ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๕/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแขวงพระนครเหนือ
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการฯ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ กองทัพอากาศ ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องนางสาวจุไรรัตน์ภูจริต ที่ ๑ นางทองเลี่ยม อินธุโสภณ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่๑๙๖/๒๕๔๖ ข้อหาผิดสัญญา เรียกให้ชดใช้เงิน ความว่า เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ทำสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครองและให้คำรับรองไว้ต่อผู้ฟ้องคดีว่ารับเป็นผู้อุปการะให้นายรัฐพล อินธุโสภณ เป็นนักเรียนจ่าอากาศ โรงเรียนจ่าอากาศ เมื่อนายรัฐพลฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และบรรจุเข้ารับราชการในสังกัดของผู้ฟ้องคดีแล้ว ต้องรับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยอมชดใช้ค่าปรับ เฉพาะปีที่ยังรับราชการไม่ครบกำหนดให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินปีละ๑๕,๐๐๐ บาท นับแต่วันที่ทางราชการ แจ้งให้ทราบ และมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา ต่อมานายรัฐพลฯ สำเร็จการศึกษา และบรรจุเข้ารับราชการในสังกัดผู้ฟ้องคดีตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๙ จนถึงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๓ ผู้ฟ้องคดีได้มีคำสั่งที่ ๗๙๐/๔๓ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ให้ปลดนายรัฐพลฯ ออกจากราชการและถอดออกจากยศทหาร ตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๓ ฐานหนีราชการในเวลาประจำการ รวมระยะเวลารับราชการ ๔ ปี ๑๐ วันคงเหลือเวลาที่ต้องรับราชการชดใช้อีก ๑ ปี ๑๑ เดือน ๒๐ วัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกันหรือแทนกัน กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับผิดชดใช้เงินค่าปรับในส่วนที่รับราชการไม่ครบกำหนดจำนวน ๒๘,๗๕๐ บาท และผู้ฟ้องคดีได้ทวงถามให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชำระแล้วแต่กลับเพิกเฉย จึงฟ้องเป็นคดีนี้ต่อศาลขอให้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกัน ชดใช้เงินจำนวน ๓๒,๕๓๖.๗๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๒๘,๗๕๐ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
ในขั้นตอนจัดทำคำให้การ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองโดยนายประชิต อินธุโสภณ ผู้รับมอบอำนาจ ยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่าคดีนี้ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากสัญญาที่ผู้ฟ้องคดีอ้างนั้น เป็นสัญญาทางแพ่ง จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ผู้ฟ้องคดีทำคำชี้แจงว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครอง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่๑ ทำสัญญาให้ไว้แก่ผู้ฟ้องคดีว่า เมื่อนายรัฐพล ฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศ และกองทัพอากาศบรรจุเข้ารับราชการแล้ว ต้องรับราชการในกองทัพอากาศติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ก่อนครบกำหนด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยอมชดใช้ค่าปรับ สัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์หลักในการที่จะให้นายรัฐพลฯ เข้ารับราชการคือการร่วมทำบริการสาธารณะกับผู้ฟ้องคดีอันเป็นสัญญาที่คู่สัญญาตกลงให้นายรัฐพลฯ เข้าดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรงส่วนข้อตกลงที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยินยอมชดใช้ค่าปรับในกรณีผิดสัญญานั้นมิใช่วัตถุประสงค์หลักของสัญญา สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา๙วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองส่วนสัญญาค้ำประกันของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แม้จะเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครองก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาที่มีขึ้นเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ได้จัดทำไว้กับผู้ฟ้องคดี จึงมีลักษณะเป็นสัญญาอุปกรณ์ที่ต้องพิจารณาพิพากษายังศาลเดียวกับสัญญาประธาน
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครอง ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗ระหว่าง ผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และหนังสือสัญญาค้ำประกันของผู้ค้ำประกันผู้ปกครองลงวันที่๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และโดยที่สัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นสัญญาที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ให้คำรับรองไว้กับผู้ฟ้องคดี กรณีนายรัฐพลฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศ และได้รับการบรรจุเข้ารับราชการแล้วต้องรับราชการในสังกัดผู้ฟ้องคดีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆก่อนครบกำหนด ผู้ถูกฟ้องคดี ต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับ วัตถุแห่งสัญญาจึงได้แก่การให้นายรัฐพลฯดำเนินการหรือมีส่วนร่วม ในการดำเนินการบริการสาธารณะ จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นายรัฐพลฯ กลับมารับราชการต่อไป สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง สำหรับสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่๒ นั้นเป็นสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาค้ำประกันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทำไว้กับผู้ฟ้องคดี อันเป็นสัญญาประธาน ดังนั้นเมื่อข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาประธานอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเดียวกัน
ศาลแขวงพระนครเหนือพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า เอกสารที่นำมาฟ้องเป็นเพียงหลักฐาน ที่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้จะต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่สัญญาสองฝ่าย จึงเป็นเพียงสัญญาฝ่ายเดียวที่ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองยอมรับคำเสนอของผู้ถูกฟ้องคดี และยอมผูกพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ เอกเทศสัญญา ลักษณะ ๑๑ ค้ำประกัน โดยหน่วยงานทางปกครองยอมผูกพันตน เพื่อรับผลตามสัญญาตามกฎหมายเอกชน มิได้มีเจตนาจะผูกพันตนตามกฎหมายมหาชนและไม่ต้อง ด้วยมาตรา ๓ และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื่องจากสัญญาตามที่อ้างมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือสัญญาที่แสวงประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี มิได้พิพาทกันอันเนื่อง มาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ หน่วยงานทางปกครองฟ้องผู้ค้ำประกันการเข้าศึกษา ตามหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศเป็นข้อพิพาทอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องคดีได้ค้ำประกันนายรัฐพล อินธุโสภณ ในการเข้าเรียนตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศ ที่กำหนดให้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องรับราชการในสังกัดผู้ฟ้องคดีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ก่อนครบกำหนด ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งสัญญาทางปกครองหมายความรวมถึง "สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ทำสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครอง โดยรับรองว่าเมื่อนายรัฐพลฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศแล้วต้องรับราชการ ในสังกัดผู้ฟ้องคดีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ก่อนครบกำหนด ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับสัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ นายรัฐพลฯ เข้ารับราชการทหารต่อไปเพื่อดำเนินการหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินการบริการสาธารณะ ดังนั้นสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑จึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อคดีนี้เป็นกรณีพิพาทเนื่องจากการเรียกร้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงินตามสัญญาพิพาทดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่จำต้องพิจารณาวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีตามสัญญาพิพาท ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
สำหรับสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ นั้น เป็นสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองและเป็นสัญญาหลัก สัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครอง ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาหลักอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาค้ำประกันของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอให้ชดใช้เงินตามสัญญาค้ำประกันการเข้าศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศ ระหว่าง กองทัพอากาศ ผู้ฟ้องคดี นางสาวจุไรรัตน์ ภูจริตที่ ๑ นางทองเลี่ยม อินธุโสภณ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๕/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแขวงพระนครเหนือ
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการฯ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล ในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ กองทัพอากาศ ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องนางสาวจุไรรัตน์ภูจริต ที่ ๑ นางทองเลี่ยม อินธุโสภณ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่๑๙๖/๒๕๔๖ ข้อหาผิดสัญญา เรียกให้ชดใช้เงิน ความว่า เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ทำสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครองและให้คำรับรองไว้ต่อผู้ฟ้องคดีว่ารับเป็นผู้อุปการะให้นายรัฐพล อินธุโสภณ เป็นนักเรียนจ่าอากาศ โรงเรียนจ่าอากาศ เมื่อนายรัฐพลฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และบรรจุเข้ารับราชการในสังกัดของผู้ฟ้องคดีแล้ว ต้องรับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยอมชดใช้ค่าปรับ เฉพาะปีที่ยังรับราชการไม่ครบกำหนดให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงินปีละ๑๕,๐๐๐ บาท นับแต่วันที่ทางราชการ แจ้งให้ทราบ และมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา ต่อมานายรัฐพลฯ สำเร็จการศึกษา และบรรจุเข้ารับราชการในสังกัดผู้ฟ้องคดีตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๙ จนถึงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๓ ผู้ฟ้องคดีได้มีคำสั่งที่ ๗๙๐/๔๓ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ให้ปลดนายรัฐพลฯ ออกจากราชการและถอดออกจากยศทหาร ตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๓ ฐานหนีราชการในเวลาประจำการ รวมระยะเวลารับราชการ ๔ ปี ๑๐ วันคงเหลือเวลาที่ต้องรับราชการชดใช้อีก ๑ ปี ๑๑ เดือน ๒๐ วัน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกันหรือแทนกัน กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ รับผิดชดใช้เงินค่าปรับในส่วนที่รับราชการไม่ครบกำหนดจำนวน ๒๘,๗๕๐ บาท และผู้ฟ้องคดีได้ทวงถามให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชำระแล้วแต่กลับเพิกเฉย จึงฟ้องเป็นคดีนี้ต่อศาลขอให้ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกัน ชดใช้เงินจำนวน ๓๒,๕๓๖.๗๓ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของต้นเงิน ๒๘,๗๕๐ บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
ในขั้นตอนจัดทำคำให้การ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองโดยนายประชิต อินธุโสภณ ผู้รับมอบอำนาจ ยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่าคดีนี้ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากสัญญาที่ผู้ฟ้องคดีอ้างนั้น เป็นสัญญาทางแพ่ง จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ผู้ฟ้องคดีทำคำชี้แจงว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครอง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่๑ ทำสัญญาให้ไว้แก่ผู้ฟ้องคดีว่า เมื่อนายรัฐพล ฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศ และกองทัพอากาศบรรจุเข้ารับราชการแล้ว ต้องรับราชการในกองทัพอากาศติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ก่อนครบกำหนด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยอมชดใช้ค่าปรับ สัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์หลักในการที่จะให้นายรัฐพลฯ เข้ารับราชการคือการร่วมทำบริการสาธารณะกับผู้ฟ้องคดีอันเป็นสัญญาที่คู่สัญญาตกลงให้นายรัฐพลฯ เข้าดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรงส่วนข้อตกลงที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยินยอมชดใช้ค่าปรับในกรณีผิดสัญญานั้นมิใช่วัตถุประสงค์หลักของสัญญา สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา๙วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองส่วนสัญญาค้ำประกันของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ แม้จะเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครองก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาที่มีขึ้นเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ได้จัดทำไว้กับผู้ฟ้องคดี จึงมีลักษณะเป็นสัญญาอุปกรณ์ที่ต้องพิจารณาพิพากษายังศาลเดียวกับสัญญาประธาน
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครอง ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗ระหว่าง ผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และหนังสือสัญญาค้ำประกันของผู้ค้ำประกันผู้ปกครองลงวันที่๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และโดยที่สัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นสัญญาที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ให้คำรับรองไว้กับผู้ฟ้องคดี กรณีนายรัฐพลฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศ และได้รับการบรรจุเข้ารับราชการแล้วต้องรับราชการในสังกัดผู้ฟ้องคดีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆก่อนครบกำหนด ผู้ถูกฟ้องคดี ต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับ วัตถุแห่งสัญญาจึงได้แก่การให้นายรัฐพลฯดำเนินการหรือมีส่วนร่วม ในการดำเนินการบริการสาธารณะ จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นายรัฐพลฯ กลับมารับราชการต่อไป สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง สำหรับสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่๒ นั้นเป็นสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาค้ำประกันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ทำไว้กับผู้ฟ้องคดี อันเป็นสัญญาประธาน ดังนั้นเมื่อข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาประธานอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเดียวกัน
ศาลแขวงพระนครเหนือพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า เอกสารที่นำมาฟ้องเป็นเพียงหลักฐาน ที่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้จะต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่สัญญาสองฝ่าย จึงเป็นเพียงสัญญาฝ่ายเดียวที่ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองยอมรับคำเสนอของผู้ถูกฟ้องคดี และยอมผูกพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ เอกเทศสัญญา ลักษณะ ๑๑ ค้ำประกัน โดยหน่วยงานทางปกครองยอมผูกพันตน เพื่อรับผลตามสัญญาตามกฎหมายเอกชน มิได้มีเจตนาจะผูกพันตนตามกฎหมายมหาชนและไม่ต้อง ด้วยมาตรา ๓ และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื่องจากสัญญาตามที่อ้างมิได้มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานหรือสัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือสัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือสัญญาที่แสวงประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี มิได้พิพาทกันอันเนื่อง มาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ หน่วยงานทางปกครองฟ้องผู้ค้ำประกันการเข้าศึกษา ตามหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศเป็นข้อพิพาทอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องคดีได้ค้ำประกันนายรัฐพล อินธุโสภณ ในการเข้าเรียนตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศ ที่กำหนดให้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องรับราชการในสังกัดผู้ฟ้องคดีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ก่อนครบกำหนด ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งสัญญาทางปกครองหมายความรวมถึง "สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ" คดีนี้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ทำสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครอง โดยรับรองว่าเมื่อนายรัฐพลฯ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศแล้วต้องรับราชการ ในสังกัดผู้ฟ้องคดีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ ปี หากลาออกหรือออกจากราชการด้วยเหตุใด ๆ ก่อนครบกำหนด ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับสัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ นายรัฐพลฯ เข้ารับราชการทหารต่อไปเพื่อดำเนินการหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินการบริการสาธารณะ ดังนั้นสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑จึงมีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อคดีนี้เป็นกรณีพิพาทเนื่องจากการเรียกร้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระเงินตามสัญญาพิพาทดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่จำต้องพิจารณาวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีตามสัญญาพิพาท ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
สำหรับสัญญาระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ นั้น เป็นสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครองและเป็นสัญญาหลัก สัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาค้ำประกันของผู้ปกครอง ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เมื่อข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาหลักอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ข้อพิพาทเกี่ยวกับ สัญญาค้ำประกันของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอให้ชดใช้เงินตามสัญญาค้ำประกันการเข้าศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนจ่าอากาศ ระหว่าง กองทัพอากาศ ผู้ฟ้องคดี นางสาวจุไรรัตน์ ภูจริตที่ ๑ นางทองเลี่ยม อินธุโสภณ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๔/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฏาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดสงขลา
ระหว่าง
ศาลปกครองสงขลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสงขลาโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นางสาวสุจีรา แซ่ตั้ง ที่ ๑ กับพวกรวม ๕ คน ยื่นฟ้องกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑ กับพวกรวม ๗ คน จำเลย ต่อศาลจังหวัดสงขลา เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ที่๒๙๘/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๙/๒๕๔๖ และ ที่ ๓๐๒/๒๕๔๖ (ต่อมา คู่ความแถลงร่วมกันว่า ขอให้นำคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๘/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๙/๒๕๔๖ และที่ ๓๐๒/๒๕๔๖รวมการพิจารณาเข้ากับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ เพื่อความสะดวกแก่การพิจารณา ซึ่งศาลจังหวัดสงขลามีคำสั่งอนุญาต) ในคดีพิพาทอันเกิดจากการที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓ เมษายน๒๕๓๘ ซึ่งต่อมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่า บริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ให้แก่นิคมอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔กรกฎาคม ๒๕๓๘ เมื่อทำการรังวัดแล้วได้เนื้อที่๒,๒๕๘-๐-๒๑.๒ ไร่ ซึ่งโจทก์กับพวกได้คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่า ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมนำรังวัดทับที่ดินที่ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๖๐เห็นว่า ที่ดินที่ได้มีการขอออกโฉนดเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงมีคำสั่งเปรียบเทียบว่า ให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมตามที่ได้นำรังวัดไว้ หากผู้คัดค้านไม่พอใจให้ไปฟ้องศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง โจทก์กับพวกรวม ๕ คน จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดสงขลาสรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้
๑. คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ และที่ ๓๐๒/๒๕๔๖
นางสาวสุจีรา แซ่ตั้ง (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖) นายสมิต สมิตชัยจุฬารัตน์(คดีแพ่งหมายเลขดำ ที่ ๓๐๒/๒๕๔๖) โจทก์ โดยนายจรูญ ฉุ้นประดับ ทนายความ ยื่นฟ้องกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑ กระทรวงอุตสาหกรรมที่ ๒ สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ที่๓จำเลย อ้างว่า การดำเนินการรังวัดออกโฉนดให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เนื่องจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ เป็นที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา มิได้ตกเป็นที่ดินว่างเปล่า ทั้งจำเลยที่๒ ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการรื้อถอนพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างของโจทก์และบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และเพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และให้เพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาท ห้ามออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๒ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
๒. คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๘/๒๕๔๖ และที่ ๒๙๙/๒๕๔๖
นายบุญช่วย สวนใจเย็น (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๗/๒๕๔๖) นางอุไร แซ่ลิ่ม(คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๘/๒๕๔๖) นางอาม่วย แซ่เจียง (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๙/๒๕๔๖)โจทก์โดยนายชำนาญ จันทรเกษมพร ทนายความ ยื่นฟ้องการนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ที่ ๑ ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ ๒ กระทรวงมหาดไทย ที่ ๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ ๔กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๖จำเลย อ้างว่า การที่จำเลยที่ ๑โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๒ นำคนงานและรถแทรคเตอร์เข้าไปดันรั้วและโค่นต้นไม้ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ที่ออกโดยจำเลยที่๓ ถึงที่ ๖ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใช้บังคับไม่ได้ และกระทบสิทธิในที่ดินของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ ๓และที่ ๔ กระทำการโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายกล่าวคือ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ดูแลที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งในเรื่องนี้ได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๙๕/๒๕๓๘ วินิจฉัยว่า ที่ดินบริเวณที่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ประกาศมอบให้จำเลยที่ ๕ และที่ ๖ จัดหาผลประโยชน์เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา ๘ และไม่เคยมีการเพิกถอนสภาพที่ดินดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า แต่เป็นที่ราชพัสดุที่อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ สังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่งกรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแล้ว เมื่อจำเลยที่ ๓ ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกาขอให้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของที่ดินบริเวณดังกล่าวว่าจะเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินประเภทใด และคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา ๑๓๐๔ (๑) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นไปจัดหาผลประโยชน์ได้ตามมาตรา ๑๑แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ ได้ดำเนินการตามข้อวินิจฉัยดังกล่าว จึงไม่เป็นการถูกต้องเพราะขัดกับคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๙๕/๒๕๓๘ ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยที่ ๑และที่ ๒ ออกไปจากที่ดินของโจทก์ ขอให้พิพากษาเพิกถอนประกาศของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ และขอให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๖ ร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
จำเลยให้การว่า ที่ดินหมู่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื้อที่๒,๒๗๑ ไร่๓๗ ตารางวา เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองตามที่โจทก์กล่าวอ้างที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งเดิมอยู่ในเขตพื้นที่ประทานบัตรขององค์การเหมืองแร่ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งสืบสิทธิต่อเนื่องมาจากกรมโลหกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. ๒๕๒๐ อันมีผลเป็นการยุบเลิกองค์การเหมืองแร่ ที่พิพาทจึงกลับสู่สภาพเดิมคือ เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ (๑) ซึ่งจำเลยที่ ๓ มีอำนาจตามมาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่จะมอบให้ทบวงการเมืองอื่นไปจัดหาประโยชน์ได้ จำเลยที่ ๓ มิได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ การที่โจทก์บุกรุกเข้ามาครอบครองทำประโยชน์และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในที่ดินพิพาทไม่ทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเหนือที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ทั้งนี้ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีความเห็นว่า การได้มาในที่ดินของโจทก์นั้นเป็นการได้มาในภายหลังจากที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมผู้ขอออกโฉนดที่ดิน ซึ่งครอบครองมาก่อนโดยสืบสิทธิต่อจากกรมโลหกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ดังนั้นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมจึงเป็นผู้ขอออกโฉนดที่ดินที่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและการครอบครองดีกว่าโจทก์ จึงมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หากผู้คัดค้านไม่พอใจให้ไปฟ้องศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาขัดกับคำพิพากษาฎีกานั้น จำเลยให้การว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมิได้ขัดกัน เพราะต่างก็มีความเห็นตรงกันว่า ที่ดินหมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถึงแม้จะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดก็ไม่ทำให้ที่ดินอันเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินตกกลับเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไปได้
อนึ่ง จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ชอบที่ศาลจะได้เพิกถอนการประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบ และขอเพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และเพิกถอนการรังวัดโฉนดที่ดินแปลงพิพาทของจำเลย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ขอให้ศาลเพิกถอนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔กรกฎาคม ๒๕๓๘ ซึ่งประกาศดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๙วรรคหนึ่ง(๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้
ศาลจังหวัดสงขลาเห็นว่า ในคดีหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ และที่ ๓๐๒/๒๕๔๖โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามเกี่ยวเนื่องด้วยคดีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยออกประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ ๓เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวนั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำอื่นใดซึ่งโจทก์กล่าวอ้างว่ากระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองสำนวนขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งห้ามไม่ให้จำเลยเข้ามายุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทนั้นก็เป็นคำขออุปกรณ์ต่อเนื่องจากการที่จำเลยนั้นได้ออกประกาศหรือคำสั่งหรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในส่วนดังกล่าวก่อนดังนั้น คำขอประธานจึงจะต้องพิจารณาว่า ประกาศทั้ง ๒ ฉบับนั้นได้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นอกจากนี้ โจทก์ทั้งสองได้ฟ้องคดีซึ่งมีมูลพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น การฟ้องคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ หรือคำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ (๑) (๓) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดสงขลา
สำหรับคดีหมายเลขดำที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๘/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๙/๒๕๔๖ เห็นว่าสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามสำนวน จะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าประกาศของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ ไม่มีผลใช้บังคับเพราะเป็นประกาศที่มิชอบด้วยกฎหมายก่อนหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาในส่วนคำขอที่จะให้พิพากษาขับไล่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ ดังนั้น จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายในการออกคำสั่งหรือกระทำการใด เนื่องจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือเป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบ และการที่จำเลยที่ ๑ โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๒ได้นำคนงานและรถแทรกเตอร์เข้าไปดันรั้วและโค่นต้นไม้ในสวนของโจทก์ทั้งสามสำนวนนั้น ก็เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙(๑)(๓) โจทก์ทั้งสามสำนวนดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกต่อศาลจังหวัดสงขลา
ศาลปกครองสงขลาเห็นว่า แม้ว่าคู่ความฝ่ายหนึ่งในคดีพิพาททั้ง ๕ คดี เป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามนัยของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของคำฟ้องและคำขอของโจทก์แล้วจะเห็นได้ว่า โจทก์โต้แย้งจำเลยว่าไม่มีสิทธินำเอาที่ดินของโจทก์ไปจัดหาผลประโยชน์โดยออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓เมษายน ๒๕๓๘ และออกเป็นประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่าบริเวณเหมืองฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ อันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ และขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์ครอบครองและทำประโยชน์อยู่เป็นของโจทก์ รวมทั้งกล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดบุกรุก ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวด้วย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าเป็นของโจทก์หรือเป็นที่ดินของรัฐที่จำเลยสามารถนำไปจัดหาผลประโยชน์ได้ตามมาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพราะหากเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยโดยกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมก็ไม่สามารถนำไปจัดหาผลประโยชน์โดยออกเป็นประกาศสองฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนคดีนี้ว่า เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ได้ออกคำสั่งสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ที่ ๓๐/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๖๐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ให้ออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (เพื่อประโยชน์ในการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามมาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน) ตามที่ได้นำรังวัดไว้เนื้อที่๒,๒๕๘-๐-๒๑.๒ ไร่หากโจทก์ซึ่งเป็นผู้คัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินแปลงนี้ไม่พอใจคำสั่งนี้ก็ให้ไปฟ้องศาลภายในหกสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งโจทก์และพวกรวม ๕ คน ก็ได้นำเรื่องดังกล่าวมายื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งรวม ๕สำนวน ต่อศาลจังหวัดสงขลา ในวันที่ ๑๐ และ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ดังนั้น เมื่อสาระสำคัญของคดีทั้ง๕ สำนวนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน แม้ว่าจะมีคำขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวมาด้วยก็ตาม คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม(ศาลจังหวัดสงขลา) ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓กุมภาพันธ์๒๕๔๕ ศาลปกครองสงขลาไม่มีอำนาจรับคดีทั้ง ๕ สำนวนไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งได้ศาลปกครองสงขลาเห็นว่า คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๘/๒๕๔๖ ที่๒๙๙/๒๕๔๖ และ ที่ ๓๐๒/๒๕๔๖ ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม (ศาลจังหวัดสงขลา)
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คดีนี้สรุปข้อเท็จจริงตามคำฟ้องจากคดีทั้งห้าสำนวนได้ว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิบริเวณ หมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครองว่า การรังวัดออกโฉนดที่ดินตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุงอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่า บริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้แก่นิคมอุตสาหกรรม ลงวันที่๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์จากการสั่งให้คนงานและรถแทรคเตอร์เข้าไปดันรั้วและโค่นต้นไม้ในที่ดินของโจทก์ และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔กรกฎาคม ๒๕๓๘ เป็นประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์อ้างว่า ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของประกาศทั้งสองฉบับเป็นไปเพราะที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิได้เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจัดหาผลประโยชน์โดยออกเป็นประกาศสองฉบับดังกล่าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทให้เพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาท ให้พิพากษาขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินของโจกท์จึงเป็นกรณีที่โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่า การกระทำของจำเลยเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองตามที่โจทก์กล่าวอ้าง คู่ความคดีนี้จึงยังโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่า เป็นที่ดินของโจทก์หรือที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดและประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ระหว่าง นางสาวสุจีรา แซ่ตั้ง ที่ ๑ กับพวก รวม ๕ คน โจทก์ กระทรวงมหาดไทย ที่ ๑ กับพวก รวม ๗ คน จำเลยอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดสงขลา
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๔/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฏาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดสงขลา
ระหว่าง
ศาลปกครองสงขลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสงขลาโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นางสาวสุจีรา แซ่ตั้ง ที่ ๑ กับพวกรวม ๕ คน ยื่นฟ้องกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑ กับพวกรวม ๗ คน จำเลย ต่อศาลจังหวัดสงขลา เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ที่๒๙๘/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๙/๒๕๔๖ และ ที่ ๓๐๒/๒๕๔๖ (ต่อมา คู่ความแถลงร่วมกันว่า ขอให้นำคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๘/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๙/๒๕๔๖ และที่ ๓๐๒/๒๕๔๖รวมการพิจารณาเข้ากับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ เพื่อความสะดวกแก่การพิจารณา ซึ่งศาลจังหวัดสงขลามีคำสั่งอนุญาต) ในคดีพิพาทอันเกิดจากการที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓ เมษายน๒๕๓๘ ซึ่งต่อมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่า บริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ให้แก่นิคมอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔กรกฎาคม ๒๕๓๘ เมื่อทำการรังวัดแล้วได้เนื้อที่๒,๒๕๘-๐-๒๑.๒ ไร่ ซึ่งโจทก์กับพวกได้คัดค้านการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว โดยอ้างว่า ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมนำรังวัดทับที่ดินที่ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๖๐เห็นว่า ที่ดินที่ได้มีการขอออกโฉนดเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงมีคำสั่งเปรียบเทียบว่า ให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมตามที่ได้นำรังวัดไว้ หากผู้คัดค้านไม่พอใจให้ไปฟ้องศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง โจทก์กับพวกรวม ๕ คน จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดสงขลาสรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้
๑. คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ และที่ ๓๐๒/๒๕๔๖
นางสาวสุจีรา แซ่ตั้ง (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖) นายสมิต สมิตชัยจุฬารัตน์(คดีแพ่งหมายเลขดำ ที่ ๓๐๒/๒๕๔๖) โจทก์ โดยนายจรูญ ฉุ้นประดับ ทนายความ ยื่นฟ้องกระทรวงมหาดไทย ที่ ๑ กระทรวงอุตสาหกรรมที่ ๒ สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ที่๓จำเลย อ้างว่า การดำเนินการรังวัดออกโฉนดให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เนื่องจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ เป็นที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา มิได้ตกเป็นที่ดินว่างเปล่า ทั้งจำเลยที่๒ ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการรื้อถอนพืชไร่และสิ่งปลูกสร้างของโจทก์และบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และเพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และให้เพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาท ห้ามออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๒ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
๒. คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๘/๒๕๔๖ และที่ ๒๙๙/๒๕๔๖
นายบุญช่วย สวนใจเย็น (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๗/๒๕๔๖) นางอุไร แซ่ลิ่ม(คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๘/๒๕๔๖) นางอาม่วย แซ่เจียง (คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๙๙/๒๕๔๖)โจทก์โดยนายชำนาญ จันทรเกษมพร ทนายความ ยื่นฟ้องการนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ที่ ๑ ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ ๒ กระทรวงมหาดไทย ที่ ๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ ๔กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ ๖จำเลย อ้างว่า การที่จำเลยที่ ๑โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๒ นำคนงานและรถแทรคเตอร์เข้าไปดันรั้วและโค่นต้นไม้ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ตลอดมาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ที่ออกโดยจำเลยที่๓ ถึงที่ ๖ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใช้บังคับไม่ได้ และกระทบสิทธิในที่ดินของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ ๓และที่ ๔ กระทำการโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายกล่าวคือ จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ดูแลที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งในเรื่องนี้ได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๙๕/๒๕๓๘ วินิจฉัยว่า ที่ดินบริเวณที่จำเลยที่ ๓ และที่ ๔ ประกาศมอบให้จำเลยที่ ๕ และที่ ๖ จัดหาผลประโยชน์เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา ๘ และไม่เคยมีการเพิกถอนสภาพที่ดินดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า แต่เป็นที่ราชพัสดุที่อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ สังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่งกรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแล้ว เมื่อจำเลยที่ ๓ ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกาขอให้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของที่ดินบริเวณดังกล่าวว่าจะเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินประเภทใด และคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา ๑๓๐๔ (๑) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นไปจัดหาผลประโยชน์ได้ตามมาตรา ๑๑แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ ได้ดำเนินการตามข้อวินิจฉัยดังกล่าว จึงไม่เป็นการถูกต้องเพราะขัดกับคำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๙๕/๒๕๓๘ ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยที่ ๑และที่ ๒ ออกไปจากที่ดินของโจทก์ ขอให้พิพากษาเพิกถอนประกาศของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ และขอให้จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๖ ร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
จำเลยให้การว่า ที่ดินหมู่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื้อที่๒,๒๗๑ ไร่๓๗ ตารางวา เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองตามที่โจทก์กล่าวอ้างที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งเดิมอยู่ในเขตพื้นที่ประทานบัตรขององค์การเหมืองแร่ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งสืบสิทธิต่อเนื่องมาจากกรมโลหกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. ๒๕๒๐ อันมีผลเป็นการยุบเลิกองค์การเหมืองแร่ ที่พิพาทจึงกลับสู่สภาพเดิมคือ เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ (๑) ซึ่งจำเลยที่ ๓ มีอำนาจตามมาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่จะมอบให้ทบวงการเมืองอื่นไปจัดหาประโยชน์ได้ จำเลยที่ ๓ มิได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ การที่โจทก์บุกรุกเข้ามาครอบครองทำประโยชน์และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในที่ดินพิพาทไม่ทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเหนือที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ทั้งนี้ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีความเห็นว่า การได้มาในที่ดินของโจทก์นั้นเป็นการได้มาในภายหลังจากที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมผู้ขอออกโฉนดที่ดิน ซึ่งครอบครองมาก่อนโดยสืบสิทธิต่อจากกรมโลหกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ดังนั้นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมจึงเป็นผู้ขอออกโฉนดที่ดินที่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและการครอบครองดีกว่าโจทก์ จึงมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หากผู้คัดค้านไม่พอใจให้ไปฟ้องศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาขัดกับคำพิพากษาฎีกานั้น จำเลยให้การว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมิได้ขัดกัน เพราะต่างก็มีความเห็นตรงกันว่า ที่ดินหมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถึงแม้จะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดก็ไม่ทำให้ที่ดินอันเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินตกกลับเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไปได้
อนึ่ง จำเลยโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ชอบที่ศาลจะได้เพิกถอนการประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบ และขอเพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และเพิกถอนการรังวัดโฉนดที่ดินแปลงพิพาทของจำเลย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ขอให้ศาลเพิกถอนประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔กรกฎาคม ๒๕๓๘ ซึ่งประกาศดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา ๙วรรคหนึ่ง(๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้
ศาลจังหวัดสงขลาเห็นว่า ในคดีหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ และที่ ๓๐๒/๒๕๔๖โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามเกี่ยวเนื่องด้วยคดีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยออกประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ ๓เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวนั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำอื่นใดซึ่งโจทก์กล่าวอ้างว่ากระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองสำนวนขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งห้ามไม่ให้จำเลยเข้ามายุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทนั้นก็เป็นคำขออุปกรณ์ต่อเนื่องจากการที่จำเลยนั้นได้ออกประกาศหรือคำสั่งหรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในส่วนดังกล่าวก่อนดังนั้น คำขอประธานจึงจะต้องพิจารณาว่า ประกาศทั้ง ๒ ฉบับนั้นได้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นอกจากนี้ โจทก์ทั้งสองได้ฟ้องคดีซึ่งมีมูลพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น การฟ้องคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ หรือคำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ (๑) (๓) โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดสงขลา
สำหรับคดีหมายเลขดำที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๘/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๙/๒๕๔๖ เห็นว่าสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามสำนวน จะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าประกาศของจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๖ ไม่มีผลใช้บังคับเพราะเป็นประกาศที่มิชอบด้วยกฎหมายก่อนหรือไม่ แล้วจึงจะพิจารณาในส่วนคำขอที่จะให้พิพากษาขับไล่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ ดังนั้น จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายในการออกคำสั่งหรือกระทำการใด เนื่องจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือเป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบ และการที่จำเลยที่ ๑ โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๒ได้นำคนงานและรถแทรกเตอร์เข้าไปดันรั้วและโค่นต้นไม้ในสวนของโจทก์ทั้งสามสำนวนนั้น ก็เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙(๑)(๓) โจทก์ทั้งสามสำนวนดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกต่อศาลจังหวัดสงขลา
ศาลปกครองสงขลาเห็นว่า แม้ว่าคู่ความฝ่ายหนึ่งในคดีพิพาททั้ง ๕ คดี เป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามนัยของมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของคำฟ้องและคำขอของโจทก์แล้วจะเห็นได้ว่า โจทก์โต้แย้งจำเลยว่าไม่มีสิทธินำเอาที่ดินของโจทก์ไปจัดหาผลประโยชน์โดยออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓เมษายน ๒๕๓๘ และออกเป็นประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่าบริเวณเหมืองฉลุง ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ อันเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ และขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์ครอบครองและทำประโยชน์อยู่เป็นของโจทก์ รวมทั้งกล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดบุกรุก ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวด้วย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าเป็นของโจทก์หรือเป็นที่ดินของรัฐที่จำเลยสามารถนำไปจัดหาผลประโยชน์ได้ตามมาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพราะหากเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยโดยกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมก็ไม่สามารถนำไปจัดหาผลประโยชน์โดยออกเป็นประกาศสองฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนคดีนี้ว่า เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ได้ออกคำสั่งสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาหาดใหญ่ ที่ ๓๐/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๖๐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ให้ออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทให้แก่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (เพื่อประโยชน์ในการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามมาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน) ตามที่ได้นำรังวัดไว้เนื้อที่๒,๒๕๘-๐-๒๑.๒ ไร่หากโจทก์ซึ่งเป็นผู้คัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินแปลงนี้ไม่พอใจคำสั่งนี้ก็ให้ไปฟ้องศาลภายในหกสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งโจทก์และพวกรวม ๕ คน ก็ได้นำเรื่องดังกล่าวมายื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งรวม ๕สำนวน ต่อศาลจังหวัดสงขลา ในวันที่ ๑๐ และ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ดังนั้น เมื่อสาระสำคัญของคดีทั้ง๕ สำนวนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน แม้ว่าจะมีคำขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวมาด้วยก็ตาม คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม(ศาลจังหวัดสงขลา) ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๔/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๓กุมภาพันธ์๒๕๔๕ ศาลปกครองสงขลาไม่มีอำนาจรับคดีทั้ง ๕ สำนวนไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งได้ศาลปกครองสงขลาเห็นว่า คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๒๘๔/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๗/๒๕๔๖ ที่ ๒๙๘/๒๕๔๖ ที่๒๙๙/๒๕๔๖ และ ที่ ๓๐๒/๒๕๔๖ ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม (ศาลจังหวัดสงขลา)
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คดีนี้สรุปข้อเท็จจริงตามคำฟ้องจากคดีทั้งห้าสำนวนได้ว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิบริเวณ หมู่ที่ ๔ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครองว่า การรังวัดออกโฉนดที่ดินตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐในท้องที่ตำบลฉลุงอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ขายที่ดินรกร้างว่างเปล่า บริเวณตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้แก่นิคมอุตสาหกรรม ลงวันที่๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์จากการสั่งให้คนงานและรถแทรคเตอร์เข้าไปดันรั้วและโค่นต้นไม้ในที่ดินของโจทก์ และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔กรกฎาคม ๒๕๓๘ เป็นประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์อ้างว่า ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของประกาศทั้งสองฉบับเป็นไปเพราะที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิได้เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจัดหาผลประโยชน์โดยออกเป็นประกาศสองฉบับดังกล่าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทให้เพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาท ให้พิพากษาขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินของโจกท์จึงเป็นกรณีที่โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลมีคำพิพากษารับรองและคุ้มครองสิทธิในที่ดินของโจทก์ ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่า การกระทำของจำเลยเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองตามที่โจทก์กล่าวอ้าง คู่ความคดีนี้จึงยังโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่า เป็นที่ดินของโจทก์หรือที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดและประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ระหว่าง นางสาวสุจีรา แซ่ตั้ง ที่ ๑ กับพวก รวม ๕ คน โจทก์ กระทรวงมหาดไทย ที่ ๑ กับพวก รวม ๗ คน จำเลยอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดสงขลา
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๓๓/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองขอนแก่น
ระหว่าง
ศาลแขวงขอนแก่น
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองขอนแก่นส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้อง และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายอุทัย สิทธิเลาะ โดย นายเวียงศักดิ์ เปี่ยมสังวาลย์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งชมพู ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๒๔/๒๕๔๕ และได้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง สรุปได้ว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๔๕ ผู้ถูกฟ้องคดีได้อนุมัติโครงการก่อสร้างถนนลูกรังสู่แหล่งการเกษตร จากบ้านดอนดู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลทุ่งชมพูอำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่น ถึงบริเวณแนวเขตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนอุบลรัตน์ โดยได้ทำสัญญาว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยจิตวัฒน์ก่อสร้างให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้กำหนดและนำชี้สถานที่ที่จะทำการก่อสร้าง เริ่มลงมือก่อสร้างในเดือนมีนาคม ๒๕๔๕ เสร็จสิ้นงานตามสัญญาเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๕ ในการก่อสร้างส่วนหนึ่งของโครงการได้รุกล้ำผ่านเข้าไปในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๐๓๑๖ ตำบลทุ่งชมพู (หว้าทอง) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นของผู้ฟ้องคดี โดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ให้ความยินยอมหรือสละที่ดินดังกล่าวให้สร้างถนนแต่อย่างใดเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ คิดเป็นเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๕๓ ๕/๑๐ ตารางวา ซึ่งเดิมที่ดินในบริเวณดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีได้ขุดบ่อพักน้ำและคลองส่งน้ำตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๓ เพื่อสูบน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์มาใช้ในโครงการปลูกป่า โดยได้ขึ้นทะเบียนที่ดินเพื่อปลูกป่าตามโครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่า ใช้งบประมาณก่อสร้าง ๕๘,๙๓๒ บาท ตามสัญญาจ้างทำของ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๓ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทำให้บ่อพักน้ำและคลองส่งน้ำเสียหายโดยสิ้นเชิง เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ฟ้องคดีทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ดังนี้
๑. ค่าเสียหายต่อการใช้สิทธิและประโยชน์ในที่ดินบริเวณที่ถูกโครงการรุกล้ำผ่านเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๕๓ ๕/๑๐ ตารางวา คิดเป็นค่าเสียหาย ๖๙,๙๐๗.๕๐ บาท โดยคิดตามราคาประเมินที่ดินของสำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาภูเวียง ราคาไร่ละ ๑๘,๐๐๐บาท
๒. ค่าเสียหายต่อการขาดประโยชน์จากบ่อพักน้ำและคลองส่งน้ำ โดยคิดราคาจ้างตามสัญญาจ้างทำของ เป็นเงินจำนวน ๕๘,๙๓๒ บาท
ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๒๘,๘๓๙.๕๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่า เป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และให้การปฏิเสธฟ้องว่าไม่ได้ก่อสร้างถนนลูกรังรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้ยินยอมตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่ได้สร้างไปตามแนวถนนสาธารณะเดิมซึ่งประชาชนได้ใช้เส้นทางดังกล่าวสัญจรไปมาเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง เป็นประจำมานานเกินกว่า๑๐ ปีแล้ว โดยมีคำยืนยันของผู้สูงอายุในหมู่บ้านดอนดู่ หมู่ ๓ และหมู่บ้านใกล้เคียง อีกทั้งก่อนมีการก่อสร้างผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียง รวมทั้งผู้ฟ้องคดีทราบแล้ว ซึ่งผู้ฟ้องคดีและเจ้าของที่ดินข้างเคียงทุกรายก็ได้ยินยอมในการก่อสร้างแล้ว โดยเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้เซ็นยินยอมไว้เป็นหนังสือ ส่วนผู้ฟ้องคดีไม่ได้เซ็นแต่ก็ไม่ได้คัดค้านหรือโต้แย้งที่ดินของผู้ฟ้องคดีตั้งอยู่ตอนสุดท้ายของโครงการ ถ้าผู้ฟ้องคดีคัดค้านหรือโต้แย้งในขณะนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีก็จะต้องระงับโครงการก่อสร้างไว้ก่อน จนกว่าจะไม่มีผู้ใดคัดค้านจึงจะก่อสร้างต่อไปได้ ซึ่งในขณะมีการก่อสร้าง ผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบและให้ไปดูสถานที่ก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาการบุกรุก ผู้ฟ้องคดีได้ไปที่สถานที่ก่อสร้าง แต่ก็ไม่ได้ขัดขวางโต้แย้งหรือแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีระงับการก่อสร้าง กลับปล่อยให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ในการก่อสร้างผู้ถูกฟ้องคดีก็ก่อสร้างอยู่นอกแนวเขตและนอกรั้วที่ดินของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่๒๐๓๑๖ จำนวนเนื้อที่ ๕๓ ไร่ ๑ งาน ๖ ๕/๑๐ตารางวา ตามที่กล่าวอ้างในฟ้องแต่อย่างใด แต่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเนื้อที่เพียง ๔๘ ไร่ ๑ งาน ๒๐ตารางวา เท่านั้น การที่ปรากฏหลักฐานในโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๐๓๑๖ ว่าผู้ฟ้องคดีมีกรรมสิทธิ์ในเนื้อที่ ๕๓ ไร่ ๑ งาน ๖ ๕/๑๐ ตารางวาเนื่องมาจากหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีก่อสร้างถนนสาธารณะจนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๕ และเวลาผ่านไปแล้วเกือบ ๒ เดือน ผู้ฟ้องคดีจึงเพิ่งยื่นคำร้องขอสอบเขตโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ ๑๓พฤษภาคม ๒๕๔๕ โดยผู้ฟ้องคดีได้เคลื่อนย้ายหลักเขตที่ดินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งอยู่ติดกับแนวเขตที่ดินด้านทิศเหนือของผู้ฟ้องคดีออกไปหลายจุดจนคร่อมทับแนวถนนสาธารณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีก่อสร้างดังกล่าว แล้วนำชี้แนวเขตที่ดินที่ไม่ถูกต้องต่อเจ้าพนักงาน เป็นเหตุให้มีการแก้ไขแผนที่และเนื้อที่ผิดไปจากความเป็นจริง มีเนื้อที่มากกว่าเดิม ๔ ไร่ ๑ งาน ๘๖๕/๑๐ ตารางวา
ผู้ฟ้องคดียื่นคำคัดค้านคำให้การว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินเลขที่๒๐๓๑๖ ตำบลทุ่งชมพู (หว้าทอง) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่ ๕๓ ไร่ ๑ งาน๖ ๕/๑๐ตารางวา ซึ่งมีโฉนดเป็นเอกสารสิทธิ ที่ดินบริเวณพิพาทนั้นเป็นเขตติดต่อกับที่ดินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ดินติดต่อกันทั้งสองแปลงล้วนแต่เป็นที่ดินมีเจ้าของมิใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการตามโครงการ ทำให้ส่วนหนึ่งของโครงการรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๕๓ ๕/๑๐ ตารางวา โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ฟ้องคดี อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้บริหารซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี แต่ด้วยความจงใจและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของคณะผู้บริหารที่ไม่ได้จัดให้มีความยินยอมของเจ้าของที่ดินครบทุกราย แม้แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็ไม่ได้ให้ความยินยอม กรณีนี้ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ในผลแห่งละเมิดที่คณะผู้บริหารซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕ ซึ่งจะต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๔ ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองขอนแก่น ตามมาตรา ๙ (๓) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลปกครองขอนแก่นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่า ผู้ถูกฟ้องคดีกระทำละเมิดโดยก่อสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ให้ความยินยอมและไม่ได้มีการเวนคืนที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ซึ่งการจัดให้มีและบำรุงรักษาถนนดังกล่าว เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา ๖๗(๑) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และตามมาตรา ๑๖ (๒)แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้นหากผลของการก่อสร้างถนนตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การพิจารณาพิพากษาของศาลคดีนี้ ศาลย่อมยึดถือแนวเขตที่ดินและพื้นที่ตามโฉนดที่ดินที่ออกให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนเป็นสำคัญ ประเด็นที่ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า การรังวัดสอบแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีกระทำโดยไม่ชอบ โดยมีการเคลื่อนย้ายหลักเขตที่ดินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและรุกล้ำเข้ามาในแนวถนนสาธารณะก่อนที่จะนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดนั้น เมื่อปรากฏว่าการรังวัดสอบเขตที่ดินได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเจ้าของที่ดินข้างเคียงทุกด้านได้ให้ความเห็นชอบมิได้มีประเด็นโต้แย้งคัดค้านกันแต่อย่างใด และรูปแผนที่ที่ดินของผู้ฟ้องคดีในโฉนดที่ดินไม่มีที่ดินด้านใดที่มีแนวเขตติดทางสาธารณะ ถ้าผู้ถูกฟ้องคดียังคงมีความเห็นว่า การรังวัดสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นการเคลื่อนย้ายหลักเขตที่ดินรุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณะโดยมิชอบ ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลรักษาทางสาธารณะที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมที่ดินเพื่อให้มีการสอบสวนและเพิกถอนโฉนดที่ดินในส่วนที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน เลขที่๒๐๓๑๖ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ของผู้ฟ้องคดี ศาลย่อมต้องยอมรับว่าโฉนดที่ดินดังกล่าวในสภาพปัจจุบันซึ่งเป็นเอกสารมหาชน เป็นเอกสารสิทธิที่ดินที่รับรองกรรมสิทธิ์ในที่ของผู้ฟ้องคดีตามกฎหมาย คดีนี้ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีก่อนที่จะพิจารณาประเด็นแห่งคดีนี้แต่อย่างใด คดีนี้จึงเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองขอนแก่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลแขวงขอนแก่นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ฟ้องคดีจะโต้แย้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี แต่ประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามข้ออ้างหรือไม่ จึงจะสามารถพิจารณาเกี่ยวกับความเสียหายของผู้ฟ้องคดีและข้อต่อสู้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่อ้างว่าไม่ได้กระทำการตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวหาในคดีนี้ต่อไปได้ ทั้งนี้แม้โฉนดที่ดินเลขที่๒๐๓๑๖ ตำบลทุ่งชมพู (หว้าทอง) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ของผู้ฟ้องคดีเป็นเอกสารมหาชนก็ตาม แต่เอกสารมหาชนนั้น ตามมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร อันเป็นข้อสันนิษฐานไม่เด็ดขาดกรณีจึงไม่อาจฟังข้อเท็จจริงยุติได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งการพิจารณาในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนี้ การพิจารณาสิทธิในที่ดินยังต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน และแม้การฟ้องคดีนี้จะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดในที่ดิน แต่ศาลจำต้องพิจารณาถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินว่าเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นหลัก ดังนั้น ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงได้แก่ ศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๐/๒๕๔๕
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองทำละเมิดด้วยการก่อสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนขอให้ชำระค่าเสียหาย อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งชมพู ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา๔๓จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีตั้งข้อหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทำละเมิดด้วยการก่อสร้างถนนลูกรังรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายโดยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทและการใช้ประโยชน์จากบ่อพักน้ำกับคลองส่งน้ำของตนเองไม่ได้ อันเป็นการกระทำละเมิด ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ไม่ได้ก่อสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่สร้างตามแนวถนนเดิม ซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ คดีนี้ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นละเมิดหรือไม่ และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด ดังนั้น เมื่อศาลจำต้องพิจารณาถึงสิทธิของผู้ฟ้องคดีในที่ดินพิพาทที่เกิดเหตุแล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีละเมิดด้วยการก่อสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดิน ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ระหว่าง นายอุทัย สิทธิเลาะ ผู้ฟ้องคดี องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งชมพู ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแขวงขอนแก่น
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๕
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๓๓/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองขอนแก่น
ระหว่าง
ศาลแขวงขอนแก่น
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองขอนแก่นส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้อง และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายอุทัย สิทธิเลาะ โดย นายเวียงศักดิ์ เปี่ยมสังวาลย์ ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งชมพู ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๒๔/๒๕๔๕ และได้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง สรุปได้ว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๔๕ ผู้ถูกฟ้องคดีได้อนุมัติโครงการก่อสร้างถนนลูกรังสู่แหล่งการเกษตร จากบ้านดอนดู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลทุ่งชมพูอำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่น ถึงบริเวณแนวเขตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนอุบลรัตน์ โดยได้ทำสัญญาว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยจิตวัฒน์ก่อสร้างให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้กำหนดและนำชี้สถานที่ที่จะทำการก่อสร้าง เริ่มลงมือก่อสร้างในเดือนมีนาคม ๒๕๔๕ เสร็จสิ้นงานตามสัญญาเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๕ ในการก่อสร้างส่วนหนึ่งของโครงการได้รุกล้ำผ่านเข้าไปในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๐๓๑๖ ตำบลทุ่งชมพู (หว้าทอง) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นของผู้ฟ้องคดี โดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ให้ความยินยอมหรือสละที่ดินดังกล่าวให้สร้างถนนแต่อย่างใดเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ คิดเป็นเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๕๓ ๕/๑๐ ตารางวา ซึ่งเดิมที่ดินในบริเวณดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีได้ขุดบ่อพักน้ำและคลองส่งน้ำตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๓ เพื่อสูบน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์มาใช้ในโครงการปลูกป่า โดยได้ขึ้นทะเบียนที่ดินเพื่อปลูกป่าตามโครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่า ใช้งบประมาณก่อสร้าง ๕๘,๙๓๒ บาท ตามสัญญาจ้างทำของ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๓ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทำให้บ่อพักน้ำและคลองส่งน้ำเสียหายโดยสิ้นเชิง เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ฟ้องคดีทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ดังนี้
๑. ค่าเสียหายต่อการใช้สิทธิและประโยชน์ในที่ดินบริเวณที่ถูกโครงการรุกล้ำผ่านเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๕๓ ๕/๑๐ ตารางวา คิดเป็นค่าเสียหาย ๖๙,๙๐๗.๕๐ บาท โดยคิดตามราคาประเมินที่ดินของสำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น สาขาภูเวียง ราคาไร่ละ ๑๘,๐๐๐บาท
๒. ค่าเสียหายต่อการขาดประโยชน์จากบ่อพักน้ำและคลองส่งน้ำ โดยคิดราคาจ้างตามสัญญาจ้างทำของ เป็นเงินจำนวน ๕๘,๙๓๒ บาท
ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชำระค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๒๘,๘๓๙.๕๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่า เป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และให้การปฏิเสธฟ้องว่าไม่ได้ก่อสร้างถนนลูกรังรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้ยินยอมตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่ได้สร้างไปตามแนวถนนสาธารณะเดิมซึ่งประชาชนได้ใช้เส้นทางดังกล่าวสัญจรไปมาเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง เป็นประจำมานานเกินกว่า๑๐ ปีแล้ว โดยมีคำยืนยันของผู้สูงอายุในหมู่บ้านดอนดู่ หมู่ ๓ และหมู่บ้านใกล้เคียง อีกทั้งก่อนมีการก่อสร้างผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียง รวมทั้งผู้ฟ้องคดีทราบแล้ว ซึ่งผู้ฟ้องคดีและเจ้าของที่ดินข้างเคียงทุกรายก็ได้ยินยอมในการก่อสร้างแล้ว โดยเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้เซ็นยินยอมไว้เป็นหนังสือ ส่วนผู้ฟ้องคดีไม่ได้เซ็นแต่ก็ไม่ได้คัดค้านหรือโต้แย้งที่ดินของผู้ฟ้องคดีตั้งอยู่ตอนสุดท้ายของโครงการ ถ้าผู้ฟ้องคดีคัดค้านหรือโต้แย้งในขณะนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีก็จะต้องระงับโครงการก่อสร้างไว้ก่อน จนกว่าจะไม่มีผู้ใดคัดค้านจึงจะก่อสร้างต่อไปได้ ซึ่งในขณะมีการก่อสร้าง ผู้ถูกฟ้องคดีได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบและให้ไปดูสถานที่ก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาการบุกรุก ผู้ฟ้องคดีได้ไปที่สถานที่ก่อสร้าง แต่ก็ไม่ได้ขัดขวางโต้แย้งหรือแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีระงับการก่อสร้าง กลับปล่อยให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ ในการก่อสร้างผู้ถูกฟ้องคดีก็ก่อสร้างอยู่นอกแนวเขตและนอกรั้วที่ดินของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่๒๐๓๑๖ จำนวนเนื้อที่ ๕๓ ไร่ ๑ งาน ๖ ๕/๑๐ตารางวา ตามที่กล่าวอ้างในฟ้องแต่อย่างใด แต่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเนื้อที่เพียง ๔๘ ไร่ ๑ งาน ๒๐ตารางวา เท่านั้น การที่ปรากฏหลักฐานในโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๐๓๑๖ ว่าผู้ฟ้องคดีมีกรรมสิทธิ์ในเนื้อที่ ๕๓ ไร่ ๑ งาน ๖ ๕/๑๐ ตารางวาเนื่องมาจากหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีก่อสร้างถนนสาธารณะจนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๕ และเวลาผ่านไปแล้วเกือบ ๒ เดือน ผู้ฟ้องคดีจึงเพิ่งยื่นคำร้องขอสอบเขตโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ ๑๓พฤษภาคม ๒๕๔๕ โดยผู้ฟ้องคดีได้เคลื่อนย้ายหลักเขตที่ดินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งอยู่ติดกับแนวเขตที่ดินด้านทิศเหนือของผู้ฟ้องคดีออกไปหลายจุดจนคร่อมทับแนวถนนสาธารณะที่ผู้ถูกฟ้องคดีก่อสร้างดังกล่าว แล้วนำชี้แนวเขตที่ดินที่ไม่ถูกต้องต่อเจ้าพนักงาน เป็นเหตุให้มีการแก้ไขแผนที่และเนื้อที่ผิดไปจากความเป็นจริง มีเนื้อที่มากกว่าเดิม ๔ ไร่ ๑ งาน ๘๖๕/๑๐ ตารางวา
ผู้ฟ้องคดียื่นคำคัดค้านคำให้การว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินเลขที่๒๐๓๑๖ ตำบลทุ่งชมพู (หว้าทอง) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่ ๕๓ ไร่ ๑ งาน๖ ๕/๑๐ตารางวา ซึ่งมีโฉนดเป็นเอกสารสิทธิ ที่ดินบริเวณพิพาทนั้นเป็นเขตติดต่อกับที่ดินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ดินติดต่อกันทั้งสองแปลงล้วนแต่เป็นที่ดินมีเจ้าของมิใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการตามโครงการ ทำให้ส่วนหนึ่งของโครงการรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๕๓ ๕/๑๐ ตารางวา โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ฟ้องคดี อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้บริหารซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี แต่ด้วยความจงใจและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของคณะผู้บริหารที่ไม่ได้จัดให้มีความยินยอมของเจ้าของที่ดินครบทุกราย แม้แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็ไม่ได้ให้ความยินยอม กรณีนี้ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี ในผลแห่งละเมิดที่คณะผู้บริหารซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีได้กระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕ ซึ่งจะต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๔ ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองขอนแก่น ตามมาตรา ๙ (๓) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลปกครองขอนแก่นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่า ผู้ถูกฟ้องคดีกระทำละเมิดโดยก่อสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้ให้ความยินยอมและไม่ได้มีการเวนคืนที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ซึ่งการจัดให้มีและบำรุงรักษาถนนดังกล่าว เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา ๖๗(๑) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และตามมาตรา ๑๖ (๒)แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้นหากผลของการก่อสร้างถนนตามอำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การพิจารณาพิพากษาของศาลคดีนี้ ศาลย่อมยึดถือแนวเขตที่ดินและพื้นที่ตามโฉนดที่ดินที่ออกให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนเป็นสำคัญ ประเด็นที่ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า การรังวัดสอบแนวเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีกระทำโดยไม่ชอบ โดยมีการเคลื่อนย้ายหลักเขตที่ดินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและรุกล้ำเข้ามาในแนวถนนสาธารณะก่อนที่จะนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดนั้น เมื่อปรากฏว่าการรังวัดสอบเขตที่ดินได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเจ้าของที่ดินข้างเคียงทุกด้านได้ให้ความเห็นชอบมิได้มีประเด็นโต้แย้งคัดค้านกันแต่อย่างใด และรูปแผนที่ที่ดินของผู้ฟ้องคดีในโฉนดที่ดินไม่มีที่ดินด้านใดที่มีแนวเขตติดทางสาธารณะ ถ้าผู้ถูกฟ้องคดียังคงมีความเห็นว่า การรังวัดสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นการเคลื่อนย้ายหลักเขตที่ดินรุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณะโดยมิชอบ ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลรักษาทางสาธารณะที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมที่ดินเพื่อให้มีการสอบสวนและเพิกถอนโฉนดที่ดินในส่วนที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน เลขที่๒๐๓๑๖ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ของผู้ฟ้องคดี ศาลย่อมต้องยอมรับว่าโฉนดที่ดินดังกล่าวในสภาพปัจจุบันซึ่งเป็นเอกสารมหาชน เป็นเอกสารสิทธิที่ดินที่รับรองกรรมสิทธิ์ในที่ของผู้ฟ้องคดีตามกฎหมาย คดีนี้ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินของผู้ฟ้องคดีก่อนที่จะพิจารณาประเด็นแห่งคดีนี้แต่อย่างใด คดีนี้จึงเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองขอนแก่น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลแขวงขอนแก่นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ฟ้องคดีจะโต้แย้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี แต่ประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามข้ออ้างหรือไม่ จึงจะสามารถพิจารณาเกี่ยวกับความเสียหายของผู้ฟ้องคดีและข้อต่อสู้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่อ้างว่าไม่ได้กระทำการตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวหาในคดีนี้ต่อไปได้ ทั้งนี้แม้โฉนดที่ดินเลขที่๒๐๓๑๖ ตำบลทุ่งชมพู (หว้าทอง) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ของผู้ฟ้องคดีเป็นเอกสารมหาชนก็ตาม แต่เอกสารมหาชนนั้น ตามมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร อันเป็นข้อสันนิษฐานไม่เด็ดขาดกรณีจึงไม่อาจฟังข้อเท็จจริงยุติได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งการพิจารณาในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนี้ การพิจารณาสิทธิในที่ดินยังต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน และแม้การฟ้องคดีนี้จะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดในที่ดิน แต่ศาลจำต้องพิจารณาถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินว่าเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นหลัก ดังนั้น ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงได้แก่ ศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๓๐/๒๕๔๕
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองทำละเมิดด้วยการก่อสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนขอให้ชำระค่าเสียหาย อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งชมพู ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา๔๓จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีตั้งข้อหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทำละเมิดด้วยการก่อสร้างถนนลูกรังรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายโดยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทและการใช้ประโยชน์จากบ่อพักน้ำกับคลองส่งน้ำของตนเองไม่ได้ อันเป็นการกระทำละเมิด ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ไม่ได้ก่อสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี แต่สร้างตามแนวถนนเดิม ซึ่งเป็นทางสาธารณประโยชน์ คดีนี้ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นละเมิดหรือไม่ และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายกันเพียงใด ดังนั้น เมื่อศาลจำต้องพิจารณาถึงสิทธิของผู้ฟ้องคดีในที่ดินพิพาทที่เกิดเหตุแล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีละเมิดด้วยการก่อสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดิน ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ระหว่าง นายอุทัย สิทธิเลาะ ผู้ฟ้องคดี องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งชมพู ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแขวงขอนแก่น
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๕
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๒/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแพ่งธนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องและศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายโอภาส บัวแย้ม ที่ ๑ นางวันเพ็ญ นาคทอง ที่ ๒ นางสายหยุด บัวแย้ม ที่๓ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง กรมทางหลวง ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นหมายเลขดำที่๕๔๕/๒๕๔๖ สรุปได้ว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๔๖๕ ตำบลศาลาธรรมสพน์ (บางระมาด)อำเภอทวีวัฒนา (ตลิ่งชัน) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๙๔ ตารางวา เป็นของนายผ่อน บัวแย้มได้ถูกผู้ถูกฟ้องคดีเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษสายพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอนพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน พ.ศ. ๒๕๒๓และนายผ่อน บัวแย้ม ได้รับเงินค่าทดแทนไปแล้ว คงเหลือเนื้อที่จากการเวนคืน ๑ ไร่ ๑ งาน๓๕ตารางวา ซึ่งที่ดินดังกล่าวได้โอนมาเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙ ผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการขยายถนนเพิ่มเติม และเมื่อวันที่๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีทั้งสามได้ยื่นขอรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จึงได้ทราบว่าเขตทางหลวงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม จำนวน ๙๓ ตารางวา จึงขอให้งดการรังวัดไว้ก่อนและได้มีหนังสือลงวันที่๗ตุลาคม ๒๕๔๕ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเพิกเฉยผู้ฟ้องคดีทั้งสาม จึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินค่าทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสาม จำนวน ๙๓ ตารางวา ในราคาตารางวาละ ๒๕,๐๐๐ บาท เป็นเงิน๒,๓๒๕,๐๐๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดีได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ก่อสร้างถนนอยู่ในเขตที่ดินที่เวนคืนดังกล่าว มิได้รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสามแต่ประการใด และยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่า คดีนี้มีประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายที่ดิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งได้แก่ ศาลแพ่งธนบุรี
ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสามฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้เวนคืนที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงสายพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอนพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้จ่ายค่าที่ดินให้แล้ว ต่อมาได้ดำเนินการขยายถนนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสามเกินกว่าเนื้อที่เวนคืน จำนวน ๙๓ ตารางวา โดยไม่จ่ายค่าทดแทนในส่วนที่รุกล้ำดังกล่าว จึงขอให้ศาลมีคำบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินค่าทดแทน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งว่า ได้สร้างถนนในเขตที่ดินที่ถูกเวนคืน และผู้ฟ้องคดีทั้งสามไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ อีก คดีมีประเด็นหลักเป็นเรื่องที่คู่กรณีโต้แย้งกันว่า ที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสามมีเนื้อที่อยู่ในแนวเขตเวนคืนจำนวนเท่าใด และผู้ถูกฟ้องคดีได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสามครบถ้วนถูกต้องตามเนื้อที่ซึ่งถูกเวนคืนหรือไม่ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ ๒๕๔๒ จึงอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งธนบุรีพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีพิพาทตามฟ้องเป็นคดีที่กล่าวหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีนี้จึงเป็นคดีละเมิดในทางแพ่ง มิใช่เกิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ข้อพิพาทตามคำฟ้องจึงเป็นข้อพิพาททางแพ่ง มิใช่ข้อพิพาททางปกครอง จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองขยายถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า กรมทางหลวง ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งสามนี้ สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนไปสร้างทางหลวงพิเศษ สายพระประแดงฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙ ผู้ถูกฟ้องคดีทำการขยายถนนดังกล่าว รุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม จำนวนเนื้อที่ ๙๓ ตารางวา ขอให้จ่ายค่าทดแทน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การก่อสร้างถนนดังกล่าวได้สร้างอยู่ในแนวเขตที่เคยเวนคืนไว้แล้วไม่ได้รุกล้ำ คดีนี้จึงมิใช่เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเวนคืนเพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องนั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งสามกล่าวอ้างว่าที่ดินดังกล่าว เคยถูกเวนคืนไปแล้วบางส่วน และเจ้าของที่ดินได้รับเงินค่าทดแทนไปแล้วต่อมาที่ดินส่วนที่เหลือได้โอนมาเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม และมีการขยายถนนรุกล้ำที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือนี้ ซึ่งศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องชดใช้ค่าที่ดินหรือไม่เพียงใด ดังนั้น จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันเป็นกรณีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีขอให้ชดใช้ค่าที่ดิน ระหว่าง นายโอภาส บัวแย้ม ที่ ๑นางวันเพ็ญ นาคทอง ที่ ๒ นางสายหยุด บัวแย้ม ที่ ๓ ผู้ฟ้องคดี กรมทางหลวง ผู้ถูกฟ้องคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่งธนบุรี
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๓
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๒/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลแพ่งธนบุรี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องและศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็น มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายโอภาส บัวแย้ม ที่ ๑ นางวันเพ็ญ นาคทอง ที่ ๒ นางสายหยุด บัวแย้ม ที่๓ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้อง กรมทางหลวง ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง เป็นหมายเลขดำที่๕๔๕/๒๕๔๖ สรุปได้ว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๔๖๕ ตำบลศาลาธรรมสพน์ (บางระมาด)อำเภอทวีวัฒนา (ตลิ่งชัน) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๙๔ ตารางวา เป็นของนายผ่อน บัวแย้มได้ถูกผู้ถูกฟ้องคดีเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงพิเศษสายพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอนพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน พ.ศ. ๒๕๒๓และนายผ่อน บัวแย้ม ได้รับเงินค่าทดแทนไปแล้ว คงเหลือเนื้อที่จากการเวนคืน ๑ ไร่ ๑ งาน๓๕ตารางวา ซึ่งที่ดินดังกล่าวได้โอนมาเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙ ผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการขยายถนนเพิ่มเติม และเมื่อวันที่๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีทั้งสามได้ยื่นขอรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จึงได้ทราบว่าเขตทางหลวงรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม จำนวน ๙๓ ตารางวา จึงขอให้งดการรังวัดไว้ก่อนและได้มีหนังสือลงวันที่๗ตุลาคม ๒๕๔๕ ให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเพิกเฉยผู้ฟ้องคดีทั้งสาม จึงต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินค่าทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสาม จำนวน ๙๓ ตารางวา ในราคาตารางวาละ ๒๕,๐๐๐ บาท เป็นเงิน๒,๓๒๕,๐๐๐ บาท
ผู้ถูกฟ้องคดีได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้ก่อสร้างถนนอยู่ในเขตที่ดินที่เวนคืนดังกล่าว มิได้รุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสามแต่ประการใด และยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่า คดีนี้มีประเด็นหลักที่คู่กรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายที่ดิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งได้แก่ ศาลแพ่งธนบุรี
ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสามฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้เวนคืนที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงสายพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน-บางบัวทอง ตอนพระประแดง-บางแค-ตลิ่งชัน พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้จ่ายค่าที่ดินให้แล้ว ต่อมาได้ดำเนินการขยายถนนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสามเกินกว่าเนื้อที่เวนคืน จำนวน ๙๓ ตารางวา โดยไม่จ่ายค่าทดแทนในส่วนที่รุกล้ำดังกล่าว จึงขอให้ศาลมีคำบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินค่าทดแทน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งว่า ได้สร้างถนนในเขตที่ดินที่ถูกเวนคืน และผู้ฟ้องคดีทั้งสามไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ อีก คดีมีประเด็นหลักเป็นเรื่องที่คู่กรณีโต้แย้งกันว่า ที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสามมีเนื้อที่อยู่ในแนวเขตเวนคืนจำนวนเท่าใด และผู้ถูกฟ้องคดีได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสามครบถ้วนถูกต้องตามเนื้อที่ซึ่งถูกเวนคืนหรือไม่ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ ๒๕๔๒ จึงอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งธนบุรีพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีพิพาทตามฟ้องเป็นคดีที่กล่าวหาว่า ผู้ถูกฟ้องคดีกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีนี้จึงเป็นคดีละเมิดในทางแพ่ง มิใช่เกิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ข้อพิพาทตามคำฟ้องจึงเป็นข้อพิพาททางแพ่ง มิใช่ข้อพิพาททางปกครอง จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองขยายถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชน อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า กรมทางหลวง ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งสามนี้ สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนไปสร้างทางหลวงพิเศษ สายพระประแดงฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙ ผู้ถูกฟ้องคดีทำการขยายถนนดังกล่าว รุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม จำนวนเนื้อที่ ๙๓ ตารางวา ขอให้จ่ายค่าทดแทน ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การก่อสร้างถนนดังกล่าวได้สร้างอยู่ในแนวเขตที่เคยเวนคืนไว้แล้วไม่ได้รุกล้ำ คดีนี้จึงมิใช่เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเวนคืนเพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องนั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งสามกล่าวอ้างว่าที่ดินดังกล่าว เคยถูกเวนคืนไปแล้วบางส่วน และเจ้าของที่ดินได้รับเงินค่าทดแทนไปแล้วต่อมาที่ดินส่วนที่เหลือได้โอนมาเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม และมีการขยายถนนรุกล้ำที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือนี้ ซึ่งศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องชดใช้ค่าที่ดินหรือไม่เพียงใด ดังนั้น จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันเป็นกรณีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีขอให้ชดใช้ค่าที่ดิน ระหว่าง นายโอภาส บัวแย้ม ที่ ๑นางวันเพ็ญ นาคทอง ที่ ๒ นางสายหยุด บัวแย้ม ที่ ๓ ผู้ฟ้องคดี กรมทางหลวง ผู้ถูกฟ้องคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่งธนบุรี
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๓
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๑/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งอำนาจศาล ที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาล ในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๖ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายประพันธ์ จิระมงคล ที่ ๑ นายชัย นิติวัฒนะ ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่๖๒๔/๒๕๔๖ ความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจการธนาคาร เป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเอช-เอน การพิมพ์ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๒๖ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอนการพิมพ์ ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยจดทะเบียนจำนองเครื่องพิมพ์รวมสองเครื่อง ในวงเงิน๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาหนี้ถึงกำหนดชำระ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอช-เอน การพิมพ์ ผิดนัด ไม่ชำระหนี้โจทก์บอกเลิกสัญญานับแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๓โดยมีหนี้ค้างชำระ จำนวน ๖๗๙,๕๕๙ บาท เมื่อประมาณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕ โจทก์ขอตรวจสอบหนังสือรับรอง การจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอน การพิมพ์ เพื่อฟ้องเรียกหนี้คืนปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอน การพิมพ์ ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วน และแต่งตั้งจำเลยที่ ๑หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ชำระบัญชี โดยเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน๒๕๓๙จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีต่อจำเลยที่ ๒ ในฐานะนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร และจำเลยที่ ๒ ได้รับจดทะเบียนดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๓๙ โดยไม่ได้ส่งมอบคำบอกกล่าวให้โจทก์ผู้มีชื่อเป็นเจ้าหนี้ในสมุดบัญชีและเอกสารของห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ การทำงบดุลและการอนุมัติงบดุลไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ และไม่ได้วางทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ แทนการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการชำระบัญชี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะทุจริต เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอนการพิมพ์ และจำเลยที่ ๑ ในฐานะส่วนตัวและผู้ค้ำประกัน หลุดพ้นการชำระหนี้และการบังคับจำนองที่มีต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และต่อมา จำเลยที่ ๑ ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยจำเลยที่ ๒ เป็นผู้รับจดทะเบียน เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๓๙ การรับจดทะเบียนดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกันเพราะถือได้ว่า จำเลยที่ ๒ ได้รู้ถึงการกระทำอันไม่ชอบของจำเลยที่ ๑แล้ว จึงขอให้ศาลพิพากษาว่าการชำระบัญชี ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอนการพิมพ์ โดยจำเลยที่ ๑ ผู้ชำระบัญชีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้จำเลยที่ ๑ ชำระบัญชีใหม่และให้เพิกถอนคำสั่งรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของจำเลยที่ ๒
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ก่อนที่จะชำระบัญชี โจทก์แจ้งให้ทราบว่านำเงินที่ห้างฯ ฝากไว้กับโจทก์มาหักกลบลบหนี้กันแล้ว ห้างฯ จึงมิได้เป็นหนี้โจทก์ จำเลยที่ ๑ จึงไม่จำต้องระบุชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ในงบดุลหรือนำส่งคำบอกกล่าวแก่โจทก์อีก การชำระบัญชีของห้างฯ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้วขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ ๒ ให้การโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลว่า คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เพราะโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๒ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนคำสั่งรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีอันเป็นคำสั่งทางปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) โจทก์ได้ชี้แจงเรื่องเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ ๒อันเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ชำระบัญชี ได้ทำการชำระบัญชีโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างและจำเลยที่ ๒ ในฐานะนายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยเลินเล่อไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนรับจดทะเบียนมูลคดีจึงเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของจำเลยที่ ๒ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินการทางปกครองแต่อย่างใด คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้ยื่นขอจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีต่อจำเลยที่ ๒ ในฐานะนายทะเบียนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ ๒ รับจดทะเบียนให้จึงเป็นการรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นพิพาทแห่งคดีนี้จำต้องพิจารณาถึงการกระทำของจำเลยที่ ๑ เป็นหลักสำคัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด และระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วย การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. ๒๕๓๘ อันเป็นขั้นตอนวิธีการที่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ แล้วจึงพิจารณาถึงการกระทำของจำเลยที่ ๒ กรณีพิพาทจึงไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ อันจะถือเป็นการกระทำทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะเลิกห้างได้นั้นจะต้องดำเนินการชำระบัญชีและจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนต่อนายทะเบียนตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัท แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับหมวด ๑๘ ว่าด้วยการจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนและบริษัท แห่งระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๓๘ ตามกฎหมายดังกล่าวได้ให้อำนาจจำเลยที่ ๒รับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีให้กับจำเลยที่ ๑ การรับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทำให้การเป็นนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนสิ้นสุดลงจึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะระงับ หรือมีผลกระทบ ต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล อันเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ ดังนั้นเมื่อมีข้อโต้แย้งว่าจำเลยที่ ๒รับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิได้ตรวจสอบให้ชัดเจนว่าจำเลยที่ ๑ ได้ดำเนินการชำระบัญชีโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ เมื่อจำเลยที่ ๑มิได้ดำเนินการชำระบัญชีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การรับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนให้กับจำเลยที่ ๑ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย เหตุแห่งการฟ้องคดีจึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ออกคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้คดีนี้ จะมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยก่อนว่าการกระทำของจำเลยที่ ๑ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม แต่ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นเกี่ยวพันกับประเด็นการรับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีของจำเลยที่ ๒ อันเป็นประเด็นหลัก ศาลปกครองจึงมีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นหลักดังกล่าวได้ ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ชำระบัญชีใหม่ และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ สรุปได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอน การพิมพ์ ต่อมาห้างฯโดยจำเลยที่ ๑ ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชี ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีต่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นนายทะเบียน โดยไม่ส่ง คำบอกกล่าวให้โจทก์ทราบ ทั้งการทำงบดุลและการอนุมัติงบดุลก็ไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ แต่จำเลยที่๒ ก็ยังรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีให้แก่ห้างฯ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้ห้างฯ และจำเลยที่ ๑ หลุดพ้นจากการชำระหนี้ดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า โจทก์หักกลบลบหนี้พิพาทเอาจากเงินฝากของห้างฯ ที่ฝากไว้กับโจทก์ ห้างฯ จึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์แล้ว และไม่จำต้องส่งคำบอกกล่าว ทั้งระบุชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้การชำระบัญชี ของห้างฯ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว คดีนี้ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าการชำระบัญชี ของห้างฯ โดยจำเลยที่ ๑ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด และระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. ๒๕๓๘ หรือไม่ซึ่งเป็นขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ หากการชำระบัญชีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ย่อมจะทำให้สภาพความเป็นนิติบุคคลของห้างฯ ตลอดจนสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆสิ้นสุดลง แต่หากการชำระบัญชีไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว สภาพบุคคล สิทธิ หน้าที่ดังกล่าวก็จะไม่สิ้นสุด อันเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ และสภาพความเป็นบุคคลของห้างฯ ในทางแพ่ง แล้วศาลจึงจะพิจารณาได้ว่าการรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของจำเลยที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการรับจดทะเบียนชำระบัญชีเสร็จของจำเลยที่ ๒ ตามคำฟ้องคดีนี้นั้น เป็นขั้นตอนที่กฎหมายแพ่งกำหนดให้ผู้ชำระบัญชีนำความไปแจ้งแก่นายทะเบียน รวมทั้งส่งมอบบรรดาสมุดและบัญชีไว้ให้ด้วย และผู้มีส่วนได้เสียสามารถขอตรวจดูได้เท่านั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๗๐ และมาตรา ๑๒๗๑)การจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีมิได้ทำให้นิติสัมพันธ์ หรือสถานภาพของห้างฯ หรือของโจทก์จะเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ส่วนนิติสัมพันธ์ระหว่างห้างฯ กับโจทก์หรือสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของห้างฯ จะระงับหรือมีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงสิทธิในทางแพ่ง มิใช่จากการจดทะเบียน
เมื่อศาลจำต้องพิจารณาถึงสิทธิในทางแพ่งของห้างฯ ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และเป็นเอกชนด้วยกันเป็นสำคัญแล้ว ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ชำระบัญชีใหม่ และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ระหว่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) โจทก์ นายประพันธ์ จิระมงคล ที่ ๑ นายชัย นิติวัฒนะ ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๑/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งอำนาจศาล ที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาล ในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๖ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายประพันธ์ จิระมงคล ที่ ๑ นายชัย นิติวัฒนะ ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นคดีหมายเลขดำที่๖๒๔/๒๕๔๖ ความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจการธนาคาร เป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเอช-เอน การพิมพ์ เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๒๖ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอนการพิมพ์ ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยจดทะเบียนจำนองเครื่องพิมพ์รวมสองเครื่อง ในวงเงิน๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาหนี้ถึงกำหนดชำระ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอช-เอน การพิมพ์ ผิดนัด ไม่ชำระหนี้โจทก์บอกเลิกสัญญานับแต่วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๓โดยมีหนี้ค้างชำระ จำนวน ๖๗๙,๕๕๙ บาท เมื่อประมาณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕ โจทก์ขอตรวจสอบหนังสือรับรอง การจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอน การพิมพ์ เพื่อฟ้องเรียกหนี้คืนปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอน การพิมพ์ ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วน และแต่งตั้งจำเลยที่ ๑หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ชำระบัญชี โดยเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน๒๕๓๙จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีต่อจำเลยที่ ๒ ในฐานะนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร และจำเลยที่ ๒ ได้รับจดทะเบียนดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๓๙ โดยไม่ได้ส่งมอบคำบอกกล่าวให้โจทก์ผู้มีชื่อเป็นเจ้าหนี้ในสมุดบัญชีและเอกสารของห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ การทำงบดุลและการอนุมัติงบดุลไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ และไม่ได้วางทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ แทนการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการชำระบัญชี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะทุจริต เพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอนการพิมพ์ และจำเลยที่ ๑ ในฐานะส่วนตัวและผู้ค้ำประกัน หลุดพ้นการชำระหนี้และการบังคับจำนองที่มีต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และต่อมา จำเลยที่ ๑ ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยจำเลยที่ ๒ เป็นผู้รับจดทะเบียน เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๓๙ การรับจดทะเบียนดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกันเพราะถือได้ว่า จำเลยที่ ๒ ได้รู้ถึงการกระทำอันไม่ชอบของจำเลยที่ ๑แล้ว จึงขอให้ศาลพิพากษาว่าการชำระบัญชี ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอนการพิมพ์ โดยจำเลยที่ ๑ ผู้ชำระบัญชีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้จำเลยที่ ๑ ชำระบัญชีใหม่และให้เพิกถอนคำสั่งรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของจำเลยที่ ๒
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ก่อนที่จะชำระบัญชี โจทก์แจ้งให้ทราบว่านำเงินที่ห้างฯ ฝากไว้กับโจทก์มาหักกลบลบหนี้กันแล้ว ห้างฯ จึงมิได้เป็นหนี้โจทก์ จำเลยที่ ๑ จึงไม่จำต้องระบุชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ในงบดุลหรือนำส่งคำบอกกล่าวแก่โจทก์อีก การชำระบัญชีของห้างฯ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้วขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ ๒ ให้การโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลว่า คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง เพราะโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๒ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนคำสั่งรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีอันเป็นคำสั่งทางปกครอง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) โจทก์ได้ชี้แจงเรื่องเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ ๒อันเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ชำระบัญชี ได้ทำการชำระบัญชีโดยปฏิบัติไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างและจำเลยที่ ๒ ในฐานะนายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยเลินเล่อไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนรับจดทะเบียนมูลคดีจึงเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของจำเลยที่ ๒ไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินการทางปกครองแต่อย่างใด คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้ยื่นขอจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีต่อจำเลยที่ ๒ ในฐานะนายทะเบียนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ ๒ รับจดทะเบียนให้จึงเป็นการรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นพิพาทแห่งคดีนี้จำต้องพิจารณาถึงการกระทำของจำเลยที่ ๑ เป็นหลักสำคัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด และระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วย การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. ๒๕๓๘ อันเป็นขั้นตอนวิธีการที่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ แล้วจึงพิจารณาถึงการกระทำของจำเลยที่ ๒ กรณีพิพาทจึงไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ อันจะถือเป็นการกระทำทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะเลิกห้างได้นั้นจะต้องดำเนินการชำระบัญชีและจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนต่อนายทะเบียนตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัท แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับหมวด ๑๘ ว่าด้วยการจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนและบริษัท แห่งระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๓๘ ตามกฎหมายดังกล่าวได้ให้อำนาจจำเลยที่ ๒รับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีให้กับจำเลยที่ ๑ การรับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทำให้การเป็นนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนสิ้นสุดลงจึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะระงับ หรือมีผลกระทบ ต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล อันเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ ดังนั้นเมื่อมีข้อโต้แย้งว่าจำเลยที่ ๒รับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิได้ตรวจสอบให้ชัดเจนว่าจำเลยที่ ๑ ได้ดำเนินการชำระบัญชีโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ เมื่อจำเลยที่ ๑มิได้ดำเนินการชำระบัญชีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว การรับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนให้กับจำเลยที่ ๑ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย เหตุแห่งการฟ้องคดีจึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ออกคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้คดีนี้ จะมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยก่อนว่าการกระทำของจำเลยที่ ๑ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม แต่ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นเกี่ยวพันกับประเด็นการรับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีของจำเลยที่ ๒ อันเป็นประเด็นหลัก ศาลปกครองจึงมีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นหลักดังกล่าวได้ ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ชำระบัญชีใหม่ และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องคดีนี้ สรุปได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด เอช-เอน การพิมพ์ ต่อมาห้างฯโดยจำเลยที่ ๑ ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชี ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีต่อจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นนายทะเบียน โดยไม่ส่ง คำบอกกล่าวให้โจทก์ทราบ ทั้งการทำงบดุลและการอนุมัติงบดุลก็ไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ แต่จำเลยที่๒ ก็ยังรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีให้แก่ห้างฯ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทำให้ห้างฯ และจำเลยที่ ๑ หลุดพ้นจากการชำระหนี้ดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนจำเลยที่ ๑ ให้การว่า โจทก์หักกลบลบหนี้พิพาทเอาจากเงินฝากของห้างฯ ที่ฝากไว้กับโจทก์ ห้างฯ จึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์แล้ว และไม่จำต้องส่งคำบอกกล่าว ทั้งระบุชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้การชำระบัญชี ของห้างฯ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว คดีนี้ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าการชำระบัญชี ของห้างฯ โดยจำเลยที่ ๑ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด และระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. ๒๕๓๘ หรือไม่ซึ่งเป็นขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ หากการชำระบัญชีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ย่อมจะทำให้สภาพความเป็นนิติบุคคลของห้างฯ ตลอดจนสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆสิ้นสุดลง แต่หากการชำระบัญชีไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว สภาพบุคคล สิทธิ หน้าที่ดังกล่าวก็จะไม่สิ้นสุด อันเป็นกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ และสภาพความเป็นบุคคลของห้างฯ ในทางแพ่ง แล้วศาลจึงจะพิจารณาได้ว่าการรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของจำเลยที่ ๒ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการรับจดทะเบียนชำระบัญชีเสร็จของจำเลยที่ ๒ ตามคำฟ้องคดีนี้นั้น เป็นขั้นตอนที่กฎหมายแพ่งกำหนดให้ผู้ชำระบัญชีนำความไปแจ้งแก่นายทะเบียน รวมทั้งส่งมอบบรรดาสมุดและบัญชีไว้ให้ด้วย และผู้มีส่วนได้เสียสามารถขอตรวจดูได้เท่านั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๗๐ และมาตรา ๑๒๗๑)การจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีมิได้ทำให้นิติสัมพันธ์ หรือสถานภาพของห้างฯ หรือของโจทก์จะเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ส่วนนิติสัมพันธ์ระหว่างห้างฯ กับโจทก์หรือสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของห้างฯ จะระงับหรือมีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงสิทธิในทางแพ่ง มิใช่จากการจดทะเบียน
เมื่อศาลจำต้องพิจารณาถึงสิทธิในทางแพ่งของห้างฯ ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ และเป็นเอกชนด้วยกันเป็นสำคัญแล้ว ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดชำระบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ชำระบัญชีใหม่ และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ระหว่าง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) โจทก์ นายประพันธ์ จิระมงคล ที่ ๑ นายชัย นิติวัฒนะ ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๐/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองสงขลา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดตรัง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองสงขลาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายถาวร หาบสา โดยนายบุญยืน หาบสา ผู้รับมอบอำนาจ ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะ กิ่งอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ต่อศาลปกครองสงขลา เป็นคดีหมายเลขดำที่๑๔๕/๒๕๔๕ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๕๑๓ บ้านทุ่งเปรว หมู่ที่ ๓ตำบลตะเสะ กิ่งอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรังเมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๔ นายปรีชา หลงกลางประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะได้นำชี้และสั่งให้มีการขุดขยายคูน้ำธรรมชาติตามโครงการที่ได้รับอนุมัติโดยกรรมการบริหารของผู้ถูกฟ้องคดี รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยไม่มีเจ้าพนักงานที่ดินหรือบุคคลที่นายอำเภอมอบหมายและเจ้าของที่ดินข้างเคียงร่วมชี้แนวเขตที่ถูกต้อง ซึ่งขณะนั้น ผู้ฟ้องคดีไม่อยู่ คนในครอบครัวของผู้ฟ้องคดีได้ร่วมกันคัดค้านการกระทำดังกล่าว แต่นายปรีชาฯ ยังคงดำเนินการต่อไป ทำให้ดินทรุดตัวพังทลายลงมา รั้วบ้านทรุดตัวตามแนวดินไม่สามารถใช้งานได้ ต่อมา ผู้ฟ้องคดีจึงเข้าพบนายนิคม ชายหมาด ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะ และตกลงกันว่าจะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม แต่ไม่มีการดำเนินการตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษฐานบุกรุกต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหาดสำราญ และได้ยื่นคำร้องขอสอบเขตที่ดินต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดตรัง ส่วนแยกย่านตาขาว จังหวัดตรัง จึงได้มีการสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีปรากฏว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีได้รุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีตลอดแนวทิศเหนือเลยหมุดหลักเขตประมาณ ๒.๑๐ เมตร ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้คณะกรรมการจังหวัดตรังและกิ่งอำเภอหาดสำราญแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเอาผิดกับคณะผู้บริหารของผู้ถูกฟ้องคดี ให้ผู้ถูกฟ้องคดีหยุดดำเนินการและระงับโครงการดังกล่าว และสั่งให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเข้าทำการแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่เสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีและครอบครัว แต่ศาลปกครองสงขลาได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๙๖/๒๕๔๕ เนื่องจากเห็นว่า การขุดคลองขยายคูน้ำซึ่งเป็นเหตุให้มีการบุกรุกที่ดินของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของผู้ถูกฟ้องคดี มิใช่เป็นการกระทำที่ใช้อำนาจตามกฎหมาย คดีนี้จึงมิใช่คดีปกครอง เพราะไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้ ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองสงขลาที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาโดยโต้แย้งว่า ความเสียหายของผู้ฟ้องคดีเกิดจากการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีนายปรีชา หลงกลางซึ่งเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะเป็นผู้ควบคุมการขุด จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีรับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียหายด้วย ซึ่งต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ ๖๔๒/๒๕๔๕ ให้ศาลปกครองสงขลาดำเนินการต่อไป เนื่องจากการขุดลอกคูน้ำสาธารณะของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจสั่งการและกำกับดูแลการดำเนินการ ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในการจัดทำกิจการของผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อการกระทำเช่นว่านั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีและผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒คดีพิพาทนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งได้
ผู้ฟ้องคดีจึงเสนอคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมต่อศาลปกครองสงขลาเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน๒๕๔๖ โดยมีคำขอท้ายฟ้องให้องค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะทำหนังสือยอมรับผิดกับชดใช้ค่าเสียหาย เป็นเงินจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท และให้ถมที่ส่วนที่พังทรุดตัว ทั้งปลูกต้นไม้ทดแทน
ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำให้การและคำให้การเพิ่มเติมปฏิเสธว่า การขุดลอกขยายคูน้ำของผู้ฟ้องคดีได้ยึดถือแนวธรรมชาติที่ปรากฏอยู่เดิมและระวางที่ดินซึ่งแสดงแนวเขตเหมืองสาธารณประโยชน์ ตลอดจนแนวเขตแสดงสิทธิของราษฎรเป็นสำคัญ ในระหว่างการก่อสร้างได้มีเจ้าของที่ดินใกล้เคียงและเจ้าของที่ดินที่ขุดผ่านมาตรวจสอบดูแลระวังแนวเขตของตนเองจนสิ้นสุดโครงการโดยมิได้มีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด ประกอบกับการขุดลอกนั้นอยู่ห่างจากแนวเขตรั้วบ้านของผู้ฟ้องคดีอีกประมาณ ๒ เมตร เหตุที่เกิดมิใช่ความผิดของผู้ถูกฟ้องคดี หากแต่เกิดจากภัยธรรมชาติอันเป็นเหตุสุดวิสัย การนำคดีมาฟ้องต่อศาลของผู้ฟ้องคดีทั้งที่ทราบเหตุดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ก่อนวันนั่งพิจารณาครั้งแรก ผู้ถูกฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่าข้อเท็จจริงปรากฏในคำคัดค้านคำให้การของผู้ฟ้องคดีว่า ผู้ฟ้องคดีได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหาดสำราญให้ดำเนินคดีอาญา นายปรีชา หลงกลาง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะและประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะในความผิดฐานบุกรุกขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดตรัง ซึ่งหากศาลจังหวัดตรังได้พิพากษาในความผิดฐานบุกรุกแล้วจะทำให้มีผลเกี่ยวพันกับความรับผิดในทางแพ่ง อันเป็นผลทำให้ศาลปกครองสงขลาไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๙
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ด้วยเหตุที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ ๖๕๒/๒๕๔๕ (ที่ถูกต้องคือ คำสั่งที่ ๖๔๒/๒๕๔๕) ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๕ ให้ศาลปกครองชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกฟ้องคดีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะอนุมัติให้ขุดลอกทางระบายน้ำดังกล่าว เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีได้ทำการขุดขยายเหมืองน้ำธรรมชาติ ด้านทิศเหนือติดกำแพงรั้วคอนกรีตบ้านพักอาศัยของผู้ฟ้องคดี โดยได้ทำการละเมิดขุดรุกล้ำเลยหมุดหลักเขตที่ดินเข้ามาในที่ดินเขตบ้านผู้ฟ้องคดี ทำให้แนวกำแพงหักและทรุดโทรมเสียหาย จึงเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสงขลา
ศาลปกครองสงขลาเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นการจัดให้มีและบำรุงรักษาสิ่งสาธารณูปโภคและการให้บริการสาธารณะในเขตความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดี ตามมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ผู้ถูกฟ้องคดีขุดลอกขยายคูน้ำสาธารณะโดยประธานสภาของผู้ถูกฟ้องคดีได้นำชี้ให้มีการขุดขยายคูน้ำเป็นการใช้อำนาจสั่งการและกำกับดูแลการดำเนินการ ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในการจัดทำกิจกรรมของผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีและผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นคดีพิพาทอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเห็นว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดตรังเห็นว่า ตามฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่า ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีให้การต่อสู้ว่า ในการขุดลอกคูระบายน้ำได้ถือแนวธรรมชาติที่ปรากฏอยู่เดิมและระวางที่ดินซึ่งแสดงแนวเขตเหมืองสาธารณประโยชน์ แสดงว่าคู่กรณียังโต้แย้งกันเกี่ยวกับเรื่องสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามข้ออ้างหรือไม่ จึงจะสามารถพิจารณาเกี่ยวกับความเสียหายของผู้ฟ้องคดีและข้อต่อสู้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่อ้างว่าไม่ได้กระทำการตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวหาต่อไปได้ การพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๙๘ และมาตรา ๑๓๐๔และยังต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดตรัง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การคดีนี้สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีขุดลอกคูน้ำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นเหตุให้ที่ดินและรั้วของผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายและทำที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิม ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การขุดลอกขยายคูน้ำได้ยึดถือแนวธรรมชาติที่ปรากฏอยู่เดิม และระวางที่ดินซึ่งแสดงแนวเขตเหมืองสาธารณประโยชน์ ตลอดจนแนวเขตแสดงสิทธิของราษฎรเป็นสำคัญ ในระหว่างก่อสร้างได้มีเจ้าของที่ดินใกล้เคียงและเจ้าของที่ดินที่ขุดผ่านมาตรวจสอบดูแลระวังแนวเขตของตนเองจนสิ้นสุดโครงการโดยมิได้มีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ อีกทั้งการขุดลอกคูน้ำดังกล่าวก็ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ความเสียหายของรั้วที่เกิดขึ้นมิใช่ความผิดของผู้ถูกฟ้องคดี แต่เกิดจากกระแสน้ำพัดเซาะดินอันเป็นภัยธรรมชาติซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย ดังนั้น ในคดีนี้ คู่กรณียังคงโต้แย้งกันอยู่ว่า การขุดลอกคูน้ำของผู้ถูกฟ้องคดีได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีกระทำละเมิดหรือไม่ ดังนั้น จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันเป็นกรณีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่าง นายถาวร หาบสา ผู้ฟ้องคดี กับองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดตรัง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๓๐/๒๕๔๗
วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗
เรื่อง อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองสงขลา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดตรัง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองสงขลาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายถาวร หาบสา โดยนายบุญยืน หาบสา ผู้รับมอบอำนาจ ยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะ กิ่งอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง ต่อศาลปกครองสงขลา เป็นคดีหมายเลขดำที่๑๔๕/๒๕๔๕ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๕๑๓ บ้านทุ่งเปรว หมู่ที่ ๓ตำบลตะเสะ กิ่งอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรังเมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๔ นายปรีชา หลงกลางประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะได้นำชี้และสั่งให้มีการขุดขยายคูน้ำธรรมชาติตามโครงการที่ได้รับอนุมัติโดยกรรมการบริหารของผู้ถูกฟ้องคดี รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ฟ้องคดี โดยไม่มีเจ้าพนักงานที่ดินหรือบุคคลที่นายอำเภอมอบหมายและเจ้าของที่ดินข้างเคียงร่วมชี้แนวเขตที่ถูกต้อง ซึ่งขณะนั้น ผู้ฟ้องคดีไม่อยู่ คนในครอบครัวของผู้ฟ้องคดีได้ร่วมกันคัดค้านการกระทำดังกล่าว แต่นายปรีชาฯ ยังคงดำเนินการต่อไป ทำให้ดินทรุดตัวพังทลายลงมา รั้วบ้านทรุดตัวตามแนวดินไม่สามารถใช้งานได้ ต่อมา ผู้ฟ้องคดีจึงเข้าพบนายนิคม ชายหมาด ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะ และตกลงกันว่าจะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม แต่ไม่มีการดำเนินการตามที่ตกลงกันไว้ ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษฐานบุกรุกต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหาดสำราญ และได้ยื่นคำร้องขอสอบเขตที่ดินต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดตรัง ส่วนแยกย่านตาขาว จังหวัดตรัง จึงได้มีการสอบเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีปรากฏว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีได้รุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของผู้ฟ้องคดีตลอดแนวทิศเหนือเลยหมุดหลักเขตประมาณ ๒.๑๐ เมตร ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้คณะกรรมการจังหวัดตรังและกิ่งอำเภอหาดสำราญแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเอาผิดกับคณะผู้บริหารของผู้ถูกฟ้องคดี ให้ผู้ถูกฟ้องคดีหยุดดำเนินการและระงับโครงการดังกล่าว และสั่งให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเข้าทำการแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่เสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีและครอบครัว แต่ศาลปกครองสงขลาได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๙๖/๒๕๔๕ เนื่องจากเห็นว่า การขุดคลองขยายคูน้ำซึ่งเป็นเหตุให้มีการบุกรุกที่ดินของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของผู้ถูกฟ้องคดี มิใช่เป็นการกระทำที่ใช้อำนาจตามกฎหมาย คดีนี้จึงมิใช่คดีปกครอง เพราะไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้ ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองสงขลาที่ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาโดยโต้แย้งว่า ความเสียหายของผู้ฟ้องคดีเกิดจากการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีนายปรีชา หลงกลางซึ่งเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะเป็นผู้ควบคุมการขุด จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีรับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียหายด้วย ซึ่งต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ ๖๔๒/๒๕๔๕ ให้ศาลปกครองสงขลาดำเนินการต่อไป เนื่องจากการขุดลอกคูน้ำสาธารณะของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจสั่งการและกำกับดูแลการดำเนินการ ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในการจัดทำกิจการของผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อการกระทำเช่นว่านั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีและผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒คดีพิพาทนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งได้
ผู้ฟ้องคดีจึงเสนอคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมต่อศาลปกครองสงขลาเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน๒๕๔๖ โดยมีคำขอท้ายฟ้องให้องค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะทำหนังสือยอมรับผิดกับชดใช้ค่าเสียหาย เป็นเงินจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท และให้ถมที่ส่วนที่พังทรุดตัว ทั้งปลูกต้นไม้ทดแทน
ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำให้การและคำให้การเพิ่มเติมปฏิเสธว่า การขุดลอกขยายคูน้ำของผู้ฟ้องคดีได้ยึดถือแนวธรรมชาติที่ปรากฏอยู่เดิมและระวางที่ดินซึ่งแสดงแนวเขตเหมืองสาธารณประโยชน์ ตลอดจนแนวเขตแสดงสิทธิของราษฎรเป็นสำคัญ ในระหว่างการก่อสร้างได้มีเจ้าของที่ดินใกล้เคียงและเจ้าของที่ดินที่ขุดผ่านมาตรวจสอบดูแลระวังแนวเขตของตนเองจนสิ้นสุดโครงการโดยมิได้มีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด ประกอบกับการขุดลอกนั้นอยู่ห่างจากแนวเขตรั้วบ้านของผู้ฟ้องคดีอีกประมาณ ๒ เมตร เหตุที่เกิดมิใช่ความผิดของผู้ถูกฟ้องคดี หากแต่เกิดจากภัยธรรมชาติอันเป็นเหตุสุดวิสัย การนำคดีมาฟ้องต่อศาลของผู้ฟ้องคดีทั้งที่ทราบเหตุดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ก่อนวันนั่งพิจารณาครั้งแรก ผู้ถูกฟ้องคดีได้ยื่นคำร้องโต้แย้งอำนาจศาลว่าข้อเท็จจริงปรากฏในคำคัดค้านคำให้การของผู้ฟ้องคดีว่า ผู้ฟ้องคดีได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอหาดสำราญให้ดำเนินคดีอาญา นายปรีชา หลงกลาง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะและประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะในความผิดฐานบุกรุกขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดตรัง ซึ่งหากศาลจังหวัดตรังได้พิพากษาในความผิดฐานบุกรุกแล้วจะทำให้มีผลเกี่ยวพันกับความรับผิดในทางแพ่ง อันเป็นผลทำให้ศาลปกครองสงขลาไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๙
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของผู้ถูกฟ้องคดีอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ด้วยเหตุที่ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นหน่วยงานทางปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ ๖๕๒/๒๕๔๕ (ที่ถูกต้องคือ คำสั่งที่ ๖๔๒/๒๕๔๕) ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๕ ให้ศาลปกครองชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกฟ้องคดีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะอนุมัติให้ขุดลอกทางระบายน้ำดังกล่าว เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีได้ทำการขุดขยายเหมืองน้ำธรรมชาติ ด้านทิศเหนือติดกำแพงรั้วคอนกรีตบ้านพักอาศัยของผู้ฟ้องคดี โดยได้ทำการละเมิดขุดรุกล้ำเลยหมุดหลักเขตที่ดินเข้ามาในที่ดินเขตบ้านผู้ฟ้องคดี ทำให้แนวกำแพงหักและทรุดโทรมเสียหาย จึงเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสงขลา
ศาลปกครองสงขลาเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นการจัดให้มีและบำรุงรักษาสิ่งสาธารณูปโภคและการให้บริการสาธารณะในเขตความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดี ตามมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ผู้ถูกฟ้องคดีขุดลอกขยายคูน้ำสาธารณะโดยประธานสภาของผู้ถูกฟ้องคดีได้นำชี้ให้มีการขุดขยายคูน้ำเป็นการใช้อำนาจสั่งการและกำกับดูแลการดำเนินการ ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในการจัดทำกิจกรรมของผู้ถูกฟ้องคดี เมื่อการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีและผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นคดีพิพาทอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเห็นว่า คดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดตรังเห็นว่า ตามฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่า ผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจตามกฎหมายกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีให้การต่อสู้ว่า ในการขุดลอกคูระบายน้ำได้ถือแนวธรรมชาติที่ปรากฏอยู่เดิมและระวางที่ดินซึ่งแสดงแนวเขตเหมืองสาธารณประโยชน์ แสดงว่าคู่กรณียังโต้แย้งกันเกี่ยวกับเรื่องสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามข้ออ้างหรือไม่ จึงจะสามารถพิจารณาเกี่ยวกับความเสียหายของผู้ฟ้องคดีและข้อต่อสู้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่อ้างว่าไม่ได้กระทำการตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวหาต่อไปได้ การพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๙๘ และมาตรา ๑๓๐๔และยังต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายที่ดินประกอบด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดตรัง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การคดีนี้สรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกฟ้องคดีขุดลอกคูน้ำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นเหตุให้ที่ดินและรั้วของผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายและทำที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิม ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การขุดลอกขยายคูน้ำได้ยึดถือแนวธรรมชาติที่ปรากฏอยู่เดิม และระวางที่ดินซึ่งแสดงแนวเขตเหมืองสาธารณประโยชน์ ตลอดจนแนวเขตแสดงสิทธิของราษฎรเป็นสำคัญ ในระหว่างก่อสร้างได้มีเจ้าของที่ดินใกล้เคียงและเจ้าของที่ดินที่ขุดผ่านมาตรวจสอบดูแลระวังแนวเขตของตนเองจนสิ้นสุดโครงการโดยมิได้มีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ อีกทั้งการขุดลอกคูน้ำดังกล่าวก็ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ความเสียหายของรั้วที่เกิดขึ้นมิใช่ความผิดของผู้ถูกฟ้องคดี แต่เกิดจากกระแสน้ำพัดเซาะดินอันเป็นภัยธรรมชาติซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย ดังนั้น ในคดีนี้ คู่กรณียังคงโต้แย้งกันอยู่ว่า การขุดลอกคูน้ำของผู้ถูกฟ้องคดีได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะพิจารณาได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีกระทำละเมิดหรือไม่ ดังนั้น จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันเป็นกรณีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่าง นายถาวร หาบสา ผู้ฟ้องคดี กับองค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดตรัง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
อำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๙/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดมีนบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดมีนบุรีส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลหนึ่งแต่ศาลนั้นไม่รับฟ้อง เพราะเหตุว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
นายแฉล้ม คุปตารักษ์ โดยนางสาวจีระพรรณ รามอินทรา ในฐานะผู้จัดการมรดก ที่ ๑ นางสาวเติมใจ ฉิมภิรมย์ โดยนางสาวจีระพรรณ รามอินทรา ในฐานะผู้จัดการมรดก ที่ ๒ นางสาวจารุณี รามอินทรา ที่ ๓ นางสาวจีระพรรณ รามอินทรา ที่ ๔ ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้อง กรุงเทพมหานคร ที่ ๑ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ที่ ๒ สำนักงานเขตคลองสามวา ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง ข้อเท็จจริงสรุปได้ความว่า ผู้ฟ้องคดีกับพวกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๗๐ ตำบลสามวาตะวันออก อำเภอมีนบุรี(ปัจจุบันอยู่ในเขตคลองสามวา) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๑๓๗ ไร่ ๑ งาน ๑๖ ตารางวา ต่อมาได้มีการสร้างถนนนิมิตรใหม่เป็นถนนลาดยางขนาดกว้าง ๓๐ เมตร ผ่ากลางที่ดินดังกล่าวโดยมีแนวเสาไฟฟ้าเป็นแนวเขตถนน และที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ใกล้กับคลองสามจึงได้มีการสร้างสะพานข้ามคลองขนาดกว้างเท่ากับถนนและสูงกว่าพื้นถนนไม่มากนัก โดยมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าของโครงการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้จัดทำและอนุมัติแบบในการก่อสร้าง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ผู้ฟ้องคดีได้ขอแบ่งแยกที่ดินเป็นสองแปลงเพื่อให้เป็นไปตามสภาพที่เป็นจริงและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกให้แล้ว คือส่วนที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของถนนนิมิตรใหม่ เลขที่ดิน๕๐๕ มีเนื้อที่ ๓๘ ไร่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวา และส่วนที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของถนนนิมิตรใหม่เลขที่ดิน ๔๙๔ มีเนื้อที่ ๘๙ ไร่ ๒ งาน ๓ ตารางวา แต่เจ้าพนักงานที่ดินยังไม่สามารถออกโฉนดที่ดินให้ได้เพราะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่งได้ถึงแก่ความตาย และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในศาลแพ่ง
หลังจากที่ผู้ฟ้องคดีได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าว ต่อมาอีกประมาณ ๘เดือน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามได้ดำเนินการขยายถนนนิมิตรใหม่และก่อสร้างสะพานข้ามคลองสามใหม่ ตามความกว้างของถนนและมีความสูงกว่าพื้นถนนไม่มากนัก โดยไม่มีทางกลับรถใต้สะพานซึ่งทั้งถนนและสะพานก็อยู่ในเขตถนนที่กำหนดไว้ตามแนวเขตเสาไฟฟ้า โดยมี บริษัทพี.พี.ดี. คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ต่อมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามได้ร่วมกันแก้ไขแบบแปลนของสะพานให้มีระดับสูงขึ้นจากระดับของแบบแปลนเดิมเป็นอันมาก เพื่อต้องการให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ได้ใช้กลับรถใต้สะพาน ทำให้ความลาดชันของสะพานยาวมากกว่าเดิม ปิดหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดีตลอดแปลงทั้งสองด้าน เป็นเหตุให้ทำเลที่ตั้งที่ดินของผู้ฟ้องคดีมีลักษณะด้อยกว่าที่ดินแปลงอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และมีการทำถนนบริเวณเชิงสะพานทั้งสองข้าง ทำให้ถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามและบริษัท พี.พี.ดี.คอนสตรัคชั่น จำกัด ต่างทราบดีอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เคยแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบและไม่เคยขออนุญาตผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด เมื่อผู้ฟ้องคดีทราบเหตุดังกล่าวแล้วได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนิมิตรใหม่ และสอบถามไปยังบริษัทพี.พี.ดี. คอนสตรัคชั่น จำกัด แล้วได้ความว่า ก่อนดำเนินการได้แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทราบถึงการรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แจ้งให้ดำเนินการไปเลยโดยจะเป็นผู้ติดต่อเจรจากับผู้ฟ้องคดีเอง เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ไปติดต่อกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ กลับบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้รายละเอียด นอกจากนี้ระหว่างการก่อสร้างถนนและสะพานดังกล่าว ได้มีการสร้างถนนเป็นทางชั่วคราวในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองแปลง จำนวนสองเส้น คือ ทางเชื่อม (ทางเบี่ยง)เข้าออกระหว่างถนนนิมิตรใหม่กับถนนทางเข้า-ออกวัดสุทธิสะอาดและทางกลับรถใต้สะพานเส้นหนึ่ง และทางเชื่อม (ทางเบี่ยง) เข้าออกระหว่างถนนนิมิตรใหม่กับถนนเลียบคลองสาม (ที่หลวงริมคลองสาม) และทางกลับรถใต้สะพานอีกเส้นหนึ่ง
ผู้ฟ้องคดีจึงขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาและกำหนดคำบังคับดังนี้
๑. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในการสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี รวมเนื้อที่ ๒ ไร่ ๆ ละ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นเงินจำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐บาท และค่าเสียหายในกรณีที่ดินของผู้ฟ้องคดีราคาตกเป็นเงินไร่ละ ๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท รวม๑๒๖ ไร่ เป็นเงิน ๓๕๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งหมดจำนวน ๓๖๒,๘๐๐,๐๐๐บาท
๒. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจัดการรื้อถอนเสาไฟฟ้าออกไปจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี
๓. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจัดการปรับที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามได้ก่อสร้างเป็นถนนชั่วคราว (ทางเบี่ยง) ทั้งสองเส้น ให้อยู่ในสภาพเดิม
๔. ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามระงับการก่อสร้าง และการใช้ที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นถนนทางเบี่ยงให้รถยนต์ทุกชนิดสัญจรเข้า-ออก ระหว่างถนนนิมิตรใหม่กับถนนเข้า-ออก วัดสุทธิสะอาด และทางกลับรถใต้สะพานข้ามคลองสาม กับถนนทางเบี่ยงเข้า-ออกระหว่างถนนนิมิตรใหม่กับถนนเลียบคลองสาม (ที่หลวงริมคลองสาม) กับทางกลับรถใต้สะพานข้ามคลองสาม
ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการแก้ไขแบบแปลนของสะพานและสร้างถนนรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นการกระทำละเมิดและก่อความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีนั้น ศาลได้พิจารณาถึงการกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายเฉพาะใด ๆ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวบรรลุ จึงไม่ใช่การกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย คำฟ้องคดีนี้ไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดในทางปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดในทางแพ่ง จึงไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๕๙๒/๒๕๔๕
ผู้ฟ้องคดีที่ ๔ (โจทก์) จึงนำคดีไปฟ้อง กรุงเทพมหานคร ที่ ๑ บริษัท พี.พี.ดี.คอนสตรัคชั่น จำกัด ที่ ๒ เป็นจำเลย ต่อศาลจังหวัดมีนบุรี โดยมีข้อเท็จจริงและคำขอท้ายคำฟ้องเช่นเดียวกับที่ฟ้องต่อศาลปกครองกลาง
จำเลยที่ ๑ ยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า จำเลยไม่ได้ก่อสร้างสะพานข้ามคลองสามรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แต่ได้ดำเนินการก่อสร้างในแนวเขตทางเดิมซึ่งเป็นทางสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ ๑ ซึ่งจำเลยที่ ๑ ได้ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ไว้ เพื่อความสะดวกของประชาชนในการสัญจรและความเจริญของบ้านเมือง ส่วนการก่อสร้างทางเบี่ยงชั่วคราวประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น จัดทำใช้กันเอง การก่อสร้างสะพานและถนนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
จำเลยที่ ๒ ยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้เนื่องจาก มิได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนอื่น นอกจากนี้ จำเลยที่ ๒ ได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลองสามและขยายถนนนิมิตรใหม่ ตามแบบแปลนที่จำเลยที่ ๑กำหนดเท่านั้น
ศาลจังหวัดมีนบุรีพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เป็นคดีเกี่ยวกับการทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองซึ่งจำเลยที่ ๑ เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีถนนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๖ประกอบมาตรา ๘๙(๖) ดังนั้น จำเลยที่ ๑ ซึ่งถูกฟ้องคดีจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีถนนและสะพาน เมื่อจำเลยที่ ๑ ยอมรับว่าจำเลยที่ ๑ ได้ให้จำเลยที่๒ ก่อสร้างสะพานกลับรถใต้สะพานคลองสามเพื่อให้รถยนต์ได้ใช้วิ่งกลับรถใต้สะพานและเข้าออกสู่ถนนทางเข้าวัดสุทธิสะอาดและถนนเลียบคลองสาม และเป็นการก่อสร้างถนนตามแนวเขตทางเดิมตามเขตทางตามประกาศของกรุงเทพมหานคร เรื่องลงทะเบียนทางหลวงเทศบาลซึ่งประกาศไว้เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๒๙ และยอมรับว่าการแก้ไขแบบแปลนก่อสร้างสะพานข้ามคลองสามให้ระดับสูงขึ้น จากระดับแบบแปลนเดิมอันเนื่องมาจากเป็นความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในชุมชนถนนเลียบคลองสาม หากจำเลยที่ ๑ ไม่แก้ไขแบบแปลนจะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน การกระทำของจำเลยที่ ๑ กรณีจึงเป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องมาจากกระทำโดยไม่มีอำนาจ อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่และไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของจำเลยซึ่งเป็นส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น อันเกิดจากการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ การฟ้องเรียกค่าเสียหายของเอกชนอันเนื่องมาจากการก่อสร้างสะพานข้ามคลองและการปรับปรุงถนนของกรุงเทพมหานคร อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยที่ ๑ ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล และมีหน้าที่บำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๖ ประกอบมาตรา ๘๙(๖) กรุงเทพมหานครจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๓ อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทในมูลละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นระหว่างเอกชนกับหน่วยงานทางปกครอง อันอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองนั้น จะต้องเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง(๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันแก้ไขแบบแปลนของสะพานให้มีระดับสูงขึ้นจากระดับของแบบแปลนเดิม เพื่อต้องการให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ได้ใช้กลับรถใต้สะพาน เมื่อทำการก่อสร้างแล้วทำให้ความลาดชันของสะพานยาวมากกว่าเดิม ปิดหน้าที่ดินของโจทก์ตลอดแปลงทั้งสองด้าน เป็นเหตุให้ทำเลที่ตั้งที่ดินของโจทก์มีลักษณะด้อยกว่าที่ดินแปลงอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ระหว่างการก่อสร้างสะพานและถนนดังกล่าว ได้มีการสร้างถนนเป็นทางชั่วคราวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยให้การเพียงว่าการก่อสร้างสะพานและเชิงลาดกระทำโดยชอบ จำเลยมิได้ก่อสร้างถนนชั่วคราว โดยมิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้กลายเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ฉะนั้น คดีนี้คงมีประเด็นปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การก่อสร้างสะพานข้ามคลองและการปรับปรุงถนนของกรุงเทพมหานคร ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เอกชนหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ ๑ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งได้แก่ การจัดทำถนนหนทางสาธารณะเพื่อใช้ในการคมนาคมขนส่ง อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานครการกระทำตามฟ้องจึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของจำเลยที่ ๑ เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่เอกชน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการก่อสร้างสะพานข้ามคลองและการปรับปรุงถนน ระหว่าง นางสาวจีระพรรณ รามอินทรา โจทก์กรุงเทพมหานคร ที่ ๑ บริษัท พี.พี.ดี.คอนสตรัคชั่น จำกัด ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๖
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๙/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดมีนบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดมีนบุรีส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลหนึ่งแต่ศาลนั้นไม่รับฟ้อง เพราะเหตุว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
นายแฉล้ม คุปตารักษ์ โดยนางสาวจีระพรรณ รามอินทรา ในฐานะผู้จัดการมรดก ที่ ๑ นางสาวเติมใจ ฉิมภิรมย์ โดยนางสาวจีระพรรณ รามอินทรา ในฐานะผู้จัดการมรดก ที่ ๒ นางสาวจารุณี รามอินทรา ที่ ๓ นางสาวจีระพรรณ รามอินทรา ที่ ๔ ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้อง กรุงเทพมหานคร ที่ ๑ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ที่ ๒ สำนักงานเขตคลองสามวา ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง ข้อเท็จจริงสรุปได้ความว่า ผู้ฟ้องคดีกับพวกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๗๐ ตำบลสามวาตะวันออก อำเภอมีนบุรี(ปัจจุบันอยู่ในเขตคลองสามวา) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๑๓๗ ไร่ ๑ งาน ๑๖ ตารางวา ต่อมาได้มีการสร้างถนนนิมิตรใหม่เป็นถนนลาดยางขนาดกว้าง ๓๐ เมตร ผ่ากลางที่ดินดังกล่าวโดยมีแนวเสาไฟฟ้าเป็นแนวเขตถนน และที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ใกล้กับคลองสามจึงได้มีการสร้างสะพานข้ามคลองขนาดกว้างเท่ากับถนนและสูงกว่าพื้นถนนไม่มากนัก โดยมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าของโครงการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นผู้จัดทำและอนุมัติแบบในการก่อสร้าง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ผู้ฟ้องคดีได้ขอแบ่งแยกที่ดินเป็นสองแปลงเพื่อให้เป็นไปตามสภาพที่เป็นจริงและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกให้แล้ว คือส่วนที่อยู่ด้านทิศตะวันตกของถนนนิมิตรใหม่ เลขที่ดิน๕๐๕ มีเนื้อที่ ๓๘ ไร่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวา และส่วนที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของถนนนิมิตรใหม่เลขที่ดิน ๔๙๔ มีเนื้อที่ ๘๙ ไร่ ๒ งาน ๓ ตารางวา แต่เจ้าพนักงานที่ดินยังไม่สามารถออกโฉนดที่ดินให้ได้เพราะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่งได้ถึงแก่ความตาย และเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในศาลแพ่ง
หลังจากที่ผู้ฟ้องคดีได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าว ต่อมาอีกประมาณ ๘เดือน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามได้ดำเนินการขยายถนนนิมิตรใหม่และก่อสร้างสะพานข้ามคลองสามใหม่ ตามความกว้างของถนนและมีความสูงกว่าพื้นถนนไม่มากนัก โดยไม่มีทางกลับรถใต้สะพานซึ่งทั้งถนนและสะพานก็อยู่ในเขตถนนที่กำหนดไว้ตามแนวเขตเสาไฟฟ้า โดยมี บริษัทพี.พี.ดี. คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ต่อมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามได้ร่วมกันแก้ไขแบบแปลนของสะพานให้มีระดับสูงขึ้นจากระดับของแบบแปลนเดิมเป็นอันมาก เพื่อต้องการให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ได้ใช้กลับรถใต้สะพาน ทำให้ความลาดชันของสะพานยาวมากกว่าเดิม ปิดหน้าที่ดินของผู้ฟ้องคดีตลอดแปลงทั้งสองด้าน เป็นเหตุให้ทำเลที่ตั้งที่ดินของผู้ฟ้องคดีมีลักษณะด้อยกว่าที่ดินแปลงอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และมีการทำถนนบริเวณเชิงสะพานทั้งสองข้าง ทำให้ถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามและบริษัท พี.พี.ดี.คอนสตรัคชั่น จำกัด ต่างทราบดีอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เคยแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีทราบและไม่เคยขออนุญาตผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด เมื่อผู้ฟ้องคดีทราบเหตุดังกล่าวแล้วได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนิมิตรใหม่ และสอบถามไปยังบริษัทพี.พี.ดี. คอนสตรัคชั่น จำกัด แล้วได้ความว่า ก่อนดำเนินการได้แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ทราบถึงการรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ แจ้งให้ดำเนินการไปเลยโดยจะเป็นผู้ติดต่อเจรจากับผู้ฟ้องคดีเอง เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ไปติดต่อกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ กลับบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้รายละเอียด นอกจากนี้ระหว่างการก่อสร้างถนนและสะพานดังกล่าว ได้มีการสร้างถนนเป็นทางชั่วคราวในที่ดินของผู้ฟ้องคดีทั้งสองแปลง จำนวนสองเส้น คือ ทางเชื่อม (ทางเบี่ยง)เข้าออกระหว่างถนนนิมิตรใหม่กับถนนทางเข้า-ออกวัดสุทธิสะอาดและทางกลับรถใต้สะพานเส้นหนึ่ง และทางเชื่อม (ทางเบี่ยง) เข้าออกระหว่างถนนนิมิตรใหม่กับถนนเลียบคลองสาม (ที่หลวงริมคลองสาม) และทางกลับรถใต้สะพานอีกเส้นหนึ่ง
ผู้ฟ้องคดีจึงขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาและกำหนดคำบังคับดังนี้
๑. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในการสร้างถนนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี รวมเนื้อที่ ๒ ไร่ ๆ ละ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท เป็นเงินจำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐บาท และค่าเสียหายในกรณีที่ดินของผู้ฟ้องคดีราคาตกเป็นเงินไร่ละ ๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท รวม๑๒๖ ไร่ เป็นเงิน ๓๕๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งหมดจำนวน ๓๖๒,๘๐๐,๐๐๐บาท
๒. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจัดการรื้อถอนเสาไฟฟ้าออกไปจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี
๓. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจัดการปรับที่ดินของผู้ฟ้องคดีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามได้ก่อสร้างเป็นถนนชั่วคราว (ทางเบี่ยง) ทั้งสองเส้น ให้อยู่ในสภาพเดิม
๔. ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามระงับการก่อสร้าง และการใช้ที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นถนนทางเบี่ยงให้รถยนต์ทุกชนิดสัญจรเข้า-ออก ระหว่างถนนนิมิตรใหม่กับถนนเข้า-ออก วัดสุทธิสะอาด และทางกลับรถใต้สะพานข้ามคลองสาม กับถนนทางเบี่ยงเข้า-ออกระหว่างถนนนิมิตรใหม่กับถนนเลียบคลองสาม (ที่หลวงริมคลองสาม) กับทางกลับรถใต้สะพานข้ามคลองสาม
ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการแก้ไขแบบแปลนของสะพานและสร้างถนนรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นการกระทำละเมิดและก่อความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีนั้น ศาลได้พิจารณาถึงการกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ใช้อำนาจตามกฎหมายเฉพาะใด ๆ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวบรรลุ จึงไม่ใช่การกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย คำฟ้องคดีนี้ไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดในทางปกครอง แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดในทางแพ่ง จึงไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๕๙๒/๒๕๔๕
ผู้ฟ้องคดีที่ ๔ (โจทก์) จึงนำคดีไปฟ้อง กรุงเทพมหานคร ที่ ๑ บริษัท พี.พี.ดี.คอนสตรัคชั่น จำกัด ที่ ๒ เป็นจำเลย ต่อศาลจังหวัดมีนบุรี โดยมีข้อเท็จจริงและคำขอท้ายคำฟ้องเช่นเดียวกับที่ฟ้องต่อศาลปกครองกลาง
จำเลยที่ ๑ ยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า จำเลยไม่ได้ก่อสร้างสะพานข้ามคลองสามรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แต่ได้ดำเนินการก่อสร้างในแนวเขตทางเดิมซึ่งเป็นทางสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ ๑ ซึ่งจำเลยที่ ๑ ได้ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ให้ไว้ เพื่อความสะดวกของประชาชนในการสัญจรและความเจริญของบ้านเมือง ส่วนการก่อสร้างทางเบี่ยงชั่วคราวประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น จัดทำใช้กันเอง การก่อสร้างสะพานและถนนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
จำเลยที่ ๒ ยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้เนื่องจาก มิได้รับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนอื่น นอกจากนี้ จำเลยที่ ๒ ได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามคลองสามและขยายถนนนิมิตรใหม่ ตามแบบแปลนที่จำเลยที่ ๑กำหนดเท่านั้น
ศาลจังหวัดมีนบุรีพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เป็นคดีเกี่ยวกับการทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองซึ่งจำเลยที่ ๑ เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีถนนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๖ประกอบมาตรา ๘๙(๖) ดังนั้น จำเลยที่ ๑ ซึ่งถูกฟ้องคดีจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีถนนและสะพาน เมื่อจำเลยที่ ๑ ยอมรับว่าจำเลยที่ ๑ ได้ให้จำเลยที่๒ ก่อสร้างสะพานกลับรถใต้สะพานคลองสามเพื่อให้รถยนต์ได้ใช้วิ่งกลับรถใต้สะพานและเข้าออกสู่ถนนทางเข้าวัดสุทธิสะอาดและถนนเลียบคลองสาม และเป็นการก่อสร้างถนนตามแนวเขตทางเดิมตามเขตทางตามประกาศของกรุงเทพมหานคร เรื่องลงทะเบียนทางหลวงเทศบาลซึ่งประกาศไว้เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๒๙ และยอมรับว่าการแก้ไขแบบแปลนก่อสร้างสะพานข้ามคลองสามให้ระดับสูงขึ้น จากระดับแบบแปลนเดิมอันเนื่องมาจากเป็นความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในชุมชนถนนเลียบคลองสาม หากจำเลยที่ ๑ ไม่แก้ไขแบบแปลนจะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน การกระทำของจำเลยที่ ๑ กรณีจึงเป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องมาจากกระทำโดยไม่มีอำนาจ อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่และไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของจำเลยซึ่งเป็นส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น อันเกิดจากการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ การฟ้องเรียกค่าเสียหายของเอกชนอันเนื่องมาจากการก่อสร้างสะพานข้ามคลองและการปรับปรุงถนนของกรุงเทพมหานคร อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนยื่นฟ้องกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยที่ ๑ ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล และมีหน้าที่บำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๖ ประกอบมาตรา ๘๙(๖) กรุงเทพมหานครจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๓ อย่างไรก็ตาม ข้อพิพาทในมูลละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นระหว่างเอกชนกับหน่วยงานทางปกครอง อันอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองนั้น จะต้องเป็นการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง(๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันแก้ไขแบบแปลนของสะพานให้มีระดับสูงขึ้นจากระดับของแบบแปลนเดิม เพื่อต้องการให้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ได้ใช้กลับรถใต้สะพาน เมื่อทำการก่อสร้างแล้วทำให้ความลาดชันของสะพานยาวมากกว่าเดิม ปิดหน้าที่ดินของโจทก์ตลอดแปลงทั้งสองด้าน เป็นเหตุให้ทำเลที่ตั้งที่ดินของโจทก์มีลักษณะด้อยกว่าที่ดินแปลงอื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ระหว่างการก่อสร้างสะพานและถนนดังกล่าว ได้มีการสร้างถนนเป็นทางชั่วคราวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยให้การเพียงว่าการก่อสร้างสะพานและเชิงลาดกระทำโดยชอบ จำเลยมิได้ก่อสร้างถนนชั่วคราว โดยมิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้กลายเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ฉะนั้น คดีนี้คงมีประเด็นปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การก่อสร้างสะพานข้ามคลองและการปรับปรุงถนนของกรุงเทพมหานคร ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เอกชนหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ ๑ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งได้แก่ การจัดทำถนนหนทางสาธารณะเพื่อใช้ในการคมนาคมขนส่ง อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานครการกระทำตามฟ้องจึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของจำเลยที่ ๑ เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่เอกชน จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการก่อสร้างสะพานข้ามคลองและการปรับปรุงถนน ระหว่าง นางสาวจีระพรรณ รามอินทรา โจทก์กรุงเทพมหานคร ที่ ๑ บริษัท พี.พี.ดี.คอนสตรัคชั่น จำกัด ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๖
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๘/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายสำเภา แสงสร้อย โจทก์ ยื่นฟ้องกรมที่ดิน ที่ ๑ นายลำใย ทิมแจ ที่ ๒และนายยงยุทธ ตะโกพร ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๐๖/๒๕๔๖ความว่าโจทก์เป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองที่ดินว่างเปล่า เนื้อที่ประมาณ ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๙๐ตารางวา ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยโจทก์ได้เข้าครอบครองด้วยการทำนาและขุดบ่อเลี้ยงปลาตลอดมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๕ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันจำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๓ และภริยาโจทก์ (นางกุหลาบ แสงสร้อย) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของโจทก์ทางทิศใต้ ต่อมา จำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๓ ยื่นคำขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ ๑ ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลจังหวัดนครปฐม (คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๓๐๑/๒๕๒๒) ซึ่งในการรังวัดที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสามร่วมกันจงใจรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงได้ยื่นหนังสือคัดค้านการรังวัดที่ดินไว้แล้วแต่ตัวแทนของจำเลยที่ ๑ ไม่ทำการตรวจสอบและยังคงดำเนินการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รุกล้ำที่ดินของโจทก์ต่อไป นอกจากนี้ โจทก์เคยยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้ โดยได้มีการพิสูจน์สิทธิและการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวของโจทก์ว่าเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดให้แก่โจทก์ได้ แต่จำเลยที่ ๑ กลับระงับการดำเนินการออกโฉนดโดยปราศจากเหตุอันสมควรอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งโจทก์ขอสงวนสิทธิ์ในการที่จะดำเนินคดีกับจำเลยที่ ๑ ในส่วนนี้ต่อไป
โจทก์เห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โดยเป็นการนำชี้รุกล้ำที่ดินโจทก์มิได้ตรวจสอบตำแหน่งและอาณาเขตที่ดินให้ละเอียดถี่ถ้วนตามสภาพความเป็นจริงและโดยหลักวิชาการที่ถูกต้องเพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งและอาณาเขตที่แท้จริงของที่ดินเสียก่อนแล้วจึงสรุปความเห็น โดยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กระทำไปโดยมีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์โดยมิชอบ ส่วนจำเลยที่ ๑ ซึ่งมีหน้าที่ต้องดำเนินการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์แต่กลับงดเว้นและเพิกเฉยไม่ดำเนินการตรวจสอบโดยละเอียดว่าจำเลยที่ ๒และที่ ๓ นำชี้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามคำคัดค้านหรือไม่ จึงเป็นการกระทำที่งดเว้นการกระทำและบกพร่องต่อหน้าที่ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสามหรือตัวแทนของจำเลยทั้งสามเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์อันเป็นที่ดินว่างเปล่าเนื้อที่ประมาณ ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๙๐ ตารางวา ซึ่งตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม และมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากจำเลยที่ ๑ ไม่ได้กระทำละเมิดหรือร่วมกับจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โดยเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ได้กระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งในการยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ได้แนบสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงโฉนดที่ดินดังกล่าวหลายฉบับ เช่น สำเนาใบสำคัญแสดงคำพิพากษาคดีถึงที่สุดของศาลจังหวัดนครปฐม คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๓๐๑/๒๕๒๒ ระหว่างนายลำใย ทิมแจ และนายยงยุทธ ตะโกพร โจทก์ นางกุหลาบ แสงสร้อย จำเลย สำเนารายงานกระบวนพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ ๒๖๙/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ของศาลจังหวัดนครปฐม และสำเนารูปแผนที่ดินวิวาทระหว่างนายลำใย กับพวก โจทก์ นางกุหลาบจำเลย ซึ่งตามแนวเขตที่ดินดังกล่าวแสดงว่าด้านทิศเหนือของที่ดินแปลงดังกล่าวมีแนวเขตติดกับที่ดินแปลงอื่น โดยไม่มีที่ดินว่างเปล่าแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่มีที่ดินว่างเปล่าที่โจทก์ครอบครองอยู่ที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ทำการรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปได้ ส่วนที่โจทก์อ้างว่า ได้ยื่นคำคัดค้านการรังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวนั้น เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ได้แจ้งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้โจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินที่โจทก์อ้างการครอบครองทำประโยชน์อยู่เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ จึงไม่รับคำคัดค้านของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียง การกระทำของจำเลยที่ ๑จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ให้การว่า เคยฟ้องนางกุหลาบ ภริยาโจทก์ ต่อศาลจังหวัดนครปฐม (คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๓๐๑/๒๕๒๒) ในคดีขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่๔๘๒๕ ซึ่งจำเลยทั้งสองและนางกุหลาบ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมา ศาลจังหวัดนครปฐมได้มีคำพิพากษาตามยอมให้มีการแบ่งแยกที่ดิน โดยวินิจฉัยถึงอาณาเขตของที่ดินโฉนดเลขที่๔๘๒๕ ว่า มีอาณาเขตตามที่จำเลยทั้งสอง (ในคดีนี้) ได้นำชี้ไว้ตามแผนที่ฉบับ ลงวันที่ ๓๐พฤษภาคม ๒๕๒๖ และต่อมา โจทก์ในคดีนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครปฐมขอให้งดการบังคับคดีไว้โดยอ้างเหตุผลว่า จำเลยทั้งสองในคดีนี้นำชี้ที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ร้อง(โจทก์ในคดีนี้) อันเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคดีนี้ ซึ่งศาลจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ยกคำร้องและให้โจทก์ (จำเลยทั้งสองในคดีนี้)ดำเนินการไปตามแผนที่วิวาทฉบับเดิม รวมทั้งได้มีหนังสือสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาคดีถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม๒๕๔๕ จึงเป็นกรณีที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่๔๘๒๕ ไว้ชัดเจนเป็นยุติและถึงที่สุดและมีผลผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวซึ่งรวมถึงโจทก์ในคดีนี้ นอกจากนี้ จำเลยทั้งสองเคยยื่นฟ้องนางกุหลาบ ที่ ๑ (ภริยาโจทก์ในคดีนี้) นายสำเภาแสงสร้อย ที่ ๒ (โจทก์ในคดีนี้)นายสุเทพ แสงสร้อย ที่ ๓ และนายสมนึก แสงสร้อย ที่ ๔ (บุตรโจทก์ในคดีนี้) เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาหรือฐานความผิดบุกรุกต่อศาลจังหวัดนครปฐม(คดีอาญาหมายเลขแดงที่๔๗๐๐/๒๕๒๘ และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๔๒๑๕/๒๕๓๐) ซึ่งทั้งสองคดีศาลได้นำพยานหลักฐานในคดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ ๓๐๑/๒๕๒๒ โดยเฉพาะรูปแผนที่วิวาท และคำสั่งศาลตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๒๖ ที่ถือว่ายุติและถึงที่สุดมาพิจารณาประกอบการวินิจฉัยคดีอาญาดังกล่าว ข้อกล่าวอ้างที่โจทก์ว่า มีที่ดินว่างเปล่า(ป่าแดง) ที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ และได้ครอบครองทำประโยชน์จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๑๑ ไร่๒ งาน ๙๐ ตารางวา ไม่เป็นความจริง ที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะนำไปออกโฉนดเป็นที่ดินของตน ทั้งการที่โจทก์นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ที่ศาลจังหวัดนครปฐมได้มีการพิจารณาวินิจฉัยเป็นอันยุติและถึงที่สุดแล้วมารื้อร้องฟ้องกันใหม่เป็นคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ตามบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐม สาขานครชัยศรีได้ข้อเท็จจริงว่า ที่ดินส่วนที่โจทก์ขอออกโฉนดเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จึงไม่มีที่ดินว่างเปล่าดังที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่สามารถออกโฉนดให้แก่โจทก์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ในวันนัดชี้สองสถาน จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลต่อศาลแพ่งว่าจำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ถูกโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าร่วมกับจำเลยที่ ๒และจำเลยที่๓ กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐม สาขานครชัยศรี ได้ทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามคำร้องขอของจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ รุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่โจทก์กล่าวอ้างการครอบครอง ซึ่งโจทก์ถือว่า การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ เป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ดังนั้น จำเลยที่ ๑ ฐานะตัวการต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิด ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นๆ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงเห็นว่าอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้เฉพาะส่วนของจำเลยที่ ๑ อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
โจทก์แถลงว่า คดีนี้เป็นคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่ง
จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ แถลงว่า คดีนี้เป็นคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองเฉพาะส่วนของจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง
ศาลแพ่งเห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสามหรือตัวแทนของจำเลยทั้งสามเข้ายุ่งเกี่ยวที่ดินของโจทก์ในกรณีที่จะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๘๒๕ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม ระหว่างจำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๓ และภริยาของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าตัวแทนของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องดังกล่าวของโจทก์มุ่งประสงค์เพียงห้ามมิให้จำเลยที่ ๑ หรือตัวแทนของจำเลยที่ ๑ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ายุ่งเกี่ยวที่ดินของโจทก์ในกรณีที่จะทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยไม่มีคำขอในเรื่องเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองแต่อย่างใด ซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นตามที่โจทก์กล่าวอ้างและจำเลยทั้งสามให้การประกอบกับคำขอท้ายฟ้องแล้ว จะต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ว่ามีอยู่อย่างไรหรือไม่ก่อน จึงจะวินิจฉัยถึงเรื่องการรังวัดแบ่งแยกที่ดินรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นสิทธิในทรัพย์สินและต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ๔ ประกอบกับประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งกรณีดังกล่าวพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับที่ดิน ดังนั้น คดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
ศาลปกครองกลางเห็นว่า จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานทางปกครองมีอำนาจหน้าที่รังวัดเพื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือออกโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๙๗)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ รวมทั้งระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น โดยเจตนาของโจทก์มีความประสงค์ที่จะให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานการรังวัดแย่งแยกกรรมสิทธิ์รวมโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๘๒๕ ว่า ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนหรือไม่เมื่อมีกรณีการคัดค้านการรังวัด จำเลยที่ ๑ มิได้ทำการไต่สวน สอบสวนโดยถูกต้อง หรือไม่รอบคอบ ไม่เป็นตามกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด กรณีพิพาทคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบกฎหมายอันเนื่องมาจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ การที่โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสามหรือตัวแทนของจำเลยทั้งสามเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ ในกรณีที่จะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินพิพาท หรือไม่ว่าในกรณีอื่นใดทั้งสิ้น จึงเป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอให้ศาลกำหนดคำบังคับสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วนในการรังวัดหรือดำเนินการอื่นใดในที่ดินของโจทก์ กรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน สำหรับการที่จะวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของจำเลยที่ ๑ กับพวก มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นว่าการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นสิทธิในทรัพย์สินที่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ประกอบกับประมวลกฎหมายที่ดินนั้น กรณีนี้เป็นประเด็นเกี่ยวพันที่ศาลปกครองสามารถวินิจฉัยได้ตามนัยข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๓ ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองร่วมกับเอกชนทำละเมิดด้วยการรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินว่างเปล่า จำเลยที่๒และที่ ๓ กับภริยาโจทก์ เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางทิศใต้ ต่อมาจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ไปขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ในการนำชี้รังวัดจำเลยทั้งสามไม่ใช้ความระมัดระวัง ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบและทำการนำชี้รังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์อันเป็นการกระทำละเมิด ส่วนจำเลยทั้งสามให้การในทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ไม่ได้นำชี้รังวัดรุกล้ำที่ดินของโจทก์ คดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองทำละเมิดด้วยการรังวัดที่ดินโดยมิชอบก็ตาม แต่ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะสามารถพิจารณาได้ว่า การนำชี้รังวัดของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองร่วมกับเอกชนทำละเมิดด้วยการรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชน ระหว่าง นายสำเภา แสงสร้อย โจทก์ กับกรมที่ดิน ที่ ๑นายลำใย ทิมแจ ที่ ๒ และนายยงยุทธ ตะโกพร ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๗
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๘/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายสำเภา แสงสร้อย โจทก์ ยื่นฟ้องกรมที่ดิน ที่ ๑ นายลำใย ทิมแจ ที่ ๒และนายยงยุทธ ตะโกพร ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๘๐๖/๒๕๔๖ความว่าโจทก์เป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองที่ดินว่างเปล่า เนื้อที่ประมาณ ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๙๐ตารางวา ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยโจทก์ได้เข้าครอบครองด้วยการทำนาและขุดบ่อเลี้ยงปลาตลอดมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๕ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันจำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๓ และภริยาโจทก์ (นางกุหลาบ แสงสร้อย) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของโจทก์ทางทิศใต้ ต่อมา จำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๓ ยื่นคำขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ ๑ ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลจังหวัดนครปฐม (คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๓๐๑/๒๕๒๒) ซึ่งในการรังวัดที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสามร่วมกันจงใจรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงได้ยื่นหนังสือคัดค้านการรังวัดที่ดินไว้แล้วแต่ตัวแทนของจำเลยที่ ๑ ไม่ทำการตรวจสอบและยังคงดำเนินการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รุกล้ำที่ดินของโจทก์ต่อไป นอกจากนี้ โจทก์เคยยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้ โดยได้มีการพิสูจน์สิทธิและการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวของโจทก์ว่าเป็นที่ดินที่สามารถออกโฉนดให้แก่โจทก์ได้ แต่จำเลยที่ ๑ กลับระงับการดำเนินการออกโฉนดโดยปราศจากเหตุอันสมควรอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งโจทก์ขอสงวนสิทธิ์ในการที่จะดำเนินคดีกับจำเลยที่ ๑ ในส่วนนี้ต่อไป
โจทก์เห็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โดยเป็นการนำชี้รุกล้ำที่ดินโจทก์มิได้ตรวจสอบตำแหน่งและอาณาเขตที่ดินให้ละเอียดถี่ถ้วนตามสภาพความเป็นจริงและโดยหลักวิชาการที่ถูกต้องเพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งและอาณาเขตที่แท้จริงของที่ดินเสียก่อนแล้วจึงสรุปความเห็น โดยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ กระทำไปโดยมีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์โดยมิชอบ ส่วนจำเลยที่ ๑ ซึ่งมีหน้าที่ต้องดำเนินการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์แต่กลับงดเว้นและเพิกเฉยไม่ดำเนินการตรวจสอบโดยละเอียดว่าจำเลยที่ ๒และที่ ๓ นำชี้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามคำคัดค้านหรือไม่ จึงเป็นการกระทำที่งดเว้นการกระทำและบกพร่องต่อหน้าที่ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสามหรือตัวแทนของจำเลยทั้งสามเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์อันเป็นที่ดินว่างเปล่าเนื้อที่ประมาณ ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๙๐ ตารางวา ซึ่งตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม และมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากจำเลยที่ ๑ ไม่ได้กระทำละเมิดหรือร่วมกับจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โดยเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ได้กระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งในการยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ได้แนบสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงโฉนดที่ดินดังกล่าวหลายฉบับ เช่น สำเนาใบสำคัญแสดงคำพิพากษาคดีถึงที่สุดของศาลจังหวัดนครปฐม คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๓๐๑/๒๕๒๒ ระหว่างนายลำใย ทิมแจ และนายยงยุทธ ตะโกพร โจทก์ นางกุหลาบ แสงสร้อย จำเลย สำเนารายงานกระบวนพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ ๒๖๙/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ของศาลจังหวัดนครปฐม และสำเนารูปแผนที่ดินวิวาทระหว่างนายลำใย กับพวก โจทก์ นางกุหลาบจำเลย ซึ่งตามแนวเขตที่ดินดังกล่าวแสดงว่าด้านทิศเหนือของที่ดินแปลงดังกล่าวมีแนวเขตติดกับที่ดินแปลงอื่น โดยไม่มีที่ดินว่างเปล่าแต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่มีที่ดินว่างเปล่าที่โจทก์ครอบครองอยู่ที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ทำการรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปได้ ส่วนที่โจทก์อ้างว่า ได้ยื่นคำคัดค้านการรังวัดที่ดินแปลงดังกล่าวนั้น เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ได้แจ้งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้โจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินที่โจทก์อ้างการครอบครองทำประโยชน์อยู่เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ จึงไม่รับคำคัดค้านของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียง การกระทำของจำเลยที่ ๑จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ให้การว่า เคยฟ้องนางกุหลาบ ภริยาโจทก์ ต่อศาลจังหวัดนครปฐม (คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ๓๐๑/๒๕๒๒) ในคดีขอแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่๔๘๒๕ ซึ่งจำเลยทั้งสองและนางกุหลาบ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมา ศาลจังหวัดนครปฐมได้มีคำพิพากษาตามยอมให้มีการแบ่งแยกที่ดิน โดยวินิจฉัยถึงอาณาเขตของที่ดินโฉนดเลขที่๔๘๒๕ ว่า มีอาณาเขตตามที่จำเลยทั้งสอง (ในคดีนี้) ได้นำชี้ไว้ตามแผนที่ฉบับ ลงวันที่ ๓๐พฤษภาคม ๒๕๒๖ และต่อมา โจทก์ในคดีนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดนครปฐมขอให้งดการบังคับคดีไว้โดยอ้างเหตุผลว่า จำเลยทั้งสองในคดีนี้นำชี้ที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ร้อง(โจทก์ในคดีนี้) อันเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคดีนี้ ซึ่งศาลจังหวัดนครปฐมได้พิจารณาและมีคำสั่งให้ยกคำร้องและให้โจทก์ (จำเลยทั้งสองในคดีนี้)ดำเนินการไปตามแผนที่วิวาทฉบับเดิม รวมทั้งได้มีหนังสือสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาคดีถึงที่สุดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม๒๕๔๕ จึงเป็นกรณีที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่๔๘๒๕ ไว้ชัดเจนเป็นยุติและถึงที่สุดและมีผลผูกพันคู่ความในคดีดังกล่าวซึ่งรวมถึงโจทก์ในคดีนี้ นอกจากนี้ จำเลยทั้งสองเคยยื่นฟ้องนางกุหลาบ ที่ ๑ (ภริยาโจทก์ในคดีนี้) นายสำเภาแสงสร้อย ที่ ๒ (โจทก์ในคดีนี้)นายสุเทพ แสงสร้อย ที่ ๓ และนายสมนึก แสงสร้อย ที่ ๔ (บุตรโจทก์ในคดีนี้) เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาหรือฐานความผิดบุกรุกต่อศาลจังหวัดนครปฐม(คดีอาญาหมายเลขแดงที่๔๗๐๐/๒๕๒๘ และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๔๒๑๕/๒๕๓๐) ซึ่งทั้งสองคดีศาลได้นำพยานหลักฐานในคดีแพ่ง หมายเลขแดงที่ ๓๐๑/๒๕๒๒ โดยเฉพาะรูปแผนที่วิวาท และคำสั่งศาลตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๒๖ ที่ถือว่ายุติและถึงที่สุดมาพิจารณาประกอบการวินิจฉัยคดีอาญาดังกล่าว ข้อกล่าวอ้างที่โจทก์ว่า มีที่ดินว่างเปล่า(ป่าแดง) ที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ และได้ครอบครองทำประโยชน์จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๑๑ ไร่๒ งาน ๙๐ ตารางวา ไม่เป็นความจริง ที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะนำไปออกโฉนดเป็นที่ดินของตน ทั้งการที่โจทก์นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ที่ศาลจังหวัดนครปฐมได้มีการพิจารณาวินิจฉัยเป็นอันยุติและถึงที่สุดแล้วมารื้อร้องฟ้องกันใหม่เป็นคดีนี้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ตามบันทึกการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ของสำนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐม สาขานครชัยศรีได้ข้อเท็จจริงว่า ที่ดินส่วนที่โจทก์ขอออกโฉนดเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จึงไม่มีที่ดินว่างเปล่าดังที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่สามารถออกโฉนดให้แก่โจทก์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ในวันนัดชี้สองสถาน จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลต่อศาลแพ่งว่าจำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ถูกโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าร่วมกับจำเลยที่ ๒และจำเลยที่๓ กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครปฐม สาขานครชัยศรี ได้ทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามคำร้องขอของจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ รุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่โจทก์กล่าวอ้างการครอบครอง ซึ่งโจทก์ถือว่า การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ เป็นการดำเนินการในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ดังนั้น จำเลยที่ ๑ ฐานะตัวการต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิด ซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นๆ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงเห็นว่าอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้เฉพาะส่วนของจำเลยที่ ๑ อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
โจทก์แถลงว่า คดีนี้เป็นคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่ง
จำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ แถลงว่า คดีนี้เป็นคดีที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองเฉพาะส่วนของจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ แต่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง
ศาลแพ่งเห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสามหรือตัวแทนของจำเลยทั้งสามเข้ายุ่งเกี่ยวที่ดินของโจทก์ในกรณีที่จะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๘๒๕ ตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม ระหว่างจำเลยที่ ๒ จำเลยที่ ๓ และภริยาของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าตัวแทนของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำขอท้ายฟ้องดังกล่าวของโจทก์มุ่งประสงค์เพียงห้ามมิให้จำเลยที่ ๑ หรือตัวแทนของจำเลยที่ ๑ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ายุ่งเกี่ยวที่ดินของโจทก์ในกรณีที่จะทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยไม่มีคำขอในเรื่องเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่งทางปกครองแต่อย่างใด ซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นตามที่โจทก์กล่าวอ้างและจำเลยทั้งสามให้การประกอบกับคำขอท้ายฟ้องแล้ว จะต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ว่ามีอยู่อย่างไรหรือไม่ก่อน จึงจะวินิจฉัยถึงเรื่องการรังวัดแบ่งแยกที่ดินรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นสิทธิในทรัพย์สินและต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ๔ ประกอบกับประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งกรณีดังกล่าวพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับที่ดิน ดังนั้น คดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
ศาลปกครองกลางเห็นว่า จำเลยที่ ๑ เป็นหน่วยงานทางปกครองมีอำนาจหน้าที่รังวัดเพื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือออกโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๙๗)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ รวมทั้งระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น โดยเจตนาของโจทก์มีความประสงค์ที่จะให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานการรังวัดแย่งแยกกรรมสิทธิ์รวมโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๘๒๕ ว่า ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนหรือไม่เมื่อมีกรณีการคัดค้านการรังวัด จำเลยที่ ๑ มิได้ทำการไต่สวน สอบสวนโดยถูกต้อง หรือไม่รอบคอบ ไม่เป็นตามกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด กรณีพิพาทคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบกฎหมายอันเนื่องมาจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นคดีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ การที่โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสามหรือตัวแทนของจำเลยทั้งสามเข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ ในกรณีที่จะทำการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินพิพาท หรือไม่ว่าในกรณีอื่นใดทั้งสิ้น จึงเป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอให้ศาลกำหนดคำบังคับสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วนในการรังวัดหรือดำเนินการอื่นใดในที่ดินของโจทก์ กรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน สำหรับการที่จะวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของจำเลยที่ ๑ กับพวก มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นว่าการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นสิทธิในทรัพย์สินที่จะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ประกอบกับประมวลกฎหมายที่ดินนั้น กรณีนี้เป็นประเด็นเกี่ยวพันที่ศาลปกครองสามารถวินิจฉัยได้ตามนัยข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๓ ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองร่วมกับเอกชนทำละเมิดด้วยการรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินว่างเปล่า จำเลยที่๒และที่ ๓ กับภริยาโจทก์ เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางทิศใต้ ต่อมาจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ไปขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ในการนำชี้รังวัดจำเลยทั้งสามไม่ใช้ความระมัดระวัง ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบและทำการนำชี้รังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์อันเป็นการกระทำละเมิด ส่วนจำเลยทั้งสามให้การในทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ ๔๘๒๕ ไม่ได้นำชี้รังวัดรุกล้ำที่ดินของโจทก์ คดีนี้แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองทำละเมิดด้วยการรังวัดที่ดินโดยมิชอบก็ตาม แต่ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะสามารถพิจารณาได้ว่า การนำชี้รังวัดของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอันเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองร่วมกับเอกชนทำละเมิดด้วยการรังวัดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชน ระหว่าง นายสำเภา แสงสร้อย โจทก์ กับกรมที่ดิน ที่ ๑นายลำใย ทิมแจ ที่ ๒ และนายยงยุทธ ตะโกพร ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๗
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๗/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ระหว่าง
ศาลปกครองสงขลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๔ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ดาบตำรวจสมพงศ์ บุตรสามบ่อ ที่ ๑ จ่าสิบตำรวจสมชาติ สมชาติพันธ์ ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๔๖๗/๒๕๔๔ ข้อหาเป็นเจ้าหน้าที่ทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐความว่า จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหน้าที่สังกัดโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จำเลยที่ ๑ ตำแหน่งผู้บังคับหมู่ทำหน้าที่การเงินและบัญชี มีหน้าที่รับเงินและลงรายการในสมุดเงินสด จำเลยที่ ๒ ตำแหน่ง ผู้บังคับหมู่ทำหน้าที่เสมียนเปรียบเทียบปรับมีหน้าที่เปรียบเทียบปรับคดีอาญาทุกประเภทภายหลังจากที่พนักงานสอบสวนได้สั่งเปรียบเทียบแล้ว เก็บรักษาและส่งมอบเงินค่าปรับให้กับเจ้าหน้าที่การเงิน จัดทำและจัดเก็บสมุดคุมใบเสร็จเปรียบเทียบปรับ และจัดทำบัญชียอดใบเสร็จเมื่อสิ้นปีงบประมาณ จำเลยที่ ๑ ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โดยรับเงินและลงรายการรับเงินในสมุดเงินสดแล้วไม่นำส่งเงินหรือนำฝาก จำนวน ๗๒๓,๔๐๕ บาท ทำเงินขาดบัญชีเนื่องจากมีหลักฐานการจ่ายเงินให้ตรวจสอบไม่ครบถ้วน จำนวน ๔๒,๐๐๐ บาท ทำเงินขาดบัญชีเนื่องจากไม่ได้จ่ายเงินรางวัลค่าปรับให้แก่ผู้รับ จำนวน ๗๔,๔๘๐ บาท รวมเป็นเงิน ๘๓๙,๘๘๕ บาท
นอกจากนั้น ยังมีเงินขาดบัญชี จำนวน ๑,๓๑๙,๔๗๐ บาท เนื่องจากจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเสมียนเปรียบเทียบปรับ ได้รับค่าปรับตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๐๒ ค่าเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญา แต่ไม่นำส่งจำเลยที่ ๑ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินกลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต หรือส่งมอบเงินให้จำเลยที่ ๑ แล้ว แต่จำเลยที่ ๒ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่กำหนดให้ผู้ส่งเงินและผู้รับเงินต้องทำหลักฐาน ระหว่างกันเพื่อแสดงว่าได้มีการส่งเงินและรับมอบเงินกันเรียบร้อยแล้ว อันเป็นการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยที่ ๑ รับเงินไว้และเบียดบังยักยอกเอาเงินนั้นไป โดยทุจริต จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในมูลหนี้ดังกล่าว
จึงขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ รับผิดชดใช้เงินจำนวน ๘๓๙,๘๘๕ บาท และให้จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวน ๑,๓๑๙,๔๗๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง และดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จากเงินต้นดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ระหว่างการพิจารณาศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงให้รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวแล้วทำความเห็นส่งให้สำนักงานศาลปกครองเพื่อให้ศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบทำความเห็นต่อไป ตามมาตรา ๑๐วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
ความเห็นระหว่างศาล
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์เป็นหน่วยงานราชการฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจสังกัดสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ อ้างว่า จำเลยทั้งสอง ได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหายขอให้ร่วมกันรับผิด อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงมีความเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองสงขลาพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่จะพิจารณาว่าความรับผิดเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองนั้นนอกจากจะพิจารณาจากพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ แล้วจะต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ปฏิบัติหน้าที่และกระทำความเสียหายต่อโจทก์โดยเบียดบังยักยอกทำเงินในบัญชีขาดหายไป อันถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิได้เกิดจากการกระทำที่มีการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๒๐ (๖)ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดให้โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นกรม ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง จึงถือเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓
สำหรับคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรณีกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้ยักยอกเงินจากการปฏิบัติหน้าที่ไปโดยทุจริต จึงขอให้ศาลพิพากษา ให้จำเลยที่ ๑ รับผิดชดใช้เงินจำนวน ๘๓๙,๘๘๕ บาท และให้จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวน ๑,๓๑๙,๔๗๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง และดอกเบี้ยร้อยละ๗.๕ ต่อปี จากเงินต้นดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่แล้วก่อให้เกิดความเสียหาย อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา๒๗๖ ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา๙วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจ ตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ จำเลยที่ ๑ รับราชการในสังกัดโจทก์เป็นเจ้าหน้าที่การเงินมีหน้าที่รับเงินและลงรายการในสมุดเงินสดได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป จำเลยที่ ๒ รับราชการในสังกัดโจทก์ทำหน้าที่เสมียนเปรียบเทียบปรับมีหน้าที่เปรียบเทียบปรับคดีอาญาทุกประเภทภายหลังจากที่พนักงานสอบสวนได้สั่งเปรียบเทียบแล้วเก็บรักษาและส่งมอบเงินค่าปรับให้กับเจ้าหน้าที่การเงิน จัดทำและจัดเก็บสมุดคุมใบเสร็จเปรียบเทียบปรับ และจัดทำบัญชียอดใบเสร็จเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ได้รับค่าปรับตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๐๒ ค่าเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญา แต่ไม่นำส่งจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินกลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต หรือส่งมอบเงินให้จำเลยที่ ๑แล้ว แต่จำเลยที่ ๒ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ที่กำหนดให้ผู้ส่งเงินและผู้รับเงินต้องทำหลักฐานระหว่างกันเพื่อแสดงว่าได้มีการส่งเงินและรับมอบเงินกันเรียบร้อยแล้ว อันเป็นการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยที่ ๑ รับเงินไว้และเบียดบังยักยอกเอาเงินนั้นไปโดยทุจริต การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีจึงเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นคดีละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีเกี่ยวกับการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โจทก์ ดาบตำรวจสมพงศ์ บุตรสามบ่อ ที่ ๑ จ่าสิบตำรวจสมชาติ สมชาติพันธ์ ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองสงขลา
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
อัฏฐพร เจริญพานิช อาชวัน อินทรเกสร
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๗/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ระหว่าง
ศาลปกครองสงขลา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๔ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ดาบตำรวจสมพงศ์ บุตรสามบ่อ ที่ ๑ จ่าสิบตำรวจสมชาติ สมชาติพันธ์ ที่ ๒ จำเลย ต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๑๔๖๗/๒๕๔๔ ข้อหาเป็นเจ้าหน้าที่ทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐความว่า จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหน้าที่สังกัดโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จำเลยที่ ๑ ตำแหน่งผู้บังคับหมู่ทำหน้าที่การเงินและบัญชี มีหน้าที่รับเงินและลงรายการในสมุดเงินสด จำเลยที่ ๒ ตำแหน่ง ผู้บังคับหมู่ทำหน้าที่เสมียนเปรียบเทียบปรับมีหน้าที่เปรียบเทียบปรับคดีอาญาทุกประเภทภายหลังจากที่พนักงานสอบสวนได้สั่งเปรียบเทียบแล้ว เก็บรักษาและส่งมอบเงินค่าปรับให้กับเจ้าหน้าที่การเงิน จัดทำและจัดเก็บสมุดคุมใบเสร็จเปรียบเทียบปรับ และจัดทำบัญชียอดใบเสร็จเมื่อสิ้นปีงบประมาณ จำเลยที่ ๑ ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป โดยรับเงินและลงรายการรับเงินในสมุดเงินสดแล้วไม่นำส่งเงินหรือนำฝาก จำนวน ๗๒๓,๔๐๕ บาท ทำเงินขาดบัญชีเนื่องจากมีหลักฐานการจ่ายเงินให้ตรวจสอบไม่ครบถ้วน จำนวน ๔๒,๐๐๐ บาท ทำเงินขาดบัญชีเนื่องจากไม่ได้จ่ายเงินรางวัลค่าปรับให้แก่ผู้รับ จำนวน ๗๔,๔๘๐ บาท รวมเป็นเงิน ๘๓๙,๘๘๕ บาท
นอกจากนั้น ยังมีเงินขาดบัญชี จำนวน ๑,๓๑๙,๔๗๐ บาท เนื่องจากจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเสมียนเปรียบเทียบปรับ ได้รับค่าปรับตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๐๒ ค่าเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญา แต่ไม่นำส่งจำเลยที่ ๑ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินกลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต หรือส่งมอบเงินให้จำเลยที่ ๑ แล้ว แต่จำเลยที่ ๒ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่กำหนดให้ผู้ส่งเงินและผู้รับเงินต้องทำหลักฐาน ระหว่างกันเพื่อแสดงว่าได้มีการส่งเงินและรับมอบเงินกันเรียบร้อยแล้ว อันเป็นการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยที่ ๑ รับเงินไว้และเบียดบังยักยอกเอาเงินนั้นไป โดยทุจริต จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในมูลหนี้ดังกล่าว
จึงขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ ๑ รับผิดชดใช้เงินจำนวน ๘๓๙,๘๘๕ บาท และให้จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวน ๑,๓๑๙,๔๗๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง และดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จากเงินต้นดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ระหว่างการพิจารณาศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงให้รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวแล้วทำความเห็นส่งให้สำนักงานศาลปกครองเพื่อให้ศาลที่อยู่ในความรับผิดชอบทำความเห็นต่อไป ตามมาตรา ๑๐วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒
ความเห็นระหว่างศาล
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์เป็นหน่วยงานราชการฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจสังกัดสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙ อ้างว่า จำเลยทั้งสอง ได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหายขอให้ร่วมกันรับผิด อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงมีความเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลปกครองสงขลาพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่จะพิจารณาว่าความรับผิดเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองนั้นนอกจากจะพิจารณาจากพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ แล้วจะต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ปฏิบัติหน้าที่และกระทำความเสียหายต่อโจทก์โดยเบียดบังยักยอกทำเงินในบัญชีขาดหายไป อันถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิได้เกิดจากการกระทำที่มีการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการละเลย ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๒๐ (๖)ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดให้โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเป็นส่วนราชการและมีฐานะเป็นกรม ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง จึงถือเป็นหน่วยงานทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓
สำหรับคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรณีกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้ยักยอกเงินจากการปฏิบัติหน้าที่ไปโดยทุจริต จึงขอให้ศาลพิพากษา ให้จำเลยที่ ๑ รับผิดชดใช้เงินจำนวน ๘๓๙,๘๘๕ บาท และให้จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวน ๑,๓๑๙,๔๗๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้อง และดอกเบี้ยร้อยละ๗.๕ ต่อปี จากเงินต้นดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่แล้วก่อให้เกิดความเสียหาย อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา๒๗๖ ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา๙วรรคหนึ่ง (๓) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจ ตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ จำเลยที่ ๑ รับราชการในสังกัดโจทก์เป็นเจ้าหน้าที่การเงินมีหน้าที่รับเงินและลงรายการในสมุดเงินสดได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไป จำเลยที่ ๒ รับราชการในสังกัดโจทก์ทำหน้าที่เสมียนเปรียบเทียบปรับมีหน้าที่เปรียบเทียบปรับคดีอาญาทุกประเภทภายหลังจากที่พนักงานสอบสวนได้สั่งเปรียบเทียบแล้วเก็บรักษาและส่งมอบเงินค่าปรับให้กับเจ้าหน้าที่การเงิน จัดทำและจัดเก็บสมุดคุมใบเสร็จเปรียบเทียบปรับ และจัดทำบัญชียอดใบเสร็จเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ได้รับค่าปรับตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๐๒ ค่าเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และค่าเปรียบเทียบปรับคดีอาญา แต่ไม่นำส่งจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การเงินกลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต หรือส่งมอบเงินให้จำเลยที่ ๑แล้ว แต่จำเลยที่ ๒ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ที่กำหนดให้ผู้ส่งเงินและผู้รับเงินต้องทำหลักฐานระหว่างกันเพื่อแสดงว่าได้มีการส่งเงินและรับมอบเงินกันเรียบร้อยแล้ว อันเป็นการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยที่ ๑ รับเงินไว้และเบียดบังยักยอกเอาเงินนั้นไปโดยทุจริต การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีจึงเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นคดีละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีเกี่ยวกับการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โจทก์ ดาบตำรวจสมพงศ์ บุตรสามบ่อ ที่ ๑ จ่าสิบตำรวจสมชาติ สมชาติพันธ์ ที่ ๒ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองสงขลา
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
อัฏฐพร เจริญพานิช อาชวัน อินทรเกสร
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๖/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนครสวรรค์
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๕ บริษัท นิวยอร์คหินอ่อนและแกรนิต จำกัด ได้ยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ที่ ๑ นายวันชัย เหลืองหิรัญ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๖๘๖/๒๕๔๕ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินและครอบครองที่ดินไม่มีหลักฐาน ตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่ และ ๕๕ ไร่ โดยซื้อมาจากนายสวิง ฉ่ำน้อยและนายอ่อน มากน้อย เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๒ ได้ครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้บุกรุกรื้อรั้วลวดหนามและนำเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มารังวัดเพื่อออกโฉนด โดยอ้างว่าซื้อที่ดินแปลงพิพาทจาก นางวันเพ็ญ โฆษิตานนท์ ผู้ฟ้องคดีได้คัดค้านการรังวัดและการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงทำการสอบสวนและเปรียบเทียบแล้วเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีสิทธิครอบครองในที่ดินดีกว่าจึงมีคำสั่ง ที่ ๑๕/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม๒๕๔๕ ให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามมาตรา ๖๐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้ฟ้องคดีซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต ครอบครอง และทำประโยชน์โดยเปิดเผย จึงขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ออกโฉนดที่ดิน และมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ออกโฉนดที่ดินโดยมีชื่อผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่๒ มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ฟ้องคดี จึงมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ตามคำขอ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่าได้ขอออกโฉนดตามหลักฐาน ส.ค. ๑ ซึ่งแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทไว้ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๙๖ และได้ทำประโยชน์ต่อเนื่องมาโดยตลอดคำสั่งให้ออกโฉนดของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายแล้วและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยื่นคำร้องลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๖ โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาล โดยเห็นว่าเป็นคดีพิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ความเห็นระหว่างศาล
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา ๖๐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ออกคำสั่งสำนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ให้ออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจตนาของผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์ให้ ศาลวินิจฉัยความชอบของการออกคำสั่งทางปกครองและให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากทำการสอบสวนไม่ถูกต้อง หรือไม่รอบคอบและไม่เป็นไปตามกระบวน การของกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อได้ออกคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียสิทธิในที่ดิน เป็นคำสั่งทางปกครองที่มีผลเป็นการก่อนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง สถานภาพของสิทธิหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งการที่จะออกคำสั่งทางปกครองได้นั้นจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่กฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้โดยครบถ้วน ดังนั้นคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดนครสวรรค์พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งสำนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ที่ ๑๕/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่จะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ อันเป็นประเด็นหลักเสียก่อน ซึ่งการที่จะพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินอันเป็นสิทธิในทรัพย์สินนั้นจำต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ประกอบประมวลกฎหมายที่ดินที่บัญญัติเรื่องนั้นไว้เป็นพิเศษซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินเมื่อมีการโต้แย้งคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินของเอกชน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๔๖
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของสำนักงานที่ดินเรื่องให้ออกโฉนดที่ดิน และให้มีคำสั่งว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การสรุปได้ว่าผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของที่ดินพาท ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทต่อ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ฟ้องคดีทำการคัดค้าน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงทำการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินพิพาทแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้ศาลเพิกถอน และมีคำสั่งว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การในทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งมีหลักฐาน ส.ค. ๑ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้แจ้งการครอบครองไว้แล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ และครอบครองทำประโยชน์เรื่อยมา คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้นมูลคดีจึงเป็นกรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ผู้ฟ้องคดี เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะมีคำสั่งเกี่ยวกับการออกโฉนดต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของสำนักงานที่ดินเรื่องให้ออกโฉนดที่ดิน และให้มีคำสั่งว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ระหว่าง บริษัท นิวยอร์คหินอ่อนและแกรนิต จำกัด ผู้ฟ้องคดี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ที่ ๑ นายวันชัย เหลืองหิรัญ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดนครสวรรค์
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๖/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดนครสวรรค์
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๕ บริษัท นิวยอร์คหินอ่อนและแกรนิต จำกัด ได้ยื่นฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ที่ ๑ นายวันชัย เหลืองหิรัญ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๖๘๖/๒๕๔๕ ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินและครอบครองที่ดินไม่มีหลักฐาน ตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่ และ ๕๕ ไร่ โดยซื้อมาจากนายสวิง ฉ่ำน้อยและนายอ่อน มากน้อย เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๒ ได้ครอบครองและทำประโยชน์เรื่อยมาต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้บุกรุกรื้อรั้วลวดหนามและนำเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มารังวัดเพื่อออกโฉนด โดยอ้างว่าซื้อที่ดินแปลงพิพาทจาก นางวันเพ็ญ โฆษิตานนท์ ผู้ฟ้องคดีได้คัดค้านการรังวัดและการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงทำการสอบสวนและเปรียบเทียบแล้วเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีสิทธิครอบครองในที่ดินดีกว่าจึงมีคำสั่ง ที่ ๑๕/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม๒๕๔๕ ให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ตามมาตรา ๖๐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้ฟ้องคดีซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต ครอบครอง และทำประโยชน์โดยเปิดเผย จึงขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้ออกโฉนดที่ดิน และมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ออกโฉนดที่ดินโดยมีชื่อผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า ได้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่๒ มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ฟ้องคดี จึงมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ตามคำขอ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ให้การว่าได้ขอออกโฉนดตามหลักฐาน ส.ค. ๑ ซึ่งแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทไว้ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๙๖ และได้ทำประโยชน์ต่อเนื่องมาโดยตลอดคำสั่งให้ออกโฉนดของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายแล้วและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยื่นคำร้องลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๖ โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาล โดยเห็นว่าเป็นคดีพิพาทกันในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ความเห็นระหว่างศาล
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา ๖๐ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ออกคำสั่งสำนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ให้ออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจตนาของผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์ให้ ศาลวินิจฉัยความชอบของการออกคำสั่งทางปกครองและให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากทำการสอบสวนไม่ถูกต้อง หรือไม่รอบคอบและไม่เป็นไปตามกระบวน การของกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อได้ออกคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียสิทธิในที่ดิน เป็นคำสั่งทางปกครองที่มีผลเป็นการก่อนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง สถานภาพของสิทธิหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งการที่จะออกคำสั่งทางปกครองได้นั้นจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่กฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้โดยครบถ้วน ดังนั้นคดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลจังหวัดนครสวรรค์พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งสำนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ที่ ๑๕/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ให้ออกโฉนดที่ดินแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่จะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ อันเป็นประเด็นหลักเสียก่อน ซึ่งการที่จะพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินอันเป็นสิทธิในทรัพย์สินนั้นจำต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ประกอบประมวลกฎหมายที่ดินที่บัญญัติเรื่องนั้นไว้เป็นพิเศษซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินเมื่อมีการโต้แย้งคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดิน จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินของเอกชน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๘/๒๕๔๖
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของสำนักงานที่ดินเรื่องให้ออกโฉนดที่ดิน และให้มีคำสั่งว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การสรุปได้ว่าผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของที่ดินพาท ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทต่อ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่ผู้ฟ้องคดีทำการคัดค้าน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงทำการสอบสวนเปรียบเทียบแล้วมีคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินพิพาทแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้ศาลเพิกถอน และมีคำสั่งว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การในทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งมีหลักฐาน ส.ค. ๑ ทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้แจ้งการครอบครองไว้แล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ และครอบครองทำประโยชน์เรื่อยมา คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้นมูลคดีจึงเป็นกรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน การที่ศาลจะพิจารณาว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ผู้ฟ้องคดี เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามที่กล่าวอ้างหรือไม่แล้วจึงจะมีคำสั่งเกี่ยวกับการออกโฉนดต่อไป จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของสำนักงานที่ดินเรื่องให้ออกโฉนดที่ดิน และให้มีคำสั่งว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ระหว่าง บริษัท นิวยอร์คหินอ่อนและแกรนิต จำกัด ผู้ฟ้องคดี เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาชุมแสง ที่ ๑ นายวันชัย เหลืองหิรัญ ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดนครสวรรค์
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๕/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองเชียงใหม่
ระหว่าง
ศาลจังหวัดเชียงใหม่
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองเชียงใหม่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
วัดสันป่าสัก ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ภูมิภาคประจำภาคเหนือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งต่อมาศาลปกครองเชียงใหม่ได้รับโอนเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา ตามมาตรา ๑๐๓ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยฟ้อง สำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๗๗/๒๕๔๔ ข้อเท็จจริงสรุปได้ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นวัดในพระพุทธศาสนา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๙๓ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๘๒ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสันป่าสักวิทยาคารขึ้นภายในบริเวณวัด ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕โรงเรียนได้ย้ายออกมาตั้งในบริเวณที่ธรณีสงฆ์ของวัด ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๘ ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๒๐ เนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ ๓ งาน ๙๖ตารางวา และโรงเรียนสันป่าสักวิทยาคารได้มีการแจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค. ๑ เลขที่๑๗๑ เมื่อวันที่ ๒๐พฤษภาคม ๒๔๙๘ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๒๗ ตารางวา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ผู้ฟ้องคดีได้นำ ส.ค. ๑เลขที่ ๑๒๐ ไปยื่นขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓)ปรากฏว่า เนื้อที่เหลือเพียง ๔ไร่ ๒ งาน ๕๗ ตารางวา ขาดหายไป ๕ ไร่ ๑ งาน ๓๙ ตารางวา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้นำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชม ๔๗๐ ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๒ ไร่๗๐ ตารางวา และได้ยื่นขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสันทราย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ชม๑๓๘๘ ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๒ เนื้อที่ ๒ ไร่ ๗๐ตารางวา ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากออกทับที่ธรณีสงฆ์ จึงขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำให้การสรุปได้ว่า เดิมโรงเรียนสันป่าสักวิทยาคารได้อาศัยศาลาบาตร์วัดเป็นสถานที่เรียน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้ย้ายมาสร้างโรงเรียนอยู่นอกวัดคือที่ดินพิพาทและได้แจ้งการครอบครองกับนำส่งขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ จึงเป็นที่สาธารณประโยชน์ มิใช่เป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี
ระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลปกครอง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ยื่นคำร้อง ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๖ โต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินจึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ขอให้ศาลยกคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีนี้เสีย
ผู้ฟ้องคดีทำคำชี้แจงเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามคำร้องของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ว่าคดีนี้ควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง หรือสำคัญผิดในข้อกฎหมาย หรือการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายผิดพลาด โดยการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทับที่ธรณีสงฆ์ จึงเป็นเอกสารที่ไม่ชอบ กรณีไม่ใช่การโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้าง
ศาลปกครองเชียงใหม่พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีความประสงค์ที่จะมุ่งให้ศาลปกครองเพิกถอนการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นสำคัญ ดังนั้น คดีนี้จึงเข้าลักษณะเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับได้ตามมาตรา๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง นอกจากนี้เห็นว่า การพิจารณาว่าศาลใดจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จะต้องพิจารณาในรายละเอียดของคำฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์ที่จะโต้แย้งในประเด็นใด เห็นว่าประเด็นหลักแห่งคดีนี้เป็นการโต้แย้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลจะวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ศาลต้องวินิจฉัยก่อนว่าที่ดินเป็นที่ธรณีสงฆ์ของผู้ฟ้องคดี หรือเป็นที่ราชพัสดุ แม้ประเด็นการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกันกับประเด็นหลักแห่งคดี ต้องพิจารณาบทบัญญัติภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้ในเรื่องนั้นไว้พิเศษ จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม แต่ศาลปกครองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศาลปกครองชั้นต้นที่รับคดีไว้ มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวพันกันนั้นได้ ทั้งนี้ ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ของตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๓ ศาลปกครองเชียงใหม่จึงรอการพิจารณาคดีชั่วคราว
ศาลจังหวัดเชียงใหม่พิเคราะห์แล้วมีความเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นพิพาทที่จะต้องวินิจฉัย ๒ ประเด็น คือ ประเด็นที่หนึ่ง สิทธิในที่ดินพิพาทเป็นของวัดสันป่าสัก ผู้ฟ้องคดีหรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ประเด็นที่สอง กรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ในการวินิจฉัยประเด็นแรกนั้น ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต่างกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทเพราะต่างฝ่ายต่างครอบครองที่ดินพิพาทและเมื่อมีการประกาศใช้บังคับประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๗ โดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ แล้ว ต่างฝ่ายต่างก็ไปแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทไว้ตามความในมาตรา๕ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยต่างฝ่ายต่างมีแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) เป็นหลักฐาน ในการวินิจฉัยประเด็นพิพาทดังกล่าวต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของคู่ความดังกล่าวซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ทรัพย์สิน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาประเด็นพิพาทดังกล่าว จึงได้แก่ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และประเด็นพิพาทดังกล่าวเป็นประเด็นพิพาทหลักแห่งคดีนี้ เนื่องจากหากมีการวินิจฉัยว่าคู่ความฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินพิพาทแล้วก็เห็นได้อยู่ในตัวว่า ประเด็นพิพาทที่สองจะได้รับการวินิจฉัยอย่างใด กล่าวคือ หากมีการวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าวินิจฉัยไปในทางตรงกันข้ามการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมเป็นการกระทำการไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประเด็นพิพาทที่สองจึงมิใช่ประเด็นหลักแห่งคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ของตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ และแม้จะต้องด้วยข้อดังกล่าว ๆ ก็ไม่อาจมีผลบังคับได้ในเมื่อขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๙ ที่มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินได้ จึงเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม(ศาลจังหวัดเชียงใหม่)
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นวัดในพระพุทธศาสนาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๙๓ จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นส่วนราชการในสังกัดกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ วรรคสาม ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินและให้โรงเรียนสันป่าสักวิทยาคาร ใช้ที่ดินของผู้ฟ้องคดีบางส่วน ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไปออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงฉบับพิพาท ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ของโรงเรียนมิใช่ที่ดินของวัดผู้ฟ้องคดี คดีนี้จึงมีปัญหาที่ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน อันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ระหว่างวัดสันป่าสัก ผู้ฟ้องคดีสำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดเชียงใหม่
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๕
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๕/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองเชียงใหม่
ระหว่าง
ศาลจังหวัดเชียงใหม่
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองเชียงใหม่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
วัดสันป่าสัก ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ภูมิภาคประจำภาคเหนือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งต่อมาศาลปกครองเชียงใหม่ได้รับโอนเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา ตามมาตรา ๑๐๓ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยฟ้อง สำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๗๗/๒๕๔๔ ข้อเท็จจริงสรุปได้ความว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นวัดในพระพุทธศาสนา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๙๓ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๘๒ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสันป่าสักวิทยาคารขึ้นภายในบริเวณวัด ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕โรงเรียนได้ย้ายออกมาตั้งในบริเวณที่ธรณีสงฆ์ของวัด ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๘ ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๒๐ เนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ ๓ งาน ๙๖ตารางวา และโรงเรียนสันป่าสักวิทยาคารได้มีการแจ้งการครอบครองตามแบบ ส.ค. ๑ เลขที่๑๗๑ เมื่อวันที่ ๒๐พฤษภาคม ๒๔๙๘ เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๒๗ ตารางวา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ผู้ฟ้องคดีได้นำ ส.ค. ๑เลขที่ ๑๒๐ ไปยื่นขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓)ปรากฏว่า เนื้อที่เหลือเพียง ๔ไร่ ๒ งาน ๕๗ ตารางวา ขาดหายไป ๕ ไร่ ๑ งาน ๓๙ ตารางวา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้นำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชม ๔๗๐ ตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ ๒ ไร่๗๐ ตารางวา และได้ยื่นขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสันทราย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ชม๑๓๘๘ ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๒ เนื้อที่ ๒ ไร่ ๗๐ตารางวา ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากออกทับที่ธรณีสงฆ์ จึงขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยื่นคำให้การสรุปได้ว่า เดิมโรงเรียนสันป่าสักวิทยาคารได้อาศัยศาลาบาตร์วัดเป็นสถานที่เรียน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้ย้ายมาสร้างโรงเรียนอยู่นอกวัดคือที่ดินพิพาทและได้แจ้งการครอบครองกับนำส่งขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ จึงเป็นที่สาธารณประโยชน์ มิใช่เป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดี
ระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลปกครอง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ยื่นคำร้อง ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๖ โต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า คดีนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินจึงต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ขอให้ศาลยกคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีนี้เสีย
ผู้ฟ้องคดีทำคำชี้แจงเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลตามคำร้องของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ว่าคดีนี้ควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง หรือสำคัญผิดในข้อกฎหมาย หรือการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายผิดพลาด โดยการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทับที่ธรณีสงฆ์ จึงเป็นเอกสารที่ไม่ชอบ กรณีไม่ใช่การโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้าง
ศาลปกครองเชียงใหม่พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีความประสงค์ที่จะมุ่งให้ศาลปกครองเพิกถอนการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นสำคัญ ดังนั้น คดีนี้จึงเข้าลักษณะเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับได้ตามมาตรา๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง นอกจากนี้เห็นว่า การพิจารณาว่าศาลใดจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จะต้องพิจารณาในรายละเอียดของคำฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์ที่จะโต้แย้งในประเด็นใด เห็นว่าประเด็นหลักแห่งคดีนี้เป็นการโต้แย้งว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลจะวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ศาลต้องวินิจฉัยก่อนว่าที่ดินเป็นที่ธรณีสงฆ์ของผู้ฟ้องคดี หรือเป็นที่ราชพัสดุ แม้ประเด็นการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกันกับประเด็นหลักแห่งคดี ต้องพิจารณาบทบัญญัติภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้ในเรื่องนั้นไว้พิเศษ จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม แต่ศาลปกครองเชียงใหม่ซึ่งเป็นศาลปกครองชั้นต้นที่รับคดีไว้ มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นที่เกี่ยวพันกันนั้นได้ ทั้งนี้ ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ของตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๓ ศาลปกครองเชียงใหม่จึงรอการพิจารณาคดีชั่วคราว
ศาลจังหวัดเชียงใหม่พิเคราะห์แล้วมีความเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นพิพาทที่จะต้องวินิจฉัย ๒ ประเด็น คือ ประเด็นที่หนึ่ง สิทธิในที่ดินพิพาทเป็นของวัดสันป่าสัก ผู้ฟ้องคดีหรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ประเด็นที่สอง กรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ในการวินิจฉัยประเด็นแรกนั้น ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต่างกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิในที่ดินพิพาทเพราะต่างฝ่ายต่างครอบครองที่ดินพิพาทและเมื่อมีการประกาศใช้บังคับประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๗ โดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ แล้ว ต่างฝ่ายต่างก็ไปแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทไว้ตามความในมาตรา๕ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยต่างฝ่ายต่างมีแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) เป็นหลักฐาน ในการวินิจฉัยประเด็นพิพาทดังกล่าวต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินของคู่ความดังกล่าวซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ ทรัพย์สิน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาประเด็นพิพาทดังกล่าว จึงได้แก่ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ และประเด็นพิพาทดังกล่าวเป็นประเด็นพิพาทหลักแห่งคดีนี้ เนื่องจากหากมีการวินิจฉัยว่าคู่ความฝ่ายใดมีสิทธิในที่ดินพิพาทแล้วก็เห็นได้อยู่ในตัวว่า ประเด็นพิพาทที่สองจะได้รับการวินิจฉัยอย่างใด กล่าวคือ หากมีการวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าวินิจฉัยไปในทางตรงกันข้ามการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมเป็นการกระทำการไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประเด็นพิพาทที่สองจึงมิใช่ประเด็นหลักแห่งคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ของตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ และแม้จะต้องด้วยข้อดังกล่าว ๆ ก็ไม่อาจมีผลบังคับได้ในเมื่อขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๙ ที่มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินได้ จึงเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม(ศาลจังหวัดเชียงใหม่)
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นวัดในพระพุทธศาสนาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๙๓ จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นส่วนราชการในสังกัดกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ วรรคสาม ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองจึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของที่ดินและให้โรงเรียนสันป่าสักวิทยาคาร ใช้ที่ดินของผู้ฟ้องคดีบางส่วน ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไปออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงฉบับพิพาท ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ของโรงเรียนมิใช่ที่ดินของวัดผู้ฟ้องคดี คดีนี้จึงมีปัญหาที่ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินระหว่างคู่กรณี เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน อันอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ระหว่างวัดสันป่าสัก ผู้ฟ้องคดีสำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงใหม่ ที่ ๑ กรมที่ดิน ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดเชียงใหม่
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๕
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๔/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดเพชรบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดเพชรบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายรักศักดิ์ ประเสริฐศักดิ์ โจทก์ ยื่นฟ้องเทศบาลตำบลชะอำ จำเลย ต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี เป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ ๘๗๐/๒๕๔๖ ความว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ เนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่เศษ โดยซื้อที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดินเดิมตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ และเสียภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอดเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๒ จำเลยในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอำนาจดูแลที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ประเภทที่กฎหมายกำหนดได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์รื้อถอนรั้วคอนกรีตรอบแนวที่ดินดังกล่าว ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง โดยอ้างว่า เจ้าของที่ดินเดิมได้สร้างรั้วคอนกรีตบนที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์จึงโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวว่าจำเลยไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์รื้อถอนรั้วดังกล่าว เพราะโจทก์ได้รับโอนที่ดินพร้อมรั้วโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมา จำเลยได้มอบหมายให้พนักงานดำเนินการรื้อถอนรั้วของโจทก์ ซึ่งโจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคำสั่งที่ให้รื้อถอนรั้วคอนกรีตและการดำเนินการรื้อถอนดังกล่าวได้มีขึ้นเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปีนับจากที่จำเลยทราบถึงการก่อสร้างรั้วที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้น อีกทั้งแม้รั้วจะก่อสร้างขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ก็เป็นกรณีที่โจทก์สามารถที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนั้นการรื้อถอนรั้วดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ โดยกระทำผิดต่อกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสิทธิของโจทก์ อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
นอกจากนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี สาขาชะอำออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์พบว่า จำเลยได้ดำเนินการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินบริเวณที่โจทก์ครอบครองให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ โจทก์จึงได้ยื่นคำคัดค้านไว้โดยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ครอบครองไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ แต่เป็นที่ดินที่มีการครอบครองต่อเนื่องกันมาอนึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบพบว่า เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินเดิมได้เคยดำเนินการยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินไว้แล้ว แต่ปรากฏว่า จำเลยได้คัดค้านว่า เป็นที่สาธารณประโยชน์ทำให้สำนักงานที่ดินฯ ไม่สามารถอนุมัติการออกโฉนดให้แก่ที่ดินได้ ต่อมา สำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี สาขาชะอำได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อแสดงว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินและไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ มิฉะนั้นแล้ว จะพิจารณาออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้แก่จำเลย โจทก์เห็นว่า การยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของจำเลยเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะที่ดินบริเวณดังกล่าวไม่มีหลักฐานการนำขึ้นทะเบียนมาก่อน และมิใช่ที่สาธารณประโยชน์อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ดูแลของจำเลยตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงหรือประกาศขึ้นทะเบียนที่ดินแปลงของโจทก์เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ และจำเลยไม่มีอำนาจคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของผู้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าว
โจทก์เห็นว่า การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จึงฟ้องคดีต่อศาลขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยทำการก่อสร้างรั้วคอนกรีตที่จำเลยรื้อถอนและปรับปรุงที่ดินของโจทก์ให้กลับอยู่สภาพเดิม หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์มีอำนาจดำเนินการได้เอง โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น โดยให้โจทก์บังคับเอากับจำเลย ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในอัตราเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะดำเนินการเสร็จ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ที่ดินของโจทก์มิใช่ทางสาธารณประโยชน์ ห้ามมิให้จำเลยดำเนินการยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาห้ามมิให้จำเลยและบริวารกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปขอให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้เนื่องจากที่ดินพร้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กพิพาทที่โจทก์ครอบครองอยู่ มิใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง แต่เป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และจำเลยมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๒ ในการออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนรั้วพิพาทของจำเลย เมื่อจำเลยได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบโดยชอบและพ้นกำหนดระยะเวลาตามคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนรั้วพิพาทแล้วโจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินการรื้อถอนเองได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒มาตรา ๔๓ (๒) การที่จำเลยโดยเจ้าหน้าที่ของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการรื้อถอนรั้วพิพาทดังกล่าว จึงเป็นการกระทำอันชอบด้วยกฎหมายและกระทำไปภายใต้อำนาจที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒มาตรา ๔๓ วรรคสอง นอกจากนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทได้เนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน การที่โจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทต่อสำนักงานที่ดินฯ โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นการใช้สิทธิอันไม่สุจริต อีกทั้งฟ้องโจทก์ในส่วนที่อ้างว่า จำเลยเป็นผู้คัดค้านการออกโฉนดที่ดินพิพาทของโจทก์ และจำเลยเป็นผู้ยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง จำเลยขอให้การปฏิเสธว่า ฟ้องโจทก์ในเรื่องนี้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม เนื่องจากจำเลยไม่เคยหรือมอบหมายให้ผู้ใดไปดำเนินการคัดค้านการขอออกโฉนดของโจทก์ อีกทั้งจำเลยไม่เคยหรือมอบหมายให้ผู้ใดไปดำเนินการยื่นคำขอออกหนังสือสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาทแต่อย่างใดเนื่องจากการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอชะอำโดยตรง จำเลยจึงไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงหรือได้รับมอบหมายจากอำเภอชะอำให้เป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อนี้ได้เนื่องจากจำเลยมิได้กระทำการใดๆ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์
นอกจากนี้ จำเลยให้การโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า มูลเหตุแห่งคดีที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ต่อศาลนั้นเนื่องมาจากการที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนรั้วพิพาทซึ่งสร้างขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยเป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนรั้วพิพาทอันเป็นการกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในอำนาจหน้าที่โดยชอบ มิใช่การกระทำในฐานะอันเป็นส่วนตัว มูลคดีพิพาทนี้จึงเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองนั่นเอง คดีดังกล่าวจึงเป็นคดีปกครองอันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี อนึ่ง ก่อนวันสืบพยาน จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดเพชรบุรีรอการพิจารณาได้ชั่วคราวและส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปยังศาลปกครองกลางเพื่อทำความเห็นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒
ศาลจังหวัดเพชรบุรีเห็นว่า การที่ศาลจะวินิจฉัยว่าจำเลยมีอำนาจโดยชอบที่จะออกคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้หรือไม่นั้นศาลจำต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้ศาลจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครอง การใช้ประโยชน์และการได้มาในที่ดินของคู่ความแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ และจำต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมโดยเฉพาะ ส่วนประเด็นที่โจทก์ขอให้จำเลยสร้างรั้วคอนกรีตและปรับปรุงที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมพร้อมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ว่าการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตบนที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๒) อันเนื่องมาจากโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีอำนาจตามกฎหมายและคำสั่งสิ้นผลบังคับไปแล้ว แต่จำเลยยังดำเนินการรื้อถอนรั้วคอนกรีตอีก การกระทำของจำเลยเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ นอกจากนี้โจทก์ยังขอให้บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดดังกล่าวด้วย ประเด็นข้อพิพาทนี้จึงอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางเห็นว่า คดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองโดยกล่าวหาว่า จำเลยใช้อำนาจตามมาตรา ๔๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ เข้าไปรื้อถอนรั้วคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นประเด็นหลักในคดี แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่ารั้วพิพาทดังกล่าวได้ก่อสร้างบนที่ดินของโจทก์ที่มีการครอบครองต่อเนื่องตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี และเมื่อโจทก์เห็นว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสิทธิของโจทก์ ขอให้จำเลยก่อสร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กและปรับปรุงที่ดินให้กลับคืนสภาพเดิม รวมทั้งชดใช้ค่าเสียหายในเหตุละเมิดดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองถูกกล่าวหาว่า กระทำละเมิดโดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ คำฟ้องนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การคดีนี้สรุปได้ว่า โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตรอบแนวที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยทำการก่อสร้างรั้วและปรับปรุงที่ดินของโจทก์ให้กลับสู่สภาพเดิมและให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งจำเลยได้ดำเนินการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในบริเวณที่โจทก์ครอบครองให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ ส่วนจำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่ มิใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองแต่เป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทได้ และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะดำเนินการรื้อถอนรั้วพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นก่อนที่จะพิจารณาได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดหรือไม่ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่ความ เป็นกรณีพิพาทอันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่าง นายรักศักดิ์ ประเสริฐศักดิ์ โจทก์ กับเทศบาลตำบลชะอำ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดเพชรบุรี
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๔/๒๕๔๗
วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดเพชรบุรี
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดเพชรบุรีโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายรักศักดิ์ ประเสริฐศักดิ์ โจทก์ ยื่นฟ้องเทศบาลตำบลชะอำ จำเลย ต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี เป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ ๘๗๐/๒๕๔๖ ความว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ เนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่เศษ โดยซื้อที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดินเดิมตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ และเสียภาษีบำรุงท้องที่มาโดยตลอดเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๒ จำเลยในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีอำนาจดูแลที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ประเภทที่กฎหมายกำหนดได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์รื้อถอนรั้วคอนกรีตรอบแนวที่ดินดังกล่าว ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง โดยอ้างว่า เจ้าของที่ดินเดิมได้สร้างรั้วคอนกรีตบนที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์จึงโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวว่าจำเลยไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์รื้อถอนรั้วดังกล่าว เพราะโจทก์ได้รับโอนที่ดินพร้อมรั้วโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมา จำเลยได้มอบหมายให้พนักงานดำเนินการรื้อถอนรั้วของโจทก์ ซึ่งโจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคำสั่งที่ให้รื้อถอนรั้วคอนกรีตและการดำเนินการรื้อถอนดังกล่าวได้มีขึ้นเมื่อพ้นกำหนด ๑ ปีนับจากที่จำเลยทราบถึงการก่อสร้างรั้วที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้น อีกทั้งแม้รั้วจะก่อสร้างขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ก็เป็นกรณีที่โจทก์สามารถที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนั้นการรื้อถอนรั้วดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ โดยกระทำผิดต่อกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสิทธิของโจทก์ อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
นอกจากนี้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี สาขาชะอำออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์พบว่า จำเลยได้ดำเนินการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในที่ดินบริเวณที่โจทก์ครอบครองให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ โจทก์จึงได้ยื่นคำคัดค้านไว้โดยอ้างว่าที่ดินที่โจทก์ครอบครองไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ แต่เป็นที่ดินที่มีการครอบครองต่อเนื่องกันมาอนึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบพบว่า เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินเดิมได้เคยดำเนินการยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินไว้แล้ว แต่ปรากฏว่า จำเลยได้คัดค้านว่า เป็นที่สาธารณประโยชน์ทำให้สำนักงานที่ดินฯ ไม่สามารถอนุมัติการออกโฉนดให้แก่ที่ดินได้ ต่อมา สำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบุรี สาขาชะอำได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อแสดงว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินและไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ มิฉะนั้นแล้ว จะพิจารณาออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้แก่จำเลย โจทก์เห็นว่า การยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของจำเลยเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะที่ดินบริเวณดังกล่าวไม่มีหลักฐานการนำขึ้นทะเบียนมาก่อน และมิใช่ที่สาธารณประโยชน์อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ดูแลของจำเลยตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงหรือประกาศขึ้นทะเบียนที่ดินแปลงของโจทก์เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ และจำเลยไม่มีอำนาจคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของผู้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าว
โจทก์เห็นว่า การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก จึงฟ้องคดีต่อศาลขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยทำการก่อสร้างรั้วคอนกรีตที่จำเลยรื้อถอนและปรับปรุงที่ดินของโจทก์ให้กลับอยู่สภาพเดิม หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์มีอำนาจดำเนินการได้เอง โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น โดยให้โจทก์บังคับเอากับจำเลย ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในอัตราเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะดำเนินการเสร็จ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ที่ดินของโจทก์มิใช่ทางสาธารณประโยชน์ ห้ามมิให้จำเลยดำเนินการยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาห้ามมิให้จำเลยและบริวารกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปขอให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้เนื่องจากที่ดินพร้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กพิพาทที่โจทก์ครอบครองอยู่ มิใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง แต่เป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และจำเลยมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๒ ในการออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนรั้วพิพาทของจำเลย เมื่อจำเลยได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบโดยชอบและพ้นกำหนดระยะเวลาตามคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนรั้วพิพาทแล้วโจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินการรื้อถอนเองได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒มาตรา ๔๓ (๒) การที่จำเลยโดยเจ้าหน้าที่ของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการรื้อถอนรั้วพิพาทดังกล่าว จึงเป็นการกระทำอันชอบด้วยกฎหมายและกระทำไปภายใต้อำนาจที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์ โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒มาตรา ๔๓ วรรคสอง นอกจากนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทได้เนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน การที่โจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทต่อสำนักงานที่ดินฯ โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นการใช้สิทธิอันไม่สุจริต อีกทั้งฟ้องโจทก์ในส่วนที่อ้างว่า จำเลยเป็นผู้คัดค้านการออกโฉนดที่ดินพิพาทของโจทก์ และจำเลยเป็นผู้ยื่นคำขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง จำเลยขอให้การปฏิเสธว่า ฟ้องโจทก์ในเรื่องนี้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม เนื่องจากจำเลยไม่เคยหรือมอบหมายให้ผู้ใดไปดำเนินการคัดค้านการขอออกโฉนดของโจทก์ อีกทั้งจำเลยไม่เคยหรือมอบหมายให้ผู้ใดไปดำเนินการยื่นคำขอออกหนังสือสำหรับที่หลวงในที่ดินพิพาทแต่อย่างใดเนื่องจากการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอชะอำโดยตรง จำเลยจึงไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงหรือได้รับมอบหมายจากอำเภอชะอำให้เป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อนี้ได้เนื่องจากจำเลยมิได้กระทำการใดๆ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์
นอกจากนี้ จำเลยให้การโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่า มูลเหตุแห่งคดีที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ต่อศาลนั้นเนื่องมาจากการที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนรั้วพิพาทซึ่งสร้างขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยเป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนรั้วพิพาทอันเป็นการกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในอำนาจหน้าที่โดยชอบ มิใช่การกระทำในฐานะอันเป็นส่วนตัว มูลคดีพิพาทนี้จึงเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองนั่นเอง คดีดังกล่าวจึงเป็นคดีปกครองอันเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี อนึ่ง ก่อนวันสืบพยาน จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดเพชรบุรีรอการพิจารณาได้ชั่วคราวและส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปยังศาลปกครองกลางเพื่อทำความเห็นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.๒๕๔๒
ศาลจังหวัดเพชรบุรีเห็นว่า การที่ศาลจะวินิจฉัยว่าจำเลยมีอำนาจโดยชอบที่จะออกคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้หรือไม่นั้นศาลจำต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้ศาลจะต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครอง การใช้ประโยชน์และการได้มาในที่ดินของคู่ความแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ และจำต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คดีจึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมโดยเฉพาะ ส่วนประเด็นที่โจทก์ขอให้จำเลยสร้างรั้วคอนกรีตและปรับปรุงที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมพร้อมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ว่าการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตบนที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๒) อันเนื่องมาจากโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองก็ตาม แต่ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีอำนาจตามกฎหมายและคำสั่งสิ้นผลบังคับไปแล้ว แต่จำเลยยังดำเนินการรื้อถอนรั้วคอนกรีตอีก การกระทำของจำเลยเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ นอกจากนี้โจทก์ยังขอให้บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดดังกล่าวด้วย ประเด็นข้อพิพาทนี้จึงอยู่ในเขตอำนาจศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางเห็นว่า คดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองโดยกล่าวหาว่า จำเลยใช้อำนาจตามมาตรา ๔๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ เข้าไปรื้อถอนรั้วคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นประเด็นหลักในคดี แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่ารั้วพิพาทดังกล่าวได้ก่อสร้างบนที่ดินของโจทก์ที่มีการครอบครองต่อเนื่องตลอดระยะเวลา ๖๐ ปี และเมื่อโจทก์เห็นว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือสิทธิของโจทก์ ขอให้จำเลยก่อสร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กและปรับปรุงที่ดินให้กลับคืนสภาพเดิม รวมทั้งชดใช้ค่าเสียหายในเหตุละเมิดดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองถูกกล่าวหาว่า กระทำละเมิดโดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ คำฟ้องนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนั้น จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การคดีนี้สรุปได้ว่า โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตรอบแนวที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยทำการก่อสร้างรั้วและปรับปรุงที่ดินของโจทก์ให้กลับสู่สภาพเดิมและให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งจำเลยได้ดำเนินการขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงในบริเวณที่โจทก์ครอบครองให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ โจทก์จึงขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ ส่วนจำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่ มิใช่ที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครองแต่เป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทได้ และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะดำเนินการรื้อถอนรั้วพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นก่อนที่จะพิจารณาได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดหรือไม่ ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่ความ เป็นกรณีพิพาทอันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่าง นายรักศักดิ์ ประเสริฐศักดิ์ โจทก์ กับเทศบาลตำบลชะอำ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดเพชรบุรี
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๓/๒๕๔๗
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายอำนวย เกียรติดอนเมือง เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายอานพ อัศววุฒิพงษ์ ที่ ๑พันตำรวจโท สุพจน์ ฟักแฟงหรือฟักแฟ ที่ ๒ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๐๐๕/๒๕๔๖ ความว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ จำเลยที่ ๒ ในฐานะส่วนตัวและฐานะของพนักงานสอบสวนคดีอาญาตามอำนาจหน้าที่และตามคำสั่งของจำเลยที่ ๓ ทำการจับกุมคุมขังโจทก์ ตามคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ ๑ ที่กล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดในคดีอาญาและส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์ต่อศาลอาญา
ต่อมา จำเลยที่ ๑ ร่วมกับจำเลยที่ ๒ โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๓ ได้ร่วมกันยึดทรัพย์สินของโจทก์ อันประกอบด้วย เงินสดจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และรถตู้พร้อมสมุดจดทะเบียนรถยนต์ตู้หมายเลขทะเบียน ๓ฝ-๙๖๗๓ กรุงเทพมหานคร นำไปขายแก่บุคคลภายนอกเป็นเงิน ๓๙๘,๐๐๐ บาท แล้วนำเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวมอบแก่จำเลยที่ ๑ โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม ภายหลังศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๓๔๗๓/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ ว่า จำเลยที่ ๒ (โจทก์ในคดีนี้) ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงพิพากษาให้ยกฟ้อง ฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนเงินและรถยนต์แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ให้การต่อสู้คดีและยื่นคำร้องว่าคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ ๒และที่ ๓ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่จำเลยที่ ๒ ในฐานะพนักงานสอบสวนยึดทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาเป็นของกลางกับตรวจคืนแก่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้เสียหาย เป็นการดำเนินการตามอำนาจของพนักงานสอบสวนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบของศาลยุติธรรม ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ฟ้องของโจทก์ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายจากการกระทำซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นตอนในการดำเนินการของพนักงานสอบสวนตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ดังกล่าว คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ จำเลยที่ ๒ ได้คืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ ๑ ในฐานะเป็นทรัพย์สินซึ่งได้มาโดยการกระทำผิดในขณะที่คดียังไม่เสร็จและศาลก็มิได้มีคำสั่งให้คืน จึงเป็นการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการกระทำที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเข้าข่ายเป็นกรณีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเป็นกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น การกระทำละเมิดของจำเลยที่ ๒ กับพวก อันเกิดจากการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังกล่าว จึงเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาได้
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีละเมิดเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่เจ้าพนักงานตำรวจกระทำการตามกระบวนการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินกิจการหรือการกระทำต่าง ๆ ของรัฐ ย่อมจะต้องถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายได้โดยศาล ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทางปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ซึ่งบัญญัติให้ ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือในคดีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร อันเป็นการตรวจสอบการกระทำทางปกครองส่วนศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ ซึ่งได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่น ๆ ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
การดำเนินคดีอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการนั้น อาจจะมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย ขั้นตอนใดเป็นการกระทำที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่การกระทำใดที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการกระทำที่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒การกระทำนั้น จะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง
สำหรับคดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามว่าร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ จำเลยที่ ๑ ร่วมกับจำเลยที่ ๒ โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๓ ได้ร่วมกันยึดทรัพย์สินของโจทก์ ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยข้อหาปล้นทรัพย์ อันประกอบด้วย เงินสดจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และรถตู้พร้อมสมุดจดทะเบียนรถยนต์ตู้หมายเลขทะเบียน ๓ฝ-๙๖๗๓ กรุงเทพมหานคร แล้วนำไปขายแก่บุคคลภายนอกเป็นเงิน๓๙๘,๐๐๐ บาท แล้วนำเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวมอบแก่จำเลยที่ ๑ โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม ต่อมา ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๓๔๗๓/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ ว่า จำเลยที่ ๒ (โจทก์ในคดีนี้) มิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงพิพากษาให้ยกฟ้อง ฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย พิจารณาเห็นว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนคดีอาญาเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยเอาไว้เป็นการเฉพาะ เมื่อจำเลยที่ ๑ ร่วมกับจำเลยที่ ๒ โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๓ นำทรัพย์สินของโจทก์ออกขายก่อนศาลในคดีอาญาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษา ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลแพ่ง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิดอันเกิดอันเกิดจากการที่เจ้าพนักงานตำรวจกระทำการตามกระบวนการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระหว่าง นายอำนวย เกียรติดอนเมือง โจทก์ นายอานพ อัศววุฒิพงษ์ ที่ ๑ พันตำรวจโท สุพจน์ฟักแฟงหรือฟักแฟ ที่ ๒ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
พลโท (อัฏฐพร เจริญพานิช) พลโท (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๔
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๓/๒๕๔๗
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจของศาลที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและรับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
นายอำนวย เกียรติดอนเมือง เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายอานพ อัศววุฒิพงษ์ ที่ ๑พันตำรวจโท สุพจน์ ฟักแฟงหรือฟักแฟ ที่ ๒ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลแพ่งเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๐๐๕/๒๕๔๖ ความว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ จำเลยที่ ๒ ในฐานะส่วนตัวและฐานะของพนักงานสอบสวนคดีอาญาตามอำนาจหน้าที่และตามคำสั่งของจำเลยที่ ๓ ทำการจับกุมคุมขังโจทก์ ตามคำร้องทุกข์ของจำเลยที่ ๑ ที่กล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดในคดีอาญาและส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์ต่อศาลอาญา
ต่อมา จำเลยที่ ๑ ร่วมกับจำเลยที่ ๒ โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๓ ได้ร่วมกันยึดทรัพย์สินของโจทก์ อันประกอบด้วย เงินสดจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และรถตู้พร้อมสมุดจดทะเบียนรถยนต์ตู้หมายเลขทะเบียน ๓ฝ-๙๖๗๓ กรุงเทพมหานคร นำไปขายแก่บุคคลภายนอกเป็นเงิน ๓๙๘,๐๐๐ บาท แล้วนำเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวมอบแก่จำเลยที่ ๑ โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม ภายหลังศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๓๔๗๓/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ ว่า จำเลยที่ ๒ (โจทก์ในคดีนี้) ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงพิพากษาให้ยกฟ้อง ฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนเงินและรถยนต์แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ให้การต่อสู้คดีและยื่นคำร้องว่าคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ ๒และที่ ๓ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่จำเลยที่ ๒ ในฐานะพนักงานสอบสวนยึดทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาเป็นของกลางกับตรวจคืนแก่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้เสียหาย เป็นการดำเนินการตามอำนาจของพนักงานสอบสวนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบของศาลยุติธรรม ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ฟ้องของโจทก์ประสงค์จะเรียกค่าเสียหายจากการกระทำซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นตอนในการดำเนินการของพนักงานสอบสวนตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ดังกล่าว คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ จำเลยที่ ๒ ได้คืนทรัพย์สินให้แก่จำเลยที่ ๑ ในฐานะเป็นทรัพย์สินซึ่งได้มาโดยการกระทำผิดในขณะที่คดียังไม่เสร็จและศาลก็มิได้มีคำสั่งให้คืน จึงเป็นการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการกระทำที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเข้าข่ายเป็นกรณีพิพาทตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และเป็นกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น การกระทำละเมิดของจำเลยที่ ๒ กับพวก อันเกิดจากการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังกล่าว จึงเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาได้
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีละเมิดเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่เจ้าพนักงานตำรวจกระทำการตามกระบวนการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินกิจการหรือการกระทำต่าง ๆ ของรัฐ ย่อมจะต้องถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายได้โดยศาล ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทางปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ซึ่งบัญญัติให้ ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือในคดีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร อันเป็นการตรวจสอบการกระทำทางปกครองส่วนศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ ซึ่งได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่น ๆ ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
การดำเนินคดีอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการนั้น อาจจะมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย ขั้นตอนใดเป็นการกระทำที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่การกระทำใดที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการกระทำที่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒การกระทำนั้น จะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง
สำหรับคดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามว่าร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ จำเลยที่ ๑ ร่วมกับจำเลยที่ ๒ โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๓ ได้ร่วมกันยึดทรัพย์สินของโจทก์ ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยข้อหาปล้นทรัพย์ อันประกอบด้วย เงินสดจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และรถตู้พร้อมสมุดจดทะเบียนรถยนต์ตู้หมายเลขทะเบียน ๓ฝ-๙๖๗๓ กรุงเทพมหานคร แล้วนำไปขายแก่บุคคลภายนอกเป็นเงิน๓๙๘,๐๐๐ บาท แล้วนำเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวมอบแก่จำเลยที่ ๑ โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม ต่อมา ศาลได้มีคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๓๔๗๓/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ ว่า จำเลยที่ ๒ (โจทก์ในคดีนี้) มิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงพิพากษาให้ยกฟ้อง ฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นละเมิดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย พิจารณาเห็นว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนคดีอาญาเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยเอาไว้เป็นการเฉพาะ เมื่อจำเลยที่ ๑ ร่วมกับจำเลยที่ ๒ โดยคำสั่งของจำเลยที่ ๓ นำทรัพย์สินของโจทก์ออกขายก่อนศาลในคดีอาญาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษา ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลแพ่ง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิดอันเกิดอันเกิดจากการที่เจ้าพนักงานตำรวจกระทำการตามกระบวนการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระหว่าง นายอำนวย เกียรติดอนเมือง โจทก์ นายอานพ อัศววุฒิพงษ์ ที่ ๑ พันตำรวจโท สุพจน์ฟักแฟงหรือฟักแฟ ที่ ๒ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ ๓ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลแพ่ง
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
พลโท (อัฏฐพร เจริญพานิช) พลโท (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๔
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๒/๒๕๔๗
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
ระหว่าง
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาล แต่ศาลนั้นไม่รับฟ้องเพราะเหตุว่าคดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดไม่อยู่ในอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๖ นางบุญพิมพ์ ริมดุสิต ที่ ๑ นายสนั่น ริมดุสิต ที่๒โดยนางอำพร สังข์ทอง ผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในคดีแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ ๔๑๘/๒๕๔๖ ข้อเท็จจริงสรุปได้ความว่า โจทก์ทั้งสอง เป็นมารดาและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสุทธิศักดิ์ ริมดุสิตผู้ตาย เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๕ เวลาประมาณ ๙ นาฬิกา ผู้ตายถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จับกุมในข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา ระหว่างผู้ตายถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี สิบตำรวจตรี ไพรัตน์ วงศ์ทอง ทำหน้าที่สิบเวร พันตำรวจตรี ไพฑูรย์ กระจะจ่าง พนักงานสอบสวน และพันตำรวจเอก ชัยพรวามะศิริ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหา ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ใส่กุญแจห้องควบคุมผู้ต้องหาอื่น ทำให้ผู้ต้องหาอื่น ๙ คน เข้าไปรุมทำร้ายผู้ตายซึ่งอยู่ในห้องควบคุมคดีอาญาถึงแก่ความตาย โดยเจ้าพนักงานตำรวจไม่ห้ามปรามทั้งที่สามารถทำได้ จึงเป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยในฐานะหน่วยงานของรัฐที่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวสังกัดอยู่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ทั้งสองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕ การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย โจทก์แต่ละคนขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๔๐ ปี เป็นเงินคนละ ๑,๔๔๐,๐๐๐ บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๘๘๐,๐๐๐ บาท ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน ๓,๐๘๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี แต่เนื่องจากการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาเป็นขั้นตอนในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา และเป็นการดำเนินการของพนักงานสอบสวนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มิใช่การกระทำละเมิด เนื่องจากการใช้อำนาจทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษา ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีละเมิดเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่เจ้าพนักงานตำรวจละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องหา อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินกิจการหรือการกระทำต่าง ๆ ของรัฐ ย่อมจะต้องถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายได้โดยศาล ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทางปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ซึ่งบัญญัติให้ ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือในคดีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร อันเป็นการตรวจสอบการกระทำทางปกครองส่วนศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ ซึ่งได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่น ๆ ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
การดำเนินคดีอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการนั้น อาจจะมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย ขั้นตอนใดเป็นการกระทำที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่การกระทำใดที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการกระทำที่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การกระทำนั้น จะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง
สำหรับคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐว่าระหว่างที่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีควบคุมตัวนายสิทธิศักดิ์ริมดุสิต ผู้ตาย ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ใส่กุญแจห้องควบคุมผู้ต้องหาอื่น ทำให้ผู้ต้องหาอื่น ๙ คน เข้าไปรุมทำร้ายผู้ตายซึ่งอยู่ในห้องควบคุมจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย โดยเจ้าพนักงานตำรวจไม่ห้ามปรามทั้งที่สามารถทำได้ ตามคำฟ้องจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ตายซึ่งเป็นบุตรของผู้ฟ้องคดีทั้งสองถึงแก่ความตายขณะอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งได้ใช้อำนาจ ในการควบคุมตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา และเป็นการดำเนินการของพนักงานสอบสวนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มิใช่การกระทำละเมิดเนื่องจากการใช้อำนาจทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษา ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า การฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่เจ้าพนักงานตำรวจละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องหา ระหว่าง นางบุญพิมพ์ ริมดุสิต ที่ ๑นายสนั่น ริมดุสิต ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เอกลักษณ์ คัด/ทาน
(นายจีรศักดิ์ ศรีรัตน์)
นักวิชาการเผยแพร่ ๓
๔
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๒/๒๕๔๗
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
ระหว่าง
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาล แต่ศาลนั้นไม่รับฟ้องเพราะเหตุว่าคดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดไม่อยู่ในอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๖ นางบุญพิมพ์ ริมดุสิต ที่ ๑ นายสนั่น ริมดุสิต ที่๒โดยนางอำพร สังข์ทอง ผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในคดีแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ ๔๑๘/๒๕๔๖ ข้อเท็จจริงสรุปได้ความว่า โจทก์ทั้งสอง เป็นมารดาและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสุทธิศักดิ์ ริมดุสิตผู้ตาย เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๕ เวลาประมาณ ๙ นาฬิกา ผู้ตายถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จับกุมในข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา ระหว่างผู้ตายถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี สิบตำรวจตรี ไพรัตน์ วงศ์ทอง ทำหน้าที่สิบเวร พันตำรวจตรี ไพฑูรย์ กระจะจ่าง พนักงานสอบสวน และพันตำรวจเอก ชัยพรวามะศิริ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหา ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ใส่กุญแจห้องควบคุมผู้ต้องหาอื่น ทำให้ผู้ต้องหาอื่น ๙ คน เข้าไปรุมทำร้ายผู้ตายซึ่งอยู่ในห้องควบคุมคดีอาญาถึงแก่ความตาย โดยเจ้าพนักงานตำรวจไม่ห้ามปรามทั้งที่สามารถทำได้ จึงเป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยในฐานะหน่วยงานของรัฐที่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวสังกัดอยู่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ทั้งสองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๕ การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย โจทก์แต่ละคนขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๔๐ ปี เป็นเงินคนละ ๑,๔๔๐,๐๐๐ บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๘๘๐,๐๐๐ บาท ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน ๓,๐๘๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ
ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้ผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดี แต่เนื่องจากการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาเป็นขั้นตอนในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา และเป็นการดำเนินการของพนักงานสอบสวนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มิใช่การกระทำละเมิด เนื่องจากการใช้อำนาจทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษา ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ คดีละเมิดเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่เจ้าพนักงานตำรวจละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องหา อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินกิจการหรือการกระทำต่าง ๆ ของรัฐ ย่อมจะต้องถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายได้โดยศาล ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทางปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๖ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ซึ่งบัญญัติให้ ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือในคดีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือในคดีที่มีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร อันเป็นการตรวจสอบการกระทำทางปกครองส่วนศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๑ ซึ่งได้แก่ คดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่น ๆ ที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
การดำเนินคดีอาญานั้น เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการนั้น อาจจะมีการกระทำทางปกครองปะปนอยู่ด้วย ขั้นตอนใดเป็นการกระทำที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะโดยตรง การกระทำดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลยุติธรรม แต่การกระทำใดที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกระทำนอกเหนือหรือมิได้กระทำตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นการกระทำที่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ การกระทำนั้น จะอยู่ในอำนาจการควบคุมตรวจสอบของศาลปกครอง
สำหรับคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐว่าระหว่างที่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดีควบคุมตัวนายสิทธิศักดิ์ริมดุสิต ผู้ตาย ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ใส่กุญแจห้องควบคุมผู้ต้องหาอื่น ทำให้ผู้ต้องหาอื่น ๙ คน เข้าไปรุมทำร้ายผู้ตายซึ่งอยู่ในห้องควบคุมจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย โดยเจ้าพนักงานตำรวจไม่ห้ามปรามทั้งที่สามารถทำได้ ตามคำฟ้องจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ตายซึ่งเป็นบุตรของผู้ฟ้องคดีทั้งสองถึงแก่ความตายขณะอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งได้ใช้อำนาจ ในการควบคุมตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดอาญา และเป็นการดำเนินการของพนักงานสอบสวนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะ คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มิใช่การกระทำละเมิดเนื่องจากการใช้อำนาจทางปกครอง คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษา ตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า การฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่เจ้าพนักงานตำรวจละเลยต่อหน้าที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องหา ระหว่าง นางบุญพิมพ์ ริมดุสิต ที่ ๑นายสนั่น ริมดุสิต ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี กับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เอกลักษณ์ คัด/ทาน
(นายจีรศักดิ์ ศรีรัตน์)
นักวิชาการเผยแพร่ ๓
๔
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๑/๒๕๔๗
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพัทยา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ๖๑๒/๒๕๔๔ ระหว่าง นายไพบูลย์ ศิริมาก โดยนางตุ๊กตา ศิริมาก ผู้ฟ้องคดี นายอำเภอบางละมุง ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งโอนมาจากคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามมาตรา ๑๐๓ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ความว่า บิดามารดาของผู้ฟ้องคดีได้ครอบครองที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๙๑ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้ยกที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว จำนวน ๑๙ ไร่เศษ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีและภรรยาของผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีและภรรยาได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดินต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง ระหว่างมีการออกประกาศเพื่อออกโฉนดตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ถูกฟ้องคดี เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน อำเภอบางละมุง (นายจงกล มาบรรยงค์) และผู้ใหญ่บ้านได้คัดค้านการออกโฉนดดังกล่าว โดยกล่าวอ้างว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าที่ดินสาธารณประโยชน์ดังกล่าวกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีมิใช่แปลงเดียวกัน อีกทั้งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง และคณะกรรมการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดชลบุรีได้เคยตรวจสอบที่ดินแปลงพิพาทแล้ว เห็นว่ามิใช่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ยอมถอนคำคัดค้านการออกโฉนดดังกล่าว ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับโฉนดที่ดิน จึงขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้มีปัญหาที่จะต้องพิจารณาสองประเด็นประเด็นแรก คือการคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี เป็นการกระทำที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ ซึ่งเห็นว่าการคัดค้านการออกโฉนดที่ดินมิใช่เป็นการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำการโดยไม่มีอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย กรณีจึงมิต้องด้วยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ประกอบกับ ศาลปกครองไม่มีอำนาจสั่งห้ามการคัดค้านการออกโฉนดที่ดินพิพาท ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้ ดังนั้นศาลยุติธรรมจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในประเด็นนี้
ประเด็นที่สอง การคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินหรือไม่ ซึ่งศาลปกครองกลางเห็นว่า การที่จะพิจารณาการออกโฉนดที่ดินให้กับผู้ฟ้องคดีได้หรือไม่นั้นศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่ได้กล่าวอ้าง หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้าน ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีศาลจำต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๘/๒๕๔๕
ศาลจังหวัดพัทยาพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นแห่งคดีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินต่อจากบิดา มาตั้งแต่ ปี ๒๔๙๖ ตลอดมา เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดิน ในระหว่าง มีการออกประกาศเพื่อออกโฉนดตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ผู้ถูกฟ้องคดี เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน อำเภอบางละมุง (นายจงกล มาบรรยงค์) และผู้ใหญ่บ้านได้คัดค้าน โดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงมีประเด็นว่าที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีขอออกโฉนดนั้นเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ กรณีจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิอันเกี่ยวด้วยการก่อตั้งทรัพยสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ทรัพย์สิน มาตรา ๑๒๘๙ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
สำหรับประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินนั้นศาลจังหวัดพัทยาเห็นว่า เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ประเด็นตามคำขอในส่วนนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
คดีนี้ ทั้งสองศาลมีความเห็นสอดคล้องกันในประเด็นแห่งคดีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินต่อมาจากบิดาตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ ตลอดมา เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดินระหว่าง มีการออกประกาศเพื่อออกโฉนดตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านโดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นประเด็นพิพาทว่าที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีขอออกโฉนดนั้นเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ กรณีเป็นการโต้แย้งสิทธิอันเกี่ยวด้วยการก่อตั้งทรัพยสิทธิ อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ศาลทั้งสองมีความเห็นแย้งเฉพาะประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินว่าอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือการขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองการที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทนั้น เป็นกรณีโต้แย้งว่าการใช้อำนาจคัดค้านของผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการพิจารณาประเด็นดังกล่าวนั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งประเด็นนี้ทั้งสองศาลมีความเห็นสอดคล้องกันมาแต่ต้นว่าอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนั้น คดีนี้ทั้งคดีจึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี ระหว่าง นายไพบูลย์ ศิริมาก โดยนางตุ๊กตา ศิริมาก ผู้ฟ้องคดี นายอำเภอบางละมุงผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดพัทยา
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๑/๒๕๔๗
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพัทยา
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ๖๑๒/๒๕๔๔ ระหว่าง นายไพบูลย์ ศิริมาก โดยนางตุ๊กตา ศิริมาก ผู้ฟ้องคดี นายอำเภอบางละมุง ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งโอนมาจากคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามมาตรา ๑๐๓ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ความว่า บิดามารดาของผู้ฟ้องคดีได้ครอบครองที่ดินตาม ส.ค. ๑ เลขที่ ๑๙๑ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้ยกที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว จำนวน ๑๙ ไร่เศษ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีและภรรยาของผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีและภรรยาได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดินต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง ระหว่างมีการออกประกาศเพื่อออกโฉนดตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ถูกฟ้องคดี เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน อำเภอบางละมุง (นายจงกล มาบรรยงค์) และผู้ใหญ่บ้านได้คัดค้านการออกโฉนดดังกล่าว โดยกล่าวอ้างว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าที่ดินสาธารณประโยชน์ดังกล่าวกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีมิใช่แปลงเดียวกัน อีกทั้งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาบางละมุง และคณะกรรมการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดชลบุรีได้เคยตรวจสอบที่ดินแปลงพิพาทแล้ว เห็นว่ามิใช่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ยอมถอนคำคัดค้านการออกโฉนดดังกล่าว ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับโฉนดที่ดิน จึงขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้มีปัญหาที่จะต้องพิจารณาสองประเด็นประเด็นแรก คือการคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี เป็นการกระทำที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่ ซึ่งเห็นว่าการคัดค้านการออกโฉนดที่ดินมิใช่เป็นการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำการโดยไม่มีอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย กรณีจึงมิต้องด้วยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ประกอบกับ ศาลปกครองไม่มีอำนาจสั่งห้ามการคัดค้านการออกโฉนดที่ดินพิพาท ตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันได้ ดังนั้นศาลยุติธรรมจึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในประเด็นนี้
ประเด็นที่สอง การคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินหรือไม่ ซึ่งศาลปกครองกลางเห็นว่า การที่จะพิจารณาการออกโฉนดที่ดินให้กับผู้ฟ้องคดีได้หรือไม่นั้นศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีตามที่ได้กล่าวอ้าง หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้าน ซึ่งการพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีศาลจำต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๒๘/๒๕๔๕
ศาลจังหวัดพัทยาพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นแห่งคดีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินต่อจากบิดา มาตั้งแต่ ปี ๒๔๙๖ ตลอดมา เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดิน ในระหว่าง มีการออกประกาศเพื่อออกโฉนดตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ผู้ถูกฟ้องคดี เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน อำเภอบางละมุง (นายจงกล มาบรรยงค์) และผู้ใหญ่บ้านได้คัดค้าน โดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงมีประเด็นว่าที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีขอออกโฉนดนั้นเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ กรณีจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิอันเกี่ยวด้วยการก่อตั้งทรัพยสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๔ทรัพย์สิน มาตรา ๑๒๘๙ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
สำหรับประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินนั้นศาลจังหวัดพัทยาเห็นว่า เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ประเด็นตามคำขอในส่วนนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
คดีนี้ ทั้งสองศาลมีความเห็นสอดคล้องกันในประเด็นแห่งคดีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินต่อมาจากบิดาตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ ตลอดมา เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดินระหว่าง มีการออกประกาศเพื่อออกโฉนดตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านโดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นประเด็นพิพาทว่าที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีขอออกโฉนดนั้นเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือไม่ กรณีเป็นการโต้แย้งสิทธิอันเกี่ยวด้วยการก่อตั้งทรัพยสิทธิ อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ศาลทั้งสองมีความเห็นแย้งเฉพาะประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินว่าอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือการขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองการที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทนั้น เป็นกรณีโต้แย้งว่าการใช้อำนาจคัดค้านของผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการพิจารณาประเด็นดังกล่าวนั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งประเด็นนี้ทั้งสองศาลมีความเห็นสอดคล้องกันมาแต่ต้นว่าอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ดังนั้น คดีนี้ทั้งคดีจึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้ห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดี ระหว่าง นายไพบูลย์ ศิริมาก โดยนางตุ๊กตา ศิริมาก ผู้ฟ้องคดี นายอำเภอบางละมุงผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดพัทยา
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๐/๒๕๔๗
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ นางศรียงค์ วิมลสรกิจ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายอาวุธ วิมลสรกิจ ที่ ๑ พลโท สมศักดิ์ เผ่านาค ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางวิศิษฐ์ เผ่านาคที่ ๒ โจทก์ ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๘๓๗๙/๒๕๔๔ความว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของนายอาวุธ และนางวิศิษฐ์ ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๕๔ ตำบลทวีวัฒนา (บางพรม) อำเภอตลิ่งชัน (ทวีวัฒนา) กรุงเทพมหานครเนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๓ งาน ๒ ตารางวา เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จำเลยต้องการที่ดินบริเวณดังกล่าวจำนวน ๙ ไร่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวา เพื่อสร้างเป็นถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แต่เนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหมดอายุ ทำให้จำเลยไม่สามารถเวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาได้ จึงทำความตกลงกับโจทก์ทั้งสองให้จดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้เป็นถนนพุทธมณฑลสาย ๓ โดยจำเลยจะจ่ายค่าตอบแทนให้ตารางวาละ ๑๓,๗๕๐ บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท ต่อมา โจทก์ทั้งสองดำเนินการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงแต่จำเลยจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ไม่ครบจำนวนที่ตกลงไว้ นอกจากนี้ จำเลยยังไม่ดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนจากการที่ได้ตัดถนนสาธารณะผ่านทางตอนใต้ของที่ดินแปลงดังกล่าว (โฉนดเลขที่๔๘๕๔ ในส่วนที่ไม่ได้แบ่งแยกให้เป็นถนนพุทธมณฑลสาย ๓)คิดเป็นเนื้อที่ ๐-๒-๑.๖ ไร่ ซึ่งสำนักโยธาได้แจ้งให้จำเลยจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองตามราคาที่ดินปัจจุบันเป็นเงิน๒,๗๗๒,๐๐๐ บาท โจทก์ทั้งสองติดตามทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวตลอดมาแต่จำเลยอ้างว่าอยู่ระหว่างดำเนินการ จึงขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน๔๓,๖๐๙,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนด้วย
ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองซึ่งกระทำการแทนรัฐ อันมีลักษณะเป็นการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคชำระเงินตามสัญญาที่โจทก์ทั้งสองได้โอนที่ดินให้เป็นถนนพุทธมณฑลสาย ๓ สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงต้องเสนอคดีต่อศาลปกครอง ศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจที่จะรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาได้ โจทก์ทั้งสองจึงอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลแพ่งต่อศาลอุทธรณ์ โดยเห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่ง มิใช่สัญญาทางปกครองคดีจึงอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ประกอบกับโจทก์ทั้งสองได้เคยฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองกลางแล้วแต่ศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเป็นสัญญาทางแพ่ง มิใช่สัญญาทางปกครองตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ต่อมา ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา ๑๒ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๑๒ วรรคสอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจะถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอยานนาวา อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร อำเภอบางขุนเทียน อำเภอธนบุรีอำเภอบางกอกน้อย อำเภอตลิ่งชัน อำเภอภาษีเจริญ กิ่งอำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรีอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพราน และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๔๙๗ กับเจ้าของที่ดิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้กำหนดให้จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเวนคืนที่ดินและเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อก่อสร้างถนนพุทธมณฑล สาย ๓ ในการทำสัญญาจำเลยต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ปี๒๕๐๐ (หนังสือที่นว. ๑๕๕/๒๕๐๐) กล่าวคือ จำเลยจะต้องปรึกษาตกลงกับเจ้าของที่ดินเสียก่อนหากตกลงซื้อขายกันได้ก็ไม่ต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืน แต่หากตกลงกันไม่ได้และทางราชการจำเป็นต้องใช้ที่ดินนั้นก็ให้ออกพระราชบัญญัติเวนคืน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๓ และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองซึ่งสัญญาทางปกครองมีความหมายรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐและมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งและมีฐานะเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเวนคืน ในการตกลงทำสัญญาพิพาท หากเจ้าของที่ดินพิพาทไม่ยินยอมขาย ทางราชการก็จะดำเนินการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทต่อไป จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ โดยใช้อำนาจทางปกครองบังคับซื้อที่ดินจากเอกชน ทั้งการเวนคืนที่ดินพิพาทก็เพื่อใช้ในการก่อสร้างถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ประชาชนเป็นผู้ใช้และได้รับประโยชน์โดยตรง อันมีลักษณะเป็นการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ จึงเป็นสัญญาทางปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจะถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอยานนาวา อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร อำเภอบางขุนเทียน อำเภอธนบุรี อำเภอบางกอกน้อย อำเภอตลิ่งชัน อำเภอภาษีเจริญ กิ่งอำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรี อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทองอำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ.๒๔๙๗ ระหว่างนางศรียงค์ วิมลสรกิจ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายอาวุธ วิมลสรกิจ ที่ ๑ พลโทสมศักดิ์ เผ่านาค ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางวิศิษฐ์ เผ่านาค ที่ ๒ โจทก์ กับกรุงเทพมหานครจำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๒๐/๒๕๔๗
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๓
ศาลแพ่ง
ระหว่าง
ศาลปกครองกลาง
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลหนึ่งไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีนั้นไม่อยู่ในอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ นางศรียงค์ วิมลสรกิจ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายอาวุธ วิมลสรกิจ ที่ ๑ พลโท สมศักดิ์ เผ่านาค ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางวิศิษฐ์ เผ่านาคที่ ๒ โจทก์ ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร จำเลย ต่อศาลแพ่ง เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ๘๓๗๙/๒๕๔๔ความว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของนายอาวุธ และนางวิศิษฐ์ ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่ ๔๘๕๔ ตำบลทวีวัฒนา (บางพรม) อำเภอตลิ่งชัน (ทวีวัฒนา) กรุงเทพมหานครเนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๓ งาน ๒ ตารางวา เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จำเลยต้องการที่ดินบริเวณดังกล่าวจำนวน ๙ ไร่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวา เพื่อสร้างเป็นถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แต่เนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหมดอายุ ทำให้จำเลยไม่สามารถเวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาได้ จึงทำความตกลงกับโจทก์ทั้งสองให้จดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้เป็นถนนพุทธมณฑลสาย ๓ โดยจำเลยจะจ่ายค่าตอบแทนให้ตารางวาละ ๑๓,๗๕๐ บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท ต่อมา โจทก์ทั้งสองดำเนินการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงแต่จำเลยจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ไม่ครบจำนวนที่ตกลงไว้ นอกจากนี้ จำเลยยังไม่ดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนจากการที่ได้ตัดถนนสาธารณะผ่านทางตอนใต้ของที่ดินแปลงดังกล่าว (โฉนดเลขที่๔๘๕๔ ในส่วนที่ไม่ได้แบ่งแยกให้เป็นถนนพุทธมณฑลสาย ๓)คิดเป็นเนื้อที่ ๐-๒-๑.๖ ไร่ ซึ่งสำนักโยธาได้แจ้งให้จำเลยจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองตามราคาที่ดินปัจจุบันเป็นเงิน๒,๗๗๒,๐๐๐ บาท โจทก์ทั้งสองติดตามทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวตลอดมาแต่จำเลยอ้างว่าอยู่ระหว่างดำเนินการ จึงขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน๔๓,๖๐๙,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนด้วย
ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองซึ่งกระทำการแทนรัฐ อันมีลักษณะเป็นการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคชำระเงินตามสัญญาที่โจทก์ทั้งสองได้โอนที่ดินให้เป็นถนนพุทธมณฑลสาย ๓ สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงเป็นสัญญาทางปกครอง เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงต้องเสนอคดีต่อศาลปกครอง ศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจที่จะรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาได้ โจทก์ทั้งสองจึงอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลแพ่งต่อศาลอุทธรณ์ โดยเห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาทางแพ่ง มิใช่สัญญาทางปกครองคดีจึงอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ประกอบกับโจทก์ทั้งสองได้เคยฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองกลางแล้วแต่ศาลปกครองกลางไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเป็นสัญญาทางแพ่ง มิใช่สัญญาทางปกครองตามนัยมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ต่อมา ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา ๑๒ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ศาลแพ่งโดยสำนักงานศาลยุติธรรมจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา ๑๒ วรรคสอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจะถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองหรือไม่
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอยานนาวา อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร อำเภอบางขุนเทียน อำเภอธนบุรีอำเภอบางกอกน้อย อำเภอตลิ่งชัน อำเภอภาษีเจริญ กิ่งอำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรีอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพราน และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๔๙๗ กับเจ้าของที่ดิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้กำหนดให้จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเวนคืนที่ดินและเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อก่อสร้างถนนพุทธมณฑล สาย ๓ ในการทำสัญญาจำเลยต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ปี๒๕๐๐ (หนังสือที่นว. ๑๕๕/๒๕๐๐) กล่าวคือ จำเลยจะต้องปรึกษาตกลงกับเจ้าของที่ดินเสียก่อนหากตกลงซื้อขายกันได้ก็ไม่ต้องออกพระราชบัญญัติเวนคืน แต่หากตกลงกันไม่ได้และทางราชการจำเป็นต้องใช้ที่ดินนั้นก็ให้ออกพระราชบัญญัติเวนคืน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๓ และมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองซึ่งสัญญาทางปกครองมีความหมายรวมถึงสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐและมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งและมีฐานะเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งเป็นเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเวนคืน ในการตกลงทำสัญญาพิพาท หากเจ้าของที่ดินพิพาทไม่ยินยอมขาย ทางราชการก็จะดำเนินการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินพิพาทต่อไป จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองและเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ โดยใช้อำนาจทางปกครองบังคับซื้อที่ดินจากเอกชน ทั้งการเวนคืนที่ดินพิพาทก็เพื่อใช้ในการก่อสร้างถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ประชาชนเป็นผู้ใช้และได้รับประโยชน์โดยตรง อันมีลักษณะเป็นการจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ จึงเป็นสัญญาทางปกครอง
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจะถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอยานนาวา อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร อำเภอบางขุนเทียน อำเภอธนบุรี อำเภอบางกอกน้อย อำเภอตลิ่งชัน อำเภอภาษีเจริญ กิ่งอำเภอหนองแขม จังหวัดธนบุรี อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทองอำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ.๒๔๙๗ ระหว่างนางศรียงค์ วิมลสรกิจ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายอาวุธ วิมลสรกิจ ที่ ๑ พลโทสมศักดิ์ เผ่านาค ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางวิศิษฐ์ เผ่านาค ที่ ๒ โจทก์ กับกรุงเทพมหานครจำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลปกครองกลาง
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) และมาตรา 3
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๙/๒๕๔๗
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองขอนแก่น
ระหว่าง
ศาลจังหวัดหนองบัวลำภู
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองขอนแก่นส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาล แต่ศาลนั้นไม่รับฟ้องเพราะเหตุว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕ นายบุญมี สิงห์หล้า เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมที่ดินที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ที่ ๒ นายอำเภอศรีบุญเรือง ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๔๓๑/๒๕๔๕ ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๗๑๘ เลขที่ดิน ๘๙ตำบลนากอกอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน ๒๗ ไร่ ๒๐ ตารางวา ซึ่งโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ติดต่อกันมาตลอด ต่อมา จำเลยที่ ๑ ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลง "พนังบ้านแกสาธารณประโยชน์" เลขที่ ๔๓๑๙๐ ทับที่ดิน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวของโจทก์จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา โดยโจทก์ไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอม โจทก์จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปยังจำเลยที่ ๒ ซึ่งจำเลยที่ ๒ ได้สั่งการให้จำเลยที่ ๓ตรวจสอบข้อเท็จจริงและได้มีการออกใบแทน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวให้แก่โจทก์โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย รบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ จึงขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่๔๓๑๙๐ แปลงพนังบ้านแกสาธารณประโยชน์ หมู่ ๖ ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เนื้อที่ประมาณ๒๐ ไร่ ๓๗ ตารางวา และให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๗๑๘ เล่ม ๒๘ ก. หน้า ๑๘ ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
ศาลจังหวัดหนองบัวลำภูพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยอ้างว่าการออกหนังสือดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการกระทำทางปกครอง ส่วนคำขออื่น ๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากการกระทำดังกล่าว คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
ต่อมา วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดี (โจทก์) นำคดีนี้ไปฟ้องผู้ถูกฟ้องคดี(จำเลย) ทั้งสามต่อศาลปกครองขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๙๖/๒๕๔๕ โดยมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า ภายหลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ทำเรื่องเสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แจ้งว่าที่ดินน.ส. ๓ ก.ของผู้ฟ้องคดีเป็นที่สาธารณประโยชน์ การออกเอกสารสิทธิให้เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นประธานจึงมีมติให้เพิกถอนเอกสารสิทธิดังกล่าว การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นไปโดยมิชอบ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู ขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง "พนังบ้านแกสาธารณประโยชน์" ในส่วนที่ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี และห้ามผู้ถูกฟ้องคดีเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของผู้ฟ้องคดีอีกต่อไป
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า เจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการรังวัดตรวจสอบและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวจะออกทับที่ดิน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดี จำนวน๒๐ไร่ ๓๘ ตารางวา โดยไม่ได้มีการแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีมาลงชื่อและรับรองแนวเขต แต่ที่ดินดังกล่าวก็ยังเป็นที่สาธารณประโยชน์ เพราะปรากฏข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบและจากระวางภาพถ่ายทางอากาศว่าเป็นที่ดินที่ประชาชนใช้สอยร่วมกันมาโดยตลอด มติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดหนองบัวลำภูที่ให้เพิกถอนเอกสารสิทธิน.ส. ๓ ก. เป็นไปโดยถูกต้องแล้ว เพราะการออกเอกสารสิทธิ น.ส. ๓ ก. ให้ผู้ฟ้องคดีเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้รับคำสั่งจากจังหวัดอุดรธานีให้ขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่สาธารณประโยชน์ที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงได้ยื่นขอออกหนังสือที่ดินแปลง "พนังบ้านแกสาธารณประโยชน์" อันเป็นที่สำหรับประชาชนใช้เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงได้ทำการรังวัดที่ดินดังกล่าวและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๔๓๑๙๐ ให้ โดยผู้ฟ้องคดีมิได้มาคัดค้านแต่อย่างใดสำหรับการทำประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีในที่ดินพิพาทนั้นถือเป็นการบุกรุกรบกวนการใช้ร่วมกันของประชาชนในที่สาธารณประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท
ผู้ฟ้องคดียื่นคำคัดค้านคำให้การว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการสำรวจรังวัดไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบเนื่องจากมิได้จัดให้ผู้ฟ้องคดีรับรองแนวเขตที่ดินข้างเคียง ที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้คัดค้านเพราะไม่ทราบเรื่องการรังวัด นอกจากนี้ ที่ดินพิพาทมิใช่ที่สาธารณประโยชน์ หากแต่เป็นที่ดินที่บิดาผู้ฟ้องคดีได้ทำประโยชน์มานานแล้ว ดังหลักฐานที่ปรากฏในระวางรูปถ่ายทางอากาศที่ใช้ประกอบในการออก น.ส. ๓ ก. ให้ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเรื่องนี้มีผู้ให้ถ้อยคำยืนยันในการรังวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงว่าที่พิพาทมิได้เป็นที่หลวงด้วย แต่ผู้ถูกฟ้องคดีมิได้นำถ้อยคำดังกล่าวมาพิจารณา
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การเพิ่มเติมว่า ตามระวางภาพถ่ายทางอากาศไม่ปรากฏร่องรอยการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด นอกจากนี้ ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันตามความเป็นจริง สำหรับการมีทะเบียนที่สาธารณะหรือไม่ ไม่ทำให้สภาพความเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันสิ้นสุดไป
ศาลปกครองขอนแก่นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประเด็นหลักแห่งคดีเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๔๓๑๙๐ แปลงพนังบ้านแกสาธารณประโยชน์ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งออกเมื่อวันที่ ๑๙มีนาคม ๒๕๓๓ การที่ศาลจะมีคำพิพากษาเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ที่พิพาทมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่เป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิครอบครอง จึงเป็นการพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๖/๒๕๔๖ นอกจากนี้ ศาลปกครองขอนแก่นได้สอบถามความเห็นเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลไปยังคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ต่างเห็นด้วยกับความเห็นของศาลปกครองขอนแก่น
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาการออกเอกสารสิทธิในที่ดินอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นที่ต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นฝ่ายปกครองหรือไม่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นราชการส่วนกลาง ผู้ถูกฟ้องคดีที่๒ และ ที่ ๓ เป็นเจ้าพนักงานของรัฐจึงมีฐานะเป็นฝ่ายปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
สำหรับประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งกันว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลง "พนังบ้านแกสาธารณประโยชน์" เลขที่ ๔๓๑๙๐ ทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๗๑๘ เลขที่ดิน ๘๙ ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ของผู้ฟ้องคดีโดยมิชอบหรือไม่ และการออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวให้ผู้ฟ้องคดีเป็นไปโดยชอบหรือไม่นั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงในคำฟ้องคำให้การคำคัดค้านคำให้การและคำให้การเพิ่มเติม ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ตนใช้ประโยชน์มาอย่างต่อเนื่อง จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินโดยชอบ ทั้งมีเอกสารสิทธิ น.ส. ๓ก.เป็นหลักฐานถูกต้อง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะมาตลอด การออกเอกสารสิทธิ น.ส.๓ก. ในที่พิพาทเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเป็นไปโดยถูกต้องแล้ว เรื่องนี้ แม้ในรายละเอียด คู่กรณีจะมีการโต้แย้งกันเรื่องกระบวนการรังวัดเพื่อออกเอกสารสิทธิว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ประเด็นหลักแห่งคดียังเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของผู้ใด กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน อันเป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาการออกเอกสารสิทธิในที่ดินระหว่าง นายบุญมี สิงห์หล้า ผู้ฟ้องคดี กรมที่ดิน ที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ที่๒ นายอำเภอศรีบุญเรือง ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลจังหวัดหนองบัวลำภู
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๕
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๙/๒๕๔๗
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองขอนแก่น
ระหว่าง
ศาลจังหวัดหนองบัวลำภู
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองขอนแก่นส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ วรรคสอง ซึ่งเป็นกรณีมีการฟ้องคดีต่อศาล แต่ศาลนั้นไม่รับฟ้องเพราะเหตุว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง เมื่อมีการฟ้องคดีต่ออีกศาลหนึ่งแล้ว ศาลดังกล่าวเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕ นายบุญมี สิงห์หล้า เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมที่ดินที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ที่ ๒ นายอำเภอศรีบุญเรือง ที่ ๓ จำเลย ต่อศาลจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๔๓๑/๒๕๔๕ ว่า โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๗๑๘ เลขที่ดิน ๘๙ตำบลนากอกอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน ๒๗ ไร่ ๒๐ ตารางวา ซึ่งโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ติดต่อกันมาตลอด ต่อมา จำเลยที่ ๑ ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลง "พนังบ้านแกสาธารณประโยชน์" เลขที่ ๔๓๑๙๐ ทับที่ดิน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวของโจทก์จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา โดยโจทก์ไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอม โจทก์จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปยังจำเลยที่ ๒ ซึ่งจำเลยที่ ๒ ได้สั่งการให้จำเลยที่ ๓ตรวจสอบข้อเท็จจริงและได้มีการออกใบแทน น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวให้แก่โจทก์โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย รบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ จึงขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เลขที่๔๓๑๙๐ แปลงพนังบ้านแกสาธารณประโยชน์ หมู่ ๖ ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เนื้อที่ประมาณ๒๐ ไร่ ๓๗ ตารางวา และให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๗๑๘ เล่ม ๒๘ ก. หน้า ๑๘ ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
ศาลจังหวัดหนองบัวลำภูพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยอ้างว่าการออกหนังสือดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการกระทำทางปกครอง ส่วนคำขออื่น ๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากการกระทำดังกล่าว คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดหนองบัวลำภู จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
ต่อมา วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดี (โจทก์) นำคดีนี้ไปฟ้องผู้ถูกฟ้องคดี(จำเลย) ทั้งสามต่อศาลปกครองขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๙๖/๒๕๔๕ โดยมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า ภายหลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้ทำเรื่องเสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แจ้งว่าที่ดินน.ส. ๓ ก.ของผู้ฟ้องคดีเป็นที่สาธารณประโยชน์ การออกเอกสารสิทธิให้เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นประธานจึงมีมติให้เพิกถอนเอกสารสิทธิดังกล่าว การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นไปโดยมิชอบ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู ขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง "พนังบ้านแกสาธารณประโยชน์" ในส่วนที่ทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี และห้ามผู้ถูกฟ้องคดีเข้าเกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองของผู้ฟ้องคดีอีกต่อไป
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้การว่า เจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการรังวัดตรวจสอบและผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวจะออกทับที่ดิน น.ส. ๓ ก. ของผู้ฟ้องคดี จำนวน๒๐ไร่ ๓๘ ตารางวา โดยไม่ได้มีการแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีมาลงชื่อและรับรองแนวเขต แต่ที่ดินดังกล่าวก็ยังเป็นที่สาธารณประโยชน์ เพราะปรากฏข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบและจากระวางภาพถ่ายทางอากาศว่าเป็นที่ดินที่ประชาชนใช้สอยร่วมกันมาโดยตลอด มติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดหนองบัวลำภูที่ให้เพิกถอนเอกสารสิทธิน.ส. ๓ ก. เป็นไปโดยถูกต้องแล้ว เพราะการออกเอกสารสิทธิ น.ส. ๓ ก. ให้ผู้ฟ้องคดีเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้รับคำสั่งจากจังหวัดอุดรธานีให้ขอออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงสำหรับที่สาธารณประโยชน์ที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงได้ยื่นขอออกหนังสือที่ดินแปลง "พนังบ้านแกสาธารณประโยชน์" อันเป็นที่สำหรับประชาชนใช้เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงได้ทำการรังวัดที่ดินดังกล่าวและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๔๓๑๙๐ ให้ โดยผู้ฟ้องคดีมิได้มาคัดค้านแต่อย่างใดสำหรับการทำประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีในที่ดินพิพาทนั้นถือเป็นการบุกรุกรบกวนการใช้ร่วมกันของประชาชนในที่สาธารณประโยชน์ ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท
ผู้ฟ้องคดียื่นคำคัดค้านคำให้การว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการสำรวจรังวัดไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบเนื่องจากมิได้จัดให้ผู้ฟ้องคดีรับรองแนวเขตที่ดินข้างเคียง ที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้คัดค้านเพราะไม่ทราบเรื่องการรังวัด นอกจากนี้ ที่ดินพิพาทมิใช่ที่สาธารณประโยชน์ หากแต่เป็นที่ดินที่บิดาผู้ฟ้องคดีได้ทำประโยชน์มานานแล้ว ดังหลักฐานที่ปรากฏในระวางรูปถ่ายทางอากาศที่ใช้ประกอบในการออก น.ส. ๓ ก. ให้ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเรื่องนี้มีผู้ให้ถ้อยคำยืนยันในการรังวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงว่าที่พิพาทมิได้เป็นที่หลวงด้วย แต่ผู้ถูกฟ้องคดีมิได้นำถ้อยคำดังกล่าวมาพิจารณา
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ให้การเพิ่มเติมว่า ตามระวางภาพถ่ายทางอากาศไม่ปรากฏร่องรอยการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด นอกจากนี้ ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันตามความเป็นจริง สำหรับการมีทะเบียนที่สาธารณะหรือไม่ ไม่ทำให้สภาพความเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันสิ้นสุดไป
ศาลปกครองขอนแก่นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประเด็นหลักแห่งคดีเป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๔๓๑๙๐ แปลงพนังบ้านแกสาธารณประโยชน์ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งออกเมื่อวันที่ ๑๙มีนาคม ๒๕๓๓ การที่ศาลจะมีคำพิพากษาเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ที่พิพาทมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่เป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิครอบครอง จึงเป็นการพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๖/๒๕๔๖ นอกจากนี้ ศาลปกครองขอนแก่นได้สอบถามความเห็นเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลไปยังคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ต่างเห็นด้วยกับความเห็นของศาลปกครองขอนแก่น
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาการออกเอกสารสิทธิในที่ดินอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
คณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ประเด็นที่ต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเป็นฝ่ายปกครองหรือไม่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นราชการส่วนกลาง ผู้ถูกฟ้องคดีที่๒ และ ที่ ๓ เป็นเจ้าพนักงานของรัฐจึงมีฐานะเป็นฝ่ายปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
สำหรับประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งกันว่า การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแปลง "พนังบ้านแกสาธารณประโยชน์" เลขที่ ๔๓๑๙๐ ทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๒๗๑๘ เลขที่ดิน ๘๙ ตำบลนากอก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ของผู้ฟ้องคดีโดยมิชอบหรือไม่ และการออก น.ส. ๓ ก. ดังกล่าวให้ผู้ฟ้องคดีเป็นไปโดยชอบหรือไม่นั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามข้อเท็จจริงในคำฟ้องคำให้การคำคัดค้านคำให้การและคำให้การเพิ่มเติม ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ตนใช้ประโยชน์มาอย่างต่อเนื่อง จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินโดยชอบ ทั้งมีเอกสารสิทธิ น.ส. ๓ก.เป็นหลักฐานถูกต้อง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะมาตลอด การออกเอกสารสิทธิ น.ส.๓ก. ในที่พิพาทเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเป็นไปโดยถูกต้องแล้ว เรื่องนี้ แม้ในรายละเอียด คู่กรณีจะมีการโต้แย้งกันเรื่องกระบวนการรังวัดเพื่อออกเอกสารสิทธิว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ประเด็นหลักแห่งคดียังเป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินระหว่างผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของผู้ใด กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน อันเป็นอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า การพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาการออกเอกสารสิทธิในที่ดินระหว่าง นายบุญมี สิงห์หล้า ผู้ฟ้องคดี กรมที่ดิน ที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ที่๒ นายอำเภอศรีบุญเรือง ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลจังหวัดหนองบัวลำภู
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
๕
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๘/๒๕๔๗
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพิจิตร
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ๒๐๘๘/๒๕๔๕ ระหว่างนางบุญเลี้ยง ชัยรัตน์ ที่ ๑ นางบุญล้อม พิมพา ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี คณะกรรมการประสานงานการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดิน ของรัฐส่วนจังหวัดพิจิตร ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพิจิตร ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดีโดยผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้อง ความว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๙๘๘๖ ตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เนื้อที่ ๒ - ๒ - ๖๕ ไร่ เดิมเป็นโฉนดตราจองเลขที่ ๒๘๐๔ ต่อมาผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งซึ่งงอกออกมาจากโฉนดตราจองดังกล่าว ตามคำขอที่ ๖๐๑/๑๒๔/๔๒ ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ระหว่างทำการรังวัดนายสุรชัย ไกรเดช กำนันตำบลท่าฬ่อในฐานะผู้แทนนายอำเภอเมืองพิจิตร นายยงยุทธเชยเล็ก ในฐานะผู้แทนเจ้าท่าส่วนภูมิภาคที่ ๑ ได้คัดค้านการรังวัดและ ไม่ลงนามรับรองแนวเขตโดยอ้างว่า ที่งอกริมตลิ่งดังกล่าวเป็นที่ดินในเขตแม่น้ำน่าน ที่ตื้นเขินขึ้นจากการก่อสร้างเขื่อน และเกิดจากการที่สายน้ำเปลี่ยนทางเดิน จังหวัดพิจิตรได้มีคำสั่งที่ ๑๗๐๑/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๙ กันยายน๒๕๔๓ แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบสภาพที่งอกริมตลิ่ง และได้แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่เป็นที่งอกริมตลิ่งแต่เป็นที่ดินที่เกิดจากแม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน ที่พิพาทดังกล่าว จึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตามมาตรา ๑๓๐๔(๒)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่อาจออกโฉนดให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เพื่อสอบถามถึงเหตุผลที่ไม่ยอมออกโฉนดให้ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยืนยันตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่งอกริมตลิ่งที่ได้ เคยแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทราบแล้ว ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงได้มีหนังสือร้องเรียนถึงอธิบดีกรมที่ดินลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๔ และ ๑๒ กันยายน๒๕๔๔ เพื่อขอความเป็นธรรม กรมที่ดินได้มีหนังสือ ที่ ๐๗๒๙.๒/๑๓๗๘๒ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม๒๕๔๕ แจ้งว่า กรมที่ดินได้ให้จังหวัดพิจิตรตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าบริเวณที่พิพาทเมื่อประมาณ ๔๐ ปีก่อน อาณาเขตแม่น้ำมีลักษณะเป็นคุ้งน้ำ ต่อมาเมื่อสายน้ำเปลี่ยนร่องน้ำและพัดพาที่ดินมาทับถมกันทำให้ที่ดินตื้นเขิน และผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้เริ่มทำประโยชน์ภายหลังจากแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินตามธรรมชาติ ซึ่งน้ำไม่สามารถท่วมถึง และยังไม่มีการถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน กรณีจึงเป็นการขอออกโฉนดที่ดินในเขตที่ดินของรัฐ กรมที่ดินจึงได้ให้จังหวัดพิจิตรนำเรื่องดังกล่าวเสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพื่อพิจารณาการครอบครองและพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทดังกล่าว ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ลงวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๕ เพื่อขอทราบผลการพิจารณาในการพิสูจน์สิทธิของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และขออุทธรณ์เรื่องนี้ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่าการดำเนินการ ในกรณีดังกล่าวได้ล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว แต่ยังไม่ได้รับทราบผลการพิจารณาของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่อย่างใด จึงนำคดีมายื่นฟ้องเมื่อวันที่ ๑๑พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เร่งรัดการพิจารณาเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินที่งอกริมตลิ่งของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งที่งอกออกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๙๘๘๖ ดังกล่าว ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง
ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความในข้อหาที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เร่งรัดการพิจารณาเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินที่งอกริมตลิ่งให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเพราะผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ทำคำให้การว่าได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมของคณะกรรมการประสานงานการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดพิจิตร ครั้งที่ ๔/๒๕๔๕เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๕ แล้ว โดยที่ประชุมมีมติยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่เกิดจากการเปลี่ยนทางเดินของทางน้ำมิใช่ที่งอกริมตลิ่ง และได้มีหนังสือสำนักงานที่ดินจังหวัดพิจิตร ที่ พจ๐๐๒๒/๓๕๑๑ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๖ แจ้งมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองทราบแล้ว จึงถือได้ว่าเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองทราบผลการพิจารณาดังกล่าว คำฟ้องในข้อหาดังกล่าวศาลไม่จำต้องออกคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีนี้ โดยเห็นว่าคดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยต้องพิจารณาว่าที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเพราะเป็นการฟ้องกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นหลักที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก่อนว่าเป็นที่งอกริมตลิ่ง หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ โดยจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน ซึ่งมาตรา๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๒๘/๒๕๔๕
ศาลจังหวัดพิจิตรพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้อ้างว่าที่ดินริมตลิ่งที่อยู่ติดกับโฉนดของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นที่งอกริมตลิ่ง และได้ดำเนินการขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่มีความเห็นว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่งอกริมตลิ่งไม่สามารถดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามที่ขอให้ได้ และผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่าการความเห็นดังกล่าวเป็นการไม่ชอบจึงเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองประสงค์จะให้วินิจฉัยว่า การปฏิบัติหน้าที่และการใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องขอให้ออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง
สำหรับคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง อ้างว่าตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๙๘๘๖ ตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เนื้อที่ ๒ - ๒ - ๖๕ ไร่ ต่อมาเกิดที่งอกริมตลิ่งขึ้นจากที่ดินดังกล่าว ที่งอกนั้นจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งดังกล่าว นายสุรชัย ไกรเดช กำนันตำบลท่าฬ่อในฐานะผู้แทนนายอำเภอเมืองพิจิตร นายยงยุทธ เชยเล็ก ในฐานะผู้แทนเจ้าท่าส่วนภูมิภาคที่ ๑ ได้คัดค้านการรังวัดและไม่ลงนามรับรองแนวเขตโดยอ้างว่าที่งอกริมตลิ่งดังกล่าวเป็นที่ดินในเขตแม่น้ำน่านที่ตื้นเขินขึ้นจากการก่อสร้างเขื่อนและเกิดจากการที่สายน้ำเปลี่ยนทางเดิน ที่พิพาทดังกล่าวจึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นเหตุให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกโฉนดให้ได้ ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องคณะกรรมการประสานงานการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดพิจิตร ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพิจิตร ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกโฉนดให้ คดีนี้จึงมีปัญหาที่ศาลจำต้องพิจารณาเสียก่อนว่าที่ดินพิพาท เป็นที่งอกริมตลิ่ง ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์แล้วจึงจะมีคำสั่งเกี่ยวกับการออกโฉนดต่อไป ดังนั้น เมื่อศาลจำต้องพิจารณาถึงสิทธิในที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้ออกโฉนดที่งอกริมตลิ่ง ระหว่าง นางบุญเลี้ยง ชัยรัตน์ ที่ ๑ นางบุญล้อม พิมพา ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี คณะกรรมการประสานงานการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ส่วนจังหวัดพิจิตร ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพิจิตร ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลจังหวัดพิจิตร
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๘/๒๕๔๗
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลปกครองกลาง
ระหว่าง
ศาลจังหวัดพิจิตร
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองกลางโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ๒๐๘๘/๒๕๔๕ ระหว่างนางบุญเลี้ยง ชัยรัตน์ ที่ ๑ นางบุญล้อม พิมพา ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี คณะกรรมการประสานงานการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดิน ของรัฐส่วนจังหวัดพิจิตร ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพิจิตร ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดีโดยผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้อง ความว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๙๘๘๖ ตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เนื้อที่ ๒ - ๒ - ๖๕ ไร่ เดิมเป็นโฉนดตราจองเลขที่ ๒๘๐๔ ต่อมาผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ยื่นคำขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งซึ่งงอกออกมาจากโฉนดตราจองดังกล่าว ตามคำขอที่ ๖๐๑/๑๒๔/๔๒ ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ระหว่างทำการรังวัดนายสุรชัย ไกรเดช กำนันตำบลท่าฬ่อในฐานะผู้แทนนายอำเภอเมืองพิจิตร นายยงยุทธเชยเล็ก ในฐานะผู้แทนเจ้าท่าส่วนภูมิภาคที่ ๑ ได้คัดค้านการรังวัดและ ไม่ลงนามรับรองแนวเขตโดยอ้างว่า ที่งอกริมตลิ่งดังกล่าวเป็นที่ดินในเขตแม่น้ำน่าน ที่ตื้นเขินขึ้นจากการก่อสร้างเขื่อน และเกิดจากการที่สายน้ำเปลี่ยนทางเดิน จังหวัดพิจิตรได้มีคำสั่งที่ ๑๗๐๑/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๙ กันยายน๒๕๔๓ แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบสภาพที่งอกริมตลิ่ง และได้แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่เป็นที่งอกริมตลิ่งแต่เป็นที่ดินที่เกิดจากแม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน ที่พิพาทดังกล่าว จึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตามมาตรา ๑๓๐๔(๒)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่อาจออกโฉนดให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔ ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เพื่อสอบถามถึงเหตุผลที่ไม่ยอมออกโฉนดให้ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ยืนยันตามผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบสภาพที่งอกริมตลิ่งที่ได้ เคยแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทราบแล้ว ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงได้มีหนังสือร้องเรียนถึงอธิบดีกรมที่ดินลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๔ และ ๑๒ กันยายน๒๕๔๔ เพื่อขอความเป็นธรรม กรมที่ดินได้มีหนังสือ ที่ ๐๗๒๙.๒/๑๓๗๘๒ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม๒๕๔๕ แจ้งว่า กรมที่ดินได้ให้จังหวัดพิจิตรตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าบริเวณที่พิพาทเมื่อประมาณ ๔๐ ปีก่อน อาณาเขตแม่น้ำมีลักษณะเป็นคุ้งน้ำ ต่อมาเมื่อสายน้ำเปลี่ยนร่องน้ำและพัดพาที่ดินมาทับถมกันทำให้ที่ดินตื้นเขิน และผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้เริ่มทำประโยชน์ภายหลังจากแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินตามธรรมชาติ ซึ่งน้ำไม่สามารถท่วมถึง และยังไม่มีการถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน กรณีจึงเป็นการขอออกโฉนดที่ดินในเขตที่ดินของรัฐ กรมที่ดินจึงได้ให้จังหวัดพิจิตรนำเรื่องดังกล่าวเสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เพื่อพิจารณาการครอบครองและพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทดังกล่าว ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้มีหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ลงวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๕ เพื่อขอทราบผลการพิจารณาในการพิสูจน์สิทธิของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และขออุทธรณ์เรื่องนี้ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่าการดำเนินการ ในกรณีดังกล่าวได้ล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว แต่ยังไม่ได้รับทราบผลการพิจารณาของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ แต่อย่างใด จึงนำคดีมายื่นฟ้องเมื่อวันที่ ๑๑พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เร่งรัดการพิจารณาเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินที่งอกริมตลิ่งของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งที่งอกออกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๙๘๘๖ ดังกล่าว ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง
ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความในข้อหาที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เร่งรัดการพิจารณาเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินที่งอกริมตลิ่งให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเพราะผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ทำคำให้การว่าได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมของคณะกรรมการประสานงานการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดพิจิตร ครั้งที่ ๔/๒๕๔๕เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๕ แล้ว โดยที่ประชุมมีมติยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่เกิดจากการเปลี่ยนทางเดินของทางน้ำมิใช่ที่งอกริมตลิ่ง และได้มีหนังสือสำนักงานที่ดินจังหวัดพิจิตร ที่ พจ๐๐๒๒/๓๕๑๑ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๖ แจ้งมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองทราบแล้ว จึงถือได้ว่าเหตุแห่งการฟ้องคดีนี้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองทราบผลการพิจารณาดังกล่าว คำฟ้องในข้อหาดังกล่าวศาลไม่จำต้องออกคำบังคับตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองโต้แย้งอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีนี้ โดยเห็นว่าคดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยต้องพิจารณาว่าที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเพราะเป็นการฟ้องกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลปกครองกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นหลักที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก่อนว่าเป็นที่งอกริมตลิ่ง หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ โดยจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายที่ดินประกอบกัน ซึ่งมาตรา๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ตามนัยคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๒๘/๒๕๔๕
ศาลจังหวัดพิจิตรพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้อ้างว่าที่ดินริมตลิ่งที่อยู่ติดกับโฉนดของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นที่งอกริมตลิ่ง และได้ดำเนินการขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่มีความเห็นว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่งอกริมตลิ่งไม่สามารถดำเนินการออกโฉนดที่ดินตามที่ขอให้ได้ และผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่าการความเห็นดังกล่าวเป็นการไม่ชอบจึงเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองประสงค์จะให้วินิจฉัยว่า การปฏิบัติหน้าที่และการใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
คำวินิจฉัย
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องขอให้ออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง
สำหรับคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง อ้างว่าตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๙๘๘๖ ตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เนื้อที่ ๒ - ๒ - ๖๕ ไร่ ต่อมาเกิดที่งอกริมตลิ่งขึ้นจากที่ดินดังกล่าว ที่งอกนั้นจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองยื่นคำขอออกโฉนดที่งอกริมตลิ่งดังกล่าว นายสุรชัย ไกรเดช กำนันตำบลท่าฬ่อในฐานะผู้แทนนายอำเภอเมืองพิจิตร นายยงยุทธ เชยเล็ก ในฐานะผู้แทนเจ้าท่าส่วนภูมิภาคที่ ๑ ได้คัดค้านการรังวัดและไม่ลงนามรับรองแนวเขตโดยอ้างว่าที่งอกริมตลิ่งดังกล่าวเป็นที่ดินในเขตแม่น้ำน่านที่ตื้นเขินขึ้นจากการก่อสร้างเขื่อนและเกิดจากการที่สายน้ำเปลี่ยนทางเดิน ที่พิพาทดังกล่าวจึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นเหตุให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจออกโฉนดให้ได้ ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องคณะกรรมการประสานงานการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัดพิจิตร ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพิจิตร ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกโฉนดให้ คดีนี้จึงมีปัญหาที่ศาลจำต้องพิจารณาเสียก่อนว่าที่ดินพิพาท เป็นที่งอกริมตลิ่ง ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์แล้วจึงจะมีคำสั่งเกี่ยวกับการออกโฉนดต่อไป ดังนั้น เมื่อศาลจำต้องพิจารณาถึงสิทธิในที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้ออกโฉนดที่งอกริมตลิ่ง ระหว่าง นางบุญเลี้ยง ชัยรัตน์ ที่ ๑ นางบุญล้อม พิมพา ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี คณะกรรมการประสานงานการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ส่วนจังหวัดพิจิตร ที่ ๑ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพิจิตร ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ศาลจังหวัดพิจิตร
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๗/๒๕๔๗
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับคดีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลปกครองสงขลา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดภูเก็ต
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองสงขลาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๕ บริษัท งานทวีพี่น้อง จำกัด ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๑ (กรมทะเบียนการค้าเดิม) สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ที่๒ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองสงขลา เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๒๕/๒๕๔๕ อ้างว่าผู้ฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๒ มีกรรมการจำนวน ๗คน โดยรับเลือกมาจากผู้ถือหุ้นในแต่ละหมวดของบริษัท ที่มีอยู่ ๖ หมวดคือหมวด ก, ข, ค, ง,จและหมวด ฉ หมวดละ ๑ คน ยกเว้นหมวด ค มีกรรมการได้ ๒ คน ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๓ผู้ฟ้องคดีได้เรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๑/๒๕๔๓ ที่ประชุมมีมติให้ถอดถอนกรรมการออกทั้งชุดและแต่งตั้งกรรมการเข้ามาใหม่เพียง ๖ คน เนื่องจากผู้ถือหุ้นในหมวด ค ไม่เสนอชื่อผู้ถือหุ้นในหมวดตนเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการให้ที่ประชุมพิจารณา และได้ยื่นคำขอที่ ๙๔๐/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๕เมษายน ๒๕๔๓ ขอจดทะเบียนกรรมการใหม่ต่อผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๒ ต่อมา นายอโณทัย งานทวีกรรมการในหมวด ค ของผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นหนังสือคัดค้านขอให้ระงับการ จดทะเบียนดังกล่าว โดยเห็นว่ามติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ๑/๒๕๔๓ ฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทผู้ฟ้องคดี และยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดภูเก็ตเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๔๖/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๓ ขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้แจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียนให้แก่ผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่๘มิถุนายน ๒๕๔๓ โดยอ้างว่าการแต่งตั้งกรรมการจำนวน ๖ คน ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทกรรมการของผู้ฟ้องคดีจึงเรียกประชุมกรรมการ ครั้งที่ ๔/๒๕๔๓ และเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๔๓ ในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๓ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้ง นางวัชรี ผลเจริญ ผู้ถือหุ้นจากหมวด ก เป็นกรรมการแทนนายอโณทัย งานทวี เนื่องจากผู้ถือหุ้นในหมวด ค ยังคงไม่เสนอชื่อผู้ถือหุ้น ในหมวดของตนให้ที่ประชุมพิจารณาตั้งเป็นกรรมการ และได้ยื่นคำขอที่ ๓๕๕๙/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ ขอจดทะเบียนกรรมการต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งนายอโณทัยฯได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อีก และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนโดยอ้างว่าการแต่งตั้งกรรมการจากผู้ถือหุ้นหมวดหนึ่งเข้าแทนผู้ถือหุ้นจากอีกหมวดหนึ่งไม่ชอบขัดต่อข้อบังคับของบริษัท ผู้ฟ้องคดีจึงได้อุทธรณ์ คำสั่งไม่รับจดทะเบียนดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เห็นว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงยกอุทธรณ์คำร้อง ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เพราะการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นและมติ ที่ประชุมให้ถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวข้างต้นนั้นได้กระทำถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมายแล้ว จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามคำขอ ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ให้การต่อสู้คดีว่าการมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามคำขอของผู้ฟ้องคดี และการยกอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย เพราะการแต่งตั้งกรรมการของผู้ฟ้องคดีขัดต่อข้อบังคับ
ศาลปกครองสงขลาพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีพิพาทเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ถือหุ้นและกรรมการของผู้ฟ้องคดี อันเป็นกรณีพิพาทกันในทางแพ่งเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท ในเรื่องข้อบังคับของบริษัท กรรมการบริษัท การนัดประชุม การประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีจะไม่ชอบก็ตาม การที่จะพิจารณาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีรับจดทะเบียนตามคำขอนั้นศาลจำต้องพิจารณา ให้ได้ความเสียก่อนว่า การถอนและการตั้งกรรมการของผู้ฟ้องคดีในการประชุมสามัญครั้งที่ ๑/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๓และการประชุมวิสามัญครั้งที่ ๒/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๓ เป็นไปโดยชอบด้วยข้อบังคับของผู้ฟ้องคดีและกฎหมายหรือไม่ ซึ่งต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันอยู่ในอำนาจพิจาณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม คดีนี้จึงมิใช่คดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลปกครองสงขลาได้สอบถามคู่กรณีทั้งสองฝ่ายแล้ว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนได้รับความเสียหาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ๓ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งหุ้นส่วนบริษัท ตลอดจนการประชุม การแต่งตั้งถอดถอนกรรมการการเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นไว้ เป็นการเฉพาะแล้ว ซึ่งศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาตามกฎหมายดังกล่าวคือศาลยุติธรรม
ศาลจังหวัดภูเก็ตพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และที่ ๓ มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของผู้ฟ้องคดีและการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยกอุทธรณ์คำร้องคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวนั้น เป็นกรณีพิพาทระหว่างเอกชนกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าออกคำสั่งโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ มิใช่เป็นกรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ถือหุ้นและกรรมการของผู้ฟ้องคดี อันเป็นกรณีพิพาทกันในทางแพ่ง ดังนั้นการออกคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ศาลปกครองคงมีเพียงประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามมีเหตุผลเพียงพอที่จะรับหรือปฏิเสธคำขอของผู้ฟ้องคดีหรือไม่เท่านั้น หาจำต้องวินิจฉัยว่าการมีมติแต่งตั้งถอดถอนกรรมการของที่ประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยข้อบังคับหรือกฎหมายหรือไม่ กรณีดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีอาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ถึงความถูกต้องในภายหลังได้ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีคือ บริษัท งานทวีพี่น้อง จำกัด เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามข้อบังคับ แบ่งผู้ถือหุ้นเป็น ๖ หมวด คือ หมวด ก, ข, ค, ง, จ และหมวด ฉ โดยมีกรรมการจำนวน ๗ คน ซึ่งได้รับเลือกจากผู้ถือหุ้นแต่ละหมวด หมวดละ ๑ คนยกเว้นหมวด ค มีกรรมการได้ ๒ คน ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการใหม่จำนวน ๖ คน ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ๑/๒๕๔๓ ที่มีมติให้ถอดถอนกรรมการออก ทั้งชุดและแต่งตั้งกรรมการใหม่เพียง ๖ คน ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ตผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนโดยอ้างว่ามติที่ประชุมให้แต่งตั้งกรรมการดังกล่าวขัดต่อข้อบังคับของบริษัท ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอ จดทะเบียนกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่จากหมวดกแทนกรรมการจากหมวด ค ตามมติที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๔๓ ต่อผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเช่นกัน โดยอ้างว่าการแต่งตั้งกรรมการจากผู้ถือหุ้นหมวดหนึ่งแทนผู้ถือหุ้นอีกหมวดหนึ่งขัดต่อข้อบังคับของบริษัท ผู้ฟ้องคดีจึงได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนดังกล่าวต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กรมทะเบียนการค้าเดิม) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยอ้างว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประกอบกับกรรมการของผู้ฟ้องคดีได้คัดค้านการยื่นจดทะเบียนของผู้ฟ้องคดีโดยอ้างว่ามติที่ประชุมผุ้ถือหุ้นทั้งสองครั้งขัดต่อข้อบังคับของบริษัทพร้อมทั้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดภูเก็ตขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งไม่รับ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมให้ถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการดังกล่าวได้กระทำถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมายแล้ว จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ฟ้องคดี
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กรมทะเบียนการค้าเดิม) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีฐานะเป็นกรมสังกัดกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นส่วนราชการสังกัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นข้าราชการสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ ฉบับเดียวกัน เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีโต้แย้ง คำสั่งทางปกครอง แต่ประเด็นหลักแห่งคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้ถือหุ้นตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และที่ ๓ มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยกอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนโดยอ้างว่ามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวขัดต่อข้อบังคับของบริษัทและกรรมการของผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคัดค้านการขอจดทะเบียนพร้อมทั้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดภูเก็ตขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวโดยอ้างว่าขัดต่อข้อบังคับของบริษัทเช่นกัน ดังนั้น การที่ จะพิจารณาเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีรับจดทะเบียนให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าการถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ๑/๒๕๔๓และ การแต่งตั้งกรรมการจากผู้ถือหุ้นหมวดหนึ่งเข้าแทนผู้ถือหุ้นอีกหมวดหนึ่งในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ๒/๒๕๔๓ เป็นไปโดยชอบด้วยข้อบังคับของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ระหว่างบริษัท งานทวีพี่น้อง จำกัด ผู้ฟ้องคดี กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ ๑ (กรมทะเบียนการค้าเดิม) สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ที่ ๒ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้คือศาลปกครองสงขลา
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๗/๒๕๔๗
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับคดีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙
ศาลปกครองสงขลา
ระหว่าง
ศาลจังหวัดภูเก็ต
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลปกครองสงขลาโดยสำนักงานศาลปกครองส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๐ วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีศาลที่รับฟ้องคดีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๕ บริษัท งานทวีพี่น้อง จำกัด ผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๑ (กรมทะเบียนการค้าเดิม) สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ที่๒ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองสงขลา เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๑๒๕/๒๕๔๕ อ้างว่าผู้ฟ้องคดีเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๒ มีกรรมการจำนวน ๗คน โดยรับเลือกมาจากผู้ถือหุ้นในแต่ละหมวดของบริษัท ที่มีอยู่ ๖ หมวดคือหมวด ก, ข, ค, ง,จและหมวด ฉ หมวดละ ๑ คน ยกเว้นหมวด ค มีกรรมการได้ ๒ คน ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๓ผู้ฟ้องคดีได้เรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๑/๒๕๔๓ ที่ประชุมมีมติให้ถอดถอนกรรมการออกทั้งชุดและแต่งตั้งกรรมการเข้ามาใหม่เพียง ๖ คน เนื่องจากผู้ถือหุ้นในหมวด ค ไม่เสนอชื่อผู้ถือหุ้นในหมวดตนเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการให้ที่ประชุมพิจารณา และได้ยื่นคำขอที่ ๙๔๐/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๕เมษายน ๒๕๔๓ ขอจดทะเบียนกรรมการใหม่ต่อผู้ถูกฟ้องคดี ที่ ๒ ต่อมา นายอโณทัย งานทวีกรรมการในหมวด ค ของผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นหนังสือคัดค้านขอให้ระงับการ จดทะเบียนดังกล่าว โดยเห็นว่ามติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ๑/๒๕๔๓ ฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทผู้ฟ้องคดี และยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดภูเก็ตเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๔๔๖/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๓ ขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้แจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียนให้แก่ผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่๘มิถุนายน ๒๕๔๓ โดยอ้างว่าการแต่งตั้งกรรมการจำนวน ๖ คน ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทกรรมการของผู้ฟ้องคดีจึงเรียกประชุมกรรมการ ครั้งที่ ๔/๒๕๔๓ และเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๔๓ ในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๓ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้ง นางวัชรี ผลเจริญ ผู้ถือหุ้นจากหมวด ก เป็นกรรมการแทนนายอโณทัย งานทวี เนื่องจากผู้ถือหุ้นในหมวด ค ยังคงไม่เสนอชื่อผู้ถือหุ้น ในหมวดของตนให้ที่ประชุมพิจารณาตั้งเป็นกรรมการ และได้ยื่นคำขอที่ ๓๕๕๙/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ ขอจดทะเบียนกรรมการต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งนายอโณทัยฯได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อีก และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนโดยอ้างว่าการแต่งตั้งกรรมการจากผู้ถือหุ้นหมวดหนึ่งเข้าแทนผู้ถือหุ้นจากอีกหมวดหนึ่งไม่ชอบขัดต่อข้อบังคับของบริษัท ผู้ฟ้องคดีจึงได้อุทธรณ์ คำสั่งไม่รับจดทะเบียนดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เห็นว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงยกอุทธรณ์คำร้อง ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้เพราะการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นและมติ ที่ประชุมให้ถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวข้างต้นนั้นได้กระทำถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมายแล้ว จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามคำขอ ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ให้การต่อสู้คดีว่าการมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามคำขอของผู้ฟ้องคดี และการยกอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย เพราะการแต่งตั้งกรรมการของผู้ฟ้องคดีขัดต่อข้อบังคับ
ศาลปกครองสงขลาพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีพิพาทเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ถือหุ้นและกรรมการของผู้ฟ้องคดี อันเป็นกรณีพิพาทกันในทางแพ่งเกี่ยวกับหุ้นส่วนและบริษัท ในเรื่องข้อบังคับของบริษัท กรรมการบริษัท การนัดประชุม การประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ อันเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของผู้ถูกฟ้องคดีจะไม่ชอบก็ตาม การที่จะพิจารณาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีรับจดทะเบียนตามคำขอนั้นศาลจำต้องพิจารณา ให้ได้ความเสียก่อนว่า การถอนและการตั้งกรรมการของผู้ฟ้องคดีในการประชุมสามัญครั้งที่ ๑/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๓และการประชุมวิสามัญครั้งที่ ๒/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๓ เป็นไปโดยชอบด้วยข้อบังคับของผู้ฟ้องคดีและกฎหมายหรือไม่ ซึ่งต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันอยู่ในอำนาจพิจาณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรม คดีนี้จึงมิใช่คดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ศาลปกครองสงขลาได้สอบถามคู่กรณีทั้งสองฝ่ายแล้ว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ทำให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเอกชนได้รับความเสียหาย คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามเห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ๓ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งหุ้นส่วนบริษัท ตลอดจนการประชุม การแต่งตั้งถอดถอนกรรมการการเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นไว้ เป็นการเฉพาะแล้ว ซึ่งศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาตามกฎหมายดังกล่าวคือศาลยุติธรรม
ศาลจังหวัดภูเก็ตพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และที่ ๓ มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของผู้ฟ้องคดีและการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ยกอุทธรณ์คำร้องคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวนั้น เป็นกรณีพิพาทระหว่างเอกชนกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าออกคำสั่งโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ มิใช่เป็นกรณีโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ถือหุ้นและกรรมการของผู้ฟ้องคดี อันเป็นกรณีพิพาทกันในทางแพ่ง ดังนั้นการออกคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ศาลปกครองคงมีเพียงประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามมีเหตุผลเพียงพอที่จะรับหรือปฏิเสธคำขอของผู้ฟ้องคดีหรือไม่เท่านั้น หาจำต้องวินิจฉัยว่าการมีมติแต่งตั้งถอดถอนกรรมการของที่ประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยข้อบังคับหรือกฎหมายหรือไม่ กรณีดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีอาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ถึงความถูกต้องในภายหลังได้ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
คำวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่า ผู้ฟ้องคดีคือ บริษัท งานทวีพี่น้อง จำกัด เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามข้อบังคับ แบ่งผู้ถือหุ้นเป็น ๖ หมวด คือ หมวด ก, ข, ค, ง, จ และหมวด ฉ โดยมีกรรมการจำนวน ๗ คน ซึ่งได้รับเลือกจากผู้ถือหุ้นแต่ละหมวด หมวดละ ๑ คนยกเว้นหมวด ค มีกรรมการได้ ๒ คน ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการใหม่จำนวน ๖ คน ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ๑/๒๕๔๓ ที่มีมติให้ถอดถอนกรรมการออก ทั้งชุดและแต่งตั้งกรรมการใหม่เพียง ๖ คน ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ตผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนโดยอ้างว่ามติที่ประชุมให้แต่งตั้งกรรมการดังกล่าวขัดต่อข้อบังคับของบริษัท ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอ จดทะเบียนกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่จากหมวดกแทนกรรมการจากหมวด ค ตามมติที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๔๓ ต่อผู้ฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเช่นกัน โดยอ้างว่าการแต่งตั้งกรรมการจากผู้ถือหุ้นหมวดหนึ่งแทนผู้ถือหุ้นอีกหมวดหนึ่งขัดต่อข้อบังคับของบริษัท ผู้ฟ้องคดีจึงได้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนดังกล่าวต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กรมทะเบียนการค้าเดิม) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยอ้างว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประกอบกับกรรมการของผู้ฟ้องคดีได้คัดค้านการยื่นจดทะเบียนของผู้ฟ้องคดีโดยอ้างว่ามติที่ประชุมผุ้ถือหุ้นทั้งสองครั้งขัดต่อข้อบังคับของบริษัทพร้อมทั้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดภูเก็ตขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งไม่รับ จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมให้ถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการดังกล่าวได้กระทำถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมายแล้ว จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามรับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของผู้ฟ้องคดี
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กรมทะเบียนการค้าเดิม) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีฐานะเป็นกรมสังกัดกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เป็นส่วนราชการสังกัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เป็นข้าราชการสังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติ ฉบับเดียวกัน เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีโต้แย้ง คำสั่งทางปกครอง แต่ประเด็นหลักแห่งคดีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ฟ้องคดีได้ยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้ถือหุ้นตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และที่ ๓ มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ยกอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนโดยอ้างว่ามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวขัดต่อข้อบังคับของบริษัทและกรรมการของผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคัดค้านการขอจดทะเบียนพร้อมทั้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดภูเก็ตขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวโดยอ้างว่าขัดต่อข้อบังคับของบริษัทเช่นกัน ดังนั้น การที่ จะพิจารณาเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีรับจดทะเบียนให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าการถอดถอนและแต่งตั้งกรรมการในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ๑/๒๕๔๓และ การแต่งตั้งกรรมการจากผู้ถือหุ้นหมวดหนึ่งเข้าแทนผู้ถือหุ้นอีกหมวดหนึ่งในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ ๒/๒๕๔๓ เป็นไปโดยชอบด้วยข้อบังคับของผู้ฟ้องคดีหรือไม่ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ระหว่างบริษัท งานทวีพี่น้อง จำกัด ผู้ฟ้องคดี กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ ๑ (กรมทะเบียนการค้าเดิม) สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ที่ ๒ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดภูเก็ต ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ซึ่งในคดีนี้คือศาลปกครองสงขลา
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฏฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๖/๒๕๔๗
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดกระบี่
ระหว่าง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดกระบี่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล ที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๖ นายประสาร ทองธวัช เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ ที่ ๑ นายอุภัย วายุพัฒน์ ที่ ๒ นายสมศักดิ์ เนติรังษีวัชรา ที่ ๓ นายสมปราชญ์ผลชู ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดกระบี่ เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๕๖๑/๒๕๔๖ ข้อหาละเมิด ทำให้เสียทรัพย์ เรียกค่าเสียหาย ความว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินปฏิรูปที่ดิน เพื่อการเกษตรระวางกลุ่มที่ ๑๓๖๕ แปลงเลขที่ ๘ ตั้งอยู่บ้านช่องขี้แรต หมู่ที่ ๔ ตำบล คลองท่อมใต้อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ ๕๒ - ๒ - ๕๘ ไร่ ซึ่งได้รับจัดสรรมาจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรจังหวัดกระบี่ โดยได้ทำประโยชน์ปลูกต้นปาล์มน้ำมันเต็มเนื้อที่ดังกล่าวมา ๓ ปีเศษและเริ่มจะให้ผลผลิต ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๖ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ กับพวกจำนวนหลายคนได้เข้าไปใช้มีดตัดฟันทำลายต้นปาล์มน้ำมันดังกล่าวเสียหายทั้งแปลงอันเป็นการกระทำละเมิด ต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการปลูกปาล์ม การเตรียมสถานที่ต้นกล้าปาล์ม ค่าบำรุงรักษา ค่าจ้างดูแลรักษาเป็นเวลา ๓ ปีเศษ คิดเป็นเงินไร่ละ๓๐,๐๐๐ บาทรวมทั้งสิ้น ๑,๕๖๐,๐๐๐ บาท จึงขอให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธุ์จำเลยที่ ๑ ในฐานะต้นสังกัดของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ และจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับจากวันละเมิด
จำเลยที่ ๑ ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทอยู่ภายในแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางคราม ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๐๒) ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๒ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. ๒๔๘๑ โจทก์ไม่เคยได้รับอนุญาต ให้เข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ในพื้นที่พิพาทจึงเป็นความผิดตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ จำเลยที่ ๓ ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติป่าบางคราม มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและพืชผลออกจากพื้นที่ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา แต่โจทก์ยังคงฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง และไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดเวลา จำเลยที่ ๓ จึงใช้อำนาจตามมาตรา ๒๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการยึด รื้อถอน ทำลายสิ่งปลูกสร้างและพืชผล การกระทำของ จำเลยที่ ๒ถึงที่ ๔ เป็นการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด ต่อโจทก์และไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น และได้โต้แย้งรื่องอำนาจศาลว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเพราะเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิด ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
โจทก์แถลงคัดค้านว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในเรื่องละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดจำเลยที่ ๑ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และได้ยื่นคำร้อง ขอถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เนื่องจากได้ฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของจำเลยทั้งสามให้รับผิดแล้ว
ศาลจังหวัดกระบี่พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐว่ากระทำละเมิดจากการเข้าทำลายสิ่งปลูกสร้างและพืชผลซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม แต่จำเลยที่ ๑ โต้แย้งคัดค้านว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางคราม จึงเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าที่ดินเป็นของโจทก์หรือไม่เป็นสำคัญ โดยไม่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานว่าชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดหรือไม่ การพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๒ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดของจำเลยที่ ๑ เข้าไปทำลายต้นปาล์มซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์ได้รับจัดสรรจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหายนั้น ถือได้ว่าเป็นคดีที่ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดในผลแห่งละเมิดของเจ้าหน้าที่ของตนที่ได้กระทำในการปฏิบัติตามหน้าที่ ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และจำเลยที่ ๑ ให้การต่อสู้ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นการกระทำโดยใช้อำนาจตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ จึงไม่เป็นการละเมิดและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้ได้รับ ความเสียหาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการ ใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็น ประเด็นหลักที่จะต้องพิจารณา ส่วนประเด็นที่ว่าที่พิพาทเป็นที่ของโจทก์ที่ได้รับอนุญาต เข้าทำประโยชน์หรือเป็นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ เป็นเพียงประเด็นรอง เมื่อประเด็นหลัก ในคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ประเด็นรองในคดีนั้นก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลเดียวกัน ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓
คำวินิจฉัย
คดีนี้เอกชนผู้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธุ์ เป็นจำเลยที่ ๑ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดของจำเลยที่ ๑ เป็นจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ โดยข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ระวางกลุ่มที่๑๓๖๕แปลงเลขที่ ๘ ตั้งอยู่บ้าน ช่องขี้แรต หมู่ที่ ๔ ตำบล คลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่เนื้อที่ ๕๒ - ๒ - ๕๘ ไร่ ซึ่งได้รับจัดสรรมาจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรจังหวัดกระบี่โดยได้ทำประโยชน์ปลูกต้นปาล์มน้ำมันเต็มเนื้อที่ดังกล่าว จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เข้าไปตัดฟันต้นปาล์มดังกล่าวโดยอ้างว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มบุกรุกป่าสงวนทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนจำเลยทั้งสี่ให้การยืนยันว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มโดยบุกรุกที่ป่าสงวน
ระหว่างพิจารณาโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ศาลอนุญาต
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองทำละเมิดโดยการเข้าไป ตัดฟันต้นปาล์มในที่ดินซึ่งเอกชนมีสิทธิทำกิน ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธุ์ จำเลยที่ ๑ เป็นส่วนราชการระดับกรมตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามคำฟ้องโจทก์ ตั้งข้อหาว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของจำเลยที่ ๑ ทำละเมิดด้วยการเข้าไปตัดฟันต้นปาล์มในที่ดินของโจทก์ ขอให้จำเลยที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนจำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ปลูก ต้นปาล์มโดยบุกรุกที่ป่าสงวน จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ จึงใช้อำนาจตามกฎหมายเข้าไปตัดฟันทำลายต้นปาล์ม คดีนี้ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติหรือเป็นที่ดินที่ปฏิรูปเพื่อการเกษตรซึ่งโจทก์มีสิทธิทำกินแล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ ๑ เป็นละเมิดหรือไม่ และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น เมื่อศาลจำต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทที่เกิดเหตุแล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ทั้งการพิจารณาเรื่องการทำละเมิดและการพิจารณาคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองซึ่งเป็นมูลคดีที่เกี่ยวข้องกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องหน่วยงานทางปกครองทำละเมิดโดยการตัดฟันต้นปาล์มขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ระหว่างนายประสาร ทองธวัช โจทก์ กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธุ์ ที่ ๑ นายอุภัย วายุพัฒน์ ที่ ๒ นายสมศักดิ์ เนติรังษีวัชรา ที่ ๓ นายสมปราชญ์ ผลชู ที่๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดกระบี่
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฎฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ไม่มีย่อสั้น
(สำเนา)
คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
ที่ ๑๖/๒๕๔๗
วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๗
เรื่อง เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
ศาลจังหวัดกระบี่
ระหว่าง
ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
การส่งเรื่องต่อคณะกรรมการ
ศาลจังหวัดกระบี่ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องโต้แย้งเขตอำนาจศาล ที่รับฟ้องคดี และศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาล
ข้อเท็จจริงในคดี
เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๖ นายประสาร ทองธวัช เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ ที่ ๑ นายอุภัย วายุพัฒน์ ที่ ๒ นายสมศักดิ์ เนติรังษีวัชรา ที่ ๓ นายสมปราชญ์ผลชู ที่ ๔ จำเลย ต่อศาลจังหวัดกระบี่ เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ ๕๖๑/๒๕๔๖ ข้อหาละเมิด ทำให้เสียทรัพย์ เรียกค่าเสียหาย ความว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินปฏิรูปที่ดิน เพื่อการเกษตรระวางกลุ่มที่ ๑๓๖๕ แปลงเลขที่ ๘ ตั้งอยู่บ้านช่องขี้แรต หมู่ที่ ๔ ตำบล คลองท่อมใต้อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เนื้อที่ ๕๒ - ๒ - ๕๘ ไร่ ซึ่งได้รับจัดสรรมาจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรจังหวัดกระบี่ โดยได้ทำประโยชน์ปลูกต้นปาล์มน้ำมันเต็มเนื้อที่ดังกล่าวมา ๓ ปีเศษและเริ่มจะให้ผลผลิต ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๖ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ กับพวกจำนวนหลายคนได้เข้าไปใช้มีดตัดฟันทำลายต้นปาล์มน้ำมันดังกล่าวเสียหายทั้งแปลงอันเป็นการกระทำละเมิด ต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการปลูกปาล์ม การเตรียมสถานที่ต้นกล้าปาล์ม ค่าบำรุงรักษา ค่าจ้างดูแลรักษาเป็นเวลา ๓ ปีเศษ คิดเป็นเงินไร่ละ๓๐,๐๐๐ บาทรวมทั้งสิ้น ๑,๕๖๐,๐๐๐ บาท จึงขอให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธุ์จำเลยที่ ๑ ในฐานะต้นสังกัดของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ และจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับจากวันละเมิด
จำเลยที่ ๑ ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทอยู่ภายในแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางคราม ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๐๒) ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๒ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. ๒๔๘๑ โจทก์ไม่เคยได้รับอนุญาต ให้เข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์ในพื้นที่พิพาทจึงเป็นความผิดตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ จำเลยที่ ๓ ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติป่าบางคราม มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและพืชผลออกจากพื้นที่ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา แต่โจทก์ยังคงฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง และไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดเวลา จำเลยที่ ๓ จึงใช้อำนาจตามมาตรา ๒๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการยึด รื้อถอน ทำลายสิ่งปลูกสร้างและพืชผล การกระทำของ จำเลยที่ ๒ถึงที่ ๔ เป็นการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด ต่อโจทก์และไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น และได้โต้แย้งรื่องอำนาจศาลว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองเพราะเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิด ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
โจทก์แถลงคัดค้านว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในเรื่องละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดจำเลยที่ ๑ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม และได้ยื่นคำร้อง ขอถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เนื่องจากได้ฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของจำเลยทั้งสามให้รับผิดแล้ว
ศาลจังหวัดกระบี่พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐว่ากระทำละเมิดจากการเข้าทำลายสิ่งปลูกสร้างและพืชผลซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม แต่จำเลยที่ ๑ โต้แย้งคัดค้านว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบางคราม จึงเป็นกรณีโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินว่าที่ดินเป็นของโจทก์หรือไม่เป็นสำคัญ โดยไม่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานว่าชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดหรือไม่ การพิจารณาสิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างคู่กรณีจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มิได้กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลปกครองนครศรีธรรมราชพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๒ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดของจำเลยที่ ๑ เข้าไปทำลายต้นปาล์มซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่โจทก์ได้รับจัดสรรจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหายนั้น ถือได้ว่าเป็นคดีที่ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดในผลแห่งละเมิดของเจ้าหน้าที่ของตนที่ได้กระทำในการปฏิบัติตามหน้าที่ ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และจำเลยที่ ๑ ให้การต่อสู้ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นการกระทำโดยใช้อำนาจตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ จึงไม่เป็นการละเมิดและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายทำให้ได้รับ ความเสียหาย จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการ ใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็น ประเด็นหลักที่จะต้องพิจารณา ส่วนประเด็นที่ว่าที่พิพาทเป็นที่ของโจทก์ที่ได้รับอนุญาต เข้าทำประโยชน์หรือเป็นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ เป็นเพียงประเด็นรอง เมื่อประเด็นหลัก ในคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ประเด็นรองในคดีนั้นก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลเดียวกัน ตามข้อ ๔๑ วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยการพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓
คำวินิจฉัย
คดีนี้เอกชนผู้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธุ์ เป็นจำเลยที่ ๑ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดของจำเลยที่ ๑ เป็นจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ โดยข้อเท็จจริงตามคำฟ้องสรุปได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ระวางกลุ่มที่๑๓๖๕แปลงเลขที่ ๘ ตั้งอยู่บ้าน ช่องขี้แรต หมู่ที่ ๔ ตำบล คลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่เนื้อที่ ๕๒ - ๒ - ๕๘ ไร่ ซึ่งได้รับจัดสรรมาจากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรจังหวัดกระบี่โดยได้ทำประโยชน์ปลูกต้นปาล์มน้ำมันเต็มเนื้อที่ดังกล่าว จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เข้าไปตัดฟันต้นปาล์มดังกล่าวโดยอ้างว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มบุกรุกป่าสงวนทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ส่วนจำเลยทั้งสี่ให้การยืนยันว่าโจทก์ปลูกต้นปาล์มโดยบุกรุกที่ป่าสงวน
ระหว่างพิจารณาโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ศาลอนุญาต
ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองทำละเมิดโดยการเข้าไป ตัดฟันต้นปาล์มในที่ดินซึ่งเอกชนมีสิทธิทำกิน ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธุ์ จำเลยที่ ๑ เป็นส่วนราชการระดับกรมตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามคำฟ้องโจทก์ ตั้งข้อหาว่าจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัดของจำเลยที่ ๑ ทำละเมิดด้วยการเข้าไปตัดฟันต้นปาล์มในที่ดินของโจทก์ ขอให้จำเลยที่ ๑ ชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนจำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ปลูก ต้นปาล์มโดยบุกรุกที่ป่าสงวน จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ จึงใช้อำนาจตามกฎหมายเข้าไปตัดฟันทำลายต้นปาล์ม คดีนี้ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติหรือเป็นที่ดินที่ปฏิรูปเพื่อการเกษตรซึ่งโจทก์มีสิทธิทำกินแล้วจึงจะพิจารณาได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ ๑ เป็นละเมิดหรือไม่ และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น เมื่อศาลจำต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทที่เกิดเหตุแล้ว จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ทั้งการพิจารณาเรื่องการทำละเมิดและการพิจารณาคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองซึ่งเป็นมูลคดีที่เกี่ยวข้องกัน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเดียวกัน
จึงวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีฟ้องหน่วยงานทางปกครองทำละเมิดโดยการตัดฟันต้นปาล์มขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ระหว่างนายประสาร ทองธวัช โจทก์ กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพืชพันธุ์ ที่ ๑ นายอุภัย วายุพัฒน์ ที่ ๒ นายสมศักดิ์ เนติรังษีวัชรา ที่ ๓ นายสมปราชญ์ ผลชู ที่๔ จำเลย อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งในคดีนี้ได้แก่ ศาลจังหวัดกระบี่
(ลงชื่อ) อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (ลงชื่อ) เฉลิมชัย เกษมสันต์
(นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) (หม่อมหลวงเฉลิมชัย เกษมสันต์)
ประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลยุติธรรม
(ลงชื่อ) อักขราทร จุฬารัตน (ลงชื่อ) อัครวิทย์ สุมาวงศ์
(นายอักขราทร จุฬารัตน) (นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์)
ประธานศาลปกครองสูงสุด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลปกครอง
(ลงชื่อ) พลโท อัฎฐพร เจริญพานิช (ลงชื่อ) พลโท อาชวัน อินทรเกสร
(อัฏฐพร เจริญพานิช) (อาชวัน อินทรเกสร)
หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของศาลทหาร
(ลงชื่อ) พรชัย รัศมีแพทย์
(นายพรชัย รัศมีแพทย์)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
เขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน
|
ผู้ส่งข้อความ | วันที่ส่งข้อความ | ข้อความ | action |
---|