโอกาสที่จะทบทวนการตัดสินใจของตนเองอีกครั้งหนึ่ง การที่สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในระดับถัดไปของผู้ฟ้องคดีมิได้ดำเนินการแจ้งเรื่องต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานั้น เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งให้ออกจากราชการดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นายชุลี ธรรมวิศาลจึงขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สั่งให้นายชุลีและผู้ค้ำประกันชำระเงินดังกล่าวโดยได้ผ่อนชำระไปบางส่วนแล้ว ทั้งที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาแล้วว่าคำสั่งให้ออกจากราชการเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้คืนตำแหน่งและเงินใด ๆ ที่เรียกเก็บไป โดยได้ส่งเรื่องให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้แก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนด้วยแล้ว จึงขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้ทำคำชี้แจงว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้ออกคำสั่งเพิกถอนคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ เรื่องอนุญาตให้ข้าราชการครูออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด เฉพาะส่วนของผู้ฟ้องคดี และสั่งให้นายชุลี ธรรมวิศาล กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมโดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ที่ ๖๖/๒๕๔๘ เรื่องให้ข้าราชการกลับเข้ารับราชการ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ส่วนเงินค่าปรับกรณีผิดสัญญาลาศึกษาต่อที่นายชุลีและผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปบางส่วนแล้วและนายชุลีขอคืนนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ อยู่ระหว่างดำเนินการหารือกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการ ขณะนี้ (วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ) นายชุลี คงค้างชำระ จำนวน ๕๔๐,๗๐๘.๔๘ บาท
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คู่ความที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองสูงสุด
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
กรณีนี้โจทก์และผู้ฟ้องคดีได้นำคดีขึ้นสู่ศาลสองศาล คือศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นศาลยุติธรรม และศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นศาลปกครอง โดยทั้งสองศาลมีมูลความแห่งคดีมาจากคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ เรื่อง อนุญาตให้ข้าราชการครูออกจากราชการ ตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด จึงเป็นคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ เมื่อศาลยุติธรรมตัดสินให้นายชุลีและผู้ค้ำประกัน จำเลยต้องร่วมกันรับผิดฐานผิดสัญญาใช้ทุน และศาลปกครองตัดสินให้เพิกถอนคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคำพิพากษาของทั้งสองศาลนั้นถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นเหตุให้คู่ความไม่อาจบังคับหรือปฏิบัติการชำระหนี้ได้ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ชอบที่คู่ความจะยื่นคำร้องขอให้มีการวินิจฉัยตามมาตรานี้ได้ แม้ว่าผู้ฟ้องคดีจะยื่นคำร้องเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลปกครองซึ่งพิพากษาภายหลังถึงที่สุด แต่กำหนดเวลาดังกล่าวหาใช่อายุความที่จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนด เมื่อปรากฏว่าคู่ความยังคงได้รับการเยียวยาความเสียหายไม่เสร็จสิ้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลสมควรรับคำร้องของนายชุลี ธรรมวิศาล ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔
คำพิพากษาในคดีของทั้งสองศาลวินิจฉัยต่างกัน โดยศาลยุติธรรมวินิจฉัยว่า นายชุลี ธรรมวิศาล จำเลย ลาออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนดในขณะที่รับราชการใช้ทุนลาไปศึกษาต่อยังไม่ครบ อันเป็นการผิดสัญญาพิพากษาให้นายชุลีและผู้ค้ำประกันร่วมกันชำระเงินจำนวน ๑,๕๖๕,๔๗๔.๖๙ บาท และให้ชำระดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ของต้นเงิน จำนวน ๑,๔๕๓,๒๐๐.๐๖ บาท ส่วนศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ ที่ให้นายชุลีออกจากราชการเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากกระทำการไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ และพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว จึงต้องพิจารณาว่าคู่ความต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลใด ซึ่งตามมาตรา ๑๔ วรรคสอง บัญญัติให้พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล แล้วให้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าว
การที่ศาลปกครองได้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งให้ออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนดเฉพาะส่วนของนายชุลี โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งสืบเนื่องมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ (สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิม)ไม่แจ้งเรื่องการชดใช้ทุนก่อนที่จะมีคำสั่งให้ออกจากราชการ ทำให้นายชุลีไม่มีโอกาสที่จะทบทวนการตัดสินใจของตนเองอีกครั้งหนึ่ง โดยถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำ นั้น เมื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยเพิกถอนคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ เรื่องอนุญาตให้ข้าราชการครูออกจากราชการตามโครงการ เปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนดเฉพาะส่วนของนายชุลี และสั่งให้นายชุลี กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมโดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ที่ ๖๖/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ แล้วนั้น กรณีจึงถือได้ว่านายชุลีได้กลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนลาศึกษาต่อแล้วด้วย ดังนั้น คำพิพากษาของศาลยุติธรรมที่ให้นายชุลีและผู้ค้ำประกันร่วมกันชดใช้ค่าปรับฐานผิดสัญญาใช้ทุนอันเนื่องมาจากนายชุลีลาออกจากราชการตามโครงการดังกล่าวในขณะรับราชการใช้ทุนยังไม่ครบ โดยนายชุลีและผู้ค้ำประกัน ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไปแล้วบางส่วน จึงไม่อาจบังคับคดีต่อไปได้ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องคืนเงินที่ได้รับชำระไปแล้วแก่นายชุลีและผู้ค้ำประกันด้วย
ฉะนั้น เมื่อคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว จึงสมควรให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยมิให้บังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้คืนเงินที่ได้รับชำระทั้งหมดให้แก่นายชุลีและผู้ค้ำประกันต่อไป
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดขัดแย้งกัน ระหว่าง ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีและศาลปกครองสูงสุด ให้คู่ความปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยมิให้บังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคืนเงินที่ได้รับชำระทั้งหมดให้แก่นายชุลีและผู้ค้ำประกันต่อไป
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๖
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๖/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คำพิพากษาศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ระหว่าง
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ
นายชุลี ธรรมวิศาล ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อเท็จจริงในคดี
นายชุลี ธรรมวิศาล ได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๘ ขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีนายชุลี ธรรมวิศาล ข้าราชการครู ตำแหน่งอาจารย์ ๒ ระดับ ๗ โรงเรียนเกาะสมุย กรมสามัญศึกษา (ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้รับคำสั่งของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ ให้ออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตเกษียณอายุก่อนกำหนด รุ่นที่ ๑ ในขณะที่รับราชการชดใช้ทุนยังไม่ครบ ซึ่งกรมสามัญศึกษา โจทก์ ได้ยื่นฟ้องนายชุลี ธรรมวิศาลและผู้ค้ำประกัน รวม ๗ คน จำเลย ให้ชดใช้ทุนและเบี้ยปรับตามสัญญาให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ จำนวน ๑,๕๖๕,๔๗๔.๖๙ บาท และให้ชำระดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีของต้นเงิน จำนวน ๑,๔๕๓,๒๐๐.๐๖ บาท และศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีคำพิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๑๙/๒๕๔๔ หมายเลขแดงที่ ๓๙๒/๒๕๔๕) ซึ่งนายชุลี ธรรมวิศาลเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าวของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ.๒๘๖/๒๕๔๗ หมายเลขแดงที่ อ.๑๑๓/๒๕๔๗ ระหว่างนายชุลี ธรรมวิศาล ผู้ฟ้องคดี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กรมสามัญศึกษา เดิม) ผู้ถูกฟ้องคดี กรณีศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนตาม คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ เฉพาะส่วนของผู้ฟ้องคดีโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากเงื่อนไขของโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตเกษียณอายุก่อนกำหนด รุ่นที่ ๑ ไม่ได้กำหนดว่าการลาออกจะต้องชดใช้ทุนตามสัญญาลาศึกษาต่อ ทำให้ผู้ฟ้องคดีสำคัญผิดในคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการอันเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ถูกฟ้องคดีได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ฟ้องคดีมีคุณสมบัติตามโครงการที่กำหนดไว้ อีกทั้งเมื่อคณะกรรมการโครงการพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้ข้าราชการตามบัญชีรายชื่อที่ผู้ถูกฟ้องคดี จัดทำเสนอมาทุกรายที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาก่อนที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกจะมีคำสั่งอนุญาตให้ลาออก ให้ส่วนราชการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคุณสมบัติของผู้ได้รับความเห็นชอบให้ลาออกจากราชการตามโครงการอีกครั้งหนึ่งก่อนออกคำสั่งและเร่งรัดดำเนินการออกคำสั่งให้ข้าราชการผู้ขอลาออกตามโครงการโดยเร็วที่สุด ภายในวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ หากมีข้าราชการตามโครงการประสงค์จะอยู่รับราชการต่อไปให้แจ้งให้ผู้นั้นแจ้งขอระงับการเข้าร่วมโครงการเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้บังคับบัญชาพร้อมสำเนาให้คณะกรรมการโครงการทราบก่อนวันที่การลาออกจากราชการจะมีผล ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งให้สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานีทราบและดำเนินการต่อไป แต่สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานีมิได้แจ้งผู้ฟ้องคดีหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกรายอื่น ๆ ทราบแต่อย่างใด และผู้ฟ้องคดี ก็มิเคยได้รับแจ้งเรื่องการชดใช้ทุนก่อนที่จะมีคำสั่งให้ออกจากราชการ จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่มีโอกาสที่จะทบทวนการตัดสินใจของตนเองอีกครั้งหนึ่ง การที่สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในระดับถัดไปของผู้ฟ้องคดีมิได้ดำเนินการแจ้งเรื่องต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานั้น เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งให้ออกจากราชการดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ นายชุลี ธรรมวิศาลจึงขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สั่งให้นายชุลีและผู้ค้ำประกันชำระเงินดังกล่าวโดยได้ผ่อนชำระไปบางส่วนแล้ว ทั้งที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาแล้วว่าคำสั่งให้ออกจากราชการเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้คืนตำแหน่งและเงินใด ๆ ที่เรียกเก็บไป โดยได้ส่งเรื่องให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้แก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนด้วยแล้ว จึงขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้ทำคำชี้แจงว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้ออกคำสั่งเพิกถอนคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ เรื่องอนุญาตให้ข้าราชการครูออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด เฉพาะส่วนของผู้ฟ้องคดี และสั่งให้นายชุลี ธรรมวิศาล กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมโดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ที่ ๖๖/๒๕๔๘ เรื่องให้ข้าราชการกลับเข้ารับราชการ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ส่วนเงินค่าปรับกรณีผิดสัญญาลาศึกษาต่อที่นายชุลีและผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปบางส่วนแล้วและนายชุลีขอคืนนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ อยู่ระหว่างดำเนินการหารือกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการ ขณะนี้ (วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ) นายชุลี คงค้างชำระ จำนวน ๕๔๐,๗๐๘.๔๘ บาท
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คู่ความที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองสูงสุด
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
กรณีนี้โจทก์และผู้ฟ้องคดีได้นำคดีขึ้นสู่ศาลสองศาล คือศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นศาลยุติธรรม และศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นศาลปกครอง โดยทั้งสองศาลมีมูลความแห่งคดีมาจากคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ เรื่อง อนุญาตให้ข้าราชการครูออกจากราชการ ตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด จึงเป็นคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ เมื่อศาลยุติธรรมตัดสินให้นายชุลีและผู้ค้ำประกัน จำเลยต้องร่วมกันรับผิดฐานผิดสัญญาใช้ทุน และศาลปกครองตัดสินให้เพิกถอนคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคำพิพากษาของทั้งสองศาลนั้นถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นเหตุให้คู่ความไม่อาจบังคับหรือปฏิบัติการชำระหนี้ได้ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นกรณีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ชอบที่คู่ความจะยื่นคำร้องขอให้มีการวินิจฉัยตามมาตรานี้ได้ แม้ว่าผู้ฟ้องคดีจะยื่นคำร้องเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลปกครองซึ่งพิพากษาภายหลังถึงที่สุด แต่กำหนดเวลาดังกล่าวหาใช่อายุความที่จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนด เมื่อปรากฏว่าคู่ความยังคงได้รับการเยียวยาความเสียหายไม่เสร็จสิ้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลสมควรรับคำร้องของนายชุลี ธรรมวิศาล ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔
คำพิพากษาในคดีของทั้งสองศาลวินิจฉัยต่างกัน โดยศาลยุติธรรมวินิจฉัยว่า นายชุลี ธรรมวิศาล จำเลย ลาออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนดในขณะที่รับราชการใช้ทุนลาไปศึกษาต่อยังไม่ครบ อันเป็นการผิดสัญญาพิพากษาให้นายชุลีและผู้ค้ำประกันร่วมกันชำระเงินจำนวน ๑,๕๖๕,๔๗๔.๖๙ บาท และให้ชำระดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ของต้นเงิน จำนวน ๑,๔๕๓,๒๐๐.๐๖ บาท ส่วนศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ ที่ให้นายชุลีออกจากราชการเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากกระทำการไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ และพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว จึงต้องพิจารณาว่าคู่ความต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลใด ซึ่งตามมาตรา ๑๔ วรรคสอง บัญญัติให้พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล แล้วให้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าว
การที่ศาลปกครองได้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งให้ออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนดเฉพาะส่วนของนายชุลี โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งสืบเนื่องมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ (สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิม)ไม่แจ้งเรื่องการชดใช้ทุนก่อนที่จะมีคำสั่งให้ออกจากราชการ ทำให้นายชุลีไม่มีโอกาสที่จะทบทวนการตัดสินใจของตนเองอีกครั้งหนึ่ง โดยถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำ นั้น เมื่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยเพิกถอนคำสั่งสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๑๙๘/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๒ เรื่องอนุญาตให้ข้าราชการครูออกจากราชการตามโครงการ เปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนดเฉพาะส่วนของนายชุลี และสั่งให้นายชุลี กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมโดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ที่ ๖๖/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ แล้วนั้น กรณีจึงถือได้ว่านายชุลีได้กลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนลาศึกษาต่อแล้วด้วย ดังนั้น คำพิพากษาของศาลยุติธรรมที่ให้นายชุลีและผู้ค้ำประกันร่วมกันชดใช้ค่าปรับฐานผิดสัญญาใช้ทุนอันเนื่องมาจากนายชุลีลาออกจากราชการตามโครงการดังกล่าวในขณะรับราชการใช้ทุนยังไม่ครบ โดยนายชุลีและผู้ค้ำประกัน ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไปแล้วบางส่วน จึงไม่อาจบังคับคดีต่อไปได้ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องคืนเงินที่ได้รับชำระไปแล้วแก่นายชุลีและผู้ค้ำประกันด้วย
ฉะนั้น เมื่อคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว จึงสมควรให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยมิให้บังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้คืนเงินที่ได้รับชำระทั้งหมดให้แก่นายชุลีและผู้ค้ำประกันต่อไป
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดขัดแย้งกัน ระหว่าง ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีและศาลปกครองสูงสุด ให้คู่ความปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด โดยมิให้บังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคืนเงินที่ได้รับชำระทั้งหมดให้แก่นายชุลีและผู้ค้ำประกันต่อไป
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๖
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๕/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดหนองคาย
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๔ นายวิเชียร มหาเสนา ที่ ๑ นายอุเทน มหาเสนา ที่ ๒ นายบัณฑิต สมรูป ที่ ๓ นายฉลวย สีหราช ที่ ๔ นายหอม เคนรักษา ที่ ๕ นายวิเชียร แสนวัง ที่ ๖ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๑ กระทรวงสาธารณสุข ที่ ๒ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ที่ ๓ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย สาขาท่าบ่อ ที่ ๔ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๕ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๒๙๑/๒๕๔๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามหลักฐาน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ หมู่ ๘ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เนื้อที่ ๒๐ ไร่ มีนายเสาว์ คำเมืองคุณ เป็นผู้แจ้งการครอบครอง โดยซื้อมาจากผู้แจ้งการครอบครองเมื่อปี ๒๕๓๒ ที่ดินดังกล่าวมีผู้ครอบครองและทำประโยชน์ร่วมกันอยู่รวม ๓ คน คือ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๔ และที่ ๕ ได้ที่ดินมาด้วยการตกทอดทางมรดกมีเอกสารสิทธิคือ น.ส. ๓ และ น.ส. ๓ ก โดยได้ครอบครองเนื้อที่ ๗ ไร่เศษ และ ๖ ไร่เศษ ตามลำดับ ที่ดินทั้งสองแปลงตั้งอยู่ต่อเนื่องจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีที่ ๖ ถือครอง และทำประโยชน์ในที่ดินเนื้อที่ ๙ ไร่เศษ มีหลักฐานการชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท. ๖ ) มีชื่อ นางผึ้ง ทาสีดำ ครอบครองและทำประโยชน์ร่วมกันจนถึงปัจจุบัน ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกและราษฎรอื่นครอบครองตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ ๑๐๐ ไร่ ซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ ชื่อ "โคกใหญ่" และเป็นที่ดินที่ทางราชการสงวนไว้เพื่อก่อสร้างและรองรับการขยายตัวของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อในอนาคต และอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ฟ้องคดีทั้งหกได้ประชุมและทำบันทึกตกลงกันว่า ถ้าผู้ฟ้องคดีทั้งหกและราษฎรข้างเคียงซึ่งครอบครองที่ดินพิพาทที่มีหลักฐาน ส.ค. ๑ มาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกต้องด้วยประการอื่นด้วยแล้ว ทางราชการจะเสนอซื้อจากผู้ครอบครองต่อไป หรือถ้าครอบครองที่ดินมาโดยสุจริตและทำประโยชน์ด้วยตนเองมาโดยตลอดแล้วก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กำหนด แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ ๓ และ ที่ ๔ มิได้ดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแต่อย่างใด ที่ดินสาธารณประโยชน์โคกใหญ่ เป็นที่ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครองและราษฎรอื่นอยู่อาศัยเต็มพื้นที่ ไม่เหมาะสมที่จะทำการปฏิรูป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เคยเข้าไปสำรวจ และไม่เคยทำการพิสูจน์สิทธิในที่ดินตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ ได้นำที่ดินสาธารณประโยชน์โคกใหญ่ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครองทำประโยชน์ มาดำเนินการปฏิรูปที่ดินโดยอนุญาตให้เป็นสถานที่ก่อสร้างและรองรับการขยายตัวของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อในอนาคต และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำสั่งจำหน่าย ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ หมู่ ๘ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ออกจากทะเบียนครอบครองที่ดิน ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีทั้งหกเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าว เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เดือดร้อนเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง ดังนี้
๑. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหก
๒. ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งหกยังคงมีสิทธิถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่ครอบครองต่อไป
๓. ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครอง
๔. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ อันเนื่องมาจากทรัพย์สินพืชเกษตรกรรมเสียหาย จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท และชำระแก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทางราชการได้สงวนหวงห้ามที่ดินไว้เพื่อประโยชน์เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๗๗ และขึ้นทะเบียนตั้งแต่ปี ๒๔๘๒ ราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่ดังกล่าวได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๑ และอยู่ในอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่จะเข้าดำเนินการตามกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ว่า อำนาจในการพิจารณานำที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินหรือไม่ประสงค์จะนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเป็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ตามมาตรา ๑๙ ประกอบมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้วางแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริงว่าพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ โดยผ่านขั้นตอนการพิจารณาของสภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอและจังหวัดตามลำดับ ที่ดินพิพาทสภาตำบลท่าบ่อได้มีมติยกเลิกใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากไม่มีสัตว์พาหนะของราษฎรมาเลี้ยงและพื้นผิวเป็นดินลูกรัง ไม่ควรนำไปปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเนื่องจากราษฎรและหน่วยงานราชการได้ใช้ประโยชน์ทั้งแปลง อำเภอท่าบ่อเห็นชอบตามมติสภาตำบลท่าบ่อในข้อที่ให้เลิกใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์ คณะกรรมการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีมติเห็นชอบให้นำที่ดินสาธารณประโยชน์โคกใหญ่ จำนวน ๑๘๐๙ ไร่ ๑ งาน ๐๕ ตารางวา ไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ใช้ที่ดินพิพาทจำนวน ๔๗ ไร่ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา เพื่อรองรับการขยายตัวของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ แต่ที่ดินพิพาทมีผู้บุกรุก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงฟ้องผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นคดีอาญาต่อศาลจังหวัดหนองคาย คดีหมายเลขดำที่ ๑๕๖/๒๕๔๓ และศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก ๑ ปี คำสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดีกับพวกออกจากที่ดินพิพาทและคำสั่งจำหน่าย ส.ค. ๑ ออกจากทะเบียนครอบครองที่ดินของผู้ฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ได้รับอนุญาตให้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจำนวน ๔๗ ไร่ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา โดยถูกต้องตามกฎหมาย มีสิทธินำป้ายเหล็กไปปักเพื่อแสดงสิทธิตามกฎหมาย และมิได้นำรถไถไปทำลายทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามที่กล่าวอ้าง เพราะในขณะนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยังไม่ได้อนุญาตให้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงมิต้องรับผิดในค่าเสียหายจำนวน ๓๕๐,๐๐๐ บาท ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ให้การโดยยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ถือเอาคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ เป็นคำให้การ เนื่องจากถูกฟ้องในคดีเดียวกัน มีส่วนเกี่ยวข้องกันหลายประเด็น ที่ดินดังกล่าวนำไปปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ เนื่องจากมีราษฎรทำสวน ปลูกบ้าน บ่อปลา บ่อน้ำสาธารณะ ดังนั้น มติที่ให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนำที่ดินสาธารณประโยชน์โคกใหญ่ไปดำเนินการเพื่อเกษตรกรรมจึงชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นก่อนว่าที่ดินพิพาทที่ได้ถูกเพิกถอนที่สาธารณประโยชน์แล้วอยู่ในความดูแลครอบครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งหกอ้างว่า ที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ หมู่ ๘ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ กรณีจึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งหกอ้างว่า มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามหลักฐาน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ หมู่ที่ ๘ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เนื้อที่ ๒๐ ไร่ ซึ่งการนำที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครองตามหลักฐาน ส.ค. ๑ ดังกล่าวไปปฏิรูปที่ดินโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและนำที่ดินพิพาทไปจัดให้แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งการที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกฟ้องขอให้ตนมีสิทธิถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งตนได้ครอบครองและทำประโยชน์ตลอดจนประเด็นต่อเนื่องกับข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องพิจารณาว่าที่ดินพิพาทที่นำมาปฏิรูปนั้น เป็นที่ดินประเภทใด เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินหรือไม่ และหากเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ผู้ฟ้องคดีทั้งหกหรือโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ผู้ใดมีคุณสมบัติอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๕ จะพิจารณาในการปฏิรูปที่ดินถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งหกประสงค์ให้ศาลตรวจสอบว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่นของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าที่กระทำต่อผู้ฟ้องคดีทั้งหกหรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดหนองคายพิจารณาแล้วเห็นว่า มูลเหตุที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกดำเนินคดีแก่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำสั่งเพิกถอน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเดิมอยู่ในเขตบริเวณที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์โคกใหญ่ ซึ่งได้ประกาศหวงห้ามตั้งแต่ปี ๒๔๗๑ ก่อนที่จะมีการแจ้งออก ส.ค. ๑ ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และขับไล่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกออกจากที่พิพาทโดยเห็นว่าผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมืองอุดรธานี ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย การดำเนินการปฏิรูปที่ดินในที่ดินพิพาทซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมาย โดยมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกและไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินอีก นั้น เห็นว่า คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งหก แสดงถึงเจตนาที่จะได้ที่ดินพิพาทเป็นของตนเองตามที่อ้างว่ามีสิทธิครอบครอง การวินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดีทั้งหกมีสิทธิครอบครองในที่พิพาทตามที่อ้าง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ มีอำนาจหน้าที่ในการออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกหรือไม่ จำเป็นต้องพิสูจน์การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายในที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดีทั้งหกเสียก่อน ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกอ้างว่าฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีนำที่ดินพิพาทไปจัดให้แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เป็นการกระทำไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นวิธีการหนึ่งซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งหกนำข้อพิพาททางแพ่งและอาญาเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดหนองคายไปฟ้องที่ศาลอื่น โดยเนื้อหาสาระในข้อที่จะต้องวินิจฉัยในประเด็นหลักไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดีทั้งหก ซึ่งจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องคดีนี้ สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งหกเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดิน ที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ตาม ส.ค. ๑ น.ส. ๓ น.ส. ๓ ก. และเอกสารการชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท. ๖) ที่ดินดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่สาธารณประโยชน์ "โคกใหญ่" ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ นำที่ดินสาธารณประโยชน์ดังกล่าวรวมทั้งที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งหกไปดำเนินการปฏิรูป โดยที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เคยเข้าไปสำรวจและทำการพิสูจน์สิทธิในที่ดินตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินแต่อย่างใด และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำสั่งจำหน่าย ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ออกจากทะเบียนครอบครองที่ดิน ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยกอุทธรณ์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหก ให้ยังคงมีสิทธิถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่ครอบครองต่อไป ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดิน และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากทรัพย์สินพืชเกษตรกรรมเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ และที่ ๕ ให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทางราชการได้สงวนหวงห้ามที่ดินไว้ เพื่อประโยชน์เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ ต่อมาราษฎรเลิกใช้ประโยชน์แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่ดังกล่าวได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๑ และอยู่ในอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่จะเข้าดำเนินการตามกฎหมาย ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินดังกล่าวได้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ที่ดินพิพาทมีผู้บุกรุก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงฟ้องผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นคดีอาญาต่อศาลจังหวัดหนองคาย และศาลในคดีดังกล่าวได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก ๑ ปี คำสั่งจำหน่าย ส.ค. ๑ ออกจากทะเบียนครอบครองที่ดินของผู้ฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น ตามคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหก ยื่นคำฟ้องต่อศาลขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้รับรองหรือคุ้มครองสิทธิในที่ดินของตน ทั้งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ายื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่พลเมืองใช้ร่วมกัน แต่เลิกใช้แล้ว จึงจะนำมาปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมนั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไปได้ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นายวิเชียร มหาเสนา ที่ ๑ นายอุเทน มหาเสนา ที่ ๒ นายบัณฑิต สมรูป ที่ ๓ นายฉลวย สีหราช ที่ ๔ นายหอม เคนรักษา ที่ ๕ นายวิเชียร แสนวัง ที่ ๖ ผู้ฟ้องคดี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๑ กระทรวงสาธารณสุข ที่ ๒ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ที่ ๓ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย สาขาท่าบ่อ ที่ ๔ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๕ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๗
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๕/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดหนองคาย
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๔ นายวิเชียร มหาเสนา ที่ ๑ นายอุเทน มหาเสนา ที่ ๒ นายบัณฑิต สมรูป ที่ ๓ นายฉลวย สีหราช ที่ ๔ นายหอม เคนรักษา ที่ ๕ นายวิเชียร แสนวัง ที่ ๖ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๑ กระทรวงสาธารณสุข ที่ ๒ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ที่ ๓ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย สาขาท่าบ่อ ที่ ๔ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๕ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๒๙๑/๒๕๔๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้ยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามหลักฐาน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ หมู่ ๘ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เนื้อที่ ๒๐ ไร่ มีนายเสาว์ คำเมืองคุณ เป็นผู้แจ้งการครอบครอง โดยซื้อมาจากผู้แจ้งการครอบครองเมื่อปี ๒๕๓๒ ที่ดินดังกล่าวมีผู้ครอบครองและทำประโยชน์ร่วมกันอยู่รวม ๓ คน คือ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๔ และที่ ๕ ได้ที่ดินมาด้วยการตกทอดทางมรดกมีเอกสารสิทธิคือ น.ส. ๓ และ น.ส. ๓ ก โดยได้ครอบครองเนื้อที่ ๗ ไร่เศษ และ ๖ ไร่เศษ ตามลำดับ ที่ดินทั้งสองแปลงตั้งอยู่ต่อเนื่องจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีที่ ๖ ถือครอง และทำประโยชน์ในที่ดินเนื้อที่ ๙ ไร่เศษ มีหลักฐานการชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท. ๖ ) มีชื่อ นางผึ้ง ทาสีดำ ครอบครองและทำประโยชน์ร่วมกันจนถึงปัจจุบัน ที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกและราษฎรอื่นครอบครองตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ ๑๐๐ ไร่ ซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ ชื่อ "โคกใหญ่" และเป็นที่ดินที่ทางราชการสงวนไว้เพื่อก่อสร้างและรองรับการขยายตัวของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อในอนาคต และอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ฟ้องคดีทั้งหกได้ประชุมและทำบันทึกตกลงกันว่า ถ้าผู้ฟ้องคดีทั้งหกและราษฎรข้างเคียงซึ่งครอบครองที่ดินพิพาทที่มีหลักฐาน ส.ค. ๑ มาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกต้องด้วยประการอื่นด้วยแล้ว ทางราชการจะเสนอซื้อจากผู้ครอบครองต่อไป หรือถ้าครอบครองที่ดินมาโดยสุจริตและทำประโยชน์ด้วยตนเองมาโดยตลอดแล้วก็จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กำหนด แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ ๓ และ ที่ ๔ มิได้ดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแต่อย่างใด ที่ดินสาธารณประโยชน์โคกใหญ่ เป็นที่ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครองและราษฎรอื่นอยู่อาศัยเต็มพื้นที่ ไม่เหมาะสมที่จะทำการปฏิรูป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เคยเข้าไปสำรวจ และไม่เคยทำการพิสูจน์สิทธิในที่ดินตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ ได้นำที่ดินสาธารณประโยชน์โคกใหญ่ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครองทำประโยชน์ มาดำเนินการปฏิรูปที่ดินโดยอนุญาตให้เป็นสถานที่ก่อสร้างและรองรับการขยายตัวของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อในอนาคต และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำสั่งจำหน่าย ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ หมู่ ๘ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ออกจากทะเบียนครอบครองที่ดิน ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยกอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีทั้งหกเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าว เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เดือดร้อนเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง ดังนี้
๑. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหก
๒. ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งหกยังคงมีสิทธิถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่ครอบครองต่อไป
๓. ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครอง
๔. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ อันเนื่องมาจากทรัพย์สินพืชเกษตรกรรมเสียหาย จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท และชำระแก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๓ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทางราชการได้สงวนหวงห้ามที่ดินไว้เพื่อประโยชน์เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๗๗ และขึ้นทะเบียนตั้งแต่ปี ๒๔๘๒ ราษฎรได้เลิกใช้ประโยชน์แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่ดังกล่าวได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๑ และอยู่ในอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่จะเข้าดำเนินการตามกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ว่า อำนาจในการพิจารณานำที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินหรือไม่ประสงค์จะนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเป็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ตามมาตรา ๑๙ ประกอบมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้วางแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริงว่าพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ โดยผ่านขั้นตอนการพิจารณาของสภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอและจังหวัดตามลำดับ ที่ดินพิพาทสภาตำบลท่าบ่อได้มีมติยกเลิกใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากไม่มีสัตว์พาหนะของราษฎรมาเลี้ยงและพื้นผิวเป็นดินลูกรัง ไม่ควรนำไปปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเนื่องจากราษฎรและหน่วยงานราชการได้ใช้ประโยชน์ทั้งแปลง อำเภอท่าบ่อเห็นชอบตามมติสภาตำบลท่าบ่อในข้อที่ให้เลิกใช้เป็นที่สาธารณประโยชน์ คณะกรรมการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีมติเห็นชอบให้นำที่ดินสาธารณประโยชน์โคกใหญ่ จำนวน ๑๘๐๙ ไร่ ๑ งาน ๐๕ ตารางวา ไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ใช้ที่ดินพิพาทจำนวน ๔๗ ไร่ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา เพื่อรองรับการขยายตัวของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ แต่ที่ดินพิพาทมีผู้บุกรุก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงฟ้องผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นคดีอาญาต่อศาลจังหวัดหนองคาย คดีหมายเลขดำที่ ๑๕๖/๒๕๔๓ และศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก ๑ ปี คำสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดีกับพวกออกจากที่ดินพิพาทและคำสั่งจำหน่าย ส.ค. ๑ ออกจากทะเบียนครอบครองที่ดินของผู้ฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ได้รับอนุญาตให้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทจำนวน ๔๗ ไร่ ๑ งาน ๒๐ ตารางวา โดยถูกต้องตามกฎหมาย มีสิทธินำป้ายเหล็กไปปักเพื่อแสดงสิทธิตามกฎหมาย และมิได้นำรถไถไปทำลายทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓ ตามที่กล่าวอ้าง เพราะในขณะนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยังไม่ได้อนุญาตให้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงมิต้องรับผิดในค่าเสียหายจำนวน ๓๕๐,๐๐๐ บาท ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ให้การโดยยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ถือเอาคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ เป็นคำให้การ เนื่องจากถูกฟ้องในคดีเดียวกัน มีส่วนเกี่ยวข้องกันหลายประเด็น ที่ดินดังกล่าวนำไปปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ เนื่องจากมีราษฎรทำสวน ปลูกบ้าน บ่อปลา บ่อน้ำสาธารณะ ดังนั้น มติที่ให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนำที่ดินสาธารณประโยชน์โคกใหญ่ไปดำเนินการเพื่อเกษตรกรรมจึงชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นก่อนว่าที่ดินพิพาทที่ได้ถูกเพิกถอนที่สาธารณประโยชน์แล้วอยู่ในความดูแลครอบครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งหกอ้างว่า ที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ หมู่ ๘ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ กรณีจึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งหกอ้างว่า มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามหลักฐาน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ หมู่ที่ ๘ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เนื้อที่ ๒๐ ไร่ ซึ่งการนำที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครองตามหลักฐาน ส.ค. ๑ ดังกล่าวไปปฏิรูปที่ดินโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและนำที่ดินพิพาทไปจัดให้แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งการที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกฟ้องขอให้ตนมีสิทธิถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งตนได้ครอบครองและทำประโยชน์ตลอดจนประเด็นต่อเนื่องกับข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องพิจารณาว่าที่ดินพิพาทที่นำมาปฏิรูปนั้น เป็นที่ดินประเภทใด เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินหรือไม่ และหากเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ผู้ฟ้องคดีทั้งหกหรือโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ผู้ใดมีคุณสมบัติอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๕ จะพิจารณาในการปฏิรูปที่ดินถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งหกประสงค์ให้ศาลตรวจสอบว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่นของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าที่กระทำต่อผู้ฟ้องคดีทั้งหกหรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดหนองคายพิจารณาแล้วเห็นว่า มูลเหตุที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกดำเนินคดีแก่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำสั่งเพิกถอน ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเดิมอยู่ในเขตบริเวณที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์โคกใหญ่ ซึ่งได้ประกาศหวงห้ามตั้งแต่ปี ๒๔๗๑ ก่อนที่จะมีการแจ้งออก ส.ค. ๑ ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และขับไล่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกออกจากที่พิพาทโดยเห็นว่าผู้ฟ้องคดีทั้งหกครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมืองอุดรธานี ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย การดำเนินการปฏิรูปที่ดินในที่ดินพิพาทซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมาย โดยมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกและไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินอีก นั้น เห็นว่า คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งหก แสดงถึงเจตนาที่จะได้ที่ดินพิพาทเป็นของตนเองตามที่อ้างว่ามีสิทธิครอบครอง การวินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดีทั้งหกมีสิทธิครอบครองในที่พิพาทตามที่อ้าง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ มีอำนาจหน้าที่ในการออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกหรือไม่ จำเป็นต้องพิสูจน์การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายในที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดีทั้งหกเสียก่อน ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหกอ้างว่าฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีนำที่ดินพิพาทไปจัดให้แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เป็นการกระทำไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นวิธีการหนึ่งซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งหกนำข้อพิพาททางแพ่งและอาญาเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดหนองคายไปฟ้องที่ศาลอื่น โดยเนื้อหาสาระในข้อที่จะต้องวินิจฉัยในประเด็นหลักไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดีทั้งหก ซึ่งจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องคดีนี้ สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งหกเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดิน ที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ตาม ส.ค. ๑ น.ส. ๓ น.ส. ๓ ก. และเอกสารการชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท. ๖) ที่ดินดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่สาธารณประโยชน์ "โคกใหญ่" ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๓ นำที่ดินสาธารณประโยชน์ดังกล่าวรวมทั้งที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งหกไปดำเนินการปฏิรูป โดยที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เคยเข้าไปสำรวจและทำการพิสูจน์สิทธิในที่ดินตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินแต่อย่างใด และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำสั่งจำหน่าย ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๓๕ ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ออกจากทะเบียนครอบครองที่ดิน ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยกอุทธรณ์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหก ให้ยังคงมีสิทธิถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่ครอบครองต่อไป ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดิน และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากทรัพย์สินพืชเกษตรกรรมเสียหาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๓ และที่ ๔ และที่ ๕ ให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทางราชการได้สงวนหวงห้ามที่ดินไว้ เพื่อประโยชน์เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ ต่อมาราษฎรเลิกใช้ประโยชน์แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่ดังกล่าวได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๑ และอยู่ในอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่จะเข้าดำเนินการตามกฎหมาย ในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินดังกล่าวได้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ที่ดินพิพาทมีผู้บุกรุก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงฟ้องผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นคดีอาญาต่อศาลจังหวัดหนองคาย และศาลในคดีดังกล่าวได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก ๑ ปี คำสั่งจำหน่าย ส.ค. ๑ ออกจากทะเบียนครอบครองที่ดินของผู้ฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น ตามคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งหก ยื่นคำฟ้องต่อศาลขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้รับรองหรือคุ้มครองสิทธิในที่ดินของตน ทั้งการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ายื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่พลเมืองใช้ร่วมกัน แต่เลิกใช้แล้ว จึงจะนำมาปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมนั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นต่อไปได้ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นายวิเชียร มหาเสนา ที่ ๑ นายอุเทน มหาเสนา ที่ ๒ นายบัณฑิต สมรูป ที่ ๓ นายฉลวย สีหราช ที่ ๔ นายหอม เคนรักษา ที่ ๕ นายวิเชียร แสนวัง ที่ ๖ ผู้ฟ้องคดี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๑ กระทรวงสาธารณสุข ที่ ๒ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ที่ ๓ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย สาขาท่าบ่อ ที่ ๔ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ ๕ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๗
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๔/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองนครราชสีมา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนครราชสีมา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครราชสีมาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ๑๐๗๐/๒๕๔๔ ระหว่างนางสาวสายม่าน จ่อยครบุรี ผู้ฟ้องคดี กับสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาครบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งโอนมาจากเรื่องที่ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามมาตรา ๑๐๓ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อมาได้โอนมาศาลปกครองนครราชสีมา ตามมาตรา ๑๐๓ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๑๘/๒๕๔๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นราษฎรบ้านจระเข้หิน ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายกรณีผู้ฟ้องคดีได้เคยยื่นหนังสือคัดค้านการออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านจระเข้หิน ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๓ และอยู่ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติ
แต่ที่บริเวณดังกล่าวกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลครบุรีจำกัดที่ย้ายมาจากอำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี เดิมที่สาธารณประโยชน์แห่งนี้เป็นพื้นที่ป่าเรียกว่า "ป่าเขาประดู่" บริษัท โชคพนา จำกัด ได้รับสัมปทานให้ตัดไม้บริเวณดังกล่าวกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม สภาตำบลจระเข้หินจึงประกาศให้ป่าเขาประดู่เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์โดยขึ้นทะเบียนไว้ที่สภาตำบลจระเข้หินลำดับที่ ๑๘ เรียกชื่อที่สาธารณประโยชน์ "เขาแกลบเขาประดู่" เนื้อที่ประมาณ ๗,๒๐๐ ไร่ ใช้ทำประโยชน์เลี้ยงสัตว์พาหนะประจำตำบลโดยมีเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอครบุรีลงชื่อรับรองไว้เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ ต่อมากระทรวงมหาดไทยให้งบประมาณและส่งเจ้าหน้าที่มาทำแผนที่รังวัด (ร.ว. ๙ ) เพื่อขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยนายวินัย ชนะศักดิ์ นายช่างรังวัด ๓ ทำการรังวัดเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๒๗ เนื้อที่ ๑๒,๖๔๘ ไร่ ๑ งาน ๗๓ ตารางวา อำเภอครบุรีได้ยื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมที่ดิน ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๘ ขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง แต่จังหวัดนครราชสีมามีหนังสือลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๙ ว่าจังหวัดนครราชสีมาได้จัดส่งภาพถ่ายทะเบียนที่สาธารณประโยชน์และแผนที่แสดงจุดที่ตั้งไปให้ป่าไม้เขตนครราชสีมาเพื่อประกอบการตรวจสอบรับรองเขตที่ดินซึ่งได้รับแจ้งว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขต เขาประดู่ซึ่งที่ประชุมของคณะอนุกรรมการจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดนครราชสีมามีมติให้เขาประดู่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและมีความลาดชันสูงให้เป็นป่าสงวนโดยไม่จำแนกออกทั้งหมด จึงไม่สามารถทำการรับรองเขตที่ดินให้ได้ ขอให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการยกเลิกคำขอรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ที่ดินดังกล่าวเคยมีโครงการจะสร้างวิทยาลัยเกษตรกรรมได้รับงบประมาณไปขุดสระน้ำเรียกว่าสระหลวง ซึ่งมีอยู่จนปัจจุบัน ต่อมาเมื่อไม่มีงบประมาณจะก่อสร้างอาคารเรียนชาวบ้านบางส่วนเข้าไปทำไร่แต่ถูกจับกุมโดยอ้างว่าอยู่ในเขตอุทยานทับลาน เขตป่าสงวน เขตป่าเตรียมการสงวนป่าตามมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่เจ้าหน้าที่จะหาสาเหตุมาอ้างในการจับกุม ชาวบ้านจึงรวมตัวประท้วงที่หน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา และในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๓ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้ออกมาแก้ปัญหากรณีพิพาทดังกล่าวและตกลงให้ราษฎรเข้าไปทำกินก่อนโดยสภาตำบลฯ ไม่เรียกเก็บภาษีเพราะถือว่าเป็น ที่สาธารณประโยชน์ ชาวบ้านบางคนไปขอออกเอกสารสิทธิแต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าเป็นที่หลวงออกให้ไม่ได้ ต่อมาเมื่อมีการสร้างเขื่อนมูลบนจึงเป็นที่ต้องการของนายทุนเพราะนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ จึงให้นายหน้ามาขอซื้อจากชาวบ้านซึ่งชาวบ้านรู้ว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้จึงได้ขายให้ นายหน้าหาวิธีออกเอกสารสิทธิโดยหาซื้อ ส.ค. ๑ ที่ออกเอกสารสิทธิแล้วแต่ไม่ได้คืน ส.ค. ๑ ให้แก่ทางราชการ เอา ส.ค. ๑ นั้น ครอบที่ดินที่ขอออกเอกสารสิทธิและโอนกันภายหลังทั้งที่เป็นที่ดินที่ไม่เคยเสียภาษีหรือออกใบจองใด ๆ มาก่อน แต่ถ้าใครไม่ขายให้นายทุนก็ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ ขณะที่การคัดค้านการออกโฉนดที่ดินอยู่ในระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริง ผู้ถูกฟ้องคดียังได้ออกโฉนดในระวางเดียวกันอีกเป็นครั้งที่สองและครั้งที่สามและที่ดินบางส่วนเป็นที่ดินเวนคืนของกรมชลประทานด้วย โดยออกเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๓๔ จำนวน ๙ แปลง คือโฉนดเลขที่ ๙๐๒๗ - ๙๐๓๐ และเลขที่ ๙๐๓๒-๙๐๓๖ ออกเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ จำนวน ๒ แปลง คือโฉนดเลขที่ ๑๐๒๑๕ และเลขที่ ๑๐๒๑๗ ออกเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๔ จำนวน ๔ แปลง คือโฉนดเลขที่ ๑๑๓๖๕-๑๑๓๖๘ ออกเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๔ จำนวน ๕ ฉบับ คือโฉนดเลขที่ ๑๒๒๕๕, ๑๒๒๕๗ และเลขที่ ๑๒๒๓๔-๑๒๒๓๖ โดยทุกฉบับมีตำแหน่งที่ดินตั้งอยู่ในระวาง ๕๔๓๗ IV ๙๔๐๔ ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และเป็นระวางของที่สาธารณประโยชน์ เป็นการออกโฉนดเป็นแห่ง ๆ ทั้ง ๆ ที่รอบหมู่บ้านจระเข้หินซึ่งเป็นเขตสุขาภิบาลยังไม่มีการออกโฉนดที่ดิน กรมที่ดินได้มีหนังสือลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๗ ถึงผู้ฟ้องคดีว่า กรมที่ดินได้พิจารณาดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินในเขตที่สาธารณประโยชน์จำนวน ๒๐ แปลง และได้แจ้งให้จังหวัดนครราชสีมาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงมีความสงสัยว่าที่ดินดังกล่าวเป็นอะไรแน่ เพราะสภาตำบลแจ้งว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์ตำบลจระเข้หิน แต่หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงกลับถูกระงับการออก แต่ถ้าไม่ใช่ทำเลเลี้ยงสัตว์ชาวบ้านก็ออกโฉนดไม่ได้ แต่นายทุนกลับออกโฉนดได้ ซึ่งแสดงให้ เห็นว่ามีข้าราชการบางคนที่เห็นแก่ประโยชน์ที่นายทุนหยิบยื่นให้ นำสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปขายให้แก่นายทุน จึงขอให้ศาลเพิกถอนการออกโฉนดและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การออกโฉนดที่ดินในที่พิพาทเป็นการออกโฉนดโดยการเดินสำรวจตามมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๘ ทวิ (๒), (๓) ซึ่งกรมที่ดินได้ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางออกไปทำการสำรวจรังวัดทำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๔ รวม ๒๐ แปลง ต่อมาปี ๒๕๓๘ บริษัทอุตสาหกรรมหนองใหญ่ จำกัด ได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวจากราษฎรเจ้าของที่ดินเพื่อสร้างโรงงานน้ำตาลครบุรี จำกัด และปรากฏว่าโฉนดที่ดินทั้ง ๒๐ แปลงเคยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งซึ่งผู้แทนสภาตำบลจระเข้หินได้นำช่างรังวัดเพื่อขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้เมื่อปี ๒๕๒๗ และจังหวัดได้สั่งยกเลิกคำขอในภายหลัง โดยอ้างว่าบริเวณที่ทำเลเลี้ยงสัตว์อยู่ในเขตป่าเขาประดู่ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ป่าเขาประดู่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและมีความลาดชันสูงควรให้เป็นป่าสงวน การออกโฉนดที่ดินพิพาทจำนวน ๒๐ แปลง เป็นการออกโดยการเดินสำรวจเมื่อปี ๒๕๓๔ จึงไม่เป็นการออกทับที่สาธารณประโยชน์แต่อย่างใด สภาตำบลจระเข้หินได้ประชุมเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๐ มีมติว่าจำนวนที่ดินซึ่งได้ก่อสร้างโรงงานน้ำตาลเป็นพื้นที่นอกเขตที่สาธารณประโยชน์บ้านจระเข้หิน
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เหตุในการฟ้องคดีเกิดจากผู้ถูกฟ้องคดีได้ออกโฉนดที่ดิน ๒๐ แปลง และต่อมาได้มีการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลครบุรี จำกัด ในบริเวณพื้นที่ที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านจระเข้หิน ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอำเภอครบุรีได้ขอรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว แต่จังหวัดนครราชสีมามีมติให้เขาประดู่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและมีความลาดชันสูงให้เป็นป่าสงวนโดยไม่จำแนกออกทั้งหมด จึงให้ยกเลิกคำขอรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าบริเวณดังกล่าวเคยได้รับงบประมาณ ขุดสระน้ำเรียกว่าสระหลวงพร้อมกับปลูกหญ้าและมีโครงการจะสร้างวิทยาลัยเกษตรกรรมแต่ไม่มีงบประมาณดำเนินการ การออกโฉนดที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการออกทับที่สาธารณประโยชน์ ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งผู้ฟ้องคดีได้เคยคัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องโดยมีคำขอให้ศาล มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งว่า ในการนำรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงน่าจะเป็นการนำรังวัดไม่ถูกต้องตรงตามตำแหน่งที่เป็นจริง การออกโฉนดที่ดิน ๒๐ แปลง ไม่เป็นการออกทับที่สาธารณประโยชน์แต่อย่างใด และอ้างว่าที่ประชุมสภาตำบลจระเข้หินเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๐ มีมติว่าจำนวนที่ดินซึ่งก่อสร้างโรงงานน้ำตาลเป็นพื้นที่นอกเขตที่สาธารณประโยชน์บ้านจระเข้หินอันเป็นการโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทที่ได้ออก โฉนดที่ดิน ๒๐ แปลงนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์บ้านจระเข้หินตามที่ผู้ฟ้องคดีอ้างซึ่งมีความหมายว่า ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าที่ดินบริเวณที่ออกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีจึงออกโฉนดที่ดินให้แก่บุคคลดังกล่าว คดีนี้จึงมีประเด็นหลักแห่งคดีเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีว่าที่ดินพิพาท เป็นที่สาธารณประโยชน์บ้านจระเข้หินหรือเป็นสิทธิของผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นสำคัญ กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน อันเป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙/๒๕๔๗ และที่ ๒๑/๒๕๔๗
ศาลจังหวัดนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ไม่ได้มีข้อพิพาทโดยตรงเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินกับผู้ถูกฟ้องคดี แต่เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องในฐานะเป็นราษฎรที่ต้องปกปักดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์ (ทำเลเลี้ยงสัตว์) ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยกล่าวหาว่าผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้นำที่สาธารณประโยชน์ (ทำเลเลี้ยงสัตว์) ดังกล่าวออกโฉนดไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเห็นแก่ประโยชน์ที่นายทุนหยิบยื่นให้แล้วนำสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปขายให้แก่นายทุน โดยก่อนออกโฉนดผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคัดค้านการออกโฉนดไว้แล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีก็ยังดำเนินการออกโฉนดโดยไม่ชอบ ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า เป็นการออกโฉนดโดยการเดินสำรวจเมื่อปี ๒๕๓๔ จึงไม่เป็นการออกทับที่สาธารณประโยชน์แต่อย่างใด ซึ่งหมายความว่าการออกโฉนดที่ดินโดยสุจริตไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การออกโฉนดที่ดินดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองโดยตรง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แม้ในการวินิจฉัยว่าการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อาจจะต้องวินิจฉัยถึงสิทธิในที่ดินว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ (ทำเลเลี้ยงสัตว์) หรือเป็นที่ดินของผู้มีชื่อในโฉนด ก็เป็นเรื่องวินิจฉัยข้อเท็จจริง เพื่อประกอบเจตนาในการออกโฉนดของผู้ถูกฟ้องคดีว่าได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักโดยตรง และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีกระทำการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นผลให้ต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและได้ที่ดินกลับคืนเป็นของแผ่นดินไม่ใช่เป็นของผู้ฟ้องคดี คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นราษฎรบ้านจระเข้หิน ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ยื่นฟ้องสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาครบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์เรียกว่า "ป่าเขาประดู่" ซึ่งกระทรวงมหาดไทยไปขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง แต่จังหวัดนครราชสีมาไม่ยอมรับรอง แนวเขตให้โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวน ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๙๐๒๗-๙๐๓๐, ๙๐๓๒-๙๐๓๖, ๑๐๒๑๕, ๑๐๒๑๗, ๑๑๓๖๕-๑๑๓๖๘, ๑๒๒๕๕, ๑๒๒๕๗ และ ๑๒๒๓๔-๑๒๒๓๖ รวมจำนวน ๒๐ ฉบับ ให้แก่ผู้มีชื่อ โดยที่ดินตามโฉนดดังกล่าวมีระวางทับที่สาธารณประโยชน์ "ป่าเขาประดู่" ขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่พิพาทและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดี ให้การสรุปได้ว่า การออกโฉนดที่พิพาทเป็นการออกโดยการเดินสำรวจตามกฎหมาย ต่อมา บริษัทอุตสาหกรรมหนองใหญ่ จำกัด ซื้อที่ดินตามโฉนดพิพาทจากราษฎร เพื่อก่อสร้างโรงงานน้ำตาลครบุรี จึงมิได้ออกโฉนดทับที่สาธารณประโยชน์แต่อย่างใด ดังนั้น มูลความแห่งคดีนี้จึงสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อ แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการออกโฉนดดังกล่าวนี้ ทับที่ดินสาธารณประโยชน์ จึงขอให้เพิกถอนและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง แม้ผู้ฟ้องคดีจะมิได้กล่าวอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือ เป็นของผู้มีชื่อเป็นสำคัญ ทั้งผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิในที่ดินของผู้มีชื่อโดยตรง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นางสาวสายม่าน จ่อยครบุรี ผู้ฟ้องคดี สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาครบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๖
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๔/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองนครราชสีมา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนครราชสีมา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครราชสีมาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ๑๐๗๐/๒๕๔๔ ระหว่างนางสาวสายม่าน จ่อยครบุรี ผู้ฟ้องคดี กับสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาครบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งโอนมาจากเรื่องที่ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามมาตรา ๑๐๓ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อมาได้โอนมาศาลปกครองนครราชสีมา ตามมาตรา ๑๐๓ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๑๘/๒๕๔๔ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นราษฎรบ้านจระเข้หิน ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายกรณีผู้ฟ้องคดีได้เคยยื่นหนังสือคัดค้านการออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านจระเข้หิน ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๓ และอยู่ระหว่างสอบสวนข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติ
แต่ที่บริเวณดังกล่าวกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลครบุรีจำกัดที่ย้ายมาจากอำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี เดิมที่สาธารณประโยชน์แห่งนี้เป็นพื้นที่ป่าเรียกว่า "ป่าเขาประดู่" บริษัท โชคพนา จำกัด ได้รับสัมปทานให้ตัดไม้บริเวณดังกล่าวกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม สภาตำบลจระเข้หินจึงประกาศให้ป่าเขาประดู่เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์โดยขึ้นทะเบียนไว้ที่สภาตำบลจระเข้หินลำดับที่ ๑๘ เรียกชื่อที่สาธารณประโยชน์ "เขาแกลบเขาประดู่" เนื้อที่ประมาณ ๗,๒๐๐ ไร่ ใช้ทำประโยชน์เลี้ยงสัตว์พาหนะประจำตำบลโดยมีเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอครบุรีลงชื่อรับรองไว้เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ ต่อมากระทรวงมหาดไทยให้งบประมาณและส่งเจ้าหน้าที่มาทำแผนที่รังวัด (ร.ว. ๙ ) เพื่อขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยนายวินัย ชนะศักดิ์ นายช่างรังวัด ๓ ทำการรังวัดเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๒๗ เนื้อที่ ๑๒,๖๔๘ ไร่ ๑ งาน ๗๓ ตารางวา อำเภอครบุรีได้ยื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมที่ดิน ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๘ ขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง แต่จังหวัดนครราชสีมามีหนังสือลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๙ ว่าจังหวัดนครราชสีมาได้จัดส่งภาพถ่ายทะเบียนที่สาธารณประโยชน์และแผนที่แสดงจุดที่ตั้งไปให้ป่าไม้เขตนครราชสีมาเพื่อประกอบการตรวจสอบรับรองเขตที่ดินซึ่งได้รับแจ้งว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขต เขาประดู่ซึ่งที่ประชุมของคณะอนุกรรมการจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดนครราชสีมามีมติให้เขาประดู่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและมีความลาดชันสูงให้เป็นป่าสงวนโดยไม่จำแนกออกทั้งหมด จึงไม่สามารถทำการรับรองเขตที่ดินให้ได้ ขอให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการยกเลิกคำขอรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ที่ดินดังกล่าวเคยมีโครงการจะสร้างวิทยาลัยเกษตรกรรมได้รับงบประมาณไปขุดสระน้ำเรียกว่าสระหลวง ซึ่งมีอยู่จนปัจจุบัน ต่อมาเมื่อไม่มีงบประมาณจะก่อสร้างอาคารเรียนชาวบ้านบางส่วนเข้าไปทำไร่แต่ถูกจับกุมโดยอ้างว่าอยู่ในเขตอุทยานทับลาน เขตป่าสงวน เขตป่าเตรียมการสงวนป่าตามมติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่เจ้าหน้าที่จะหาสาเหตุมาอ้างในการจับกุม ชาวบ้านจึงรวมตัวประท้วงที่หน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา และในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๓ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้ออกมาแก้ปัญหากรณีพิพาทดังกล่าวและตกลงให้ราษฎรเข้าไปทำกินก่อนโดยสภาตำบลฯ ไม่เรียกเก็บภาษีเพราะถือว่าเป็น ที่สาธารณประโยชน์ ชาวบ้านบางคนไปขอออกเอกสารสิทธิแต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าเป็นที่หลวงออกให้ไม่ได้ ต่อมาเมื่อมีการสร้างเขื่อนมูลบนจึงเป็นที่ต้องการของนายทุนเพราะนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ จึงให้นายหน้ามาขอซื้อจากชาวบ้านซึ่งชาวบ้านรู้ว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้จึงได้ขายให้ นายหน้าหาวิธีออกเอกสารสิทธิโดยหาซื้อ ส.ค. ๑ ที่ออกเอกสารสิทธิแล้วแต่ไม่ได้คืน ส.ค. ๑ ให้แก่ทางราชการ เอา ส.ค. ๑ นั้น ครอบที่ดินที่ขอออกเอกสารสิทธิและโอนกันภายหลังทั้งที่เป็นที่ดินที่ไม่เคยเสียภาษีหรือออกใบจองใด ๆ มาก่อน แต่ถ้าใครไม่ขายให้นายทุนก็ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ ขณะที่การคัดค้านการออกโฉนดที่ดินอยู่ในระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริง ผู้ถูกฟ้องคดียังได้ออกโฉนดในระวางเดียวกันอีกเป็นครั้งที่สองและครั้งที่สามและที่ดินบางส่วนเป็นที่ดินเวนคืนของกรมชลประทานด้วย โดยออกเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๓๔ จำนวน ๙ แปลง คือโฉนดเลขที่ ๙๐๒๗ - ๙๐๓๐ และเลขที่ ๙๐๓๒-๙๐๓๖ ออกเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ จำนวน ๒ แปลง คือโฉนดเลขที่ ๑๐๒๑๕ และเลขที่ ๑๐๒๑๗ ออกเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๔ จำนวน ๔ แปลง คือโฉนดเลขที่ ๑๑๓๖๕-๑๑๓๖๘ ออกเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๔ จำนวน ๕ ฉบับ คือโฉนดเลขที่ ๑๒๒๕๕, ๑๒๒๕๗ และเลขที่ ๑๒๒๓๔-๑๒๒๓๖ โดยทุกฉบับมีตำแหน่งที่ดินตั้งอยู่ในระวาง ๕๔๓๗ IV ๙๔๐๔ ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และเป็นระวางของที่สาธารณประโยชน์ เป็นการออกโฉนดเป็นแห่ง ๆ ทั้ง ๆ ที่รอบหมู่บ้านจระเข้หินซึ่งเป็นเขตสุขาภิบาลยังไม่มีการออกโฉนดที่ดิน กรมที่ดินได้มีหนังสือลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๗ ถึงผู้ฟ้องคดีว่า กรมที่ดินได้พิจารณาดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินในเขตที่สาธารณประโยชน์จำนวน ๒๐ แปลง และได้แจ้งให้จังหวัดนครราชสีมาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงมีความสงสัยว่าที่ดินดังกล่าวเป็นอะไรแน่ เพราะสภาตำบลแจ้งว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์ตำบลจระเข้หิน แต่หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงกลับถูกระงับการออก แต่ถ้าไม่ใช่ทำเลเลี้ยงสัตว์ชาวบ้านก็ออกโฉนดไม่ได้ แต่นายทุนกลับออกโฉนดได้ ซึ่งแสดงให้ เห็นว่ามีข้าราชการบางคนที่เห็นแก่ประโยชน์ที่นายทุนหยิบยื่นให้ นำสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปขายให้แก่นายทุน จึงขอให้ศาลเพิกถอนการออกโฉนดและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การออกโฉนดที่ดินในที่พิพาทเป็นการออกโฉนดโดยการเดินสำรวจตามมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๘ ทวิ (๒), (๓) ซึ่งกรมที่ดินได้ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางออกไปทำการสำรวจรังวัดทำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินเมื่อปี ๒๕๓๔ รวม ๒๐ แปลง ต่อมาปี ๒๕๓๘ บริษัทอุตสาหกรรมหนองใหญ่ จำกัด ได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวจากราษฎรเจ้าของที่ดินเพื่อสร้างโรงงานน้ำตาลครบุรี จำกัด และปรากฏว่าโฉนดที่ดินทั้ง ๒๐ แปลงเคยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งซึ่งผู้แทนสภาตำบลจระเข้หินได้นำช่างรังวัดเพื่อขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้เมื่อปี ๒๕๒๗ และจังหวัดได้สั่งยกเลิกคำขอในภายหลัง โดยอ้างว่าบริเวณที่ทำเลเลี้ยงสัตว์อยู่ในเขตป่าเขาประดู่ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ป่าเขาประดู่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและมีความลาดชันสูงควรให้เป็นป่าสงวน การออกโฉนดที่ดินพิพาทจำนวน ๒๐ แปลง เป็นการออกโดยการเดินสำรวจเมื่อปี ๒๕๓๔ จึงไม่เป็นการออกทับที่สาธารณประโยชน์แต่อย่างใด สภาตำบลจระเข้หินได้ประชุมเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๐ มีมติว่าจำนวนที่ดินซึ่งได้ก่อสร้างโรงงานน้ำตาลเป็นพื้นที่นอกเขตที่สาธารณประโยชน์บ้านจระเข้หิน
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เหตุในการฟ้องคดีเกิดจากผู้ถูกฟ้องคดีได้ออกโฉนดที่ดิน ๒๐ แปลง และต่อมาได้มีการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลครบุรี จำกัด ในบริเวณพื้นที่ที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านจระเข้หิน ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอำเภอครบุรีได้ขอรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว แต่จังหวัดนครราชสีมามีมติให้เขาประดู่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและมีความลาดชันสูงให้เป็นป่าสงวนโดยไม่จำแนกออกทั้งหมด จึงให้ยกเลิกคำขอรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าบริเวณดังกล่าวเคยได้รับงบประมาณ ขุดสระน้ำเรียกว่าสระหลวงพร้อมกับปลูกหญ้าและมีโครงการจะสร้างวิทยาลัยเกษตรกรรมแต่ไม่มีงบประมาณดำเนินการ การออกโฉนดที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการออกทับที่สาธารณประโยชน์ ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งผู้ฟ้องคดีได้เคยคัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องโดยมีคำขอให้ศาล มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งว่า ในการนำรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงน่าจะเป็นการนำรังวัดไม่ถูกต้องตรงตามตำแหน่งที่เป็นจริง การออกโฉนดที่ดิน ๒๐ แปลง ไม่เป็นการออกทับที่สาธารณประโยชน์แต่อย่างใด และอ้างว่าที่ประชุมสภาตำบลจระเข้หินเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๐ มีมติว่าจำนวนที่ดินซึ่งก่อสร้างโรงงานน้ำตาลเป็นพื้นที่นอกเขตที่สาธารณประโยชน์บ้านจระเข้หินอันเป็นการโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทที่ได้ออก โฉนดที่ดิน ๒๐ แปลงนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์บ้านจระเข้หินตามที่ผู้ฟ้องคดีอ้างซึ่งมีความหมายว่า ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าที่ดินบริเวณที่ออกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีจึงออกโฉนดที่ดินให้แก่บุคคลดังกล่าว คดีนี้จึงมีประเด็นหลักแห่งคดีเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีว่าที่ดินพิพาท เป็นที่สาธารณประโยชน์บ้านจระเข้หินหรือเป็นสิทธิของผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นสำคัญ กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน อันเป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๙/๒๕๔๗ และที่ ๒๑/๒๕๔๗
ศาลจังหวัดนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ไม่ได้มีข้อพิพาทโดยตรงเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินกับผู้ถูกฟ้องคดี แต่เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องในฐานะเป็นราษฎรที่ต้องปกปักดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์ (ทำเลเลี้ยงสัตว์) ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยกล่าวหาว่าผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้นำที่สาธารณประโยชน์ (ทำเลเลี้ยงสัตว์) ดังกล่าวออกโฉนดไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเห็นแก่ประโยชน์ที่นายทุนหยิบยื่นให้แล้วนำสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปขายให้แก่นายทุน โดยก่อนออกโฉนดผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคัดค้านการออกโฉนดไว้แล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีก็ยังดำเนินการออกโฉนดโดยไม่ชอบ ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า เป็นการออกโฉนดโดยการเดินสำรวจเมื่อปี ๒๕๓๔ จึงไม่เป็นการออกทับที่สาธารณประโยชน์แต่อย่างใด ซึ่งหมายความว่าการออกโฉนดที่ดินโดยสุจริตไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การออกโฉนดที่ดินดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองโดยตรง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แม้ในการวินิจฉัยว่าการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อาจจะต้องวินิจฉัยถึงสิทธิในที่ดินว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ (ทำเลเลี้ยงสัตว์) หรือเป็นที่ดินของผู้มีชื่อในโฉนด ก็เป็นเรื่องวินิจฉัยข้อเท็จจริง เพื่อประกอบเจตนาในการออกโฉนดของผู้ถูกฟ้องคดีว่าได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักโดยตรง และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีกระทำการออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นผลให้ต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและได้ที่ดินกลับคืนเป็นของแผ่นดินไม่ใช่เป็นของผู้ฟ้องคดี คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นราษฎรบ้านจระเข้หิน ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ยื่นฟ้องสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาครบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์เรียกว่า "ป่าเขาประดู่" ซึ่งกระทรวงมหาดไทยไปขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง แต่จังหวัดนครราชสีมาไม่ยอมรับรอง แนวเขตให้โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวน ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๙๐๒๗-๙๐๓๐, ๙๐๓๒-๙๐๓๖, ๑๐๒๑๕, ๑๐๒๑๗, ๑๑๓๖๕-๑๑๓๖๘, ๑๒๒๕๕, ๑๒๒๕๗ และ ๑๒๒๓๔-๑๒๒๓๖ รวมจำนวน ๒๐ ฉบับ ให้แก่ผู้มีชื่อ โดยที่ดินตามโฉนดดังกล่าวมีระวางทับที่สาธารณประโยชน์ "ป่าเขาประดู่" ขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่พิพาทและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดี ให้การสรุปได้ว่า การออกโฉนดที่พิพาทเป็นการออกโดยการเดินสำรวจตามกฎหมาย ต่อมา บริษัทอุตสาหกรรมหนองใหญ่ จำกัด ซื้อที่ดินตามโฉนดพิพาทจากราษฎร เพื่อก่อสร้างโรงงานน้ำตาลครบุรี จึงมิได้ออกโฉนดทับที่สาธารณประโยชน์แต่อย่างใด ดังนั้น มูลความแห่งคดีนี้จึงสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อ แต่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการออกโฉนดดังกล่าวนี้ ทับที่ดินสาธารณประโยชน์ จึงขอให้เพิกถอนและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง แม้ผู้ฟ้องคดีจะมิได้กล่าวอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือ เป็นของผู้มีชื่อเป็นสำคัญ ทั้งผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิในที่ดินของผู้มีชื่อโดยตรง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นางสาวสายม่าน จ่อยครบุรี ผู้ฟ้องคดี สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาครบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๖
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๓/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลปกครองนครราชสีมา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนครราชสีมา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครราชสีมาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๗ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องหัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครราชสีมา (เดิมคือ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนครราชสีมา ) ที่ ๑ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองนครราชสีมาเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๔๑/๒๕๔๗ ความว่า เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีได้ทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดขุนเมือง ก่อสร้างโรงงานผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งรมควันที่จังหวัดปัตตานี จำนวน ๒ โรงงาน เป็นเงิน ๕,๖๘๐,๐๐๐ บาท แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดขุนเมืองทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาโดยก่อสร้างสำเร็จเพียงงานงวดที่ ๑ และที่ ๒ รวมคิดเป็นเงิน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาท เท่านั้น ผู้ฟ้องคดีจึงยังไม่จ่ายค่าจ้างดังกล่าว และบอกเลิกสัญญา แล้วทำสัญญาจ้างบริษัทสุรนารีแฟคทอรี่ จำกัด ทำการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวต่อไปโดยจ้างก่อสร้างเพิ่มเติมอีกรวมเป็น ๖ โรงงาน เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๓,๙๑๖,๐๐๐ บาท อันเป็นราคาเต็มที่รวมผลงานของห้างหุ้นส่วนจำกัดขุนเมือง จำนวน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาท ที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วด้วย เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จผู้ฟ้องคดีได้จ่ายค่าจ้างให้แก่บริษัทสุรนารีฯ ตามสัญญาโดยไม่หักเงิน จำนวน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาท ที่บริษัทสุรนารีฯ ไม่มีสิทธิได้รับ ผู้ฟ้องคดีจึงจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลยุติธรรมเพื่อเรียกเงินคืน แต่ทราบว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างแล้ว เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือ ที่ กษ ๒๐๒๙/๐๔๖๗ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้จดชื่อคืนสู่ทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๖) แต่ได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือที่ พณ ๐๘๐๕/นม/๑๔๙๔ ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๗ ว่า ได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จึงไม่อาจเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ ผู้ฟ้องคดีจึงได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ โดยผ่านผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือ ด่วนมาก ที่ กษ ๒๐๒๙/๐๖๐๙ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๗ แล้วได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือ ที่ พณ ๐๘๐๕/นม/๒๑๘๘ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๗ ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาคำอุทธรณ์แล้ว เห็นว่า นายทะเบียนไม่มีอำนาจจดชื่อบริษัทเพื่อกลับคืนสู่ทะเบียนได้ เนื่องจากนายทะเบียนปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีผลให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายไม่สามารถจะดำเนินการฟ้องร้องคดีแพ่งหรือทำธุรกรรมกับบริษัทสุรนารีฯ เพื่อให้นำเงินค่าจ้างที่ผู้ฟ้องคดีจ่ายให้ไปโดยผิดพลาดมาชดใช้คืนได้ จึงยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยกเลิกคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง และให้กลับจดชื่อบริษัทดังกล่าวในทะเบียนเช่นเดิม
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า บริษัทสุรนารีฯ มิได้จัดส่งงบดุลและงบกำไรขาดทุนประจำปีต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๙ ติดต่อกันมาเป็นเวลาสามปีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้มีหนังสือสอบถามกรรมการบริษัทว่า ยังดำเนินกิจการอยู่หรือไม่แต่ไม่ได้รับแจ้งผลการดำเนินการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้มีหนังสือถึงกรรมการบริษัทอีกครั้งหนึ่ง โดยให้แจ้งภายใน ๑ เดือน นับแต่วันที่ลงในหนังสือ หากพ้นกำหนดและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยังไม่ได้รับแจ้งอีกจะได้ดำเนินการแจ้งความโฆษณาเพื่อขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียน แต่ก็ไม่ได้รับแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดอีก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงออกประกาศจะขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนโดยประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์เสรีธรรมและได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทสุรนารีฯ ทราบด้วย เมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่แจ้งในประกาศแล้ว บริษัทสุรนารีฯ ก็มิได้แจ้งเหตุมาให้ทราบว่ายังประกอบกิจการ อยู่หรือไม่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงออกคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนส่วนบริษัทจังหวัดนครราชสีมา ที่ (ถ) ๒๒/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ และคำสั่งดังกล่าวได้ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาด้วย อันเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๕) การดำเนินการขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ดำเนินการโดยชอบตามอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๙ ประกอบมาตรา ๑๒๔๖ แล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลว่า การที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องต่อศาลปกครองโดยอาศัยสิทธิฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทสุรนารีฯ เพื่อให้ศาลเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่จะให้ได้กลับคืนขึ้นทะเบียนแล้วสั่งให้จดชื่อบริษัทสุรนารีฯ เข้าสู่ทะเบียนเพื่อผู้ฟ้องคดีจะได้ดำเนินการฟ้องคดีแพ่งบริษัทสุรนารีฯ ต่อไป เป็นการอาศัยสิทธิทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๖) โดยคำฟ้องของผู้ฟ้องคดียอมรับว่านายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนโดยชอบ คำฟ้องดังกล่าวจึงมิใช่กรณีมีข้อพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง เมื่อคดีไม่มีข้อพิพาท ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลปกครองนครราชสีมา จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้และไม่สามารถกำหนดคำบังคับ ตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายแพ่งมิได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายหรือระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แม้คำสั่งดังกล่าวจะเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๖) ได้กำหนดช่องทางให้สามารถเยียวยาเพื่อให้บริษัทคืนสู่สภาพได้ โดยกำหนดให้บุคคลที่ต้องเสียหายไม่เป็นธรรมยื่นคำร้องฝ่ายเดียวต่อศาลโดยไม่มีข้อพิพาท ทั้งนี้เพื่อให้ศาลใช้หลักแห่งความยุติธรรมที่จะออกคำสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทที่ถูกขีดชื่อออกคืนเข้าสู่ทะเบียนอันเป็นหลักความยุติธรรมที่ระบุไว้ในกฎหมายแพ่ง ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้นิยามคำสั่งทางปกครอง หมายความว่า (๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่ หมายความรวมถึงการออกกฎ (๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ใช้อำนาจตามมาตรา ๑๒๔๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ออกคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีแฟคทอรี่ จำกัด ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง มีผลให้บริษัทดังกล่าวเป็นอันเลิกกันไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ คำสั่งขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าว จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อมีกรณีโต้แย้งว่า คำสั่งที่ให้ขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นไปโดยไม่ชอบและมีผลให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหายไม่สามารถที่จะดำเนินการฟ้องร้องคดีแพ่งหรือทำธุรกรรมกับบริษัทสุรนารีฯ เพื่อให้นำเงินค่าจ้างที่ผู้ฟ้องคดีจ่ายให้ไปโดยผิดพลาดมาชดใช้คืนได้ และได้ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยกเลิกคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง และให้กลับจดชื่อบริษัทสุรนารีฯ คืนเข้าสู่ทะเบียน จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการด้วยการออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นคดีที่ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
ศาลจังหวัดนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีแฟคทอรี่ จำกัด ออกเสียจากทะเบียน ซึ่งทำให้ผู้ฟ้องคดีในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทสุรนารีฯ ได้รับผลกระทบ ไม่อาจจะฟ้องเรียกร้องให้บริษัท สุรนารีฯ ชำระเงินคืนได้ก็ตาม แต่กรณีมิใช่เป็นคำสั่งทางปกครอง เพราะเหตุว่าการขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียนนั้นได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนที่ ๑๑ การถอนทะเบียนบริษัทร้าง มาตรา ๑๒๔๖ (๑) - (๖) โดยบัญญัติถึงเหตุและขั้นตอนของการที่นายทะเบียนบริษัทจะขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียนไว้ใน (๑) ถึง (๕) และบัญญัติให้อำนาจศาลในการที่จะพิจารณาสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนไว้ใน (๖) ว่า ถ้าบริษัทหรือผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใด ๆ ของบริษัทรู้สึกว่าต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทถูกขีดชื่อจากทะเบียน เมื่อบริษัท หรือผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลพิจารณาได้ความเป็นที่พอ แก่ใจว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทจากทะเบียนนั้น บริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ก็ดี หรือมิฉะนั้นเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่จะให้บริษัทนั้นกลับคืนขึ้นทะเบียนก็ดี ศาลจะสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ได้ ดังนั้น เมื่อการขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียนและการสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้บัญญัติไว้ชัดเจนแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๑) - (๖) ดังกล่าว คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้ทำสัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัดขุนเมือง ก่อสร้างโรงงานผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งรมควันที่จังหวัดปัตตานี จำนวน ๒ โรงงาน แต่ห้างฯ ทำงานแล้วเสร็จเพียงสองงวดงาน คิดเป็นเงิน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาท ผู้ฟ้องคดีจึงบอกเลิกสัญญาและทำสัญญาจ้างบริษัทสุรนารีแฟคทอรี่ จำกัด ก่อสร้างโรงงานดังกล่าวแทนและจ้างเพิ่มเติมอีกรวมเป็น ๖ โรงงาน เป็นเงิน ๑๓,๙๑๖,๐๐๐ บาท อันเป็นราคาเต็มที่รวมผลงานของห้างฯ ที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วด้วย เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ผู้ฟ้องคดีได้จ่ายค่าจ้างตามสัญญาให้แก่บริษัทสุรนารีฯ โดยไม่หักเงิน จำนวน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาทไว้ ผู้ฟ้องคดีจึงจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลยุติธรรมเพื่อเรียกเงินคืน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้บริษัทสุรนารีฯ มีชื่อคืนสู่ทะเบียน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ดำเนินการอ้างว่า การขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชอบด้วยกฎหมายแล้วเช่นกัน คำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายไม่อาจฟ้องร้องคดีแพ่งให้บริษัทสุรนารีฯ นำเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายให้ไปโดยผิดพลาดมาชดใช้คืนได้ จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยกเลิกคำสั่งดังกล่าว และให้กลับจดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ในทะเบียนเช่นเดิม ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า การขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนได้ดำเนินการโดยชอบตามอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๙ ประกอบมาตรา ๑๒๔๖ แล้ว คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการถอนทะเบียนบริษัทร้างหรือไม่ ซึ่งการขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเป็นขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายแพ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะ หากการขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ย่อมทำให้สภาพความเป็นนิติบุคคลของบริษัทฯ ตลอดจนสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ สิ้นสุดลง แต่หากการขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว สภาพบุคคล สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็จะไม่สิ้นสุด อันเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และสภาพความเป็นบุคคลของบริษัทในทางแพ่ง ทั้งการที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิฟ้องร้องใน ทางแพ่งเพื่อเรียกหนี้คืนจากบริษัทฯ ที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๖) ก็บัญญัติให้เจ้าหนี้ของบริษัทที่ต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัท ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ อันเป็นขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายแพ่งบัญญัติให้บริษัทที่เลิกกันเพราะการขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างดังกล่าวกลับมีสภาพของบุคคลเสมือนดังว่าบริษัทนั้นมิได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เพื่อให้ผู้เสียหายได้ฟ้องร้องหรือทำธุรกรรมกับบริษัทที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนต่อไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องของสภาพความเป็นบุคคลของบริษัทในทางแพ่งเช่นกัน ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ และสภาพความเป็นบุคคลของบริษัทในทางแพ่ง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ผู้ฟ้องคดี หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครราชสีมา (นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนครราชสีมา เดิม) ที่ ๑ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๖
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๓/๒๕๔๘
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)
ศาลปกครองนครราชสีมา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนครราชสีมา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครราชสีมาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๗ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องหัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครราชสีมา (เดิมคือ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนครราชสีมา ) ที่ ๑ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองนครราชสีมาเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๔๑/๒๕๔๗ ความว่า เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีได้ทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดขุนเมือง ก่อสร้างโรงงานผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งรมควันที่จังหวัดปัตตานี จำนวน ๒ โรงงาน เป็นเงิน ๕,๖๘๐,๐๐๐ บาท แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดขุนเมืองทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาโดยก่อสร้างสำเร็จเพียงงานงวดที่ ๑ และที่ ๒ รวมคิดเป็นเงิน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาท เท่านั้น ผู้ฟ้องคดีจึงยังไม่จ่ายค่าจ้างดังกล่าว และบอกเลิกสัญญา แล้วทำสัญญาจ้างบริษัทสุรนารีแฟคทอรี่ จำกัด ทำการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวต่อไปโดยจ้างก่อสร้างเพิ่มเติมอีกรวมเป็น ๖ โรงงาน เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๓,๙๑๖,๐๐๐ บาท อันเป็นราคาเต็มที่รวมผลงานของห้างหุ้นส่วนจำกัดขุนเมือง จำนวน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาท ที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วด้วย เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จผู้ฟ้องคดีได้จ่ายค่าจ้างให้แก่บริษัทสุรนารีฯ ตามสัญญาโดยไม่หักเงิน จำนวน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาท ที่บริษัทสุรนารีฯ ไม่มีสิทธิได้รับ ผู้ฟ้องคดีจึงจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลยุติธรรมเพื่อเรียกเงินคืน แต่ทราบว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างแล้ว เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือ ที่ กษ ๒๐๒๙/๐๔๖๗ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้จดชื่อคืนสู่ทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๖) แต่ได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือที่ พณ ๐๘๐๕/นม/๑๔๙๔ ลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๗ ว่า ได้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายแล้ว จึงไม่อาจเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ ผู้ฟ้องคดีจึงได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ โดยผ่านผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือ ด่วนมาก ที่ กษ ๒๐๒๙/๐๖๐๙ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๗ แล้วได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือ ที่ พณ ๐๘๐๕/นม/๒๑๘๘ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๗ ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาคำอุทธรณ์แล้ว เห็นว่า นายทะเบียนไม่มีอำนาจจดชื่อบริษัทเพื่อกลับคืนสู่ทะเบียนได้ เนื่องจากนายทะเบียนปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีผลให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายไม่สามารถจะดำเนินการฟ้องร้องคดีแพ่งหรือทำธุรกรรมกับบริษัทสุรนารีฯ เพื่อให้นำเงินค่าจ้างที่ผู้ฟ้องคดีจ่ายให้ไปโดยผิดพลาดมาชดใช้คืนได้ จึงยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยกเลิกคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง และให้กลับจดชื่อบริษัทดังกล่าวในทะเบียนเช่นเดิม
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า บริษัทสุรนารีฯ มิได้จัดส่งงบดุลและงบกำไรขาดทุนประจำปีต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๙ ติดต่อกันมาเป็นเวลาสามปีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้มีหนังสือสอบถามกรรมการบริษัทว่า ยังดำเนินกิจการอยู่หรือไม่แต่ไม่ได้รับแจ้งผลการดำเนินการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้มีหนังสือถึงกรรมการบริษัทอีกครั้งหนึ่ง โดยให้แจ้งภายใน ๑ เดือน นับแต่วันที่ลงในหนังสือ หากพ้นกำหนดและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยังไม่ได้รับแจ้งอีกจะได้ดำเนินการแจ้งความโฆษณาเพื่อขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียน แต่ก็ไม่ได้รับแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดอีก ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงออกประกาศจะขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนโดยประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์เสรีธรรมและได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทสุรนารีฯ ทราบด้วย เมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่แจ้งในประกาศแล้ว บริษัทสุรนารีฯ ก็มิได้แจ้งเหตุมาให้ทราบว่ายังประกอบกิจการ อยู่หรือไม่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงออกคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนส่วนบริษัทจังหวัดนครราชสีมา ที่ (ถ) ๒๒/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ และคำสั่งดังกล่าวได้ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาด้วย อันเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๕) การดำเนินการขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ดำเนินการโดยชอบตามอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๙ ประกอบมาตรา ๑๒๔๖ แล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลว่า การที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องต่อศาลปกครองโดยอาศัยสิทธิฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทสุรนารีฯ เพื่อให้ศาลเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่จะให้ได้กลับคืนขึ้นทะเบียนแล้วสั่งให้จดชื่อบริษัทสุรนารีฯ เข้าสู่ทะเบียนเพื่อผู้ฟ้องคดีจะได้ดำเนินการฟ้องคดีแพ่งบริษัทสุรนารีฯ ต่อไป เป็นการอาศัยสิทธิทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๖) โดยคำฟ้องของผู้ฟ้องคดียอมรับว่านายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนโดยชอบ คำฟ้องดังกล่าวจึงมิใช่กรณีมีข้อพิพาทระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง เมื่อคดีไม่มีข้อพิพาท ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลปกครองนครราชสีมา จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้และไม่สามารถกำหนดคำบังคับ ตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายแพ่งมิได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายหรือระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แม้คำสั่งดังกล่าวจะเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๖) ได้กำหนดช่องทางให้สามารถเยียวยาเพื่อให้บริษัทคืนสู่สภาพได้ โดยกำหนดให้บุคคลที่ต้องเสียหายไม่เป็นธรรมยื่นคำร้องฝ่ายเดียวต่อศาลโดยไม่มีข้อพิพาท ทั้งนี้เพื่อให้ศาลใช้หลักแห่งความยุติธรรมที่จะออกคำสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทที่ถูกขีดชื่อออกคืนเข้าสู่ทะเบียนอันเป็นหลักความยุติธรรมที่ระบุไว้ในกฎหมายแพ่ง ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้นิยามคำสั่งทางปกครอง หมายความว่า (๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่ หมายความรวมถึงการออกกฎ (๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ใช้อำนาจตามมาตรา ๑๒๔๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ออกคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีแฟคทอรี่ จำกัด ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง มีผลให้บริษัทดังกล่าวเป็นอันเลิกกันไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ คำสั่งขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าว จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง เมื่อมีกรณีโต้แย้งว่า คำสั่งที่ให้ขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นไปโดยไม่ชอบและมีผลให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหายไม่สามารถที่จะดำเนินการฟ้องร้องคดีแพ่งหรือทำธุรกรรมกับบริษัทสุรนารีฯ เพื่อให้นำเงินค่าจ้างที่ผู้ฟ้องคดีจ่ายให้ไปโดยผิดพลาดมาชดใช้คืนได้ และได้ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยกเลิกคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง และให้กลับจดชื่อบริษัทสุรนารีฯ คืนเข้าสู่ทะเบียน จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการด้วยการออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นคดีที่ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
ศาลจังหวัดนครราชสีมาพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีแฟคทอรี่ จำกัด ออกเสียจากทะเบียน ซึ่งทำให้ผู้ฟ้องคดีในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทสุรนารีฯ ได้รับผลกระทบ ไม่อาจจะฟ้องเรียกร้องให้บริษัท สุรนารีฯ ชำระเงินคืนได้ก็ตาม แต่กรณีมิใช่เป็นคำสั่งทางปกครอง เพราะเหตุว่าการขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียนนั้นได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนที่ ๑๑ การถอนทะเบียนบริษัทร้าง มาตรา ๑๒๔๖ (๑) - (๖) โดยบัญญัติถึงเหตุและขั้นตอนของการที่นายทะเบียนบริษัทจะขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียนไว้ใน (๑) ถึง (๕) และบัญญัติให้อำนาจศาลในการที่จะพิจารณาสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนไว้ใน (๖) ว่า ถ้าบริษัทหรือผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ใด ๆ ของบริษัทรู้สึกว่าต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัทถูกขีดชื่อจากทะเบียน เมื่อบริษัท หรือผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลพิจารณาได้ความเป็นที่พอ แก่ใจว่าในขณะที่ขีดชื่อบริษัทจากทะเบียนนั้น บริษัทยังทำการค้าขายหรือยังประกอบการงานอยู่ก็ดี หรือมิฉะนั้นเห็นเป็นการยุติธรรมในการที่จะให้บริษัทนั้นกลับคืนขึ้นทะเบียนก็ดี ศาลจะสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนก็ได้ ดังนั้น เมื่อการขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียนและการสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้บัญญัติไว้ชัดเจนแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๑) - (๖) ดังกล่าว คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้ทำสัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัดขุนเมือง ก่อสร้างโรงงานผลิตยางแผ่นผึ่งแห้งรมควันที่จังหวัดปัตตานี จำนวน ๒ โรงงาน แต่ห้างฯ ทำงานแล้วเสร็จเพียงสองงวดงาน คิดเป็นเงิน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาท ผู้ฟ้องคดีจึงบอกเลิกสัญญาและทำสัญญาจ้างบริษัทสุรนารีแฟคทอรี่ จำกัด ก่อสร้างโรงงานดังกล่าวแทนและจ้างเพิ่มเติมอีกรวมเป็น ๖ โรงงาน เป็นเงิน ๑๓,๙๑๖,๐๐๐ บาท อันเป็นราคาเต็มที่รวมผลงานของห้างฯ ที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วด้วย เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ผู้ฟ้องคดีได้จ่ายค่าจ้างตามสัญญาให้แก่บริษัทสุรนารีฯ โดยไม่หักเงิน จำนวน ๕๖๒,๖๙๑.๕๙ บาทไว้ ผู้ฟ้องคดีจึงจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลยุติธรรมเพื่อเรียกเงินคืน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้บริษัทสุรนารีฯ มีชื่อคืนสู่ทะเบียน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ดำเนินการอ้างว่า การขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างได้กระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชอบด้วยกฎหมายแล้วเช่นกัน คำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายไม่อาจฟ้องร้องคดีแพ่งให้บริษัทสุรนารีฯ นำเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายให้ไปโดยผิดพลาดมาชดใช้คืนได้ จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยกเลิกคำสั่งดังกล่าว และให้กลับจดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ในทะเบียนเช่นเดิม ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า การขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนได้ดำเนินการโดยชอบตามอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๙ ประกอบมาตรา ๑๒๔๖ แล้ว คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การขีดชื่อบริษัทสุรนารีฯ ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ นั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการถอนทะเบียนบริษัทร้างหรือไม่ ซึ่งการขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเป็นขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายแพ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะ หากการขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ย่อมทำให้สภาพความเป็นนิติบุคคลของบริษัทฯ ตลอดจนสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ สิ้นสุดลง แต่หากการขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว สภาพบุคคล สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็จะไม่สิ้นสุด อันเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และสภาพความเป็นบุคคลของบริษัทในทางแพ่ง ทั้งการที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิฟ้องร้องใน ทางแพ่งเพื่อเรียกหนี้คืนจากบริษัทฯ ที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๔๖ (๖) ก็บัญญัติให้เจ้าหนี้ของบริษัทที่ต้องเสียหายมิเป็นธรรมเพราะการที่บริษัท ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ อันเป็นขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายแพ่งบัญญัติให้บริษัทที่เลิกกันเพราะการขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างดังกล่าวกลับมีสภาพของบุคคลเสมือนดังว่าบริษัทนั้นมิได้ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เพื่อให้ผู้เสียหายได้ฟ้องร้องหรือทำธุรกรรมกับบริษัทที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนต่อไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องของสภาพความเป็นบุคคลของบริษัทในทางแพ่งเช่นกัน ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ และสภาพความเป็นบุคคลของบริษัทในทางแพ่ง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ผู้ฟ้องคดี หัวหน้าสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครราชสีมา (นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดนครราชสีมา เดิม) ที่ ๑ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๖
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๒/๒๕๔๘
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘
ศาลจังหวัดยะลา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดทหารบกปัตตานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดยะลาโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๗ นางยามีลา นูรุลอาดิล ที่ ๑ นายมูฮัมมัดรอมลี เจ๊ะเละ ที่ ๒ โจทก์ ยื่นฟ้อง จ่าสิบเอกเสาธง แก้วสว่าง ที่ ๑ อาสาสมัครทหารพรานวิชาญ เพชรวงศ์ ที่ ๒ อาสาสมัครทหารพรานแสวง พรหมวิไล ที่ ๓ อาสาสมัครทหารพรานดอเลาะ หามะ ที่ ๔ อาสาสมัครทหารพรานสมศักดิ์ คละแดง ที่ ๕ จำเลย ต่อศาลจังหวัดยะลา เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ ๖๙๙/๒๕๔๗ ความว่า เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๗ เวลากลางวัน จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ที่ ๒ กับนายอิลมีน นูรุลอาดิลซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ ๑ และใช้อาวุธปืนยิงนายอิลมีน จนถึงแก่ความตาย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากโจทก์ที่ ๒ และนายอิลมีน วิ่งหลบหนีการไล่ยิงของนายอับดุลอาซิ หะยีดอเลาะ มาพบจำเลยทั้งห้าแต่จำเลยทั้งห้าได้ใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าและตะโกนสั่งให้โจทก์ที่ ๒ โยนอาวุธปืน ชูมือและคุกเข่าหมอบลงกับพื้น โจทก์ที่ ๒ กับนายอิลมีน ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยทั้งห้า แต่จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธปืนจ่อยิงหลังนายอิลมีนในขณะที่หมอบลงกับพื้น ทั้งยังร่วมกันสร้างพยานหลักฐานเท็จ เพื่อให้พนักงานสอบสวนเชื่อว่านายอิลมีนใช้อาวุธปืนยิงจำเลยทั้งห้า ก่อนที่จำเลยทั้งห้าจะยิงสวนโต้ตอบกลับ เพื่อที่จำเลยทั้งห้าจะได้ไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีและต้องรับโทษตามกฎหมาย และระหว่างวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งห้าได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา บอกกล่าวหรือรายงานต่อผู้บังคับบัญชาและให้ข่าวต่อสื่อมวลชนด้วยข้อความอันเป็นเท็จเพื่อใส่ความโจทก์ที่ ๒ และนายอิลมีน ว่ามีส่วนผิดที่ทำให้จำเลยทั้งห้าต้องร่วมกันทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธปืนยิงนายอิลมีน การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งห้าทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังจากประชาชนทั่วไป โจทก์ทั้งสองเห็นว่าจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาสาสมัครทหารพราน ของกรมทหารพรานที่ ๔๑ แต่จำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ มีตำแหน่งเป็นเพียงลูกจ้างของหน่วยงานดังกล่าว ไม่ใช่บุคคลที่รับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร จึงไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๘) ส่วนจำเลยที่ ๑ แม้จะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารแต่ได้ร่วมกันกระทำผิดกับจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ซึ่งเป็นบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าต่อศาลพลเรือน ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๘) ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าผู้อื่น สร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ และหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗, ๒๙๕, ๒๘๙ (๗), ๑๓๗, ๑๗๒, ๑๗๓,๑๗๔, ๑๗๙, ๑๘๙, ๑๙๒, ๓๒๖, ๓๒๗
ความเห็นระหว่างศาล
ศาลจังหวัดยะลาเห็นว่า ตามคำฟ้องจำเลยที่ ๑ รับราชการทหาร จึงเป็นนายทหารประทวนตามพระธรรมนูญศาลทหาร ส่วนจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ ตามคำฟ้องระบุว่าเป็นลูกจ้างตำแหน่งอาสาสมัครทหารพรานจึงถือว่าเป็นพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร ซึ่งขณะเกิดเหตุคดีนี้มีเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีประกาศกองทัพภาคที่ ๔ เรื่องการใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ รวมถึงเขตพื้นที่อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เป็นเขตพื้นที่ซึ่งใช้กฎอัยการศึกด้วย โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๗ และเมื่อมีการประกาศออกกฎอัยการศึกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือรักษาความสงบเรียบร้อยรวมถึงห้ามมีหรือใช้อาวุธตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ที่ ๒ แล้วได้ใช้อาวุธปืนจ่อยิงนายอิลมีน ว่าสืบเนื่องมาจากการที่นายอับดุลอาซิ หะยีดอเลาะ ใช้อาวุธปืนพกสั้น ขนาด .๓๘ ยิงโจทก์ที่ ๒ และนายอิลมีน แต่กระสุนพลาดไปถูกนายดอรอฮิงหรือนายบือราเฮง มาหะ โจทก์ที่ ๒ กับนายอิลมีนจึงวิ่งหลบหนี โดยโจทก์ที่ ๒ ได้ถืออาวุธปืนพกสั้น ขนาด .๒๒ ในขณะวิ่งหลบหนีเพราะเกรงว่านายอับดุลอาซิ หะยีดอเลาะ จะวิ่งไล่ติดตามมายิงซ้ำ ตามคำฟ้องดังกล่าวแสดงว่ามีเหตุการณ์ยิงกันขึ้นก่อนแล้วนายอิลมีนและโจทก์ที่ ๒ วิ่งหลบหนีโดยถืออาวุธปืนมาและพบกับจำเลยทั้งห้า ซึ่งบอกให้โยนอาวุธปืนทิ้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าได้เข้าไประงับเหตุอันถือว่าเป็นการกระทำเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเป็นการกระทำในหน้าที่ เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องฟังได้ว่าจำเลยที่ ๑ รับราชการ ส่วนจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ เป็นพลเรือนสังกัดในราชการทหารร่วมกระทำการในหน้าที่ราชการ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๓)(๖) ประกอบมาตรา ๓๖
ศาลจังหวัดทหารบกปัตตานีเห็นว่า จำเลยที่ ๑ เป็นนายทหารประทวนประจำการ สังกัดกรมทหารพรานที่ ๔๑ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๓) ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ซึ่งเป็นอาสาสมัครทหารพราน สังกัดกรมทหารพรานที่ ๔๑ เป็นพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร แม้ฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้าเข้าไประงับเหตุและเป็นการกระทำเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยก็ตาม เห็นว่าตามวันเวลาที่เกิดเหตุอยู่ในเขตประกาศใช้กฎอัยการศึก (ใช้กฎ ๒๖ ม.ค. ๔๗ ) ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าได้รับคำสั่งหรือได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจ ให้จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยมีอำนาจและหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรตามกฎอัยการศึก กรณียังเป็นที่สงสัยว่าจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ได้กระทำการในหน้าที่ราชการทหารหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๖) ตามคำฟ้องโจทก์ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย และฆ่าผู้อื่น เป็นคดีที่จำเลยที่ ๑ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารร่วมกระทำผิดกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร จึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) ส่วนตามคำฟ้องโจทก์ในข้อหาสร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ หมิ่นประมาท มิใช่เป็นการกระทำที่ผิดในหน้าที่ราชการทหารของจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นบุคคลในอำนาจศาลทหารได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ซึ่งเป็นบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร จึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑)
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้สรุปข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ว่า จำเลยที่ ๑ เป็นนายทหารประทวนประจำการ สังกัดกรมทหารพรานที่ ๔๑ ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ ซึ่งเป็นอาสาสมัครทหารพราน สังกัดกรมทหารพรานที่ ๔๑ โดยร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ที่ ๒ และนายอิลมีน นูรุลอาดิลซึ่งเป็นบุตรโจทก์ที่ ๑ และใช้อาวุธปืนยิงนายอิลมีน จนถึงแก่ความตาย ทั้งยังร่วมกันสร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ และหมิ่นประมาท ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าผู้อื่น สร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ และหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา เห็นว่าแม้ในเวลาที่เกิดเหตุจะมีประกาศให้ใช้กฎอัยการศึก ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๗ ในพื้นที่เกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มาตรา ๖ แต่โดยที่มาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างปกติ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาศึกและผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกมีอำนาจประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกและในระหว่างที่ใช้กฎอัยการศึกตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อในกรณีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ได้มีการจัดตั้งศาลอาญาศึกและแม่ทัพภาคที่ ๔ ซึ่งเป็นผู้ประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกและในระหว่างที่ใช้กฎอัยการศึก ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างปกติ ทั้งนี้โดยมีพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ บัญญัติว่า
มาตรา ๑๔ (๑) คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารคือ คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
มาตรา ๑๖ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารคือ
(๓) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการหรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(๖) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารเมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหารหรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใดๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
ดังนั้น สำหรับข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย และฆ่าผู้อื่น แม้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ จะสังกัดอยู่ในราชการทหาร แต่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ เป็นพลเรือน และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ ได้กระทำการตามที่โจทก์กล่าวอ้างในหน้าที่ราชการทหาร หรือในบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใดๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ จึงไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๖) ดังนั้นในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย และฆ่าผู้อื่น จึงเป็นคดีที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ร่วมกระทำผิดกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) ในทำนองเดียวกันข้อหาสร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ และหมิ่นประมาท เมื่อจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ เป็นบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารจึงเป็นคดีที่จำเลยที่ ๑ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารร่วมกระทำผิดกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางยามีลา นูรุลอาดิล ที่ ๑ นายมูฮัมมัดรอมลี เจ๊ะเละ ที่ ๒ โจทก์ จ่าสิบเอก เสาธง แก้วสว่าง ที่ ๑ อาสาสมัครทหารพราน วิชาญ เพชรวงศ์ ที่ ๒ อาสาสมัครทหารพราน แสวง พรหมวิไล ที่ ๓ อาสาสมัครทหารพราน ดอเลาะ หามะ ที่ ๔ อาสาสมัครทหารพราน สมศักดิ์ คละแดง ที่ ๕ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๒/๒๕๔๘
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘
ศาลจังหวัดยะลา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดทหารบกปัตตานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดยะลาโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๗ นางยามีลา นูรุลอาดิล ที่ ๑ นายมูฮัมมัดรอมลี เจ๊ะเละ ที่ ๒ โจทก์ ยื่นฟ้อง จ่าสิบเอกเสาธง แก้วสว่าง ที่ ๑ อาสาสมัครทหารพรานวิชาญ เพชรวงศ์ ที่ ๒ อาสาสมัครทหารพรานแสวง พรหมวิไล ที่ ๓ อาสาสมัครทหารพรานดอเลาะ หามะ ที่ ๔ อาสาสมัครทหารพรานสมศักดิ์ คละแดง ที่ ๕ จำเลย ต่อศาลจังหวัดยะลา เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ ๖๙๙/๒๕๔๗ ความว่า เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๗ เวลากลางวัน จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ที่ ๒ กับนายอิลมีน นูรุลอาดิลซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ที่ ๑ และใช้อาวุธปืนยิงนายอิลมีน จนถึงแก่ความตาย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากโจทก์ที่ ๒ และนายอิลมีน วิ่งหลบหนีการไล่ยิงของนายอับดุลอาซิ หะยีดอเลาะ มาพบจำเลยทั้งห้าแต่จำเลยทั้งห้าได้ใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าและตะโกนสั่งให้โจทก์ที่ ๒ โยนอาวุธปืน ชูมือและคุกเข่าหมอบลงกับพื้น โจทก์ที่ ๒ กับนายอิลมีน ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยทั้งห้า แต่จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธปืนจ่อยิงหลังนายอิลมีนในขณะที่หมอบลงกับพื้น ทั้งยังร่วมกันสร้างพยานหลักฐานเท็จ เพื่อให้พนักงานสอบสวนเชื่อว่านายอิลมีนใช้อาวุธปืนยิงจำเลยทั้งห้า ก่อนที่จำเลยทั้งห้าจะยิงสวนโต้ตอบกลับ เพื่อที่จำเลยทั้งห้าจะได้ไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีและต้องรับโทษตามกฎหมาย และระหว่างวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งห้าได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา บอกกล่าวหรือรายงานต่อผู้บังคับบัญชาและให้ข่าวต่อสื่อมวลชนด้วยข้อความอันเป็นเท็จเพื่อใส่ความโจทก์ที่ ๒ และนายอิลมีน ว่ามีส่วนผิดที่ทำให้จำเลยทั้งห้าต้องร่วมกันทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธปืนยิงนายอิลมีน การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งห้าทำให้โจทก์ทั้งสองเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังจากประชาชนทั่วไป โจทก์ทั้งสองเห็นว่าจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาสาสมัครทหารพราน ของกรมทหารพรานที่ ๔๑ แต่จำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ มีตำแหน่งเป็นเพียงลูกจ้างของหน่วยงานดังกล่าว ไม่ใช่บุคคลที่รับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร จึงไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๘) ส่วนจำเลยที่ ๑ แม้จะถือว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารแต่ได้ร่วมกันกระทำผิดกับจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ซึ่งเป็นบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าต่อศาลพลเรือน ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๘) ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าผู้อื่น สร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ และหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗, ๒๙๕, ๒๘๙ (๗), ๑๓๗, ๑๗๒, ๑๗๓,๑๗๔, ๑๗๙, ๑๘๙, ๑๙๒, ๓๒๖, ๓๒๗
ความเห็นระหว่างศาล
ศาลจังหวัดยะลาเห็นว่า ตามคำฟ้องจำเลยที่ ๑ รับราชการทหาร จึงเป็นนายทหารประทวนตามพระธรรมนูญศาลทหาร ส่วนจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ ตามคำฟ้องระบุว่าเป็นลูกจ้างตำแหน่งอาสาสมัครทหารพรานจึงถือว่าเป็นพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร ซึ่งขณะเกิดเหตุคดีนี้มีเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีประกาศกองทัพภาคที่ ๔ เรื่องการใช้กฎอัยการศึกในบางเขตพื้นที่ รวมถึงเขตพื้นที่อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เป็นเขตพื้นที่ซึ่งใช้กฎอัยการศึกด้วย โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๗ และเมื่อมีการประกาศออกกฎอัยการศึกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือรักษาความสงบเรียบร้อยรวมถึงห้ามมีหรือใช้อาวุธตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ที่ ๒ แล้วได้ใช้อาวุธปืนจ่อยิงนายอิลมีน ว่าสืบเนื่องมาจากการที่นายอับดุลอาซิ หะยีดอเลาะ ใช้อาวุธปืนพกสั้น ขนาด .๓๘ ยิงโจทก์ที่ ๒ และนายอิลมีน แต่กระสุนพลาดไปถูกนายดอรอฮิงหรือนายบือราเฮง มาหะ โจทก์ที่ ๒ กับนายอิลมีนจึงวิ่งหลบหนี โดยโจทก์ที่ ๒ ได้ถืออาวุธปืนพกสั้น ขนาด .๒๒ ในขณะวิ่งหลบหนีเพราะเกรงว่านายอับดุลอาซิ หะยีดอเลาะ จะวิ่งไล่ติดตามมายิงซ้ำ ตามคำฟ้องดังกล่าวแสดงว่ามีเหตุการณ์ยิงกันขึ้นก่อนแล้วนายอิลมีนและโจทก์ที่ ๒ วิ่งหลบหนีโดยถืออาวุธปืนมาและพบกับจำเลยทั้งห้า ซึ่งบอกให้โยนอาวุธปืนทิ้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าได้เข้าไประงับเหตุอันถือว่าเป็นการกระทำเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเป็นการกระทำในหน้าที่ เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องฟังได้ว่าจำเลยที่ ๑ รับราชการ ส่วนจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ เป็นพลเรือนสังกัดในราชการทหารร่วมกระทำการในหน้าที่ราชการ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๓)(๖) ประกอบมาตรา ๓๖
ศาลจังหวัดทหารบกปัตตานีเห็นว่า จำเลยที่ ๑ เป็นนายทหารประทวนประจำการ สังกัดกรมทหารพรานที่ ๔๑ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๓) ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ซึ่งเป็นอาสาสมัครทหารพราน สังกัดกรมทหารพรานที่ ๔๑ เป็นพลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร แม้ฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้าเข้าไประงับเหตุและเป็นการกระทำเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยก็ตาม เห็นว่าตามวันเวลาที่เกิดเหตุอยู่ในเขตประกาศใช้กฎอัยการศึก (ใช้กฎ ๒๖ ม.ค. ๔๗ ) ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าได้รับคำสั่งหรือได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจ ให้จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยมีอำนาจและหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรตามกฎอัยการศึก กรณียังเป็นที่สงสัยว่าจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ได้กระทำการในหน้าที่ราชการทหารหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๖) ตามคำฟ้องโจทก์ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย และฆ่าผู้อื่น เป็นคดีที่จำเลยที่ ๑ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารร่วมกระทำผิดกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร จึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) ส่วนตามคำฟ้องโจทก์ในข้อหาสร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ หมิ่นประมาท มิใช่เป็นการกระทำที่ผิดในหน้าที่ราชการทหารของจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นบุคคลในอำนาจศาลทหารได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ ๒ ถึงจำเลยที่ ๕ ซึ่งเป็นบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร จึงเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑)
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้สรุปข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ว่า จำเลยที่ ๑ เป็นนายทหารประทวนประจำการ สังกัดกรมทหารพรานที่ ๔๑ ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ ซึ่งเป็นอาสาสมัครทหารพราน สังกัดกรมทหารพรานที่ ๔๑ โดยร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ที่ ๒ และนายอิลมีน นูรุลอาดิลซึ่งเป็นบุตรโจทก์ที่ ๑ และใช้อาวุธปืนยิงนายอิลมีน จนถึงแก่ความตาย ทั้งยังร่วมกันสร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ และหมิ่นประมาท ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าผู้อื่น สร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ และหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา เห็นว่าแม้ในเวลาที่เกิดเหตุจะมีประกาศให้ใช้กฎอัยการศึก ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๗ ในพื้นที่เกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ มาตรา ๖ แต่โดยที่มาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างปกติ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาศึกและผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกมีอำนาจประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกและในระหว่างที่ใช้กฎอัยการศึกตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ เมื่อในกรณีนี้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ได้มีการจัดตั้งศาลอาญาศึกและแม่ทัพภาคที่ ๔ ซึ่งเป็นผู้ประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกและในระหว่างที่ใช้กฎอัยการศึก ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างปกติ ทั้งนี้โดยมีพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ บัญญัติว่า
มาตรา ๑๔ (๑) คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารคือ คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
มาตรา ๑๖ บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารคือ
(๓) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการหรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(๖) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหารเมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหารหรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใดๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
ดังนั้น สำหรับข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย และฆ่าผู้อื่น แม้จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ จะสังกัดอยู่ในราชการทหาร แต่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ เป็นพลเรือน และข้อเท็จจริงตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ ได้กระทำการตามที่โจทก์กล่าวอ้างในหน้าที่ราชการทหาร หรือในบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใดๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ จึงไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ (๖) ดังนั้นในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำร้ายร่างกาย และฆ่าผู้อื่น จึงเป็นคดีที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ร่วมกระทำผิดกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) ในทำนองเดียวกันข้อหาสร้างพยานเท็จ แจ้งเท็จ และหมิ่นประมาท เมื่อจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๕ เป็นบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารจึงเป็นคดีที่จำเลยที่ ๑ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารร่วมกระทำผิดกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร คดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางยามีลา นูรุลอาดิล ที่ ๑ นายมูฮัมมัดรอมลี เจ๊ะเละ ที่ ๒ โจทก์ จ่าสิบเอก เสาธง แก้วสว่าง ที่ ๑ อาสาสมัครทหารพราน วิชาญ เพชรวงศ์ ที่ ๒ อาสาสมัครทหารพราน แสวง พรหมวิไล ที่ ๓ อาสาสมัครทหารพราน ดอเลาะ หามะ ที่ ๔ อาสาสมัครทหารพราน สมศักดิ์ คละแดง ที่ ๕ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๑/๒๕๔๘
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง
ศาลจังหวัดจันทบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดจันทบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้น ไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ นายเสน่ห์ สนิท โจทก์ ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลย ต่อศาลจังหวัดจันทบุรี เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๙๐๑/๒๕๔๗ ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันเนื่องมาจากพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลของจำเลยกระทำละเมิดทำการสอบสวนคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหายและได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่สิทธิในทางคดีอาญาและมีภาระเพิ่มขึ้นในการแสวงหารวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ให้พนักงานอัยการด้วยตนเองโดยไม่จำเป็น แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีมีคำสั่งไม่รับฟ้องเพราะเห็นว่าเป็นคดีปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ศาลจังหวัดจันทบุรีไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ (คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๑๖๕๙/๒๕๔๗)
เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ นายเสน่ห์ จึงฟ้องคดีในเรื่องดังกล่าวต่อศาลปกครองระยอง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๓/๒๕๔๗ โดยอ้างว่า พนักงานสอบสวนละเลยการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ทำการสอบสวนโดยกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี อันเป็นการกระทำละเมิดและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย แต่ศาลปกครองระยองมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา (คดีหมายเลขแดงที่ ๑๔๐/๒๕๔๗)
เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ นายเสน่ห์ โจทก์ จึงยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลย ในข้อเท็จจริงเดียวกัน ต่อศาลจังหวัดจันทบุรี (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๐๙๙/๒๕๔๗)
ศาลจังหวัดจันทบุรีเห็นว่า คำฟ้องโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งตามมาตรา ๑๔ ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองและถือว่าคดีนี้เป็นคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจังหวัดจันทบุรีไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้
ศาลปกครองระยองเห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีแล้ว แม้ผู้ฟ้องคดีจะเห็นว่าพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการสอบสวนไม่ครบถ้วน อีกทั้งดำเนินการสอบสวนล่าช้าอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร แต่การที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานอย่างใดหรือใช้เวลาดำเนินการสอบสวนนานเพียงใดนั้น ย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะใช้ดุลพินิจในการรวบรวมพยานหลักฐานภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิใช่กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ตามแนวคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๒/๒๕๔๗
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในการดำเนินกิจการหรือการกระทำต่าง ๆ ของรัฐทุกระบบจะต้องถูกตรวจสอบได้โดยศาล สำหรับศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทางปกครองซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่มีการฟ้องว่า หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการในการใช้อำนาจทางปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ในทางปกครองตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือในคดีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือละเลยต่อหน้าที่ในทางปกครองตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า หรือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอันเป็นการตรวจสอบการกระทำทางปกครอง ส่วนศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ ซึ่งได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่นๆที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
การดำเนินคดีอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอาญา อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐคือ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการนั้นอาจมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย ขั้นตอนใดเป็นการกระทำที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่การกระทำใดที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการกระทำที่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การกระทำนั้นจะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง
สำหรับคดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐว่า พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลของจำเลย จงใจทำการสอบสวนคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหายและได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนโดยมิได้รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ตามกฎหมายเพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับมูลความผิดที่ถูกกล่าวหา จงใจไม่ให้นายสหัส จุณศรี ผู้ถูกกล่าวหาถูกดำเนินคดี และปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่สิทธิในทางคดีอาญาและมีภาระเพิ่มขึ้นในการแสวงหารวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ให้พนักงานอัยการด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นและต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีแล้ว และโจทก์กล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมุ่งประสงค์จะให้ศาลตรวจสอบการรวบรวมพยานหลักฐานและความเห็นสั่งไม่ฟ้องของพนักงานสอบสวน ซึ่งการสอบสวนคดีอาญาเป็นขั้นตอนดำเนินการเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญาที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจพนักงานสอบสวนไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร แต่การที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานอย่างใดหรือใช้เวลาดำเนินการสอบสวนนานเพียงใดนั้น ย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะใช้ดุลพินิจในการรวบรวมพยานหลักฐานภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจในกระบวนยุติธรรมทางอาญา มิใช่การกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือจากกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
อนึ่ง คดีนี้ โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดจันทบุรีมาแล้ว แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีไม่รับฟ้องเพราะเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และโจทก์ได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองระยอง ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจและมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โจทก์จึงฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดจันทบุรี แม้ศาลจังหวัดจันทบุรีจะเป็นศาลผู้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ไม่ใช่ศาลปกครองระยองก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ เป็นกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครอง และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ เพียงแต่กำหนดว่ากรณีศาลไม่รับฟ้อง ให้ศาลที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องครั้งหลังและเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจเป็นผู้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเท่านั้น มิได้กำหนดบทบังคับถึงขนาดให้ศาลผู้ส่งเรื่องจะต้องเป็นศาลที่สองที่มีการยื่นฟ้องคดีแต่อย่างใด คณะกรรมการจึงมีอำนาจรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดได้
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายเสน่ห์ สนิท โจทก์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๔
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๑/๒๕๔๘
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง
ศาลจังหวัดจันทบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดจันทบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้น ไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ นายเสน่ห์ สนิท โจทก์ ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลย ต่อศาลจังหวัดจันทบุรี เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๙๐๑/๒๕๔๗ ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันเนื่องมาจากพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลของจำเลยกระทำละเมิดทำการสอบสวนคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหายและได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ตามกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่สิทธิในทางคดีอาญาและมีภาระเพิ่มขึ้นในการแสวงหารวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ให้พนักงานอัยการด้วยตนเองโดยไม่จำเป็น แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีมีคำสั่งไม่รับฟ้องเพราะเห็นว่าเป็นคดีปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ศาลจังหวัดจันทบุรีไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ (คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๑๖๕๙/๒๕๔๗)
เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ นายเสน่ห์ จึงฟ้องคดีในเรื่องดังกล่าวต่อศาลปกครองระยอง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๓/๒๕๔๗ โดยอ้างว่า พนักงานสอบสวนละเลยการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ทำการสอบสวนโดยกลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดี อันเป็นการกระทำละเมิดและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย แต่ศาลปกครองระยองมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา (คดีหมายเลขแดงที่ ๑๔๐/๒๕๔๗)
เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ นายเสน่ห์ โจทก์ จึงยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลย ในข้อเท็จจริงเดียวกัน ต่อศาลจังหวัดจันทบุรี (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๐๙๙/๒๕๔๗)
ศาลจังหวัดจันทบุรีเห็นว่า คำฟ้องโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งตามมาตรา ๑๔ ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองและถือว่าคดีนี้เป็นคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลจังหวัดจันทบุรีไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้
ศาลปกครองระยองเห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีแล้ว แม้ผู้ฟ้องคดีจะเห็นว่าพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการสอบสวนไม่ครบถ้วน อีกทั้งดำเนินการสอบสวนล่าช้าอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร แต่การที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานอย่างใดหรือใช้เวลาดำเนินการสอบสวนนานเพียงใดนั้น ย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะใช้ดุลพินิจในการรวบรวมพยานหลักฐานภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิใช่กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ตามแนวคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๒/๒๕๔๗
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในการดำเนินกิจการหรือการกระทำต่าง ๆ ของรัฐทุกระบบจะต้องถูกตรวจสอบได้โดยศาล สำหรับศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทางปกครองซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่มีการฟ้องว่า หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการในการใช้อำนาจทางปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ในทางปกครองตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือในคดีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือละเลยต่อหน้าที่ในทางปกครองตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้า หรือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอันเป็นการตรวจสอบการกระทำทางปกครอง ส่วนศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ ซึ่งได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่นๆที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
การดำเนินคดีอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอาญา อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐคือ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการนั้นอาจมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย ขั้นตอนใดเป็นการกระทำที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่การกระทำใดที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการกระทำที่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การกระทำนั้นจะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง
สำหรับคดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐว่า พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลของจำเลย จงใจทำการสอบสวนคดีอาญาที่โจทก์เป็นผู้เสียหายและได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนโดยมิได้รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ตามกฎหมายเพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับมูลความผิดที่ถูกกล่าวหา จงใจไม่ให้นายสหัส จุณศรี ผู้ถูกกล่าวหาถูกดำเนินคดี และปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่สิทธิในทางคดีอาญาและมีภาระเพิ่มขึ้นในการแสวงหารวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ให้พนักงานอัยการด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นและต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในคดีแล้ว และโจทก์กล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมุ่งประสงค์จะให้ศาลตรวจสอบการรวบรวมพยานหลักฐานและความเห็นสั่งไม่ฟ้องของพนักงานสอบสวน ซึ่งการสอบสวนคดีอาญาเป็นขั้นตอนดำเนินการเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญาที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจพนักงานสอบสวนไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร แต่การที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานอย่างใดหรือใช้เวลาดำเนินการสอบสวนนานเพียงใดนั้น ย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะใช้ดุลพินิจในการรวบรวมพยานหลักฐานภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง อันเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจในกระบวนยุติธรรมทางอาญา มิใช่การกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือจากกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
อนึ่ง คดีนี้ โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดจันทบุรีมาแล้ว แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีไม่รับฟ้องเพราะเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และโจทก์ได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองระยอง ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจและมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โจทก์จึงฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดจันทบุรี แม้ศาลจังหวัดจันทบุรีจะเป็นศาลผู้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ไม่ใช่ศาลปกครองระยองก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ เป็นกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันระหว่างศาลยุติธรรมและศาลปกครอง และพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ เพียงแต่กำหนดว่ากรณีศาลไม่รับฟ้อง ให้ศาลที่โจทก์หรือผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องครั้งหลังและเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจเป็นผู้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเท่านั้น มิได้กำหนดบทบังคับถึงขนาดให้ศาลผู้ส่งเรื่องจะต้องเป็นศาลที่สองที่มีการยื่นฟ้องคดีแต่อย่างใด คณะกรรมการจึงมีอำนาจรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดได้
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายเสน่ห์ สนิท โจทก์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๔
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๐/๒๕๔๘
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดลพบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๖ นายสุปัญญา ลิ้มทรงพรต ที่ ๑ นายสราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี ที่ ๑ นายตรวจเขต ๕ เทศบาลเมืองลพบุรี (นายราชันย์ วงษ์ชีพ) ที่ ๒ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตจังหวัดลพบุรี ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๗๘/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๑๗๗๗ ตำบลป่าตาล (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เนื้อที่ ๑ งาน ๑๗ ตารางวา และที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๕๙๐๗ ตำบลทะเลชุบศร (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เนื้อที่ ๑๘ ตารางวา รวม ๒ โฉนด และผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงเรียนเอเชียบริหารธุรกิจเทคโนโลยีลพบุรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีหนังสือลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๕ และวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๖ ถึงผู้อำนวยการกองช่างอ้างว่า ประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนดังกล่าวได้ก่อสร้างคร่อมทางสาธารณประโยชน์ที่บริเวณถนนนเรศวร ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เห็นสมควรให้รื้อถอนออกไปภายในกำหนดระยะเวลา ๓๐ วัน เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๘ และคำสั่งที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองรื้อประตูและป้ายดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๖ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โต้แย้งคำสั่งและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ประตูและป้ายที่มีการก่อสร้างนั้นมิได้ก่อสร้างบนทางสาธารณประโยชน์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แจ้งไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือที่ ลบ ๕๒๐๐๘/๒๓๓๙ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แจ้งเรื่องการโต้แย้งคำสั่งการก่อสร้างประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ พิจารณาข้อโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ก่อนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีหนังสือที่ ลบ ๐๐๒๐/ว ๑๘๒๘๒ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ แจ้งเรื่องผลการพิจารณาอุทธรณ์ถึงผู้ฟ้องคดีที่ ๑ แนบส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และแจ้งด้วยว่าหากผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยให้เสนอคดีต่อศาลปกครองกลางภายในกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๘ และที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ที่วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองแล้วพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๑๗๗๗ ตำบลป่าตาล (ถนนใหญ่) อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๕๙๐๗ ตำบลทะเลชุบศร (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ไม่ใช่เป็นทางสาธารณประโยชน์ ไม่ถือว่ามีการก่อสร้างประตูและป้ายคร่อมทางสาธารณประโยชน์ และรื้อถอนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินทั้งสองแปลงของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้วย ระหว่างที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจัดทำคำให้การนั้น ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนมิใช่ที่สาธารณะ จึงได้ทำการก่อสร้างประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ จึงได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนดังกล่าว ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า คดีนี้ไม่ใช่เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน แต่เป็นเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยตามคำขอท้ายฟ้อง การกล่าวอ้างเหตุเพื่อให้เห็นว่าคำสั่งถูกต้องนั้นไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิในที่ดิน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่ากระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ออกคำสั่ง ที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๘ และคำสั่งที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองรื้อประตูและป้ายที่ก่อสร้างคร่อมทางสาธารณประโยชน์ และมีคำวินิจฉัยที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีคำขอให้ศาลปกครองกลางเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว จึงเป็นคำขอที่ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
ศาลจังหวัดลพบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง แต่ประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ หรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๑๗๗๗ ตำบลป่าตาล (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๕๙๐๗ ตำบลทะเลชุบศร (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รวม ๒ โฉนด โดยผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงเรียนเอเชียบริหารธุรกิจเทคโนโลยีลพบุรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีหนังสือลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๕ และวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๖ ถึงผู้อำนวยการกองช่างอ้างว่า ประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนดังกล่าวได้ก่อสร้างคร่อมทางสาธารณประโยชน์ เห็นสมควรให้รื้อถอนประตูรั้วเหล็กและป้ายที่ล้ำเข้าไปในที่สาธารณะออกไปภายในกำหนดระยะเวลา ๓๐ วัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองรื้อประตูเหล็กและป้ายโรงเรียนที่ก่อสร้างบนโฉนดที่ดินดังกล่าว อ้างว่าก่อสร้างคร่อมทางสาธารณประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้โต้แย้งคำสั่งว่า ประตูรั้วเหล็กและป้ายที่มีการก่อสร้างนั้นมิได้ก่อสร้างบนทางสาธารณประโยชน์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อ้าง และอุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยยกอุทธรณ์ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้รื้อถอนประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนดังกล่าว เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองแล้วพิพากษาว่าที่ดินตามโฉนดทั้งสองแปลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นทางสาธารณประโยชน์ ไม่ถือว่ามีการก่อสร้างประตูและป้ายคร่อมทางสาธารณประโยชน์ และรื้อถอนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินทั้งสองแปลงของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้วย ดังนั้น แม้เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากคำสั่งให้รื้อถอนประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนของฝ่ายปกครองก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ รวมทั้งคำขออื่นๆ ของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายสุปัญญา ลิ้มทรงพรต ที่ ๑ นายสราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี ที่ ๑ นายตรวจเขต ๕ เทศบาลเมืองลพบุรี (นายราชันย์ วงษ์ชีพ) ที่ ๒ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตจังหวัดลพบุรี ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
พลโท พลโท
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๔
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๐/๒๕๔๘
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดลพบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๖ นายสุปัญญา ลิ้มทรงพรต ที่ ๑ นายสราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี ที่ ๑ นายตรวจเขต ๕ เทศบาลเมืองลพบุรี (นายราชันย์ วงษ์ชีพ) ที่ ๒ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตจังหวัดลพบุรี ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๗๘/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๑๗๗๗ ตำบลป่าตาล (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เนื้อที่ ๑ งาน ๑๗ ตารางวา และที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๕๙๐๗ ตำบลทะเลชุบศร (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เนื้อที่ ๑๘ ตารางวา รวม ๒ โฉนด และผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงเรียนเอเชียบริหารธุรกิจเทคโนโลยีลพบุรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีหนังสือลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๕ และวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๖ ถึงผู้อำนวยการกองช่างอ้างว่า ประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนดังกล่าวได้ก่อสร้างคร่อมทางสาธารณประโยชน์ที่บริเวณถนนนเรศวร ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เห็นสมควรให้รื้อถอนออกไปภายในกำหนดระยะเวลา ๓๐ วัน เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๘ และคำสั่งที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองรื้อประตูและป้ายดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๖ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โต้แย้งคำสั่งและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ประตูและป้ายที่มีการก่อสร้างนั้นมิได้ก่อสร้างบนทางสาธารณประโยชน์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แจ้งไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือที่ ลบ ๕๒๐๐๘/๒๓๓๙ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แจ้งเรื่องการโต้แย้งคำสั่งการก่อสร้างประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ พิจารณาข้อโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ก่อนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีหนังสือที่ ลบ ๐๐๒๐/ว ๑๘๒๘๒ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ แจ้งเรื่องผลการพิจารณาอุทธรณ์ถึงผู้ฟ้องคดีที่ ๑ แนบส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และแจ้งด้วยว่าหากผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยให้เสนอคดีต่อศาลปกครองกลางภายในกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๘ และที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ที่วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองแล้วพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๑๗๗๗ ตำบลป่าตาล (ถนนใหญ่) อำเภอ เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๕๙๐๗ ตำบลทะเลชุบศร (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ไม่ใช่เป็นทางสาธารณประโยชน์ ไม่ถือว่ามีการก่อสร้างประตูและป้ายคร่อมทางสาธารณประโยชน์ และรื้อถอนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินทั้งสองแปลงของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้วย ระหว่างที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจัดทำคำให้การนั้น ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนมิใช่ที่สาธารณะ จึงได้ทำการก่อสร้างประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ จึงได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนดังกล่าว ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า คดีนี้ไม่ใช่เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน แต่เป็นเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยตามคำขอท้ายฟ้อง การกล่าวอ้างเหตุเพื่อให้เห็นว่าคำสั่งถูกต้องนั้นไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิในที่ดิน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่ากระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ออกคำสั่ง ที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๘ และคำสั่งที่ ลบ ๕๒๐๐๖/๗๙๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองรื้อประตูและป้ายที่ก่อสร้างคร่อมทางสาธารณประโยชน์ และมีคำวินิจฉัยที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีคำขอให้ศาลปกครองกลางเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว จึงเป็นคำขอที่ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
ศาลจังหวัดลพบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง แต่ประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ หรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๑๗๗๗ ตำบลป่าตาล (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๕๙๐๗ ตำบลทะเลชุบศร (ถนนใหญ่) อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รวม ๒ โฉนด โดยผู้ฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงเรียนเอเชียบริหารธุรกิจเทคโนโลยีลพบุรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีหนังสือลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๕ และวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๖ ถึงผู้อำนวยการกองช่างอ้างว่า ประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนดังกล่าวได้ก่อสร้างคร่อมทางสาธารณประโยชน์ เห็นสมควรให้รื้อถอนประตูรั้วเหล็กและป้ายที่ล้ำเข้าไปในที่สาธารณะออกไปภายในกำหนดระยะเวลา ๓๐ วัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองรื้อประตูเหล็กและป้ายโรงเรียนที่ก่อสร้างบนโฉนดที่ดินดังกล่าว อ้างว่าก่อสร้างคร่อมทางสาธารณประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้โต้แย้งคำสั่งว่า ประตูรั้วเหล็กและป้ายที่มีการก่อสร้างนั้นมิได้ก่อสร้างบนทางสาธารณประโยชน์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อ้าง และอุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยยกอุทธรณ์ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้รื้อถอนประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนดังกล่าว เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองแล้วพิพากษาว่าที่ดินตามโฉนดทั้งสองแปลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นทางสาธารณประโยชน์ ไม่ถือว่ามีการก่อสร้างประตูและป้ายคร่อมทางสาธารณประโยชน์ และรื้อถอนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างรุกล้ำที่ดินทั้งสองแปลงของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้วย ดังนั้น แม้เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากคำสั่งให้รื้อถอนประตูรั้วเหล็กและป้ายโรงเรียนของฝ่ายปกครองก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ รวมทั้งคำขออื่นๆ ของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายสุปัญญา ลิ้มทรงพรต ที่ ๑ นายสราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี ที่ ๑ นายตรวจเขต ๕ เทศบาลเมืองลพบุรี (นายราชันย์ วงษ์ชีพ) ที่ ๒ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตจังหวัดลพบุรี ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
พลโท พลโท
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๔
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๙/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดเพชรบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗ นายสุทิน ศิวิลัย ที่ ๑ นางสาวนันทนา อุดมคมวิรัตน์ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๓๕/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๑๘๔ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองมาโดยตลอด แต่เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ กรมที่ดินได้มีหนังสือแจ้งว่า กรมที่ดินได้มีคำสั่งที่ ๒๔๘๐/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๑๘๔ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจาก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวได้ออกโดยวิธีการเดินสำรวจโดยใช้ระวางรูปถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ และไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดินมาแสดงในขณะขอออก น.ส. ๓ ก. ทั้งอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้อุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า คำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. และคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ดังกล่าว เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริงจึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางขอให้กำหนดคำบังคับให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒๔๘๐/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ที่สั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ของผู้ฟ้องคดี ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสือ น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวต่อไป ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ทั้งนี้ ต่อมา ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำบังคับในกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดจากการกระทำดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองด้วย
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๑๘๔ ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ออกในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ เต็มทั้งแปลงตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน และไม่มีหลักฐานให้ทราบว่าที่ดินพิพาทมีหลักฐานที่ดินเดิมมาก่อนประกาศเขตป่าไม้ถาวร จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๘ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ (ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น) ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามกฎหมายที่กระทำโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลโดยเห็นว่า คดีนี้มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม เนื่องจากคดีนี้มีประเด็นพิพาทที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสองและผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองตามแนวคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๔๗
ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่เป็นการกำหนดสภาพทางกฎหมายซึ่งเกิดผลเฉพาะกรณีและมีผลต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองโดยตรง นอกจากนี้ยังเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายและเป็นคำสั่งทางปกครองที่เป็นการสร้างผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่สามารถเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและมีความประสงค์จะให้ศาลมีคำบังคับเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองด้วย คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางเห็นว่า การออกคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. เป็นการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๖๑ ที่เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิบุคคล จึงเป็นการออกคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และผู้ฟ้องคดีได้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองดังกล่าวและนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กับขอให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามเดิมนั้น คดีตามฟ้องจึงเป็นคดีปกครองที่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมายและมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๒๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองมีคำขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามเดิมนั้น ศาลปกครองกลางเห็นว่าประเด็นหลักแห่งคดีตามคำฟ้องคดีนี้ เป็นกรณีที่ศาลต้องพิพากษาหรือมีคำสั่งว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง เป็นการกระทำในการออกคำสั่งที่เกิดจากการใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีเหตุต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ โดยศาลไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดิน เพราะสถานภาพแห่งสิทธิของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะกลับคืนดังเดิมหรือไม่ เป็นเพียงผลที่ตามมาภายหลังมิใช่ประเด็นหลักแห่งคดีแต่อย่างใด คดีตามคำฟ้องนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองและสอดคล้องกับข้อยกเว้นตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ว่าศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นดังที่กล่าวข้างต้น อีกทั้งกรณีตามคำฟ้องนี้มิใช่กรณีเดียวกับคดีตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๔๗ ดังที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยกขึ้นกล่าวอ้าง
ศาลจังหวัดเพชรบุรีเห็นว่า คดีนี้มีปัญหาที่จำต้องพิจารณาเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ซึ่งเป็นสิทธิครอบครองของผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือเป็นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ แล้วจึงจะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ต่อไป ดังนั้น เมื่อจำต้องพิจารณาถึงประเภทของที่ดินอันจะมีผลกระทบต่อสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลซึ่งต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ทรัพย์สิน นอกจากนั้น การพิจารณาสิทธิในทรัพย์พิพาทคดีนี้ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย โดยจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองการใช้ประโยชน์ในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองและพยานหลักฐานการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดี ตลอดจนการใช้ประโยชน์ของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงกับผู้ฟ้องคดีทั้งสองในพื้นที่ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๑๘๔ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินมาตลอด แต่กรมที่ดินมีคำสั่งให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าว เนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ และการออก น.ส. ๓ ก. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่าคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. และคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริง เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงขอให้ศาลกำหนดคำบังคับให้เพิกถอนคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทตาม น.ส. ๓ ก. ได้ออกในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ เต็มทั้งแปลงตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน และการออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามกฎหมายที่กระทำโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้น แม้เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว หรือให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อไป หรือเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างหรืออยู่ในเขตป่าไม้ถาวรเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายสุทิน ศิวิลัย ที่ ๑ นางสาวนันทนา อุดมคมวิรัตน์ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๔
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๙/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดเพชรบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗ นายสุทิน ศิวิลัย ที่ ๑ นางสาวนันทนา อุดมคมวิรัตน์ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๓๕/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๑๘๔ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากผู้ซึ่งมีหลักฐานการแจ้งการครอบครองมาโดยตลอด แต่เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ กรมที่ดินได้มีหนังสือแจ้งว่า กรมที่ดินได้มีคำสั่งที่ ๒๔๘๐/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๑๘๔ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจาก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวได้ออกโดยวิธีการเดินสำรวจโดยใช้ระวางรูปถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ และไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดินมาแสดงในขณะขอออก น.ส. ๓ ก. ทั้งอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้อุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า คำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. และคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ดังกล่าว เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริงจึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางขอให้กำหนดคำบังคับให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๒๔๘๐/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ที่สั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ของผู้ฟ้องคดี ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสือ น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวต่อไป ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ทั้งนี้ ต่อมา ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำบังคับในกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดจากการกระทำดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองด้วย
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๒๑๘๔ ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ออกในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ เต็มทั้งแปลงตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน และไม่มีหลักฐานให้ทราบว่าที่ดินพิพาทมีหลักฐานที่ดินเดิมมาก่อนประกาศเขตป่าไม้ถาวร จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๘ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ (ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น) ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามกฎหมายที่กระทำโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลโดยเห็นว่า คดีนี้มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม เนื่องจากคดีนี้มีประเด็นพิพาทที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีทั้งสองและผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองตามแนวคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๔๗
ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่เป็นการกำหนดสภาพทางกฎหมายซึ่งเกิดผลเฉพาะกรณีและมีผลต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองโดยตรง นอกจากนี้ยังเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายและเป็นคำสั่งทางปกครองที่เป็นการสร้างผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่สามารถเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและมีความประสงค์จะให้ศาลมีคำบังคับเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองด้วย คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางเห็นว่า การออกคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. เป็นการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๖๑ ที่เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิบุคคล จึงเป็นการออกคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และผู้ฟ้องคดีได้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองดังกล่าวและนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กับขอให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามเดิมนั้น คดีตามฟ้องจึงเป็นคดีปกครองที่เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมายและมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๒๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองมีคำขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามเดิมนั้น ศาลปกครองกลางเห็นว่าประเด็นหลักแห่งคดีตามคำฟ้องคดีนี้ เป็นกรณีที่ศาลต้องพิพากษาหรือมีคำสั่งว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง เป็นการกระทำในการออกคำสั่งที่เกิดจากการใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีเหตุต้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ โดยศาลไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดิน เพราะสถานภาพแห่งสิทธิของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะกลับคืนดังเดิมหรือไม่ เป็นเพียงผลที่ตามมาภายหลังมิใช่ประเด็นหลักแห่งคดีแต่อย่างใด คดีตามคำฟ้องนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองและสอดคล้องกับข้อยกเว้นตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ว่าศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นดังที่กล่าวข้างต้น อีกทั้งกรณีตามคำฟ้องนี้มิใช่กรณีเดียวกับคดีตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๔๗ ดังที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยกขึ้นกล่าวอ้าง
ศาลจังหวัดเพชรบุรีเห็นว่า คดีนี้มีปัญหาที่จำต้องพิจารณาเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ซึ่งเป็นสิทธิครอบครองของผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือเป็นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ แล้วจึงจะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ต่อไป ดังนั้น เมื่อจำต้องพิจารณาถึงประเภทของที่ดินอันจะมีผลกระทบต่อสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลซึ่งต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ทรัพย์สิน นอกจากนั้น การพิจารณาสิทธิในทรัพย์พิพาทคดีนี้ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย โดยจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองการใช้ประโยชน์ในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองและพยานหลักฐานการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดี ตลอดจนการใช้ประโยชน์ของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงกับผู้ฟ้องคดีทั้งสองในพื้นที่ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๑๘๔ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินมาตลอด แต่กรมที่ดินมีคำสั่งให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าว เนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ และการออก น.ส. ๓ ก. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่าคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. และคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อเท็จจริง เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงขอให้ศาลกำหนดคำบังคับให้เพิกถอนคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทตาม น.ส. ๓ ก. ได้ออกในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ เต็มทั้งแปลงตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน และการออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงเป็นการปฏิบัติราชการตามกฎหมายที่กระทำโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้น แม้เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว หรือให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อไป หรือเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างหรืออยู่ในเขตป่าไม้ถาวรเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายสุทิน ศิวิลัย ที่ ๑ นางสาวนันทนา อุดมคมวิรัตน์ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๔
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๘/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแพ่ง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้น ไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๒ นายสามารถ มัททวีวงศ์ โจทก์ ยื่นฟ้องกรมบัญชีกลาง ที่ ๑ กระทรวงการคลัง ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ปค. ๒๓๓/๒๕๔๒ โดยอ้างว่า การดำเนินการสอบสวนทางวินัยของของกรมบัญชีกลางและ อ.ก.พ. กระทรวงการคลัง และคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่นายสามารถไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งกรมบัญชีกลางที่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และเพิกถอนคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๒/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ปลดออกจากราชการเนื่องจากกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงขณะรับราชการในตำแหน่งคลังจังหวัดยโสธรตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง และประพฤติชั่วตามมาตรา ๙๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๓/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ไล่ออกจากราชการเนื่องจากกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบขณะรับราชการในตำแหน่งคลังจังหวัดชัยภูมิตามมาตรา ๘๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ พร้อมทั้งให้เพิกถอนมติ อ.ก.พ. กระทรวงการคลังที่มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการทั้งสองมติ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติยศ ทั้งนี้ หากไม่สามารถเพิกถอนคำสั่งและมติดังกล่าวได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับเงินเดือน บำนาญ และบำเหน็จตกทอดแก่โจทก์ด้วย
อนึ่ง เมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ก่อนฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง นายสามารถได้อุทธรณ์คำสั่งกรมบัญชีกลางทั้งสองคำสั่งต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา ๑๒๖ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งต่อมา ก.พ. ได้แจ้งผลการพิจารณาว่า ก.พ. ได้พิจารณาอุทธรณ์และเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการแล้ว รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ทั้งสองเรื่อง หากประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลปกครองภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับแจ้งหรือทราบคำสั่งของนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม นายสามารถเห็นว่าข้อพิพาทดังกล่าวมีข้อเท็จจริงเดียวกับคดีที่ได้ยื่นฟ้องกรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังไว้ต่อศาลแพ่ง จึงเสนอคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๖ ขอให้มีคำพิพากษากลับคำวินิจฉัยของ ก.พ. ทั้งสองเรื่องดังกล่าว โดยอ้างว่าคำวินิจฉัยของ ก.พ. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่รับคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นการฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง เมื่อศาลปกครองเปิดทำการแล้วจึงควรดำเนินคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๖ นายสามารถ ผู้ฟ้องคดี จึงยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๕๕๘/๒๕๔๖ ขอให้ศาลเพิกถอนมติ ก.พ. ที่พิจารณาเสนอรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี และขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเรื่อง
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การพิจารณาลงโทษทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดี ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนทางวินัยของกรมบัญชีกลาง การพิจารณาลงมติลงโทษของผู้ฟ้องคดีของ อ.ก.พ. กระทรวงการคลัง มติ ก.พ. ที่เห็นด้วยกับการลงโทษทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดี ตลอดจนการพิจารณาอุทธรณ์และมีคำสั่งยกอุทธรณ์ตามที่ ก.พ. เสนอรองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมายตามระเบียบและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้
ศาลปกครองกลางเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง โดยมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเรื่อง เป็นการออกคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งในการพิจารณาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว ศาลจำต้องพิจารณาถึงการที่กรมบัญชีกลางมีคำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการและลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการว่าเป็นการดำเนินการและมีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องกรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังต่อศาลแพ่ง คดีทั้งสองดังกล่าวนี้จึงเป็นคดีปกครองที่มีมูลความแห่งคดีเกี่ยวเนื่องกัน และอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เนื่องด้วยมาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่าบรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอื่นอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมีลักษณะเป็นคดีปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลนั้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีถึงที่สุด ดังนี้ เมื่อขณะที่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้องกรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังต่อศาลแพ่ง แม้คดีดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นคดีปกครอง แต่เมื่อศาลปกครองยังไม่เปิดทำการ ศาลแพ่ง จึงเป็นศาลที่มีเขตอำนาจและเมื่อศาลแพ่งได้รับคดีไว้พิจารณาแล้ว แม้ต่อมาภายหลังศาลปกครองได้เปิดทำการ ศาลแพ่งก็จำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีถึงที่สุด คดีในส่วนที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องกรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งตามคดีหมายเลขดำที่ ปค. ๒๓๓/๒๕๔๒ จึงไม่อาจโอนมาพิจารณายังศาลปกครองได้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี แม้คดีนี้จะเป็นคดีปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้และคดีหมายเลขดำที่ ปค. ๒๓๓/๒๕๔๒ มีมูลความแห่งคดีเกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้น เพื่อให้คดีทั้งสองได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลใดศาลหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้คำพิพากษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงเห็นควรให้ศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่ได้รับคดีนี้ไว้พิจารณาตั้งแต่ต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปจนคดีถึงที่สุดเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีในส่วนที่ผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีในคดีนี้รวมไปกับคดีหมายเลขดำที่ ปค. ๒๓๓/๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
ข้อเท็จจริงตามฟ้องปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติ ก.พ. ที่พิจารณาเสนอรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี และขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีจากกรณีผู้ฟ้องคดีซึ่งเดิมรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ถูกลงโทษปลดออกจากราชการตามคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๒/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ และถูกลงโทษไล่ออกจากราชการตามคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๓/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ และผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา ๑๒๖ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์ แต่ ก.พ. มีมติยกอุทธรณ์ ทั้งสองเรื่องและรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ทั้งสองเรื่องตามที่ ก.พ. เสนอ เมื่อคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนมติ ก.พ. และคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าการพิจารณาและวินิจฉัยของ ก.พ. ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น การพิจารณาวินิจฉัยจากกระบวนการสอบสวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกรมบัญชีกลางและ อ.ก.พ. กระทรวงการคลัง ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะเป็นคดีปกครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) คดีนี้จึงควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม ก่อนยื่นอุทธรณ์ต่อ ก.พ. และก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองกลาง ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้องกรมบัญชีกลาง ที่ ๑ กระทรวงการคลัง ที่ ๒ ต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกรมบัญชีกลาง ได้แก่ คำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๙๑/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย คำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๒/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๓/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ พร้อมทั้งขอให้เพิกถอนมติ อ.ก.พ. กระทรวงการคลังทั้งสองมติให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี และให้กรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น คดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นคดีปกครองและมีมูลความแห่งคดีเดียวกับคดีนี้ เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐๕ บัญญัติว่า บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอื่นอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมีลักษณะเป็นคดีปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลนั้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีถึงที่สุด พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องคดีปกครองก่อนวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับ กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๐๕ โดยศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีและจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีถึงที่สุด ดังนั้น คดีนี้ แม้เป็นคดีปกครองแต่เมื่อเป็นกรณีพิพาทที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามมาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเพื่อให้คดีทั้งสองได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียว ทั้งนี้ เพื่อให้คำพิพากษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายสามารถ มัททวีวงศ์ ผู้ฟ้องคดี นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๖
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๘/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแพ่ง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้น ไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๒ นายสามารถ มัททวีวงศ์ โจทก์ ยื่นฟ้องกรมบัญชีกลาง ที่ ๑ กระทรวงการคลัง ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ปค. ๒๓๓/๒๕๔๒ โดยอ้างว่า การดำเนินการสอบสวนทางวินัยของของกรมบัญชีกลางและ อ.ก.พ. กระทรวงการคลัง และคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่นายสามารถไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งกรมบัญชีกลางที่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และเพิกถอนคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๒/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ปลดออกจากราชการเนื่องจากกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงขณะรับราชการในตำแหน่งคลังจังหวัดยโสธรตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง และประพฤติชั่วตามมาตรา ๙๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๓/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ไล่ออกจากราชการเนื่องจากกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบขณะรับราชการในตำแหน่งคลังจังหวัดชัยภูมิตามมาตรา ๘๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ พร้อมทั้งให้เพิกถอนมติ อ.ก.พ. กระทรวงการคลังที่มีมติให้ไล่โจทก์ออกจากราชการทั้งสองมติ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติยศ ทั้งนี้ หากไม่สามารถเพิกถอนคำสั่งและมติดังกล่าวได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับเงินเดือน บำนาญ และบำเหน็จตกทอดแก่โจทก์ด้วย
อนึ่ง เมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ก่อนฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง นายสามารถได้อุทธรณ์คำสั่งกรมบัญชีกลางทั้งสองคำสั่งต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา ๑๒๖ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งต่อมา ก.พ. ได้แจ้งผลการพิจารณาว่า ก.พ. ได้พิจารณาอุทธรณ์และเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการแล้ว รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ทั้งสองเรื่อง หากประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลปกครองภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับแจ้งหรือทราบคำสั่งของนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม นายสามารถเห็นว่าข้อพิพาทดังกล่าวมีข้อเท็จจริงเดียวกับคดีที่ได้ยื่นฟ้องกรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังไว้ต่อศาลแพ่ง จึงเสนอคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๖ ขอให้มีคำพิพากษากลับคำวินิจฉัยของ ก.พ. ทั้งสองเรื่องดังกล่าว โดยอ้างว่าคำวินิจฉัยของ ก.พ. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่รับคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นการฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง เมื่อศาลปกครองเปิดทำการแล้วจึงควรดำเนินคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดี
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๖ นายสามารถ ผู้ฟ้องคดี จึงยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรีผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๕๕๘/๒๕๔๖ ขอให้ศาลเพิกถอนมติ ก.พ. ที่พิจารณาเสนอรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี และขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเรื่อง
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การพิจารณาลงโทษทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดี ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนทางวินัยของกรมบัญชีกลาง การพิจารณาลงมติลงโทษของผู้ฟ้องคดีของ อ.ก.พ. กระทรวงการคลัง มติ ก.พ. ที่เห็นด้วยกับการลงโทษทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดี ตลอดจนการพิจารณาอุทธรณ์และมีคำสั่งยกอุทธรณ์ตามที่ ก.พ. เสนอรองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมายตามระเบียบและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้
ศาลปกครองกลางเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง โดยมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเรื่อง เป็นการออกคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งในการพิจารณาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว ศาลจำต้องพิจารณาถึงการที่กรมบัญชีกลางมีคำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการและลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการว่าเป็นการดำเนินการและมีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องกรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังต่อศาลแพ่ง คดีทั้งสองดังกล่าวนี้จึงเป็นคดีปกครองที่มีมูลความแห่งคดีเกี่ยวเนื่องกัน และอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เนื่องด้วยมาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่าบรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอื่นอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมีลักษณะเป็นคดีปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลนั้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีถึงที่สุด ดังนี้ เมื่อขณะที่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้องกรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังต่อศาลแพ่ง แม้คดีดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นคดีปกครอง แต่เมื่อศาลปกครองยังไม่เปิดทำการ ศาลแพ่ง จึงเป็นศาลที่มีเขตอำนาจและเมื่อศาลแพ่งได้รับคดีไว้พิจารณาแล้ว แม้ต่อมาภายหลังศาลปกครองได้เปิดทำการ ศาลแพ่งก็จำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีถึงที่สุด คดีในส่วนที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องกรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งตามคดีหมายเลขดำที่ ปค. ๒๓๓/๒๕๔๒ จึงไม่อาจโอนมาพิจารณายังศาลปกครองได้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี แม้คดีนี้จะเป็นคดีปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้และคดีหมายเลขดำที่ ปค. ๒๓๓/๒๕๔๒ มีมูลความแห่งคดีเกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้น เพื่อให้คดีทั้งสองได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลใดศาลหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้คำพิพากษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงเห็นควรให้ศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่ได้รับคดีนี้ไว้พิจารณาตั้งแต่ต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปจนคดีถึงที่สุดเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีในส่วนที่ผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีในคดีนี้รวมไปกับคดีหมายเลขดำที่ ปค. ๒๓๓/๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
ข้อเท็จจริงตามฟ้องปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติ ก.พ. ที่พิจารณาเสนอรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี และขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีจากกรณีผู้ฟ้องคดีซึ่งเดิมรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ถูกลงโทษปลดออกจากราชการตามคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๒/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ และถูกลงโทษไล่ออกจากราชการตามคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๓/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ และผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามมาตรา ๑๒๖ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎ ก.พ. ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่าด้วยการอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์ แต่ ก.พ. มีมติยกอุทธรณ์ ทั้งสองเรื่องและรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ทั้งสองเรื่องตามที่ ก.พ. เสนอ เมื่อคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีฟ้องขอให้เพิกถอนมติ ก.พ. และคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าการพิจารณาและวินิจฉัยของ ก.พ. ไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น การพิจารณาวินิจฉัยจากกระบวนการสอบสวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกรมบัญชีกลางและ อ.ก.พ. กระทรวงการคลัง ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะเป็นคดีปกครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) คดีนี้จึงควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม ก่อนยื่นอุทธรณ์ต่อ ก.พ. และก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองกลาง ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้องกรมบัญชีกลาง ที่ ๑ กระทรวงการคลัง ที่ ๒ ต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกรมบัญชีกลาง ได้แก่ คำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๙๑/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย คำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๒/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำสั่งกรมบัญชีกลางที่ ก ๑๓๓/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ ให้ไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ พร้อมทั้งขอให้เพิกถอนมติ อ.ก.พ. กระทรวงการคลังทั้งสองมติให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี และให้กรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น คดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นคดีปกครองและมีมูลความแห่งคดีเดียวกับคดีนี้ เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐๕ บัญญัติว่า บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอื่นอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมีลักษณะเป็นคดีปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลนั้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีถึงที่สุด พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นการยื่นฟ้องคดีปกครองก่อนวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับ กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๐๕ โดยศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีและจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาต่อไปจนคดีถึงที่สุด ดังนั้น คดีนี้ แม้เป็นคดีปกครองแต่เมื่อเป็นกรณีพิพาทที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามมาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเพื่อให้คดีทั้งสองได้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลเดียว ทั้งนี้ เพื่อให้คำพิพากษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายสามารถ มัททวีวงศ์ ผู้ฟ้องคดี นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๖
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๗/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดสงขลา
ระหว่าง
ศาลปกครองสงขลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสงขลาโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายสมิต สมิตชัยจุฬารัตน์ โจทก์ ยื่นฟ้อง กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลย ต่อศาลจังหวัดสงขลา เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๗๓/๒๕๔๖ ความว่า โจทก์และนางจุฬา ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้ครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ เนื้อที่ประมาณ ๑๘ ไร่ ๗๕ ตารางวา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยซื้อที่ดินมาจากนายธนา สุวรรณชนะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และครอบครองทำประโยชน์กับเสียภาษีบำรุงท้องที่โดยตลอด จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๓๖ โจทก์นำเงินไปเสียภาษี แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับ และเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมนำที่ดินในท้องที่ดังกล่าวไปจัดหาผลประโยชน์โดยการขายให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่า บริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ปรากฏว่า ที่ดินตามประกาศดังกล่าวเป็นที่ดินที่โจทก์และนางจุฬา ได้ครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจากเจ้าของผู้ครอบครองคนก่อนๆ และการที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการรังวัดที่ดินเพื่อขอออกโฉนดตามประกาศดังกล่าว โจทก์เห็นว่าไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงได้ทำการคัดค้านการรังวัด อีกทั้งจำเลยได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการรื้อถอนพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลเป็นคดีนี้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท เพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาท และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ในอัตราสูงสุด
จำเลยให้การว่า ที่ดินหมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื้อที่ ๒,๒๗๑ ไร่ ๓๗ ตารางวา เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งเดิมอยู่ในเขตพื้นที่ประทานบัตรขององค์การเหมืองแร่ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งสืบสิทธิต่อเนื่องมาจากกรมโลหะกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ที่พิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ (๑) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจที่จะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นไปจัดหาผลประโยชน์ได้ตามมาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน การที่โจทก์บุกรุกเข้ามาครอบครองทำประโยชน์และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในที่ดินพิพาทไม่ทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเหนือที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ทั้งนี้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีความเห็นว่า การได้มาในที่ดินของโจทก์นั้นเป็นการได้มาในภายหลังจากที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมผู้ขอออกโฉนดที่ดิน ซึ่งครอบครองมาก่อนโดยสืบสิทธิต่อเนื่องจาก กรมโลหะกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ดังนั้นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมจึงเป็นผู้ขอออกโฉนดที่ดินที่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและการครอบครองดีกว่าโจทก์ จึงมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หากไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินให้ไปฟ้องศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อโจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ อันเป็นเวลาก่อนยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ถือว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืน ซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ศาลจังหวัดสงขลาเห็นว่า โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๗๕ ตารางวา โจทก์และนางจุฬาได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวต่อจาก นายธนา สุวรรณชนะ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โจทก์และนางจุฬาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอหาดใหญ่ ได้นัดรังวัดเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์และนางจุฬา แต่เจ้าหน้าที่การนิคมอุตสาหกรรมได้บุกรุกเข้าไปไถพืชผลและทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกประกาศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองสงขลา
ศาลปกครองสงขลาเห็นว่า คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยคือกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่าบริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนประกาศดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าความไม่ชอบด้วยกฎหมายของประกาศทั้งสองฉบับเป็นเพราะที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์มิได้เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจัดหาผลประโยชน์โดยออกประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และเพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นกรณีที่โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะที่ดินพิพาทเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มิใช่เป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จึงเป็นคดีที่คู่ความโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของโจทก์หรือเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ ซึ่งต้องพิจารณาให้ได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีจึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ โจทก์อ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเนื้อที่ประมาณ ๑๘ ไร่ ๗๕ ตารางวา ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่จำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ทำการรังวัดที่ดินดังกล่าวเพื่อออกโฉนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่า บริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ อันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวและเพิกถอนประกาศดังกล่าว ส่วนจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเดิมอยู่ในเขตพื้นที่ประทานบัตรขององค์การเหมืองแร่ ต่อมามีการยกเลิกประทานบัตร ที่พิพาทจึงตกเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รัฐมนตรีมีอำนาจที่จะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นไปจัดหาผลประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ประกาศทั้งสองฉบับตามฟ้องดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้นตามคำฟ้องและคำขอของโจทก์จึงเป็นกรณีที่โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ทั้งคดีนี้คู่ความยังคงโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฯ ดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายสมิต สมิตชัยจุฬารัตน์ โจทก์ กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๗/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดสงขลา
ระหว่าง
ศาลปกครองสงขลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสงขลาโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายสมิต สมิตชัยจุฬารัตน์ โจทก์ ยื่นฟ้อง กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลย ต่อศาลจังหวัดสงขลา เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๗๓/๒๕๔๖ ความว่า โจทก์และนางจุฬา ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้ครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ เนื้อที่ประมาณ ๑๘ ไร่ ๗๕ ตารางวา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยซื้อที่ดินมาจากนายธนา สุวรรณชนะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และครอบครองทำประโยชน์กับเสียภาษีบำรุงท้องที่โดยตลอด จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๓๖ โจทก์นำเงินไปเสียภาษี แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมรับ และเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมนำที่ดินในท้องที่ดังกล่าวไปจัดหาผลประโยชน์โดยการขายให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่า บริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ปรากฏว่า ที่ดินตามประกาศดังกล่าวเป็นที่ดินที่โจทก์และนางจุฬา ได้ครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจากเจ้าของผู้ครอบครองคนก่อนๆ และการที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการรังวัดที่ดินเพื่อขอออกโฉนดตามประกาศดังกล่าว โจทก์เห็นว่าไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงได้ทำการคัดค้านการรังวัด อีกทั้งจำเลยได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการรื้อถอนพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลเป็นคดีนี้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท เพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาท และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ในอัตราสูงสุด
จำเลยให้การว่า ที่ดินหมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื้อที่ ๒,๒๗๑ ไร่ ๓๗ ตารางวา เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งเดิมอยู่ในเขตพื้นที่ประทานบัตรขององค์การเหมืองแร่ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งสืบสิทธิต่อเนื่องมาจากกรมโลหะกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ที่พิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ (๑) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจที่จะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นไปจัดหาผลประโยชน์ได้ตามมาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน การที่โจทก์บุกรุกเข้ามาครอบครองทำประโยชน์และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในที่ดินพิพาทไม่ทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเหนือที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ทั้งนี้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีความเห็นว่า การได้มาในที่ดินของโจทก์นั้นเป็นการได้มาในภายหลังจากที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมผู้ขอออกโฉนดที่ดิน ซึ่งครอบครองมาก่อนโดยสืบสิทธิต่อเนื่องจาก กรมโลหะกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ดังนั้นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมจึงเป็นผู้ขอออกโฉนดที่ดินที่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและการครอบครองดีกว่าโจทก์ จึงมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หากไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินให้ไปฟ้องศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อโจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ อันเป็นเวลาก่อนยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ถือว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืน ซึ่งการครอบครองภายใน ๑ ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ศาลจังหวัดสงขลาเห็นว่า โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๗๕ ตารางวา โจทก์และนางจุฬาได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวต่อจาก นายธนา สุวรรณชนะ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โจทก์และนางจุฬาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอหาดใหญ่ ได้นัดรังวัดเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์และนางจุฬา แต่เจ้าหน้าที่การนิคมอุตสาหกรรมได้บุกรุกเข้าไปไถพืชผลและทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกประกาศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองสงขลา
ศาลปกครองสงขลาเห็นว่า คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยคือกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่าบริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนประกาศดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าความไม่ชอบด้วยกฎหมายของประกาศทั้งสองฉบับเป็นเพราะที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์มิได้เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจัดหาผลประโยชน์โดยออกประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และเพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นกรณีที่โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะที่ดินพิพาทเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มิใช่เป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จึงเป็นคดีที่คู่ความโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของโจทก์หรือเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ ซึ่งต้องพิจารณาให้ได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาว่าจำเลยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีจึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ โจทก์อ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเนื้อที่ประมาณ ๑๘ ไร่ ๗๕ ตารางวา ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่จำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง ทำการรังวัดที่ดินดังกล่าวเพื่อออกโฉนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่า บริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ อันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวและเพิกถอนประกาศดังกล่าว ส่วนจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเดิมอยู่ในเขตพื้นที่ประทานบัตรขององค์การเหมืองแร่ ต่อมามีการยกเลิกประทานบัตร ที่พิพาทจึงตกเป็นที่รกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รัฐมนตรีมีอำนาจที่จะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นไปจัดหาผลประโยชน์ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ประกาศทั้งสองฉบับตามฟ้องดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้นตามคำฟ้องและคำขอของโจทก์จึงเป็นกรณีที่โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ทั้งคดีนี้คู่ความยังคงโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฯ ดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายสมิต สมิตชัยจุฬารัตน์ โจทก์ กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๖/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองระยอง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดปราจีนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองระยองโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ นางสมบูรณ์ บัวประเสริฐ ที่ ๑ นางสุชาดา เชาวนกิต ที่ ๒ นางนงเยาว์ แจ่มจันทร์ ที่ ๓ นางบุปผา พิชชาโชติ ที่ ๔ นายธเนศ วุฒิศิลป์ ที่ ๕ นางชัชย์ สกุลพราห์ม ที่ ๖ นางแพรวพรรณ บุญมี ที่ ๗ นายเหม อุทัยทอง ที่ ๘ นางยุพิน ยืนยงค์ ที่ ๙ นางสาวทัศนา คำแดง ที่ ๑๐ นายสุริยันต์ คำแดง ที่ ๑๑ นางสาวสุรางค์ มงคลพิมพ์ ที่ ๑๒ นางศรีนวล เพาะพืช ที่ ๑๓ นางอิศราพร บุตรคล้อ ที่ ๑๔ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง เทศบาลเมืองปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองระยอง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๔/๒๕๔๖ ความว่า ที่อยู่อาศัยของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบสี่ถูกเครื่องจักรกลของผู้ถูกฟ้องคดี ทำลายได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่ารื้อถอนให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เป็นเงินจำนวน ๑๑๕,๑๐๐ บาท ๗๘,๓๐๐ บาท ๗๘,๕๐๐ บาท ๔๘,๘๐๐ บาท ๑๒,๒๐๐ บาท ๓๔,๗๐๐ บาท ๑๐๔,๔๐๗ บาท ๓๗,๕๐๐ บาท ๘๐๐,๐๐๐ บาท ๘๐๐,๐๐๐ บาท ตามลำดับ และค่าที่ดินให้แก่ผู้เสียหายที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ เป็นเงินจำนวน ๘๐๐,๐๐๐ บาท ๘๐๐,๐๐๐ บาท ๘๐๐,๐๐๐ บาท ๕๒๐,๐๐๐ บาท ตามลำดับ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๘ ยื่นคำขอถอนคำฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๑๒ ไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง คงรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๙ ที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๓ และที่ ๑๔ ไว้พิจารณา ต่อมาผู้ฟ้องคดีที่ ๑ แจ้งต่อศาลว่าได้รับค่ารื้อถอนอาคารจากผู้ถูกฟ้องคดีแล้วและยินยอมรื้อถอนอาคารออกไป ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๙ มีคำขอถอนฟ้องศาลสั่งจำหน่ายคดีในส่วนคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และสั่งอนุญาตถอนคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ ๙
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้รับจัดสรรงบประมาณประเภทงบลงทุนในวงเงิน ๑๑๗,๖๘๕,๐๐๐ บาท จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามแผนงานพัฒนาเมือง โครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองในเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ระยะที่ ๒) ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำปราจีนบุรี (ริมถนนปราจีนอนุสรณ์) พร้อมระบบระบายน้ำปรับภูมิทัศน์ ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการประกวดราคาได้บริษัท ส. กนกวรรณอุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้รับจ้างและทำสัญญาเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ต่อมาเกิดข้อพิพาทกับราษฎรบางส่วนที่กล่าวอ้างเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีได้ทำหนังสือถึงสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินชายตลิ่งบริเวณริมถนนปราจีนอนุสรณ์ ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมช่วงบริเวณตั้งแต่เชิงสะพานปราจีนบุรีถึงสะพานวัดแก้วพิจิตร และสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีได้ตรวจสอบที่ดินบริเวณดังกล่าว ปรากฏว่ามีโฉนดที่ดินอยู่ด้านฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี จำนวน ๔ แปลง คือโฉนดเลขที่ ๔๐๙๒ เลขที่ ๔๐๙๓ เลขที่ ๔๒๘๖๖ และเลขที่ ๔๒๘๖๗ ไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๓ แต่อย่างใด ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ มีโฉนดที่ดิน แต่เนื่องจากตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๐๙๒ และ๔๐๙๓ ระบุความกว้างของพื้นที่ดินยาวจากถนน ๙ เมตร และ ๑๐ เมตร ตามลำดับ แต่แนวเขื่อนที่ดำเนินการก่อสร้างห่างจากถนน ๑๗ เมตร ทำให้การก่อสร้างเขื่อนมิได้รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๓ และที่ ๑๔ คัดค้านคำให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดี ทั้งสี่มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๑๙๖, ๑๓๓๓, ๑๓๒๗ , ๔๐๙๒ - ๔๐๙๓ ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับโดยโฉนดทั้งหมดระบุว่าทิศเหนือจดแม่น้ำปราจีนบุรี ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกจากพื้นที่ตามแนวก่อสร้างเขื่อนภายใน ๓๐ วัน และ ได้มีการนำรถไถเข้ามาไถทำลายทรัพย์สินรวมทั้งหมุดหลักเขตของที่ดินด้วย
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การเพิ่มเติมว่า ที่ดินบริเวณที่ใช้ในการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเป็นที่ชายตลิ่งที่ติดกับถนนปราจีนอนุสรณ์โดยสภาพเมื่อพ้นจากขอบถนนจะเป็นที่ลาดลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี และในฤดูน้ำตามปกติน้ำจะท่วมถึงบริเวณขอบถนนทุกปี และจากการตรวจสอบของสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีปรากฏว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่มีถึงขอบถนนปราจีนอนุสรณ์เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของที่ดินที่ลาดลงสู่แม่น้ำ ถือว่าเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นที่สาธารณะประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ สำหรับผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ ปรากฏว่าที่ดินติดริมถนนปราจีนอนุสรณ์ แต่ยังไม่สามารถกำหนดจุดที่ตั้งของที่ดินที่แน่ชัดเนื่องจากเจ้าของที่ดินต้องยื่นสอบเขตที่ดินเพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์ที่แน่นอนก่อน แนวเขื่อนอยู่ห่างจากริมถนนปราจีนอนุสรณ์ประมาณ ๑๕ ถึง ๑๗ เมตร ไม่กระทบกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ แต่อย่างใด
ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้ประเด็นหลักเป็นเรื่องโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ ๓๐/๒๕๔๕ และที่ ๓๒/๒๕๔๕ ว่าการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เหตุแห่งการฟ้องคดีคือ การที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๓ และที่ ๑๔ ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้เข้าดำเนินการในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ เพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมโดยมิชอบ จึงเป็นการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายอันเป็นคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยผู้ฟ้องคดีทั้งสี่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินระบุทิศเหนือจดแม่น้ำปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดีให้การโต้แย้งกล่าวอ้างว่าเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นที่ชายตลิ่งตามข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ ด้านทิศเหนือซึ่งระบุว่าจดแม่น้ำปราจีนบุรีสิ้นสุดลงตรงจุดใด มิได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ต้องพิสูจน์กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองระหว่างคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินว่าฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากันแต่อย่างใด ซึ่งศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงนี้ อันเป็นประเด็นหลักแห่งคดี ให้เป็นที่ยุติได้ คดีนี้มีข้อเท็จจริงแตกต่างจากกรณีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๐/๒๕๔๕ และที่ ๓๒/๒๕๔๕ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๒๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดปราจีนบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะโต้แย้งกันว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสี่หรือไม่ แต่ประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ หรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้เพราะผู้ถูกฟ้องคดีให้การโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่แต่เป็นที่สาธารณประโยชน์ กรณีจึงจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ตามข้ออ้างหรือไม่ จึงจะสามารถพิจารณาเกี่ยวกับความเสียหายของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ และข้อต่อสู้ของผู้ถูกฟ้องคดีในคดีนี้ต่อไปได้ ซึ่งการพิจารณาเรื่องสิทธิของบุคคลอันเกี่ยวกับที่ดินต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กับประมวลกฎหมายที่ดินเป็นหลัก อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของในส่วนของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และอนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๙ ถอนฟ้อง และไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๒ แล้ว จึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาเฉพาะผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๓ และที่ ๑๔ กับผู้ถูกฟ้องคดีเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๑๙๖, ๑๓๓๓, ๑๓๒๗ , ๔๐๙๒ - ๔๐๙๓ ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับโดยโฉนดทั้งหมดระบุว่าทิศเหนือจดแม่น้ำปราจีนบุรี ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกจากพื้นที่ตามแนวก่อสร้างเขื่อนภายใน ๓๐ วัน และนำรถไถบุกรุกเข้าไปไถทำลายทรัพย์สินรวมทั้งหมุดหลักเขตของที่ดิน ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่ารื้อถอน หรือค่าที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า มิได้ก่อสร้างเขื่อนบุกรุกที่ดินของผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด สำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีได้ทำการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินชายตลิ่งบริเวณริมถนนปราจีนอนุสรณ์ ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างเขื่อนดังกล่าวมีโฉนดที่ดินอยู่ด้านฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรีเพียงจำนวน ๔ แปลงไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๓ แต่อย่างใด ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ มีโฉนดที่ดินสองแปลง แต่ห่างจากแนวเขื่อนที่ดำเนินการก่อสร้าง การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ยกฟ้อง และให้การเพิ่มเติมว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ดังนั้น คดีนี้ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่หรือเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นสำคัญ แล้วจึงพิจารณาได้ว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นละเมิดหรือไม่ จะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นางสาวทัศนา คำแดง ที่ ๑๐ นายสุริยันต์ คำแดง ที่ ๑๑ นางศรีนวล เพาะพืช ที่ ๑๓ นางอิศราพร บุตรคล้อ ที่ ๑๔ ผู้ฟ้องคดี เทศบาลเมืองปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๕
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๖/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองระยอง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดปราจีนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองระยองโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ นางสมบูรณ์ บัวประเสริฐ ที่ ๑ นางสุชาดา เชาวนกิต ที่ ๒ นางนงเยาว์ แจ่มจันทร์ ที่ ๓ นางบุปผา พิชชาโชติ ที่ ๔ นายธเนศ วุฒิศิลป์ ที่ ๕ นางชัชย์ สกุลพราห์ม ที่ ๖ นางแพรวพรรณ บุญมี ที่ ๗ นายเหม อุทัยทอง ที่ ๘ นางยุพิน ยืนยงค์ ที่ ๙ นางสาวทัศนา คำแดง ที่ ๑๐ นายสุริยันต์ คำแดง ที่ ๑๑ นางสาวสุรางค์ มงคลพิมพ์ ที่ ๑๒ นางศรีนวล เพาะพืช ที่ ๑๓ นางอิศราพร บุตรคล้อ ที่ ๑๔ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง เทศบาลเมืองปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองระยอง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๔/๒๕๔๖ ความว่า ที่อยู่อาศัยของผู้ฟ้องคดีทั้งสิบสี่ถูกเครื่องจักรกลของผู้ถูกฟ้องคดี ทำลายได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่ารื้อถอนให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ เป็นเงินจำนวน ๑๑๕,๑๐๐ บาท ๗๘,๓๐๐ บาท ๗๘,๕๐๐ บาท ๔๘,๘๐๐ บาท ๑๒,๒๐๐ บาท ๓๔,๗๐๐ บาท ๑๐๔,๔๐๗ บาท ๓๗,๕๐๐ บาท ๘๐๐,๐๐๐ บาท ๘๐๐,๐๐๐ บาท ตามลำดับ และค่าที่ดินให้แก่ผู้เสียหายที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๔ เป็นเงินจำนวน ๘๐๐,๐๐๐ บาท ๘๐๐,๐๐๐ บาท ๘๐๐,๐๐๐ บาท ๕๒๐,๐๐๐ บาท ตามลำดับ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๘ ยื่นคำขอถอนคำฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๑๒ ไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง คงรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ ๙ ที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๓ และที่ ๑๔ ไว้พิจารณา ต่อมาผู้ฟ้องคดีที่ ๑ แจ้งต่อศาลว่าได้รับค่ารื้อถอนอาคารจากผู้ถูกฟ้องคดีแล้วและยินยอมรื้อถอนอาคารออกไป ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๙ มีคำขอถอนฟ้องศาลสั่งจำหน่ายคดีในส่วนคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และสั่งอนุญาตถอนคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ ๙
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้รับจัดสรรงบประมาณประเภทงบลงทุนในวงเงิน ๑๑๗,๖๘๕,๐๐๐ บาท จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามแผนงานพัฒนาเมือง โครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองในเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ระยะที่ ๒) ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำปราจีนบุรี (ริมถนนปราจีนอนุสรณ์) พร้อมระบบระบายน้ำปรับภูมิทัศน์ ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการประกวดราคาได้บริษัท ส. กนกวรรณอุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้รับจ้างและทำสัญญาเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ต่อมาเกิดข้อพิพาทกับราษฎรบางส่วนที่กล่าวอ้างเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีได้ทำหนังสือถึงสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินชายตลิ่งบริเวณริมถนนปราจีนอนุสรณ์ ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมช่วงบริเวณตั้งแต่เชิงสะพานปราจีนบุรีถึงสะพานวัดแก้วพิจิตร และสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีได้ตรวจสอบที่ดินบริเวณดังกล่าว ปรากฏว่ามีโฉนดที่ดินอยู่ด้านฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี จำนวน ๔ แปลง คือโฉนดเลขที่ ๔๐๙๒ เลขที่ ๔๐๙๓ เลขที่ ๔๒๘๖๖ และเลขที่ ๔๒๘๖๗ ไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๓ แต่อย่างใด ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ มีโฉนดที่ดิน แต่เนื่องจากตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๐๙๒ และ๔๐๙๓ ระบุความกว้างของพื้นที่ดินยาวจากถนน ๙ เมตร และ ๑๐ เมตร ตามลำดับ แต่แนวเขื่อนที่ดำเนินการก่อสร้างห่างจากถนน ๑๗ เมตร ทำให้การก่อสร้างเขื่อนมิได้รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ยกฟ้อง
ผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๓ และที่ ๑๔ คัดค้านคำให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดี ทั้งสี่มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๑๙๖, ๑๓๓๓, ๑๓๒๗ , ๔๐๙๒ - ๔๐๙๓ ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับโดยโฉนดทั้งหมดระบุว่าทิศเหนือจดแม่น้ำปราจีนบุรี ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกจากพื้นที่ตามแนวก่อสร้างเขื่อนภายใน ๓๐ วัน และ ได้มีการนำรถไถเข้ามาไถทำลายทรัพย์สินรวมทั้งหมุดหลักเขตของที่ดินด้วย
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การเพิ่มเติมว่า ที่ดินบริเวณที่ใช้ในการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเป็นที่ชายตลิ่งที่ติดกับถนนปราจีนอนุสรณ์โดยสภาพเมื่อพ้นจากขอบถนนจะเป็นที่ลาดลงสู่แม่น้ำปราจีนบุรี และในฤดูน้ำตามปกติน้ำจะท่วมถึงบริเวณขอบถนนทุกปี และจากการตรวจสอบของสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีปรากฏว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่มีถึงขอบถนนปราจีนอนุสรณ์เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของที่ดินที่ลาดลงสู่แม่น้ำ ถือว่าเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นที่สาธารณะประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ สำหรับผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ ปรากฏว่าที่ดินติดริมถนนปราจีนอนุสรณ์ แต่ยังไม่สามารถกำหนดจุดที่ตั้งของที่ดินที่แน่ชัดเนื่องจากเจ้าของที่ดินต้องยื่นสอบเขตที่ดินเพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์ที่แน่นอนก่อน แนวเขื่อนอยู่ห่างจากริมถนนปราจีนอนุสรณ์ประมาณ ๑๕ ถึง ๑๗ เมตร ไม่กระทบกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ แต่อย่างใด
ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้ประเด็นหลักเป็นเรื่องโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ ๓๐/๒๕๔๕ และที่ ๓๒/๒๕๔๕ ว่าการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เหตุแห่งการฟ้องคดีคือ การที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๓ และที่ ๑๔ ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้เข้าดำเนินการในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ เพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมโดยมิชอบ จึงเป็นการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายอันเป็นคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยผู้ฟ้องคดีทั้งสี่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินระบุทิศเหนือจดแม่น้ำปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดีให้การโต้แย้งกล่าวอ้างว่าเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นที่ชายตลิ่งตามข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ ด้านทิศเหนือซึ่งระบุว่าจดแม่น้ำปราจีนบุรีสิ้นสุดลงตรงจุดใด มิได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ต้องพิสูจน์กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองระหว่างคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินว่าฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากันแต่อย่างใด ซึ่งศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงนี้ อันเป็นประเด็นหลักแห่งคดี ให้เป็นที่ยุติได้ คดีนี้มีข้อเท็จจริงแตกต่างจากกรณีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๐/๒๕๔๕ และที่ ๓๒/๒๕๔๕ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๒๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดปราจีนบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะโต้แย้งกันว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสี่หรือไม่ แต่ประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ หรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้เพราะผู้ถูกฟ้องคดีให้การโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่แต่เป็นที่สาธารณประโยชน์ กรณีจึงจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ตามข้ออ้างหรือไม่ จึงจะสามารถพิจารณาเกี่ยวกับความเสียหายของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ และข้อต่อสู้ของผู้ถูกฟ้องคดีในคดีนี้ต่อไปได้ ซึ่งการพิจารณาเรื่องสิทธิของบุคคลอันเกี่ยวกับที่ดินต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กับประมวลกฎหมายที่ดินเป็นหลัก อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของในส่วนของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และอนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๙ ถอนฟ้อง และไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๒ แล้ว จึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาเฉพาะผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๓ และที่ ๑๔ กับผู้ถูกฟ้องคดีเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๑๙๖, ๑๓๓๓, ๑๓๒๗ , ๔๐๙๒ - ๔๐๙๓ ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับโดยโฉนดทั้งหมดระบุว่าทิศเหนือจดแม่น้ำปราจีนบุรี ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้รับแจ้งจากผู้ถูกฟ้องคดีให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกจากพื้นที่ตามแนวก่อสร้างเขื่อนภายใน ๓๐ วัน และนำรถไถบุกรุกเข้าไปไถทำลายทรัพย์สินรวมทั้งหมุดหลักเขตของที่ดิน ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่ารื้อถอน หรือค่าที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า มิได้ก่อสร้างเขื่อนบุกรุกที่ดินของผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด สำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีได้ทำการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินชายตลิ่งบริเวณริมถนนปราจีนอนุสรณ์ ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างเขื่อนดังกล่าวมีโฉนดที่ดินอยู่ด้านฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรีเพียงจำนวน ๔ แปลงไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑๐ ที่ ๑๑ และที่ ๑๓ แต่อย่างใด ส่วนผู้ฟ้องคดีที่ ๑๔ มีโฉนดที่ดินสองแปลง แต่ห่างจากแนวเขื่อนที่ดำเนินการก่อสร้าง การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ยกฟ้อง และให้การเพิ่มเติมว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ดังนั้น คดีนี้ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่หรือเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นสำคัญ แล้วจึงพิจารณาได้ว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นละเมิดหรือไม่ จะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นางสาวทัศนา คำแดง ที่ ๑๐ นายสุริยันต์ คำแดง ที่ ๑๑ นางศรีนวล เพาะพืช ที่ ๑๓ นางอิศราพร บุตรคล้อ ที่ ๑๔ ผู้ฟ้องคดี เทศบาลเมืองปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๕
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๕/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองระยอง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดปราจีนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองระยองโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๖ นางสมถวิล อัมพรอารีกุล ที่ ๑ นางสมบูรณ์ บัวประเสริฐ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง เทศบาลเมืองปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองระยอง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๒/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๓๔๒ ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ออกให้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗ พื้นที่ด้านหนึ่งจดแม่น้ำปราจีนบุรี ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีโดยเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๖ ได้มีรถไถเข้ามาไถดินในที่ดินดังกล่าว ทำให้ต้นไม้ใหญ่ และพืชพันธุ์ที่ปลูกไว้เสียหาย ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ได้เข้าห้ามปราม และแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองปราจีนบุรี แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความ ต่อมาในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๖ มีประกาศของผู้ถูกฟ้องคดี ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ ให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างบริเวณริมแม่น้ำปราจีนบุรีเพื่อจะใช้พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ภายใน ๓๐ วัน โดยไม่มีการแจ้งเรื่องค่ารื้อถอนหรือค่าชดเชยที่ดินแต่อย่างใด ต่อมาผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ปจ ๕๒๐๐๔/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการติดต่อขยายเวลารื้อถอนอาคาร ตามคำสั่งรื้อถอนอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่ ปจ ๕๒๐๐๔/๓๖ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๖ อ้างว่าเป็นการก่อสร้างอาคารรุกล้ำที่สาธารณะในบริเวณโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมถนนปราจีนอนุสรณ์ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีว่า อาคารดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายบนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินดังกล่าว และมีสิทธิที่จะปกป้องการรบกวนหรือการละเมิดใด ๆ ตามกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ มีรถไถและกลุ่มบุคคลประมาณ ๕ คน ทำการไถที่ดินพร้อมรั้วไม้ที่อยู่ริมแม่น้ำของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง บิดาและน้องชายของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้เข้าห้ามปราม กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้นำเอกสารที่อ้างว่าเป็นแผนผังเมืองของเทศบาลฉบับใหม่ ออกโดยสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรี และมีลายมือชื่อของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดกำกับไว้ โดยในแผนผังดังกล่าวไม่มีที่ดินกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้านทิศเหนือที่ติดถนนปราจีนอนุสรณ์กับแม่น้ำปราจีนบุรี แต่กลับกลายเป็นที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เคยได้รับทราบในการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ตามแผนผังดังกล่าว และโฉนดที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้ครอบครองอยู่ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตตามแผนผังที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด บิดาของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นำเรื่องดังกล่าวแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองปราจีนบุรี และทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แนะนำให้ไปรังวัดที่ดินเพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์ โดยได้ออกหนังสือไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อให้สำนักงานที่ดินจังหวัดรังวัดที่ดินตรวจสอบกรรมสิทธิ์ ซึ่งผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ เนื่องจากตามโฉนดที่ดินมีการยืนยันเขตที่ดินไว้แล้ว และในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ได้มีกลุ่มบุคคลพร้อมรถไถและเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดำเนินการไถที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ อีกครั้ง โดยไม่สนใจคำห้ามปรามและอ้างว่าเป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี จากการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเสียหายและได้รับความไม่เป็นธรรมจากผู้ถูกฟ้องคดี จึงขอให้ศาลพิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่ง ดังนี้
๑. ให้ระงับการรื้อถอนบ้านของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ที่ปลูกในที่ดินกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑
๒. ให้เพิกถอนการกระทำทั้งหมดที่ผู้ถูกฟ้องคดีสร้างเขื่อนบุกรุกในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑
๓. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีจัดการกันส่วนพื้นที่กรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ถูกบุกรุกให้เป็นพื้นที่ดังเดิม
๔. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดต่อที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จำนวน ๒๕๐ ตารางวา ในอัตราตารางวาละ ๘,๐๐๐ บาท รวมเป็นจำนวนเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้รับจัดสรรงบประมาณประเภทงบลงทุนในวงเงิน ๑๑๗,๖๘๕,๐๐๐ บาท จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามแผนงานพัฒนาเมือง โครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองในเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ระยะที่ ๒) ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำปราจีนบุรี (ริมถนนปราจีนอนุสรณ์) พร้อมระบบระบายน้ำและปรับภูมิทัศน์ ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการประกวดราคาได้บริษัท ส. กนกวรรณอุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้รับจ้างและทำสัญญาเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้ออกประกาศ ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ ขอให้ผู้ก่อสร้างรุกล้ำ ที่สาธารณะทำการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างดังกล่าว และผู้ถูกฟ้องคดีโดยนายกเทศมนตรีเมืองปราจีนบุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ออกคำสั่งตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ รื้อถอนอาคารทั้งหมดที่ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง แต่ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ มิได้ปฏิบัติตาม และมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งกลับใช้วิธีร้องขอความเป็นธรรมตลอดมา ต่อมาผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้ร่วมลงนามในบันทึกต่อคณะกรรมการเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเรื่องราษฎรบุกรุกที่ดินริมแม่น้ำปราจีนบุรีเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีมิได้ก่อสร้างเขื่อนบุกรุกที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เพราะได้ทำหนังสือถึงสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินชายตลิ่งบริเวณริมถนนปราจีนอนุสรณ์ ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมช่วงบริเวณตั้งแต่เชิงสะพานปราจีนบุรีถึงสะพานวัดแก้วพิจิตร และสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีได้ตรวจสอบที่ดินบริเวณดังกล่าว ปรากฏว่ามีโฉนดที่ดินอยู่ด้านฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี จำนวน ๔ แปลง ไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ แต่อย่างใด การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดี ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ยกฟ้อง
ศาลปกครองระยองมีคำสั่งจำหน่ายคดีของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ออกจากสารบบความเนื่องจากผู้ฟ้องคดีที่ ๒ มีหนังสือชี้แจงว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้จ่ายเงินค่ารื้อถอนอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ แล้ว และดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ต่อไปผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้ประเด็นหลักเป็นเรื่องโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ ๓๐/๒๕๔๕ และที่ ๓๒/๒๕๔๕ ว่าการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เหตุแห่งการฟ้องคือ การที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้เข้าดำเนินการในที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมโดยมิชอบ จึงเป็นการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายอันเป็นคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๓๔๒ ออกเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ระบุทิศเหนือจดแม่น้ำปาจิณ (แม่น้ำปราจีนบุรี) เนื้อที่ ๓ ไร่ ๑ งาน ๔๐ ตารางวา ผู้ถูกฟ้องคดีให้การโต้แย้งกล่าวอ้างว่าเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นที่ชายตลิ่งตามข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๓๔๒ ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้านทิศเหนือซึ่งระบุว่าจดแม่น้ำปราจีนบุรีสิ้นสุดลงตรงจุดใด มิได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ต้องพิสูจน์กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองระหว่างคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินว่าฝ่ายใด มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากันแต่อย่างใด ซึ่งศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงนี้ อันเป็นประเด็นหลักแห่งคดีให้เป็นที่ยุติได้ คดีนี้มีข้อเท็จจริงแตกต่างจากกรณีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๐/๒๕๔๕ และที่ ๓๒/๒๕๔๕ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๒๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดปราจีนบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จะยื่นฟ้องคดีโดยอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีมาด้วยก็ตาม แต่ในการวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีจะเข้าลักษณะเป็นการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่นั้น ในเบื้องต้นศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ตามที่อ้างหรือไม่ จึงจะสามารถพิจารณาเกี่ยวกับความเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และข้อต่อสู้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่อ้างว่าได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ต่อไปได้ การพิจารณาถึงสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณี ทั้งสองฝ่ายต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน โดยจะต้องพิจารณาถึงกรรมสิทธิ์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน ที่ศาลปกครองระยองมีความเห็นว่าที่ดินพิพาทจะเป็นที่ชายตลิ่งหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าแนวเขตที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๑๓๔๒ ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้านทิศเหนือซึ่งระบุว่าจดแม่น้ำปราจีนบุรีสิ้นสุดลงตรงจุดใด มิได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ต้องพิสูจน์กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองระหว่างคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งหรือประมวลกฎหมายที่ดินว่าฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากันแต่อย่างใด และศาลปกครองมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งเป็นประเด็นหลักแห่งคดีให้เป็นที่ยุติได้นั้น ในข้อนี้ศาลยุติธรรมไม่เห็นพ้องด้วย ทั้งนี้ เนื่องจาก ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ อ้างว่าที่พิพาทซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีเข้าไปกระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ฟ้องคดีเป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่าที่ดินพิพาทไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์แต่เป็นที่สาธารณประโยชน์ ประเด็นหลักแห่งคดีจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ หาได้มีประเด็นโต้แย้งกันเกี่ยวกับแนวเขตที่ดินแต่ประการใดไม่ ประเด็นแห่งคดีนี้จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินและยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ระหว่างคู่ความทั้งสองฝ่าย ดังนั้นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินคือศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ แล้ว จึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาเฉพาะผู้ฟ้องคดีที่ ๑ กับผู้ถูกฟ้องคดีเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดเลขที่ ๑๓๔๒ ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีพื้นที่ด้านหนึ่งจดแม่น้ำปราจีนบุรีได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีนำรถไถบุกรุกเข้าไปไถดินในที่ดินดังกล่าว บริเวณที่ติดกับริมแม่น้ำ เพื่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมทำให้ต้นไม้ใหญ่ และพืชพันธุ์ที่ปลูกไว้เสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้เพิกถอนการกระทำทั้งหมด ให้ผู้ถูกฟ้องคดีจัดการกันส่วนพื้นที่กรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ถูกบุกรุกให้เป็นพื้นที่ดังเดิม และให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดต่อที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า มิได้ก่อสร้างเขื่อนบุกรุกที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เพราะสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีได้ตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินชายตลิ่งบริเวณดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ แต่อย่างใด การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น คดีนี้ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ หรือเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นละเมิดหรือไม่ จะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นางสมถวิล อัมพรอารีกุล ผู้ฟ้องคดี เทศบาลเมืองปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๖
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๕/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองระยอง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดปราจีนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองระยองโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๖ นางสมถวิล อัมพรอารีกุล ที่ ๑ นางสมบูรณ์ บัวประเสริฐ ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง เทศบาลเมืองปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองระยอง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๒/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๓๔๒ ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ออกให้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗ พื้นที่ด้านหนึ่งจดแม่น้ำปราจีนบุรี ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีโดยเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๖ ได้มีรถไถเข้ามาไถดินในที่ดินดังกล่าว ทำให้ต้นไม้ใหญ่ และพืชพันธุ์ที่ปลูกไว้เสียหาย ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ได้เข้าห้ามปราม และแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองปราจีนบุรี แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความ ต่อมาในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๖ มีประกาศของผู้ถูกฟ้องคดี ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ ให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างบริเวณริมแม่น้ำปราจีนบุรีเพื่อจะใช้พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ภายใน ๓๐ วัน โดยไม่มีการแจ้งเรื่องค่ารื้อถอนหรือค่าชดเชยที่ดินแต่อย่างใด ต่อมาผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ปจ ๕๒๐๐๔/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการติดต่อขยายเวลารื้อถอนอาคาร ตามคำสั่งรื้อถอนอาคารของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่ ปจ ๕๒๐๐๔/๓๖ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๖ อ้างว่าเป็นการก่อสร้างอาคารรุกล้ำที่สาธารณะในบริเวณโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมถนนปราจีนอนุสรณ์ ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีว่า อาคารดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายบนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินดังกล่าว และมีสิทธิที่จะปกป้องการรบกวนหรือการละเมิดใด ๆ ตามกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ มีรถไถและกลุ่มบุคคลประมาณ ๕ คน ทำการไถที่ดินพร้อมรั้วไม้ที่อยู่ริมแม่น้ำของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง บิดาและน้องชายของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้เข้าห้ามปราม กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้นำเอกสารที่อ้างว่าเป็นแผนผังเมืองของเทศบาลฉบับใหม่ ออกโดยสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรี และมีลายมือชื่อของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดกำกับไว้ โดยในแผนผังดังกล่าวไม่มีที่ดินกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้านทิศเหนือที่ติดถนนปราจีนอนุสรณ์กับแม่น้ำปราจีนบุรี แต่กลับกลายเป็นที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เคยได้รับทราบในการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ตามแผนผังดังกล่าว และโฉนดที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้ครอบครองอยู่ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตตามแผนผังที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด บิดาของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ นำเรื่องดังกล่าวแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองปราจีนบุรี และทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แนะนำให้ไปรังวัดที่ดินเพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์ โดยได้ออกหนังสือไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อให้สำนักงานที่ดินจังหวัดรังวัดที่ดินตรวจสอบกรรมสิทธิ์ ซึ่งผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ เนื่องจากตามโฉนดที่ดินมีการยืนยันเขตที่ดินไว้แล้ว และในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ได้มีกลุ่มบุคคลพร้อมรถไถและเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดำเนินการไถที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ อีกครั้ง โดยไม่สนใจคำห้ามปรามและอ้างว่าเป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี จากการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับความเสียหายและได้รับความไม่เป็นธรรมจากผู้ถูกฟ้องคดี จึงขอให้ศาลพิจารณาพิพากษา หรือมีคำสั่ง ดังนี้
๑. ให้ระงับการรื้อถอนบ้านของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ที่ปลูกในที่ดินกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑
๒. ให้เพิกถอนการกระทำทั้งหมดที่ผู้ถูกฟ้องคดีสร้างเขื่อนบุกรุกในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑
๓. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีจัดการกันส่วนพื้นที่กรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ถูกบุกรุกให้เป็นพื้นที่ดังเดิม
๔. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดต่อที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จำนวน ๒๕๐ ตารางวา ในอัตราตารางวาละ ๘,๐๐๐ บาท รวมเป็นจำนวนเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้รับจัดสรรงบประมาณประเภทงบลงทุนในวงเงิน ๑๑๗,๖๘๕,๐๐๐ บาท จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามแผนงานพัฒนาเมือง โครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองในเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (ระยะที่ ๒) ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำปราจีนบุรี (ริมถนนปราจีนอนุสรณ์) พร้อมระบบระบายน้ำและปรับภูมิทัศน์ ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการประกวดราคาได้บริษัท ส. กนกวรรณอุตสาหกรรม จำกัด เป็นผู้รับจ้างและทำสัญญาเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้ออกประกาศ ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ ขอให้ผู้ก่อสร้างรุกล้ำ ที่สาธารณะทำการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างดังกล่าว และผู้ถูกฟ้องคดีโดยนายกเทศมนตรีเมืองปราจีนบุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ออกคำสั่งตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ รื้อถอนอาคารทั้งหมดที่ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง แต่ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ มิได้ปฏิบัติตาม และมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งกลับใช้วิธีร้องขอความเป็นธรรมตลอดมา ต่อมาผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้ร่วมลงนามในบันทึกต่อคณะกรรมการเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเรื่องราษฎรบุกรุกที่ดินริมแม่น้ำปราจีนบุรีเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีมิได้ก่อสร้างเขื่อนบุกรุกที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เพราะได้ทำหนังสือถึงสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินชายตลิ่งบริเวณริมถนนปราจีนอนุสรณ์ ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมช่วงบริเวณตั้งแต่เชิงสะพานปราจีนบุรีถึงสะพานวัดแก้วพิจิตร และสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีได้ตรวจสอบที่ดินบริเวณดังกล่าว ปรากฏว่ามีโฉนดที่ดินอยู่ด้านฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี จำนวน ๔ แปลง ไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ แต่อย่างใด การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดี ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ยกฟ้อง
ศาลปกครองระยองมีคำสั่งจำหน่ายคดีของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ออกจากสารบบความเนื่องจากผู้ฟ้องคดีที่ ๒ มีหนังสือชี้แจงว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้จ่ายเงินค่ารื้อถอนอาคารให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ แล้ว และดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ต่อไปผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้ประเด็นหลักเป็นเรื่องโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ ๓๐/๒๕๔๕ และที่ ๓๒/๒๕๔๕ ว่าการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เหตุแห่งการฟ้องคือ การที่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้เข้าดำเนินการในที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมโดยมิชอบ จึงเป็นการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายอันเป็นคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๓๔๒ ออกเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ระบุทิศเหนือจดแม่น้ำปาจิณ (แม่น้ำปราจีนบุรี) เนื้อที่ ๓ ไร่ ๑ งาน ๔๐ ตารางวา ผู้ถูกฟ้องคดีให้การโต้แย้งกล่าวอ้างว่าเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นที่ชายตลิ่งตามข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๓๔๒ ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้านทิศเหนือซึ่งระบุว่าจดแม่น้ำปราจีนบุรีสิ้นสุดลงตรงจุดใด มิได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ต้องพิสูจน์กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองระหว่างคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายที่ดินว่าฝ่ายใด มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากันแต่อย่างใด ซึ่งศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงนี้ อันเป็นประเด็นหลักแห่งคดีให้เป็นที่ยุติได้ คดีนี้มีข้อเท็จจริงแตกต่างจากกรณีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๐/๒๕๔๕ และที่ ๓๒/๒๕๔๕ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๒๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดปราจีนบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จะยื่นฟ้องคดีโดยอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่การกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีมาด้วยก็ตาม แต่ในการวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีจะเข้าลักษณะเป็นการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่นั้น ในเบื้องต้นศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ตามที่อ้างหรือไม่ จึงจะสามารถพิจารณาเกี่ยวกับความเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ และข้อต่อสู้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่อ้างว่าได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ต่อไปได้ การพิจารณาถึงสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณี ทั้งสองฝ่ายต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน โดยจะต้องพิจารณาถึงกรรมสิทธิ์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน ที่ศาลปกครองระยองมีความเห็นว่าที่ดินพิพาทจะเป็นที่ชายตลิ่งหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าแนวเขตที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๑๓๔๒ ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ด้านทิศเหนือซึ่งระบุว่าจดแม่น้ำปราจีนบุรีสิ้นสุดลงตรงจุดใด มิได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ต้องพิสูจน์กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองระหว่างคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งหรือประมวลกฎหมายที่ดินว่าฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากันแต่อย่างใด และศาลปกครองมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งเป็นประเด็นหลักแห่งคดีให้เป็นที่ยุติได้นั้น ในข้อนี้ศาลยุติธรรมไม่เห็นพ้องด้วย ทั้งนี้ เนื่องจาก ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ อ้างว่าที่พิพาทซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีเข้าไปกระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ฟ้องคดีเป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่าที่ดินพิพาทไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์แต่เป็นที่สาธารณประโยชน์ ประเด็นหลักแห่งคดีจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดอันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ หาได้มีประเด็นโต้แย้งกันเกี่ยวกับแนวเขตที่ดินแต่ประการใดไม่ ประเด็นแห่งคดีนี้จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินและยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ระหว่างคู่ความทั้งสองฝ่าย ดังนั้นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินคือศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ แล้ว จึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาเฉพาะผู้ฟ้องคดีที่ ๑ กับผู้ถูกฟ้องคดีเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดเลขที่ ๑๓๔๒ ตำบลคลองวัว อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีพื้นที่ด้านหนึ่งจดแม่น้ำปราจีนบุรีได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีนำรถไถบุกรุกเข้าไปไถดินในที่ดินดังกล่าว บริเวณที่ติดกับริมแม่น้ำ เพื่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมทำให้ต้นไม้ใหญ่ และพืชพันธุ์ที่ปลูกไว้เสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้เพิกถอนการกระทำทั้งหมด ให้ผู้ถูกฟ้องคดีจัดการกันส่วนพื้นที่กรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ที่ถูกบุกรุกให้เป็นพื้นที่ดังเดิม และให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดต่อที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ จำนวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า มิได้ก่อสร้างเขื่อนบุกรุกที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เพราะสำนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรีได้ตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินชายตลิ่งบริเวณดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นเจ้าของที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ แต่อย่างใด การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น คดีนี้ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ หรือเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นละเมิดหรือไม่ จะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นางสมถวิล อัมพรอารีกุล ผู้ฟ้องคดี เทศบาลเมืองปราจีนบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
๖
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๔/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนนทบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗ นายวิสูตร ส่งสกุลชัย ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้อง กรมการแพทย์ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๓๖/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นบิดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายณภัทร ส่งสกุลชัย ผู้เยาว์ อายุ ๖ ปี ๓ เดือน โดยภริยาของผู้ฟ้องคดีได้คลอดเด็กชายณภัทรที่โรงพยาบาลราชวิถี เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๑ หลังจากนั้นจนถึงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ บุตรของผู้ฟ้องคดีได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ และเข้ารับการรักษาพยาบาลโรคปอดอักเสบ หอบ และโรคต่าง ๆ รวมหลายครั้งที่โรงพยาบาลดังกล่าว สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) โรงพยาบาลปากเกร็ด นนทบุรี และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จนได้ตรวจพบว่าบุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยผู้ฟ้องคดีและภริยาได้รับการตรวจเลือดแล้วแต่ไม่พบเชื้อดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเหตุที่บุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อดังกล่าวเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลดังกล่าวข้างต้น ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖ ร้องขอให้กระทรวงสาธารณสุขชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในผลแห่งละเมิดของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดังกล่าวเป็นเงิน ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิเสธที่จะพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายให้ตามหนังสือ ที่ สธ ๐๓๐๒/๓๒๑๓ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดี และสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ทราบว่าบุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ฟ้องคดี และให้บุตรของผู้ฟ้องคดีได้รับยาต้านไวรัสตลอดชีวิต และได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ตามคำสั่งที่ ๓๙๐/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ และคำสั่งที่ ๑๕๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๖ คณะกรรมการเห็นว่าในการรักษาบุตรของผู้ฟ้องคดี แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ความระมัดระวังและทำการตรวจรักษาถูกต้องตามหลักวิชาการแพทย์และการพยาบาลเหมาะสมแก่กรณีทุกประการแล้ว การติดเชื้อเอชไอวี รายนี้จึงไม่น่าจะเกิดจากการตรวจรักษาของแพทย์หรือพยาบาลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) แต่อย่างใด และไม่มีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเกิดขึ้น กรณีจึงไม่เป็นละเมิด เจ้าหน้าที่หรือสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) จึงไม่ต้องรับผิด และได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบแล้ว ต่อมา ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุขต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๙๘/๒๕๔๗ คดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๘/๒๕๔๗ ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ผู้ฟ้องคดีจึงมาฟ้องต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีนี้ โรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) เท่านั้นเป็นหน่วยงานในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดี คำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากคดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีละเมิดทางปกครอง ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้เป็นคดีฟ้องเรียกค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำในหน้าที่ของแพทย์ในการตรวจรักษาโรคตามปกติทั่วไปในการรักษาพยาบาล ไม่ใช่การใช้อำนาจตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เป็นละเมิดทางปกครอง อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก ผู้ถูกฟ้องคดีอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและของโรงพยาบาลราชวิถีซึ่งเป็นส่วนราชการในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ และทำการรักษาพยาบาลโรคปอดอักเสบ โรคหอบ และโรคต่าง ๆ รวมหลายครั้งให้แก่บุตรของผู้ฟ้องคดีไปโดยผิดพลาดบกพร่องขาดความระมัดระวัง อันเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้บุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อเอชไอวี กรณีจึงเป็นการฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีในฐานะหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ด้วยการให้บริการตรวจ วินิจฉัย บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาวิชาการแพทย์เฉพาะทางด้านโรคในกลุ่มเด็กและด้านโรคทั่วไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๗ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดนนทบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า บุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อเอชไอวีจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากการกระทำในหน้าที่ของแพทย์เกี่ยวกับการตรวจรักษาโรค ตามปกติทั่วไปของการรักษาพยาบาล เป็นการกระทำทางกายภาพในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รักษาพยาบาล ไม่ใช่การใช้อำนาจตามกฎหมาย ทั้งคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ปฏิเสธที่จะพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี ก็เป็นเรื่องการปฏิเสธตามธรรมดาของผู้ที่ถูกเรียกร้อง ไม่ใช่การกระทำที่เป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี และไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง กรณีจึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นที่ต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นหน่วยงานทางปกครองหรือไม่ กรมการแพทย์ เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีโรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) เป็นส่วนราชการในสังกัดตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ถูกฟ้องคดี จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้บุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เมื่อเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการให้บริการสาธารณะเกี่ยวกับการแพทย์ การสาธารณสุข เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จากการปฏิบัติหน้าที่ กรณีจึงเป็นไปตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่คดีที่ฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้ต้องรับผิดทางละเมิดอาจอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองก็ได้ กรณีจำต้องพิจารณาอำนาจของศาลปกครองในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นสำคัญ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้"ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร" อันเป็นการจำกัดประเภทคดีปกครองที่เกิดจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งหมายให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดาทั่วไปของเจ้าหน้าที่ เมื่อการยื่นฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้วัคซีนและรักษาพยาบาลผู้ป่วยอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดาทั่วไป มิได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แม้มาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ผู้เสียหายที่ยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมาย ว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ไปฟ้องยังศาลปกครองก็ตาม แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐๖ บัญญัติให้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ในคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม เมื่อการกระทำละเมิดคดีนี้ไม่อยู่ในบังคับมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายวิสูตร ส่งสกุลชัย ผู้ฟ้องคดี กรมการแพทย์ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๔/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนนทบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗ นายวิสูตร ส่งสกุลชัย ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้อง กรมการแพทย์ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๓๖/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นบิดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายณภัทร ส่งสกุลชัย ผู้เยาว์ อายุ ๖ ปี ๓ เดือน โดยภริยาของผู้ฟ้องคดีได้คลอดเด็กชายณภัทรที่โรงพยาบาลราชวิถี เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๑ หลังจากนั้นจนถึงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ บุตรของผู้ฟ้องคดีได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ และเข้ารับการรักษาพยาบาลโรคปอดอักเสบ หอบ และโรคต่าง ๆ รวมหลายครั้งที่โรงพยาบาลดังกล่าว สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) โรงพยาบาลปากเกร็ด นนทบุรี และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จนได้ตรวจพบว่าบุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โดยผู้ฟ้องคดีและภริยาได้รับการตรวจเลือดแล้วแต่ไม่พบเชื้อดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเหตุที่บุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อดังกล่าวเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลดังกล่าวข้างต้น ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖ ร้องขอให้กระทรวงสาธารณสุขชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในผลแห่งละเมิดของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดังกล่าวเป็นเงิน ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิเสธที่จะพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายให้ตามหนังสือ ที่ สธ ๐๓๐๒/๓๒๑๓ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดี และสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ทราบว่าบุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ฟ้องคดี และให้บุตรของผู้ฟ้องคดีได้รับยาต้านไวรัสตลอดชีวิต และได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ตามคำสั่งที่ ๓๙๐/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ และคำสั่งที่ ๑๕๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๖ คณะกรรมการเห็นว่าในการรักษาบุตรของผู้ฟ้องคดี แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ความระมัดระวังและทำการตรวจรักษาถูกต้องตามหลักวิชาการแพทย์และการพยาบาลเหมาะสมแก่กรณีทุกประการแล้ว การติดเชื้อเอชไอวี รายนี้จึงไม่น่าจะเกิดจากการตรวจรักษาของแพทย์หรือพยาบาลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) แต่อย่างใด และไม่มีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเกิดขึ้น กรณีจึงไม่เป็นละเมิด เจ้าหน้าที่หรือสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) จึงไม่ต้องรับผิด และได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบแล้ว ต่อมา ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุขต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๙๘/๒๕๔๗ คดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๘/๒๕๔๗ ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ผู้ฟ้องคดีจึงมาฟ้องต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีนี้ โรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) เท่านั้นเป็นหน่วยงานในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดี คำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากคดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีละเมิดทางปกครอง ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้เป็นคดีฟ้องเรียกค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำในหน้าที่ของแพทย์ในการตรวจรักษาโรคตามปกติทั่วไปในการรักษาพยาบาล ไม่ใช่การใช้อำนาจตามกฎหมาย กรณีจึงไม่เป็นละเมิดทางปกครอง อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก ผู้ถูกฟ้องคดีอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของบุคลากรทางการแพทย์ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและของโรงพยาบาลราชวิถีซึ่งเป็นส่วนราชการในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ และทำการรักษาพยาบาลโรคปอดอักเสบ โรคหอบ และโรคต่าง ๆ รวมหลายครั้งให้แก่บุตรของผู้ฟ้องคดีไปโดยผิดพลาดบกพร่องขาดความระมัดระวัง อันเป็นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้บุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อเอชไอวี กรณีจึงเป็นการฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีในฐานะหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ด้วยการให้บริการตรวจ วินิจฉัย บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาวิชาการแพทย์เฉพาะทางด้านโรคในกลุ่มเด็กและด้านโรคทั่วไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๗ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดนนทบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่า บุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อเอชไอวีจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องจากการกระทำในหน้าที่ของแพทย์เกี่ยวกับการตรวจรักษาโรค ตามปกติทั่วไปของการรักษาพยาบาล เป็นการกระทำทางกายภาพในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รักษาพยาบาล ไม่ใช่การใช้อำนาจตามกฎหมาย ทั้งคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ปฏิเสธที่จะพิจารณาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี ก็เป็นเรื่องการปฏิเสธตามธรรมดาของผู้ที่ถูกเรียกร้อง ไม่ใช่การกระทำที่เป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี และไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง กรณีจึงไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นที่ต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นหน่วยงานทางปกครองหรือไม่ กรมการแพทย์ เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีโรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) เป็นส่วนราชการในสังกัดตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ถูกฟ้องคดี จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้บุตรของผู้ฟ้องคดีติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เมื่อเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการให้บริการสาธารณะเกี่ยวกับการแพทย์ การสาธารณสุข เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จากการปฏิบัติหน้าที่ กรณีจึงเป็นไปตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่คดีที่ฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้ต้องรับผิดทางละเมิดอาจอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองก็ได้ กรณีจำต้องพิจารณาอำนาจของศาลปกครองในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นสำคัญ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้"ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร" อันเป็นการจำกัดประเภทคดีปกครองที่เกิดจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งหมายให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดาทั่วไปของเจ้าหน้าที่ เมื่อการยื่นฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้วัคซีนและรักษาพยาบาลผู้ป่วยอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดาทั่วไป มิได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แม้มาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ผู้เสียหายที่ยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมาย ว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ไปฟ้องยังศาลปกครองก็ตาม แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐๖ บัญญัติให้สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ในคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม เมื่อการกระทำละเมิดคดีนี้ไม่อยู่ในบังคับมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายวิสูตร ส่งสกุลชัย ผู้ฟ้องคดี กรมการแพทย์ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๓/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ นางสมทรง เล็กสกุล ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้อง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๙๑/๒๕๔๗ ความว่า เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินบริเวณที่งอกริมตลิ่งจากโฉนดเลขที่ ๒๑๔๑๙ ตำบลโพแตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้ ตามหนังสือสำนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ อย ๐๐๑๙.๓/๒๒๒๕๐ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ โดยเห็นว่า คณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งตามคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๒๙๓๒/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ ได้ตรวจสอบสภาพที่ดินแล้วเห็นว่า ไม่เป็นที่งอกริมตลิ่งที่จะนำมาขอรังวัดออกโฉนดได้ เนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีได้มีการขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ ๒ (อยุธยา) และได้รับอนุญาตแล้วเท่ากับยอมรับว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณะ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๒ เห็นชอบตามมติคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนด ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยเพราะที่ดินดังกล่าวผู้ฟ้องคดีได้ครอบครองทำประโยชน์มากว่า ๔๘ ปี แต่มิได้ออกโฉนดที่ดินเนื่องจากเจ้าของที่ดินเดิมตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๗๘/๒๔๙๘ ตำบลโพแตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แจ้งการครอบครองที่ดินน้อยกว่าที่ครอบครองอยู่จริง ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้ลงนามรับใบอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำตามที่ได้รับอนุญาต ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อ้างว่าที่ดินพิพาทไม่เป็นที่สาธารณะ ผู้ฟ้องคดีทำการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังบริเวณแม่น้ำในแนวเดียวกันกับแนวตลิ่งของเพื่อนบ้านข้างเคียง ที่ดินของเพื่อนบ้านข้างเคียงดังกล่าวได้รับการออกโฉนดจนครบตามจำนวนที่ดินที่จดแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ตามหนังสือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ อย ๐๐๑๙/๑๙๙๓๑ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ โดยยืนตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการขีดแนวเขตลำน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพิพาทลงในระวางออกโฉนดที่ดินตามระเบียบของกรมที่ดิน และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า ตามที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าที่ดินพิพาทที่ขอรังวัดออกโฉนดเป็นที่งอกริมตลิ่งและครอบครองทำประโยชน์มากว่า ๔๘ ปีนั้น ไม่เป็นความจริง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบที่ดินขอออกโฉนดดังกล่าวแล้ว ได้ความว่าที่ดินที่ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเดิมได้พังลงน้ำไปแล้ว และที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต่อมามีการถมดินสร้างเขื่อนบริเวณดังกล่าว โดยผู้ฟ้องคดี ขออนุญาตก่อสร้างต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ ๒ หรือสำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ ๒ (อยุธยา) ในการก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำและได้รับอนุญาตแล้วเท่ากับยอมรับว่า เป็นที่สาธารณะมิใช่ที่งอกริมตลิ่งที่จะนำมาขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นชอบด้วยตามมติคณะกรรมการตรวจสอบ สภาพที่ดินที่ขอออกโฉนด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงแจ้งคำสั่งยกเลิกคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณาสั่งการไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏโดยถูกต้องแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้ประเด็นหลักเป็นเรื่องโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งมิใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิพาทในเรื่องกรรมสิทธิ์อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้ผู้ฟ้องคดี ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีใช้สิทธิตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน (ที่งอก) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมมีหน้าที่รังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินให้เป็นไปตามมาตรา ๖๕ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบกับข้อ ๑๔ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ใช้ดุลพินิจมีคำสั่งปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามคำขอ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ละเลยต่อหน้าที่ไม่ออกโฉนดที่ดินที่งอกให้แก่ผู้ฟ้องคดี ดังนั้น การมาฟ้องคดีต่อศาลว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ แล้วสั่งไม่ออกโฉนดที่ดินให้และการไม่ออกโฉนดที่ดินให้ เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จึงขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่มีประเด็นหลักอยู่ที่การวินิจฉัยว่าการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งทางปกครองปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินให้ชอบด้วยกฎหมายและละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองโดยแท้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจวินิจฉัยในข้อหาดังกล่าวได้ ส่วนการที่ศาลจะวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และวินิจฉัยว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดได้หรือไม่ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และการออกโฉนดที่ดินนั้นต้องพิจารณาลงตำแหน่งรูปแปลงที่ดินในระวางแผนที่ตามระเบียบของกรมที่ดินซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นพิจารณาว่าที่ดินเป็นที่ประเภทใด อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ อีกทั้งจะต้องพิจารณาว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ และการตรวจสอบตามขั้นตอนของการออกโฉนดที่ดินที่งอกของคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินเห็นว่า ที่ดินไม่ใช่ที่งอกที่จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดที่ดินได้นั้น ก็เป็นการวินิจฉัยประเด็นของการใช้อำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่าวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องที่ออกถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง มิใช่ประเด็นพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเอกชนกับรัฐว่าที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร มีขอบเขตเพียงใด แต่เป็นเรื่องการใช้อำนาจวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากวินิจฉัยว่าเป็นที่งอกแล้วมีการออกโฉนดที่ดินให้ จึงจะทำให้ผู้ฟ้องคดีได้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นผลโดยอ้อมของการใช้อำนาจสั่งการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าเป็นประเด็นหลักแห่งคดี เพราะหากไม่พิจารณาโดยยึดหลักว่าประเด็นหลักในคดีคือประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง หรือเป็นเรื่องการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ธรรมดาแล้วจะทำให้คดีที่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินต้องฟ้อง ยังศาลยุติธรรมทุกคดี ซึ่งย่อมไม่ตรงตามเจตนารมณ์ในการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นมา เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองในการออกคำสั่งทางปกครอง หรือการละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และยิ่งไปกว่านั้นหากมีการพิจารณาคดีนี้ในศาลยุติธรรมเพื่อความมุ่งหมายในการวินิจฉัยประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ โดยหลักแล้วศาลยุติธรรมจะไม่พิพากษาเพิกถอนคำสั่งของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติและบังคับให้เจ้าหน้าที่ของรัฐออกโฉนดที่ดินที่งอกให้แก่ผู้ฟ้องคดีแต่ประการใด ซึ่งจะไม่เป็นการแก้ไขปัญหาของผู้ฟ้องคดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองพิพากษาในคดีดังกล่าว ดังนั้น จึงเห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของ ศาลปกครอง
ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทอยู่ในหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ แล้วสั่งไม่ออกโฉนดที่ดินให้ และการไม่ออกโฉนดที่ดินให้ และคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นการละเมิดต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่การพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องฟังให้ได้ความก่อนว่าที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีนำมาฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามข้ออ้างหรือไม่ อันเป็นเรื่องโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่งอกริมตลิ่งมิใช่ที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ (๒) ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ ไม่ได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษา คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๑๔๑๙ ตำบลโพแตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินบริเวณ ที่งอกริมตลิ่งจากโฉนดดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินให้ เพราะคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งได้ตรวจสอบสภาพที่ดินแล้วเห็นว่าไม่เป็นที่งอกริมตลิ่ง แต่เป็นที่สาธารณะเนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้ขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ ๒ (อยุธยา) และได้รับอนุญาตแล้วเท่ากับยอมรับว่าที่ดินดังกล่าว เป็นที่สาธารณะ ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี โดยยืนตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการขีดแนวเขตลำน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพิพาทลงในระวางออกโฉนดที่ดินตามระเบียบของกรมที่ดิน และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ตน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า คณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนดดังกล่าวเห็นว่าที่ดินที่ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเดิมได้พังลงน้ำแล้วที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อมีการถมดินสร้างเขื่อนบริเวณดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ ๒ หรือสำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ ๒ (อยุธยา) และได้รับอนุญาตแล้วเท่ากับยอมรับว่าเป็นที่สาธารณะมิใช่ที่งอกริมตลิ่งที่จะนำมาขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นชอบด้วยตามมติคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีคำสั่งยกเลิกคำขอ รังวัดออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณาสั่งการไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏโดยถูกต้องแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น แม้เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากคำสั่งปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีของฝ่ายปกครองก็ตาม แต่การที่จะมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการขีดแนวเขตลำน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพิพาทลงในระวางออกโฉนดที่ดินตามระเบียบของกรมที่ดิน และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถูกฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางสมทรง เล็กสกุล ผู้ฟ้องคดี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๓/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ นางสมทรง เล็กสกุล ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้อง เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๙๑/๒๕๔๗ ความว่า เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินบริเวณที่งอกริมตลิ่งจากโฉนดเลขที่ ๒๑๔๑๙ ตำบลโพแตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้ ตามหนังสือสำนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ อย ๐๐๑๙.๓/๒๒๒๕๐ ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ โดยเห็นว่า คณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งตามคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๒๙๓๒/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ ได้ตรวจสอบสภาพที่ดินแล้วเห็นว่า ไม่เป็นที่งอกริมตลิ่งที่จะนำมาขอรังวัดออกโฉนดได้ เนื่องจากเห็นว่าผู้ฟ้องคดีได้มีการขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ ๒ (อยุธยา) และได้รับอนุญาตแล้วเท่ากับยอมรับว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณะ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๒ เห็นชอบตามมติคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนด ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยเพราะที่ดินดังกล่าวผู้ฟ้องคดีได้ครอบครองทำประโยชน์มากว่า ๔๘ ปี แต่มิได้ออกโฉนดที่ดินเนื่องจากเจ้าของที่ดินเดิมตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๗๘/๒๔๙๘ ตำบลโพแตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แจ้งการครอบครองที่ดินน้อยกว่าที่ครอบครองอยู่จริง ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้ลงนามรับใบอนุญาตให้ก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำตามที่ได้รับอนุญาต ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ อ้างว่าที่ดินพิพาทไม่เป็นที่สาธารณะ ผู้ฟ้องคดีทำการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพังบริเวณแม่น้ำในแนวเดียวกันกับแนวตลิ่งของเพื่อนบ้านข้างเคียง ที่ดินของเพื่อนบ้านข้างเคียงดังกล่าวได้รับการออกโฉนดจนครบตามจำนวนที่ดินที่จดแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ตามหนังสือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ อย ๐๐๑๙/๑๙๙๓๑ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ โดยยืนตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการขีดแนวเขตลำน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณพิพาทลงในระวางออกโฉนดที่ดินตามระเบียบของกรมที่ดิน และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การทำนองเดียวกันว่า ตามที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าที่ดินพิพาทที่ขอรังวัดออกโฉนดเป็นที่งอกริมตลิ่งและครอบครองทำประโยชน์มากว่า ๔๘ ปีนั้น ไม่เป็นความจริง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้แจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบที่ดินขอออกโฉนดดังกล่าวแล้ว ได้ความว่าที่ดินที่ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเดิมได้พังลงน้ำไปแล้ว และที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต่อมามีการถมดินสร้างเขื่อนบริเวณดังกล่าว โดยผู้ฟ้องคดี ขออนุญาตก่อสร้างต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ ๒ หรือสำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ ๒ (อยุธยา) ในการก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำและได้รับอนุญาตแล้วเท่ากับยอมรับว่า เป็นที่สาธารณะมิใช่ที่งอกริมตลิ่งที่จะนำมาขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นชอบด้วยตามมติคณะกรรมการตรวจสอบ สภาพที่ดินที่ขอออกโฉนด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงแจ้งคำสั่งยกเลิกคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณาสั่งการไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏโดยถูกต้องแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้ประเด็นหลักเป็นเรื่องโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งมิใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิพาทในเรื่องกรรมสิทธิ์อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้ผู้ฟ้องคดี ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีใช้สิทธิตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน (ที่งอก) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมมีหน้าที่รังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินให้เป็นไปตามมาตรา ๖๕ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบกับข้อ ๑๔ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ใช้ดุลพินิจมีคำสั่งปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามคำขอ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ละเลยต่อหน้าที่ไม่ออกโฉนดที่ดินที่งอกให้แก่ผู้ฟ้องคดี ดังนั้น การมาฟ้องคดีต่อศาลว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ แล้วสั่งไม่ออกโฉนดที่ดินให้และการไม่ออกโฉนดที่ดินให้ เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จึงขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทที่มีประเด็นหลักอยู่ที่การวินิจฉัยว่าการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งทางปกครองปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินให้ชอบด้วยกฎหมายและละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองโดยแท้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจวินิจฉัยในข้อหาดังกล่าวได้ ส่วนการที่ศาลจะวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และวินิจฉัยว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดได้หรือไม่ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และการออกโฉนดที่ดินนั้นต้องพิจารณาลงตำแหน่งรูปแปลงที่ดินในระวางแผนที่ตามระเบียบของกรมที่ดินซึ่งขึ้นอยู่กับประเด็นพิจารณาว่าที่ดินเป็นที่ประเภทใด อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำมาขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ อีกทั้งจะต้องพิจารณาว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ และการตรวจสอบตามขั้นตอนของการออกโฉนดที่ดินที่งอกของคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินเห็นว่า ที่ดินไม่ใช่ที่งอกที่จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดที่ดินได้นั้น ก็เป็นการวินิจฉัยประเด็นของการใช้อำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่าวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องที่ออกถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง มิใช่ประเด็นพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเอกชนกับรัฐว่าที่ดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร มีขอบเขตเพียงใด แต่เป็นเรื่องการใช้อำนาจวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากวินิจฉัยว่าเป็นที่งอกแล้วมีการออกโฉนดที่ดินให้ จึงจะทำให้ผู้ฟ้องคดีได้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นผลโดยอ้อมของการใช้อำนาจสั่งการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าเป็นประเด็นหลักแห่งคดี เพราะหากไม่พิจารณาโดยยึดหลักว่าประเด็นหลักในคดีคือประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง หรือเป็นเรื่องการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ธรรมดาแล้วจะทำให้คดีที่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินต้องฟ้อง ยังศาลยุติธรรมทุกคดี ซึ่งย่อมไม่ตรงตามเจตนารมณ์ในการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นมา เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองในการออกคำสั่งทางปกครอง หรือการละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และยิ่งไปกว่านั้นหากมีการพิจารณาคดีนี้ในศาลยุติธรรมเพื่อความมุ่งหมายในการวินิจฉัยประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ โดยหลักแล้วศาลยุติธรรมจะไม่พิพากษาเพิกถอนคำสั่งของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติและบังคับให้เจ้าหน้าที่ของรัฐออกโฉนดที่ดินที่งอกให้แก่ผู้ฟ้องคดีแต่ประการใด ซึ่งจะไม่เป็นการแก้ไขปัญหาของผู้ฟ้องคดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองพิพากษาในคดีดังกล่าว ดังนั้น จึงเห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของ ศาลปกครอง
ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทอยู่ในหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ แล้วสั่งไม่ออกโฉนดที่ดินให้ และการไม่ออกโฉนดที่ดินให้ และคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นการละเมิดต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่การพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องฟังให้ได้ความก่อนว่าที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีนำมาฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามข้ออ้างหรือไม่ อันเป็นเรื่องโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่งอกริมตลิ่งมิใช่ที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ (๒) ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ ไม่ได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษา คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๑๔๑๙ ตำบลโพแตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินบริเวณ ที่งอกริมตลิ่งจากโฉนดดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินให้ เพราะคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งได้ตรวจสอบสภาพที่ดินแล้วเห็นว่าไม่เป็นที่งอกริมตลิ่ง แต่เป็นที่สาธารณะเนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้ขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ ๒ (อยุธยา) และได้รับอนุญาตแล้วเท่ากับยอมรับว่าที่ดินดังกล่าว เป็นที่สาธารณะ ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี โดยยืนตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการขีดแนวเขตลำน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพิพาทลงในระวางออกโฉนดที่ดินตามระเบียบของกรมที่ดิน และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ตน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า คณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนดดังกล่าวเห็นว่าที่ดินที่ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเดิมได้พังลงน้ำแล้วที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อมีการถมดินสร้างเขื่อนบริเวณดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ ๒ หรือสำนักงานการขนส่งทางน้ำที่ ๒ (อยุธยา) และได้รับอนุญาตแล้วเท่ากับยอมรับว่าเป็นที่สาธารณะมิใช่ที่งอกริมตลิ่งที่จะนำมาขอรังวัดออกโฉนดที่ดินได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นชอบด้วยตามมติคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่ดินที่ขอออกโฉนด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีคำสั่งยกเลิกคำขอ รังวัดออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณาสั่งการไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏโดยถูกต้องแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น แม้เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากคำสั่งปฏิเสธไม่ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีของฝ่ายปกครองก็ตาม แต่การที่จะมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ดำเนินการขีดแนวเขตลำน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพิพาทลงในระวางออกโฉนดที่ดินตามระเบียบของกรมที่ดิน และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถูกฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางสมทรง เล็กสกุล ผู้ฟ้องคดี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|