ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๒/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์ได้ยื่นฟ้องบริษัท ยูเนี่ยน ๘๔ จำกัด ที่ ๑ นางสุนันท์ พันธ์ตาวงศ์ ที่ ๒ นางสาวพัชรินทร์ เศรษฐเวคิน ที่ ๓ นายณัฐพล บุญบุษกร ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายอุดม บุญบุษกร ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๘๙๓๖/๒๕๔๖ ข้อหาผิดสัญญาค้ำประกัน บังคับจำนอง ความว่า จำเลยที่ ๑ ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ ๑ ต่อกรมตำรวจซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๒ ฉบับ ฉบับที่ ๑ ออกเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙ เป็นหนังสือค้ำประกันเลขที่ พข/๓๙/๒๙๙ วงเงิน ๑,๓๗๔,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นประกันการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี ฉบับที่ ๒ ออกเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๙ เป็นหนังสือค้ำประกันเลขที่ พข/๓๙/๓๑๔ วงเงิน ๒,๗๔๙,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นการประกันการขอรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า โดยจำเลยที่ ๑ สัญญาว่าเมื่อมีกรณีที่โจทก์ต้องชำระหนี้ให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแทนจำเลยที่ ๑ ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ ๑ ตกลงที่จะชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ได้ชำระให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจนถึงวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ ๑ โดยมีจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และนายอุดม บุญบุษกร ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ ไว้ต่อโจทก์ ต่อมานายอุดม บุญบุษกร ถึงแก่กรรมมีนายณัฐพล บุญบุษกร จำเลยที่ ๔ เป็นบุตรจึงเป็นทายาทโดยธรรม และจำเลยที่ ๓ ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๓๔๓๙๑ ตำบลสะพานสูง อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ไว้ต่อโจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑ ในวงเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๙ ต่อมาจำเลยที่ ๑ ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นเงินจำนวน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติตามจำนวนที่ทวงถามแล้วเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ โจทก์ได้ทวงถามจำเลยทั้งสี่แล้วแต่ไม่ยอมชำระ จึงบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสี่ โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ จนถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ย ๒,๗๐๐,๒๗๑.๑๕ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๖,๘๒๓,๗๗๑.๑๕ บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๔ ต่อปี จากต้นเงิน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท นับจากวันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ และกองมรดกของนายอุดม บุญบุษกร ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จนครบ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า ไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง เพราะจำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ผู้ว่าจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเกินกำหนดเวลาตามสัญญาและพื้นที่ก่อสร้าง มีสิ่งก่อสร้างกีดขวาง อาคารตามแบบก่อสร้างมีขนาดล่วงล้ำเข้าไปในพื้นที่อื่นทำให้จำเลยที่ ๑ ไม่อาจก่อสร้างได้เสร็จตามสัญญาและได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างแก้ไขและขยายระยะเวลาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างไม่ดำเนินการ จำเลยที่ ๑ จึงได้บอกเลิกสัญญาต่อผู้ว่าจ้างและได้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อระงับการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันถึง ๒ ครั้งแล้ว โจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ รับผิดชอบชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะก่อนที่โจทก์ชำระเงินดังกล่าวโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทราบว่า ผู้ว่าจ้างได้ทวงถามให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันจึงขอให้จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ต่อโจทก์ก่อน จำเลยที่ ๑ จึงแจ้งให้โจทก์ระงับการชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ไม่ว่ากรณีใดไว้ก่อน เนื่องจากผู้ว่าจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญา หากโจทก์ฝ่าผืนจ่ายเงินไป จำเลยที่ ๑ จะไม่รับผิดชอบ แต่โจทก์ยังฝืนชำระโดยรู้ว่าตนไม่ผูกพันที่จะชำระ โจทก์กระทำโดยไม่สุจริต จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัด เพราะโจทก์เป็นผู้กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ทั้งเป็นอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากปัจจุบัน ซึ่งสูงเพียง ๑ % เศษเท่านั้น โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ รับผิดชอบเกินกว่าจำนวน ๕ ล้านบาท เนื่องจากสัญญาค้ำประกันที่ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ทำไว้กับโจทก์กำหนดจำนวนเงินรับผิดชอบเพียง ๕ ล้านบาท จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๓ ให้การทำนองเดียวกันและฟ้องแย้งว่า คดีนี้จำเลยที่ ๓ ได้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๓๔๓๙๑ ตำบลสะพานสูง อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหนี้วงเงินหนังสือค้ำประกันเมื่อจำเลยที่ ๑ ได้บอกเลิกสัญญาเนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นฝ่ายผิดสัญญา และได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์แต่อย่างใด ที่ดินที่จดทะเบียนจำนองไว้ต่อโจทก์จึงไม่มีผลบังคับต่อไป ขอให้โจทก์จดทะเบียนปลดจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าว หากโจทก์ไม่ยอมให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลแพ่ง กรุงเทพใต้รับฟ้องแย้ง จำเลยที่ ๔ ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ได้ยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ามาเป็นคู่ความ ในคดี โดยอ้างว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้กับกองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว โจทก์จึงได้ใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยทั้งสี่ในคดีนี้ การที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ยื่นคำให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยจำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองไม่ต้องรับผิดและฟ้องแย้งให้โจทก์จดทะเบียนปลดจำนองที่ดินดังกล่าวนั้น หากศาลพิจารณาพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ต้องยื่นฟ้องดำเนินคดีกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเรียกร้องเงินที่โจทก์ได้ชำระไปคืน สำนักงานตำรวจแห่งชาติยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ ขอให้ยกคำร้อง และโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลว่าสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี และหนังสือค้ำประกันสัญญาจ้าง และหนังสือค้ำประกันการจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า เป็นสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนและเป็นสัญญาเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะและสิ่งสาธารณูปโภค อันเป็นสัญญาทางปกครอง ตามนัยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งรับคำร้องของจำเลยร่วมและสำเนาให้โจทก์และจำเลยทั้งสี่แล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสี่ไม่คัดค้าน
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิจารณาแล้วเห็นว่า มูลคดีพิพาทคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจำเลยที่ ๑ ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ ๑ ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติสองฉบับ ครั้งที่ ๑ ในวงเงิน ๑,๓๗๔,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นประกันการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๒,๗๔๙,๐๐๐ บาท เพื่อประกันการขอรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า ซึ่งต่อมามิได้มีการก่อสร้างตามสัญญา กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นเงินจำนวน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินให้กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ และขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินดังกล่าว จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้การว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เนื่องจากจำเลยที่ ๑ เพิ่งได้รับมอบพื้นที่ก่อสร้างและไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เนื่องจากแบบก่อสร้างมีขนาดล่วงล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลบางยี่เรือ จำเลยที่ ๓ ฟ้องแย้งโจทก์ขอให้ปลดจำนองและคืนโฉนดที่ดิน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้าเป็นจำเลยร่วมเนื่องจากเห็นว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้การว่าจำเลยที่ ๑ ไม่ผิดสัญญา ซึ่งหากศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จะต้องยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเรียกเงินที่ได้ชำระไปแทนจำเลยที่ ๑ คืน การวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใด จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ ๑ ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยร่วมอันเป็นสัญญาหลักหรือไม่เสียก่อน จึงจะมีผลไปถึงสัญญาค้ำประกันต่อไป ซึ่งกรณีพิพาทเกี่ยวกับการฟ้องให้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันอันเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีจึงควรดำเนินกระบวนพิจารณายังศาลที่มีเขตอำนาจเดียวกันกับศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสัญญาหลัก เนื่องจากสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีระหว่างจำเลยที่ ๑ และจำเลยร่วม ซึ่งเป็นสัญญาหลักเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งคือจำเลยร่วมเป็นหน่วยงานทางปกครองและอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงจัดเป็นองค์ประกอบและเครื่องมือสำคัญในการระงับเหตุเพลิงไหม้ อันเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของรัฐ สัญญาจ้างเหมาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง กระบวนพิจารณาคดีนี้แม้เป็นการฟ้องให้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันก็ตาม แต่เมื่อสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองจึงควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๘/๒๕๔๖
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีระหว่างจำเลยร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองกับจำเลยที่ ๑ จะเป็นสัญญาทางปกครอง เนื่องจากเป็นสัญญาจัดทำบริการสาธารณะ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้ชำระเงินจำนวน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท ให้แก่จำเลยร่วมตามหนังสือค้ำประกัน เลขที่ พข/๓๙/๒๙๙ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙ และเลขที่ พข/๓๙/๓๑๔ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๙ ย่อมถือเป็นการปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแล้ว ข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาทางปกครองย่อมระงับไปโดยการชำระหนี้ของโจทก์ ส่วนข้อพิพาทในคดีนี้เกิดจากโจทก์ได้ช่วงสิทธิจากจำเลยร่วมมาเรียกให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในฐานะลูกหนี้ ส่วนหนึ่งกับใช้สิทธิตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ โดยมีจำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้ค้ำประกันและจำนอง และจำเลยที่ ๔ ในฐานะผู้ค้ำประกัน ในอันที่จะต้องร่วมกันรับผิดจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ ๑ ให้แก่จำเลยร่วมตามสัญญาอีกส่วนหนึ่งซึ่งสัญญาดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาทางปกครองแต่อย่างใด มูลคดีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนทั้งสิ้น แม้โจทก์จะขอให้เรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองเข้ามาในคดีด้วยก็ตาม แต่ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมก็เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับลาภมิควรได้ ตามนัยมาตรา ๔๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองแต่อย่างใดไม่ ข้อเท็จจริงในคดีนี้แตกต่างจากข้อเท็จจริงในคดีตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๘/๒๕๔๖ ในหลายประการ จึงไม่อาจนำคำวินิจฉัยดังกล่าวมาเป็นแนวทางการพิจารณาทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลในคดีนี้ได้ อาศัยเหตุดังวินิจฉัยข้างต้นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน และคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมในเรื่องลาภมิควรได้จึงได้แก่ศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยที่ ๑ เป็นผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี โดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยร่วมเป็นผู้ว่าจ้าง กับมีโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างและการขอรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าของจำเลยที่ ๑ ในการนี้มีจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ ๑ ต่อโจทก์ว่า หากโจทก์ต้องชำระเงินให้แก่จำเลยร่วม จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ยินยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ นอกจากนี้ จำเลยที่ ๓ ยังจดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าว ต่อโจทก์อีกด้วย ต่อมา จำเลยที่ ๑ ผิดสัญญา โจทก์ได้ชำระเงิน จำนวน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท ให้แก่จำเลยร่วม และใช้สิทธิไล่เบี้ย แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เหตุที่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เพราะผู้ว่าจ้างส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเกินกำหนดเวลาตามสัญญาและพื้นที่ก่อสร้างมีสิ่งกีดขวาง อาคารตามแบบก่อสร้างมีขนาดล่วงล้ำเข้าไปในพื้นที่อื่นซึ่งได้แจ้งให้จำเลยร่วมแก้ไข ทั้งขอขยายเวลาก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยร่วมไม่ยอมดำเนินการ จำเลยที่ ๑ จึงได้บอกเลิกสัญญาและแจ้งให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันถึงสองครั้ง การที่โจทก์ฝืนชำระเงินไป โดยรู้ว่าตนไม่ผูกพันที่จะต้องชำระ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ ๓ ให้การทำนองเดียวกัน และฟ้องแย้งขอให้โจทก์จดทะเบียนปลดจำนอง ในระหว่างพิจารณาศาลมีคำสั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำขอของโจทก์ กรณีจึงเป็นข้อพิพาทสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี ซึ่งตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๒๐ (๖) ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดให้โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นกรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยร่วม จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย คดีมีปัญหาว่าสัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารฯ ดังกล่าวอันเป็นสัญญาหลักนี้เป็นสัญญาทางปกครองหรือสัญญาทางแพ่ง โดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญา ทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" ดังนั้น การที่จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี จึงถือเป็นกิจการที่หน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนดำเนินการเพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะบรรลุผล สัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ (จำเลยร่วม) ไปแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ ๑ และใช้สิทธิตามสัญญาค้ำประกันอีกฉบับหนึ่งที่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ทำไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ ๑ ต่อโจทก์ อันเป็นการฟ้องตามสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์และโดยลำพังแล้วย่อมเป็นสัญญาทางแพ่ง แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใดนั้น จำต้องวินิจฉัยถึงข้อเท็จจริงในการปฏิบัติตามสัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีอันเป็นสัญญาทางปกครองและเป็นสัญญาหลักเสียก่อน ดังนั้น เมื่อสัญญาหลักเป็นสัญญาทางปกครองทั้งโจทก์ได้ขอให้ศาลเรียกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ด้วยแล้ว ข้อพิพาทคดีนี้ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์ บริษัท ยูเนี่ยน ๘๔ จำกัด ที่ ๑ นางสุนันท์ พันธ์ตาวงศ์ ที่ ๒ นางสาวพัชรินทร์ เศรษฐเวคิน ที่ ๓ นายณัฐพล บุญบุษกร ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายอุดม บุญบุษกร ที่ ๔ จำเลย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยร่วม อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๒/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์ได้ยื่นฟ้องบริษัท ยูเนี่ยน ๘๔ จำกัด ที่ ๑ นางสุนันท์ พันธ์ตาวงศ์ ที่ ๒ นางสาวพัชรินทร์ เศรษฐเวคิน ที่ ๓ นายณัฐพล บุญบุษกร ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายอุดม บุญบุษกร ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๘๙๓๖/๒๕๔๖ ข้อหาผิดสัญญาค้ำประกัน บังคับจำนอง ความว่า จำเลยที่ ๑ ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ ๑ ต่อกรมตำรวจซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๒ ฉบับ ฉบับที่ ๑ ออกเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙ เป็นหนังสือค้ำประกันเลขที่ พข/๓๙/๒๙๙ วงเงิน ๑,๓๗๔,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นประกันการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี ฉบับที่ ๒ ออกเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๙ เป็นหนังสือค้ำประกันเลขที่ พข/๓๙/๓๑๔ วงเงิน ๒,๗๔๙,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นการประกันการขอรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า โดยจำเลยที่ ๑ สัญญาว่าเมื่อมีกรณีที่โจทก์ต้องชำระหนี้ให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแทนจำเลยที่ ๑ ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ ๑ ตกลงที่จะชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ได้ชำระให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดตามประกาศของโจทก์นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจนถึงวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ ๑ โดยมีจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ และนายอุดม บุญบุษกร ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ ไว้ต่อโจทก์ ต่อมานายอุดม บุญบุษกร ถึงแก่กรรมมีนายณัฐพล บุญบุษกร จำเลยที่ ๔ เป็นบุตรจึงเป็นทายาทโดยธรรม และจำเลยที่ ๓ ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๓๔๓๙๑ ตำบลสะพานสูง อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ไว้ต่อโจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑ ในวงเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๙ ต่อมาจำเลยที่ ๑ ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นเงินจำนวน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติตามจำนวนที่ทวงถามแล้วเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ โจทก์ได้ทวงถามจำเลยทั้งสี่แล้วแต่ไม่ยอมชำระ จึงบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสี่ โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ จนถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ย ๒,๗๐๐,๒๗๑.๑๕ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๖,๘๒๓,๗๗๑.๑๕ บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ชำระเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๔ ต่อปี จากต้นเงิน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท นับจากวันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ และกองมรดกของนายอุดม บุญบุษกร ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จนครบ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า ไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง เพราะจำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ผู้ว่าจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเกินกำหนดเวลาตามสัญญาและพื้นที่ก่อสร้าง มีสิ่งก่อสร้างกีดขวาง อาคารตามแบบก่อสร้างมีขนาดล่วงล้ำเข้าไปในพื้นที่อื่นทำให้จำเลยที่ ๑ ไม่อาจก่อสร้างได้เสร็จตามสัญญาและได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างแก้ไขและขยายระยะเวลาก่อสร้างแต่ผู้ว่าจ้างไม่ดำเนินการ จำเลยที่ ๑ จึงได้บอกเลิกสัญญาต่อผู้ว่าจ้างและได้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อระงับการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันถึง ๒ ครั้งแล้ว โจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ รับผิดชอบชดใช้เงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะก่อนที่โจทก์ชำระเงินดังกล่าวโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทราบว่า ผู้ว่าจ้างได้ทวงถามให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันจึงขอให้จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ต่อโจทก์ก่อน จำเลยที่ ๑ จึงแจ้งให้โจทก์ระงับการชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ไม่ว่ากรณีใดไว้ก่อน เนื่องจากผู้ว่าจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญา หากโจทก์ฝ่าผืนจ่ายเงินไป จำเลยที่ ๑ จะไม่รับผิดชอบ แต่โจทก์ยังฝืนชำระโดยรู้ว่าตนไม่ผูกพันที่จะชำระ โจทก์กระทำโดยไม่สุจริต จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัด เพราะโจทก์เป็นผู้กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ทั้งเป็นอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากปัจจุบัน ซึ่งสูงเพียง ๑ % เศษเท่านั้น โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องให้จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ รับผิดชอบเกินกว่าจำนวน ๕ ล้านบาท เนื่องจากสัญญาค้ำประกันที่ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ทำไว้กับโจทก์กำหนดจำนวนเงินรับผิดชอบเพียง ๕ ล้านบาท จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิด ขอให้ยกฟ้องจำเลยที่ ๓ ให้การทำนองเดียวกันและฟ้องแย้งว่า คดีนี้จำเลยที่ ๓ ได้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๓๔๓๙๑ ตำบลสะพานสูง อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เพื่อค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหนี้วงเงินหนังสือค้ำประกันเมื่อจำเลยที่ ๑ ได้บอกเลิกสัญญาเนื่องจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นฝ่ายผิดสัญญา และได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์แต่อย่างใด ที่ดินที่จดทะเบียนจำนองไว้ต่อโจทก์จึงไม่มีผลบังคับต่อไป ขอให้โจทก์จดทะเบียนปลดจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าว หากโจทก์ไม่ยอมให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลแพ่ง กรุงเทพใต้รับฟ้องแย้ง จำเลยที่ ๔ ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ได้ยื่นคำร้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ามาเป็นคู่ความ ในคดี โดยอ้างว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้กับกองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าว โจทก์จึงได้ใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอากับจำเลยทั้งสี่ในคดีนี้ การที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ยื่นคำให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยจำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองไม่ต้องรับผิดและฟ้องแย้งให้โจทก์จดทะเบียนปลดจำนองที่ดินดังกล่าวนั้น หากศาลพิจารณาพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ต้องยื่นฟ้องดำเนินคดีกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเรียกร้องเงินที่โจทก์ได้ชำระไปคืน สำนักงานตำรวจแห่งชาติยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ ขอให้ยกคำร้อง และโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลว่าสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี และหนังสือค้ำประกันสัญญาจ้าง และหนังสือค้ำประกันการจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า เป็นสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนและเป็นสัญญาเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะและสิ่งสาธารณูปโภค อันเป็นสัญญาทางปกครอง ตามนัยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งรับคำร้องของจำเลยร่วมและสำเนาให้โจทก์และจำเลยทั้งสี่แล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสี่ไม่คัดค้าน
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิจารณาแล้วเห็นว่า มูลคดีพิพาทคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจำเลยที่ ๑ ขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ ๑ ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติสองฉบับ ครั้งที่ ๑ ในวงเงิน ๑,๓๗๔,๕๐๐ บาท เพื่อเป็นประกันการจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี ครั้งที่ ๒ วงเงิน ๒,๗๔๙,๐๐๐ บาท เพื่อประกันการขอรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า ซึ่งต่อมามิได้มีการก่อสร้างตามสัญญา กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวเป็นเงินจำนวน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินให้กองโยธาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ และขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินดังกล่าว จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้การว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เนื่องจากจำเลยที่ ๑ เพิ่งได้รับมอบพื้นที่ก่อสร้างและไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เนื่องจากแบบก่อสร้างมีขนาดล่วงล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลบางยี่เรือ จำเลยที่ ๓ ฟ้องแย้งโจทก์ขอให้ปลดจำนองและคืนโฉนดที่ดิน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้าเป็นจำเลยร่วมเนื่องจากเห็นว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้การว่าจำเลยที่ ๑ ไม่ผิดสัญญา ซึ่งหากศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ ๑ มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จะต้องยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อเรียกเงินที่ได้ชำระไปแทนจำเลยที่ ๑ คืน การวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใด จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ ๑ ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยร่วมอันเป็นสัญญาหลักหรือไม่เสียก่อน จึงจะมีผลไปถึงสัญญาค้ำประกันต่อไป ซึ่งกรณีพิพาทเกี่ยวกับการฟ้องให้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันอันเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีจึงควรดำเนินกระบวนพิจารณายังศาลที่มีเขตอำนาจเดียวกันกับศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสัญญาหลัก เนื่องจากสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีระหว่างจำเลยที่ ๑ และจำเลยร่วม ซึ่งเป็นสัญญาหลักเป็นสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งคือจำเลยร่วมเป็นหน่วยงานทางปกครองและอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงจัดเป็นองค์ประกอบและเครื่องมือสำคัญในการระงับเหตุเพลิงไหม้ อันเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของรัฐ สัญญาจ้างเหมาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง กระบวนพิจารณาคดีนี้แม้เป็นการฟ้องให้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันก็ตาม แต่เมื่อสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองจึงควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๘/๒๕๔๖
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีระหว่างจำเลยร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองกับจำเลยที่ ๑ จะเป็นสัญญาทางปกครอง เนื่องจากเป็นสัญญาจัดทำบริการสาธารณะ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้ชำระเงินจำนวน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท ให้แก่จำเลยร่วมตามหนังสือค้ำประกัน เลขที่ พข/๓๙/๒๙๙ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙ และเลขที่ พข/๓๙/๓๑๔ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๙ ย่อมถือเป็นการปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแล้ว ข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาทางปกครองย่อมระงับไปโดยการชำระหนี้ของโจทก์ ส่วนข้อพิพาทในคดีนี้เกิดจากโจทก์ได้ช่วงสิทธิจากจำเลยร่วมมาเรียกให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในฐานะลูกหนี้ ส่วนหนึ่งกับใช้สิทธิตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ โดยมีจำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้ค้ำประกันและจำนอง และจำเลยที่ ๔ ในฐานะผู้ค้ำประกัน ในอันที่จะต้องร่วมกันรับผิดจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ ๑ ให้แก่จำเลยร่วมตามสัญญาอีกส่วนหนึ่งซึ่งสัญญาดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสัญญาทางปกครองแต่อย่างใด มูลคดีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนทั้งสิ้น แม้โจทก์จะขอให้เรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองเข้ามาในคดีด้วยก็ตาม แต่ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมก็เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับลาภมิควรได้ ตามนัยมาตรา ๔๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองแต่อย่างใดไม่ ข้อเท็จจริงในคดีนี้แตกต่างจากข้อเท็จจริงในคดีตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๘/๒๕๔๖ ในหลายประการ จึงไม่อาจนำคำวินิจฉัยดังกล่าวมาเป็นแนวทางการพิจารณาทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลในคดีนี้ได้ อาศัยเหตุดังวินิจฉัยข้างต้นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน และคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมในเรื่องลาภมิควรได้จึงได้แก่ศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยที่ ๑ เป็นผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี โดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยร่วมเป็นผู้ว่าจ้าง กับมีโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างและการขอรับเงินค่าจ้างล่วงหน้าของจำเลยที่ ๑ ในการนี้มีจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ ๑ ต่อโจทก์ว่า หากโจทก์ต้องชำระเงินให้แก่จำเลยร่วม จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ยินยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑ นอกจากนี้ จำเลยที่ ๓ ยังจดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าว ต่อโจทก์อีกด้วย ต่อมา จำเลยที่ ๑ ผิดสัญญา โจทก์ได้ชำระเงิน จำนวน ๔,๑๒๓,๕๐๐ บาท ให้แก่จำเลยร่วม และใช้สิทธิไล่เบี้ย แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เหตุที่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เพราะผู้ว่าจ้างส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเกินกำหนดเวลาตามสัญญาและพื้นที่ก่อสร้างมีสิ่งกีดขวาง อาคารตามแบบก่อสร้างมีขนาดล่วงล้ำเข้าไปในพื้นที่อื่นซึ่งได้แจ้งให้จำเลยร่วมแก้ไข ทั้งขอขยายเวลาก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยร่วมไม่ยอมดำเนินการ จำเลยที่ ๑ จึงได้บอกเลิกสัญญาและแจ้งให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำประกันถึงสองครั้ง การที่โจทก์ฝืนชำระเงินไป โดยรู้ว่าตนไม่ผูกพันที่จะต้องชำระ จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ ๓ ให้การทำนองเดียวกัน และฟ้องแย้งขอให้โจทก์จดทะเบียนปลดจำนอง ในระหว่างพิจารณาศาลมีคำสั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำขอของโจทก์ กรณีจึงเป็นข้อพิพาทสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี ซึ่งตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๒๐ (๖) ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดให้โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นกรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยร่วม จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย คดีมีปัญหาว่าสัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารฯ ดังกล่าวอันเป็นสัญญาหลักนี้เป็นสัญญาทางปกครองหรือสัญญาทางแพ่ง โดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญา ทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" ดังนั้น การที่จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรี จึงถือเป็นกิจการที่หน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนดำเนินการเพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะบรรลุผล สัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ (จำเลยร่วม) ไปแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับจำเลยที่ ๑ และใช้สิทธิตามสัญญาค้ำประกันอีกฉบับหนึ่งที่จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ทำไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ ๑ ต่อโจทก์ อันเป็นการฟ้องตามสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์และโดยลำพังแล้วย่อมเป็นสัญญาทางแพ่ง แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใดนั้น จำต้องวินิจฉัยถึงข้อเท็จจริงในการปฏิบัติตามสัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้างอาคารที่ทำการและบ้านพักสถานีตำรวจดับเพลิงธนบุรีอันเป็นสัญญาทางปกครองและเป็นสัญญาหลักเสียก่อน ดังนั้น เมื่อสัญญาหลักเป็นสัญญาทางปกครองทั้งโจทก์ได้ขอให้ศาลเรียกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ด้วยแล้ว ข้อพิพาทคดีนี้ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โจทก์ บริษัท ยูเนี่ยน ๘๔ จำกัด ที่ ๑ นางสุนันท์ พันธ์ตาวงศ์ ที่ ๒ นางสาวพัชรินทร์ เศรษฐเวคิน ที่ ๓ นายณัฐพล บุญบุษกร ในฐานะทายาทโดยธรรมของนายอุดม บุญบุษกร ที่ ๔ จำเลย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยร่วม อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๑/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ศาลจังหวัดพะเยา
ระหว่าง
ศาลปกครองเชียงใหม่
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดพะเยาส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โจทก์ ยื่นฟ้องนายแพทย์สมนึก ชีวาเกียรติยิ่งยง ที่ ๑ นายนพดล หงษ์หิน ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดพะเยาเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๐๗/๒๕๔๓ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ซึ่งขณะเกิดเหตุรับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ ๗ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และจำเลยที่ ๒ ซึ่งขณะเกิดเหตุรับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการระดับ ๕ ประจำโรงพยาบาลแม่ใจ ได้ร่วมกันจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวให้เข้าช่วยเจ้าพนักงานปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแม่ใจ จำนวน ๒๕ ราย โดยจ่ายเงินค่าจ้างจากเงินบำรุงอันเป็นเงินนอกงบประมาณของโจทก์ โดยจงใจฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ และจำเลยทั้งสองยังได้ร่วมกันนำเงินบำรุงอันเป็นเงินนอกงบประมาณของโจทก์ไปจ่ายเป็นค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา และเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง รวมทั้งได้ร่วมกันทำหลักฐานอันเป็นเท็จในการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างว่าเป็นการจ้างเหมาบริการ จ้างเหมาดูแลต้นไม้และทำความสะอาด การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน ๗๘๓,๗๖๐ บาท ซึ่งก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดและจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ให้โจทก์และส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณา แต่กระทรวงการคลังยังไม่แจ้งคำวินิจฉัยกลับมาภายใน ๖ เดือน ก่อนหมดอายุความ ๒ ปี ซึ่งโจทก์ได้เคยทวงถามให้จำเลยทั้งสองชดใช้แล้วแต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย จึงฟ้องต่อศาลจังหวัดพะเยาเป็นคดีนี้
จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่โดยการอำนวยการ แนะนำ สั่งการ ควบคุม กำกับ และบริหารงานทุกด้านของโรงพยาบาลแม่ใจ สามารถทำหน้าที่ได้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และนโยบายของทางราชการ ไม่ได้เจตนาหรือจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ได้จัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงินบำรุงโดยผิดระเบียบ และไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงานเดิมและไม่ได้ทำให้โจทก์เสียหาย
ต่อมา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลจังหวัดพะเยาว่า การที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๑๐ ดังนั้น สิทธิการฟ้องคดีของโจทก์จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองไม่ใช่ศาลยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ และมาตรา ๒๗๖ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) จึงเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองเชียงใหม่
ศาลจังหวัดพะเยาเห็นว่า จำเลยทั้งสองรับราชการเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและคำสั่ง เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและนอกเหนืออำนาจหน้าที่จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการละเลยหน้าที่ตามคำสั่งและตามที่กฎหมายกำหนดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่า คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดว่าได้กระทำการโดยการจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวโดยผิดระเบียบ กฎหมาย คำสั่งและข้อบังคับของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และการที่โจทก์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาได้มีคำสั่งตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ พย ๐๐๓๓.๐๐๑/๑/๒๗๗๔ ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ แจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระค่าสินไหมทดแทนนั้น ก็เป็นการที่โจทก์ได้มีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินอันเกิดจากการกระทำละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) แต่โดยที่โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดพะเยาในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นวันหลังจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับแล้ว แต่ศาลปกครองเปิดทำการเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ดังนั้น ในขณะยื่นฟ้องคดีจึงยังไม่มีศาลปกครองที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนี้
เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ บัญญัติว่า "ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น" ศาลยุติธรรมจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลหนึ่งศาลใดโดยเฉพาะ และคดีซึ่งศาลที่มีเขตอำนาจศาลยังไม่ได้เปิดทำการ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีซึ่งกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองต่อศาลจังหวัดพะเยา แต่เมื่อศาลปกครองยังไม่ได้เปิดทำการจึงยังไม่มีศาลปกครองที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนี้ ศาลจังหวัดพะเยาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมซึ่งมีเขตอำนาจทั่วไป ในขณะนั้นย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
คดีนี้ ขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๒๘ จำเลยทั้งสองเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ โจทก์จึงเป็นหน่วยงานของรัฐและจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อเท็จจริงตามฟ้องปรากฏว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่อันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ในการจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงินบำรุงอันเป็นเงินนอกงบประมาณให้เข้าช่วยเจ้าพนักงานปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแม่ใจ และยังร่วมกันนำเงินบำรุงของโจทก์ไปจ่ายเป็นค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา และเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง รวมทั้งร่วมกันทำหลักฐานอันเป็นเท็จในการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างว่าเป็นการจ้างเหมาบริการจ้างเหมาดูแลต้นไม้และทำความสะอาด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และนโยบายของทางราชการ ไม่ได้เจตนาหรือจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ได้จัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงินบำรุงโดยผิดระเบียบ และไม่ได้ทำให้โจทก์เสียหาย คดีนี้จึงเป็นกรณีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชาเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติมีลักษณะเป็นคดีปกครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) อย่างไรก็ตาม โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ หลังจากที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับ แต่ศาลปกครองเปิดทำการวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ขณะนั้นยังไม่มีศาลปกครองที่มีเขตอำนาจเหนือคดีปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจในการรับคดีดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โจทก์ นายแพทย์สมนึก ชีวาเกียรติยิ่งยง ที่ ๑ นายนพดล หงษ์หิน ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ
ศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๒
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๑/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ศาลจังหวัดพะเยา
ระหว่าง
ศาลปกครองเชียงใหม่
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดพะเยาส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โจทก์ ยื่นฟ้องนายแพทย์สมนึก ชีวาเกียรติยิ่งยง ที่ ๑ นายนพดล หงษ์หิน ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดพะเยาเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๐๗/๒๕๔๓ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ซึ่งขณะเกิดเหตุรับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ ๗ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และจำเลยที่ ๒ ซึ่งขณะเกิดเหตุรับราชการในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการระดับ ๕ ประจำโรงพยาบาลแม่ใจ ได้ร่วมกันจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวให้เข้าช่วยเจ้าพนักงานปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแม่ใจ จำนวน ๒๕ ราย โดยจ่ายเงินค่าจ้างจากเงินบำรุงอันเป็นเงินนอกงบประมาณของโจทก์ โดยจงใจฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ และจำเลยทั้งสองยังได้ร่วมกันนำเงินบำรุงอันเป็นเงินนอกงบประมาณของโจทก์ไปจ่ายเป็นค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา และเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง รวมทั้งได้ร่วมกันทำหลักฐานอันเป็นเท็จในการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างว่าเป็นการจ้างเหมาบริการ จ้างเหมาดูแลต้นไม้และทำความสะอาด การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน ๗๘๓,๗๖๐ บาท ซึ่งก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดและจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ให้โจทก์และส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณา แต่กระทรวงการคลังยังไม่แจ้งคำวินิจฉัยกลับมาภายใน ๖ เดือน ก่อนหมดอายุความ ๒ ปี ซึ่งโจทก์ได้เคยทวงถามให้จำเลยทั้งสองชดใช้แล้วแต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย จึงฟ้องต่อศาลจังหวัดพะเยาเป็นคดีนี้
จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่โดยการอำนวยการ แนะนำ สั่งการ ควบคุม กำกับ และบริหารงานทุกด้านของโรงพยาบาลแม่ใจ สามารถทำหน้าที่ได้ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และนโยบายของทางราชการ ไม่ได้เจตนาหรือจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ได้จัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงินบำรุงโดยผิดระเบียบ และไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงานเดิมและไม่ได้ทำให้โจทก์เสียหาย
ต่อมา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลจังหวัดพะเยาว่า การที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๑๐ ดังนั้น สิทธิการฟ้องคดีของโจทก์จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองไม่ใช่ศาลยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ และมาตรา ๒๗๖ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) จึงเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองเชียงใหม่
ศาลจังหวัดพะเยาเห็นว่า จำเลยทั้งสองรับราชการเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและคำสั่ง เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและนอกเหนืออำนาจหน้าที่จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการละเลยหน้าที่ตามคำสั่งและตามที่กฎหมายกำหนดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่า คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดว่าได้กระทำการโดยการจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวโดยผิดระเบียบ กฎหมาย คำสั่งและข้อบังคับของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และการที่โจทก์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาได้มีคำสั่งตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ พย ๐๐๓๓.๐๐๑/๑/๒๗๗๔ ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ แจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระค่าสินไหมทดแทนนั้น ก็เป็นการที่โจทก์ได้มีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินอันเกิดจากการกระทำละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) (๓) แต่โดยที่โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดพะเยาในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ ซึ่งเป็นวันหลังจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับแล้ว แต่ศาลปกครองเปิดทำการเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ดังนั้น ในขณะยื่นฟ้องคดีจึงยังไม่มีศาลปกครองที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนี้
เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ บัญญัติว่า "ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น" ศาลยุติธรรมจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลหนึ่งศาลใดโดยเฉพาะ และคดีซึ่งศาลที่มีเขตอำนาจศาลยังไม่ได้เปิดทำการ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีซึ่งกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองต่อศาลจังหวัดพะเยา แต่เมื่อศาลปกครองยังไม่ได้เปิดทำการจึงยังไม่มีศาลปกครองที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนี้ ศาลจังหวัดพะเยาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมซึ่งมีเขตอำนาจทั่วไป ในขณะนั้นย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
คดีนี้ ขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๒๘ จำเลยทั้งสองเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ โจทก์จึงเป็นหน่วยงานของรัฐและจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อเท็จจริงตามฟ้องปรากฏว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่อันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ในการจัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงินบำรุงอันเป็นเงินนอกงบประมาณให้เข้าช่วยเจ้าพนักงานปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแม่ใจ และยังร่วมกันนำเงินบำรุงของโจทก์ไปจ่ายเป็นค่าปฏิบัติงานล่วงเวลา และเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง รวมทั้งร่วมกันทำหลักฐานอันเป็นเท็จในการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างว่าเป็นการจ้างเหมาบริการจ้างเหมาดูแลต้นไม้และทำความสะอาด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และนโยบายของทางราชการ ไม่ได้เจตนาหรือจงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ได้จัดจ้างลูกจ้างชั่วคราวจากเงินบำรุงโดยผิดระเบียบ และไม่ได้ทำให้โจทก์เสียหาย คดีนี้จึงเป็นกรณีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในบังคับบัญชาเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติมีลักษณะเป็นคดีปกครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) อย่างไรก็ตาม โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ หลังจากที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับ แต่ศาลปกครองเปิดทำการวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ขณะนั้นยังไม่มีศาลปกครองที่มีเขตอำนาจเหนือคดีปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจในการรับคดีดังกล่าวไว้พิจารณาพิพากษาได้ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โจทก์ นายแพทย์สมนึก ชีวาเกียรติยิ่งยง ที่ ๑ นายนพดล หงษ์หิน ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ
ศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๒
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฎิบัติ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๐/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดสระแก้ว
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสระแก้วโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายวิรัตน์ ประสาทศรี โจทก์ ได้ยื่นฟ้อง เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จำเลย ต่อศาลจังหวัดสระแก้ว เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ม ๓๒๖/๒๕๔๗ ความว่า จำเลยได้จัดทำท่อระบายน้ำริมถนนสายสระแก้ว - จันทบุรี ระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๑๒ ถึงกิโลเมตรที่ ๑๑๓ ฝั่งขวาของถนนจากจังหวัดสระแก้วมุ่งหน้าไปจังหวัดจันทบุรี หน้าตลาดตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นเขตปกครองท้องที่ของจำเลย โดยทุกระยะ ๑๐ เมตร จะสร้างบ่อระบายน้ำทิ้งและใช้ตะแกรงเหล็กปิดไว้เพื่อให้น้ำจากถนนไหลลงในท่อระบายน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้คนหรือสิ่งของตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้ง ทั้งนี้จำเลยจะต้องจัดทำตะแกรงเหล็กวางบนปากบ่อ ให้มีความพอดีกันและต้องจัดทำบ่ารองรับตะแกรงเหล็กให้พอดีกับตะแกรงเหล็ก ให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยพอที่จะรับน้ำหนักคน สิ่งของหรือรถยนต์ อันเป็นการก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม ตามแบบแปลนที่กฎหมายกำหนด แต่จำเลยได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ก่อสร้างไม่เป็นไปตามแบบแปลนวิศวกรรมเพื่อความปลอดภัย นำตะแกรงเหล็กไปปิดปากบ่อระบายน้ำทิ้งบริเวณดังกล่าว โดยไม่จัดทำบ่ารองตะแกรงเหล็กบริเวณปากบ่อ และทำตะแกรงเหล็กมีขนาดเล็กกว่าปากบ่อตั้งแต่เริ่มทำการก่อสร้างเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๖ โจทก์ได้ไปยืนบนตะแกรงเหล็กดังกล่าว แต่ตะแกรงเหล็กรับน้ำหนักโจทก์ไม่ได้ โจทก์และตะแกรงเหล็กตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้งพร้อมกัน เป็นเหตุให้ตะแกรงเหล็กทับขาขวาโจทก์หักหลายท่อน โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า บริเวณที่เกิดเหตุไม่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย แต่อยู่ในบริเวณไหล่ทางหลวง จำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้าง และไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ก่อสร้างและอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด ตะแกรงเหล็กทุกบ่อระบายน้ำทิ้งมีสภาพแข็งแรงปลอดภัยถูกหลักวิศวกรรม ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับอันตรายจากตะแกรงเหล็กดังกล่าว โจทก์เองได้มาขายไก่ย่างในบริเวณเกิดเหตุเป็นเวลาหลายวันก็ไม่ปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุแต่อย่างใด เหตุคดีนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์เอง อีกทั้งบริเวณไหล่ทางที่เกิดเหตุ ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อ ขาย แจกจ่าย หรือเรี่ยไรบนทางจราจรและไหล่ทาง และมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ห้ามมิให้ปรุงอาหาร ขาย หรือจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือในสถานสาธารณะ การที่โจทก์ขายไก่ย่างในบริเวณที่เกิดเหตุแล้วพลัดตกท่อระบายน้ำจึงเกิดจากการที่โจทก์ละเมิดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกก็เกินความเป็นจริง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย และจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสระแก้วพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕๐ (๓) และมาตรา ๕๑ (๘) กำหนดให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ เมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า เหตุละเมิดเกิดจากเทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จำเลย ละเว้นไม่จัดทำตะแกรงเหล็กปิดปากบ่อระบายน้ำทิ้งบริเวณหน้าตลาดตำบลวังน้ำเย็น ให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยเพียงพอที่จะรับน้ำหนักคน สิ่งของหรือรถยนต์ไม่ให้ตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้งที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง โดยจำเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ คดีพิพาทจึงอาจอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเคยวางแนววินิจฉัยไว้ว่า ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร นั้น เป็นการจำกัดประเภทแห่งคดีที่เกิดจากการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง โดยมิได้มุ่งหมายให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดา หรือการกระทำละเมิดที่มิได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เมื่อคดีนี้โจทก์อ้างว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่จัดทำตะแกรงเหล็กปิดปากบ่อระบายน้ำทิ้งให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยเพียงพอ อันถือได้ว่าเป็นการกระทำทางกายภาพ กรณีพิพาทจึงไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดจากการที่ตะแกรงเหล็กบริเวณปากบ่อของท่อระบายน้ำที่เกิดเหตุมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของคนที่ขึ้นไปยืนบนตะแกรงเหล็กได้ ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งว่าท่อระบายน้ำที่เกิดเหตุมิได้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของจำเลย เพียงแต่ปฏิเสธว่าไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ก่อสร้างตั้งแต่เมื่อใดและอยู่ในความรับผิดชอบของใคร เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบท่อระบายน้ำที่เกิดเหตุ จึงรับฟังได้ว่า ท่อระบายน้ำที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของจำเลย เมื่อท่อระบายน้ำดังกล่าวมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของคนที่ขึ้นไปยืนบนตะแกรงเหล็ก จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการดูแลรับผิดชอบท่อระบายน้ำนั้นหรือไม่ เมื่อโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดจากการที่โจทก์ตกลงไปในท่อระบายน้ำ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัตินิยาม "หน่วยงานทางปกครอง" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้น โดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐและให้หมายความรวมถึง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง และบัญญัตินิยาม "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า (๑) ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคลหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง (๒) คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล และ (๓) บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม (๑) หรือ (๒) เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จำเลยในคดีนี้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา ๕๐ (๒) มาตรา ๕๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติ เทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๑ ประกอบกับมาตรา ๑๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้เทศบาลตำบลมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีและบำรุงทางบก ทางน้ำ และ ทางระบายน้ำ อันเป็นกิจการทางปกครองหรือการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองเช่นจำเลยโดยเฉพาะ อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวย่อมหมายความรวมถึงการกำหนดแบบแปลนและแบบรูปของทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำที่จะทำการก่อสร้างให้ได้มาตรฐานทางวิศวกรรมเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ควบคุมดูแลให้การก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลนและแบบรูปที่กำหนด และทำนุบำรุงให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้โดยไม่ก่อให้เกิดภยันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอยู่เสมอด้วย เมื่อคดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้จัดทำท่อระบายน้ำริมถนนสายสระแก้ว - จันทบุรี ระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๑๒ ถึงกิโลเมตรที่ ๑๑๓ ฝั่งขวาของถนนจากจังหวัดสระแก้วมุ่งหน้าไปจังหวัดจันทบุรี หน้าตลาดตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของจำเลย โดยทุกระยะ ๑๐ เมตร จะสร้างบ่อระบายน้ำทิ้งและใช้ตะแกรงเหล็กปิดไว้เพื่อให้น้ำจากถนนไหลลงท่อระบายน้ำใต้ดินและป้องกันมิให้คนหรือสิ่งของตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้ง แต่จำเลยด้วยความประมาทเลินเล่อ ละเลยมิได้จัดทำตะแกรงเหล็กปิดวางบนปากบ่อให้มีขนาดพอดีกับปากบ่อ ทั้งมิได้จัดทำบ่ารองรับตะแกรงเหล็กให้มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักคนหรือสิ่งของได้อย่างปลอดภัย เมื่อโจทก์ไปยืนบนตะแกรงเหล็กดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์พลัดตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้ง ตะแกรงเหล็กทับขาของโจทก์หักหลายท่อน ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากเหตุดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง อันเกิดจากการที่จำเลยละเลยต่อหน้าที่ในการดำเนินกิจการทางปกครองหรือการบริการสาธารณะที่กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องปฏิบัติและอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายวิรัตน์ ประสาทศรี โจทก์ เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๐/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดสระแก้ว
ระหว่าง
ศาลปกครองระยอง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสระแก้วโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายวิรัตน์ ประสาทศรี โจทก์ ได้ยื่นฟ้อง เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จำเลย ต่อศาลจังหวัดสระแก้ว เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ม ๓๒๖/๒๕๔๗ ความว่า จำเลยได้จัดทำท่อระบายน้ำริมถนนสายสระแก้ว - จันทบุรี ระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๑๒ ถึงกิโลเมตรที่ ๑๑๓ ฝั่งขวาของถนนจากจังหวัดสระแก้วมุ่งหน้าไปจังหวัดจันทบุรี หน้าตลาดตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นเขตปกครองท้องที่ของจำเลย โดยทุกระยะ ๑๐ เมตร จะสร้างบ่อระบายน้ำทิ้งและใช้ตะแกรงเหล็กปิดไว้เพื่อให้น้ำจากถนนไหลลงในท่อระบายน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้คนหรือสิ่งของตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้ง ทั้งนี้จำเลยจะต้องจัดทำตะแกรงเหล็กวางบนปากบ่อ ให้มีความพอดีกันและต้องจัดทำบ่ารองรับตะแกรงเหล็กให้พอดีกับตะแกรงเหล็ก ให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยพอที่จะรับน้ำหนักคน สิ่งของหรือรถยนต์ อันเป็นการก่อสร้างตามหลักวิศวกรรม ตามแบบแปลนที่กฎหมายกำหนด แต่จำเลยได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ก่อสร้างไม่เป็นไปตามแบบแปลนวิศวกรรมเพื่อความปลอดภัย นำตะแกรงเหล็กไปปิดปากบ่อระบายน้ำทิ้งบริเวณดังกล่าว โดยไม่จัดทำบ่ารองตะแกรงเหล็กบริเวณปากบ่อ และทำตะแกรงเหล็กมีขนาดเล็กกว่าปากบ่อตั้งแต่เริ่มทำการก่อสร้างเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๖ โจทก์ได้ไปยืนบนตะแกรงเหล็กดังกล่าว แต่ตะแกรงเหล็กรับน้ำหนักโจทก์ไม่ได้ โจทก์และตะแกรงเหล็กตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้งพร้อมกัน เป็นเหตุให้ตะแกรงเหล็กทับขาขวาโจทก์หักหลายท่อน โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยให้การว่า บริเวณที่เกิดเหตุไม่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย แต่อยู่ในบริเวณไหล่ทางหลวง จำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้าง และไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ก่อสร้างและอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด ตะแกรงเหล็กทุกบ่อระบายน้ำทิ้งมีสภาพแข็งแรงปลอดภัยถูกหลักวิศวกรรม ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดได้รับอันตรายจากตะแกรงเหล็กดังกล่าว โจทก์เองได้มาขายไก่ย่างในบริเวณเกิดเหตุเป็นเวลาหลายวันก็ไม่ปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุแต่อย่างใด เหตุคดีนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์เอง อีกทั้งบริเวณไหล่ทางที่เกิดเหตุ ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อ ขาย แจกจ่าย หรือเรี่ยไรบนทางจราจรและไหล่ทาง และมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ห้ามมิให้ปรุงอาหาร ขาย หรือจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือในสถานสาธารณะ การที่โจทก์ขายไก่ย่างในบริเวณที่เกิดเหตุแล้วพลัดตกท่อระบายน้ำจึงเกิดจากการที่โจทก์ละเมิดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกก็เกินความเป็นจริง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย และจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสระแก้วพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕๐ (๓) และมาตรา ๕๑ (๘) กำหนดให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ เมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า เหตุละเมิดเกิดจากเทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จำเลย ละเว้นไม่จัดทำตะแกรงเหล็กปิดปากบ่อระบายน้ำทิ้งบริเวณหน้าตลาดตำบลวังน้ำเย็น ให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยเพียงพอที่จะรับน้ำหนักคน สิ่งของหรือรถยนต์ไม่ให้ตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้งที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง โดยจำเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ คดีพิพาทจึงอาจอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเคยวางแนววินิจฉัยไว้ว่า ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร นั้น เป็นการจำกัดประเภทแห่งคดีที่เกิดจากการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครอง โดยมิได้มุ่งหมายให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดา หรือการกระทำละเมิดที่มิได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เมื่อคดีนี้โจทก์อ้างว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่จัดทำตะแกรงเหล็กปิดปากบ่อระบายน้ำทิ้งให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยเพียงพอ อันถือได้ว่าเป็นการกระทำทางกายภาพ กรณีพิพาทจึงไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดจากการที่ตะแกรงเหล็กบริเวณปากบ่อของท่อระบายน้ำที่เกิดเหตุมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของคนที่ขึ้นไปยืนบนตะแกรงเหล็กได้ ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งว่าท่อระบายน้ำที่เกิดเหตุมิได้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของจำเลย เพียงแต่ปฏิเสธว่าไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ก่อสร้างตั้งแต่เมื่อใดและอยู่ในความรับผิดชอบของใคร เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบท่อระบายน้ำที่เกิดเหตุ จึงรับฟังได้ว่า ท่อระบายน้ำที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของจำเลย เมื่อท่อระบายน้ำดังกล่าวมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของคนที่ขึ้นไปยืนบนตะแกรงเหล็ก จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติในการดูแลรับผิดชอบท่อระบายน้ำนั้นหรือไม่ เมื่อโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดจากการที่โจทก์ตกลงไปในท่อระบายน้ำ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัตินิยาม "หน่วยงานทางปกครอง" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้น โดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐและให้หมายความรวมถึง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือดำเนินกิจการทางปกครอง และบัญญัตินิยาม "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า (๑) ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคลหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง (๒) คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล และ (๓) บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม (๑) หรือ (๒) เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จำเลยในคดีนี้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีอำนาจและหน้าที่ตามมาตรา ๕๐ (๒) มาตรา ๕๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติ เทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๑ ประกอบกับมาตรา ๑๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้เทศบาลตำบลมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีและบำรุงทางบก ทางน้ำ และ ทางระบายน้ำ อันเป็นกิจการทางปกครองหรือการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองเช่นจำเลยโดยเฉพาะ อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวย่อมหมายความรวมถึงการกำหนดแบบแปลนและแบบรูปของทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำที่จะทำการก่อสร้างให้ได้มาตรฐานทางวิศวกรรมเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ควบคุมดูแลให้การก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลนและแบบรูปที่กำหนด และทำนุบำรุงให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้การได้โดยไม่ก่อให้เกิดภยันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอยู่เสมอด้วย เมื่อคดีนี้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้จัดทำท่อระบายน้ำริมถนนสายสระแก้ว - จันทบุรี ระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๑๒ ถึงกิโลเมตรที่ ๑๑๓ ฝั่งขวาของถนนจากจังหวัดสระแก้วมุ่งหน้าไปจังหวัดจันทบุรี หน้าตลาดตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของจำเลย โดยทุกระยะ ๑๐ เมตร จะสร้างบ่อระบายน้ำทิ้งและใช้ตะแกรงเหล็กปิดไว้เพื่อให้น้ำจากถนนไหลลงท่อระบายน้ำใต้ดินและป้องกันมิให้คนหรือสิ่งของตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้ง แต่จำเลยด้วยความประมาทเลินเล่อ ละเลยมิได้จัดทำตะแกรงเหล็กปิดวางบนปากบ่อให้มีขนาดพอดีกับปากบ่อ ทั้งมิได้จัดทำบ่ารองรับตะแกรงเหล็กให้มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักคนหรือสิ่งของได้อย่างปลอดภัย เมื่อโจทก์ไปยืนบนตะแกรงเหล็กดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์พลัดตกลงไปในบ่อระบายน้ำทิ้ง ตะแกรงเหล็กทับขาของโจทก์หักหลายท่อน ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากเหตุดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ย คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง อันเกิดจากการที่จำเลยละเลยต่อหน้าที่ในการดำเนินกิจการทางปกครองหรือการบริการสาธารณะที่กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องปฏิบัติและอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายวิรัตน์ ประสาทศรี โจทก์ เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๙/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลภาษีอากรกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ บริษัท ปทุมธานีบริวเวอรี่ จำกัด ได้ยื่นฟ้อง กระทรวงการคลัง ที่ ๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ ๒ กรมสรรพสามิต ที่ ๓ อธิบดีกรมสรรพสามิต ที่ ๔ เจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่ปทุมธานี ๑ ที่ ๕ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๙๘/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ทำและขายสุราแช่ชนิดเบียร์ของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ชื่อ "สิงห์" หรือที่เรียกว่า "เบียร์สิงห์" โดยใช้รูปสัญลักษณ์ "สิงห์สีทอง" และมีคำภาษาอังกฤษ "SINGHA" เป็นเครื่องหมายการค้า โดยบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ได้โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอนุญาตให้ทำและขายสุราให้แก่ผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ต่อมาในวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขออนุญาตผลิตและจำหน่ายสุราแช่ชนิดเบียร์เรียกว่า "เบียร์สิงห์ ๗๐" เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปีของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ และได้มีการเสนอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ พิจารณาอนุญาตตามขั้นตอนของระเบียบ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตผลิตและจำหน่ายสุราแห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ พิจารณาคำขออนุญาตผลิตเบียร์สิงห์ ๗๐ ดังกล่าว อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีผลิต จำหน่ายและใช้ฉลากปิดภาชนะบรรจุเบียร์สิงห์ ๗๐ ตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ในฐานะเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๑๕๑๒ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๖ แจ้งผู้ฟ้องคดีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทราบราคาขายที่ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีได้เริ่มนำเบียร์สิงห์ ๗๐ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ ครั้นวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๕๒๐๙ ส่งสำเนาประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีให้ผู้ฟ้องคดีทราบโดยกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ แตกต่างจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้พิจารณาเห็นชอบราคาขาย ณ โรงงานของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๕๒๑๔ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ แจ้งว่า ได้คำนวณภาษีสุราแช่ (เบียร์) ตามมูลค่าที่กำหนดใหม่ตามประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ แล้ว ผู้ฟ้องคดีมีภาระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมเป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๘๕๐,๒๐๖.๒๓ บาท ให้ผู้ฟ้องคดีไปชำระภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คัดค้านประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว และมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีสามารถใช้ราคาขาย ณ โรงงานสุราตามเดิมต่อไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีแล้วเห็นว่า การกำหนดมูลค่าสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีสำหรับเบียร์สิงห์ ๗๐ นั้น เป็นการใช้อำนาจตามบทบัญญัติของมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยการดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ใช้กับเบียร์ทุกตรา ไม่ได้เลือกปฏิบัติกับเบียร์ตราใดตราหนึ่ง ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๕ โดยความเห็นชอบอนุมัติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ประกาศกำหนดให้มูลค่าของเบียร์สิงห์ ๗๐ มีราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ใช้เป็นมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ อันเป็นราคาเท่ากับเบียร์สิงห์นั้น เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กระทำโดยไม่สุจริตเลือกปฏิบัติ ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้รับทราบราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖ อันทำให้ผู้ฟ้องคดีเชื่อถือและมั่นใจว่าผู้ฟ้องคดีสามารถผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ ได้ในราคาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการผลิตและเริ่มจำหน่ายเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ แต่ในวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ กลับออกประกาศกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวภาวะตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเป็นช่วงที่ภาวะตลาดไม่ปกติ ที่จะทำให้ต้องนำราคาขายในตลาดปกติมาออกประกาศกำหนดราคาขายดังกล่าว ตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นหลักเกณฑ์ไว้ว่า มูลค่าของสุราที่ประกาศนั้น กำหนดจากราคาขาย ณ โรงงานสุราในตลาดปกติได้ การประกาศมูลค่าสุราดังกล่าวจึงเป็นการประกาศโดยไม่มีหลักเกณฑ์และเหตุผล แต่อย่างใด การประกาศกำหนดราคาขายเบียร์สิงห์ ๗๐ เท่ากับราคาขายเบียร์สิงห์ ในราคา ๓๖.๙๕ บาท ทั้ง ๆ ที่กรรมวิธี วัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตแตกต่างกัน ซึ่งราคาตามตลาดปกติ เบียร์สิงห์ ๗๐ มีราคาไม่เท่ากับเบียร์สิงห์นั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องเสียภาษีสูงขึ้นและเสียเปรียบผู้ผลิตรายอื่น ๆ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้า เนื่องจากประกาศกำหนดราคาเบียร์สิงห์ ๗๐ ดังกล่าวมีผลให้เบียร์สิงห์ ๗๐ มีราคาสูงกว่าเบียร์ของผู้ผลิต รายอื่นในระดับคุณภาพเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่มีราคาขาย ๒๗.๒๐ บาท/ภาชนะ ซึ่งเป็นการไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจนี้อันเกิดจากคำสั่งไม่สุจริตของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้า และเป็นการใช้ดุลพินิจ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ฟ้องคดียังคงใช้ราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ ตลอดมาจนถึงวันฟ้อง เป็นผลให้ผู้ฟ้องคดีต้องรับภาระราคาที่แตกต่างกันและต้องชำระภาษีเพิ่มเป็นจำนวนเงิน ๔,๘๕๐,๒๐๖.๒๓ บาท ซึ่งผู้ฟ้องคดีต้องปฏิบัติตามเพราะการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวมีโทษทางอาญาในการผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีคาดหมายว่าจะสามารถทำยอดจำหน่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ ๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ได้กำไรประมาณร้อยละ ๗ ของยอดจำหน่ายดังกล่าวคิดเป็นเงินเดือนละ ๓๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่จากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าตามฟ้อง เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ ได้ตามเป้าหมายนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ เป็นต้นมา เนื่องจากผู้ฟ้องคดีใช้ราคาเดิม คือ ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เพราะไม่ประสงค์จะให้ผู้บริโภคต้องรับภาระที่เพิ่มขึ้นจากราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น ผู้ฟ้องคดีจึงต้องรับภาระภาษีทั้งหมดเองเป็นผลให้ผู้ฟ้องคดีต้องลดยอดการบรรจุและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ ลง ผู้ฟ้องคดีขอเรียกค่าเสียหายจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าในส่วนนี้เป็นเงินเดือนละ ๓๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ จนถึงวันฟ้องเป็นเวลา ๖ เดือน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ายังทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องชำระภาษีทั้งภาษีสุรา ภาษีเทศบาล และภาษีสุขภาพสูงขึ้นเป็นเงิน ๖.๐๑๘๓๒ บาท/ภาชนะ โดยผู้ฟ้องคดีได้ชำระภาษีไปแล้วจำนวน ๑๓๗,๕๙๒,๔๗๗.๔๓ บาท ซึ่งหากไม่มีประกาศดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีต้องชำระภาษีเพียง ๑๐๙,๓๓๑,๐๐๖.๔๐ บาท ผู้ฟ้องคดีจึงได้ชำระภาษีเกินเป็นเงินจำนวน ๒๘,๒๖๑,๔๗๑.๐๓ บาท ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ฟ้องคดี เมื่อรวมค่าเสียหายที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าต้องชดใช้เงินให้แก่ผู้ฟ้องคดีจนถึงวันฟ้องจึงเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๓๘,๒๖๑,๔๗๑.๐๓ บาท นอกจากนี้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ายังคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินเดือนละ ๓๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และชำระเงินภาษีคืนแก่ผู้ฟ้องคดีหรืองดเว้นภาษีเป็นเงิน ๖.๐๑๘๓๒ บาท/ภาชนะ ตามยอดที่ผู้ฟ้องคดีผลิตและจำหน่ายนับแต่วันฟ้องต่อไปด้วย สำหรับการพิจารณาอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้านั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้อ้างเหตุที่ผู้ฟ้องคดีไม่ส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตเบียร์สิงห์ ๗๐ ซึ่งถือเป็นความลับในทางธุรกิจ กลั่นแกล้งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนประกาศฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยให้มีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ออกประกาศ คือ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๒๓๘,๒๖๑,๔๗๑.๐๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการไม่สามารถผลิตเบียร์สิงห์ ๗๐ ออกจำหน่ายได้ อันเนื่องมาจากประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเดือนละ ๓๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรือ งดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้นตามประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเงิน ๖.๐๑๘๓๒ บาท/ภาชนะ ตามยอดผลิตที่ผลิตและจำหน่ายต่อไปนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะมีการเพิกถอนประกาศ ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าให้การว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้อง ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี และเป็นกฎที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป เนื่องจากขณะออกประกากรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ เพื่อปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีเบียร์ใหม่ทั้งระบบนั้น ยังไม่มีเบียร์สิงห์ ๗๐ จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด การออกประกาศของกรมสรรพสามิตดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและมิได้เลือกปฏิบัติแต่อย่างใด การพิจารณาอุทธรณ์คัดค้านประกาศสรรพสามิตฉบับพิพาทได้กระทำโดยชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ายื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เนื่องจากเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม (ศาลภาษีอากรกลาง) ตามมาตรา ๗ (๒) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยอนุมัติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกประกาศ เรื่องกำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยกำหนดมูลค่าของสุราแช่ ชนิดเบียร์ชื่อสุรา "สิงห์ ๗๐" ราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ใช้เป็นมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนประกาศฉบับดังกล่าว และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหาย ค่าขาดประโยชน์ และชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น เห็นว่า ประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ดังกล่าว ที่ออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยอนุมัติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๔ กำหนดมูลค่าของเบียร์สิงห์ ๗๐ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ฟ้องคดี ราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ใช้เป็นมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ผู้ฟ้องคดีที่มีผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสุรา อันเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ออกประกาศกำหนดราคาขายเบียร์สิงห์ ๗๐ ณ โรงงานสุราซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองนี้ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กระทำโดยไม่สุจริต เป็นการเลือกปฏิบัติ และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย จึงฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนประกาศดังกล่าว พร้อมทั้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี อันเป็นการฟ้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องมาจากการออกคำสั่งทางปกครองดังกล่าวโดยไม่ชอบ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนในคำขอท้ายฟ้องคำขอหนึ่งที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้นตามประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวนั้น เห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าจะต้องชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวหรือไม่ ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองและการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เสียก่อน การชดใช้เงินภาษีหรืองดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้นตามคำขอของผู้ฟ้องคดีมิได้เป็นประเด็นโดยตรงในคดีนี้ และคดีนี้แม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๕๒๐๙ ส่งสำเนาประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีให้ผู้ฟ้องคดีทราบโดยกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ และต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๕๒๑๔ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ แจ้งว่า ได้คำนวณภาษีสุราแช่ (เบียร์) ตามมูลค่าที่กำหนดใหม่ตามประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ แล้ว ผู้ฟ้องคดีมีภาระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๘๕๐,๒๐๖.๒๓ บาท จึงให้ผู้ฟ้องคดีไปชำระภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว อันเป็นการกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ใช้สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีอากรจากผู้ฟ้องคดีหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ออกประกาศกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ที่ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งราคาขายต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไว้ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เป็น ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ ก็ตาม แต่การใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว ก็มิใช่เป็นประเด็นโดยตรงที่ผู้ฟ้องคดีได้นำมาฟ้องคดีนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการพิพาทกันระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ กับผู้ฟ้องคดีอันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร คดีนี้จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรหรือคดีพิพาทที่เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๒) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ดังที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ากล่าวอ้างแต่อย่างใด อีกทั้งก็มิใช่เป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร หรือเป็นคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรตามมาตรา ๗ (๑) (๓) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ด้วย จึงมิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า มูลคดีที่พิพาทเป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยกำหนดราคาขายเบียร์สิงห์ ๗๐ ของผู้ฟ้องคดีในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ สูงกว่าราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้ฟ้องคดี ได้แจ้งไว้คือราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ โดยอ้างว่าเป็นการออกประกาศที่อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ มาตรา ๘ จัตวาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฐานในการคำนวณภาษีสุราตามมูลค่า โดยมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคหนึ่ง กำหนดให้สุราที่ทำในราชอาณาจักรต้องเสียภาษีตามราคาขาย ณ โรงงานสุรา รวมกับภาษีสุราที่พึงต้องชำระ และวรรคสองเป็นกรณีที่ไม่มีราคาขาย ณ โรงงานสุรา หรือราคาขายมีหลายราคาก็ให้ถือตามราคาที่อธิบดีประกาศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ส่วนวรรคสามได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีโดยกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราในตลาดปกติ จึงเห็นได้ว่าประกาศกรมสรรพสามิตที่พิพาทเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับฐานภาษีสุรา ซึ่งอธิบดีกรมสรรพสามิตโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีให้แตกต่างไปจากราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแจ้งไว้ได้ จึงถือได้ว่าเป็นลักษณะของการประเมินภาษีรูปแบบหนึ่งที่มิใช่การประเมินภาษีโดยทั่วไป เนื่องจากพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ ไม่มีระบบการประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน ประกาศกรมสรรพสามิตที่พิพาทได้ออกมามุ่งหมายให้ใช้บังคับสำหรับสุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผู้ฟ้องคดีทำขึ้นโดยเฉพาะ มิได้มีผลบังคับเป็นการทั่วไปแก่ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุราแช่ชนิดเดียวกับรายอื่น ๆ จึงไม่ถือว่าเป็นกฎแต่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล อันเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และเป็นคำสั่งทางปกครองที่ออกมาเพื่อกำหนดฐานภาษี อันเป็นผลสืบเนื่องจากการวินิจฉัยของเจ้าพนักงานซึ่งเห็นว่าราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้ฟ้องคดีแจ้งไว้เป็นราคาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีเหตุอันสมควร จึงได้ทำการประเมินราคาเพิ่มขึ้นโดยออกเป็นประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าว เมื่อผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นประกาศหรือคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาล ก็ย่อมถือว่าเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ส่วนการขอให้ชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นภาษีส่วนที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นเนื่องจากการออกประกาศดังกล่าว ก็เป็นประเด็นที่พิพาทเกี่ยวกับการขอคืนภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ สำหรับประเด็นเรื่องการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ที่ไม่สามารถผลิตเบียร์สิงห์ ๗๐ ออกจำหน่ายได้นั้น แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทำละเมิด แต่ก็เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรและเมื่อพิจารณาถึงมูลคดีโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าประเด็นหลักในคดีนี้ คือการขอให้เพิกถอนประกาศกรมสรรพสามิต ซึ่งเป็นเรื่องการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ส่วนการขอให้คืนภาษีและชดใช้ค่าเสียหายถือเป็นประเด็นรอง ซึ่งจะต้องวินิจฉัยในประเด็นหลักก่อนว่าประกาศกรมสรรพสามิตที่พิพาทออกมาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อประเด็นหลักอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ประเด็นรองย่อมอยู่ในอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรด้วย และมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดว่าคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เมื่อคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ แล้ว ก็ย่อมไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ได้ทำสัญญาผูกพันกับ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองเพื่อทำและจำหน่ายสุราแช่ ชนิดเบียร์ ต่อมาบริษัทบุญรอดฯ โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดี และผู้ฟ้องคดีได้ทำการผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ โดยได้รับอนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๕ และอนุญาตให้กำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ตามที่ผู้ฟ้องคดีแจ้งไว้ด้วย ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่องกำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยกำหนดราคาขายเบียร์ ณ โรงงานสุราของผู้ฟ้องคดีใหม่ จากเดิม ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เป็น ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คัดค้านขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่ยกเลิก ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องชำระภาษีเพิ่มเติมและเสียภาษีสูงขึ้นจากเดิม ทั้งได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าว และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันคืนเงินภาษีส่วนที่ผู้ฟ้องคดีต้องเสียเพิ่มขึ้นและชดใช้ค่าเสียหายด้วย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าให้การว่า ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี เนื่องจากขณะออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักร เพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ เพื่อปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีเบียร์ใหม่ทั้งระบบนั้น ยังไม่มีเบียร์สิงห์ ๗๐ จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด การออกประกาศของกรมสรรพสามิตดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและมิได้เลือกปฏิบัติแต่อย่างใด การพิจารณาอุทธรณ์คัดค้านประกาศสรรพสามิตฉบับพิพาทได้กระทำโดยชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องอำนาจศาลภาษีอากรไว้ ดังนี้
มาตรา ๗ "ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งในเรื่องต่อไปนี้
(๑) คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน หรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร
...
(๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนภาษีอากร
..."
คดีนี้มูลคดีพิพาทสืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยกำหนดราคาขายเบียร์สิงห์ ๗๐ ของผู้ฟ้องคดีในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ สูงกว่าราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทราบกำหนดราคาไว้แล้วคือราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ โดยอ้างว่าการออกประกาศที่อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ มาตรา ๘ จัตวา เป็นเรื่องฐานในการคำนวณภาษีสุรา ตามมูลค่า โดยมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคหนึ่ง กำหนดให้สุราที่ทำในราชอาณาจักรต้องเสียภาษีตามราคาขาย ณ โรงงานสุรา รวมกับภาษีสุราที่พึงต้องชำระ และวรรคสองเป็นกรณีที่ไม่มีราคาขาย ณ โรงงานสุรา หรือราคาขายมีหลายราคาก็ให้ถือตามราคาที่อธิบดีประกาศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ส่วนวรรคสามได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีโดยกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราในตลาดปกติ จึงเห็นได้ว่าประกาศกรมสรรพสามิตที่พิพาทเกี่ยวข้องโดยตรงกับฐานภาษีสุรา ซึ่งอธิบดีกรมสรรพสามิตโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีให้แตกต่างไปจากราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแจ้งไว้ได้ แม้ประกาศหรือคำสั่งพิพาทจะเป็นการออกโดยใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานก็ตาม แต่ก็ออกมาเพื่อกำหนดฐานภาษี อันเป็นผลสืบเนื่องจากการวินิจฉัยของเจ้าพนักงานซึ่งเห็นว่าราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้ฟ้องคดีแจ้งไว้เป็นราคาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีเหตุอันสมควร จึงได้ทำการประเมินราคาเพิ่มขึ้นโดยออกเป็นประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าว ถือได้ว่าการประเมินมูลค่าสุราเพื่อกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินภาษีรูปแบบหนึ่ง เมื่อผู้ฟ้องคดี เห็นว่าเป็นประกาศหรือคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาล ย่อมเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ยิ่งกว่านั้นการที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นภาษีส่วนที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นเนื่องจากการออกประกาศดังกล่าว ก็เป็นประเด็นที่พิพาทเกี่ยวกับการขอคืนภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ทั้งประเด็นการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์นั้นก็เป็นมูลความที่เกี่ยวเนื่องกัน ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางเช่นเดียวกัน ดังนั้น คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง บริษัท ปทุมธานีบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ฟ้องคดี กระทรวงการคลัง ที่ ๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ ๒ กรมสรรพสามิต ที่ ๓ อธิบดีกรมสรรพสามิต ที่ ๔ เจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่ปทุมธานี ๑ ที่ ๕ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๙/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลภาษีอากรกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ บริษัท ปทุมธานีบริวเวอรี่ จำกัด ได้ยื่นฟ้อง กระทรวงการคลัง ที่ ๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ ๒ กรมสรรพสามิต ที่ ๓ อธิบดีกรมสรรพสามิต ที่ ๔ เจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่ปทุมธานี ๑ ที่ ๕ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๙๘/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ทำและขายสุราแช่ชนิดเบียร์ของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ชื่อ "สิงห์" หรือที่เรียกว่า "เบียร์สิงห์" โดยใช้รูปสัญลักษณ์ "สิงห์สีทอง" และมีคำภาษาอังกฤษ "SINGHA" เป็นเครื่องหมายการค้า โดยบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ได้โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอนุญาตให้ทำและขายสุราให้แก่ผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ต่อมาในวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขออนุญาตผลิตและจำหน่ายสุราแช่ชนิดเบียร์เรียกว่า "เบียร์สิงห์ ๗๐" เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๐ ปีของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ และได้มีการเสนอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ พิจารณาอนุญาตตามขั้นตอนของระเบียบ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตผลิตและจำหน่ายสุราแห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ พิจารณาคำขออนุญาตผลิตเบียร์สิงห์ ๗๐ ดังกล่าว อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีผลิต จำหน่ายและใช้ฉลากปิดภาชนะบรรจุเบียร์สิงห์ ๗๐ ตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ในฐานะเจ้าพนักงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๑๕๑๒ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๖ แจ้งผู้ฟ้องคดีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทราบราคาขายที่ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖ ผู้ฟ้องคดีได้เริ่มนำเบียร์สิงห์ ๗๐ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ ครั้นวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๕๒๐๙ ส่งสำเนาประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีให้ผู้ฟ้องคดีทราบโดยกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ แตกต่างจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้พิจารณาเห็นชอบราคาขาย ณ โรงงานของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๕๒๑๔ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ แจ้งว่า ได้คำนวณภาษีสุราแช่ (เบียร์) ตามมูลค่าที่กำหนดใหม่ตามประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ แล้ว ผู้ฟ้องคดีมีภาระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมเป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๘๕๐,๒๐๖.๒๓ บาท ให้ผู้ฟ้องคดีไปชำระภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คัดค้านประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว และมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีสามารถใช้ราคาขาย ณ โรงงานสุราตามเดิมต่อไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีแล้วเห็นว่า การกำหนดมูลค่าสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีสำหรับเบียร์สิงห์ ๗๐ นั้น เป็นการใช้อำนาจตามบทบัญญัติของมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยการดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ใช้กับเบียร์ทุกตรา ไม่ได้เลือกปฏิบัติกับเบียร์ตราใดตราหนึ่ง ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๕ โดยความเห็นชอบอนุมัติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ประกาศกำหนดให้มูลค่าของเบียร์สิงห์ ๗๐ มีราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ใช้เป็นมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ อันเป็นราคาเท่ากับเบียร์สิงห์นั้น เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กระทำโดยไม่สุจริตเลือกปฏิบัติ ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้รับทราบราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖ อันทำให้ผู้ฟ้องคดีเชื่อถือและมั่นใจว่าผู้ฟ้องคดีสามารถผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ ได้ในราคาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการผลิตและเริ่มจำหน่ายเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ แต่ในวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ กลับออกประกาศกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ โดยไม่ปรากฏว่าในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวภาวะตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเป็นช่วงที่ภาวะตลาดไม่ปกติ ที่จะทำให้ต้องนำราคาขายในตลาดปกติมาออกประกาศกำหนดราคาขายดังกล่าว ตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นหลักเกณฑ์ไว้ว่า มูลค่าของสุราที่ประกาศนั้น กำหนดจากราคาขาย ณ โรงงานสุราในตลาดปกติได้ การประกาศมูลค่าสุราดังกล่าวจึงเป็นการประกาศโดยไม่มีหลักเกณฑ์และเหตุผล แต่อย่างใด การประกาศกำหนดราคาขายเบียร์สิงห์ ๗๐ เท่ากับราคาขายเบียร์สิงห์ ในราคา ๓๖.๙๕ บาท ทั้ง ๆ ที่กรรมวิธี วัตถุดิบ ต้นทุนในการผลิตแตกต่างกัน ซึ่งราคาตามตลาดปกติ เบียร์สิงห์ ๗๐ มีราคาไม่เท่ากับเบียร์สิงห์นั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องเสียภาษีสูงขึ้นและเสียเปรียบผู้ผลิตรายอื่น ๆ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้า เนื่องจากประกาศกำหนดราคาเบียร์สิงห์ ๗๐ ดังกล่าวมีผลให้เบียร์สิงห์ ๗๐ มีราคาสูงกว่าเบียร์ของผู้ผลิต รายอื่นในระดับคุณภาพเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่มีราคาขาย ๒๗.๒๐ บาท/ภาชนะ ซึ่งเป็นการไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจนี้อันเกิดจากคำสั่งไม่สุจริตของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้า และเป็นการใช้ดุลพินิจ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ฟ้องคดียังคงใช้ราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ ตลอดมาจนถึงวันฟ้อง เป็นผลให้ผู้ฟ้องคดีต้องรับภาระราคาที่แตกต่างกันและต้องชำระภาษีเพิ่มเป็นจำนวนเงิน ๔,๘๕๐,๒๐๖.๒๓ บาท ซึ่งผู้ฟ้องคดีต้องปฏิบัติตามเพราะการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวมีโทษทางอาญาในการผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ ดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีคาดหมายว่าจะสามารถทำยอดจำหน่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ ๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ได้กำไรประมาณร้อยละ ๗ ของยอดจำหน่ายดังกล่าวคิดเป็นเงินเดือนละ ๓๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่จากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าตามฟ้อง เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ ได้ตามเป้าหมายนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ เป็นต้นมา เนื่องจากผู้ฟ้องคดีใช้ราคาเดิม คือ ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เพราะไม่ประสงค์จะให้ผู้บริโภคต้องรับภาระที่เพิ่มขึ้นจากราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น ผู้ฟ้องคดีจึงต้องรับภาระภาษีทั้งหมดเองเป็นผลให้ผู้ฟ้องคดีต้องลดยอดการบรรจุและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ ลง ผู้ฟ้องคดีขอเรียกค่าเสียหายจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าในส่วนนี้เป็นเงินเดือนละ ๓๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ จนถึงวันฟ้องเป็นเวลา ๖ เดือน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท และการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ายังทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องชำระภาษีทั้งภาษีสุรา ภาษีเทศบาล และภาษีสุขภาพสูงขึ้นเป็นเงิน ๖.๐๑๘๓๒ บาท/ภาชนะ โดยผู้ฟ้องคดีได้ชำระภาษีไปแล้วจำนวน ๑๓๗,๕๙๒,๔๗๗.๔๓ บาท ซึ่งหากไม่มีประกาศดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีต้องชำระภาษีเพียง ๑๐๙,๓๓๑,๐๐๖.๔๐ บาท ผู้ฟ้องคดีจึงได้ชำระภาษีเกินเป็นเงินจำนวน ๒๘,๒๖๑,๔๗๑.๐๓ บาท ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ฟ้องคดี เมื่อรวมค่าเสียหายที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าต้องชดใช้เงินให้แก่ผู้ฟ้องคดีจนถึงวันฟ้องจึงเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๓๘,๒๖๑,๔๗๑.๐๓ บาท นอกจากนี้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ายังคงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินเดือนละ ๓๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และชำระเงินภาษีคืนแก่ผู้ฟ้องคดีหรืองดเว้นภาษีเป็นเงิน ๖.๐๑๘๓๒ บาท/ภาชนะ ตามยอดที่ผู้ฟ้องคดีผลิตและจำหน่ายนับแต่วันฟ้องต่อไปด้วย สำหรับการพิจารณาอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้านั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้อ้างเหตุที่ผู้ฟ้องคดีไม่ส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตเบียร์สิงห์ ๗๐ ซึ่งถือเป็นความลับในทางธุรกิจ กลั่นแกล้งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนประกาศฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยให้มีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ออกประกาศ คือ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๒๓๘,๒๖๑,๔๗๑.๐๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการไม่สามารถผลิตเบียร์สิงห์ ๗๐ ออกจำหน่ายได้ อันเนื่องมาจากประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเดือนละ ๓๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรือ งดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้นตามประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเงิน ๖.๐๑๘๓๒ บาท/ภาชนะ ตามยอดผลิตที่ผลิตและจำหน่ายต่อไปนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะมีการเพิกถอนประกาศ ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าให้การว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้อง ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี และเป็นกฎที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป เนื่องจากขณะออกประกากรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ เพื่อปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีเบียร์ใหม่ทั้งระบบนั้น ยังไม่มีเบียร์สิงห์ ๗๐ จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด การออกประกาศของกรมสรรพสามิตดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและมิได้เลือกปฏิบัติแต่อย่างใด การพิจารณาอุทธรณ์คัดค้านประกาศสรรพสามิตฉบับพิพาทได้กระทำโดยชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ายื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เนื่องจากเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม (ศาลภาษีอากรกลาง) ตามมาตรา ๗ (๒) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยอนุมัติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกประกาศ เรื่องกำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยกำหนดมูลค่าของสุราแช่ ชนิดเบียร์ชื่อสุรา "สิงห์ ๗๐" ราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ใช้เป็นมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนประกาศฉบับดังกล่าว และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหาย ค่าขาดประโยชน์ และชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น เห็นว่า ประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ดังกล่าว ที่ออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยอนุมัติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๔ กำหนดมูลค่าของเบียร์สิงห์ ๗๐ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ฟ้องคดี ราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ใช้เป็นมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และ ผู้ฟ้องคดีที่มีผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสุรา อันเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ออกประกาศกำหนดราคาขายเบียร์สิงห์ ๗๐ ณ โรงงานสุราซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองนี้ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กระทำโดยไม่สุจริต เป็นการเลือกปฏิบัติ และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย จึงฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนประกาศดังกล่าว พร้อมทั้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี อันเป็นการฟ้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องมาจากการออกคำสั่งทางปกครองดังกล่าวโดยไม่ชอบ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนในคำขอท้ายฟ้องคำขอหนึ่งที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้นตามประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวนั้น เห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าจะต้องชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวหรือไม่ ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองและการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เสียก่อน การชดใช้เงินภาษีหรืองดเว้นเงินภาษีที่เพิ่มขึ้นตามคำขอของผู้ฟ้องคดีมิได้เป็นประเด็นโดยตรงในคดีนี้ และคดีนี้แม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๕๒๐๙ ส่งสำเนาประกาศกรมสรรพสามิต ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีให้ผู้ฟ้องคดีทราบโดยกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ และต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ได้มีหนังสือ ที่ กค ๐๖๑๐.๐๓/๕๒๑๔ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ แจ้งว่า ได้คำนวณภาษีสุราแช่ (เบียร์) ตามมูลค่าที่กำหนดใหม่ตามประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ แล้ว ผู้ฟ้องคดีมีภาระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๘๕๐,๒๐๖.๒๓ บาท จึงให้ผู้ฟ้องคดีไปชำระภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว อันเป็นการกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ใช้สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีอากรจากผู้ฟ้องคดีหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ออกประกาศกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราของเบียร์สิงห์ ๗๐ ที่ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งราคาขายต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไว้ในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เป็น ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ ก็ตาม แต่การใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว ก็มิใช่เป็นประเด็นโดยตรงที่ผู้ฟ้องคดีได้นำมาฟ้องคดีนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการพิพาทกันระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ กับผู้ฟ้องคดีอันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร คดีนี้จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรหรือคดีพิพาทที่เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๒) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ดังที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้ากล่าวอ้างแต่อย่างใด อีกทั้งก็มิใช่เป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร หรือเป็นคดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรตามมาตรา ๗ (๑) (๓) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ด้วย จึงมิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า มูลคดีที่พิพาทเป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยกำหนดราคาขายเบียร์สิงห์ ๗๐ ของผู้ฟ้องคดีในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ สูงกว่าราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้ฟ้องคดี ได้แจ้งไว้คือราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ โดยอ้างว่าเป็นการออกประกาศที่อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ มาตรา ๘ จัตวาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฐานในการคำนวณภาษีสุราตามมูลค่า โดยมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคหนึ่ง กำหนดให้สุราที่ทำในราชอาณาจักรต้องเสียภาษีตามราคาขาย ณ โรงงานสุรา รวมกับภาษีสุราที่พึงต้องชำระ และวรรคสองเป็นกรณีที่ไม่มีราคาขาย ณ โรงงานสุรา หรือราคาขายมีหลายราคาก็ให้ถือตามราคาที่อธิบดีประกาศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ส่วนวรรคสามได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีโดยกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราในตลาดปกติ จึงเห็นได้ว่าประกาศกรมสรรพสามิตที่พิพาทเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับฐานภาษีสุรา ซึ่งอธิบดีกรมสรรพสามิตโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีให้แตกต่างไปจากราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแจ้งไว้ได้ จึงถือได้ว่าเป็นลักษณะของการประเมินภาษีรูปแบบหนึ่งที่มิใช่การประเมินภาษีโดยทั่วไป เนื่องจากพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ ไม่มีระบบการประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน ประกาศกรมสรรพสามิตที่พิพาทได้ออกมามุ่งหมายให้ใช้บังคับสำหรับสุราแช่ชนิดเบียร์ที่ผู้ฟ้องคดีทำขึ้นโดยเฉพาะ มิได้มีผลบังคับเป็นการทั่วไปแก่ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุราแช่ชนิดเดียวกับรายอื่น ๆ จึงไม่ถือว่าเป็นกฎแต่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล อันเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และเป็นคำสั่งทางปกครองที่ออกมาเพื่อกำหนดฐานภาษี อันเป็นผลสืบเนื่องจากการวินิจฉัยของเจ้าพนักงานซึ่งเห็นว่าราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้ฟ้องคดีแจ้งไว้เป็นราคาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีเหตุอันสมควร จึงได้ทำการประเมินราคาเพิ่มขึ้นโดยออกเป็นประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าว เมื่อผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นประกาศหรือคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาล ก็ย่อมถือว่าเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ส่วนการขอให้ชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นภาษีส่วนที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นเนื่องจากการออกประกาศดังกล่าว ก็เป็นประเด็นที่พิพาทเกี่ยวกับการขอคืนภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ สำหรับประเด็นเรื่องการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ที่ไม่สามารถผลิตเบียร์สิงห์ ๗๐ ออกจำหน่ายได้นั้น แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทำละเมิด แต่ก็เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรและเมื่อพิจารณาถึงมูลคดีโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าประเด็นหลักในคดีนี้ คือการขอให้เพิกถอนประกาศกรมสรรพสามิต ซึ่งเป็นเรื่องการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ส่วนการขอให้คืนภาษีและชดใช้ค่าเสียหายถือเป็นประเด็นรอง ซึ่งจะต้องวินิจฉัยในประเด็นหลักก่อนว่าประกาศกรมสรรพสามิตที่พิพาทออกมาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อประเด็นหลักอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ประเด็นรองย่อมอยู่ในอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรด้วย และมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดว่าคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เมื่อคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ แล้ว ก็ย่อมไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ได้ทำสัญญาผูกพันกับ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองเพื่อทำและจำหน่ายสุราแช่ ชนิดเบียร์ ต่อมาบริษัทบุญรอดฯ โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดี และผู้ฟ้องคดีได้ทำการผลิตและจำหน่ายเบียร์สิงห์ ๗๐ โดยได้รับอนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๕ และอนุญาตให้กำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราในราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ตามที่ผู้ฟ้องคดีแจ้งไว้ด้วย ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่องกำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยกำหนดราคาขายเบียร์ ณ โรงงานสุราของผู้ฟ้องคดีใหม่ จากเดิม ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ เป็น ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คัดค้านขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ไม่ยกเลิก ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องชำระภาษีเพิ่มเติมและเสียภาษีสูงขึ้นจากเดิม ทั้งได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าว และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าร่วมกันคืนเงินภาษีส่วนที่ผู้ฟ้องคดีต้องเสียเพิ่มขึ้นและชดใช้ค่าเสียหายด้วย ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าให้การว่า ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี เนื่องจากขณะออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักร เพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ เพื่อปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีเบียร์ใหม่ทั้งระบบนั้น ยังไม่มีเบียร์สิงห์ ๗๐ จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด การออกประกาศของกรมสรรพสามิตดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและมิได้เลือกปฏิบัติแต่อย่างใด การพิจารณาอุทธรณ์คัดค้านประกาศสรรพสามิตฉบับพิพาทได้กระทำโดยชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องอำนาจศาลภาษีอากรไว้ ดังนี้
มาตรา ๗ "ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งในเรื่องต่อไปนี้
(๑) คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน หรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร
...
(๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนภาษีอากร
..."
คดีนี้มูลคดีพิพาทสืบเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ได้ออกประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยกำหนดราคาขายเบียร์สิงห์ ๗๐ ของผู้ฟ้องคดีในราคา ๓๖.๙๕ บาท/ภาชนะ สูงกว่าราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทราบกำหนดราคาไว้แล้วคือราคา ๒๗.๑๘ บาท/ภาชนะ โดยอ้างว่าการออกประกาศที่อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสุรา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓ มาตรา ๘ จัตวา เป็นเรื่องฐานในการคำนวณภาษีสุรา ตามมูลค่า โดยมาตรา ๘ จัตวา (๑) วรรคหนึ่ง กำหนดให้สุราที่ทำในราชอาณาจักรต้องเสียภาษีตามราคาขาย ณ โรงงานสุรา รวมกับภาษีสุราที่พึงต้องชำระ และวรรคสองเป็นกรณีที่ไม่มีราคาขาย ณ โรงงานสุรา หรือราคาขายมีหลายราคาก็ให้ถือตามราคาที่อธิบดีประกาศตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ส่วนวรรคสามได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีโดยกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราในตลาดปกติ จึงเห็นได้ว่าประกาศกรมสรรพสามิตที่พิพาทเกี่ยวข้องโดยตรงกับฐานภาษีสุรา ซึ่งอธิบดีกรมสรรพสามิตโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักรเพื่อเป็นฐานในการคำนวณภาษีให้แตกต่างไปจากราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแจ้งไว้ได้ แม้ประกาศหรือคำสั่งพิพาทจะเป็นการออกโดยใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานก็ตาม แต่ก็ออกมาเพื่อกำหนดฐานภาษี อันเป็นผลสืบเนื่องจากการวินิจฉัยของเจ้าพนักงานซึ่งเห็นว่าราคาขาย ณ โรงงานสุราที่ผู้ฟ้องคดีแจ้งไว้เป็นราคาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีเหตุอันสมควร จึงได้ทำการประเมินราคาเพิ่มขึ้นโดยออกเป็นประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าว ถือได้ว่าการประเมินมูลค่าสุราเพื่อกำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินภาษีรูปแบบหนึ่ง เมื่อผู้ฟ้องคดี เห็นว่าเป็นประกาศหรือคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาล ย่อมเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. ๒๕๒๘ ยิ่งกว่านั้นการที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ชดใช้เงินค่าภาษีคืนหรืองดเว้นภาษีส่วนที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นเนื่องจากการออกประกาศดังกล่าว ก็เป็นประเด็นที่พิพาทเกี่ยวกับการขอคืนภาษีอากร ตามมาตรา ๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ทั้งประเด็นการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์นั้นก็เป็นมูลความที่เกี่ยวเนื่องกัน ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางเช่นเดียวกัน ดังนั้น คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๓) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง บริษัท ปทุมธานีบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ฟ้องคดี กระทรวงการคลัง ที่ ๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ ๒ กรมสรรพสามิต ที่ ๓ อธิบดีกรมสรรพสามิต ที่ ๔ เจ้าพนักงานสรรพสามิตพื้นที่ปทุมธานี ๑ ที่ ๕ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
วัชรินทร์ คัด/ทาน
??
??
??
??
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๘/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๕ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ ยื่นฟ้องกรมศิลปากร ที่ ๑ นายนิคม มูสิกะคามะ ที่ ๒ และนายอาวุธ เงินชูกลิ่น ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ ธ.๓๕๒๒/๒๕๔๕ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ซึ่งขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ในนามกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรมวัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา สัญญาว่าจ้างเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ วงเงินค่าจ้าง ๑๓๓,๗๔๙,๘๑๘.๑๘ บาท โดยมีโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าวของกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ซึ่งบริษัทเพ็ญคอน จำกัด ผู้ยื่นคำขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันได้ตกลงในคำขอว่าหากโจทก์ถูกเรียกเก็บเงินตามหนังสือค้ำประกันไปจำนวนเท่าใด บริษัทเพ็ญคอน จำกัด จะนำเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชำระไปพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๖ ต่อปี หรืออัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้โจทก์สามารถเรียกเก็บได้นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินไปมาชำระให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้คืนครบถ้วน ต่อมา กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไรท์แมนได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินตามสัญญาจ้างเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ จำนวน ๑๓๓,๗๔๙,๘๑๘.๑๘ บาท รวมทั้งค่าปรับ ราคาค่างานที่จะพึงเกิดขึ้นให้แก่โจทก์ เพื่อประกันการชำระหนี้ของบริษัทเพ็ญคอน จำกัด ที่มีแก่โจทก์อยู่แล้วและหนี้ในอนาคต โดยได้บอกกล่าวการโอนให้จำเลยที่ ๑ ทราบ และจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ได้มีหนังสือแจ้งไปยังกรมสรรพากรว่าจำเลยที่ ๑ ไม่ขัดข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว แต่นับแต่จำเลยที่ ๑ ได้รับการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินตามสัญญาจ้างฉบับดังกล่าว จำเลยที่ ๑ ไม่เคยส่งเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและพบว่า จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ กับบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ในนามกิจการร่วมค้าเพ็ญคอนไร้ท์แมน ได้สมคบกันโดยทุจริตจัดทำสัญญาจ้างฉบับใหม่ขึ้นในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ โดยใช้เลขที่สัญญาเดิมคือ สัญญาเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ซึ่งมีสาระสำคัญของข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ และเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๓ จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๓ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรกับบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ในนามกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ยังได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ฉบับลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ให้จำเลยที่ ๑ จ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน เป็นเงิน ๒๐,๐๖๒,๔๗๒.๗๓ บาท โดยมิได้บอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์แต่อย่างใด ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างดังกล่าว ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการจ่ายเงินดังกล่าวให้กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระหนี้ต่างๆ ที่บริษัทเพ็ญคอน จำกัด ค้างชำระหนี้ต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์เห็นว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายและผิดระเบียบปฏิบัติของทางราชการ รวมถึงมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างจึงได้ติดตามทวงถามให้จำเลยที่ ๑ คืนเงินให้แก่โจทก์แต่จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย จึงฟ้องคดีต่อศาลขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินจำนวน ๒๐,๐๖๒,๔๗๒.๗๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๓ ถึงวันฟ้อง รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน ๒๓,๐๖๓.๕๙๘.๗๙ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงิน ๒๐,๐๖๒,๔๗๒.๗๓ บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยที่ ๑ กับบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด มิได้สมคบกันโดยทุจริตจัดทำสัญญาจ้าง ฉบับลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นตามข้ออ้างของโจทก์ แต่การแก้ไขดังกล่าวเป็นไปเพราะสัญญาจ้างก่อสร้างฉบับลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒มีข้อความในสาระสำคัญคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงและเจตนาของคู่สัญญา และสัญญาฉบับลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ ก็ยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญาต่อไปอยู่ตามเดิม เว้นแต่ข้อความเฉพาะในส่วนที่ขัดแย้งกับข้อความที่คู่สัญญาตกลงกันให้ถือปฏิบัติตามสัญญา ฉบับลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เท่านั้น นอกจากนี้ เงินล่วงหน้าที่จำเลยที่ ๑ จ่ายให้แก่บริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ตามคำฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นเงินค่าจ้างทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งของค่าจ้างงวดหนึ่งงวดใดตามความหมายในสัญญาจ้างและในสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง เพราะมิใช่เป็นเงินที่จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารแต่เป็นเงินอีกประเภทหนึ่งซึ่งจำเลยที่ ๑ ตกลงให้แก่บริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ผู้รับจ้าง ยืมหรือเบิกไปใช้ก่อนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ทำให้ในการจ่ายเงินค่าจ้างตามงวดในสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งมีทั้งหมด ๔๔ งวด ผู้รับจ้างต้องยอมให้จำเลยที่ ๑ หักเงินค่าจ้างเพื่อชำระหนี้เงินยืมที่เบิกไปเป็นเงินงวดละ ๑,๐๐๓,๑๒๓.๖๔ บาท เสียก่อน หลังจากหักชำระแล้ว จำเลยที่ ๑ จึงจะจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง เมื่อเงินล่วงหน้าจำนวน ๒๐,๐๖๒,๔๗๒.๗๓ บาท มิใช่เป็นเงินค่าจ้างหรือส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
ต่อมา จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า คดีนี้มิใช่เป็นคดีแพ่งสามัญ แต่เป็นคดีปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เนื่องจากสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามฟ้องเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงาระหว่างกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนกับจำเลยที่ ๑ การที่จะวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเงินแก่โจทก์หรือไม่ต้องพิจารณาจากสัญญาจ้างซึ่งเป็นสัญญาประธานว่ากิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ได้ส่งมอบงานก่อสร้างให้จำเลยถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อยตามสัญญาจ้างหรือไม่ สัญญาประธานดังกล่าวคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งคือ จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างอาคารเพื่อให้เป็นสิ่งสาธารณูปโภคและเพื่อให้จัดทำเป็นบริการสาธารณะแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมทั้งให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนเช่าพื้นที่จัดกิจกรรม จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญานี้ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ขอให้มีคำสั่งโอนคดีไปศาลปกครองหรือจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
โจทก์ยื่นคำชี้แจงว่า มูลคดีนี้เป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นคดีแพ่งสามัญทั่วไป ไม่ใช่ข้อพิพาทที่เกิดจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองหรือเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองแต่อย่างใด นอกจากนั้น สัญญาว่าจ้างระหว่างจำเลยที่ ๑ กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ จำเลยที่ ๑ กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนจะมีข้อโต้แย้งหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาอย่างไรหรือไม่ ก็ไม่ผูกพันโจทก์ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งไม่ใช่ศาลปกครอง
ศาลแพ่งเห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างระหว่างจำเลยที่ ๑ กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน โดยอาศัยสิทธิที่โจทก์ได้รับโอนมาจากกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ จะต้องชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใดนั้น จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ฉบับลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นสัญญาประธานยังคงมีผลผูกพันอยู่หรือไม่ และจำเลยที่ ๑ ได้จ่ายค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนไปแล้ว หรือไม่ เพียงใด เมื่อพิเคราะห์ถึงข้อสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสรุปได้ว่า ผู้รับจ้างจะต้องก่อสร้างอาคารนิทรรศการทางวัฒนธรรม อาคารนิทรรศการทางธรรมชาติในทะเล อาคารนิทรรศการทางทรัพยากรธรณี อาคารนิทรรศการทางธรรมชาติบนพื้นดิน อาคารนิทรรศการหมุนเวียน นอกจากนั้นผู้รับจ้างยังต้องสรุปเนื้อหาวิชาการและติดตั้งงานโครงสร้างลอยตัวของนิทรรศการต่างๆ ดังกล่าว ต้องทำหุ่นจำลอง เช่น จำลองถ้ำ จำลองโกงกาง จำลองเขาตะปู ทำทางเดินชมทิวทัศน์ป่าโกงกาง เป็นที่เห็นได้ว่าอาคารและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีไว้เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้แก่ผู้เข้าชม และเมื่อพิจารณาประกอบกับอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘ มาตรา ๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓ อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะทำสัญญาแล้ว ปรากฏว่า จำเลยมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาในด้านศิลปวัฒนธรรมด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า สัญญาจ้างสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ดังกล่าวเป็นสัญญาว่าจ้างให้ปลูกสร้างสถานศึกษาประเภทหนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๘๑ บัญญัติว่า "รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ..." นอกจากนั้น หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา ๔๓ ยังบัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ... การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ..." การศึกษาจึงเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่ง สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัย ศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ระหว่างกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ เป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งในกรณีนี้คือศาลปกครองกลาง สำหรับกรณีของจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ แม้โจทก์บรรยายฟ้องสภาพแห่งข้อหาว่าเป็นเรื่องละเมิด แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ซึ่งเป็นอธิบดีของจำเลยที่ ๑ ใช้อำนาจยกเลิกสัญญาว่าจ้างเดิมแล้วทำสัญญาว่าจ้างขึ้นใหม่แก้ไขสัญญาฉบับใหม่ และจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน เพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ ไม่ให้โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ ชำระเงินแก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ ๑ รับโอนมาได้ การละเมิดของจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ จึงมิใช่การละเมิดโดยกายภาพ หากแต่เป็นกรณีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) และคดีนี้เกี่ยวเนื่องกับความรับผิดของจำเลยที่ ๑ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองกลางด้วย
ศาลปกครองกลางเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสามไม่ได้จ่ายเงินตามสิทธิเรียกร้องที่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน มีต่อจำเลยที่ ๑ ให้แก่โจทก์ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง อันเป็นเพียงการปฏิบัติผิดต่อภาระผูกพันที่มีต่อโจทก์ตามนิติสัมพันธ์ทางแพ่งที่มีอยู่ต่อกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๒ ลักษณะ ๑ หมวด ๔ ว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องเท่านั้น มิได้เป็นการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามแนวความเห็นของศาลปกครองสูงสุด (คำร้องที่ ๒๑๕/๒๕๔๔ คำสั่งที่ ๔๔/๒๕๔๕) นอกจากนี้ แม้ว่า "สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามันจังหวัดพังงา ตามสัญญาเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ฉบับลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒" ดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามนัยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่โดยที่ในการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามมีความผูกพันจะต้องชำระหนี้ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด นั้น จะต้องพิจารณาจาก "หนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ระหว่างโจทก์กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน" ซึ่งมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ทางแพ่งตามนัยมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาททางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งหมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
คดีนี้ ขณะยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ เป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ ๒๕๓๔ ประกอบพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ มีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาในด้านศิลปวัฒนธรรมตาม
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘ มาตรา ๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๗ (๔) จะบัญญัติให้จำเลยที่ ๑ เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นข้าราชการในสังกัดจำเลยที่ ๑ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติเดียวกัน สัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ระหว่างบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ในนามกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน กับจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้ มีวัตถุประสงค์ให้กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ก่อสร้างอาคารเพื่อให้ได้งานก่อสร้างที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้ การศึกษาเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของรัฐ อาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินบริการสาธารณะในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาของรัฐให้บรรลุผล ดังนั้น สัญญาจ้างก่อสร้างอาคารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ในสัญญาจ้างดังกล่าวตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน และโจทก์ ฟ้องจำเลยทั้งสามเพื่อขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยอ้างว่า จำเลยทั้งสามสมคบกันโดยทุจริตจัดทำสัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ ๑ ผู้ว่าจ้าง กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ผู้รับจ้าง ฉบับใหม่ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โจทก์ไม่ได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างฉบับเดิม และจำเลยที่ ๑ จงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องโดยไม่ส่งเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยทั้งสามให้การว่า การจัดทำสัญญาจ้างก่อสร้างฉบับใหม่ไม่ได้เป็นไปโดยมีเจตนาทุจริต และเงินที่จำเลยที่ ๑ จ่ายให้แก่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน มิใช่เงินค่าจ้างหรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามฟ้อง ดังนั้น แม้มูลคดีจะเป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลย ทั้งเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ข้อพิพาทโดยตรงจากข้อสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา แต่ข้ออ้างของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องมาจากสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ ๑ และกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนผูกพันเป็นคู่สัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา การที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระเงินค่าจ้างทำของตามสัญญาให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาอันเกี่ยวเนื่องมาจากสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา เมื่อสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นสัญญาทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ กรมศิลปากร ที่ ๑ นายนิคม มูสิกะคามะ ที่ ๒ และนายอาวุธ เงินชูกลิ่น ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
พลโท พลโท
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๘
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๘/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๕ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ ยื่นฟ้องกรมศิลปากร ที่ ๑ นายนิคม มูสิกะคามะ ที่ ๒ และนายอาวุธ เงินชูกลิ่น ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ ธ.๓๕๒๒/๒๕๔๕ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ซึ่งขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ในนามกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรมวัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา สัญญาว่าจ้างเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ วงเงินค่าจ้าง ๑๓๓,๗๔๙,๘๑๘.๑๘ บาท โดยมีโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าวของกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ซึ่งบริษัทเพ็ญคอน จำกัด ผู้ยื่นคำขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันได้ตกลงในคำขอว่าหากโจทก์ถูกเรียกเก็บเงินตามหนังสือค้ำประกันไปจำนวนเท่าใด บริษัทเพ็ญคอน จำกัด จะนำเงินตามจำนวนที่โจทก์ได้ชำระไปพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๖ ต่อปี หรืออัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้โจทก์สามารถเรียกเก็บได้นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินไปมาชำระให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้คืนครบถ้วน ต่อมา กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไรท์แมนได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินตามสัญญาจ้างเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ จำนวน ๑๓๓,๗๔๙,๘๑๘.๑๘ บาท รวมทั้งค่าปรับ ราคาค่างานที่จะพึงเกิดขึ้นให้แก่โจทก์ เพื่อประกันการชำระหนี้ของบริษัทเพ็ญคอน จำกัด ที่มีแก่โจทก์อยู่แล้วและหนี้ในอนาคต โดยได้บอกกล่าวการโอนให้จำเลยที่ ๑ ทราบ และจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ได้มีหนังสือแจ้งไปยังกรมสรรพากรว่าจำเลยที่ ๑ ไม่ขัดข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว แต่นับแต่จำเลยที่ ๑ ได้รับการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินตามสัญญาจ้างฉบับดังกล่าว จำเลยที่ ๑ ไม่เคยส่งเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและพบว่า จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ กับบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ในนามกิจการร่วมค้าเพ็ญคอนไร้ท์แมน ได้สมคบกันโดยทุจริตจัดทำสัญญาจ้างฉบับใหม่ขึ้นในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ โดยใช้เลขที่สัญญาเดิมคือ สัญญาเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ซึ่งมีสาระสำคัญของข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ และเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๓ จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๓ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรกับบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ในนามกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ยังได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ฉบับลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ให้จำเลยที่ ๑ จ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน เป็นเงิน ๒๐,๐๖๒,๔๗๒.๗๓ บาท โดยมิได้บอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์แต่อย่างใด ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างดังกล่าว ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการจ่ายเงินดังกล่าวให้กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระหนี้ต่างๆ ที่บริษัทเพ็ญคอน จำกัด ค้างชำระหนี้ต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์เห็นว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายและผิดระเบียบปฏิบัติของทางราชการ รวมถึงมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างจึงได้ติดตามทวงถามให้จำเลยที่ ๑ คืนเงินให้แก่โจทก์แต่จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย จึงฟ้องคดีต่อศาลขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระเงินจำนวน ๒๐,๐๖๒,๔๗๒.๗๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๓ ถึงวันฟ้อง รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน ๒๓,๐๖๓.๕๙๘.๗๙ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงิน ๒๐,๐๖๒,๔๗๒.๗๓ บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยที่ ๑ กับบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด มิได้สมคบกันโดยทุจริตจัดทำสัญญาจ้าง ฉบับลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นตามข้ออ้างของโจทก์ แต่การแก้ไขดังกล่าวเป็นไปเพราะสัญญาจ้างก่อสร้างฉบับลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒มีข้อความในสาระสำคัญคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงและเจตนาของคู่สัญญา และสัญญาฉบับลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ ก็ยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญาต่อไปอยู่ตามเดิม เว้นแต่ข้อความเฉพาะในส่วนที่ขัดแย้งกับข้อความที่คู่สัญญาตกลงกันให้ถือปฏิบัติตามสัญญา ฉบับลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เท่านั้น นอกจากนี้ เงินล่วงหน้าที่จำเลยที่ ๑ จ่ายให้แก่บริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ตามคำฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นเงินค่าจ้างทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งของค่าจ้างงวดหนึ่งงวดใดตามความหมายในสัญญาจ้างและในสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง เพราะมิใช่เป็นเงินที่จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารแต่เป็นเงินอีกประเภทหนึ่งซึ่งจำเลยที่ ๑ ตกลงให้แก่บริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ผู้รับจ้าง ยืมหรือเบิกไปใช้ก่อนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ทำให้ในการจ่ายเงินค่าจ้างตามงวดในสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งมีทั้งหมด ๔๔ งวด ผู้รับจ้างต้องยอมให้จำเลยที่ ๑ หักเงินค่าจ้างเพื่อชำระหนี้เงินยืมที่เบิกไปเป็นเงินงวดละ ๑,๐๐๓,๑๒๓.๖๔ บาท เสียก่อน หลังจากหักชำระแล้ว จำเลยที่ ๑ จึงจะจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ตามหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง เมื่อเงินล่วงหน้าจำนวน ๒๐,๐๖๒,๔๗๒.๗๓ บาท มิใช่เป็นเงินค่าจ้างหรือส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
ต่อมา จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า คดีนี้มิใช่เป็นคดีแพ่งสามัญ แต่เป็นคดีปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เนื่องจากสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามฟ้องเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงาระหว่างกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนกับจำเลยที่ ๑ การที่จะวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเงินแก่โจทก์หรือไม่ต้องพิจารณาจากสัญญาจ้างซึ่งเป็นสัญญาประธานว่ากิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ได้ส่งมอบงานก่อสร้างให้จำเลยถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อยตามสัญญาจ้างหรือไม่ สัญญาประธานดังกล่าวคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งคือ จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างอาคารเพื่อให้เป็นสิ่งสาธารณูปโภคและเพื่อให้จัดทำเป็นบริการสาธารณะแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมทั้งให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนเช่าพื้นที่จัดกิจกรรม จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญานี้ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ขอให้มีคำสั่งโอนคดีไปศาลปกครองหรือจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
โจทก์ยื่นคำชี้แจงว่า มูลคดีนี้เป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นคดีแพ่งสามัญทั่วไป ไม่ใช่ข้อพิพาทที่เกิดจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองหรือเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองแต่อย่างใด นอกจากนั้น สัญญาว่าจ้างระหว่างจำเลยที่ ๑ กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ จำเลยที่ ๑ กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนจะมีข้อโต้แย้งหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาอย่างไรหรือไม่ ก็ไม่ผูกพันโจทก์ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งไม่ใช่ศาลปกครอง
ศาลแพ่งเห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างระหว่างจำเลยที่ ๑ กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน โดยอาศัยสิทธิที่โจทก์ได้รับโอนมาจากกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ จะต้องชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใดนั้น จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์วิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ฉบับลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นสัญญาประธานยังคงมีผลผูกพันอยู่หรือไม่ และจำเลยที่ ๑ ได้จ่ายค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนไปแล้ว หรือไม่ เพียงใด เมื่อพิเคราะห์ถึงข้อสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างก่อสร้างสรุปได้ว่า ผู้รับจ้างจะต้องก่อสร้างอาคารนิทรรศการทางวัฒนธรรม อาคารนิทรรศการทางธรรมชาติในทะเล อาคารนิทรรศการทางทรัพยากรธรณี อาคารนิทรรศการทางธรรมชาติบนพื้นดิน อาคารนิทรรศการหมุนเวียน นอกจากนั้นผู้รับจ้างยังต้องสรุปเนื้อหาวิชาการและติดตั้งงานโครงสร้างลอยตัวของนิทรรศการต่างๆ ดังกล่าว ต้องทำหุ่นจำลอง เช่น จำลองถ้ำ จำลองโกงกาง จำลองเขาตะปู ทำทางเดินชมทิวทัศน์ป่าโกงกาง เป็นที่เห็นได้ว่าอาคารและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีไว้เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้แก่ผู้เข้าชม และเมื่อพิจารณาประกอบกับอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘ มาตรา ๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓ อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะทำสัญญาแล้ว ปรากฏว่า จำเลยมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาในด้านศิลปวัฒนธรรมด้วย จึงเป็นที่เห็นได้ว่า สัญญาจ้างสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ดังกล่าวเป็นสัญญาว่าจ้างให้ปลูกสร้างสถานศึกษาประเภทหนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๘๑ บัญญัติว่า "รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ..." นอกจากนั้น หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา ๔๓ ยังบัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ... การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ..." การศึกษาจึงเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่ง สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัย ศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ระหว่างกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ เป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งในกรณีนี้คือศาลปกครองกลาง สำหรับกรณีของจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ แม้โจทก์บรรยายฟ้องสภาพแห่งข้อหาว่าเป็นเรื่องละเมิด แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ซึ่งเป็นอธิบดีของจำเลยที่ ๑ ใช้อำนาจยกเลิกสัญญาว่าจ้างเดิมแล้วทำสัญญาว่าจ้างขึ้นใหม่แก้ไขสัญญาฉบับใหม่ และจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน เพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ ไม่ให้โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ ๑ ชำระเงินแก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ ๑ รับโอนมาได้ การละเมิดของจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ จึงมิใช่การละเมิดโดยกายภาพ หากแต่เป็นกรณีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) และคดีนี้เกี่ยวเนื่องกับความรับผิดของจำเลยที่ ๑ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองกลางด้วย
ศาลปกครองกลางเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสามไม่ได้จ่ายเงินตามสิทธิเรียกร้องที่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน มีต่อจำเลยที่ ๑ ให้แก่โจทก์ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง อันเป็นเพียงการปฏิบัติผิดต่อภาระผูกพันที่มีต่อโจทก์ตามนิติสัมพันธ์ทางแพ่งที่มีอยู่ต่อกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๒ ลักษณะ ๑ หมวด ๔ ว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องเท่านั้น มิได้เป็นการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามแนวความเห็นของศาลปกครองสูงสุด (คำร้องที่ ๒๑๕/๒๕๔๔ คำสั่งที่ ๔๔/๒๕๔๕) นอกจากนี้ แม้ว่า "สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามันจังหวัดพังงา ตามสัญญาเลขที่ ๓๒/๒๕๔๒ ฉบับลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒" ดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามนัยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่โดยที่ในการวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามมีความผูกพันจะต้องชำระหนี้ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด นั้น จะต้องพิจารณาจาก "หนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ระหว่างโจทก์กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน" ซึ่งมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ทางแพ่งตามนัยมาตรา ๓๐๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามในคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาททางแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งหมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
คดีนี้ ขณะยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ เป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ ๒๕๓๔ ประกอบพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ มีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาในด้านศิลปวัฒนธรรมตาม
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๓๘ มาตรา ๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๗ (๔) จะบัญญัติให้จำเลยที่ ๑ เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นข้าราชการในสังกัดจำเลยที่ ๑ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติเดียวกัน สัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา ระหว่างบริษัทเพ็ญคอน จำกัด และบริษัทไร้ท์แมน จำกัด ในนามกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน กับจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้ มีวัตถุประสงค์ให้กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ก่อสร้างอาคารเพื่อให้ได้งานก่อสร้างที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้ การศึกษาเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของรัฐ อาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินบริการสาธารณะในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาของรัฐให้บรรลุผล ดังนั้น สัญญาจ้างก่อสร้างอาคารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ในสัญญาจ้างดังกล่าวตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน และโจทก์ ฟ้องจำเลยทั้งสามเพื่อขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยอ้างว่า จำเลยทั้งสามสมคบกันโดยทุจริตจัดทำสัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ ๑ ผู้ว่าจ้าง กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน ผู้รับจ้าง ฉบับใหม่ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โจทก์ไม่ได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างฉบับเดิม และจำเลยที่ ๑ จงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องโดยไม่ส่งเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยทั้งสามให้การว่า การจัดทำสัญญาจ้างก่อสร้างฉบับใหม่ไม่ได้เป็นไปโดยมีเจตนาทุจริต และเงินที่จำเลยที่ ๑ จ่ายให้แก่กิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมน มิใช่เงินค่าจ้างหรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามฟ้อง ดังนั้น แม้มูลคดีจะเป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลย ทั้งเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ข้อพิพาทโดยตรงจากข้อสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา แต่ข้ออ้างของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องมาจากสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ กับกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ ๑ และกิจการร่วมค้าเพ็ญคอน-ไร้ท์แมนผูกพันเป็นคู่สัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา การที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระเงินค่าจ้างทำของตามสัญญาให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาอันเกี่ยวเนื่องมาจากสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา เมื่อสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นสัญญาทางปกครอง จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ กรมศิลปากร ที่ ๑ นายนิคม มูสิกะคามะ ที่ ๒ และนายอาวุธ เงินชูกลิ่น ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
พลโท พลโท
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๘
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลปกครองเชียงใหม่
ระหว่าง
ศาลจังหวัดลำพูน
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองเชียงใหม่โดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
บริษัท ชลกานต์วอเตอร์ จำกัด ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน ที่ ๑ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๖๘/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงงานผลิตและจัดส่งเพื่อจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดให้แก่ผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคเหนือ และเป็นผู้ใช้กระแสไฟฟ้ารายหนึ่งในจังหวัดลำพูน โดยผู้ฟ้องคดีได้ติดตั้งเครื่องควบคุมการใช้กำลังไฟฟ้าสูงสุดซึ่งมีการติดตั้งใช้งานอย่างแพร่หลาย เพื่อลดค่าไฟฟ้าอันเป็นต้นทุนการผลิต ร่วมกับการออกระเบียบเคร่งครัดการประหยัดไฟฟ้าภายในโรงงานจึงทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ต่อมาเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มาตรวจสอบจุดติดตั้งมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าซึ่งอยู่ริมรั้วห่างจากอาคารโรงงานประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ เมตร โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีส่งพนักงานผู้เชี่ยวชาญร่วมรับทราบและเฝ้าดูการปฏิบัติงาน แต่กลับเข้าทำการตรวจสอบโดยลำพังแล้วอ้างว่าพบสายคอนโทรลถูกตัดขาด และสามารถบอกได้ในทันทีว่ามีผลทำให้มิเตอร์หมุนช้าไปร้อยละห้าสิบ โดยปราศจากเครื่องมือวัดค่าใดๆ แล้วให้พนักงานในโรงงานของผู้ฟ้องคดีลงลายมือชื่อรับทราบข้อกล่าวหาทั้งที่ยังไม่มีการพิสูจน์ความผิด และเรียกเบี้ยปรับละเมิดการใช้ไฟฟ้าจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท จากนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือแจ้งว่าจะทำการปรับปรุง ค่ากระแสไฟฟ้าของผู้ฟ้องคดีที่ลดลงในเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ๒๕๔๓ เป็นจำนวนสูงถึง ๒๖๓,๐๗๕.๑๔ บาท โดยคิดคำนวณตามอำเภอใจ ผู้ฟ้องคดีจึงร้องขอความเป็นธรรมไปยังผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้กำหนดจำนวนเงินปรับปรุงค่ากระแสไฟฟ้าใหม่เป็นเงิน ๑๒๗,๔๒๒.๒๐ บาท พร้อมเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินจำนวนดังกล่าวภายใน ๗ วัน มิฉะนั้นจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้า ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายจึงยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองต่อศาลปกครองเชียงใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๗/๒๕๔๔ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกเบี้ยปรับละเมิดการใช้ไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้าที่ปรับปรุง และขอให้ศาลกำหนดวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราว โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ผู้ฟ้องคดีตามปกติ ต่อมาศาลปกครองเชียงใหม่มีคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวและคดีอยู่ระหว่างผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต่อศาลปกครองสูงสุด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือด่วนมากที่ มท ๕๓๖๑/ ลพ. ๐๙๓๐ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ให้ผู้ฟ้องคดีชำระหนี้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงกรณีละเมิดจำนวน ๑๒๗,๔๒๒.๒๐ บาท ภายในเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือชี้แจงไปยังผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพื่อให้ชะลอการงดจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้ก่อนเพราะคดีหมายเลขดำที่ ๒๗/๒๕๔๔ อยู่ระหว่างผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ด้วย แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้งดจ่ายกระแสไฟฟ้าและให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน ชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าในฐานะผู้ค้ำประกันของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแต่บังเกิดผลเสียหายแก่ประชาชนผู้ต้องจำยอมเข้าทำสัญญาด้วยโดยไม่มีทางเลือก เป็นการใช้อำนาจโดยไม่มีขอบเขต และมีเจตนามุ่งหมายให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ฟ้องคดีดังเดิมโดยเร็ว ให้ชดใช้เงินในบรรดาค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทำละเมิดจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ ให้คืนเงินค้ำประกันความเสียหายแก่ผู้ค้ำประกัน และให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือด่วนมากที่ มท ๕๓๖๑/ลพ. ๐๙๓๐ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ระหว่างพิจารณา ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นการปฏิบัติตามสัญญา และเป็นเรื่องสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีโดยตรง เป็นสัญญาที่ผู้ถูกฟ้องคดีทำกับผู้ใช้บริการเฉพาะราย มิใช่สัญญาที่ทำกับผู้ใช้บริการทั่วไป ไม่เป็นสัญญามหาชนหรือสัญญาทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง เพราะสัญญาที่พิพาทเป็นสัญญาทางปกครองที่เกี่ยวด้วยการสาธารณูปโภค การใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จที่ได้มาโดยผลของกฎหมายและเงินทุนที่ผู้ถูกฟ้องคดีใช้ในการประกอบกิจการก็เป็นเงินทุนของรัฐบาลที่ได้มาจากการเก็บภาษีจากประชาชน
ศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่า คดีนี้เป็นการพิพาทกันเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าซึ่งเป็นสัญญาทางแพ่ง จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลจังหวัดลำพูนเห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองกระทำการงดจ่ายกระแสไฟฟ้า อันมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นให้เกิดกับผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นประชาชนเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีภาระหน้าที่จัดบริการให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ใช้กระแสไฟฟ้า ดังนั้น สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นสัญญาที่จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งหมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
คดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นหน่วยงานในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๐๓ ประกอบพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตรา ๔ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และโดยที่พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๐๓ มาตรา ๖ มาตรา ๑๓ และมาตราอื่นๆ ได้กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไว้หลายประการ บางประการต้องใช้อำนาจทางปกครองในการดำเนินการ เช่น อำนาจในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๓๕ บางประการก็มิได้ใช้อำนาจทางปกครองแต่เป็นการดำเนินธุรกิจในเชิงพาณิชย์ เช่น การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามมาตรา ๖ (๒) ซึ่งให้อำนาจผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินธุรกิจได้เช่นเดียวกับเอกชนทั่วไป นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีกับเอกชนในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวจึงเป็นไปตามหลักกฎหมายแพ่ง การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองว่า กระทำละเมิดในการตรวจสอบและแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีชำระหนี้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงกรณีละเมิดตลอดจนงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว และให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน ชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าในฐานะผู้ค้ำประกันของผู้ฟ้องคดี และมีคำขอบังคับให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ฟ้องคดีดังเดิมโดยเร็วให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายและคืนเงินค้ำประกันความเสียหายแก่ผู้ค้ำประกัน กับให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีชำระหนี้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงกรณีละเมิดนั้น
การดำเนินการทั้งหลายของผู้ถูกฟ้องคดีอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งเป็นธุรกิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่กระทำกับผู้ฟ้องคดีในฐานะเสมอภาคเช่นเดียวกับเอกชนต่อเอกชน มิได้ใช้อำนาจทางปกครอง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางแพ่ง มิใช่สัญญาทางปกครองตามความหมายของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีนี้จึงเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง บริษัท ชลกานต์วอเตอร์ จำกัด ผู้ฟ้องคดี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน ที่ ๑ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
พลโท พลโท
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๔
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๗/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔)
ศาลปกครองเชียงใหม่
ระหว่าง
ศาลจังหวัดลำพูน
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองเชียงใหม่โดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
บริษัท ชลกานต์วอเตอร์ จำกัด ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน ที่ ๑ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๖๘/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงงานผลิตและจัดส่งเพื่อจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดให้แก่ผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคเหนือ และเป็นผู้ใช้กระแสไฟฟ้ารายหนึ่งในจังหวัดลำพูน โดยผู้ฟ้องคดีได้ติดตั้งเครื่องควบคุมการใช้กำลังไฟฟ้าสูงสุดซึ่งมีการติดตั้งใช้งานอย่างแพร่หลาย เพื่อลดค่าไฟฟ้าอันเป็นต้นทุนการผลิต ร่วมกับการออกระเบียบเคร่งครัดการประหยัดไฟฟ้าภายในโรงงานจึงทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ต่อมาเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มาตรวจสอบจุดติดตั้งมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าซึ่งอยู่ริมรั้วห่างจากอาคารโรงงานประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ เมตร โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีส่งพนักงานผู้เชี่ยวชาญร่วมรับทราบและเฝ้าดูการปฏิบัติงาน แต่กลับเข้าทำการตรวจสอบโดยลำพังแล้วอ้างว่าพบสายคอนโทรลถูกตัดขาด และสามารถบอกได้ในทันทีว่ามีผลทำให้มิเตอร์หมุนช้าไปร้อยละห้าสิบ โดยปราศจากเครื่องมือวัดค่าใดๆ แล้วให้พนักงานในโรงงานของผู้ฟ้องคดีลงลายมือชื่อรับทราบข้อกล่าวหาทั้งที่ยังไม่มีการพิสูจน์ความผิด และเรียกเบี้ยปรับละเมิดการใช้ไฟฟ้าจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท จากนั้นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือแจ้งว่าจะทำการปรับปรุง ค่ากระแสไฟฟ้าของผู้ฟ้องคดีที่ลดลงในเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน ๒๕๔๓ เป็นจำนวนสูงถึง ๒๖๓,๐๗๕.๑๔ บาท โดยคิดคำนวณตามอำเภอใจ ผู้ฟ้องคดีจึงร้องขอความเป็นธรรมไปยังผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้กำหนดจำนวนเงินปรับปรุงค่ากระแสไฟฟ้าใหม่เป็นเงิน ๑๒๗,๔๒๒.๒๐ บาท พร้อมเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินจำนวนดังกล่าวภายใน ๗ วัน มิฉะนั้นจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้า ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายจึงยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองต่อศาลปกครองเชียงใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๗/๒๕๔๔ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกเบี้ยปรับละเมิดการใช้ไฟฟ้าและค่ากระแสไฟฟ้าที่ปรับปรุง และขอให้ศาลกำหนดวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราว โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ผู้ฟ้องคดีตามปกติ ต่อมาศาลปกครองเชียงใหม่มีคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวและคดีอยู่ระหว่างผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต่อศาลปกครองสูงสุด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือด่วนมากที่ มท ๕๓๖๑/ ลพ. ๐๙๓๐ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ให้ผู้ฟ้องคดีชำระหนี้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงกรณีละเมิดจำนวน ๑๒๗,๔๒๒.๒๐ บาท ภายในเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือชี้แจงไปยังผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพื่อให้ชะลอการงดจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้ก่อนเพราะคดีหมายเลขดำที่ ๒๗/๒๕๔๔ อยู่ระหว่างผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้ร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ด้วย แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้งดจ่ายกระแสไฟฟ้าและให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน ชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าในฐานะผู้ค้ำประกันของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแต่บังเกิดผลเสียหายแก่ประชาชนผู้ต้องจำยอมเข้าทำสัญญาด้วยโดยไม่มีทางเลือก เป็นการใช้อำนาจโดยไม่มีขอบเขต และมีเจตนามุ่งหมายให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ฟ้องคดีดังเดิมโดยเร็ว ให้ชดใช้เงินในบรรดาค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทำละเมิดจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จ ให้คืนเงินค้ำประกันความเสียหายแก่ผู้ค้ำประกัน และให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามหนังสือด่วนมากที่ มท ๕๓๖๑/ลพ. ๐๙๓๐ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
ระหว่างพิจารณา ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นการปฏิบัติตามสัญญา และเป็นเรื่องสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีโดยตรง เป็นสัญญาที่ผู้ถูกฟ้องคดีทำกับผู้ใช้บริการเฉพาะราย มิใช่สัญญาที่ทำกับผู้ใช้บริการทั่วไป ไม่เป็นสัญญามหาชนหรือสัญญาทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง เพราะสัญญาที่พิพาทเป็นสัญญาทางปกครองที่เกี่ยวด้วยการสาธารณูปโภค การใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จที่ได้มาโดยผลของกฎหมายและเงินทุนที่ผู้ถูกฟ้องคดีใช้ในการประกอบกิจการก็เป็นเงินทุนของรัฐบาลที่ได้มาจากการเก็บภาษีจากประชาชน
ศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่า คดีนี้เป็นการพิพาทกันเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าซึ่งเป็นสัญญาทางแพ่ง จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลจังหวัดลำพูนเห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองกระทำการงดจ่ายกระแสไฟฟ้า อันมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นให้เกิดกับผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นประชาชนเกินสมควร ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีภาระหน้าที่จัดบริการให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ใช้กระแสไฟฟ้า ดังนั้น สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นสัญญาที่จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งหมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
คดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นหน่วยงานในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๐๓ ประกอบพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตรา ๔ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และโดยที่พระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๐๓ มาตรา ๖ มาตรา ๑๓ และมาตราอื่นๆ ได้กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไว้หลายประการ บางประการต้องใช้อำนาจทางปกครองในการดำเนินการ เช่น อำนาจในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๓๕ บางประการก็มิได้ใช้อำนาจทางปกครองแต่เป็นการดำเนินธุรกิจในเชิงพาณิชย์ เช่น การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามมาตรา ๖ (๒) ซึ่งให้อำนาจผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินธุรกิจได้เช่นเดียวกับเอกชนทั่วไป นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีกับเอกชนในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวจึงเป็นไปตามหลักกฎหมายแพ่ง การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองว่า กระทำละเมิดในการตรวจสอบและแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีชำระหนี้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงกรณีละเมิดตลอดจนงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว และให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน ชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าในฐานะผู้ค้ำประกันของผู้ฟ้องคดี และมีคำขอบังคับให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ฟ้องคดีดังเดิมโดยเร็วให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายและคืนเงินค้ำประกันความเสียหายแก่ผู้ค้ำประกัน กับให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีชำระหนี้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงกรณีละเมิดนั้น
การดำเนินการทั้งหลายของผู้ถูกฟ้องคดีอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งเป็นธุรกิจของผู้ถูกฟ้องคดีที่กระทำกับผู้ฟ้องคดีในฐานะเสมอภาคเช่นเดียวกับเอกชนต่อเอกชน มิได้ใช้อำนาจทางปกครอง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางแพ่ง มิใช่สัญญาทางปกครองตามความหมายของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีนี้จึงเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางแพ่งซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง บริษัท ชลกานต์วอเตอร์ จำกัด ผู้ฟ้องคดี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน ที่ ๑ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
พลโท พลโท
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๔
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง)
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๖ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้อง กองทัพบก ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๗๖/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดี เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ คันหมายเลขทะเบียน บร-๙๑๕๖ นครราชสีมา จากนายสมคิด ตุ้ยแคน ผู้เอาประกันภัย เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ นาฬิกา ขณะที่ผู้เอาประกันภัย ขับรถยนต์คันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับประกันภัยไว้มาตามถนนมิตรภาพจากทางด้านอำเภอปากช่องมุ่งหน้าไปทางอำเภอสีคิ้ว ผ่านมาถึงหน้าแผนก ๕ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้ถูกฟ้องคดี ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นอย่างแรง เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีได้ละเลยไม่กำกับดูแลให้หน่วยงานที่ขึ้นตรงทำการจัดเก็บรักษาและป้องกันวัตถุระเบิดให้ได้มาตรฐานในเรื่องของการจัดเก็บรักษาและมาตรการป้องกันภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ จนเป็นเหตุทำให้เกิดระเบิดและแรงอัดจากการระเบิดของคลังแสง และลูกระเบิดซึ่งถูกแรงอัดกระแทกของระเบิดได้อัดกระแทกและตกกระเด็นใส่รถยนต์คันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับประกันภัยไว้ ได้รับความเสียหายหลายรายการ ผู้ฟ้องคดีได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจึงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ถูกฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๙๖/๒๕๔๕ ระหว่างพิจารณา ศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ ให้ผู้ฟ้องคดีไปฟ้องต่อศาลปกครอง จึงนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครองกลางขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๘๖,๘๑๑ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จากต้นเงิน ๘๑,๗๐๔ บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การขนย้ายวัตถุระเบิดไปทำลายเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เหตุแห่งการระเบิดสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา เจ้าหน้าที่ชุดทำลายระเบิดจำนวน ๘ นาย นำรถยนต์บรรทุกขนาด ๒ ๑/๒ ตัน ไปทำการขนย้ายลูกระเบิดยิงจากปืนเล็กยาวขนาด ๗๐ มิลลิเมตร ชนิดระเบิดต่อสู้รถถังแบบ ๖๗ (ลย./ปล. ๗๐ มม.รบ.ตก. Type ๖๗) เพื่อนำไปทำลายและได้มีการยกขนหีบลูกระเบิดดังกล่าวจำนวนหนึ่งขึ้นไปบนรถแล้วได้ระเบิดขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๒๐ นาฬิกา เนื่องมาจากระเบิดดังกล่าว บางนัดมีความบกพร่องเสื่อมสภาพและเกิดจากการรั่วไหลของวัตถุระเบิดออกจากหัวรบ บางนัดอาจถูกจ่ายให้กับหน่วยปฏิบัติการนำไปใช้ในงานสนามแล้ว แต่ผู้ใช้ยังไม่ได้ใช้งานเมื่อเสร็จภารกิจก็นำมาคืนให้ฝ่ายสนับสนุนเพื่อเก็บไว้จ่ายให้กับการปฏิบัติการครั้งต่อไป ลูกระเบิดอาจได้รับการกระทบกระแทกอีก จึงอาจทำให้ระบบนิรภัยบกพร่องและทำให้ชนวนจุดระเบิดอยู่ในสภาพพร้อมทำงานซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าเกือบอุบัติเหตุ เมื่อมีการกระแทกจากการหยิบยกเคลื่อนย้ายการระเบิดจึงเกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องสุดวิสัยและไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี สำหรับความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับช่วงสิทธิมานั้นมิใช่จำนวน ๘๑,๑๐๗ บาทเนื่องจากภายหลังเกิดเหตุรถยนต์กระบะคันดังกล่าว ได้ถูกรถลากไปไว้ที่สถานีตำรวจภูธรตำบลหนองสาหร่ายแล้วนั้น ผู้เอาประกันภัยได้ไปตรวจสอบสภาพรถแล้วปรากฏว่ารถยนต์ได้รับความเสียหายและวิทยุเทปซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วได้หายไป โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าเกิดจากการระเบิด ดังนั้นจึงต้องหักจำนวนเงินค่าวิทยุจำนวน ๗,๒๒๐ บาท ออกจากค่าซ่อมรถยนต์จำนวน ๘๑,๑๐๗ บาท คงเหลือเพียงค่าซ่อมรถยนต์จำนวน ๗๓,๘๘๗ บาทเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยลดลงไปด้วย ผู้ถูกฟ้องคดีได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ฟ้องคดีขณะเป็นโจทก์ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งปรากฏว่าทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเสียหายเกิดจากการระเบิดจริง แต่ค่าเสียหายไม่เต็มตามจำนวนที่ฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่สังกัดหน่วยงานของรัฐอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้บัญญัติให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพบกและป้องกันราชอาณาจักร อันทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามกฎหมายในการมีเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิด ซึ่งเป็นทรัพย์อันตรายไว้ในครอบครองและมีอำนาจทำลายเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดที่เสื่อมสภาพแล้ว ซึ่งบุคคลทั่วไปไม่สามารถจะดำเนินการดังเช่นผู้ถูกฟ้องคดีได้หากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ เมื่อเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ระบบนิรภัยของชนวนลูกระเบิดยิงจากปืนเล็กขนาด ๗๐ มิลลิเมตร ชนิดต่อสู้รถถังแบบ ๖๗ บางนัดบกพร่องและเกิดจากการรั่วไหลของวัตถุระเบิดออกจากหัวรบ เมื่อมีการหยิบยกขนย้ายเพื่อไปทำลายจึงเกิดการกระทบกระเทือนทำให้เกิดระเบิด แม้จะเป็นการกระทำทางกายภาพก็ตาม แต่การกระทำทางกายภาพดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เมื่อเกิดการระเบิดและผู้ฟ้องคดีอ้างว่า การระเบิดดังกล่าวทำให้รถยนต์ของผู้เอาประกันภัย ได้รับความเสียหายโดยผู้ฟ้องคดีเป็นผู้รับประกันภัย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื่องจากการเก็บและการหยิบยกขนย้ายเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดเพื่อไปทำลายนั้นเป็นการดำเนินการโดยใช้อำนาจตามกฎหมาย และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการครอบครองและทำลายวัตถุระเบิดดังกล่าว ซึ่งเป็นทรัพย์อันตรายแม้ว่าเหตุระเบิดอาจจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยและผู้ฟ้องคดีอ้างว่าการกระทำดังกล่าว ทำให้รถยนต์ของผู้เอาประกันภัยเสียหาย กรณีดังกล่าวก็เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีให้การอ้างถึงอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการมีอาวุธและวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง และการทำลายเครื่องกระสุนปืนที่เสื่อมสภาพ อันทำให้รับฟังได้ว่าการหยิบยกขนย้ายเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดในคราวเกิดเหตุเป็นการนำออกไปทำลายตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามกฎหมายก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวก็เป็นเพียงการปฏิบัติทางกายภาพเพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงานเท่านั้น มิใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงมิใช่เรื่องการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎ หรือคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) การปรากฏถึงข้อเท็จจริงว่ากองทัพบกมีอำนาจตามกฎหมายในการครอบครองเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดรวมทั้งอำนาจในการทำลายเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดที่เสื่อมสภาพไม่ได้ทำให้ข้อเท็จจริงเรื่องการปฏิบัติทางกายภาพในคดีนี้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งข้อเท็จจริงตามคำฟ้องในคดีนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๙๘/๒๕๔๕ คดีหมายเลขแดงที่ ๘/๒๕๔๖ ระหว่างบริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด(มหาชน) โจทก์ กรมสรรพาวุธทหารบก ที่ ๑ กองทัพบก ที่ ๒ จำเลย ของศาลนี้ กับคดีหมายดำที่ ๙๖/๒๕๔๖ หมายเลขแดงที่ ๔๓๘/๒๕๔๖ ระหว่าง บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดี กรมสรรพาวุธทหารบก ที่ ๑ กองทัพบก ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ของศาลปกครองนครราชสีมา ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ปรากฏตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๔/๒๕๔๖ ดังนั้นคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองกลาง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นที่ต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ มาตรา ๑๗ ประกอบพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๔ (๒๔) และมาตรา ๕ (๒๔) กำหนดให้กองทัพบกมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีกรมสรรพาวุธทหารบกเป็นส่วนราชการในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประเด็นที่ต้องพิจารณาถัดไปมีว่า คดีเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีในกรณีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของ ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่โดยประมาททำให้เกิดเหตุระเบิดและทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย เมื่อเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ในการเตรียมกำลังกองทัพบกและการป้องกันราชอาณาจักรของผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จากการปฏิบัติหน้าที่ กรณีจึงเป็นไปตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น แต่การดำเนินการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดออกไปทำลาย ณ สถานที่ทำลายวัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีในคดีนี้ เป็นเพียงปฏิบัติการทางปกครองที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดาเพื่อให้กิจการของฝ่ายปกครองเกิดผลสำเร็จเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย และแม้คดีเป็นกรณีพิพาทในการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ ก็เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด ผู้ฟ้องคดี กองทัพบก ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๒
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง)
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๖ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้อง กองทัพบก ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๗๖/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดี เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ คันหมายเลขทะเบียน บร-๙๑๕๖ นครราชสีมา จากนายสมคิด ตุ้ยแคน ผู้เอาประกันภัย เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ นาฬิกา ขณะที่ผู้เอาประกันภัย ขับรถยนต์คันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับประกันภัยไว้มาตามถนนมิตรภาพจากทางด้านอำเภอปากช่องมุ่งหน้าไปทางอำเภอสีคิ้ว ผ่านมาถึงหน้าแผนก ๕ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อผู้ถูกฟ้องคดี ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นอย่างแรง เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีได้ละเลยไม่กำกับดูแลให้หน่วยงานที่ขึ้นตรงทำการจัดเก็บรักษาและป้องกันวัตถุระเบิดให้ได้มาตรฐานในเรื่องของการจัดเก็บรักษาและมาตรการป้องกันภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ จนเป็นเหตุทำให้เกิดระเบิดและแรงอัดจากการระเบิดของคลังแสง และลูกระเบิดซึ่งถูกแรงอัดกระแทกของระเบิดได้อัดกระแทกและตกกระเด็นใส่รถยนต์คันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับประกันภัยไว้ ได้รับความเสียหายหลายรายการ ผู้ฟ้องคดีได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจึงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ถูกฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๙๖/๒๕๔๕ ระหว่างพิจารณา ศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ ให้ผู้ฟ้องคดีไปฟ้องต่อศาลปกครอง จึงนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครองกลางขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๘๖,๘๑๑ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จากต้นเงิน ๘๑,๗๐๔ บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การขนย้ายวัตถุระเบิดไปทำลายเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เหตุแห่งการระเบิดสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา เจ้าหน้าที่ชุดทำลายระเบิดจำนวน ๘ นาย นำรถยนต์บรรทุกขนาด ๒ ๑/๒ ตัน ไปทำการขนย้ายลูกระเบิดยิงจากปืนเล็กยาวขนาด ๗๐ มิลลิเมตร ชนิดระเบิดต่อสู้รถถังแบบ ๖๗ (ลย./ปล. ๗๐ มม.รบ.ตก. Type ๖๗) เพื่อนำไปทำลายและได้มีการยกขนหีบลูกระเบิดดังกล่าวจำนวนหนึ่งขึ้นไปบนรถแล้วได้ระเบิดขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๒๐ นาฬิกา เนื่องมาจากระเบิดดังกล่าว บางนัดมีความบกพร่องเสื่อมสภาพและเกิดจากการรั่วไหลของวัตถุระเบิดออกจากหัวรบ บางนัดอาจถูกจ่ายให้กับหน่วยปฏิบัติการนำไปใช้ในงานสนามแล้ว แต่ผู้ใช้ยังไม่ได้ใช้งานเมื่อเสร็จภารกิจก็นำมาคืนให้ฝ่ายสนับสนุนเพื่อเก็บไว้จ่ายให้กับการปฏิบัติการครั้งต่อไป ลูกระเบิดอาจได้รับการกระทบกระแทกอีก จึงอาจทำให้ระบบนิรภัยบกพร่องและทำให้ชนวนจุดระเบิดอยู่ในสภาพพร้อมทำงานซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าเกือบอุบัติเหตุ เมื่อมีการกระแทกจากการหยิบยกเคลื่อนย้ายการระเบิดจึงเกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องสุดวิสัยและไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี สำหรับความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับช่วงสิทธิมานั้นมิใช่จำนวน ๘๑,๑๐๗ บาทเนื่องจากภายหลังเกิดเหตุรถยนต์กระบะคันดังกล่าว ได้ถูกรถลากไปไว้ที่สถานีตำรวจภูธรตำบลหนองสาหร่ายแล้วนั้น ผู้เอาประกันภัยได้ไปตรวจสอบสภาพรถแล้วปรากฏว่ารถยนต์ได้รับความเสียหายและวิทยุเทปซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วได้หายไป โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าเกิดจากการระเบิด ดังนั้นจึงต้องหักจำนวนเงินค่าวิทยุจำนวน ๗,๒๒๐ บาท ออกจากค่าซ่อมรถยนต์จำนวน ๘๑,๑๐๗ บาท คงเหลือเพียงค่าซ่อมรถยนต์จำนวน ๗๓,๘๘๗ บาทเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยลดลงไปด้วย ผู้ถูกฟ้องคดีได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ฟ้องคดีขณะเป็นโจทก์ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งปรากฏว่าทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเสียหายเกิดจากการระเบิดจริง แต่ค่าเสียหายไม่เต็มตามจำนวนที่ฟ้อง ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่สังกัดหน่วยงานของรัฐอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้บัญญัติให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพบกและป้องกันราชอาณาจักร อันทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามกฎหมายในการมีเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิด ซึ่งเป็นทรัพย์อันตรายไว้ในครอบครองและมีอำนาจทำลายเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดที่เสื่อมสภาพแล้ว ซึ่งบุคคลทั่วไปไม่สามารถจะดำเนินการดังเช่นผู้ถูกฟ้องคดีได้หากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ เมื่อเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ระบบนิรภัยของชนวนลูกระเบิดยิงจากปืนเล็กขนาด ๗๐ มิลลิเมตร ชนิดต่อสู้รถถังแบบ ๖๗ บางนัดบกพร่องและเกิดจากการรั่วไหลของวัตถุระเบิดออกจากหัวรบ เมื่อมีการหยิบยกขนย้ายเพื่อไปทำลายจึงเกิดการกระทบกระเทือนทำให้เกิดระเบิด แม้จะเป็นการกระทำทางกายภาพก็ตาม แต่การกระทำทางกายภาพดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เมื่อเกิดการระเบิดและผู้ฟ้องคดีอ้างว่า การระเบิดดังกล่าวทำให้รถยนต์ของผู้เอาประกันภัย ได้รับความเสียหายโดยผู้ฟ้องคดีเป็นผู้รับประกันภัย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื่องจากการเก็บและการหยิบยกขนย้ายเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดเพื่อไปทำลายนั้นเป็นการดำเนินการโดยใช้อำนาจตามกฎหมาย และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการครอบครองและทำลายวัตถุระเบิดดังกล่าว ซึ่งเป็นทรัพย์อันตรายแม้ว่าเหตุระเบิดอาจจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยและผู้ฟ้องคดีอ้างว่าการกระทำดังกล่าว ทำให้รถยนต์ของผู้เอาประกันภัยเสียหาย กรณีดังกล่าวก็เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีให้การอ้างถึงอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการมีอาวุธและวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง และการทำลายเครื่องกระสุนปืนที่เสื่อมสภาพ อันทำให้รับฟังได้ว่าการหยิบยกขนย้ายเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดในคราวเกิดเหตุเป็นการนำออกไปทำลายตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามกฎหมายก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวก็เป็นเพียงการปฏิบัติทางกายภาพเพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงานเท่านั้น มิใช่การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงมิใช่เรื่องการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎ หรือคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) การปรากฏถึงข้อเท็จจริงว่ากองทัพบกมีอำนาจตามกฎหมายในการครอบครองเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดรวมทั้งอำนาจในการทำลายเครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดที่เสื่อมสภาพไม่ได้ทำให้ข้อเท็จจริงเรื่องการปฏิบัติทางกายภาพในคดีนี้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งข้อเท็จจริงตามคำฟ้องในคดีนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๙๘/๒๕๔๕ คดีหมายเลขแดงที่ ๘/๒๕๔๖ ระหว่างบริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด(มหาชน) โจทก์ กรมสรรพาวุธทหารบก ที่ ๑ กองทัพบก ที่ ๒ จำเลย ของศาลนี้ กับคดีหมายดำที่ ๙๖/๒๕๔๖ หมายเลขแดงที่ ๔๓๘/๒๕๔๖ ระหว่าง บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดี กรมสรรพาวุธทหารบก ที่ ๑ กองทัพบก ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ของศาลปกครองนครราชสีมา ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล มีคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ปรากฏตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๔/๒๕๔๖ ดังนั้นคดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองกลาง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นที่ต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ มาตรา ๑๗ ประกอบพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๔ (๒๔) และมาตรา ๕ (๒๔) กำหนดให้กองทัพบกมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีกรมสรรพาวุธทหารบกเป็นส่วนราชการในสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประเด็นที่ต้องพิจารณาถัดไปมีว่า คดีเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีในกรณีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของ ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่โดยประมาททำให้เกิดเหตุระเบิดและทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย เมื่อเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ในการเตรียมกำลังกองทัพบกและการป้องกันราชอาณาจักรของผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จากการปฏิบัติหน้าที่ กรณีจึงเป็นไปตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น แต่การดำเนินการเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดออกไปทำลาย ณ สถานที่ทำลายวัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีในคดีนี้ เป็นเพียงปฏิบัติการทางปกครองที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดาเพื่อให้กิจการของฝ่ายปกครองเกิดผลสำเร็จเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย และแม้คดีเป็นกรณีพิพาทในการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ ก็เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด ผู้ฟ้องคดี กองทัพบก ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๒
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแพ่ง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายอุทัย คล่องหัดพล ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องผู้อำนวยการเขตพระนคร ที่ ๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ผู้ร้องสอด) ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๓๖๘/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม ๘ ซอยวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ด้านหลังติดกับที่ดินของนางหยะ นิลพานิช โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๔๗ ด้านซ้ายติดกับที่ดินของหม่อมราชวงศ์ พฤติสาณ ชุมพล โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๕๐ ส่วนด้านขวาติดกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๕๗ ผู้ฟ้องคดีได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยและครอบครองที่งอกริมตลิ่งดังกล่าวซึ่งตื้นเขินมาแล้วประมาณ ๒๐ ปี ต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือที่ กท ๙๐๐๑/๓๔๔๔ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ ให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกปักอาคารออกจากที่ดินที่ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากในพื้นที่ใกล้เคียงยังมีบุคคลอื่นได้ทำการปลูกสร้างอาคารในลักษณะเดียวกับผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มิได้มีคำสั่งให้ดำเนินการรื้อถอนอาคารแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ประกอบกับผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งนี้ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ โดยยื่นต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ และยื่นต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ แต่จนกระทั่งยื่นฟ้องคดีนี้ก็ยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้ผู้ฟ้องคดีทราบ นอกจากนี้ ผู้ฟ้องคดียังเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีเจตนากลั่นแกล้งละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ไม่จัดส่งคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไปให้ผู้มีอำนาจพิจารณาตามขั้นตอนโดยเร็ว ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
อนึ่ง นางรุจิรา ดำรงผล บุตรของนางหยะ นิลพานิช เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๔๔๗ ได้เคยยื่นฟ้องผู้ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทำละเมิด ขับไล่ และครอบครองปรปักษ์ ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำพิพากษายกฟ้อง (คดีหมายเลขแดงที่ ม. ๔๖๘/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๕)
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ปฏิบัติราชการแทน ได้มีคำสั่งแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกปักอาคารออกจากที่อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื่องจากตรวจสอบพบว่าผู้ฟ้องคดีปลูกสร้างอาคารเพิงพักอาศัยจำนวนห้าหลังรุกล้ำแนวเขตแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่เขตพระนครซึ่งเป็นที่สาธารณะและอยู่ในความดูแลความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยปลูกสร้างขึ้นบริเวณด้านหน้าที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๔๔๗ เลขที่ ๒๓๔ ตำบลบางขุนพรหม อำเภอบางขุนพรหม (ดุสิต) กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนางหยะ นิลพานิช เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยอยู่นอกเขตที่ดินแปลงดังกล่าวด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔๔ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๐๒ ต่อมา ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ว่าอาคารทั้งห้าหลังของผู้ฟ้องคดีปลูกอยู่บนที่งอกริมตลิ่งที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองอยู่ ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งมีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ดังกล่าวตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๕ วินิจฉัยว่า ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีเนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่งตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง กรุงเทพมหานครจึงส่งเรื่องให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๕ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๒ (๑๑) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาคำอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ การออกคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในเรื่องนี้จึงเป็นการออกคำสั่งโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งโดยพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายที่ให้อำนาจโดยชอบ ไม่ได้เลือกปฏิบัติ และไม่มีเจตนากลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่แต่ประการใด การที่ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๔๔ และผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีกำลังวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๔๕ ยังไม่ได้มีการสั่งการอย่างใดเกี่ยวกับการอุทธรณ์ดังกล่าว การฟ้องคดีเรื่องนี้จึงไม่อาจกระทำได้ตามเงื่อนไขในมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ที่ดินที่มีการก่อสร้างอันเป็นเหตุให้มีการออกคำสั่งที่ขอเพิกถอนในคดีนี้ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่งตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง เนื่องจากเป็นที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และไม่ว่าความจะเป็นประการใด ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่อยู่ด้านหน้าของโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๔๗ ซึ่งเป็นของนางหยะ นิลพานิช ไม่ได้อยู่ด้านหน้าที่ดินโฉนดเลขที่ ฉ.๑๕๗ ซึ่งเป็นของผู้ฟ้องคดี จึงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งหรือที่งอกออกจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่านางรุจิรา ดำรงผล ซึ่งเป็นบุตรของนางหยะ นิลพานิช ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้ฟ้องคดีเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในข้อหาละเมิดสิทธิ ขับไล่ ครอบครองปรปักษ์นั้น แม้ศาลแพ่งจะมีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว แต่ในคำพิพากษาของศาลแพ่งก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี และตามข้อความในคำพิพากษา ก็ปรากฏเพียงคำให้การของผู้ฟ้องคดีซึ่งให้การว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ได้เป็นทายาท ไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินตามฟ้องเท่านั้น ไม่ปรากฏข้ออ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้ถูกโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ยกขึ้นอ้างเป็นเหตุฟ้องคดีนี้ ไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ระหว่างพิจารณา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้แม้ผู้ฟ้องคดีจะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างฯ อันเป็นคำสั่งทางปกครอง โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย แต่ประเด็นหลักที่ผู้ฟ้องคดีอ้างเป็นเหตุโต้แย้งคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ที่มีการปลูกสร้างอาคารว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี ไม่ใช่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน กรณีเช่นนี้จำเป็นต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามข้ออ้างหรือไม่ จึงจะพิจารณาเกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งในคดีนี้ต่อไปได้ ซึ่งการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลอันเกี่ยวกับที่ดินต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ว่าด้วยทรัพย์สิน ประกอบกับประมวลกฎหมายที่ดินเป็นหลัก อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๐/๒๕๔๕ และ ๓๒/๒๕๔๕
ผู้ฟ้องคดีชี้แจงว่า คดีนี้ มูลความแห่งคดีที่ผู้ฟ้องคดีนำมาฟ้องต่อศาลปกครองกลาง สืบเนื่องมาจากคำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นประเด็นหลัก ส่วนประเด็นเรื่องสิทธิในที่ดินเป็นประเด็นรอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางเห็นว่า ข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่คู่กรณีโต้แย้งเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ในการพิจารณาพิพากษาคดีจึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาให้ได้ความว่า คำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรหรือไม่ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ กท ๙๐๐๑/๓๔๔๔ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นคำขอที่ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ศาลแพ่งเห็นว่า คดีนี้คู่กรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ และจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย โดยจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของคู่กรณีและพยานหลักฐานการใช้ประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินส่วนข้อหาที่ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เลือกปฏิบัติต่อผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นปัญหาลำดับรองเมื่อคดีมีประเด็นหลักเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การคดีนี้สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยและครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกปักอาคารออกจากที่ดินดังกล่าวอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์แต่ประการใด ทั้งผู้ฟ้องคดียังเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีเจตนากลั่นแกล้งละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ไม่จัดส่งคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไปให้ผู้มีอำนาจพิจารณาตามขั้นตอนโดยเร็ว ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้าง การออกคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้เลือกปฏิบัติและไม่มีเจตนากลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่แต่ประการใด ส่วนอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีนั้นกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณา ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นกรณีที่ยังมีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินกันอยู่ การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายอุทัย คล่องหัดพล ผู้ฟ้องคดี ผู้อำนวยการเขตพระนคร ที่ ๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ผู้ร้องสอด) ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๒
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแพ่ง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายอุทัย คล่องหัดพล ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องผู้อำนวยการเขตพระนคร ที่ ๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ผู้ร้องสอด) ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๓๖๘/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม ๘ ซอยวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ด้านหลังติดกับที่ดินของนางหยะ นิลพานิช โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๔๗ ด้านซ้ายติดกับที่ดินของหม่อมราชวงศ์ พฤติสาณ ชุมพล โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๕๐ ส่วนด้านขวาติดกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๕๗ ผู้ฟ้องคดีได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยและครอบครองที่งอกริมตลิ่งดังกล่าวซึ่งตื้นเขินมาแล้วประมาณ ๒๐ ปี ต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือที่ กท ๙๐๐๑/๓๔๔๔ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ ให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกปักอาคารออกจากที่ดินที่ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากในพื้นที่ใกล้เคียงยังมีบุคคลอื่นได้ทำการปลูกสร้างอาคารในลักษณะเดียวกับผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มิได้มีคำสั่งให้ดำเนินการรื้อถอนอาคารแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ประกอบกับผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งนี้ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ โดยยื่นต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ และยื่นต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ แต่จนกระทั่งยื่นฟ้องคดีนี้ก็ยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้ผู้ฟ้องคดีทราบ นอกจากนี้ ผู้ฟ้องคดียังเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีเจตนากลั่นแกล้งละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ไม่จัดส่งคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไปให้ผู้มีอำนาจพิจารณาตามขั้นตอนโดยเร็ว ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
อนึ่ง นางรุจิรา ดำรงผล บุตรของนางหยะ นิลพานิช เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๔๔๗ ได้เคยยื่นฟ้องผู้ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งกล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทำละเมิด ขับไล่ และครอบครองปรปักษ์ ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำพิพากษายกฟ้อง (คดีหมายเลขแดงที่ ม. ๔๖๘/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๕)
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ปฏิบัติราชการแทน ได้มีคำสั่งแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกปักอาคารออกจากที่อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื่องจากตรวจสอบพบว่าผู้ฟ้องคดีปลูกสร้างอาคารเพิงพักอาศัยจำนวนห้าหลังรุกล้ำแนวเขตแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่เขตพระนครซึ่งเป็นที่สาธารณะและอยู่ในความดูแลความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยปลูกสร้างขึ้นบริเวณด้านหน้าที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๔๔๗ เลขที่ ๒๓๔ ตำบลบางขุนพรหม อำเภอบางขุนพรหม (ดุสิต) กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนางหยะ นิลพานิช เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยอยู่นอกเขตที่ดินแปลงดังกล่าวด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔๔ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๐๒ ต่อมา ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ว่าอาคารทั้งห้าหลังของผู้ฟ้องคดีปลูกอยู่บนที่งอกริมตลิ่งที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองอยู่ ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งมีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ดังกล่าวตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๕ วินิจฉัยว่า ไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีเนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่งตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง กรุงเทพมหานครจึงส่งเรื่องให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๕ ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๒ (๑๑) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาคำอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ การออกคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในเรื่องนี้จึงเป็นการออกคำสั่งโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งโดยพิจารณาข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายที่ให้อำนาจโดยชอบ ไม่ได้เลือกปฏิบัติ และไม่มีเจตนากลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่แต่ประการใด การที่ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๔๔ และผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีกำลังวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๔๕ ยังไม่ได้มีการสั่งการอย่างใดเกี่ยวกับการอุทธรณ์ดังกล่าว การฟ้องคดีเรื่องนี้จึงไม่อาจกระทำได้ตามเงื่อนไขในมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ที่ดินที่มีการก่อสร้างอันเป็นเหตุให้มีการออกคำสั่งที่ขอเพิกถอนในคดีนี้ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่งตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง เนื่องจากเป็นที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และไม่ว่าความจะเป็นประการใด ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่อยู่ด้านหน้าของโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๔๔๗ ซึ่งเป็นของนางหยะ นิลพานิช ไม่ได้อยู่ด้านหน้าที่ดินโฉนดเลขที่ ฉ.๑๕๗ ซึ่งเป็นของผู้ฟ้องคดี จึงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งหรือที่งอกออกจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่านางรุจิรา ดำรงผล ซึ่งเป็นบุตรของนางหยะ นิลพานิช ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้ฟ้องคดีเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในข้อหาละเมิดสิทธิ ขับไล่ ครอบครองปรปักษ์นั้น แม้ศาลแพ่งจะมีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว แต่ในคำพิพากษาของศาลแพ่งก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี และตามข้อความในคำพิพากษา ก็ปรากฏเพียงคำให้การของผู้ฟ้องคดีซึ่งให้การว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ได้เป็นทายาท ไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินตามฟ้องเท่านั้น ไม่ปรากฏข้ออ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้ถูกโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ยกขึ้นอ้างเป็นเหตุฟ้องคดีนี้ ไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ระหว่างพิจารณา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้แม้ผู้ฟ้องคดีจะฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างฯ อันเป็นคำสั่งทางปกครอง โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย แต่ประเด็นหลักที่ผู้ฟ้องคดีอ้างเป็นเหตุโต้แย้งคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทอันเป็นที่ที่มีการปลูกสร้างอาคารว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี ไม่ใช่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน กรณีเช่นนี้จำเป็นต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามข้ออ้างหรือไม่ จึงจะพิจารณาเกี่ยวกับการเพิกถอนคำสั่งในคดีนี้ต่อไปได้ ซึ่งการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลอันเกี่ยวกับที่ดินต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ว่าด้วยทรัพย์สิน ประกอบกับประมวลกฎหมายที่ดินเป็นหลัก อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๐/๒๕๔๕ และ ๓๒/๒๕๔๕
ผู้ฟ้องคดีชี้แจงว่า คดีนี้ มูลความแห่งคดีที่ผู้ฟ้องคดีนำมาฟ้องต่อศาลปกครองกลาง สืบเนื่องมาจากคำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นประเด็นหลัก ส่วนประเด็นเรื่องสิทธิในที่ดินเป็นประเด็นรอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางเห็นว่า ข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่คู่กรณีโต้แย้งเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ในการพิจารณาพิพากษาคดีจึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาให้ได้ความว่า คำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรหรือไม่ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ กท ๙๐๐๑/๓๔๔๔ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นคำขอที่ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ศาลแพ่งเห็นว่า คดีนี้คู่กรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์เป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ และจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย โดยจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของคู่กรณีและพยานหลักฐานการใช้ประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินส่วนข้อหาที่ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เลือกปฏิบัติต่อผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นปัญหาลำดับรองเมื่อคดีมีประเด็นหลักเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การคดีนี้สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยและครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกปักอาคารออกจากที่ดินดังกล่าวอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์แต่ประการใด ทั้งผู้ฟ้องคดียังเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีเจตนากลั่นแกล้งละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ไม่จัดส่งคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไปให้ผู้มีอำนาจพิจารณาตามขั้นตอนโดยเร็ว ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้าง การออกคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้เลือกปฏิบัติและไม่มีเจตนากลั่นแกล้งผู้ฟ้องคดีหรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่แต่ประการใด ส่วนอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีนั้นกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณา ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นกรณีที่ยังมีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินกันอยู่ การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นได้ต่อไป จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายอุทัย คล่องหัดพล ผู้ฟ้องคดี ผู้อำนวยการเขตพระนคร ที่ ๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ผู้ร้องสอด) ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๒
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๔/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดขอนแก่น
ระหว่าง
ศาลปกครองขอนแก่น
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดขอนแก่นส่งเรื่องกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗ นายสุนี โคตรโสภา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ ๑ นายบุญมี วิจิตรมาลา ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ ๖๕๖/๒๕๔๗ ข้อหาละเมิด ความว่า โจทก์เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสาขาพรรคความหวังใหม่ ลำดับที่ ๔๖ มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยจดทะเบียนเป็นสาขาพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ จำเลยที่ ๑ มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นหน่วยงานของรัฐและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด จำเลยที่ ๑ ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดขอนแก่นเป็นผู้มีอำนาจในการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเขาสวนกวางดำเนินคดีกับโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องจากพรรคความหวังใหม่ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทยแล้ว เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๕ โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคความหวังใหม่ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย เป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับกุมและถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาต่อศาลจังหวัดขอนแก่น และต่อมาศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด การกระทำของจำเลยทั้งสองที่แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวเป็นการแจ้งความเท็จและเป็นการกระทำละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ รวมเป็นเงิน ๑๐,๐๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
ในระหว่างศาลนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างอนาถา จำเลยที่ ๒ ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าการที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๒ ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์หาว่าโจทก์กระทำความผิดฐานเป็นกรรมการสาขาพรรคการเมืองไม่ยื่นแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับกุมและถูกฟ้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
โจทก์คัดค้านว่า จำเลยทั้งสองทำละเมิดต่อโจทก์ โดยเจตนาให้โจทก์ต้องถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยวด้วยเหตุที่ไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการละเมิด คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลจังหวัดขอนแก่นพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินของกรรมการสาขาพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๔๒ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน การดำเนินคดีสำหรับความผิดอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายหรือคำกล่าวโทษ แต่ในทางปฏิบัติพนักงานสอบสวนมักจะจัดให้มีการร้องทุกข์หรือให้มีการกล่าวโทษ อันเป็นขั้นตอนของการเริ่มคดี ส่วนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๖ บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็เพื่อกำหนดกลไกการดำเนินคดีอาญาให้บรรลุผล โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเมือง จึงเป็นการใช้อำนาจธรรมดาทั่วไป มิใช่อำนาจที่ระบุไว้โดยเฉพาะ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๐ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองขอนแก่นพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เกิดจากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับโจทก์โดยกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นการแจ้งต่อพนักงานสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๖ ให้อำนาจไว้ เมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง มอบหมายให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไปดำเนินการแจ้งต่อพนักงานสอบสวนอันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดโดยใช้อำนาจตามกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำทางปกครองโดยแท้ มิใช่การกระทำทางปกครองที่เป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงเข้าลักษณะเป็นคดีพิพาท ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจาณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเขาสวนกวางดำเนินคดีกับโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องจากพรรคความหวังใหม่ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคความหวังใหม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง เป็นเหตุให้โจทก์ ถูกจับกุมและถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาต่อศาลจังหวัดขอนแก่น และศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นการแจ้งความเท็จ จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓ กำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำการฝ่าฝืน มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งมีโทษอาญาตามมาตรา ๘๔ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๒๓ บัญญัติให้ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อไป จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าผู้ใดกระทำความผิดตาม...กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง...ให้มีอำนาจแจ้งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวน และให้มีอำนาจดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลไม่ว่าจะเป็นเรื่องในทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง โดยให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา" จำเลยทั้งสองในฐานะผู้เสียหาย จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งกรณีนี้ได้มีการดำเนินคดีอาญาฟ้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นจนศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ และจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อ้างว่ากระทำละเมิดโดยการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา นั้น การดำเนินคดีอาญาเป็นขั้นตอนดำเนินการเพื่อนำสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง อยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม คดีละเมิดนี้โจทก์ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายจากการที่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นการเฉพาะโดยตรง ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นายสุนี โคตรโสภา โจทก์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ ๑ นายบุญมี วิจิตรมาลา ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๔/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดขอนแก่น
ระหว่าง
ศาลปกครองขอนแก่น
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดขอนแก่นส่งเรื่องกรณีเขตอำนาจศาลขัดแย้งกันให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๗ นายสุนี โคตรโสภา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ ๑ นายบุญมี วิจิตรมาลา ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ ๖๕๖/๒๕๔๗ ข้อหาละเมิด ความว่า โจทก์เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสาขาพรรคความหวังใหม่ ลำดับที่ ๔๖ มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยจดทะเบียนเป็นสาขาพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ จำเลยที่ ๑ มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นหน่วยงานของรัฐและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด จำเลยที่ ๑ ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดขอนแก่นเป็นผู้มีอำนาจในการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเขาสวนกวางดำเนินคดีกับโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องจากพรรคความหวังใหม่ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทยแล้ว เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๕ โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคความหวังใหม่ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย เป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับกุมและถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาต่อศาลจังหวัดขอนแก่น และต่อมาศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด การกระทำของจำเลยทั้งสองที่แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวเป็นการแจ้งความเท็จและเป็นการกระทำละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ รวมเป็นเงิน ๑๐,๐๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
ในระหว่างศาลนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีอย่างอนาถา จำเลยที่ ๒ ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าการที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๒ ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์หาว่าโจทก์กระทำความผิดฐานเป็นกรรมการสาขาพรรคการเมืองไม่ยื่นแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับกุมและถูกฟ้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
โจทก์คัดค้านว่า จำเลยทั้งสองทำละเมิดต่อโจทก์ โดยเจตนาให้โจทก์ต้องถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยวด้วยเหตุที่ไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการละเมิด คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลจังหวัดขอนแก่นพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินของกรรมการสาขาพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๔๒ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน การดำเนินคดีสำหรับความผิดอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายหรือคำกล่าวโทษ แต่ในทางปฏิบัติพนักงานสอบสวนมักจะจัดให้มีการร้องทุกข์หรือให้มีการกล่าวโทษ อันเป็นขั้นตอนของการเริ่มคดี ส่วนที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๖ บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็เพื่อกำหนดกลไกการดำเนินคดีอาญาให้บรรลุผล โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเมือง จึงเป็นการใช้อำนาจธรรมดาทั่วไป มิใช่อำนาจที่ระบุไว้โดยเฉพาะ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๐ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองขอนแก่นพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เกิดจากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับโจทก์โดยกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเป็นการแจ้งต่อพนักงานสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๖ ให้อำนาจไว้ เมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง มอบหมายให้จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไปดำเนินการแจ้งต่อพนักงานสอบสวนอันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดโดยใช้อำนาจตามกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำทางปกครองโดยแท้ มิใช่การกระทำทางปกครองที่เป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงเข้าลักษณะเป็นคดีพิพาท ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจาณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเขาสวนกวางดำเนินคดีกับโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องจากพรรคความหวังใหม่ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคความหวังใหม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง เป็นเหตุให้โจทก์ ถูกจับกุมและถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาต่อศาลจังหวัดขอนแก่น และศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นการแจ้งความเท็จ จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓ กำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำการฝ่าฝืน มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งมีโทษอาญาตามมาตรา ๘๔ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๒๓ บัญญัติให้ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อไป จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าผู้ใดกระทำความผิดตาม...กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง...ให้มีอำนาจแจ้งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวน และให้มีอำนาจดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลไม่ว่าจะเป็นเรื่องในทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง โดยให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา" จำเลยทั้งสองในฐานะผู้เสียหาย จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งกรณีนี้ได้มีการดำเนินคดีอาญาฟ้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นจนศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ และจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อ้างว่ากระทำละเมิดโดยการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา นั้น การดำเนินคดีอาญาเป็นขั้นตอนดำเนินการเพื่อนำสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง อยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม คดีละเมิดนี้โจทก์ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายจากการที่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นการเฉพาะโดยตรง ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นายสุนี โคตรโสภา โจทก์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ ๑ นายบุญมี วิจิตรมาลา ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘
ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี
ระหว่าง
ศาลจังหวัดราชบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีโดยสำนักตุลาการทหารส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
อัยการศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี โจทก์ ยื่นฟ้องพลทหาร อัธยา อธิรัตน์ปัญญา จำเลย ต่อศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๖๒/๒๕๔๕ ในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย และลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ มาตรา ๓๓๕ (๑) และมาตรา ๙๑ ความว่า เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๕ จำเลยได้ใช้กำลังทำร้ายร่างกายนายเฉลิมชัย เฮงประเสริฐ จนเป็นเหตุให้นายเฉลิมชัย ได้รับอันตรายแก่กาย และภายหลังจากที่จำเลยกระทำการดังกล่าวได้ลักเอาสร้อยคอและจี้ทองคำของนายเฉลิมชัยไปโดยทุจริต ในระหว่างพิจารณา ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีสืบพยานโจทก์และจำเลยได้ความว่า ภายหลังเกิดเหตุ พลทหาร อัธยา จำเลย ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านโป่งเป็นอีกคดีหนึ่งว่า นายเฉลิมชัย (ผู้เสียหายในคดีนี้) ทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ซึ่งพนักงานอัยการประจำศาลแขวงราชบุรีได้ยื่นฟ้องนายเฉลิมชัยต่อศาลแขวงราชบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๖๗/๒๕๔๕ และศาลได้มีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๕ ว่าจำเลย (นายเฉลิมชัย) มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ จำคุก ๒ เดือนและปรับ ๑,๐๐๐ บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจำคุก ๑ เดือนและปรับ ๕๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๑ ปี (คดีหมายเลขแดงที่ ๑๘๒๐/๒๕๔๕) คดีถึงที่สุด
ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี จำเลยยื่นคำร้องขอให้สอบถามศาลจังหวัดราชบุรีในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายว่า คดีนี้เป็นกรณีที่ผู้เสียหายและจำเลยกระทำความผิดด้วยกัน คดีอยู่ในอำนาจศาลทหารตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ หรือไม่ โดยอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๖๘๔/๒๕๒๑ ประกอบ
ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีเห็นว่า กรณีเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือนตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
ศาลจังหวัดราชบุรีเห็นว่า พลทหาร อัธยา อธิรัตน์ปัญญา บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับนายเฉลิมชัย เฮงประเสริฐ บุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร มิได้ร่วมกระทำผิดในลักษณะเป็นตัวการร่วมกันในข้อหาที่ถูกฟ้องด้วยกัน และมิได้เป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือนเนื่องจากต่างฝ่ายต่างกระทำผิดและต่างฝ่ายต่างเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ แยกต่างหากจากกัน และข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕ (๑) พลทหาร อัธยา อธิรัตน์ปัญญา ถูกฟ้องอีกข้อหาหนึ่งต่างหาก โดยมีนายเฉลิมชัย เฮงประเสริฐ เป็นผู้เสียหายโดยตรงเพียงฝ่ายเดียว จึงเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร (ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี) มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม (ศาลจังหวัดราชบุรี)
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารหรือศาลยุติธรรม
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้สรุปได้ว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองประจำการและนายเฉลิมชัย เฮงประเสริฐ ใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน หลังเกิดเหตุมีพยานเห็นว่าจำเลยหยิบเอาสร้อยและจี้ทองคำของนายเฉลิมชัยไป ต่อมา นายเฉลิมชัยถูกยื่นฟ้องข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นต่อศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลพลเรือนและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ส่วนจำเลยถูกยื่นฟ้องต่อ
ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีเป็นคดีนี้ในข้อหาทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๕ และมาตรา ๓๓๕ (๑) รวม ๒ ข้อหา ดังนี้ พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารคือ
(๑) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
(๒) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน และ
มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
สำหรับข้อหาทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยและนายเฉลิมชัยมิได้ร่วมกระทำผิดในลักษณะเป็นตัวการร่วมกันในข้อหาที่ถูกฟ้องด้วยกัน แต่คำว่า กระทำผิดด้วยกันตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) บุคคลที่กระทำผิดหาจำต้องมีเจตนาร่วมกันเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยและนายเฉลิมชัย ต่างก็ได้รับบาดเจ็บด้วยกัน ถ้าปราศจากการกระทำของฝ่ายหนึ่งอาจจะไม่มีการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง หรืออาจเป็นเพราะบุคคลทั้งสองสมัครใจต่อสู้กันจึงถือได้ว่าความผิดเกิดขึ้นเพราะต่างได้กระทำผิดด้วยกันทั้งคู่ จึงเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ตามมาตรา ๑๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑
ส่วนข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕ (๑) นั้น เมื่อปรากฏตามคำฟ้องโดยโจทก์บรรยายฟ้องข้อหานี้ เป็นอีกข้อหาหนึ่งแยกต่างหากออกจากข้อหาทำร้ายร่างกายซึ่งในข้อหานี้มีจำเลยเป็นผู้กระทำเพียงฝ่ายเดียวและมีนายเฉลิมชัยเป็นผู้เสียหาย ทั้งเป็น
การกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกัน ข้อหาดังกล่าวจึงไม่ใช่คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจ
ศาลพลเรือนตามมาตรา ๑๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ อันจะอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง อัยการศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี โจทก์ พลทหาร อัธยา อธิรัตน์ปัญญา จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร เว้นแต่ข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘
ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี
ระหว่าง
ศาลจังหวัดราชบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีโดยสำนักตุลาการทหารส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
อัยการศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี โจทก์ ยื่นฟ้องพลทหาร อัธยา อธิรัตน์ปัญญา จำเลย ต่อศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๖๒/๒๕๔๕ ในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย และลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ มาตรา ๓๓๕ (๑) และมาตรา ๙๑ ความว่า เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๕ จำเลยได้ใช้กำลังทำร้ายร่างกายนายเฉลิมชัย เฮงประเสริฐ จนเป็นเหตุให้นายเฉลิมชัย ได้รับอันตรายแก่กาย และภายหลังจากที่จำเลยกระทำการดังกล่าวได้ลักเอาสร้อยคอและจี้ทองคำของนายเฉลิมชัยไปโดยทุจริต ในระหว่างพิจารณา ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีสืบพยานโจทก์และจำเลยได้ความว่า ภายหลังเกิดเหตุ พลทหาร อัธยา จำเลย ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านโป่งเป็นอีกคดีหนึ่งว่า นายเฉลิมชัย (ผู้เสียหายในคดีนี้) ทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ซึ่งพนักงานอัยการประจำศาลแขวงราชบุรีได้ยื่นฟ้องนายเฉลิมชัยต่อศาลแขวงราชบุรี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๖๗/๒๕๔๕ และศาลได้มีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๕ ว่าจำเลย (นายเฉลิมชัย) มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ จำคุก ๒ เดือนและปรับ ๑,๐๐๐ บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจำคุก ๑ เดือนและปรับ ๕๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๑ ปี (คดีหมายเลขแดงที่ ๑๘๒๐/๒๕๔๕) คดีถึงที่สุด
ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี จำเลยยื่นคำร้องขอให้สอบถามศาลจังหวัดราชบุรีในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายว่า คดีนี้เป็นกรณีที่ผู้เสียหายและจำเลยกระทำความผิดด้วยกัน คดีอยู่ในอำนาจศาลทหารตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ หรือไม่ โดยอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๖๘๔/๒๕๒๑ ประกอบ
ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีเห็นว่า กรณีเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือนตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
ศาลจังหวัดราชบุรีเห็นว่า พลทหาร อัธยา อธิรัตน์ปัญญา บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับนายเฉลิมชัย เฮงประเสริฐ บุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร มิได้ร่วมกระทำผิดในลักษณะเป็นตัวการร่วมกันในข้อหาที่ถูกฟ้องด้วยกัน และมิได้เป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือนเนื่องจากต่างฝ่ายต่างกระทำผิดและต่างฝ่ายต่างเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ แยกต่างหากจากกัน และข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕ (๑) พลทหาร อัธยา อธิรัตน์ปัญญา ถูกฟ้องอีกข้อหาหนึ่งต่างหาก โดยมีนายเฉลิมชัย เฮงประเสริฐ เป็นผู้เสียหายโดยตรงเพียงฝ่ายเดียว จึงเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร (ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี) มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม (ศาลจังหวัดราชบุรี)
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารหรือศาลยุติธรรม
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้สรุปได้ว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองประจำการและนายเฉลิมชัย เฮงประเสริฐ ใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน หลังเกิดเหตุมีพยานเห็นว่าจำเลยหยิบเอาสร้อยและจี้ทองคำของนายเฉลิมชัยไป ต่อมา นายเฉลิมชัยถูกยื่นฟ้องข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นต่อศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลพลเรือนและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ส่วนจำเลยถูกยื่นฟ้องต่อ
ศาลจังหวัดทหารบกราชบุรีเป็นคดีนี้ในข้อหาทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๕ และมาตรา ๓๓๕ (๑) รวม ๒ ข้อหา ดังนี้ พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่า คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารคือ
(๑) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
(๒) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน และ
มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
สำหรับข้อหาทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยและนายเฉลิมชัยมิได้ร่วมกระทำผิดในลักษณะเป็นตัวการร่วมกันในข้อหาที่ถูกฟ้องด้วยกัน แต่คำว่า กระทำผิดด้วยกันตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔ (๑) บุคคลที่กระทำผิดหาจำต้องมีเจตนาร่วมกันเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยและนายเฉลิมชัย ต่างก็ได้รับบาดเจ็บด้วยกัน ถ้าปราศจากการกระทำของฝ่ายหนึ่งอาจจะไม่มีการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง หรืออาจเป็นเพราะบุคคลทั้งสองสมัครใจต่อสู้กันจึงถือได้ว่าความผิดเกิดขึ้นเพราะต่างได้กระทำผิดด้วยกันทั้งคู่ จึงเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร ตามมาตรา ๑๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑
ส่วนข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๕ (๑) นั้น เมื่อปรากฏตามคำฟ้องโดยโจทก์บรรยายฟ้องข้อหานี้ เป็นอีกข้อหาหนึ่งแยกต่างหากออกจากข้อหาทำร้ายร่างกายซึ่งในข้อหานี้มีจำเลยเป็นผู้กระทำเพียงฝ่ายเดียวและมีนายเฉลิมชัยเป็นผู้เสียหาย ทั้งเป็น
การกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกัน ข้อหาดังกล่าวจึงไม่ใช่คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจ
ศาลพลเรือนตามมาตรา ๑๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ อันจะอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง อัยการศาลจังหวัดทหารบกราชบุรี โจทก์ พลทหาร อัธยา อธิรัตน์ปัญญา จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร เว้นแต่ข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนครปฐม
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นางชนิดา สุวรรณเพ็ญ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้อง แขวงการทางนครปฐม ที่ ๑ กรมทางหลวง ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๖๔/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๖๓๑๓ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๑๖ ตารางวา เมื่อผู้ฟ้องคดีขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวปรากฏว่าที่ดินด้านทิศใต้เนื้อที่ ๘๔ ตารางวา ถูกแบ่งเป็นคลองชลประทานซึ่งเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานแจ้งว่าจะจ่ายค่าเวนคืนที่ดินให้ในภายหลัง ส่วนด้านทิศเหนือมีถนนนครชัยศรี - ห้วยพลู (ทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓) ตัดผ่าน โดยเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ได้กันแนวเขตทางหลวงรุกล้ำแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีตลอดแนวเป็นเนื้อที่ ๗๗ ตารางวา และแจ้งแก่ผู้ฟ้องคดีว่าจะไม่มีการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินให้ จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจ่ายค่าเวนคืนที่ดินเนื้อที่ ๗๗ ตารางวา ราคาตารางวาละ ๓,๕๐๐ บาท เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๖๙,๕๐๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจ่ายค่าเวนคืนที่ดินเพราะที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐมาตั้งแต่ก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะซื้อที่ดินมาเมื่อปี ๒๕๓๘ เนื่องจากขณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับมอบทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓ มาจากจังหวัดนครปฐมเมื่อปี ๒๕๑๔ ได้มีการปักเสาโทรเลขตามแนวเขตทางหลวงโดยเจ้าของที่ดินเดิมมิได้คัดค้าน ต่อมาเมื่อเสาโทรเลขไม่มีความจำเป็นในการใช้งานในบางช่วงจึงได้มีการถอดทำลาย และเมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขออนุญาตปักเสาไฟฟ้าตามแนวเขตทางหลวง เจ้าของที่ดินเดิมก็ไม่คัดค้าน จึงถือว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย ที่ดินดังกล่าว จึงตกเป็นของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันมาตั้งแต่ก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะซื้อที่ดินแปลงนี้ แม้การซื้อขายที่ดินของผู้ฟ้องคดีจะมีการจดทะเบียนถูกต้อง ผู้ฟ้องคดีก็คงมีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนที่อยู่นอกเขตทางหลวงดังกล่าว และในขณะที่ผู้ฟ้องคดีซื้อที่ดินก็ทราบดีว่าที่ดินบางส่วนอยู่ในแนวเขตทางหลวงแต่มิได้มีการโต้แย้งคัดค้าน
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ผู้ฟ้องคดีชี้แจงเรื่องเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเพราะเป็นที่ดินที่มีเอกสารหลักฐานชัดเจนและถูกต้องมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ จนถึงปัจจุบัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับมอบทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓ จากจังหวัดนครปฐมเมื่อปี ๒๕๑๔ โดยไม่มีเอกสารสิทธิหรือหลักฐานการอุทิศแต่อย่างใด จึงไม่มีข้อสงสัยว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของผู้ใด ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจึงเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กันแนวเขตทางหลวงรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยไม่มีการเวนคืนตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจในการรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี การรุกล้ำที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกล่าวอ้างว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ก็เพื่อมิให้ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นข้อพิพาททางปกครอง ที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ทั้งนี้เพราะผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้อ้างพยานหลักฐานใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร เมื่อผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกันแนวเขตทางหลวงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองที่ศาลปกครองมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาได้ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดนครปฐมพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓ ที่ได้รับมอบมาจากจังหวัดนครปฐมเมื่อปี ๒๕๑๔ แม้จะไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการเวนคืนตามกฎหมาย แต่เป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของทางราชการมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ ผู้ฟ้องคดีได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๖๓๑๓ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มาจากผู้มีชื่อเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ โดยที่ดินแปลงนี้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจได้ออกโฉนดที่ดินให้เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๑๕ อันเป็นเวลาภายหลังจากเวลาที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทางหลวงของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กันแนวเขตทางหลวงไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอันเป็นการพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าเวนคืนที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ จำต้องฟังให้ได้ความแจ้งชัดเสียก่อนว่าที่ดินในส่วนที่ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กันแนวเขตไว้เป็นของผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง แม้ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเพื่อสนับสนุนคำกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอาจนำพยานเข้าพิสูจน์ในชั้นพิจารณา รูปคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง กรณีมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าพนักงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐต่อเอกชน ข้อพิพาทดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาและพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศาลปกครองไม่มีอำนาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๖๓๑๓ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๑๖ ตารางวา โดยซื้อมาจากผู้มีชื่อเมื่อปี ๒๕๓๘ ต่อมาเมื่อผู้ฟ้องคดีขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวปรากฏว่าที่ดินด้านทิศเหนือ ซึ่งมีถนนนครชัยศรี - ห้วยพลู (ทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓) ตัดผ่าน ถูกเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กันแบ่งแนวเขตทางหลวงรุกล้ำแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีตลอดแนวเป็นเนื้อที่ ๗๗ ตารางวา และแจ้งว่าจะไม่จ่ายค่าเวนคืนที่ดินให้ จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจ่ายค่าเวนคืนที่ดินที่ถูกกันเป็นแนวเขตทางหลวงดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓ ซึ่งได้รับมอบมาจากจังหวัดนครปฐมตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ โดยเมื่อมีการปักเสาโทรเลขตามแนวเขตทางหลวงเจ้าของที่ดินเดิมมิได้คัดค้าน เมื่อเสาโทรเลขไม่มีความจำเป็นในการใช้งานในบางช่วงจึงได้มีการถอดทำลาย และต่อมาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขออนุญาตปักเสาไฟฟ้าตามแนวเขตทางหลวงเจ้าของที่ดินเดิมก็ไม่คัดค้าน ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันมาตั้งแต่ก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะมาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การไม่ปรากฏว่าได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อเวนคืนที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่จะพิจารณาว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองต้องจ่ายค่าที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่นั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางชนิดา สุวรรณเพ็ญ ผู้ฟ้องคดี แขวงการทางนครปฐม ที่ ๑ กรมทางหลวง ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๔
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนครปฐม
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นางชนิดา สุวรรณเพ็ญ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้อง แขวงการทางนครปฐม ที่ ๑ กรมทางหลวง ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๖๔/๒๕๔๖ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๖๓๑๓ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๑๖ ตารางวา เมื่อผู้ฟ้องคดีขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวปรากฏว่าที่ดินด้านทิศใต้เนื้อที่ ๘๔ ตารางวา ถูกแบ่งเป็นคลองชลประทานซึ่งเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานแจ้งว่าจะจ่ายค่าเวนคืนที่ดินให้ในภายหลัง ส่วนด้านทิศเหนือมีถนนนครชัยศรี - ห้วยพลู (ทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓) ตัดผ่าน โดยเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ได้กันแนวเขตทางหลวงรุกล้ำแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีตลอดแนวเป็นเนื้อที่ ๗๗ ตารางวา และแจ้งแก่ผู้ฟ้องคดีว่าจะไม่มีการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินให้ จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจ่ายค่าเวนคืนที่ดินเนื้อที่ ๗๗ ตารางวา ราคาตารางวาละ ๓,๕๐๐ บาท เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๖๙,๕๐๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจ่ายค่าเวนคืนที่ดินเพราะที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐมาตั้งแต่ก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะซื้อที่ดินมาเมื่อปี ๒๕๓๘ เนื่องจากขณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับมอบทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓ มาจากจังหวัดนครปฐมเมื่อปี ๒๕๑๔ ได้มีการปักเสาโทรเลขตามแนวเขตทางหลวงโดยเจ้าของที่ดินเดิมมิได้คัดค้าน ต่อมาเมื่อเสาโทรเลขไม่มีความจำเป็นในการใช้งานในบางช่วงจึงได้มีการถอดทำลาย และเมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขออนุญาตปักเสาไฟฟ้าตามแนวเขตทางหลวง เจ้าของที่ดินเดิมก็ไม่คัดค้าน จึงถือว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย ที่ดินดังกล่าว จึงตกเป็นของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันมาตั้งแต่ก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะซื้อที่ดินแปลงนี้ แม้การซื้อขายที่ดินของผู้ฟ้องคดีจะมีการจดทะเบียนถูกต้อง ผู้ฟ้องคดีก็คงมีกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนที่อยู่นอกเขตทางหลวงดังกล่าว และในขณะที่ผู้ฟ้องคดีซื้อที่ดินก็ทราบดีว่าที่ดินบางส่วนอยู่ในแนวเขตทางหลวงแต่มิได้มีการโต้แย้งคัดค้าน
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ผู้ฟ้องคดีชี้แจงเรื่องเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเพราะเป็นที่ดินที่มีเอกสารหลักฐานชัดเจนและถูกต้องมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ จนถึงปัจจุบัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้รับมอบทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓ จากจังหวัดนครปฐมเมื่อปี ๒๕๑๔ โดยไม่มีเอกสารสิทธิหรือหลักฐานการอุทิศแต่อย่างใด จึงไม่มีข้อสงสัยว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของผู้ใด ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจึงเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กันแนวเขตทางหลวงรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยไม่มีการเวนคืนตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๐ นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงไม่มีอำนาจในการรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี การรุกล้ำที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกล่าวอ้างว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ก็เพื่อมิให้ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นข้อพิพาททางปกครอง ที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ทั้งนี้เพราะผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้อ้างพยานหลักฐานใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไร เมื่อผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกันแนวเขตทางหลวงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองที่ศาลปกครองมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาได้ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลจังหวัดนครปฐมพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓ ที่ได้รับมอบมาจากจังหวัดนครปฐมเมื่อปี ๒๕๑๔ แม้จะไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการเวนคืนตามกฎหมาย แต่เป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของทางราชการมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ ผู้ฟ้องคดีได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๖๓๑๓ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มาจากผู้มีชื่อเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ โดยที่ดินแปลงนี้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจได้ออกโฉนดที่ดินให้เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๑๕ อันเป็นเวลาภายหลังจากเวลาที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทางหลวงของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กันแนวเขตทางหลวงไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอันเป็นการพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าเวนคืนที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่ จำต้องฟังให้ได้ความแจ้งชัดเสียก่อนว่าที่ดินในส่วนที่ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองได้กันแนวเขตไว้เป็นของผู้ฟ้องคดีหรือผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง แม้ในชั้นนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเพื่อสนับสนุนคำกล่าวอ้างของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอาจนำพยานเข้าพิสูจน์ในชั้นพิจารณา รูปคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง กรณีมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าพนักงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐต่อเอกชน ข้อพิพาทดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาและพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศาลปกครองไม่มีอำนาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๖๓๑๓ ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๑๖ ตารางวา โดยซื้อมาจากผู้มีชื่อเมื่อปี ๒๕๓๘ ต่อมาเมื่อผู้ฟ้องคดีขอรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวปรากฏว่าที่ดินด้านทิศเหนือ ซึ่งมีถนนนครชัยศรี - ห้วยพลู (ทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓) ตัดผ่าน ถูกเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กันแบ่งแนวเขตทางหลวงรุกล้ำแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีตลอดแนวเป็นเนื้อที่ ๗๗ ตารางวา และแจ้งว่าจะไม่จ่ายค่าเวนคืนที่ดินให้ จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจ่ายค่าเวนคืนที่ดินที่ถูกกันเป็นแนวเขตทางหลวงดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตทางหลวงหมายเลข ๓๒๓๓ ซึ่งได้รับมอบมาจากจังหวัดนครปฐมตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ โดยเมื่อมีการปักเสาโทรเลขตามแนวเขตทางหลวงเจ้าของที่ดินเดิมมิได้คัดค้าน เมื่อเสาโทรเลขไม่มีความจำเป็นในการใช้งานในบางช่วงจึงได้มีการถอดทำลาย และต่อมาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขออนุญาตปักเสาไฟฟ้าตามแนวเขตทางหลวงเจ้าของที่ดินเดิมก็ไม่คัดค้าน ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันมาตั้งแต่ก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะมาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายค่าเวนคืนที่ดิน เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การไม่ปรากฏว่าได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อเวนคืนที่ดินพิพาท ดังนั้น การที่จะพิจารณาว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองต้องจ่ายค่าที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่นั้น ศาลจำต้องพิจารณาในปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นางชนิดา สุวรรณเพ็ญ ผู้ฟ้องคดี แขวงการทางนครปฐม ที่ ๑ กรมทางหลวง ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๔
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
ระหว่าง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกรณีที่มีการนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไปและผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๕ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โจทก์ได้ยื่นฟ้อง บริษัท คลีนเทคโนโลยี จำกัด ที่ ๑ ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๕๑/๒๕๔๕ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๓๖/๒๕๔๒ เป็นเงินค่าจ้าง จำนวน ๖๘,๗๖๕,๖๕๐ บาท กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๓ โดยสัญญาข้อ ๗ กำหนดว่าหากมีความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นจากงานจ้างภายในกำหนด ๒ ปี นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงาน ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ ๑ อันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้อง หรือทำไว้ไม่เรียบร้อย หรือทำไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา จำเลยที่ ๑ จะต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อย หากบิดพลิ้วไม่ทำการดังกล่าวภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์ หรือไม่ทำการแก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อยภายในเวลาที่โจทก์กำหนด ให้โจทก์มีสิทธิทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นทำการนั้น โดยจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ในการทำสัญญาจ้างดังกล่าวจำเลยที่ ๑ ได้นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ ๒ มามอบให้โจทก์เป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ในวงเงิน ๓,๔๓๘,๒๘๒.๕๐ บาท โดยยอมผูกพันตนเช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น จำเลยที่ ๑ ได้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแล้วเสร็จ และโจทก์ได้รับมอบงานดังกล่าวตามสัญญาจ้างทั้งหมดไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๓ ต่อมาประมาณเดือนมีนาคม ๒๕๔๔ กระเบื้องมุงหลังคาหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลังดังกล่าวแตกร้าวเสียหายเกือบทั้งหมด สาเหตุเนื่องจากจำเลยที่ ๑ ใช้กระเบื้องหลังคาที่มีความหนาขนาด ๔ มิลลิเมตร ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (มอก.) รับรอง และไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาช่างโดยปกปิดรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ราคา และมาตรฐานของวัสดุที่ใช้ มิให้โจทก์ทราบว่าเป็นวัสดุกระเบื้องมุงหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ถูกต้องตามหลักวิชาช่าง จำเลยที่ ๑ จึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างข้อ ๗ โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ ๑ แก้ไขซ่อมแซมหลังคาอาคารหอพักนักศึกษาดังกล่าวให้เรียบร้อยแต่จำเลยที่ ๑ ยังคงจะเข้าซ่อมโดยใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่มีความหนาขนาด ๔ มิลลิเมตรเช่นเดิม โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ใช้กระเบื้องที่มีความหนา ๕ มิลลิเมตร ซึ่งมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รับรอง แต่จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย โจทก์จึงจ้างผู้รับจ้างอื่นดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมแทน โดยเสียค่าใช้จ่ายไปทั้งสิ้น ๑,๖๘๐,๐๐๐ บาท โดยได้จ่ายเงินให้ผู้รับจ้างอื่นไป เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๔ โจทก์จะดำเนินการหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันของจำเลยที่ ๒ แต่จำเลยที่ ๑ ไม่ยินยอม จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวน ๑,๗๗๔,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงิน ๑,๖๘๐,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างทุกประการตามแบบแปลนในสัญญาได้กำหนดกระเบื้องมุงหลังคาชนิดความหนา ๔ มิลลิเมตร แต่โจทก์ต้องการกระเบื้องชนิดความหนา ๕ มิลลิเมตร ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือสัญญาจ้าง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและเป็นฝ่ายสั่งระงับมิให้จำเลยที่ ๑ ซ่อมแซม แม้โจทก์จะจ้างบุคคลภายนอกทำการซ่อมแซมโดยเสียค่าจ้าง จำเลยที่ ๑ ก็หาจำต้องรับผิดไม่ และได้ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจากที่จำเลยที่ ๑ ได้ยื่นฟ้องโจทก์หาว่าผิดสัญญาจ้างดังกล่าวต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๔ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๘๙๖/๒๕๔๔ อันเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนคดีที่จำเลยที่ ๑ ฟ้องโจทก์ต่อศาลปกครองนั้น เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองจึงไม่ใช่คดีที่มีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จำเลยที่ ๒ ให้การว่า เนื่องจากโจทก์และ จำเลยที่ ๑ ยังพิพาทกันอยู่ โดยจำเลยที่ ๑ ฟ้องโจทก์เป็นคดีต่อศาลปกครองกลาง และต่างอ้างว่าอีกฝ่ายผิดสัญญา ทั้งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง จำเลยที่ ๒ จึงจำเป็นต้องชะลอการจ่ายเงินไว้ก่อน เพื่อรอผลการชี้ขาดของศาล จำเลยที่ ๒ มิได้เป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์ จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ กับจำเลยที่ ๑ ผู้รับจ้าง พิพาทกันเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร อันเป็นสัญญาทางปกครอง จึงเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทสถาบันการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มีหน้าที่ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โจทก์จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เป็นสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยโจทก์จำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร ทั้งนี้การศึกษาเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของรัฐ อาคารหอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยโจทก์ เป็นถาวรวัตถุอันเป็นองค์ประกอบและเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการบริการสาธารณะดังกล่าวให้บรรลุผล จึงเป็นสิ่งสาธารณูปโภคที่จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และเนื่องจากวัตถุแห่งสัญญานี้คือการรับจ้างก่อสร้างอาคารในมหาวิทยาลัยของรัฐ จึงถือได้ว่าเป็นการที่หน่วยงานทางปกครองมอบให้เอกชนเข้าดำเนินการ จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค ดังนั้น สัญญาพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ส่วนจำเลยที่ ๒ แม้ไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรง แต่ก็อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น ถือได้ว่าจำเลยที่ ๒ มีส่วนได้เสียหรืออาจถูกผลกระทบจากผลแห่งคดี จึงเป็นคู่กรณีตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื้อหาของสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่พักให้แก่นักศึกษา ซึ่งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้เข้าพักอาศัย กรณีจึงเป็นการที่หน่วยงานทางปกครองดำเนินกิจการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย มิใช่วัตถุประสงค์หลักในการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาโดยตรง หรือเป็นถาวรวัตถุที่หากขาดไปจะไม่สามารถทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาได้ สัญญาดังกล่าวมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาประเภทต่าง ๆ อันจะเข้าลักษณะสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทคดีนี้จึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง แต่เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โจทก์ ได้ทำสัญญาจ้างบริษัท คลีนเทคโนโลยี จำกัด จำเลยที่ ๑ ให้ออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษา จำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร โดยมีธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ ๒ ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าว จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างแล้วเสร็จ โจทก์ได้รับมอบงานดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว ต่อมา กระเบื้องมุงหลังคาแตกร้าวเสียหายเกือบทั้งหมด เนื่องจากจำเลยที่ ๑ ใช้กระเบื้องหลังคาที่มีความหนาขนาด ๔ มิลลิเมตร ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รับรอง และไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาช่างโดยปกปิดรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ราคา และมาตรฐานของวัสดุที่ใช้ มิให้โจทก์ทราบ โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ ๑ แก้ไขซ่อมแซมแต่จำเลยที่ ๑ จะเข้าซ่อมโดยใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่มีความหนาขนาดเท่าเดิม โจทก์จึงแจ้งให้จำเลยที่ ๑ ใช้กระเบื้องที่มีความหนา ๕ มิลลิเมตร จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย โจทก์จึงจ้างผู้รับจ้างอื่น และหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันของจำเลยที่ ๒ แต่จำเลยที่ ๑ ไม่ยินยอม จำเลยที่ ๑ ให้การปฏิเสธอ้างว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา การใช้กระเบื้องชนิดความหนา ๕ มิลลิเมตร เป็นเรื่องนอกเหนือสัญญาจ้าง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและเป็นฝ่ายสั่งระงับมิให้จำเลยที่ ๑ ซ่อมแซม แม้โจทก์จะจ้างบุคคลภายนอกทำการซ่อมแซมโดยเสียค่าจ้าง จำเลยที่ ๑ ก็หาจำต้องรับผิดไม่ และได้ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจากที่จำเลยที่ ๑ ได้ยื่นฟ้องโจทก์หาว่าผิดสัญญาจ้างดังกล่าวต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๔ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๘๙๖/๒๕๔๔ อันเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จำเลยที่ ๒ ให้การว่า เนื่องจากโจทก์และจำเลยที่ ๑ ยังพิพาทกันอยู่ โดยจำเลยที่ ๑ ฟ้องโจทก์เป็นคดีต่อศาลปกครองกลาง และต่างอ้างว่าอีกฝ่ายผิดสัญญา ทั้งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง จำเลยที่ ๒ จึงจำเป็นต้องชะลอการจ่ายเงินไว้ก่อน เพื่อรอผลการชี้ขาดของศาล จำเลยที่ ๒ มิได้เป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงเป็นข้อพิพาทสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้างให้ออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาและระบบสาธารณูปโภคและสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าว
ประเด็นที่ต้องพิจารณา สัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร เป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง โดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ส่งเสริมวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร จึงถือเป็นกิจการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาดำเนินการเพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะบรรลุผล สัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ดังนั้น จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ เป็นสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร ซึ่งเป็นสัญญาหลักเมื่อสัญญาหลักเป็นสัญญาทางปกครองและข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โจทก์ บริษัท คลีนเทคโนโลยี จำกัด ที่ ๑ ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๖
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑/๒๕๔๘
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
ระหว่าง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกรณีที่มีการนำคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเดียวกันฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจแตกต่างกันตั้งแต่สองศาลขึ้นไปและผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๕ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โจทก์ได้ยื่นฟ้อง บริษัท คลีนเทคโนโลยี จำกัด ที่ ๑ ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๕๑/๒๕๔๕ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๓๖/๒๕๔๒ เป็นเงินค่าจ้าง จำนวน ๖๘,๗๖๕,๖๕๐ บาท กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๓ โดยสัญญาข้อ ๗ กำหนดว่าหากมีความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายเกิดขึ้นจากงานจ้างภายในกำหนด ๒ ปี นับถัดจากวันที่ได้รับมอบงาน ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ ๑ อันเกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้อง หรือทำไว้ไม่เรียบร้อย หรือทำไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา จำเลยที่ ๑ จะต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อย หากบิดพลิ้วไม่ทำการดังกล่าวภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์ หรือไม่ทำการแก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อยภายในเวลาที่โจทก์กำหนด ให้โจทก์มีสิทธิทำการนั้นเองหรือจ้างผู้อื่นทำการนั้น โดยจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ในการทำสัญญาจ้างดังกล่าวจำเลยที่ ๑ ได้นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ ๒ มามอบให้โจทก์เป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ในวงเงิน ๓,๔๓๘,๒๘๒.๕๐ บาท โดยยอมผูกพันตนเช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น จำเลยที่ ๑ ได้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาแล้วเสร็จ และโจทก์ได้รับมอบงานดังกล่าวตามสัญญาจ้างทั้งหมดไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๓ ต่อมาประมาณเดือนมีนาคม ๒๕๔๔ กระเบื้องมุงหลังคาหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลังดังกล่าวแตกร้าวเสียหายเกือบทั้งหมด สาเหตุเนื่องจากจำเลยที่ ๑ ใช้กระเบื้องหลังคาที่มีความหนาขนาด ๔ มิลลิเมตร ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (มอก.) รับรอง และไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาช่างโดยปกปิดรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ราคา และมาตรฐานของวัสดุที่ใช้ มิให้โจทก์ทราบว่าเป็นวัสดุกระเบื้องมุงหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ถูกต้องตามหลักวิชาช่าง จำเลยที่ ๑ จึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างข้อ ๗ โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ ๑ แก้ไขซ่อมแซมหลังคาอาคารหอพักนักศึกษาดังกล่าวให้เรียบร้อยแต่จำเลยที่ ๑ ยังคงจะเข้าซ่อมโดยใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่มีความหนาขนาด ๔ มิลลิเมตรเช่นเดิม โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ ๑ ใช้กระเบื้องที่มีความหนา ๕ มิลลิเมตร ซึ่งมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รับรอง แต่จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย โจทก์จึงจ้างผู้รับจ้างอื่นดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมแทน โดยเสียค่าใช้จ่ายไปทั้งสิ้น ๑,๖๘๐,๐๐๐ บาท โดยได้จ่ายเงินให้ผู้รับจ้างอื่นไป เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๔ โจทก์จะดำเนินการหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันของจำเลยที่ ๒ แต่จำเลยที่ ๑ ไม่ยินยอม จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวน ๑,๗๗๔,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงิน ๑,๖๘๐,๐๐๐ บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างทุกประการตามแบบแปลนในสัญญาได้กำหนดกระเบื้องมุงหลังคาชนิดความหนา ๔ มิลลิเมตร แต่โจทก์ต้องการกระเบื้องชนิดความหนา ๕ มิลลิเมตร ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือสัญญาจ้าง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและเป็นฝ่ายสั่งระงับมิให้จำเลยที่ ๑ ซ่อมแซม แม้โจทก์จะจ้างบุคคลภายนอกทำการซ่อมแซมโดยเสียค่าจ้าง จำเลยที่ ๑ ก็หาจำต้องรับผิดไม่ และได้ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจากที่จำเลยที่ ๑ ได้ยื่นฟ้องโจทก์หาว่าผิดสัญญาจ้างดังกล่าวต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๔ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๘๙๖/๒๕๔๔ อันเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ในคดีนี้ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนคดีที่จำเลยที่ ๑ ฟ้องโจทก์ต่อศาลปกครองนั้น เป็นเรื่องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองจึงไม่ใช่คดีที่มีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จำเลยที่ ๒ ให้การว่า เนื่องจากโจทก์และ จำเลยที่ ๑ ยังพิพาทกันอยู่ โดยจำเลยที่ ๑ ฟ้องโจทก์เป็นคดีต่อศาลปกครองกลาง และต่างอ้างว่าอีกฝ่ายผิดสัญญา ทั้งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง จำเลยที่ ๒ จึงจำเป็นต้องชะลอการจ่ายเงินไว้ก่อน เพื่อรอผลการชี้ขาดของศาล จำเลยที่ ๒ มิได้เป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์ จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ กับจำเลยที่ ๑ ผู้รับจ้าง พิพาทกันเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร อันเป็นสัญญาทางปกครอง จึงเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทสถาบันการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มีหน้าที่ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โจทก์จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เป็นสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยโจทก์จำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร ทั้งนี้การศึกษาเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของรัฐ อาคารหอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยโจทก์ เป็นถาวรวัตถุอันเป็นองค์ประกอบและเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการบริการสาธารณะดังกล่าวให้บรรลุผล จึงเป็นสิ่งสาธารณูปโภคที่จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และเนื่องจากวัตถุแห่งสัญญานี้คือการรับจ้างก่อสร้างอาคารในมหาวิทยาลัยของรัฐ จึงถือได้ว่าเป็นการที่หน่วยงานทางปกครองมอบให้เอกชนเข้าดำเนินการ จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค ดังนั้น สัญญาพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ส่วนจำเลยที่ ๒ แม้ไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรง แต่ก็อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น ถือได้ว่าจำเลยที่ ๒ มีส่วนได้เสียหรืออาจถูกผลกระทบจากผลแห่งคดี จึงเป็นคู่กรณีตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื้อหาของสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาที่พักให้แก่นักศึกษา ซึ่งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้เข้าพักอาศัย กรณีจึงเป็นการที่หน่วยงานทางปกครองดำเนินกิจการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย มิใช่วัตถุประสงค์หลักในการจัดบริการสาธารณะด้านการศึกษาโดยตรง หรือเป็นถาวรวัตถุที่หากขาดไปจะไม่สามารถทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาได้ สัญญาดังกล่าวมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาประเภทต่าง ๆ อันจะเข้าลักษณะสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทคดีนี้จึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง แต่เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โจทก์ ได้ทำสัญญาจ้างบริษัท คลีนเทคโนโลยี จำกัด จำเลยที่ ๑ ให้ออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษา จำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร โดยมีธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ ๒ ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าว จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างแล้วเสร็จ โจทก์ได้รับมอบงานดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว ต่อมา กระเบื้องมุงหลังคาแตกร้าวเสียหายเกือบทั้งหมด เนื่องจากจำเลยที่ ๑ ใช้กระเบื้องหลังคาที่มีความหนาขนาด ๔ มิลลิเมตร ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รับรอง และไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิชาช่างโดยปกปิดรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ราคา และมาตรฐานของวัสดุที่ใช้ มิให้โจทก์ทราบ โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ ๑ แก้ไขซ่อมแซมแต่จำเลยที่ ๑ จะเข้าซ่อมโดยใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่มีความหนาขนาดเท่าเดิม โจทก์จึงแจ้งให้จำเลยที่ ๑ ใช้กระเบื้องที่มีความหนา ๕ มิลลิเมตร จำเลยที่ ๑ เพิกเฉย โจทก์จึงจ้างผู้รับจ้างอื่น และหักค่าใช้จ่ายจากหลักประกันของจำเลยที่ ๒ แต่จำเลยที่ ๑ ไม่ยินยอม จำเลยที่ ๑ ให้การปฏิเสธอ้างว่าไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา การใช้กระเบื้องชนิดความหนา ๕ มิลลิเมตร เป็นเรื่องนอกเหนือสัญญาจ้าง โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและเป็นฝ่ายสั่งระงับมิให้จำเลยที่ ๑ ซ่อมแซม แม้โจทก์จะจ้างบุคคลภายนอกทำการซ่อมแซมโดยเสียค่าจ้าง จำเลยที่ ๑ ก็หาจำต้องรับผิดไม่ และได้ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจากที่จำเลยที่ ๑ ได้ยื่นฟ้องโจทก์หาว่าผิดสัญญาจ้างดังกล่าวต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๔ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๘๙๖/๒๕๔๔ อันเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จำเลยที่ ๒ ให้การว่า เนื่องจากโจทก์และจำเลยที่ ๑ ยังพิพาทกันอยู่ โดยจำเลยที่ ๑ ฟ้องโจทก์เป็นคดีต่อศาลปกครองกลาง และต่างอ้างว่าอีกฝ่ายผิดสัญญา ทั้งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง จำเลยที่ ๒ จึงจำเป็นต้องชะลอการจ่ายเงินไว้ก่อน เพื่อรอผลการชี้ขาดของศาล จำเลยที่ ๒ มิได้เป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์ กรณีจึงเป็นข้อพิพาทสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามสัญญาจ้างให้ออกแบบและก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาและระบบสาธารณูปโภคและสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าว
ประเด็นที่ต้องพิจารณา สัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร เป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครอง โดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ส่งเสริมวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยที่ ๑ ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร จึงถือเป็นกิจการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาดำเนินการเพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะบรรลุผล สัญญาจ้างดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ดังนั้น จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สำหรับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ เป็นสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้างให้ก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาจำนวน ๒ หลัง และระบบสาธารณูปโภคที่เชื่อมต่อภายนอกอาคาร ซึ่งเป็นสัญญาหลักเมื่อสัญญาหลักเป็นสัญญาทางปกครองและข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเช่นเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โจทก์ บริษัท คลีนเทคโนโลยี จำกัด ที่ ๑ ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
??
??
??
??
๖
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๓/๒๕๔๗
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดเพชรบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายวิทูร นิธากร ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้อง นายกเทศมนตรีตำบลชะอำ ที่ ๑คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จังหวัดเพชรบุรี ที่ ๒ นายกิตติพงษ์ สุนานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๓ นายพินิจ อุส่าห์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๔ นายมนต์ชัย บ่อทรัพย์ อัยการจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๕ นายพัฒพงศ์ พยัคฆันตร ปลัดจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๖ นายประสาน วงศ์สวัสดิ์หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๗ นายนิติ อินทร์นอก เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๘นางวิจิตรา วิจิตร์ปัญญารักษ์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๙ นายเกรียงไกร เตียงเกตุธนารักษ์จังหวัดเพชรบุรี ที่ ๑๐ นายสมศักดิ์ สรรพคุณ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๑๑นางสาวศิระภา วาระเลิศ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๑๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๙๙/๒๕๔๖ ความว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๔๓๔ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ (นายาง) จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ ๓ ไร่ ๑ งาน ๘๒ ตารางวา คุณหญิงบุญเลื่อนเครือตราชู เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ในปี ๒๕๑๕ ได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นอีก ๗ แปลง เพื่อขายให้บุคคลอื่นใช้ปลูกบ้านพักตากอากาศ ส่วนที่ดินแปลงเดิมมีเนื้อที่คงเหลือประมาณ ๑ งาน ๑๘ ตารางวา ใช้เป็นทางเข้าออกไปสู่ชายทะเลชะอำ โดยอนุญาตให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่แบ่งแยกทั้ง ๗แปลงดังกล่าว ใช้ทางนั้นด้วย โดยมิได้มีเจตนายกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ และได้มีการชำระภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี ๒๕๑๙ คุณหญิงบุญเลื่อนขายที่ดินที่แบ่งแยกทั้ง๗ แปลง ให้นายประสิทธิ์ เกษมสุวรรณ ภายหลังที่นายประสิทธิ์ถึงแก่ความตาย ทายาทได้ขายที่ดินทั้ง ๗ แปลงให้บริษัท ประสิทธิ์ธร จำกัด ซึ่งมีนางศศิธร นิธากร ภริยาผู้ฟ้องคดี เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท จากนั้นวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ คุณหญิงบุญเลื่อนได้ขายที่ดินแปลงเดิมที่คงเหลือให้ผู้ฟ้องคดี เมื่อที่ดินของผู้ฟ้องคดีและของบริษัท ประสิทธิ์ธร จำกัด มีเนื้อที่ติดต่อกันจึงมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงแรม ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ก่อสร้างรั้วคอนกรีตตามแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีหนังสือตามแบบ ค. ๓ เลขที่๕๒๑๐๖/๑๓๙๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับ การก่อสร้างรั้วไว้ก่อน โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีได้ก่อสร้างรั้วโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งที่ รั้วที่ก่อสร้างไม่จำต้องขออนุญาตทำการก่อสร้าง คำสั่งดังกล่าวจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องการให้เกิดข้อขัดแย้งจึงได้ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างรั้วต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ แต่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีหนังสือตามแบบ น. ๒ ที่ ๕๒๑๐๖/๑๘๗๓ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๖ แจ้งไม่อนุญาต
ให้ก่อสร้าง เนื่องจากชาวบ้านชุมชนหนองแจงคัดค้านว่าเป็นทางที่ชาวบ้านใช้สัญจรมากว่า ๑๐ ปีเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันมา จึงไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างจนกว่าจะหาข้อเท็จจริง ที่พิสูจน์ได้ว่าเส้นทางนี้ไม่เป็นที่สาธารณประโยชน์ คำสั่งดังกล่าวจึงมิชอบด้วยกฎหมายเพราะผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่าที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์และให้ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่พิสูจน์ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีมติยกอุทธรณ์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดี เป็นทางสาธารณประโยชน์ ทั้งที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยเช่นนั้น นอกจากนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยังวินิจฉัยอุทธรณ์เกินกว่า ๖๐ วัน ซึ่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายโดยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ จึงขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งดังนี้
๑. เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามแบบ ค. ๓ เลขที่ ๕๒๑๐๖/๑๓๙๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน๒๕๔๖
๒. เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามแบบ น. ๒ ที่ ๕๒๑๐๖/๑๘๗๓ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม๒๕๔๖ และเพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็น ทางสาธารณประโยชน์
๓. เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๑/๒๕๔๖ ซึ่งวินิจฉัยโดย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๑๒
๔. ให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๑/๒๕๔๖ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นโมฆะ
๕. ให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีสิทธิก่อสร้างรั้วในที่ดินของผู้ฟ้องคดี
ก่อนสั่งคดีผู้ฟ้องคดีขอถอนฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๑๒ และขอถอนคำขอท้ายฟ้อง ข้อ ๕เนื่องจากเข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน ศาลปกครองกลางมีคำสั่งอนุญาต
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้างรั้วคอนกรีต เนื่องจากรั้วที่ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างติดต่อกับถนนเจ้าลายและถนนร่วมจิตต์ซึ่งเป็นทางสาธารณะ จึงเป็นอาคารตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ เมื่อผู้ฟ้องคดี ทำการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้างตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ต่อมาเมื่อผู้ฟ้องคดียื่นคำขออนุญาตก่อสร้างรั้วและผลการตรวจสอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ได้ความว่าที่ดินที่จะก่อสร้างเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างได้ การสั่งให้ระงับการก่อสร้างและไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ชอบแล้ว ไม่มีเหตุให้เพิกถอน ส่วนเรื่องการชำระภาษีบำรุงท้องที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้มีชื่อเดิมในโฉนดที่ดินก่อนหน้าผู้ฟ้องคดีได้มีการชำระภาษีบำรุงท้องที่ นอกจากนี้แผนที่บริเวณอำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี ของกองสำรวจ สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่าที่ดินเป็นทางเดิน และจากการตรวจสอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พบว่าพื้นผิวที่ดินมีสภาพเหมือน ทางลาดยาง เมื่อขุดลงไปพบว่ามีชั้นหินตลอดแนวของที่ดิน และมีประชาชนใช้เป็นทางสัญจรมาเป็นเวลา นานกว่า ๑๐ ปี
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน ๖๐ วัน และได้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้ฟ้องคดีตามระยะเวลาอันควรและชอบด้วยกฎหมายแล้ว เนื่องจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้กำหนดระยะเวลาการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไว้ ส่วนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณาหลักฐานจากเจ้าพนักงานที่ดินในเรื่องการถือกรรมสิทธิ์ นายอำเภอชะอำซึ่งดูแลที่ดินสาธารณะ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ แล้ว เห็นชอบตามคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ได้พิจารณาว่าที่ดินที่ขออนุญาตก่อสร้างเป็นทางสาธารณะ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่
ผู้ฟ้องคดีคัดค้านคำให้การว่า ที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๔๓๓ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่ความจริงเป็นที่ดินคนละแปลงและมิใช่เป็นถนนซอยเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงไม่มีเจตนากันไว้เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างรั้วคอนกรีตที่มีเพียงหลักหมุดด้านหนึ่งติดกับถนนร่วมจิตต์และหลักหมุดอีกด้านหนึ่งติดกับถนนเจ้าลาย ไม่มีเขตติดต่อกับทางสาธารณะ จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ประชาชนชุมชนหนองแจงที่คัดค้านการก่อสร้างรั้วมีบ้านพักอาศัยห่างจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีไปประมาณ ๑ - ๒ กิโลเมตร และมีทางออก ด้านอื่นที่สะดวกกว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มีอำนาจออกคำสั่งว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นที่สาธารณประโยชน์ การที่จะพิจารณาว่าที่ดินใดเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนเรื่องการชำระภาษีบำรุงท้องที่ผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลชะอำว่าคงค้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ผู้ฟ้องคดีจึงได้ชำระภาษีที่ค้างดังกล่าวแล้ว
ระหว่างพิจารณาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาล โดยเห็นว่าเป็นคดีพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่๒ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่ากระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการออกคำสั่งตามแบบ ค. ๓เลขที่ ๕๒๑๐๖/๑๓๙๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ ให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้างรั้วจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และคำสั่งตามแบบ น.๒ ที่ ๕๒๑๐๖/๑๘๗๓ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๖ ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างรั้วในที่สาธารณประโยชน์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำวินิจฉัยที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว จึงเป็นคำขอที่ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
ศาลจังหวัดเพชรบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ฟ้องคดีจะโต้แย้งว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออกคำสั่ง คำวินิจฉัยและมีมติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่ประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ศาลจึงต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณีต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ประกอบประมวลกฎหมายที่ดินที่บัญญัติเรื่องนั้นไว้เป็นพิเศษคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าได้ก่อสร้างรั้วตามแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๔๓๔ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ (นายาง) จังหวัดเพชรบุรี ที่ซื้อมาจากผู้มีชื่อ ซึ่งผู้มีชื่อไม่ได้ ยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์และยังคงชำระภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอด แต่ถูกผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ สั่งให้ระงับการก่อสร้างโดยอ้างว่าทำการก่อสร้างโดยมิได้รับอนุญาต ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขออนุญาต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็มีคำสั่งไม่อนุญาตโดยอ้างว่ามีประชาชนคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่ราษฎรใช้เป็นทางสัญจรไปมา เป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี ไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างได้จนกว่าจะหาข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ว่าที่ดินไม่เป็นที่สาธารณประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตนั้นต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีมติยกอุทธรณ์ โดยเห็นว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นทางสาธารณประโยชน์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยังได้วินิจฉัยอุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า การออกคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วชอบด้วยกฎหมายแล้วเพราะที่ดินของผู้ฟ้องคดีมีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ได้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นชอบตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้ว จึงมีมติยกอุทธรณ์โดยไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ระงับ การก่อสร้างรั้ว และคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วจะสั่งโดยอาศัยเหตุแตกต่างกัน แต่ข้อพิพาทระหว่าง ผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ก็เป็นเรื่องการไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างรั้วในที่ดินมีโฉนดของผู้ฟ้องคดี โดยเหตุที่เห็นว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นทางสาธารณประโยชน์ และเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกันมา การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินที่ก่อสร้างรั้ว เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนปัญหาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ระงับการก่อสร้างรั้วชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่นั้น จะเป็นประโยชน์แก่คดีของผู้ฟ้องคดีก็ต่อเมื่อศาลพิจารณาได้ความว่าที่ดิน ที่ก่อสร้างรั้วเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายวิทูร นิธากร ผู้ฟ้องคดี นายกเทศมนตรีตำบลชะอำ ที่ ๑ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จังหวัดเพชรบุรี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดเพชรบุรี
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๒
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๓/๒๕๔๗
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดเพชรบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายวิทูร นิธากร ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้อง นายกเทศมนตรีตำบลชะอำ ที่ ๑คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จังหวัดเพชรบุรี ที่ ๒ นายกิตติพงษ์ สุนานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๓ นายพินิจ อุส่าห์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๔ นายมนต์ชัย บ่อทรัพย์ อัยการจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๕ นายพัฒพงศ์ พยัคฆันตร ปลัดจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๖ นายประสาน วงศ์สวัสดิ์หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๗ นายนิติ อินทร์นอก เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๘นางวิจิตรา วิจิตร์ปัญญารักษ์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๙ นายเกรียงไกร เตียงเกตุธนารักษ์จังหวัดเพชรบุรี ที่ ๑๐ นายสมศักดิ์ สรรพคุณ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๑๑นางสาวศิระภา วาระเลิศ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเพชรบุรี ที่ ๑๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๙๙/๒๕๔๖ ความว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๔๓๔ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ (นายาง) จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ ๓ ไร่ ๑ งาน ๘๒ ตารางวา คุณหญิงบุญเลื่อนเครือตราชู เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ในปี ๒๕๑๕ ได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นอีก ๗ แปลง เพื่อขายให้บุคคลอื่นใช้ปลูกบ้านพักตากอากาศ ส่วนที่ดินแปลงเดิมมีเนื้อที่คงเหลือประมาณ ๑ งาน ๑๘ ตารางวา ใช้เป็นทางเข้าออกไปสู่ชายทะเลชะอำ โดยอนุญาตให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่แบ่งแยกทั้ง ๗แปลงดังกล่าว ใช้ทางนั้นด้วย โดยมิได้มีเจตนายกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ และได้มีการชำระภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี ๒๕๑๙ คุณหญิงบุญเลื่อนขายที่ดินที่แบ่งแยกทั้ง๗ แปลง ให้นายประสิทธิ์ เกษมสุวรรณ ภายหลังที่นายประสิทธิ์ถึงแก่ความตาย ทายาทได้ขายที่ดินทั้ง ๗ แปลงให้บริษัท ประสิทธิ์ธร จำกัด ซึ่งมีนางศศิธร นิธากร ภริยาผู้ฟ้องคดี เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท จากนั้นวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ คุณหญิงบุญเลื่อนได้ขายที่ดินแปลงเดิมที่คงเหลือให้ผู้ฟ้องคดี เมื่อที่ดินของผู้ฟ้องคดีและของบริษัท ประสิทธิ์ธร จำกัด มีเนื้อที่ติดต่อกันจึงมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงแรม ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ก่อสร้างรั้วคอนกรีตตามแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีหนังสือตามแบบ ค. ๓ เลขที่๕๒๑๐๖/๑๓๙๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับ การก่อสร้างรั้วไว้ก่อน โดยอ้างว่าผู้ฟ้องคดีได้ก่อสร้างรั้วโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งที่ รั้วที่ก่อสร้างไม่จำต้องขออนุญาตทำการก่อสร้าง คำสั่งดังกล่าวจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องการให้เกิดข้อขัดแย้งจึงได้ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างรั้วต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ แต่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีหนังสือตามแบบ น. ๒ ที่ ๕๒๑๐๖/๑๘๗๓ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๖ แจ้งไม่อนุญาต
ให้ก่อสร้าง เนื่องจากชาวบ้านชุมชนหนองแจงคัดค้านว่าเป็นทางที่ชาวบ้านใช้สัญจรมากว่า ๑๐ ปีเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันมา จึงไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างจนกว่าจะหาข้อเท็จจริง ที่พิสูจน์ได้ว่าเส้นทางนี้ไม่เป็นที่สาธารณประโยชน์ คำสั่งดังกล่าวจึงมิชอบด้วยกฎหมายเพราะผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่าที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์และให้ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่พิสูจน์ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีมติยกอุทธรณ์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดี เป็นทางสาธารณประโยชน์ ทั้งที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยเช่นนั้น นอกจากนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยังวินิจฉัยอุทธรณ์เกินกว่า ๖๐ วัน ซึ่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายโดยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ จึงขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งดังนี้
๑. เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามแบบ ค. ๓ เลขที่ ๕๒๑๐๖/๑๓๙๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน๒๕๔๖
๒. เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ตามแบบ น. ๒ ที่ ๕๒๑๐๖/๑๘๗๓ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม๒๕๔๖ และเพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็น ทางสาธารณประโยชน์
๓. เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๑/๒๕๔๖ ซึ่งวินิจฉัยโดย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ถึงที่ ๑๒
๔. ให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๑/๒๕๔๖ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นโมฆะ
๕. ให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีสิทธิก่อสร้างรั้วในที่ดินของผู้ฟ้องคดี
ก่อนสั่งคดีผู้ฟ้องคดีขอถอนฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ถึงที่ ๑๒ และขอถอนคำขอท้ายฟ้อง ข้อ ๕เนื่องจากเข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน ศาลปกครองกลางมีคำสั่งอนุญาต
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้างรั้วคอนกรีต เนื่องจากรั้วที่ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างติดต่อกับถนนเจ้าลายและถนนร่วมจิตต์ซึ่งเป็นทางสาธารณะ จึงเป็นอาคารตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ เมื่อผู้ฟ้องคดี ทำการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงได้ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้างตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ต่อมาเมื่อผู้ฟ้องคดียื่นคำขออนุญาตก่อสร้างรั้วและผลการตรวจสอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ได้ความว่าที่ดินที่จะก่อสร้างเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างได้ การสั่งให้ระงับการก่อสร้างและไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ชอบแล้ว ไม่มีเหตุให้เพิกถอน ส่วนเรื่องการชำระภาษีบำรุงท้องที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้มีชื่อเดิมในโฉนดที่ดินก่อนหน้าผู้ฟ้องคดีได้มีการชำระภาษีบำรุงท้องที่ นอกจากนี้แผนที่บริเวณอำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี ของกองสำรวจ สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่าที่ดินเป็นทางเดิน และจากการตรวจสอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พบว่าพื้นผิวที่ดินมีสภาพเหมือน ทางลาดยาง เมื่อขุดลงไปพบว่ามีชั้นหินตลอดแนวของที่ดิน และมีประชาชนใช้เป็นทางสัญจรมาเป็นเวลา นานกว่า ๑๐ ปี
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน ๖๐ วัน และได้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้ฟ้องคดีตามระยะเวลาอันควรและชอบด้วยกฎหมายแล้ว เนื่องจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้กำหนดระยะเวลาการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไว้ ส่วนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ นั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้พิจารณาหลักฐานจากเจ้าพนักงานที่ดินในเรื่องการถือกรรมสิทธิ์ นายอำเภอชะอำซึ่งดูแลที่ดินสาธารณะ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ แล้ว เห็นชอบตามคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ได้พิจารณาว่าที่ดินที่ขออนุญาตก่อสร้างเป็นทางสาธารณะ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่
ผู้ฟ้องคดีคัดค้านคำให้การว่า ที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๔๓๓ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่ความจริงเป็นที่ดินคนละแปลงและมิใช่เป็นถนนซอยเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลงไม่มีเจตนากันไว้เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างรั้วคอนกรีตที่มีเพียงหลักหมุดด้านหนึ่งติดกับถนนร่วมจิตต์และหลักหมุดอีกด้านหนึ่งติดกับถนนเจ้าลาย ไม่มีเขตติดต่อกับทางสาธารณะ จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ประชาชนชุมชนหนองแจงที่คัดค้านการก่อสร้างรั้วมีบ้านพักอาศัยห่างจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีไปประมาณ ๑ - ๒ กิโลเมตร และมีทางออก ด้านอื่นที่สะดวกกว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่มีอำนาจออกคำสั่งว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นที่สาธารณประโยชน์ การที่จะพิจารณาว่าที่ดินใดเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนเรื่องการชำระภาษีบำรุงท้องที่ผู้ฟ้องคดีได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลชะอำว่าคงค้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ผู้ฟ้องคดีจึงได้ชำระภาษีที่ค้างดังกล่าวแล้ว
ระหว่างพิจารณาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาล โดยเห็นว่าเป็นคดีพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่๒ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่ากระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการออกคำสั่งตามแบบ ค. ๓เลขที่ ๕๒๑๐๖/๑๓๙๒ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ ให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้างรั้วจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และคำสั่งตามแบบ น.๒ ที่ ๕๒๑๐๖/๑๘๗๓ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๖ ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างรั้วในที่สาธารณประโยชน์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำวินิจฉัยที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว จึงเป็นคำขอที่ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
ศาลจังหวัดเพชรบุรีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ฟ้องคดีจะโต้แย้งว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ออกคำสั่ง คำวินิจฉัยและมีมติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่ประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ศาลจึงต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณีต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ประกอบประมวลกฎหมายที่ดินที่บัญญัติเรื่องนั้นไว้เป็นพิเศษคดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าได้ก่อสร้างรั้วตามแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๔๓๔ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ (นายาง) จังหวัดเพชรบุรี ที่ซื้อมาจากผู้มีชื่อ ซึ่งผู้มีชื่อไม่ได้ ยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์และยังคงชำระภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอด แต่ถูกผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ สั่งให้ระงับการก่อสร้างโดยอ้างว่าทำการก่อสร้างโดยมิได้รับอนุญาต ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขออนุญาต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็มีคำสั่งไม่อนุญาตโดยอ้างว่ามีประชาชนคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่ราษฎรใช้เป็นทางสัญจรไปมา เป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี ไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างได้จนกว่าจะหาข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ว่าที่ดินไม่เป็นที่สาธารณประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตนั้นต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีมติยกอุทธรณ์ โดยเห็นว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นทางสาธารณประโยชน์ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยังได้วินิจฉัยอุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า การออกคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วชอบด้วยกฎหมายแล้วเพราะที่ดินของผู้ฟ้องคดีมีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่า ได้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นชอบตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้ว จึงมีมติยกอุทธรณ์โดยไม่ได้มีคำวินิจฉัยว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ระงับ การก่อสร้างรั้ว และคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วจะสั่งโดยอาศัยเหตุแตกต่างกัน แต่ข้อพิพาทระหว่าง ผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และที่ ๒ ก็เป็นเรื่องการไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างรั้วในที่ดินมีโฉนดของผู้ฟ้องคดี โดยเหตุที่เห็นว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นทางสาธารณประโยชน์ และเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกันมา การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างรั้วของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินที่ก่อสร้างรั้ว เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนปัญหาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ระงับการก่อสร้างรั้วชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่นั้น จะเป็นประโยชน์แก่คดีของผู้ฟ้องคดีก็ต่อเมื่อศาลพิจารณาได้ความว่าที่ดิน ที่ก่อสร้างรั้วเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีเป็นสำคัญ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง นายวิทูร นิธากร ผู้ฟ้องคดี นายกเทศมนตรีตำบลชะอำ ที่ ๑ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จังหวัดเพชรบุรี ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดเพชรบุรี
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๒
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๒/๒๕๔๗
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
เรื่อง คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คำพิพากษาศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙
การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒
ข้อเท็จจริงในคดี
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรับโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒ และมาตรา ๕๙ วรรคสอง ส่งเรื่องมายังคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีนายพนมศรีราม ซึ่งขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพัทลุง ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เนื่องจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนซึ่งผู้ร้องทุกข์เป็นข้าราชการในสังกัด มีคำสั่งให้ผู้ร้องทุกข์รับผิดทางละเมิดจากการขับรถยนต์กระบะของทางราชการประสบอุบัติเหตุ ได้รับความเสียหาย และมีคำสั่งเรียกให้ผู้ร้องทุกข์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ทางราชการโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ โดยขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางได้รับโอนเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวมาและมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๗๓๓/๒๕๔๔ หมายเลขแดงที่๙๕๓/๒๕๔๕ ระหว่างนายพนม ศรีราม ผู้ฟ้องคดี กรมการศึกษานอกโรงเรียนที่ ๑กระทรวงการคลังที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี โดยวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และต้องชดใช้เงิน ๗๙,๘๘๙ บาท เต็มจำนวนของความเสียหาย คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าคำพิพากษาของศาลปกครองกลางขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๙ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่๑๑๕๐/๒๕๔๔ หมายเลขแดงที่ ๘๗๕/๒๕๔๕ ระหว่างกรมการศึกษานอกโรงเรียน โจทก์ นายพนม ศรีราม จำเลย ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดแก่ทางราชการจำนวน ๗๙,๘๘๙ บาท โดยศาลแขวงสงขลาได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ต่อมาโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชดใช้เงินเต็มจำนวนของความเสียหายซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค ๙ วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ควรต้องชดใช้เงินเต็มจำนวนของความเสียหาย และพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๕๐,๐๐๐บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จึงขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา การบังคับค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลย (ผู้ฟ้องคดี) ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙ หรือคำพิพากษาศาลปกครองกลาง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยา ความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
กรณีนี้โจทก์และผู้ฟ้องคดีได้นำคดีขึ้นสู่ศาลสองศาล คือ ศาลแขวงสงขลาซึ่งเป็นศาลยุติธรรม และศาลปกครองกลางซึ่งเป็นศาลปกครอง โดยคดีในทั้งสองศาลนั้นมีมูลความแห่งคดีจากเรื่องการกระทำละเมิดของจำเลย ในการที่ขับรถยนต์ราชการไปเกิดอุบัติเหตุเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔เมื่อศาลทั้งสองศาลตัดสินในจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยต้องรับผิดแตกต่างกัน และคำพิพากษาของศาลทั้งสองศาลนั้นถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นเหตุให้คู่ความไม่อาจบังคับหรือปฏิบัติการชำระหนี้ได้ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นกรณีมีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ชอบที่คู่ความจะยื่นคำร้องขอให้มีการวินิจฉัยตามมาตรานี้ได้ แม้ว่าโจทก์จะยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมซึ่งพิพากษาภายหลังถึงที่สุด แต่กำหนดเวลาดังกล่าวหาใช่อายุความที่จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนด เมื่อปรากฏว่าคู่ความยังคงไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลสมควรรับคำร้องของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งรับโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของโจทก์ไว้พิจารณา ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔
คำพิพากษาในคดีของทั้งสองศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงตรงกันว่า จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่กระทำการในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ คงวินิจฉัยแตกต่างกันในจำนวนค่าเสียหายจึงต้องพิจารณาต่อไปว่า โจทก์ควรบังคับค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยเพียงบางส่วนของจำนวนความเสียหายตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙ หรือใช้มาตรการบังคับทางปกครองเต็มจำนวนความเสียหายตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง
การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ต่อหน่วยงานของรัฐกรณีที่เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งบัญญัติเพื่อใช้บังคับแก่การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่เป็นการเฉพาะโดยกำหนดหลักเกณฑ์แตกต่างจากหลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรับผิดที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกรณีกระทำโดยจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น หรือเรื่องการแบ่งแยก ความรับผิดของเจ้าหน้าที่แต่ละคนโดยมิให้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งมีการบังคับบัญชากำกับและมีความรับผิดทางวินัยอยู่อีกส่วนหนึ่งด้วย เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ ดังนั้น เมื่อจำเลยเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และ การกระทำละเมิดของจำเลยอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยตรง ความเสียหายที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยแต่ลำพังในฐานะที่เป็นผู้ขับรถยนต์ไปเกิดอุบัติเหตุ ไม่ปรากฏว่าหน่วยงานของรัฐหรือผู้อื่นมาเกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบด้วย ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการไปตามพระราชบัญญัตินี้จนถึงขั้นออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหาย และมีการตรวจสอบความชอบของการดำเนินการโดยศาลปกครองกลางซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการแล้วด้วย จึงควรให้มีการดำเนินการไปจนจบขั้นตอนโดยพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองให้คำสั่งทางปกครองได้มีการบังคับการให้เกิดผล เพื่อให้การเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้
ฉะนั้น กรณีนี้จึงสมควรให้โจทก์ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) ใช้มาตรการบังคับทางปกครองบังคับค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลย (ผู้ฟ้องคดี) ตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางโดยมิให้บังคับคดีเอาค่าสินไหมทดแทนรวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดขัดแย้งกัน ระหว่างศาลปกครองกลางและศาลอุทธรณ์ภาค ๙ ให้คู่ความปฏิบัติไปตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง โดยมิให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๔
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๒/๒๕๔๗
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
เรื่อง คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
คำพิพากษาศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙
การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒
ข้อเท็จจริงในคดี
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรับโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการศึกษานอกโรงเรียน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒ และมาตรา ๕๙ วรรคสอง ส่งเรื่องมายังคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลปกครองและศาลยุติธรรมขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีนายพนมศรีราม ซึ่งขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพัทลุง ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เนื่องจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนซึ่งผู้ร้องทุกข์เป็นข้าราชการในสังกัด มีคำสั่งให้ผู้ร้องทุกข์รับผิดทางละเมิดจากการขับรถยนต์กระบะของทางราชการประสบอุบัติเหตุ ได้รับความเสียหาย และมีคำสั่งเรียกให้ผู้ร้องทุกข์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ทางราชการโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.๒๕๓๙ โดยขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ซึ่งต่อมาศาลปกครองกลางได้รับโอนเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวมาและมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๗๓๓/๒๕๔๔ หมายเลขแดงที่๙๕๓/๒๕๔๕ ระหว่างนายพนม ศรีราม ผู้ฟ้องคดี กรมการศึกษานอกโรงเรียนที่ ๑กระทรวงการคลังที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี โดยวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำการโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และต้องชดใช้เงิน ๗๙,๘๘๙ บาท เต็มจำนวนของความเสียหาย คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าคำพิพากษาของศาลปกครองกลางขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค ๙ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่๑๑๕๐/๒๕๔๔ หมายเลขแดงที่ ๘๗๕/๒๕๔๕ ระหว่างกรมการศึกษานอกโรงเรียน โจทก์ นายพนม ศรีราม จำเลย ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดแก่ทางราชการจำนวน ๗๙,๘๘๙ บาท โดยศาลแขวงสงขลาได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ต่อมาโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชดใช้เงินเต็มจำนวนของความเสียหายซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค ๙ วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ควรต้องชดใช้เงินเต็มจำนวนของความเสียหาย และพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน ๕๐,๐๐๐บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จึงขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา การบังคับค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลย (ผู้ฟ้องคดี) ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙ หรือคำพิพากษาศาลปกครองกลาง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกัน จนเป็นเหตุให้คู่ความไม่ได้รับการเยียวยา ความเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความขัดแย้งในเรื่องฐานะหรือความสามารถของบุคคล คู่ความ หรือบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังกล่าวได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ออกภายหลังถึงที่สุด..."
กรณีนี้โจทก์และผู้ฟ้องคดีได้นำคดีขึ้นสู่ศาลสองศาล คือ ศาลแขวงสงขลาซึ่งเป็นศาลยุติธรรม และศาลปกครองกลางซึ่งเป็นศาลปกครอง โดยคดีในทั้งสองศาลนั้นมีมูลความแห่งคดีจากเรื่องการกระทำละเมิดของจำเลย ในการที่ขับรถยนต์ราชการไปเกิดอุบัติเหตุเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีซึ่งมีข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเดียวกันตามมาตรา ๑๔เมื่อศาลทั้งสองศาลตัดสินในจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยต้องรับผิดแตกต่างกัน และคำพิพากษาของศาลทั้งสองศาลนั้นถึงที่สุดแล้วย่อมเป็นเหตุให้คู่ความไม่อาจบังคับหรือปฏิบัติการชำระหนี้ได้ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นกรณีมีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกัน ชอบที่คู่ความจะยื่นคำร้องขอให้มีการวินิจฉัยตามมาตรานี้ได้ แม้ว่าโจทก์จะยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมซึ่งพิพากษาภายหลังถึงที่สุด แต่กำหนดเวลาดังกล่าวหาใช่อายุความที่จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนด เมื่อปรากฏว่าคู่ความยังคงไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลสมควรรับคำร้องของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งรับโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของโจทก์ไว้พิจารณา ตามข้อบังคับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ว่าด้วยวิธีการเสนอเรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔
คำพิพากษาในคดีของทั้งสองศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงตรงกันว่า จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่กระทำการในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ คงวินิจฉัยแตกต่างกันในจำนวนค่าเสียหายจึงต้องพิจารณาต่อไปว่า โจทก์ควรบังคับค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยเพียงบางส่วนของจำนวนความเสียหายตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙ หรือใช้มาตรการบังคับทางปกครองเต็มจำนวนความเสียหายตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง
การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ต่อหน่วยงานของรัฐกรณีที่เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งบัญญัติเพื่อใช้บังคับแก่การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่เป็นการเฉพาะโดยกำหนดหลักเกณฑ์แตกต่างจากหลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรับผิดที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกรณีกระทำโดยจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น หรือเรื่องการแบ่งแยก ความรับผิดของเจ้าหน้าที่แต่ละคนโดยมิให้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งมีการบังคับบัญชากำกับและมีความรับผิดทางวินัยอยู่อีกส่วนหนึ่งด้วย เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ ดังนั้น เมื่อจำเลยเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และ การกระทำละเมิดของจำเลยอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยตรง ความเสียหายที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยแต่ลำพังในฐานะที่เป็นผู้ขับรถยนต์ไปเกิดอุบัติเหตุ ไม่ปรากฏว่าหน่วยงานของรัฐหรือผู้อื่นมาเกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบด้วย ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการไปตามพระราชบัญญัตินี้จนถึงขั้นออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหาย และมีการตรวจสอบความชอบของการดำเนินการโดยศาลปกครองกลางซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการแล้วด้วย จึงควรให้มีการดำเนินการไปจนจบขั้นตอนโดยพิจารณาใช้มาตรการบังคับทางปกครองให้คำสั่งทางปกครองได้มีการบังคับการให้เกิดผล เพื่อให้การเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้
ฉะนั้น กรณีนี้จึงสมควรให้โจทก์ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) ใช้มาตรการบังคับทางปกครองบังคับค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลย (ผู้ฟ้องคดี) ตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางโดยมิให้บังคับคดีเอาค่าสินไหมทดแทนรวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดขัดแย้งกัน ระหว่างศาลปกครองกลางและศาลอุทธรณ์ภาค ๙ ให้คู่ความปฏิบัติไปตามคำพิพากษาศาลปกครองกลาง โดยมิให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๙
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๔
คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดระหว่างศาลขัดแย้งกันตาม มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๑/๒๕๔๗
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองเชียงใหม่
ระหว่าง
ศาลจังหวัดแพร่
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองเชียงใหม่โดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นางอัญชลี เกียรติสมบูรณ์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองเชียงใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๖๙/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีได้ครอบครองที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๗๕๐ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวนเนื้อที่ ๔-๑-๔๓ ไร่ โดยซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากนางคำแดง โพธิ์เงิน มาเป็นเวลา๒๑ปี และได้ปลูกต้นมะม่วง มะขาม ลำไยไว้ในที่ดินนั้น ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือที่ มท๐๕๑๖.๒/๓๗๖๙๖ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ แจ้งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ ๒๙๖๒/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ โดยอ้างว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ในเขตที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมูเขาแม่กะทิง เขาถ้ำบ่อแก้ว เขาห้วยแก้ด เขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของอธิบดีกรมที่ดินเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีไม่ได้อยู่ในที่สงวนหวงห้ามดังกล่าวหมดทั้งแปลง จึงได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือแจ้งผู้ฟ้องคดีว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้วและจะได้นำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีเสนอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาต่อไป และภายหลังผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือแจ้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๗๕๐ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ไม่ได้อยู่ในเขตที่สงวนแต่เพียงบางส่วนตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง แต่อยู่ในเขตที่ดินสงวนหวงห้ามซึ่งราชพัสดุจังหวัดแพร่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินสงวนของกรมทางหลวง หมายเลขทะเบียน พร ๑๙ หมดทั้งแปลง ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๗๕๐ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวางจังหวัดแพร่ ตามคำสั่งกรมที่ดินที่ ๒๙๖๒/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ เพราะการออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวได้ออกทับที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู เขาแม่กะทิง เขาถ้ำบ่อแก้ว เขาห้วยแก้ด เขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ และ น.ส. ๓ ก. นี้ได้ออกทับที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) เลขที่ ๙๔ ที่กรมทางหลวงในขณะนั้นแจ้งการครอบครองไว้และราชพัสดุจังหวัดแพร่ได้ขึ้นทะเบียนที่สงวนของกรมทางหลวง ทะเบียนเลขที่ พร ๑๙ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เนื้อที่ ๑๕-๓-๖๖ ไร่ ใช้ประโยชน์ในราชการกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง)
อนึ่ง ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การโต้แย้งอำนาจศาลว่า ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีอ้างว่าที่ดินตามหนังสือ น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีไม่ได้อยู่ในที่สงวนหวงห้ามตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่๑ มีคำสั่งเพิกถอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนหรือไม่ โดยไม่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับกระบวนการหรือขั้นตอนและวิธีการในการออกคำสั่งเพิกถอนหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองแต่อย่างใดซึ่งการที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีได้จะต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดิน น.ส.๓ ก. ที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิครอบครอง การพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทของคู่กรณีจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เทียบตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่๒๙/๒๕๔๕ และคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๓๑/๒๕๔๕
ศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่า ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่๒๙/๒๕๔๕ และคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๓๑/๒๕๔๕ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างนั้น ประเด็นแห่งข้อพิพาทแตกต่างจากคดีนี้ กล่าวคือ ข้อพิพาทตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลหรือคำสั่งศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งการรังวัดที่ดินเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยผู้ฟ้องคดีอ้างว่ามีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว ประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งกันว่าผู้ใดมีสิทธิในที่ดินที่พิพาท แต่คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๗๕๐ ของผู้ฟ้องคดีโดยมิชอบ เพราะที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่๗๕๐ดังกล่าวมิได้อยู่ในเขตสงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู เขาแม่กะทิง เขาถ้ำบ่อแก้ว เขาห้วยแก้ด เขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการกระทำหรือการออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นข้อพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แม้การวินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อาจต้องก้าวล่วงไปวินิจฉัยว่าที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองนั้นอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ แต่ก็มิได้เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิเกี่ยวกับที่ดินโดยตรงหากแต่เป็นประเด็นเกี่ยวพันกับประเด็นหลักคือประเด็นคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๔๑ วรรคสอง ศาลปกครองเชียงใหม่จึงเห็นว่าคดีนี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองซึ่งในคดีนี้คือ ศาลปกครองเชียงใหม่
ศาลจังหวัดแพร่เห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่ให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. พิพาทของผู้ฟ้องคดีว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู เขาแม่กะทิง เขาถ้ำบ่อแก้วเขาห้วยแก้ดเขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวางจังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยไม่มีประเด็นโต้แย้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกคำสั่งเพิกถอนหรือใช้อำนาจตามกฎหมายในการออกคำสั่งเพิกถอนหรือยกอุทธรณ์โดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการของกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ หรือไม่ จึงต้องพิจารณาให้ได้ข้อเท็จจริงก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งอยู่ในเขตที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหรือเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิครอบครองโดยชอบ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทและกฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน ดังนั้น คดีที่เป็นประเด็นโดยตรงเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔/๒๕๔๖ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดแพร่
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือ
ศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การคดีนี้สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) เลขที่ ๗๕๐ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวนเนื้อที่ ๔-๑-๔๓ ไร่ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑มีคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดี โดยอ้างว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ในเขตที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู เขาแม่กะทิงเขาถ้ำบ่อแก้ว เขาห้วยแก้ดเขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เนื่องจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีไม่ได้อยู่ในที่สงวนหวงห้ามดังกล่าวหมดทั้งแปลง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงมีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่สงวนแต่เพียงบางส่วนตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง แต่อยู่ในเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู ฯ หมดทั้งแปลง และขึ้นทะเบียนตามทะเบียนแสดงที่ดินนอกเขตทางหลวงไว้แล้ว การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๗๕๐ ของผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายตามรูปแบบและขั้นตอนของกฎหมายโดยสุจริตและเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว เพราะการออก น.ส.๓ก. ดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นได้ต่อไป กรณีเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมดังนั้นคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางอัญชลี เกียรติสมบูรณ์ ผู้ฟ้องคดี อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดแพร่
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(สำเนา)
๖
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๑/๒๕๔๗
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
เรื่อง คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองเชียงใหม่
ระหว่าง
ศาลจังหวัดแพร่
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองเชียงใหม่โดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นางอัญชลี เกียรติสมบูรณ์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองเชียงใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๖๙/๒๕๔๗ ความว่า ผู้ฟ้องคดีได้ครอบครองที่ดิน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๗๕๐ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวนเนื้อที่ ๔-๑-๔๓ ไร่ โดยซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากนางคำแดง โพธิ์เงิน มาเป็นเวลา๒๑ปี และได้ปลูกต้นมะม่วง มะขาม ลำไยไว้ในที่ดินนั้น ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือที่ มท๐๕๑๖.๒/๓๗๖๙๖ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ แจ้งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีตามคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ ๒๙๖๒/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ โดยอ้างว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ในเขตที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมูเขาแม่กะทิง เขาถ้ำบ่อแก้ว เขาห้วยแก้ด เขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวของอธิบดีกรมที่ดินเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีไม่ได้อยู่ในที่สงวนหวงห้ามดังกล่าวหมดทั้งแปลง จึงได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือแจ้งผู้ฟ้องคดีว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้วและจะได้นำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีเสนอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ พิจารณาต่อไป และภายหลังผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีหนังสือแจ้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๗๕๐ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ไม่ได้อยู่ในเขตที่สงวนแต่เพียงบางส่วนตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง แต่อยู่ในเขตที่ดินสงวนหวงห้ามซึ่งราชพัสดุจังหวัดแพร่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินสงวนของกรมทางหลวง หมายเลขทะเบียน พร ๑๙ หมดทั้งแปลง ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๗๕๐ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวางจังหวัดแพร่ ตามคำสั่งกรมที่ดินที่ ๒๙๖๒/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ เพราะการออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวได้ออกทับที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู เขาแม่กะทิง เขาถ้ำบ่อแก้ว เขาห้วยแก้ด เขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ และ น.ส. ๓ ก. นี้ได้ออกทับที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค. ๑) เลขที่ ๙๔ ที่กรมทางหลวงในขณะนั้นแจ้งการครอบครองไว้และราชพัสดุจังหวัดแพร่ได้ขึ้นทะเบียนที่สงวนของกรมทางหลวง ทะเบียนเลขที่ พร ๑๙ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เนื้อที่ ๑๕-๓-๖๖ ไร่ ใช้ประโยชน์ในราชการกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง)
อนึ่ง ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การโต้แย้งอำนาจศาลว่า ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีอ้างว่าที่ดินตามหนังสือ น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดีไม่ได้อยู่ในที่สงวนหวงห้ามตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่๑ มีคำสั่งเพิกถอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่กรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนหรือไม่ โดยไม่มีประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับกระบวนการหรือขั้นตอนและวิธีการในการออกคำสั่งเพิกถอนหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองแต่อย่างใดซึ่งการที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีได้จะต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดิน น.ส.๓ ก. ที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิครอบครอง การพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทของคู่กรณีจะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน ดังนั้น คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เทียบตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่๒๙/๒๕๔๕ และคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๓๑/๒๕๔๕
ศาลปกครองเชียงใหม่เห็นว่า ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่๒๙/๒๕๔๕ และคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๓๑/๒๕๔๕ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างนั้น ประเด็นแห่งข้อพิพาทแตกต่างจากคดีนี้ กล่าวคือ ข้อพิพาทตามคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลหรือคำสั่งศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งการรังวัดที่ดินเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยผู้ฟ้องคดีอ้างว่ามีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว ประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งกันว่าผู้ใดมีสิทธิในที่ดินที่พิพาท แต่คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๗๕๐ ของผู้ฟ้องคดีโดยมิชอบ เพราะที่ดินตาม น.ส. ๓ ก. เลขที่๗๕๐ดังกล่าวมิได้อยู่ในเขตสงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู เขาแม่กะทิง เขาถ้ำบ่อแก้ว เขาห้วยแก้ด เขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการกระทำหรือการออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นข้อพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แม้การวินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อาจต้องก้าวล่วงไปวินิจฉัยว่าที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีครอบครองนั้นอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ แต่ก็มิได้เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิเกี่ยวกับที่ดินโดยตรงหากแต่เป็นประเด็นเกี่ยวพันกับประเด็นหลักคือประเด็นคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๔๑ วรรคสอง ศาลปกครองเชียงใหม่จึงเห็นว่าคดีนี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองซึ่งในคดีนี้คือ ศาลปกครองเชียงใหม่
ศาลจังหวัดแพร่เห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่ให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. พิพาทของผู้ฟ้องคดีว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู เขาแม่กะทิง เขาถ้ำบ่อแก้วเขาห้วยแก้ดเขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวางจังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยไม่มีประเด็นโต้แย้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกคำสั่งเพิกถอนหรือใช้อำนาจตามกฎหมายในการออกคำสั่งเพิกถอนหรือยกอุทธรณ์โดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการของกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ หรือไม่ จึงต้องพิจารณาให้ได้ข้อเท็จจริงก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งอยู่ในเขตที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหรือเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิครอบครองโดยชอบ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทและกฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน ดังนั้น คดีที่เป็นประเด็นโดยตรงเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๔/๒๕๔๖ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดแพร่
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือ
ศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การคดีนี้สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) เลขที่ ๗๕๐ ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ จำนวนเนื้อที่ ๔-๑-๔๓ ไร่ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑มีคำสั่งเพิกถอน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดี โดยอ้างว่าที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ในเขตที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู เขาแม่กะทิงเขาถ้ำบ่อแก้ว เขาห้วยแก้ดเขาห้วยโรง และทางแยกเข้าไปขนหินในท้องที่ตำบลร้องกวางและตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๘๑ ผู้ฟ้องคดีจึงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เนื่องจากที่ดินของผู้ฟ้องคดีไม่ได้อยู่ในที่สงวนหวงห้ามดังกล่าวหมดทั้งแปลง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ จึงมีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่สงวนแต่เพียงบางส่วนตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง แต่อยู่ในเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณเขาผาหมู ฯ หมดทั้งแปลง และขึ้นทะเบียนตามทะเบียนแสดงที่ดินนอกเขตทางหลวงไว้แล้ว การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งให้เพิกถอน น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๗๕๐ ของผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายตามรูปแบบและขั้นตอนของกฎหมายโดยสุจริตและเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว เพราะการออก น.ส.๓ก. ดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาในประเด็นอื่นได้ต่อไป กรณีเป็นการโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมดังนั้นคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนางอัญชลี เกียรติสมบูรณ์ ผู้ฟ้องคดี อธิบดีกรมที่ดิน ที่ ๑ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดแพร่
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(สำเนา)
๖
คดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๐/๒๕๔๗
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
ระหว่าง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๖ นายเวสารัช เนินพลอย เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กรมศิลปากร ที่ ๑ นายจรัล เหมทานนท์ ที่ ๒ นายสุทธิพงษ์ พรรณกลิ่น ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๓๕๘/๒๕๔๖ ความว่า จำเลยที่ ๑ มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทกรมสังกัดรัฐบาล มีหน้าที่จัดการดูแลการบริหารของหน่วยงานในสังกัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชเป็นหน่วยงานของรัฐที่ขึ้นตรงต่อจำเลยที่ ๑ มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา ที่เข้ารับการศึกษา มีนายจรัล เหมทานนท์ จำเลยที่๒เป็นผู้อำนวยการมีอำนาจดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนวิทยาลัย จำเลยที่ ๓ เป็นข้าราชการในสังกัดจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๓กระทำการในฐานะรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช โดยจำเลยที่ ๓ ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๒ ให้กระทำการรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช จำเลยทั้งสามได้ว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช โดยโจทก์จะต้องจัดหา เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์กับจัดหาเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสาร ๑๑ ชุด ติดตั้งในวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช และจำเลยทั้งสามจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เต็มราคาตามจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าวในอัตราคนละ ๓๐๐ บาท ต่อภาคเรียน จำเลยทั้งสามจะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ภายใน ๑๐ วันนับแต่วันลงทะเบียนเรียนสิ้นสุด สัญญาจ้างดังกล่าวมีกำหนด ๕ ปี หรือ ๑๐ ภาคเรียน หลังทำสัญญาโจทก์ได้จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์และจัดให้มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายสื่อสาร (อินเตอร์เน็ต) ๑๑ ชุด นำไปติดตั้งในวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช เสร็จตามสัญญา โจทก์ได้เข้าไปทำการสอนนักศึกษาในภาคเรียนต่าง ๆ แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน โดยค้างชำระค่าจ้างแก่โจทก์ในภาคเรียนแรกจนถึงภาคเรียนที่ ๕ ต่อมาจำเลยทั้งสามไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการสอนและไม่ยอมชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือ ทวงถามค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญา ภายหลังจำเลยทั้งสามรับหนังสือดังกล่าว จึงเรียกโจทก์เจรจาและยินยอมให้โจทก์ทำการสอนต่อไปจนครบสัญญา และยินยอมชำระค่าจ้างให้โจทก์บางส่วน และในภาคเรียนที่ ๕ จำเลยทั้งสามแจ้งต่อโจทก์ขอเลิกสัญญา โดยจะชำระเงินให้โจทก์บางส่วน แต่จำเลยทั้งสามไม่คืน เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ ๑๑ ชุดแก่โจทก์ โจทก์ไม่รับข้อเสนอของจำเลยทั้งสาม การกระทำของจำเลยทั้งสามก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าจ้างและค่าเสียหาย จำนวน ๑,๒๒๙,๑๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของเงินต้นดังกล่าว นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยทั้งสามคืนเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ ๑๑ ชุด แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์หากไม่คืนในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ จำนวน ๖๕๐,๐๐๐ บาท
จำเลยทั้งสามให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตามฟ้อง จำเลยที่ ๓ ฟ้องแย้งเรียกค่าลงทะเบียนเรียนที่ได้จ่ายให้แก่โจทก์คืนจำนวน ๓๙๘,๕๐๘ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงิน ๓๖๑,๓๕๐ บาท นับถัดแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเนื่องจากโจทก์ไม่ได้เปิดบริการให้เด็กนักเรียนหรือนักศึกษาที่ได้ลงทะเบียนเรียนได้ใช้หรือเล่นอินเตอร์เน็ตตามสัญญา ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชรับคำฟ้องแย้งของ จำเลยที่ ๓ จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า สัญญาที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ(อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องเรียกเก็บค่าใช้บริการ(อินเตอร์เน็ต) จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าวในอัตรา ๓๐๐ บาท ต่อคนต่อเทอม จึงเป็นการที่จำเลยทั้งสามมีหน้าที่จะต้องเรียกเก็บเงินดังกล่าวแทนโจทก์จากนักศึกษาแล้วนำเงินดังกล่าวมาชำระแก่โจทก์ ทั้งเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาชำระแก่โจทก์นั้นก็มิใช่เป็นเงินที่ได้มาจากงบประมาณแผ่นดิน และสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีลักษณะใด ที่แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานของรัฐอันเป็นหน่วยงานทางปกครองได้เปรียบคู่สัญญา แต่เป็นเรื่องของ การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเรียกเก็บเงินจากนักศึกษาแล้วไม่ยอมนำเงินดังกล่าวมาชำระโจทก์ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทกันตามสัญญาจ้างให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ(อินเตอร์เน็ต) การดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาดังกล่าวแก่นักศึกษาในวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ถือได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาอบรมและเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งที่รัฐจะต้องจัดให้มีขึ้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สัญญาจ้างที่พิพาทกันในคดีนี้จึงเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ โดยมีจำเลยทั้งสามเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ว่าจ้างมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ สัญญาพิพาทดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือ ศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า นายสุทธิพงษ์ พรรณกลิ่น จำเลยที่ ๓ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช มีกำหนด ๕ ปี โดยโจทก์จะต้องจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์กับจัดหาเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสาร ๑๑ ชุด ติดตั้ง ในวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช และจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เต็มราคาตามจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าวในอัตราคนละ๓๐๐ บาท ต่อภาคเรียน โจทก์ดำเนินการจัดหา ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์กับเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสารดังกล่าวเสร็จตามสัญญา และได้เข้าไปทำการสอนนักศึกษาในภาคเรียนต่าง ๆ แต่ปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ ต่อมาเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามจึงชำระให้บางส่วนและแจ้งต่อโจทก์ขอบอกเลิกสัญญา โดยจะชำระเงินให้โจทก์บางส่วน แต่ไม่คืนเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่รับข้อเสนอ จึงได้บอกเลิกสัญญาและ ยื่นฟ้องกรมศิลปากร ที่ ๑ นายจรัล เหมทานนท์ (ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช) ที่ ๒ นายสุทธิพงษ์ พรรณกลิ่น ที่ ๓ เป็นจำเลยให้ชำระค่าจ้างและให้คืนเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ หรือให้ชดใช้ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์หากไม่คืน ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ จำเลยทั้งสามให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตามฟ้อง กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ สัญญาจ้างให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต)ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช เป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครองโดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญาทางปกครองหมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญา อย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" กรมศิลปากรจำเลยที่ ๑ เป็นส่วนราชการระดับกรม จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง จำเลยที่ ๒ และที่ ๓เป็นข้าราชการสังกัดจำเลยที่ ๑ จึงมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่จำเลยที่ ๓ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ได้ทำสัญญาว่าจ้างให้โจทก์ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงใน กลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยมีกำหนด ๕ ปี นั้น เห็นว่า วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชมีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะทางด้านการเรียนการสอน จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ เป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเข้าทำสัญญาว่าจ้างดังกล่าว สัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อให้เอกชนเข้าจัดทำบริการสาธารณะโดยจัดการศึกษาอบรมความรู้เกี่ยวกับการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์แก่นักศึกษา สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒เมื่อคดีนี้เป็นกรณีพิพาทเนื่องจากการเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาพิพาทดังกล่าว ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นายเวสารัช เนินพลอย โจทก์ กรมศิลปากร ที่ ๑นายจรัล เหมทานนท์ ที่ ๒ นายสุทธิพงษ์ พรรณกลิ่น ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๕
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๖๐/๒๕๔๗
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
ระหว่าง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๖ นายเวสารัช เนินพลอย เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กรมศิลปากร ที่ ๑ นายจรัล เหมทานนท์ ที่ ๒ นายสุทธิพงษ์ พรรณกลิ่น ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๓๕๘/๒๕๔๖ ความว่า จำเลยที่ ๑ มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทกรมสังกัดรัฐบาล มีหน้าที่จัดการดูแลการบริหารของหน่วยงานในสังกัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชเป็นหน่วยงานของรัฐที่ขึ้นตรงต่อจำเลยที่ ๑ มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา ที่เข้ารับการศึกษา มีนายจรัล เหมทานนท์ จำเลยที่๒เป็นผู้อำนวยการมีอำนาจดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนวิทยาลัย จำเลยที่ ๓ เป็นข้าราชการในสังกัดจำเลยที่ ๑ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ ๓กระทำการในฐานะรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช โดยจำเลยที่ ๓ ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ ๒ ให้กระทำการรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช จำเลยทั้งสามได้ว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช โดยโจทก์จะต้องจัดหา เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์กับจัดหาเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสาร ๑๑ ชุด ติดตั้งในวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช และจำเลยทั้งสามจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เต็มราคาตามจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าวในอัตราคนละ ๓๐๐ บาท ต่อภาคเรียน จำเลยทั้งสามจะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ภายใน ๑๐ วันนับแต่วันลงทะเบียนเรียนสิ้นสุด สัญญาจ้างดังกล่าวมีกำหนด ๕ ปี หรือ ๑๐ ภาคเรียน หลังทำสัญญาโจทก์ได้จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์และจัดให้มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายสื่อสาร (อินเตอร์เน็ต) ๑๑ ชุด นำไปติดตั้งในวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช เสร็จตามสัญญา โจทก์ได้เข้าไปทำการสอนนักศึกษาในภาคเรียนต่าง ๆ แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน โดยค้างชำระค่าจ้างแก่โจทก์ในภาคเรียนแรกจนถึงภาคเรียนที่ ๕ ต่อมาจำเลยทั้งสามไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการสอนและไม่ยอมชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือ ทวงถามค่าจ้างให้แก่โจทก์ตามสัญญา ภายหลังจำเลยทั้งสามรับหนังสือดังกล่าว จึงเรียกโจทก์เจรจาและยินยอมให้โจทก์ทำการสอนต่อไปจนครบสัญญา และยินยอมชำระค่าจ้างให้โจทก์บางส่วน และในภาคเรียนที่ ๕ จำเลยทั้งสามแจ้งต่อโจทก์ขอเลิกสัญญา โดยจะชำระเงินให้โจทก์บางส่วน แต่จำเลยทั้งสามไม่คืน เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ ๑๑ ชุดแก่โจทก์ โจทก์ไม่รับข้อเสนอของจำเลยทั้งสาม การกระทำของจำเลยทั้งสามก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าจ้างและค่าเสียหาย จำนวน ๑,๒๒๙,๑๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของเงินต้นดังกล่าว นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยทั้งสามคืนเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ ๑๑ ชุด แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์หากไม่คืนในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ จำนวน ๖๕๐,๐๐๐ บาท
จำเลยทั้งสามให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตามฟ้อง จำเลยที่ ๓ ฟ้องแย้งเรียกค่าลงทะเบียนเรียนที่ได้จ่ายให้แก่โจทก์คืนจำนวน ๓๙๘,๕๐๘ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงิน ๓๖๑,๓๕๐ บาท นับถัดแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเนื่องจากโจทก์ไม่ได้เปิดบริการให้เด็กนักเรียนหรือนักศึกษาที่ได้ลงทะเบียนเรียนได้ใช้หรือเล่นอินเตอร์เน็ตตามสัญญา ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชรับคำฟ้องแย้งของ จำเลยที่ ๓ จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีนี้เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า สัญญาที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ(อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามจะต้องเรียกเก็บค่าใช้บริการ(อินเตอร์เน็ต) จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าวในอัตรา ๓๐๐ บาท ต่อคนต่อเทอม จึงเป็นการที่จำเลยทั้งสามมีหน้าที่จะต้องเรียกเก็บเงินดังกล่าวแทนโจทก์จากนักศึกษาแล้วนำเงินดังกล่าวมาชำระแก่โจทก์ ทั้งเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาชำระแก่โจทก์นั้นก็มิใช่เป็นเงินที่ได้มาจากงบประมาณแผ่นดิน และสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีลักษณะใด ที่แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานของรัฐอันเป็นหน่วยงานทางปกครองได้เปรียบคู่สัญญา แต่เป็นเรื่องของ การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเรียกเก็บเงินจากนักศึกษาแล้วไม่ยอมนำเงินดังกล่าวมาชำระโจทก์ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทกันตามสัญญาจ้างให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ(อินเตอร์เน็ต) การดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาดังกล่าวแก่นักศึกษาในวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ถือได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาอบรมและเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งที่รัฐจะต้องจัดให้มีขึ้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ สัญญาจ้างที่พิพาทกันในคดีนี้จึงเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ โดยมีจำเลยทั้งสามเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ว่าจ้างมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ สัญญาพิพาทดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือ ศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องสรุปได้ว่า นายสุทธิพงษ์ พรรณกลิ่น จำเลยที่ ๓ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอน การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช มีกำหนด ๕ ปี โดยโจทก์จะต้องจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์กับจัดหาเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสาร ๑๑ ชุด ติดตั้ง ในวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช และจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เต็มราคาตามจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าวในอัตราคนละ๓๐๐ บาท ต่อภาคเรียน โจทก์ดำเนินการจัดหา ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์กับเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสารดังกล่าวเสร็จตามสัญญา และได้เข้าไปทำการสอนนักศึกษาในภาคเรียนต่าง ๆ แต่ปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ ต่อมาเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามจึงชำระให้บางส่วนและแจ้งต่อโจทก์ขอบอกเลิกสัญญา โดยจะชำระเงินให้โจทก์บางส่วน แต่ไม่คืนเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่รับข้อเสนอ จึงได้บอกเลิกสัญญาและ ยื่นฟ้องกรมศิลปากร ที่ ๑ นายจรัล เหมทานนท์ (ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช) ที่ ๒ นายสุทธิพงษ์ พรรณกลิ่น ที่ ๓ เป็นจำเลยให้ชำระค่าจ้างและให้คืนเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ หรือให้ชดใช้ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์หากไม่คืน ในสภาพเรียบร้อยสมบูรณ์ จำเลยทั้งสามให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตามฟ้อง กรณีจึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ สัญญาจ้างให้ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงในกลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต)ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช เป็นสัญญาทางแพ่งหรือสัญญาทางปกครองโดยที่มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้บัญญัติไว้ว่า "สัญญาทางปกครองหมายความรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญา อย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง หรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" กรมศิลปากรจำเลยที่ ๑ เป็นส่วนราชการระดับกรม จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง จำเลยที่ ๒ และที่ ๓เป็นข้าราชการสังกัดจำเลยที่ ๑ จึงมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การที่จำเลยที่ ๓ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ได้ทำสัญญาว่าจ้างให้โจทก์ดำเนินการจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงใน กลุ่มผู้ใช้บริการ (อินเตอร์เน็ต) ให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยมีกำหนด ๕ ปี นั้น เห็นว่า วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชมีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะทางด้านการเรียนการสอน จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ เป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเข้าทำสัญญาว่าจ้างดังกล่าว สัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อให้เอกชนเข้าจัดทำบริการสาธารณะโดยจัดการศึกษาอบรมความรู้เกี่ยวกับการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์แก่นักศึกษา สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒เมื่อคดีนี้เป็นกรณีพิพาทเนื่องจากการเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาพิพาทดังกล่าว ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง นายเวสารัช เนินพลอย โจทก์ กรมศิลปากร ที่ ๑นายจรัล เหมทานนท์ ที่ ๒ นายสุทธิพงษ์ พรรณกลิ่น ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๕
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕๙/๒๕๔๗
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดสุรินทร์
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสุรินทร์โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประทีป ลาภบุตร ที่ ๑ นายวิชิต มีแก้ว ที่ ๒ นางวิภาดา เต้าทอง ที่ ๓ นายกันศิษฏ์มะกรวัฒนะ ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๕๔/๒๕๔๕ (คดีหมายเลขแดงที่ ๘๙๗/๒๕๔๕) ข้อหาละเมิด เรียกค่าเสียหาย ความว่า จำเลยทั้งสี่รับราชการอยู่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นส่วนราชการของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการพิจารณา ผลการประกวดราคาจ้างเหมาขุดลอกหนองโครงการปฏิรูปที่ดินเขตทุ่งกุลาร้องไห้ระยะที่ ๓ อำเภอ ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ ในการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เสนอราคา ใบเสนอราคาเอกสารหลักฐาน พิจารณาคัดเลือกสิ่งของหรืองานจ้างหรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคา รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมเอกสารที่ได้รับทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการ จำเลยที่ ๔ มีตำแหน่งเป็นปฏิรูปที่ดินจังหวัด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุและเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ อย่างเคร่งครัด เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๘ อันเป็นวันกำหนดยื่นซองประกวดราคา จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้พิจารณาผลการประกวดราคาที่มี ผู้ยื่นซองรวม ๘ ราย แล้วมีความเห็นว่า ผู้ยื่นซองประกวดราคาจำนวน ๖ ราย เสนอราคาไม่ถูกต้อง จึงไม่รับพิจารณา และมีผู้ยื่นซองประกวดราคาถูกต้องตามเงื่อนไข ๒ ราย คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุรินทร์ประสานมิตร เสนอราคา ๔,๑๗๕,๘๐๐ บาท และห้างหุ้นส่วนจำกัดท่าตูมสรรพกิจ เสนอราคาไว้ ๒ แห่ง แห่งที่หนึ่งเขียนเสนอราคาไว้ในช่องตามแบบพิมพ์ แผ่นที่ ๑ ของใบเสนอราคาโดยเสนอราคาเป็นเงิน ๔,๗๑๘,๑๔๕ บาท ส่วนแห่งที่สองเขียนไว้ที่ด้านล่างของใบเสนอราคาแผ่นที่สอง โดยมีข้อความว่า ห้างฯ ยินดีลดราคาให้คงเหลือเป็นเงินทั้งสิ้น ๓,๗๓๕,๙๑๐ บาท ต่อมาจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้ทำบันทึกข้อความ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๘ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ผ่านจำเลยที่ ๔ ให้คัดเลือก ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุรินทร์ประสานมิตร เป็นผู้รับจ้างขุดลอกหนองดังกล่าวโดยจำเลยที่ ๔ ได้บันทึกเสนอความเห็นถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๘ ว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้พิจารณาถูกต้องตามระเบียบพัสดุและประกาศและได้ปรึกษากองกฎหมาย สำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว เห็นควรอนุมัติจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดสุรินทร์ประสานมิตร ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้ลงนามอนุมัติให้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดสุรินทร์ประสานมิตรเป็นผู้รับจ้างขุดลอกหนองน้ำ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๘ ตามเสนอ การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งโดยจงใจหรือประมาท ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายเป็นเงิน ๔๓๔,๐๙๐ บาท โจทก์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและทำการสอบสวนแล้ว จึงได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๔ จึงได้มีคำสั่งเรียกให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย จึงขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๔๓๔,๐๙๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันละเมิดจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน ๒๒๒,๗๓๘ บาท และให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ และในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุของจำเลยที่ ๔ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยเคร่งครัด มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายแต่ประการใด และคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิดเห็นว่าจำเลยทั้งสี่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ สมควรยุติเรื่องซึ่งตรงกับผลการสอบสวนทางวินัยโดยคณะกรรมการกลางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อ.ก.พ.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นสมควรยุติเรื่องเช่นกัน แต่กรมบัญชีกลางไม่เห็นด้วยและได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์เรียกให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกัน รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์ได้มีคำสั่งเรียกให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายตามบันทึกข้อความที่ กษ ๑๒๐๓/ว๔๖๑ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๔ จำเลยทั้งสี่เห็นว่าคำสั่งเรียกให้ชดใช้เงินดังกล่าว เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นธรรมจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๕๖๑/๒๕๔๔ จำเลยทั้งสี่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยให้ชดใช้เงินไปยังอธิบดีกรมบัญชีกลาง โดยได้รับ คำชี้แจงว่าเพื่อให้ได้ข้อยุติที่เกิดความเป็นธรรมให้รอผลคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง แต่โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้โดยมิได้ปฏิบัติตามความเห็นของกรมบัญชีกลาง อีกทั้งเห็นว่าเป็นคดีที่ขาด อายุความ ขอให้ศาลยกฟ้อง
จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสุรินทร์พิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์เป็นหน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐชดใช้ค่าเสียหายโดยอ้างว่าจำเลยทั้งสี่พิจารณาผลการประกวดราคาโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น รวมทั้งเป็นคดีพิพาทที่หน่วยงานของรัฐเป็นโจทก์เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นจำเลย ตามคำนิยามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ อีกด้วย ซึ่งการฟ้องคดีของโจทก์เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ หลังจากแจ้งจำเลยให้ชดใช้สินไหมทดแทนในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๔ ก่อนครบ ๑ ปี นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งถึงจำเลยตามความเห็นของกรมบัญชีกลางเป็นไปตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ แต่ปัจจุบัน ศาลปกครองได้ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาตามมาตรา ๑๑ ที่จำเลยทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องคดีหรือร้องทุกข์ไปยังศาลปกครองขอให้พิจารณาคำสั่ง ดังกล่าวว่าไม่เป็นธรรม และความในมาตรา๑๒ แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวยังได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐคือจำเลยทั้งสี่ชำระเงินได้ภายในเวลากำหนดหลังจากทราบผลคำพิพากษาของศาลปกครอง ดังนั้นการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลยุติธรรมในข้อหาละเมิดและเรียกค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสี่รับผิดอีก จึงเป็นเรื่องที่กระทำมิได้ เพราะมีกฎหมายบัญญัติเฉพาะถึงอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองไว้แล้วถึง ๒ ฉบับ โดยเฉพาะตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์ ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน ๔๓๔,๐๙๐ บาท ข้อหากระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อปี ๒๕๓๘ อันเป็นปีก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙ จะมีผลใช้บังคับ ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายสารบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาความรับผิดของเจ้าหน้าที่ความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สิทธิไล่เบี้ยหรืออายุความฟ้องคดี จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำละเมิดนั้น จะนำหลักเกณฑ์สารบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับหาได้ไม่ แม้การใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายวิธีสบัญญัติซึ่งอาจนำมาใช้บังคับได้ทันทีกับคำสั่งทางปกครองทั่ว ๆ ไป ที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงินได้ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ชัดแจ้งว่าการจะอาศัยอำนาจวิธีสบัญญัติเพื่อออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาที่กำหนดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๒ดังกล่าวได้ จะต้องเข้าหลักเกณฑ์กฎหมายสารบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ข้อกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์จะต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่อาจบังคับตามมาตรา ๑๐ ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้เสียแล้ว โจทก์จึงไม่อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๒ ประกอบมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดเพื่อนำไปสู่การใช้มาตรการบังคับทางปกครองด้วยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังกล่าวได้ โจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวในทางแพ่งต่อศาลยุติธรรมเท่านั้น แม้จะได้ความว่าในการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งจะดำเนินการสอบสวนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ ก็ตาม แต่การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นเพียงการยืมระเบียบดังกล่าวมาใช้แทนระเบียบความรับผิดของข้าราชการในทางแพ่ง ซึ่งออกตามมติคณะรัฐมนตรีโดยหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่ นว ๑๕๕/๒๕๐๓ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ที่ถูกยกเลิกไปทั้งนี้เพียงเท่าที่จะให้โจทก์ รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งแก่ทางราชการเท่านั้น หามีผลทำให้การสอบสวนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังกล่าวกลายเป็นการสอบสวนตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้ จำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหน้าที่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การใช้มาตรการบังคับทางปกครองด้วยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธิปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ แต่อย่างใดไม่ เมื่อคำสั่งของโจทก์สั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการไม่มีสภาพบังคับเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จะนำไปสู่การใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จากจำเลยทั้งสี่ในคดีนี้จึงไม่เป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐
ต่อมาศาลปกครองกลางได้ทำความเห็นเพิ่มเติมลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๗ ว่าคดีนี้ แม้โจทก์จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง และจำเลยทั้งสี่จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓และการฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในการกระทำละเมิดจะอยู่ในความหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างอยู่ในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับ ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และปรากฏว่าการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จะมีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจบังคับตามหลักกฎหมายสารบัญญัติมหาชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ ประกอบมาตรา ๘ เพื่อใช้อำนาจตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกมาตรการบังคับทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กับจำเลยทั้งสี่ได้ หากแต่จะต้องใช้สิทธิทางศาลฟ้องบังคับให้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมซึ่งเป็นหลักกฎหมายสารบัญญัติเอกชนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อหาละเมิดที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมดังกล่าว จึงเป็นข้อหาละเมิดใน ทางแพ่งอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม มิใช่ข้อหาละเมิดทางปกครองที่ให้แต่ละคนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๑๐ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือ ในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือ การละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎคำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
สำหรับคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนจำเลยทั้งสี่รับราชการอยู่ในสังกัดของโจทก์จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ สรุปได้ว่า จำเลยทั้งสี่รับราชการอยู่ในสังกัดของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง โดยจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาขุดลอกหนองโครงการปฏิรูปที่ดินเขตทุ่งกุลาร้องไห้ระยะที่ ๓ แต่ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ทำการพิจารณาผลการประกวดราคา โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายส่วนจำเลยที่ ๔ เป็นผู้บังคับบัญชาและมีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ไม่ควบคุมดูแล การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต่อมา โจทก์ได้มีคำสั่งเรียกให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉยจึงฟ้องขอให้ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นมูลคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ ในเรื่องนี้ แม้มูลคดีพิพาทจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อลักษณะแห่งคดีเป็นคดีปกครอง โจทก์ฟ้องคดีหลังจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับและศาลปกครองเปิดทำการแล้วกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่กำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์นายประทีป ลาภบุตร ที่ ๑ นายวิชิต มีแก้ว ที่ ๒ นางวิภาดา เต้าทอง ที่ ๓ นายกันศิษฏ์ มะกรวัฒนะ ที่ ๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๗
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕๙/๒๕๔๗
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดสุรินทร์
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสุรินทร์โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประทีป ลาภบุตร ที่ ๑ นายวิชิต มีแก้ว ที่ ๒ นางวิภาดา เต้าทอง ที่ ๓ นายกันศิษฏ์มะกรวัฒนะ ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๕๔/๒๕๔๕ (คดีหมายเลขแดงที่ ๘๙๗/๒๕๔๕) ข้อหาละเมิด เรียกค่าเสียหาย ความว่า จำเลยทั้งสี่รับราชการอยู่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นส่วนราชการของโจทก์ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการพิจารณา ผลการประกวดราคาจ้างเหมาขุดลอกหนองโครงการปฏิรูปที่ดินเขตทุ่งกุลาร้องไห้ระยะที่ ๓ อำเภอ ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ มีหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ ในการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เสนอราคา ใบเสนอราคาเอกสารหลักฐาน พิจารณาคัดเลือกสิ่งของหรืองานจ้างหรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคา รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมเอกสารที่ได้รับทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการ จำเลยที่ ๔ มีตำแหน่งเป็นปฏิรูปที่ดินจังหวัด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุและเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ อย่างเคร่งครัด เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๘ อันเป็นวันกำหนดยื่นซองประกวดราคา จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้พิจารณาผลการประกวดราคาที่มี ผู้ยื่นซองรวม ๘ ราย แล้วมีความเห็นว่า ผู้ยื่นซองประกวดราคาจำนวน ๖ ราย เสนอราคาไม่ถูกต้อง จึงไม่รับพิจารณา และมีผู้ยื่นซองประกวดราคาถูกต้องตามเงื่อนไข ๒ ราย คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุรินทร์ประสานมิตร เสนอราคา ๔,๑๗๕,๘๐๐ บาท และห้างหุ้นส่วนจำกัดท่าตูมสรรพกิจ เสนอราคาไว้ ๒ แห่ง แห่งที่หนึ่งเขียนเสนอราคาไว้ในช่องตามแบบพิมพ์ แผ่นที่ ๑ ของใบเสนอราคาโดยเสนอราคาเป็นเงิน ๔,๗๑๘,๑๔๕ บาท ส่วนแห่งที่สองเขียนไว้ที่ด้านล่างของใบเสนอราคาแผ่นที่สอง โดยมีข้อความว่า ห้างฯ ยินดีลดราคาให้คงเหลือเป็นเงินทั้งสิ้น ๓,๗๓๕,๙๑๐ บาท ต่อมาจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้ทำบันทึกข้อความ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๘ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ผ่านจำเลยที่ ๔ ให้คัดเลือก ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุรินทร์ประสานมิตร เป็นผู้รับจ้างขุดลอกหนองดังกล่าวโดยจำเลยที่ ๔ ได้บันทึกเสนอความเห็นถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๘ ว่าจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้พิจารณาถูกต้องตามระเบียบพัสดุและประกาศและได้ปรึกษากองกฎหมาย สำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว เห็นควรอนุมัติจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดสุรินทร์ประสานมิตร ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ได้ลงนามอนุมัติให้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดสุรินทร์ประสานมิตรเป็นผู้รับจ้างขุดลอกหนองน้ำ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๘ ตามเสนอ การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งโดยจงใจหรือประมาท ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕๐ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายเป็นเงิน ๔๓๔,๐๙๐ บาท โจทก์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและทำการสอบสวนแล้ว จึงได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๔ จึงได้มีคำสั่งเรียกให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย จึงขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๔๓๔,๐๙๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันละเมิดจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน ๒๒๒,๗๓๘ บาท และให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ และในฐานะหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุของจำเลยที่ ๔ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยเคร่งครัด มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายแต่ประการใด และคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิดเห็นว่าจำเลยทั้งสี่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ สมควรยุติเรื่องซึ่งตรงกับผลการสอบสวนทางวินัยโดยคณะกรรมการกลางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อ.ก.พ.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นสมควรยุติเรื่องเช่นกัน แต่กรมบัญชีกลางไม่เห็นด้วยและได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์เรียกให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกัน รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์ได้มีคำสั่งเรียกให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าเสียหายตามบันทึกข้อความที่ กษ ๑๒๐๓/ว๔๖๑ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๔ จำเลยทั้งสี่เห็นว่าคำสั่งเรียกให้ชดใช้เงินดังกล่าว เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นธรรมจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๓๕๖๑/๒๕๔๔ จำเลยทั้งสี่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยให้ชดใช้เงินไปยังอธิบดีกรมบัญชีกลาง โดยได้รับ คำชี้แจงว่าเพื่อให้ได้ข้อยุติที่เกิดความเป็นธรรมให้รอผลคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง แต่โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้โดยมิได้ปฏิบัติตามความเห็นของกรมบัญชีกลาง อีกทั้งเห็นว่าเป็นคดีที่ขาด อายุความ ขอให้ศาลยกฟ้อง
จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง
ศาลจังหวัดสุรินทร์พิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์เป็นหน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐชดใช้ค่าเสียหายโดยอ้างว่าจำเลยทั้งสี่พิจารณาผลการประกวดราคาโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหาย จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น รวมทั้งเป็นคดีพิพาทที่หน่วยงานของรัฐเป็นโจทก์เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นจำเลย ตามคำนิยามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ อีกด้วย ซึ่งการฟ้องคดีของโจทก์เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ หลังจากแจ้งจำเลยให้ชดใช้สินไหมทดแทนในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๔ ก่อนครบ ๑ ปี นับแต่วันที่โจทก์มีคำสั่งถึงจำเลยตามความเห็นของกรมบัญชีกลางเป็นไปตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ แต่ปัจจุบัน ศาลปกครองได้ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาตามมาตรา ๑๑ ที่จำเลยทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องคดีหรือร้องทุกข์ไปยังศาลปกครองขอให้พิจารณาคำสั่ง ดังกล่าวว่าไม่เป็นธรรม และความในมาตรา๑๒ แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวยังได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐคือจำเลยทั้งสี่ชำระเงินได้ภายในเวลากำหนดหลังจากทราบผลคำพิพากษาของศาลปกครอง ดังนั้นการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลยุติธรรมในข้อหาละเมิดและเรียกค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสี่รับผิดอีก จึงเป็นเรื่องที่กระทำมิได้ เพราะมีกฎหมายบัญญัติเฉพาะถึงอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองไว้แล้วถึง ๒ ฉบับ โดยเฉพาะตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์ ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน ๔๓๔,๐๙๐ บาท ข้อหากระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อปี ๒๕๓๘ อันเป็นปีก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙ จะมีผลใช้บังคับ ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายสารบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาความรับผิดของเจ้าหน้าที่ความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สิทธิไล่เบี้ยหรืออายุความฟ้องคดี จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำละเมิดนั้น จะนำหลักเกณฑ์สารบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับหาได้ไม่ แม้การใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายวิธีสบัญญัติซึ่งอาจนำมาใช้บังคับได้ทันทีกับคำสั่งทางปกครองทั่ว ๆ ไป ที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงินได้ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ชัดแจ้งว่าการจะอาศัยอำนาจวิธีสบัญญัติเพื่อออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาที่กำหนดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๒ดังกล่าวได้ จะต้องเข้าหลักเกณฑ์กฎหมายสารบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ข้อกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์จะต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่อาจบังคับตามมาตรา ๑๐ ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้เสียแล้ว โจทก์จึงไม่อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๒ ประกอบมาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดเพื่อนำไปสู่การใช้มาตรการบังคับทางปกครองด้วยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังกล่าวได้ โจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวในทางแพ่งต่อศาลยุติธรรมเท่านั้น แม้จะได้ความว่าในการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งจะดำเนินการสอบสวนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ ก็ตาม แต่การดำเนินการดังกล่าวก็เป็นเพียงการยืมระเบียบดังกล่าวมาใช้แทนระเบียบความรับผิดของข้าราชการในทางแพ่ง ซึ่งออกตามมติคณะรัฐมนตรีโดยหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่ นว ๑๕๕/๒๕๐๓ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ที่ถูกยกเลิกไปทั้งนี้เพียงเท่าที่จะให้โจทก์ รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งแก่ทางราชการเท่านั้น หามีผลทำให้การสอบสวนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังกล่าวกลายเป็นการสอบสวนตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้ จำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหน้าที่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การใช้มาตรการบังคับทางปกครองด้วยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธิปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ แต่อย่างใดไม่ เมื่อคำสั่งของโจทก์สั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการไม่มีสภาพบังคับเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จะนำไปสู่การใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จากจำเลยทั้งสี่ในคดีนี้จึงไม่เป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐
ต่อมาศาลปกครองกลางได้ทำความเห็นเพิ่มเติมลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๗ ว่าคดีนี้ แม้โจทก์จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง และจำเลยทั้งสี่จะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๓และการฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในการกระทำละเมิดจะอยู่ในความหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างอยู่ในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับ ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และปรากฏว่าการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จะมีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจบังคับตามหลักกฎหมายสารบัญญัติมหาชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ ประกอบมาตรา ๘ เพื่อใช้อำนาจตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกมาตรการบังคับทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ กับจำเลยทั้งสี่ได้ หากแต่จะต้องใช้สิทธิทางศาลฟ้องบังคับให้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมซึ่งเป็นหลักกฎหมายสารบัญญัติเอกชนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อหาละเมิดที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมดังกล่าว จึงเป็นข้อหาละเมิดใน ทางแพ่งอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม มิใช่ข้อหาละเมิดทางปกครองที่ให้แต่ละคนรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๑๐ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือ ในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือ การละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎคำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
สำหรับคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ส่วนจำเลยทั้งสี่รับราชการอยู่ในสังกัดของโจทก์จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ สรุปได้ว่า จำเลยทั้งสี่รับราชการอยู่ในสังกัดของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง โดยจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาขุดลอกหนองโครงการปฏิรูปที่ดินเขตทุ่งกุลาร้องไห้ระยะที่ ๓ แต่ จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ทำการพิจารณาผลการประกวดราคา โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายส่วนจำเลยที่ ๔ เป็นผู้บังคับบัญชาและมีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ไม่ควบคุมดูแล การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ต่อมา โจทก์ได้มีคำสั่งเรียกให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉยจึงฟ้องขอให้ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นมูลคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ ในเรื่องนี้ แม้มูลคดีพิพาทจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อลักษณะแห่งคดีเป็นคดีปกครอง โจทก์ฟ้องคดีหลังจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับและศาลปกครองเปิดทำการแล้วกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่กำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดี ระหว่าง สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์นายประทีป ลาภบุตร ที่ ๑ นายวิชิต มีแก้ว ที่ ๒ นางวิภาดา เต้าทอง ที่ ๓ นายกันศิษฏ์ มะกรวัฒนะ ที่ ๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๗
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕๘/๒๕๔๗
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจ และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๔ กรมเจ้าท่า โจทก์ ยื่นฟ้องนายอำพล ตียาภรณ์ ที่๑ กับพวก รวม ๕ คน จำเลย ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๗๙๐/๒๕๔๔ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากจำเลยทั้งห้าซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นให้มีการต่ออายุสัญญาแก่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้รับจ้าง ขัดต่อระเบียบของทางราชการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาผู้รับจ้างให้ทำการขุดลอกร่องน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ถึงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ต่อมาผู้รับจ้างได้ทำหนังสือถึงจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง ขอขยายเวลาการทำงานโดยอ้างเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ได้ร่วมกันพิจารณาและเสนอความเห็นต่อจำเลยที่ ๑ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยผ่านจำเลยที่ ๒ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนิติการว่าควรต่ออายุสัญญาให้แก่ผู้รับจ้างตามที่ผู้รับจ้างร้องขอ โดยอ้างว่าเรือขุดลอกจีเซลล่าถูกมรสุมจมลงอันเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ทั้งที่จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ทราบดีว่าผู้รับจ้างยังสามารถใช้เรือลำอื่นปฏิบัติงานแทนได้ กรณีจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย อันเป็นการขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ๖๔ตรี ส่วนจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ก็มิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ในการพิจารณาต่ออายุสัญญาดังกล่าว โดยต่างมีความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาจ้างตามข้ออ้างของผู้รับจ้างและตามรายงานของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ เป็นเหตุให้ปลัดกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้ต่อสัญญาให้ผู้รับจ้าง ๒๙ วัน ตามความเห็นของจำเลยทั้งห้า ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจเรียกร้องค่าปรับจากผู้รับจ้างที่ส่งมอบงานเกินกำหนดเวลาตามสัญญาเป็นเวลา ๒๙ วัน อัตราค่าปรับวันละ ๓๖,๔๐๐ บาท คิดเป็นเงินค่าปรับ ๑,๐๕๕,๖๐๐ บาท ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า การต่ออายุสัญญาดังกล่าวไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ ๖๔ ตรี (๓) และสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับผู้รับจ้าง ข้อ ๖ โดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการต่อสัญญาจะต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการในกรณีที่ไม่ได้รับค่าปรับ ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้านำเงินจำนวน ๑,๐๕๕,๖๐๐ บาทมาชำระแล้วแต่จำเลยทั้งห้าเพิกเฉย
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ได้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภายในกรอบของกฎหมายตามระเบียบและคำสั่งของทางราชการทุกประการ จำเลยที่ ๑ ได้เสนอความเห็นไปยังกระทรวงคมนาคมตามที่เจ้าหน้าที่ได้เสนอมาเป็นลำดับโดยสุจริตและโดยชอบด้วยหน้าที่ ทั้งการต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามฟ้องไม่ได้อยู่ในอำนาจของโจทก์ที่จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ แต่อำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจของปลัดกระทรวงคมนาคม การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ได้เสนอความเห็นโดยพิจารณาตามข้อสัญญาที่โจทก์กับผู้รับจ้างได้ทำกันไว้ก่อนแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ และผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้เสนอข้อเท็จจริงและความเห็นตามลำดับบังคับบัญชาซึ่งจำเลยที่ ๒ ก็ได้พิจารณาเสนอความเห็นไปโดยสุจริตและโดยชอบด้วยหน้าที่ มิได้เป็นการช่วยเหลือผู้รับจ้างแต่อย่างใด รวมทั้งมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ทั้งการที่จะอนุมัติให้ผู้รับจ้างขยายเวลาออกไปหรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงคมนาคม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๒
จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ให้การว่า จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ เป็นกรรมการตรวจการจ้างไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ได้เสนอความเห็นโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามที่ผู้รับจ้างได้ยกขึ้นอ้างและข้อเท็จจริงอื่นประกอบการพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นการอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลาอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งห้า
ในระหว่างพิจารณา ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่า โจทก์เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงคมนาคม จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ว่า จำเลยทั้งห้าได้กระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อพิจารณาเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงคมนาคมในกรณีที่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้างของโจทก์ในการขุดลอกร่องน้ำปากพนังได้ขอขยายระยะเวลาการทำงานตามสัญญาออกไปว่า เห็นควรให้ขยายระยะเวลาการทำงานตามสัญญาให้แก่ผู้รับจ้างดังกล่าว อันเป็นการขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๒๑ จนเป็นเหตุให้ปลัดกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้มีการต่อสัญญาตามความเห็นของจำเลยทั้งห้า ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับค่าปรับจากผู้รับจ้างที่ส่งมอบงานเกินกำหนดเวลากรณีนี้จึงถือได้ว่าเป็นคดีละเมิดระหว่างส่วนราชการกับข้าราชการในสังกัดอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
โจทก์และจำเลยทั้งห้าแถลงไม่คัดค้านที่จะนำคดีไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางเห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งห้าเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ การกระทำละเมิดของจำเลยทั้งห้าต่อโจทก์เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๔ ก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙จะมีผลใช้บังคับ ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายสารบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาความรับผิดของเจ้าหน้าที่ ความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สิทธิไล่เบี้ย หรืออายุความฟ้องคดี จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำละเมิดนั้น จะนำหลักเกณฑ์สารบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับหาได้ไม่ แม้การใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายวิธีสบัญญัติซึ่งอาจนำมาใช้บังคับได้ทันทีกับคำสั่งทางปกครองทั่วๆ ไปที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงินได้ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ชัดแจ้งว่า การจะอาศัยอำนาจวิธีสบัญญัติเพื่อออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาที่กำหนดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๒ ได้ จะต้องเข้าหลักเกณฑ์กฎหมายสารบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเสียก่อน ข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำละเมิดต่อโจทก์จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ทวงถามโจทก์จึงต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวในทางแพ่งต่อศาลยุติธรรมเท่านั้น และแม้จะได้ความว่าในการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งได้ดำเนินการสอบสวนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการยืมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมาใช้แทนระเบียบความรับผิดชอบของข้าราชการในทางแพ่งซึ่งออกตามมติคณะรัฐมนตรีโดยหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วน ที่ นว ๑๕๕/๒๕๐๓ ลงวันที่ ๑ธันวาคม ๒๕๐๓ ที่ถูกยกเลิกไป เพียงเท่าที่จะให้โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งและทางราชการเท่านั้น หามีผลทำให้การสอบสวนดังกล่าวกลายเป็นการสอบสวนตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ไม่ เมื่อคำสั่งของโจทก์ที่สั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการไม่มีสภาพบังคับเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จะนำไปสู่การใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ การใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งห้าของโจทก์ในคดีนี้ จึงไม่เป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกันซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
คดีนี้ ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมสังกัดกระทรวงคมนาคมตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔มาตรา๑๖ ส่วนจำเลยทั้งห้าเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ โจทก์จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองและจำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องปรากฏว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็นตามลำดับบังคับบัญชาให้มีการต่ออายุสัญญาแก่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาจ้างเหมาขุดลอกร่องน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช ขัดต่อระเบียบราชการ ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจการจ้างได้เสนอความเห็นต่อจำเลยที่ ๑ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะผู้บังคับบัญชา โดยผ่านจำเลยที่ ๒ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนิติการว่าควรต่อสัญญาให้แก่ผู้รับจ้างตามที่ผู้รับจ้างร้องขอ โดยอ้างว่าเรือขุดลอกจีเซลล่าถูกมรสุมจมลงอันเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ทั้งที่จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ก็ทราบดีว่าผู้รับจ้างยังสามารถใช้เรือลำอื่นปฏิบัติงานแทนได้ ซึ่งโจทก์เห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่ใช่เหตุสุดวิสัยการกระทำของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ เป็นการขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ ๖๔ ตรี ที่บัญญัติว่า การต่ออายุสัญญาโดยงดหรือลดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างจะกระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุเกิดจากความผิดของฝ่ายผู้ว่าจ้างหรือเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นเหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ มิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ในการพิจารณาเสนอความเห็น เป็นเหตุให้ปลัดกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้ต่อสัญญาตามความเห็นของจำเลยทั้งห้า ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าให้การในทำนองเดียวกันว่า จำเลยทั้งห้าได้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภายในกรอบของกฎหมายตามระเบียบและคำสั่งของทางราชการแล้ว คดีนี้จึงเป็นกรณีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๓) แม้มูลคดีพิพาทจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อลักษณะแห่งคดีเป็นคดีปกครอง โจทก์ฟ้องคดีหลังจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับและศาลปกครองเปิดทำการแล้ว กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่กำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา ๑๐๕แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง กรมเจ้าท่า โจทก์ นายอำพล ตียาภรณ์ ที่ ๑
นายทวีโรจน์ วินมูน ที่ ๒ เรือตรี ประเวช รักแผน ที่ ๓ นายพงษ์วรรณ จารุเดชา ที่ ๔ นายสุริยา แต้ภักดี ที่ ๕ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๗
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕๘/๒๕๔๗
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจ และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๔ กรมเจ้าท่า โจทก์ ยื่นฟ้องนายอำพล ตียาภรณ์ ที่๑ กับพวก รวม ๕ คน จำเลย ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๗๙๐/๒๕๔๔ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากจำเลยทั้งห้าซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นให้มีการต่ออายุสัญญาแก่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้รับจ้าง ขัดต่อระเบียบของทางราชการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาผู้รับจ้างให้ทำการขุดลอกร่องน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกำหนดเวลาตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ถึงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ต่อมาผู้รับจ้างได้ทำหนังสือถึงจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง ขอขยายเวลาการทำงานโดยอ้างเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ได้ร่วมกันพิจารณาและเสนอความเห็นต่อจำเลยที่ ๑ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยผ่านจำเลยที่ ๒ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนิติการว่าควรต่ออายุสัญญาให้แก่ผู้รับจ้างตามที่ผู้รับจ้างร้องขอ โดยอ้างว่าเรือขุดลอกจีเซลล่าถูกมรสุมจมลงอันเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ทั้งที่จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ทราบดีว่าผู้รับจ้างยังสามารถใช้เรือลำอื่นปฏิบัติงานแทนได้ กรณีจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย อันเป็นการขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ๖๔ตรี ส่วนจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ก็มิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ในการพิจารณาต่ออายุสัญญาดังกล่าว โดยต่างมีความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาจ้างตามข้ออ้างของผู้รับจ้างและตามรายงานของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ เป็นเหตุให้ปลัดกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้ต่อสัญญาให้ผู้รับจ้าง ๒๙ วัน ตามความเห็นของจำเลยทั้งห้า ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจเรียกร้องค่าปรับจากผู้รับจ้างที่ส่งมอบงานเกินกำหนดเวลาตามสัญญาเป็นเวลา ๒๙ วัน อัตราค่าปรับวันละ ๓๖,๔๐๐ บาท คิดเป็นเงินค่าปรับ ๑,๐๕๕,๖๐๐ บาท ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า การต่ออายุสัญญาดังกล่าวไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ ๖๔ ตรี (๓) และสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับผู้รับจ้าง ข้อ ๖ โดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการต่อสัญญาจะต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการในกรณีที่ไม่ได้รับค่าปรับ ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้านำเงินจำนวน ๑,๐๕๕,๖๐๐ บาทมาชำระแล้วแต่จำเลยทั้งห้าเพิกเฉย
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า จำเลยที่ ๑ ได้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภายในกรอบของกฎหมายตามระเบียบและคำสั่งของทางราชการทุกประการ จำเลยที่ ๑ ได้เสนอความเห็นไปยังกระทรวงคมนาคมตามที่เจ้าหน้าที่ได้เสนอมาเป็นลำดับโดยสุจริตและโดยชอบด้วยหน้าที่ ทั้งการต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างตามฟ้องไม่ได้อยู่ในอำนาจของโจทก์ที่จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ แต่อำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจของปลัดกระทรวงคมนาคม การกระทำของจำเลยที่ ๑ จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า จำเลยที่ ๒ ได้เสนอความเห็นโดยพิจารณาตามข้อสัญญาที่โจทก์กับผู้รับจ้างได้ทำกันไว้ก่อนแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ และผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้เสนอข้อเท็จจริงและความเห็นตามลำดับบังคับบัญชาซึ่งจำเลยที่ ๒ ก็ได้พิจารณาเสนอความเห็นไปโดยสุจริตและโดยชอบด้วยหน้าที่ มิได้เป็นการช่วยเหลือผู้รับจ้างแต่อย่างใด รวมทั้งมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ทั้งการที่จะอนุมัติให้ผู้รับจ้างขยายเวลาออกไปหรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงคมนาคม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๒
จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ให้การว่า จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ เป็นกรรมการตรวจการจ้างไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ได้เสนอความเห็นโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามที่ผู้รับจ้างได้ยกขึ้นอ้างและข้อเท็จจริงอื่นประกอบการพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นการอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ขยายระยะเวลาอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งห้า
ในระหว่างพิจารณา ศาลแพ่งกรุงเทพใต้เห็นว่า โจทก์เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมในรัฐบาลสังกัดกระทรวงคมนาคม จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ว่า จำเลยทั้งห้าได้กระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อพิจารณาเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงคมนาคมในกรณีที่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับจ้างของโจทก์ในการขุดลอกร่องน้ำปากพนังได้ขอขยายระยะเวลาการทำงานตามสัญญาออกไปว่า เห็นควรให้ขยายระยะเวลาการทำงานตามสัญญาให้แก่ผู้รับจ้างดังกล่าว อันเป็นการขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๒๑ จนเป็นเหตุให้ปลัดกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้มีการต่อสัญญาตามความเห็นของจำเลยทั้งห้า ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับค่าปรับจากผู้รับจ้างที่ส่งมอบงานเกินกำหนดเวลากรณีนี้จึงถือได้ว่าเป็นคดีละเมิดระหว่างส่วนราชการกับข้าราชการในสังกัดอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
โจทก์และจำเลยทั้งห้าแถลงไม่คัดค้านที่จะนำคดีไปพิจารณาพิพากษาที่ศาลปกครอง
ศาลปกครองกลางเห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งห้าเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ การกระทำละเมิดของจำเลยทั้งห้าต่อโจทก์เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๔ ก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙จะมีผลใช้บังคับ ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายสารบัญญัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาความรับผิดของเจ้าหน้าที่ ความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม สิทธิไล่เบี้ย หรืออายุความฟ้องคดี จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำละเมิดนั้น จะนำหลักเกณฑ์สารบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับหาได้ไม่ แม้การใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จะเป็นส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายวิธีสบัญญัติซึ่งอาจนำมาใช้บังคับได้ทันทีกับคำสั่งทางปกครองทั่วๆ ไปที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงินได้ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ชัดแจ้งว่า การจะอาศัยอำนาจวิธีสบัญญัติเพื่อออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาที่กำหนดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๒ ได้ จะต้องเข้าหลักเกณฑ์กฎหมายสารบัญญัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๐ประกอบมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเสียก่อน ข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำละเมิดต่อโจทก์จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนตามที่ทวงถามโจทก์จึงต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวในทางแพ่งต่อศาลยุติธรรมเท่านั้น และแม้จะได้ความว่าในการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งได้ดำเนินการสอบสวนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการยืมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวมาใช้แทนระเบียบความรับผิดชอบของข้าราชการในทางแพ่งซึ่งออกตามมติคณะรัฐมนตรีโดยหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วน ที่ นว ๑๕๕/๒๕๐๓ ลงวันที่ ๑ธันวาคม ๒๕๐๓ ที่ถูกยกเลิกไป เพียงเท่าที่จะให้โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งและทางราชการเท่านั้น หามีผลทำให้การสอบสวนดังกล่าวกลายเป็นการสอบสวนตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ไม่ เมื่อคำสั่งของโจทก์ที่สั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทางราชการไม่มีสภาพบังคับเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่จะนำไปสู่การใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ การใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งห้าของโจทก์ในคดีนี้ จึงไม่เป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่เป็นคดีแพ่งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามมาตรา ๒๗๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกันซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
คดีนี้ ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมสังกัดกระทรวงคมนาคมตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔มาตรา๑๖ ส่วนจำเลยทั้งห้าเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ โจทก์จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองและจำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องปรากฏว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็นตามลำดับบังคับบัญชาให้มีการต่ออายุสัญญาแก่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาจ้างเหมาขุดลอกร่องน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช ขัดต่อระเบียบราชการ ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจการจ้างได้เสนอความเห็นต่อจำเลยที่ ๑ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะผู้บังคับบัญชา โดยผ่านจำเลยที่ ๒ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนิติการว่าควรต่อสัญญาให้แก่ผู้รับจ้างตามที่ผู้รับจ้างร้องขอ โดยอ้างว่าเรือขุดลอกจีเซลล่าถูกมรสุมจมลงอันเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ทั้งที่จำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ ก็ทราบดีว่าผู้รับจ้างยังสามารถใช้เรือลำอื่นปฏิบัติงานแทนได้ ซึ่งโจทก์เห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่ใช่เหตุสุดวิสัยการกระทำของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ เป็นการขัดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ ข้อ ๖๔ ตรี ที่บัญญัติว่า การต่ออายุสัญญาโดยงดหรือลดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างจะกระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุเกิดจากความผิดของฝ่ายผู้ว่าจ้างหรือเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นเหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ มิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ในการพิจารณาเสนอความเห็น เป็นเหตุให้ปลัดกระทรวงคมนาคมอนุมัติให้ต่อสัญญาตามความเห็นของจำเลยทั้งห้า ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าให้การในทำนองเดียวกันว่า จำเลยทั้งห้าได้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ภายในกรอบของกฎหมายตามระเบียบและคำสั่งของทางราชการแล้ว คดีนี้จึงเป็นกรณีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๓) แม้มูลคดีพิพาทจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ แต่เมื่อลักษณะแห่งคดีเป็นคดีปกครอง โจทก์ฟ้องคดีหลังจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับและศาลปกครองเปิดทำการแล้ว กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่กำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา ๑๐๕แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่าง กรมเจ้าท่า โจทก์ นายอำพล ตียาภรณ์ ที่ ๑
นายทวีโรจน์ วินมูน ที่ ๒ เรือตรี ประเวช รักแผน ที่ ๓ นายพงษ์วรรณ จารุเดชา ที่ ๔ นายสุริยา แต้ภักดี ที่ ๕ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๗
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฎิบัติ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕๗/๒๕๔๗
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
บริษัท จัตุรัสมันสำปะหลัง จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง องค์การคลังสินค้า จำเลย ต่อศาลแพ่งรวม ๒ คดี คดีแรกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ ความว่า เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม๒๕๔๔ โจทก์ ทำสัญญาซื้อมันสำปะหลังเส้นจากจำเลยจำนวน ๒ ฉบับ เป็นมันสำปะหลังเส้นจำนวน๔๙,๖๗๘.๓๘ ตัน ราคาตันละ ๒,๑๖๐ บาท โดยจำเลยตกลงจะส่งมอบมันสำปะหลังเส้นคุณภาพดีตามมาตรฐานของมันสำปะหลังเส้นทั่วไป คือแป้งไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๕ ของน้ำหนักความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๔ ของน้ำหนัก ทรายไม่เกินร้อยละ ๓ ของน้ำหนัก และเส้นใยไม่เกินร้อยละ ๕ ของน้ำหนัก ให้แก่โจทก์ ซึ่งขณะทำสัญญาซื้อขายกันนั้นมันสำปะหลังเส้นดังกล่าวเก็บรักษาไว้ที่คลังสินค้าเกษตรเพิ่มพูนทรัพย์ หลังที่ ๑ - ๓ เลขที่ ๖๐ ตำบลวะตะแบก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ โดยจำเลยจะชั่งน้ำหนักและส่งมอบ มันสำปะหลังเส้นภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงินเป็นงวด ๆ ไปจนกว่าโจทก์จะได้รับมันสำปะหลังเส้นครบถ้วนตามสัญญาซื้อขาย และเพื่อเป็นหลักประกันว่าโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ได้มอบเงินสด จำนวน ๕,๓๖๕,๒๗๕ บาท ให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๔ จำเลยส่งมอบมันสำปะหลังเส้นให้โจทก์ ๒,๐๐๐ ตัน แต่โจทก์ไม่สามารถจำหน่ายแก่ลูกค้าได้ เพราะมันสำปะหลังเส้นดังกล่าวไม่มีคุณภาพตามสัญญาซื้อขายและตามมาตรฐานทั่วไปของมันสำปะหลังเส้นที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ถือว่าจำเลยผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและ ให้จำเลยคืนเงินประกันดังกล่าว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลย ให้ชำระเงินจำนวน ๕,๔๐๐,๕๕๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินจำนวน ๕,๓๖๕,๒๗๕ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระหนี้เสร็จ
คดีหลัง โจทก์โดยนายเทียนชัย กิตติสุรินทร์ ยื่นฟ้องจำเลย เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๔ โจทก์โดยนางฐิติรัตน์ ถนัดค้าจิรโชติตัวแทนเชิด ได้ทำสัญญารับฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเส้นของจำเลยไว้ ณ คลังสินค้าหลังที่ ๑ - ๔ เลขที่๒๐๒ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ มีกำหนด ๖ เดือน หากครบกำหนดแล้วจำเลยยังไม่ได้นำสินค้าออก โจทก์ยินยอมรับฝากต่อไปจนกว่าจำเลยจะได้รับคืนไปครบถ้วน ตกลงค่าฝากสินค้าเมตริกตันละ ๒๑.๙๐ บาท ต่อเดือน ค่าขนย้ายสลับหมุนเวียนเพื่อรักษาคุณภาพสินค้าทุก๓เดือน (ค่าพลิกกองสินค้า) เมตริกตันละ ๑๖ บาท จำเลยนำมันสำปะหลังเส้นเข้าฝากเก็บไว้ ณคลังสินค้าดังกล่าวจำนวน ๔๙,๖๘๐ เมตริกตัน จนครบ ๖ เดือน แล้วยังไม่นำออกไป ถือว่าจำเลยคงฝากสินค้าต่อไปภายใต้สัญญาเดิม ต่อมาจำเลยนำมันสำปะหลังเส้นออกไป ๒,๐๐๐ เมตริกตันคงเหลือ๔๗,๖๘๐ เมตริกตัน แต่จำเลยไม่ชำระค่าฝากสินค้าหรือค่าพลิกกองสินค้าให้โจทก์ โจทก์ทวงถาม แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวน ๑๕,๓๘๓,๖๔๖ บาท พร้อมดอกเบี้ย และชำระค่าฝากสินค้าอีกเดือนละ ๑,๐๔๔,๑๙๒ บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะขนย้ายสินค้าออกไปจนหมด
ระหว่างพิจารณาศาลแพ่งเห็นว่า มีปัญหาว่าคดีทั้งสองสำนวนจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งหรือศาลปกครอง โดยคู่ความแถลงว่า มันสำปะหลังเส้นตามสัญญาซื้อขายและสัญญาฝากทรัพย์เป็นมันสำปะหลังเส้นจำนวนเดียวกัน เก็บไว้ที่คลังสินค้าเลขที่ ๒๐๒ หมู่ที่ ๑๓ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ศาลแพ่งจึงมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกันเพื่อทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยเป็นองค์การของรัฐบาล สังกัดกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ให้ดำเนินการตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี ๒๕๔๓/๒๕๔๔ เพื่อยกระดับราคา หัวมันสำปะหลังสด ให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกร โดยร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการรับจำนำ มีจำเลยเป็นผู้รับฝากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเก็บไว้ในคลังสินค้าที่กำหนด และนำ ใบประทวนสินค้าที่จำเลยออกให้ไปจำนำกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หลังจากนั้น ให้จำเลยเป็นผู้จำหน่ายมันสำปะหลังที่เกษตรกร ไม่มาไถ่ถอนต่อไปโดยมีโจทก์ทั้งสองสำนวนเข้าร่วมโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ดังนั้นการทำสัญญาฝากทรัพย์และซื้อขายมันสำปะหลังเส้นดังกล่าว จึงเป็นกระบวนการยกระดับราคามันสำปะหลัง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองตกลงให้บุคคลผู้กระทำการแทนรัฐเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง ถือเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะอันเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่โจทก์ในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่๘๙๗/๒๕๔๕ ฟ้องว่า จำเลยทำผิดสัญญาซื้อขายมันสำปะหลัง ขอให้จำเลยคืนเงินประกันแก่โจทก์และโจทก์ในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาฝากเก็บรักษา มันสำปะหลังเส้น ขอให้จำเลยชำระค่าฝากเก็บสินค้าและค่าพลิกกองสินค้าแก่โจทก์ ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้น และคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเส้นตามลำดับ ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไป คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทั้งสองฉบับเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ เห็นว่า จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ. ๒๔๙๘ มีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบริการสาธารณะทำกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภค นอกจากนั้น คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน๒๕๔๓ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและจำเลยดำเนินการตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปี ๒๕๔๓/๒๕๔๔ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยให้จำเลยรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังไว้ในคลังสินค้าที่กำหนด และออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร ผู้ฝากเก็บ เพื่อนำไปจำนำไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เมื่อพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว ให้จำเลยดำเนินการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่เกษตรกรไม่มาไถ่ถอน และให้โอนหนี้เกษตรกรที่จำนำใบประทวนสินค้าเป็นหนี้ของจำเลย โดยที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๓๔ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบริการสาธารณะเกี่ยวกับการพิจารณาเสนอแนะนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการวางระบบช่วยเหลือเกษตรกรต่อคณะรัฐมนตรี กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือเกษตรกร กำหนดมาตรการและเงื่อนไข การให้ความช่วยเหลือด้านการตลาดสินค้าเกษตรและปัจจัยการผลิต พิจารณากำหนดสินค้าเกษตรและราคาเป้าหมายนำ พิจารณาอนุมัติการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของระเบียบนี้ การที่คณะกรรมการฯ มอบหมายให้จำเลยเข้าร่วมโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โดยให้เป็นผู้รับฝากเก็บผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไว้ในคลังสินค้า และออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรผู้ฝากเก็บเพื่อนำไปจำนำไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จึงเป็นกรณีคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรมอบหมายให้จำเลยดำเนินการบริการสาธารณะแทนคณะกรรมการ ฯ ดังกล่าว สำหรับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นแม้จะมีจำเลยซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ขาย แต่สัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการ หรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญาซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ ทั้งเพื่อให้ดำเนินกิจการทางปกครองอันเป็นบริการสาธารณะบรรลุผล สัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นจึงมิใช่สัญญาทางปกครองแต่อย่างใด ดังนั้น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย มันสำปะหลังเส้น (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕) จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ โดยสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้น คู่สัญญาทำขึ้นโดยมุ่งผูกพันด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค จึงเป็นสัญญาทางแพ่ง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ส่วนสัญญาฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเส้น มีจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ฝากและโจทก์เป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้รับฝาก จำเลยทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลย มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบริการสาธารณะรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไว้ในคลังสินค้าตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่จำเลยไม่มีคลังสินค้าเพียงพอที่จะรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไว้ได้ทั้งหมด จึงต้องทำสัญญาให้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไว้แทนจำเลย สัญญาฝากเก็บรักษามันสำปะหลังจึงมีลักษณะให้โจทก์เข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ของจำเลย จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเส้น (คดีแพ่งหมายเลขดำที่๑๐๕๗/๒๕๔๕) จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติ ฉบับเดียวกัน
โดยที่สำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย มันสำปะหลังเส้น ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาฝากเก็บรักษา มันสำปะหลังเส้น ซึ่งเป็นสัญญาต่างฉบับกัน แม้จำเลยในสำนวนคดีทั้งสองจะเป็นรายเดียวกัน แต่โจทก์ในสำนวนคดีทั้งสองต่างรายกัน และคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทั้งสอง สามารถพิจารณาแยกกันได้โดยไม่ต้องรวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน ดังนั้นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ทางแพ่ง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาฝากเก็บรักษา มันสำปะหลังเส้นในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองโดยเห็นพ้องกับศาลแพ่ง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง รวม ๒ คดี ดังนี้ คดีแรกเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ โดยตั้งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้น ส่วนคดีหลังคดีหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ โดยโจทก์ตั้งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาฝากเก็บรักษา มันสำปะหลังเส้น สำหรับคดีหลังนี้ ศาลแพ่งและศาลปกครองกลางมีความเห็นพ้องต้องตรงกันว่า สัญญา ฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเป็นสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงไม่เป็นกรณีขัดแย้งอำนาจหน้าที่กันระหว่างศาล คณะกรรมการจึงไม่จำต้องวินิจฉัยชี้ขาด ส่วนคดีแรกนั้น ศาลทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกัน คดีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า สัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นที่พิพาทเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง "สัญญาที่คู่สัญญา อย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" สัญญาพิพาทฉบับนี้เป็นสัญญาที่มีองค์การคลังสินค้า จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ. ๒๔๙๘ มีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง จึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาทางปกครองจะต้องมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือ แสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นแม้จะมีจำเลยซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวก็ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการหรือ เข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญาซึ่งมีลักษณะพิเศษ ที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ ทั้งเพื่อให้การดำเนินกิจการทางปกครองอันเป็นบริการสาธารณะบรรลุผลแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นที่พิพาทนี้ จึงมิใช่สัญญาทางปกครองแต่อย่างใด แต่เป็นสัญญาที่คู่สัญญา ทำขึ้นโดยมุ่งผูกพันด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกัน อันเป็นสัญญาทางแพ่งที่มีคู่สัญญา เป็นฝ่ายปกครองเท่านั้น ดังนั้น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ ระหว่าง บริษัท จัตุรัสมันสำปะหลัง จำกัด โจทก์ องค์การคลังสินค้า จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๗
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕๗/๒๕๔๗
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
บริษัท จัตุรัสมันสำปะหลัง จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง องค์การคลังสินค้า จำเลย ต่อศาลแพ่งรวม ๒ คดี คดีแรกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ ความว่า เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม๒๕๔๔ โจทก์ ทำสัญญาซื้อมันสำปะหลังเส้นจากจำเลยจำนวน ๒ ฉบับ เป็นมันสำปะหลังเส้นจำนวน๔๙,๖๗๘.๓๘ ตัน ราคาตันละ ๒,๑๖๐ บาท โดยจำเลยตกลงจะส่งมอบมันสำปะหลังเส้นคุณภาพดีตามมาตรฐานของมันสำปะหลังเส้นทั่วไป คือแป้งไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๕ ของน้ำหนักความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๔ ของน้ำหนัก ทรายไม่เกินร้อยละ ๓ ของน้ำหนัก และเส้นใยไม่เกินร้อยละ ๕ ของน้ำหนัก ให้แก่โจทก์ ซึ่งขณะทำสัญญาซื้อขายกันนั้นมันสำปะหลังเส้นดังกล่าวเก็บรักษาไว้ที่คลังสินค้าเกษตรเพิ่มพูนทรัพย์ หลังที่ ๑ - ๓ เลขที่ ๖๐ ตำบลวะตะแบก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ โดยจำเลยจะชั่งน้ำหนักและส่งมอบ มันสำปะหลังเส้นภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงินเป็นงวด ๆ ไปจนกว่าโจทก์จะได้รับมันสำปะหลังเส้นครบถ้วนตามสัญญาซื้อขาย และเพื่อเป็นหลักประกันว่าโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ได้มอบเงินสด จำนวน ๕,๓๖๕,๒๗๕ บาท ให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๔ จำเลยส่งมอบมันสำปะหลังเส้นให้โจทก์ ๒,๐๐๐ ตัน แต่โจทก์ไม่สามารถจำหน่ายแก่ลูกค้าได้ เพราะมันสำปะหลังเส้นดังกล่าวไม่มีคุณภาพตามสัญญาซื้อขายและตามมาตรฐานทั่วไปของมันสำปะหลังเส้นที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ถือว่าจำเลยผิดสัญญาทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและ ให้จำเลยคืนเงินประกันดังกล่าว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลย ให้ชำระเงินจำนวน ๕,๔๐๐,๕๕๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินจำนวน ๕,๓๖๕,๒๗๕ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระหนี้เสร็จ
คดีหลัง โจทก์โดยนายเทียนชัย กิตติสุรินทร์ ยื่นฟ้องจำเลย เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ ความว่า เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๔ โจทก์โดยนางฐิติรัตน์ ถนัดค้าจิรโชติตัวแทนเชิด ได้ทำสัญญารับฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเส้นของจำเลยไว้ ณ คลังสินค้าหลังที่ ๑ - ๔ เลขที่๒๐๒ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ มีกำหนด ๖ เดือน หากครบกำหนดแล้วจำเลยยังไม่ได้นำสินค้าออก โจทก์ยินยอมรับฝากต่อไปจนกว่าจำเลยจะได้รับคืนไปครบถ้วน ตกลงค่าฝากสินค้าเมตริกตันละ ๒๑.๙๐ บาท ต่อเดือน ค่าขนย้ายสลับหมุนเวียนเพื่อรักษาคุณภาพสินค้าทุก๓เดือน (ค่าพลิกกองสินค้า) เมตริกตันละ ๑๖ บาท จำเลยนำมันสำปะหลังเส้นเข้าฝากเก็บไว้ ณคลังสินค้าดังกล่าวจำนวน ๔๙,๖๘๐ เมตริกตัน จนครบ ๖ เดือน แล้วยังไม่นำออกไป ถือว่าจำเลยคงฝากสินค้าต่อไปภายใต้สัญญาเดิม ต่อมาจำเลยนำมันสำปะหลังเส้นออกไป ๒,๐๐๐ เมตริกตันคงเหลือ๔๗,๖๘๐ เมตริกตัน แต่จำเลยไม่ชำระค่าฝากสินค้าหรือค่าพลิกกองสินค้าให้โจทก์ โจทก์ทวงถาม แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินจำนวน ๑๕,๓๘๓,๖๔๖ บาท พร้อมดอกเบี้ย และชำระค่าฝากสินค้าอีกเดือนละ ๑,๐๔๔,๑๙๒ บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะขนย้ายสินค้าออกไปจนหมด
ระหว่างพิจารณาศาลแพ่งเห็นว่า มีปัญหาว่าคดีทั้งสองสำนวนจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งหรือศาลปกครอง โดยคู่ความแถลงว่า มันสำปะหลังเส้นตามสัญญาซื้อขายและสัญญาฝากทรัพย์เป็นมันสำปะหลังเส้นจำนวนเดียวกัน เก็บไว้ที่คลังสินค้าเลขที่ ๒๐๒ หมู่ที่ ๑๓ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ศาลแพ่งจึงมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกันเพื่อทำความเห็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ศาลแพ่งพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยเป็นองค์การของรัฐบาล สังกัดกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ให้ดำเนินการตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี ๒๕๔๓/๒๕๔๔ เพื่อยกระดับราคา หัวมันสำปะหลังสด ให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกร โดยร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการรับจำนำ มีจำเลยเป็นผู้รับฝากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเก็บไว้ในคลังสินค้าที่กำหนด และนำ ใบประทวนสินค้าที่จำเลยออกให้ไปจำนำกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หลังจากนั้น ให้จำเลยเป็นผู้จำหน่ายมันสำปะหลังที่เกษตรกร ไม่มาไถ่ถอนต่อไปโดยมีโจทก์ทั้งสองสำนวนเข้าร่วมโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ดังนั้นการทำสัญญาฝากทรัพย์และซื้อขายมันสำปะหลังเส้นดังกล่าว จึงเป็นกระบวนการยกระดับราคามันสำปะหลัง สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองตกลงให้บุคคลผู้กระทำการแทนรัฐเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง ถือเป็นสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะอันเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่โจทก์ในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่๘๙๗/๒๕๔๕ ฟ้องว่า จำเลยทำผิดสัญญาซื้อขายมันสำปะหลัง ขอให้จำเลยคืนเงินประกันแก่โจทก์และโจทก์ในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาฝากเก็บรักษา มันสำปะหลังเส้น ขอให้จำเลยชำระค่าฝากเก็บสินค้าและค่าพลิกกองสินค้าแก่โจทก์ ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้น และคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเส้นตามลำดับ ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไป คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทั้งสองฉบับเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ เห็นว่า จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ. ๒๔๙๘ มีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบริการสาธารณะทำกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค รวมทั้งธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภค นอกจากนั้น คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน๒๕๔๓ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและจำเลยดำเนินการตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปี ๒๕๔๓/๒๕๔๔ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยให้จำเลยรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังไว้ในคลังสินค้าที่กำหนด และออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร ผู้ฝากเก็บ เพื่อนำไปจำนำไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เมื่อพ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว ให้จำเลยดำเนินการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่เกษตรกรไม่มาไถ่ถอน และให้โอนหนี้เกษตรกรที่จำนำใบประทวนสินค้าเป็นหนี้ของจำเลย โดยที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๓๔ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบริการสาธารณะเกี่ยวกับการพิจารณาเสนอแนะนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการวางระบบช่วยเหลือเกษตรกรต่อคณะรัฐมนตรี กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือเกษตรกร กำหนดมาตรการและเงื่อนไข การให้ความช่วยเหลือด้านการตลาดสินค้าเกษตรและปัจจัยการผลิต พิจารณากำหนดสินค้าเกษตรและราคาเป้าหมายนำ พิจารณาอนุมัติการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของระเบียบนี้ การที่คณะกรรมการฯ มอบหมายให้จำเลยเข้าร่วมโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โดยให้เป็นผู้รับฝากเก็บผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไว้ในคลังสินค้า และออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรผู้ฝากเก็บเพื่อนำไปจำนำไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จึงเป็นกรณีคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรมอบหมายให้จำเลยดำเนินการบริการสาธารณะแทนคณะกรรมการ ฯ ดังกล่าว สำหรับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นแม้จะมีจำเลยซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ขาย แต่สัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการ หรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญาซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ ทั้งเพื่อให้ดำเนินกิจการทางปกครองอันเป็นบริการสาธารณะบรรลุผล สัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นจึงมิใช่สัญญาทางปกครองแต่อย่างใด ดังนั้น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย มันสำปะหลังเส้น (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕) จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ โดยสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้น คู่สัญญาทำขึ้นโดยมุ่งผูกพันด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาค จึงเป็นสัญญาทางแพ่ง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ส่วนสัญญาฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเส้น มีจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ฝากและโจทก์เป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้รับฝาก จำเลยทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลย มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการบริการสาธารณะรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไว้ในคลังสินค้าตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่จำเลยไม่มีคลังสินค้าเพียงพอที่จะรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการรับจำนำผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไว้ได้ทั้งหมด จึงต้องทำสัญญาให้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนรับฝากเก็บผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไว้แทนจำเลย สัญญาฝากเก็บรักษามันสำปะหลังจึงมีลักษณะให้โจทก์เข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ของจำเลย จึงเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเส้น (คดีแพ่งหมายเลขดำที่๑๐๕๗/๒๕๔๕) จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติ ฉบับเดียวกัน
โดยที่สำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย มันสำปะหลังเส้น ส่วนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาฝากเก็บรักษา มันสำปะหลังเส้น ซึ่งเป็นสัญญาต่างฉบับกัน แม้จำเลยในสำนวนคดีทั้งสองจะเป็นรายเดียวกัน แต่โจทก์ในสำนวนคดีทั้งสองต่างรายกัน และคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทั้งสอง สามารถพิจารณาแยกกันได้โดยไม่ต้องรวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน ดังนั้นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญา ทางแพ่ง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาฝากเก็บรักษา มันสำปะหลังเส้นในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองโดยเห็นพ้องกับศาลแพ่ง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง รวม ๒ คดี ดังนี้ คดีแรกเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ โดยตั้งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้น ส่วนคดีหลังคดีหมายเลขดำที่ ๑๐๕๗/๒๕๔๕ โดยโจทก์ตั้งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาฝากเก็บรักษา มันสำปะหลังเส้น สำหรับคดีหลังนี้ ศาลแพ่งและศาลปกครองกลางมีความเห็นพ้องต้องตรงกันว่า สัญญา ฝากเก็บรักษามันสำปะหลังเป็นสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงไม่เป็นกรณีขัดแย้งอำนาจหน้าที่กันระหว่างศาล คณะกรรมการจึงไม่จำต้องวินิจฉัยชี้ขาด ส่วนคดีแรกนั้น ศาลทั้งสองมีความเห็นแตกต่างกัน คดีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า สัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นที่พิพาทเป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง "สัญญาที่คู่สัญญา อย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" สัญญาพิพาทฉบับนี้เป็นสัญญาที่มีองค์การคลังสินค้า จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ. ๒๔๙๘ มีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง จึงเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาทางปกครองจะต้องมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือ แสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นแม้จะมีจำเลยซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวก็ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน หรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการหรือ เข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญาซึ่งมีลักษณะพิเศษ ที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ ทั้งเพื่อให้การดำเนินกิจการทางปกครองอันเป็นบริการสาธารณะบรรลุผลแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นที่พิพาทนี้ จึงมิใช่สัญญาทางปกครองแต่อย่างใด แต่เป็นสัญญาที่คู่สัญญา ทำขึ้นโดยมุ่งผูกพันด้วยใจสมัครบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกัน อันเป็นสัญญาทางแพ่งที่มีคู่สัญญา เป็นฝ่ายปกครองเท่านั้น ดังนั้น คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังเส้นจึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีหมายเลขดำที่ ๘๙๗/๒๕๔๕ ระหว่าง บริษัท จัตุรัสมันสำปะหลัง จำกัด โจทก์ องค์การคลังสินค้า จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๗
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕๖/๒๕๔๗
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลปกครองสงขลา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดยะลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองสงขลาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้องเพราะเหตุว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗ นายณรงฤทธิ์ พิณสุวรรณ์ โจทก์ ได้ยื่นฟ้อง พันตำรวจโท สมศักดิ์ ตั้งนภาดล ที่ ๑ และพันตำรวจโท ประสิทธิ์ จันทร์สว่าง ที่ ๒ เป็นจำเลย ต่อศาลจังหวัดยะลา ความว่า เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ กล่าวคือ ได้มีความเห็นว่าควรสั่งฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญา ฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ทั้งที่มูลคดีเป็นความผิดในทางแพ่ง และในระหว่างที่จำเลยทั้งสองเสนอเรื่องต่อพนักงานอัยการจังหวัดยะลาเพื่อพิจารณาสำนวนคดี โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานอัยการจังหวัดยะลา ซึ่งต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดยะลาได้มีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง อับอาย ขายหน้าและถูกดูหมิ่นจนเป็นที่รังเกียจแก่สังคม จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันฟ้องไปจนกว่า จะชำระเสร็จ
ศาลจังหวัดยะลาพิเคราะห์แล้วมีความเห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้อง ของโจทก์เป็นกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดยะลา แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง
ศาลปกครองสงขลาพิเคราะห์แล้วมีความเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เมื่อการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่โดยใช้อำนาจตามมาตรา๑๒๑ และมาตรา ๑๔๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นการฟ้องเรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งอยู่ในอำนาจ การควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทางปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ ซึ่งรวมถึงอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ในกรณีที่เป็นการกระทำ ทางปกครองด้วย ส่วนศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ ซึ่งได้แก่คดีอาญา คดีแพ่ง และคดีอื่น ๆ ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
สำหรับการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอาญาอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนั้น แม้ว่าในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ อาจจะมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย แต่ขั้นตอนใดเป็นการกระทำตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำ ในขั้นตอนนั้นก็ย่อมอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่หากการกระทำนั้น เป็นการกระทำที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเข้าเกณฑ์เป็นการกระทำละเมิดหรือเป็นความรับผิด อย่างอื่นตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การกระทำนั้นก็จะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง
คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่ทำหน้าที่พนักงานสอบสวนว่าร่วมกันกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ในการที่มีความเห็นว่าควรสั่งฟ้องผู้ฟ้องคดีเป็นคดีอาญา ในความผิดตามมาตรา ๑๘๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และส่งตัวผู้ฟ้องคดีต่อพนักงานอัยการจังหวัดยะลา ทั้งที่มูลคดีเป็นความผิดในทางแพ่ง ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานอัยการจังหวัดยะลา อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเมื่อการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะพนักงานสอบสวน โดยใช้อำนาจตามมาตรา ๑๒๑ และมาตรา ๑๔๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและควบคุมตัวผู้ต้องหาเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา จึงเป็นการดำเนินการของพนักงานสอบสวนตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง มิใช่การกระทำละเมิดเนื่องจากการใช้อำนาจ ทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษา ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ ได้แก่ ศาลจังหวัดยะลา
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายณรงฤทธิ์ พิณสุวรรณ์ ผู้ฟ้องคดี พันตำรวจโท สมศักดิ์ ตั้งนภาดล ที่ ๑ พันตำรวจโท ประสิทธิ์ จันทร์สว่าง ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดยะลา
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๔
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๕๖/๒๕๔๗
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลปกครองสงขลา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดยะลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองสงขลาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้องเพราะเหตุว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗ นายณรงฤทธิ์ พิณสุวรรณ์ โจทก์ ได้ยื่นฟ้อง พันตำรวจโท สมศักดิ์ ตั้งนภาดล ที่ ๑ และพันตำรวจโท ประสิทธิ์ จันทร์สว่าง ที่ ๒ เป็นจำเลย ต่อศาลจังหวัดยะลา ความว่า เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ กล่าวคือ ได้มีความเห็นว่าควรสั่งฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญา ฐานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสียหรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ทั้งที่มูลคดีเป็นความผิดในทางแพ่ง และในระหว่างที่จำเลยทั้งสองเสนอเรื่องต่อพนักงานอัยการจังหวัดยะลาเพื่อพิจารณาสำนวนคดี โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานอัยการจังหวัดยะลา ซึ่งต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดยะลาได้มีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง อับอาย ขายหน้าและถูกดูหมิ่นจนเป็นที่รังเกียจแก่สังคม จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันฟ้องไปจนกว่า จะชำระเสร็จ
ศาลจังหวัดยะลาพิเคราะห์แล้วมีความเห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้อง ของโจทก์เป็นกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดยะลา แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง
ศาลปกครองสงขลาพิเคราะห์แล้วมีความเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเนื่องจากการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เมื่อการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่โดยใช้อำนาจตามมาตรา๑๒๑ และมาตรา ๑๔๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงเป็นการฟ้องเรื่องคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งอยู่ในอำนาจ การควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทางปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ ซึ่งรวมถึงอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ในกรณีที่เป็นการกระทำ ทางปกครองด้วย ส่วนศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ ซึ่งได้แก่คดีอาญา คดีแพ่ง และคดีอื่น ๆ ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
สำหรับการดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีอาญาอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนั้น แม้ว่าในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ อาจจะมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย แต่ขั้นตอนใดเป็นการกระทำตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำ ในขั้นตอนนั้นก็ย่อมอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่หากการกระทำนั้น เป็นการกระทำที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเข้าเกณฑ์เป็นการกระทำละเมิดหรือเป็นความรับผิด อย่างอื่นตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การกระทำนั้นก็จะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง
คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่ทำหน้าที่พนักงานสอบสวนว่าร่วมกันกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ในการที่มีความเห็นว่าควรสั่งฟ้องผู้ฟ้องคดีเป็นคดีอาญา ในความผิดตามมาตรา ๑๘๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และส่งตัวผู้ฟ้องคดีต่อพนักงานอัยการจังหวัดยะลา ทั้งที่มูลคดีเป็นความผิดในทางแพ่ง ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานอัยการจังหวัดยะลา อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเมื่อการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะพนักงานสอบสวน โดยใช้อำนาจตามมาตรา ๑๒๑ และมาตรา ๑๔๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและควบคุมตัวผู้ต้องหาเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา จึงเป็นการดำเนินการของพนักงานสอบสวนตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง มิใช่การกระทำละเมิดเนื่องจากการใช้อำนาจ ทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษา ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ ได้แก่ ศาลจังหวัดยะลา
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีระหว่างนายณรงฤทธิ์ พิณสุวรรณ์ ผู้ฟ้องคดี พันตำรวจโท สมศักดิ์ ตั้งนภาดล ที่ ๑ พันตำรวจโท ประสิทธิ์ จันทร์สว่าง ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดยะลา
(ลงชื่อ) ศุภชัย ภู่งาม (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายศุภชัย ภู่งาม) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท วิรัตน์ บรรเลง (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(วิรัตน์ บรรเลง) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๔
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|